ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๙

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดาร ภาที่ ๕๙ โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๓

พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมโหมด รัชชกาลที่ ๕ และมหาอำมาตย์ตรี พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) กับงานปลงศพคุณหญิงวิชยาธิบดี (พร้อม บุนนาค) วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์



คำนำ ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมโหมด รัชชกาลที่ ๕ และมหาอำมาตย์ตรี พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) กับงานปลงศพคุณหญิงวิชยาธิบดี (พร้อม บุนนาค) ซึ่งจะทำใน เดือนธันวาคมปีนี้ คุณหญิงวิเศษฦๅชัย (เริ่ม) พร้อมด้วยน้อง ๆ ใคร่จะพิมพ์หนังสือแจกในเวลาพระราชทานเพลิงเรื่อง ๑ จึงมอบฉันทะให้พระยาอร่ามมณเฑียรมาแจ้งความที่ราชบัณฑิตย- สภา ขอให้กรรมการเบือกหนังสือให้ ราชบัณฑิตยสภาได้ แนะนำให้พิมพ์เรื่องโกศาปานเป็นราชทูตไปเมืองฝรั่งเศส ครั้ง แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระยาอร่ามมณเฑียรเห็น ชอบด้วย จึงพิมพ์ขึ้นเป็นสมุดเล่มนี้ เรื่องโกศาปานเป็นราชทูตไปเมืองฝรั่งเศสนี้ มองซิเออร์ เดอ วีเซ เป็นผู้แต่ง พิมพ์เมื่อ ค.ศ. ๑๖๘๖ (พ.ศ. ๒๒๒๙) มีฉะบับอยู่ในหอพระสมุดวชิราวุธ เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแล แห่ง โรงเรียนอัสสัมชัญแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย เล่มนี้ เป็นภาค ๓ จัดเป็นประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๙ ราชบัณฑิตยสภา วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕



คำอุทิศ

หนังสือเรื่องโกศาปานไปประเทศฝรั่งเศสภาค ๓ นี้ คุณ หญิงวิเศษฦๅชัย (เริ่ม) นางตลอดไตรภพ (เบือน) นาง วิจารณ์คาวี (แบงก์) นางสาวเชต บุนนาค นางประคอง ชูโต รองอำมาตย์โทภุชงค์ บุนนาค นายไพบูลย์ บุนนาค สร้างขึ้น เพื่อแจกในงานศพ สนองคุณมหาอำมาตย์ตรี พระยาวิชยา ธิบดี และคุณหญิงวิชยาธิบดี (พร้อม) ผู้บิดาและมารดา กับเจ้า จอมโหมด ในรัชชกาลที่ ๕ ผู้เป็นป้า ซึ่งพระราชทานเพลิง ที่สุสานวัดประยุรวงศาวาส เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕








มหาอำมาตย์ตรี พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) เป็นบุตรคนที่ ๓ ของพระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) และคุณหญิงอรรคราชนารถภักดี (บัว บุนนาค ) เกิดเมื่อวันพุธ ปีมะเสง พ.ศ.๒๔๐๑ ถึงอนิจจากรรม เมื่อวันที่๒๙ เมษายนพ.ศ. ๒๔๖๕

สารบาญ บทที่ ๖๕ เหตุการณ์ในเมืองปารีส ระวางที่ท่าน ราชทูตไปเที่ยวเหนือ หน้า ๑ " ๖๖ ราชทูตไปในงานของมงเซียร์ คือสมเด็จ พระอนุชาธิราช " ๔ " ๖๗ ราชทูตไปเที่ยวดูของต่าง ๆ ในกรุง ปารีสต่อไป " ๑๐ " ๖๘ ราชทูตไปเยี่ยมสำนักสามเณร มิซซังต่างประเทศ " ๑๕ " ๖๙ คนไทยสอบไล่ชั้นมหาปริญญา " ๒๗ " ๗๐ ราชทูตไปดูโรงเรียนมหาราชวิทยาลัย ชื่อหลุยเลอครังต์ " ๓๕ " ๗๑ ราชทูตไปเหยียบสานโฮเต็ล เดอคีส " ๓๗ " ๗๒ "มงเซียร์" คือสมเด็จพระอนุชา สิ้นพระชนม์ลง " ๓๘ " ๗๓ ราชทูตไปฟังเพลงสวด "ชยันโต" ที่พระอารามแดส์เฟอยังต์ " ๔๗ " ๗๔ ราชทูตไปเที่ยวดูสถานที่ต่าง ๆ มีโรงพิมพ์หลวงเป็นต้น " ๕๓



ข " ๗๕ เรื่องคนใช้ของเจ้าคุณราชทูต หน้า ๕๗ " ๗๖ ราชทูตไปดูอารามวาลเดอคร้าส และไปฟังดีดพิณ " ๖๑ " ๗๗ ราชทูตรับรองของกำนัล " ๖๕ " ๗๘ ราชทูตไปเที่ยวเล่นที่พระราชสำนัก วังแซร์ซายส์ " ๖๘









โกศาปานไปฝรั่งเศส

บทที่๖๕ เหตุการณ์ในเมืองปารีส ระวางที่ราชทูตไปเที่ยวเหนือ คณะราชทูตานุทูตที่มาจากเมืองไทยนั้น นอกจากราชทูต ๓ ่ท่านแล้วยังมีขุนนางไทยมาเป็นเพื่อนอีก ๖ นาย และใน ๖ นายนี้ เมื่อตอนไปเที่ยวเหนือนั้น ท่านอัครราชทูตได้ได้พาไปด้วยเพียง ๔ คน อีก ๒ คนนั้นให้รอพักอยู่กรุงปารีส สำหรับจัดเข้า ของต่าง ๆ ที่ราชทูตหมายใจจะซื้อหรือสั่งให้ห้างทำสำหรับนำไป เมืองไทยคราวเมื่อจะกลับ อันว่าขุนนางสองคนที่จะยับยั้งอยู่ใน ปารีส เมื่อท่านราชทูตเดิรทางไปเที่ยวข้างเหนือนั้น เจ้าพนักงาน ได้มอบให้มงเซียร์เดอเวเนโรนี ล่ามหลวงสำหรับภาษาอิตาลี เป็นคนนำพาไปดูตามห้างต่าง ๆ เพื่อแนะนำช่างที่จะสร้างของ นั้น ว่าจะควรพลิกแพลงแก้ไขประการใด สิ่งของเหล่านั้น จึงจะถูกพระทัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์ นอกจากท่านได้ ไปดูตามห้างร้านสำหรับสั่งซื้อของดังนี้แล้ว มงเซียร์เดอเวเน โรนี ยังได้พาไปดูอะไรต่อะไรที่เป็นของน่าดูอีกหลายแห่ง. เช่นครั้งหนึ่งได้พาท่านไปดูโรงเรียนเณร ของมิซซังต่างประ เทศ สำหรับฝึกหัดเด็กใจศรัทธาซึ่งจะบวชเป็นพระสงฆ์สำหรับ


๒ ไปเทศนาสั่งสอนพระศาสนาในต่างประเทศ มีที่เมืองไทยเป็นต้น ข้อที่จับใจพวกขุนนางไทยเมื่อไปดูเสมีณาเรียวนั้นคือสัทธารมณ์ซึ่งระเหยอยู่ทั่วไปในสำนักนั้น ถึงเวลากินเข้าท่านบาดหลวง เดอบรีซาเซียร์ซึ่งเป็นประมุขแห่งสำนักนั้น ก็ได้เชื้อเชิญท่าน ขุนนางไทยสองคนนั้น ให้ร่วมโต๊ะกันกับอาจารย์และนักเรียนเณร เหล่านั้นด้วยท่านก็รับ เวลากำลังรับประทานอาหารนั้นท่านได้ ยินเณรองค์หนึ่งประจำอยู่ที่ธรรมาสน์ให้ห้องกินเข้า ได้อ่านวินัยสามเณระสิกขา ก็ยิ่งเป็นที่เตือนความเลื่อมใสศรัทธาของขุนนาง สองคนนั้นเป็นอันมาก. ในวันเดียวกันเมื่อกินเข้าเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานยังได้พา ขุนนางสองคนนั้นไปยังห้างทำพรมชื่อซาวอนเนอรี สำหรับจะ ได้ตรวจดูว่า พรมต่าง ๆ ที่สั่งให้ทำสำหรับถวายสมเด็จพระ นารายณ์นั้น แล้วตามความตกลงเดิมหรือไม่ ถัดจากโรงทำ พรมนี้ยังได้ไปดูสวนสัตว์ สวนต้นไม้ต่างประเทศที่ท่านเสนาบดี เดอลูลลาได้พึ่งริทำขึ้นไม่สู้กี่ปีนัก ในสวนนั้นขุนนางไทยสอง คนได้พบเห็นพรรณไม้เมืองไทยหลายชะนิด แต่สิ่งที่เขาได้ พิเคราะห์ดูด้วยความเจาะจงใจมากกว่าสิ่งอื่นทั้งหมด คือกระดูก สัตว์ต่าง ๆ มีกระดูกช้างสารที่เคยอยู่ในสวนเวร์ซายส์เมื่อก่อนล้ม เป็นต้น. นอกนั้นยังได้ไปดูวัดแซงต์วิกเตอร์ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นต้น เพราะห้องสมุดและห้องพิพิธภัณฑ์ อันเกี่ยวด้วยเรื่องวัตุศักดิสิทธิ์ ๓ ครั้งโบราณ กับได้ไปชมดูศาลสิตยุตติธรรมด้วย ที่นั้นท่าน ได้ยินพวกทะนายความ ๓ นายแลงการณ์ในเรื่องคดี ซึ่งมงเซียร์ เดอเวเนโรนีได้อธิบายใจความเบื้องต้นให้ท่านทราบ ท่านแสดง ความแปลกใจไม่น้อยในวิธีดำเนิรการ สำหรับชำระความในเมือง ฝรั่งเศสว่า -- " ช่างผิดกันกับที่เป็นไปในเมืองไทยยิ่งนัก ที่นี่ฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างมีทะนายสำหรับชี้แจงความเป็นไปของคดี แทนตน แต่ในเมืองไทยนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ใครไม่พอใจใครเมื่อไร ผู้ไม่พอใจนั้นร้องฟ้องว่าความตามรูปคดีเอาเอง ส่วนจำเลยก็โต้เถียงไปตามความเห็นชอบของตนเหมือนกัน ไม่ มีทะนายรับว่าความต่างโจทก์และจำเลยเหมือนที่นี้ " ( ที่ตรงนี้ ขอท่านผู้อ่านอย่าได้ลืมว่าเป็นเรื่องที่ได้เกิดมีขึ้นในครั้งรัชชสมัยพระนารายณ์ ศาลไทยเวลานี้คงดูไม่แปลกกว่าศาลฝรั่งเศสเท่าไรนัก เพราะต่างถือธรรมเนียมคล้าย ๆ กันเสียแล้ว ตั้งแต่รัชชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๕ ). เมื่ออกจากศาลแล้ว ขุนนางสองคนนั้นได้ไปดูโรงเรียน หลวงสำหรับบุตรตระกูลชั้นสูง เรียกว่าโรงเรียนหลุยส์เลอครัง คือโรงเรียนหลุยส์มหาวิทยาลัย ที่โรงเรียนนี้ท่านมาแปลกใจที่ เห็นมีเด็กมากมายนัก และก็ล้วนเป็นบุตรตระกูลเจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่ ทั้งท่านชอบใจกิริยาพาทีความเคารพที่เด็กเหล่า นั้น ไม่ว่าเจ้านายชั้นสูงสุด จนตลอดบุตรขุนนางได้แสดงต่อตัวท่านเอง.

๔ บทที่ ๖๖ ราชทูตไปในงานของมงเซียร์ คือสมเด็จ พระอนุชาธิราช. ภายหลังที่ท่านราชทูตไปเที่ยวมณฑลฝ่ายเหนือกลับมาสอง วัน ที่วังแซงต์คลูด์ สมเด็จพระอนุชาธิราชมีงานเลี้ยงเป็นการ ใหญ่ ผู้ที่มาประชุมในงานนี้ล้วนแต่พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการชั้นสูง มีสมเด็จพระยุพราชและพระชายาเป็นต้น ถ้า จะให้รำพันถึงการตกแต่งสถานที่ และการตกแต่งกายแห่งท่านผู้ที่ เสด็จและไปในงานนี้แล้วก็เป็นอันเหลือวิสัย จำเป็นต้องกล่าว ลัด ๆ เพียงว่า บรรดาสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องเจริญตาเจริญใจ ซึ่งมนุษย์อาจหามาได้ ก็มีอยู่ในงานนี้พร้อมบริบูรณ์ไม่ได้ขาดสัก สิ่งเดียว วังแซงต์คลูด์ในคืนวันนั้นดูเป็นวิมานชั้นฟ้ามากกว่า สถานที่ประชุมแห่งมนุษย์ และไม่ว่าขุนนางข้าราชการหรือเจ้านายซึ่งมาแต่สารทิศใดต่างพากันออกปากชมเป็นเสียงเดียวกัน ว่า-- " ใน ๔ ทิศซึ่งเคยไปเที่ยวมาแล้วไม่เคยแลเห็นของเพลิน ตาพิเศษถึงเพียงนี้เลย " งานประชุมได้เริ่มแต่เวลาบ่าย ๓ นาฬิกา สมเด็จพระ ยุพราชกับพระชายาทั้งสมเด็จพระอนุชา และพระชายาได้เสด็จออก ทรงต้อนรับแขก และพาไปข้างในด้ยพระองค์เอง ชั้นแรก ทรงพาไปดูครื่องแต่งพระที่นั่งวังแซงต์คลูด์มีพรม, เครื่องแก้ว และรูปภาพรูปเขียวของท่านอาจารย์มีญาร์ตเป็นต้น ครั้นไปถึง

๕ ท้องพระโรงพิมานทิวานะเทพี ซึ่งอยู่ที่ด้านสุดท้ายแห่งพระที่นั่ง วังแซงต์คลูด์ ต่างก็ได้อยู่ฟังเครื่องดนตรีสักราวชั่วโมงหนึ่ง เวลานั้นเจ้าพนักงานมหาดเล็กเด็กชาก็ช่วยกันเลี้ยงเครื่องว่างแก่ผู้ ที่มาประชุม การเลี้ยงนี้เป็นที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือเวลานั้นเป็นเวลาย่างเข้าหน้าหนาว ผลไม้หมดฤดูไปเสียตั้งเดือนกว่าแล้ว (ในเมืองฝรั่งถ้าถึงฤดูหนาวแล้วผลไม้สดเป็นไม่มีทุกชะนิดผิดกับ เมืองไทยซึ่งมีผลไม้สดกินกันตลอดปี เพราะมีผลัดเปลี่ยนชะนิดกันเป็นฤดู ๆ ) แต่กระนั้นในการเลี้ยงเครื่องว่างครั้งนี้ ยังบริบูรณ์ไปด้วยผลาผลไม้สดอย่างอุดมทุกชะนิด คล้ายกับเป็นหน้าผลไม้ฉะนั้น ทั้งนี้เพราะใช้วิธีเก็บรักษาไว้อย่างดี. เมื่อเสร็จการเลี้ยงคือราวบ่าย ๔ นาฬิกาซึ่งเป็นเวลาจวนค่ำแลไม่เห็นอะไรสักนิดเดียว ( ขอให้ผู้อ่านจำไว้ว่าที่เมืองฝรั่งหน้า หนาวเป็นเวลาสั้นกว่าคืน ผิดกันกับที่เป็นอยู่ในเมืองไทยเวลา บ่าย ๔ โมงนั้น ที่เมืองฝรั่งเป็นเวลาพลบค่ำอยู่แล้ว ) เจ้าพนักงาน กรมชวาลาก็ได้ตั้งจุดเทียนระย้าซึ่งมีแขวนทั่วไป ทันใดนั้น ภายในพระที่นั่งวังแซงต์คลูด์ดูราวกับเป็นวิมานชั้นฟ้าจริง ๆ พอ หมดการดนตรีข้างนี้แล้วที่ประชุมได้พากันไปถึงห้องอีกห้องหนึ่ง ซึ่งได้จัดไว้เป็นห้องเต้นรำ ท่านเจ้าชายและท่านเจ้าหญิง ที่เป็น เจ้าภาพหรือเจ้าของบ้าน คือสมเด็จพระยุพราชและพระชายา กับสมเด็จพระอนุชาและพระชายาก็ได้ทรงเปิดการเต้นรำเป็นปฐม ฤกษ์ก่อน แล้วพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชายหญิงอื่น ๆ ๖ ก็ได้เต้นรำไปตามพระองค์ต่อไป. เวลาเต้นรำนี้ท่านราชทูตไทยก็นั่งอยู่ที่ข้างเบื้องขวาของสม เด็จพระยุพราช และพระองค์ทรงไต่ถามและชวนให้สนทนา ปราศรัยมิได้ขาด ส่วนราชทูตเล่าเคร่งครัดอยู่แต่ในธรรมเนียม บ้านเมืองไทย ไม่ว่าจะทูลตอบสนองคราวใด หรือไม่ว่าเวลา ทรงไต่ถามเมื่อใด ราชทูตก็พนมมือยกขึ้นเหนือศีร์ษะ ( ตาม ธรรมเนียมขุนนางไทยโบราณเวลาเข้าเฝ้า ) มิได้ขาด สมเด็จพระ ยุพราชทรงเห็นกิริยาเช่นนั้น ให้ทรงรู้สึกตะขิดตะขวางหรือรำคาญ พระทัย หรือสงสารราชทูตประการใดประการหนึ่งในอากัปกิริยา ที่ยกมือไหว้นั้น จึงทรงรับสั่งกับราชทูตสยามว่า-- " เจ้าคุณ ราชทูตจงอย่าเกรงใจ เวลานี้เป็นเวลาเพลิดเพลินสนุกสนานกัน ไม่จำเป็นจะถือแบบเฝ้าอย่างเคร่งครัดนักดอก เจ้าคุณลดมือลง ให้เป็นที่สะดวกสบายเสียบ้างเถิดเจ้าคุณ ไม่เป็นที่หมิ่นประ มาทหามิได้ " เมื่อได้ฟังรับสั่งดังนั้น ท่านอัครราชทูตกลับ กราบไหว้ทูลตอบว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเมตตายิ่ง แท้ ้จริงการที่ข้าพระพุทธิเจ้าแสดงความเคารพต่อพระบารมีของพระ องค์เท่านี้ ยังหาเพียงพอไม่ เวลาจะเฝ้าพระบารมีควรจะแต่ง เครื่องเต็มยศมีสวมกะลอมพอกเป็นต้น และคืนวันนี้ข้าพระ พุทธิเจ้าหาได้สวมตามธรรมเนียมไม่ ก็เป็นการลดหย่อนมาก อยู่แล้ว แต่เดชะบุญหมวกที่ใส่อยู่ในเวลานี้เป็นหมวกที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ทรงพระราช ทานด้วยพระองค์

๗ เอง ฉะนี้จึงมิใช่การลดหย่อนเกินควรแก่ตำแหน่งราชทูตกำลัง เฝ้าพระบารมี แต่หากจะมิใช่เช่นนั้นจะดูกระไรอยู่ นี่ก็เป็น การลดหย่อนผ่อนให้คล่องแคล่วมากพอแก่การอยู่แล้ว ขอทรง ทราบฝ่าพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะทรงโปรดเกล้า ฯ " -- การเต้นรำดำเนิรไปเป็นปกติสักราว ๒ ชั่วนาฬิกาแล้ว มหาด เล็กเด็กชาก็ได้มาเลี้ยงผู้ที่มาในการประชุมอีกครั้งหนึ่ง และการ เลี้ยงครั้งนี้เรียนเอาแบบอย่างจีน คือมีโต๊ะเล็ก ๆ ชามเล็ก ๆ คล้าย ๆ กับที่ทำกันในการเลี้ยงของจีน ( ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติยศ แก่ราชทูตสยาม เพราะตามความเข้าใจของชนตะวันตก เมือง จีนกับเมืองไทยเป็นเมืองพี่เมืองน้อง ถือขนบธรรมเนียมคล้าย คลึงกัน ) ครั้นการเลี้ยงนี้เสร็จแล้ว การเต้นรำก็ได้เริ่มใหม่ อีกคราวหนึ่ง แต่เวลานี้พวกที่ไม่ค่อยชอบการเต้นรำก็ได้ยักวิธี เล่นอย่างอื่นในห้องใกล้เคียง สมเด็จพระยุพราชได้ทรงไพ่ตาม แบบอีตาเลียนที่เขาเรีย " เรเวร์ซี " ขณะเมื่อที่กำลังเต้น บ้าง, เล่นไพ่และอื่น ๆ บ้างดังนี้ ส่วนเจ้าพนักงานมหาดเล็กเด็กชา ก็นำเครื่องดื่มทุกชะนิดมาวายและแจกให้ดื่ม ทั่ว ๆ ไปทุกห้อง สุดแต่ท่านผู้ใดจะต้องการน้ำองุ่น กาแฟ ชอกอเล็ดหรือน้ำชาและเครื่องดื่มชะนิดไรไม่ว่าเลือกได้ตามชอบ ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ท่านที่ไม่พอใจในการเต้นรำและเล่นไพ่หรือ อื่น ๆ นั้นได้มีเครื่องเบิกบานอารมณ์ ให้เป็นที่บรรเทิงใจ ทั่ว ๆ กัน.

๘ การเต้นรำเลิกเวลาทุ่มครึ่งแล้วจึงได้พากันไปดูละคอน คืน นั้นได้เล่าเรื่อง " บะยาไทร " ของราซิน ( จินตกระวีเอกใน รัชชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ) ใจความของเรื่องที่เล่นในคื่นวันนั้นเป็นดังนี้ คือเจ้าบะยาไทรพระเอก ในเรื่องนี้เป็นพระอนุชาของเจ้าอมุรัตสุลต่านแห่งเมืองหรุ่มในตุรกี ครั้งคริศตศักราช ๑๖๓๕ ( คือราว ๕๐ ปี ก่อนเวลาที่เล่นเรื่อง นั้น ) เจ้าอมุรัตยกทัพไปอยู่ตามเขตต์แดนเมืองบะบีลอน และ ในเวลาที่ขัดตาทัพนั้น ทรงระแวงสงสัยเจ้าบะยาไทรอนุชาของ พระองค์ ว่านานไปข้างหน้าอาจชิงราชสมบัติ เพราะบะยาไทร เป็นที่นิยมนับือของชาวเมืองมาก ทั้งทรงพระปรีชาเฉลียว ฉลาดยิ่งกว่าพระองค์มากด้วย พระเจ้าอมุรัตจึงไม่ทรงไว้พระทัย รับสั่งให้คนสนิทกลับแต่ฐานทัพลงปลงพระชนม์เจ้าบะยาไทรพระ อนุชาเสียที่ในเมืองหรุ่ม ฝ่ายที่ในเมืองหรุ่มเล่า ส่วนพระนาง โรซานามเหษีของพระเจ้าอมุรัตทรงพอพระทัยฝักใฝ่ในเจ้าบะยา- ไทรยิ่งกว่าพรระราชสามี และทรงใคร่ให้อภิเษกเจ้าบะยาไทรขึ้น เป็นสุลต่านแทนเจ้าอมุรัตผู้สวามี จึงทรงแต่งกลให้เจ้าบะยาไทร หลงรักพระองค์ด้วยกลอุบายต่าง ๆ นา ๆ แต่เจ้าบะยาไทรนั้น แม้จะทราบว่าพระมเหษีรักใคร่จะยกตนขึ้นเป็นสุลต่าน และทั้ง ทราบว่าพระเชษฐาจะให้ปลงพระชนม์พระองค์เสียก็ดี ก็ยังไม่ ยินยอม เพราะพระองค์จะรักษาสัตย์ต่อนางอาลิดาคู่รักของพระ องค์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงมั่นปฏิญญาณตนว่าจะกระทำการเศก

๙ สมรสด้วยกัน มเหษีทรงทราบว่าเจ้าบะยาไทรไม่ปลงพระทัยตามก็รับสั่งให้ฆ่าเสีย เจ้าบะยาไทรทรงยินยอมรับความตายเพื่อ รักษาสัตย์ นี่เป็นท้องเรื่องที่ได้เล่นกันในคืนวันนั้น และเค้า เงื่อนของเรื่องนี้ ท่านราชทูตไทยจับได้แม่นยำไม่มีพลาดหรือสน เท่ห์อย่างใด ถ้าถึงตอนที่สำคัญน่าจับใจจนขนลุกเมื่อไรซึ่งมีมาก ในเรื่องนี้ ท่านราชทูตไหวไปตามทุก ๆ แห่ง ใครเล่นสนิท หรือไม่สนิทประการใด ท่านตัดสินลงความเห็นูกต้องไม่มีผิด เลย การดูละคอนรู้จักชมเชยและติเตียนตรงควรชมและควรติ นี้ซิ เป็นเหตุให้ราชทูตเองได้รับความชมเชยของที่ประชุมเป็น อันมาก. พอเล่นละคอนเสร็จแล้วในราว ๕ ทุ่มครึ่งจึงได้มีการเลี้ยงอาหารที่พระตำหนักของมาดามคือพระชายาของมงเซียร์สมเด็จ พระอนุชาธิราชเจ้า เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเสวย ด้วยกันมี ๔ โต๊ะ ๆ ละ ๒๕ ที่ และส่วนข้าราชการกับราชทูต สยามและผู้ที่ทรงเชิญก็รับอาหารในห้องใกล้เคียงกัน นับว่าเป็น การใหญ่โตที่สุดซึ่งสามารจัดการได้ เมื่อเสร็จการเลี้ยงแล้ว สมเด็จพระอนุชาธิราชทั้งสองพระองค์กับพระชายาก็เสด็จกลับที่ วังแวรซายส์ ซึ่งเวลานั้นติดโคมเทียนทั่วทุกซุ้มประตูหน้าต่าง พร้อมเปนที่งามนัยต์ตาเวลากลางคืนยิ่งนัก พอราชทูตได้ดูการ ติดไฟที่วังแวร์ซายส์ด้วยแล้ว เจ้าพนักงานก็พากลับที่สำนักของ ตนในพระมหานครเป็นเวลาเที่ยงคืน ราชทูตแสดงความชื่นชม

๑๐ ยินดีในการต้อนรับและการจัดงานนี้เป็นที่สุด. บทที่ ๖๗ ราชทูตไปเที่ยวดูของต่าง ๆ ในกรุงปารีสต่อไป. รุ่งขึ้นจากวันที่ใดไปดูงานที่วังแซงต์คลูด์นั้น ท่านเดอฟูร์ซี นายกแห่งสภาพาณิชย์ได้ส่งแผนที่กรุงปารีสของนายบลงเด็ล ซึ่ง เป็นแผนที่ใหม่ที่สุดของพระนครไปให้แก่ท่านราชทูตยังที่อยู่ของ ท่าน เพราะท่านได้ยินมานานแล้วว่าท่านราชทูตอยากได้มาก แผนที่พระนครนี้ท่านเดอฟูร์ซีได้ให้พิมพ์ด้วยแพรต่วนต่างกระดาษ แล้วซ้ำยังมีโหมดตาดรองอีกชั้นหนึ่ง และใช้ผ้ากำมะหยี่สีหญ้า สำหรับปิดชั้นบน ไม้สำหรับแขวนหรือสำหรับถือด้านข้างเหนือ กับไม้สำหรับม้วนแผนที่อีกอันหนึ่งนั้น ล้วนแกะสลักอย่าง ประณีตและปิดทองแซมดอกซ่อนกลิ่นเงิน ( ซึ่งเป็นดอกไม้ พระราชวงศ์บูร์บง ) อย่างงดงามที่สุด. เมื่อท่านราชทูตได้รับแผนที่แห่งกรุงปารีส ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่าน อยากได้ยิ่งกว่าของกำนัลและบรรรณาการใด ๆ แล้วท่านก็ได้คลี่ ออกมาดู พลางชี้นี่ชี้โน่นตามแห่งตำบลต่าง ๆ ซึ่งเคยไป ดูมาแล้วต่อหน้าผู้ที่นำมาให้นั้น ส่วนตำแหน่งที่สำคัญซึ่งท่านยังไม่คุ้นเคยตามที่ปรากฎในแผนที่นั้น ท่านก็ซักามว่าเป็นตำบลย่านไหน จนกระทั่งในไม่ช้าเท่าไรท่านก็รู้จักคุ้นเคยกับ


๑๑ สถานที่ต่าง ๆ ในพระนครยิ่งเสียกว่าชาวพระนครเอง ซึ่งมี โอกาสได้เห็นไปตั้งแต่เกิดมานับครั้งไม่วนเป็นอันมาก. พอดูจนเข้าใจดีแล้วท่านอัครราชทูตแสดงความขอบใจไปยังท่านผู้ส่งแผนที่มาให้นั้นว่า-- " ที่ท่านเดอฟูร์ซีได้มีความเอื้อ เฟื้อส่งแผนที่กรุงปารีสมาให้นี้เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ขอเชิญท่าน จงได้โปรดเรียนท่านเดอฟูร์ซีว่า ถึงแม้ท่านจะได้ส่งของกำนัล ชะนิดอื่นอันมีราคาค่าควรเมือง หรือถุงเงินถุง ทองขุมทรัพย์ ชะนิดใดมาให้ ก็จะไม่เป็นที่พอใจเท่ากับแผนที่อันงดงามแผ่น นี้เลย แผนที่นี้เป็นเครื่องบรรณาการซึ่งจะมีประโยชน์แก่ตนและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามสิ้นกาลนาน ตลอด ชีพและยิ่งกว่านั้นไปอีถึงชั่วอายุหลานเหลนก็ยังจะกระทำคุณแก่ ชาวสยามต่อไป ฉะนี้ จึงเป็นของประเสริฐยิ่งกว่าเครื่องบรรณา การใด ๆ และเพราะเหตุที่เป็นของประเสริฐถึงเพียงนี้แผนที่นี้จะ เปนสิ่งสำคัญ ซึ่งข้าพเจ้าจะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระเจ้า แผ่นดินสยาม เพราะทราบว่าเป็นของต้องพระราชประสงค์ ขอ ท่านจงได้แสดงความขอบใจต่อท่านเดอฟูร์ซีนั้น ทั้งในนามของ ข้าพเจ้าและทั้งในพระนามของพระเจ้าแผ่นดินสยามด้วยเทอญ " ว่า แล้วท่านก็ให้ขุนนางตำแหน่งรองรางวัลท่านผู้เอาแผนที่มาให้นั้น ด้วยเงินทองพอสมควร ดุจเดียวกับที่ท่านเคยทำมาแต่ก่อนใน เวลาท่านได้รับเข้าของใด ๆ ( ตามธรรมเนียมบ้านเมืองสยาม ซึ่งถือว่าต้องให้อะไรสักสิ่งเป็นการตอบแทนกันอยู่เสมอ ).

๑๒ นอกจากแผนที่พระนครนี้ท่านเดอฟูรณ์ซียังได้ส่งหนังสือรายงารด้วยความเป็นอยู้แห่งพระนครด้วยอีกเล่มหนึ่ง เพราะท่าน ได้ทราบว่าท่านราชทูตอยากได้มาก เพื่อรู้เข้าใจถึงการปกครอง ภายในพระนครว่าดำเนิรไปประการใด. ตั้งแต่วันที่ราชทูต ได้กลับมาจากการเที่ยวตามณฑล เหนือแล้วนั้น ขุนนางในพระนครต่างอยากเชิญท่านไปเลี้ยงและ ไปดูของต่าง ๆ ไม่มีเว้นแต่ละวัน สิ่งที่ท่านราชทูตได้ไปดูและ ซึ่งควรนำมากล่าวในที่นี้มีอยู่เป็นต้นก็คือ ละคอนออเปราและ ละคอนพูดธรรมดา ละคอนพูดที่ได้ไปดูนั้นชื่อลาวาร์ หรือ " เจ้าตระหนี่ถี่เหนียว " ของอาจารย์มอเลียร เป็นที่พอใจของ ราชทูตมาก พอเปิดฉากเจ้าตระหนี่ก็ออกมากับถุงเงิน เมื่อ ท่านราชทูตได้เห็นก็พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าว่า-- " อ้ายขี้เหนียวนี้ ชะรอยจะถูกใครแย่งเอาถุงเงินไปกินเสียก่อนที่จะหมดเรื่องละกะ- มัง " และที่จริงก็เป็นดังนั้นด้วย ฉะนั้นจึงทำให้ผู้ที่ได้ฟังท่าน ออกความเห็นล่วงหน้า ในเรื่องที่ท่านยังไม่ได้เคยดูรู้เห็นอดไม่ได้ ต้องเชยชมสติปัญญาเฉลียวฉลาดของท่านราชทูตว่าแหลมหลัก เป็นปราชญ์แท้ทีเดียว. รุ่งขึ้นวันหน้าท่านได้ไป ดูละคอนออเปราชื่ออาร์มิดาของอาจารย์คีโนส์ต์ ( ซึ่งเป็นเรื่องมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ) เงื่อน แห่งเรื่องคือ นางอาร์มิดาพระราชนัดดารอห่งเจ้าฮีเดราต์ในเมือง ดามาส เกิดรักใคร่กับนักรบชะเลยของพระบิดาชื่อเรอโนลต์

๑๓ และนางนั้นได้ใช้เล่ห์กะเท่ห์ต่าง ๆ ทั้งเวทมนต์คาถาสารพัตร สำหรับให้นักรบเรอโนลต์รักตน เรอโนลต์ก็หาได้แพ้แก่ฤทธิ แห่งเสน่ห์เล่ห์กลของนางนั้นไม่ ทีหลังนางเคืองจะใคร่ฆ่าให้หาย แค้นที่เขาไม่รักตน แต่ก็กระทำไม่ลงเพราะอำนาจความงามของ เรอโนลต์ประกอบกับความรักของนางอาร์มิดาเป็นเครื่องห้าม ลง ปลายเพื่อนของนักรบคนนั้นมาเผาบ้านเรือนและเวียงวังเมืองดา- มาส กู้เรอโนลต์ออกจาเป็นชะเลยไว้ได้. เมื่อท่านราชทูตได้ดูละคอนบทนี้แล้ว ท่านลงความเห็น ว่า-- " นางงามคนนี้ไม่ใช่คนฝรั่งเศสไม่ใช่หรือ หาไม่คงไม่ ต้องเที่ยวหากลอุบายต่าง ๆ สำหรับให้ชายรักดังนี้ เพราะธรรมดา สตรีชาวฝรั่งเศสแล้วข้าพเจ้าได้สังเกต ไม่ต้องแต่งกลอุบาย อะไรมากมาย เพียงบุรุษแลเห็นดวงพักตรและกิริยามรรยาท อันสุภาพเท่านั้นเป็นต้องรักทันที " พอถึงตอนปลายแห่งเรื่องนี้ เป็นเวลาเกิดไฟไหม้วังที่นางอาร์มิดาอยู่นั้น ท่านราชทูตได้กล่าว ว่า-- " พวกเรากลับเอะจะอยู่ดูอีกทำไม ไฟไหม้บ้านแล้ว เราต้องไป เมื่อบ้านพังวังล้มแล้วขืนอยู่จะเป็นอันตรายแก่ตัว " แล้วท่านก็ออกไป. รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งท่านราชทูตกับขุนนางอันดับได้ไปเที่ยวที่บ้าน มงเซียร์โชชง ซึ่งเป็นคนคิดเครื่องเล่นต่าง ๆ เพื่อจะได้ชมดู เครื่องเล่นใหม่ ๆ ซึ่งทำให้มหาชนชาวพระนครทึ่งไปตาม ๆ กัน ในสมัยนั้น เครื่องเล่นนี้ รูปสัณฐานคล้ายกับโต๊ะบิลเลียร์ด

๑๔ แต่แทนที่โต๊ะนั้นจะมีผ้าสีเขียวปูตามธรรมดา โต๊ะบิลเลียร์ดนั้น กลายเป็นรูปแผนที่ของโลกเขียนอยู่บนพื้นโต๊ะ มีทั้งภูเขาและ ทะเลประเทศต่าง ๆ ในโลกพิภพ วิธีเล่นนั้นคือเกณฑ์ให้คน เล่นแล่นเรือหรือขับรย่อม ๆ ไปจากประเทศหนึ่งถึงประเทศหนึ่ง หรือจากเมืองนี้ไปเมืองโน้น ใครจะไปทางไหนทางบกทางน้ำก็ได้ ใครจะอ้อมค้อมหรือลัดไปทางใดที่มีคนไปมาก็ได้ แต่ผลัดกัน แล่นเรือหรือผลัดกันลากรถ คนละทีตามเกณฑ์กำหนดซึ่งบัญญัติ ไว้ ใครเดินถูกบัญญัติและไปถึงเมืองที่มุ่งไว้ก่อนคนนั้นเป็น คนชะนะ. พอราชทูตได้แลเห็นโต๊ะแผนที่โลกนั้นแล้วก็เข้าใจวิธีเล่น ทันที ไม่พักต้องอธิบายวิธีเล่นก็เป็นเอง และท่านยังท้า มงเซียร์โชชงว่า-- " นี่ จะอนุญาตให้ฉันลองเล่นเรือดูกับท่าน ไหม อยากจะรู้ว่าใครจะแล่นเรือไปุงเมืองไทยก่อนใคร " มงเซียร์โชชงก็ยินดีรับขันสู้ว่า-- " ดีแล้วเจ้าคุณ เชิญลอง จับเรือกัน " เล่นกันไปเล่นมา บัดเดี๋ยวท่านราชทูตสยามแล่น เรือของท่านถึงอ่าวสยาม ก่อนมงเซียร์โชชงผู้เป็นเจ้าของเสียอีก เมื่อชะนะแล้วท่านราชทูตได้อำลามงเซียร์โชชงว่า-- " ขอบใจ ท่านเป็นอันมาก ที่ได้สอนวิธีเล่นสนุก ๆ ให้ และเดชะ โชคชัยคราวนี้ ขอลมฟ้าอากาศได้บันดาลให้เรือลำที่เราจะแล่น ไปเมืองสยามได้ดำเนิรสะดวก ดุจเดียวกับลำย่อม ๆ ที่ใช้แล่น

๑๕ ชะนะเมื่อกี้นี้ด้วยเทอญ " พอสนทนาและดูเครื่องเล่นอีกสัก ครู่ท่านราช ูตก็ออกไป. บทที่ ๖๘ ราชทูตไปเยี่ยมสำนักสามเณร มิซซังต่างประเทศ. ครั้นถึงวันที่ ๑๐ เดือนธันวาคม คณะราชทูตได้ไปเยี่ยม สำนักสามเณรมิซซังต่างประเทศที่ได้กำหนดไว้กับท่านบาดหลวง เดอลิยอน ผู้เป็นล่ามซึ่งมาด้วยกันแต่เมืองไทย และท่าน บาดหลวงเดอบรีซาเซียร์อธิการแห่งสำนักสามเณรนั้น พอได้ ข่าวว่าราชทูตมาึงสำนักสามเณรแล้ว ท่านบาดหลวงอาเบเดอ ชวาซี ซึ่งเคยเป็นอุปทูตไปเมืองไทยแต่ก่อน ก็ได้ออกไปต้อนรับและพาไปเลี้ยงน้ำชา ใช้ปั้นและถ้วยชุดเงินชุดทอง ี่เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ได้ถวายท่านไว้แต่เมื่อครั้งยังอยู่ในกรุงสยาม และนอกนั้น ในห้องเลี้ยงยังได้เผาไม้แก่นจันทน์กลิ่นหอมฟุ้งตระ- หลบไปทั่วทั้งห้อง. เมื่อท่านราชทูตกินน้ำชาพลางคุยพลางกับบรรดาสังฆราช บาดหลวงแห่งสำนักนั้น และสำนักอื่นซึ่งได้นิมนต์มาในกิจ มงคลนี้ พอสักครู่หนึ่งท่านอธิการเดอบรีซาเซียร์ เห็นได้ เวลากาลเหมาะก็ยืนขึ้นกล่าวอารัมภกถาต้อนรับราชทูต เป็นใจ ความดังนี้ -- " ท่านราชทูต เมื่ออาตมภาพมาระลึกถึงพระมหา

๑๖ กรุณาธิคุณที่พระเจ้าแผ่นดินสยาม ได้ทรงอุปัมภ์ค้ำชูท่านสังฆราช บาดหลวงคริศตัง และทรงต้อนรับราชทูตฝรั่งเศสด้วยเมตตา ปราณีและเกียรติยศอันใหญ่ยิ่งแล้ว อาตมภาพจะใคร่ต้อนรับ เลี้ยงดูท่านทั้งหลายผู้เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของพระองค์ให้ถึงขนาด ดุจเดียวกัน พระเจ้ากรุงสยามนั้นทรงอุปัมภ์ไม่เลือกหน้าว่า ชนชาติใด เสมือนหนึ่งทวยนาครไทยทีเดียว ฉะนี้ อาตมภาพ จึงใคร่จะเชื้อเชิญชนต่างชาติต่างภาษายิ่งมากยิ่งดี ให้มาประชุม กันทำการต้อนรับท่านราชทูตคราวนี้เป็นการตอบแทน แต่กลับ นึกว่าไม่ควรจะต้องเดือดร้อนในการเที่ยวหาคนต่างภาษามาสรร เสริญเจ้าคุณในภาษาของเขา เพราะเหตุว่าภายในสำนักนี้เองนอกจากใช้ภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาประจำชาติแล้ว ยังใช้เจรจากัน ด้วยภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในคราวที่ต้องการใช้ ฉะนี้อาตมภาพขอโอกาสนำพระสงฆ์ในสำนักนี้มาคำนับเจ้าคุณ ท่านองค์ใด ชำนาญในภาษาใด ก็จะได้วรรเสริญเจ้าคุณในแผนกภาษานั้น นักโบราณคดีจะสรรเสริญท่านในภาษาเฮเบรโอ ซึ่งเป็นภาษา นักปราชญ์ ( คล้ายสันสกฤตและบาลีสำหรับนักปราชญ์ไทย ) นักนิพนธ์จะสรรเสริญเป็นภาษาเครก ( โยนะกะพากย์ ) เพราะเป็นภาษาที่ไพเราะเสนาะโสต นักศาสนาจะสรรเสริญเป็นภาษา ละติน ซึ่งเป็นภาษาพื้นพระศาสนามีภูมิหนักแน่นอยู่ในประโยค และศัพท์ แล้วจะสรรเสริญเจ้าคุณในภาษาสยามซึ่งเป็นภาษา ที่ถูกหูถูกใจเจ้าคุณยิ่งกว่าภาษาใด ๆ ทั้งสิ้นในโลก ขอคำสรร-

๑๗ เสริญต่าง ๆ เหล่านี้จงสมแก่คุณสมบัติซึ่งมีอยู่ในตัวเจ้าคุณผู้เป็น อาคันตุกะมาเยี่ยมสานที่นี้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน สยามผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐด้วยเทอญ " พอสิ้นอารัมภกถาของท่านอธิการนี้แล้ว มีพระสงฆ์องค์ หนึ่งออกมาต้อนรับเจ้าคุณราชทูตในนามของพระสงฆ์สมณาจารย์ ในสำนักนั้น กล่าวเป็นภาษาเฮเบรโอว่า. " ท่านราชทูต เหตุเดิมที่ได้ตั้งสำนักนี้ ก็เพื่อจะได้สั่ง สอนศาสนาแก่ชนต่างชาติ บัดนี้ก็ได้แลเห็นผลสำเร็จสมประ สงค์อยู่แล้ว โดยที่สงฆ์ซึ่งได้เรียนจากสำนักนี้ ไปผูกไมตรี จิตต์กับชนชาติของเจ้าคุณ ถึงกับพระเจ้าแผ่นดินรับสั่งใช้เจ้าคุณมาเยี่ยมเยือนแทนพระองค์และแทนชาติฉะนี้ นับว่าเป็น เกียรติยศอันใหญ่ยิ่งได้มาถึงสำนักนี้แล้ว ฉะนี้ จึงขอชวนกัน โมทนาคุณแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทรงพระมหากรุณาเห็นปรากฎถึงเพียงนี้ และขอพระองค์จงเพิ่มพูนอานิสงส์ให้เต็มเปี่ยม บริบูรณ์แก่เจ้าคุณด้วย ให้เจ้าคุณรู้สึกซึมทราบดีในพระองค์ผู้ ทรงคุ้มครองเจ้าคุณทุกเมื่อเชื่อวันเทอญ " ครั้นจบสุนทรพจน์ลงก็ได้มีล่ามกล่าวซ้ำเป็นพากย์สยามให้ ท่านราชทูตฟังเข้าใจความได้ตลอด แล้วก็ได้มีพระสงฆ์อีกองค์ หนึ่งยืนขึ้นกล่าวเป็นภาษาเครกในนามของสามเณร ซึ่งเรียนอยู่ ในสำนักนั้นว่า " ท่านราชทูต แม้บรรดาท่านทั้งหลายที่มาคอยต้อนรับ ๒ ๑๘ คำนับเจ้าคุณอยู่ในเวลานี้ จะรู้สึกดีใจในการมาเยี่ยมเยือนของ เจ้าคุณสักเท่าไรก็ดี ก็ยังไม่เทียมเท่าความรู้สึกปีติยินดีแห่งคณะ นักเรียนสามเณร เพราะได้เห็นแก่ตาแล้วว่า ชนชาวเมือง สยาม ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายจะไปสั่งสอนต่อไปข้างหน้านั้นเป็นคน ชะนิดไร ดีเพียงไร น่ารักใคร่เพียงไร เป็นความสัตย์จริง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยายามจนสิ้นสุดกำลัง ที่จะฝึกฝนตนให้เป็น ผู้มีความรู้และความศรัทธาแก่กล้า เพื่อให้ท่านผู้ใหญ่เลือกส่ง ไปยังเมืองของท่านซึ่งบริบูรณ์ด้วยคนดีและคุณสมบัติอื่นเป็นอเนกประการ ขาดอยู่สิ่งเดียวยังไม่นับือพระผู้เป็นเจ้า เพราะยัง ไม่รู้จักคุณูปการะของพระองค์ แต่เป็นที่หวังว่าเมื่อได้มีผู้สั่งสอน แล้ว คงยินดีปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์ เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวและเกียรติยศของพระองค์ เมื่อเจ้าคุณเป็น คนอยากรู้อยากเรียน เป็นคนมีความเมตตากรุณา ทั้งประกอบ ด้วยสติปัญญาเแลียวฉลาดเฉียบแหลมดังที่ได้ปรากฎแล้วในเมือง นี้นับครั้งไม่ถ้วน ก็เป็นที่ส่อให้เห็นว่าชาวเมืองสยามประกอบ ไปด้วยคุณสมบัติเพียงไร การสอนศาสนาคงเป็นการง่ายดาย เป็นแน่นอน เมื่อฉลาดสำหรับกิจการอันเกี่ยวกับโลกแล้ว ทำ ไมจะไม่ฉลาดสำหรับความรู้อันเกี่ยวถึงพระถึงเจ้าเล่า ในที่สุด นี้ขอเจ้าคุณจงจำเริญมีความสุขในโลกนี้ยิ่งนานวันยิ่งมากขึ้น จน กว่าเจ้าคุณจะได้รู้จักรักใคร่องค์พระผู้เป็นเจ้าทีเดียว เพื่อความ สุขและเกียรติยศของเจ้าคุณ ของพระเจ้าแผ่นดินและชาติสยาม

๑๙ ทั้งหมด สาธุ " พอหมดคำชัยมงคลภาษาเครกและคำแปลอธิบายแล้ว พระสงฆ์อันดับอีกองค์หนึ่งมากล่าวคำภาษาละตินในนามของคณะบาดหลวง ซึ่งจะโดยสานกลับไปเมืองไทยกับราชทูตว่า -- " เจ้าคุณราชทูต การที่แลเห็นเจ้าคุณในท่ามกลางพวก อาตมภาพนี้ทำให้อิ่มเอิบใจที่สุด และหากจะมีผู้สั่งให้ลงเรือไป เมืองสยามกับเจ้าคุณในเวลาบัดเดี๋ยวนี้ อาตมภาพจะไม่ขอรอต่อ ค้างสักครู่เดียว จะยินดีลงไปแต่ในเวลานี้ทีเดียว เพราะรู้สึก ว่าไปในเรือลำเดียวกับเจ้าคุณก็ราวกับอยู่ร่วมด้วยญาติมิตรสนิทผู้ ปรารนาแต่ดีตต่อคน ความสนิทสนมและไมตรีจิตต์ซึ่งเจ้าคุณ แสดงออกมาให้เห็นแต่ในเมืองฝรั่งเศสนี้ เป็นสักขีพะยานอัน แน่นอนว่า ถ้าถึงเมืองไทยแล้ว พวกอาตมภาพมีแต่หวังว่าจะ ได้รับส่วนไมตรีจิตต์ จากเจ้าคุณและชาวเมืองของเจ้าคุณดุจเดียว กัน จึงยินดีทิ้งบ้านเมืองลงเรือโดยปราศจากความวิตกทุก อย่าง ในระวางที่เจ้าคุณอยู่ในเมืองฝรั่งเศสนี้ เจ้าคุณได้แสดง ความสามารและคุณความดีหลายประการ ซึ่งได้เป็นเหตุให้ชาวเมืองนี้นับแต่พระเจ้าแผ่นดินลงมาถึงราษฎรชั้นต่ำรักใคร่เจ้าคุณถึงกับได้ทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรีในระวางสองพระนครสำเร็จ สมพระราชประสงค์ของทั้งสองเมือง. แต่เดิมประเทศสยาม และประเทศฝรั่งเศสเป็นเมืองห่างไกล อยู่สองทาง ๆ หนึ่ง คือตั้งอยู่คนละขั้วโลกพิภพ และอีกทาง ๒๐ หนึ่งคือ นับถือศาสนาคนละอย่างต่างทิศแห่งความคิดกันเท่ากับประเทศก็ว่าได้ บัดนี้เล่า เจ้าคุณได้จัดให้สองประเทศเป็น เหมือนหนึ่งเมืองใกล้ไปทางหนึ่งอยู่แล้ว เพราะธรรมดาเมืองที่ เป็นไมตรีรักใคร่กัน ถึงไกลก็เหมือนใกล้ ส่วนเรื่องห่างกัน ทางศาสนาเล่า ก็เป็นที่หวังว่าไม่ช้าจะพากันดำเนิรคู่เรียงเคียง ไหล่ ร่วมจิตต์ใจกันสนิทสนมทั้งสองทาง " เมื่อเสร็จคำชัยมงคลแผนกภาษาละตินนี้แล้ว ท่านบาด หลวงอาเบเดอลิยอน ก็ได้ลุกขึ้นกล่าวชัยมงคลคาถาในนามของ ท่านบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเวลานั้นยังอยู่ในเมืองสยามเป็นภาษาไทยว่า-- " ท่านราชทูต นับแต่วันต้นที่เจ้าคุณเหยียบแผ่นดินฝรั่งเศส เจ้าคุณได้ยินก็แต่คำสรรเสริญเยินยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินสยามและตัวเจ้าคุณเอง ซึ่งเป็นการสมควรอย่างยิ่งและเป็นที่ปรารนาของอาตมภาพมานมนาน ที่จะได้มีโอกาสรำพันเกียรติคุณอันถูกใจ อาตมภาพสนิทสนมกว่าคนใด ๆ ในบรรดาผู้ที่เคยสรรเสริญเจ้าคุณมาแล้ว เพราะซึมทราบละเอียดสุขุมใน คุณความดีของเจ้าคุณมากกว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้น ค่าที่เคยรู้ จักและเคยรับพระคุณจากเจ้าคุณตั้งแต่ยังอยู่เมืองสยามด้วยกันประการหนึ่ง ทั้งด้วยเหตุที่ได้เป็นล่ามเจ้าคุณตลอดเวลาที่เจ้าคุณมาอยู่เมืองฝรั่งเศสจนกาลจนบัดนี้ จึงได้รู้แก่ใจเห็นแก่ตาชัด ๆ ว่า ที่ชาวเมืองนี้สรรเสริญพระบารมีของพระเจ้ากรุงสยามและ ๒๑ คุณความดีของเจ้าคุณยังห่างจากความเป็นจริงอีกมากนัก ความ รู้สึกอันกิดแต่น้ำใสใจจริงของอตมภาพนี้แหละ อาตมภาพ ใคร่จะแสดงให้เจ้าคุณทราบต่อหน้าประชมชนจริง ๆ หากแต่ โอกาสยังไม่ให้ บัดนี้โอกาสมาถึงเข้าแล้ว อาตมภาพรู้สึกปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง. อันว่าคนทั้งหลายในเมืองนี้รู้สึกในกฤษดาภินิหาร พระ คุณความดีงามแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามจริง เพราะ เกียรติคุณของพระองค์ฟุ้งขจรมาในทั่วสารทิศ ใคร ๆ ในโลก จึงเลยทราบได้ว่าแต่ในพระมหากษัตริย์ในบุรพทิศด้วยกัน พระเจ้ากรุงสยามเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติพัศถาน และพระปรีชา เฉลียวฉลาดยิ่ง พระองค์ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หลงแก่ขัตติย มานะประการใดประการหนึ่ง ทรงรางวัลคนดีไม่ว่าชนชาติตระ กูลใด พระองค์ทรงพากเพียรพยายามเพื่อบำรุงกรุงสยามให้รุ่ง เรือง ทรงผ่อนสั้นผันยาว ถ่อมและทรงพระองค์ตามศักดิ์ อันควรแก่พระมหากษัตริย์ มิให้คนสูงหมิ่นพระบารมี มิให้คนต่ำเกรงกลัวจนเกินเหตุ ซึ่งเป็นเครื่องชักจูงน้ำใจของ ชาวต่างประเทศไม่ว่าสกุลภาษาใด ให้เข้ามาพึ่งพระบารมีหาที่สิ้นสุดมิได้ ซ้ำใคร ๆ ก็ทราบดีอยู่ว่า ถึงแม้พระองค์ทรงนับถือศาสนาที่ผิดแผกแปลกประหลาดกว่าศาสนาของคนที่ไปอยู่ ในพระราชสีมาอาณาจักรของพระองค์ พระองค์มีพระทัยกว้าง ขวางอุปัมภ์บำรุงทุกศาสนา เช่นพระสงฆ์สัปบุรุษคริศตัง พระ ๒๒ องค์ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นบุตรในอุทรของพระองค์ พระมหา กรุณาธิคุณของพระองค์เหล่านี้แผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ ใคร ๆ ก็รู้อยู่ดังที่ว่ามาแล้ว แต่ใครเล่าจะมารู้สึกสนิทสนมเท่ากับ อาตมภาพผู้ที่ได้มีโอกาสไปอยู่ในเมืองไทย เห็นแก่ตารู้แก่ใจเป็น เวลานานหลายปี ส่วนตัวเจ้าคุณราชทูตเล่า ใคร ๆ ในเมืองนี้ลือว่าเจ้าคุณเฉลียวฉลาดดังนี้ดังนั้น แท้จริงคนที่พูดดังนี้รู้ก็แต่ตามสำเนียงคำ แปลของอาตมภาพคนเดียวเท่านั้น และความสัตย์จริงอาตมภาพ แทบจะอายแก่ใจไม่รู้กี่ครั้งกี่หน ต่อเมื่อเจ้าคุณถูกซักามความ เห็นแล้วเจ้าคุณวานให้อาตมภาพแปลคำตอบของเจ้าคุณ อาตมภาพ รู้สึกดีแสนดีว่าคำแปลกับคำจริงของเจ้าคุณห่างกันเป็นเส้นเป็น โยชน์ทีเดียวก็ว่าได้ ที่รสเผ็ด ๆ มัน ๆ อร่อย ๆ ในภาษาสยาม ตามที่เจ้าคุณใช้พูดนั้นมีอยู่ทุกรสชาติตามแต่เรื่อง ครั้นแปลสิ กลายเป็นของจืดราวกับน้ำท่าอะไรมิรู้ ยากแท้ที่จะอธิบายให้ เข้าใจรู้ได้ดี เป็นการหนักใจไม่น้อยเมื่อจะแปลออกมาเป็น ฝรั่งเศส ที่จะรักษารสชาติในคำพูดของเจ้าคุณมิให้ระเหยศูนย์ เป็นลมไป สิ่งที่ชาวเมืองนี้ชมในเจ้าคุณ คือกิริยาอ่อนโยนตามใจผู้ต้อนรับ ไม่ว่าเจ้าคุณจะไปในสถานที่ใด เขายังชม เจ้าคุณที่เป็นคนใจเยือกเย็นไม่มุทลุดุดันเลย ใช้แต่น้ำเย็นอยู่เสมอ นอกนั้นเขายังชมเจ้าคุณอีกเป็นร้อยแปดประการ และ ก็เป็นความจริงของเขาทั้งนั้น แต่เขาเหล่านี้ ถ้าเขาได้มีโอกาส ๒๓ อยู่ร่วมบ้านช่องกับเจ้าคุณมานมนานเหมือนอย่างอาตมภาพแล้ว จะมิกล่าวเหลิงไปถึงสวรรค์แลหรือ เพราะคุณสมบัติของเจ้าคุณเท่าที่เขาได้สังเกตเห็นนั้น ถ้าจะนำมาเปรียบกับที่อาตมภาพ ได้เห็นเองอยู่ทุกคืนวัน ก็เหมือนแสงหิ่งห้อยมาเปรียบกับแสง พระอาทิตย์ก็ปานกัน นี่อาศัยพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน สยามได้ทรงพระประสงค์ให้อาตมภาพติดตามมาเป็นล่ามเจ้าคุณในเที่ยวนี้ จึงได้มีโอกาสเห็นคุณความดีของเจ้าคุณลึกซึ้งคัมภีรภาพแท้จริงเมื่ออาตมภาพระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระเจ้ากรุง สยาม และกิริยาน่ารักนับถือของเจ้าคุณแล้ว ว่าแต่ลำพัง เป็นมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน ก็รู้สึกอยากสรรเสริญและอยาก ปรารนาดีต่ออยู่หาที่สุดมิได้ แต่ว่าเมื่ออาตมภาพมาตรอง เห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นต้นเหตุให้ความสำราญใจได้บังเกิดแก่อาตมภาพเห็นปานฉะนี้ ทำให้อยากแสน ที่จะอยากตอบแทนคุณความดีที่อาตมภาพได้รับนั้น เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามกับเจ้าคุณและประชาชนทั่วไปในประ เทศนั้น ได้มีความชื่นชมยินดีเป็นผาสุกทั่วหน้ากันในโลกนี้ สิ้นกาลนาน และเพื่อต่างจได้ร่วมสานอภิรมย์ยินดีนยิ่งในวิมานสวรรค์กับพระองค์เป็นนิรันตรกาล. " ครั้นสิ้นกระแสชัยมงคลกาฝ่ายพระสงฆ์นั้นแล้ว ท่านอัครราชทูตแสดงความขอบใจแล้วขอบใจเล่าในนามของท่านเอง ทั้งในนามของชาติสยาม มีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอาทิ ๒๔ ว่าจะมีรู้ลืมตลอดชีวิต ท่านอัครราชทูตว่า -- " เดิมเมื่อจะมาเมืองฝรั่งเศสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้า กรุงสยามทรงรับสั่งซ้ำอยู่เสมอว่า ถ้าติดขัดประการใดเมื่อไร ให้ไว้ใจพวกบาดหลวงเถอะ ถ้ากิจการใดแก้ไม่ได้ไม่สำเร็จ ก็ จงมอบกิจการนั้นให้เป็นภาระของท่านบาดหลวงเถอะ ท่านจัก ช่วยแก้ไขให้สำเร็จทุกประการ ก็เป็นการสมพระราชประสงค์ ทุกสิ่งทุกอย่างดังที่ทรงรับสั่งนั้น สมควรแล้วที่จะไว้วางใจใน ท่าน เพราะเห็นแล้วว่าท่านล้วนตั้งอยู่ในศีลธรรมแท้ แต่ ความจริงนี้ ขอท่านทั้งหลายจงอย่ามีความวิตก ถ้ากลับถึง เมืองไทยเมื่อใด ก็จะมิลืมที่จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบโดย ละเอียด ให้พระองค์ซึมทราบดีในพระคุณของสำนักนี้ ซึ่งมี ต่อพระองค์และต่อพวกราชทูตของพระองค์ จะมิลืมที่จะกล่าวสรรเสริญให้สมกับเมตากรุณาคุณ ซึ่งราชทูตของพระองค์ได้ รับจากสำนักนี้ทุกคืนวัน นับแต่เริ่มที่ได้เหยีบประเทศฝรั่งเศสมา แท้จริงในเมืองนี้เราก็ได้เคยไปเยี่ยมใครต่อใครมาเป็นอันมากแล้ว แต่ก็ยังไม่มีสำนักใดที่พวกเราชาวสยามทั้งหลาย ได้ยินดีมา เยี่ยมเท่ากับสำนักสามเณรมิซซังต่างประเทศนี้เลย หากว่าต่อ ไปข้างหน้าพวกเราราชทูตสยามได้มีโอกาสสนองพระคุณนี้ต่อคณะบาดหลวงสำนักนี้ซึ่งไปเมืองไทยนั้น ขอจงอย่ามีความวิตกจะ สนองให้ถึงขนาดสมกับพระคุณที่ได้รับในคราวนี้ทีเดียว " เมื่อสิ้นคำท่านอัคราชทูตแล้ว เจ้าพนักงานภัตตกิจก็มา

๒๕ เชิญที่ประชุมให้เข้าห้องรับประทานอาหารว่าง จึงได้ยกเลิกการ ประชุม และต่างพากันไปในห้องนั้นทันที การเลี้ยงอาหาร ราชทูตที่สำนักสามเณรมิซซังคราวนี้ จัดเป็นการใหญ่โตอย่างกับในวังหลวง จนเป็นเหตุให้ท่านอธิการเองซึ่งรู้ใจท่านราชทูต ว่าโปรดข้างมัธยัสถ์ดุจเดียวกับเป็นสงฆ์องค์หนึ่งเหมือนกัน รู้ สึกกระดากใจ ถึงกับออกปากว่ากับท่านราชทูตว่า-- " เจ้าคุณ จงอย่าพึ่งติความฟุ่มเฟือยในการใช้อาหารการกินของสำนักนี้เลยเพราะเป็นความสัตย์จริงการเลี้ยงทุกวันธรรมดาหาเป็นเช่นดังวันนี้ ไม่ ขอสืบต่อขุนนางสองคนของเจ้าคุณที่ได้มากินเข้าที่นี่คราวหนึ่ง เมื่อเจ้าคุณไปเที่ยวข้างเหนือโน้นคงรู้ดี ความจริงเรื่องมันเป็นดังนี้ คือเมื่อข่าวลือว่าเจ้าคุณราชทูตได้รับปากว่า จะ มากินเข้าที่สำนักนี้แล้ว มีทายิกาใจศรัทธาคนหนึ่งเห็นความ ขัดข้องของอาตมะบรรดาสงฆ์ในสำนักนี้ที่จะรับรองราชทูตของพระ เจ้ากรุงสยามให้สมควรกับเกียรติยศของพระองค์ นางทายิกานั้นจึงรัชเป็นภาระธุระในการจัดเลี้ยงราชทูตคราวนี้ โดยสำนักสามเณรไม่ต้องเป็นธุระเลย อันว่าเครื่องโต๊ะ ซึ่งล้วนเป็น เงินเป็นทองติดตราขุนนางชั้นสูงในเมืองฝรั่งเศส พร้อมด้วย อาหารเครื่องบริโภคและองุ่นวิเศษมีชื่อที่ได้นำมาเลี้ยงนี้ ล้วน แต่นางทายิกาคนนั้นออกให้ทั้งสิ้น ขอเจ้าคุณจงโปรดทราบไว้ หาไม่อาจเข้าใจผิดไปสนัดใจ " ท่านอธิการว่าพลางชี้ไปทางห้องใน ก็เห็นจัดการอย่าง ๒๖ บริบูรณ์จริง มีคนใช้แต่งเครื่องแบบติดตราขุนนางสามีนางทายิกา ผู้ศรัทธานั้นคอยประจำเฝ้าท่านอัครราชทูต อุปทูต ตรีทูต และขุนนางอื่นคนละสองคนทุก ๆ คน แต่ถึงจัดการเลี้ยงเป็น การใหญ่โตดังนี้ ท่านอธิการได้ร้องขอจากนางทายิกานั้น ให้ จัดการเลี้ยงราชทูตอย่างฉันวัด ๆ คือให้ต่างบริโภคอาหารโดย เสงี่ยมกิริยาวาจาตามธรรมเนียมที่เคยเป็นมาในสำนักสามเณรนั้น มิให้มีการหัวเราะเอิกเกริกเฮฮาประการใดประการหนึ่งเลยเป็นอัน ขาด เพื่อเป็นการตักเตือนที่ประชุมเลี้ยง ให้สำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทรงประทานอาหารนั้นให้ต่างอิ่ม หนำสำราญ มีเรี่ยวมีแรงสำหรับฉลองพระเดชพระคุณของพระ องค์ในกาลข้างหน้าต่อไป อาศัยคำขอร้องของท่านอธิการนี้ การ ก็ได้เป็นไปอย่างสุภาพเรียบร้อย สมควรกับสานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเกียรติยศแห่งราชทูตทุกประการ. พอเลี้ยงราชทูตเสร็จแล้วก็จัดการสนทนาปราศรัยกันในห้อง อื่น เพื่อให้คนที่ตามราชทูตมาเช่นล่าม เสมียนและพนักงาน อื่นได้มีโอกาสรับประทานอาหารด้วย และครั้นนาฬิกาตี ๔ ทุ่ม ท่านอัครราชทูตก็ลาท่านเจ้าอธิการเดอบรีซาเซียร์ และที่ประชุมก็พากันกลับยังสำนักของตน.



๒๗ บทที่ ๖๙ คนไทยสอบไล่ชั้นมหาปริญญา. เพื่อจะเชิดชูเกียรติคุณ และความสามารถของชาวสยามให้ ปรากฎต่อชาวฝรั่งเศสให้ยิ่งขึ้น คณะบาดหลวงมิซซังต่างประ- เทศจึงได้ปรารภถึงการที่จำนำนักเรียนไทยคนหนึ่ง ( ซึ่งเวลา นั้นอยู่ในกรุงปารีส ) บิดาเป็นชาวเบงคาลีและมารดาเป็นไทย ชื่ออันโตนีปินโต ให้เข้าสอบไล่วิชชาตามหลักสูตรของมหา วิทยาลัยซอร์บอน เป็นการเปิดเผยต่อหน้าคณะปริญญาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อจะได้รับประกาศนียบัตรเป็นมหา ปริญญาแห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนด้วยบ้าง เมื่อราชทูตสยาม ได้ทราบในความปรารของท่านบาดหลวงดังนั้นก็เห็นด้วยทุกประ การ และตัวท่านกับมิตรสหายของมิซซังอื่น ๆ เป็นอันมาก ยังได้พากันแนะนำด้วยว่า ควรอุทิศวายคำแก้ปัญหาข้อสอบปริญญาของนักเรียนไทยคนนั้น แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส และเชื่อกันว่าคงพอพระทัยรับ จะได้เป็นที่สง่าผ่าเผยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ( ที่ตรงนั้นขออธิบายสำหรับคนที่ยังไม่ชินกับวิธีสอบเป็นปริญญาตามมหาวิทยาลัยเมืองฝรั่งว่า การที่จะสอบเป็นมหาปริญญานั้น ไม่ดำเนิรตามวิธีสอบนักเรียนในโรงเรียนสามัญเลย ในโรงเรียนสามัญนักเรียนมีแต่ตอบคำถามของผู้สอบ หรือข้อถามของผู้สอบ ถ้าตอบถูกก็นับว่าสอบ ไล่ได้ แต่สำหรับตำแหน่งมหาปริญญานั้น สมมตว่าผู้สมัคร

๒๘ สอบมีความรู้มากอยู่แล้ว จนอาจเป็นอาจารย์ชั้นสูงได้เองแล้ว เพราะเหตุนี้ แทนที่จะมีข้อถามให้ผู้สมัครสอบตอบนั้น ผู้สมัคร สอบเองต้องเป็นเหมือนหนึ่งอาจารย์ผู้ออกมาแก้อธิบายปัญหาใดปัญหาหนึ่งตมอนุมัติความรู้เห็นชอบของตนให้ที่ประชุมคณะมหาปริญญาเก่าฟัง ถ้าแก้ปัญหานั้นโดยละเอียดสุขุมเพียงพอจน เป็นที่พอใจของมหาปริญญาผู้ประชุมฟัง ทั้งโต้เถียงถูกต้องกับ มหาปริญญาผู้อาจซักถามในท่ามกลางที่ประชุมนั้น ก็นับว่าผู้นั้น เป็นมหาปริญญาคนหนึ่ง วิธีสอบชั้นมหาปริญญานี้ ผู้ที่จะ สอบต้องตระเตรียมตนตามลำพังโดยค้นหาความรู้ตามหนังสือเก่า ใหม่ ประกอบกับความเห็นของตนเอง แล้วเรียบเรียงขึ้น เป็นหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเรียกว่า " คำแก้ปัญหาข้อสอบมหาปริญญา " และธรรมดาหนังสือคำแก้ปัญหาข้อสอบมหาปริญญา นี้ ในหน้าต้นมักต้องมีคำอุทิศให้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่นับถือของ ผู้สมัครสอบคล้าย ๆ กับฝากตัวให้อยู่ในร่มเงาบารมีของท่านผู้นั้น และเพื่อแสดงความกตัญญูกับความเคารพด้วย โดยอาศัยขนบ ธรรมเนียมนี้คำอุทิศ " คำแก้ปัญหาข้อสอบมหาปริญญา " ของ นักเรียนไทยอันโตนีปินโต จึงได้อุทิศถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินฝรั่ง เศส ซึ่งเป็นราชูปถัมภกอันใหญ่ยิ่งในสมัยนั้น ) เมื่อตกลง กันในเรื่องอุทิศคำปรารภเบื้องต้นของ " คำแก้ปัญหาข้อสอบ มหาปริญญา " นั้นแล้ว ท่านมหาสังฆราชแห่งกรุงปารีสได้รับ ธุระจัดการพานักเรียนไทยนั้นไปเฝ้าถวายตัวตามธรรมเนียม ครั้น

๒๙ ึถึงวันที่ ๒๗ เดือนธันวาคม ท่านมหาสังฆราชกับท่านอธิการ เดอบรีซาเซียร์หัวหน้าโรงเรียนมิซซังต่างประเทศ กับบาดหลวง อีกองค์หนึ่งก็ได้พากันไปเฝ้าที่พระที่นั่งวังแวร์ซายส์ เวลาเสวย พระกระยาหารกลางวันแล้ว มีรับสั่งให้หาเข้าไปเฝ้า นักเรียน ปินโตถือ " คำแก้ปัญหาข้อสอบ " ซึ่งพิมพ์ด้วยกระดาษ ต่วนมีขอบเงินขอบทองสลับกัน เข้าไปต่อหน้าพระที่นั่ง ขณะ นั้นท่านอธิการเดอบรีซาเซียร์ จึงกราบทูลว่า " ข้าแต่มหา บพิตร อาตมภาพขอนำนักเรียนสงฆ์ชาวไทยซึ่งได้เรียนใน สำนักพระสงฆ์ฝรั่งเศสที่เกาะมหาพราหมณ์ ใกล้พระนครหลวง เมืองสยามตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ และซึ่งเวลานี้มีความรู้อาจเข้า สอบชั้นมหาปริญญาได้ ให้เข้ามาสอบไล่ชั้นมหาปริญญาแห่งมหาวิทยาลัยของพระองค์ ขอพระองค์ทรงพระมหากรุณาโปรด รับคำอุทิศ " คำแก้ข้อสอบมหาปริญญา " ของเขาไว้เป็นสักขี พะยานแห่งพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้ ของพระองค์ ต่อโรงเรียนฝรั่งเศสในพระบรมราชูปถัมภ์ที่เขาได้ศึกษาวิชชาความ รู้มา ทั้งต่อชาติประเทศสยามอันเป็นบล้านเกิดเมืองนอนที่รักยิ่ง ของเขาอีกชั้นหนึ่งด้วย ขอวายพระพร " พระบาทสมเด็จ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงตรัสตอบว่า " ดีแล้วคุณพ่อ ดีแล้ว ฉันยินดีรับคำอุทิศนั้น " แล้วท่านอธิการทูลขอพระราชทาน อภัยต่อไปว่า " อาตมภาพขอรับพระราชทานอภัยในการที่ บังอาจเข้ามาเฝ้าพระองค์อย่างกันเอง ขอพระองค์ทรงพระเมตตา ๓๐ อย่างทรงเห็นเป็นการหมื่นพระเดชานุภาพเลย เพราะธรรมดา สงฆ์ยิ่งสงฆ์สำหรับท่องเที่ยวสั่งสอนในนานาชาติ เช่นอย่าง คณะมิซซังของอาตมภาพนี้แล้ว เป็นอันเหลือวิสัยที่จะปฏิบัติ ในเชิงเฝ้าแหนเหมือนคนเคยกับพระราชสำนักได้ ที่จริงมิใช่ จะไม่ยินดีแสดงความรู้พระมหากรุณาธิคุณ ให้ถูกระเบียบก็หา มิได้ อาตมภาพรู้สึกในพระมหากรุณาธิคุณเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ แต่กระนั้นอาตมภาพหายวิตกในข้อนี้ เพราะทราบพระทัยของพระองค์ ว่าทรงโปรดข้างความสัตย์ซื่อสุภาพราบเรียบยิ่งกว่าคุณสมบัติอื่น สำหรับสงฆ์มิซซังเช่นอย่างอาตมภาพนี้ " ที่ตรง นี้ทรงรับสั่งเป็นคำรบสองว่า " ดีแล้วคุณพ่อ ดีแล้ว เท่านี้ ฉันยินดีมาก ถ้ายิ่งกว่านี้ซิ ฉันจึงจะไม่ชอบ " ท่านอธิการทูลตอบไปว่า " วิธีแสดงความกตัญญูรู้ในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ต่อคณะของอาตมภาพสงฆ์มิซซังนี้ คือภาวนาอุทิศ ถวายพระองค์ทุกเช้าเย็น เช่นเมื่อเดือนก่อนที่ทราบว่าพระองค์ ไม่ทรงสำราญพระกาย บรรดาอาตมภาพสงฆ์คณะมิซซังทั้งหลาย มีแต่อ้อนวอนพระกาย ต่อพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษ เร้าพระองค์ให้ทรง โปรดบำรุงรักษาพระองคต์ให้พ้นอุปัทวันตราย และเวลานี้ก็มีแต่ โมทนาพระคุณของพระองค์ ที่ได้ทรงโปรดให้เป็นไปสมกับความ ปรารถนาอันสุจริตของอาตมภาพ ๆ จึงได้มีโอกาสอันมหาประเสริฐ มาเฝ้าพระองค์กำลังทรงพระสำราญอยู่ในบัดเดี๋ยวนี้ " ที่ตรงนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงรับสั่งเป็นวาระที่สามว่า " ดี ๓๑ แล้วคุณพ่อ ดีแล้วอย่างนี้ ขอคุณพ่อช่วยสวดให้ฉันมาก ๆ เถิด " แล้วต่างก็วายคำนับลาออกจาที่เฝ้า. ครั้นถึงวันที่นักเรียนไทยอันโตนีปินโตเข้าไปแล้วปัญหาสอบเป็นมหาปริญญานั้น คณะราชทูตไทยก็ได้ไปประชุมฟังอยู่ด้วย เพราะท่านมีความยินดีด้วยเหตุสองประการ ประการต้น เพราะ การสอบแก้ปัญหามหาปริญญาวันนั้น เป็นเกียรติยศพิเศษสำหรับชนชาติไทยทั่วไป และสำหรับคณะท่านเองด้วย ประการ สองเพราะจะได้เป็นโอกาสไปเชยชมสานมหาวิทยาลัยใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตนยังไม่รู้เห็นว่าเป็นอย่างไร. ราชทูตถึงมหาวิทยาลัยเวลาบ่าย ๒ นาฬิกาครึ่ง พอถึง ประตูมหาวิทยาลับคณะปริญญาเก่า ๆ ของสำนักนั้น ก็ได้ออก มาคำนับรับรองท่าน และพาไปนั่งพักอยู่ในห้องอบไฟข้างห้อง ประชุมใหญ่ที่นักเรียนไทยจะเข้าสอบ พอถึงในห้องนั้นแล้ว ท่านมหาปริญญาผู้มีอาวุโสได้ลุกขึ้นกล่าวคำเชื้อเชิญว่า-- " ข้าแต่ ท่านราชทูต ในโอกาสที่ท่านมาถึงมหาวิทยาลัยซอร์บอนนี้ บรรดาข้าพเจ้าชาวสำนักนี้รู้สึกเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะแสดงความขอบพระเดชพระคุณต่อพระเจ้าแผ่นดินสยามพระมหากษัตริย์ของท่าน เพราะทราบว่าพระองค์ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงบำรุง ปริญญาแห่งสำนักนี้ ในพระราชอาณาเขตต์ของพระองค์ ทรง อนุญาตให้ตั้งสำนักศึกษาเล่าเรียน ดังปรากฎจากตัวอย่างนักเรียน ไทยซึ่งจะเข้าสอบชั้นปริญญาในวันนี้ และซึ่งเคยได้ศึกษาเล่า

๓๒ เรียนต่ออาจารย์สำนักนี้ กล่าวคือบาดหลวงบางองค์ซึ่งช่วยกัน ตั้งโรงเรียนมหาพราหมณ์ใกล้พระนครศรีอยุทธยามาแล้ว อาศัย เหตุผลนี้เมื่อเจ้าคุณราชทูตกลับไปยังประเทศสยามแล้ว ขอเจ้า คุณได้โปรดนำความรู้สึกของบรรดาปริญญาชาวมหาวิทยาลัยซอร์ บอนนี้ ให้ทรงทราบในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระเจ้ากรุง สยามด้วย " เจ้าคุณอัครราชทูตตอบว่า-- " ข้อนี้ข้าพเจ้าคงไม่ลืมและข้าพเจ้ายินดีรับรองต่อมหาปริญญาทั้งหลายมีท่านเป็นต้น ว่าพระมหากษัตริย์ของข้าพเจ้าคงทรงพอพระทัยในการสั่งสอนของ มหาปริญญาแห่งสำนักนี้ ซึ่งจะออกไปสอนในประเทศของพระ องค์เท่าเดิมหรือยิ่งกว่าเดิมเสียอีก จะตั้งสั่งสอนศาสนาก็ดี ในบรรดาพลเมืองของพระองค์ ใครจะฟังจะถือพระองค์คงอนุญาต แต่เดิมมา พระองค์ทรงอุปัมภ์ค้ำชูบาดหลวงผู้เป็นปริญญาจาก สำนักนี้ด้วยประการใด ต่อเมื่อข้าพเจ้าไปนี้ รับรองว่าพระองค์ คงทรงทะนุบำรุงและช่วยเหลือ ด้วยน้ำพระทัยกรุณาดุจเดียวกัน ขอท่านจงโปรดอธิบายให้คณะมหาปริญญาทราบทั่วกันเถิด " ถัดจากนี้ไปราชทูตได้ไปดูโบส์ของมหาวิทยาลัยนั้น ท่าน ว่าทรวดทรงเหมาะดี ลายกนกงดงาม และพระแท่นที่บูชาก็ เป็นชิ้นมีฝีมืออย่างเอกอุอยู่ทั้งแท่น แล้วก็ได้พากันเข้าไปในห้อง สมุดของมหาวิทยาลัยนั้น พอเข้าไปข้างในเห็นสูงแลโล่ง แต่ กระนั้นก็มีชั้นเชิงและตู้โต๊ะอันเต็มไปด้วยหนังสือต่าง ๆ นา ๆ นับ ๓๓ แต่พื้นจนเพดานก็ตกใจร้องว่า-- " แหม ใหญ่จริง " บรรณา รักษ์ไดเอาพงศาวดารกรุงโรมมาเขียนด้วยมือจินตกวีเอก ในสมัยโบราณชื่อติดลิฟมาให้ท่านอัครราชทุตดู ล้วนแต่มีรูปวาดเขียน ย่อม ๆ อยู่ในนั้น ว่าด้วยชาวโรมันกระทำสงครามเป็นเล่ม วิเศษยิ่ง ส่วนท่านอุปทูตซึ่งเป็นผู้ได้เคยไปเที่ยวมามากในต่าง ประเทศฝ่ายตะวันออกก่อนที่จะออกมาเป็นอุปทูตคราวนี้ ท่านบรรณารักษ์ไปหยิบพระคัมภีร์โกหรั่น ของชาวอาหรับเขียนด้วยมือ ในแพรต่วนอย่างละเอียดมาให้ชม เพราะเป็นชิ้นวิเศษของห้อง สมุดนั้นอีกชิ้นหนึ่งเหมือนกัน นอกนั้นท่านราชทูตทั้งหลาย ยังได้แสดงความพอใจ ที่จะดูหนังสือที่พิมพ์ขึ้นในรัชชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชเจ้า ซึ่งมักกล่าวถึงศึก สงครามต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ได้มีชัยชะนะต่อพระราชศัตรูเป็นอเนก อนันตังจนเพลิน นอกนั้นท่านราชทูตยังได้ชี้ทางกลับไปเมือง ไทยที่ลูกโลกซึ่งมีอยู่นั้น ทั้งได้บอกชื่อดาวดาราเป็นภาษาไทย ในแผนที่ท้องฟ้านภากาศเป็นอันมากอีกด้วย แล้วต่างได้พากัน ออกจากห้องสมุดลงไปห้องประชุมใหญ่ สำหรับเป็นพะยาน ฟังคำอธิบายของนักเรียนอันโตนีปินโตว่าจะได้ตอบกับมหาปริญญาซอร์บอนอย่างไร. แรกที่เข้าไปในห้องประชุม ท่านราชทูตทั้งหลายถวายบังคมพระบรมรูป ซึ่งตั้งเป็นประธานอยู่ในที่นั้นก่อนแล้ว จึง ได้คำนับท่านผู้เป็นหัวหน้ากรรมการสอบ พร้อมทั้งบรรดาท่าน ๓ ๓๔ นักปราชญ์ราชปริญญาทั้งหลาย ผู้มาประชุมฟังและซักไซ้ไต่ถาม แล้วจึงได้นั่งลงในที่ของตน. ท่านราชทูตอยู่ดูการสอบนั้นตลอดเวลาที่นักเรียนไทยอันโต นีปินโตแก้ปัญหาให้ที่ประชุมฟัง เมื่อแก้เสร็จแล้วท่านผู้เปน หัวหน้าแสดงความเห็นว่าการเรียบเรียงข้ออธิบายทั้งคำโต้ตอบของ นักเรียนอีนโตนีปินโตนั้นล้วนแต่ตีน่าชมน่าสรรเสริญ แล้วท่าน ได้ตักเตือนปริญาใหม่ชาวไทยคนนั้นว่า-- " ดีแล้วท่าน เท่า ที่ท่านแสดงความสามารถอยู่นี้ ก็เป็นที่น่าชมเป็นอันมากทีเดียว แต่้ถ้าจะให้ดีจริง แต่นี้ไปควรท่านจะผูกใจศึกษาต่อ ๆ ขึ้นไป เป็นลำดับ เพราะว่าธรรมดาความรู้แล้วไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งรู้ยิ่ง มีข้อปัญหาที่ควรต้องเรียนอีกต่อไป " เมื่อท่านราชทูตได้ฟังท่าน ผู้ที่เป็นประธานในหมู่ปราชญ์ด้วยกัน กล่าวคำชมเชยนักเรียนไทยอันโตนีปินโตก็เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง แต่ท่านมาคิดฉงนว่า " เออก็ขณะเมื่อนักเรียนไทยอันโตนีปินโตกล่าวโต้ตอบปัญหากับ พวกปราชญ์อยู่นั้น ที่ประชุมได้พากันตบมืออยู่เอิกเกริกเช่นนี้ ทำไมหนอท่านผู้เป็นประธานจึงยังกล่าวชมเชยเล่า การตบมือ นั้นมิใช่การดูถูกดูหมิ่นแลหรือ " ที่ท่านคิดดังนี้ก็เพราะธรรม เนียมไทยแต่โบราณหาได้ใช้การตบมือเป็นการชมเชยในกลางประ ชุมดังนี้ไม่ จึงเป็นการจำเป็นต้อวอธิบายให้ราชทูตฟังว่า " การ ที่ได้ตบมือเป็นครั้งคราวเมื่อนักเรียนไทยตอบนั้น หาใช่การ เยาะเย้ยหรือหมิ่นประมาทไม่ เปนคำชมเชยต่างหาก ตรง

๓๕ ไหนเขาตอบคำซักไซ้เฉียบแหลมแยบคายดีที่ประชุมจึงตบมือชม หาใช่การประมาทหรือเยาะเย้ยไม่ " ท่านราชทูตรู้ดังนี้ก็ดีใจที่ ตัวได้แลเห็นชาวไทยเหมือนตนมาอยู่ในท่ามกลางหมู่ปราชญ์ราชปริญญา และได้รับคำชมเชยถึงเพียงนี้ เมื่อราชทูตจะลาออก ไปนั้น คณะปริญญาก็ได้ติดตามไปส่งถึงรถ เป็นการแสดงความเคารพด้วย. บทที่๗๐ ราชทูตไปดูโรงเรียนมหาราช วิทยาลัยชื่อหลุยเลอครังต์ นอกจากไปดูมหาวิทยาลัยซอร์บอนดังที่กล่าวมานี้ ท่าน ราชทูตไทยยังได้ไปดูมหาวิทยาลัยชื่อหลุยเลอครังต์ เพราะเป็น มหาวิทยาลัยที่อยู่ในพระบรมราชูปัมภ์โดยจำเพาะ และที่นั้น ได้มีข้อแปลกน่าเล่าสู่กันฟังอยู่สิ่งหนึ่ง คือโรงเรียนนั้นเป็นโรง เรียนสำหรับลูกเจ้าลูกนายทั้งฝรั่งเศสและต่างประเทศ มีนักเรียน อยู่ประมาณสามพันคน แบ่งเป็น ๒๔ ชาติด้วยกัน และตาม ธรรมเนียมของโรงเรียนนั้นนักเรียนทั้ง ๒๔ ชาติ ต้องออกมา กล่าวคำปฏิสันารต้อนรับแขกตามภาษาของตน เพราะฉะนั้นวันนั้นราชทูตต้องฟังคำต้อนรับถึง ๒๔ ภาษา ตามที่จะกล่าวเป็นลำดับค่อไปนี้คือ ๑. ภาษาปอลอญ ๒. ภาษาอาหรับ ๓. ภาษาอิตาเลียน


๓๖ ๔. ภาษาแอสปาญอล ๕. ภาษาละติน ๖. ภาษาไทย ๗. ภาษา มงตะเนต์() ๘. ภาษาอัลคลกี () ๙. ภาษาฟลามังต์ ๑๐. ภาษาเอยิปโต ๑๑. ภาษาจีน ๑๒. ภาษาเคร็ก ๑๓. ภาษา ฮอลันดา ๑๔. ภาษาอังกฤษ ๑๕. ภาษาปอร์ตุเกส ๑๖. ภาษา คาลีบี () ๑๗. ภาษาเดนมาร์ค ๑๘. ภาษาเฮเบรว ๑๙. ภาษา ฝรั่งเศส ๒๐. ภาษาอัลบเนีย ๒๑. ภาษาเยอรมัน ๒๒. ภาษา ซีเรียก ๒๓. ภาษาบรตาญ ๒๔. ภาษาตุร์ก เมื่อทูตไทยได้ฟังสุนทรพจน์เหล่านี้จบ ท่านตอบอย่าง เฉลียวฉลาดจนเป็นที่พอใจของผู้ฟังไม่ว่าชาติใดหมด เพราะ ท่านเลือกเฟ้นข้อใดข้อหนึ่งที่จำเพาะถูกนิสสัยใจคอของนักเรียน ในชาตินั้น ๆ ซึ่งเป็นข้อแปลกอยู่ไม่น้อยที่สามารรู้ลักษณะ แห่งประเทศเล็กประเทศน้อยเหล่านั้นทุกประเทศ จนกล่าวให้ ถูกจำเพาะชาติคณะได้ดังนั้น. เมื่อราชทูตได้ฟังคำอวยพรเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ใหญ่ได้พาท่านไปบนระเบียง ขณะเมื่อนักเรียนเหล่านั้นกำลังออกเล่น เพื่อให้เห็นคราวเดียวพร้อมกัน ท่านราชทูตแสดงความแปลกใจ ี่ที่ได้เห็นเด็กมากด้วยกันึงเพียงนี้ มารวมกันในโรงเรียนเดียว แล้วก่อนที่ท่านจะกลับนักเรียนทั้งหลายเหล่านั้น ได้พากันตบมือ

(๑) (๒) เป็นภาษาแขกแดงในประเทศคานาดา. (๓) เป็นภาษาเดิมของคนที่อยู่ในประเทศคูยานา ในอเมริกาใต้

๓๗ ร้องอวยชัยให้ราชทูตซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมของเขา เมื่อผู้ใหญ่ไป เยี่ยมโรงเรียน วิธีนี้ไม่ใช่แต่เพื่อแสดงความเคารพเท่านั้น เพื่อ จะขอให้วันนั้นเป็นวันหยุดพักพิเศษ เนื่องจากการที่มีผู้มาเยี่ยม โรงเรียนั้นอีกด้วย. บทที่ ๗๑ ราชทูตไปเหยียบสาน โฮเต็ล เดอ คีส. ในวันเดียวกันราชทูตได้ไปเหยียบสถานโฮเต็ลเดอคีส คือ สถานที่อยู่ของราชนิกูลอันมีชื่อเสียงดังในเมืองฝรั่งเศส เรียก ว่าท่านดึกเดอคีส แรกเข้าไปถึงสถานที่นั้นต้องผ่านไปทางห้อง ที่มีนักดนตรีกำลังทำเพลงไพเราน่าฟังอยู่ ผู้ที่พาท่านไปใคร่จะให้ ท่านรอฟังดนตรีสักพักหนึ่งก่อน แต่ราชทูตไม่ยอมรอฟัง บอกว่าต้องไปคำนับเจ้าของบ้านเสียก่อนแล้วจึงจะฟังดนตรีมะโหรีต่อ ไป ผู้ที่พาท่านไปก็คัดค้านท่านไม่ได้ เพราะท่านแสดงว่า เป็นผู้รู้ขนบธรรมเนียมผู้ดีอย่างสุขุมยิ่ง ก็เลยพากันเข้าไปหา ท่านหญิงเดอมวาแซลเดอคีสเจ้าของบ้าน เมื่อเสร็จการคำนับ กันแล้ว เจ้าพนักงานก็ได้พาราช ูตไปดูสถานที่นั้นจนทั่ว และ ท่านได้เที่ยวดูด้วยความสดวกใจมาก เพราะในบ้านนั้นเจ้าพนัก งานทั้งหลายระวังรักษาหน้าที่ดี ไม่ยอมให้ใครมาเที่ยวเดิรติดตาม เจ้าคุณราชทูตพลุกพล่านเหมือนในสถานที่อื่น ๆ เป็นที่ชอบ

๓๘ ใจของท่านเป็นอันมาก. การเที่ยวชมสถานที่นั้ทำให้ท่านราชทูตตกตลึงไม่มีที่สุด เพราะเป็นสถานที่ใหญ่โตระโหฐานดุจเดียวกับพระราชวังหลวงที เดียว ว่าข้างการตบแต่งเครื่องตู้โต๊ะและพรมเป็นต้น ของสถานโฮเต็ลเดอคีสนั้นมีชื่อเสียงมานมนาน ว่านอกจากพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ทั่วพระราชอาณาจักรจะหาที่เสมอเหมือนไม่ได้ ถึงวงดนตรีของท่านเล่า กรมมหรศพแทบจะสู้ไม่ได้ พอดู การอะไรต่ออะไรเสร็จแล้ว พวกมาเยี่ยมสานนั้นทั้งเจ้าภาพก็ ได้พากันไปฟังดนตรี แล้วพอได้เวลาท่านราชทูตก็ได้ลาออกไป. บทที่ ๗๒ "มงเซียร์" คือสมเด็จพระอนุชา สิ้นพระชนม์ลง. เวลาที่ราชทูตไทยยังอยู่ที่กรุงปารีสนั้น เผอิญสมเด็จพระ อนุชาธิราชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้สิ้นพระ ชนม์ลง ในโอกาสอันเศร้าโศกดังนี้ ท่านราชทูตได้ให้ตัดเสื้อ สีดำไว้สวมใส่เป็นที่แสดงความสลดด้วย ข้อนี้เองเป็นที่แสดง ให้เห็นความเคารพ ทั้งความอ่อนโยนไหว้ไปตามกาละเทศะ ของราชทูตไทย เพราะว่าธรรมเนียมไทยใช้วิธีนุ่งขาวห่ม ขาวเป็นการไว้ทุกข์ ไม่ใช้ดำเหมือนเมืองฝรั่ง และอีกประ การหนึ่งท่านเป็นชนต่างชาติ มิจำเป็นจะต้องไว้ทุกข์อะไรนักหนา


๓๙ แต่กระนั้นท่านเห็นพระราชวงศ์และพลเมืองเป็นทุกข์นุ่งดำทั้งนั้น ท่านยังได้อนุโลมตามให้เป็นที่พอใจของคนทั่วไป อนึ่งพอได้ ข่าวสิ้นพระชนม์ลง ท่านราชทูตก็ออกไปเยี่ยมพระญาติของพระ องค์ มีท่านชายมงเซียร์เลอดึก ซึ่งเวลานั้นได้เลื่อนตำแหน่งแทนพระบิดาขึ้นเป็น " มงเซียร์เลอแปรงส์ " เสียแล้ว ครั้น นั่งในที่อันสมควรข้างขวามือของเจ้าภาพ แล้วท่านอัครราชทูต ได้ทูลให้ทราบความตั้งใจเดิมว่า-- " หม่อมฉันทั้งหลายได้ปรารภ กันอยู่เสมอว่าจะหาโอกาสมาเฝ้าพระองค์สักเวลาหนึ่ง แต่เผอิญ มาประสพเหตุอันน่าสลดเสียก่อนเช่นนี้ ทำให้หม่อมฉันทั้งหลาย รู้สึกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ด้วยแทนที่จะได้แสดงรื่นเริงบรรเทิง ใจในการที่ได้มาเฝ้าแหนพระองค์ กลับต้องมาแสดงทุกข์เหือด แห้งใจหาที่เปรียบมิได้ เพราะใช่โอกาสที่แสดงความเบิกบาน สำราญใจในเมื่อพระบิดาของพระองค์เสด็จไปสู่ปรโลกเสียดังนี้ " พระองค์มงเซียร์ทรงตอบว่า-- " การที่เจ้าคุณมาแสดงความ เศร้าโศกเพื่อร่วมทุกข์กับฉันในโอกาสนี้เป็นที่ขอบใจมาก แม้ ว่าพระบิดาของฉันมิได้มีโอกาสรู้จักกับเจ้าคุณ แต่ฉันทราบว่าท่านอยากทรงกระทำความคุ้นเคยกับเจ้าคุณอยู่เหมือนกัน หาก พระโรคเบียดเบียฬอยู่ จึงไม่มีโอกาสชวนให้เจ้าคุณมาเฝ้าแหนได้ ที่จริงฉันทราบเป็นที่แน่ใจว่า ทรงเคารพและชมเชยเจ้าคุณราชทูตมาก ความเห็นต่าง ๆ ที่เจ้าคุณแสดงตามระยะทาง ขณะที่ไปเที่ยวทางมณฑลฝ่ายเหนือนั้น ท่านก็ทรงทราบละเอียด ๔๐ หมดทุก ๆ คำก็ว่าได้ เพราะพระองค์ทรงสอดส่องในกิจราชการ ของเจ้าคุณด้วยเต็มพระทัย และเป็นความจริงพระองค์ท่าน อยากได้ต้อนรับเจ้าคุณที่วังชังตียี เพื่อจะได้เป็นโอกาสแสดง ความเคารพต่อเจ้าคุณผู้เป็นราชทูตของพระมหากษุตริย์สูง กับ จะได้แสดงความพอใจในกิริยามารยาทอันน่าวิสสาสะของเจ้าคุณ ด้วย " ที่ตรงนี้ท่านอัครราชทูตทูลว่า-- " หม่อมฉันขอทูล ให้พระองค์ทรงทราบว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสยามได้รับข่าวสิ้น พระชนม์ แห่งสมเด็จพระบิดาของพระองค์แล้ว พระองค์คงทรงสลดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง เหตุที่หม่อมฉันทูล ดังนี้ ก็คือเมื่อปีก่อนนั้นได้ข่าวไปถึงกรุงสยามมาครั้งหนึ่งแล้วว่าสมเด็จพระบิดาของพระองค์ทรงพระประชวร แล้วก็เลยเลื่องลือกันต่อไปว่าสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ในเวลานั้นพระราชไมตรีใน ระวางทั้งสองพระนครยังหาแน่นแฟ้นเหมือนในเวลานี้ไม่ ต่าง ฝ่ายต่างยังไม่มีราชทูตไปมาหาสู่กันเหมือนในเวลานี้ แต่กระนั้นพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงพระราชประสงค์จะแสดงความเศร้าพระ ทัย พระองค์จึงมอบให้เสนาบดีว่าการต่างประเทศฝ่ายสยามมี จดหมายทางราชการถามข่าว และแสดงทุกข์ร้อนมายังพระราช สำนักนี้เหมือนกัน แล้วต่อมาฝ่ายประเทศฝรั่งเศสพระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้งท่านเลอเชอวาเลียร์ เดอโชมงต์ เป็นราชทูตพิเศษไปเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงสยาม ฝ่าย ประเทศสยามจึงได้ทรงทราบจากราชทูตเดอโชมงต์นี้ ว่าพระ ๔๑ บิดาของพระองค์หาได้สิ้นพระชนม์ลงอย่างข่าวที่เล่าลือไม่ พระ องค์จึงได้กลับทรงเบิกบานพระทัยอย่างยิ่ง และส่วนหม่อมฉันนี้ นับว่าเป็นผู้ประสพคราวเคราะห์กรรมร้ายแรงที่สุดจริง เพราะว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินกำลังเบิกบานพระทัยในการที่ได้ทรงทราบว่า พระบิดาของพระองค์ยังทรงพระสำราญอยู่นี้ เป็นหน้าที่จำเพาะ ของหม่อมฉันที่จำเผ็นจะต้องทำลายความเบิกบานพระทัย ของ พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามในอันที่จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ข่าวสิ้นพระชนม์แห่งพระบิดาของพระองค์ " " มงเซียร์เลอแปรงส์ " ทรงตอบว่า-- " เป็นพระมหา กรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดินสยามยิ่งนัก ที่พระองค์ทรงเอา พระทัยใส่ในข่าวทุกข์สุขของตระกูลฉันฉะนี้ ขอเจ้าคุณได้โปรดกราบทูลยังพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ว่าฉันขอขอบพระ มหากรุณาธิคุณะระเจ้ากรุงสยามแทนพระบิดาฉันด้วย การที่พระ บิดาฉันมาสิ้นพระชนม์ลงโดยด่วนดังนี้ นับว่าเป็นการเคราะห์ร้าย สำหรับสองพระนคร หาไม่อาศัยท่านเจ้าคุณราชทูตนี้ พระบิดาฉันก็จะได้ข่าวแห่งมิตรภาพของพระเจ้าแผ่นดินไทย และ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินไทยเล่า ก็จะได้ข่าวของพระบิดาฉันเมื่อเจ้า คุณกลับอย่างละเอียดละออ เป็นที่อิ่มเอิบใจยิ่ง แต่นี้ความ ตายมาตัดความหวังนี้เสียหมดแล้ว " ท่านอัครราชทูตตอบว่า-- " เป็นที่เสียดายยิ่งที่พระองค์ มาทรงด่วนทิวงคตดังนี้ เกือบ ๆ จะได้เฝ้าพระองค์ก็หลายครั้ง ๔๒ มาแล้ว แต่เผอิญมามีเหตุจำเป็นเกิดขึ้นเสียก่อนทุกทีจนไม่ ได้เฝ้าพระองค์ เช่นคราวหนึ่งจะไปเฝ้าพระองค์ที่วังชังตียีก็ เผอิญได่ข่าวว่าเสด็จไปเยี่ยมประชวรท่านหญิงดุแชสเดอบูร์บงที่วัง ฟงแตนโบลเสียแล้ว เดิมนึกว่าจะติดตามไปถึงวังฟงแตนโบล ทีเดียวก็มีผู้ทักท้วง ว่าควรรอให้เสด็จกลับแล้วจึงปเฝ้าจำเพาะ ที่วังของพระองค์ดีกว่า ก็เลยงดไม่ได้ไปและเลยไม่มีโอกาส จนพระองค์มาชิงทิวงคตเสียก่อนดังนี้ น่าเสียดายแท้ ๆ " " มงเซียร์เลอแปรงส์ " ทรงตอบว่า-- " น่าเสียดาย จริงดังเจ้าคุณว่า แต่ไม่ใช่ว่าน่าเสียดายในส่วนเจ้าคุณฝ่ายเดียว ส่วนพระบิดาก็คงจะทรงยินดีในการพบปะเจ้าคุณเท่ากับที่เจ้าคุณมี ความยินดีเอง แต่จะทำอย่างไรได้เล่าเจ้าคุณ ความตายไม่ รอฟังใคร เอาเถิด ขอถามเจ้าคุณหน่อย การที่เจ้าคุณ ออกไปเที่ยวดูมณฑลฝ่ายเหนือคราวนี้ สนุกสนานหรือเบื่อรำคาญเป็นประการใดบ้าง เจ้าคุณโปรดเล่าให้ฉันฟังสักหน่อย ไม่หนาวเกินไปดอกหรือเจ้าคุณ ถนนหนทางเป็นอย่างไรบ้าง น่ากลัวไม่เรียบร้อยเป็นแน่ คงทำความเนิ่นช้าร่ำไรให้เจ้าคุณต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเสียแย่ไม่ต้องสงสัย " ท่านราชทูตทูลตอบว่า-- " ว่าข้างถนนหนทางนั้น ฝ่าบาท เข้าพระทัยถูก บางแห่งเดิรไม่สะดวกอยู่บ้าง แต่ส่วนอากาศนั้น บ่นไม่ได้ ไม่หนาวนัก ถ้าจะเป็นเพราะบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินและกุศลจิตต์ของพระองค์ที่ทรงมีพระทัยโอบเอื้ออารีต้อน ๔๓ รับ และอนุญาตให้เฝ้าด้วยเมตตากรุณาจิตต์อันประเสริฐดังที่ ปรากฏอยู่ในคำสนทนาปราศรัยทุกข์สุขในบัดเดี๋ยวนี้กระมัง อนึ่งเข้าของงดงามแปลก ๆ ที่เจ้าพนักงานพาไปดูนั้น มีมากต่อมาก จนกระทั่งไม่มีเวลาคิดถึงเหนื่อยึงหนาวอะไรหมด เพียงชมนี่ ดูโน่นแล้วก็ไมว่างสักครู่เดียว ไมทันเบื่อทันรำคาญอะไรเลย อนึ่งเจ้าพนักงานกรมการทั้งหลายตามทางได้ต้อนรับอย่างเอาอกเอา ใจที่สุด สมตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดิน และ เป็นโอกาสอันดีที่จะกล่าวชมเชยบรรดาเจ้าพนักงานทุกชั้น ที่ได้ พบตามทางไปมาว่า ปฏิบัติตามคำรับสั่งโดยเคร่งครัดน่าชมเชยจริง จะหาที่ติเตียนมิได้ ฉะนี้จึงไม่น่าเบื่อน่าบ่นอะไรมิได้ เป็นที่เพลินใจเพลินตาต่างหาก " มงเซียร์เลอแปรงส์ทรงซักถามต่อไปอีกว่า-- " ก็ในบรรดา สิ่งของต่าง ๆ ที่เจ้าคุณพบเห็นนั้นอะไรบ้างเป็นทถูกใจของเจ้าคุณ มากกว่า " เจ้าคุณราชทูตทูลตอบว่า-- " สิ่งที่น่าสังเกตยิ่งกว่าอะไร หมดสำหรับคนต่างประเทศเช่นพวกหม่อมฉันนี้ คือจำนวนป้อมอันแข็งแรงซึ่งอยู่ในพระราชอาณาเขตต์ฝ่ายเหนือนั้น น่าเป็นที่ กรงขามแห่งบรรดาอริราชศัตรูไม่ว่าจำพวกไหน แต่ในบรรดา เมืองที่งดงามน่าดูยิ่งนั้น หม่อมฉันขอชมเมืองดึงแกร์กและเมือง ลีล์ล สองเมืองนี้เป็นเมืองเอกน่าชมจริง " มงเซียร์เลอแปรงส์ทรงซักไล่เลียงราชทูตอีกว่า-- " ที่เมือง ๔๔ สยามของเจ้าคุณนั้น วิธีสร้างกำแพงเมืองและป้อมประตูหอรบ นั้น ใช้เป็นแบบเดียวกันกับที่ใช้ในเมืองฝรั่งเศสนี้หรือเป็นประการใด " เจ้าคุณราชทูตทูลตอบว่า-- " ที่เป็นแบบเดียวกันก็มี ที่เป็นแบบอื่นก็มี บางเมืองในประเทศสยามนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีกำแพงเท่าไร เพราะมีลำน้ำเป็นเครื่องป้องกันเมืองอยู่พอแล้ว บางแห่งก็ไม่สู้จำเป็นต้องมีกำแพงแน่นหนาเท่าใด เพราะว่าถ้า ถึงฤดูฝนเข้าแล้วน้ำท่วมเมืองหมด กำแพงอิฐจึงเป็นของไม่สู้ จำเป็น เพราะมีน้ำกั้นแทนกำแพงอยู่แล้ว แต่มีอยู่บางเมืองเช่นบางกอก พิษณุโลกเป็นต้น ก็มีกำแพงประตูคูและหอรบ แบบเดียวกันกับที่มีอยู่ในนี้ ผิดอยู่แต่ที่มีป้อมเป็นจำนวนน้อย กว่าที่นี่เท่านั้น ทั้งนี้เพราะธรรมดาสร้างป้อมคูประตูหอรบนั้น จำเป็นต้องเดิรไปตามแบบยุทธวิธี สุดแต่อาจป้องกันมิให้ข้าศึก ศัตรูมทำอันตรายได้ ดุจแพทย์ผู้รู้สมุฏฐานของโรคแล้วก็วาง ยาให้เหมาะกับโรคฉะนั้น และเป็นด้วยเหตุนี้ที่เมืองฝรั่งเศสนี้ จึงมีเครื่องป้องกันเมืองบางอย่างบางประเภท ซึ่งไม่จำเป็นจะ ต้องมีในเมืองไทย และในเมืองไทยมีบางอย่างซึ่งไม่มีในเมือง ฝรั่งเศสด้วย " ที่ตรงนี้มงเซียร์เลอแปรงส์ว่ากับท่านราชทูตว่า-- " เมื่อ เจ้าคุณผ่านเมืองกงเดย์นั้น เจ้าคุณได้เลือกคำอาณัติสัญญาสำหรับ ใช้ในคตืนที่เจ้าคุณค้างแรมอยู่นั้น เป็นที่พอพระทัยของพระบิดา

๔๕ เป็นอันมาก จึงเป็นเหตุให้พระองค์มีพระประสงค์จะทรงพบเห็นเจ้าคุณอีกประการหนึ่ง ส่วนตัวฉันก็รู้สึกเป็นดุจเดียวกัน อยาก มีโอกาสพบเห็นและพูดจาปราศรัยกับเจ้าคุณบ่อย ๆ น่าเสียดาย แต่ที่เมืองของเจ้าคุณกับเมืองของฉันอยู่ห่างกันมากเกินไปที่จะให้สำเร็จตามที่อยากนี้ จริงน๋ะเจ้าคุณ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปข้างหน้า น่ากลัวเจ้าคุณกับฉันจะไม่มีโอกาสได้แลเห็นกันเสียแล้ว น่าเสีย ดายที่เหลือความหวังที่จะพบกันอีก " ท่านอัครราชทูตทูลตอบว่า-- " เมืองไทยกับเมืองฝรั่งเศส อยู่ห่างกันอะโขอยู่ก็จริง แต่ว่าอาศัยทางพระราชไมตรีซึ่งเวลา นี้มีขึ้นในระวางพระเจ้าแผ่นดินสองพระนครแล้ว ยังว่าไม่ได้ บางทีพระเจ้าแผ่นดินสยามจะทรงเลือกตั้งหม่อมฉันให้เป็นราชทูต มาประจำอยู่ณเมืองฝรั่งเศสอีกก็อาจเป็นได้ " มงเซียร์เลอแปรงส์ตอบว่า-- " ถ้าเป็นดังนี้ก็ดีทีเดียว แต่ สำหรับคราวนี้เจ้าคุณจะให้ฉันช่วยเหลือประการใดบ้าง นึกอยากขออะไรก็ขอไปเถิดเจ้าคุณ อย่ามีความเกรงใจ ฉันอยากช่วยเต็มกำลังทีเดียว " ท่านอัครราชทูตทูลตอบว่า-- " เป็นพระเดชพระคุณที่สุด แต่หม่อมฉันจนใจ ไม่ทราบว่าจะควรขอความช่วยเหลือชะนิดใด เพราะนับว่าแต่วันต้นที่ได้เหยียบเมืองฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระภาระธุระเอง ที่จะช่วยเหลือบรรดา พวกหม่อมฉันทุกอย่างทุกประการ อย่าว่าแต่พระองค์ทรงช่วย

๔๖ ในสิ่งที่หม่อมฉันอยากหรือหม่อมฉันขอให้ช่วยเหลือเลย แต่สิ่ง ที่ไม่นึกไม่ฝันึงเลยพระองค์ยังทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานอีกด้วย จนไม่ทราบว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะถูกใจหม่อมฉันยิ่งกว่านี้ เท่าที่ทรงทำก็เหลือประมาณเหลือคะเนเหลือ ที่จะอยากอยู่แล้ว แท้จริงถ้ามิเป็นเช่นนี้แล้วพวกหม่อมฉันจะ ยินดีเหลือที่จะยินดีที่จะให้ทรงช่วยเหลือในคราวนี้ แต่เมื่อฝ่าบาท มีพระกรุณาจะช่วยหม่อมฉันให้ได้แล้ว หม่อมฉันไม่เห็นทาง อื่นที่จะดีไปกว่าที่ขอให้ฝ่าพระบาททรงเป็นพระธุระช่วยเหลือ ใน การที่จะส่งเสริมให้พระราชไมตรี ในระวางพระนครของพระองค์ และพระนครของหม่อมฉัน ซึ่งกำลังผูกใหม่นี้ให้แน่นหนาสถาวร มีแต่เจริญสนิทสนมยิ่งขึ้นเป็นลำดับไป ถ้าพระองค์ทรงช่วย เหลือได้ดังกราบทูลนี้จะเป็นพระเดชพระคุณที่สุด ต่อชนชาติ ทั้งสองทั้งตัวหม่อมฉันด้วย " พอสนทนากันที่ตรงนี้แล้ว ท่านราชทูตลุกขึ้นอำมาตย์มงเซียร์เลอแปรงส์ ซึ่งได้ทรงลุกขึ้นพาราชทูตกลับไปถึงปากประตู แล้วราชทูตก็ได้เข้าไปเยี่ยมพระชายาของพระองค์ เนื่องด้วยการ ิทิวงคตแห่งสมเด็จพระอนุชาธิราชนั้นด้วย.



๔๗ บทที่ ๗๓ ราชทูตไปฟังเพลงสวด " ชยันโต " ี่ที่พระอาราม แดส์เฟอยังต์. เพื่อเป็นที่โมทนาพระคุณแห่งพระผู้เป็นเจ้าในการที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชทรงพระประชวรหนัก แล้วหายเป็น ปกติ ท่านอาจารย์ดนตรีชื่อลึล์ลีได้ผูกเพลงสวดชยันโตขึ้นใหม่ สำหรับเข้ากับ บทสวดภาษาละตินที่ขึ้นต้นว่า " เต เดอูม " เลาดามูส ซึ่งแปลว่า " ขออนุโมทนาคุณพระพุทธิเจ้า " และได้ กำหนดว่าจะร้องเพลงสวดนั้น ผสมกับดนตรีที่พระอารามแดส์เฟอ ยังต์เป็นครั้งแรก เมื่อกำหนดการเสร็จแล้ว พระสงฆ์ในพระ อารามนั้น ๖ องค์ด้วยกัน ได้มาเชื้อเชิญคณะราชทูตไทยให้ไปประชุมฟังด้วย ท่านอัครราชทูตตอบว่า-- " ข้าพเจ้ามีความ ยินดีอย่างยิ่งด้วยเหตุ ๓ ประการที่จะรับคำเชิญของท่าน ประการ ๑ จะได้รวมใจในการโมทนาคุณของท่าน เพื่อให้พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสำราญ ประการ ๒ จะได้เยี่ยม เยียนท่านและดูพระอารามของท่าน และประการ ๓ จะได้ยินได้ ฟังเพลงสวดของท่านอาจารย์ลึล์ลีด้วย เพราะทำนองเพลงและ เชิงดนตรีตามแบบของท่านอาจารย์ลึล์ลีนี้ ข้าพเจ้าเคยได้ยิน และเป็นที่พอใจมาก ( อาจารย์ลึล์ลีคนนี้ที่ได้ยินคนโบราณกล่าว ว่า ได้เป็นผู้ผูกเพลงสรรเสริญพระบารมีไทยทำนองอย่างที่ร้องอวยชัยพระราชาอยู่ทุกวันนี้ )

๔๘ ในวันประชุมฟังเพลงเตเดอูมนั้น คณะทูตไทยก็ไปที่พระ อารามแดส์เฟอยังต์ตามนัด และเมื่อท่านถึงประตูพระอาราม แล้ว พระสงฆ์หลายองค์แห่งพระอารามนั้นก็ได้ออกมาคำนับ ท่านราชทูตถึงนอกประตู แล้วได้พาท่านไปพักสนทนาในห้อง รับแขกเสียก่อน เมื่อพูดจาคำนับกันตามธรรมเนียมเสร็จแล้ว ท่านราชทูตได้สังเกตในห้องนั้นมีพระบรมรูปวาดเขียนของพระเจ้า แผ่นดินฝรั่งเศสแต่ก่อน ๆ หลายพระองค์ ท่านราชทูตก็ลุกขึ้นไป ดูรูปภาพเหล่านั้น รูปที่ท่านรอดูชมนานกว่ารูปอื่น คือพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าฮังรีที่ ๓ พระเจ้าฮังรีที่ ๔ พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๓ และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เป็นต้น รูปของมงเซียร์ ( สมเด็จพระอนุชาธิราช ) ที่พึ่งสิ้นพระชนม์ใหม่ ซึ่งท่าน ราชทูตไม่ทันได้เฝ้านั้นก็มีอยู่ในนั้นด้วยรูปหนึ่ง เมื่อราชทูต ทราบว่าเป็นพระรูปของสมเด็จพระอนุชาธิราช ถึงเป็นรูปที่วาด มานานตั้ง ๒๐ กว่าปี มีลักษณะในรูปนั้นผิดกับพระฉายาลักษณ อันแท้จริงของพระองค์เมื่อสิ้นพระชนม์นั้น ท่านราชทูตก็ได้แลดู เป็นกาลนาน ตรงพระบรมรูปของพระเจ้าฮังรีที่ ๓ นั้น ผู้นำ ไปดูบอกกับท่านราชทูตว่า- " พระองค์นี้ก็เคยเป็นพระมหากษัตริย์ครองเมืองปอลอญด้วย " ท่านอัครราชทูตนึกประหลาด ใจถามว่า-- " ทำไมหนอพระองค์จึงทิ้งเมืองฝรั่งเศสไปแลกเอา เมืองปอลอญอย่างนั้นเล่า เหตุผลเป็นประการใด เมื่อพระองค์ เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศงดงามใหญ่โตเห็นปานนี้ ยังจะ ๔๙ ต้องพระราชประสงค์อะไรอีกเล่า จะมิเป็นเหมือนกับที่กล่าว เปรียบกันในเมืองไทยว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือหรือ " ท่านผู้นำจึงชี้แจงอธิบายว่า- " ไม่ใช่อย่างนั้นดอกเจ้าคุณ มิใช่ ว่าพระองค์ทรงเห็นเกลือดีกว่าพิมเสนหามิได้ เป็นเพราะว่าใน เวลานั้นพระองค์ยังทรงเป็นแต่เพียงพระยุพราชอยู่ ฝ่ายข้างเมืองปอลอญพระราชบัลลังก์ว่างลง บรรดาขุนนางข้าราชการในเมือง นั้น จึงได้พร้อมใจกันน้อมเกล้า ฯ ถวายมงกุฏเมืองปอลอญ แด่พระองค์ พระองค์จึงทรงรับไปเสวยราชย์ปกครองเมืองปอ ลอญนั้นไปพลางก่อน แล้วต่อเมื่อข้างนี้สมเด็จพระชนกนาถเสด็จสวรรคตลง พระองค์ก็ทรงมอบเวนให้ผู้อื่นครอบครองดู แลเมืองปอลอญต่อไป แล้วพระองค์ก็เสด็จกลับมาสืบสันตติ วงศครอบครองประเทศฝรั่งเศสแทนสมเด็จพระราชบิดา หาใช่ พระองค์ทรงทอดทิ้งเมืองฝรั่งเศสไม่ " " อ้อ ดังนี้ดอกหรือ พอเข้าใจได้แล้ว หาไม่ก็ดูน่า พิศวงที่พระองค์มาทอดทิ้งประเทศฝรั่งเศส อันเป็นเมืองประเสริฐ เลิศล้ำถึงเพียงนี้ได้ง่าย ๆ " ที่ตรงพระบรมรูปพระเจ้าฮังรีที่ ๔ มีผู้หนึ่งในที่ประชุมนั้นเอ่ยขึ้นว่า-- " นี่แนะเจ้าคุณราชทูต พระองค์นี้ก็มีข้อแปลกในคราวที่ พระองค์จะได้เสด็จถวัลยราชย์ ขึ้นครองประเทศฝรั่งเศสอยู่เหมือน กัน เกือบ ๆ ที่พระองค์จะมิได้เสวยราชสมบัติ เพราะความ ไม่ยินยอมของชาวเมือง "

๕๐ -- " เอ้ ทำไมอย่างนั้นนะท่าน " เจ้าคุณราชทูตถาม -- " เป็นเพราะว่าพระองค์ทรงถือลัทธิพระศาสนาผิดนิกายกันกับชาวเมืองหมู่มาก คือพระองค์เป็นฝักฝ่ายเข้าข้างฮุเคอโนต นิกาย และส่วนพลเมืองนับถือข้างลัทธิกาทอลิกนิกายเป็นพื้น แต่ดีอยู่ที่เมื่อพระองค์ทรงเห็นพลเมือง ต่างพากันกระด้างกระ เดื่องเช่นนี้ พระองค์ทรงออกจากฮุเคอโนตนิกายแล้วเข้ากาทอ ลิกนิกายเสีย ก็เป็นอันสงบเพียงเท่านี้ พระองค์จึงได้ทรง เสวยราชย์เป็นปกติต่อไป " --" อือ ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ปลงใจเห็นด้วยในเรื่องขัดข้องของ พลเมือง ก็เมื่อพระองค์ทรงเลื่อมใสทางใด ทำไมพลเมือง จะมาขัดพระราชนิยมเล่า เมื่อพระองค์เป็นพระรัชชทายาทแล้ว ก็ควรแล้วที่พระองค์จะขึ้นเสวยราชย์ และเรื่องลัทธินิกายศาสนา นั้นเป็นธุระส่วนพระองค์ต่างหากมิใช่หรือ ชาวเมืองยังจะมา เกี่ยวในเรื่องนี้ด้วยทำไม ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย " แล้วท่านก็ ซักถามบรรดาในที่ประชุมนั้นว่า-- " ก็พระบรมรูปทั้ง ๔ นี้ ข้าพเจ้าเห็นทรงฉลองพระองค์และประดับเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ผิดแบบกันมาก ทุก ๆ พระองค์ดังนี้จะเป็นเพราะอะไร " คน ในที่ประชุมคนหนึ่งจึงตอบไปว่า-- " เป็นเพราะนิสสัยฝรั่งเศส มักชอบเปลี่ยนวิธีแต่งตัวอยู่เสมอเจ้าคุณ ไม่เป็นยุติลงได้ บัดเดี๋ยวชอบอย่างนี้ แล้วบัดเดี๋ยวก็ชอบอย่างโน้น นิสสัย อย่างนี้เต็มทีไปหน่อยมิใช่หรือเจ้าคุณ "

๕๑ -- " เปล่า ๆ หามิได้ " เจ้าคุณราชทูตตอบ " ข้าพเจ้า เห็นว่าควรเปลี่ยนทดลองให้ดีขึ้นไปอยู่เสมอ และนิสสัยชอบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้เอง ข้าพเจ้าเห็นว่าแทนที่จะเป็นนิสสัย อันพึงตำหนิกลับเป็นนิสัยน่าชมเสียอีก เพราะเป็นเหตุให้หา ความเจริญ หาไม่จะต้องตายตื้ออยู่กับเครื่องแบบเดิมร่ำไป ดี ไม่ดีจะหลับตาใช้ไปตามปู่ย่าตายายดังนี้ ความเจริญจะมีมาแต่ไหน อย่าเลยท่าน อย่าติการแตกต่างกันในความนิยมของ พระเจ้าแผ่นดินเหล่านี้ ถึงการแตกต่างกันในการนุ่งห่มของชาติ อื่นก็เหมือนกัน ขอท่านอย่าพึ่งตำหนิติเตียนเลย เมื่อท่าน เห็นว่าเขานิยมการนุ่งห่ม ที่ผิดแผกแปลกไปจากขนบธรรมเนียม ของตน เพราะต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างมีความเห็น ต่างคนต่างชอบคนะอย่างต่าง ๆ นา ๆ " ว่าแล้วก็กลับเข้านั่งอยู่ หน้ากองไฟ และที่นั้นก็ได้กระทำการวิสาสะกับเจ้าชายและ เจ้าหญิง เดอเม็กแลงบูรค์ ซึ่งพึ่งเสด็จเข้าห้องนั้นใหม่ ๆ และ ฝ่ายเจ้าหญิงนั้นเป็นคนช่างพูดซักไซ้ไล่เลียงกันเก่ง เลยคุยกัน สนุกสนานอีกเป็นนาน. เมื่อนั่งคุยกันอยู่หน้ากองไฟนั้น ยังมีผู้หลักผู้ใหญ่ชั้นสูงอีก หลายท่านเข้ามาผะสมวง ก็ยิ่งเพิ่มความครึกครื้นให้มากขึ้น และฝ่ายเจ้าคุณอัครราชทูตก็พูดทันเขาเหล่านั้นทุก ๆ คน ใน บรรดาผู้ที่เข้ามาคราวหลังนี้ มีท่านเจ้าเดอคงตี้กับราชทูตแห่ง แคว้นมันตุวาเป็นต้น แต่กับคนใหม่เหล่านี้เจ้าคุณราชทูตไม่ ๕๒ ค่อยได้พูดจากี่มากน้อย ครั้นได้เวลาแล้วฝ่ายพระสงฆ์เจ้าของ อารามก็ได้มาเชื้อเชิญที่ประชุมให้ลงโบสถ์ เพราะถึงเวลาที่จะ เริ่มพิธีสวดร้องเพลงเตเดอูมของท่านอาจารย์ลึล์ลีแล้ว. ฝ่ายบรรดาเจ้านายชายหญิงทั้งหลาย ก็เสด็จไปประทับอยู่ ข้างล่าง และสำหรับคณะราชทูตไทยนั้นก็ได้จัดที่ให้นั่งบน ระเบียงที่มีอยู่ภายในโบสถ์ เพื่อท่านจะได้แลเห็นพิธีสะดวกฟัง ง่ายกว่าข้างพื้นล่าง ตลอดเวลาที่กรทำพิธีนั้น ท่านราชทูต ทั้งหลายต่างเพ่งตาดู เงี่ยหูฟังอย่างเคารพและเอาใจใส่ในทุก สิ่งทุกอย่าง ตลอดเวลาที่พวกดนตรีกระทำเพลงพลางคนร้อง รับประสานเสียงกับเครื่องมะโหรีนั้น สังเกตดูท่านราชทูตราวกับ รู้สึกไหวไปตามเสียงที่ร้องนั้นด้วย ตอนเมื่อพวกนักร้องและนัก ดนตรีขึ้นบท " ดอมิเด สัลวูม ฟักเรเย็ม " ซึ่งแปลว่า " ขอ พระพุทธิเจ้าทรงคุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน " ( ซึ่งคู่กับคำไทยที่ว่า " ขอทรงพระเจริญ " นั้น ) ท่านราชทูตที่พึ่งทราบใจความแห่ง บทนั้น เพราะมีผู้แปลให้ก็ยิ่งเจียมเสงี่ยมตัวสงบอารมณ์และ กระทำกิริยาท่าทางให้ผู้ดูรู้เห็นว่าท่านกำลังรวมใจกับสัปบุรุษในการสวดภาวนา ขอให้พระราชาทรงพระเจริญอยู่ด้วย. เมื่อเสวร็จพิธีสวดร้องเพลงอวยชัยแล้ว ราชทูตก็ได้กลับ เข้าไปในห้องที่คอยอยู่เดิมก่อนที่จะเข้าไปฟังเพลงเตเดอูม พอ พระสงฆ์แห่งอารามนั้นจะมาถามราชทูตว่า รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง ในการพิธีอวยพรชัยนี้ ท่านอัครราชทูตยกมือทั้งสองขึ้นแตะ

๕๓ ต้องดวงตาแล้วแตะต้องหู แล้วก็แตะต้องทรวงอกพลางกล่าว ว่า เป็นที่เจริญหูเจริญตาเจริญใจอย่างยิ่ง พอคุยสนุก ๆ ไป ตามเรื่องอีกครู่หนึ่งก็ได้มีการเลี้ยงเครื่องว่างแล้วราชทูตก็ลากลับ. บทที่ ๗๔ ราชทูตไปเที่ยวดูสถานที่ต่าง ๆ มีโรงพิมพ์หลวงเป็นต้น. ต่อไปวันอื่นคณะราชทูตได้ไปเยี่ยมเสนาบดีกระทรวงกลา โหม ชื่อเดอลูววา แล้วได้ไปดูบ้านท่านกอลแบร์ต์ ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกระทรวงทหารเรือรวมกัน แต่ท่าน ล่วงลับไปเสียแล้ว ยังเหลืออยู่แต่บุตรชายกับภรรยา แล้ว ได้ไปดูวังทุยเลอรีย์ เพื่อไปดูป้อมย่อม ๆ ในจุลนครที่ทรงรับ สั่งให้สร้างไว้ที่นั้น ในจุลนครนั้นมีอยู่ทุกป้อมและทุก ๆ เมืองที่ ี่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงตีได้ในรัชชสมัยของพระองค์ พอราช ทูตแลเห็นก็ออกอุทานขึ้นทันทีว่า-- " แหม ทำเหมือนกับ เป็นจริงทีเดียว ไม่ผิดกับที่ได้เห็นเมื่อคราวไปเที่ยวข้างเหนือ นั้นเลย เก่งจริง " รุ่งขึ้นวันหลังราชทูตได้ไปดูโรงพิมพ์หลวงซึ่งอยู่ในบังคับบัญ ชาของมงเซียร์เดอครามวาซี อาศัยเหตุที่เป็นเวลาหนาว ท่าน ผู้จัดการโรงพิมพ์หลวงนั้นได้จัดตั้งเตาไฟไว้ในห้องต่าง ๆ ทั่วไป เพื่อราช ทูตจะได้รอดูการพิมพ์โดยสะดวกสบาย ชั้นแรกผู้จัด


๕๔ การได้พาราชทูตไปดูเขาเรียงตัวหนังสือ พอราชทูตเห็นช่างเขา หยิบตัวหนังสือจากช่องที่ไว้ตัวพิมพ์เป็นแผนก ๆ ทีละตัว ๆ มา เรียงไว้ในรางเหล็กที่เขาถือไว้ในมือซ้าย เห็นทำไวเหลือเกิน แทบจะดูไม่ทันก็แปลกใจ ท่านราชทูตไม่นานนักก็สังเกตได้ ทันทีว่า ตัวหนังสือในช่องนั้นต่างชะนิดกัน คือในช่องแถว บนเป็นช่องสำหรับตัวหนังสือโป้ง ๆ ส่วนช่องแถวล่างเป็นช่อง สำหรับตัวเล็ก ๆ ซึ่งผิดกับตัวหนังสือไทยที่มีเพียงขนาดเดียว ในสำรับหนึ่ง ๆ ไม่มีเล็กไม่มีใหญ่ นอกจากจะเป็นตัวหนังสือ ต่างชุดต่างสำรับกัน เมื่อพิเคราะห์ดูตัวหนังสือนั้น ท่านราชทูตหยิบออกมาดูเป็นตัว ๆ ก็ซักถามถึงวิธีหล่อ ถึงแม่พิมพ์ ถึง ธาตุที่ใช้ทำตัวหนังสือนั้นพร้อมเสร็จ ครั้นแล้วท่านราชทูตกล่าว ว่า-- " เมืองฝรั่งเศสนี้ช่างดีจริง ไม่ว่าอะไร ๆ หมด ล้วน แต่มีขึ้นในเมืองนี้เองทั้งสิ้น ไม่ต้องพึ่งประเทศอื่นก็ได้ ดีจริง ถัดจากการดูเรียงตัวพิมพ์แล้ว มงเซียร์เดอครามวาซี ได้พา ราชทูตไปดูการพิมพ์ต่อไป ชั้นแรกให้ดูว่าเมื่อเรียงตัวหนังสือ จนครบหน้าแล้ว เขาก็มัดตัวหนังสือนั้นไว้เป็นหน้า ๆ อย่างไร แล้วเอาขึ้นแท่นเขาอัดไว้ให้ติด ๆ กันคราวเดียวหลายหน้าอย่างไร เพื่อจะได้พิมพ์เร็ว แล้วเขาก็พาไปดูแท่นพิมพ์ ในเวลานั้นมีอยู่ ๑๒ แท่นกำลังพิมพ์อยู่ทั้ง ๑๒ มีคนประจำแท่นพิมพ์เครื่อง ละ ๒ คน ดูเป็นแถวในห้องนั้นราวกับทหารในสนามก็ว่าได้ ท่านราชทูตจึงเอ่ยว่า-- " เหมือนทหารไม่มีผิดกันเลย " มงเซียร์

๕๕ เดอครามวาซี ตอบท่านราชทูตว่า-- " เจ้าคุณเปรียบไม่ผิดเลย เพราะว่าคนพิมพ์นี้นอกจากลักษณะที่เขายืนเป็นแถวดังทหารอย่าง ที่เจ้าคุณว่านั้นแล้ว เขายังทำการทำงานวันยังค่ำเพื่อฉลองพระ เดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ดุจเดียวกับ ทหารของพระองค์ทำในค่ายและสนามก็ว่าได้ เจ้าคุณคิดดูเถิดพวกทหารแท้นั้นฉลองพระเดชพระคุณ โดยที่เอาชีวิตพลีแก่ชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ ตีป้อมนี้บ้าง ป้องกันเมืองนั้นบ้าง จนบ้านเมืองอยู่เป็นสุข เป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดินของพระ องค์อย่างยิ่ง แต่ส่วนพวกโรงพิมพ์หลวงนี้ก็อุทิศชีวิตวันยังค่ำ ๆ ทุก ๆ วัน สำหรับพิมพ์หนังสือที่จะป่าวร้องพระเดชพระคุณ และเกียรยศเกียรติศักดิ์ของพระองค์และของแผ่นดินให้รู้ทั่วโลก พิภพ ทั้งในรัชชสมัยของพระองค์ และรัชชสมัยต่อไปจน ชั่วกัลปาวสาน ฉะนี้ การงานของเขานี้จะนับว่าเป็นการช่วย ชาติช่วยพระเจ้าแผ่นดิน ดุจเดียวกับชะนะสงครามในการรบก็ว่าได้ " เจ้าคุณราชทูตตอบว่า -- " เป็นความจริงดังที่ท่านว่า และข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอันมาก ที่เห็นว่าพระองค์ไม่จำเพาะ แต่ได้ทหารสำหรับประกาศพระเกียรติยศของพระองค์ให้นานาชาติ ทราบ พระองค์ยังมีคนงานของท่านนี้คอยช่วยส่งเสริมเพิ่ม เกียรติยศนั้นให้ยิ่งฟุ้งขจรไปในขอบจักรวาฬ ขอให้ทหารรบ ทหารพิมพ์ของพระองค์เจริญ ๆ ทั้งสองแผนกเถิด " แล้วมงเซียร์เดอครามวาซี ก็ได้แนะนำให้พวกราชทูตดูอีกว่า

๕๖ เมื่อเขาเอาตัวหนังสือขึ้นแท่นพิมพ์แล้วเขาพิมพ์กันด้วยวิธีอย่างใด ดู ๆ กันสักดประเดี๋ยวท่านอุปทูตจึงเอ่ยขึ้นว่า-- " แหม ทำง่าย ดายเสียจริง ดูเหมือนฉันทำได้เหมือนกัน " ว่าแล้วท่านก็มา รับทำงานแทนคน ๆ หนึ่ง และในบัดนั้นแผ่นกระดาษที่พิมพ์ก็ ออกมางาม ๆ เหมือนกับเมื่อคนงานเขาทำเอง ก็เป็นทีพอใจ มากที่เขทำได้ง่าย ๆ ดี ๆ ถึงเพียงนี้. พอดูเครื่องพิมพ์แท่นนี้แล้วก็ไปดูเครื่องพิมพ์แท่นโน้นต่อ ๆ ไปจนครบ แล้วท่านอัครราชทูตไต่ถามมงเซียร์เดอครามวาซีถึงวิธี ผะสมหมึก วิธีจัดทำลูกหมึกสำหรับกลิ้งไปมาบนแผ่นกระดาษ ฯลฯ แล้วก็ซักถามถึงวิธีทำกระดาษตั้งแต่ต้นจนกระทั่งใช้พิมพ์ ได้ สรุปความว่าในวันนั้นราชทูตได้ดูเข้าใจในวิธีพิมพ์และวิธี พับกระดาษรวมเข้าเล่มเย็บใส่ปกเสร็จ จนกระทั่งเปนหนังสือ เล่มหนึ่ง ใช้อ่านกันได้. ครั้นดูโรงพิมพ์หลวงนั้นทั่วแล้ว มงเซียร์เดอครามวาซี ได้พาราชทูตไปดูแม่ตัวหนังสือทำไว้ก่อน ๆ ต่าง ๆ นา ๆ หลาย ชาติหลายภาษา เป็นต้นได้พาไปดูแม่ตัวหนังสือภาษาเคร็กซึ่ง ทำตั้งแต่ครั้งรัชชสมัยของพระเจ้าฟรังซวาที่ ๑ เมื่อ ๑๕๐ ปีก่อน แล้วยังได้ชมดูตัวแม่พิมพ์ภาษาอาหรับซึ่งพึ่งทำใหม่ ๆ ราชทูต เห็นแล้วจึงถามว่า-- " อ้อ ! นี่ไม่ทำจำเพาะตัวหนังสือฝรั่งดอก หรือ ถ้าอย่างนี้ตัวหนังสือไทยเห็นจะพิมพ์ขึ้นได้เหมือนกัน ละกะมัง " มงเซียร์เดอครามวาซีตอบว่า-- " เป็นอะไรไป

๕๗ เจ้าคุณ ไม่ว่าภาษาอะไรถ้าตั้งใจอยากทำจริง ๆ ก็ทำได้ทั้งนั้น และ ภาษาไทยของเจ้าคุณก็คงได้ไม่ยากอะไร หากเจ้าคุณจะไปตั้ง โรงพิมพ์ของตนขึ้นเองในเมืองไทยก็ทำได้ง่าย ๆ " ที่ตรงนี้ท่าน อัครราชทูตยกมือทั้งสองขึ้นไปทางสวรรค์จนเต็มแขน แล้วเปล่ง อุทานเป็นภาษาไทย มงเซียร์เดอครามวาซีไม่เข้าใจ ท่านจึง ถามล่ามว่า-- " เจ้าคุณว่ากะไรกัน " และล่ามแปลให้ฟังว่า " เมืองฝรั่งเศสเอ๋ย เมืองฝรั่งเศส ช่างกะไรเลย ดูวิเศษ ไปเสียแทบทุกอย่างเสียทีเดียว " ครั้นราชทูตได้ดูโรงพิมพ์และ ของที่น่าดูรู้เห็นนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ท่านจึงอำลามงเซียร์เดอ ครามวาซี และขอบใจท่านเป็นอันมากที่ท่านได้อธิบายวิธีพิมพ์ หนังสือจนรู้เข้าใจได้อย่างนี้ ส่วงนวงเซียร์เดอครามวาซีก็ขอบใจ เจ้าคุณราชทูตบ้างว่า เป็นเกียรติยศอันยิ่งใหญ่สำหรับโรงพิมพ์ ที่ราชทูตานุทูตของพระมหากษัตราธิราชใหญ่อย่างเจ้าคุณนี้ ได้มี แก่ใจถึงกับมาเยี่ยมดูโรงพิมพ์ของท่าน. บทที่ ๗๕ เรื่องคนใช้ของเจ้าคุณราชทูต ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วว่า นอกจากเจ้าคุณราชทูตอุปทูตและ ตรีทูตนั้น ยังมีขุนนางไทยไปเมืองฝรั่งเศสคราวงนี้นั้นอีกหลายนาย แต่ที่จริงก็ยังไม่ครบดี เพราะยังไม่ได้กล่าวถึงบ่าวไพร่คนใช้ซึ่ง


๕๘ เป็นธรรมดาต้องมีประจำคอยรับใช้สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปตามทาง เพราะบ่าวคนใช้ ี่เป็นชนชาติเดียวกัน มักปฏิบัติถูกในนายยิ่ง กว่าชนชาติอื่น เพียงเห็นกิริยาก็อาจแปลใจกันรู้เรื่องความประ สงค์กันง่าย. ในบรรดาคนใช้สอยของเจ้าคุณราชทูตมีอยู่คนหนึ่งประพฤติ ตัวไม่สมควร เจ้าคุณราชทูตรู้สึกว่าความประพฤติของเขานั้น เป็นที่อับอายขายหน้าทำให้เสียชื่อเสียงเกียรติยศของคณะไทย ๆ ที่ไปเมืองฝรั่งเศสด้วยกัน อาจให้ชาวฝรั่งเศสที่รู้เห็นในความประพฤติเสียหายของเขา ดูหมิ่นดูแคลนชนชาติไทยทั่วไปได้ เจ้าคุณอัครราชทูตจึงเรียกอุปทูต ตรีทูต ขุนนางไทยและบ่าวคน ใช้มาประชุมอยู่ในห้องของท่านหมด แล้วท่านก็ดุดันว่ากล่าว ตำหนิโทษของบ่าวคนนั้นด้วยคำอย่างรุนแรงที่สุด แล้วท่าน เตรียมจะเฆี่ยนตีให้สาหัส ให้เป็นที่เข็ดหลาบและมิให้บ่าวคนอื่น เอาเยี่ยงอย่างสืบไป แต่ขณะเมื่อท่านจะลงมือเฆี่ยนนั้น มงเซียร์สตอร์ฟข้าราชการฝรั่งเศส ซึ่งมีหน้าที่คอยติดตามประจำ ราชทูตได้ออกมาห้ามปรามขอโทษว่า-- " ขอโทษเสียสักครั้ง หนึ่งเถอะเจ้าคุณ อย่าเพ่อเฆี่ยนตีมันก่อนเลย ขอภาคทัณฑ์ไว้สักทีเถิดเจ้าคุณ ไหน ๆ เจ้าคุณก็ได้มาอยู่เมืองฝรั่งเศสป็น หลายเดือน การได้เป็นไปเรียบร้อยทุกอย่าง นี่เกือบจะถึง เวลากลับเมืองไทยแล้ว ขอให้เรียบร้อยตลอดไปเถิด ถึง ว่ามันได้ประพฤติผิดคิดมิชอบคราวนี้ ก็พึ่งเป็นคราวแรกและก็ ๕๙ ไม่เสียหายอะไรนักหนา ถึงน่าติอยู่บ้างก็แต่ในพวกกันเองเพราะชาวเมืองนี้ไม่เห็นมีใครว่าอะไรเลย ตั้งแต่แรกที่ย่างเข้า มาเมืองฝรั่งเศส คนเมืองนี้ได้แต่กล่าวคำชมเชยเจ้าคุณและบรรดาคนอื่นที่มากับเจ้าคุณว่าเรียบร้อยดีมาก นี่เมื่อเขารู้ว่าเจ้าคุณทำรุนแรงกับบ่าวคนนี้ เขาจะคิดว่ากะไร ขอเจ้าคุณจงโปรดคิดให้ดีเสียก่อนเถิด อย่าให้ชื่อเสียงของเจ้าคุณที่หอม เป็นที่ชื่นใจอย่างกับดอกไม้สดกลับกลายเป็นอื่นไปเลย เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดหมายอะไร อย่า ๆ อย่าเฆี่ยนมันเลย เมื่อคนชาวเมืองนี้เขาไม่เอาโทษมัน เจ้าคุณจะเอากับมันทำไม นักหนา " เจ้าคุณราชทูตฟังมงเซียร์สตอร์ฟห้ามปรามดังนั้นก็ตอบว่า-- " ที่ท่านตักเตือนเปรียบเทียบมาครั้งนี้ ก็เป็นบุญคุณนักหนา แต่ ขอท่านได้คิดดูดีหรือว่า เมื่อชาวบ้านเมืองนี้เขานับถือเราว่าเป็น คนดีเรียบร้อย ไม่ชอบกระทำเกะกะระรานกับใครอย่างที่ท่านว่า แล้ว เมื่อเขามารู้ว่าอ้ายคนนี้มันทำให้เสียชื่อถึงเพียงนี้ เขาจะ นึกว่ากะไร ที่จริงความผิดของมันมากเหลือเกิน เพราะมันรู้ ดีเหมือนกันว่าชาวเมืองนี้เขานับถือเราว่าเป็นคนดี เมื่อมันมาประพฤติตัวเลวทรามทั้งรู้ตัวอยู่ดีดังนี้ จะว่าความผิดของมันเบา อย่างไร ยิ่งคนเขานับถือเรา มันก็ยิ่งผิดใหญ่ไปตามด้วย หน้าที่ มันจะต้องประพฤติตน ให้สมกับอย่างที่เขาว่ายิ่งสูงศักดิ์ยิ่งเจียม ศักดิ์จึงจักสม ดังนั้นจึงจะถูก มันมาทำกับข้าพเจ้าคราวนี้เต็มที ี

๖๐ เหลือเกิน ท่านนึกดูบ้างเถิด ถ้าช่างเขียนที่เก่ง ๆ ได้พาก เพียรเขียนรูปภาพนับเวลาตั้งปี แต่เมื่อสำเร็จลงแล้วจำเพาะ วันที่เขานึกจะเข้ากรอบไปตั้งไว้ให้คนดูแล้ว หากกุลีหรือลูกจ้าง ของเขาฉวยเอาพู่กันมาป้ายมาแต้มรูปภาพอันงดงามนั้นด้วยสีเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเสียหายหมด ช่างเขียนคนนั้นจะคิดว่ากะไร ถ้าขณะนั้นเขาจะลงโทษโบยตีอ้ายกุลีเลวทรามคนที่ทำให้งานการ ซึ่งเขาเพียรมาตั้งแต่ขวบปี เสื่อมเสียไปในครู่เดียวนั้น ท่านจะติ ว่าเขาเป็นคนใจเหี้ยมโหด หรือจะเห็นว่าสมควรลงโทษประการ ใด ถ้าควรแล้วก็ทำไมจะไม่ควรลงโทษกับอ้ายบ่าวคนนี้ที่ทำให้คุณความดีของข้าพเจ้าที่สะสมปลูกบำรุงไว้ตั้งขวบปี มากลับมี มลทินแปดเปื้อนด้วยความประพฤติเกกมะเหรกของมันเล่า ท่าน ว่าเรากลับไปเมืองไทยคราวนี้ ฝ่ายชาวฝรั่งเศสจะพากันระลึกคิดถึง เราแต่ด้วยความรักอาลัยในกิริยามารยาทละมุนละม่อม เพราะ ความประพฤติชอบประพฤติงามของคณะไทยเราทั้งหมด ควรหรือ ที่อ้ายคนสันดานหยาบช้าเลวทรามคนนี้จะทำลายคุณความดีของเราอย่างนี้ แต่เอาเถิด เมื่อท่านเห็นเป็นดีแล้วในการที่จะยก โทษให้มัน เพราะเห็นแก่ไมตรีจิตต์ของท่านซึ่งยังไม่เคยเศร้า หมอง ก็ยินดีจะอนุโลมตามไม่ขัดความประสงค์ของท่าน " ว่า แล้วท่านราชทูตก็ปล่อยให้มันไปไม่เอาโทษทัณฑ์ แต่ส่วนคน ทั้งหลายที่ได้มารู้เห็นในความประพฤติของเจ้าคุณราชทูตในโอกาส ที่บ่าวทำผิดแล้ว ท่านเปรียบเทียบให้ฟังจนเห็นโทษของมัน ๖๑ แล้วยังปล่อยให้ไปไม่เอาโทษ เพราะเห็นแก่ไมตรีจิตต์ของผู้อื่น ฉะนี้ ก็อดชมไม่ได้ ว่าเขาที่เป็นผู้ใหญ่ช่างคิดช่างรู้หนักรู้เบา ผ่อนผันสั้นยาวเมื่อคราวจำเป็น. บทที่ ๗๖ ราชทูตไปดูอารามวาลเดอคร้าส และไปฟังดีดพิณ. ในรัชชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อ ตอนต้นรัชชกาล สมเด็จพระพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระนางเจ้าอันน์โดตรีช ได้ทรงพระราชศรัทธาสร้างพระอารามไว้อารามหนึ่ง มีพร้อมทั้งโบสถ์วิหารเสร็จ สำหรับบรรดาสตรีที่มีศรัทธาจะได้ไปถือพรตบวชเป็นภิกษุณี เรียก กันว่า พระอาราม วาลเดอคร้าส พระอารามนั้นนับว่าเป็นสถาน ที่ที่น่าไปดูในสมัยนั้นยิ่งนัก เพราะเป็นสถานกว้างขวางและสวย งามอย่างยิ่ง ราชทูตไทยได้ข่าวว่าพระอารามของสมเด็จพระ ราชินีนาถเป็นของน่าดูนัก ก็แสดงความประสงค์อยากจะไป เยี่ยมดูบ้างว่าสวยงามเป็นอย่างไรกัน ฝ่ายเจ้าพนักงานเมื่อทราบความประสงค์ของท่านดังนั้น ก็ได้จัดการพาไปดู. ที่ในพระอารามนั้นยังมีเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ดึแชส เดแปร์นง กำลังทรงผนวชอยู่ และราชทูตได้มีโอกาส เฝ้าภิกษุณีเจ้านั้นด้วย นอกนั้นท่านยังได้ดูอะไรต่อมิอะไรอีก


๖๒ หลายอย่างแต่ที่น่ากล่าวมากกว่าสิ่งอื่น เพราะเป็นทีถูกใจท่าน ราชทูตมากกว่าสิ่งอื่นนั้น คือราชานุสสาวรีย์สำหรับเก็บรักษา พระโกศที่บรรจุดวงพระทัยของพระราชินี สมเด็จพระพันปี หลวง กับดวงหทัยของราชบุตรราชธิดาของพระบาทสม เด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งสิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์อยู่ เมื่อราชทูตได้แลเห็นพวงมาลัยที่ระลึก ซึ่งวางประดับอนุสสาวรีย์ นั้น ท่านแสดงความเคารพยำเกรงและความอิ่มใจที่ได้มีโอกาส มาแลเห็นอนุสสาวรีย์แห่งพระราชวงศ์นี้อย่างยิ่ง ซึ่งเป็น ธรรมดาของราชทูต ไม่ว่าพบเครื่องใดเป็นที่ระลึกถึงพระราชา ที่ใดก็แสดงความเคารพยำเกรงทันที เมื่อเที่ยวดูโบสถ์เสร็จ แล้วก็ได้ขึ้นไปดูหีบเพลงออร์คัน ขณะนั้นบรรดานางชีในพระอารามนั้นได้เริ่มร้องเพลงสวดให้ฟัง คือบทถวายชัยต่อพระเจ้า แผ่นดิน ท่านราชทูตฟังสำเนียงนางชีร้องเสียงเยือกเย็นน่าศรัทธา เป็นที่ยิ่งก็พิศวง ว่าเป็นเสียงเทวดานางฟ้ายิ่งกว่าเสียงมนุษย์เสีย อีก น่าชวนศรัทธาอย่างยิ่ง และอยากจะชมพักตรของบรรดา นางชีเหล่านั้นบ้าง ให้รู้ว่าเมื่อเสียงไพเราะถึงเพียงนี้ โฉม หน้าจะน่าชมสักเพียงไหน แต่ก็เป็นการไม่สำเร็จ เพราะวินัย ในพระอารามนั้นห้ามมิให้นางชีเปิดผ้าโปร่ง ซึ่งใช้ปิดหน้าเป็น อันขาด เมื่อราชทูตทราบว่านางชีถือพระวินัยเคร่งครัดดังนี้ก็ให้ ยิ่งเกิดความศรัทธาในตัวนางชีเหล่านั้นมากขึ้น. เวลาจะลาไปนั้นท่านเจ้าหญิงเดแปร์นง ได้ประทานศาสนิย ๖๓ วัตถุเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่บรรดาไทยที่เป็นคริศตัง ไว้เป็นที่ระลึก คิดถึงวัดวาลเดอคร้าสนั้นด้วย และส่วนราชทูตเมื่ออกไปแล้ว ก็ได้กล่าวชมว่า-- " ตั้งแต่เข้าเมืองฝรั่งเศสถึงวันนี้ยังมิได้เห็น พระอารามที่ไหนงดงามเป็นที่ถูกใจเหมือนวิหาร และพระอาราม ภิกษุนีนี้เลย. " ครั้นเวลาตอนปลาย ๆ ที่ท่านราชทูตไทยได้พักอยู่ในเมือง ฝรั่งเศสนั้น ข่าวเล่าลือไปทั่วพระราชอาณาจักรว่า ท่านเป็น ผู้กอบด้วยปรีชาเฉลียวฉลาดสามารถมาก ฉะนี้ ไม่ว่าชนชั้นใด ในประเทศฝรั่งเศสก็อยากจะพบปะสนทนากับท่านให้รู้ว่า คำเล่า ลือยกย่องเหล่านั้นจะเท็จจริงอย่างไร พอคนนี้ลาคนนั้นก็มาแทน กันเรื่อย จนเกือบกล่าวได้ว่าเมื่อราชทูตได้กลับไปเมืองไทยแล้ว ท่านจะอวดกับเพื่อนบ้านว่า เจ้านายชายหญิงและบรรดาปราชญ์ ที่รู้หลักในขบวนวิชชามีอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเท่าใด ท่านก็ได้ พบปะสนทนากันอย่างฉันทมิตรแทบทุกท่านก็ว่าได้. ตัวอย่างเช่นมงเซียร์คาโลต์ ช่างดีดพิณลุธอย่างเอกของ ประเทศฝรั่งเศสในสมัยเวลานั้น วันหนึ่งเผอิญท่านราชทูตได้ ฟังท่านดีดพิณลุธทำเพลงให้ราชทูตฟัง ราชทูตเป็นที่พอใจยิ่ง นัก กล่าวกับท่านว่า-- " ตั้งแต่มาเมืองฝรั่งเศส ฉันเคย ได้ยินคนดีดสีตีเป่าอย่างเพราะ ๆ ไม่ว่าเครื่องชะนิดไหนมามาก ครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยพบใครดีดพิณเสนาะเสียงนวลชวนชม เท่ากับท่านนี้เลย " ต่อมาไม่กี่วันมงเซียร์คาโลต์คนดีดพิณลุธ ๖๔ นั้น เลยอัญเชิญคณะราชทูตให้ไปประชุมฟังดนตรีที่ตึกอาราส สถานในบ้านของมงเซียร์โอบรี ในถนนเซ็น พอถึงวันเล่น คณะราชทูตก็พากันไปฟัง ท่านเจ้าของบ้านก็เข้ารวมวงกับนัก ดนตรีด้วยกันอีกผู้หนึ่ง เพื่อเป็นเกียรติยศแก่แขกซึ่งมาเยี่ยมบ้านของตนเป็นพิเศษในคืนวันนั้น คนที่ไปประชุมฟังคอนเซิร์ตคืน นั้นไม่มากนัก พอดี ๆ แต่ก็ล้วนคนที่เลือกเฟ้นโดยจำเพาะ สำหรับงานพิเศษทั้งนั้น ไม่ต้องป่วยการกล่าวว่าราชทูตจะเป็น ที่พอใจในทำนองและฝีมือทำเพลง ของพวกนักดนตรีเหล่านั้น ควรบอกแต่เพียงว่า นักดนตรีอย่างเอกของเมืองฝรั่งเศสมีอยู่ เท่าใดก็รวมอยู่ในวงดนตรีนั้นด้วยทุกคน จะไม่พอใจกะไรได้ เขาว่า " ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ " นี่ปราชญ์ไทยจะรู้ไม่ ถึงฝีมือของปราชญ์ฝรั่งที่ไหนได้ รู้ยิ่งกว่ารู้เสียอีก และท่าน อัครราชทูตอดรนทนไม่ได้ ต้องกล่าวชมเชยบรรดานักดนตรี เหล่านั้นว่า-- " ขบวนเสนาะน่าจับใจแล้ว ในโลกนี้เป็นไม่ มีที่ไหนเหมือนเสียแล้ว " ว่าแล้วก็หันมาพูดกับมงเซียร์คาโลต์ ต่อกับคำชมประโยคก่อน-- " นอกจากเสียงพิณของท่านเมื่อ เล่นคนเดียวเท่านั้น เพราะเวลาท่านเล่นดนตรีคนเดียวนั้นเสียงพิณ ของท่านเสนาะจับใจราวกับเสียงทิพ ได้ยินสนัดสนี่ไม่มีเสียง อื่นมากลบเหมือนเมื่อเวลาดีดรวมวงกับเครื่องอื่น. "


๖๕ บทที่ ๗๗ ราชทูตรับรองของกำนัล. ขอกล่าวถอยหลังไปหน่อยหนึ่ง ถึงครั้งที่ " มงเซียร์ " คือสมเด็จพระอนุชาธิราชทรงประชวรยังไม่ถึงทิวงคตนั้นว่า ท่าน อัครราชทูตเคยส่งหยูกยาอย่างไทย ๆ ไปถวายหลายขนานตาม มีตามจน และสมเด็จพระอนุชาธิราชมงเซียร์ ทรงชอบพระ ทัยในกิริยาธยาศัย และความจงรักภักดีต่อของท่านราชทูตไทย ยิ่งกว่าในยาที่ส่งไปถวายเสียอีก ภายหลังไม่กี่วันพระองค์ทรง พระประสงค์จะตอบแทนไมตรีจิตต์นั้นบ้าง ก็ให้มงเซียร์โอแบร์ต์มหาดเล็กในพระองค์ถือหีบหนังสือสีเทา ๆ มีลายนกทองฝีมืออย่างประณีต ส่งไปประทานราชทูตเป็นของกำนัลส่วนพระองค์ เมื่อ มงเซียร์โอแบร์ต์นำของกำนัลไปประทาน ท่านราชทูตคิดว่าเป็น แต่ทรงประทานหีบเปล่า ๆ เพราะลำพังหีบใบนั้นแล้วก็นับว่าเป็น ชิ้นงานมิใช่เล่นอยู่แล้ว แต่ที่ไหนได้ เมื่อเปิดหีบออกมาดู เห็นข้างในมีหีบทองเล็กอีกสามใบ ครั้นเปิดหีบเล็กนั้นออกมา ดูอีกที ซ้ำยังมีของข้างในอีก คือหีบ ๑ มีแหวนเพ็ชรเรือน ทองวง ๑ สำหรับท่านอัครราชทูต แล้วในหีบเล็กอีกสองใบ ก็มีแหวนมรกตหีบละวงสำหรับอุปทูตตรีทูตอีก แล้วนอกจาก นั้นยังมีพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ ประดับเพ็ชรอีกรูป ๑ สำหรับจำเพาะตัวท่านอัครราชทูต ล้วนแต่ของงาม ๆ อันมีค่า ทั้งนั้น. ๕ ๖๖ เมื่อท่านราชทูตจเปิดหีบนั้นเสร็จแล้วท่านกล่าวกัลมงเซียร์โอแบร์ต์ว่า-- " นี่แน่ะท่าน ฉันจะบอกให้ ในของทุกสิ่งที่พระ องค์ทรงประทานมาคราวนี้ ถ้าคนธรรมดาจะตีราคาแล้ว คงว่า แหวนเพ็ชรแหวนมรกตนั้นแหละเป็นของประเสริฐ แต่สำหรับ ตัวฉันหาตีราคาเช่นนั้นไม่ ฉันเห็นว่าบรรดาของที่ประทานมานี้ พระฉายาลักษณ์รูปนี้นั่นแหละ เป็นของมีค่ามากและวิเศษกว่า สิ่งอื่นหมด เพราะใครเล่าที่อาจกำหนดราคาแห่งของที่ระลึกอันนี้ ได้ ด้วยเป็นถึงพระรูปของสมเด็จพระอนุชาธิราชแห่งพระมหา กษัตริย์ผู้มีบุญบารมีทรงชะนะทุกทิศ ใครได้รับแล้วเป็นบุญลาภ อันประเสริฐของผู้นั้น คนไทยเราเมื่อเห็นพระรูปนี้ ก็จะบังเกิด ความเคารพนับถือและจงรักภักดีในพระองค์ดุจเดียวกับได้แลเห็น พระองค์ฉะเพาะพระพักตรทีเดียว พระรูปนี้ฉันปฏิญญาณสัญญา ไว้ว่าตลอดชีวิตของฉัน ๆ จะติดไว้ที่แขวนอยู่เสมอ แล้วต่อเมื่อ ฉันตายแล้ว บรรดาลูกหลานก็จะรักษาเป็นมรดกโดยระลึกถึง พระเดชพระคุณของพระองค์จนกว่าชั่วกัลปาวสาน " ยังมีเรื่องของกำนัลอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งน่ารู้ถึงบ้าง คือท่าน เจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ซึ่งเป็นคนค่อนข้างบูชาผู้มีปัญญาอยู่ ค่าที่พระองค์เองมีเชื้อปราชญ์ ๆ อยู่ในพระองค์ วันหนึ่งท่านได้เสด็จ มาเยี่ยมราชทูตไทย โดยไม่แพร่งพรายบอกให้ใครรู้เลย ครั้น พระองค์เสด็จมาถึงสำนักราชทูตซึ่งเผอิญวันนั้นในสถานทูตไม่มี ล่ามเหลืออยู่สักคนเดียว เพราะจวนเจียนที่ท่านจะกลับไปเมือง

๖๗ ไทยแล้ว ต่างคนต่างกำลังวิ่งไปซื้อนี่ซื้อโน่นกันออกวุ่น ตอน นี้ออกจะขลุกขลักกันหน่อย คือท่านหญิงก็พูดไทยไม่เป็น ส่วนข้างราชทูต ก็พูดฝรั่งเศสกร็อกแกร็กไม่เป็นศัพท์เป็นแสงจะ สนทนาปราศัยแลกความเห็นกันด้วยวิธีใด อย่ากลัวเลยคน เฉลียวฉลาดถึงที่อับจนก็ยังพอแก้ไขไปได้บ้าง ไม่ให้เสียการที ีเดียว ข้างฝ่ายท่านหญิงและราชทูตเมื่อเห็นว่า ใช้ปากพูดจาปราศรัยกันไม่สำเร็จแน่แล้ว ก็เกณฑ์เอามือเอาตามาช่วยปาก ชี้โบ้ชี้เบ๊ กลับตาไป ๆ มา ๆ พลางทำท่าทางยักย้ายไปตามเรื่อง ถึงไม่ค่อยรู้ความละเอียดละออก็จริง ก็ยังพอเข้าใจกันได้บ้าง เป็นงู ๆ ปลา ๆ ดีกว่าไม่รู้เรื่องเลย แต่สิ่งที่ต่างคนต่างรู้ดีนั้น คือต่างฝ่ายต่างนับถือกันว่าเป็นเจ้าปัญญา ไล่ให้จนไม่ค่อยง่าย สิ่ง ที่ทำให้รู้ว่าเขาเข้าใจความกันนั้นคือ ภายหลังวันที่ท่านหญิงเสด็จ ไปเยี่ยมนั้น ท่านหญิงได้ส่งถุงมือทำด้วยหนังนกมีขนติดอยู่ ซึ่งท่านทรงเมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมนั้น ไปประทานอัครราชทูต และบนกระดาษที่ห่อถุงมือนั้น ท่านทรงสลักหลังด้วยลายพระ หัตถ์ของพระองค์เองว่า-- " ของกำนัลของเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ให้แก่ท่านอัครราชทูตสยาม ไว้เป็นที่ระลึกแห่งการสนทนาชี้โบ๊ชี้เบ๊ ซึ่งเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์เดาแปลเอาเองว่า " ถุงมือนี้สวยงามมาก ถ้าได้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะเป็นเกียรติยศยิ่ง " ผิดไม่ผิดจึงค่อยว่า กันคราวหลัง แต่โปรดรับไว้เถิด " ( ลงพระนาม ) เจ้าหญิง เดอเนอมูร์ส์.

๖๘ บทที่ ๗๘ ราชทูตไปเที่ยวเล่นที่พระราชสำนัก วังแวร์ซายส์. ตั้งแต่แรกที่ท่านราชทูตมาเมืองฝรั่งเศสนั้น จะว่าท่านยัง ไม่เคยเห็นพระเจ้าแผ่นดินก็เกือบจะว่าได้ ค่าที่การเฝ้าเมื่อแรก มาถึงนั้น ทางราชการได้จัดเป็นพิธีอย่างใหญ่โต ไม่เป็นโอกาส อันเหมาะเลยที่ราชทูลจะได้สังเกตท่ี่โน่น อันเกี่ยวกับพระเจ้า แผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ และขนบธรรมเนียมวิธีดำเนิร การของพระราชสำนักฝรั่งเศส เป็นหน้าที่ราชการโดยตรง หาได้พินิจสอดส่องให้เป็นการเพลิดเพลินส่วนตัวไม่ เพราะเหตุ นี้ราชทูตอยากนักอยากหนาที่จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอย่างเงียบ ๆ ไม่ มีพิธีรีตอง เพื่อรู้ว่าความเป็นจริงภายในพระราชสำนักนั้น ตาม ปกติดำเนิรวิธีไปท่าไหน ส่วนข้าราชการฝรั่งเศสก็เหมือนกัน อยากจะให้ราชทูตรู้เห็นความเป็นจริงในราชประเพณีฝรั่งเศส อย่า ให้เป็นแต่รู้เพียงหน้าฉาก ให้ดูรู้เห็นทางภายในฉากด้วย จะ ได้รู้ถึงแก่นหัวใจขนบธรรมเนียมฝรั่ง ดีกว่ารู้แต่ผิว ๆ ภายนอก เมื่อกลับไปถึงบ้านเมือง จะได้นำความสัตย์จริงไปเล่าให้ชาวไทย ด้วยกันรู้ว่าเป็นอย่างไรแน่. ฉะนี้ ก่อนที่ราชทูตจะเข้าเฝ้าลากลับไปเมืองสยามสองวัน นั้น ท่านกับขุนนางไทยที่มาด้วยกันก็ได้ออกไปเที่ยวที่พระราช สำนักแวร์ซายส์ตลอดเวลาบ่าย โดยไม่มีกิจธุระอะไรนอกจาก

๖๙ จะได้รวมเฝ้าอยู่กับพระบรมวงศานุวงศ ชมพระบารมีของพระ เจ้าแผ่นดินกำลังทรงสำราญพระราชหฤทัยอยู่ในท่ามกลางพระราชบริพารอย่างปกติธรรมดา ไม่มีราชกิจการอะไรทั้งหมด. ราชทูตถึงวังแวร์ซายส์เวลากำลังประทับเสวยอยู่ ทรงรับสั่งให้เลยนำเข้ามาเฝ้าเสียแต่ในเวลานั้นทีเดียว พอทอดพระ เนตรเห็นราชทูตก็ทรงทักขึ้นทันทีว่า-- " เจ้าคุณราชทูต ฉันต้อง ขออภัยที่พึ่งเชิญเจ้าคุณมาเที่ยวเล่นในวังวันนี้ แท้จริงมิใช่แกล้ง ทำหลงลืมหรือถือยศถือศักดิ จะมิให้เจ้าคุณได้เฝ้าแหนก็หามิได้ เป็นเพราะฉันป่วยไปหลายเวลา การเพลิดเพลินเล่นหัวทั้งหลาย แหล่ เลยต้องเลิกกันหมดไม่มีโอกาสนึกกันเลย ฉันเสีย ดายมากเพราะว่าถ้าไม่ประจวบกับคราวเคราะห์ร้ายดังนี้ คง ได้เชิญเจ้าคุณมาเที่ยวหย่อนใจที่วังเป็นหลายครั้งหลายหนมาแล้ว " เจ้าคุณอัครราชทูตได้ฟังพระกระแสรับสั่งดังนี้ก็ทูลตอบว่า-- " ขอ เดชะ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ข้าพระ พุทธิเจ้ารู้สึกเสียดายด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ถ้าหาไม่จะได้เป็นโอกาส ให้ข้าพระพุทธิเจ้าได้เชยชมพระบารมีเสียให้อิ่มหนำ สำราญใจ สมความปรารนาของข้าพระพุทธิเจ้าผู้มาแต่ไกล แต่ ก็ยังอุ่นใจอยู่ว่าคงจะได้เฝ้าชมพระบารมีสักวันหนึ่งเป็นมั่นคง ข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่สู้จะวิตกนัก วิตกอยู่แต่อาการประชวรของฝ่าละอองธุลีพระบาทเป็นอย่างยิ่ง แต่บัดนี้กลับยินดีด้วยเกล้า ฯ ในการที่เห็นพระอาการในวันนี้ค่อยบรรเทาลง ขอทรงพระ

๗๐ สำราญเจริญ ๆ ให้ข้าพระพุทธิเจ้าได้เชยชมพระบารมีพุทธิเจ้าค่ะ " แต่นี้ไปตลอดเวลากำลังประทับเสวย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงรับสั่งว่ากะไรจำเพาะตัวท่านอัครราชทูต แต่พระองค์ทรง ตรัสชมเชยสติปัญญาของท่านราชทูตกับบรรดาท่านท่ี่อยู่ใกล้ชิด พระองค์ว่า -- " เจ้าคุณราชทูตนี้พูดจาแหลมหลักคมคายนัก " เสร็จการเสวยพระกระยาหารแล้ว คณะราชทูตกับพวกก็ ได้เที่ยวดูห้องนี้ห้องโน้นตามชอบใจ จนทั่วพระราชวังแวร์ซายส์ ก็ว่าได้ ที่จริงท่านเคยมาดูหนหนึ่งแล้ว แต่จะดูอีกหนหนึ่งก็ ไม่เบื่อ ยิ่งห้องระเบียง " คาเลอรี " ข้างในยิ่งติดใจมาก เพราะที่นั้นมีรูปภาพใหญ่ตามผนัง กล่าวด้วยกิ่งพงศาวดารใน รัชชกาลสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ ตอนกรีฑายุทธโยธาทัพหลวง เสด็จไปปราบอริราชศัตรู ที่เขตต์แดนฮอลันดา ช่องคูหาที่ ท่านราชทูตติดใจยิ่งกว่าปางใดหมด คือปางเมื่อสมเด็จพระเจ้า หลุยส์มหาราชเจ้ากำลังชักพระแสงขรรค์ออกจากฝัก ชี้ไปทาง ค่ายของข้าศึก พลางบรรลือพระสุรสิงหนาทว่า-- " เอ้าพวก เรา เอาให้อยู่มือคราวเดียวทั้ง ๔ ค่ายเถิดลูกเอ๋ย เอา รุก เข้าไป ชโย " ดูรูปนี้แล้วก็ได้ไปดูห้องที่พึ่งเสร็จแล้วใหม่ ๆ สองห้อง ๆ หนึ่งอยู่ปลายระเบียงข้างนี้ ตั้งชื่อว่าพระที่นั่งพิมานลาแคร์ ล้วน ประดับด้วยรูปตั้งและรูปเขียนอันเกี่ยวด้วยสงครามทั้งนั้น และ อีกห้องหนึ่งอยู่ปลายระเบียงข้างโน้น ตั้งชื่อว่าพระที่นั่งพิมาน

๗๑ ลาแปซ์ ล้วนแต่เครื่องประดับตกแต่งอันเกี่ยวกับสันติสุขความ สงบราบเรียบทั้งนั้น รูปวาดเขียนต่าง ๆ ทั้งสองห้องนี้ล้วนไป ด้วยฝีมือของท่านอาจารย์เลอบรึง ซึ่งเท่ากับว่าแล้วด้วยฝีมือ เทวดาก็ว่าได้. ครั้นตกค่ำลงราชทูตไปเที่ยวดูห้องและท้องพระโรงต่าง ๆ เมื่อติดไฟอีกครั้งหนึ่ง แสงประทีปโคมชวาลานั้นยิ่งเพิ่มความสวย งามให้ทวีมากขึ้นอีกเป็นกอง เมื่อกำลังเดิรผ่านไปผ่านมานั้นได้ มีโอกาสที่จะชมพระบารมีอีกหลายหน และทุกคราวที่ราชทูต ผ่านตรงหน้าที่นั่ง ที่พระองค์กำลังทรงประทับเล่นอยู่กับพระ บรมวงศานุวงศ พระองค์ทรงปราศรัยอยู่ทุกคราว และเพื่อเป็นที่สะดวกแก่ราชทูตในการทูลนั้น พระองค์ทรงรับสั่งถามท่านเจ้าชายดึกเดอโนอัยส์ซึ่งอยู่ข้างพระองค์ ท่านเจ้าชายทรงถามมงเซียร์สตอร์ฟข้าราชการผู้ประจำราชทูตอีกต่อหนึ่ง แล้ว มงเซียร์สตอร์ฟรับช่วงอีกทีจนกระทั่งล่ามและราชทูตรู้เรื่องความ ประสงค์ในพระกระแสรับสั่งนั้น ครั้นจะทูลตอบก็รับคำตอบ ช่วงขึ้นไปเป็นทอด ๆ จนกระทั่งทรงทราบในความคิดเห็นของราช ทูต โดยราชทูตไม่ต้องรอพักหรือเข้าไปเฝ้าจำเพาะหน้าที่บัลลังก์ ทรง เป็นการสะดวกด้วยกันทั้งสองฝ่าย. อีกหน่อยสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปฟังดนตรี ราชทูตไทยก็โดยเสด็จด้วย และเวลานั้นพระองค์ยังทรงพระกรุณา ตรัสถามอะไรต่ออะไรต่อราชทูตอีก ราชทูตทูลสนองพระราช

๗๒ ดำรัสว่า-- " ข้าพระพุทธิเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ แล้วว่าพระองค์ ใช่แต่เป็นพระมหากษัตราธิราชผู้ทรงไว้ซึ่งเดชานุภาพอันพึงเกรง กลัวปรากฏในทั่วทิศานุทิศ พระองค์ยังทรงไว้ซึ่งพระคุณานุคุณเป็นอันเอกอุ ทำให้พระองค์เป็นที่รักใคร่นับถือในทั่วมนุษยโลก ด้วย พุทธิเจ้าค่ะ ขอเดชะ " ขณะนั้นยังมีผู้หนึ่งในที่ประชุมชวนท่านราชทูตว่า-- " นี่เจ้า คุณไม่เล่นอะไรบ้างหรือ เจ้าคุณชอบไหมการเล่นต่าง ๆ " เจ้าคุณราชทูตตอบว่า-- " ชอบซิท่านทำไมจะไม่ชอบ แต่ถึงจะ ชอบก็ยังไม่บรรเทิงใจเท่ากับ ได้ดูสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงเล่น เพียงดูพระองค์ทรงเล่นก็พอแล้ว ฉันขอบใจ " ถัดจากนี้อีก สักครู่ ก็ได้พากันเข้าไปกินเครื่องว่าง พอได้เวลาก็กลับยัง สำนักสถานทูต ตลอดทางกลับเจ้าคุณอัครราชทูตสรรเสริญท่าน เจ้าชายดึกเดอโนอัยส์ไม่มีที่สุดว่า-- " สมแล้วที่เป็นเชื้อพระ ศรีสุริยวงศ์ สมควรแล้ว "


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก