ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๒

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๒ เรื่องทูตฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


คำนำ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกะเสถียร) เจ้าภาพประสงค์จะได้หนังสือสำหรับพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกสักเรื่องหนึ่ง ถ้าได้หนังสือเกี่ยวกับเรื่องทูตก็จะเป็นที่พอใจ เพราะพระยาสรรพกิจปรีชาได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมาในทางทูตเป็นเวลานาน ครั้งหลังที่สุดได้เป็นอัครราชทูตสยามประจำราชสำนักกรุงโรม กรมศิลปากรจึงได้เลือกเรื่องทูตฝรั่ง สมัยกรุงรัตนโกสินทรคือหนังสือเล่มนี้ให้พิมพ์เป็นพิเศษนับว่าเป็นภาค ๖๒ ในหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร

เรื่องที่เกี่ยวกับทูตฝรั่งเข้ามาเจริญทรงพระราชไมตรีกับกรุงสยามถ้าว่าถึงเอกสารต่าง ๆ ที่ฝรั่งจดเอาไว้ย่อมมีอยู่มากส่วนเอกสารทางฝ่ายไทย ถึงว่าจะมีอยู่ก็ยังไม่สู้แพร่หลายเพราะที่ยังไม่เคยพิมพ์ก็มีอยู่มากถ้าได้รวบรวมจัดพิมพ์ขึ้นไว้ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ค้นคว้าและผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เป็นเอนกประการ ด้วยจะได้ทราบเรื่องราวของเก่า ตลอดจนความคิดอ่านในสมัยนั้นทั้งฝ่ายเราและฝ่ายฝรั่งได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้นเอกสารต่างๆที่พิมพ์ในหนังสือเล่มนี้มีกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ส่วนมากมีในหมายรับสั่งประจำรัชกาลซึ่งเขียนด้วยเส้นดินสอขาวในสมุดไทยหมายรับสั่งเหล่านี้ที่เคยพิมพ์มาแล้วก็มีบ้างและที่ยังไม่เคยพิมพ์ก็มีอยู่ไม่น้อยในการรวบรวมพิมพ์ครั้งนี้มี

ข เวลาจำกัดเพราะกระชั้นงานมาก ไม่มีโอกาสจะสอบสวนได้ถี่ถ้วน เพียงแต่ถ่ายมาจากสมุดไทย บางบับก็ต้องเสียเวลาอ่านสอบ เพราะตัวหนังสือลบเลือนอยู่มากแห่ง จึงน่าจะมีการขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง ในรัชกาลที่ ๑ และที่ ๒ เอกสารอันเกี่ยวด้วยเรื่องทูตฝรั่ง ค้นยังไม่พบ จึงได้เก็บข้อความที่มีอยู่ในหนังสือต่าง ๆ เริ่มแต่ ครั้งที่ฝรั่งเป็นทูตเ ข้ามาในกรุงสยาม สมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดลงมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร มาเล่าไว้โดยสังเขป แต่ได้บอก ที่มาของเรื่องเหล่านั้นไว้ เพื่อผู้ที่สนใจต้องการจะทราบเรื่องโดยพิสดาร ก็อาจสอบค้นอ่านได้สะดวก กรมศิลปากรขออนุโมทนากุศลบุพเปตพลีธรรมบรรณาการ ที่เจ้าภาพบำเพ็ญเพื่ออุทิศอานิสงสผล แด่พระยาสรรพกิจปรีชา ( ชื่น โชติกะเสถียร ) ว่าโดยฉะเพาะก็คือ การที่พิมพ์หนังสือเรื่องทูตฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทรนี้ให้แพร่หลาย นับเนื่องในส่วนวิทยา ทานเป็นพิเศษ เสมือนได้อนุกูลการศึกษาของชาติ ให้ผู้ค้นคว้า วิชาประวัติศาสตร์เป็นต้น ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น อันควรมี ปฏิการปัจจัยอำนวยให้พระยาสรรพกิจปรีชา ได้ประสพหิตานุหิต ประโยชน์ และสิ่งที่ต้องประสงค์อันปราศจากโทษทุกประการ ตาม สมควรแก่คตินิยมในสัมปรายภพนั้น เทอญ กรมศิลปากร วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙



พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) พ.ศ. ๒๔๑๖ - พ.ศ. ๒๔๗๙


ประวัติ พระยาสรรพกิจปรีชา เกิดณวันที่ ๒ ๒ ค่ำ ปีวอกจัตวาศ๕กจุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในสกุล " โชติกเสถียร " ( ซึ่งเป็นตระกูลข้าหลวงเดิม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) นามเดิม " ชื่น " เป็นบุตร์พระยาทิพย์โกษา ( โต ) กับคุณหญิง กุหลาบ ทิพย์โกษา ระหว่างอายุยังเยาว์ ได้ศึกษาในเมืองไทยตามกาลสมัย เช่นวิชาหนังสือในสำนักโรงเรียนวัดบพิตรพิมุขใกล้บ้านเดิม พอมีความ รู้บ้าง และได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วไปศึกษาณประเทศอังกฤษ สอบไล่ได้ชั้นเนติบัณฑิต กลับมารับราชการ ชั้นต้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นทนายว่าความในราชการบางคราว และเริ่มแต่พุทธศักราช ๒๔๓๙ รับราชการ ประจำในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขาธิการเสนาบดีผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศเป็นพื้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการประจำในกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับราชการทั้งในกรุงและต่างประเทศ เช่น ๑. พุทธศักราช ๒๔๔๒ เป็นเลขานุการสถานทูตสยามณกรุงโตกิโอ ๒. พุทธศักราช ๒๔๔๔ เป็นผู้ช่วยกองบัญชาการกระทรวง


ฆ ๓. พุทธศักราช ๒๔๔๖ เป็นผู้ช่วยพิเศษกองที่ปรึกษาราชการ กระทรวงคราวหนึ่ง และอีกคราวหนึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๑ ๔. พุทธศักราช ๒๔๕๐ เป็นเลขานุการสถานทูตสยามณกรุงลอนดอนคราวหนึ่ง และอีกคราวหนึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ ๕. พุทธศักราช ๒๔๕๑ เป็นเลขานุการกองที่ปรึกษากระทรวง ๖. พุทธศักราช ๒๔๕๓ เป็นเลขานุการสถานทูตสยามณกรุงวอชิงตัน เป็นอุปทูตว่าการแทนอัครราชทูตด้วยคราวหนึ่ง และ อีกคราวหนึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓ เป็นอุปทูตสยาม เป็นที่ปรึกษา ณสถานทูตนี้ด้วย ๗. พุทธศักราช ๒๔๖๕ เป็นที่ปรึกษาและอุปทูตว่าการแทนอัครราชทูตสยามณกรุงลอนดอน ๘. พุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นอัครราชทูตสยามณกรุงโรมประจำสำนักอิตาลี สเปญ โปตุเกศ รวม ๓ ประเทศ ๙. พุทธศักราช ๒๔๖๗ รักษาราชการแทนอัครราชทูตสยาม ณกรุงปารีส คราวลาพักปีหนึ่งด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เวลารับราชการอยู่ในต่างประเทศนั้น ได้รับราชการพิเศษอีกบ้างบางคราว เช่น ๑. พุทธศักราช ๒๔๕๐ ช่วยอัครราชทูตสยามณกรุงลอนดอนจัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จยุโรปครั้งที่ ๒


ง ๒. พุทธศักราช ๒๔๕๘ แทนรัฐบาลสยามไปประชุมสากลวิทยุโทรเลขที่กรุงลอนดอน ๓. พุทธศักราช ๒๔๖๒ แทนรัฐบาลสยามไปในงานฉลองชัยชนะสงครามที่กรุงบรัสเสลส์ ๔. พุทธศักราช ๒๔๖๗ รักษาราชการฝ่ายสยามประจำสำนักสันนิบาตชาติ แทนอัครราชทูตสยามณกรุงปารีส ในคราวที่ลาพัก ปีหนึ่งนั้นอีกส่วนหนึ่งด้วย ๕. พุทธศักราช ๒๔๖๗ แทนรัฐบาลสยามไปประชุมสากลไปรษณีย์ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ๖. พุทธศักราช ๒๔๖๘ และ พุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้แก้ไขทำสัญญาทางพระราชไมตรีสยามกับประเทศอิตาลี สเปญ และ โปรตุเกศ รวมเวลาที่ได้รับราชการประจำสืบมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๙ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๑ รวม ๓๒ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ออกจากประจำการรับพระราชทานบำนาญ ถานรับราชการมานานและรวมเวลาที่ได้อยู่ในเมืองต่างประเทศ ตั้งแต่แรกออกไปศึกษาจน ถึงได้รับราชการ ทั้งในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น วนเวียนไปมาหลาย ประเทศมากกว่าที่ได้ประจำอยู่ในเมืองไทย ตลอดเวลาที่ได้รับราชการมา ได้รับพระราชทานเงินเดือนตามตำแหน่ง ได้รับพระราชทานยศสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ์สยามและต่างประเทศ เช่น

จ ยศ ๑ พุทธศักราช ๒๔๖๐ เป็นอำมาตย์เอก ๒. พุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นมหาอำมาตย์ตรี บรรดาศักดิ์ ๑. พุทธศักราช ๒๔๔๒ เป็นหลวงสรรพกิจปรีชา ๒. พุทธศักราช ๒๔๕๖ เลื่อนขึ้นเป็นพระสรรพกิจปรีชา ๓. พุทธศักราช ๒๔๖๕ เลื่อนขึ้นเป็นพระยาสรรพกิจปรีชา เครื่องราชอิสสริยาภรณ์สยาม ๑. พุทธศักราช ๒๔๕๑ ภัทราภรณ์ ๒. พุทธศักราช ๒๔๕๖ ภูษนาภรณ์ ๓. พุทธศักราช ๒๔๕๘ เข็มข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๖ ๔. พุทธศักราช ๒๔๖๑ ตริตาภรณ์มงกุฎสยาม ๕. พุทธศักราช ๒๔๖๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก ๖. พุทธศักราช ๒๔๖๗ ทวีติยาภรณ์มงกุฎสยาม ๗. พุทธศักราช ๒๔๗๑ เหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.ชั้น ๓ ๘. พุทธศักราช ๒๔๗๑ ปฐมาภรณ์มงกุฎสยาม ๙. เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาและเหรียญ ตามคราว ที่พระราชทานเนื่องในงานพระราชพิธี เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ต่างประเทศ ๑. พุทธศักราช ๒๔๕๐ เลยองดอนเนอร์ชั้น ๕ ประเทศฝรั่งเศส

ฉ ๒. พุทธศักราช ๒๔๖๔ อิสเบลาลาคาโทลิกาชั้น ๒ ประเทศ สเปญ ๓. พุทธศักราช ๒๔๖๙ โปลาสตาร์ชั้นที่ ๑ ประเทศสวิเดน ๔. พุทธศักราช ๒๔๖๙ อิสเบลาลาคาโทลิกาชั้น ๑ ประเทศ สเปญ ๕. พุทธศักราช ๒๔๖๙ ออร์เดอร์อ๊อฟเดอไครสต์ชั้นที่ ๑ ประเทศโปรตุเกศ ๖. พุทธศักราช ๒๔๗๐ มกุฎอิตาลีชั้น ๑ เคยเป็นสมาชิกหลายสโมสร เช่นเป็นสมาชิกหอพระสมุด วชิรญาณ ตั้งแต่แรก ตั้งในพระบรมมหาราชวัง มีอัธยาศัยสุภาพ โอบอ้อมอารี คบหาสมาคมกว้างขวางหลายชั้นชนทั้งไทยทั้งชาว ต่างประเทศ เริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งในลำไส้ตั้งแต่กรกฎาคม ได้พยายาม รักษาจนถึงที่สุด ถึงอนิจกรรมที่ บ้านถนนสีลม วันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙ อายุ ๖๕ ปี ได้รับพระราชทานน้ำอาบศพ หีบบรรจุศพและเครื่องประโคมศพตามเกียรติยศ ระหว่างนี้ ภริยา บุตร์ชายหญิงที่ยังมีชีวิตอยู่หลายคน และ บุตรชายได้รับราชการ ๑. คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา มีบุตร์ (๑). อำมาตย์ตรี หลวงประเสริฐไมตรี (วงศ์ ) เลขานุการสถานทูตสยามณกรุงปารีส

ช ( ๒ ) นายพันตรี หลวงสุรณรงค์ ( ธงไชย ) ประจำกรมยุทธการทหารบก ( ๓ ) นายชุบ นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ( ๔ ) นางสิริ ภรรยานายพจน์ สารสิน ๒. เย็น ( ภริยา ) บุตร์ที่มีอยู่ ( ๑ ) นายสนิท กรมไปรษณีย์โทรเลข ๓. หริ่ม ( ภริยา ) บุตร์ที่มีอยู่ ( ๑ ) นางสาวช่อทิพย์ ( ๒ ) นายเชื้อทิพย์ ๔. บูรณา ( ภริยา ) มีบุตร์ ( ๑ ) เด็กชายจิตต์ ( ๒ ) เด็กชายเสน่ห์ กำหนดจะได้รับพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดมกุฎกษัตริยารามวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ เวลา ๑๗ นาฬิกา





สารบาญ ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๑ ... ... ... ... ... หน้า ๑ โปตุเกศมาเจริญทางพระราชไมตรี ... ... ... ... " ๒ หมายรับสั่งว่าด้วยรับแขกเมืองโปตุเกศ ... ... " ๓ กำหนดแขกเมืองเข้าเฝ้าถวายพระราชศาสน์ ... " ๓ กำหนดแขกเมืองถวายบังคมลากลับ ... ... ... " ๗ กำหนดแห่พระราชศาสน์ไปลงเรือ ... ... ... ... " ๙ ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๒ ... ... ... ... ... " ๑๐ โปตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ... ... ... " ๑๐ โปตุเกศเจ้าเมืองมาเก๊าให้ฑูตเข้ามา ... ... ... " ๑๑ เหตุที่สมาคมกับโปตุเกศ ... ... ... ... ... " ๑๑ ทูตโปตุเกศเข้าเฝ้า ... ... ... ... ... ... ... " ๑๒ อนุญาตให้โปตุเกศไปมาค้าขาย ... ... ... ... " ๑๒ เริ่มมีไมตรีกับโปตุเกศ ... ... .... ... ... " ๑๓ อธิบายเรื่องการที่ต่างประเทศถวายของ ... ... " ๑๕ โปตุเกศขอทำสัญญา ... ... ... ... ... " ๑๕ โปตุเกศขอตั้งกงสุลเยเนราล ... ... ... " ๑๖ พระราชทานที่ให้ตั้งสถานกงสุลโปตุเกศ ... ... " ๑๖ ทรงตั้งกงสุลโปตุเกศเป็นขุนนางไทย ... ... ... " ๑๖



(๒) ทำหนังสืออนุญาตการค้าขายแทนสัญญา ... หน้า ๑๖ อธิบายวิธีทำหนังสือสัญญาอย่างโบราณ ... " ๑๗ อังกฤษเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ... ... " ๑๘ เรสิเดนต์เมืองสิงคโปร์บอกมาว่าทูตอังกฤษจะเข้ามา กรุงเทพ ฯ ... ... ... ... ... ... " ๑๘ โปรดให้พระยาสุริยวงศ์มนตรีว่าที่พระคลัง ... ..." ๑๘ เหตุที่อังกฤษแต่งทูตมา ... .... ... ... ... " ๑๙ ความประสงค์ของอังกฤษที่แต่งทูตเข้ามา ... ... " ๑๙ คำสั่งของรัฐบาลอินเดียที่สั่งทูต ... ... ... " ๒๑ ครอเฟิต ทูตอังกฤษเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ... .... " ๒๔ อักษรศาสน์ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ... " ๒๕ เครื่องราชบรรณาการที่อังกฤษถวาย ... ... ... " ๒๘ เสด็จออกแขกเมืองทูตอังกฤษ ... .... ... ... " ๒๙ ความลำบากในการปรึกษากับทูตอังกฤษ ... ... " ๒๙ ข้อปรึกษากันในระหว่างไทยกับอังกฤษ ... ... " ๓๒ ว่ากันด้วยการค้าขาย ... ... ... ... ... ... " ๓๒ ว่ากันด้วยเรื่องเมืองไทรบุรี ... ... ... ... ... " ๓๓ การปรึกษากับทูตอังกฤษไม่ตกลงกัน ... ... ... " ๓๔ ว่ากันด้วยเรื่องหนังสือตอบ ... ... ... ... ... " ๓๔ เกิดเหตุเรื่องนายเรือของทูต ขายของหนีภาษี ... " ๓๔


(๓) เกิดเหตุเรื่องครอเฟิตเที่ยวหยั่งน้ำทำแผนที่และพูด หมิ่นไทย ... ... ... ... ... ... หน้า ๓๕ พระราชทานของตอบแทน ... ... ... ... ... " ๓๕ หนังสือไทยตอบอังกฤษ ... ... ... ... ... ... " ๓๖ หนังสือกล่าวโทษครอเฟิต ... ... ... ... ... " ๓๖ ครอเฟิตไปเมืองญวน ... ... ... ... ... " ๓๖ ครอเฟิตมาเป็นเรสิเดนต์เมืองสิงคโปร์ ... ... ... " ๓๖ ครอเฟิตกลับดีต่อไทย ... ... ... ... ... ... " ๓๖ ผลของการที่รัฐบาลอินเดียของอังกฤษแต่งทูตเข้ามา เมืองไทย ... ... ... ... ... ... ... ... ... .. " ๓๗ ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๓ ... ... ... ... ... " ๓๗ อังกฤษเกิดรบกับพะม่าครั้งแรก ... ... ... ... " ๓๗ ไทยแต่งกองทัพออกไปตั้งที่ต่อแดนพะม่า ... ... " ๓๘ อังกฤษขอให้ไทยช่วยรบพะม่า ... ... ... ... " ๓๙ เหตุที่ไทยไม่ตกลงกับอังกฤษในเรื่องรบพะม่า ... " ๓๙ อังกฤษให้นายร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี เป็นทูตเข้ามา " ๔๑ ไทยกับอังกฤษทำหนังสือสัญญากันครั้งแรก ... ..." ๔๒ อักษรศาสน์ของผู้สำเร็จราชการอินเดีย ... ... ... " ๔๒ นายร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี นำหนังสือสัญญามาเปลี่ยน " ๔๙ อเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๕ . ... ... ... ... ... ... ..." ๕๐ (๔) หมายรับสั่ง ว่าด้วยนายเอดมันต์รอเบิต ทูตอเมริกัน เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ... ... ... ... ... ... ... .หน้า ๕๑ จดหมายเหตุ เรื่องทูตอเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี " ๕๖ บริษัทอิสต์อินเดียแต่งให้นายริดซันเข้ามาทำสัญญาซื้อช้างไทย" ๕๘ นายริดซันถวายเครื่องราชบรรณาการ ... ... ... ... ... ... .." ๖๐ ของหลวงพระราชทานตอบแทน ... ... ... ... ... ... ... ... " ๖๑ ไทยขอยกเลิกหนังสือสัญญาบางข้อต่ออังกฤษ ... ... ... ..." ๖๑ อเมริกันขอแก้หนังสือสัญญา ... ... ... ... . ... ... ... ... ..." ๖๗ อเมริกันและอังกฤษ เข้าใจผิดในประเพณีการค้าขาย ของไทย ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... .." ๖๗ เหตุที่ทูตอเมริกันเข้ามา ... ... ... ... ... .. ... ... ... ... ." ๖๗ จดหมายเหตุ เรื่องบัลเลศเตีย ทูตอเมริกันเข้ามา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๖๙ เรือรบอเมริกันมาถึงสันดอน ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๖๙ ว่าด้วยกำหนดวันรับทูต ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๗๑ ทูตมาถึงกรุงเทพ ฯ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๗๒ ทูตไปหาพระยาศรีพิพัฒน์ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๗๔ จดหมายทูตมีถึงพระยาศรีพิพัฒน์ ฉบับที่ ๑ ... ... ... ... ." ๗๙ คำขอของทูตเตรียมจะกราบทูลพระกรุณา ... ... ... ... ... " ๘๔


(๕) จดหมายพระยาศรีพิพัฒน์ตอบทูต ฉบับที่ ๑ ... ... ... ...หน้า ๘๖ จดหมายทูตมีถึงเจ้าพระยาพระคลัง ... ... ... ... ... ... ..." ๙๐ จดหมายทูตมีถึงพระนายไวยวรนาถ .. ... .. . ... ... ... ... .." ๙๒ .จดหมายพระนายไวยวรนาถมีถึงนายพลเรือรบอเมริกัน ... ... " ๙๓ ส่งสะเบียงให้เรือรบอเมริกัน ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๐๑ ส่งทูตไปจากกรุงเทพ ฯ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๑๐๒ จดหมายทูตมีถึงพระยาศรีพิพัฒน์ ฉบับที่ ๒ ... ... ... ... . ." ๑๐๒ จดหมายนายพลเรือรบอเมริกันถึงพระนายไวยวรนาถ ... ... " ๑๐๖ สำเนาอักษรศาสน์ของประธานาธิบดีอเมริกัน ที่จะถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ... ... ... ... ... ." ๑๐๗ สำเนาตราตั้งบัลเลศเตียเป็นทูตอเมริกัน ... ... ... ... ... ...." ๑๐๘ คำให้การจีนเสี่ยงที่มากับเรือทูตอเมริกัน ... ... ... ... ... .. " ๑๐๙ สำเนาหมายรับสั่งในการรับทูตอเมริกัน ... ... ... ... ... ... " ๑๑๒ รายนามบุคคลที่ปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องบัลเลศเตีย ทูตอเมริกันเข้ามาในรัชกาลที่ ๓ เท่าที่สืบสวนได้ ... ... ." ๑๑๕ อังกฤษขอแก้หนังสือสัญญา ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๑๑๘ จดหมายเหตุ เรื่องเซอร์เชมสบรุก ทูตอังกฤษเข้ามา ขอแก้หนังสือสัญญา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ ... ... ... ... ." ๑๑๙ คำแปล หนังสือเซอร์เชมสบรุกถึงเจ้าพระยาพระคลัง... ... .." ๑๒๐ จดหมายคำสนทนาในระหว่างเจ้าพระยาพระคลัง กับเซอร์เชมสบรุก ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๒๓

(๖) คำแปลหนังสือหลอดปลมะสตันถึงเจ้าพระยาพระคลัง ... หน้า ๑๒๗ จดหมายคำสนทนาในระหว่างจมื่นไวยวรนาถ กับเซอร์เชมสบรุก ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๒๙ รายงานน้ำตื้นลึกตรงที่กำปั่นของทูตติดร่อง... ... ... ... ." ๑๓๒ กระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเรื่องทูต ... ... ... ... ... ... ... ." ๑๓๔ รับเซอร์เชมสบรุกเข้ามาพักในกรุง ฯ ... ... ... ... ... ... " ๑๔๐ จดหมายคำสนทนาในระหว่างเสนาบดีกับเซอร์ เชมสบรุก ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๑๔๑ หนังสือเซอร์เชมสบรุกถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับที่ ๑... ... " ๑๔๓ หนังสือเซอร์เชมสบรุกถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับที่ ๒... ... " ๑๔๗ หนังสือเซอร์เชมสบรุกถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับที่ ๓ ... ..." ๑๕๐ หนังสือเซอร์เชมสบรุกถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับที่ ๔ ... ..." ๑๕๒ ร่างหนังสือสัญญาที่เซอร์เชมสบรุกส่งให้เจ้าพระยา พระคลัง ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๑๕๔ หนังสือเซอร์เชมสบรุกถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับที่ ๕... ..." ๑๕๙ ร่างสัญญาพิกัดสินค้า ... ... ... ... ... ... ... .. .... ..." ๑๖๖ จดหมายเหตุ ถวายร่างหนังสือตอบเซอร์เชมสบรุก ... ... ." ๑๗๐ หนังสือเจ้าพระยาพระคลังตอบจดหมายฉบับที่ ๑ ของเซอร์เชมสบรุก ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๗๑


(๗) หนังสือเจ้าพระยาพระคลังตอบจดหมายฉบับที่ ๒ ของเซอร์เชมสบรุก... ... ... ... ... หน้า ๑๗๓ หนังสือเจ้าพระยาพระคลังตอบจดหมายฉบับที่ ๓ ของเซอร์เชมสบรุก ... ... ... ... ... ... " ๑๘๐ คำปรึกษาข้าทูลละออง ฯที่ ตรวจร่างสัญญา... ... " ๑๘๓ หนังสือเสนาบดีพร้อมกันมีถึงเซอร์เชมสบรุก... ... " ๒๐๐ หนังสือเจ้าพระยาพระคลังตอบหลอดปลมะสตัน ... " ๒๑๓ รายนามบุคคลที่ปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง เซอร์เชมสบรุก... ... ... ... ... ... ....... ... " ๒๑๙ ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๔ ... ... ... ... .... " ๒๒๓ อังกฤษแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อพ.ศ. ๒๓๘๙ ... ... ... ... ... ..." ๒๒๕ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังเซอร์ยอนเบาริ่ง ว่าด้วยจัดคนรับรอง ... ... ... ... ... ... " ๒๒๙ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังเซอร์ยอนเบาริง ว่าด้วยการยิงสลุตรับราชฑูต ... ... ... ... " ๒๓๓ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังเซอร์ยอนเบาริง ว่าด้วยการชำระเรียบเรียงพระราชพงศาวดาร สยามเป็นต้น ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๓๕ (๘) หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับเซอร์ยอนเบาริง ... ... ..หน้า ๒๔๑ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดของไปทักทูตที่เมืองสมุทรปราการ " ๒๔๑ ฉบับที่ ๒ เรื่องจัดสิ่งของไปทักทูตที่เรือกลไฟ ... ..." ๒๔๒ ฉบับที่ ๓ เรืองพระราชทานเบี้ยเลี้ยงทู ต ... ... ..." ๒๔๓ ฉบับที่ ๔ เรื่องให้จุดไฟรายทางให้ทู ตเข้าเฝ้า... ..." ๒๔๕ ฉบับที่ ๕ เรื่องหมายกำหนดการเสด็จออกรับ แขกเมือง... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๔๕ ฉบับที่ ๖ เรื่องจ่ายเลขเข้ากระบวนตั้งรับแขกเมือง " ๒๕๑ ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดการเพิ่มเติม ... ... ... ... ... .." ๒๕๓ ฉบับที่ ๘ เรื่องจัดเรือรับแขกเมือง... ... ... ... .. " ๒๕๔ ฉบับที่ ๙ อธิบายเรื่องเรือรับ ทูต ... ... ... ... ..." ๒๕๕ ฉบับที่ ๑๐ เรื่องเลื่อนกำหนดแขกเมืองเข้าเฝ้า ... ..." ๒๕๖ ฉบับที่ ๑๑ เรื่องจัดเรือ ๕ ลำรับแขกเมือง ... ... " ๒๕๖ ฉบับที่ ๑๒ เรื่องจัดเกณฑ์จุกช่องล้อมวง ... ... ... " ๒๕๗ ฉบับที่ ๑๓ เรื่องกระบวนแห่รับเสด็จที่วัดอรุณ ราชวราราม ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๕๘ ฉบับที่ ๑เรื่องสั่งกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค " ๒๖๐ ฉบับที่ ๑๕ เรื่องเกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ ไปส่งเรืออังกฤษ ... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๒ ฉบับที่ ๑๖ เรื่องเกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ ไปส่งเรืออังกฤษ ... ... ... ... ... ... ... ." ๒๖๓

(๙) ฉบับที่ ๑๗ สั่งกระบวนแห่พระราชศาสน์ไปส่ง เรืออังกฤษ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๖๕ ฉบับที่ ๑๘ จะเสด็จลงประทับตำหนักน้ำ ให้แขกเมืองทูลลา... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๗ ฉบับที่ ๑๙ เรื่องอนุญาตให้อเมริกันไปมา นอกด่านทางได้ ... ... ... ... ... ... " ๒๖๘ หมายรับสั่ง เรื่องเสด็จออกรับแขกเมืองอังกฤษ ฝรั่งเศส ที่พระที่นั่งราชฤดีอย่างปกติเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๘ ." ๒๖๙ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลเมืองมูเตียเข้าเฝ้า... ... ... ." ๒๗๐ อังกฤษนำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีเข้ามาเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๑ หมายรับสั่งเรื่องต้อนรับฮารีปากส์ ทูตอังกฤษ ... ..." ๒๗๑ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดของไปทักฑูตและรับทูตเข้ามา ณกรุงเทพ ฯ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๒๗๑ ฉบับที่ ๒ เรื่องให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ไปรับทูตอังกฤษ ที่เมืองสมุทรปราการ ... ... ... ... ... ... " ๒๗๓ ฉบับที่ ๓ เรื่องจัดปืนยิงสลุตรับแขกเมือง... ... " ๒๗๔ ฉบับที่ ๔ เรื่องยิงสลุตที่ป้อมปิดปัจจนึก ... ... ..." ๒๗๕ ฉบับที่ ๕ เรื่องเกณฑ์เรือและคู่เคียงแห่พระราชศาสน์" ๒๗๕ ฉบับที่ ๖ เรื่องจุดไฟรับแขกเมืองตามช่องสีมา ... " ๒๗๖ ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดการรับทูตณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท " ๒๗๖

(๑๐) ฉบับที่ ๘ เรื่องเตรียมเข้าเฝ้าในเวลารับแขกเมือง... ... หน้า ๒๘๒ ฉบับที่ ๙ เรื่องจัดของส่งเรือพระที่นั่งที่ไปส่งแขกเมือง อังกฤษ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๘๓ ฉบับที่ ๑๐ เรื่องเตรียมเข้าเฝ้าในเวลารับแขกเมือง ... ... .." ๒๘๔ ฉบับที่ ๑๑ เรื่องราชฑูตอังกฤษเข้าเฝ้า เกณฑ์ข้าราชการ เฝ้าตามที่กำหนดให้ ... ... ... ... ... ... ... ... .." ๒๘๔ ฉบับที่ ๑๒ เรื่องราชทูตอังกฤษเข้าเฝ้า ให้จัดการ รับให้พร้อม ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๘๕ ฉบับที่ ๑๓ เรื่องเกณฑ์เรือแห่พระราชศาสน์ ... ... ... ... ." ๒๘๖ ฉบับที่ ๑๔ เรื่องจัดเรือนำแห่พระราชศาสน์ ... ... ... ... " ๒๘๖ ฉบับที่ ๑๕ เรื่องเกณฑ์เรือมังกรในการรับทู ต ... ... ... ... " ๒๘๗ ฉบับที่ ๑๖ เรื่องมีละครหลวงที่พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาท ... ... ... ... ... ... .. ... ... ... .." ๒๘๗ ฉบับที่ ๑๗ เรื่องราชทู ตอังกฤษเข้าเฝ้า ... ... ... ... ... ..." ๒๘๙ ฉบับที่ ๑๘ เรื่องฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษเข้าเฝ้า ... ... .." ๒๙๐ ฉบับที่ ๑๙ เรื่องจ่ายน้ำมันตามตะเกียงรับราชทูตอังกฤษ ในเวลาเข้าเฝ้า... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๒๙๑ ฉบับที่ ๒๐ เรื่องจัดเรือรับราชทู ตเข้าเฝ้า... ... ... ... ... .." ๒๙๑ ฉบับที่ ๒๑ เรื่องมีละครให้แขกเมืองดู ... ... ... ... ... ... " ๒๙๒ ฉบับที่ ๒๒ เรื่องให้งดจ่ายข้าวสารให้แขกเมืองอังกฤษ ... ... " ๒๙๓ ฉบับที่ ๒๓ เรื่องทู ตเข้าเฝ้าที่พระทีนั่งราชฤดี... ... ... ... " ๒๙๔

(๑๑) อเมริกันแต่งตั้งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ... ... ... ... ... ... ... ... หน้า ๒๙๖ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับแฮรี ทูตอเมริกัน ... ... ... ... ... ." ๒๙๖ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดสิ่งของไปทักทูตที่เมืองสมุทรปราการ... .." ๒๙๖ ฉบับที่ ๒ เรื่องจัดเรือไปรับเครื่องราชบรรณาการ ... ... ..." ๒๙๗ ฉบับที่ ๓ เรื่องจัดเรือพายไปรับทูตที่เมืองสมุทรปราการ ... ." ๒๙๗ ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดเรือรับทูตอเมริกันมาพักที่ปากคลอง ผดุงกรุงเกษม และจัดของไว้ให้ทูตให้พร้อม... ... . " ๒๙๘ ฉบับที่ ๕ เรื่องจัดเรือรับทูตอเมริกัน ... ... ... ... ... ... " ๓๐๐ ฉบับที่ ๖ เรื่องจัดเรือรับทูตอเมริกัน ... ... ... ... ... ... ." ๓๐๑ ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดการรับรองและจัดของไปทักทูต ... ... ..." ๓๐๒ ฉบับที่ ๘ เรื่องทูตอเมริกันจะเข้าเฝ้า ... ... ... ... ... ... " ๓๐๔ ฉบับที่ ๙ เรื่องทูตเฝ้าที่พลับพลาท้องสนามหลวง ... ... .." ๓๐๔ ฉบับที่ ๑๐ เรื่องทูตอเมริกันทูลลากลับ... ... ... ... ... ..." ๓๐๖ หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับรองกงสุลอังกฤษ ที่จะมาอยู่ ประจำกรุงเทพ ฯ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๐๗ ฝรั่งเศสแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๑๑ จดหมายเหตุ เรื่องต้อนรับมองติคนี ราชทูตฝรั่งเศส ... ... .." ๓๑๑ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับราชทูตฝรั่งเศส ... ... ... ... ... . " ๓๑๔


(๑๒) ฉบับที่ ๑ เรื่องเตรียมการเสด็จออกรับมองติคนีราชทูต หน้า ๓๑๔ ฉบับที่ ๒ ว่าด้วยจัดเรือพายไปรับราชทูตฝรั่งเศส กับขุนนางรวม ๒๖ คน ที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์ มหาโกษาธิบดี มาส่งท่าพระ ... ... ... ... ... ... " ๓๑๗ ฉบับที่ ๓ ว่าด้วยเกณฑ์กระบวนแห่รับพระรูปพระเจ้า แผ่นดินฝรั่งเศสแต่ท่าพระ เข้าประตูวิเศษชัยศรี ... .." ๓๑๘ ฉบับที่ ๔ ว่าด้วยเกณฑ์เรือรับราชทูตกับขุนนาง และทหารฝรั่งเศสตามแห่ พระรูปพระเจ้าแผ่นดิน ไปส่งในพระบรมมหาราชวัง มีทหารปืน ฝรั่งเศส ๑๐๐ คน เกณฑ์เรือเพิ่มเติมให้พอ... ... .." ๓๑๙ ฉบับที่ ๕ เรื่องให้พนักงานไปรับเครื่องราชบรรณาการ ของฝรั่งเศสที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ... ... " ๓๒๐ ฉบับที่ ๖ เรื่องบุตรภรรยาราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาเฝ้า แล้วไปดูวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้จัดการรับ ให้สะอาด... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๓๒๑ ฉบับที่ ๗ เรื่องมีละครที่โรงทหารหน้าโรงหล่อ ให้แขกเมืองฝรั่งเศสดู ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๓๒๒ หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรือรับพระราชศาสน์กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๒๓ หมายรับสั่ง เรื่องเสด็จออกรับกงสุลฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๒๘

(๑๓) หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับรองมิสเตอร์เว ชาติอังกฤษ เข้าเฝ้าที่พระตำหนักน้ำ ... ... ... ... ... ... ... หน้า ๓๒๙ โปตุเกศแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๓๐ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตโปตุเกศ ... ... ... ... ... ... .. " ๓๓๐ ฉบับที่ ๑ เรื่องให้จัดที่พักปากคลองผดุง รับราชทูต โปตุเกศ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๓๐ ฉบับที่ ๒ เรื่องจารึกพระราชศาสน์ไปประเทศโปตุคอล ให้พิณพาทย์แตรสังข์ไปคอยประโคม ... ... ... ... " ๓๓๒ ฉบับที่ ๓ เรื่องแขกเมืองจะมาดูละครที่ริมเขาไกรลาศ ให้จัดการรับรองให้ดี ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๓๓๓ ฉบับที่ ๔ เรื่องแขกเมืองเข้าเฝ้าวังหน้า ทูลเจ้านาย วังหน้าแต่งพระองค์เข้าเฝ้าให้พร้อม ... ... ... ... ..." ๓๓๔ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลอเมริกันเข้าเฝ้าถวายอักษรศาสน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๓๕ ปรูเซียแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๓๓๖ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตปรูเซีย... ... ... ... ... ... ... " ๓๓๖ ฮอลันดาแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๓๓๗


(๑๔) หมายรับสั่ง เรื่องราชทูตฮอลันดาเข้าเฝ้ากราบถวาย บังคมลา ให้จัดการให้พร้อม ... ... ... ... ... หน้า ๓๓๗ หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์ส่ง เรืออเมริกันนอกสันดอน ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๓๗ หมายรับสั่ง เรื่องเลื่อนกำหนดแห่พระราชศาสน์ ไปส่งเรืออเมริกัน... ... ... ... ... ... ... ... ... ." ๓๔๒ โปตุเกศและเยอรมันนำหนังสือสัญญาทางพระ ราชไมตรีเข้ามาเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ... ... ..." ๓๔๓ หมายรับสั่ง เนื่องกงสุลโปตุเกศและเยอรมันกับขุนนาง รวม ๕ คน เข้าเฝ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ขอเปลี่ยน หนังสือสัญญา ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๔๓ ปรูเซียแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ... ... .... ... ... ... ... ... ... " ๓๔๗ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตปรูเซีย... ... ... ... ... ... ... " ๓๔๗ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดของไปรับทูตปรูเซีย ... ... ... ... ... ..." ๓๔๗ ฉบับที่ ๒ เรื่องมีละครที่ท้องสนามหลวงให้ราชทูต ปรูเซียดู... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... . .." ๓๔๘ ฉบับที่ ๓ เรื่องจัดสะเบียงให้เรือเสพสหายไปส่งทูต นอกสันดอน และให้ไปรับทูตที่เพ็ชรบุรีด้วย... ... .." ๓๔๙ ฉบับที่ ๔ เรื่องแห่พระราชศาสน์ไปส่งราชทูตปรูเซีย ที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศ์ ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๕๐

(๑๕) ฉบับที่ ๕ เรื่องราชทูตจะออกไปเพ็ชรบุรี โดยเรือ แจวเรือพาย ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...หน้า ๓๕๕ ฉบับที่ ๖ เรื่องแห่พระราชศาสน์ตอบพระเจ้าแผ่นดิน ปรูเซียไปส่งให้ทูตที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศ์ ... ... ... " ๓๕๖ ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดโต๊ะเลี้ยงเจ้านายและแขกเมือง ในงานฉลองพระสุพรรณบัตร สมเด็จเจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ ... ... ... .. ... ... ... ... ... ... ... " ๓๖๑ ฉบับที่ ๘ เรื่องจัดเรือรับแขกเมืองและเครื่องราช บรรณาการที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี.. .. " ๓๖๒ ฮอลันดานำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี เข้ามาเปลี่ยน เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๔... ... ... ... ... " ๓๖๓ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตฮอลันดา ... ... ... ... ... ..." ๓๖๓ ฉบับที่ ๑ เรื่องให้จัดเรือไปรับราขทูตที่ตึกหลวง หน้าวัดประยุรวงศ์ ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๖๓ ฉบับที่ ๒ เรื่องเตรียมรับทูตฮอลันดาเข้าเฝ้า ขอเปลี่ยนหนังสือสัญญา ... ... ... ... ... ... ... " ๓๖๔ ฉบับที่ ๓ เรื่องเลื่อนเวลาแขกเมืองเข้าเฝ้า ไปวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ ... ... ... ... ... ... " ๓๖๙ ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดให้ราชทูตดูกระบวนแห่พยุหยาตรา เสด็จในพิธีถือน้ำ ... ... ... ... ... ... ... ... .. " ๓๗๐ ฉบับที่ ๕ เรื่องจัดของกินส่งราชทูต ... ... ... ... ... ... " ๓๗๑

(๑๖) หมายรับสั่ง เรื่องรับพระราชศาสน์กับกงสุล อังกฤษที่ท่าพระ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔... ... ... ... หน้า ๓๗๒ หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์ตอบไป เยี่ยมเยียนในการที่พระราชชนนีของพระเจ้า กรุงอังกฤษสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ... ... ... ." ๓๗๓ หมายรับสั่ง เรื่องจัดของกินไปประทานกำมะโดด นายเรือรบฝรั่งเศสที่หน้าบ้านกงสุลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔" ๓๗๗ หมายรับสั่ง เรื่องประเทศฝรั่งเศสให้เรือรบเข้ามา ส่งราชทูตสยาม ขุนนางนายทหารเรือรบฝรั่งเศส เข้าเฝ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ .." ๓๗๘ หมายรับสั่ง เรื่องจัดแคร่ ๓ แคร่ไปรับแขกเมือง ฝรั่งเศสที่ท่าพระ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ... ... ... ... " ๓๘๐ หมายรับสั่ง เรื่องมีละครที่ท้องสนามหลวง ให้ตั้งกองรับเสด็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ... ... ... ..." ๓๘๐ หมายรับสั่ง เรื่องแขกเมืองฝรั่งเศสที่นำเรือรบเข้ามา รับช้างและสัตว์ต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ ... ... ... ." ๓๘๑ หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับรองแม่ทัพฝรั่งเศส ... ... ... ... " ๓๘๔ หมายรับสั่ง เรื่องจัดตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม รับแม่ทัพฝรั่งเศสผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ... ... " ๓๘๕


(๑๗) หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมการรับรองมองซิเออร์ ซาโนนกงสุลฝรั่งเศส จะเข้าเฝ้าที่พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕... ... ... หน้า ๓๘๖ หมายรับสั่ง เรื่องจัดสิ่งของไปทักขุนนางอังกฤษ ที่เรือ กลไฟซึ่งเข้ามาเยี่ยมกรุงสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ .." ๓๘๗ หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดขุนนางเรือรบ อังกฤษเข้าเฝ้า ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ... ... ..." ๓๘๘ หมายรับสั่ง เรื่องตั้งโรงครัวเลี้ยงฝรั่งที่หน้าวัด มหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ... ... ... ... ... ... " ๓๙๒ หมายรับสั่ง เรื่องพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแต่งราชทูต ให้นำเครื่องราชอิศริยยศเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย..." ๓๙๓ หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดนมโคมาเลี้ยงฝรั่ง ที่มาดูงานมหรสพ ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๙๔ หมายรับสั่ง เรื่องให้พาทูตฝรั่งไปเมื่อเพ็ชรบุรี เมืองสมุทรปราการ ... ... ... ... ... ... ... ... . " ๓๙๔ หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรือรับฝรั่งที่มาใหม่ขึ้นไป ตามเสด็จกรุงเก่า ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๓๙๕ หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดกงสุลฝรั่งเศสกับ บาดหลวงจะเข้าเฝ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ... ... ... ." ๓๙๖ ฮอลันดาแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖... ... ... ... ... ... ... ... " ๓๙๗

(๑๘) หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตฮอลันดา ... ... ... ... ...หน้า ๓๙๗ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดเรือแห่พระราชศาสน์ ... ... ... ... ... " ๓๙๗ ฉบับที่ ๒ เรื่องกำหนดราชทูตเฝ้าที่พระที่นั่งอนันต สมาคม ให้จัดช้างต้นช้างพิเศษรับแขกเมือง ... ... " ๓๙๘ ฉบับที่ ๓ เรื่องให้จัดดอกไม้สดสำหรับเครื่องบูชา ... ... .." ๔๐๑ ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดเรือไปรับเครื่องบรรณาการที่พักทูต หน้าวัดประยุรวงศ์ ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๔๐๑ ฉบับที่ ๕ เรื่องเสด็จออกรับแขกเมือง ให้จัดการให้พร้อม ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๔๐๒ ฉบับที่ ๖ เรื่องแห่พระราชศาสน์ตอบ พระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์ ... ... ... ... ... ... .." ๔๐๒ ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดเรือมณีเมขลาส่งพระราชศาสน์ ... ... ..." ๔๐๔ หมายรับสั่ง เรื่องจัดของไปทักแขกเมืองอังกฤษ ที่มาเยี่ยมกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖... ... ... ..." ๔๐๔ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลอังกฤษเข้าเฝ้า รับแขกเมือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ... ... ... ... ... ." ๔๐๕ หมายรับสั่ง เรื่องให้หาดอกไม้ที่หอมมาตั้ง รับแขกเมือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ... ... ... ... ... " ๔๐๖ หมายรับสั่ง เรื่องจัดช้างมายืนรับแขกเมือง ... ... ... ... .." ๔๐๖ หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดม้ามายืนรับแขกเมือง ... ..." ๔๐๗


(๑๙) หมายรับสั่ง เรื่องมองซิเออร์โอบาเรด์ฝรั่งเศส จะเข้าเฝ้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗... ... ... ... ... ... หน้า ๔๐๗ หมายรับสั่ง เรื่องจัดสิ่งของไปส่งเรือรบฝรั่งเศส... ... ... ... " ๔๐๘ หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์ กรุงฝรั่งเศส ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... .." ๔๐๙ หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรือกลไฟไปรับแม่ทัพอังกฤษ ที่นอกสันดอน ... ... ... ... ... ... ... ... ... .." ๔๒๔ หมายรับสั่ง เรื่องจัดของไปทักแม่ทัพอังกฤษ... ... ... ... " ๔๒๖ หมายรับสั่ง เรื่องแห่พระราชศาสน์ไปกรุงฝรั่งเศส ส่งที่บ้านกงสุล... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๔๒๗ หมายรับสั่ง เรื่องให้คาดรัดคตเข้าเฝ้าเมื่อเวลา เสด็จออกแขกเมือง ... ... ... ... ... ... ... ... . " ๔๒๘ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตออสเตรียและทูตเบลเยี่ยม ... .." ๔๒๘ หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรืออัคเรศไปรับนายเรือ อเมริกันที่นอกสันดอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ ... ... ... " ๔๒๙ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลฝรั่งเศสเฝ้าที่ พระที่นั่งอนันตสมาคม ... ... ... ... ... ... ... ." ๔๓๐ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลฝรั่งเศสเฝ้าถวายพระแสงดาบ ... .." ๔๓๑ หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดที่รับทูตฝรั่งเศสที่หอนั่งสมเด็จ องค์ใหญ่แห่งหนึ่ง ทูตเมืองมะเกาพักที่สวนดอกไม้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แห่งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ..." ๔๓๒

(๒๐) หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับราชทูตฝรั่งเศส .. .... ... ...หน้า ๔๓๓ หมายรับสั่ง เรื่องแห่พระรูปสมเด็จพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสเข้ามาในพระราชวัง ... ... ... ... ... ." ๔๓๖ หมายรับสั่ง เรื่องแห่พระรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เข้ามาในพระราชวัง... ... ... ... ... ... ... ... ." ๔๓๗ หมายรับสั่ง เรื่องเกณฑ์เรือไว้รับขุนนางฝรั่งเศส... ... ... .." ๔๓๘ หมายรับสั่ง เรื่องเสด็จออกรับมองซิเออร์ซาโฟน กงสุลฝรั่งเศส ถวายพระกล้องทองคำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ... ... ... ... ... ... ... ... .." ๔๓๙ หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดการรับทูตโปตุเกศและจัดของ เลี้ยงจนกว่าทูตจะกลับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ... ... ." ๔๓๙ ออสเตรียแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๔๔๑ หมายรับสั่ง เรื่องรับพระราชศาสน์ประเทศออสเตรีย... ... " ๔๔๒ หมายรับสั่ง เรื่องจัดสิ่งของไปทักที่ เรือรบฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑... ... ... ... ... ." ๔๔๓ หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดขุนนางฝรั่งเศสจะเข้าเฝ้า ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เกณฑ์เรือรับ พระราชศาสน์กรุงฝรั่งเศส ... ... ... ... ... ... ..." ๔๔๓ สารบาญค้นเรื่อง ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๔๕๕


เรื่องทูตฝรั่ง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งกรุงเก่าเป็นราชธานี ได้มีทางพระราชไมตรีกับฝรั่ง ชาติโปตุเกศ ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ต่อมาถึง แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรฐ ปรากฏว่าได้มีทางพระราชไมตรีกับญี่ปุ่น และฝรั่งชาติวิลันดา อังกฤษ สเปญ และแต่งราชทูตไทย ออกไปถึงเมืองวิลันดาในยุโรปเป็นครั้งแรกในแผ่นดินนี้ ถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้มีไมตรีกับฝรั่งชาติเดนมาร์ค ต่อมาใน แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้มีทางพระราชไมตรีกับฝรั่งเศสอีกชาติหนึ่ง มีลูกค้าฝรั่งไปมา ค้าขาย และมีบาดหลวงเข้ามาตั้งสอนศาสนาคฤศตังอยู่ตลอดจนเวลา เสียกรุงเก่าแก่พะม่าข้าศึก ในเวลาบ้านเมืองเป็นจลาจล พวกฝรั่ง ต่างชาติก็พากันไปค้าขายเมืองอื่น ทางพระราชไมตรีที่มีกับต่างประเทศจึงเป็นอันระงับไปคราวหนึ่ง ในครั้งกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นพระราชธุระบำรุงการสมาคมและค้าขายกับจีนเป็นสำคัญ มาถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ประจวบเวลาฝรั่งต่างชาติทำสงครามกัน คราวเอมเปรอ



๒ นะโปเลียนที่ ๑ การสมาคมกับฝรั่ง นาน ๆ จึงมีลูกค้าเข้ามา ลำหนึ่ง (๑) ถึงเดือน ๑๒ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ ( พ.ศ. ๒๓๒๙) เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๑ องตนวีเสน แขกเมืองโปตุเกศ เชิญ พระราชศาสน์มาโดยเรือสลุบ จะเป็นพระราชศาสน์มาจากกรุงลิสบอนโดยตรง หรือเป็นแต่อักษรศาสน์ของเจ้าเมืองมาเก๊า ไม่ปรากฏชัด ลงในหมายรับสั่ง เป็นแต่กล่าวว่า แขกเมืองฝารังปัตุกันจะได้เข้า กราบถวายบังคมทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชศาสน์ กำหนดเข้าเฝ้าทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชศาสน์ ณวันเสาร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ นั้น แขกเมืองพักอยู่จนถึง เดือนยี่ขึ้น ๑๐ ค่ำ จึงถวายบังคมลาไป เมื่อแขกเมืองจะกลับ ก็โปรดเกล้า ฯ ให้มีพระ ราชศาสน์ตอบมอบแขกเมืองไปด้วย (๒) มีรายการตามหมายรับสั่ง ดั่งต่อไปนี้

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ หน้า ๒๖๑ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องพิสดารอยู่ในหนังสือคำอธิบายพระราชพงศาวดารฉบับพระราช หัตถเลขา เล่ม ๑ หน้า ๕๐๘ และในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๗ หรือภาคที่ ๓๒ ฉะเพาะตอนว่าด้วย อธิบายเรื่องเบื้องต้นที่ไทยจะเป็น ไมตรีกับฝรั่งเศส, ประชุมพงศาวดารภาคที่๒๙ หรือภาคที่ ๔๕ คำแปล ปาฐกถาเรื่องคติของฝรั่งเข้ามาเมืองไทย ( ๒ ) เรื่องนี้ยังไม่ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑

หมายรับสั่งว่าด้วยรับแขกเมืองโปตุเกศ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๒๙

วันอังคาร เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก มีหมาย นายฤทธิ์ ( ๑ ) ด้วยเจ้าพระยาธรรมารับสั่งใส่เกล้า ฯ สั่งว่า แขกเมือง ฝารังปัตุกัน จะได้เข้ากราบถวายบังคมทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชศาสน์ ณท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ณวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ เพลาย่ำฆ้องรุ่ง และแขกเมืองถือพระราชศาสน์ครั้งนี้มาเรือ สลุบ จะได้เอาเรือลงไปรับ เกณฑ์ให้ตำรวจใหญ่ขวาเอาเรือพระที่นั่งศรีสักหลาดไปรับแล้ว ให้ตั้งเตียงแว่นฟ้า ให้อาลักษณ์เอาพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นตั้งบนเตียงรับพระราชศาสน์ ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์เรือยาว ๘ --- ๙ วา เป็นคู่แห่ ๕ คู่ ปี่กลองชะนะ ๒ คู่ และให้กรมท่าจัดเรือกันยาให้แขกเมืองขี่ลำหนึ่งโดยสมควร แห่มาแต่สลุบ มาขึ้นท่าช้าง เกณฑ์ให้สี่ตำรวจเอาเฉลี่ยงงาลงไปรับ ให้มีสับประทนกั้นพระราชศาสน์คนหนึ่ง ปี่กลองชะนะ ๕ คู่ แตรงอน แตรลำโพง ให้เกณฑ์หลวงขุนหมื่นนุ่งสมปักลายห่มเสื้อครุย ใส่ลำพอกมีเกี้ยว เดินเคียงเฉลี่ยง ๒ คู่ เดินแห่เฉลี่ยง ๑๐ คู่ เข้ากัน ๑๒ คู่ ทะนายปืนแห่หน้า ๓๐ คู่ แห่มาเข้าประตูทวารเทเวศร์ มาพักศาลาลูกขุนฝ่ายขวา ให้พระยาจุลานั่งรับแขกเมืองอยู่ก่อน ให้เกณฑ์ข้าทูลละออง ฯ

(๑) นายฤทธิรงค์ นายเวรกลาโหม


๔ กรมพระราชวังบวร กรมพระราชวังหลัง เจ้าต่างกรมฝ่ายหน้า ฝ่าย ใน มานั่งทิมดาบชั้นใน ( คือ ) ตำรวจในทิมดาบหนึ่ง ๓๐ ชาววัง ทิมดาบหนึ่ง ๓๐ ( รวม ) ๖๐ มานั่งทิมดาบชั้นนอก ( คือ ) ตำรวจใน ๒ ทิม ๆ ละ ๖๐ เป็น ๑๒๐ ชาววัง ๒ ทิม ๆ ละ ๖๐ เป็น ๑๒๐ ( รวม ) ๒๔๐ ( รวมทั้งสิ้น ) ๓๐๐ คน และเกณฑ์หลวงขุนหมื่น นอกตำแหน่งเฝ้า มานั่งบนศาลาลูกขุน ศาลาละ ๕๐ คน เฉลียงศาลาลูกขุนซ้าย ๑๐๐ คน ขวา ๑๐๐ คน ( รวม ) ๒๐๐ คน ให้ เกณฑ์ทะนายปืนใส่เสื้อหมวก ยืนรักษหาประตู ๒ ข้างถนน แต่ ประตูทวารเทเวศร์จนถึงประตูสุวรรณบริบาล และยืนตามถนนหน้าศาลาลูกขุนซ้ายขวา เลี้ยวไปตามถนนโรงปืนนางตานี ไปตามถนน จนประตูวิเศษชัยศรี และเกณฑ์นั่งกลาบาตที่สนามมวย ๔ กอง ๆ ละ ๒๐๐ คน เกณฑ์ขุนนางจีนญวนแขกฝรั่ง นั่งตรงประตูกำแพง แก้ว ที่เสด็จออกหน้าโรงอาลักษณ์ และให้ชาวเครื่องอภิรมเชิญเครื่องไปตั้งริมพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ และให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์ข้า ทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่กรมพระราชวังหลวง กรมพระราชวังบวร กรมพระราชวังหลัง นุ่งสมปักลาย นุ่งสมปักยก ห่มเสื้อครุย แต่งตัวจง โอ่โถง เข้าเฝ้าท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานตามตำแหน่ง และให้ชาวเสื่อพระคลังพิมานอากาศ เอาเสื่อพรมมาปูท้องพระโรง และ ปูเสื่อทิมดาบทั้ง ๖ ทิมด้วย และศาลาลูกขุนซ้ายขวานั้น ให้จ่าศาลาเอาเสื่อมาปูให้เต็ม และให้มหาดไทย กลาโหม เอาพรมมาปูณศาลาลูกขุน และให้ชาวแตรงอน แตรฝรั่ง ปี่กลองชะนะเข้าไปเตรียม

๕ สำหรับประโคมริมท้องพระโรง และให้พระคลังมหาสมบัติเอาเจียดทองนากถม เข้าไปตั้งตามตำแหน่งหน้าแขกเมืองกราบถวายบังคมทั้งนี้ เป็นการใหญ่ ให้มหาดไทย กลาโหม จัดแจงกรมวัง เป็นสารวัตรตรวจตราให้สมควร อย่าให้อัประยศแก่แขกเมืองได้ตามรับสั่ง ฝ่ายทหารเกณฑ์เรือพระที่นั่งศรีสักหลาด กลองชะนะลงไปรับพระราชศาสน์ณกำปั่นวิลันดามาขึ้นประตูท่าช้าง แล้วให้พนักงาน สี่ตำรวจเชิญพระเฉลี่ยงงา และสับประทนปี่กลองชะนะ และคู่แห่ถือปืนเดินเท้าแห่พระราชศาสน์ และรับแขกเมืองฝารังปัตุกัน มาเข้าประตูทวารเทเวศร์ ตามถนนมาถึงประตูสุวรรณบริบาล แล้วเลี้ยวมาศาลาลูกขุน เข้าประตูวิเศษชัยศรี และเกณฑ์ปี่กลองแตร และนั่งเรือกลาบาตสำหรับเสด็จออกแขกเมืองฝารังปัตุกัน ณวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก เป็นคน ๑๓๕๓ ในนี้ ( คือ ) รับพระราชศาสน์มาทางเรือ เรือพระที่นั่งสักหลาด ตำรวจใหญ่ขวา พลพาย ๔๕ ปี่กลองชะนะ ๒ คู่ ( รวม ) ๔๙ คน แห่พระราชศาสน์มาทางบก สี่ตำรวจหามพระเฉลี่ยง ๘ สับประทนคัน ๑ ปี่กลอง ปี่คน ๑ กลองชะนะ ๕ คู่ ๑๐ ( รวม) ๑๑ แตรงอน ๒ คู่ ( เป็น ) ๔ ถือปืนแห่หน้าทะนายเลือกแสงปืน ๓๐ คู่ ( เป็น ) ๖๐ ( รวม ) ๘๔ คน ยืน ๒ ข้างประตูทวารเวศร์ ๕๐ ยืน ๒ ข้างประตูวิเศษชัยศรี ๕๐ ( รวม ) ๑๐๐ ยืน ๒ ริมถนน ๒๐๐ นั่งริ้วกลาบาต กองหนึ่ง ๒๐๐ กองหนึ่ง ๒๐๐ กองหนึ่ง ๒๐๐ กองหนึ่ง ๒๐๐ ( รวม ) ๘๐๐ ปี่กลอง ๕๐ คู่ จ่าปี่ ๒ จ่ากลอง ๒

๖ กลองชะนะ ๑๐๐ ( รวม ) ๑๐๔ แตรรับแตรส่งเสด็จ แตรฝรั่ง ๔ คู่ ( เป็น ) ๘ แตรงอน ๔ คู่ ( เป็น ) ๘ ( รวม ) ๑๖ ( รวมทั้งสิ้น ) ๑๒๒๐ คน สิริ ( เป็นคน ) ๑๓๕๓ คน คิดเลขฝ่ายทหารพันทะนายและไพร่มิพอ ขอเลขไพร่หลวง เลขฝ่ายพลเรือน คนกรมพระราชวังบวร เกณฑ์รักษาประตูทวารเทเวศร์ ใส่เสื้อหมวกถือปืนคาบสิลา พันทะนายตำรวจในซ้าย ๒๕ ขวา ๒๕ ประตูใน ๕๐ คน ยืนประตูวิเศษชัยศรีใส่เสื้อใส่หมวกถือปืนคาบสิลาพันทะนาย ตำรวจใหญ่ซ้าย ๑๕ ขวา ๑๕ ( รวม )๓๐ ตำรวจนอกซ้าย ๑๐ ขวา ๑๐ ( รวม ) ๒๐( รวมทั้งหมด ) ๕๐ คน ยืน ๒ ริมถนน แต่ประตูทวารเทเวศร์ ตามถนนเลี้ยวริมถนนหลังศาลาลูกขุนถึงประตูวิเศษชัยศรี ตำร วจเลว ตำรวจในซ้าย ๒๕ ขวา ๒๕ ( รวม ) ๕๐ ตำรวจใหญ่ซ้าย ๒๐ ขวา ๒๐ ( รวม ) ๔๐ ตำรวจนอกซ้าย ๒๐ ขวา ๒๐ ( รวม ) ๔๐ สนมทหารซ้าย ๒๐ ขวา ๒๐ ( รวม ) ๔๐ สนมกลางซ้าย ๑๐ ขวา ๑๐ ( รวม ) ๒๐ พันทะนายทหารในซ้าย ๔๐ ขวา ๔๐ ( รวม )๘๐( รวมทั้งหมด ) ๒๗๐ คน เกณฑ์นั่งริ้วกลาบาต ใส่เสื้อใส่หมวกถือปืนคาบสิลา หมู่ตำรวจในซ้าย ๖๐ ขวา ๖๐ ( รวม ) ๑๒๐ หมู่ตำรวจใหญ่ซ้าย ๖๐ ขวา ๖๐ ( รวม ) ๑๒๐ หมู่ตำรวจนอกซ้าย ๔๐ ขวา ๔๐ ( รวม ) ๘๐ หมู่สนมทหารซ้าย ๔๐ ขวา ๔๐ ( รวม ) ๘๐ หมู่สนมกลางซ้าย ๒๐ ขวา ๒๐ ( รวม ) ๔๐ หมู่ทหารในซ้าย ๔๐ ขวา ๔๐ ( รวม ) ๘๐ หมู่อาษาเดโช ๔๐ อาษาท้ายน้ำ ๔๐ ( รวม ) ๘๐ หมู่เขนทองซ้าย ๔๐

๗ ขวา ๔๐ ( รวม ) ๘๐ หมู่อาษาซ้าย ๔๐ ขวา ๔๐ ( รวม ) ๘๐ หมู่รักษาองค์ซ้าย ๒๐ ขวา ๒๐ ( รวม ) ๔๐ ( รวม ) ๘๐๐ คน ปี่กลองชะนะแตร แตรงอน ๔ คู่ ( เป็น ) ๘ แตรวิลันดา ๔ คู่ ( เป็น ) ๘ ( รวม ) ๑๖ กลองชะนะ จ่าปี่คู่หนึ่ง (เป็น ) ๒ จ่ากลองคู่หนึ่ง(เป็น ) ๒ กลองชะนะ ๑๐๐ ( รวม ) ๑๐๔ ( รวมแตรและกลอง ) ๑๒๐ คน ตั้งอยู่พระที่นั่งเย็น ออกมาหว่างโรงช้างพระมหาปราสาท (๑) วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก พระยาธรรมานั่งที่โรงปืนนางตานี ได้เรียนว่า คนซึ่งรักษาประตูยืน ๒ ข้าง ริมถนน และนั่งริ้วกลาบาต และคนปี่กลองชะนะนั้น จะให้ใส่เสื้อ ใส่หมวกด้วยหรือประการใด พระยาธรรมาสั่งว่า คนซึ่งเกณฑ์รักษาประตูยืนตามถนนนั่งริ้วกลาบาต ใส่เสื้อใส่หมวก ถือปืนคาบสิลา และคนตีกลองชะนะ ใส่เสื้อใส่หมวกจงทุกคน เมื่อสั่งนั้นต่อหน้า พระยาบำเรอภักดิ์ พระยาท้ายน้ำ วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก ด้วยมีหมายนายจำเนียรมาว่า พระยาพระคลังรับสั่งใส่เกล้า ฯ สั่งว่าองตนวีเสน แขกเมืองปัตุกัน จะได้เข้ากราบถวายบังคมลาณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาเข้า ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์ขุนหมื่น มานั่งกลาบาตณทิมดาบชั้นใน ตำรวจทิมหนึ่ง ๒๐ ชาววังทิมหนึ่ง ๒๐ ( รวม ) ๔๐ ทิมดาบชั้นนอก ตำรวจ ๒ ทิมละ ๓๐ ( เป็น ) ๖๐ ชาววัง ๒ ทิมละ ๓๐ ( เป็น ) ๖๐ ( รวม ) ๑๒๐ และให้เกณฑ์

(๑) คือสนามหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททุกวันนี้ ๘ ทะนายใส่เสื้อแดง เสื้อดำ หมวก ยืนประตูราบ ๒ ข้างถนน แต่ประตูวิเศษชัยศรีจนถึงประตูทิมดาบชาววัง และเกณฑ์นั่งกลาบาต ที่สนามมวย ๔ กอง ๆ ละ ๕๐๐ เป็นคน ๒๐๐๐ ปี่กลองชะนะ ๑๐๐ และให้ขุนนางจีน ขุนนางญวน ขุนนางเขมร ขุนนางฝารัง หน้าห้องเครื่องมหาดเล็ก(๑) แถวหนึ่ง เกณฑ์ให้ข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่กรมพระพระราชวังหลวง กรมพระราชวังบวร นุ่งสมปักลายยก ห่มเสื้อครุยแต่งตัวจงโอ่โถง เข้ามาเฝ้าหน้าพระที่นั่งเย็นตามตำแหน่ง (๒) และให้เจ้าพนักงานเตรียมจัดแจงการให้งามกว่าเมื่อแรกแขกเมืองเข้าถวายบังคมครั้งก่อน แต่ทว่าครั้งนี้จะให้แขกเมืองรับ พระราชทานกินเลี้ยงณศาลาลูกขุนฝ่ายซ้าย และมโหรีปี่พาทย์ละคร มาเตรียมรำให้แขกเมืองดูตามรับสั่ง ฝ่ายทหารเกณฑ์พันทะนายตำรวจแล้ว และเลขไพร่หลวงไพร่สมกำลัง ยืนรักษาประตูริมถนน และนั่งริ้วกลาบาต เลขทหารไม่พอ ขอเลขพลเรือน ๑๐๙๐ คน ยืนริมประตูพิมานชัยศรี ๕๐ ริมประตูวิเศษชัยศรี ๕๐ ( รวม ) ๑๐๐ ยืมริมถนน ๒ ข้าง ๒๗๐ ( รวม ) ๓๗๐ คนนั่งริ้วกลาบาต ๑๐ หมู่ ( รวม ) ๒๓๗๐ คนแตรงอน

(๑) อยู่นอกกำแพงแก้วด้านเหนือพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย (๒) รับ แขกเมืองคราวที่กล่าวนี้ เมื่อรับพระราชศาสน์ เสด็จ ฯ ออกในพระที่นั่ง อมรินทร์วินิจฉัย เมื่อทูตลา เสด็จ ฯ ออกพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ อย่าง เสด็จออกมุขเด็จครั้งกรุงเก่า

๙ ๔ คู่ ( เป็น ) ๘ คนแตรวิลันดา ๔ คู่ ( เป็น ) ๘ ( รวม ) ๑๖ คน กลองชะนะ จ่าปี่หนึ่ง ( เป็น ) ๒ จ่ากลองคู่หนึ่ง ( เป็น ) ๒ กลอง ชะนะ ๑๐๐ ( รวม ) ๑๐๔ ( รวมทั้งหมด ) ๑๒๐ ( รวมทั้งสิ้น ) ๒๔๙๐ คนนั่งริ้วกลาบาต อาษาหกเหล่าไปราชการทัพปากแพรก (๑) คงอยู่แปดตำรวจ ทหารในซ้ายในขวา นั่งริ้วกลาบาตให้เลิกเสีย ให้เกณฑ์ ไว้แต่ยืนริมถนนประตู นั่งศาลาลูกขุน วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปี่มะเมียอัฐศก มีหมายเวร นายบริบาลมาว่า ด้วยพระยาพระคลังรับสั่งใส่เกล้า ฯ สั่งว่า จะได้เชิญพระราชศาสน์ณหอพระมนเทียรธรรมลงไปณสลุบ ณวันจันทร์เดือน ยี่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมง จะได้แห่ทางบกไปลงเรือ พระที่นั่งณฉนวนกรมพระราชวังบวร แล้วจะรับแห่ลงไปสลุบ และให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์ขุนหมื่นคู่แห่ ห่มเสื้อครุยใส่ลำพอก แห่ทางบก ๑๐ คู่ เกณฑ์เรือคู่แห่ยาว ๗ - ๘ วา ๕ คู่ ปี่กลองชะนะ ๓ คู่ แตรคู่หนึ่ง ให้ประโคมแห่ทางบกทางเรือ ลงไปจนถึงสลุบ และเกณฑ์ให้ สี่ตำรวจรับเอาพระเฉลี่ยงสับประทนต่อพันเงินพันทองมาด้วย รับพระราชศาสน์ณหอพระมนเทียรธรรม และให้พันทองเครื่อง สูงแห่พระราชศาสน์ หน้า ๓ หลัง ๒ ( รวม ) ๕ คู่ และให้เจ้ากรม ฝีพายเอาเรือพระที่นั่งผูกม่าน บรรจุพายให้เต็มกำลัง มาเตรียม รับพระราชศาสน์ณฉนวนกรมพระราชวังบวรไปลงสลุบตามรับสั่ง

(๑) เวลานั้นกำลังเตรียมทัพรบพะม่าคราวรบที่ท่าดินแดง ๒ ๑๐ ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๒ ตั้งแต่องตนวีเสน แขกเมืองโปตุเกศ เชิญพระราชศาสน์เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวายในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ นั้นแล้ว ยังไม่พบหลักฐานแสดงว่าฝรั่งชาติใดได้เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีอีก จน ถึงรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๖๑ โปตุเกศเจ้าเมืองมาเก๊า จึงแต่งให้ นายกาลส มันแวนต์ สิลไวร์ เป็นทูตคุมเครื่องบรรณาการเข้ามาถวาย ขอเจริญทางพระราชไมตรี ต่อจากนั้นมาอีก ๔ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๖๕ มาร์ควิส เหสติงส์ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองอินเดียของอังกฤษ แต่งให้นายครอเฟิต เชิญอักษรศาสน์และคุมเครื่องบรรณาการเข้ามาถวาย ขอเจริญทางพระราชไมตรี สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบรรยายเรื่องที่โปตุเกศและอังกฤษ มาขอเจริญทางพระราชไมตรีทั้งสองคราวนั้นไว้โดยพิสดาร ดังต่อไปนี้ โปตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เรือกำปั่นหลวงชื่อมาลาพระนคร หลวงสุรสาครเป็นนายเรือออกไปค้าขายถึงเมืองหมาเก๊า (๑) ซึ่งโปตุเกศได้ไว้จากจีน โปตุเกศ (๑) ตำบลหมาเก๊าหรือมะเกานั้น เป็นนามของภูเขายอดหนึ่ง อยู่ ที่ชายทะเลตำบลนั้น ภาษากวางตุ้งเรียกเขายอดนั้นว่า ม่าเก๊าซัง เสียง ฝรั่งเรียกตามภาษากวางตุ้ง เพราะฝรั่งเอานามเขายอดนั้นเป็นเครื่องหมาย แทนชื่อตำบลนั้น จึงได้เรียกเมืองมะเกาหรือม่าเก๊า แต่ไทยเราเรียกกัน แต่ก่อนว่า เมืองหมาเก๊า จึงลงไว้ตามที่ไทยเรียก

๑๑ เจ้าเมืองหมาเก๊าเอาเป็นธุระรับรองเลี้ยงดูเรือไทยโดยทางไมตรี และสงเคราะห์ให้ได้ค้าขายโดยสะดวก ครั้นเรือมาลาพระนครกลับเข้ามากรุงเทพ ฯ เจ้าเมืองหมาเก๊าแต่งให้กาลส มันแวนต สิลไวร์ เป็นทูต คุมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายขอเจริญทางพระราชไมตรี กาลส มาด้วยเรือกำปั่นชื่ออิยันเต เป็นเรือสองเสา ถึงปากน้ำเจ้าพระยา ณวันพฤหัสบดีเดือน ๔ แรม ๑ ค่ำปีขาลสัมฤทธิศก ( พ.ศ. ๒๓๖๑ ) ผู้รักษาเมืองสมุทรปราการบอกเข้ามาให้กราบบังคมทูล ฯ ทรงพระราชดำริว่า เมื่อเรือไทยออกไปค้าขายถึงเมืองหมาเก๊า เขารับรองแสดงไมตรีเป็นอันดี เมื่อเขามาก็สมควรทีจะรับรองตอบแทน อีกประการหนึ่งในเวลานั้นที่ในกรุง ฯ กำลังต้องการหาซื้อปืนไว้สำหรับรักษาพระนครทรงพระราชดำริเห็นว่า ถ้ามีทางไมตรีไว้กับโปตุเกศ การซื้อหา ปืนสะดวกขึ้น จึงโปรดให้อนุญาตให้เรือโปตุเกศขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ ให้ทอดสมออยู่ที่หน้าบ้านพระยาสุริยวงศ์มนตรี กาลสโปตุเกศเข้ามาครั้งนั้นถือหนังสือเจ้าเมืองมาเก๊ามีมาถึงเสนาบดี แปลออกได้ความว่าทางพระราชไมตรีกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา กับกรุงโปตุคอลเสื่อมสูญมาช้านานแล้ว จึงแต่งให้กาลส มันแวนต สิลไวร์ เข้ามาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอสืบทางพระราชไมตรีต่อไป และให้คุมสิ่งของเข้ามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย คือ ฉากเขียนรูปพระเจ้าแผ่นดิน โปตุคอลแผ่น ๑ พิณอย่างฝรั่งเครื่องเงินสำรับ ๑ ระย้าแก้ว มีโคมคู่ ๑ กระจกใหญ่รูปกลม ๒ แผ่น เชิงเทียนแก้วสำหรับ


๑๒ กระจก ๒ คู่ เชิงเทียนแก้วมีโคมคู่ ๑ กระปี่ฝักกาไหล่ทอง ๒ เล่ม สุจหนี่พื้นกำมะหยี่ริมเลี่ยมเงินมีพรมรอง ๒ ผืน ตัวอย่างกำปั่น ๒ ลำ และว่าถ้าจะต้องพระราชประสงค์สิ่งไร ก็ให้สั่งกาลสออกไป จะได้จัดหาเข้ามาถวาย หนังสือเจ้าเมืองหมาเก๊ามีเนื้อความต่อไปว่า ขอให้ เรือโปตุเกศได้ไปมาค้าขายในกรุงสยามโดยสะดวกดังแต่ก่อน เจ้าพนักงานนำความกราบบังคมทูลทรงทราบแล้ว จึงโปรดให้กาลสเข้าเฝ้าที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (๑) เสด็จออกอย่างรับแขกเมืองเต็มยศ กาลสเข้าเฝ้าแล้ว ไปหาพระยาสุริยวงศ์มนตรี (๒) แจ้งว่าสินค้าที่บรรทุกเข้า มาจะขอจำหน่ายเสียให้สิ้นแล้ว จะขอซื้อน้ำตาลทรายบรรทุกออกไปขาย ที่เมืองเกาะหมาก กาลสนั้นจะขอขึ้นอยู่บนบกก่อน พระยาสุริยวงศ์มนตรีกราบทูล ฯ จึงพระราชทานอนุญาตตามความประสงค์ของกาลส ๆ

(๑) คือพระที่นั่งอมรินทรวิจิจฉัยทุกวันนี้ (๒) การรับกาลสโปตุเกศครั้งนั้น พิเคราะห์ดูตามเนื้อเรื่อง ไม่ได้รับ อย่างราชทูต โปรดให้เข้าเฝ้าอย่างพ่อค้าชาวต่างประเทศ และให้พระยา สุริยวงศ์มนตรีเป็นผู้จัดการต้อนรับ ตลอดจนมีจดหมายตอบเจ้าเมือง หมาเก๊า เพราะพระยาสุริยวงศ์มนตรีเป็นพนักงานแต่งเรือไปค้าขายเมือง หมาเก๊า อยู่ในฐานเป็นผู้คุ้นเคยกับโปตุเกศ ไม่ใช่ว่าที่พระคลัง พระยาสุริยวงศ์มนตรีได้ว่าที่ พระคลังต่อเมื่อครอเฟิต ทูตอังกฤษ เข้ามา เมื่อปีมะเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ ( พ.ศ. ๒๓๖๕ )


๑๓ ได้ขึ้นอยู่ที่เรือนหน้าบ้านพระยาสุริยวงศ์มนตรี พระราชทานเบี้ยเลี้ยงให้เดือนละ ๒ ชั่ง กาลสจำหน่ายสินค้าเสร็จแล้ว ซื้อน้ำตาลทรายได้ ๔๐๐๐ หาบ ให้บรรทุกกำปั่นออกไปขายที่เมืองเกาะหมาก ส่วนตัวกาลสนั้นยังอยู่ในกรุงเทพ ฯ ต่อมาโปรดให้พระยาสุริยวงศ์มนตรี แต่งกำปั่นมาลาพระนครบรรทุกสินค้าให้หลวงฤทธิสำแดงเป็นนายเรือ และถือหนังสือพระยา สุริยวงศ์มนตรีไปถึงเจ้าเมืองหมาเก๊าว่า ที่เจ้าเมืองหมาเก๊าแต่งให้กาลสเป็นทูตเข้ามาถวายเครื่องราชบรรณาการนั้น เมื่อกาลสเข้ามา ถึงกรุงเทพ ฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนุบำรุงกาลสให้มีที่อยู่ และพระราชทานเงินให้เป็นเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ๒ ชั่ง และได้นำกาลสเข้าเฝ้าถวายสิ่งของแล้ว โปรดให้ลดค่าธรรมเนียมเรือให้กาลส แล้วว่าหลวงฤทธิสำแดงออกมาค้าขาย ขอให้เจ้าเมืองหมาเก๊าช่วยทำนุ บำรุงด้วย และว่าจะต้องการปืนคาบสิลาเป็นอันมาก ขอให้เจ้าเมืองหมาเก๊าช่วยกำจัดซื้อปืนคาบสิลาให้หลวงฤทธิสำแดงคุมเข้าไปด้วย เมื่อหลวงฤทธิสำแดงกลับเข้ามา มีหนังสือเจ้าเมืองหมาเก๊าตอบมา ใจความว่า เจ้าเมืองหมาเก๊าได้ทำนุบำรุงหลวงฤทธิสำแดงให้ได้จำหน่ายสินค้า และจัดหาของที่ต้องพระราชประสงค์ และได้ให้เงิน รายวันแก่หลวงฤทธิสำแดง เหมือนอย่างหลวงสุรสาครออกไปเที่ยวก่อน แล้วได้ยกค่าธรรมเนียมเมืองหมาเก๊าให้ ต้องเสียแต่ค่า ธรรมเนียมปากเรือ ที่เจ้าปักกิ่งตั้งขุนนางจีนมากำกับเรียกอยู่ และ


๑๔ ได้มอบปืนคาบสิลา ๔๐๐ บอกให้หลวงฤทธิสำแดงเข้ามา ราคา บอกละ ๘ เหรียญ แล้วว่าปืนคาบสิลาซึ่งยังค้างอยู่นั้น ยังให้ไปจัด ซื้อที่เมืองบั้งกล่า จะส่งเข้ามาครั้งหลัง กาลสโปตุเกศพักอยู่ใน กรุงเทพ ฯ จนถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ พ.ศ. ๒๓๖๒ จึงกราบถวายบังคมลากลับไป (๑) พระยาสุริยวงศ์ มนตรีมีหนังสือให้กาลสถือไปถึงเจ้าเมืองหมาเก๊าว่า ได้พากาลส เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดพระราชทานเสื้อผ้าให้กาลส และยกค่าธรรมเนียม ปากกำปั่นพระราชทานกาลสเป็นเงิน ๓๑ ชั่ง ๓ บาทสลึง และพระ

(๑) เข้าใจว่า ที่กาลสอยู่ในกรุงเทพ ฯ นั้น เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้า ไปขายที่เกาะหมาก และรับสินค้าเข้ามาจำหน่ายในกรุงเทพ ฯ อีกเที่ยวหนึ่ง เมื่อรับซื้อสินค้าในกรุงเทพ ฯ บรรทุกระวางเต็มเที่ยวที่ ๒ แล้ว กาลส จึงกราบถวายบังคมลากลับไป การที่กาลสอยู่ในกรุงเทพ ฯ เป็นนานนั้น เชื่อได้ว่าเพื่อประโยชน์ ๓ อย่าง อย่าง ๑ สืบสวนสินค้าที่จะซื้อและขาย ได้ในกรุงเทพ ฯ อย่างที่ ๒ ที่จะทำไมตรีให้มีความคุ้นเคยชอบพอไว้กับ ไทย เป็นทางให้โปตุเกศไปมาค้าขายได้โดยสะดวก อย่างที่ ๓ เพื่อ จะรับซื้อและขายสินค้าให้ได้กำไรคุ้มค่าใช้จ่ายเข้ามาในคราวนั้น หรือให้ กลับได้กำไรด้วย ข้อความเหล่านี้เป็นคำสั่งของเจ้าเมืองหมาเก๊าทั้งนั้น ไม่ใช่ความคิดของกาลสเอง


๑๕ ราชทานพริกไทยหนัก ๕๐ หาบ งาช้างหนัก ๒ หาบ ดีบุกหนัก ๑๕ หาบ มอบให้กาลสคุมมาเป็นของพระราชทานเจ้าเมืองหมาเก๊าด้วย (๑) เมื่อณเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรงโทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าแผ่นดินโปตุเกศให้เจ้าเมืองโค (๒) โครงข้อสัญญา

(๑) ได้พบในหนังสือที่ฝรั่งแต่ง ว่าด้วยการไปมาค้าขายกับกรุง สยาม กล่าวความต้องกันหลายเรื่อง ว่าเป็นประเพณีตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า มาจนกรุงรัตนโกสินทร์ คือถ้าแขกเมืองต่างประเทศนำสิ่งของเครื่อง ราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ย่อมพระราชทานของตอบแทน ราคาไม่ต่ำกว่าของที่ถวายนั้น ถ้าหากว่าเรือต่างประเทศบรรทุกสิ่งของ ซึ่งต้องการใช้ในราชการเข้ามา เช่นเครื่องสาตราวุธเป็นต้น ยังได้รับ ประโยชน์ยกค่าปากเรือและภาษีสินค้าคุ้มค่าระวางอีก ไม่เอาเปรียบ ชาวต่างประเทศที่เข้ามาถวายสิ่งของราชบรรณาการ หรือรับบรรทุกของ ที่ใช้ในราชการเข้ามา ด้วยเหตุนี้จึงได้เห็นในหนังสือพระราชพงศาวดาร บ่อย ๆ แม้ตั้งแต่กรุงเก่ามา ว่าครั้งนั้น ๆ ชาวต่างประเทศคนนั้น ๆ ถวายสิ่งของอย่างนั้น ๆ บางทีถึงถวายปืนตั้งหลายร้อยกระบอกก็มี ความ จริงไม่ได้เป็นการถวายเปล่า ได้พระราชทานตอบแทนคุ้ม หรือเกินราคา ของถวายทุกราย ด้วยประเพณีมีดังอธิบายมานี้ (๒) ที่เรียกว่าเมืองโคหรือเมืองคัว อยู่ชายแหลมอินเดียข้าง ตะวันตก เป็นเมืองที่ตั้งอุปราชบังคับบัญชาหัวเมืองขึ้นของโปตุเกศทาง ประเทศตะวันออกนี้ทั่วไป เจ้าเมืองโคคือตัวอุปราชของพระเจ้าแผ่นดิน โปตุเกศ


๑๖ ทางพระราชไมตรี จะขอทำกับกรุงสยามเป็นสัญญา ๒๓ ข้อ มอบ ให้กาลสเดอลิลไวราเข้ามาอีก ขอให้กาลสเป็นกงสุลเยเนราล และ ขอพระราชทานที่ตั้งบ้านเรือนให้กาลสอยู่ และให้ได้ปักเสาธงด้วย ข้อสัญญาที่โครงมานั้น ขอให้ท่านเสนาบดีพิจารณาดูทุก ๆ ข้อ ข้อ ไรที่ไม่ชอบใจไทย ก็ให้แก้ไขตามเห็นสมควร ในเวลานั้นไทย กำลังต้องการเครื่องสาตราวุธจากต่างประเทศ โปตุเกศได้รับเป็นธุระในเรื่องนี้สำเร็จได้ เมื่อกาลสเข้ามาคราวก่อน และตัวกาลสเองก็ได้ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ ช้านาน เห็นจะได้ประพฤติตัวถูกอัธยาศัย กับไทยไม่มีข้อรังเกียจ จึงโปรดพระราชทานที่ให้กาลสอยู่ที่บ้านองเชียงสืออยู่แต่ก่อน (๑) แล้วทรงตั้งให้กาลสเป็นที่หลวงอภัยพานิช พระ ราชทานเครื่องยศเหมือนขุนนางในกรุง ฯ แต่หนังสือสัญญานั้นยังหาได้ตรวจไม่ เพราะประจวบเวลาเกิดอหิวาตกโรคจึงงดอยู่ จนเดือน ๑๒ ปีนั้นความไข้สงบแล้ว จึงได้โปรดให้เสนาบดีประชุมกันตรวจ ดูข้อสัญญา ข้อใดไม่ชอบใจก็แก้ไขเสียบ้าง แล้วจึงเขียนเป็น อักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรโปตุเกศฉบับหนึ่ง เรื่องความต้องกัน ประทับตราส่งออกไปเมื่อณเดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ หนังสือที่เสนาบดีทำให้โปตุเกศออกไปครั้งนี้ ฉบับภาษาโปตุเกศเห็นจะเป็นแต่คำแปล ไม่ได้ประทับตรา แม้ตราที่ประทับฉบับ ภาษาไทยนั้น เข้าใจว่าจะเป็นตราบัวแก้ว ไม่ใช่พระราชลัญจกรหนังสือที่ทำให้โปตุเกศไปนี้ ที่จริงเป็นหนังสืออนุญาตให้โปตุเกศ

(๑) คือที่สถานทูตโปตุเกศทุกวันนี้ ๑๗ มาค้าขาย ไม่ใช่หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี เพราะเป็น หนังสือไทยทำให้ฝ่ายเดียว ไม่ใช่เป็นหนังสือซึ่งผู้แทนรัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ลงชื่อ และพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้พระราชทานอนุมัติตามประเพณีการทำหนังสือสัญญา การทำหนังสืออนุญาตให้ต่างประเทศไปมาค้าขายเช่นนี้ เป็นประเพณีมีมาแต่โบราณ มีสำเนาศุภอักษร ซึ่งออกญาไชยาธิบดี ผู้สำเร็จราชการเมืองตะนาวศรี อนุญาตให้ชาวเดนมาร์กไปมาค้าขาย แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้มาจากเมืองเดนมาร์ก เป็นตัวอย่างอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ ส่วนหนังสือสัญญานั้น แม้ประเพณีแต่โบราณก็ต้องทำพร้อมกันทั้งสองฝ่าย ข้าพเจ้าได้เห็นในหนังสือรายงานของข้าราชการอังกฤษชื่อแดนเวอส์ ซึ่งรัฐบาลแต่งให้ไปค้นหนังสือเก่าที่เมืองโปตุเกศ ปรากฏว่าเมื่อ โปตุเกศแรกออกมาค้าขายถึงประเทศทางตะวันออก เมื่อทำหนังสือสัญญากับเจ้าที่ครองเมืองทางตะวันออกนี้ หนังสือสัญญาจารึกลงในแผ่นทอง และทั้งสองฝ่ายเอาหัวแหวนประทับแทนตราดังนี้ ก็เข้าใจ ได้ว่า ประเพณีทำสัญญาระหว่างพระนครในมัชฌิมประเทศแต่โบราณมาคงจะจารึกลงในแผ่นทอง จึงเป็นศัพท์ที่ใช้กันในหนังสือที่แต่ง ต่อมา ว่าสองพระนครเป็นทองแผ่นเดียวกัน หรือใช้เป็นอุประมาว่าสองพระนครเป็นสุวรรณปฐพีอันเดียวกัน ทั้งสองคนนี้เห็นจะเกิดจากประเพณี ที่จารึกหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ลงในแผ่นทองนั้นเอง ข้อที่ว่าใช้หัวแหวนประทับแทนตรานั้น ก็เข้าใจกันได้ชัดเจน คือ ๓

๑๘ กดหัวแหวนลงบนแผ่นทองให้เป็นรอยตามรูปหัวแหวน ก็เป็นสำคัญ ได้เหมือนตรา ประเพณีที่แกะตราบนหัวแหวน สำหรับประทับดินประทับครั่ง จะเนื่องมาแต่ประทับหัวแหวนที่แผ่นทองนี้ หนังสือที่ไทยทำให้โปตุเกศไปครั้งนั้น ไม่ปรากฏข้อความ ว่ามีอย่างไรบ้าง มีเรื่องราวปรากฏต่อมาแต่ว่า เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำปีมะโรงโทศกนั้น เจ้าเมืองหมาเก๊ามีหนังสือให้แงนแดรัน โยยิกาบิดามัสลินโน เข้ามาขอต่อกำปั่น ด้วยหาซื้อไม้ในกรุงเทพ ฯ นี้ได้สะดวก ก็โปรดให้ตั้งโรงต่อที่หน้าบ้านกงสุลเยเนราลโปตุเกศ เรือลำนั้นปากกว้าง ๔ วา ๓ ศอก ครั้นเรือกำปั่นแล้วโปตุเกศไม่มี ทุนจะซื้อสินค้า จึงถวายระวางให้บรรทุกสินค้าของหลวงออกไปจำหน่าย และขอพระราชทานยืมเงินหลวง ๑๒๐ ชั่งใช้ในการต่อเรือ ก็โปรด พระราชทานให้ตามความปรารถนา และยกค่าธรรมเนียมต่อเรือพระราชทานให้ด้วย (๑) ครอเฟิตทูตอังกฤษเข้ามาขอทำหนังสือสัญญา ในเดือน ๔ ปีมะเส็งตรีศก ( พ.ศ. ๒๓๖๔ ) นั้น มาร์ควิส เหสติงส์ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองอินเดียของอังกฤษ ให้เรสิเดนต์อังกฤษที่ เมืองสิงคโปร์ มีหนังสือเข้ามาถึงเสนาบดีว่า จะแต่งให้นายครอเฟิตเป็นทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในเวลานั้นตำแหน่งที่เจ้าพระยา

(๑) พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ฉบับ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียง หน้า ๒๖๒

๑๙ พระคลังยังว่างอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาสุริยวงศ์มนตรี ( ดิศ ) จางวางมหาดเล็ก เลื่อนขึ้นว่าการในตำแหน่งจตุสดมภ ที่พระคลัง ให้ทันในการที่จะจัดรับรองและพูดจากับอังกฤษที่จะ เข้ามานั้น เหตุที่อังกฤษแต่งทูตเข้ามาคราวนั้น ตามที่ปรากฏในหนังสือคำสั่งของมาร์ควิส เหสติงส์ ที่ทำให้แก่ครอเฟิตได้ความว่า เกิดแต่ด้วยเรื่องผลประโยชน์ที่ได้ในการค้าขายของบริษัทอิสต์อินเดียตกต่ำลงทั้งในยุโรปและประเทศทางตะวันออกนี้ เนื่องแต่เหตุที่ฝรั่งต่างชาติ เกิดรบพุ่งกัน ไม่เป็นอันที่จะทำมาค้าขายอยู่กว่า ๒๐ ปี ครั้นเมื่อเลิกการสงครามกันแล้ว จึงตั้งต้นที่จะคิดบำรุงการค้าขายให้บริษัทอินเดียอังกฤษได้ผลประโยชน์ดังแต่ก่อน ความปรากฏแก่อังกฤษว่า แต่ก่อนมาเมืองไทยและเมืองญวนเป็นแหล่งที่พ่อค้าฝรั่งต่างประเทศไปมาค้าขายหากำไรได้มากทั้งสองแห่ง จงคิดจะกลับให้มีการค้าขายไปมากับ ๒ ประเทศนี้ขึ้นอีก เมื่อปีมะโรงโทศกในรัชกาลที่ ๒ นั้น ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ได้แต่งพ่อค้าให้เข้ามาสืบการงานถึงกรุงเทพ ฯ ได้ความออกไปว่า เมื่อใน ๒ - ๓ ปีมา มีเรือฝรั่งชาติอเมริกันบ้าง โปตุเกศบ้าง อังกฤษบ้าง เข้ามาค้าขายถึงกรุงเทพ ฯ ไทยก็ยอมให้ค้าขายไม่รังเกียจ ด้วยไทยกำลังต้องการเครื่องสาตราวุธที่จะทำศึกกับพะม่า อยากให้มีพ่อค้าบรรทุกปืนเข้ามาขาย เห็นเป็นช่องที่จะมาทำไมตรีให้มีการค้าขายเจริญขึ้นได้อีก แต่อังกฤษมี ความรังเกียจอยู่ด้วยเรืองวิธีเก็บภาษีอากร ทั้งวิธีของไทยและของญวน

๒๐ ส่วนวิธีไทยนั้น ยกความข้อรังเกียจที่มีเจ้าพนักงานลงไปตรวจเลือกซื้อสิ่งของที่ต้องพระราชประสงค์ หรือต้องการใช้ในราชการ ไม่ยอมให้ขายแก่ผู้อื่นนี้ข้อหนึ่ง และรังเกียจที่มีวิธีการค้าขายสินค้าบางอย่าง เป็นของหลวง ห้ามมิให้ผู้อื่นขายสินค้านั้น ๆ อย่างหนึ่ง และห้าม สินค้าบางอย่าง มีข้าวเปลือกข้าวสารเป็นต้น ไม่ให้บรรทุกออกจากเมืองทีเดียวอีกอย่างหนึ่ง อังกฤษจึงแต่งให้ครอเฟิตเป็นทูตเข้ามาให้พูดจากับไทยโดยทางไมตรี เพื่อประสงค์จะขอให้ยกเลิก หรือลดหย่อนวิธีอันเป็นที่รังเกียจดังกล่าวมา ซึ่งอังกฤษถือว่าเป็นการลำบากและรำคาญแก่คนค้าขาย จะขอให้คนในบังคับอังกฤษไปมาค้าขายโดยสะดวก และให้ค้าขายกับไพร่บ้านพลเมืองได้ทั่วไป ส่วนผลประโยชน์ของรัฐบาลไทยที่เคยได้จากวิธีค้าขายอย่างแต่ก่อน ถ้าจะตกต่ำไปเพราะการงดลดเลิกวิธีที่กล่าวนั้น อังกฤษจะยอมให้ขึ้นอัตราค่าปากเรือทดแทน ขอให้เรียกรวมแต่เป็นอย่างเดียว นี้เป็นความประสงค์ที่อังกฤษแต่งทูตเข้ามาอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง จะให้ทูตเข้ามาพูดเรื่องเมืองไทรบุรี ด้วยเมื่ออังกฤษเช่าที่เกาะหมากจากพระยาไทร ๆ บอก แก่อังกฤษว่า เมืองไทรบุรีเป็นเมืองมีอิสสรภาพมิได้ขึ้นแก่ไทย ( ซึ่ง ถ้าจะว่าก็เป็นความจริงอยู่คราวหนึ่งเมื่อเสียกรุงเก่าแก่พะม่าข้าศึก ) ครั้นอังกฤษได้เกาะหมากตั้งขึ้นเป็นหัวเมืองขึ้นของรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ให้ว่ากล่าวลงมาจนถึงเมืองสิงคโปร์ อังกฤษมาทราบ ภายหลังว่า เมืองไทรยอมเป็นประเทศราชขึ้นไทยตามเดิม ก็เกิด ความลำบากใจที่ได้เช่าเกาะหมากมาจากพระยาไทร โดยมิได้บอก

๒๑ กล่าวขอร้องต่อไทยก่อน ในเวลานั้นอังกฤษก็ยังตั้งเมืองเกาะหมาก ไม่ได้มั่นคงเท่าใดนัก จำเป็นต้องอาศัยสะเบียงอาหารจากเมืองไทรบุรี ด้วยเหตุเหล่านี้จึงเข้าหนุนหลังพระยาไทรให้นิยมต่ออังกฤษ ครั้นเมื่อในรัชกาลที่ ๒ เจ้าพระยา ( ปะแงรัน ) เกิดความหวาดหวั่นขึ้น ด้วยเรื่องพระยาอภัยนุราช (ปัศนุ ) เข้าใจว่า พระยานคร ฯ (น้อย ) จะหาเหตุเอาเมืองไทรเป็นหัวเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราช จึงขอให้อังกฤษเจ้าเมืองเกาะหมากช่วยว่ากล่าวกับไทยถึง ๒ คราวดังกล่าวมาแล้ว เจ้าเมืองเกาะหมากบอกข้อความเหล่านี้ไปยังอินเดีย รัฐบาลอังกฤษอินเดียจึงให้ครอเฟิตมาพูดจาเรื่องเมืองไทรบุรีกับไทย ประสงค์จะขอให้พระยาไทรพ้นจากอำนาจเมืองนครศรีธรรมราช โดยถือว่าเมืองไทรบุรีเป็นประเทศราชอันอยู่ใกล้ชิดติดกับเขตต์แดนของอังกฤษอีกอย่างหนึ่งครอเฟิตมาคราวนั้น รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียจัดให้มีพนักงานทำแผนที่ และผู้ชำนาญสภาวศาสตร์มาด้วยในกองทูต เพื่อการตรวจแผนที่และตรวจพันธ์พฤกษ์พันธ์สัตว์ต่าง ๆ ประกอบกับข้อความที่ครอเฟิตจะต้องสืบสวนการงานต่าง ๆ ในบ้านเมือง ไปเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษด้วย ธุระของครอเฟิตที่เป็นทูตเข้ามาว่าโดยย่อเป็น ๓ ประการดังกล่าวมานี้ ตามความอันปรากฏในหนังสือคำสั่งของผู้สำเร็จราชการอินเดียอังกฤษ ซึ่งสั่งครอเฟิตเป็นลายลักษณ์อักษรมาในครั้งนั้น อังกฤษ เข้าใจอยู่แล้วว่าการต่าง ๆ ที่อังกฤษมาขอจะไม่สำเร็จได้ดังประสงค์โดยง่าย ด้วยแต่ก่อนมาฝรั่งต่างชาติที่ออกมาค้าขายทางประเทศ

๒๒ ตะวันออกนี้ คือพวกโปตุเกศเป็นต้น ได้เคยมาคดโกงเบียดเบียน ชนชาติที่เป็นเจ้าของเมืองอันมีกำลังน้อยกว่าไว้เสียมากกว่ามาก จนความรังเกียจเกลียดชังฝรั่งมีแก่บรรดาชาวประเทศทางตะวันออกนี้ ทั่วไป ตลอดจนเมืองจีนและญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ คำสั่งที่ครอเฟิต ได้รับมาให้พูดจาด้วยเรื่องการค้าขายครั้งนั้น รัฐบาลถึงกำชับไม่ให้ มาขอที่ดิน แม้แต่เพียงที่ตั้งสถานีการค้าขาย ก็ไม่ให้ขอ ด้วยเกรง เจ้าของเมืองจะเกิดความสงสัย ว่าจะมาตั้งป้อมปราการอย่างฝรั่งเคยทำมาแต่ก่อน ส่วนการที่จะขอร้องให้แก้ไขลดหย่อนภาษีอากรนั้น ถ้าได้ก็เป็นการดี ถ้ามาไม่ได้ตามประสงค์ ก็ให้ทูตมุ่งหมายเพียงแต่ ทำความคุ้นเคยเป็นไมตรีกันไว้ในระหว่าง ๒ รัฐบาล พอมีเหตุ การณ์อย่างใดให้มีหนังสือไปมาพูดจาถึงกันได้ และให้คิดอ่านขอหนังสืออนุญาตของรัฐบาลไทยและญวน ให้พวกลูกค้าอังกฤษไปมา ค้าขายได้โดยสะดวก ถ้าในชั้นต้นได้เพียงเท่านี้ก่อน ก็เป็นพอ แก่ความประสงค์ ไว้เมื่อการค้าขายติดต่อกันเข้าจนเกิดผลประโยชน์แลเห็นด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว จึงไว้คิดการอย่างอื่น เช่นทำหนังสือสัญญาเป็นต้น ต่อไป ส่วนเรื่องทำแผนที่นั้น รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียก็แคลงอยู่แล้วว่าบางทีไทยจะรังเกียจ จึงได้มีข้อกำชับในคำสั่งว่า ให้ระวังอย่าให้ รัฐบาลเจ้าของเมืองสงสัยว่ามาทำแผนที่เพื่อความคิดร้าย ส่วนเรื่องเมืองไทรบุรีนั้น ในเวลาเมื่อครอเฟิตออกจากอินเดีย พระยานคร ยังไม่ได้ยกลงไปตีเมืองไทรบุรี ความปรากฏในคำสั่งครอเฟิตแต่ว่า

๒๓ ข้อความที่จะพูดจากับไทยเรื่องเมืองไทรบุรี จะควรพูดอย่างไร ให้ ครอเฟิตมาฟังเรื่องราว และปรึกษาหารือกับเจ้าเมืองเกาะหมากดูเถิด แต่กำชับมาให้ระวังอย่าทำให้อังกฤษต้องเข้าไปได้รับความลำบาก อยู่ในระหว่างไทยกับพวกมะลายูเมืองไทรบุรี ด้วยเหตุการณ์เรื่อง เมืองไทรบุรีนี้ได้ ครอเฟิตออกมาจากเมืองกากัตตา เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน คฤศตศักราช ๑๘๒๑ ตรงกับวันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมเส็งตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ พ.ศ. ๒๓๖๔ ตัวนายที่มาด้วย คือ นายร้อยเอก เดนเยอร์ฟิลด์ เป็นอุปทูตและพนักงานทำแผนที่ หมอฟินเลสันเป็นแพทย์ และเป็นผู้ตรวจสภาวศาสตร์ มีทหารซิปอย แขกมาด้วย ๓๐ นายร้อยโทรุเธอฟอด เป็นผู้บังคับ เรือที่มานั้น รัฐบาลอินเดียเช่าเรือชื่อ ยอนอดัม เป็นกำปั่น ๒ เสาครึ่งของพ่อค้ากัปตันแมคดอลเนลเป็นนายเรือ สั่งให้ครอเฟิตมาเมืองไทยก่อน ออกจากเมืองไทยจึงให้ไปเมืองญวน มาร์ควิส เหสติงค์ มีอักษร ศาสน์ให้ครอเฟิตเชิญมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาฉะบับหนึ่งพระเจ้ากรุงเวียดนามฉะบับหนึ่ง ครอเฟิตใช้ใบมาถึงเกาะหมากเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ตรงกับ วันจันทร์ เดือนอ้ายแรมค่ำหนึ่ง ภายหลังพระยานคร ฯ ตีได้เมือง ไทรบุรีไม่กี่วัน เวลานั้นเจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) หนีไปอาศัยอยู่ ที่เกาะหมาก พระยานคร ฯ มีหนังสือไปถึงเจ้าเมืองเกาะหมากให้ส่งตัวเจ้าพระยาไทร จึงเป็นเหตุให้เกิดตื่นกันที่เกาะหมาก ว่ากอง

๒๔ ทัพไทยจะเลยลงไปตีเกาะหมากด้วย ในเวลาที่กำลังตื่นกันอยู่นั้น พอเรือครอเฟิตมาถึงเกาะหมาก แต่ที่จริงพระยานคร ฯ ไม่ได้ตั้งใจ จะตีลงไปให้ถึงเกาะหมาก พอตีได้เมืองไทรบุรีแล้ว ก็เอาใจใส่ ที่จะเป็นไมตรีกับอังกฤษ พอพระยานคร ฯ ทราบว่าครอเฟิตเป็นทูตอังกฤษมาถึงที่เกาะหมาก ก็แต่งคนให้ถือหนังสือไปถึง บอกให้ ทราบว่า ที่กองทัพไทยลงไปตีเมืองไทรบุรีนั้น ไม่ได้มีความประสงค์ จะไปรบพุ่งถึงเกาะหมาก แม้พวกกองหน้าที่ล่วงเลยเข้าไปในเขตต์ แดนเมืองไทร ที่อังกฤษได้ปกครองอยู่ประมาณ ๓๐ คน เมื่อ พระยานคร ฯ ได้ทราบความก็ให้ทำโทษ และห้ามปรามมิให้ล่วงเลยเขตต์แดนอีกต่อไป ครอเฟิตออกเรือจากเกาะหมาก เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ตรงกับวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ มาถึงสิงคโปร์วันที่ ๑๙ พักอยู่ ๖ วันแล้ว จึงออกเรือใช้ใบมากรุงเทพ ฯ เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะเมียยังเป็นตรีศก ( พ.ศ. ๒๓๖๕ ) ครอเฟิตทูตอังกฤษเข้ามาถึงปากน้ำเจ้าพระยา ได้รับอนุญาตให้เรือกำปั่นขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ มาจอดที่หน้าบ้านพระยาสุริยวงศ์มนตรี ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกใต้วัดประยุรวงศ์ ฯ และพระยาสุริยวงศ์มนตรีจัด ตึกซึ่งสร้างไว้หน้าบ้านเป็นที่ไว้สินค้า ให้เป็นที่พักของครอเฟิตและ พวกที่มา เมื่อครอเฟิตไปหาพระยาสุริยวงศ์มนตรีตามธรรมเนียม แล้ว ได้ไปเฝ้าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่ง ทรงกำกับราชการกรมท่า ส่วนอักษรศาสน์และเครื่องราชบรรณาการ

๒๕ ซึ่งมาร์ควิส เหสติงส์ ให้ครอเฟิตคุมมาถวายนั้น พระยาพิพัฒน์ โกษาและเจ้าพนักงานลงไปรับอักษรศาสน์แปลได้ความดังนี้ มาร์ควิส เหสติงส์ ฯ ล ฯ ผู้สำเร็จราชการอาณาจักรอังกฤษ ในอินเดีย ขอทูลมายังสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบ ด้วยข้าพเจ้ามีความประสงค์จะแสดงให้ปรากฏความเคารพนับถือ ของชนชาติอังกฤษที่มีต่อพระองค์ จึงได้แต่งทูตเข้ามาเฝ้า เพื่อ จะบำรุงทางพระราชไมตรี และเกื้อกูลการไปมาหาสู่กันในระหว่าง ชนชาติอังกฤษและชนชาติไทย ซึ่งได้กลับมีขึ้นอีกแล้วนั้น ให้เจริญ ยิ่งขึ้น ชาวยุโรปต่างชาติได้รบพุ่งขับเคี่ยวกันมาหลายปี บัดนี้ก็ได้ เลิกการศึกสงครามกลับเป็นไมตรีดีกันแล้ว แม้ในแผ่นดินฮินดูสถาน ซึ่งเคยเป็นเหยื่อแก่การสงครามและเหตุจลาจลต่าง ๆ ไม่เรียบร้อย มาหลายชั่วอายุคนนั้น เดี๋ยวนี้ก็มีความสงบเรียบร้อยทั่วไป ( ด้วยความสามารถของอังกฤษ ) อังกฤษเดี๋ยวนี้มีอำนาจ ( ตลอดอาณาจักรอินเดีย ) และเป็นที่นับถือแก่ประเทศอื่น ฝ่ายใต้ตั้งแต่สิงหฬทวีป ตลอดขึ้นไปฝ่ายเหนือจนจดเทือกเขาเขตต์แดนเมืองจีน ข้างตะวันออกตั้งแต่เขตต์แดน เมืองอังวะ ตลอดไปฝ่ายตะวันตกจนถึงแดนประเทศเปอร์เซีย แต่ประชาชนที่อยู่ในปกครองของอังกฤษมีกว่า ๙ โกฏิ เพราะฉะนั้นอังกฤษจึงไม่มีความประสงค์ที่จะแสวงหาอาณาเขตต์เพิ่มเติมต่อออกไปอีก ๔ ๒๖ การภายในก็มีความเรียบร้อย ส่วนภายนอกนั้น อังกฤษก็เป็นมิตรไมตรีกับนานาประเทศที่เขตต์แดนติดต่อใกล้เคียงกัน เป็น ต้นว่าพระเจ้าแผ่นดินเปอเซียฝ่ายตะวันออก พระเจ้าแผ่นดินเปอเซียฝ่ายตะวันตก บรรดาเจ้านายที่ปกครองแว่นแคว้นอาหรับ แม้สุลต่านประเทศเตอรกี และพระเจ้ากรุงจีน ก็เป็นไมตรีกับอังกฤษ พวก พ่อค้าอังกฤษกับชาวเมืองของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้าประเทศนั้น ๆ ได้ค้าขายถึงกันอยู่เป็นอันมาก ชนทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ เพราะเหตุที่อาจจะไปมาค้าขายถึงกันได้โดยปราศจากความขัดข้อง ทั้งปวง จึงมีพวกพ่อค้าชาวต่างประเทศเหล่านั้น พากันมาค้าขาย ในแผ่นดินของอังกฤษเนื่องนิตย์ ส่วนพ่อค้าอังกฤษก็ไปค้าขายถึง เมืองต่างประเทศนั้น ๆ เป็นอันมาก การค้าขายย่อมทำให้เจริญ โภคทรัพย์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นเบื้องต้น แล้วเป็นปัจจัยให้ชน ต่างบ้านต่างเมืองรู้จักคุ้นเคยกันดีขึ้น ที่สุดจึงเป็นเหตุให้ผู้ซึ่งเป็น เจ้าเป็นใหญ่ของชนต่างชาติต่างภาษา ซึ่งไปมาค้าขายถึงกันนั้น มีไมตรีเป็นมิตรสนิทกันยิ่งขึ้น พระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในประเทศอังกฤษ เสด็จสถิตย์ณราชธานีอันอยู่ห่างไกลกับพระราชอาณาจักรในอินเดีย ประมาณถึงกึ่งพิภพเพราะระยะห่างไกลกันนัก จะทรงปกครองราชอาณาจักรในอินเดียด้วยพระองค์เองไม่ได้สะดวก จึงพระราชทานพระราชอำนาจให้ข้าพเจ้าเป็นผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ ปกครองแผ่นดินอินเดียนี้ ข้าพเจ้า ตั้งใจประสงค์จะให้ไพร่บ้านพลเมือง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษมีรับสั่ง

๒๗ ให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปกครองต่างพระองค์ มีความสุขและความเจริญ จึงทูลขอต่อพระองค์ผู้เป็นกษัตราธิราชอันประเสริฐ ขอให้ทรงเห็น แก่ทางพระราชไมตรี โปรดให้ประชาชนในประเทศอินเดียได้ไปมา ค้าขายถึงพระราชอาณาจักรของพระองค์โดยสะดวก ข้างฝ่ายข้าพเจ้าก็ขอเชิญให้บรรดาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ มาค้าขายตามหัวเมืองท่าค้าขาย ในประเทศเขตต์แดนของอังกฤษอย่างเดียวกัน ถ้าหากว่าคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษ จะเป็นชาวยุโรปก็ตาม จะเป็น ชาวอินเดียก็ตาม ไปค้าขายถึงพระราชอาณาจักรของพระองค์ ขอ พระองค์จงได้ทรงพระกรุณาคุ้มครองป้องกันให้มีความผาสุกด้วย ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะทูลขอที่แผ่นดินในพระราชอาณาจักของพระองค์ เพื่อทำที่จอดเรือ ที่ตั้งบ้านเรือน หรือที่ป้อม ที่ไว้สินค้า แต่อย่างหนึ่งอย่างใด แม้กฎหมายอย่างธรรมเนียมอันใด ที่ใช้อยู่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ ข้าพเจ้าก็ไม่ทูลขอให้ ยกเว้นเป็นพิเศษสำหรับพวกพ่อค้าอังกฤษ ถ้าหาว่าอย่างธรรมเนียมอันใดในพระราชอาณาจักรของพระองค์ อันเนื่องด้วยการค้าขาย เป็นความลำบากแก่พวกพ่อค้าอังกฤษ อันอาจจะเห็นได้ว่า เป็น เครื่องขัดขวางแก่ความเจริญของการค้าขายกับพระราชอาณาจักรของพระองค์ ข้าพเจ้าก็หวังในในพระปรีชาญาณ และพระราชหฤทัย อันเป็นไมตรีที่จะทรงพระราชดำริแก้ไขยกเว้น ( ตามซึ่งพระองค์ทรงพระราชดำริเห็นสมควร )


๒๘ นายครอเฟิตที่ข้าพเจ้าได้เลือกให้เป็นทูตต่างตัวข้าพเจ้าไปเฝ้าครั้งนี้ เป็นผู้เข้าใจความประสงค์ของข้าพเจ้าอยู่ทุกอย่าง ถ้าได้ ปรึกษาหารือกับมุขมนตรีของพระองค์ คงจะสามารถที่จะคิดอ่าน จัดการให้เป็นประโยชน์ ที่จะเกิดโภคทรัพย์และความเจริญทั้ง ฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษ นายครอเฟิตได้เคยเป็นผู้ต่างตัวข้าพเจ้าอยู่ในสำนักสุลต่านเมืองชะวาหลายปี ข้าพเจ้าได้เลือกนายครอเฟิตให้เป็นทูตไปเฝ้าพระองค์ในคราวนี้ ก็เพราะเห็นว่า นายครอเฟิตเป็น ผู้สันทัดอย่างธรรมเนียมในประเทศทางตะวันออก เพราะได้คุ้นเคย มาช้านาน นายครอเฟิตเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจของข้าพเจ้า ถ้าหากว่านายครอเฟิตยอมตกลงในการอย่างใดประการใดกับรัฐบาลของพระองค์ ความตกลงอันนั้นจะได้รับอนุมัติของข้าพเจ้าทุกประการ ข้าพเจ้าได้มอบสิ่งของหลายอย่าง ให้นายครอเฟิตคุมมาถวาย แด่พระองค์ ในนามของข้าพเจ้าด้วย เครื่องราชบรรณาการที่มาร์ควิส เหสติงส์ ส่งมาถวายในครั้งนั้นคือปืนคาบสิลาปลายหอก ๓๐๐ บอก ปืนคาบสิลาแฝดบอกหนึ่ง ผ้าส่านขาว ๔ ผืน พรมเทศ ๒ ผืน เครื่องแต่งตัวหญิงอย่างฝรั่ง ๒ สำรับ เครื่องโต๊ะแก้วเจียรนัยสำรับหนึ่ง ฉากอย่างดี ๕ แผ่น พรมอย่างดี ๒ ผืน หนังสือเรื่องราวพงศาวดารอังกฤษเล่มหนึ่ง รถมีเครื่องพร้อม รถหนึ่ง ม้าเทศสำหรับเทียมรถม้า ฉากเขียนด้วยหนัง ๔ บาน ฉากกระจก ๓ บาน รวม ๗ บาน


๒๙ ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ พ.ศ. ๒๓๖๕ เสด็จออกพระที่นั่งบุษบกมาลาที่ท้องพระโรงเป็นการเต็มยศ ทรงฉลองพระองค์ครุย โปรดให้ยอนครอเฟิต และพวกอังกฤษที่มาในกองทูตเข้าเฝ้า ฯ เมื่อเฝ้าแล้วจึงตั้งต้นปรึกษาหา รือกับพระยาสุริยวงศ์มนตรี ซึ่งเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสุริยวงศ์ โกษาที่พระคลัง ต่อมาหลายครั้ง การไม่ตกลงกันมิได้ดังความ ประสงค์ของครอเฟิต ด้วยมีเหตุขัดข้องและเกิดเข้าใจผิดกันหลายอย่างหลายประการ ที่เป็นเบื้องต้น เพราะเหตุที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ ๑) ทั้งสองฝ่ายพูดไม่เข้าใจภาษากัน ในเวลานั้นไม่มีไทยที่ พูดภาษาอังกฤษได้ อังกฤษก็ไม่มีที่พูดภาษาไทยได้ ทั้งหนังสือ และคำพูดต้องใช้แปลเป็นภาษาโปตุเกศบ้าง ภาษามะลายูบ้าง แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกชั้นหนึ่ง ๒) ล่ามที่เป็นผู้แปลเป็นคนชั้นต่ำทั้งสองฝ่าย ฝ่ายข้างครอเฟิตได้ล่ามไทยมาแต่เกาะหมาก ก็เห็นจะจ้างไทยที่เป็นบ่าวไพร่ใครที่ หลบหนีไปอยู่ที่นั้น พอรู้ภาษามะลายูมาเป็นล่าม เป็นคนซึ่งไทย ในกรุงเทพ ฯ ย่อมรังเกียจไม่ให้เข้าในที่เฝ้า หรือแม้แต่เป็นล่าม เมื่อทูตไทยไปหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ฝ่ายข้างครอเฟิตก็โกรธ หาว่ากีดกันห้ามปรามล่ามซึ่งตัวไว้ใจ ฝ่ายล่ามของไทยเล่า ล่ามที่สำหรับ แปลภาษาโปตุเกศ ก็ใช้พวกกะฎีจีน ที่แปลภาษามะลายูใช้แขก คนหนึ่งชื่อ นะกุด่าอรี ได้เป็นที่หลวงโกชาอิศหากอยู่ในเวลานั้น ล่ามข้างฝ่ายไทย ทั้งล่ามฝรั่ง และล่ามแขก ต่างคนต่างไปนินทา

๓๐ กันให้ครอเฟิตฟัง ใช่แต่เท่านั้น ต่างคนต่างชิงกันเอาหน้า ในทางที่ จะเรียกร้องเอาของกำนัลจากครอเฟิต ทำให้ครอเฟิตเกิดดูหมิ่นขึ้นมาถึงผู้ใหญ่ฝ่ายไทย ว่ามีแต่คนโลภ ๓) ที่มาร์ควิส เหสติงส์ เลือกให้ครอเฟิตเป็นทูตเข้ามา เพราะเห็นว่าเป็นผู้สันทัดอย่างธรรมเนียมทางประเทศเหล่านี้นั้น ที่จริงตั้งใจดี ดังจะพึงแลเห็นได้ในหนังสือคำสั่งที่ให้แก่ครอเฟิต แต่ความชำนาญของครอเฟิตนั้น ไม่เป็นไปแต่ในทางข้างดี เพราะคุ้นเคย แต่กับพวกชะวามะลายู อันเคยอยู่ในอำนาจฝรั่งมาแต่ก่อน ถือใจ มาเสียแล้ว ว่าไทยก็เป็นชาวตะวันออกเหมือนกับพวกชาวชะวามะลายูไม่ผิดอะไรกับคนพวกนั้น ผิดกันแต่ที่ไม่อยู่ในอำนาจ เมื่อเห็นไทย ไม่ยำเกรงครอเฟิตเหมือนพวกชะวามะลายู ก็ยิ่งทำให้ไม่ชอบหนักขึ้น ๔) ข้อที่ครอเฟิตไม่ชอบไทย เห็นจะเริ่มตั้งแต่มาถึงเกาะหมากเพราะประจวบเวลากองทัพไทยลงไปตีได้เมืองไทรบุรี และชาวเกาะหมากกำลังตื่นกันว่าไทยจะตีลงไปถึงเกาะหมากด้วย ครอเฟิต ได้รับคำสั่งรัฐบาลอินเดียให้มาพูดกับไทยเรื่องเมืองไทรบุรี ก่อนไทย ตีเมืองไทร และให้มาปรึกษากับอังกฤษที่เป็นเจ้าเมืองเกาะหมาก ในข้อที่จะมาพูดกับไทยว่ากระไร ในเวลาครอเฟิตมาถึงเกาะหมากอังกฤษที่เมืองนั้นกำลังขัดแค้นไทย ไม่ต้องบอกก็พอจะคาดได้ไม่ผิด ว่าความต้องการของเจ้าเมืองเกาะหมากในเวลานั้น จะไม่เป็นอย่างอื่น นอกจากอยากให้อังกฤษยกกองทัพมาขับไล่ไทยออกไปเสียให้พ้นเมืองไทรบุรี แต่หากรัฐบาลอินเดียไม่ได้ตั้งใจที่จะทำการเป็นศัตรู เจ้า

๓๑ เมืองเกาะหมากจึงต้องแนะนำครอเฟิตให้มาพูดกับไทยแต่โดยดี ตามคำสั่งเดิมของรัฐบาลอินเดีย แต่คำแนะนำนั้นที่ปรากฏในหนังสือ ของครอเฟิต ก็มีอย่างเดียวแต่ให้คิดอ่านให้ไทยออกไปเสียจากเมืองไทรบุรี และให้คืนเมืองให้เจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) อย่างเดิม ซึ่งจะตกลงกันไม่ได้อยู่เอง ๕) วิธีการค้าขายกับต่างประเทศในเวลานั้น ชาวต่างประเทศที่ไปมาค้าขายโดยมากก็จีน ซึ่งแสวงหาแต่กำไรในการค้าขายเป็น ใหญ่ ยอมนบนอบหมอบคลาน ถวายตัวพึ่งบุญผู้ที่มีอำนาจและ เป็นใหญ่ในบ้านเมือง ยอมที่จะทำการอย่างใด ๆ ให้พอใจเจ้าของเมืองขอแต่ให้หากำไรได้โดยสะดวก จึงเข้ากับไทยได้ดี แต่ฝ่ายข้างฝรั่ง ไม่เช่นนั้น ประโยชน์ในการค้าขายก็อยากจะได้ และยังถือยศศักดิ์ วางกิริยาอาการกระเดียดจะขู่เจ้าของเมือง ก็เป็นอันยากที่จะทำให้ เกิดความพอใจแก่ไทยได้อยู่โดยธรรมดา ๖) เหตุอีกอย่างหนึ่งนั้น จำต้องว่าโดยที่จริง ประเพณี ของไทยเราในครั้งนั้น ซึ่งถือมาตามคติโบราณ ยังมีการหลายอย่าง ซึ่งชวนจะให้ฝรั่งดูหมิ่น ยกตัวอย่าง ๆ เดียว เพียงเรื่องไม่ใส่เสื้อ แม้พระยาพระคลังรับแขกเมืองก็ไม่ใส่เสื้อ เมื่อฝรั่งแลเห็นแต่ตัวเปล่าไปตามกัน ตั้งแต่ผู้ใหญ่ลงมาจนผู้น้อย ก็เห็นจะตั้งต้นดูหมิ่น ว่าเป็นชาวเมืองป่า ใช่แต่เท่านั้น การที่เจ้าพนักงานกรมท่าของเราเองทั้งกรมท่ากลาง กรมท่าขวา กรมท่าซ้าย ทำการค้าขายกับต่างประเทศ แสดงอาการแสวงหาประโยชน์ตนเองปะปนไปกับหน้าที่

๓๒ ที่ทำในตำแหน่งราชการ นี่ก็เป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยดูหมิ่นอีก อย่างหนึ่ง แม้เหตุขัดขวางมีอยู่ดังกล่าวมาการที่ปรึกษากันในส่วนราชการของทูตที่มาในครั้งนั้น ครอเฟิตไม่มีเหตุผลที่จะติเตียนได้ ว่าไทยพูดจาอย่างคนป่าเถื่อน หนังสือที่แต่ง แม้ติเตียนไทยในอย่างอื่นโดยมาก ยังต้องชมความเรียบร้อยในการปกครองบ้านเมืองเมื่อในเวลานั้น และชมว่าไทยฉลาดในการงาน และรู้การต่างประเทศ คือการที่เป็นไป ในอินเดียเป็นต้น ดีทีเดียว ความที่ปรึกษากัน ตามที่ปรากฏในหนังสือของครอเฟิตนั้น เมื่อครอเฟิตเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ เห็นมีกงสุลโปตุเกศอยู่ในกรุงเทพ ฯ แล้วจึงมาขยายความคิดออกไปกว่าที่ปรากฏในคำสั่ง คือ จะขอให้ ไทยทำหนังสือสัญญายอมลดภาษีขาเข้าจากพ่อค้าอังกฤษประการหนึ่ง จะขอตั้งกงสุลประการหนึ่ง ความ ๒ ข้อนี้ ไทยก็ไม่ได้แสดงความ รังเกียจ เข้าใจว่าจะยอม ถ้าอังกฤษยอมตามประสงค์ของไทยใน ความข้อหนึ่งเป็นข้อแลกเปลี่ยน คือ ขอให้เรือไทยที่ไปค้าขายตามเมืองของอังกฤษ ซื้อหาปืนได้ตามต้องการ ด้วยในเวลานั้นไทย กำลังต้องการปืนไว้ทำศึกกับพะม่า พอพระยาพระคลังพูดข้อนี้ขึ้น ครอเฟิตก็พูดตัดเสียว่าอังกฤษจะยอมให้เรือไทยซื้อหาปืนมาได้แต่เวลาเมื่อไทยเป็นไมตรีกับประเทศที่อยู่ติดต่อกับอังกฤษ ประเทศที่ครอเฟิตพูดข้อนี้ รับไว้ในหนังสือที่แต่งว่า ตั้งใจหมายว่าพะม่าทีเดียว เมื่อไทยได้ยินคำพูดอย่างนี้ ก็แลเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์อันใดที่จะ

๓๓ ทำสัญญากับอังกฤษ ด้วยอังกฤษจะเอาประโยชน์ข้างเดียว ส่วนประโยชน์ของฝ่ายไทยนั้นไม่ให้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ข้อนี้เป็นมูลเหตุ ที่ไม่ตกลงกันได้ในคราวนั้น ครอเฟิตพยายามพูดจาต่อมาอีกหลาย ครั้ง ทางที่พูดต่อมาในตอนหลัง ครอเฟิตเลิกความคิดเรื่องตั้งกงสุลเป็นแต่จะขอลดภาษี ข้างไทยจะให้ครอเฟิตรับประกันว่า จะมีเรืออังกฤษเข้ามาค้าขายไม่น้อยกว่าปีละ ๕ ลำ ครอเฟิตก็ไม่รับประกันฝ่ายไทยว่าเมืองไทยมีเกลือที่ดี จะบรรทุกเกลือไทยออกไปขายที่ อินเดีย รัฐบาลอังกฤษจะลดภาษีให้อย่างไรบ้าง ครอเฟิตก็ไม่ตกลง ที่จะยอมลดภาษีเกลือให้ไทย เมื่อพูดจาเรื่องค้าขายกันจนลงปลายแล้ว ครอเฟิตจึงได้เริ่มพูดเรื่องเมืองไทรบุรี คือ ครอเฟิตถือหนังสือเจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) เป็นใจความกล่าวโทษเจ้าพระยานคร ฯ และจะขอเมืองคืน เข้ามายื่นต่อเสนาบดี ครอเฟิตจะขอให้ไทยยอมตามความประสงค์ของเจ้าพระยาไทร ข้างไทยตอบว่า เจ้าพระยา ไทรบุรีก็เป็นเจ้าเมืองประเทศราชข้าขอบขันธสีมา ถ้ามีทุกข์ร้อนอันใดควรจะเข้ามาเฝ้ากราบทูลความทุกข์ร้อนอันนั้น นี่มีท้องตราออกไป ก็ไม่ตอบ ครั้นตัวได้ความเดือดร้อนก็ไม่เข้ามาเฝ้าฉันข้ากับเจ้า จะให้ไทยคืนเมืองให้อย่างไรได้ ข้างครอเฟิตกล่าวโทษเจ้าพระยา นคร ฯ แทนเจ้าพระยาไทร ข้างไทยก็ยืนอยู่ว่า ให้เจ้าพระยาไทร เข้ามากล่าวโทษเอง จะมีตราให้หาเจ้าพระยานคร ฯ เข้ามาว่ากล่าวให้เป็นยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ครั้นครอเฟิตอ้างถึงประโยชน์การค้าขายของอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเมืองไทร พระยาพระคลังก็ส่งใบบอกของ ๕ ๓๔ เจ้าพระยานคร ฯ ไปให้ครอเฟิต ว่าตั้งแต่ไทยเข้าไปรักษาเมืองไทรบุรี ได้เอาใจใส่ในทางไมตรีกับอังกฤษที่เกาะหมาก เป็นการเรียบร้อย อย่างแต่ก่อน ไม่มีขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใด โต้กันอยู่เพียงเท่านี้ ครอเฟิตอยู่ในกรุงเทพ ฯ ถึง ๔ เดือน เห็นการไม่สำเร็จ ได้ดังประสงค์ คิดจะกลับ เกิดลำบากกันขึ้นด้วยเรื่องหนังสือตอบ อีกอย่างหนึ่ง ข้างครอเฟิตจะให้มีพระราชศาสน์ตอบอักษรศาสน์ มาร์ควิส เหสติงส์ ข้างไทยว่า มาร์ควิส เหสติงส์ เป็นแต่ขุนนาง ผู้สำเร็จราชการหัวเมือง จะมีพระราชศาสน์ตอบอักษรศาสน์นั้นผิดอย่างธรรมเนียม จะให้มีแต่ศุภอักษรของพระยาพระคลังตอบ ข้าง ครอเฟิตไม่ยอม ลงปลายตกลงกันว่า จะมีหนังสือของพระยา พิพัฒน์โกษาตอบไปถึงเลขานุการของมาร์ควิส เหสติงส์ ในส่วน เรื่องการค้าขายนั้น ตามที่ปรากฏในหนังสือของครอเฟิตว่า แต่เดิมไทยจะให้พระยาพิพัฒน์โกษาทำหนังสือให้ครอเฟิต เป็นหนังสืออนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษไปมาค้าขายในพระราชอาณาจักร ถ้าปีใด มีเรืออังกฤษเข้ามาค้าขายแต่ ๕ ลำขึ้นไป จะลดภาษีขาเข้าจากร่อย ละ ๘ ลงเป็นร้อยละ ๖ ครอเฟิตได้ไปตรวจร่างหนังสือนี้ที่บ้าน พระยาพระคลังก็เป็นที่พอใจ แต่ยังไม่ทันที่จะได้รับหนังสือนี้ ก็เกิดเหตุผิดใจกันอีกอย่างหนึ่ง เหตุนั้นเกิดแต่เรื่องที่รัฐบาลอังกฤษเช่าเรือพ่อค้า ให้เป็นเรือทูตเข้ามาราชการ ด้วยประเพณีตามประเทศทางตะวันออกในครั้งนั้น สิ่งของที่มาในเรือทูตไม่ต้องตรวจเก็บภาษีอากรอย่างหนึ่งอย่างใด

๓๕ ธรรมเนียมอันนี้ทราบอยู่ทั่วกัน กัปตันเรือที่ครอเฟิตมา ชื่อกัปตันแมคดอลเนล เห็นประโยชน์ที่จะได้ในการที่เข้ามากับทูต จึงลอบบรรทุกสินค้าต่าง ๆ มาในระวางเรือเป็นอันมาก ครอเฟิตมิได้ทราบความข้อนี้ ครั้นเมื่อเรือเข้ามาจอดอยู่ในกรุงเทพ ฯ พวกทูตขึ้น อยู่บนบก กัปตันแมคดอลเนลลอบเอาสินค้าออกจำหน่าย ความ ทราบถึงไทย ถามครอเฟิต ๆ ก็ยืนยันว่าธรรมเนียมของอังกฤษ เรือที่มาราชการจะค้าขายไม่ได้ ต่อมาครอเฟิตจึงได้ทราบความจริงว่ากัปตันเรือของตนพาของหนีภาษีเข้ามาขาย ทำให้เสียวาจาที่ตนได้ อ้างไว้ ครอเฟิตเกิดวิวาทขึ้นกับกัปตันแมคดอลเนล ถึงต้องไล่ กัปตันแมคดอลเนลขึ้นจากเรือ กัปตันแมคดอลเนลเป็นผู้ไปมาคุ้น กับไทยในเวลาเมื่อขายของ จะเป็นกัปตันแมคดอลเนลหรือผู้ใดไม่แน่นำความมาแจ้งแก่พระยาพระคลังว่า เมื่อครอเฟิตอยู่ในกรุงเทพ ฯ นั้น ให้เที่ยวหยั่งน้ำทำแผนที่ และพูดว่า เมืองเช่นกรุงเทพ ฯ นี้ ถ้าอังกฤษจะต้องการ ส่งเรือรบมาเพียง ๒ ลำ ๓ ลำ ก็จะตีเอาได้ความทั้งสองข้อนี้ เป็นเหตุให้ไทยเกิดขัดเคืองครอเฟิต แต่ก็ไม่ได้ ทำให้เสียอัชฌาสัยอย่างใด โปรดให้จัดเครื่องราชบรรณาการพระราชทานตอบ มาร์ควิส เหสติงส์ เป็นสิ่งของต่าง ๆ คือ งาช้าง ๑๐ กิ่ง หนัก ๒ หาบ เนื้อไม้หนัก ๒ หาบ กำยานหนัก ๒ หาบ กระวานหนักหาบหนึ่ง เร่วหนัก ๓ หาบ ดีบุกบริสุทธิ์หนัก ๑๕ หาบ พริกไทยหนัก ๑๕๐ หาบ น้ำตาลทรายหนัก ๑๕๐ หาบ รงค์หนัก ๕ หาบ มอบให้ครอเฟิตคุมออกไป ส่วนครอเฟิตเองได้พระราชทานน้ำตาล

๓๖ ทรายหนัก ๓๐ หาบ ส่วนหนังสือตอบนั้น เป็นแต่ให้พระยาจุฬา ราชมนตรีทำหนังสือให้ครอเฟิตถือออกไป คงมีใจความแต่ว่า อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษไปมาค้าขายตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมือง เมื่อครอเฟิตไปแล้ว มีหนังสือพระยาพระคลังไปถึงมาร์ควิส เหสติงส์ฉบับหนึ่ง กล่าวโทษครอเฟิต ว่าเข้ามาพูดจาและทำการ เหลือเกิน ผิดกับความในอักษรศาสน์ที่เจ้าเมืองบังกล่ามีมา หนังสือฉบับนี้ส่งไปที่เจ้าเมืองเกาะหมาก ให้ส่งไปถึงมาร์ควิส เหสติงส์ ปรากฏในหนังสือราชการของอังกฤษว่า มาร์ควิส เหสติงส์ สอบถาม ครอเฟิต และมีสำเนาหนังสือครอเฟิตแก้คำถาม ว่าเรื่องทำแผนที่นั้นได้ทำแต่เล็กน้อย และได้ขออนุญาตพระยาพระคลังก่อนแล้วจึงทำ ข้อที่ว่าครอเฟิตพูดหมิ่นประมาทเมืองไทยนั้น ปฏิเสธ ยอนครอเฟิตออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อณวันจันทร์เดือน ๘ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ พ.ศ. ๒๓๖๕ ไปแวะตรวจ ที่เกาะสีชังก่อน แล้วออกจากเกาะสีชังใช้ใบไปเมืองญวน การที่ ไปเมืองญวนก็ไม่สำเร็จ ด้วยญวนรังเกียจการเกี่ยวข้องค้าขายกับ ฝรั่งยิ่งกว่าไทยขึ้นไปอีก ครอเฟิตกลับจากเมืองญวนจึงได้เป็น เรสิเดนต์รักษาการณ์อยู่ณสิงคโปร์ ตามความที่ปรากฏต่อมา ตั้งแต่ครอเฟิตมาเป็นเรสิเดนต์อยู่ที่เมืองสิงคโปร์ กลับวางอัธยาศัย เป็นไมตรีกับไทย มีหนังสือไปมากับพระยาพระคลัง และเอาเป็นธุระสงเคราะห์เรือไทยที่ไปค้าขายที่เมืองสิงคโปร์ กลับทำตามคำสั่งเดิมของรัฐบาลอินเดีย ถึงกับเอาเป็นธุระบอกเข้ามาให้ไทยทราบ ว่าพะม่า

๓๗ แต่งทูตไปเชิญญวนให้ช่วยกันตีเมืองไทย ดังจะปรากฏต่อไปข้างหน้าเห็นจะเป็นด้วยเหตุอังกฤษเกิดวิวาทกันขึ้นกับพะม่า ครอเฟิตจึงเห็นประโยชน์ในการที่จะเอาใจไทย ฯ ล ฯ การที่รัฐบาลอินเดีย แต่งครอเฟิตเป็นทูตเข้ามาคราวนั้น แม้ไม่สำเร็จได้ดังประสงค์ของครอเฟิต และเกิดเป็นปากเสียงกันดัง กล่าวมาก็ดี แต่เป็นประโยชน์แก่อังกฤษดังที่รัฐบาลอินเดียต้องการด้วยตั้งแต่นั้นมา ก็มีเรือพ่อค้าอังกฤษไปมาค้าขายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่สุดจนมีคนอังกฤษชื่อฮันเตอร์ (๑) เข้ามาตั้งห้างค้าขายอยู่ใน กรุงเทพ ฯ ฝ่ายไทยก็ทำนุบำรุงให้ไปมาค้าขายได้โดยสะดวก เป็นแต่ไม่ยอมลดหย่อนภาษีอากรให้อังกฤษผิดกับที่เก็บจากชาติอื่นด้วยประเพณีการค้าขายในเวลานั้น ยังถือตามแบบเดิมที่มีมาแต่ครั้งกรุงเก่า (๒) ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ อังกฤษกับพะม่าเกิดรบกันขึ้นเป็นครั้งแรกเหตุด้วยแย่งเมืองประเทศราชซึ่งอยู่ระหว่างอินเดียกับพะม่า คือ เมืองยะไข่ เมืองมณีปุระ และเมืองอัสสัม เป็นต้น ซึ่งพะม่าไปตีได้ไว้ แต่ก่อน ครั้นอังกฤษรบกับพะม่าตีเอาเมืองเหล่านี้ได้แล้ว แต่แรกคิดจะเดินกองทัพบกเข้ามาตีเมืองอังวะ แต่มาปรากฏว่า ทางกันดารนัก

(๑) ไทยเรียกกันในครั้งนั้นว่า หันแตร (๒) พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ หน้า ๓๒๑ นอกจากนี้ยังมีในคำนำหนังสือจดหมายหลวงอุดมสมบัติโดยพิสดาร

๓๘ อังกฤษจึงเปลี่ยนความคิดจัดเป็นกองทัพเรือ ให้เซอร์ อาชีบัลต์ แคมป์เบล เป็นแม่ทัพ ยกมาเข้าปากน้ำเอราวดี ตีได้เมืองร่างกุ้งไว้เป็นที่มั่น ครั้นจะยกกองทัพตีต่อขึ้นไปพอประจวบเข้าฤดูฝน หนทางกันดาร ไพร่พลอังกฤษผิดอากาศเกิดเจ็บไข้ ทั้งระยะทางที่จะต้อง รบพุ่งพะม่าต่อไปก็ยังไกล ด้วยจะต้องผ่านแดนรามัญขึ้นไปก่อนจึงจะถึงเมืองอังวะ อังกฤษจึงต้องหยุดยั้งทัพค้างฤดูฝนอยู่ที่เมืองร่างกุ้ง แต่ในเวลาที่หยุดอยู่นั้น อังกฤษแต่งทัพอีกกองหนึ่งให้ลงมาตีหัวเมืองของพะม่าตามชายทะเลข้างฝ่ายใต้ ตั้งแต่เมืองเมาะตะมะ เมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมฤทไว้ได้ในอำนาจของอังกฤษทั้งสิ้น ในเวลาเมื่ออังกฤษเกิดรบขึ้นกับพะม่าครั้งที่กล่าวนี้ เป็นเวลาปลายรัชกาลที่ ๒ ความคิดเห็นของรัฐบาลไทยในครั้งนั้นจะเป็นอย่างไร ยังไม่พบจดหมายเหตุเป็นหลักฐานพอที่จะอ้างได้เป็นแน่นอน ปรากฏแต่ว่า ทรงพระราชดำริเห็นว่า สงครามเกิดขึ้นในที่ต่อติดพระราชอาณาเขตต์ จะไว้ใจแก่เหตุการณ์มิได้ จึงโปรดให้แต่งกองทัพ ๓ กอง ทางบกให้เจ้าพระยามหาโยธา ( ทอเรีย ) เป็นแม่ทัพ ยก ล่วงหน้าออกไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์กองหนึ่ง ให้พระยาสุรเสนาเป็นแม่ทัพบกหนุนไปอีกกองหนึ่ง ทางเรือให้พระยาชุมพร ( ซุย ) คุมกองทัพเรือไปรักษาการทางต่อแดนเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี อีก กองหนึ่ง การที่ไทยยกกองทัพออกไปครั้งนั้น ได้บอกให้อังกฤษ ทราบว่าจะไปช่วยอังกฤษ ฝ่ายข้างอังกฤษ เมื่อไปติดชะงักอยู่ที่เมืองร่างกุ้ง ต้องการกำลังพาหนะที่จะหาบขนเครื่องสาตราวุธ และสะเบียง

๓๙ อาหารส่งกองทัพ ที่จะยกต่อขึ้นไปในฤดูแล้ง อยากได้กำลังไทยช่วย จึงชวนให้กองทัพเจ้าพระยามหาโยธา เข้าไปตั้งอยู่ในแดนเมือง เมาะตะมะ ที่อังกฤษตีไว้ เวลานี้ผะเอิญประจวบเปลี่ยนรัชกาลใน กรุงสยาม ถึงรัชกาลที่ ๓ ไทยกับอังกฤษเกิดเข้าใจผิดกันขึ้นด้วย เหตุ ๔ ประการ คือ ประการที่ ๑ อังกฤษจะต้องการแต่สัตว์พาหนะ และผู้คนในกองทัพไทยใช้เป็นกำลังแบกหาม ไปใช้สอยอยู่ในบังคับบัญชาของอังกฤษ อ้างเหตุว่าเพราะวิธีการทำสงคราม วิธีของอังกฤษกับไทยไม่เหมือนกัน ถ้าไทยอยากจะรบพุ่งพะม่าโดยลำพัง ขอให้จัดกองทัพ ยกไปตีหัวเมืองพะม่าจากเมืองเชียงใหม่อีกทางหนึ่ง ข้างไทยเห็นอังกฤษจะเอาเปรียบแต่ฝ่ายเดียว จึงไม่ยอมให้กองทัพเจ้าพระยามหาโยธาอยู่ในบังคับบัญชาอังกฤษ พอถึงงานพระเมรุพระบรมศพ ก็ให้หากองทัพกลับคืนเข้ามากรุงเทพ ฯ ประการที่ ๒ อังกฤษมีความคิดในชั้นแรกว่า ถ้าทำสงครามชะนะพะม่าคืนเมืองตะนาวศรี เมืองมฤทให้แก่ไทย แต่ว่าจะคืนให้ แต่แผ่นดินตอนข้างใน ส่วนข้างชายทะเลซึ่งเป็นทำเลค้าขาย อังกฤษจะเอาไว้เสียเอง ส่วนทางต่อแดนอังวะ อังกฤษคิดว่า ถ้าตีได้แล้วจะกลับตั้งรามัญประเทศขึ้นตามเดิม เพื่อทอนกำลังพะม่าให้น้อยลง แต่ในเวลานั้นเชื้อวงศ์พระเจ้าหงสาวดีแต่ก่อนสาบสูญ อังกฤษเลือกหาผู้ซึ่งจะเป็นที่นิยมของพวกมอญ ตั้งเป็นพระเจ้าหงสาวดีขึ้นใหม่ เจ้าพระยามหาโยธาเป็นผู้อยู่ในที่จะถูกเลือกคนหนึ่ง ความ

๔๐ ทั้งสองข้อนี้ไม่เป็นที่พอใจของไทย ด้วยเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี เมื่อเป็นเมืองขึ้นของไทยอยู่แต่ครั้งกรุงเก่า เป็นประโยชน์ด้วยเป็น เมืองท่าค้าขายทางทะเล ถ้าอังกฤษเอาชายทะเลเสีย ก็เป็นอันปิดท่าค้าขาย หาประโยชน์อันใดแก่ไทยมิได้ ไทยมีแต่จะต้องรับผิดชอบรักษาหัวเมืองดอน ให้เป็นประโยชน์แก่อังกฤษฝ่ายเดียว ส่วนความ คิดที่อังกฤษจะตั้งรามัญประเทศขึ้นอีก และโดยฉะเพาะที่เจ้าพระยามหาโยธา ตกอยู่ในผู้ต้องเลือกนั้น ไทยต้องไม่พอใจอยู่เอง ด้วยมอญได้อพยพเข้ามาเป็นไพร่บ้านพลเมืองไทย ตั้งแต่เมื่อกรุงธนบุรีครั้งหนึ่งและเมื่อในรัชกาลที่ ๒ ( กรุงรัตนโกสินทร ) ครั้งหนึ่ง มีจำนวนมอญอยู่ในเมืองไทยเป็นอันมาก มอญเหล่านี้จะกลับไปฝากฝ่ายอยู่กับอังกฤษ ก็ต้องเป็นข้อรังเกียจอยู่เอง ประการที่ ๓ เมื่อมีท้องตราออกไป ให้พระยาชุมพรยกกองทัพเรือไปนั้น ในท้องตราจะสั่งอย่างไรไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ว่า พระยาชุมพรให้เข้าไปกวาดครอบครัวเอาคนเมืองมฤท เมืองตะนาวศรีมามาก ครั้นอังกฤษลงมาตีได้เมืองตะนาวศรี เมืองทฤท พวกพลเมืองพากันไปร้องทุกข์กับอังกฤษว่าถูกพระยาชุมพรกวาดครัว อังกฤษ กำลังจะเอาใจชาวเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท จึงจับคนเมืองชุมพรที่ไปกวาดครัวไว้ได้มาก เมื่อความทราบเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระพิโรธแก่พระยาชุมพร ให้เอา ตัวเข้ามาจำไว้ในกรุงเทพ ฯ


๔๑ ประการที่ ๔ เกี่ยวด้วยเรื่องเมืองไทรบุรี คือเมื่อพระยาไทร ทำสัญญาให้อังกฤษเช่าเกาะหมากนั้น ในข้อสัญญามีว่า ยอมให้อังกฤษซื้อหาสะเบียงอาหารเอาไปจากเมืองไทรบุรีได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีอากร ครั้นเมื่อไทยลงไปปกครองเมืองไทร ตั้งเก็บภาษีตามอย่างธรรมเนียมเหมือนกับหัวเมืองอื่น และโต้อังกฤษว่า อังกฤษไปทำสัญญากับพระยาไทรโดยพลการ ไม่ได้บอกให้กรุงเทพ ฯ ทราบตามสมควรแก่ประเพณี อีกข้อหนึ่งเมื่อเจ้าพระยานคร ฯ ลงไปตีได้เมืองไทรบุรีนั้น พระยาแประเลยงดไม่ส่งต้นไม้ทองเงินเข้ามาถวายดัง แต่ก่อน พวกเมืองแประเกิดแตกกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเห็นควร จะอ่อนน้อมต่อเจ้าพระยานคร ฯ พวกหนึ่งเห็นไม่ควรจะอ่อนน้อม ฝ่ายข้างอังกฤษก็ไม่อยากจะให้ไทยมีอำนาจล่วงเลยเขตต์เมืองไทรบุรีลงไป อาศัยเหตุทั้งสี่ประการที่กล่าวมานี้ ในปลายปีระกาสัปตศก จุลศักราช ๑๑๘๗ พ.ศ. ๒๓๖๘ เมื่ออังกฤษทำสงครามจวนจะชะนะพะม่าอยู่แล้ว หลอดแอมเฮิสต์ ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ จึงแต่งให้นายร้อยเอกเฮนรีเบอร์นี (ซึ่งเรียกชื่อกันในสมัยนั้นว่า กะปิตันบารนี )เป็นทูตเข้ามากรุงเทพ ฯ เพื่อให้เข้ามาพูดจาตกลงกับไทย โดยทางไมตรี และขอให้ทำหนังสือสัญญากับไทย ให้มีไว้ต่อกัน เสียเป็นหลักฐาน นายร้อยเอกเบอร์นีมาหาเจ้าพระยานคร ฯ ( น้อย ) ก่อน เมื่อเจ้าพระยานคร ฯ ได้รับอนุญาตจากกรุงเทพ ฯ แล้ว จึงพานายร้อยเอก


๔๒ เบอร์นี เข้ามากรุงเทพ ฯ เมื่อในเดือน ๑๒ โปรดให้เข้าเฝ้าอย่าง แขกเมืองที่เคยมาแต่ก่อนและให้เสนาบดีปรึกษากับนายร้อยเอกเบอร์นีตกลงกันได้ทำหนังสือสัญญากับอังกฤษฉบับแรกเมื่อณเดือน ๗ แรม ๑ ค่ำปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๑๘๘ พ.ศ. ๒๓๖๙ เป็นหนังสือสัญญา ๑๔ ข้อ ฯ ล ฯ (และ) ในคราวนั้นไทยได้ทำสัญญากับ นายร้อยเอกเบอร์นี ผู้แทนรัฐบาลอังกฤษอีกฉบับหนึ่ง ว่าด้วยการ ค้าขาย เป็นสัญญา ๖ ข้อ (๑) อักษรศาสน์ของหลอดแอมเฮิสต์ ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษที่นายร้อยเอกเบอร์นีนำมานั้น โปรดให้นายกาลส มันแวนต สิลไวร์ กงสุลโปตุเกศช่วยแปลออกเป็นภาษาไทย แล้วเกลาสำนวน ให้รัดกุมขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ได้พิมพ์สำเนาไว้ทั้งสองฉบับ ดังต่อไปนี้ อักษาศาสน์ของผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ นายกาลส มันแวนต์ สิลไวร์ กงสุลโปตุเกศเป็นผู้แปล วันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีจออัฐศก ( พ.ศ. ๒๓๖๙ ) พระยาพิพัฒน์โกษา หลวงสุรสสาคร ขุนทิพวาจา ขุนเทพวาจา นั่งณศาลาลูกขุนฝ่ายขวา เอาหนังสือเจ้าเมืองมังกล่าซึ่งกะปิตันบารนีถือมาขอเป็นทางไมตรี ให้กาลสแปลหนังสืออังกฤษออกเป็นคำไทย ในหนังสือนั้นว่า

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใน หนังสือจดหมายหลวงอุดมสมบัติ หน้า ๒๒

๔๓ มาแต่ท่านที่นับถือลอดอำแหด เจ้าเมืองเยณะรันเมืองทั้งปวง ที่อังกฤษตีได้ข้างทวีปอินเดีย ถวายมาถึงท่านที่สูงสุดขุนหลวง เมืองไทย กราบถวายบังคมโดยนับถือตามธรรมเนียมแล้วจึงได้เขียนหนังสือนี้ ได้ ๔ ปีมาแล้ว มารเกศ หัสตึ่ง (๑) ผู้มีสกุลอันใหญ่ได้ ครองเมืองมังกล่าก่อนข้าพเจ้า ได้แต่งทูตใช้ให้เข้ามาเฝ้าท่าน ที่สูงสุด สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เป็นสำคัญความนับถือและ ยกยอแห่งชาติอังกฤษ ตั้งแต่นั้นมาอังกฤษกับไทยมีไมตรียิ่งสนิท ต่อกันมากยิ่งขึ้นไป และเมืองอังกฤษยิ่งมีไมตรีต่อบรรดาเมือง ทั้งปวงข้างอินเดีย เว้นแต่เมืองอังวะ เพราะว่าเมืองอังวะประมาท ทำเหลือเกินที่จะอดทน เย้าให้โกรธขึ้น ให้เจ้าอังกฤษยกกองทัพมาตีให้ได้ พวกไพร่ของท่านที่สูงสุดรู้จักแจ้งอยู่ทุกคนว่า ซึ่งพะม่านั้น เป็นคนขบถไม่ตรงสิ้นทั้งเมืองอังวะ และเมืองขึ้นแก่อังวะทั้งปวง ไทยต้องรู้จักที่จะมีอัชฌาศัยเดินตรงต่อชาติ มิให้ห้ามความปรารถนาของมันไม่ได้ เว้นแต่เดินโดยกำลังเครื่องสัตราอาวุธ จึงจะห้ามความปรารถนาและความนึกร้ายต่อเมืองใกล้กันนั้นจึงจะได้ บัดนี้กองทัพอังกฤษได้ยกขึ้นไปถึงเมืองพะม่าเมืองใด ๆ ก็ตีได้เมืองนั้นแล้ว บัดนี้เห็นว่าท่านที่สูงสุดจะมีความยินดีเป็นอันมาก ด้วยได้ยินว่าพะม่าที่เป็นสัตรูแห่งทั้งสองฝ่ายนั้นได้ต้องแพ้แก่อังกฤษในการศึกทุกอย่าง

(๑) มาร์ควิส เหสติงส์

๔๔ บัดนี้อังกฤษตีได้ไว้แล้ว เมืองอาสรร เมืองอารกัน เมืองเจตุบา เมืองรำเร เมืองจินดา เมืองย่างกุ้ง เมืองตาลา เมืองบัดเสน เมืองเสเรียน เมืองพะโก เมืองเตนาบิ เมืองปตน เมืองตะนาว เมืองมะตะมะ เมืองเย เมืองทวาย เมืองมฤท ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เข้ามาถึงอินเดีย สำหรับเอาใจใส่การอันใหญ่ที่ขุนหลวงอังกฤษมีความไว้ใจมอบให้ข้าพเจ้า แต่เมื่อแรกยกกองทัพไปตีอังวะนั้น ข้าพเจ้ามิไปปรารถนาซึ่งจะสำแดงแน่ให้ท่านที่สูงสุด เห็นความนับถือยกยอที่ข้าพเจ้ามีต่อท่านที่สูงสุด และความปรารถนาแห่งชาติอังกฤษโดยสุจริตที่จะถ้าทางไมตรีต่อกรุงไทย ข้าพเจ้าได้ สั่งให้เจ้าเมืองเกาะหมากเจ้าเมืองใหม่ไว้ ได้ข่าวการรบต่อพะม่านั้นเมื่อใด ก็ให้เอาข่าวนั้นส่งถวายเข้ามาโดยเร็วอย่าให้ขาดได้ และข้าพเจ้าได้สั่งแก่พวกกองทัพอังกฤษ และขุนนางทั้งปวงที่ขึ้นไปเมือง อังวะนั้นไว้ว่า ถ้าพบคนแลสิ่งของไทยณตำบลใด ก็ให้กองทัพเอาใจใสช่วยทำนุบำรุง บัดนี้เห็นว่าถึงเพลาแล้ว ที่ข้าพเจ้าจะต้องจัดทูต ให้เข้าไปเฝ้าท่านที่สูงสุดโดยซื่อ ข้าพเจ้าจะได้กราบทูลความการรบ พะม่าให้แจ้งทุกอย่าง และจะได้ทูลให้ทราบว่า เมืองอังกฤษจะคิด การสิ่งใด ๆ ข้างหน้าต่อไป ข้าพเจ้าจึงได้เลือกเอากะปิตันหันตรีบารนี ใช้ในการอันใหญ่นี้ กะปิตันหันตรีบารนีนี้ เป็นขุนนางได้ทำราชการฝ่ายตะวันออกข้างอินเดียหลายปีมาแล้ว เป็นคนรู้เข้าใจกิริยาอย่างธรรมเนียมข้างทวีปนั้นมาก เป็นคนรู้จักขุนนางของท่านที่สูงสุด


๔๕ หลายท่าน เป็นต้นว่าเจ้าเมืองนคร เมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า และบรรดาขุนนางของเจ้าเมืองทั้งนี้สิ้น กะปิตันหันตรีบารนีมีบุญซึ่งจะได้เอาความที่ข้าพเจ้าพลอยมีความยินดีแต่ในดวงใจข้าพเจ้า เพราะท่านมีที่สูงสุดได้เสด็จขึ้นนั่งบนพระที่นั่งอันใหญ่ที่สรรเสริญณกรุงไทยนี้ ข้าพเจ้ามีความปรารถนาโดยสุจริต ให้ท่านที่ สูงสุดได้จำเริญไปเป็นช้านาน จะได้พระราชทานแจกพระเมตตา แก่ไพร่แห่งท่านที่สูงสุดทั้งสิ้นแก่นานาประเทศทั้งปวง ที่เข้ามาณกรุงของท่าน กะปิตันหันตรีบานีจะได้กราบทูลแก่ท่านที่สูงสุด และกราบเรียนท่านเสนาบดีเอง ให้จะแจ้งถ้วนถี่ยิ่งกว่ามีในหนังสือ ด้วย ความชาติอังกฤษมีน้ำใจสักเท่าใด ที่จะได้รื้อฟื้นทางไมตรีต่อไทย กะปิตันหันตรีบารนีใช่ว่าจะจำเพาะกราบทูลและกราบเรียนท่านเสนาบดีด้วยการที่ได้รบพะม่าต่อไปข้างหน้าให้แน่ และจะแจ้งทุกสิ่ง ข้าพเจ้า มีความไว้ใจอันใหญ่หนักหนา ว่าท่านที่สูงสุดจะโปรดรับทูตที่ข้าพเจ้าให้เข้าไปโดยสะดวกด้วยอย่างดี ทูตนั้นจะได้มีน้ำใจกราบทูลให้ ทราบโดยสะดวกมิได้ขัดขวางแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด และจะได้กราบทูล สารพัตทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าคิดไว้นั้นให้ท่านที่สูงสุดทราบ และทูต จะได้จดหมายแจ้งแก่ข้าพเจ้าว่า ท่านที่สูงสุดจะเห็นชอบต้องด้วย ความที่ข้าพเจ้าคิดไว้นั้นอย่างไร ทูตจะได้เขียนออกไปให้ข้าพเจ้าทราบเจ้าเมืองอังกฤษ ไม่ได้มีความปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งของท่านที่สูงสุดมิได้ปรารถนามาแต่สิ่งที่จะต้องการ คือทางที่จะใช้ให้ทางไมตรีอังกฤษ


๔๖ กับไทยซึ่งมีต่อกันทุกวันนี้ยิ่งขึ้นไป และยืดยาวไป ถ้าและท่านที่ สูงสุดทรงพระดำริทำสัญญาสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยสัญญานั้น จึงจะเกิดประโยชน์และง่ายสะดวกและกว้างขวางในเมืองของท่าน และเพราะอย่างนี้ไมตรีจะใหญ่ยิ่งขึ้นไป และจะเกิดประโยชน์เป็นอันมาก แก่ทั้งสองชาติ และเพราะสัญญานั้น เมืองเกาะหมากและเมืองขึ้น แก่ท่านที่สูงสุดเหมือนเมืองนคร เมืองสงขลา เมืองตลุง ข้างหน้าไปจะได้อยู่ราบคาบไม่รบกวนกันสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ กะปิตันหันตรีบารนี ที่ข้าพเจ้ามีความไว้ใจนี้มีฤทธิ์ที่จะยอม และจัดแจงในการสิ่งใด ๆ ที่ท่านสูงสุดทำนั้น และจะได้บอกความออกไปถึงกรมการเมืองมังกล่า กะปิตันหันตรีบารนีมีบุญที่จะคุมของเข้าถวายท่านที่สูงสุดโดยซื่อ ของข้าพเจ้าเป็นของทำที่วิลาศบ้างทำที่เมืองมังกล่าบ้าง ข้าพเจ้ามีความ ไว้ใจอยู่ว่า ท่านที่สูงสุดจะรับไว้เป็นสำคัญนับถือและความรำลึกของข้าพเจ้า หนังสือนี้ทำที่เมืองป้อมชื่อวิเลม วัน ๑๓ เดือนใหม่ ศักราช ๑๘๒๕ อำแหด. อักษรศาสน์ของผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ซึ่งนายกาลส มันแวนต์ สิลไวร์ กงสุลโปตุเกศ แปล แล้วเกลาสำนวนใหม่ หนังสือเอดอารนาปันลาดหัดครนาโดยยินณะรันคินดี เจ้าเมืองมังกล่า ขอกราบทูลสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวให้ทราบใต้ฝ่าละออง

๔๗ ด้วยเมื่อ ๔ ปีแล้วเจ้าเมืองมังกล่าคนก่อนชื่อมารากีศหัศตึ่ง ได้ให้ คนอายัดใจเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อน ได้มา แจ้งความว่า อังกฤษยำเกรงนับถือยกยอรักใคร่ต่อไทย แต่วันนั้นมา จนวันนี้ อังกฤษกับไทยตั้งอยู่ในความสัตย์มั่นคงรักใคร่เป็นไมตรีต่อกันบรรดาเมืองขึ้นทั้งปวงก็รักตามด้วยกัน เว้นแต่เมืองพะม่าอวดจองหอง ข้าพเจ้าอดไม่ได้จึงได้เกิดวิวาท ไม่มีเหตุสิ่งใด ด้วยมันแกล้งเบียด เบียฬทำลายเนื้ออังกฤษ ๆ ยกทัพไปรบกัน แต่ว่าทำนองพะม่าบิดพลิ้วโลภลาภทำโอหัง การทั้งนั้นสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวกรุงไทยก็ทรงทราบอยู่แล้ว ข้าราชการก็รู้ ซึ่งจะทำไมตรีกับพะม่า ถึงจะทำความดีสักเท่าใด ๆ ทำนองพะม่านั้นก็เชื่อไม่ได้ ยังแต่การรบสิ่งเดียวที่จะห้ามความปรารถนาได้ มันมีแต่จะเบียดเบียฬเนื้อเมืองเขตต์แดน อันใกล้กัน และบัดนี้กองทัพอังกฤษรบเมืองพะม่าล้อมรอบ ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงไทยทราบก็จะทรงยินดี และกองทัพอังกฤษกับพะม่ามีชัยเป็นอันมาก ตีได้เมืองอาสรร, เมืองระเขง, เมืองเขดบา, เมืองรำรีย์,เมืองจินดา, เมืองรังคง, เมืองกาละ, เมืองมะสิง, เมือง เสเรียน ,เมืองชิคุ, เมืองตะณุพยู, เมืองมัตตะมะ, เมืองเร, เมืองทวาย, เมืองมฤท, เมืองตะนาว ๑๖ เมือง ก่อนได้รบกับพะม่าบอกมาให้แจ้งข้าพเจ้ายินณะรันเจ้าเมืองมังกล่า ซึ่งอยู่ในบังคับเจ้าเมืองอรบ นบนอบมาในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวให้ทราบว่า เจ้าเมืองอรบและขุนนาง ผู้ใหญ่ ๆ อังกฤษจะใคร่เป็นไมตรีกับไทย รักใคร่กันโดยใจบริสุทธิ์ ด้วยแต่ก่อนข้าพเจ้าได้ให้เจ้าเมืองเกาะหมาก เจ้าเมืองใหม่ ให้เร่ง

๔๘ บอกข้อความซึ่งได้รบกับพะม่าเข้าไปณกรุงไทยให้ทราบ อนึ่งข้าพเจ้าได้บังคับแม่ทัพอังกฤษและทหารทั้งนั้นว่า ถ้าพบไทยที่ใด ๆ ก็ดี อย่าให้ทำอันตรายแก่คนและเก็บเอารูปพรรณสิ่งของใด ๆ เป็นอันขาด ทีเดียว บัดนี้ข้าพเจ้าแต่งให้กะปิตันหันตรีบารนี เป็นทูตแทนตัวข้าพเจ้าเข้ามากราบทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงไทย แต่บรรดาเรื่องราวซึ่งรบกับพะม่าและความปรารถนาพยาใหญ่ซึ่งได้บังคับอังกฤษ จึงข้าพเจ้าได้เลือกสรรจัดแจงคนผู้ใหญ่ชัดเจนควรกับราชการ ได้ให้ กะปิตันหันตรีบารนี ซึ่งเป็นคนเดิมคุ้นในราชการเมืองฝ่ายใต้ลม เข้าใจทำนองบรรดาธรรมเนียมกะบิลเมืองแล้ว ให้รู้จักกับเจ้าพระยานคร พระยาถลาง พระตะกั่วทุ่ง พระตะกั่วป่า ซึ่งเป็นข้าราชการในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงไทย ให้กะปิตันหันตรีบารนีเข้าไปเฝ้ากราบทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ว่าข้าพเจ้าฝากอภัยนบนอบยำเกรงยกยอ อันใหญ่โดยใจตรง ต่อพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงไทย ซึ่งว่าราชการ อยู่เหนือแท่นอันมหาประเสริฐ ข้าพเจ้าขอคุณพระให้พรแก่สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว ให้มีพระชนม์ยืน ทรงพระจำเริญอยู่เหนือแท่นทรงอันสูง จะได้ทรงพระเมตตาปลูกเลี้ยงอาณาประชาราษฎร์กรุงไทยทั้งปวง และคนเมืองอื่นจะได้เข้ามาพึ่งบุญร่มเมืองฝ่ายไทย ให้กะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาแจ้งความยิ่งกว่าหนังสือ ด้วยอังกฤษปรารถนาหนักหนาจะเป็นไมตรีกับไทย กับจะให้แจ้งความแต่เดิมซึ่งได้รบกับพะม่าแล้วนั้นและยังจะทำต่อไปอีก ข้าพเจ้าเมืองมังกล่าขอให้กะปิตันหันบารนี ทูตได้เข้าเฝ้าดังปรารถนาข้าพเจ้า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะโปรด

๔๙ ประการใด กะปิตันหันตรีบารนีจะได้เอาความไปแจ้งแก่ข้าพเจ้า อนึ่งพระยาใหญ่อังกฤษกับบรรดาผู้ใหญ่อังกฤษทั้งนั้น จะได้คิดประการ ใดหามิได้ คิดแต่จะเป็นไมตรีกับไทย อังกฤษกับไทยจะได้รักใคร่ ต่อกันทั้ง๒ ฝ่าย ข้าพเจ้าจึงจัดให้กะปิตันหันตรีบารนีคนเชื่อใจของข้าพเจ้าแล้วเป็นคนคิดอ่านประกอบการจะได้เอาความส่งไปยังข้าพเจ้าโดยเร็ว ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวโปรดให้เหมือนปรารถนาซึ่งว่าทั้งนี้เมืองไทยกับเมืองอังกฤษ สินค้าทั้งสองเมืองจะได้บริบูรณ์ไปมาง่าย มิได้เว้น อนึ่งพระยาเกาะหมากกับเจ้าพระยานครกับเมืองถลาง, เมืองสงขลา, เมืองพัทลุง, จะได้เป็นทางไมตรีต่อกันมาก ๆ อย่าให้เกิด เหตุวุ่นไขว่ณวันภายหลัง อนึ่งข้าพเจ้าจัดได้สิ่งของซึ่งทำณเมืองคินดี เมืองงอรบ ให้กะปิตันหันตรีบารนีคุมเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อ จะได้เป็นสำคัญว่า ข้าพเจ้าฝากอภัยนบนอบยำเกรงยกยออันใหญ่ ๆ จงมาก ๆ ต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว หนังสือมาณวัน ( คฤสต ) ศักราช ๑๘๒๕ ปี

เฮนรี เบอนี นำหนังสือสัญญาซึ่งปิดตราของผู้สำเร็จ ราชการอินเดียของอังกฤษ มาเปลี่ยนที่เมืองตรัง ณวันศุกร์ เดือน ๖ แรม ๑๕ ค่ำจุลศักราช ๑๑๘๙ ปีกุนนพศก กะปิตันหันตรีบารนีเอาหนังสือสัญญาซึ่งปิดตรามาแต่เมืองมังกล่ามาเปลี่ยนที่เมืองตรัง กะปิตันเหมกฝากรฝเรดิกมิเลดเอดแกว เมือง มังกล่า กะปิตันสะดะลันนายกำปั่นมาพร้อมกันด้วย ครั้นเปลี่ยน ๗ ๕๐ หนังสือสัญญาแล้ว กะปิตันหันตรีบารนีไปเมืองมฤท ว่าจะให้กะปิตันเหมกฝากรเอาหนังสือสัญญาไปเมืองมังกล่า จะเอากำปั่นซึ่งกะปิตันหันตรีบารนีมานั้นต้องให้กะปิตันเหมกฝากรขี่กลับไป อนึ่งอักษรไทย ซึ่งกะปิตันหันตรีบารนีเขียนบอกชื่อตรามาในหนังสือสัญญานั้นไม่ชัด กะปิตันหันตีแปลใหม่ ได้ถ่ายดวงตราตามหนังสือสัญญา เขียน อักษรไทยตามกะปิตันหันตรีบารนีแปลอยู่ในแผ่นกระดาษนี้ ตราซึ่งปีดมาในหนังสือสัญญา ทางไมตรี ทางค้าขาย เหมือนกันตามอย่างถ่ายนี้ อเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕

ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา แรกมามีทางพระราชไมตรีกับ กรุงสยามในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๗๕ ตรงกับคฤศตศักราช ๑๘๓๓ ครั้งนั้นประธานาธิบดีแยกสัน แต่ง ให้เอดมันด์รอเบิต เป็นทูตเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราช ไมตรี และการค้าขาย ได้ตกลงทำหนังสือสัญญากันเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ หนังสือสัญญาการค้าขายที่ทำกับอเมริกา ครั้งนั้น เป็นทำนองเดียวกับหนังสือสัญญาที่ไทยได้ทำกับอังกฤษ ครั้งเฮนรีเบอร์นี เป็นทูตเข้ามาในต้นรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๖๙ ข้อสำคัญนั้นคือ อังกฤษและอเมริกันยอมให้ไทยเก็บค่า ปากเรือ ซึ่งบรรทุกสินค้าเข้ามาขายตามขนาดเรือ คิดเป็นวาละ ๑,๗๐๐ บาท ถ้าเป็นเรือเปล่าบรรทุกแต่อับเฉาเข้ามาหาซื้อสินค้า

๕๑ เก็บวาละ ๑,๕๐๐ บาท ฝ่ายไทยยอมว่า ถ้าได้เก็บค่าปากเรือเช่นว่าแล้ว จะไม่เก็บภาษีอากรอย่างอื่นจากสินค้าอีก (๑) นามของนายเอดมันด์รอเบิต เรียกในหมายรับสั่งตอนแรกว่า เอมินราบัดแต่หมายรับสั่งฉบับหลัง ๆ เรียกว่า เอดแมนรอเบต ความจริงเป็นคนเดียวกันนั่นเอง หมายรับสั่งได้แสดงให้เห็นรายละเอียดในการต้อนรับทูตอเมริกัน ด้วยอัธยาศัยไมตรีอย่างดียิ่ง ดังต่อไปนี้ หมายรับสั่งว่าด้วยนายเอดมันด์รอเบิตทูตอเมริกัน เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ วันอาทิตย์เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำปีมะโรงจัตวาศก ด้วยเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าเมืองมริกันมีหนังสือให้เอมินราบัดขุนนางถือหนังสือเข้ามาว่าเป็นทางพระราชไมตรีค้าขาย เอมินราบัด ขี่กำปั่นเข้ามาใหญ่กินน้ำลึกเข้าปากน้ำไม่ได้ ให้เรือออกไปรับตัว เอมินราบัด ๑ ขุนนางรอง ๒ คนใช้ ๑๒ รวม ๑๕ คน กำหนดจะได้ขึ้นมากรุง ฯ ณวัน เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาเช้า กำหนดฝรั่งจะได้ขึ้นมาอยู่ตึกฝรั่งหน้าวัดประยูรวงศอาวาศนั้น ให้สี่ตำรวจเอาเตียงมุ้ง

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในคำนำหนังสือจดหมายเหตุเรื่อง ทูตอเมริกันเข้ามาในรัชกาลที่ ๓ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

๕๒ ไปตั้งให้เอมินราบัด ๑ ขุนนางรอง ๒ รวม ๓ เตียง ให้พระคลังวิเศษเอามุ้งแพรไปผูกให้เอมินราบัด ๑ ขุนนางรอง ๒ รวม ๓ หลัง ให้พระคลังในซ้ายเอาฟูกไปปูเตียง ๓ เอาผ้าขาวปูฟูก ๓ เอาหมอนหนุนศีร์ษะ ๓ หมอนข้าง ๖ ให้เอมินราบัด ๑ ขุนนางรอง ๒ ให้รักษาพระองค์เอาอ่างเขียวไปจ่ายให้ฝรั่ง ๓ ใบ ให้กลาโหมจ่ายตุ่มน้ำ ให้กรมเมือง ๔ ใบ ให้กรมเมืองรับเอาตุ่มน้ำต่อกรมพระกลาโหมไปให้ฝรั่ง ๔ ใบ ให้กรมนาเอาข้าวสารซ้อมไปจ่ายให้ฝรั่ง ๑๐ วันครั้งหนึ่ง ครั้งละ ๘ ถังกว่าจะกลับไป ให้พระคลังราชการเอาฟืนหุงข้าว น้ำมันพร้าว ไปจ่ายให้พอ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งเอาสิ่งของไป จัดแจงเตรียมตึกฝรั่งแต่ณวัน เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำเพลาเย็นให้พร้อมและขุนสารมหาดไทย กลาโหม จัตุสดมภ์ จัดแจงแต่งสิ่งของเวียนกันไปทักฝรั่งเมืองมริกัน มหาดไทย วัน เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำที่ ๑ กลาโหมวัน เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำที่ ๒ กรมวัง วัน เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำที่ ๓กรมนา วัน เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำที่ ๔ กรมเมือง วัน เดือน ๔ แรม ๖ ค่ำที่ ๕ กรมท่า วัน เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำที่ ๖ และให้ เจ้าพนักงานทั้งนี้ จัดสิ่งของเวียนกันไปทักแขกเมืองฝรั่ง ๓ วันครึ่งหนึ่งกว่าแขกเมืองจะกลับไป และสิ่งของซึ่งไปทักนั้นราคาเป็นเงิน ๑ ตำลึง จงทุกครั้ง แล้วให้ทำหางว่าวยื่นเสมียนตรากรมท่าจงทุกครั้ง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีมะโรงจัตวาศก ด้วยเจ้า พระยาพระคลัง ผู้ว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ

๕๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าเมืองมริกันมีหนังสือให้เอมิน ราบัดขุนนางถือหนังสือเข้ามาเป็นทางไมตรีค้าขาย ฝรั่งแขกเมือง พักอยู่ที่ตึกฝรั่งหน้าวัดประยูรวงศ์อาวาศ นายและไพร่ ๑๕ คนนั้น ให้กรมนาเอานมโคมาจ่ายให้ฝรั่งเมืองมริกัน วันละ ๒ ทะนานเสมอทุกวันกว่าฝรั่งจะไป ให้เอามาจ่ายให้ที่ตึกฝรั่ง ตั้งแต่วัน เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ให้พระคลังวิเศษเบิกเงินต่อพระคลังมหาสมบัติ ไปพระราชทานให้ฝรั่งเป็นเงิน ๑ ชั่ง ให้ฝรั่งซื้อกับข้างสิ่งของกินวันละ ๑ ตำลึง ๒ บาท ตั้งแต่พระราชทานให้ฝรั่งวันเดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำไปถึงวันเดือน ๔ แรม ๗ ค่ำ ๑๕ วันครั้งหนึ่ง เป็นเงิน ๑ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาทเข้ากัน ๒ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท ให้พระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินพระคลังวิเศษเป็นเงิน ๒ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง วันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำปีมะโรงจัตวาศก ด้วยเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าเมืองมริกันแต่งให้เอดแมนรอเบตขุนนางคุมเอาสิ่งของเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวายนั้น ให้เจ้าพนักงานแสงต้นมารับเอานาฬิกาพก ให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติมารับเอากระเช้าเงิน ให้เจ้าพนักงานพระคลังวิเศษมารับเอาแพร มารับเอาของถวายเจ้าเมือง มริกันต่อขุนราชเศรษฐี เสมียนตรากรมท่า ณจวนเจ้าพระยาพระคลังแต่ณวันอาทิตย์เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำเพลาเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง วันอาทิตย์เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำปีมะโรงจัตวาศก เจ้าพนักงานมารับเอาของเอดแมนรอเบตถวาย พระคลังมหาสมบัติ หลวงสุวรรณ

๕๔ ภักดี หมื่นอุดม มารับเอากระเช้าระเฟื่องคู่ ๑ กระเช้าเงินกลม เฟื่อง ๒ รวม ๓ คู่ พระคลังวิเศษ ขุนสำเร็จประแดง มารับเอาแพรหนังไก่ ๒๐ พับ แพรเลี่ยนสีตากุ้ง ๖๐ พับ รวม ๘๐ พับ แสงใน ขุนทิพมงคล ปลัดกรม หมื่นพิทักษ์อาวุธ รับนาฬิกาพกไว้คู่ ๑ วันพฤหัสบดีเดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำปีมะเสงเบญจศก ด้วยเจ้าพระยาพระคลัง รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งหมายไปแต่ก่อนว่า เจ้าเมืองมริกันแต่งให้เอดแมนรอเบต ขุนนางเข้ามาเป็นทางไมตรีค้าขาย ให้พระราชทานเงินให้ฝรั่งเงิน พระราชทาน ๑ ชั่ง ซื้อกินวันละ ๑ ตำลึง ๒ บาท ตั้งแต่เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำมาจนถึงวันเดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ๑๕ วันครั้งหนึ่ง ๑ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท รวม ๒ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท แจ้งอยู่ในหมายแต่ก่อนนั้นแล้ว บัดนี้ฝรั่งจะได้กลับออกไปณเมืองมริกันกำหนดจะได้ไปจาก กรุง ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ให้พระราชทานเงินกับฝรั่งอีก เงิน พระราชทานให้ฝรั่งซื้อกับข้าวสิ่งของกินวันละ ๑ ตำลึง ๒ บาท ตั้งแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๘ ค่ำมาจนถึงวันเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ๑๓ วันเป็นเงิน ๑ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๒ บาท นั้นให้พระคลังวิเศษเบิกเงินต่อพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงิน ให้ พระคลังวิเศษเป็นเงิน ๑ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๒ บาท แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ ให้พระคลังมหาสมบัติจ่ายเงิน ให้ พระคลังวิเศษเป็นเงิน ๑ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๒ บาท แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ด้วยณวันเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ๕๕ สั่งว่า อิศตาโดอุนิโดดาอเมริกะ เจ้าเมืองมริกันแต่งให้เอดแมนรอเบต ขุนนางคุมเอานาฬิกาพก ๑ กระเช้าเงิน ๓ คู่ แพร ๘๐ พับ เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย บัดนี้เอดแมนรอเบตจะได้กลับออกไปณเมืองมริกันโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสิ่งของตอบแทนให้ค่าของถวายเอดแมนรอเบตนั้น ให้พระคลังมหาสมบัติจัดงาช้าง ๕ ลำหาบหนัก ๒ หาบ พระคลัง ในขวา ดีบุกหนัก ๑๐ หาบ พระคลังราชการ รงค์หนัก ๒ หาบ เนื้อไม้หนัก ๒๕ หาบ พระคลังในซ้าย น้ำตาลกรวดหนัก ๕ หาบ น้ำตาลทรายหนัก ๒๐ หาบ กำยานหนัก ๒๕ หาบ พระคลังสินค้า พริกไทยหนัก ๑๑ หาบ เร่วหนัก ๒ หาบ ครั่งหนัก ๕ หาบ ฝางหนัก ๑๐ หาบ แล้วให้เจ้าพนักงานชาวพระคลังจัดแจงสิ่งของทั้งนี้บรรทุกเรือไปส่งให้เอดแมนรอเบต ที่ตึกฝรั่งหน้าวัดประยูรวงศ์อาวาศ แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำเพลาบ่าย ๑ โมง ให้พร้อมจงทุกพนักงาน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ด้วยเจ้าพระยาพระคลัง ผู้ว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระราชโอง การใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า หมายรับสั่งไป แต่ก่อนว่า เจ้าเมืองมริกันแต่งให้เอดแมนรอเบตขุนนางเข้ามาเป็น ทางไมตรีค้าขาย เอดแมนรอเบตจะได้จากกรุง ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เบิกเงินซื้อกับข้าวของกินเป็นเงิน ๑๙ ตำลึง ๒ บาท แจ้งอยู่ในหมายรับสั่งแต่ก่อนนั้นแล้ว เอดแมนรอเบตได้ไปจากกรุง ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ขอเบิกเงินให้ค่ากับข้าวของกินตั้งแต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำมาถึงณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ๑๐ วัน ๆ ละ ๑ ตำลึง ๒ บาท

๕๖ เป็นเงิน ๑๕ ตำลึงนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังวิเศษเบิกเงินต่อพระคลังมหาสมบัติ ๑๕ ตำลึง แล้วให้พระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินให้พระคลังวิเศษ ๑๕ ตำลึง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง จดหมายเหตุ ทูตอเมริกันเข้ามาเจริญทาง พระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕


วันอังคารเดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก ( จ.ศ.๑๑๙๔ ) เอดแมนรอเบตถือหนังสือเจ้าเมืองมริกันเข้ามาฉบับหนึ่ง ต้นหนังสือเป็นอักษรอังกฤษ สำเนาเป็นหนังสือจีน ( ความว่า ) หนังสืออัน เรยักซอน ผู้สำเร็จราชการเมืองมริกันที่หนึ่ง กราบถวายบังคมมา ใต้ฝ่าละออง ฯ สมเด็จพระเจ้ากรุงไทยที่สูงสุดอันมหาประเสริฐ ด้วยข้าพเจ้าแต่งให้เอดแมนรอเบต ขุนนางผู้ใหญ่อยู่ในเมืองมริกัน ถือหนังสือเข้ามาขอทำสัญญาทางค้าขาย และเอดแมนรอเบตคนนี้ จะว่ากล่าวสิ่งใดขอให้เหมือนข้าพเจ้าว่า ด้วยข้าพเจ้ามีใจซื่อตรงรักใคร่ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงไทยยิ่งนัก ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดให้สมเด็จพระเจ้ากรุงไทย ได้มีพระบารมียิ่ง ๆ ขึ้นไป ชาติมริกันจะได้ไปมาค้าขาย เป็นไมตรีสืบไปภายหน้า หนังสือฉบับนี้เขียนที่เมืองวาชิงตัน เป็น เมืองใหญ่ในชาติมริกัน เขียนณวันเดือนยี่แรม ๑๑ ค่ำ ศักราชฝรั่ง ๑๘๓๒ ปีเถาะตรีนิศก ( มีหนังสือสำคัญประจำตัวอีกฉบับหนึ่ง ความว่า ) เราอันเรยักซอน ผู้สำเร็จราชการเมืองมริกัน บอกมาให้ คนทั้งปวงรู้ ถ้าผู้ใดเห็นหนังสือฉบับนี้ให้รู้ว่า เรามีความไว้ใจแก่ ๕๗ เอดแมนรอเบต ว่าเป็นชาติมริกันมีสติปัญญารู้ความรอบคอบ ตั้งให้เข้ามาทำหนังสือสัญญาค้าขายต่อกรุงไทย กับขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวง ถ้าขุนนางผู้ใดถืออาญาสิทธิ์จะรับทำหนังสือสัญญาทางค้าขายได้ ก็ให้เอดแมนรอเบิตกลับออกมาถึงเมืองวาชิงตัน จึงจะบอกข้อสัญญา ให้ชาติมริกันรู้ทั้ง ๒๔ หัวเมืองให้รู้ทั่วกัน ความดังนี้ เราได้เขียน ขื่ออันเรยักซอน ผู้สำเร็จราชการเมืองวาชิงตัน ด้วยลายมือของเรา ปิดตราสำหรับที่เจ้าเมืองไว้เป็นสำคัญ หนังสือนี้ทำที่เมืองวาชิงตัน เขียนณวันเดือนยี่แรม ๑๑ ค่ำ ศักราชฝรั่ง ๑๘๓๒ ปีเถาะตรีศก วัน เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก ฝรั่งมาแต่เมือง มริกัน เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณพระ ที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ออกใหญ่ เป็นฝรั่งเอดแมนรอเบต ขุนนางที่ ๑ คาอิดกำมะกัน นายกำปั่นรบนายทหารที่หนึ่ง ๑ แปรเวนตะเนนเต นายทหารที่หนึ่ง ๑ บาเรนตะเนนเต นายทหารที่สาม ๑ ฝอเลบตะเนนเต นายทหารที่สาม ๑ ดารอนรองตะเนนเต นายทหารที่สี่ ๑ โตมักรอนตะเนนเต นายทหารที่สี่ ๑ เกร้าผัดรอนตะเนนเต นายทหารที่สี่ ๑ แวนสิรองตะเนนเต นายทหารที่สี่ ๑ มอริชอน เสมียน ๑ ติกนอมอ ๑ รวม ๑๑ คน วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก ( จ.ศ. ๑๑๙๕ ) ปิดตราหนังสือสัญญา ๒ ฉบับ ตราบัวแก้วปิดท้ายหนังสือที่กลาง ตรารูปนก เอดแมนรอเบตปิดท้ายหนังสือที่สุด ตราบัวผันปีดประจำต่อ ๘

๕๘ ฉบับหนึ่งเอดแมนรอเบตเอาออกไปณเมืองมริกัน ฉบับหนึ่งเสมียน ตรากรมนาเอาไปให้พระราชโกษาไว้ณห้องพระมาลาภูษา ณวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๑๓ ปีมะเสงเบญจศก เอดแมน รอเบต ๑ มอแลสดเนนเต ๑ มอริชอน เสมียน ๑ ดิกนอมอ ๑ แอนสิ ๑ ห้าคนไปดูแห่พระบรมศพพระราชวังบวร ฯ ดูอยู่ที่ศาลาเหนือพระที่นั่งสุธาสวรรค์ ณวันพฤศหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพลาบ่าย ฝรั่งได้ล่องไปกรุงเป็นกำปั่น ๒ ลำ เรืออาษาจามบรรทุกสิ่งของพระราชทานตอบแทน ลำหนึ่งไป ฝรั่งถึงกำปั่นนอกหลังเต่าน้ำลึก นายริดซัน ชาติอังกฤษ ถือหนังสือของบริษัทอิสต์ อินเดียเข้ามาขอทำสัญญาซื้อช้างไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑

เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๘๑ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๓ บริษัทอิสต์อินเดีย แต่งให้นายริดซัน ซึ่งเรียกชื่อในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน เข้ามาขอทำสัญญาซื้อช้าง เพื่อ จะให้กิจการดำเนินโดยสะดวก สมตามความประสงค์ของบริษัท จึง มีอักษรศาสน์ของผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ให้นายริดซัน ถือเข้ามาด้วย ทำนองเหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ที่บาดหลวงฝรั่งเศสจะเข้ามาตั้งสำนักสอนศาสนาคริศตัง ได้ทูลขอพระราชศาสน์พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ และมหาสมณศาสน์ของโป๊บเชิญเข้ามาเป็นสิ่งสำคัญ ข้างฝ่ายไทย พยายาม

๕๙ ทุกอย่างที่จะแสดงให้อังกฤษเห็นไมตรีจิตต์อันดียิ่ง จึงจัดการต้อนรับนายริดซัน ตามที่ปรากฏเรื่องราวอยู่ในพระราชพงศาวดารรัชกาล ที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรียบเรียง ท่วงทีคล้ายกับจัดรับ รองทูต เป็นการให้เกียรติยศอย่างสูง มีข้อความพิสดารดังกล่าว ไว้ต่อไปนี้ มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน อังกฤษถืออักษรศาสน์เจ้าเมืองบังกลาเข้ามาทางบก เจ้าเมืองเมาะตำเลิมให้เจ้าเมืองตกราน คุมมอญพะม่าเป็นพาหนะเข้ามาด้วย ๑๐๐ คน เดินมาทางเมืองกาญจนบุรี มาหา พระยาราชบุรี ๆ จะจัดเรือส่งมาให้ก็ไม่ยอม แล้วเดินมาเมืองนคร ชัยศรี พักอยู่ศาลากลาง จะข้ามแม่น้ำเมืองนครชัยศรีเข้ามากรุงเทพ มหานคร พระนครชัยศรีตอบว่าทางช้างเดินไปไม่ได้ ทางนั้นเป็นพลุเป็นหลุมเป็นร่องสวนทั้งนั้น มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนว่าพวกมอญว่าไปได้พระนครชัยศรีตอบอีกว่าเดินไปแต่คนเดินเท้า ถ้าจะเอาช้าง เข้าไปถึงกรุงก็ต้องเดินอ้อมไปถึงกรุงเก่าจึงจะไปได้ ถ้ามิสเตอร์ ฤทธิ์สชอนจะเข้าไปทางนี้ให้ได้ ช้างจะไปติดหล่มอย่างไร จะโทษแก่ข้าพเจ้าไม่ได้ ถ้าจะไปทางเรือข้าพเจ้าจะจัดส่งเข้าไปให้ถึง มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนก็ยอม ความเรื่องนี้พระนครชัยศรีตัดเสียไม่ให้เข้ามาทางบกได้นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดนัก มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน เข้ามาถึงกรุงเทพมหานครในเดือน ๓ ข้างแรม ให้อาศัยอยู่กับหันแตร ที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศ์ ปลูกแต่โรงให้พวกมอญพะม่าอยู่ มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน ได้ไปหาท่านเจ้าพระยาพระคลัง สำแดงหนังสือสำหรับตัว และอักษร

๖๐ ศาสน์เจ้าเมืองบังกลา ซึ่งมีมาทูลเกล้า ฯ ถวายว่า ที่เมืองมอญ เมืองพะม่าเกิดความไข้ โคกระบือล้มเสียเป็นอันมาก จนไม่มีโค กระบือทำนา เจ้าเมืองบังกลาขอให้ลูกค้าซื้อโคกระบือออกไปจะได้ ทำไร่นา ข้อ ๑ ว่า ราษฎรอยู่ในบังคับอังกฤษ ซื้อช้างมาโคกระบือ ในแขวงแขวงเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำพูน เจ้าของช้างม้าโคกระบือ รับเงินไว้แล้ว ก็ไม่ให้ช้างม้าโคกระบือ ท่านเจ้าพระยาพระคลัง ตอบว่า ที่แผ่นดินสยาม ช้างม้าโคกระบือเป็นกำลังราชการแผ่นดินและศึกสงครามมีมาได้อาศัย จะปล่อยให้ลูกค้าซื้อออกไปแล้ว บ้านเมืองก็จะร่วงโรยเสีย ถอยกำลังไป และที่เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำพูนนั้น เงินทองเกี่ยวข้องกันอย่างไร ก็จะให้ข้าหลวง ขึ้นไปชำระคืนให้แก่เจ้าของ มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนก็ยอม ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนได้เข้าเฝ้า ออกใหญ่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถวายเครื่องราชบรรณาการ คือ ถ้ำมองทำด้วยกระดาษ เขียนเป็นแผนที่เมืองลอนดอน หีบเพลงยาว ๑ ศอก กว้าง ๙ นิ้ว สูง ๗ นิ้วหีบหนึ่ง ขวดปักดอกไม้กระเบื้องลายเขียนทองคู่หนึ่ง ขวดรูปพะโองกะเบื้องลายเขียนทองคู่หนึ่ง ขวดกระเบื้อง ๔ เหลี่ยมมีจุกลายเขียนทองคู่หนึ่ง ขวดแก้วรูปมงกุฏเจ้าแผ่นดินอังกฤษขวดหนึ่ง ขวดแก้วเจียรไนมีจุกรูปสูงคู่หนึ่ง ขวดแก้วพิมพ์รูปค่อมคู่หนึ่ง ขวดแก้วเจียรไนพิมพ์เล็กคู่หนึ่ง ขวดแก้ว เจียรไนเป็นตะเกียงคู่หนึ่ง พรมวิลาศกว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว ยาว ๔ ศอก


๖๑ ๑๐ นิ้วม้วนหนึ่ง พรมวิลาศยาว ๓ วา กว้าง ๘ ศอกม้วนหนึ่ง แล้วเอาของไปถวายกรมหลวงรักษ์รณเรศร ไปกำนัลเจ้าพระยาบดินทร- เดชา เจ้าพระยาพระคลัง ของหลวงพระราชทานตอบแทน ช้างพลายสูง ๕ ศอกเศษข้างหนึ่ง เจ้าพระยาพระคลังตอบแทน ช้างพลาย สูง ๔ ศอกเศษข้างหนึ่ง แล้วมิสเตอร์ฤทธิ์สชอนก็ถวายบังคมลา กลับไปเดินตัดไปทางเมืองสุพรรณบุรี ไปออกด่านอุทัยธานี (๑) ไทยขอยกเลิกหนังสือสัญญาบางข้อต่ออังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ได้แต่งให้นายร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี เข้ามาขอทำสัญญาการค้าขายเป็นต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ ซึ่งไทยก็ยินดีอนุโลมตามความประสงค์ของอังกฤษ ได้ตกลงกันทำ เป็นหนังสือสัญญา ๑๔ ข้อ ดังเล่ามาแต่ก่อนแล้ว ฉะเพาะข้อ ๑๓ แห่งสัญญาฉบับนั้น มีความว่า ไทยสัญญาต่ออังกฤษว่า ไทยให้อยู่รักษาเมืองไทรและไพร่ พลเมืองเมืองไทร และคนเมืองเกาะหมากเมืองไทรจะได้ไปมาค้าขาย อย่างเดิม และโคกระบือเป็ดไก่ข้าวเปลือกข้าวสาร ซึ่งเป็นสะเบียงอาหารไพร่พลเมืองเมืองเกาะหมาก และกำปั่นในเมืองเกาะหมากต้องการซื้อแต่เมืองไทร ไทยไม่เรียกภาษี และปากน้ำคลองใด ๆ ที่เมืองไทร ไทยไม่ตั้งส่วยขาด ไทยเรียกเอาภาษีจังกอบตามสมควร

(๑) พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๓ หน้า ๑๘๗

๖๒ ไทยสัญญาว่า เจ้าพระยานคร ฯ กลับออกไปแต่กรุง ฯ จะปล่อยครอบครัวข้าทาษบ่าวคนสนิทของพระยาไทรคนเก่า ให้กลับคืนไปอยู่ตามชอบใจ อังกฤษสัญญาต่อไทยว่า ไม่ต้องการเมืองไทร อังกฤษ ไม่มารบกวนเอาเมืองไทร และไม่ให้พระยาไทรคนเก่ากับบ่าวไพร่ของพระยาไทรคนเก่า ไปรบกวนไปทำอันตรายสิ่งหนึ่งสิ่งใดณเมืองไทร และเมืองอื่น ๆ ซึ่งขึ้นกับเมืองไทย และอังกฤษสัญญาว่า จะจัดแจงให้พระยาไทรคนเก่าไปอยู่เมืองอื่น ไม่ให้พระยาไทรคนเก่าอยู่ที่ เกาะหมาก เมืองเปไหล เมืองเปหระ เมืองสลางอ เมืองพะม่า ถ้าอังกฤษไม่ให้พระยาไทรคนเก่าไปอยู่เมืองอื่นตามสัญญา ก็ให้ไทยเรียกเอาภาษีข้าวเปลือกข้าวสารเมืองไทรเหมือนแต่ก่อน อังกฤษสัญญาว่า ไทยแขกจีนซึ่งอยู่ณเมืองเกาะหมากจะมาอยู่ณเมืองไทรอังกฤษไม่ห้ามปราม "เมื่อทำหนังสือสัญญากับอังกฤษเสร็จแล้ว การที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องจัดให้เป็นไปตามหนังสือสัญญา การอย่างอื่นไม่ปรากฏว่า มีข้อขัดข้องอย่างใด มีอยู่เรื่องเดียวแต่ที่อังกฤษจะต้องเอาตัวเจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) ไปจากเกาะหมาก ด้วยตั้งแต่เจ้าพระยาไทรหนีไปอาศัยอยู่ที่เกาะหมาก ไม่ได้ไปอยู่เปล่า คิดพากเพียรยุยงอังกฤษ จะให้มาตีเมืองไทรคืนให้อยู่เสมอ ครั้นเห็นว่าอังกฤษไม่ตีเมืองไทร ก็แต่งคนไปยุยงราษฎรในเมืองไทรให้ก่อการกำเริบต่าง ๆ ฝ่ายข้างอังกฤษที่ปกครองเกาะหมากนั้น ตามเนื้อความที่ปรากฏในจดหมายเหตุของอังกฤษ ดูความเห็นต่างกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งอยากให้

๖๓ อังกฤษยกกองทัพมารบไทยที่เมืองไทร อีกพวกหนึ่งจะเป็นด้วยรู้ว่า รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียไม่มีความประสงค์ที่จะมารบไทย แต่แลเห็นประโยชน์อยู่ว่า การที่เจ้าพระยาไทรอยู่ที่เกาะหมาก และแกล้งก่อการวุ่นวายต่าง ๆ ในเมืองไทรนั้น เป็นเหตุให้ราษฎรเมืองไทรพากัน อพยพไปอาศัยอยู่ในแดนอังกฤษมาก เป็นการทำให้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินของอังกฤษ จึงเป็นแต่พูดจาว่ากล่าวห้ามปรามเจ้าพระยาไทรแต่หาได้กวดขันจริงจังอย่างไรไม่ เจ้าพระยานคร ฯ ได้พากเพียร ทำการทั้งที่จะเป็นไมตรีดีกับอังกฤษ ให้เหมือนกับเมื่อเจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) ปกครองบ้านเมืองอยู่ และเอาใจใส่ปกครองราษฎรใน เมืองไทรให้ได้รับความผาสุก ความข้อนี้มีปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุ ของนายพันโท โล ซึ่งเป็นคนอังกฤษแต่งไว้ว่า ที่จริงเมื่อไทยปกครองเมืองไทรบุรีนั้น ปกครองดีกว่าเมื่อครั้งเจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) เสียอีก แต่อังกฤษที่เกาะหมากก็ไม่ได้จัดการอย่างใดในเรื่องเจ้าพระยาไทร นอกจากตอบคำบอกกล่าวของเจ้าพระยานคร ฯ ว่าการที่รับเจ้าพระยาไทรไว้ที่เกาะหมากนั้น ทำตามขนบธรรมเนียมของประเทศใหญ่ทั้งหลายซึ่งย่อมให้ผู้หนีร้อนมาพึ่งเย็น ได้พึ่งพาอาศัยในแดนดินเป็นที่อยู่ กับอีกอย่างหนึ่งได้ให้ไปว่ากล่าวแก่เจ้าพระยาไทรว่า ถ้าเจ้าพระยาไทร ไปรบกวนไทยที่เมืองไทรบุรี จะหยุดเงินค่าเช่าไม่ยอมให้ตามสัญญาเช่าเกาะหมาก คำที่ว่านี้ก็ไม่เป็นประโยชน์อันใด เพราะเจ้าพระยาไทรไม่ได้มารบกวนโดยเปิดเผยด้วยตนเอง เป็นแต่ลอบหนุนหลังใช้ ให้ผู้อื่นมาก่อการกำเริบ ครั้นเมื่อรัฐบาลอังกฤษในอินเดียทำสัญญา

๖๔ กับไทย รับรองมั่นคงว่าจะเอาเจ้าพระยาไทรไปไว้ที่อื่น ถึงเวลาที่จะเอาตัวเจ้าพระยาไทรไป เจ้าพระยาไทรไม่ยอมไปจากเกาะหมากอังกฤษจะบังคับ เจ้าพระยาไทรก็แต่งทนายความให้ฟ้องในศาล ว่าเจ้าเมืองเกาะหมากจะทำให้เสื่อมเสียอิสสรภาพผิดกฏหมาย ต้องเป็นความกันอยู่ยกหนึ่ง ครั้นเจ้าพระยาไทรได้ระหัสระเหียนว่า ศาล จะตัดสินตามหนังสือสัญญาก็อพยพหลบหนีไปอยู่ที่ตำบลบรวส ในแขวง เมืองแประ อังกฤษต้องส่งเรือรบไปจับ ถึงเกิดต่อสู้กัน ทหารอังกฤษยิงพวกเจ้าพระยาไทรตายหลายคน ข้างอังกฤษก็ตายบ้าง จึงจับเจ้าพระยาไทรได้ ให้เอาตัวไปคุมไว้ที่เมืองมะละกาแต่นั้นมา ต่อมาถึงปีฉลูตีศก จุลศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔ เจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) แต่งให้ตนกูดาอี ผู้บุตร กับตนกูอาเก็บ ถือหนังสือเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ขอให้เสนาบดีนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอรับพระราชทานโทษที่ได้กระทำความผิดล่วงพระราชอาญามาแต่หลัง จะขอเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท รับราชการสนองพระเดช พระคุณต่อไป เวลานั้นประจวบตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองกะบังปาสูว่าง ด้วยตนกูอาสันถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ย้ายตนกูอาหนุ่ม มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองกะบังปาสู และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ยกโทษพระราชทานเจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) ให้กลับว่าราชการฉะเพาะเมืองไทรที่แบ่งใหม่ (๑)

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในคำ ชี้แจงว่าด้วยเรื่อง มูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ๖๕ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาไทร ( ปะแงรัน ) เข้ามารับราชการเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี ตามกำหนดที่แบ่งใหม่ดังกล่าวมาแล้ว เจ้าพระยาไทรตั้งใจปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณโดยความสงบราบคาบ สมควรเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ จึงโปรด ให้เจ้าพระยาพระคลังมีหนังสือทาบทามไปยังผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ว่าบัดนี้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเจ้าพระยาไทรเก่าเช่นเดิมแล้ว ขอให้ยกเลิกหนังสือสัญญาที่ได้กำหนดไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ฉะเพาะข้อ ๑๓ อันเกี่ยวด้วยเรื่องเมืองไทรบุรีนั้นเสีย ฝ่ายสำเร็จ ราชการอินเดียของอังกฤษก็อนุโลมตาม มีข้อความตอนนี้เล่า ไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๓ ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรียบเรียงว่า ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำนั้น มิสเตอร์บอนำเจ้าเมืองสิงคโปร์ ฝากหนังสือแขกมาถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับหนึ่ง ใจความว่า ได้รับหนังสือของท่านฉบับหนึ่ง ลงวันพฤหัสบดีเดือนยี่แรม ๑๑ ค่ำปีฉลูตรีศก ( พ.ศ. ๒๓๘๔ ) ความในหนังสือนั้นว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าเมืองไทรคนเก่ากลับคืนมารักษาเมืองไทร ตามเดิม แล้วท่านขอยกหนังสือสัญญาข้อ ๑๓ ว่าด้วยการเมืองไทรเสียข้อ ๑ ข้าพเจ้าได้ฝากหนังสือไปถึงเจ้าเมืองบังกลาแล้ว เจ้าเมืองบังกลา สั่งให้ข้าพเจ้าทำหนังสือมาถึงท่านว่า ที่จะยกหนังสือสัญญาข้อ ๑๓ นั้นก็ให้ยกเสีย แต่ให้มีความแทนข้อ ๑๓ ลงใหม่ว่า อังกฤษสัญญากับไทยว่า อังกฤษไม่อยากได้เมืองไทร และจะไม่ยกไปตี ๙ ๖๖ เมืองไทรแล้วสัญญาว่า จะไม่ให้พวกเจ้าเมืองไทรเก่า ซึ่งเป็นคนร้ายทำวุ่นวายในเมืองไทรและเมืองอื่น ๆ ที่ขึ้นแก่เมืองไทยต่อไปได้ จะไม่ให้อาศัยอยู่ที่เมืองเกาะหมาก เมืองเประ เมืองสลางอ และเมืองพะม่า ซึ่งเป็นของอังกฤษแห่งใด ๆ คิดจะจัดให้ไปเสียเมืองอื่นที่ไกล ๆ ถ้าอังกฤษไม่ให้ไปอยู่เมืองอื่นเหมือนอย่างสัญญานี้ ให้ไทยเรียกภาษีข้าวเปลือกข้าวสารตามเดิม ข้าพเจ้าได้บอกไปถึงเจ้าเมืองบังกลา ๆ ก็เห็นชอบด้วยแล้ว ซึ่งโปรดให้เจ้าเมืองไทรเก่ากลับไปอยู่เมืองไทร นั้น ข้าพเจ้ามีความยินดีนัก หนังสือลงเดือนออกโตเบอร์ คฤสตศักราช ๑๘๔๓ ตรงกับเดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำปีขาล จัตวาศก ( พ.ศ. ๒๓๘๕ ) (๑) แต่ข้อความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ดังนำมาเล่าไว้นี้ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสงสัยว่า บางทีความจริงจะแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง จึงทรงทักท้วงไว้ว่า ความปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกโทษ พระราชทานเจ้าพระยาไทร (ปะแงรัน) แล้ว โปรดให้เจ้าพระยาพระคลังมีหนังสือออกไปถึงเจ้าเมืองสิงคโปร์ ขอยกเลิกสัญญาข้อ ๑๓ ในตอนที่ว่า อังกฤษรับสัญญาจะป้องกันไม่ให้พวกเจ้าพระยาไทรเข้ามาทำร้ายไทรบุรี และอังกฤษรับจะเอาตัวเจ้าพระยาไทรไปไว้ที่อื่น หนังสือสือสัญญาตอนนี้ได้เลิกจริง แต่ข้าพเจ้าสงสัยว่า จะเป็นด้วย

(๑) พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๓ หน้า ๒๖๕ ๖๗ อังกฤษขอเลิก มิใช่ไทยขอดังกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (๑) อเมริกันขอแก้หนังสือสัญญา เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๕ ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา แต่งให้ เอดมันด์รอเบิตเป็นทูตเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขาย ได้ตกลงทำหนังสือสัญญากันเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ หัวใจสำคัญในข้อสัญญาคราวนั้น ก็คืออเมริกันยอม ให้ไทยเก็บค่าปากเรือ ซึ่งบรรทุกสินค้าเข้ามาขายตามขนาดเรือ คิดเป็นวาละ ๑,๗๐๐ บาท ถ้าเป็นเรือเปล่า บรรทุกแต่อับเฉาเข้ามาหาซื้อสินค้า เก็บวาละ ๑,๕๐๐ บาท ข้างไทยยอมว่า ถ้าได้เก็บค่าปากเรือเช่นว่าแล้ว จะไม่เก็บภาษีอากรอย่างอื่นจากสินค้าอีก " ก็และในสมัยนั้น ทั้งในหลวงและเจ้านายขุนนางผู้ใหญ่ ผู้น้อย ยังประกอบการค้าขาย ตามประเพณีซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงเก่า แต่งเรือของตนเองไปซึ้อขายสินค้าถึงนานาประเทศบ้าง เช่าระวางเรือของผู้อื่นฝากสินค้าไปมาบ้าง ส่วนการค้าขายของหลวง ยังมีพระคลังสินค้าสำหรับซื้อขายสินค้าบางอย่าง ซึ่งห้ามมิให้ผู้อื่นซื้อขายเป็นประเพณีมา พวกอังกฤษและอเมริกันเมื่อมีหนังสือสัญญาแล้ว กล่าว หาว่ารัฐบาลแย่งค้าขาย และตั้งพระคลังสินค้าเก็บภาษีโดยทางอ้อม ไม่ทำตามสัญญา ฝ่ายข้างไทยว่าไม่ได้ทำผิดสัญญา เพราะพวก

(๑) จดหมายหลวงอุดมสมบัติ ตอนประชุมความท้ายเรื่องหน้า ๔๓๖

๖๘ พ่อค้าแขกและจีนต้องเสียภาษีอากรอยู่อย่างเดิม พวกฝรั่งจะขอเปลี่ยนเสียค่าปากเรือแทนภาษีก็ได้ ยอมตามใจสมัคร การที่ทำสัญญานั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกการค้าขายของหลวง หรือไม่อนุญาตให้ เจ้านายข้าราชการค้าขาย เป็นข้อทุ่มเถียงกันดังนี้ ครั้นถึงปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ รัฐบาลอเมริกัน แต่งให้มิสเตอร์ โยเสฟบัลเลศเตีย เป็นทูตเข้ามาขอแก้สัญญาที่ได้ทำไว้ ทูตอเมริกัน มาด้วยเรือรบ มาถึงในเดือน ๕ ต้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ เวลานั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลังที่สมุหพระกลาโหม ลงไปสักเลขอยู่ที่เมืองชุมพร พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาพิชัยญาติเมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์ เป็นผู้รับทูตแทนเจ้าพระยาพระคลัง ได้จัดการรับทูตอเมริกันตามแบบอย่างราชทูตที่มาแต่ก่อน แต่โยเสฟ บัลเลศเตีย ไม่สันทัดวิธีการทูต ความประพฤติและพูดจาก้าวร้าว ผิดกับทูตที่เคยมาแต่ก่อน พอพูดจากับไทยเพียงข้อที่จะขอเข้าเฝ้า ก็เกิดเป็นปากเสียงเกี่ยงแย่งกัน บัลเลศเตียเกิดโทษะ ก็กลับไปใน เดือน ๖ ปีจอ หาสำเร็จประโยชน์ที่เข้ามาคราวนั้นไม่ รายการ ที่จัดรับบัลเลศเตียและที่ได้พูดจาว่ากล่าวกันประการใด แจ้งอยู่ใน จดหมายเหตุ (๑) ซึ่งพิมพ์ไว้ในต่อไปนี้

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในคำนำหนังสือจดหมายเหตุเรื่อง ทูตอเมริกันเข้ามาในรัชกาลที่ ๓

๖๙ จดหมายเหตุเรื่องบัลเลศเตียทูตอเมริกัน เข้ามาในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ณวันขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก กำปั่นไฟทำด้วยเหล็ก กะปิตันออเล็ตถือหนังสือเจ้าเมืองสิงหโปรา กับหนังสือเซอร์เชมสบรุก เข้ามาส่งที่เมืองสมุทรปราการ แล้วกำปั่นไฟกะปิตัน-ออเล็ตกลับไปณวันขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๕ เพลาใกล้รุ่ง รุ่งขึ้นณวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๕ คอยนอกเข้ามาแจ้งว่า เห็นกำปั่นรบใหญ่ ๓ เสาเข้ามาทอดอยู่นอกสันดอนน้ำลึกลำ ๑ แต่สังเกตดูเห็นว่าจะเป็นกำปั่นรบชาติอเมริกัน เพลานั้นสมเด็จพระยาบวรมหาอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศร์รังสรรค์ พระนายไวยวรนาถ ยังอยู่ที่เมืองสมุทรปราการ จึงมีรับสั่ง จัดให้ขุนปรีชาชาญสมุทรพูดภาษาอังกฤษได้ กับคนชาวการ ๖ คน ขี่เรือศีร์ษะญวนยาว๔วาออกไปที่กำปั่น ขุนปรีชาชาญสมุทรกลับเข้ามาแจ้งว่า ไปถึงกำปั่นรบ กำมะโดอรหิต แจ้งว่ากำปั่นชื่อว่าแประโมต ยาว ๒๖ วา ปากกว้าง ๖ วาคืบ กินน้ำลึก ๑๑ ศอก คนในลำกำปั่นชาติอเมริกัน กำมะโดอรหิต ๑ บาเลศเตีย ทูต ๑ ดิศมิต กะปิตัน ๑ นายทหาร ๑๗ ต้นหนลูกเรือ ๑๙๖ รวม ๒๑๖ คน จีนคนใช้ ๔ คน รวม ๒๒๐ คน มีปืนสำหรับลำ ปืนโบมยาว ๔ ศอกเศษ กระสุน ๘ นิ้ว ๑๘ กระบอก ปืนโบมยาว ๔ ศอกเศษ กระสุน ๑๐ นิ้ว ๔ กระบอก รวม ๒๒ กระบอก มาแต่เมืองอเมริกัน ไปเมืองจีนแล้วกลับมาเมืองสิงหโปรา แต่มาอยู่ที่เมืองจีนกับเมืองสิงหโปราประมาณ ๔ ปีเศษ มี


๗๐ หนังสือเปรสิเดนต์เจ้าเมืองอเมริกันมา(๑) ให้บาเลศเตียเป็นทูตไปทำหนังสือสัญญาการค้าขายกับเมืองญวน ไปเข้าอยู่ที่อ่าวตุรน ๑๐ วัน หาพบปะขุนนางญวนไม่ ฝากแต่หนังสือไว้ แล้วใช้ใบมาจากอ่าวตุรน ๘ วันถึงที่นอกสันดอนน้ำลึก ๕วา ขุนนางในกำปั่นฝากหนังสือเข้ามาถึงพระนายไวยวรนาถฉบับหนึ่ง แปลได้ความในหนังสือว่า หนังสือ กำมะโดอรหิตขุนนางนายทหารกำปั่นรบอเมริกัน บอกมายังพระนายไวย วรนาถให้แจ้งว่า เปรสิเดนต์เจ้าเมืองอเมริกันแต่งให้บาเลศเตียเป็นทูตเข้ามาณกรุงศรีอยุธยา ขอให้พระนายไวยวรนาถจัดเรือที่สมควรไปรับทูตเข้ามา ถ้าพระนายไวยวรนาถพบกับทูตที่เข้ามาแล้วก็ให้รับโดยดี ด้วยคนนั้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่มิใช่เป็นคนน้อย และเขาจะใคร่ทราบว่าความไข้ที่กรุง ฯ กับเมืองสมุทรปราการเป็นอย่างไรบ้าง ขอให้เขียนหนังสือออกไปให้ทราบความก่อน มีความมาในหนังสือแต่เท่านี้ พระนายไวยวรนาถ พระยาสุรเสนา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี พระยาราช วังสรรค์ พระยาวิเศษศักดา แจ้งความแล้วบอกขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัดเรือรบไล่สลัดมีเสาใบเก๋งทั้งปักธงทวน พลแจวใส่เสื้อแดงหมวกแดงส่งลงไปให้ แล้วสั่งให้ปลูกเรือนรับทูต เรือนใหญ่ ๕ ห้องเฉลียงรอบหลังหนึ่ง โรงครัว ๓ ห้องหลังหนึ่งโรงพักคนใชั ๓ ห้องหลังหนึ่ง ที่หน้าวัดประยุรวงศ์อาวาส ให้เจ้าพนักงานจัดสิ่งของไปเตรียมไว้ณโรงพักฝรั่งให้พร้อม สำหรับทูตจะได้อยู่ แจ้งอยู่ ในหมายรับสั่งนั้นแล้ว

(๑) คือประธานาธิบดีชื่อเตเลอ ๗๑ ครั้นณวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๕ เพลาเช้า พระนายไวยวรนาถ พระยาสุรเสนา พระยาโชฏึกราชเศรษฐี พระยาราชวังสรรค์ พระยาวิเศษศักดา ซึ่งลงไปรักษาเมืองสมุทรปราการบอกขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ ว่าทูตนั้นจะให้ส่งขึ้นมาเมื่อไร พระยาพิพัฒน์โกษาตอบลงไปว่า เพลานี้ยังติดการพระศพพระเจ้าลูกยาเธออยู่ (๑) ให้งดไว้ถึงณวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๕ สิ้นการพระศพแล้วจึงให้ส่งทูตขึ้นไป แต่พระนายไวยวรนาถให้ขึ้นไปคิดราชการณกรุงเทพ ฯ แล้วจึงให้กลับลงมา ครั้นถึงณวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ เพลากลางคืน พระนายไวยวรนาถ พระยาสุรเสนา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี พระยาราชวังสรรค์ พระยาวิเศษศักดา จึงจัดให้หลวงยกระบัตร หลวงอาจณรงค์ หลวงวุฒสรเดช เจ้ากรมทหารปืน หลวงฤทธิสรเดช ฝรั่งแม่นปืน ล่ามฝรั่ง ๒ คน ขี่เรือรบไล่สลัดที่ส่งลงไปลำ ๑ กับเรือแง่ทรายยาว ๑๑ วา ๑๒ วา ๒ ลำ คนแจวลำละ ๔๐ คน ๕๐ คน ใส่เสื้อแดงหมวกแดงมีธงทวนปัก ออกไปรับทูตที่กำปั่นโยเสพบาเลศเตียทูต ๑ มิดฉนารียหมอดีน ๑ คนใช้ ๑ ลงจากกำปั่นมาลงเรือที่ไปรับ เรือออกจากกำปั่น กำมะโดอรหิตให้ ยิงปืนส่งทุต ๒๑ นัด ณวันแรม ๖ ค่ำเดือน ๕ เพลาเช้า ๓ โมงเรือซึ่งไปรับทูตเข้ามาถึงเมืองสมุทรปราการ ให้ยิงปืนป้อมผีเสื้อสมุทรรับ

(๑) พระเจ้าลูกยาเธอสิ้นพระชนม์เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ รวม ๔ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงเกศณี ๑ พระองค์เจ้าหญิงพวงแก้ว ๑ พระองค์เจ้าชายเฉลิมวงศ์ ๑ พระองค์เจ้าชายจินดา ๑

๗๒ ทูต ๒๑ นัด พระยาวิเศษสงครามทำกับข้าวของกินอย่างฝรั่งเลี้ยงดูทูตที่ศาลากลางเมืองสมุทรปราการ แล้วส่งทูตเข้ามาถึงเมืองนครเขื่อนขันธ์ เพลาบ่าย เจ้าเมืองกรมการได้รับเลี้ยงดูทูต เอาของมาทักทูต พักที่ศาลากลางเมืองนครเขื่อนขันธ์ แล้วส่งทูตขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ ขึ้นอยู่ที่เรือนปลูกด้วยไม้หน้าวัดประยุรวงศ์อาวาส ณวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ เพลาเช้า จัดให้พระยาวิเศษสงครามจางวางทหารแม่นปืน ๑ หลวงวุฒสรเดช เจ้ากรมทหารแม่นปืน ๑ หลวงฤทธิสำแดง เจ้ากรมทหารแม่นปืน ๑ แต่งตัวโอ่โถงลงไปด้วย รับทูตขึ้นเรือนพัก แล้วสั่งให้พระยาวิเศษสงครามฝรั่ง เบิกเอาเงินที่ เจ้าภาษีกรมท่าพระคลังสินค้า จัดพวกครัวฝรั่งมาอยู่สำหรับทำกับข้าวของกินอย่างฝรั่ง เลี้ยงทูตจนกว่าจะกลับไป ครั้นณวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๕ บาเลศเตีย ทำหนังสือให้ล่ามมาส่งให้พระนายไวยวรนาถฉบับหนึ่งในหนังสือว่า หนังสือมิศบาเลศเตียฝากมาถึงคุณพระนายไวยวรนาถ จะใคร่ให้ท่านทราบความว่า เจ้าแผ่นดินเมืองอเมริกันสั่งข้าพเจ้าให้ถือหนังสือของเจ้าแผ่นดินนั้น มาถวาย แก่ท่านผู้เป็นกษัตริย์ในเมืองไทย ข้าพเจ้าขอให้ได้ช่องได้โอกาศ จะได้หารือปรึกษากันกับขุนนางผู้ใหญ่อันตั้งเป็นธุระที่ว่ากล่าว จะได้เอาหนังสือเข้าถวายตามรับสั่ง อันจะได้ช่องนั้นยิ่งเร็วยิ่งดี หนังสือมา ณวันศุกร์แรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอโทศก พระนายไวยวรนาถทำหนังสือตอบไปให้บาเลศเตียฉบับหนึ่งว่า หนังสือพระนายไวยวรนาถหัวหมื่นมหาดเล็ก มายังมิศโยเสฟบาเลศเตีย ด้วยมีหนังสือ

๗๓ มาถึงเรานั้นได้แจ้งแล้ว ได้นำเอาความขึ้นกราบเรียนแต่ท่านเสนาบดี ผู้ใหญ่ เสนาบดีผู้ใหญ่ว่า ครั้งก่อนอิศตาโดอุนิโดดาอเมริกาเจ้าเมืองอเมริกันให้เอดแมนรอเบตขุนนาง เป็นทูตเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาเป็นทางไมตรี จะให้ลูกค้าชาติอเมริกันเข้ามาค้าขายณกรุง ฯ ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่มีความยินดี จึงพร้อมกันทำหนังสือสัญญากับเอดแมน-รอเบตเป็นไมตรีทางค้าขาย เอดแมนรอเบตได้เอาหนังสือสัญญาออกไปปิดตราเจ้าเมืองอเมริกันมาในหนังสือสัญญาแล้ว ว่าขุนนางผู้ใหญ่ ผู้น้อยณเมืองอเมริกันก็เห็นดีพร้อมกัน ได้ปิดตราสำหรับเมืองมาที่ต้นหนังสือสัญญาอีกดวงหนึ่ง ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ณกรุง ฯ และขุนนาง ผู้ใหญ่ณเมืองอเมริกัน ก็เห็นดีพร้อมกันทั้งสองฝ่าย แล้วทางไมตรี กรุง ฯ กับเมืองอเมริกันก็สนิทกันจนทุกวันนี้ ซึ่งบาเลศเตียเข้ามา ครั้งนี้จะเฝ้าทูลละอองฯ ในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวนั้น ยังไม่ควรก่อนจะว่าด้วยการซื้อขายประการใด ก็ให้พูดจากันกับทางเสนาบดีผู้ใหญ่โดยฉันทางไมตรีเถิด หนังสือมาณวันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ โทศก แล้วท่านเสนาบดีจึงให้ล่ามมาบอกกับทูตว่า เป็นอย่าง ธรรมเนียมมาแต่ก่อน ทูตมาถึงที่พักแล้ว ให้จัดเรือมารับหนังสือ ไปแปล รู้ความแล้วจึงได้นำทูตเข้าเฝ้า ณวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๕ เพลาเที่ยงจะให้เรือลงมารับหนังสือ บาเลศเตียก็ยอม ท่านเสนาบดี จึงสั่งให้เจ้าพนักงานจัดแจงเรือไว้จะมารับหนังสือพร้อมแล้ว ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าบาเลศเตียให้มิชชันนารีหมอมะตุนมาบอกว่ามีหนังสือมา ๒ ฉบับๆหนึ่งเป็นหนังสือเปรสิเดนต์เจ้าแผ่นดินอเมริกันมา ๑๐ ๗๔ ถวายในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุง ฯ เมื่อทูตเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ แล้ว จึงจะเอาหนังสือถวายในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว อีกฉบับหนึ่งเป็นหนังสือเปรสิเดนต์ มีมาสำหรับตัวทูต ไม่ได้มีมาถึงผู้ใด จะ ให้ไปรับนั้นไม่ได้ การซึ่งจัดเรือไว้จะให้ไปรับหนังสือก็หาได้ไปรับไม่ด้วยครั้งนั้นเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม (๑) หาอยู่ไม่ ออกไปราชการสักเลขหัวเมืองฝ่ายตะวันตก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยา ศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (๒) จางวางพระคลังสินค้ารับทูตแทน ครั้นณวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๕ ปีจอโทศก เพลาบ่าย ๓ โมงเศษ ท่านพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ๑ พระยาราชสุภาวดี ๑ พระยาสุรเสนา ๑ พระพิพัฒน์โกษา ๑ พระยาจุฬาราชมนตรี ๑ พระยา เพ็ชรชฎา ๑ พระยาสวัสดิ์วารี ๑ พระมหามนตรี ๑ พระสุริยภักดี ๑ พระนายไวยวรนาถ ๑ พระนรินทรเสนี ๑ จมื่นราชามาตย์ ๑ รวม ๑๒ คน ข้าราชการณกรุง ฯ และหัวเมือง พร้อมกันที่บ้านพระยา ศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นอันมาก ให้เอาเรือเก๋งทั้งบรรจุพลพาย ให้ครบกระทง ไปรับโยเสฟบาเลศเตียที่เรือนพัก ครั้นเรือทูตมาถึงบ้านท่านพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ๆ ให้พระยาวิเศษสงครามจางวางทหารปืนใหญ่ หลวงวุฒสรเดช หลวงฤทธิ์สำแดง เจ้ากรม แต่งตัว โอ่โถง กับเจ้ากรมปลัดกรมนายทหาร ๘ คน ลงไปรับทูตที่สะพานตามธรรมเนียมฝรั่ง ขุนนางไทยนั้นพร้อมกันที่รับแขกรับตามธรรมเนียม

(๑) คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ฯ ในรัชกาลที่ ๔. (๒) คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ฯ ในรัชกาลที่ ๔. ๗๕ โยเสฟบาเลศเตียทูตขึ้นจากเรือ เอามิชชันนารีหมอสมิทบุตรเลี้ยงมิช ชันนารีหมอยอนซึ่งอยู่ที่กรุง ฯ แต่ก่อน ถือหีบราชศาสน์เจ้าแผ่นดินเมืองอเมริกันมามือหนึ่ง ถือร่มของโยเสฟบาเลศเตียหนีบรักแร้มาคันหนึ่ง เดินตามหลังขึ้นไปบนหอนั่ง แต่มิชชันนารีหมอดีน มิชชันนารี หมอยอน มิชชันนารีหมอมะตุน มาคอยอยู่ก่อนแล้ว ครั้นโยเสฟ บาเลศเตียมาถึงที่ประชุมแล้ว ก็นั่งบนเก้าอี้อย่างดี มิชชันนารีหมอดีน นั่งถัดลงมากับมิชชันนารีหมอยอน มิชชันนารีหมอมะตุน ซึ่งอยู่ณ กรุง ฯ ก็นั่งเป็นลำดับถัด ๆ กันลงมา ท่านเสนาบดีปราสัยกับโยเสฟบาเลศเตียทูตว่า บาเลศเตียมาทางทะเลสบายอยู่หรือ มาแต่เมืองอเมริกันเมื่อไร บาเลศเตียตอบว่ามาแต่เมืองอเมริกันเมื่อณเดือน ๑๐ ปีระกาเอกศก มาตามทางสบายอยู่ จึงถามว่ามาแต่เมืองอเมริกัน มากำปั่นลำนี้หรือมากำปั่นลำใด บาเลศเตียบอกว่ามาแต่เมืองอเมริกันมากำปั่นไฟลำหนึ่ง มาลงกำปั่นลำนี้ที่เมืองกวางตุ้ง จึงถามว่ามา อยู่ที่เมืองกวางตุ้งนานอยู่หรือ บาเลศเตียตอบว่ามาอยู่เมืองกวางตุ้ง ๓ เดือน จึงถามว่ามาแต่เมืองกวางตุ้งเมื่อเดือนไร มาและที่ไหนบ้าง หรือเข้ามากรุง ฯ ทีเดียว บาเลศเตียตอบว่า ถามอยู่อย่างนี้ป่วยการเพลา บาเลศเตียจึงชักหนังสือเขียนอักษรไทยใช้กระดาษฝรั่งเหน็บมาในกลีบเสื้อส่งให้ว่า ให้ดูความในหนังสือนั้นเถิด ความในหนังสือนั้นว่า ท่านโยเสฟบาเลศเตียราชทูตอเมริกันมาถึงท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ให้ทราบ ด้วยว่าข้าพเจ้าได้รับคำสั่งเจ้า แผ่นดินอเมริกัน แล้วถือราชศาสน์เข้ามาถวาย และข้าพเจ้าปรารถนา

๗๖ จะหาช่องโอกาศที่จะเอาราชศาสน์นี้เข้าถวาย ตามคำสั่งเจ้าอเมริกันและเมื่อถวายราชศาสน์ของเจ้าอเมริกันแล้ว จะใคร่เอาหนังสือข้าพเจ้าแต่งไว้ฉบับหนึ่งถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวคราวเมื่อยังเฝ้าอยู่นั้น หนังสือแปลพอเป็นใจความเป็นภาษาไทยแล้ว เพื่อท่านจะได้ทราบ หนังสือทำณวันอังคารแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๕ ปีจอโทศก ( พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ) จึงว่า อย่างธรรมเนียมกรุง ฯ ที่จะเอาหนังสือเข้าไปถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดังว่านั้นไม่ควร จะพูดจาการสิ่งใดให้พูดกับเสนาบดีให้รู้ความก่อน เสนาบดีทั้งปวงก็รักใคร่กับชาติอเมริกันเป็นอันมาก ความจะพูดจากันประการใดก็จะได้พูดจากันไปตามการ ให้สมควรกับที่ไมตรีอันสนิทกัน บาเลศเตียตอบว่า จะเอาหนังสือให้กับเสนาบดีนั้นไม่ได้ จะขอเฝ้าเอาหนังสือฉบับนี้ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก่อน ให้ถูกกับในหนังสือเจ้าแผ่นดินเมืองอเมริกัน ซึ่งมีเข้ามาถวานสทเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จะโปรด ฯ ให้ขุนนางคนใดพูดการอันนี้ จึงจะได้พูดความต่อไป ( พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ) จึงว่า กรุง ฯ กับเมืองอเมริกันแต่ก่อนมาก็ยังหาเคยรู้จักอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองกันไม่ทั้งสองฝ่าย เมื่อปีมะโรงจัตวาศกศักราชฝรั่ง ๑๘๓๓ ปี ( พ.ศ. ๒๓๗๖ ) เอดแมนรอเบตถือหนังสืออันเรยักสอน เจ้าเมืองอเมริกันเข้ามาขอทำ หนังสือสัญญาทางค้าขาย หนังสือซึ่งเจ้าเมืองอเมริกันมีเข้ามาปีดตราประจำผนึกเป็นสำคัญเข้ามา ท่านเสนาบดีได้จัดเรือกันยารับหนังสือมาแปลได้ความแล้วจึงพาเอดแมนรอเบตเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ สมเด็จ

๗๗ พระพุทธเจ้าอยู่หัวแล้วท่านเสนาบดีจึงทำหนังสือสัญญาทางค้าขายกับชาติอเมริกัน เอดแมนรอเบตพาเอาหนังสือสัญญาออกไปปิดตราเจ้าเมืองอเมริกัน ครั้นปีวอกอัฐศกศักราชฝรั่ง ๑๘๓๗ ปี ( พ.ศ. ๒๓๘๐ ) เอดแมนรอเบตกับขุนนางหลายคนเอาหนังสือสัญญาเข้ามาส่ง แล้วว่าขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยในเมืองอเมริกัน มีความยินดีพร้อมกัน จึงได้ปิดตราเจ้าเมืองอเมริกันลงในหนังสือดวงหนึ่ง ปิดตราสำหรับเมืองผูกมาในหนังสือสัญญาอีกดวงหนึ่ง ท่านเสนาบดีก็ได้จัดแจงเรือสีเขียนทองไปรับหนังสือสัญญากรุง ฯ กับชาติอเมริกัน จึงได้เป็นไมตรีสนิทกันมาที่กรุง ฯ จึงได้ถือเอาหนังสือสัญญากันอย่างเอดแมนรอเบตเข้ามา ๒ ครั้งเป็นธรรมเนียมมาจนทุกวันนี้ บาเลศเตียเข้ามาครั้งนี้ว่าถือหนังสือเจ้าเมืองอเมริกันเข้ามา เราก็ได้จัดแจงเรือจะให้ไปรับหนังสือ ให้เป็นยศเป็นเกียรติในเจ้าเมืองอเมริกันเหมือนครั้งเอดแมนรอเบตเข้ามาด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวรักใคร่ในเจ้าเมืองอเมริกันมาก จะให้ไมตรียืนยาวสืบไป บาเลศเตียว่ามีหนังสือเข้ามาว่า ๒ ฉบับๆ หนึ่งว่าเป็นหนังสือสำหรับตัวเจ้าเมืองอเมริกัน ให้มาให้คนทั้งปวงรู้ว่าบาเลศเตียเป็นทูตเมืองอเมริกันฉบับหนึ่ง ต่อมาบาเลศเตียได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงจะถวาย ไม่ส่งให้ ผิดอย่างธรรมเนียมเมื่อครั้งเอดแมนรอเบตมาทำอย่างธรรมเนียมไว้แต่ก่อนบาเลศเตียจึงเอาหนังสือคลี่ออกให้ดูดวงตรา (พระยาศรีพิพัฒน์ฯ ) จึงตอบว่า ตราซึ่งปิดมาในหนังสือนั้นเราไม่สงสัย เราสงสัยอยู่ว่า ตราไม่ปิดประจำผนึกจะมาเขียนเอา อย่างไรก็เขียนได้ ผิดกับอย่างที่เคยมาแต่ก่อน

๗๘ บาเลศเตียตอบว่า เจ้าเมืองอเมริกันเปลี่ยนกันมาหลายคนแล้ว เดี๋ยวนี้เจ้าเมืองอเมริกันจะมีหนังสือไปถึงเจ้าเมืองฝรั่งเศส เมืองอังกฤษก็มีไปอย่างนี้ มอบกุญแจหีบหนังสือให้ผู้ถือหนังสือไปแล้วก็หาได้ปิดตราประจำผนึกไม่ ( พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ) จึงว่า ซึ่งมีหนังสือไปถึง เจ้าเมืองฝรั่งเศส เจ้าเมืองอังกฤษ ใส่หีบลั่นกุญแจไปไม่ปิดตราดังนี้เราไม่รู้ เราถืออย่างธรรมเนียมครั้งเอดแมนรอเบตเข้ามาทำหนังสือสัญญาครั้งนั้น มีหนังสือปิดตราประจำผนึกเข้ามาด้วยเป็นสำคัญ หนังสือเข้ามาครั้งนี้ว่าเป็นหนังสือเจ้าเมืองอเมริกัน ไม่ประจำผนึกผิดกับเมื่อครั้งเอดแมนรอเบตเข้ามา จะเชื่อฟังยังไม่ได้ ที่กรุง ฯ เราถือพระ ( พุทธศาสนา ) ได้พูดจาสัญญาเป็นธรรมเนียมลงแล้ว ถึงจะ นานไปสักเท่าใด ๆ ก็กลับธรรมเนียมไม่ได้ บาเลศเตียตอบว่า หนังสือเจ้าเมืองอเมริกันเข้ามาครั้งนี้จะรับหรือไม่รับ ( พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ) จึงว่า หนังสือนั้นจะส่งให้ก็ จะรับ แต่ที่จะให้เฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวนั้นไม่ได้ ด้วยผิดธรรมเนียมกรุง ฯ อยู่ บาเลศเตียก็ลุกจากเก้าอี้ยืนขึ้นแล้วจึงว่า ถ้าไม่รับหนังสือแล้ว จะไปบอกเจ้าเมืองอเมริกัน เขาจะคิดอย่างไรไม่รู้ด้วย หันหน้าออก เดินไปประมาณ ๕ ศอก ๖ ศอก แล้วกลับเข้ามาถามว่า จะรับหนังสือหรือไม่รับ

๗๙ ( พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ) จึงว่า หนังสือให้ไว้ ก็จะรับ แต่ความในหนังสือสัญญาข้อ ๙ มีอยู่ว่า ชาติอเมริกันเข้ามาณกรุง ฯ ก็ให้ทำตามอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ บาเลศเตียพูดให้ผิดอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ ไปดังนี้จะให้เข้าเฝ้าไม่ได้ บาเลศเตียจึงว่ากับพวกหมออเมริกันว่า ให้หมออยู่เถิดข้าจะไปแล้วบาเลศเตียก็ลงเรือไปโดยกำลังโทโส ครั้นณวันแรม๑๓ ค่ำเดือน๕โยเสฟบาเลศเตียทูตทำหนังสือมายื่นอีก ความในหนังสือที่บาเลศเตียยื่นนั้นว่า มิศโยเสฟบาเลศเตีย ผู้เป็นราชทูตรับใช้แต่เจ้าแผ่นดินอเมริกันทั้ง ๓๐ เมืองที่เข้ากันเป็นเมืองเดียว จะให้ถือราชศาสน์มาถึงเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ส่วนพิภพอาเซียทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีมหานครศรีอยุธยาเป็นต้น เมื่อพิจารณาแล้ว ก็เห็นควรจะแต่งหนังสือใบนี้มาเรียนท่านเจ้าคุณศรีพิพัฒน์ฯ ด้วยความว่า เพลาวานนี้เมื่อข้าพเจ้าไปอยู่ที่หอเฝ้าเจ้าคุณ มึขุนนางเป็นอันดับอยู่พร้อมมีเจ้าคุณเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าได้เข้าใจว่า ธุระที่ประชุมกันนั้นเป็นที่จะได้ปรึกษาด้วยการเอาราชศาสน์ซึ่งข้าพเจ้าถือมา ถวายแก่ท่านผู้เป็นกษัตริย์ในมหานครศรีอยุธยานี้ เมื่อแรกเดิมเจ้าคุณได้ถามข้าพเจ้าว่าด้วยออกมาจากเมืองอเมริกันเมื่อไร ข้าพเจ้าเห็นว่าคำถาม ดังนี้มิได้เข้าในเรื่องความ อันเป็นเหตุให้ประชุมกัน แต่ยังได้ตอบ ให้ท่านทราบด้วยดี ท่านจึงได้ถามข้าพเจ้าต่อไปว่า ครั้นออกจาก เมืองจีนแล้วได้ไปแวะที่เมืองอื่นบ้างหรือไม่ คำถามอันนี้ข้าพเจ้ามิได้ควรจะตอบประการใด ด้วยธุระที่ให้ประชุมกันเป็นที่ปรึกษาด้วยการถวายราชศาสน์ ข้าพเจ้าจึงนำหนังสือที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วส่งให้แก่ ๘๐ เจ้าคุณให้ทราบ เมื่อเจ้าคุณได้อ่านหนังสือนั้นแล้วท่านได้ถามข้าพเจ้าว่า หนังสือที่ถือมานั้นเป็นอย่างไร จึงเรียกว่าเป็นราชศาสน์ ข้าพเจ้าได้ตอบว่าหนังสือพระราชศาสน์นั้นได้แปลเป็นภาษาไทย และคุณพระนายไวยวรนาถได้รับฉบับหนึ่งเป็น ๔ วัน ๕ วันแล้ว คุณพระนายไวย วรนาถอยู่ที่ในประชุมก็ว่าได้ด้วยความนี้ เจ้าคุณยังได้ว่าหนังสือราชศาสน์นั้นไม่มีตราสำหรับแผ่นดินเป็นสำคัญ ท่านยังมิได้เห็นหนังสือ ข้าพเจ้าจึงได้ไขหีบอันเป็นที่รักษาเอาหนังสือพระราชศาสน์ยกออกมาชี้ให้เห็นว่า มีตราหลวงสำหรับแผ่นดินอเมริกันตีไว้ตามธรรมเนียม เจ้าคุณก็ได้ว่าต่อไปว่า กระดาษอันห่อพระราชศาสน์นั้น มิได้ผนึกตามอย่างแต่ก่อน ข้าพเจ้าได้ตอบว่า ราชศาสน์ได้รักษาไว้ในหีบทำด้วยไม้จันทน์ มีกุญแจทั้งลูกเป็นทอง ตามอย่างที่ถวายราชศาสน์แก่มหากษัตริย์เจ้าปักกิ่ง อันได้รักษาดังนี้ก็เป็นด้วยหวังที่จะให้เป็นเกียรติยศแก่กษัตริย์แห่งมหานครนี้เป็นอย่างยิ่ง เจ้าคุณได้อ้างว่า ด้วยอย่างธรรมเนียมคราวมิศรอเบตถือราชศาสน์มา ข้าพเจ้าได้ตอบว่า ข้าพเจ้ามิได้มีช่องจะรู้ด้วยธรรมเนียมของมิศรอเบตไปทั่ว ไม่เป็นข้อใหญ่ ที่ อื่นมิได้ถือ เมื่อเจ้าคุณว่าด้วยอย่างธรรมเนียมคราวมิศรอเบตมาเป็นอันมากแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ถามว่า วันที่ข้าพเจ้าจะได้โอกาศถวายพระราชศาสน์ตามรับสั่ง เสนาบดีผู้ใหญ่จะยอมหรือมิยอมประการใด เจ้าคุณได้รื้อความว่าด้วยความคราวมิศรอเบตถือราชศาสน์มา ข้าพเจ้า ได้ถามอีกว่า อันข้าพเจ้าจะได้เข้าเฝ้าถวายราชศาสน์จะได้หรือไม่ เจ้าคุณได้กล่าวว่า เสนาบดีจะรับหนังสือราชศาสน์ และครั้นได้ปรึกษา

๘๑ กันจะจัดแจงตามสมควร ข้าพเจ้าจึงได้ว่า ถ้าเสนาบดีทั้งปวงจะรับหนังสือ และครั้นพิจารณาปรึกษากันแล้ว จึงจะคืนให้แก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าจะได้ถวายตามรับสั่งข้าพเจ้าจะเอาหนังสือมอบให้เสนาบดี ใดมิได้ขัด เมื่อข้าพเจ้าว่าดังนี้ไม่มีผู้ใดตอบประการใด ข้าพเจ้าห็นว่า เสนาบดีผู้ใหญ่มิยอมให้เอาพระราชศาสน์ถวายตามรับสั่ง ข้าพเจ้า จึงได้ลุกขึ้นจากที่นั่งและได้ว่า อันมิยอมให้รับราชศาสน์นี้เป็นการประมาทต่อท่านผู้เป็นเจ้าแผ่นดินอเมริกันทั้ง๓๐เมืองที่เข้ากันเป็นเมืองเดียว การประมาทนี้เป็นข้อใหญ่ เจ้าแผ่นดินนั้นแต่งหนังสือราชศาสน์ให้จำเริญพระราชไมตรี ตีตราสำหรับแผ่นดินลงชื่อด้วยลายมือของตนตั้งข้าพเจ้าเป็นทูตถือราชศาสน์มาในกำปั่นหลวงใช้ข้างอเมริกัน มาทางไกลสุดแผ่นดิน มาแต่เมืองอันเป็นใหญ่ อันเสนาบดีมิยอม ให้เอาราชศาสน์ถวายแก่ท่านผู้เป็นกษัตริย์ในมหานครนี้ เป็นที่ อัประยศต่อเมืองอเมริกันโดยมากจะบันดาลเหตุเป็นประการใดข้าพเจ้าจะว่ามิได้ ครั้นข้าพเจ้าได้ว่าทั้งนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้ก้มหน้าคำนับเจ้าคุณกับขุนนางทั้งหลาย แล้วก็ถอยออกมาถึงที่อยู่ ทีนี้นั้นราชทูตจะใคร่ว่าด้วยข้อที่เจ้าคุณได้ถาม ด้วยความอัน มีอยู่ในราชศาสน์แห่งเจ้าเมืองอเมริกัน ถ้าเจ้าคุณเข้าใจว่าหนังสือ ราชศาสน์ผนึกไว้แล้ว ที่ไหนเจ้าคุณจะได้เห็นว่าราชการ ทูตได้รู้ จักความในหนังสืออันผนึกไว้แล้ว แต่ครั้นออกมาดูเห็นว่าตีตราหลวงเป็นปรากฏแก่ตาอยู่แล้ว ท่านจึงอ้างเอาเหตุว่า เมื่อมิศรอเบตนั้น ราชศาสน์ติดผนึกอยู่ดูเป็นเหมือนหนึ่งท่านจะก่อเหตุมิให้รับราชศาสน์ ๑๑ ๘๒ ได้ ที่มิให้ถวายราชศาสน์แห่งเจ้าแผ่นดินอเมริกันตามรับสั่ง จะเป็น เหตุให้อัประยศแต่ข้อเดียวเท่านั้นหามิได้ ราชทูตได้จ้างคนจีนคนหนึ่งจะให้เขียนหนังสือ ครั้นคนจีนนั้นขึ้นบกแล้ว พวกขุนนางให้พาเอาจีนคนนั้น ไปบ้านของขุนนางผู้ใหญ่ ให้ซักถามด้วยเหตุทั้งปวงของ ราชทูตตั้งแต่ออกจากเมืองจีนจนถึงเมืองนี้ ครั้นได้ความแล้วก็จดเขียนไว้ต่อหน้าขุนนางผู้ใหญ่ อันทำดังนี้ต่อราชทูตที่มาจากเมืองอันเป็นไมตรีกัน เป็นการผิดการเคืองมากนัก ท่านไม่ได้ต้องการจะแก้โทษเสีย อนึ่งราชทูตนึกเสียดายว่าได้อยู่ที่นี่ ๘ วันมาแล้ว และขุนนาง ผู้ใหญ่ผู้ใดผู้หนึ่งมิได้มาเยี่ยมเยือนสักทีสักครั้งหนึ่งเลย อันใครผู้ใด จะได้เชิญไปหาผู้ใหญ่ผู้ใด หรือไปดูอะไรแปลกประหลาดก็หามีไม่ เห็นจะผิดธรรมเนียมแต่ก่อน อนึ่งราชทูตได้ยินข้อหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้หลากใจหนักหนา ซึ่งราชทูตขึ้นมาจากกำปั่นแต่ผู้เดียวมีแต่คนหนึ่งมาด้วย สำหรับจะช่วยแต่งหนังสือ ขุนนางผู้ใหญ่เอาเป็นเหตุว่ากล่าวเป็นที่สงสัย เจ้าคุณทราบอยู่ว่าที่กำมะโดผู้เป็นใหญ่ในกำปั่น กับขุนนางฝ่ายทหารและทหาร ทั้งหลายมิได้ขึ้นมานั้น เป็นเพราะขุนนางไทยอันมีธุระออกไปถึงกำปั่นเป็นพะยานได้กล่าวว่า โรคลงรากเป็นกำลังมีที่ในกรุง ฯ ผู้คนตายมากหนักแล้ว และยังตายทุกวัน ๆ วันละหลายคน จึงมีคำสั่งมิให้ชาว เรือขึ้นบกเลย เป็นเหตุดังนี้สิ่งเดียว อนึ่งนอกจากการถวายราชศาสน์ ราชทูตได้รับสั่งให้ว่าด้วยการเปลี่ยน ( แก้ ) หนังสือสัญญาอันแต่งไว้แต่ก่อน เปลี่ยน ( แก้ )

๘๓ บ้างเติมเข้าบ้าง เพราะเหตุดังนี้ ราชทูตได้แต่งหนังสือฉบับหนึ่ง จะได้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ หนังสือนั้นแปลเป็นภาษาไทยฉบับ หนึ่ง ฝากไปให้เจ้าคุณด้วยกันกับหนังสือใบนี้ ข้อ ๒ ในหนังสือสัญญาอันแต่งไว้ในศักราชปี ๑๘๓๓ คือ ปีมะโรงศักราชไทย ข้อนั้นว่า ใครผู้ใดที่มีสินค้าจะซื้อขายกันได้ มิให้ใครห้าม แต่ครั้นตั้งเจ้าภาษีเแล้วไม่มีใครว่าจะซื้อขาย เว้นไว้ แต่ตามคำของเจ้าภาษีนั้น คำสัญญานั้นจึงสิ้นกำลังเป็นประโยชน์ มิได้ เพราะเจ้าภาษีคาดค่าแพงให้เกินขนาด พ่อค้าจะซื้อขายมิได้ อันจะขายกันได้มีแต่เจ้าภาษีพวกเดียว เพราะมิได้ถือคำสัญญาข้อ นี้ และเพราะค่าธรรมเนียมเป็นอันมากนัก หนังสือสัญญานั้นฝ่าย การซื้อขายกัน จึงเป็นเหมือนหนึ่งไม่ได้เป็น ดังนี้เป็นหลายปีมา แล้ว ในศักราชปี ๑๘๓๘ ( พ.ศ. ๒๓๗๑ ) มีกำปั่นอเมริกัน ๒ เสาครึ่งชื่อสตัดมาถึงเมืองไทยนี้ จะใคร่ซื้อน้ำตาลทรายบรรทุกเต็ม ลำ คราวนั้นน้ำตาลทรายมีอยู่ใน ( คลังสินค้า ) โรงหลวงเป็นอัน ดับมาก อันจะตีราคามีแต่เจ้าภาษี และว่าเจ้าภาษีว่าราคาแพงนัก ผู้ทำน้ำตาลทรายมิอาจจะขายผิดคำสั่งเจ้าภาษี กำปั่นนั้นจึงต้องไปซื้อในเมืองมนีลา ตั้งแต่คราวนั้นเป็น ๑๒ ปีมาแล้ว และกำปั่นอเมริกัน มิอาจจะเข้ามาสักลำ ประการหนึ่งราชทูตจะใคร่ว่าต่อไปให้เจ้าคุณทราบว่า การตั้งเจ้าภาษีดังว่ามาแล้วเป็นการผิดต่อสัญญา แล้วการซื้อขายกับประเทศอื่น ๆ จะทำได้แต่ในกำปั่นถือธงไทย กำปั่นเหล่านี้มิได้เสียค่าธรรมเนียม

๘๔ และกรมสินค้าเป็นของไทย ถึงจะฝากขายเมืองนอก หรือจะซื้อ เข้ามามิต้องเสียภาษี อันนี้เป็นร้ายต่อการซื้อขายของพวกชาวอเมริกันครั้นการดังนี้แล้ว และแผ่นดินอเมริกันกับแผ่นดินไทยเป็นมิตร์สหายกันดีแล้ว เห็นเป็นอันควรจะได้จัดแจงแต่งหนังสือสัญญาใหม่ ฝ่าย เจ้าแผ่นดินและขุนนางในเมืองอเมริกันก็ปรารถนาจะได้ไปมาซื้อขาย ทำการเป็นอันสมควรใจกว้างขวางอารีรอบ ถ้าและท่านผู้เป็นกษัตริย์และขุนนางในเมืองไทย ยอมให้ทำอันสมด้วยทางไมตรีต่อเมืองอเมริกัน ข้างเมืองอเมริกันก็จะยอมทำต่อเมืองไทยเหมือนกัน กำปั่น อเมริกันได้เข้ามาในเมืองไทยฉันใด กำปั่นจะเข้าถึงเมืองอเมริกัน ก็ฉันนั้นขอ ( ความในต้นฉบับขาด ) ราชทูตในปลายหนังสือ ( ความในต้นฉบับขาด ) คำนับเป็นอันดี หนังสือนี้เขียนไว้ที่อยู่ของราชทูต ในกรุง ฯ ( ความที่ขาดตอนนี้คงเป็นลงวันที่เขียนหนังสือฉบับนี้ คือ ที่ ๑๐ เมษายน คฤศตศก ๑๘๕๐ ) ( จดหมายฉบับต่อไปนี้ความเป็นคำที่เตรียมจะกราบบังคมทูลเวลาเข้าเฝ้า ) ข้าพเจ้า ( ผู้ซึ่งเปรสิเดนต์ ) อเมริกัน ( ซึ่ง ) ครองทั้งสามสิบเมืองที่เข้ากันเป็นเมืองเดียว ท่านได้โปรดตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นทูตใช้มาถึงเมืองทวีปอาเซีย อันตั้งอยู่ในส่วนทวีปอาเซียตะวันออกเฉียง ใต้ มีพระนครศรีอยุธยาเป็นต้น จึงถือราชศาสน์มาถวายแก่พระองค์ราชศาสน์นั้นขอถวายเดี๋ยวนี้ ท่านเจ้าแผ่นดินนั้นได้สั่งข้าพเจ้าให้กราบทูลว่า ท่านมีใจถือไมตรีต่อพระองค์เป็นอันดี ด้วยหวังจะให้ทรงพระราชไมตรีจำเริญยิ่งใหญ่ ด้วยเปิดทางขึ้นให้ชาวอเมริกันกับชาวมหา

๘๕ นครศรีอยุธยานี้ไปมาหาสู่ค้าขายถึงให้ยิ่งมาก เมื่อเจ้าแผ่นดิน อเมริกันตั้งใจดังนี้ ท่านจึงตั้งข้าพเจ้าให้ถืออาชญามาปรึกษาหารือกันกับเสนาบดีผู้ใหญ่ จะได้เอาหนังสือสัญญาเดิมซึ่งได้จัดแจงไว้ในปี คฤศตศักราช ๑๘๓๓ เป็นปีมะโรง มาแปลงเปลี่ยนตกแต่งเสียใหม่ ให้ถูกต้องตามธรรมเนียมแห่งเมืองอื่นที่เป็นเมืองใหญ่ มีเมืองอเมริกัน เป็นต้น ด้วยว่าในเมืองทั้งหลายเหล่านั้น ผู้เป็นกษัตริย์ครองและ ขุนนางผู้ใหญ่เข้าใจชัดอยู่แล้วว่า เมื่อชาวบ้านชาวเมืองไปมาค้าขาย ถึงกันกับประเทศอื่น ๆ มากเท่าใด วาสนาเกียรติยศแห่งเมืองนั้น ก็แผ่ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น อนึ่งเจ้าแผ่นดินอเมริกันประสงค์จะให้พระองค์ทราบว่า เมืองอเมริกันนั้นหามีเมืองในประเทศอื่นมาขึ้นไม่ แล้วการศึกสงคราม กับประเทศใด ๆ ทั่วทั้งโลกนี้ไม่มี ชาวบ้านชาวเมืองทั้งปวงจึงปลงใจทำมาหากินด้วยวิชาต่าง ๆ คือ หากินด้วยทางค้าขายในประเทศอื่นโดยมาก อนึ่งเจ้าแผ่นดินนั้นก็ได้สั่งข้าพเจ้าว่า ซึ่งพวกหมออเมริกันที่ได้มาอาศัยในมหานครนี้ ได้พึ่งพระบารมีของพระองค์ จึงปราศจาก ภัยอันตราย ท่านได้รู้พระคุณแล้วก็ชอบใจ แล้วท่านยัง ( หวัง ) ใจว่าพระองค์ยังจะโปรดอนุเคราะห์ต่อไป แต่พวกหมอกับทั้งชาวอเมริกันผู้ใด ๆ ที่จะมา และมิได้ประพฤติให้ละเมิดต่อกฏหมายแผ่นดิน ข้าพเจ้าก็ยินดีเป็นอันมาก เพราะข้าพเจ้ามีโอกาศที่จะว่า อันได้รับคำนับข้าพเจ้าโดยสมควรตามอย่างที่ได้รับราชทูตก็ขอบใจหนักหนา อัน

๘๖ ข้าพเจ้าได้โอกาศเข้ามาเฝ้าพระองค์เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็น เกียรติยศและคุณต่อข้าพเจ้าเป็นอันมาก ท่านพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ทำหนังสือตอบบาเลศเตีย ไปใจความว่า หนังสือพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเสนาบดี มาถึง โยเสฟบาเลศเตีย ทูต ด้วยมีหนังสือมาว่า ข้อ ๒ ในหนังสือสัญญาอันแต่งไว้ในศักราช ๑๘๓๓ คือ ปีมะโรงศักราชไทย ข้อนั้นว่าใครผู้ ใดที่มีสินค้าจะซื้อขายกันมิให้ใครห้าม แต่ครั้นตั้งเจ้าภาษีแล้วไม่มี ใครอาจจะซื้อขาย เว้นไว้แต่ตามคำของเจ้าภาษีนั้น คำสัญญาจึงสิ้นกำลังเป็นประโยชน์มิได้ เพราะเจ้าภาษี ( พิกัด ) ค่าแพงให้เกินขนาด พ่อค้าจะซื้อขายกันมิได้ และเพราะค่าธรรมเนียมเป็นอันมากนัก หนังสือสัญญานั้นฝ่ายการซื้อขายกัน จึงเป็นเหมือนหนึ่งมิได้เป็นดังนี้ เป็นหลายปีมาแล้ว ในศักราช ๑๘๓๘ มีกำปั่นอเมริกัน ๒ เสาครึ่งชื่อ สตัด มาถึงเมืองไทย จะใคร่ซื้อน้ำตาลทรายบรรทุกพอเต็มลำ คราวนั้นน้ำตาลทรายมีอยู่โรงหลวงเป็นอันมาก อันจะตีราคามีแต่เจ้าภาษีและเจ้าภาษีว่าราคาแพงนัก ผู้ทำน้ำตาลทรายมิอาจจะขายผิดคำเจ้าภาษี กำปั่นนั้นจึงต้องซื้อในเมืองมนีลา ตั้งแต่คราวนั้นเป็น ๑๒ ปีมาแล้วและกำปั่นอเมริกันมิอาจจะเข้ามาสักลำ ประการหนึ่งราชทูตจะใคร่ว่าต่อไปให้เจ้าคุณทราบว่า การตั้งเจ้าภาษีดังว่ามาแล้ว เป็นการผิดข้อสัญญา และการซื้อขายกับประเทศ อื่น ๆ จะทำได้แต่กำปั่นถือธงไทย กำปั่นเหล่านี้มิได้เสียค่าธรรมเนียม


๘๗ และครั้นสินค้าเป็นของพวกไทย ถึงจะฝากขายเมืองนอกหรือจะซื้อเข้ามามิต้องเสียภาษี อันนี้เป็นการร้ายต่อการของพวกชาวอเมริกัน ครั้นการดังนี้แล้ว และแผ่นดินอเมริกันกับแผ่นดินไทยเป็นมิตร์สหายกัน ดีแล้ว เห็นเป็นอันควรจะได้จัดแจงแต่งหนังสือสัญญาใหม่ ฝ่ายเจ้าแผ่นดินและขุนนางในเมืองอเมริกัน ก็ปรารถนาจะได้ไปมาซื้อขายทำการเป็นอันสมด้วยใจกว้างขวางอารีรอบ ถ้าและท่านผู้เป็นกษัตริย์และขุนนางในเมืองไทย ยอมให้ทำอันสมด้วยทางไมตรีต่อเมืองอเมริกัน ข้างเมืองอเมริกันจะยอมทำต่อเมืองไทยเหมือนกัน กำปั่นอเมริกันได้เข้ามาถึงเมืองไทยฉันใด กำปั่นไทยจะเข้าที่เมืองอเมริกันเหมือนฉันนั้น ความข้อนี้เห็นว่าเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๘๓๓ ปี เอดแมนรอเบตเป็นทูตเข้ามาทำหนังสือสัญญาไว้ ๑๐ ข้อ ตั้งแต่นั้นมาหามีกำปั่นชาวอเมริกันเข้ามาค้าขายไม่ ด้วยอยู่หลายปีเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๘๓๘ ปี ศักราชไทย ๑๑๘๙ ปีระกานพศก กำปั่นชาติอเมริกันเข้ามาลำหนึ่ง จะมาจัดซื้อน้ำตาลทรายเป็นปลายมรสุม น้ำตาลทรายซื้อขายกันสิ้นแล้ว น้ำตาลทรายในโรงหลวงก็ไม่มี ยังมีอยู่บ้างแต่น้ำตาลลูกค้าคนละ เล็กน้อย ประมาณน้ำตาลทรายสิ้นด้วยกันหนักสัก ๕,๐๐๐ บาท ครั้งนั้นนักกุดามะหะหมัด นักกุดากุละมะหะหมัด แขกลูกค้าเมืองบุมไบคุมกำปั่น ๒ ลำเข้ามาจัดซื้อน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลทรายแพง เจ้าของจะขายหาบละ ๒ ตำลึง ๒ บาท นักกุดามะหะหมัด นักกุดากุละมะหะหมัดต่อให้หาบละ ๒ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ลูกค้าอเมริกันจะซื้อหาบละ ๒ ตำลึง เจ้าพนักงานเห็นว่า ลูกค้าชาติอเมริกันไม่ได้มาค้าขาย

๘๘ นานแล้วพึ่งจะมีมา จะช่วยสงเคราะห์ให้ลูกค้าชาติอเมริกันได้ซื้อ น้ำตาลทรายไป จะได้เข้ามาซื้อขายอีก ช่วยว่ากล่าวกับลูกค้าณกรุง ฯ จะให้ขายน้ำตาลทรายให้กับพวกอเมริกันให้ลดราคาลงบ้าง ให้พวกอเมริกันขึ้นราคาให้บ้าง นักกุดามะหะหมัด นักกุดามะหะหมัด ลูกค้าเมืองบุมไบมาต่อไว้หาบละ ๒ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ลูกค้าพวกอเมริกันก็ไม่ขึ้นราคาให้ เจ้าของน้ำตาลทรายก็ไม่ยอมขาย ก็ไม่ได้ซื้อกัน ความดังนี้จะว่าเจ้าภาษีตั้งพิกัดราคาน้ำตาลทราย ให้ลูกค้าซื้อขายกันให้ผิดหนังสือสัญญาประการใด ใครเอาความไปบอกเล่ากับโยเสฟบาเลศเตียทูต จึงได้หยิบยกเอาขึ้นว่า ข้อหนึ่งว่าการตั้งเจ้าภาษีดังว่ามาแล้วเป็นการผิดข้อคำสัญญา และการซื้อขายกับประเทศอื่น ๆจะทำได้ก็แต่ในกำปั่นถือธงไทย กำปั่นเหล่านี้มิได้เสียค่าธรรมเนียม และครั้นสินค้าเป็นของพวกไทย ถึงจะฝากขายเมืองนอกหรือจะซื้อเข้ามามิต้องเสียภาษี อันนี้เป็นการร้ายของพวกชาวอเมริกัน ครั้นการอันนี้แล้วและแผ่นดินอเมริกันกับแผ่นดินไทยเป็นมิตร์สะหายกันดีแล้ว เห็น เป็นอันจะได้จัดแจงแต่งหนังสือสัญญาใหม่ ความดังนี้ยากที่จะพูดจาความบ้านเมืองด้วยโยเสฟบาเลศเตียต่อไป มาถึงแรกจะได้พบปะกันควรที่จะปราสัยพูดจาเป็นความยินดีต่อกัน โยเสฟบาเลศเตียก็โกรธขึ้นมา ตัดความห้ามเสียไม่ให้พูดจาว่าป่วยการเพลา เอาหนังสือซึ่งเขียนใส่กลีบเสื้อมาส่งให้ ความในหนังสือว่าจะขอถวายหนังสือแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว แล้วจะใคร่เอาหนังสือที่ทำไว้ฉบับหนึ่ง ถวายแต่สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวในคราวเมื่อยังเฝ้าอยู่นั้น

๘๙ เสนาบดีพร้อมกันตอบว่า ธรรมเนียมกรุง ฯ ต้องรับเอาพระราชศาสน์มาแปลให้รู้ความในพระราชศาสน์ก่อน จึงจะนำทูตเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ เหมือนอย่างเมื่อครั้งก่อนเอดแมนรอเบตเป็นทูตเข้ามา โยเสฟบาเลศเตีย ก็โกรธลุกขึ้นกระทำหยาบหยามข่มขู่ในที่ประชุม กรุง ฯ รักใคร่ใน ทางไมตรีชาติอเมริกันอยู่ จึงกระทำได้ดังนี้ ผิดกับทูตขรมาแต่ก่อน ๆ จะพูดจาการบ้านเมืองกันสืบต่อไปประการใดได้ ข้อหนึ่งว่า ได้จ้างคนจีนคนหนึ่งจะให้เขียนหนังสือ ครั้นจีนคนนั้นขึ้นบกแล้ว พวกขุนนางให้พาตัวจีนคนนั้นไปบ้านของขุนนางผู้ใหญ่ให้ซักถามด้วยเหตุทั้งปวงของโยเสฟบาเลศเตียราชทูต ตั้งแต่ออก จากเมืองจีนมาจนถึงเมืองนี้ ครั้นได้ความแล้ว ก็ให้จดหมายเขียนไว้ ต่อหน้าขุนนางผู้ใหญ่ อันทำดังนี้โยเสฟบาเลศเตียราชทูตที่มาจากเมืองอันเป็นไมตรี เป็นการผิดการเคืองมากนักทนไม่ได้ ต้องการจะ แก้โทษเสีย ความข้อนี้จีนซึ่งโดยสานเรือนำขึ้นมาจากกำปั่นรบ จีน คนนี้เป็นจีนเข้ามาอยู่เมืองไทย แล้วกลับออกไปเมืองจีนกลับเข้ามากับกำปั่นรบ ฝ่ายไทยจะได้รู้ว่า โยเสฟบาเลศเตียจ้างมาเขียนหนังสือนั้นหาไม่ เป็นอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ คนมาแต่ทางไกลแล้วก็ต้อง ไถ่ถามถึงทางไปมาตามธรรมเนียม ไม่เกี่ยวข้องอันใดกับโยเสฟบา เลศเตีย ไม่ควรที่จะหยิบยกเอาความเล็กน้อยขึ้นโกรธขึ้งเป็นข้อใหญ่ ข้อหนึ่งว่า นึกเสียดายว่าได้อยู่ที่นี่ ๘ วันมาแล้ว และขุนนางผู้ใหญ่ผู้ใดผู้หนึ่งมิได้เยี่ยมเยืยนสักทีสักครั้งหนึ่งเลย อันใครผู้ใดจะได้เชิญให้ผู้ใหญ่ผู้ใดหรือไปดูอะไรแปลกประหลาดหามิได้ เห็นว่า ๑๒ ๙๐ ธรรมเนียมแต่ก่อน ความข้อนี้ล่ามและเจ้าพนักงานก็มาอยู่พิทักษ์รักษาพร้อมแล้ว ได้จัดเรือพลพายให้มาประจำอยู่ สำหรับจะได้ไปเที่ยวเล่นตามสบาย ขุนนางฝรั่งพระยาวิเศสสงคราม นายทหารผู้ ใหญ่ ก็ได้ไปมาเยี่ยมเยือนอยู่มิได้ขาด ขุนนางไทยนั้นจะไปมาเยี่ยมเยือนบ้างก็ผิดภาษากัน เห็นว่าโยเสฟบาเลศเตียมักโกรธขึ้ง จะพูด จาประการใดกลัวจะเกิดความจึงไม่มา หนังสือมาณวันศุกร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีจอโทศก เมื่อณวันพฤหัส ขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๖ บาเลศเตียทำหนังสือมายื่นอีกว่า หนังสือของโยเสฟบาเลศเตีย ผู้ราชทูตรับใช้ของเจ้าแผ่นดินอเมริกันทั้งสามสิบเมืองอันเข้ากันเป็นเมืองเดียว ถือราชศาสน์มาถึงเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในพิภพส่วนอาเซียทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีมหานครศรีอยุธยาเป็นต้น ฝากมาถึงเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง ด้วยว่าเมื่อ เจ้าคุณยังมิได้กลับเข้ามาในกรุงเทพ ฯ กำปั่นหลวงเป็นเรือรบชื่อแประโมตถือธงอเมริกัน ได้ส่งข้าพเจ้าเข้ามาถึงกรุงเทพมหานคร ครั้นได้ เข้ามาแล้ว ได้รับเชิญเข้าที่หอเฝ้าของเจ้าคุณศรีพิพัฒน์ ฯ กับขุนนางอื่น ๆ ได้ว่ากล่าวปรึกษากัน ด้วยการที่จะเอาราชศาสน์ซึ่งข้าพเจ้าถือมานั้นจะเข้าเฝ้าถวายตามข้าพเจัารับสั่งแต่เจ้าแผ่นดินอเมริกัน เจ้าคุณศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษากับขุนนางทั้งหลาย เพราะเหตุต่าง ๆ มิยอมให้ถวายราชศาสน์ ข้าพเจ้าจึงได้คอยท่าหลายวัน คิดจะได้ยินด้วยความนั้นต่อไป ครั้นหลายวันมาแล้วข้าพเจ้าก็ได้แต่งหนังสือ ๒ ฉบับ ฝากให้เรียนเจ้าคุณศรีพิพัฒน์ฉบับหนึ่ง ได้เล่าเหตุการที่ปรึกษาว่า

๙๑ กล่าวกับเจ้าคุณเมื่อไปบ้านของท่านวันก่อนนั้น ก็ได้เล่าความอันเป็นเหตุให้ว่าและควรจะแก้เสีย อนึ่งก็ว่าได้ด้วยการในขุนนางผู้ใหญ่ในมหานครกระทำให้เสียประโยชน์ในหนังสือสัญญาอันมีมาแล้ว อันควรจะถือให้ครัดเคร่ง หนังสือฉบับหนึ่งนั้นแต่งไว้หวังจะให้ทราบว่า ด้วยการทางจะถวายราชศาสน์นั้น ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาจะผิดอย่างธรรมเนียมแห่งแผ่นดินเลย หนังสือทั้งสองฉบับนั้น หมอมะตุนได้ถือไปให้แก่บุตร์ของเจ้าคุณ คือคุณพระนายไวยวรนาถๆ ได้ว่าจะส่งให้เจ้าคุณศรีพิพัฒน์ ฯ ตั้งแต่นั้นมาเป็น ๕ วัน ราชทูตมิได้รับหนังสือตอบประการใดเลย ไม่ได้ยินผู้ ใดว่าจะมีหนังสือตอบมา ฝ่ายแผ่นดินอเมริกันยังถือไมตรีต่อมหานครเป็นอันดี ที่เจ้าแผ่นดินอเมริกันให้ทูตถือราชศาสน์มาถวายคราวนี้ เป็นสำคัญ ว่ายังถืออยู่ดี ถึงการดังนั้นอันราชทูตเห็นว่ามหานครทั้งผู้เป็นใหญ่ในมหานครถือไมตรีต่อเมืองอเมริกันก็หาเห็นไม่ มีแต่จะ เห็นว่ามหานครมิได้ปรารถนาจะขาดจากทางไมตรีแล้ว เมื่อการเป็น ดังนี้แล้วจำเป็นให้ราชทูตเรียนเจ้าคุณว่า ถ้าเสนาบดีผู้ใหญ่ในมหานครไม่มีน้ำใจปรึกษาหารือกันต่อไป ราชทูตจะได้ลงเรือออกไปถึงกำปั่นอันถือธงอเมริกัน ครั้นจะกำหนดวันลงเรือออกไป ก็กำหนด เป็นวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ ขอเจ้าคุณได้โปรดสั่งด้วยเรือที่ออกไปราชทูตขอคำนับเจ้าคุณพระยาพระคลังเป็นอันดี หนังสือมาณวันพุธขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๖ ปีจอโทศก


๙๒ หนังสือฉบับนี้บาเลศเตียว่าเจ้าพระยาพระคลังกลับบอกถึงกรุง ฯ ณวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่จึงทำมาให้ เจ้าพระยาพระคลังไม่ตอบ ณวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ โยเสฟบาเลศเตียทำหนังสือมายื่นอีกฉบับหนึ่งว่าจะขอลากลับไปกำปั่น ความในหนังสือว่า หนังสือของท่านโยเสฟบาเลศเตียราชทูตเมืองอเมริกัน ฝากมาถึงท่านคุณ พระนายไวยวรนาถให้ทราบว่า ข้าพเจ้าได้ยินพวกหมออเมริกันได้ พบคุณพระนายไวยวรนาถเมื่อเพลาคืนนี้ว่า แต่ขุนนางไทยปรารถนาจะให้พวกหมออเมริกันนั้นไปส่งท่านราชทูตถึงกำปั่น ท่านราชทูตก็มีความยินดีด้วย แต่ว่าเพลาพรุ่งนี้เป็นวันพระของพวกรีดพระเยซู เป็นวันถือ พวกหมอไม่ชอบที่จะไปในกลางทางในวันพระนั้น ข้าพเจ้า จะกำหนดที่จะออกไปกำปั่นนั้นแต่ณวันจันทร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๖ เพลาเช้าทีเดียว อีกประการหนึ่งเรือที่จะไปนั้นข้าพเจ้าขอเรือหลวงที่ไปรับข้าพเจ้าเข้ามานั้น หรือเรือล่องบดกะปิตันปรอนหรือมิศเฮส์ ถ้าจะโปรดให้ เรือกะปิตันปรอนไปส่งข้าพเจ้า ขอให้กะปิตันปรอนไปส่งด้วย เพราะว่าข้าพเจ้าไม่รู้จักคนอื่น ด้วยกะปิตันปรอนไว้เนื้อเชื่อใจเป็นคนชำนาญในการทะเลนั้น หรือจะมีหนังสือไปถึงนายกำปั่นให้เอาเรือล่องบดเข้ามารับที่หลังเต่าก็ได้ แต่ว่าเห็นไม่สู้ดี เพราะว่าพวกหมอไปส่งถึง กำปั่นไม่ได้ด้วย พวกหมอจะกลับมาก็ไม่มีเรือจะกลับมา ข้าพเจ้า ขอให้ไปมาโดยดี หนังสือนี้มาณวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอโทศกหนังสือนี้ไม่ได้ตอบ

๙๓ ท่านเสนาบดีทราบความแล้ว สั่งให้จัดเรือแง่ทรายยาว ๑๒ วา ๑๓ วา ๒ ลำ มีธงทวนคนแจวลำละ ๔๐ คน ๕๐ คน ใส่เสื้อแดงหมวกแดงเตรียมไว้ ถึงกำหนดจะได้ส่งโยเสฟบาเลศเตียทูตลงไปถึงเมืองสมุทรปราการ แล้วให้มีหนังสือพระนายไวยวรนาถส่งไปถึงกำมะ โดนายทหารกำปั่นรบอเมริกัน ซึ่งเข้ามากับบาเลศเตียทูตฉบับหนึ่ง ความในหนังสือว่า หนังสือจมื่นไวยวรนาถผู้ได้บังคับกำปั่นรบและปากน้ำกรุงเทพ ฯ มาถึงกำมะโดอรหิต ขุนนางนายทหารกำปั่นรบอเมริกันด้วยใจรักใคร่ยิ่งนัก ขอเล่าความออกมาให้กำมะโดอรหิตฟัง ด้วยท่านมีหนังสือเข้ามาถึงเราว่า ให้จัดเรือใหญ่ลำหนึ่งกับคนแจว ที่ดีออกไปรับขุนนาง ถ้าเราพบขุนนางที่เข้ามาแล้ว ขอให้ ( รับรอง ) โดยดี ด้วยขุนนางคนนั้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่มิใช่ขุนนางผู้น้อย เราก็ได้นับถือตามหนังสือของท่านที่มีเข้ามา จึงจัดเรือเสา เรือใบยาว ๑๑ วา ๑๒ วา ๓ ลำ คนแจว ๔๐ คน ๕๐ คน ใส่เสื้อแดงหมวกแดงมีธงทวน ปักเหมือนอย่างรับทูตมาแต่ก่อน ๆ ออกไปรับโยเสฟบาเลศเตียทูตกับหนังสือที่มีมาแต่เมืองอเมริกัน ณวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๕ โยเสฟบาเลศเตียทูตอเมริกันนาย ๑ มิชชันนารีชื่อดีน ๑ คนใช้คน ๑ ลงเรือที่ออกไปรับมาถึงเมืองสมุทรปราการ ก็ได้ยิงปืนป้อมรับทูตอเมริกัน ๒๑ นัดเป็นคำนับ ตามอย่างรับทูตมาแต่เมืองใหญ่ซึ่งเป็นไมตรีกัน ได้เชิญโยเสฟบาเลศเตียขึ้นกินเลี้ยงที่เมืองสมุทรปราการ แล้วส่ง โยเสฟบาเลศเตียทูตขึ้นมาถึงเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองชั้น ๒ ผู้รักษาเมืองกรมการก็ได้จัดลูกไม้ของกินไปกำนัลและเลี้ยงดูตามอย่าง

๙๔ ธรรมเนียม ท่านเสนาบดีความให้จัดแจงปลูกเรือนใหญ่เป็นที่อยู่มี รั้วล้อมรอบเป็นบริเวณ ทำให้ทูตอยู่สมยศเกียรติในชาติอเมริกัน ครั้นโยเสฟบาเลศเตียขึ้นไปกรุง ฯ ก็ได้เชิญโยเสฟบาเลศเตียอยู่ที่ เรือนใหม่ จัดพ่อครัวมาให้ประจำทำกับข้าวของกินเลี้ยงดูมิได้ขัดสนจัดเรือและคนไว้สำหรับโยเสฟบาเลศเตียจะได้ไปเที่ยวตามสบายอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ ทูตมาแต่ก่อน ๆ ขึ้นไปถึงที่อยู่เป็นปกติดีแล้ว ขุนนางเจ้าพนักงานได้จัดเรือให้ลงมารับหนังสือขึ้นไปแปลจะได้รู้ความในหนังสือ ท่านเสนาบดีจะได้นำความในหนังสือขึ้นกราบบังคมทูลแต่พระบาทสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าให้ทรงทราบโยเสฟบาเลศเตียมาถึงที่อยู่ณวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๕ เจ้าพนักงานรับโยเสฟบาเลศเตียขึ้นอยู่ที่พักแล้ว บอกว่าในวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๕ เพลาเที่ยง จะจัดเรือกระบวนแห่รับหนังสือ โยเสฟบาเลศเตียก็ยอม ครั้นรุ่งขึ้นเพลา เช้าโยเสฟบาเลศเตียทูต ให้มิชชันนารีหมอมะตุนมาบอกว่าหนังสือ มีมา ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นหนังสือเปรสิเดนต์เจ้าแผ่นดินอเมริกัน มีมาถวายในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุง ฯ เมื่อโยเสฟบาเลศเตียได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ แล้วจึงจะเอาหนังสือถวายในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวอีกฉบับหนึ่งเปรสิเดนต์มีมาจะให้คนทั้งหลายรู้ว่า ได้แต่งให้ โยเสฟบาเลศเตียเป็นทูตเข้ามาณกรุง ฯ เป็นหนังสือสำหรับตัวมิได้มีมาถึงผู้ใด จะให้รับไปนั้นไม่ได้ การซึ่งจัดแจงกระบวนแห่เรือไว้จะ ไปรับหนังสือก็ค้างอยู่


๙๕ ครั้นณวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๕ ท่านเสนาบดีประชุมพร้อมกัน ณบ้านท่านพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา แล้วจึงให้เรือยาวมีกันยาสำหรับขุนนางขี่ พลพาย ๒๐ คน ไปรับโยเสฟบาเลศเตีย จะได้พูดจากันโดยฉันไมตรีรักใคร่เมื่อเรือมาถึงสะพานที่จะขึ้นบ้านท่านเสนาบดี ๆ ก็ให้พระยาวิเศษสงคราม ฝรั่งนายทหารใหญ่ ๑ หลวงวุฒสรเดช หลวงฤทธิสำแดง นายทหารที่ ๒ กับตัวนาย นายทหาร ๘ คนลงไปคอยรับขึ้นบกตามธรรมเนียมฝรั่ง ขุนนางไปทันพร้อมกันที่รับแขกตาม รนยธรรมเนียมไทย โยเสฟบาเลศเตียขึ้นจากเรือ เห็นมิชชันนารีสมิท บุตร์เลี้ยงมิชชันนารียอน ถือหีบหนังสือที่ว่าเป็นราชศาสน์ปีดตราเจ้าเมืองอเมริกันมามือหนึ่ง ถือร่มของโยเสฟบาเลศเตียทูตมามือหนึ่ง เดินตามหลังมา ขุนนางไทยได้เห็นดังนั้นก็มีความเสียใจ ว่าพระราชศาสน์เจ้าเมืองอเมริกันมาถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุง ฯ พระนามทั้งสองฝ่ายอยู่ในหนังสือ เอาถือเดินตามหลังมาดังนี้ไม่สมควรตามอย่างธรรมเนียมไทย เมื่อครั้งเอดแมนรอเบตพาพระราชศาสน์ เจ้าเมืองอเมริกันเข้ามาครั้งก่อน ขุนนางเจ้าพนักงานได้จัดแจงเรือเขียนทองไปรับพระราชศาสน์ขึ้นมาแปลตามอย่างธรรมเนียม เมื่อ เอดแมนรอเบตไปหาท่านเสนาบดีก็มีทหารฝีพาย มีปี่กลอง ป่าว นำหน้าสมเกียรติสมยศดูงาม ครั้นโยเสฟบาเลศเตียขึ้นมาถึงที่ประชุมแล้วก็นั่งบนเก้าอี้อย่างดี มิชชันนารีหมอดีนนั่งถัดลงมากับมิชชันนารีหมอยอน มิชชันนารีหมอมะตุนซึ่งอยู่ณกรุง ฯ ก็นั่งเป็นลำดับถัด ๆ กันลงมา ท่านเสนาบดีปราสัยตามอย่างธรรมเนียมว่า โยเสฟบาเลศ

๙๖ เตียทูตมาทางทะเลสบายอยู่หรือ มาแต่เมืองอเมริกันเมื่อไร มากำปั่นลำนี้หรือมากำปั่นลำใด มาอยูที่เมืองกวางตุ้งนานอยู่หรือ โยเสฟบาเลศเตียตอบว่า มาจากเมืองอเมริกันเมื่อเดือน ๑๐ ปีระกาเอกศก มาทางทะเลสบายอยู่ มาจากเมืองอเมริกัน มาจาก กำปั่นไฟมาอยู่ที่เมืองกวางตุ้ง ๓ เดือน ลงกำปั่นลำนี้ที่เมืองกวางตุ้ง ท่านเสนาบดีถามต่อไปว่า มาแต่เมืองกวางตุ้งแวะที่ไหนบ้างหรือเข้ากรุง ฯ ทีเดียว โยเสฟบาเลศเตียว่า จะถามอยู่อย่างนี้ป่วยการเพลา ว่ากล่าวเป็นโกรธขึ้ง จึงชักเอาหนังสือในกลีบเสื้อออกยื่นให้ เขียนเป็นอักษรไทยว่า ท่านโยเสฟบาเลศเตียราชทูตอเมริกัน จะขอถวายหนังสือแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว แล้วจะได้เอาหนังสือที่แต่งไว้ฉบับหนึ่งถวายแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวคราวเมื่อยังเฝ้าอยู่นั้น หนังสือ นี้แปลเป็นภาษาไทยเพื่อที่ท่านจะได้ทราบท่านเสนาบดีจึงว่าอย่างธรรม เนียมกรุงเทพ ฯ ที่เอาหนังสือไปถวายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังว่านี้ไม่ได้ จะพูดการสิ่งใดก็ให้พูดกับเสนาบดีให้รู้ความก่อน เสนาบดี และขุนนางทั้งปวงก็รักใคร่กับชาติอเมริกันเป็นอันมาก ความจะพูด กันประการใดจะได้พูดกันไปตามการ ให้สมควรที่เป็นไมตรีสนิทกัน โยเสฟบาเลศเตียว่าจะขอเฝ้าเอาหนังสือฉบับนี้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก่อน ถ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะโปรด ฯ ให้ ขุนนางผู้ใดทำการอันนี้ จึงจะได้พูดความต่อไป ท่านเสนาบดีจึงตอบว่า เมื่อปีมะโรงจัตวาศกศักราชฝรั่ง ๑๘๓๔ ปี ( พ.ศ. ๒๓๗๖ )

๙๗ เอดแมนรอเบต ถือหนังสืออันเรยักสอนเจ้าเมืองอเมริกันเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางค้าขาย หนังสือซึ่งเจ้าเมืองอเมริกันมีมาปิดตราประจำผนึกเป็นสำคัญเข้ามา ท่านเสนาบดีได้จัดเรือกันยาพนักทอง รับหนังสือมาแปล ได้ความแล้วจึงพาเอดแมนรอเบตเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างธรรมเนียมมาแล้วโยเสฟบาเลศเตียเข้ามาครั้งนี้ต้องทำให้เหมือนเมื่อครั้งเอดแมนรอเบตเข้ามา โยเสฟ บาเลศเตียจึงว่าหนังสือเจ้าเมืองอเมริกันมีเข้ามาครั้งนี้จะรับหรือไม่รับท่านเสนาบดีจึงว่าหนังสือนั้นส่งให้ก็จะรับ แต่ที่จะให้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวถวายหนังสือเองนั้นไม่ได้ ด้วยผิดอย่างธรรมเนียมมาแต่ก่อน โยเสฟบาเลศเตียก็ลุกขึ้นจากเก้าอี้เดินออกไปแล้วกลับ เข้ามาถามอีกว่า หนังสือนั้นจะรับหรือไม่รับ ท่านเสนาบดีว่าหนังสือ ให้ไว้ก็จะรับ แต่จะให้เข้าเฝ้าก่อนนั้นไม่ได้ โยเสฟบาเลศเตียจึงพูด กับหมอภาษาอเมริกันจะว่าประการใดไม่รู้ แต่หมอยอนแปลความว่าถ้าไม่รับหนังสือจะไปบอกเจ้าเมืองอเมริกันเขาจะคิดอย่างไรไม่รู้ด้วย แล้วโยเสฟบาเลศเตียโกรธก็กลับไป ความซึ่งจะได้พูดจากันโดยฉันไมตรีก็ยังค้างอยู่ หนังสือสัญญาข้อเก่านั้นมีอยู่ว่า ชาติอเมริกันจะ เข้ามาณกรุงไทย ( จะ ) ทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ ทุกสิ่ง โยเสฟบาเลศเตียจะเอาตามใจของโยเสฟบาเลศเตียไม่ได้ ก็โกรธขึ้งว่ากล่าวเป็นคำแข็ง ณวันขึ้น ๒ ค่ำเดือน ๖ โยเสฟบาเลศเตียทำหนังสือมาให้อีกว่าข้อ ๒ ในหนังสือสัญญาอันแต่งไว้ในศักราช ๑๘๓๓ คือ ปีมะโรง ๑๓ ๙๘ ศักราชไทยข้อนั้นว่า ใครผู้ใดที่มีสินค้าจะซื้อขายกันมิให้ใครห้าม แต่ครั้นตั้งเจ้าภาษีแล้วไม่มีใครอาจจะซื้อขาย เว้นไว้แต่ตามคำของพวกเจ้าภาษีนั้น คำสัญญาจึงสิ้นกำลังหาประโยชน์มิได้ เพราะ เจ้าภาษีคาดค่าแพงให้เกินขนาด พ่อค้าจะซื้อขายกันมิได้ อันจะขายกันได้มีแต่เจ้าภาษีพวกเดียว เพราะมิได้ถือคำสัญญาข้อนี้ และ เพราะค่าธรรมเนียมเป็นอันมากนัก หนังสือสัญญานั้นฝ่ายการซื้อขายกันจึงเป็นเหมือนหนึ่งมิได้เป็นดังนี้เป็นหลายปีมาแล้ว ในศักราช ๑๘๓๘ มีกำปั่น ๒ เสาครึ่งชื่อสตัดมาถึงเมืองไทยนี้ จะใคร่ซื้อน้ำตาลทรายบรรทุกพอเต็มลำ คราวนั้นน้ำตาลทรายมีอยู่ในโรงหลวงเป็น อันมาก อันจะตีราคามีแต่เจ้าภาษีและเจ้าภาษีว่าราคาแพงนัก ผู้ทำน้ำตาลทรายมิอาจจะขายผิดคำเจ้าภาษี กำปั่นนั้นจึงต้องไปซื้อเมือง มนีลา ตั้งแต่คราวนั้นเป็น ๑๒ ปีมาแล้ว และกำปั่นอเมริกันมิอาจ เข้ามาสักลำหนึ่ง ประการหนึ่งราชทูตจะได้ว่าต่อไปให้เจ้าคุณทราบ การตั้งเจ้าภาษีดังว่ามาแล้ว เป็นการผิดข้อคำสัญญาและการซื้อขายกับประเทศอื่น ๆ จะทำได้แต่ในกำปั่นถือธงไทยกำปั่นเหล่านี้มิได้เสียค่า ธรรมเนียม และครั้นสินค้าเป็นของพวกไทย ถึงจะฝากขายเมือง นอกหรือจะซื้อเข้ามามิต้องเสียภาษี อันนี้เป็นการร้ายต่อการของพวกชาวอเมริกัน ครั้นการดังนี้แล้ว และแผ่นดินอเมริกันกับแผ่นดินไทยเป็นมิตร์สหายกันดีแล้ว เป็นอันควรจะได้จัดแจงแต่งหนังสือ สัญญาใหม่

๙๙ ฝ่ายเจ้าแผ่นดินและขุนนางในเมืองอเมริกัน ก็ปรารถนาจะได้ไปมาซื้อขายทำการเป็นอันสมควรด้วยใจกว้างขวางอารีรอบ ถ้าและท่านผู้เป็นกษัตริย์และขุนนางในเมืองไทย ยอมให้ทำอันสมด้วยไมตรีต่อเมืองอเมริกัน ข้างเมืองอเมริกันจะยอมทำต่อเมืองไทยเหมือนกันกำปั่นอเมริกันได้เข้ามาในเมืองไทยฉันใด กำปั่นไทยก็เข้าไปที่เมืองอเมริกันเหมือนฉันนั้น แล้วโยเสฟบาเลศเตียทูตว่า ได้จ้างคนจีน คนหนึ่งจะให้เขียนหนังสือ ครั้นคนจีนคนนั้นขึ้นบกแล้วพวกขุนนาง ไทยพาเอาตัวจีนคนนั้นไปบ้านขุนนางผู้ใหญ่ ให้ซักถามด้วยเหตุ ทั้งปวงของโยเสฟบาเลศเตียราชทูต ตั้งแต่ออกจากเมืองจีนจนมาถึงเมืองนี้ ครั้นได้ความแล้วก็ให้จดเขียนไว้ต่อหน้าขุนนางผู้ใหญ่ อัน ทำดังนี้ โยเสฟบาเลศเตียราชทูตที่มาจากเมืองอันเป็นไมตรี เป็น การผิด การเคืองมากนัก ทนไม่ได้ต้องการจะแก้โทษเสีย ความ ๒ ข้อนี้ท่านเสนาบดีตอบไปว่า เมื่อศักราช ๑๘๓๓ เอดแมนรอเบตเข้ามาทำหนังสือสัญญาไว้ ๑๐ ข้อ ตั้งแต่นั้นมาหามีกำปั่นชาติอเมริกันเข้ามาค้าขายไม่ คอยอยู่เป็นหลายปี ครั้นเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๘๓๘ ปี ศักราชไทย ๑๑๘๙ ปี มีกำปั่นชาติอเมริกันเข้ามาลำหนึ่ง จะมาจัดซื้อน้ำตาลทราย เป็นปลายมรสุม น้ำตาลทรายซื้อขายกันสิ้นแล้ว น้ำตาลทรายในโรงหลวงก็ไม่มี ยังมีอยู่บ้างแต่ น้ำตาลทรายลูกค้าคนละเล็กน้อย ประมาณน้ำตาลทรายสิ้นด้วยกันหนัก ๕,๐๐๐ บาท ครั้งนั้นนักกุดามะหะหมัด นักกุดากุละมะหะหมัดแขกวูกค้าเมืองบุมไบ ( นำ ) กำปั่น ๒ ลำเข้ามาจัดซึ้อน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลทรายแพง ๑๐๐ เจ้าของจะขายหาบละ ๒ ตำลึง ๒ บาท นักกุดามะหะหมัด นัก กุดาละมะหะหมัด นักกุดาละมะหะหมัดต่อให้หาบละ ๒ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ลูกค้าชาติอเมริกันเข้ามาจะซื้อหาบละ ๒ ตำลึง เจ้าพนักงานเห็นว่าลูกค้าชาติอเมริกันไม่ได้มาค้าขายนานแล้ว พึ่งจะมีมา จะช่วยสงเคราะห์ให้ลูกค้าชาติอเมริกันได้ซื้อน้ำตาลทรายไป จะได้เข้ามา ซื้อขายอีก ช่วยว่ากล่าวลูกค้ากรุงเทพ ฯ จะให้ขายน้ำตาลทรายให้กับพวกอเมริกัน ให้ลดราคาลงบ้าง ให้พวกอเมริกันขึ้นราคาให้บ้าง นักกุดามะหะหมัด นักกุดาละมะหะหมัด ลูกค้าเมืองบุมไบต่อไว้ หาบละ ๒ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ลูกค้าพวกอเมริกันไม่ขึ้นราคาให้เจ้าของน้ำตาลทรายก็ไม่ยอมขาย ก็ไม่ได้ซื้อกัน ความดังนี้จะว่า เจ้าภาษีตั้งพิกัดราคาน้ำตาลทรายให้ลูกค้าซื้อขายกันประการใด กรุง ฯ ได้ทำสัญญาแล้วก็รักษาสัญญาไปชั่วฟ้าชั่วดิน ไม่ทำให้ผิดหนังสือสัญญา ใครเอาความไปเล่าบอกกับโยเสฟบาเลศเตียทูตจึงได้หยิบ ยกขึ้นว่า และจีนซึ่งโดยสารเรือมาขึ้นจากกำปั่นรบ จีนคนนี้เป็นจีน เข้ามาอยู่เมืองไทย แล้วกลับออกไปเมืองจีน กลับเข้ามากับกำปั่นรบฝ่ายไทยจะได้รู้ว่าโยเสฟบาเลศเตียทูตจ้างมาให้เขียนหนังสือนั้นหาไม่เป็นอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ คนมาแต่ทางไกลแล้วก็ต้องไถ่ถามถึง ทางไปมา ถามก็ถามเป็นความดีจะถือโทษประการใด ความข้อนี้ เห็นว่าไม่ผิด กรุง ฯ รักษาสัญญาทางไมตรีชาติอเมริกันยิ่งนัก จะรักษาไปชั่วพระอาทิตย์พระจันทร์นั้นอยู่ จะได้หมิ่นประมาททำสิ่งไรเหลือเกินให้โยเสฟบาเลศเตียทูตโกรธขึ้งนั้นหาไม่ จะพาโยเสฟ

๑๐๑ บาเลศเตียทูตเข้าเฝ้าตามซึ่งทำหนังสือมาขอ ก็ยังไม่รู้ความใน พระราชศาสน์ ผิดด้วยอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ ท่านเสนาบดีเห็นว่า โยเสฟบาเลศเตียทูตเป็นคนโทโสโมโหมาก จะไปกระทำเหลือเกิน ในที่เฝ้าเหมือนกระทำกับท่านเสนาบดีขุนนาง และทหารพร้อมกันอยู่ในที่เฝ้า ไม่ให้กระทำก็จะวิวาทกันขึ้น ทางไมตรีก็จะมัวหมองไป ท่านเสนาบดีคิดเห็นโดยใจปรารถนาจะมิให้ทางไมตรีมัวหมอง จึง มิได้นำโยเสฟบาเลศเตียเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ใช่จะมีความรังเกียจ ในชาติอเมริกันนั้นหาไม่ ราชศาสน์นั้นโยเสฟบาเลศเตียทูตส่งให้ ก็จะรับ ไม่ส่งให้จึงไม่รับ ความดังนี้ให้กำมะโดอรหิตขุนนาง นายทหาร และทหารในกำปั่นรบพิเคราะห์ความดูเถิด ถ้าและขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองอเมริกันจะแต่งให้ขุนนางผู้ใดเข้าไปพูดจาด้วยทางไมตรีต่อไป ขอคนที่มีสติปัญญาอัชฌาสัยไม่เป็นโทโสโมโห ให้ ( เหมือน ) เอดแมนรอเบตเข้ามาทำหนังสือสัญญาครั้งก่อน จะได้พูดจาปราสัยโดยดี ผ่อนปรนตามอย่างธรรมเนียมกรุง ฯ บ้าง ทางไมตรีและไมตรียิ่งนานจะได้ยิ่งสนิทยืดยาวสืบต่อไปภายหน้า หนังสือมาณวันอาทิตย์ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ ปีจอ โทศก ครั้นถึงณวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ ท่านเสนาบดีสั่งให้จัดกาแฟกระสอบ ๑ ใบชาหีบใหญ่หีบ ๑ น้ำตาลทรายหนัก ๑๑ หาบ มะพร้าวอ่อน ๑๐๐ ทลาย ผลตาลเฉาะ ๖๐ ทลาย มอบให้กรมการเมืองสมุทรปราการ ลงไปให้กำมะโดอรหิตนายทหารกำปั่นรบอเมริกัน


๑๐๒ ครั้นถึงกำหนดวันจันทร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๖ จึงเอาเรือแง่ทรายที่เตรียมไว้ ๒ ลำมารับโยเสฟบาเลศเตีย กะปิตันปรอน มิชชันนารียอน มิชชันนารีเหา มิชชันนารีสมิท มิชชันนารีดีน มิชชันนารีบุตร หลวงวุฒสรเดชฝรั่ง หลวงอาจ เจ้ากรมทหารปืนใหญ่ นายยิ้ม นายใหญ่ ล่ามฝรั่ง ไปลำหนึ่ง หลวงวุฒสรเดชเจ้ากรมทหารปืนใหญ่ขี่เรือป้องกันทูตลงไปส่งเมืองสมุทรปราการลำหนึ่ง ได้มอบหนังสือที่มีไปถึง กำมะโด ให้นายยิ้มล่ามลงไปส่งให้กำมะโดที่กำปั่น ครั้นทูตลงไปถึง เมืองนครเขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองกรมการให้เชิญทูตขึ้นพักที่ศาลากลาง ได้จัดสำรับคาว ๑๐ สำรับ สำรับหวาน ๑๐ สำรับ ลูกไม้น้ำร้อนน้ำชาเลี้ยงทูต ครั้นลงไปถึงเมืองสมุทรปราการเพลาบ่าย ๔ โมงเศษ เจ้าเมืองกรมการได้เชิญทูตขึ้นพักที่ศาลากลาง จึงจัดกับข้าวของกินอย่างฝรั่งเลึ้ยงทูต แล้วโยเสฟบาเลศเตียทูต กะปิตันปรอน มิชชันนารีบุตร มิชชันนารียอน มิชชันนารีสมิท มิชชันนารีเหา มิช ชันนารีดีน นายยิ้ม นายใหญ่ล่าม ลงเรือของกะปิตันปรอนไปลงกำปั่นนอกหลังเต่า ครั้นณวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ โทศก กะปิตันปรอนมิชชันนารีมะตูน มิชชันนารียอน มิชชันนารีดีน มิชชันนารีเหา มิช ชันนารีสมิท นายยิ้ม นายใหญ่ กลับมาจากกำปั่นรบอเมริกัน กำ มะโดอรหิตมีหนังสือตอบมาถึงพระนายไวยวรนาถฝากนายยิ้มล่ามขึ้นมาฉบับหนึ่ง โยเสพบาเลศเตียทูตมีหนังสือมาถึงเจ้าคุณท่านพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ให้มิชชันนารีบุตรถือขึ้นมาฉบับหนึ่ง ถึง

๑๐๓ กรุง ฯ ณวันแรมค่ำหนึ่งเดือน ๖ พระยาพิพัฒน์โกษาราชปลัดให้ นายพานิชบุตร์มิศหันแตร ขุนปรีชาชาญสมุทร นายยิ้มล่าม พร้อม กันที่เวรกรมท่า แปลหนังสือออกเป็นไทย ได้ความในหนังสือโยเสฟบาเลศเตียว่า หนังสือโยเสฟบาเลศเตียราชทูตเมืองอเมริกัน มายังท่านเจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์รัตน ราชโกษาผู้ประเสริฐ ด้วยณวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ ปีจอโทศกเพลาค่ำได้รับหนังสือของเจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์ ฯ ตอบข้อ ๑ ข้อ ๒ บาเลศเตียได้ความเข้าใจแล้ว เมื่อไรมีเวลาจะเอาหนังสือของเจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์ ฯ กับหนังสือบาเลศเตียไปให้เปรสิเดนต์ดู เจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์ ฯ ว่าวันพร้อมกันที่หอเจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์ ฯ นั้น บาเลศเตียโกรธเป็นคนโทโสโมโหนั้นไม่จริง บาเลศเตียหาได้คิด โกรธขึ้งไม่ บาเลศเตียไปหาขุนนางเมืองอื่น ๆ ก็หาตามธรรมเนียมอย่างนี้ เจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์ ฯ จะต้องรู้ธรรมเนียมที่เมืองอาหรอบ อเมริกัน ไม่ได้นบนอบหมอบคลานกันเหมือนที่กรุง ฯ เจ้าคุณคิดว่าบาเลศเตียโกรธนั้นเจ้าคุณโกรธเสียเปล่า ด้วยธรรมเนียมอเมริกัน จะพูดจากันในที่ประชุมขุนนางพร้อมแล้ว คนที่พูดต้องยืนขึ้นพูดดัง ๆ ให้ได้ยินทั่วกัน เจ้าคุณหยิบเอาความโกรธนี้ไว้ว่ามาไม่มีหนังสือ เจ้าคุณว่าความที่ไม่ให้เฝ้าทั้งสองครั้งนั้นก็ไม่ได้บอก ด้วยเหตุไม่ให้ ไปเฝ้า เพราะไม่ได้ปิดตราเปรสิเดนต์ที่หนังสือ เมื่อทีหลังนั้นได้ให้ ขุนนางไปดูตราเปรสิเดนต์ แล้วขุนนางว่าไม่มีตราประจำผนึกจึง ไม่ยอมให้ไปเฝ้า เจ้าคุณเห็นจะลืมไปด้วยเหตุที่พูดจายืดยาว ก่อน

๑๐๔ บาเลศเตียลุกขึ้นจากเก้าอี้ ได้ว่าทำอย่างนั้นไม่ถูก ต้องว่าอย่างนั้น เป็นความประมาทเปรสิเดนต์เจ้าแผ่นดินอเมริกัน แล้วประมาทไมตรีชาติอเมริกันทั้งสิ้น ขุนนางไทยทั้งสิ้นคิดทำอย่างนี้ก่อนบาเลศเตีย ยังไม่ถึงปากน้ำ ขุนนางไทยได้บอกความอันนี้ จะว่าต่อไปด้วยความ ที่จะถวายหนังสือเปรสิเดนต์เจ้าแผ่นดินอเมริกัน ทูตบาเลศเตียได้ อ่านหนังสือพิมพ์ที่เอดแมนรอเบตเข้ามากรุง ฯ ครั้งก่อน หาเห็นมี ข้อความชี้แจงที่จะถวายหนังสือของเปรสิเดนต์ประการใดไม่ เพราะอย่างนั้นบาเลศเตียจึงไม่มีข้อที่จะรู้ เมื่อการะฝัดทูตอังกฤษเข้ามา ทำหนังสือสัญญาที่กรุง ฯ มีข้อความประการใดได้ใส่ในหนังสือ พิมพ์ทุกข้อ เมื่อทูตการะฝัดถือหนังสือเจ้าเมืองบังกล่าเข้ามาถวายนั้น เสนาบดีได้มาประชุมพร้อมกันเหมือนอย่างที่บ้านเจ้าคุณศรีพิพัฒน์ ฯ เมื่อทูตการะฝัดจะส่งหนังสือให้ขุนนางไทยนั้น ขุนนางไทยได้สัญญา ว่าหนังสือนั้นจะแปลออกเป็นภาษาไทยแล้วจึงจะเอาต้นหนังสืออังกฤษคำที่แปลออกเป็นไทยไปถวายเมื่อเพลาทูตการะฝัดเข้าเฝ้านั้น ทูต หาได้เห็นขุนนางผู้ใดได้เอาต้นหนังสืออังกฤษและคำที่แปลออกเป็นไทยอ่านถวายไม่ เพราะบาเลศเตียเห็นในหนังสือนั้นแล้ว บาเลศเตียจะทำเหมือนอย่างทูตการะฝัดเข้ามานั้นไม่ได้ ผิดคำสั่งของเปรสิเดนต์ เจ้าแผ่นดินอเมริกัน และหนังสือของบาเลศเตียที่แปลเป็นภาษาไทย ส่งให้กับเสมียนผู้คุม ความในหนังสือนั้นเป็นหนังสือเป็นหนังสือเปรสิเดนต์ฉบับหนึ่ง หนังสือบาเลศเตียฉบับหนึ่งเจ้าคุณได้ทราบในหนังสือนั้นแล้วกับเจ้าคุณได้ว่าความที่ภาษีน้ำตาลทรายนั้น เจ้าคุณไม่ได้บอกตรง

๑๐๕ ว่าภาษีมี ภาษีไม่มี เจ้าคุณว่าใครเอาความไปบอกกับบาเลศเตียว่าภาษีมี ทำไมบาเลศเตียว่าเจ้าภาษีตั้งพิกัดราคาน้ำตาลทรายให้ลูกค้าซื้อขายกันไม่ได้ให้ผิดหนังสือสัญญา บาเลศเตียตอบว่า ซึ่งลูกค้า ขายซื้อกันเองไม่ได้ก็ไม่ว่า ลูกค้าจะซึ้อน้ำตาลทรายที่เจ้าภาษี ไม่ได้ก็ไม่ได้ว่า ตำแหน่งที่เคยซื้อน้ำตาลทรายที่ในกรุง ฯ ควรที่จะ เชื่อได้ ไม่บอกให้บาเลศเตียรู้ความ น้ำตาลทรายที่กรุง ฯ ทั้งสิ้น ต้องไปหาจีน ๒ คน ชื่อเจ๊สัวฉิมผู้ใหญ่ ๑ เจ๊สัวยง ๑ คน ๒ คน นั้นตีราคาน้ำตาลทรายแล้วทีหลังขายกับลูกค้าตามชอบใจ ตีราคา แพงกว่าเจ้าของโรงงานน้ำตาล ๆ ขายราคาน้ำตาลทรายถูกกว่าที่กรุง ฯ ก็ยังมีกำไรอยู่ และน้ำตาลทรายที่ลูกค้าบรรทุกเข้ามาขายณกรุง ฯ นั้นเก็บเข้าในคลังหลวงเสียเกือบหมด ถึงเวลาเจ้าภาษีจะต้องการขาย ก็เอาออกขาย ความดังนี้บาเลศเตียว่าไทยทำผิดหนังสือสัญญาประเดี๋ยวนี้บาเลศเตียเห็นว่าเป็นความผิดจริง ในหนังสือบาเลศเตียได้เขียนแต่เดิมนั้นได้ขอให้แปลงความดังนี้เสียใหม่ และน้ำมัน มะพร้าวเป็นของซื้อขาย ของอื่น ๆ ก็มีภาษีเหมือนกันกับน้ำตาลทรายเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๘๔๒ ปี ( พ.ศ. ๒๓๘๕ ) ในปีนั้นราคาน้ำมันมะพร้าวหาบละ ๑ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึงบ้าง ๑ ตำลึง ๒ บาท ๒ สลึงบ้าง ในเดี๋ยวนี้เจ้าภาษีเก็บไว้จำหน่ายเอง ราคาน้ำมันมะพร้าวเป็นหาบละ ๑ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง แล้วเอาออกขายปลีกพอใช้สอยกันที่กรุงเทพ ฯ หาบ ๑ เป็นราคา ๑๒ บาทบ้าง ๑๕ บาทบ้าง กับทำผิดสัญญาอีกอย่างหนึ่ง เหล็กกล้าและเหล็กอื่น ๆ ที่ได้เข้ามากับ ๑๔ ๑๐๖ กำปั่นอเมริกันที่ได้เสียค่าธรรมเนียมวาละ ๑,๗๐๐ บาทแล้ว ลูกค้า จะซื้อเหล็กนั้นยังต้องเสียภาษีอีกหาบละ ๑ บาท เพราะอย่างนั้นราคาเหล็กจึงสูงขึ้นหาบละ ๑ บาท หาได้ยอมให้บาเลศเตียทูตมีท่าทางปรึกษาราชการของทูตไม่ บาเลศเตียจะใคร่พูดความอื่น ๆ เป็นความสำคัญหลายอย่าง ท่านเสนาบดีจะได้ปรึกษากันอย่างนี้เป็นอย่างหนึ่งขอได้โปรดให้กงสุลอเมริกันเข้ามาอยู่ณกรุง ฯ คนหนึ่ง ถ้าไม่โปรด ให้กงสุลเข้ามาอยู่ จะทำหนังสือสัญญาประการใดก็ไม่เป็นผล เจ้าคุณแก้ความที่จับเอาตัวจีนของทูตไปไถ่ถามไล่เลียงความนั้นว่าไม่ถูก เพราะว่าคุณพระนายไวยวรนาถให้คนที่ปากน้ำไปเอาตัวจีนมาคุมไว้ แล้วส่งขึ้นมาณกรุง ฯ ไล่เลียงไถ่ถามความต่อไป เมื่อ แรกถามขุนนางก็จะต้องรู้ว่าเป็นคนของทูตลาเลศเตีย ทูตจะต้องให้ ขุนนางรู้ว่าความอันนี้เป็นความผิด แล้วผิดกับธรรมเนียมนับถือทูตข้าพเจ้าขอคำนับมายังเจ้าคุณพระยาศรีพิพัฒน์ ฯ เป็นอันดี หนังสือนี้เขียนที่บ้านราชทูตอยู่ณวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ ศักราชฝรั่ง ๑๘๕๐ ปี จอโทศก หนังสือฉบับนี้ไม่ได้ตอบ หนังสือกำมะโดตอบมาถึงพระนายไวยวรนาถนั้น แปลออกได้ความว่า หนังสือกำมะโดอรหิตนายทหารและกองทัพของเมืองอเมริกันข้างอินเดีย คำนับมาถึงท่านพระนายไวยวรนาถ ผู้ได้บังคับกำปั่นรบและปากน้ำณกรุงเทพ ฯ ให้ทราบ ด้วยได้รับหนังสือของท่านเขียน มาแต่กรุง ฯ ณวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ เล่าความซึ่งทูตอเมริกันมิศโยเสฟบาเลศเตีย ได้กระทำการเมื่อมาจัดแจงว่ากล่าวด้วยหนังสือสัญญา

๑๐๗ อเมริกันณกรุง ฯ นั้น อนึ่งคำนับมาถึงต่อไปว่า หนังสือของท่าน ซึ่งมีออกมาถึงด้วยการดังนี้ ก็จะมีไปถึงเปรสิเดนต์เมืองอเมริกัน ข้างเหนือให้ทราบด้วยคำนับมาถึงท่าน หนังสือเขียนที่เรือกำปั่นรบ ปลิแประโมตทอดที่ใกล้เกาะริ้น เมื่อณวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ ปีจอ โทศก ต้นฉบับอยู่ (กับ) คุณพระนายไวยวรนาถ และหนังสือเจ้าแผ่นดินเมืองอเมริกันที่บาเลศเตียถือเข้ามาว่าเป็นราชศาสน์นั้น มีสำเนาเข้ามาด้วย ได้ขอคัดลอกเอาสำเนามาจาก หมออเมริกันไว้ ความในสำเนานั้นมีว่า สากรีเตเลอ ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินอเมริกันทั้ง ๓๐ เมืองที่เข้ากันเป็นเมืองเดียว คำนับมาถึงท่านผู้เป็นกษัตริย์อันใหญ่ในพระมหานครศรีอยุธยา ดูกรท่านผู้เป็นมิตร์สหายอันใหญ่อันประเสริฐ เราได้ลงใจเลือกให้มิศโยเสฟบาเลศเตียไว้ใช้เป็นราชทูตผู้ใหญ่ ไปอาศัยใน เมืองของท่าน ให้รับธุระที่จะปรึกษาว่ากล่าวด้วยความอันเป็นข้อใหญ่หลายข้อ อันเป็นการสำหรับเมืองอเมริกันกับมหานครศรีอยุธยา เราขอให้ท่านโปรดปรานป้องกันรักษามิศโยเสฟบาเลศเตียไว้ อนุเคราะห์ให้มีช่องจะได้ทำให้พนักงานนี้สำเร็จโดยสะดวก มิศโยเสฟบา เลศเตียผู้นี้ว่าจะเป็นประการใด ขอให้ท่านไว้วางพระทัยเชื่อได้ ถ้า จะว่าข้าพเจ้าถือไมตรีต่อท่านเป็นชะนิดดี จงเชื่อเถิดเป็นความจริงข้าพเจ้าขอพระเป็นเจ้าทรงพระกรุณารักษาท่าน ผู้เป็นมิตร์สหายและประเสริฐ ให้จำเริญพระชันษาเถิด ข้าพเจ้าจึงปีดตราสำหรับเมืองอเมริกันทั้ง ๓๐ เมืองเข้ากันเป็นเมืองเดียวนั้นเป็นสำคัญ และเขียนชื่อ

๑๐๘ ของข้าพเจ้าลงเป็นสำคัญด้วย ณเมืองวอชิงตันคฤศตศักราช ๑๘๔๙ เดือนออกัสต์ ๑๖ ค่ำ นับแต่อเมริกันตั้งเป็นเมือง ๗๔ ปี แปลเป็นไทย จุลศักราช ๑๒๑๑ ปี เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีระกาเอกศก ความในหนังสือเจ้าแผ่นดินเมืองอเมริกัน ซึ่งบาเลศเตียว่าเป็นหนังสือให้เข้ามาเป็นสำหรับตัวนั้นได้ความว่า สากรีเตเลอ ผู้เป็น เจ้าแผ่นดินเมืองอเมริกัน ให้มาแก่ขุนนางผู้ใหญ่ผู้ควรจะรู้หนังสือนี้ ให้เข้าใจเถิดว่า มิศโยเสฟบาเลศเตียเป็นชาวเมืองอเมริกันนั้น เรา ไว้ใจในมิศโยเสฟบาเลศเตียเป็นอันดีว่า เป็นผู้ซื่อสัตย์มีสติปัญญา เราจึงตั้งมิศโยเสฟบาเลศเตียนั้นให้ว่าความสิทธิ์ขาด ให้รับธุระฝ่ายข้างเมืองอเมริกัน เป็นพนักงานสำหรับจะได้ไปสู่หาปรึกษากันกับ ผู้ใด ๆ ที่พระมหากษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยานั้น ได้ ตั้งให้มีความสิทธิ์ขาดเหมือนกัน จะได้เอาหนังสือสัญญาเดิมซึ่ง จัดแจงทำไว้ในปีมะโรง ล่วงมาได้ ๑๘ ปีแล้ว ออกมาปรึกษาแล้ว จะได้แปลงเปลี่ยนเสียบ้างเติมเข้าบ้าง เมื่อปรึกษาด้วยการทางไมตรี และการซื้อขายและข้อความใด ๆ อันเป็นเหตุที่การจะปรึกษาให้ตกลงเห็นพร้อมกันแล้ว มิศโยเสฟบาเลศเตียจะได้ลงชื่อเป็นสำคัญ ฝ่ายข้างเมืองอเมริกันนั้น แล้วจะได้เอาหนังสือสัญญานั้นส่งออกไปให้แก่เจ้าแผ่นดินอเมริกันนั้น เมื่อเจ้าแผ่นดินอเมริกันกับที่ปรึกษา เห็นชอบพร้อมกันแล้ว จะได้ลงชื่อของเจ้าแผ่นดินนั้นเสร็จแก่กัน ด้วยเหตุที่ว่ามาแล้ว เราจึงปิดตราสำหรับแผ่นดินเมืองอเมริกันเปสำคัญ ได้เขียนชื่อของเราด้วยที่เมืองวอชิงตันในคฤศตศักราช ๑๐๙ ๑๘๔๙ เดือนออกัสต์ ๑๖ ค่ำ เป็นจุลศักราช ๑๒๑๑ ปี เป็นเดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีระกาเอกศก สิ้นความในหนังสือ ๒ ฉบับเท่านี้ ต้นหนังสือและสำเนาหนังสือ ๒ ฉบับ บาเลศเตียทูตไม่ได้ส่งให้ บาเลศเตียจะขอเข้าเฝ้าถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทีเดียว บาเลศเตียไม่ได้เฝ้า ต้นหนังสือสำเนาหนังสือบาเลศเตียทูตก็พากลับออกไปเมืองอเมริกันทั้งสองฉบับ ร่างมีขอลอกไว้จากหมออเมริกัน จีนเสี่ยงที่มากำปั่นลำเดียวกับโยเสฟบาเลศเตีย ๆ ว่าจ้างจีน ( เสี่ยง ) มาเขียนหนังสือ ขุนนางเอาตัวจีน ( เสี่ยง ) มาไถ่ถามนั้นถามได้ความว่า ข้าพเจ้าจีนเสี่ยงแต้จิ๋วแซ่หลิมให้การว่า เดิมข้าพเจ้าอยู่เมืองหัวเนียกุยแขวงเมืองตังเลง เมื่ออายุข้าพเจ้า ๒๗ ปี ข้าพเจ้าโดยสารสำเภาลูกค้าเมืองตังเลงเข้ามาณกรุงเทพ ฯ ได้ปีหนึ่ง หมอดีนฝรั่งอเมริกันเชิญให้ข้าพเจ้าสอนหนังสือจีน ข้าพเจ้าได้สอนหนังสือจีน หมอดีนอยู่ได้ประมาณ ๙ ปี หมอดีนให้ค่าจ้างข้าพเจ้าเป็นเงินตราเดือนละ ๔ ตำลึง แล้วหมอดีนสรรเสริญศาสนาของหมอดีนว่าประเสริฐ ข้าพเจ้าก็เชื่อถือ ข้าพเจ้าจึงเข้ารีดฝรั่งชาติอเมริกัน จนทุกวันนี้ จะเป็นปีเดือนใดข้าพเจ้าจำมิได้ หมอดีนโดยสาร กำปั่นออกไปอยู่เมืองจีนได้ประมาณ ๓ ปี เมื่อปีมะแมนพศก ( พ.ศ. ๒๓๘๐ ) ข้าพเจ้าโดยสารกำปั่นส่งพระราชศาสน์ออกไปณเมืองกวางตุ้ง ข้าพเจ้าไปสอนหนังสือจีนหมอดีนอยู่ที่ฮ่องกงได้ประมาณ ๓ ปี เมื่อเดือนข้างแรมกี่ค่ำจำไม่ได้ หมอดีนไปเมืองมาเก๊า

๑๑๐ หมอดีนกลับเข้ามาบอกกับข้าพเจ้าว่า กำปั่นรบชาติอเมริกันมา ทอดอยู่ที่หน้าเมืองมาเก๊าลำหนึ่ง จะเข้ามาณกรุงเทพ ฯ ได้ไปว่า ขอแก่กะปิตันนายกำปั่นจะโดยสารเข้ามาณกรุง ฯ ด้วย นายกำปั่นก็ยอมให้โดยสาร ครั้นณวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๔ นายกำปั่นมีหนังสือ มาถึงหมอดีนว่า กำปั่นจวนกำหนดจะใช้ใบให้หมอดีนไปลงกำปั่นข้าพเจ้ากับหมอดีนก็ขนของจากเรือเล็ก ให้มาส่งขึ้นกำปั่นรบที่หน้าเมืองมาเก๊าอยู่ที่กำปั่นวันหนึ่ง ณวันขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๔ ปีระกาเอกศก กำปั่นรบอเมริกันออกใช้ใบจากเมืองมาเก๊ามากลางทะเล ๔ วันถึงปากน้ำเมืองหุยวาน ขุนนาง ญวนนายด่านลงมาถามที่กำปั่น ได้ทราบความแล้วมีหนังสือบอกขึ้นไปถึง จงต๊ก เมืองหุยวานว่า กำปั่นรบชาติอเมิรกันมาทอดอยู่ที่ ปากน้ำลำหนึ่งอยู่ประมาณ ๑๒ วันญวนนายด่านลงไปบอกกับนาย กำปั่นว่า จงต๊ก เมืองหุยวานลงมาที่ปากน้ำแล้ว จะมาพูดจาประการใดก็ให้นายกำปั่นขึ้นไปที่ปากน้ำเถิด นายกำปั่นทราบความว่าจงต๊กเมืองหุยวานลงมาอยู่ที่ปากน้ำ ขุนนางนายกำปั่นชาติอเมริกัน ๔ คนกับ ลูกเรือคนถ่อประมาณ ๑๐ คน ข้าพเจ้ากับหมอดีนก็ขึ้นไปด้วย ข้าพเจ้าเห็นที่ปากน้ำมีโรงกงก๊วน ขื่อประมาณ ๑๐ ศอกหลังคา มุงกระเบื้องหลังหนึ่ง จะเป็นกี่ห้องนั้นข้าพเจ้าหาได้สังเกตไม่ ข้าพเจ้าเห็นจงต๊กเมืองหุยวานนั่งเก้าอี้อยู่ ญวนถือง้าว ถือดาบ ถือโล่ห์ ยืนอยู่ข้างหน้า ๒ แถว ๆ ละ ๑๐ คน ขุนนางฝรั่งอเมริกันไปถึง จงต๊กก็ยืนต้อนรับ แล้วนั่งลงพูดกันเป็นภาษาอังกฤษ จะพูดกันประการ

๑๑๑ ใดข้าพเจ้าหาทราบไม่ พูดกันอยู่ประมาณชั่วโมงหนึ่ง จงต๊กให้ญวนจัดโต๊ะอย่างฝรั่งโต๊ะหนึ่ง เชิญให้นายกำปั่นกิน นายกำปั่นก็ไม่กิน พูดกันแล้วก็กลับลงมากำปั่น ข้าพเจ้าถามหมอดีนว่าขึ้นไปพูดกันด้วยความสิ่งไร หมอดีนจึงเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า นายกำปั่นขึ้นไปพูด กับจงต๊กว่าจะมาทำหนังสือสัญญาค้าขายที่เมืองญวน จงต๊กว่าสินค้าที่เมืองญวนมีน้อย ลูกค้าใหญ่ที่จะรับรองสินค้าก็ไม่มี ที่จะมาค้าขายนั้นเห็นจะไม่ได้ นายกำปั่นจัดแจงตักน้ำหาฟืนได้เสร็จแล้ว ครั้น ณวันขึ้น ๒ ค่ำเดือน ๕ นายกำปั่นก็ออกใช้ใบจากปากน้ำเมืองหุยวานมากลางทะเล ข้าพเจ้าได้พูดกับหมอดีนว่า ฝรั่งชาติอเมริกันจะเข้ามากรุง ฯ ด้วยราชการสิ่งไร หมอดีนบอกกับข้าพเจ้าว่าจะเข้ามาทำ หนังสือสัญญาค้าขายกับกรุงเทพฯ ใหม่ จะขอลดค่าธรรมเนียมให้น้อย ลงกว่าที่มาทำหนังสือสัญญาไว้ครั้งก่อน หมอดีนได้พูดให้ข้าพเจ้าฟัง แต่เท่านี้ กำปั่นใช้ใบมากลางทะเล ๑๐ วัน ณวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๕ ถึงปากน้ำเจ้าพระยา อยู่ ๒ วันข้าพเจ้าเห็นกำปั่นไฟฝรั่งชาติอังกฤษแล่นกลับออกไป ครั้นณวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๕ จมื่นไวยวรนาถให้เรือบรรทุกของออกไปให้ที่กำปั่น ข้าพเจ้าจึงโดยสารมาด้วย มาถึง ด่านเมืองสมุทรปราการ ขุนนางจะชื่อไรหาทราบไม่ เอาตัวข้าพเจ้า ไปถามจดหมายเอาถ้อยคำข้าพเจ้าไว้ แล้วส่งข้าพเจ้ามาณกรุง ฯ สิ้นคำให้การข้าพเจ้าเท่านี้ บาเลศเตียทูตเข้ามาครั้งนี้ เจ้าพนักงานจัดของแต่งเรือนทูต และจัดของทักและจ่ายของหลวงในนี้

๑๑๒ วันอาทิตย์แรม ๓ ค่ำเดือน๕ ปีจอโทศก พระยาศรีพิพัฒน์โกษารับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าเมืองอเมริกันแต่งให้บาเลศเตียขุนนางถือหนังสือเข้ามาเป็นทางไมตรี บาเลศเตียขี่กำปั่นรบเข้ามา กำปั่นกินน้ำลึกเข้ามาปากน้ำไม่ได้ ให้เรือออกไปรับตัวบาเลศเตีย๑ ขุนนางรอง ๑ หมอดีน ๑ คนใช้ ๑รวม ๔ คน กำหนดจะได้ขึ้นมาณกรุง ฯ ขึ้นอยู่เรือนพักหน้าวัดประยุรวงศ์อาวาส ณวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๕ ปีจอโทศกเพลาเช้านั้น สี่ตำรวจไปยืมเตียงมาจากกรมท่าไปตั้งให้บาเลศเตีย ๑ ขุนนางรอง ๑ หมอ ๑ รวม ๓ หลัง พระคลังวิเศษเอามุ้งแพรไปผูกให้บาเลศเตีย ๑ ขุนนางรอง ๑ หมอ ๑ รวม ๓ หลัง พระคลังในซ้ายเอาฟูกไปปูเตียง ๓ ฟูก ผ้าขาวไปปูฟูก ๓ ฟูกหมอนหนุนศรีษะ๓ใบ หมอนข้าง๓ ใบ ให้บาเลศเตีย ๑ ขุนนางรอง ๑ หมอ ๑ รวม ๓ คน ให้รักษาองค์รับอ่างเขียวต่อพระคลังในซ้ายไปตั้งให้ฝรั่ง ๓ ใบ ให้พระคลังในซ้ายจ่ายอ่างเขียวให้รักษาพระองค์ ๓ ใบ ให้กรมพระกลาโหมจ่ายตุ่มน้ำให้กรมเมือง ๒ ใบ ให้กรมเมืองรับเอาตุ่มน้ำต่อกรมพระกลาโหมไปตั้งให้ฝรั่งแขกเมือง ๒ ใบ ให้ กรมนาเอาข้าวสารซ้อมไปจ่ายให้ฝรั่งและทหาร๑๐วันไปครั้งหนึ่งครั้งละ ๓๐ถังกว่าฝรั่งจะกลับ และพระคลังราชการเอาเสื่ออ่อน ๒ ชั้นไปปูเตียงให้ฝรั่ง ๓ ผืน เสื่อห้อง ฟืนหุงข้าว น้ำมันมะพร้าว ให้เจ้าพนักงานข้างที่เร่งเอาสิ่งของไปเตรียมณโรงพักฝรั่งแต่ณวันแรม ๖ ค่ำเดือน ๕ เพลาเย็นให้พร้อม และให้ขุนศาลมหาดไทย ขุนศาลกลาโหม ขุนศาลจตุสดมภ์จัดแจงแต่งสิ่งของเวียนกันไปทักฝรั่งเมืองอเมริกัน มหาดไทย

๑๑๓ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ที่ ๑ กลาโหม วันแรม ๑๑ ค่ำเดือน ๕ ที่ ๒ กรมวังวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๕ ที่ ๓ กรมนาวันขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๖ ที่ ๔ กรมเมืองวันขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๖ ที่ ๕ กรมท่าวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๖ ที่ ๖ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้จัดสิ่งของเวียนกันไปทักแขกเมืองฝรั่ง ๓ วันครั้งหนึ่งกว่าแขกเมืองจะกลับไป และส่งของซึ่งไปทักนั้นราคาเป็น เงิน ๑ ตำลึงจงทุกครั้ง แล้วให้ทำหางว่าวยื่นเสมียนตรา ยื่นกรมท่าจงทุกครั้ง ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษารับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้กรมนาเอาน้ำนมโคมาจ่ายให้ฝรั่งแขกเมืองแต่ณวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๕ เพลาเช้าเสมอทุกวันกว่าฝรั่งแขกเมืองจะกลับไป วันแรม ๗ ค่ำเดือน ๕ ปีจอโทศก โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเงินกับขุนนางอเมริกันให้ซื้อจ่ายรับพระราชทาน ๑ ชั่ง ให้พระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินให้พระคลังวิเศษ ๑ ชั่ง ให้พระคลังวิเศษไปรับเอาเงินต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ ลงไปณจวนท่านพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา แต่ณวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๕ ปีจอโทศก เพลาเช้า จะได้พระราชทานให้กับขุนนางอเมริกัน วันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำเดือน ๖ ปีจอโทศก หมายไปว่า ให้หลวงอุดมภักดีจางวางฝีพายจัดเรือกราบยาว ๑๑ วาลำหนึ่ง มีกันยาให้นายนิด นายชิด จัดพนักข้างพนักหลัง แต่งให้ครบกระทง ให้มาคอยรับอาลักษณ์กับพาน ๒ ชั้น ไปรับหนังสือเจ้าเมืองอเมริกันที่โรงพัก ๑๕

๑๑๔ หน้าวัดประยูรวงศ์อาวาสแต่ณวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๕ เพลาเช้า ล่ามเอาหนังสือมาส่งให้ อาลักษณ์เอาหนังสือใส่พาน ๒ชั้นกลับมาประทับหน้าพระตำหนักน้ำ ให้อาลักษณ์เอาหนังสือมาส่งณโรงพระมาลาภูษา แล้วให้พันพุฒ พันเทพราชจ่ายเลขให้นายนิดนายชิด แล้วนายนิด นายชิดไปรับเสื้อแดงหมวกแดงต่อชาวพระคลังเสื้อหมวกให้ครบกะทง แล้วให้นายเวรกรมพระอาลักษณ์เอาพาน ๒ ชั้นไปลงเรือหน้าพระตำหนักน้ำ ณวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๕ ปีจอโทศก เพลาเที่ยงไปรับหนังสืออเมริกันณโรงพักหน้าวัดประยูรวงศ์อาวาส ล่ามส่งหนังสือให้แล้ว ให้อาลักษณ์ใส่พาน ๒ ชั้นมาถึงหน้าพระตำหนักน้ำ แล้วให้เอาหนังสือมาส่งณตึกพระมาลาภูษา แล้วให้นายเวรกรมท่ารับเอาหนังสืออเมริกัน ไปแปล ให้พระคลังเสื้อหมวกจ่ายเสื้อแดงหมวกแดงให้กับนายนิด นายชิดให้ครบพลพาย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง เงินซึ่งเคยพระราชทานให้ทูตเข้ามาแต่ก่อน ๆ กับให้ขุนศาลทักทูตนั้น ทูตเข้ามาครั้งนี้ให้งดหาได้พระราชทานและจัดของให้ขุนศาลจัดของมาทักไม่ แต่เงินค่ากับข้าวซึ่งทำเลี้ยงทูตนั้น ให้เรี่ยรายเอาเงินที่เจ้าภาษีขึ้นในกรมท่า พระคลังสินค้า ให้พระยาวิเศษสงครามฝรั่งจัดพ่อครัวทำกับข้าว



๑๑๕ รายนามบุคคลที่ปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องบัลเลศเตีย ทูตอเมริกันเข้ามาในรัชกาลที่ ๓ เท่าที่สืบสวนได้

๑ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ๒ เจ้าพระยาพระคลัง( ดิศ )คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ ในรัชกาลที่ ๔ เวลานั้นลงไปตั้งสักเลขอยู่ที่เมืองชุมพร ๓ พระยาศรีพิพัฒน (ทัต)คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔ ๔ พระยาราชสุภาวดี(โต ) คือเจ้าพระยานิกรบดินทร ที่สมุหนายก ในรัชกาลที่ ๔ ๕ พระยาสุรเสนา ( สุก ) เป็นเจ้าพระยายมราช ในรัชกาลที่ ๔ ๖ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ( บุญมา ) เป็นพระยาไกรโกษา ใน รัชกาลที่ ๔ ๗ พระยาจุฬาราชมนตรี ( นาม ) ๘ พระยาพิพัฒนโกษา(บุญศรี)เป็นพระยามหาอำมาตย์แล้วเลื่อน เป็นเจ้าพระยาธรรมาในรัชกาลที่ ๔ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุธรรม มนตรีในรัชกาลที่ ๕ ๙ พระยาเพ็ชร์ชฎา สืบไม่ได้ความ ๑๐ พระยาราชวังสรรค์ ( บัว )


๑๑๖ ๑๑ พระยาวิเศษสงคราม ( จัน นามคฤศตังว่า เบนิดิกต์ ) ๑๒ พระยาวิเศษศักดา สืบไม่ได้ความ ๑๓ พระยาสวัสดิวารี (ฉิม) เรียกในจดหมายเหตุบางแห่งว่าเจ๊สัวฉิม ๑๔ พระพิทักษทศกร ( ยัง ) เรียกในจดหมายเหตุบางแห่งว่า เจ๊สัวยง ๑๕ พระนายไวยวรนาถ(ช่วง)ต่อมาเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวาง มหาดเล็ก ถึงรัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุห พระกลาโหม ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ ๑๖ พระมหามนตรี ( สวัสดิ์ ) ถึงรัชกาลที่ ๔ เป็นพระยาสุรเสนา ๑๗ พระสุริยภักดี ( นุช ) ในรัชกาลที ๔ เป็นพระยามหามนตรี แล้วเลื่อนเป็นเจ้าพระยายมราช และเป็นเจ้าพระยาภูธราภัย ที่ สมุหนายก ๑๘ พระนรินทรเสนี สืบไม่ได้ความ ๑๙ จมื่นราชามาตย์ ( ขำ ) ถึงรัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้าพระยารวิวงศ แล้วเลื่อนเป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี ๒๐ หลวงอาจณรงค์ สืบไม่ได้ความ ๒๑ หลวงวุฒสรเดช สืบไม่ได้ความ ๒๒ หลวงฤทธิสรเดช สืบไม่ได้ความ ๒๓ หลวงฤทธิสำแดง สืบไม่ได้ความ


๑๑๗ ๒๔ ขุนปรีชาชาญสมุท ( ดิศ ) ฝรั่งเรียกว่ากัปตันดิก เป็นข้าหลวง เดิมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลที่ ๔ เป็นหลวงสุรอาสา ๒๕ นายยิ้ม เป็นฝรั่ง ชื่อเชมส์ เฮส์ ๒๖ นายใหญ่ สืบไม่ได้ความ ๒๗ หมอยอน เตเลอ โยนส์ (ในจดหมายเหตุเรียกแต่ว่าหมอยอน ) เป็นมิชชันนารีอเมริกันพวกบัปติสต์ มาอยู่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ ๒๘ หมอดีน เป็นมิชชันนารีอเมริกันพวกบัปติสต์ มาอยู่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ อยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๕ ๒๙ หมอมะตุน เป็นมิชชันนารีอเมริกั น พวกเปรสะบิเตอเรียน มา อยู่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ ๓๐ หมอเฮาส ในจดหมายเหตุเรียกว่า หมอเหา เป็นหมอยาใน พวกมิชชันนารีอเมริกันเปรสะบิเตอเรียน มาอยู่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๐ อยู่มาจนรัชกาลที่ ๕ ๓๑ หมอสมิท เป็นมิชชันนารีพวกบัปติสต์ มาอยู่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่บางคอแหลม อยู่มาจน รัชกาลที่ ๕



๑๑๘ อังกฤษขอแก้หนังสือสัญญา

เมื่อประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา แต่งให้มิสเตอร์โยเสฟ บัลเลศเตียเป็นทูตเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา ในเดือน ๕ ต้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ดังเล่ามาแล้วในตอนที่ว่า อเมริกาขอแก้หนังสือ สัญญา นั้น ครั้นต่อมาถึงเดือน ๙ ในปีเดียวกัน อังกฤษก็แต่ง ให้เซอร์เชมสบรุก เป็นทูตเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญาที่นายร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี เข้ามาทำไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ด้วยปรารภเหตุทำนองเดียวกับอเมริกันนั้นเอง แต่การมาของเซอร์เชมสบรุก เป็นเพียงผู้ถือหนังสือของเสนาบดีว่าการต่างประเทศอังกฤษ หาใช่เป็นราชทูตจำทูลพระ ราชศาสน์ไม่ เซอร์เชมสบรุกนั้น เรียกชื่อในพระราชพงศาวดารกรุงรัตน โกสินทร รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรียบเรียงว่า เซอร์เยียมสบรุก หรือเรียกในที่อื่นบางแห่งว่า เยสัปรุด , เยสับปุรุด ในจดหมายเหตุต่อไปนี้เรียกว่า เซอร์เชมสับรุกหรือเซอร์เยียมสบรุก ข้อความพิสดารอันว่าด้วยการต้อนรับ, การโต้ตอบระหว่างข้าราชการไทยกับเซอร์เชมสบรุก ตลอดถึงกระแสพระราชดำริในพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแจ้งอยู่ในจดหมายเหตุเรื่องเซอร์ เชมสบรุก ทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ ดังพิมพ์ไว้ต่อไปนี้

๑๑๙ จดหมายเหตุเรื่องเซอร์เชมสับรุกทูตอังกฤษเข้ามา ขอแก้หนังสือสัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓

วันเสาร์เดือน ๙ ขึ้น ๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศกพระยาพิชิตณรงค์ พระยารามกำแหง บอกขึ้นมาเถิงกรุง ฯ เพลาบ่าย ๔ โมงเศษว่า กำปั่นไฟมาเถิงหลังเต่าลึก ๒ ลำ ลำหนึ่งกำปั่นเล็กเข้ามาทอดอยู่หน้าด่าน กะปิตันวอเล็กแจ้งว่าเซอร์เชมสับรุกให้ถือหนังสือมาเถิงผู้รักษาเมืองสมุทรปราการฉบับหนึ่ง ขอคน นำร่องให้ออกไปนำกำปั่นลำใหญ่เข้ามา รุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือน ๙ ขึ้น ๓ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ จมื่นไวยวรนาถให้พระอภัยพลรบขี่เรือสำปั้นเก๋งภั้งลำหนึ่ง แง่ทราย ลำหนึ่ง ลงไปรับหนังสือที่กำปั่นไฟ ขึ้นมาที่โรงรับแขกเมือง ๒ ฉบับแล้ว ยิงปืนรับ ยิงปืนส่งกันข้างละ ๒๑ นัด จึงให้หมื่นแม่นกับไพร่ ๖ คน ออกไปเถิงร่องน้ำ ให้หมื่นจรเจนชลาเป็นล่าม ไปด้วย ครั้นออกไปเถิงกำปั่นใหญ่แล้ว กะปิตันนายกำปั่นให้กำปั่น ลำเล็กเข้ามาทอดอยู่ชายชำแระข้างในตรงร่องน้ำ คอยยกธงให้สำคัญ ครั้นเพลาบ่าย ๔ โมง กำปั่นลำเล็กยกธงขึ้น กำปั่นลำใหญ่เห็นธงสัญญาก็ถอนสมอใช้กำปั่นเข้ามา หมื่นแม่นให้หมื่นจรเจน ชลาล่ามบอกว่า น้ำขึ้นยังไม่เต็มที่เข้าไปยังไม่ได้ ต้นหนไม่ฟัง ขืนแล่นข้ามสันดอนเข้ามา กำปั่นลำใหญ่ครือดิน จักรพัดโคลน ฟุ้งขึ้นเต็มกรอบจักร ๆ ไม่เดิน พอเถิงปีกรั้ว กำปั่นติดตื้นอยู่

๑๒๐ แต่เพลา ๒ ทุ่มน้ำลง กำปั่นตีแปลงดินมูนข้างกำปั่นสูงขึ้นประมาณศอกเศษ ครั้นเพลาเช้าน้ำขึ้นเอากำปั่นไฟลำเล็กเข้าชักก็ไม่ออก จมื่นไวย วรนาถจึงให้พระยาอุทัยธรรมราช จมื่นราชามาตย์ ขึ่เรือแง่ทราย คนละลำ ออกไปเยี่ยมเยียนเซอร์เชมสับรุกที่กำปั่นติด ครั้นณวันเดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำเพลา ๕ โมงเช้า เซอร์เชมสับรุกลงกำปั่นไฟลำเล็กเข้ามาทอดอยู่หน้าด่าน เซอร์เชมสับรุกให้กะปิตัน บรุก มิศเซนยอน ขึ้นมาหาจมื่นไวยวรนาถ ๆ บอกว่า เจ้าพระยา พระคลังยังอยู่ณกรุง ฯ ได้บอกขึ้นไปว่ากำปั่นเซอร์เชมสับรุกติดอยู่ ที่ชายชำแระข้างใน เจ้าพระยาพระคลังมีความวิตกมาก ด้วย เป็นเมืองไมตรีกัน จึงสั่งลงมาว่า ถ้าเซอร์เชมสับรุกจะต้องการ สิ่งอันใด ก็จะให้จมื่นไวยวรนาถจัดแจงให้ อย่าให้ขัดสน เจ้า พระยาพระคลังจะลงมาวันพรุ่งนี้ คำแปล หนังสือเซอร์เชมสับรุก ถึงเจ้าพระยาพระคลัง

หนังสือ เซอร์เชมสับรุก มายังท่านเจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดีผู้ใหญ่ ณกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ให้ทราบ ด้วยข้าพเจ้าใช้ให้พี่น้องข้าพเจ้า ชื่อกะปิตันบรุกคนหนึ่ง ชื่อมิศเซนยอนคนหนึ่ง ถือหนังสือมาแจ้งกับท่านให้ทราบ ว่าเจ้าวิลาศ ให้ข้าพเจ้าเข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรีไทยกับอังกฤษ ซึ่งเป็นมหามิตรกันมาช้านาน จะได้จัดแจงทางค้าขายให้ลูกค้าได้ไปมาค้าขาย

๑๒๑ แก่กันเป็นสุขสบาย มีประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย กับเจ้าวิลาศ รับสั่งให้มีหนังสือลอดไวเกาปลมะสตัน ขุนนางผู้ใหญ่ในชาติอังกฤษมาเถิงท่านผู้เป็นเสนาบดี ณกรุงพระมหานครศรีอยุธยาฉบับหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าเข้ามาเถิงแล้วจะส่งหนังสือให้ต่อมือท่าน ความในหนังสือนั้นว่าด้วยความไมตรี ขอให้ท่านนำเอาความในหนังสือขึ้นกราบ บังคมทูล แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงพระมหานคร ศรีอยุธยาให้ทราบ กับขอให้ท่านรับธุระพูดฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุธยา จะพูดจาคิดอ่านกับข้าพเจ้า การงานทั้งปวงก็จะสำเร็จได้โดยง่าย ทางไมตรีทั้ง ๒ ฝ่ายก็จะได้ยืนนาน และเมื่อข้าพเจ้าจะเข้ามานี้ เจ้า วิลาสก็ได้สั่งให้จัดเอากำปั่นไฟกำปั่นรบที่อินเดียเข้าไปให้หลายลำ ให้สมยศสมเกียรติ์ ด้วยกรุงพระมหานครศรีอยุธยาและเมืองวิลาสเป็นเมืองใหญ่ จะได้เป็นเกียรติ์เป็นยศทั้งสองฝ่าย ข้าพเจ้าปรึกษา กับแม่ทัพฝ่ายชเล ซึ่งสำเร็จราชการอยู่ณอินเดีย เห็นว่าไพร่บ้าน พลเมืองที่กรุงพระมหานครศรีอยุธยา ไม่เคยเห็นกำปั่นไฟกำปั่นรบหลายลำก็จะตกตื่นหาควรไม่ ข้าพเจ้าจึงจัดแจงเอาแต่กำปั่นไฟ ๒ ลำเข้ามา ถ้าในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงพระมหานคร ศรีอยุธยา และท่านจะเห็นว่า ข้าพเจ้าเป็นขุนนางผู้น้อยจึงมีกำปั่นไฟ ๒ ลำ ไม่ควรที่จะเข้ามาว่าด้วยการงานทั้งปวง ถ้าการเป็นดังนั้น ภายหลังก็จะต้องมาให้มากหลายลำ ข้าพเจ้าเข้ามาครั้งนี้ เจ้าวิลาศ ให้แทนตัวเข้ามา ขอให้ท่านเห็นแก่ทางไมตรีรับรองให้ควรแก่ ๑๖

๑๒๒ ประเทศอันใหญ่ การไมตรีทั้งสองพระนครก็จะได้ปรากฏแก่นานาประเทศทั้งปวง และข้าพเจ้ามีธุระอยู่ในใจที่จะมาพบแก่ท่านโดยมาก จะเขียนใส่มาในหนังสือก็หาควรไม่ ต่อเมื่อใดข้าพเจ้าเข้ามาเถิงท่านแล้ว ก็จะได้พูดจาชี้แจงให้ท่านแจ้ง หนังสือฉบับนี้เขียนที่กำปั่นไฟชื่อ เฟนิวา ณวันเดือน แรม ๑๔ ค่ำ ศักราชฝรั่ง ๒๘๕๐ ปีจอโทศก ครั้นณวันเดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำ เจ้าพระยาพระคลังให้จัดเรือเก๋ง ภั้งปีดทอง ยาว ๑๐ วา ๒ ลำ ยาว ๙ วาลำหนึ่ง รับเซอร์เชมสับรุกกับขุนนางอังกฤษขี่ขึ้นมาที่โรงปลูกไว้รับแขกเมือง ยาว ๙ ห้อง มีเฉลียงรอบ ดาษเพดานผ้าขาวแต่งรับ ที่หน้าโรงรับแขกเมืองมีทหาร ปืนยืน ๒ ฟากถนน มีทหารใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดง ถือปืน ถือทวน ถือง้าว ถือดาบ นั่งอยู่หน้าโรง ๒๐๐ คน เซอร์เชมสับรุก ขึ้นมาหา เจ้าพระยาพระคลังถามว่ากี่วันจึงเถิง มาตามทะเลสบาย อยู่หรือ เซอร์เชมสับรุกตอบว่ามาแต่เมืองวิลาศ ๒ ปี มาอยู่เมืองสรวะแล้วมาอยู่เมืองใหม่ มาจากเมืองใหม่ ๕ วันเถิงเมืองสมุทรปราการ ว่ามีรับสั่งเจ้าวิลาศจะใคร่เป็นไมตรีกับกรุง ฯ ให้สนิท ให้ขุนนาง อังกฤษปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า พระมหากษัตริย์จะมีพระราชศาสน์ มาว่าด้วยทางไมตรีก่อนนั้นยาก ให้ขุนนางพูดจากันเสียให้ตกลง ก่อน ลูกค้าวานิชไปมาค้าขายเถิงกันแล้ว ภายหลังจึงจะได้มี ราชศาสน์ไปมาเถิงกัน จึงมีรับสั่งเจ้าวิลาศให้ลอดไวเกาปลมะสตัน ขุนนางผู้ใหญ่ มีหนังสือเข้ามาเถิงเจ้าพระยาพระคลังเสนาบดี

๑๒๓ ผู้ใหญ่ เ๙อร์เชมสับรุกจะได้พูดกันกับเจ้าพระยาพระคลังให้ตกลง เจ้า พระยาพระคลังถามว่า อังกฤษกับกรุง ฯ เป็นไมตรีกันมาแต่ปีจอ อัฐศก ศักราชฝรั่ง ๑๘๒๖ ปี กะปิตันบารนีเข้ามาทำหนังสือ สัญญาทางค้าขายคำสัญญาก็ยังอยู่ ทำไมความดังนี้เจ้าวิลาศ ไม่ทราบหรือ เซอร์เชมสับรุกตอบว่า ความอันนี้เจ้าวิลาศก็รู้อยู่ แต่เป็นความของกัมปนี เจ้าพระยาพระคลังจึงว่า กรุง ฯ ไม่เข้าใจดังนั้นเข้าใจว่าทำไมตรีกับชาติอังกฤษ เซอร์เชมสับรุกจึงว่า ชอบอยู่ ความซึ่งทำไมตรีกันนั้น เจ้าวิลาศก็ทราบ แต่อุปมากัมปนีเหมือน เมืองนคร เมืองวิลาศอุปมาเหมือนหนึ่งกรุง ฯ เจ้าวิลาศว่ากรุง ฯ เป็นมหากษัตริย์จะทำไมตรีให้สนิท กษัตริย์ต่อกษัตริย์เป็นพระราช ไมตรีกันจึงสมควร พูดจากันแล้ว เซอร์เชมสับรุกก็กลับไป ขอขุนนางผู้ใหญ่ ๒ นายไปรับหนังสือที่กำปั่น จดหมายคำสนทนาในระหว่างเจ้าพระยาพระคลัง กับเซอร์เชมสับรุก

วันศุกรเดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาบ่าย ๒ โมง เซอร์เชมสับรุกขึ้นมาหาเจ้าพระยาพระคลัง ๆ พูดกับเซอร์เชมสับรุก ข้อหนึ่งเจ้าพระยาพระคลังถามว่า มากี่วันจึงเถิง มาตามทะเลสบายอยู่หรือ เซอร์เชมสับรุกตอบว่า มาแต่เมืองวิลาศ ๒ ปี มาอยู่เมืองสรวะแล้วมาอยู่เมืองใหม่ มาจากเมืองใหม่ ๕ วันเถิงเมืองสมุทรปราการ

๑๒๔ ข้อหนึ่งเจ้าพระยาพระคลังว่า เซอเชมสับรุกไม่เคยเข้ามากำปั่นติดตื้น เจ้าพระยาพระคลังรู้ความไม่มีความสบายจึงลงมา เซอร์เชมสับรุกตอบว่า กำปั่นมาติดก็ดีเสียอีก จะได้รู้ใจ ขุนนางณกรุง ฯ จะช่วยหรือไม่ช่วย ถ้าเห็นแก่ทางไมตรีก็จะช่วย มาก ๆ เจ้าพระยาพระคลังตอบไปว่า เพราะรู้ความว่าเรือติดจึงลงมาขุนนางซึ่งอยู่ที่เมืองสมุทรปราการนั้น ได้ช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เซอร์เชมสับรุกว่า ได้ลงไปช่วยสมควรที่เมืองเป็นไมตรีกันแล้ว เจ้าพระยาพระคลังว่า เดี๋ยวนี้เป็นคราวน้ำตาย กลางเดือน น้ำจึงจะมาก ถ้าเถิงเพลาน้ำมากขึ้น จะให้จมื่นไวยวรนาถลงไป ช่วยเอากำปั่นออกจากตื้น เซอร์เชมสับรุกว่า อย่าให้ออกไปเลยลำบาก การไม่ควรที่จะไป ข้อหนึ่งเจ้าพระยาพระคลังถามว่า มาอยู่ที่อินเดีย ๒ ปีแล้ว มีหนังสือมาแต่เมืองวิลาศหรือ จึงได้ถือหนังสือเข้ามา เซอร์เชมสับรุกว่า มีรับสั่งเจ้าวิลาศ จะใคร่เป็นไมตรีกับ กรุง ฯ ให้สนิท ให้ขุนนางอังกฤษปรึกษากัน ขุนนางปรึกษากัน เห็นว่า พระมหากษัตริย์จะมีพระราชศ่าสน์มาว่าด้วยทางไมตรีก่อน นั้นยาก ให้ขุนนางต่อขุนนางพูดกันเสียให้ตกลงก่อน ลูกค้า วานิชไปมาค้าขายเถิงกันแล้ว ภายหลังจึงจะได้มีพระราชศาสน์ ไปมาเถิงกัน จึงมีรับสั่งเจ้าวิลาศให้ลอดไวเกาปลมะสตันขุนนาง


๑๒๕ ผู้ใหญ่ มีหนังสือเข้ามาเถิงกรมพาหุสมุหพระกลาโหมเจ้าพระยา พระคลัง เซอร์เชมสับรุกจึงได้พูดกันกับเจ้าพระยาพระคลังให้ตกลง เจ้าพระยาพระคลังจึงว่า ความในหนังสือมีมาประการใดจะฟังความในหนังสือก่อน เซอร์เชมสับรุกจึงตอบว่า ไมตรีไม่อยู่ที่หนังสือ ไมตรีอยู่ ที่ใจ ใจรักจะเป็นไมตรีจึงจะได้เป็นไมตรีกัน ปากเป็นไมตรี ใจไม่เป็นไมตรี ก็ไม่เป็นไมตรีกันได้ เจ้าพระยาพระคลังตอบไปว่า ไทยนี้ใจซื่อ ปากอย่างไรใจ ก็อย่างนั้น เซอร์เชมสับรุกจึงว่า อังกฤษก็เหมือนกัน ปากอย่างไรใจก็อย่างนั้น เจ้าพระยาพระคลังตอบไปว่า ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่า ปากอย่างไร ใจก็อย่างนั้น ขอบใจหนักหนาแล้ว เจ้าพระยาพระคลัง ถามว่า อังกฤษกับกรุง ฯ เป็นไมตรีกันมาแต่ปีจออัฐศก ศักราช ฝรั่ง ๑๘๒๖ ปี กะปิตันบารนีเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางการค้าขายคำสัญญาก็ยังอยู่ ทำไมความอันนี้เจ้าวิลาศไม่ทราบหรือ เซอร์เชมสับรุกตอบว่า ความอันนี้เจ้าวิลาสก็รู้อยู่ แต่เป็น ของกัมปนี เจ้าพระยาพระคลังจึงตอบว่า กรุง ฯ ไม่เข้าใจดังนั้น เข้าใจว่าทำไมตรีกับชาติอังกฤษ


๑๒๖ เซอร์เชมสับรุกจึงว่าชอบอยู่ ความซึ่งทำไมตรีกันนั้นเจ้าวิลาศก็ทราบ แต่อุปมากัมปนีเหมือนเมืองนคร เมืองวิลาศอุปมาเหมือน หนึ่งกรุง ฯ เจ้าวิลาสว่ากรุง ฯ เป็นพระมหากษัตริย์ จะทำไมตรี ให้สนิท กษัตริย์ต่อกษัตริย์เป็นพระราชไมตรีกันจึงจะสมควร เจ้าพระยาพระคลังจึงตอบว่า เซอร์เชมสับรุกว่า สมควร เป็นผู้มีสติปัญญาเข้ามาพูดจาทางพระราชไมตรีแล้ว เซอร์เชมสับรุกว่า ความดี ๆ อยู่ในใจเซอร์เชมสับรุกอยู่ หลายอย่าง จะใคร่พูดจาให้เจ้าพระยาพระคลังฟัง ท่านรักจะฟังก็จะพูดให้ฟัง ถ้าท่านไม่รักฟังก็จะลากลับไป หรือท่านมีการอยู่จะไม่ได้มา พบกับเซอร์เชมสับรุก ถ้าท่านมีธุระสิ่งไรก็ใช้ให้ขุนนางที่ควรจะพูดการได้ก็ให้ลงไปพูดกับเซอร์เชมสับรุก ถ้าเซอร์เชมสับรุกมีธุระจะพูดกับเจ้าพระยาพระคลัง ไม่สบายด้วยป่วยไข้ จะขอให้กะปิตันบรุกที่ ๒ ขึ้นมาพูดจากับเจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาพระคลังจึงว่าเดี๋ยวนี้ใจของเซอร์เชมสับรุกคิดอย่างไร จะอยู่ที่เมืองสมุทรปราการนี้หรือจะได้พูดจากันที่เมืองสมุทรปราการ เซอร์เชมสับรุกตอบว่า สุดแต่ใจเจ้าพระยาพระคลังจะให้ขึ้นไปกรุง ฯ ก็จะขึ้นไป จะให้อยู่ที่เมืองสมุทรปราการก็จะอยู่ หรือจะให้กลับออกไปอยู่กำปั่นใหญ่ก็จะกลับออกไป เซอร์เชมสับรุกว่า ตัว เป็นขุนนางวิลาศเข้ามาเถิงกรุง ฯ แล้วก็เหมือนเป็นขุนนางที่กรุง ฯ เหมือนกัน เซอร์เชมสับรุกว่า ไม่รู้จักอย่างธรรมเนียมณกรุง ฯ จะ


๑๒๗ พูดจาผิดพลั้งเหลือเกินประการใด ขออย่าให้ถือโกรธเลย ช่วยสั่งสอนบอกกล่าวให้ด้วย เจ้าพระยาพระคลังตอบว่า เซอร์เชมสับรุกเข้ามาพูดทางไมตรี ๒ พระนครอันใหญ่มีอัชฌาสัยดังนี้ สมควรที่จะเป็นทูตขรอยู่แล้ว เซอร์เชมสับรุกยิ้มแล้วก็ลากลับไป ขอขุนนางที่ผู้ใหญ่ ๆ ลงไปรับหนังสือ ๒ คน จึงให้พระยาพิชัยรณฤทธิ์ พระยาพิชิตณรงค์ ลงเรือเก๋งปิดทองยาว ๑๒ วาลำหนึ่ง เรือยาว ๑๐ วาลำหนึ่ง ลงไปรับหนังสือลอดปลมะสตันขุนนางผู้ใหญ่อังกฤษผู้ได้ว่าการต่างประเทศ ต่อเมื่อเซอร์เชม สับรุก ๆให้ กะปิตันบรุกที่ ๑ มิศเซนยอนที่ ๒ มิศบรานที่ ๓ ตามหนังสือขึ้นมาส่งณโรงรับแขกเมือง พระยาวิเศษสงครามได้ทำโต๊ะไปเลี้ยงกำปั่น คำแปล หนังสือลอดปลมะสตัน ถึงเจ้าพระยาพระคลัง

หนังสือ ลอดไวเกาปลมะสตันกันกรอดออดนิโมดเนาเปออริบัด เจ้าพระยาอัครมหาเสนาผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ในใต้บังคับเจ้านางพระยา ริวิกตอเรีย ทรงอยู่บนแท่นเจ้ากรุงอังกฤษ ที่มีอาชญาสิทธิ์บังคับ ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้เมืองอิรลันด์และเมืองฮินดูสตัน นอกแต่นั้นเมืองอื่น ๆ เหนือลมใต้ลม ซึ่งอยู่ในบังคับเจ้าอังกฤษ และเจ้าพระยาอัครมหา เสนาของนางพระยาริวิกตอเรียนั้น ปรนิบัติมาเป็นทางพระราชไมตรี ต่อกัน และผู้ว่าที่กรมพาหุสมุหพระกลาโหมเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่ง อยู่ใต้บังคับของพระราชโองการ ที่ทรงพระประทมอยู่เหนืออาศน์อัน ๑๒๘ ประเสริฐ แล้วอัครมหาเสนาผู้ใหญ่ผู้น้อยคิดราชการพร้อมกัน ปรึกษาเห็นทางพระราชไมตรีต่อกันเพื่อจะให้ชอบพระทัยเจ้ากรุงเทพ ฯ ศรีอยุธยา และเจ้ากรุงอังกฤษจึงใช้ให้หิศเอกสเลนซีเยียมสบรุก เนกคะมันเดอออดนิโมดเนาเปออริบัด เป็นเจ้าเมืองสรวะและเมือง ลาบอน ซึ่งจะให้เจ้าชีวิตณกรุงศรีอยุธยาชอบพระทัย แก่หิศเอกสเลนซีเยียมสบรุกเนกคะมันเดอออดนิโมดเนาเปออริบัด เจ้าเมืองสรวะ และเมืองลาบอนเป็นอันมาก และซึ่งข้อราชการในครั้งนี้เพื่อจะให้เป็นไมตรีต่อกันไป และสินค้าของอันใด ๆ ที่มีภาษีเป็นอันมาก ถ้าขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยคิดเห็นชอบด้วยกันแล้ว จึงทำหนังสือไว้ต่อกัน และ เจ้ากรุงเทพ ฯ ศรีอยุธยา กับเจ้ากรุงอังกฤษนางพระยาริวิกตอเรียจะได้เป็นทองแผ่นเดียวกันที่มิได้รู้ขาด และซึ่งข้อภาษีนั้นเพื่อจะให้เป็น ประโยชน์แก่กันทั้งสองฝ่าย และเจ้ากรุงศรีอยุธยาด้วยเจ้ากรุงอังกฤษจะได้เป็นไมตรีกันเป็นอันมาก ฝากรักมาณวัน รุ่งขึ้นวันเดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาเช้า ๕ โมงเศษ เจ้าพระยาพระคลัง ให้จมื่นไวยวรนาถ พระยาอุทัยธรรมราช จมื่นราชามาตย์ ขี่เรือกันยายาว ๑๑ วาลงไป ๆ พูดกับเซอร์เชมสับรุกที่กำปั่น เซอร์เชมสับรุกพูดว่า จมื่นไวยวรนาถลงไปนั้นมีความยินดีมาก จะพูดจา ถ้อยความสิ่งไรจะได้พูดกับจมื่นไวยวรนาถ แล้วว่าเข้ามาครั้งนี้ปรารถนาจะคิดการกับท่านเจ้าพระยาพระคลัง ทำนุบำรุงทางไมตรี กรุง ฯ กับอังกฤษให้สนิทกันเข้า ลูกค้าพาณิชจะได้มีความสุข มิได้คิดหาประโยชน์ใส่ตัวเองเหมือนลูกค้าทั้งปวง ใจลูกค้าทั้งปวงเข้ามา

๑๒๙ ปรารถนาจะหาผลประโยชน์ใส่ตัวเขาอย่างเดียว หาได้คิดเถิงผู้อื่นไม่ จมื่นไวยวรนาถว่าเซอร์เชมสับรุกคิดดังนี้ก็ชอบอยู่แล้ว การงาน ทั้งปวงจะสำเร็จก็ด้วยปัญญาตัวเอง หาสำเร็จด้วยถ้อยคำคนอื่นมาเป็นอารมณ์ไม่ ถ้าเอาถ้อยคำคนอื่นมาเป็นอารมณ์ แล้วการงานทั้งปวง ก็จะฟั่นเฟื่อนเสียไป จดหมายคำสนทนาในระหว่างจมื่นไวยวรนาถ กับเซอร์เชมสับรุก

วันเดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาเช้า ๕ โมง จมื่นไวยวรนาถลงไปกำปั่นไฟ เซอร์เชมสับรุกให้ขุนนางอังกฤษที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ แต่งตัวสำหรับยศ ขึ้นมารับบนปากเรือ เชิญลงไปในห้องข้างท้ายกำปั่นที่ เซอร์เชมสับรุกอยู่ เห็นเซอร์เชมสับรุกแต่งตัวรับเหมือนกันกับแต่งตัวขึ้นมาหา ฯ พณ ฯ แล้วยืนขึ้นรับจับมือบอกให้นั่งโต๊ะอันเดียวกัน เซอร์เชมสับรุกว่า ลงไปนั้นมีความยินดีนักหนา จะพูดจาถ้อยความจะได้พูดกับจมื่นไวยวรนาถ และอย่างธรรมเนียมอังกฤษกับไทยไม่ เหมือนกัน อังกฤษนับถือยืน ไทยนับถือนั่ง ถ้าเซอร์เชมสับรุกจะ ไปมาหา ฯ พณ ฯ จะผิดอย่างธรรมเนียมเหลือเกินไปบ้างเล็กน้อยประการใด ขอให้จมื่นไวยวรนาถกราบเรียน ฯ พณ ฯ อย่าให้ถือ โทษเลย ข้อหนึ่งเซอร์เชมสับรุกว่า เป็นขุนนางเข้ามาครั้งนี้ปรารถนาที่จะคิดการกับ ฯ พณ ฯ ทำนุบำรุงทางไมตรีกรุงเทพ ฯ กับอังกฤษให้ ๑๗ ๑๓๐ สนิทกันเข้า ลูกค้าพาณิชจะได้มีวามสุข มิได้คิดหาประโยชน์ ใส่ตัวเองเหมือนลูกค้าทั้งปวง ใจลูกค้าทั้งปวงเข้ามาปรารถนาจะหา ผลประโยชน์ใส่ตัวเขาอย่างเดียว หาได้คิดถึงผู้อื่น ๆ ไม่ จมื่นไวยวรนาถว่า เซอร์เชมสับรุกคิดดังนั้นก็ชอบสมควรเป็น ผู้ใหญ่แล้ว การงานทั้งปวงจะสำเร็จก็ด้วยปัญญาตัวเอง หาสำเร็จ ด้วยถ้อยคำคนอื่นมาเป็นอารมณ์ไม่ ถ้าเอาถ้อยคำผู้อื่นมาเป็นอารมณ์แล้ว การงานทั้งปวงก็จะฟั่นเฟือนเสียไป ข้อหนึ่งเซอร์เชมสับรุกว่า เข้ามาครั้งนี้ ปรารถนาจะใคร่ขึ้นไป เถิงกรุง ฯ จะได้อยู่เย่าเรือนให้สบาย จมื่นไวยวรนาถถามว่า จะขึ้นไปอย่างไร เซอร์เชมสับรุกว่า จะใคร่เอากำปั่นไฟลำเล็กนี้ขึ้นไป จมื่นไวยวรนาถว่า เอาขึ้นไปไม่ได้ กำปั่นไฟเป็นเรือรบ ไพร่บ้านพลเมืองที่ไม่เคยเห็นก็จะสะดุ้งสะเทือนตกใจ แต่ขุนนางและคนที่มีปัญญารู้การงานนั้นหากลัวไม่ดอก เซอร์เชมสับรุกเข้ามาครั้งนี้ตั้งใจอยู่ว่าจะมาให้คนทั้งปวงมีความเย็นใจ จะมาทำให้คนที่ไม่มีปัญญาได้ความร้อนใจนั้น หาควรที่จะเอากำปั่นไฟขึ้นไปไม่ เซอร์เชมสับรุกว่า ไม่ให้เอากำปั่นขึ้นไปก็ไม่เอาไปดอก จะขอเรือสัก ๒ ลำบรรทุกหีบผ้าเครื่องใช้สรอย กับคนใช้ขึ้นไปก่อน เพลาพรุ่งนี้จะขอให้มิศบรุกที่ ๒ มิศเซนยอนที่ ๓ ขึ้นไปดูจัดแจงเย่าเรือน เสียให้เสร็จก่อน มิศบรุกมิศเซนยอนกลับลงมาแล้ว เซอร์เชมสับรุก จึงจะขึ้นไปต่อภายหลัง

๑๓๑ ข้อหนึ่งว่า เซอร์เชมสับรุกขึ้นมา ฯ พณ ฯ ว่าจะให้จมื่นไวย วรนาถลงไปช่วยดูแลที่กำปั่นนั้น ขอบใจ ฯ พณ ฯ นักหนา แต่คนที่กำปั่นเป็นคนมาแต่เมืองวิลาศใหม่ จะไม่มีอัชฌาสัย จึงขอไว้ว่า อย่าลงไปเลย วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เพลาเช้าเซอร์เชมสับรุกจะออกไปที่กำปั่น ให้จมื่นไวยวรนาถออกไปเที่ยวเล่นด้วยเถิด กะปิตันที่กำปั่น เถิงเป็นนายกำปั่นก็จริง แต่เป็นลูกขุนนางผู้ใหญ่ จมื่นไวยวรนาถก็รับว่าจะออกไป ข้อหนึ่งเซอร์เชมสับรุกถามว่า กรุงเทพ ฯ เมื่อศักราชล่วงมาแล้วได้ ๑๘๐ ปีเศษ ที่กรุงเทพ ฯ แต่งทูตไปเมืองฝรั่ง ๒ ครั้ง จมื่นไวยวรนาถรู้บ้างหรือไม่ จมื่นไวยวรนาถว่า ก็รู้อยู่ แล้วเซอร์เชมสับรุกเล่าว่า เมื่อปีกลายนี้เจ้าเมืองนิพอนอยู่ปลายน้ำเมืองมังกล่าต่อกับแเดนจีน แต่งทูตขุนนาง ๔ คน เชื้อเจ้าคนหนึ่ง เข้ากัน ๕ คน ไปเป็นไมตรีกับเจ้าวิลาศ เมืองนิพอน ถือศาสนาเหมือนไทย แต่พูดภาษาสังสกฤต กับข้อหนึ่งเล่าว่า เมื่อปีกลายนี้เจ้าเมืองญวนให้ไปขอตราตั้งมาแต่เจ้าปะกิ่ง เจ้าปะกิ่งแต่งให้ขุนนางคนหนึ่งลงมาตั้งเจ้าเมืองญวน กับเล่าว่า ที่เมืองจีนเดี๋ยวนี้ก็เปลี่ยนเจ้าเมืองใหม่ บุตรเจ้าปะกิ่งที่ ๔ ได้เป็นเจ้า แต่ขุนนางเสนาบดีผู้ใหญ่เป็นคนเก่าหาได้เปลี่ยนไม่ ฉบับธรรมเนียมบ้านเมืองก็ยังยืนอยู่เหมือนดังเก่า แล้วว่าผลไม้ที่กรุงเทพ ฯ


๑๓๒ เขาเล่าลือว่าบริบูรณ์ นัก มีสารพัตรทุกอย่างรสต่าง ๆ กัน ที่เมืองสรวะลูกไม้มีน้อย มีชุมอยู่แต่ทุเรียนอย่างเดียว จะใคร่หาพรรณออกไป ปลูกสร้างไว้บ้าง เมื่อจะไปจึงจะเอาไป จมื่นไวยวรนาถจึงว่า เซอร์เชมสับรุกกินผลไม้สิ่งไรชอบใจ เมื่อไปจะหาต้นออกไปให้ พูดจากันแล้วจมื่นไวยวรนาถ พระยาอุทัยธรรมราช จมื่น ราชมาตย์ก็กลับมา พระยาราชวังสันได้จัดสุกร เป็ด ไก่ ไปส่งให้ กับได้ให้ผลไม้ไปแจกกันกินที่กำปั่นทั้งสองลำ ส่งทุกวัน กำปั่น ลำเล็กขึ้นมาจอดอยู่ที่หน้าเมืองสมุทรปราการ ยุงกัดไม่มีมุ้งจะนอน เจ้าพระยาพระคลังได้จัดมุ้งไปให้ นาย ๖ หลัง ไพร่ ๑๒๐ หลัง รวม ๑๒๖ หลัง เซอร์เชมสับรุกขอเรือลำเลียงออกไปถ่ายของในลำ กำปั่นที่ติด พระยาราชวังสันได้จัดเรือลำเลียงอาษาจามออกไปถ่ายของที่กำปั่น ๗ ลำ รับถ่ายสายโซ่ ถ่าน ปืน ขึ้นจนกำปั่นเบาขึ้น กำปั่นติดอยู่แต่ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๓ ค่ำ จนณวันเดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ น้ำเกิดมาก กำปั่นจึงออกจากที่ตื้นได้กลับออกไปทอดอยู่น้ำลึก ๗ วา รายงานน้ำ

วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๑ ค่ำเพลา ๒ ทุ่มเศษ จมื่นมหาสนิท ขึ้นมาแจ้งว่า จมื่นไวยวรนาถให้ภูดาษฉิม ออกไปหยั่งน้ำที่กำปั่นติด ที่ร่องลึก ที่กำปั่นติดลึก

๑๓๓ วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ ขุนประสิทธิราช ขึ้นมาแจ้งว่า ที่กำปั่นติดน้ำขึ้น ๖ นิ้ว น้ำที่ร่องลึก ที่กำปั่น ติดลึก ครั้นวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลา ๒ ทุ่มเศษจมื่นศักดิ์บริบาล ขึ้นมา ได้ความน้ำเหมือนเพลาเช้า วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ จมื่นราชาบาล ขึ้นมาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ น้ำที่กำปั่นติดลึก ที่ ห่างกำปั่นออกมา ๕ วา ลึก ลมเป็นสำเภาพัดกล้าคลื่นใหญ่ เอากำปั่นเล็กเข้าชักกำปั่นใหญ่ กำปั่นใหญ่ก็ติดไฟขึ้นด้วย แล้วกว้าน สายสมอกะแต่น้ำขึ้นจนน้ำซุด จะให้หน้าเรือลงร่อง ก็ไม่ออกจากที่ วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลาเช้า ๕ โมงเศษ จมื่นมนเทียร พิทักษ์ขึ้นมาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ขึ้น ๑๒ นิ้ว น้ำที่ร่อง ลึก ที่กำปั่นติดลึก วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ จมื่นอินทรเสนาขึ้นมาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ขึ้น ๑ นิ้ว น้ำที่ร่อง ลึก ที่กำปั่นติดลึก

๑๓๔ วันเดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ จมื่นอินทรเสนา ขึ้นมาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๕ นิ้ว น้ำที่ร่อง ลึก ที่กำปั่นติดลึก

วันเดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ ขุนประสิทธิราช ขึ้นมาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ ขึ้น ๑๗ นิ้ว น้ำที่ร่อง ลึก ที่กำปั่นติกลึก เรือออกจากที่ ๓ เส้น

วันเดือน ๙ แรม ๓ ค่ำเพลาเช้า ๕ โมงเศษ จมื่นราชาบาล ขึ้นมาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ ซุด ๒๒ นิ้ว น้ำที่ร่อง ลึก ที่กำปั่นติดลึก เรือไม่ออกจากที่

วันเดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ เพลาเช้า ๔ โมงเศษ จมื่นมนเทียรพิทักษ์มาแจ้งว่า น้ำวันเดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ขึ้น ๑ ศอก น้ำที่ร่อง ลึก ที่กำปั่นติดลึก เรือออกได้ กระแสพระราชดำริ

วันอังคารเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำปีจอโทศก เพลาบ่าย ๓ โมง โปรดพระราชทานกระแสพระราชดำริให้พระยาพิพัฒนโกษา พระยาจุฬาราชมนตรี จดข้อรับสั่งออกมา ๑๓๕ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ความฝรั่งครั้งนี้ควรเสนาบดีจะได้ปรึกษาหารือกัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ดำรัส ไว้แล้วแต่ข้อค่าธรรมเนียมข้อเดียว ว่าจะเข้ามาขอให้ลด จะขอน้อย ที่ไหน จะขอก็จะขอมาก ๆ เราจะยอมลดให้ตามใจดีหรือจะไม่ยอมลดให้ดี เจ้าพระยาพระคลังเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่กว่าเสนาบดีทั้งปวง แล้ว ก็เป็นเจ้าพนักงานด้วย เจ้าพระยาพระคลังกราบบังคมทูลพระกรุณา ว่าเขาเข้ามาโดยทางไมตรีจะขอลดค่าธรรมเนียม จะขอแล้วเห็นจะ ขอมากสักหน่อย เหมือนอย่างทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ครั้น จะไม่ลดให้ก็เสียทางไมตรีไป ถ้าลดลงให้แล้ว ต่อไปข้างหน้า เถิงมาตรว่าจะมีกำปั่นเข้ามาค้าขาย ก็เห็นจะไม่มากขึ้นสักกี่ลำนัก หนา คงจะมีเข้ามาค้าขายแต่กำปั่นสุรัดบุมไบ กับกำปั่นเมืองใหม่ เข้ามาบรรทุกของคนอยู่ที่นี่สักลำหนึ่งสองลำ ความข้างฝ่าย กรุงเทพ ฯ ก็ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเขตต์แดนเมืองกระ เราจะได้ยก ขึ้นว่ากับเขาบ้าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่ายังไม่ทรง เห็นด้วย จะทรงพระราชดำริดูก่อน ถ้าลดให้จะมีคุณอย่างไร จะมีโทษอย่างไร ถ้าไม่ลดให้จะมีคุณอย่างไร จะมีโทษอย่างไร จึงโปรดเกล้า ฯ ทรงปรึกษา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเดชอดิศร และพระยาศรีพิพัฒน์ พระยาพิพัฒน์โกษา พระยาจุฬาราชมนตรี จะเห็นอย่างไรบ้าง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเดชอดิศร พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาพิพัฒน์โกษา พระยาจุฬาราชมนตรี กราบบังคมทูลพระกรุณาต้องคำกันว่า ไม่ชอบใจที่จะลดให้ ความจึงยังเป็นแก่ง

๑๓๖ แย่งกันอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ว่าราชการเป็นการ แผ่นดินต้องที่จะปรึกษาหารือกัน พระยาราชสุภาวดี พระสุรเสนา พระยา เพ็ชรพิไชย และข้าราชการผู้น้อยนอกกว่านี้ที่เสนาบดีเคยใช้สอย เห็นว่าผู้ใดมีสติปัญญาก็ควรจะเอาเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้วย การครั้งนี้ก็เป็นการฝรั่ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทราบอย่างธรรมเนียมฝรั่งมาก ควรจะเอาเป็นที่ปรึกษาใหญ่ได้ ก็แต่ว่าติดประจำปืนอยู่ที่เมืองสมุทรปราการ จมื่นไวยวรนาถเล่า ก็เป็นคนสันทัดหนักในอย่างธรรมเนียมฝรั่ง ก็ลงไปรักษาเมืองสมุทร ปราการอยู่ แต่ทว่าเห็นจะได้พูดจาปรึกษาหารือกับเจ้าพระยาพระคลังแล้ว ก็จะเห็นถูกต้องกันกับเจ้าพระยาพระคลัง ยังแต่พระยาอุทัย ธรรมราช ก็เป็นบุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช อายุก็เป็นผู้ใหญ่ อยู่บ้างแล้ว สารพัตรจะรู้การครั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเจรจากับฝรั่งทุกสิ่งทุกประการ ก็ต้องลงไปอยู่เมืองสมุทรปราการ ให้พระยา ศรีพิพัฒน์แต่งคนดี มีสติปัญญาเข้าใจความ เชิญกระแสพระราช ดำริลงไปปรึกษา เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระยาอุทัย ธรรมราชที่เมืองสมุทรปราการ พระยาสุรเสนาที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ด้วย และกระแสพระราชดำริโปรดเกล้า ฯ ให้เสนาบดีข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยที่อยู่กรุงเทพ ฯ และที่ลงไปรักษาราชการอยู่ณเมืองสมุทรปราการ เมืองนครเขื่อนขันธ์ก็ดี ให้ประชุมกันปรึกษาหารือ จงพร้อมมูลปรองดองกัน อย่าได้ถือทิฐิมานะแก่งแย่งให้เสียราชการ ไป ถ้าผู้ใดจะเห็นว่าให้ลดค่าธรรมเนียมดี หรือไม่ลดให้จะดี

๑๓๗ พวกที่เห็นว่าจะลดให้นั่นแลดีจะมีสักกี่คน พวกที่เห็นว่าไม่ลดให้นั่น แลดีจะมีสักกี่คน พวกที่เห็นว่าลดให้ดีนั้น ให้ตรึกตรองการหน้า การหลังดูให้รอบคอบ จะมีคุณอย่างไรบ้าง จะมีโทษอย่างไรบ้าง ที่พวกเห็นว่าไม่ลดให้ดีนั้น ก็ให้ตรึกตรองการหน้าการหลังดูให้รอบ คอบ จะมีคุณอย่างไรบ้าง จะมีโทษอย่างไรบ้าง ฉันใดสมณชีพราหมณ์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะได้อยู่เย็นเป็นสุขนั่นและเป็นอย่างดี ถ้าผู้ใดจะว่าเข้ามาว่า การอันนี้ใหญ่โตนักเหลือสติปัญญา สมควรแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชดำริ ก็ให้ตรึกตรองดูเสียก่อนว่า ซึ่งเชมสับรุกเข้ามาพูดจาครั้งนี้ เจ้าวิลาศก็เป็นเจ้าผู้หญิง จะคิดราชการให้เข้ามาพูดจาหาเหตุพาลวิวาทเถิงเพียงนี้ได้เจียวหรือ หรือจะเป็นแต่ขุนนางเขาปรึกษาหารือพร้อมกันให้เข้ามา หรือจะเป็นการของเชมสับรุกรับธุระลูกค้าเข้ามาพูดจาขู่เล่นตามสะบายใจดอกกระมัง ถ้าเห็นว่าเป็นการของขุนนางเขาให้เข้ามา ก็จะต้องเป็นการของขุนนางฝ่ายเราบ้าง ถ้าผู้ใดคิดเห็นการแล้วก็อย่าให้ทำคมใน ฝักไว้ ประหนึ่งว่าเกรงใจเจ้าเกรงใจนาย จึงไม่พูดให้แจ่มแจ้งตาม ใจของตัวเห็นของตัวรัก ถ้าคิดดังนี้ คนผู้นั้นถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา ก็นึกว่าเหมือนหนึ่งน้ำที่ตักไว้กินเหมือนกันเถิด วันพุธเดือน ๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำปีจอโทศก เพลาบ่าย ๓ โมงเศษ โปรดพระราชทานกระแสพระราชดำริให้พระยา พิพัฒน์โกษา พระยาจุฬาราชมนตรี จดข้อรับสั่งออกมา ๑๘

๑๓๘ เมื่อเชมสับรุกจะมาพูดจา จะถามว่าเชมสับรุกเข้ามาครั้งนี้จะทำทางไมตรีหรือ เชมสับรุกจะพูดจาประการใดก็ตามใจเขาจะว่าไปชอบเราจะว่าเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๘๒๖ ปีจออัฐศก กะปิตันบารนี (๑) เข้ามาขอทำหนังสือสัญญา ไทยก็ยอมให้ทำหนังสือสัญญา ด้วยเข้าใจว่าทำไมตรีกับชาติอังกฤษ ความข้อนี้เชมสับรุกว่ากับเราที่เมืองสมุทร ปราการว่า ไมตรีที่ทำไว้ครั้งกะปิตันบารนีเป็นการของเจ้าเมืองมังกล่ากับกัมปนีดอก เมืองมั่งกล่าเป็นเมืองน้อย อุปมาเหมือนหนึ่งเมืองนครกรุงเทพ ฯ กับเมืองวิลาศเป็นเมืองใหญ่ ชอบจะทำไมตรีกันตามเมืองใหญ่จึงจะดี เราก็ได้ว่าเชมสับรุกว่าดังนี้ สมควรที่มีสติปัญญาเข้ามาพูดจาทางไมตรีจะเล่าให้ฟัง เออครั้งกะปิตันบารนีเข้ามาพูดจาทางไมตรีครั้งนั้น ก็ว่าตัวเป็นขุนนางผู้ใหญ่สารพัตรจะอวดอ้างไปต่าง ๆ ว่าเข้ามาแทนตัวเจ้าเมืองมั่งกล่า เราก็ได้ว่าเมืองมั่งกล่าเป็นเมืองน้อย จะทำหนังสือสัญญาการบ้านเมืองจะสิทธิ์ขาดได้แล้วหรือกะปิตันบารนีจึงว่าเมืองวิลาศอยู่ไกล ฝ่ายข้างอินเดียเจ้าวิลาศได้มอบกับเจ้าเมือง มั่งกล่าเป็นสิทธิ์ขาด เจ้าเมืองมั่งกล่าจะต้องการสิ่งไรก็เหมือนกับ เจ้าวิลาศเหมือนกัน เราจึงได้ยอมทำหนังสือสัญญากับชาติอังกฤษ เชมสับรุกเข้ามาว่าดังนี้ ดูประหนึ่งว่ากะปิตันบารนีเข้ามาพูดจาไว้แต่ก่อนนั้นฟังเอาไม่ได้ ให้ถามว่าเดี๋ยวนี้กะปิตันบารนีอยู่ที่ไหน ถ้าบอกว่ากะปิตันบารนียังอยู่ที่เมืองนั้น ก็ให้ว่าเชมสับรุกเข้ามาจะทำหนังสือ

(๑) นายร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี ดูเชิงอรรถ หน้า ๑๔๔

๑๓๙ สัญญาครั้งนี้ กรุงเทพ ฯ เมืองเดียว แต่มีเมืองขึ้นเมืองออกมาก จะรับทำหนังสือสัญญา ๒ แยก ๓ แยก ดังนี้ ยากที่จะรักษา สัญญาทางไมตรี ให้เชมสับรุกกลับออกไป พาตัวกะปิตันบารนีเข้ามาถอนหนังสือสัญญาเดิมเสียก่อน เราจึงจะยอมทำหนังสือสัญญา ตามคำเชมสับรุกซึ่งว่าจะให้ดีด้วยกันนั้นได้ ถ้าบอกว่ากะปิตันบารนีตายเสียแล้ว ก็ให้ว่าเชมสับรุกเข้ามาทำหนังสือสัญญาครั้งนี้ กรุงเทพ ฯ เมืองเดียว แต่มีเมืองขึ้นเมืองออกมาก จะรับทำ หนังสือสัญญา ๒ แยก ๓ แยกดังนี้ ยากที่จะรักษาสัญญาทางไมตรี ให้เชมสับรุกกลับออกไปหาเจ้าเมืองมั่งกล่าๆ ก็อย่าในบังคับเมืองวิลาศให้เจ้าเมืองมั่งกล่ามีหนังสือแต่งคนเข้ามาถอนหนังสือสัญญาเดิมเสีย ก่อน เราจึงจะยอมทำหนังสือสัญญาตามคำเชมสับรุกซึ่งว่าจะให้ดี ด้วยกันนั้นได้ ถ้าเชมสับรุกจะว่าไม่ถอนหนังสือสัญญาเดิม จะขอ สัญญาเติมขึ้นอีก ก็ให้ว่าหนังสือสัญญาเดิมก็มากหลายข้ออยู่แล้ว จะมาเติมสัญญาขึ้นอีกยากที่จะรักษาสัญญาได้ ถ้าจะว่าจะขอลดข้อ สัญญาเดิมลง ก็ให้ว่า หนังสือสัญญาเดิมหลายข้อเป็นความบ้าน ความเมืองและการค้าขายติดต่อกัน จะลดข้อไหนเสียก็เห็นจะไม่ได้ จะมาทำหนังสือสัญญาเป็นพูดจาไม่รู้แล้วอย่างนี้ หาสมควรที่จะ เป็นเมืองใหญ่ทั้งสองฝ่ายไม่ ถ้าจะว่าที่กรุงเทพ ฯ มีหนังสือออกไป เถิงเจ้าเมืองมังกล่า ขอถอนหนังสือสัญญาข้อ ๑๓ เสียข้อหนึ่งนั้น (๑) เป็นไรจึงถอนได้ ก็ให้ตอบว่า ซึ่งถอนหนังสือสัญญาข้อ ๑๓ นั้น ด้วย (๑) ความตรงนี้เป็นหลักฐานว่า ไทยขอยกเลิกหนังสือสัญญา บางข้อต่ออังกฤษ ตามที่กล่าวมาในหน้า ๖๑ นั้น ใกล้ความจริงมาก ๑๔๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเมืองคืนให้กับพระยาไทร หนังสือสัญญาข้อนี้จึงต้อง ถอนเสีย แล้วมิศบอนำได้มีหนังสือเป็นพะยานเข้ามาขอให้พระยาไทรได้มาอยู่บ้านเมืองตามเดิม ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เซอร์เชมสับรุกจะขึ้นมาณกรุง ฯ จัดเรือที่เมืองสมุทรปราการส่ง เรือเซอร์เชมสับรุก นายดิดล่าม ขี่สำปั้นเก๋งภั้งปิดทองยาว ๑๑ วา หลวงจงพยุห ปลัดจางวางทหารปืนซ้ายเป็นนายลำ เรือกะปิตันบรุก มิศเซนยอน ขี่สำปั้นเก๋งภั้งปิดทองยาว๑๐ วา หลวงยกรบัตร ปลัดทหารปืนขวา เป็นนายลำ เรือมิศบราน นายทหาร ขี่สำปั้นเก๋งภั้งยาว ๙ วา หลวงไกรธามาตย์ ปลัดกรมทหารปืนขวา เป็นนายลำ เรือพวกทหารสิปาย คนใช้ ขี่เรือแง่ทราย ๒ ลำ มีธงปักท้ายเรือทั้งสองลำ ปลัดกรมทหารปืนซ้าย เป็นนายลำ เรือพระอภัยพลรบ หลวงราชมาณู ขี่เรือสำปั้น เป็นเรือป้องกันคนละลำ เรือแซเมืองนครเขื่อนขันธ์ กรมการเป็นนายลำ ป้องกันขึ้นมาส่งด้วย ๔ ลำ เข้ากันเป็นฝรั่งตัวนาย ๔ ฝรั่งทหารสิปาย คนใช้ ๓๒ รวม ๓๖ คน ขึ้นมาทางคลองขุดใหม่ฟากตะวันออก เถิงปากคลองแม่น้ำ เจ้าเมืองกรมการ เมืองนครเขื่อนขันธ์ ได้จัดกับข้าว ของกินผลไม้ต่าง ๆ มาทักให้กินขึ้นตามทาง ครั้นมาเถิงกรุง ฯ

๑๔๑ เซอร์เชมสับรุกขึ้นมาอยู่บนตึก ขุนนางที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ กับนายทหารสิปายอยู่ที่เรือนเครื่องไม้จากปลูกไว้รับ เซอร์เชมสับรุกอยู่ที่กรุง ฯ ได้มาคำนับท่านเสนาบดีพร้อมกันที่จวนเจ้าพระยาพระคลังครั้งหนึ่งปราสัยกันโดยทางไมตรี ไม่ได้ว่าถ้อยความอันใด จดหมายคำสนทนาในระหว่างเสนาบดีกับเซอร์เชมสับรุก

วันเดือน ๙ แรม ๓ ค่ำปีจอโทศก เพลาบ่าย ๔ โมงเศษ พร้อมกันณจวน ฯ พณ ฯ เซอร์เชมสับรุก กับที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นายทหารขึ้นมาหา ฯ พณ ฯ ฯ พณ ฯ ถามว่า เซอร์เชมสับรุกมาอยู่ที่กรุง ฯ ๓ คืนแล้ว อยู่ที่นี่กับอยู่ที่เมืองสมุทรปราการใครจะสบายกว่ากัน เซอร์เชมสับรุกว่า อยู่ที่นี่สบายกว่าอยู่ที่เมืองสมุทรปราการ ฯ พณ ฯ ว่า ท่านเสนาบดีทั้งปวงรู้ว่า เซอร์เชมสับรุกมาทางไกล ก็พร้อมกันมาต้อนรับด้วยความยินดี เซอร์เชมสับรุกว่า ท่านเสนาบดีมีความยินดีกับเซอร์เชมสับรุก ๆ ดีใจนักหนา ขอให้ท่านเสนาบดีเป็นมิตรไมตรีกันโดยแท้ โดยจริง ท่านเสนาบดีตอบว่า เซอร์เชมสับรุกว่านี้ดีแล้ว เซอร์เชมสับรุกให้เรียน ฯ พณ ฯ ว่า ฯ พณ ฯ ให้ขนมจีบกับทุเรียนไปนั้นมีความยินดีนัก ฯ พณ ฯ ว่า เซอร์เชมสับรุกเคยกินแล้ว แต่มิศบรุกกับขุนนาง ๔ คนเป็นคนมาเต่เมืองเมืองวิลาศใหม่ไม่เคยกิน จึงอุตส่าห์หาไปให้กิน จะได้รู้จักรสทุเรียน ๑๔๒ เซอร์เชมสับรุกกับขุนนางว่า ขนมจีบมีรสดีหนัก ฯ พณ ฯ ว่า มีของสิ่งไรก็จะเอาไปให้ อย่าถือว่ามากว่าน้อยเลย เซอร์เชมสับรุกก็ก้มลงคำนับ ฯ พณ ฯ จึงว่า มาพบกันวันนี้เป็นความชื่นชมยินดีต่อกัน เมื่อมีความสิ่งไร ก็ให้ทำหนังสือให้กะปิตันบรุกมายื่นกับจมื่นไวยวรนาถ ๆ จะได้เอาความมาเรียน ฯ พ ณ ฯ แล้วว่า ถ้าจะเขียนหนังสือมาให้ จะ เขียนเป็นอักษรอังกฤษ ไทยก็ไม่รู้ อักษรอังกฤษไม่ใคร่จะไว้ใจ จะแปลไม่เถิงความ ถ้าจะเขียนมา ให้เป็นอักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง เซอร์เชมสับรุกว่า จะเขียนมาเป็นอักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง ถ้าถ้อยคำผิดพลั้งประการใดบ้างขอได้โปรดอย่าถือเลย แล้วเซอร์เชมสับรุกว่า ซึ่งเซอร์เชมสับรุกป่วยนั้นค่อยคลายขึ้น แล้ว แต่ยังหาสบายดีไม่ วันนี้ได้พบกับท่านเสนาบดีพร้อม มีความสบาย ความที่เจ็บป่วยค่อยหายมากขึ้นกว่าเก่า แล้วเซอร์เชมสับรุก ก็ลาไป เซอร์เชมสับรุกกลับไปแล้ว ทำหนังสือมายื่นครั้งหนึ่ง ๔ ฉบับ ครั้งหนึ่ง ๒ ฉบับ ว่าด้วยจะทำสัญญาความ ๙ ข้อ ท่านเสนาบดีปรึกษาพร้อมกัน ทำหนังสือตอบให้ไป ๕ ฉบับ ณวันเดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีจอโทศก กะปิตันบรุก มิศเซนยอน มิศบรอน เอาหนังสือมาส่งให้จมื่นไวยวรนาถที่บ้าน ๔ ฉบับ


๑๔๓ หนังสือเซอร์เชมสับรุก ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ฉบับที่ ๑

หนังสือของเซอร์เยียมสบรุก มาถึงเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังว่าที่ สมุหพระกลาโหม ด้วยเซอร์เยียมสบรุกเห็นควรจะเรียนเจ้าคุณให้ทราบด้วยความปรารถนาอันให้เป็นราชทูตเข้ามานั้นเป็นเหตุประการใด หวังมิให้เป็นเหตุสงสัยด้วยข้อความอันจะใคร่ปรึกษากัน และครั้นปรึกษากันแล้วจะได้กราบทูลพระมหากษัตริย์ณกรุงเทพ ฯ ศรีอยุธยาให้ทรงทราบเพื่อพระองค์จะได้เห็นชอบด้วย เมื่อพระมหากษัตริย์เจ้าเมืองอังกฤษตรัสสั่งให้เซอร์เยียมสบรุกเป็นราชทูตมาในมหานครศรีอยุธยานี้ ก็ตรัสสั่งให้กราบทูลพระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ในกรุงพระมหานครศรีอยุธยาว่าท่านเจ้าเมืองอังกฤษมีจิตต์ผูกพันธมิตรไมตรีเป็นสนิท หวังจะให้ความสุขแห่งเมืองทั้งสองจำเริญขึ้นด้วยตั้งราชไมตรี และจะได้มีโอกาสไปมาหาสู่ค้าขายเป็นสะดวก ถ้าเป็นคุณเป็นประโยชน์พร้อมด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระราชไมตรีจึงจำเริญนานได้ ถ้าเป็นฝ่ายเดียวไม่น่าที่จะจำเริญได้ ถ้าแต่งหนังสือสัญญาเป็นไมตรี เล็งเอาแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียวก็หาจำเริญไม่ ความข้อนี้เจ้าคุณทราบอยู่แล้วเหตุดังนี้เซอร์เยียมสบรุก ขอเจ้าคุณได้กราบทูลพระเจ้าอยู่หัวให้ทราบใต้พระบาท ให้ทราบว่าเซอร์เยียมสบรุกเห็นแก่ราชการบ้านเมืองก็ดีเห็นชอบแก่น้ำใจตนก็ดี ก็ยังปรารถนาจะแสวงหาประโยชน์และความสุข ทั้งเมืองอังกฤษให้เสมอกัน เมื่อเซอร์เยียมสบรุกเข้ามาอาศัยในกรุงเทพ ฯ ดังนี้แล้ว ปลงใจลงจะใคร่ให้จริงว่า เซอร์ ๑๔๔ เยียมสบรุกได้คำนับถือในท่านผู้เป็นเจ้าเมืองอังกฤษตามควรฉันใด จะใคร่นับถือในท่านผู้เป็นกษัตริย์ในกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยาดุจเดียวกัน และในการงานและกิริยาทั้งปวงที่จะทำนั้น จะใคร่สำแดงให้ประจักษ์ว่าเมืองอังกฤษสัมพันธมิตรไมตรีต่อเจ้ากรุงเทพ ฯ ศรีอยุธยาอันนี้ หวังจะให้ปรากฏด้วยกิริยาและการทำ ดีกว่าสำแดงแต่ด้วยถ้อยคำเท่านั้น เซอร์เยียมสบรุกมิได้คิดเห็นว่า จะบังเกิดมีเหตุความประการใดที่จะขัดขวางห้ามไว้ เพื่อจะมิได้ทำหนังสือเป็นพระราชไมตรีและเปิดการซื้อขายแก่กันให้สำเร็จกันด้วยดี แต่ทว่าถ้ามีข้อใดที่มิได้เห็นพร้อมใจกัน เซอร์เยียมสบรุกก็เชื่อใจว่าเจ้าคุณจะพิจารณาหารือกันด้วยดี ปราศจากเหตุ อย่าให้เคืองใจได้ และฝ่ายเซอร์เยียมสบรุกก็จะอุตสาหกระทำเหมือนกัน ในการไมตรีและการซื้อขายแก่กัน สิ่งใด ๆ ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ฝ่ายเมืองอังกฤษก็เป็นคุณและประโยชน์ฝ่ายเมืองไทย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแปลกกันก็หามิได้ บัดนี้เป็น ๒๔ ปีมาแล้ว นับแต่เมชะเบร์อนี (๑) รับใช้แต่กัมปนีอันครองเมืองอินเดียเข้ามา และได้แต่งหนังสือสัญญาเป็นราชไมตรีกัน คุณและประโยชน์อันเกิดแต่ก่อนนั้น เป็นปรากฏอยู่แล้วทั้งสองฝ่าย ถ้าหนังสือนั้นไม่มีแล้ว ก็ขาดจากประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเหมือนกัน ครั้นการปรากฏอยู่ดังนี้ ก็เป็นเหตุที่จะ

(๑) นายร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี ทูตอังกฤษมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ดูคำอธิบายในหน้า ๔๑

๑๔๕ ให้มีใจปรารถนาทั้งสองฝ่าย หวังจะคิดอ่านตั้งพระราชไมตรีให้ยิ่งแม่นมั่นคงจำเริญไว้เป็นอันมาก จะได้ถอยน้อยลงขาดไปนั้นหามิได้ เมื่อการเป็นดังนี้เซอร์เยียมสบรุกยังซ้ำมาว่า ในการที่จะปรึกษาหารือกันครั้งนี้ ต้องเห็นแต่ความที่จะเป็นคุณและประโยชน์แก่เมืองทั้งสองฝ่าย เซอร์เยียมสบรุกได้ว่าในข้อนี้ เจ้าคุณจะเห็นพร้อมด้วย อนึ่งเซอร์เยียมสบรุกเห็นว่า เรื่องความเป็นข้อ ๆ ลำดับที่จะใคร่กล่าวนั้น ครั้นเข้าใจแล้วจะเป็นที่ชอบ จะได้เห็นว่าหน้าที่จะให้ราชไมตรีอันตั้งอยู่กับกัมปนีอันครองเมืองอินเดียให้ยั่งยืนดี เป็นเหตุที่จะป้องกันกรุงเทพ ฯ ศรีอยุธยาให้ปราศจากภัย และให้บ้านเมืองจำเริญความสุขเป็นอันมากแล้ว การซื้อขายกับพวกอังกฤษ จะเป็นประโยชน์แก่เมืองไทยยิ่งมากกว่าทุกวันนี้ อนึ่งซึ่งจะทิ้งทำลายหนังสือสัญญาอันแต่งไว้ในจุลศักราช ๑๑๘๙ ปี คฤศตศักราช ๑๘๒๗ นั้นก็หามิได้ แต่ว่าจะใคร่ให้สัญญานั้นยิ่งแม่นมั่นคงไป อันจะคิดแปลงเปลี่ยนนั้นเป็นแต่คำว่าด้วยการซื้อการขาย อันมีอยู่ที่ปลายหนังสือสัญญานั้น และเซอร์เยียมสบรุกนึกเห็นว่า คำนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้บ้าง แล้วก็ยังไว้ใจว่า เมื่อเจ้าคุณพิจารณาดูแล้ว เจ้าคุณยังจะเห็นว่าที่จะเปลี่ยนนั้น ก็จะเป็นอาณาประโยชน์แก่ราชสมบัติ แห่งพระมหากษัตริย์ในกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา และจะเป็นที่ชอบพระทัยแก่พระองค์ เพราะว่าซึ่งพระองค์ปลงพระทัยแสวงหาคุณและประโยชน์ของคนทั้งปวงจะได้บำรุงความสุขให้ทั่ว ความนี้ลือเลื่องไปรู้เถิงประเทศใกล้และไกล เถิงกระนั้นถ้ากษัตริย์ทั้งสองฝ่าย จะตั้งแต่ง

๑๔๖ หนังสือสัญญาเป็นฉบับสำแดงราชไมตรีต่อกัน ว่าด้วยความอันสมควรแก่กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ ถ้ากระทำได้ดังนี้ควร เมื่อยังมิได้ว่าการซื้อการขาย เจ้าคุณมิเห็นควรด้วยหรือ หนังสือสัญญาอย่างว่ามานี้ดูเป็นลักษณะสำคัญ ต้องด้วยพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย เห็นว่าจะเป็นที่ชอบแก่ท่านผู้ครองเมืองไทย ทั้งผู้ครองในเมืองอังกฤษในข้อนี้เซอร์เยียมสบรุกจะสงสัยก็หามิได้ แล้วจะว่าด้วยการซื้อการขายข้อนั้น จึงจะค่อยคิดค่อยว่าต่อภายหลัง อันจะตกลงกันนั้นจะได้ถูกต้องกันตลอดไป ครั้นเซอร์เยียมสบรุกสำแดงความแก่เจ้าคุณดังนี้ ก็ยังคอยที่คอยทางจะได้แก้ไขต่อไป และจะแต่งร่างคำสัญญานั้นจะได้ส่งให้เจ้าคุณพิจารณาตรึกตรองในที่ประชุมเสนาบดีผู้ใหญ่ ในกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยาเป็น ๓ ประการ คือว่าหนังสือสัญญาปลูกตั้งพระราชไมตรีเป็นอันสนิทดีเลิศ ตามซึ่งชอบแก่ท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองอังกฤษฝ่ายข้างหนึ่ง และซึ่งชอบแก่ท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงเทพ ฯ ฝ่ายข้างหนึ่งนั้นประการหนึ่ง อนึ่งจะแปลกเปลี่ยนคำที่ว่าด้วยทางอันจะซื้อจะขายอันเป็นคำเบ็ดเสร็จติดตามหนังสือ ด้วยมหากษัตริย์ณกรุงเทพ ฯ ฝ่ายหนึ่ง และกัมปนีที่ครองเมืองอินเดียฝ่ายหนึ่ง แต่งไว้ในปี ๑๘๒๗ ตามคฤศตศักราช จุลศักราช ๑๑๘๙ ปีนั้นประการหนึ่ง แต่ว่าเซอร์เยียมสบรุกยังไว้ใจว่า การนี้จะได้เถิงที่สำเร็จด้วยดี จะได้เป็นคุณและประโยชน์แก่เมืองทั้งสองเมือง และจะได้เป็นเกียรติยศแก่กษัตริย์ทั้งสองเป็นอันมาก เซอร์เยียมสบรุกจึงขอเจ้าคุณดำริตริตรองความตามสมควร และขอคำนับเจ้าคุณตามสัตยานุสัตย์ ในทางไมตรีเป็นอันดี หนังสือมาณวัน ฯ . ๑๔๗ หนังสือเซอร์เชมสับรุก ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ฉบับที่ ๒

ในหนังสือฉบับก่อน ที่เซอร์เยียมสบรุกส่งฝากแก่เจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง และเซอร์เยียมสบรุกได้กล่าวไว้แล้วว่า ถ้าเห็นแก่การรักษาเขตต์แดนกันก็ดี และการซื้อการขายกันก็ดี สิ่งใด ๆ ที่จะเป็นคุณและประโยชน์ข้างหนึ่ง สิ่งนั้นคงเป็นคุณและประโยชน์พร้อมกันทั้งสองฝ่าย จะแตกกันแปลกกันก็หามิได้ บัดนี้เซอรเยียมสบรุกจะวิถารสำแดงด้วยการอื่นหน่อยหนึ่งให้เจ้าคุณทราบ เมื่อการศึกพะม่ากับอังกฤษสงบเสร็จกันแล้ว เขตต์แดนอังกฤษแผ่มาต่อเขตต์แดนณกรุง ฯ เหตุดังนี้ต้องทำหนังสือสัญญากัน เพื่อมิได้เกิดเหตุวิวาททุ่มเถียงกันได้ เมชะเบอนี จึงรับใช้แก่กัมปนีที่ครองเมืองอินเดียฝ่ายข้างอังกฤษ เข้ามาในกรุงเทพ มหานครศรีอยุธยา ช่วยแต่งหนังสือนั้น ๆ ยอมรับว่า กรุงพระมหานครเป็นเมืองใหญ่มิได้ขึ้นแก่ประเทศใด แล้วว่าให้ระงับดับความอันเป็นเหตุเคืองกันกับพวกมะลายู ข้างเมืองไทรเมืองตานีเมืองกลันตันเป็นต้น แล้วจำเดิมแต่นั้นมา พวกไทยได้รู้เห็นว่า พวกอังกฤษที่ต่อแดนกันประพฤติเป็นอันสมด้วยไมตรี มิได้วุ่นวายปองร้ายเหมือนพะม่าแต่ก่อน ครั้งนี้เป็น ๒๔ ปีมาแล้วทางไมตรีได้จำเริญมา มิได้เกิดเหตุวิวาทกันด้วยแดนต่อแดน เมื่อก่อนพวกพะม่าเคยยกล่วงเขามารบชิงชัยกัน คราวหลังนี้สงบดี อันจะได้เป็นความกันกับ

๑๔๘ ขุนนางอังกฤษในเมืองสิงหบุรีนั้นหามิได้ แล้วขาดจากไมตรีกันเพราะความนั้นแค้นคิดปองร้ายกันก็มิได้เป็น แต่พวกอังกฤษยังได้ช่วยให้อาณาจักรข้างกรุงพระมหานครยิ่งแม่นอยู่ในเมืองไทร แล้วครั้นเกิดการขบถโกลาหลในพวกมะลายูแห่งใด ๆ อังกฤษก็ได้ป้องกันไว้มิให้เกิดภัยต่อมหากษัตริย์กรุงเทพ ฯ นั้นได้ ตั้งแต่ทำหนังสือสัญญาขอเป็นทางพระราชไมตรีต่อกัน และหนังสือว่าด้วยการซื้อขายกันในคฤศตศักราช ๑๘๒๗ ปี ตลอดมาจนวันนี้เป็น ๒๔ ปี กำปั่น ณกรุงเทพพระมหานครจะออกไปค้าขาย และทอดอยู่ณเมืองสิงหบุรีนั้น และเมืองใด ๆ แขวงใดตำบลใดก็ดี อันอยู่ในบังคับของเจ้าเมืองอังกฤษนั้นไม่ขัดไม่ข้องสิ่งใด ๆ และประโยชน์อันเกิดเพื่อหนังสือสัญญาเป็นปรากฏอยู่แล้ว และบัดนี้พวกอังกฤษจึงได้ถือไมตรีอันซื่อสัตย์ จึงขออย่าให้การฝ่ายอังกฤษเสียประโยชน์นั้นไป เพราะผู้ใดมิได้ถือคำสัญญาที่ทำไว้ในปี ๑๘๒๗ หนังสือสัญญานั้นได้เป็นคุณและประโยชน์ ณกรุงเทพพระมหานครเป็น ๓ ประการ คือ ให้ปราศจากการศึกสงคราม ๑ ให้ปราศจากข้าศึกแต่ประเทศเมืองอื่น ๑ และการซื้อขายได้จำเริญขึ้นเป็นอันดี ๑ เป็น ๓ ประการด้วยกัน เมืองทั้งสองฝ่ายเป็นสัมพันธมิตรไมตรี มิได้เคืองกันเป็นช้านานมาแล้ว ถ้าจะขาดกันห่างกัน เดี๋ยวนี้เถิงจะมีเป็นเหตุหน้ากลัวภัย ก็ยังจะเป็นเหตุให้สงสัยน้อยใจแก่คนทั้งปวง แต่ทว่าถ้าได้เอาหนังสือสัญญามาตั้งขึ้นใหม่ สำแดงว่าท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองอังกฤษและท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองขันธเสมาณกรุงเทพพระมหานคร ยังทรง

๑๔๙ พระทัยถือพระราชไมตรีสนิท คิดเห็นว่าอันนี้จะมีคุณและประโยชน์แก่เมืองทั้งสองเมืองยิ่งมาก และพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจะยืนแม่นมั่นยิ่งใหญ่ ครั้นพิจารณาดูเหตุการณ์ดังนี้แล้ว เซอร์เยียมสบรุกก็เห็นเป็นแน่ว่า การอันจะเป็นประโยชน์แก่เมืองไทย ก็เป็นประโยชน์แก่เมืองอังกฤษ และซึ่งเป็นประโยชน์แก่เมืองอังกฤษก็เป็นประโยชน์แก่เมืองไทย ด้วยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าจะ แยกกันให้แปลกกัน เป็นไม่ดี กลับเป็นร้ายไป ฝ่ายท่านผู้เป็นเสนาบดีทั้งหลายในกรุงเทพพระนครอันนี้ ท่านจะได้มีน้ำใจปรารถนาจะทำลายทางสัมพันธมิตรไมตรี อันได้จำเริญเนิ่นนานมาแล้วดังนี้ได้หรือ ฝ่ายเมืองอังกฤษก็เป็นเมืองใหญ่ แต่มิได้ปรารถนาสิ่งใด ๆ เว้นแต่ที่ควรแก่ทางธรรม ทางอันให้เป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เสนาบดีทั้งหลายณกรุง ฯ จะห้ามได้หรือ ฝ่ายท่านเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง ท่านประกอบด้วยใจอารีรักที่ชอบธรรมจึงมิได้กลัวสิ่งใด อันนี้ก็ย่อมแจ้งอยู่กับใจเซอร์เยียมสบรุกแล้ว แล้วท่านผู้เป็นมหากษัตริย์ณกรุงเทพพระมหานคร ทรงพระทัยกอปรด้วยพระมหากรุณาอันมหาประเสริฐ ความอันนี้เลื่องลือไปทั่วทั้งโลกแล้ว เซอร์เยียมสบรุกเข้าใจว่า ควรท่านผู้เป็นเสนาบดีที่อยู่ใต้ฝ่าพระบาทนั้น จะได้มีน้ำใจเป็นเหมือนกัน ถ้าเกิดความเนือง ๆ ทุกปีด้วยการซื้อขาย ก็ต้องเอาเป็นธุระปรึกษาหารือกันเนือง ๆ เหมือนกัน เป็นการลำบากต่าง ๆ เป็นอันมาก แต่เดี๋ยวนี้จะจัดแจงหมดคราวเดียว ให้เสร็จกันด้วยดีได้จะให้ง่ายกว่าเมืองทั้งสองแล้ว จะเป็นเหตุให้ราช

๑๕๐ ไมตรีฝ่ายกษัตริย์ทั้งสองจำเริญยิ่งสนิทดี อันนี้คงประจักษ์แจ้งแก่เจ้าคุณ หนังสือสัญญาเป็นพระราชไมตรี และคำสัญญาที่จะว่าด้วยการ ซื้อการขายแก่กัน ที่เซอร์เยียมสบรุกจะใคร่ส่งฝากให้ท่านเสนาบดีทั้งหลายพิจารณาตรึกตรองดูนั้น จะทำให้กรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา เป็นไมตรีสนิทกันกับเจ้ากรุงอังกฤษ ด้วยมีพาหนะนั้นมากอาศัยแต่ที่ชอบธรรม จะได้จำเริญสุขสวัสดีปราศจากภัยเป็นเนืองนิตย์ หนังสือเซอร์เชมสบรุก ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ฉบับที่ ๓

ในหนังสือฉบับก่อน เซอร์เยียมสบรุกได้ว่าด้วยข้อความ ๓ ประการ ประการหนึ่งและที่ ๒ นั้นว่าด้วยหนังสือสัญญาราชไมตรีและหนังสือสัญญาด้วยการซื้อการขาย เซอร์เยียมสบรุกนึกเห็นว่า จะจัดแจงข้อความในหนังสือทั้งสองใบได้ ให้เป็นที่ชอบแก่เจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง และชอบแก่เสนาบดีทั้งหลาย ที่อยู่ใต้พระบาทพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงเทพพระมหานคร ทีนี้เซอร์เยียมสบรุกจะใคร่ว่าด้วยเหตุอันให้เข้ามาคิดความกันครั้งนี้หน่อยหนึ่ง หวังจะให้สำเร็จกันด้วยดี ครั้นแต่งหนังสือสัญญาแล้วในคฤศตศักราช ๑๘๒๗ ปี ต่อภายหลัง ฝ่ายผู้มหากษัตริย์ในเมืองอังกฤษที่ล่วงเสียแล้วนั้น ท่านพิจารณาดูซึ่งจะเป็น


๑๕๑ ประโยชน์แก่บ้านเมือง และเห็นแก่กำลังที่ให้กัมปนีที่ครองเมืองอินเดีย จึงประกาศอนุญาติให้ใคร ๆ ผู้ใดที่อยู่ใต้บังคับ ก็เห็นประจักษ์ว่าคำสัญญานั้นจะได้ประโยชน์แก่เมืองไทยตามที่ควรก็หามิได้ จะเป็นประโยชน์แก่เมืองอังกฤษตามที่ควรก็หาไม่เหมือนกัน แล้วถ้าทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่ ก็จะเล็งเอาการซึ่งจะเป็นประโยชน์ใหญ่ในการซื้อขายกันเป็นคุณทั้งสองฝ่าย และจะเป็นอันสมด้วยพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ เซอร์เยียมสบรุกเห็นว่า ถ้าทำได้ดังนี้จึงจะเป็นที่ชอบ เป็นการประกอบด้วยคุณและประโยชน์แก่กรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา และแก่เมืองอังกฤษเหมือนกันมิได้ขัดข้องประการใด จะให้สัมพันธมิตรไมตรีแก่กันเท่าเสมอกันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เซอร์เยียมสบรุกยังจะใคร่ว่าซ้ำให้แน่ว่า อันขุนนางฝ่ายข้างอังกฤษ จะได้กินแหนงสงสัยต่อขุนนางฝ่ายข้างกรุงเทพ ฯ นั้นหามิได้เลย ความที่ว่ามานี้ ครั้นจะรวบรวมเข้าเป็น ๓ ประการคือว่า ที่จะทำเหมือนอย่างกำหนดไว้นี้ เป็นอันสมด้วยพระเกียรติยศแห่งมหากษัตริย์ในกรุงนั้น ประการหนึ่งจะเป็นความจำเริญความสุขสำราญแก่เมืองทั้งสองเมืองนั้น ประการหนึ่งเจ้ากรุงอังกฤษ ถ้ามีใจปรารถนาไปค้าขายในประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศอื่น ๆ ฝ่ายทิศตะวันออกให้ไปได้ ครั้นการเป็นดังนี้แล้ว ก็เห็นเป็นควรแก่เสนาบดีในเมืองอังกฤษ จะปลงใจลงรักษาซึ่งประโยชน์ของคนทั้งปวงที่จะได้มาค้าขายตามหนังสือที่เมชะเบอนีจัดแต่งไว้ แต่ว่าครั้งนั้นพวกจีนประทุษร้ายต่อผู้คนและต่อการซื้อขาย ข้างอังกฤษจึงเกิดการ

๑๕๒ ศึกสงคราม พวกขุนนางอังกฤษเป็นภาระธุระมาก เหตุดังนี้นับแต่ คฤศตศักราช ๑๘๔๐ ปี เมื่อบังเกิดเหตุผิดคำสัญญาประการใด พวกขุนนางอังกฤษมิได้มาเรียนท่านผู้เป็นเสนาบดีในกรุง ฯ อันข้อผิดนั้นข้อใด ก็เห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทราบ มิได้เห็นชอบด้วยสักสิ่ง ก็เห็นว่าท่านผู้เป็นเสนาบดีทั้งหลายมิได้เห็นชอบด้วย อันขุนนางฝ่ายเมืองไทยจะมิถือตามคำสัญญาให้ครบดีนั้น ข้อนี้จะเป็นที่สงสัยแก่ขุนนางฝ่ายเมืองเมืองอังกฤษก็หามิได้ แต่ว่าครั้นพวกอังกฤษตั้งใจซื่อตรงพิจารณาดูในคำสัญญาที่เมชะเบอนีช่วยแต่งนั้น จะทำให้ได้ประโยชน์ในการซื้อขายแก่กัน ฝ่ายเมืองไทยและเมืองอังกฤษให้ใหญ่ขึ้นมากกว่าทุกวันนี้ประการหนึ่ง เป็น ๓ ประการด้วยกัน เซอร์เยียมสบรุก ขอคำนับเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังตามทางไมตรีอันเป็นสนิท มาณวัน ฯ หนังสือเซอร์เชมสับรุก ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ฉบับที่ ๔

หนังสือ เซอร์เยียมสบรุก กราบเรียนมายังเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง ด้วยว่าเมื่อเซอร์เยียมสบรุก เอาร่างหนังสือสัญญานี้ส่งให้เจ้าคุณพิจารณาดูนั้น เซอร์เยียมสบรุกยังจะใคร่ว่าซ้ำอีกว่า ฝ่ายขุนนางข้างอังกฤษ เมื่อจะหารือปรึกษาความนี้มิอยากทำสิ่งอันใด เว้นแต่


๑๕๓ ทำได้ด้วยทางอันควรจะบำรุงราชไมตรีให้จำเริญไว้กับเมืองทั้งสอง ถ้าได้บำรุงรักษาราชไมตรีให้ยิ่งแม่นมั่นคง และจัดแจงทางซื้อขายแก่กันให้ยิ่งง่าย มีประโยชน์ยิ่งมากทั้งสองเมือง การนี้สิ่งเดียว ถูกต้องกันกับกระแสรับสั่ง อันเซอร์เยียมสบรุกได้รับแต่เจ้ากรุงอังกฤษนั้น จะได้ว่ากล่าวสิ่งใด ๆ เกินจากเจ้ากรุงอังกฤษก็หามิได้ ถ้าผู้ใดมาว่าอย่างอื่น ผู้นั้นเป็นแต่ล้วนคนใจพาลเป็นศัตรูต่อเมืองทั้งสอง เซอร์เยียมสบรุกไว้ใจว่า ท่านผู้เป็นเสนาบดีในกรุงเทพ ฯ เห็นจะไม่ฟังคำแต่ข้างเดียวเลย ยังเหลือแต่จะว่า ถ้าในร่างหนังสือสัญญาข้อใด ๆ อันมิได้เข้าใจโดยแท้ เป็นเหตุที่สงสัยอยู่ เซอร์เยียมสบรุกจะแก้ไขใหแจ้ง แล้วถ้าเห็นชอบดี จะเอาคำแก้นั้นมาเขียนลงกำกับในหนังสือสัญญาไว้ให้สิ้นสงสัยก็ได้ แล้วเพื่อจะได้เข้าใจง่ายควรที่จะหมายไว้ว่า หนังสือสัญญาที่ทำไว้ในคฤศตศักราช ๑๘๒๗ ปีมิได้เสีย แต่ว่าข้อ ๖ กับ ๑๐ ในหนังสือนั้นทำให้ยืดยาวหน่อยหนึ่งในหนังสือใหม่ และข้อ ๗ กับข้อ ๙ ในหนังสือก่อน ๒ ข้อเท่านั้นเป็นเหตุจะยกขึ้นว่าใหม่ ข้อ ๗ ในหนังสือที่เมชะเบอนีทำไว้นั้นว่าถ้าขุนนางในกรุง ฯ มิชอบใจ ให้คนอังกฤษคนใดที่อยู่ในเมืองไทยให้ไปจากเมืองให้ฟังก็ได้ แล้วถ้าขุนนางข้างอังกฤษมิชอบใจจะให้คนไทยอยู่ในแดนอังกฤษ จึงให้ไปจากแดนนี้ให้ฟังก็ได้ ข้อนี้ ก็เลิกเสีย เอาข้อ ๒ ในหนังสือใหม่มาใช้แทนข้อนี้ว่า อันคนอังกฤษจะได้ที่อยู่ในเมืองไทย และคนไทยจะได้ที่อยู่ในแดนอังกฤษก็ควรและครั้นว่าเมืองไทยก็ดีเมืองอังกฤษก็ดี ก็เล็งเอาความว่า จะได้ที่อยู่ ๒๐ ๑๕๔ ในหัวเมืองในเมืองขึ้นทั้งสองฝ่ายเหมือนกันตลอดไป ครั้นว่าที่อยู่ก็เข้าใจว่าที่ดิน พอที่ปลูกโรงปลูกเรือนก่อตึกก็พออยู่และทำการสบายอันท่านผู้ครองกรุงเทพฯ จะกำหนดที่ดินสำหรับคนอังกฤษและคนอื่นแต่ประเทศยุโรปจะอยู่ และที่จะได้ฝังศพเข้าด้วยการนี้ เซอร์เยียมสบรุกเห็นว่าจะทรงพระกรุณากระทำได้ด้วย ที่อันพระองค์จะทรงกำหนดไว้นั้น ให้คนอังกฤษเช่าตามราคาอันควรแก่ธรรมเป็นหลายปีตามที่จะตกลงกันได้ หรือถ้าจะให้ซื้อก็ซื้อเอาพอจะปลูกร้านโรงและเรือน ตามแต่จะต้องการ ฝ่ายคนไทยในแดนอังกฤษเล่า ถ้าจะซื้อที่ดินก็ดี จะเช่าเอาก็ดี ไม่มีอันใดจะขัดขวางสิ่งใดหามิได้เลย อันคนอังกฤษจะซื้อไร่นาและที่ดินมากเกินไปจากที่ว่ามานี้นั้นก็มิได้ห้าม ว่าแต่ที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น ครั้นดูข้อ ๙ ในหนังสือที่เมชะเบอนีแต่งไว้ว่า เมื่อเรือพ่อค้าข้างอังกฤษลำใดมาเถิงที่จอดแล้ว นายเรือลำนั้นจะมาให้การแก่เจ้าเมืองกรมการและผู้ใดรักษาเมืองที่จอดนั้น ทราบ แต่ว่าในข้อ ๒ หนังสือใหม่ก็ว่า พ่อค้านั้นจะค้าขายหรือจะไม่ค้าขาย สุดแต่พ่อค้านั้นเห็นชอบแต่ตนเอง เมื่อเซอร์เยียมสบรุกได้ไว้เนื้อเชื่อใจในเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดีทั้งหลายฝ่ายกรุงเทพพระมหานครเป็นอันดี ร่างหนังสือสัญญา เซอร์เชมสับรุก ส่งให้เจ้าพระยาพระคลัง

ท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองอังกฤษ คือว่า เครตบริตันและอิรลันด์ อันเข้ากันเป็นเมืองใหญ่แห่งหนึ่ง และยังครองเมืองฮินดู

๑๕๕ สถานนั้นฝ่ายข้างหนึ่ง กับท่านผู้เป็นอธิปไตยครองราชสมบัติในมหา-นครศรีอยุธยาฝ่ายข้างหนึ่ง ตั้งพระทัยพร้อมประสงค์จะระงับดับเหตุอันมิได้เข้าใจเถิงกันด้วยดีอย่าให้สูญปรารภ แล้วรักษาบ้านเมืองทั้งสองฝ่ายให้เป็นสุขสำราญ จึงปลงพระทัยตั้งแต่งหนังสือสัญญากันเป็น ๙ ประการดังนี้ คือ ข้อ ๑ ตั้งแต่นี้ไปจะได้ความสุขสำราญ และราชมิตรไมตรีจำเริญไว้แก่เมืองทั้งสองตราบเท่ากัลปาวสาน ที่สัญญาดังนี้ คือ กษัตริย์ผู้ครองเมืองเครตบริตัน เมืองอิรลันด์ และเมืองฮินดูสถาน ฝ่ายข้างหนึ่ง และท่านผู้เป็นอธิปไตยครองราชสมบัติมไหศวรรย์ ในมหานครศรีอยุธยาฝ่ายข้างหนึ่ง และราชวงศ์สืบ ๆ กันไปเบื้องหน้าควรจะถือตามกันทั้งสองฝ่าย ข้อ ๒ ฝ่ายคนอันอยู่ใต้บังคับอังกฤษ ยอมจะให้มาและมีที่อยู่และค้าขายในเมืองไทย และหัวเมืองที่เป็นขอบขันธเสมาแห่งท่านผู้ครองกรุงเทพ ฯ แล้วพวกประเทศอื่น ๆ ได้คุณและโอกาศในการซื้อขาย และการอื่น ๆ เป็นคุณประการใด จะได้แก่คนอันอยู่ใต้บังคับอังกฤษเหมือนกัน อนึ่งถ้าคนอันอยู่ใต้บังคับกรุงเทพ ฯ จะไปมีที่อยู่ค้าขายในแดนอังกฤษทั่วเขตต์แดนก็ยอมให้ทำได้ แล้วคนประ เทศอื่น ๆ ได้คุณและโอกาศในการซื้อขายและการอื่น เป็นคุณประการใด ก็จะได้แก่คนไทยเหล่านั้นเหมือนกัน ข้อ ๓ ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงเทพ ฯ พระองค์สัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ใดถือศาสนาแห่งพระเยซูคฤศต์และได้นมัสการ ตามพระ

๑๕๖ ศาสนานั้น ในแว่นแคว้นแห่งเมืองที่พระองค์ทรงครองอยู่ พระองค์อนุญาตให้ทำได้มิได้ขัด แล้วพระองค์จะประทานให้มีที่อันควรจะฝังศพของคนที่ถือดังนั้น อนึ่งฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองอังกฤษนั้นก็สัญญาว่า ถ้าคนถือพระพุทธศาสนาในแดนเมืองอังกฤษ คนเหล่านั้นจะได้นมัสการตามลัทธิของตนไม่ขัดสิ่งใด แล้วจะประทานให้มีที่จะฝังที่จะเผาศพ ของคนถือพระพุทธศาสนาเป็นอันสมควร ข้อ ๔ ท่านผู้เป็นอธิปไตยครองเมืองเครตบริตันเมืองอิรลันด์ และเมืองฮินดูสถานฝ่ายข้างหนึ่ง และท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุง เทพ ฯ ฝ่ายข้างหนึ่ง ยังปลงพระทัยพร้อมกันจะตั้งคำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ว่าด้วยทางค้าขายแก่กัน ปรารภจะให้การนี้มีประโยชน์ยิ่งมากขึ้นแก่เมืองทั้งสอง ข้อ ๕ ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองเครตบริตันเมืองอิร-ลันด์ และเมืองฮินดูสถาน ท่านสัญญาไว้ว่า ตั้งแต่นี้ไปภายหน้า ถ้าคนที่อยู่ใต้บังคับกรุงเทพ ฯ ไปค้าขายในแดนอังกฤษ พวกอังกฤษ จะทำสิ่งอันใดขัดขวางให้คนไทยเสียประโยชน์ในการซื้อการขายก็หา มิได้ ก็ห้ามเสียมิให้ทำได้ และฝ่ายท่านกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพ ฯ ศรีอยุธยาเล่า ท่านสัญญาไว้ว่า ตั้งแต่นี้ไปภายหน้า เมื่อคนอยู่ในบังคับอังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุงเทพ ฯ ฝ่ายกรุง ฯ นั้นจะทำสิ่งใดขัดขวางให้พวกคนอังกฤษพ่อค้าเหล่านั้นเสียประโยชน์ในการซื้อขายนั้นก็หามิได้ ก็ห้ามเสียมิให้ทำได้


๑๕๗ ข้อ ๖ ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์กรุงเทพ ฯ ก็อนุญาตว่า ถ้าข้างอังกฤษได้เห็นชอบจะตั้งกงสุล คือผู้สำหรับเอาธุระเป็นพนักงานจะว่ากล่าวในการซื้อขายให้มาอยู่เมืองใด ๆ อันเป็นท่าจอดในแว่นแคว้นกรุงเทพ ฯ ก็ให้มาได้ แล้วพนักงานของกงสุลเหล่านั้น คือว่าถ้าพวกอังกฤษอันอยู่ในกรุงเทพ ฯ เป็นความกันเองก็ดี เป็นความกันกับชาวกรุง ฯ กงสุลเหล่านั้นจะเอาเป็นธุระพิจารณาปรึกษากันกับขุนนางในกรุง ฯ ให้ระงับดับความให้สูญจงได้ แล้วฝ่ายท่านผู้เป็นอธิปไตยในเมืองอังกฤษเล่า ท่านก็อนุญาตว่า ถ้าข้างกรุงเทพ ฯ ได้เห็นชอบจะตั้งกงสุลไปอยู่เมืองใด ๆ อันเป็นท่าจอดในแดนอังกฤษเป็นภาระธุระเหมือนกันก็ให้ทำได้เป็นเสมอกัน ข้อ ๗ ถ้าและเรือรบของเจ้าแผ่นดินอังกฤษ และของกัมปนีที่ครองเมืองอินเดีย มีเหตุจะมาเถิงที่จอดเถิงแม่น้ำแห่งใด ๆ ในแว่นแคว้นในกรุงเทพ ฯ ปรารถนาจะซื้อเข้าของอันสำหรับจะใช้ในเรือ คือเครื่องอาหารและฟืนเป็นต้น ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในกรุงเทพ ฯ ท่านก็ยอมสัญญาไว้ว่าจะทำได้แล้ว ครั้นจะซื้อข้าวของนั้น ยอมให้ซื้อตามราคาอันควรด้วยธรรม ถ้าและกำปั่นและเรือรบอันเป็นของเจ้าแผ่นดินณกรุง ฯ มีเหตุจะเข้าในที่จอดและแม่น้ำใด ๆ ที่เป็นแดนอังกฤษ ฝ่ายท่านผู้ครองเมืองเครตบริตันเมืองอิรลันด์และเมืองฮินดูสถาน ท่านก็ยอมสัญญาไว้ว่าจะทำได้เหมือนกันมิได้ขัดประการใด


๑๕๘ ข้อ ๘ ถ้าและกำปั่นเรือใด ๆ ที่ใช้ธงอังกฤษจะเกยหาดทรายโดนหินแตกอับปางใกล้ฝั่งเขตต์แดนกรุง ฯ ฝ่านท่านกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพ ฯ นั้นท่านยอมสัญญาไว้ว่า ถ้ามีช่องจะช่วยได้จะให้ช่วยจนเต็มกำลัง เก็บเรือเก็บข้าวของนั้นรักษาไว้ จะได้ส่งคืนให้แก่เจ้าของด้วยดี อนึ่งด้วยนายเรือลูกเรือที่เสียดังนั้นกับทั้งข้าวของ ๆ เขา พวกไทยจะรักษาบำรุงไว้ให้ปราศจากอันตรายแล้ว ถ้ากำปั่นและเรือลำใด ๆ ที่ใช้ธงไทย ได้เถิงที่แตกเสียใกล้แดนอังกฤษ ท่านผู้ครองเมืองอังกฤษก็ยอมสัญญาไว้ว่า จะให้พวกอังกฤษสงเคราะห์ช่วยให้ผู้คนและข้าวของให้ปราศจากอันตรายได้ ข้อ ๙ ถ้าเว้นไว้แต่ข้อความที่เปลี่ยนแล้วในหนังสือฉบับนี้และที่จะเปลี่ยนในฉบับอันจะสัญญาด้วยการซื้อขายนั้น ข้อใด ๆ อื่น อันเป็นคุณประโยชน์แก่เมืองทั้งสอง ก็คงจำเริญไว้ตามหนังสือสัญญาเก่า ที่กัมปนีอันครองเมืองอินเดียได้สัญญาไว้กับท่านกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพ ฯ ให้จำเริญแต่นี้ไปตราบเท่ากัลปาวสาน ฯ วัน อังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอโทศก เพลาบ่าย ๔ โมงเศษ กะปิตันบรุก มิศเซนยอน มิศบราน ๓ คน เอาหนังสือมาส่งให้ที่บ้านจมื่นไวยวรนาถ



๑๕๙ หนังสือเซอร์เชมสับรุก ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ฉบับที่ ๕

หนังสือ ของเซอร์เยียมสบรุก คำนับมายังเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง หนังสือใบนี้เป็นที่นำหน้าและกำกับเรื่องความว่าด้วยการซื้อขายแก่กัน ซึ่งเซอร์เยียมสบรุกแต่งร่างไว้และส่งมายังเจ้าคุณ ให้พิจารณา ในข้อ ๆ ที่ลำดับกันไว้นี้ก็มีหลายสิ่ง อันยอมไว้ให้อาณาประโยชน์แก่กรุงเทพพระมหานครฝ่ายเดียว เซอร์เยียมสับรุกไว้ใจท่านผู้เป็นเสนาบดีทั้งหลาย จะหมายดูสิ่งข้อเหล่านั้น จึงจะเห็นว่าอันยอมดังนี้ หวังจะให้คิดอ่านจัดแจงให้การซื้อขายนั้นเป็นอันดีมีคุณตลอดทั้งสองเมือง เมื่อแต่งร่างหนังสือเป็นข้อ ๆ ลำดับกันดังนี้ ก็เล็งเอาความว่าครั้นคนปรารถนาจะซื้อสินค้าเป็นมากไป คนที่จะขายก็จะจัดแจงทำสินค้าให้มาก ถ้ากำปั่นพ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุง ฯ เป็นอันมาก กำปั่นพ่อค้าเข้ากรุง ฯ จะไปค้าขายในเมืองแดนอังกฤษยิ่งมากขึ้นเหมือนกัน แล้วถ้าการค้าขายกับประเทศอื่น ๆ ทวีขึ้นมาก ก็จะเป็นเหตุให้เมืองกรุงเทพ ฯ เป็นสบายปกติดี ด้วยว่าพวกจีนและคนชาติอื่น ๆ ที่อยู่ใต้บังคับของกรุง ฯ ก็จะมีการทำเต็มมือเต็มใจ การอันนี้มีคุณ และเงินภาษีส่วยสาอากรที่จะเข้าคลังหลวงก็จะยิ่งขึ้นมากกว่าทุกวันนี้


๑๖๐ ในเมืองใด ๆ ถ้าบ้านเมืองสงบสบายตลอดขอบขันธเสมาเป็นปกติดีแล้ว เงินส่วยสาอากรที่จะเข้าคลังหลวงจึงจะมากขึ้น ที่บ้านเมืองเล่าก็จะสบาย อย่างนั้นก็อาศัยเหตุการณ์ค้าขายกันกับประเทศอื่นโดยมาก ถ้าภาษีและค่าธรรมเนียมแรงนัก การค้าขายก็ถอยลงอาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนเป็นอันมาก เงินที่เข้าคลังหลวงก็น้อยลง น่าที่จะเกิดโกลาหลเสียพระเกียรติยศไป ความอันนี้ถูกกันกับเมืองนี้และเมืองอื่นทั่วกันไป เซอร์เยียมสบรุกมิได้สงสัยว่า ท่านผู้เป็นเสนาบดีในกรุง ฯ มิได้เข้าใจความดังนี้ อันจะสงสัยดังนั้นมิได้ แต่ว่าเซอร์เยียมสบรุกเห็นความนี้ควรแก่การที่จะปรึกษาหารือกัน จึงชักมาว่าในภาษาอังกฤษ มีคำปราชญ์มาว่า เมื่อไพร่ฟ้ามั่งคั่งบริบูรณ์ ท่านกษัตริย์บรรทมด้วยดี เมื่อไพร่ฟ้ายากจน ท่านกษัตริย์มีแต่จะกรรแสง เหตุดังนี้ถ้าท่านผู้เป็นเสนาบดีปรารถนาจะให้ความสุขแผ่ไปใหญ่ขึ้นมากในกรุงเทพ ฯ ทั้งเมืองอังกฤษ และปรารถนาจะให้จำเริญสุขสวัสดีกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย จึงควรให้เสนาบดีทั้งสองเมืองอุตสาหพากเพียรจะให้การซื้อขายแก่กันยิ่งมากยิ่งง่าย อย่าให้ขัดขวางเพราะเห็นแก่ประโยชน์คนหนึ่งสองคน หรือเพราะใจสงสัยกันและกัน ใครผู้ใดมิได้กลัวคนที่เป็นเพื่อนกัน ก็ไว้ใจในเพื่อนคนนั้นแล้ว หาภัยอันตรายมิได้ และเพื่อนนั้นกลับไว้ใจในเพื่อนที่ไว้ ใจในตน แต่ว่าถ้าคนสงสัยมาด้วยเพื่อน น่าที่จะให้เพื่อนกลับมาสงสัยแทน จึงมีแต่จะกลัวกันมา ทั้งสองถ้อยคำภายนอกยังหวานดี แต่ภายในก็

๑๖๑ กินแหนงชิงชังกัน เป็นอย่างไรกับผู้คน กับบ้านเมืองก็เป็นอย่างนั้น แต่ว่าฝ่ายกรุงเทพพระมหานครกับเมืองอังกฤษก็มิได้สงสัยกัน มีแต่จะไว้ใจแก่กัน และที่ไว้ใจนั้นบันดาลให้ไว้ใจยิ่งมาก ดังนั้นและพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์ทั้งสองจะสูงขึ้นเป็นอันยิ่งเสนาบดีจะเป็นใหญ่ และคนยากคนจนได้มีอาหารกิน ในคำที่ว่าด้วยการค้าขายที่นี้ ความปรารถนาอันจะเป็นประโยชน์แก่อังกฤษแต่ ๒ สิ่งเท่านั้น คือให้ลดค่าธรรมเนียมในกำปั่นค่าปากเรือให้น้อยลงประการหนึ่ง แล้วอย่าให้มีใครพิกัดคาดค่าสินค้า เว้นไว้แต่เจ้าของสินค้า ให้พ่อค้าไทยพ่อค้าอังกฤษซื้อขายแก่กันโดยคล่อง ๆ ไม่มีใครขัดทัดทานนั้นเป็น ๒ ประการด้วยกัน ควรที่จะกล่าวไว้ว่า ค่าปากเรือเดี๋ยวนี้เป็นมากนัก เหตุดังนี้เรืออังกฤษที่จะเข้ามาค้าขายน้อยลำ ถ้ากำปั่นจะมามากเป็นหลายลำก็จะทำให้สินค้าที่มีในกรุง ฯ ยิ่งมากขึ้น แล้วครั้นมาหลายลำ ค่าปากเรือเมื่อรวมกันเข้าก็จะมากขึ้น และครั้นสินค้าเกิดมากแล้ว ค่าภาษีก็จะยิ่งมากเหมือนกัน ถ้าทำดังนี้ ที่ลดค่าปากเรือจะกลับเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพ ฯ เหมือนกับเมืองอังกฤษ และการที่จะซื้อขายกันก็จะเจริญขึ้นทั้งสองฝ่าย อนึ่งครั้นว่าให้พ่อค้าอังกฤษกับพ่อค้าข้างกรุง ฯ ค้าขายแก่กันด้วยคล่องง่าย มิให้ผู้ใดขัดขวางนั้น เสนาบดีอังกฤษมิได้ปรารถนาสิ่งใดอื่น เว้นไว้แต่การที่สัญญาไว้แล้วในหนังสือที่เมชะเบอร์นีช่วยแต่งแต่ก่อน ๒๑ ๑๖๒ ถ้าจะว่าด้วยน้ำตาลทรายหรือสินค้าอื่น ถ้าเจ้าภาษีมาพิกัดคาดค่าไว้แล้ว พ่อค้าจะซื้อสินค้านั้นด้วยคล่องเป็นปกติไม่ได้ ถ้าเจ้าภาษีก็ดี คนอื่นก็ดี ถือฎีกามาคาดค่าสินค้าได้ ก็เห็นว่ามีคนอื่นแซกตัวเข้า มิใช่คนที่จะซื้อมิใช่คนที่จะขายแล้ว ที่จะซื้อ จะขายด้วยคล่องด้วยไม่ได้ อันจะทำดังนี้เป็นที่ห้ามแล้วในหนังสือสัญญานั้น ถ้าเจ้าภาษีหรือคนอื่นมิได้ฎีกาให้อาญาแก่ตัว ก็มิอาจที่จะทำได้ ถ้าน้ำตาลทรายนั้นขายได้แต่แห่งเดียว ยังจะว่าขายคล่องถูกต้องกับใจความในคำสัญญานั้นก็หามิได้ เหตุดังนี้เซอร์เยียมสบรุกเห็นว่ามิใช่ข้อใหม่ ๆ เป็นข้อที่ยอมไว้แล้วในหนังสือก่อนแล้ว ถ้าได้ถือตามก็จะเป็นคุณและประโยชน์แก่พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าข้างกรุงฯ ด้วยให้ซื้อให้ขายกันดี ถ้าจะเอาข้าวของอันเป็นสินค้ามาพิกัดค่าให้แรงมากนัก ก็ขายไม่ได้คนจึงไม่ทำ ถ้าขายได้ก็ขายแต่น้อย คนทำจึงทำน้อยเข้า ถ้าจะทำให้ดีแก่ผู้ซื้อและผู้ขาย ก็ให้มีกฎหมายหลวงกำหนดค่าภาษีตามควรแก่ธรรม ครั้นใช้ค่าภาษีนั้นแล้ว ให้เจ้าของสินค้าและผู้ซื้อตกลงกันเองตามแต่จะได้ อย่าให้คนอื่นแซกเข้ามาว่าได้จึงจะดี ถ้าและข้างอังกฤษและกรุง ฯ คิดอ่านเห็นพร้อมกัน ตามความที่ลำดับไว้ในร่างหนังสือสัญญาอันส่งมานี้ ก็จะเป็นคุณและประโยชน์แก่พวกอังกฤษเป็นประการใด ก็เป็นประโยชน์แต่เพียงว่า การซื้อการขายมีกำหนดเป็นแน่แล้วจึงจะทวีขึ้นมาก และประโยชน์อันนี้ได้แก่ชาวกรุง ฯ เหมือนกันกับชาวอังกฤษ


๑๖๓ ท่านผู้เป็นมหากษัตริย์ครองราชสมบัติในกรุงเทพพระมหานคร ได้ทรงพระกรุณาตั้งพระทัยปรารภจะให้ชาวพระนครอยู่เย็นเป็นสุขทั่ว ได้ทรงโปรดปรานต่อพ่อค้าอังกฤษ และตั้งเป็นราชสัมพันธมิตรไมตรี ต่อแผ่นดินอังกฤษอันสนิทแล้ว เมี่อพระองค์ทรงพระทัยประกอบด้วย พระกรุณากว้างใหญ่และพระปัญญาอันแหลมนี้ ก็น่าที่พระองค์จะเห็นชอบในการคิดดังว่ามาแล้วนี้ และยิ่งกว่านี้อีก ถ้าเป็นแต่ผู้มีวาสนาน้อยปัญญาน้อยอันจะเป็นที่ไว้ใจดังนี้ก็หามิได้ ถึงดังนั้นแล้ว เซอร์เยียมสบรุกได้ตรึกตรองความเห็นว่า ท่านผู้เป็นอธิปไตยครองแผ่นดินอังกฤษ ทรงพระทัยถือไมตรี ต่อท่านผู้เป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติในกรุงเทพ ฯ เป็นอันสนิท เซอร์เยียมสบรุกจึงเห็นว่า ควรที่จะยกสินค้าอันเป็นของสำคัญถึง ๗ ประการ ด้วยสินค้า ๗ สิ่งนั้น ถ้าขุนนางฝ่ายกรุง ฯ จะจัดแจงอย่างไร ๆ ขุนนางอังกฤษไม่ว่าประการใด ถ้าจะให้เจ้าภาษีพิกัดค่าสิ่งเหล่านี้หรือไม่พิกัดจะขายหรือไม่ขาย อังกฤษไม่ว่า ถ้าจะถือว่าที่ลดค่าปากเรือเป็นที่เสียประโยชน์แก่กรุง ฯ ที่ยอมยกสินค้าให้เป็นประโยชน์แก่กรุง ฯ ฝ่ายเดียวเป็นที่แทนกันหลายเท่า ฝ่ายข้าวเปลือกข้าวสาร คำสัญญาอันส่งมานี้ว่า เมื่อใช้ค่าภาษีแล้วจึงซื้อกันขายกันและเอาไปได้ เซอร์เยียมสบรุกเข้าใจว่า เมื่อแรกดูความนี้ดูเหมือนเป็นเหตุที่จะขัดได้ แต่ทว่าเซอร์เยียมสบรุกยังเห็นว่า ถ้าเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังกับเสนาบดีทั้งหลาย ได้พิจารณาตรึก


๑๖๔ ตรองดี ๆ แล้ว จึงจะทราบว่าการนี้คงจะมีประโยชน์มาก เงินภาษีที่จะเข้าคลังหลวงจะมากขึ้น และอาหารกินในเมืองจะบริบูรณ์ขึ้นมาก ดินในกรุงเทพ ฯ เป็นที่เกิดผลดกบริบูรณ์มาก ผู้คนก็มาก ถ้าเอาข้าวเปลือกข้าวสารขายเอาไปจากเมืองเป็นมาก ๆ คนทั้งหลายจึงอุตส่าห์ทำนาให้เกิดผลข้าวให้ยิ่งมาก ครั้นข้าวมีมากแล้ว ราคาแก่ชาวบ้านพลเรือนคงจะถอยน้อยลง คนจนจะได้ซื้อง่าย ๆ ไม่ขัดสนเลย บัดนี้ถึงดินควรและบริบูรณ์มาก คนปลงใจลงทำไร่นามีแต่น้อย ด้วยว่าเมื่อทำแล้วจะเอาข้าวนั้นทำอะไรเขาไม่รู้ จะขายไปเมืองอื่นเอาเงินเป็นกำไรไม่ได้ ห้ามเสียแล้ว ถ้าเอาข้าวเป็นภาษีหาบละสลึง ค่าภาษีรวบกันจะเป็นอันงาม และเมื่อจะบรรทุกเรือกำปั่นไม่ต้องเก็บภาษีเรือ และผู้ซื้อผู้ขายจะได้ซื้อขายกันด้วยคล่องไม่มีใครขัด สินค้าทั้งเจ็ดประการที่ยอมให้ไว้แก่กรุงเทพ ฯ กับทั้งค่าปากเรือและค่าภาษีต่าง ๆ จะเป็นเงินเข้าคลังหลวงเป็นมาก และเป็นที่กำหนดเป็นแน่ ถ้าเว้นไว้แต่ ปืน ลูกปืน ดินปืนเท่านั้น แล้วให้เจ้าภาษีถือและพิกัดค่าเหมือนทุกวันนี้ ไม่เป็นที่ผิดหนังสือสัญญาที่แต่งไว้ในปี ๑๘๒๗ หรือ การนี้เป็นเหตุที่สงสัยได้ แต่ว่าที่นี้ยกไว้อย่าให้เป็นที่เคืองกันเลย ด้วยว่าเซอร์เยียมสบรุกจะใคร่กล่าวให้เจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังทราบเป็นแน่ว่า เมื่อเซอร์เยียมสบรุกเข้ามาปรึกษาหารือกันคราวนี้ มิได้ปรารถนาที่จะเอาความสิ่งใดอันมิชอบ


๑๖๕ แก่เสนาบดีข้างกรุงเทพ ฯ เป็นที่เคืองใจกัน เอาความนั้นมาว่าหามิได้ มีแต่จะขอให้เจ้าคุณพิจารณาดูในประโยชน์ที่จะเกิดแต่คำสัญญาดังว่ามานี้ แล้วเอาเหตุการณ์ทุกสิ่งกราบทูลแก่พระมหากษัตริย์กรุงเทพ ฯ จะได้ทรงพระปัญญาอันประเสริฐตรัสให้ทราบ อนึ่งอันจะกำหนดค่าภาษีแห่งสินค้าต่าง ๆ ด้วยการนั้น หนังสือที่สัญญากับเมชเบอร์นีได้ว่า ถ้าขุนนางฝ่ายกรุงเทพ ฯ คาดค่าภาษีมากเท่าใดตามแต่เห็นชอบก็ทำได้จึงไม่มีห้าม แต่ทว่าถ้าพิกัดคาดค่าภาษีในสินค้าที่เกิดในกรุงเทพ ฯ ให้แรงนักเกินเหลือ ก็เป็นที่สำแดงน้ำใจเป็นปรากฏว่า หวังจะให้การค้าขายกันกับคนอังกฤษเสียและเมืองทั้งสองจะให้ขาดจากกัน ถ้ากำหนดค่าภาษีเป็นแน่ในคำสัญญาใหม่ได้กำหนดไว้แล้ว ทีหลังพ่อค้าจะทุ่มเถียงกันไม่ได้ ตัดเหตุที่จะวิวาทกันให้สูญสิ้นทีเดียวจะคล่องสบายดี เซอร์เยียมสบรุกเห็นว่า มิตรไมตรีที่จำเริญมานานแล้ว ยังจะจำเริญยิ่งแม่นยิ่งสนิทกว่าแต่ก่อน ฝ่ายอังกฤษที่ครองเมืองอินเดียได้ทำหนังสือสัญญากับกรุงอังวะว่า อันพวกพะม่าจะมาประทุษร้ายต่อกรุงเทพ ฯ ก็หามิได้ และ เป็น ๒๔ ปีมาแล้วก็สงบดี ฝ่ายเมืองมะลายูเถิงเกิดการกบฏวุ่นวายด้วยกัน ก็ยังกั้นไว้มิให้เป็นอันตรายแก่เมืองไทย แล้วขุนนางฝ่ายอังกฤษเห็นแก่คำสัญญา มิได้บังคับบัญชาในเมืองเหล่านั้นเป็นประการใดเลย อนึ่งคิดอ่านกันด้วยการค้าขายกันนี้ เป็นเหตุ ที่จะให้ไปมาซื้อขายกันยิ่งมากยิ่งดี ให้ประโยชน์ยิ่งมากแก่เมือง

๑๖๖ ทั้งสองเมือง อันขุนนางอังกฤษจะถือมานะหวังจะให้เมืองตนเป็นใหญ่แต่ท่าเดียวก็หามิได้ แต่ว่าตั้งใจเหมือนเป็นเพื่อนสนิทจะไม่ปิดซ่อนสิ่งใด ตั้งใจควรแก่ไมตรีเป็นอันดี เห็นประโยชน์ข้างไหนมาชักชวนให้เข้าส่วนประโยชน์ด้วยกัน ในหนังสือที่กษัตริย์ใหญ่ทั้งสองทรงอนุญาตตั้งสัญญากัน สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์แก่เมืองอังกฤษก็เป็นประโยชน์แก่กรุงเทพ ฯ เหมือนกัน จะแยกกันไม่ได้ ถ้าบุคคลผู้ใดเป็นชาวอังกฤษก็ดี ชาวกรุงเทพ ฯ ก็ดี ได้ปรารถนาให้ความสุขจำเริญไว้แก่เมืองของตน ผู้นั้นคงปรารถนาให้ความสุขจำเริญไว้แก่เมืองทั้งสองฝ่ายเหมือนกัน เซอร์เยียมสบรุกขอกล่าวไว้ดังนี้ หวังจะให้ท่านผู้เป็นเสนาบดี ณกรุงเทพ ฯ เข้าใจประจักษ์ว่า เสนาบดีข้างอังกฤษจะใคร่ทำการแต่ด้วยสัตย์เป็นสุจริตธรรมสิ้นทั้งนั้น แล้วเซอร์เยียมสบรุกยังไว้ใจว่า ครั้นเสนาบดีได้พิจารณาดูความที่กล่าวมาแล้ว จะเอาไปกราบทูลท่านผู้เป็นมหากษัตริย์กรุงเทพ ฯ จะได้ทรงพระดำริ เรื่องความกำหนดการซื้อขายแก่กันเป็นหลายข้อลำดับกัน ที่เซอร์เยียมสบรุกส่งมายังเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังจะได้พิจารณา ร่างสัญญาพิกัดสินค้า

ตั้งแต่แรกตั้งพระราชไมตรีกับกัมปนีที่ครองเมืองอินเดียฝ่ายหนึ่งและพระมหากษัตริย์ครองกรุงเทพ ฯ ฝ่ายหนึ่ง ก็ได้รักษาทางพระ


๑๖๗ ราชไมตรีสืบกันลงมา และครั้นในจุลศักราช ๑๑๘๓ คฤศตศักราช ๑๘๒๖ ได้คิดอ่านกันทำหนังสือกำหนดว่าด้วยค่าปากเรือและการค้าขายกัน หนังสือนั้นสำเร็จในเดือนชันนุเอรี ๑๗ ค่ำ ปี ๑๘๒๗ นับแต่ครั้งนั้นลงมา เหตุการบ้านเมืองผิดกันกับการแต่ก่อนหลายสิ่งไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว ครั้นเหตุดังนั้นแล้ว ท่านผู้เป็นใหญ่ครองเมืองเครตบริตันเมืองอิรรันด์และเมืองฮินดูสถานฝ่ายหนึ่ง กับท่านผู้ดำรงแผ่นดินกรุงเทพ ฯ ฝ่ายหนึ่ง จึงปลงพระทัยพร้อมกันปรารภจะแต่งคำสัญญาใหม่ กำหนดว่าด้วยทางค้าขายกัน หวังจะให้ไปมาซื้อขายในเมืองทั้งสองยิ่งมากยิ่งคล่อง มีประโยชน์ยิ่งมากทั้งสองฝ่ายแล้วคำสัญญาใหม่จะเป็นที่แทนคำสัญญาเก่าก่อนที่ว่าด้วยการค้าขายแล้วให้คำใหม่นี้ติดเนื่องกันเข้าที่ปลายหนังสือสัญญาปลูกพระราชไมตรีกับกษัตริย์ทั้งสองพระองค์อันที่พึงทำสำเร็จแล้วด้วยดี ข้อ ๑ ฝิ่นเป็นของต้องห้ามมิให้ซื้อขายเลยในแว่นแคว้นกรุง เทพ ฯ ถ้าใครเอาฝิ่นมา จับได้ให้ริบฝิ่นนั้นเป็นของหลวง และผู้เอามา ไหมเสียเป็นเงินเหรียญร้อยแผ่น ถ้ามิได้ใช้เงินให้เอาตัวจำไว้กำหนด ๖ เดือน ข้อ ๒ สินค้าทั้งเจ็ดสิ่งนี้ คือ น้ำมัน ๑ ปืน ลูกปืน และดินปืน รวบไว้เป็น ๑ เหล็ก ๑ กะทะเหล็ก ๑ เหล็กกล้า ๑ สุรา ๑ ไม้สัก ๑ เป็น ๗ ประการด้วยกัน ทั้งเจ็ดสิ่งนี้ยอมให้ไว้แก่กรุงเทพ ฯ ฝ่ายเดียว จะคิดพิกัดค่าภาษีไม่พิกัดตามแต่จะเห็นชอบ


๑๖๘ ในกรุงเทพ ฯ เรือและกำปั่นลำใดที่ใช้ธงอังกฤษ จะเอาของเหล่านี้บรรทุกเข้ามาขายหรือจะบรรทุกเอาไปก็มิได้ห้ามเสีย เว้นไว้แต่มีบัตรหมายของขุนนางไทยอันเป็นเจ้าพนักงานยอมให้จึงจะทำได้ ข้อ ๓ ข้าวสารก็ดี ข้าวเปลือกก็ดี และของอื่นทั้งปวงที่ เป็นสินค้าอย่าให้ต้องเสียค่าภาษี เว้นไว้แต่ตามที่กำหนดไว้ในคำสัญญาใบนี้ ข้อ ๔ เว้นไว้แต่สินค้า ๗ ประการ ที่ยอมให้ไว้แก่กรุงเทพ ฯ ฝ่ายเดียว คนใต้บังคับอังกฤษก็ดี คนใต้บังคับแห่งกรุงเทพ ฯ ก็ดี จะซื้อขายกันในกรุงบางกอกก็ดี ในเมืองอื่นอันมีท่าจอดก็ดี จะทำได้คล่องมิให้ขัดข้องประการใด เมื่อว่าดังนี้เข้าใจว่าเว้นแต่ค่าภาษีที่กำหนดไว้แล้ว เจ้าภาษีจะมาพิกัดคาดค่ามิได้ จะตั้งภาษีสินค้าว่าเป็นของขายไปนอก เป็นของเข้ามาแต่นอกมาขายนี้มิได้ ผู้ใดอื่นเว้นแต่ผู้ซื้อผู้ขายจะแซกตัวเข้าทัดทานมิให้ซื้อขายกันคล่องง่ายอย่า ให้ทำได้ ข้อ ๕ ค่าภาษีในน้ำตาลทรายขาว บัดนี้เป็นหาบละ ๒ สลึง คำสัญญานี้จะได้ว่าให้แปลกเปลี่ยนกันก็หามิได้ ด้วยสินค้าที่เขียนลำดับกันไว้ข้างหน้านี้ก็เหมือนกัน แต่สินค้าอื่นอันมิได้คิดเป็นแทนภาษีที่ใช้ในของเข้ามา และของที่เอาไปข้างนอกจดลงที่นี่ ให้ถือว่าหามีค่าภาษีไม่เลย


๑๖๙ ข้าวสารนั้นให้เป็นภาษี หาบละสลึง น้ำตาลทรายขาว หาบละ ๒ สลึง ครั่ง หาบละ ๒ สลึง เขาสัตว์ หาบละสลึง คิดเป็นแทน น้ำตาลทรายแดง หาบละสลึง เกลือเกวียนละ ๒ บาท ไม้ฝาง หาบละเฟื้อง ภาษีที่ใช้ในของเข้ามาและของที่เอาไปข้างนอก ข้อ ๖ ถ้ากำปั่นอังกฤษบรรทุกของมาขาย บรรทุกของไปขายข้างนอก หรือบรรทุกของเข้ามาทั้งบรรทุกออกไปด้วย ต้องใช้ค่าปากเรือวาละ ๕๐๐ บาท วานั้นคิดเป็น ๗๘ นิ้วอังกฤษ เมื่อจะวัดปากเรือให้วัดบนดาดฟ้าชั้นบนก็ได้ชั้น ๒ ก็ได้ ให้วัดตามที่กว้างมาก ค่าปากเรือดังนี้ให้คิดเอาแทนภาษีของเข้าออก ค่าท่าจอด ค่าร่องน้ำสารพัตร ครั้นกำปั่นลำใดใช้ค่าปากเรืองดังนี้แล้วถึงจะขนของขึ้นที่ ๒ แห่ง หรือจะบรรทุกของที่ ๒ แห่ง ๓ แห่งในแว่นแคว้นกรุงเทพ ฯ มิต้องใช้อะไรอีกในเที่ยวนั้น อนึ่งถ้ากำปั่นอังกฤษลำใดจะเข้ามาในแดนกรุงเทพ ฯ ปรารถนาแต่จะซ่อมแปลงเรือที่เสีย หรือจะซื้อสะเบียงอาหาร หรือจะใคร่ถามข่าวรู้ราคาสินค้าเท่านั้นก็ยอม อย่าให้เสียค่าปากเรือเลย ยังมีเหตุอื่นข้อเล็กน้อย จะคิดอ่านกันต่อภายหลังได้ ๒๒

๑๗๐ จดหมายเหตุถวายร่างหนังสือตอบเซอร์เชมสับรุก

วันอาทิตย์เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศกเพลาบ่าย ๒ โมง เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี จางวางพระคลังสินค้า เอาร่างหนังสือตอบเซอร์เชมสับรุกฉบับที่ ๓ ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา หลวงศรีโยวภาษเป็นผู้อ่านทูลเกล้า ฯ ถวายสิ้นข้อความ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตกแซกลงบ้างวงกาเสียบ้างแล้ว ให้เอาร่างหนังสือไปส่งให้จมื่นไวยวรนาถ ๆ จะได้ให้ขึ้นกระดาษไปส่งเซอร์เชมสับรุก อนึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมวงศาสนิท จางวางกรมหมอ พระยาพิพัฒน์โกษา พระยาจุฬาราชมนตรี เอาร่างหนังสือตอบเซอร์เชมสับรุก ฉบับที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา พระยาจุฬา ราชมนตรีอ่านทูลเกล้า ฯ ถวายสิ้นข้อความ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตกแซกวงกาเสียบ้างแล้ว ให้เอาร่างหนังสือนี้ไปส่งให้ จมื่นไวยวรนาถ ๆ จะได้ให้ขึ้นกระดาษไปส่งให้เซอร์เชมสับรุก ในทันใดนั้น หมอยอนฝรั่งแปลคำไทยเป็นคำอังกฤษแล้ว ให้นายพานิชเขียนฉบับที่ ๑ ที่ ๓ นายโยเสพเขียนฉบับที่ ๒ ที่ ๔ เป็นอักษรอังกฤษขึ้นกระดาษตัวดีแล้ว ได้ให้โยเสพฝรั่งกับหมื่นพิพิธอักษรนายเวนกรมท่าทาน โยเสพฝรั่งดูอักษรอังกฤษ หมื่นพิพิธอักษรอ่านฉบับไทยไปจนจบ ครั้นจบแล้วได้ถามโยเสพฝรั่งว่า เนื้อความถูกต้องกับฉบับไทยแล้วหรือ โยเสพฝรั่งว่าถูกต้องดีแล้ว ๆ ได้ให้

๑๗๑ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์, ทูลกระหม่อมพระ, เสมียนยิ้ม ทานสอบทั้งสี่ฉบับอีก ก็ว่าถูกต้องไม่ผิดดีแล้ว ๆ โยเสพฝรั่งเอาอักษรอังกฤษพับผนึกปิดตราบัวผันประจำผนึกกำกับกันอักษรไทยเข้าถุงต่วนเหลืองมีสายรูดปากถุง ปิดตราประจำครั่งประจำสายรูดแล้ว ใส่พานกาไหล่ทองปากประดับพลอย ให้หมื่นพิพิธอักษรนายเวรกรมท่าถือไปหน้า จมื่นราชามาตย์ จมื่นทิพเสนา นายจ่าเรศ ไปให้เซอร์เชมสับรุกที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศ์อาวาสที่เซอร์เชมสับรุกอยู่ หนังสือเจ้าพระยาพระคลัง ตอบหนังสือฉบับที่ ๑ ของเซอร์เชมสับรุก

หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้มายังเซอร์เชมสับรุก ด้วยเซอร์เชมสับรุกทำหนังสือมาให้เรา ๔ ฉบับ เป็นอักษรไทย ปิดตราประจำมาด้วย และมีอักษรฝรั่งกำกับ เราพิเคราะห์ดูใจความหาแจ่มแจ้งถูกต้องตามทำนองหนังสือไทยไม่ ว่าความซ้ำซากวนเวียนกลับหน้าเป็นหลัง ๆ เป็นหน้า เป็นทำนองหนังสืออังกฤษซึ่งเคยมีมาเถิงเราแต่ก่อน ๆ นั้น ครั้นจะให้พระยาพิพัฒน์โกษาไปถามด้วยข้อที่ยังสงสัย เซอร์เชมสับรุกก็ว่าหนังสือไทยนั้นทำไปจะแจ้งอยู่แล้ว อย่าให้มาถามเลย เราจึงเก็บเอาความในหนังสือของเซอร์เชมสับรุกที่เข้าใจบ้าง ทำเป็นหนังสือมาให้เซอร์เชมสับรุก ใจความในหนังสือของเซอร์เชมสับรุกฉบับที่ ๑ นั้นว่า


๑๗๒ เซอร์เชมสับรุกเป็นราชทูตถือรับสั่งพระมหากษัตริย์เจ้าเมืองอังกฤษเข้ามา ว่าท่านเจ้าเมืองอังกฤษมีจิตต์ผูกพันธมิตรไมตรีเป็นสนิท หวังจะให้ความสุขแห่งเมืองทั้งสองจำเริญขึ้นด้วยตั้งราชไมตรี และจะได้มีโอกาสไปมาหาสู่ค้าขายเป็นสะดวก จะเล็งเอาแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียวก็หาจำเริญไม่ เซอร์เชมสับรุกเข้ามาอาศัยในกรุงพระมหานครศรีอยุธยาดังนี้ เซอร์เชมสับรุกนับถือเจ้ากรุงอังกฤษฉันใด จะใคร่นับถือในพระมหากษัตริย์กรุงพระมหานครศรีอยุธยาดุจเดียวกัน เซอร์เชมสับรุกก็เชื่อใจว่า เราจะได้พิจารณาหารือกันด้วยดี ปราศจากเหตุอย่าให้เคืองใจได้ การที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ฝ่ายเมืองอังกฤษ ก็เป็นคุณประโยชน์ฝ่ายเมืองไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแปลกกันก็หามิได้ แล้วว่านับได้ ๒๔ ปีมาแล้ว กะปิตันหันตรีบารนีรับใช้แต่กัมปนีอันครองเมืองอินเดีย เข้ามาแต่งหนังสือสัญญาเป็นราชไมตรีกัน คุณและประโยชน์อันเกิดแต่ก่อนก็ปรากฏอยู่แล้วทั้งสองฝ่ายเซอร์เชมสับรุกว่า การที่จะปรึกษากันครั้งนี้ ให้ต้องด้วยพระเกียรติยศ แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองไทยทั้งผู้ครองเมืองอังกฤษ และซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าเป็นราชทูตเข้ามาครั้งนี้ จะจัดแจงปรึกษาหารือกับเสนาบดีที่กรุงพระมหานครศรีอยุธยา ทำนุบำรุงทางพระราชไมตรีกรุงพระมหานครศรีอยุธยากับเมืองอังกฤษให้สนิทยิ่งขึ้นไปกว่าครั้งกะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาทำหนังสือสัญญา เมื่อคฤศตศักราช ๑๘๒๖ ปี เซอร์เชมสับรุกมิได้คิดที่จะให้เป็นประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวหามิได้


๑๗๓ คิดแต่จะให้มีความจำเริญ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งสองพระนครจะได้อยู่เย็นเป็นสุขให้เหมือนกันทั้งสองฝ่าย ถ้าเซอร์เชมสับรุกทำได้ดังนี้ เราผู้เป็นเสนาบดีก็มีความยินดี ควรจะสรรเสริญว่าเซอร์เชมสับรุกเป็นผู้มีสติปัญญารอบคอบ พูดจาอยู่ในยุตติธรรม อุปมาเหมือนตราชูที่ลิ้นเที่ยง ไม่รู้เงี่ยโคลงไปข้างฝ่ายเขาฝ่ายเรา จะจำเริญสุขภิยโยยศ ปรากฏชื่อเสียงไปชั่วกัลปาวสาน หนังสือจริงใจของเราให้มาณวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอนักษัตรโทศก หนังสือเจ้าพระยาพระคลัง ตอบจดหมายฉบับที่ ๒ ของเซอร์เชมสับรุก

หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้มายังเซอร์เชมสับรุก ด้วยในหนังสือฉบับที่ ๒ ของเซอร์เชมสับรุก เราพิเคราะห์ดูก็ไม่สู้เข้าใจแจ่มแจ้ง ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าได้กล่าวไว้แล้วว่า ถ้าเห็นแก่การรักษาเขตต์แดนกันก็ดี และการซื้อขายกันก็ดี สิ่งใด ๆ ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ฝ่ายข้างหนึ่ง สิ่งนั้นก็เป็นคุณและประโยชน์พร้อมกันทั้งสองฝ่าย จะแตกกันแปลกกันก็หามิได้ แล้วเซอร์เชมสับรุกว่า เมื่อครั้งศึกพะม่ากับอังกฤษสงบเสร็จกันแล้ว เขตต์แดนพะม่าต่อเขตต์แดนกรุงพระมหานครศรีอยุธยาเกรงจะเกิดวิวาทกัน กัมปนีผู้ครองอินเดียจึงให้กะปิตันหันตรีบารนี


๑๗๔ เข้ามาทำหนังสือสัญญา เพื่อมิให้วิวาททุ่มเถียงกันด้วยที่เขตต์แดนจำเดิมแต่นั้นมา พวกไทยจึงได้รู้ว่าพวกอังกฤษที่ต่อแดนประพฤติเป็นอันสมควรด้วยไมตรี มิได้ปองร้ายเหมือนพะม่า เมื่อแต่ก่อน พะม่าเคยยกล่วงเข้ามาชิงชัยกัน คราวหลังนี่สงบดี ความซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่า เมื่อการศึกพะม่าสงบเสร็จกันแล้ว เขตต์แดนแผ่มาต่อเขตต์แดนกรุง ฯ เกรงจะเกิดวิวาทกัน กัมปนีผู้ครองอินเดียจึงให้กะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาทำหนังสือสัญญา เพื่อจะมิให้วิวาทกันด้วยเขตต์แดนนั้น ความข้อนี้หาเป็นอย่างเซอร์เชมสับรุกว่าไม่ เมื่อเจ้าเมืองมั่งกล่าให้กะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาทำหนังสือสัญญานั้น อังกฤษกำลังทำศึกกับพะม่าอยู่ ยังหาแล้วกันไม่ พวกรามัญที่อยู่ ณกรุงเทพ ฯ จึงเรียนท่านเสนาบดี ให้กราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขอยกกองทัพออกไปกวาดต้อนครอบครัวแต่บรรดาญาติพี่น้องเข้ามาไว้ที่กรุง ฯ ให้สิ้น จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธารามัญราชคุมกองทัพรามัญยกออกไป ก็ได้ครอบครัวรามัญผ่อนเข้ามาบ้าง กองทัพก็ยังตั้งอยู่ที่แม่กษัตริย์ เราเห็นว่าการครั้งนั้นอังกฤษติดหน้าระวังหลังพะว้าพะวังอยู่ เจ้าเมืองมั่งกล่าจึงให้กะปิตันหันตรีบารนีเข้ามา ว่าเจ้ากรุงอังกฤษให้เจ้าเมืองมั่งกล่าแต่งให้เป็นทูตเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาเป็นไมตรีกับกรุง ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นควรจะเป็นทางพระราชไมตรีกับเจ้ากรุงอังกฤษ จึงโปรดเกล้า ฯ สั่งเสนาบดีให้หากองทัพรามัญกลับเข้ามาณกรุง ฯ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าสองพระนคร

๑๗๕ เป็นทางพระราชไมตรีกัน ไม่ต้องระวังข้าศึกศัตรูนั้น เราก็เห็นว่าเป็นไมตรีกันนั้นแลดี ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็ได้อยู่เย็นเป็นสุข ทุกวันนี้ไทยกับอังกฤษเป็นไมตรีกัน ไม่ต้องระวังรักษาเขตต์แดนเหมือนอยู่ใกล้กับพะม่าข้าศึกอย่างแต่ก่อน และข้อความที่เซอร์เชมสับรุกว่าด้วยความเมืองแขกมะลายู เมื่อเกิดการกบฎโกลาหลที่เมืองไทร อังกฤษก็ได้ป้องกันไว้มิให้เกิดภัยต่อกรุง ฯ ได้นั้น ความข้อนี้เมื่อคฤศตศักราช ๑๘๒๖ ปี เจ้าพระยานครศรีธรรมราชลงไปจัดกองทัพที่เมืองไทร จะยกไปตีเมืองสลางอ ครั้งนั้นกะปิตันหันตรีบารนีจะเข้ามาทำหนังสือสัญญา ยังอยู่ที่เมืองเกาะหมาก เจ้าเมืองเกาะหมากจึงใช้ให้กะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาหาเจ้าพระยานครศรีธรรมราชที่เมืองไทร ขอห้ามกองทัพมิให้ยกผ่านเมืองเกาะหมากลงไป ว่าพวกลูกค้า แขก จีน ที่เมืองเกาะหมากจะพากันตื่นตกใจ เจ้าพระยานคร ศรีธรรมราชก็งดกองทัพไว้ หาได้ยกกองทัพลงไปตีเมืองสลางอไม่ แล้วเจ้าพระยานครศรีธรรมราชกับกะปิตันหันตรีบารนีก็พากันเข้ามาทำหนังสือสัญญาที่กรุง ฯ แล้วกะปิตันหันตรีบารนีขอพวกครัวรามัญ, มฤท, ทวาย, ตะนาว เป็นคนชายหญิงใหญ่น้อย ๑๔๓๘ คน กับเมืองแประซึ่งเป็นเมืองขึ้นกรุง ฯ ได้ถวายดอกไม้ทองเงิน ๒ ครั้งแล้ว ก็เอาไปขึ้นกับเมืองเกาะหมากด้วย ให้เซอร์เชมสับรุกระลึกดูบ้าง หรือจะหารู้ความอันนี้ไม่ และกะปิตันหันตรีบารนีได้ทำหนังสือสัญญาว่าด้วยการบ้านเมือง ๑๔ ข้อ การค้าขาย ๖ ข้อ ในหนังสือสัญญาข้อ ๑๓ นั้น ว่าด้วยความเมืองไทร มิให้พวกพี่น้อง

๑๗๖ พระยาไทรเข้ามารบกวนเมืองไทร เมื่อจุลศักราช ๑๑๙๓ ปีเถาะตรีศก พวกพี่น้องพระยาไทรยกมารบเมืองไทรครั้งหนึ่ง เมื่อจุลศักราช ๑๒๐๐ ปีจอสัมฤทธิศก พี่น้องพระยาไทรก็ยกมารบเมืองไทรอีกครั้งหนึ่ง เจ้าเมืองเกาะหมากได้ให้มาช่วยเจ้าพระยานคร ศรีธรรมราช เอากำปั่นมาปิดปากน้ำเมืองไทรทั้งสองครั้ง เราก็ได้มีหนังสือไปเถิงเจ้าเมืองเกาะหมาก ขอบใจเจ้าเมืองเกาะหมากเป็นอันมาก เซอร์เชมสับรุกยกเอาความข้อนี้ขึ้นว่า เห็นว่าเราจะลืมเสียหรือ เราก็ไม่ลืมคุณซึ่งได้เป็นทางไมตรีกับเจ้ากรุงอังกฤษ ผู้เป็นอธิปไตยในชาติอังกฤษ และเซอร์เชมสับรุกเห็นว่า การอันจะเป็นประโยชน์เมืองไทย ก็เป็นประโยชน์แก่เมืองอังกฤษด้วยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าจะแยกกันให้แปลกกันก็เป็นไม่ดี กลับเป็นร้ายไปฝ่ายอังกฤษก็เป็นเมืองใหญ่ แต่มิได้ปรารถนาสิ่งใด ๆ เว้นแต่ที่ควรแก่ทางธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย เสนาบดีจะมาห้ามได้หรือ แล้วว่าเราประกอบไปด้วยใจอารีรักที่ชอบธรรม จึงมิได้กลัวสิ่งไร แจ้งอยู่กับใจเซอร์เชมสับรุกแล้วนั้น ซึ่งเซอร์เชมสับรุกพูดดังนี้ถูกต้องตามประเพณีเห็นว่าเซอร์เชมสับรุกเป็นคนมีสติปัญญาวาจาก็อ่อนหวาน สมกับคำเขาเล่าลือเข้ามาว่า เซอร์เชมสับรุกจะเจรจาสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็สัตย์จริง มิได้เจือด้วยมารยาและอุบายจะเอาแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว ซึ่งจะคิดให้สองพระนครจำเริญทางไมตรียิ่งสนิทนั้น เสนาบดีจะห้ามปรามด้วยเหตุอันใด ถ้าการทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่ายก็เป็นประโยชน์ด้วยกัน ถ้าทำได้แต่ฝ่ายเดียว ฝ่ายข้างหนึ่งใช่นิสัยทำมิได้ ก็ไม่เป็น

๑๗๗ ประโยชน์ สมด้วยคำเซอร์เชมสับรุกว่าถ้าแยกกันแปลกกัน ความดีก็กลับเป็นร้ายไป ข้อซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าด้วยหนังสือสัญญา ที่ว่าด้วยการซื้อขายแก่กันนั้น จะใคร่ให้ท่านเสนาบดีทั้งหลายพิจารณาตริตรองดู จะทำให้กรุงพระมหานครศรีอยุธยาเป็นไมตรีสนิทกันกับเจ้ากรุงอังกฤษ อันมีพาหนะมาก อาศัยแต่ที่ชอบธรรม จะได้จำเริญสุขสวัสดิ์ปราศจากภัยเป็นเนืองนิตย์ ความข้อนี้เราคิดเห็นว่า ธรรมดาเมืองใหญ่ทั้งสอง จะได้ทำหนังสือสัญญาในทางพระราชไมตรีให้สนิทและการซื้อการขายแก่กัน จะได้ด้วยน้ำใจสุจริตซื่อตรงต่อกันทั้งสองฝ่ายอย่างเดียว อันจะได้ด้วยข่มขู่ขืนน้ำใจกันนั้นหาได้ไม่ ซึ่งว่าเจ้ากรุงอังกฤษมีพาหนะมากนั้น พาหนะนี้ภาษาไทยเรียกว่ายวดยานคานหามรถรัถอัศดร ล่ามที่แปลหนังสืออังกฤษออกเป็นคำไทยจะเข้าใจว่าเป็นสลุบกำปั่นหรือ อันมีกำปั่นรบกำปั่นไฟเป็นอันมากนั้น นานาประเทศทั้งปวง ก็ย่อมสรรเสริญว่าเป็นที่เกรงขามสง่างามอยู่ในท้องชเลลึก อุปมาเหมือนปลาวาฬ จะได้บริโภคมังสะคชสารเสือโคร่งนั้นเป็นอันยาก ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่า เมื่อเกิดการศึกสงครามที่เมืองจีน พวกขุนนางอังกฤษเป็นภารธุระมาก เหตุดังนั้นนับแต่คฤศตศักราช ๑๘๔๐ ปี เมื่อบังเกิดเหตุผิดคำสัญญาประการใด พวกขุนนางอังกฤษมิได้มาเรียนท่านเสนาบดีในกรุงพระมหานครศรีอยุธยานั้น ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าฝ่ายไทยทำผิดคำสัญญานั้น จะเป็นความอันใด จะเป็นด้วยความจีนเรือพู่กัด เมื่อจุลศักราช ๑๒๐๑ ปีกุรเอกศก กองตระเวนจับจีนเรือพู่กัดได้ลำหนึ่ง เมื่อจุลศักราช ๑๒๐๘ ปีมะเมียอัฐศก ๒๓ ๑๗๘ กองตระเวนก็จับได้อีกลำหนึ่ง พวกจีนเรือพู่กัดเหล่านี้บรรทุกฝิ่นเข้ามาเที่ยวจอดแอบฝั่งแอบเกาะขาย จนริมปากน้ำเจ้าพระยา นัดหมายกันกับจีนคนชั่วในบ้านในเมืองเราให้ออกไปซื้อขายกัน ไม่เข้าซื้อขายในบ้านในเมือง แล้วเที่ยวกระทำหยาบช้าต่าง ๆ พวกจีนเอาฝิ่นเข้ามาซื้อขาย มาทางบกก็มี ทางน้ำก็มี จะห้ามปรามสักเท่าใด ๆ ก็ไม่ฟัง จับได้กระทำโทษจำไว้ เฆี่ยนเสียก็มี ฆ่าเสียก็มี ริบราชบาตรจนฉิบหายสิ้นทรัพย์สิ่งสินก็ไม่เข็ดหลาบ เถิงอยู่ที่เมืองจีนบ้านเมืองเดิมของตัวก็นิยมกันสูบฝิ่น พากันยากจนไม่เป็นอันซื้ออันขายเกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมจนบ้านเมืองจะล่มจมเสียด้วยฝิ่นแล้ว จีนที่เข้ามาอยู่ในขอบขันธเสมากรุง ฯ ก็กระทำดังนั้น ชักชวนคนเพศอื่นภาษาอื่นและคนไทยให้สูบฝิ่น ถ้าบ้านใดเมืองใดพากันสูบฝิ่นมากแล้ว ก็ไม่จำเริญกับบ้านนั้นเมืองนั้นเลย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ทรงเกลียดชังคนสูบฝิ่นนัก เสนาบดีและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยช่วยกันระวังรักษา จะมิให้คนไทยและคนในบ้านเมืองสูบฝิ่นได้ ให้เหมือนชาติฝรั่ง ไม่มีผู้ใดสูบฝิ่นเลยแต่สักคนหนึ่ง ดีนักหนา บรรดาจีนเป็นข้าแผ่นดินพระเจ้ากรุงปะกิ่งไปเที่ยวทำมาหากินอยู่ในบ้านในเมืองใด ก็ถือว่าเป็นไพร่บ้านพลเมือง ๆ นั้น ได้ทรัพย์สิ่งสินแล้วกลับไปบ้านเมืองของตัว จีนคนชั่วพวกนี้ค้าขายไม่สุจริต คิดแต่จะหาผลประโยชน์ใส่ตัว จะให้เมืองเป็นไมตรีร้าวฉาน เหมือนจะเสี้ยมเขาควายให้ชนกันจีนเรือพู่กัดซึ่งจับไว้ได้ครั้งก่อนจำไว้ มิศบอนำเจ้าเมืองสิงหโปรา

๑๗๙ มีหนังสือเข้ามาขอโทษออกไป แล้วว่าจะห้ามปรามมิให้เอาฝิ่นเข้ามาขายต่อไป ก็ให้พ้นโทษออกไปครั้งหนึ่งแล้ว จีนเรือพู่กัดก็หาเข็ดหลาบไม่ ยังเข้ามาขายฝิ่นต่อไป กำปั่นตระเวนก็จับได้อีกลำหนึ่ง กอลแนลปัตวัดเจ้าเมืองสิงหโปรามีหนังสือขอโทษเข้ามา ก็ได้ให้ออกไปโดยทางไมตรีอีกครั้งหนึ่ง ได้มีหนังสือออกไปให้กำชับว่ากล่าว อย่าให้เข้ามาเที่ยวลอบลักขายฝิ่นต่อไป ทุกวันนี้ข้างฝั่งชเลตะวันตก จีนเรือพู่กัดก็ยังบรรทุกฝิ่นเข้ามาในเขตต์แดนเนือง ๆ มาคราวละ ๔ ลำ ๕ ลำ ๖ ลำ เที่ยวจอดซื้อขายตามเกาะทุ้งอ่าวชเลพบปะเรือไทยเล็ก ๆ ซึ่งไปมาตามริมฝั่ง ก็ลงเรือช่วงเอาปืนคาบศิลาไล่ยิงให้คนหนีขึ้นบก เก็บเอาทรัพย์สิ่งของไปแล้วกะทุ้งเรือจมน้ำเสียกระทำเนือง ๆ ต้องให้กำปั่นตระเวนและเรือรบเรือไล่ออกไปประจำรักษา คอยระวังปราบปรามอยู่มิได้ขาด ซึ่งเราเล่าความเรื่องเรือพู่กัดมาให้เซอร์เชมสับรุกรู้ดังนี้ ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงเกลียดชังคนซื้อฝิ่นขายฝิ่นสูบฝิ่นยิ่งนัก ความซึ่งเราว่ามาในฉบับ ๒ นี้ เซอร์เชมสับรุกเป็นผู้มีสติปัญญาตั้งอยู่ในยุตติธรรมสันดานปราศจากโทโสโมโห ตั้งใจเข้ามาจะปรึกษาหารือกันแต่ล้วนความดี ให้สองพระนครเป็นไมตรีสนิทจำเริญยิ่งขึ้นไปกว่าแต่ก่อน จงพิเคราะห์ตรึกตรองดู ก็จะเห็นว่าเราพูดเป็นความจริงบ้าง หนังสือให้มาณวันพุธเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก


๑๘๐ หนังสือเจ้าพระยาพระคลัง ตอบจดหมายฉบับที่ ๓ ของเซอร์เชมสับรุก

หนังสือเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้มายังเซอร์เชมสับรุก ด้วยในหนังสือฉบับที่ ๓ ของเซอร์เชมสับรุก เราพิเคราะห์ดูก็ไม่สู้เข้าใจแจ่มแจ้ง ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าฝ่ายขุนนางข้างอังกฤษ เมื่อจะหารือปรึกษาความนี้ มิอยากทำสิ่งอันใด เว้นแต่ทำได้ด้วยทางอันควรจะบำรุงราชไมตรีให้จำเริญไว้กับเมืองทั้งสอง ถ้าได้บำรุงรักษาราชไมตรีให้ยิ่งแม่นมั่นคง และจัดแจงทางซื้อขายแก่กันให้ยิ่งง่าย มีประโยชน์ยิ่งมากทั้งสองเมือง การนี้สิ่งเดียวถูกต้องกันกับกระแสรับสั่ง อันเซอร์เชมสับรุกได้รับแต่เจ้ากรุงอังกฤษนั้นจะได้ว่ากล่าวสิ่งใด ๆ เกินจากเจ้ากรุงอังกฤษก็หามิได้ และความซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองเครตบริตันเมืองอิรลันด์ เมืองฮินดูสถาน มีคำสั่งให้เซอร์เชมสับรุกผู้มีสติปัญญารอบรู้ในความที่จะเข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี มาเจรจาการบ้านเมืองให้สองพระนครใหญ่เป็นไมตรีให้ยิ่งแม่นมั่นคงขึ้นนั้น ฝ่ายเราก็มีความยินดีในถ้อยคำเซอร์เชมสับรุกว่ามาทั้งนี้ พระราชไมตรีจะได้ถาวรวัฒนาไปชั่วกัลปาวสาน และซึ่งว่าถ้าผู้ใดมาว่าอย่างอื่น ผู้นั้นเป็นแต่ล้วนคนใจพาล เป็นศัตรูแก่เมืองทั้งสอง เซอร์เชมสับรุกไว้ใจว่าท่านผู้เป็นเสนาบดีในกรุง ฯ เห็นจะไม่ฟังคำแต่ข้างเดียวเลย ความซึ่งว่าดังนี้ ตั้งแต่เรารู้ความว่าเซอร์เชมสับรุกจะเข้ามาณกรุงพระมหา

๑๘๑ นครศรีอยุธยา พวกลูกค้าก็เข้ามาเล่าลือกันต่าง ๆ เมื่อเซอร์เชมสับรุกยังอยู่ที่เมืองสิงหโปรา เรือไทย เรือจีน เรือแขก ลูกค้าซึ่งไปซื้อขาย ณเมืองสิงหโปรา กลับเข้ามาณกรุงพระมหานครศรีอยุธยาก็พูดจาว่าความต่าง ๆ กัน ครั้นเซอร์เชมสับรุกไปอยู่ที่เมืองเกาะหมากฝ่ายแขกเมืองไทร เมืองปลิดไทยจีน เมืองพังงา เมืองถลาง ไปค้าขายเมืองเกาะหมาก กลับมาก็พูดจาเลื่องลือกันเป็นหลายอย่างมาจนทุกวันนี้ เรือจีนลูกค้าไปค้าขายเมืองไญกะตรา เมืองสำปาหลัง เมืองกุกัง กลับเข้ามาก็ยังพูดจากันอื้ออึงไป เสนาบดีรู้ความแล้วก็ มิได้เอื้อเฟื้อในถ้อยคำอันนั้น ถึงมาตรว่าคนพาลจะมาหลอกลวงพูดจาเอาแต่ประโยชน์ตัว มิให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่น จะทำให้เสียประเพณีซึ่งเป็นไมตรีกันนั้น หาควรจะฟังเอามาเป็นแก่นสารไม่ ที่กรุง ฯ นี้เล่า ลูกค้าจีน , แขก , ฝรั่ง ต่างชาติต่างภาษาเข้ามาอยู่ค้าขายมากด้วยกัน เป็นคนดีก็มี เป็นคนชั่วก็มี คนที่ชั่วจะเก็บเหตุการณ์ในบ้านในเมืองไปพูดจาประการใดให้เซอร์เชมสับรุกฟัง ก็อย่าให้ถือเอาถ้อยคำอันนั้นไว้เป็นอารมณ์ เหมือนกับเสนาบดีมิได้ฟังเอาถ้อยคำแห่งลูกค้าไว้ ถ้าใจเซอร์เชมสับรุกกับใจเสนาบดีประพฤติอย่างเดียวกัน ไม่ฟังเอาถ้อยคำคนผู้น้อยมาผูกพันให้เป็นเหตุใหญ่ขึ้นแล้ว ทางพระราชไมตรีทั้งสองพระนครใหญ่ก็จะจำเริญไปชั่วฟ้าและดิน กับว่ายังเหลือแต่จะว่า ถ้าในร่างหนังสือสัญญาได้พบข้อใด ๆ อันมิได้เข้าใจโดยแท้ เป็นเหตุที่สงสัยอยู่ เซอร์เชมสับรุกจะแก้ไขให้แจ้งแล้ว ถ้าเห็นชอบดี จะเอาคำแก้นั้นมาเขียนลงกำกับหนังสือสัญญา

๑๘๒ ไว้ให้สิ้นสงสัยก็ได้ แล้วเพื่อจะได้เข้าใจง่าย ควรที่จะหมายไว้ว่าหนังสือสัญญาที่ทำไว้ในคฤศตศักราช ๑๘๒๖ ปี มิได้เสีย ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าหนังสือสัญญาข้อใดที่เป็นที่สงสัย เซอร์เชมสับรุกจะแก้ไขให้แจ้งนั้น เราก็หามีความสงสัยสิ่งหนึ่งสิ่งใดในข้อซึ่งจะสัญญากันไม่ และซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าความมาว่า ข้อ ๖ กับข้อ ๑๐ ในหนังสือนั้นทำให้ยืดยาวหน่อยหนึ่งในหนังสือใหม่ และข้อ ๗ กับข้อ ๙ ในหนังสือสัญญาก่อน ๒ ข้อนั้นเป็นเหตุ จะขอยกขึ้นว่าใหม่ และซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าจะขอยกหนังสือสัญญาเก่า ๒ ข้อ จะเพิ่มเติมขึ้นในหนังสือสัญญาเก่าอีก ๒ ข้อนั้น จะยกถอนไปเราก็จะยอมให้ถอนไปตามใจ ฝ่ายเราก็เคยไปถอนหนังสือสัญญาครั้งกะปิตันหันตรีบารนีมาทำไว้ว่าด้วยความเมืองไทรข้อ ๑๓ (๑) เมื่อจุลศักราช ๑๒๐๓ ปีฉลูตรีศก มาครั้งหนึ่งแล้ว เซอร์เชมสับรุกจะขอเพิ่มเติมลงในหนังสือสัญญาข้อ ๖ กับข้อ ๑๐ นั้น ก็จะให้เพิ่มเติมลง แต่จะเพิ่มเติมความลงอย่างไร ก็ให้ว่ามาเสียให้เข้าใจก่อน ถ้าเราเห็นว่าเป็นประโยชน์ทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว จะเพิ่มเติมความลงและจะถอนความไปเราก็จะยอมให้ ถ้าเห็นการเป็นแต่ฝ่ายเดียวแล้ว เราจะยอมให้นั้นไม่ได้ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าเป็นใจความว่า คนอังกฤษจะได้ที่อยู่ในเมืองไทย และคนไทยจะได้ที่อยู่ในแดนอังกฤษก็ควร แล้วว่าพ่อค้านั้นจะค้าขายหรือไม่ค้าขาย สุดแต่พ่อค้าเห็นชอบกับตนเอง กับเซอร์เชมสับรุกว่าได้ไว้เนื้อเชื่อใจในเราและเสนาบดีทั้งหลายฝ่ายกรุงเทพ ฯ เป็นอันดีนั้น เรากับเสนาบดีทั้งปวงก็จะปรึกษาหารือจัดแจงโดย (๑) ดูเชิงอรรถหน้า ๑๓๙ ๑๘๓ ยุตติธรรม แต่ที่ควรจะเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ให้ไพร่บ้านพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุขสืบไป ซึ่งว่าท่านผู้เป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองเครตบริตัน เมืองอิรลันด์ เมืองฮินดูสถานนั้นฝ่ายข้างหนึ่ง กับท่านผู้เป็นอธิปไตยครองราชสมบัติในกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา ฝ่ายข้างหนึ่ง ตั้งพระทัยพร้อมประสงค์จะระงับดับเหตุอันมิได้เข้าใจเถิงกันด้วยดีให้สูญปรารภ แล้วรักษาเมืองทั้งสองให้เป็นสุขสำราญ จึงปลงพระทัยตั้งแต่งหนังสือสัญญา ๙ ประการดังนี้ เราจะนำความในหนังสือสัญญา ๙ ข้อของเซอร์เชมสับรุกขึ้นกราบทูลพระราชวง ศานุวงศ์ให้ทราบ จะได้มีรับสั่งให้ประชุมเสนาบดีปรึกษาในข้อสัญญาซึ่งเซอร์เชมสับรุกทำมานี้ ถ้าปรึกษาเห็นพร้อมกันว่าถูกต้องตามพระราชประเพณีกรุงพระมหานครศรีอยุธยาแล้ว จึงจะให้มาต่อภายหลังหนังสือให้มาณวันพุธเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอนักษัตรโทศก คำปรึกษาข้าทูลละออง ฯ ที่ตรวจร่างสัญญา

วันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก ท่านเสนาบดีและข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งรู้สันทัดชัดเจนในการนานาประเทศทั้งปวง ประชุมกันในพระราชนิเวศน์มหาสถาน มีเจ้าพระยาพระคลังเสนาบดี ที่สมุหพระกลาโหมเป็นประธาน พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี พระยาราชสุภาวดีศรีบรมหงส์ เจ้าพระยามหาโยธารามัญราช จมื่นไวยวรนาถภักดีศรี

๑๘๔ สุริยวงศ์ พระยาพิพัฒนโกษาราชปลัด พระยาจุฬาราชมนตรีเจ้ากรม กรมท่าขวา พระยาโชฎึกราชเศรษฐีเจ้ากรม กรมท่าซ้าย จมื่นทิพเสนา จมื่นราชามาตย์ ปลัดกรมพระตำรวจทหารแห่ต้นเชือกซ้ายขวา นายจ่าเรศมหาดเล็ก พระยาสวัสดิวารีจางวางเจ้าภาษี ปรึกษาพร้อมกันด้วยหนังสือสัญญา ๙ ข้อของเซอร์เชมสับรุกขุนนางอังกฤษ ซึ่งเป็นทูตถือรับสั่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นอธิปไตยในเมืองเครตบริตันอิรลันด์และฮินดูสถาน มาขอทำหนังสือสัญญากับท่านเสนาบดีณกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ในหนังสือสัญญาข้อ ๑ นั้นว่า ตั้งแต่นี้ไปจะให้ความสุขสำราญและราชไมตรีจำเริญไว้แก่เมืองทั้งสองตราบเท่ากัลปาวสาน ที่สำคัญดังนี้ คือ กษัตริย์ผู้ครองเมืองเครตบริตัน เมืองอิรลันด์ และฮินดูสถานฝ่ายข้างหนึ่ง กับท่านผู้เป็นอธิปไตยครองราชสมบัติมไหศวรรย์ในพระมหานครศรีอยุธยาฝ่ายข้างหนึ่ง และราชวงศ์สืบ ๆ กันไปเบื้องหน้า ควรจะถือตามกันทั้งสองฝ่าย ข้อสัญญาของเซอร์เชมสับรุกข้อ ๑ นี้ เสนาบดีทั้งปวงปรึกษากันเห็นชอบด้วย ลอดวิศกันปามสตันขุนนางผู้ใหญ่กรุงอังกฤษกับเซอร์เชมสับรุกที่เป็นทูตเข้ามาจำเริญพระราชไมตรี จะให้สองพระนครใหญ่เป็นสัมพันธมิตรไมตรีวัฒนาถาวร สนิทยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนจนชั่วกัลปาวสาน ตามอย่างบุราณราชประเพณีสืบ ๆ มา เรามีความยินดีเป็นอันมาก แต่ว่าจะจารึกพระนามพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระนครลงไว้ในหนังสือข้อสัญญานั้นหาสมควรไม่ อันราชประเพณีกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ท่านเสนาบดีแต่โบราณท่านจารึกพระนาม

๑๘๕ พระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นราชไมตรีกันไว้ในแผ่นพระสุพรรณบัตร ครั้งนี้เห็นสมควรที่จะจารึกไว้ในแผ่นพระสุพรรณบัตรว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ครอบครองสิริราชสมบัติในกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา กับพระมหากษัตริย์ผู้ล้ำเลิศ อันเป็นอธิปไตยในเมืองเครตบริตัน เมืองอิรลันด์ และเมืองฮินดูสถาน พระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่ายเป็นมหามิตรไมตรีสุวรรณปัถพีเดียวกันอันสนิท ตั้งแต่ครั้ง จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก คฤศตศักราช ๑๘๕๐ ปี เซอร์เชมสับรุกเป็น ราชทูตเข้ามาจำเริญพระราชไมตรีณพระนครศรีอยุธยา ทั้งควรจะให้ประกาศกับเมืองประเทศราช และเมืองขึ้นข้าขอบขันธเสมาอาณาจักรปากใต้ฝ่ายเหนือ ตะวันตกตะวันออก และอาณาประชาราษฎร พ่อค้าพานิชทั้งปวง ให้รู้จงทั่วกันว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงพระมหานครศรีอยุธยา กับพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงอังกฤษ เป็นมหามิตรพระราชไมตรีสนิทยิ่งกว่าแต่ก่อน ถ้าเซอร์เชมสับรุกเห็นชอบด้วยเราแล้ว กลับออกไปจงแจ้งความดังนี้กับลอดวิศกันปามสตันขุนนางผู้ใหญ่ในกรุงอังกฤษ ถ้าลอดวิศกันปามสตันขุนนางผู้ใหญ่ เห็นดีถูกต้องด้วยประเพณีข้างอังกฤษอยู่แล้ว ก็ควรจะกระทำด้วยกันดังนี้ทั้งสองฝ่าย ให้ทรงพระราชไมตรีวิวัฒนาถาวรไปชัวฟ้าและดิน ในหนังสือสัญญาข้อ ๒ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ฝ่ายคนอันอยู่ใต้บังคับอังกฤษ ยอมจะให้มาและมีที่อยู่และค้าขายในเมืองไทยหัวเมืองที่เป็นขอบขันธเสมาแห่งท่านผู้ครองกรุงเทพ ฯ แล้วพวก

๑๘๖ ประเทศอื่น ๆ ได้คุณและโอกาศในการซื้อขายและการอื่น ๆ เป็นคุณประการใด จะได้แก่คนอันอยู่ใต้บังคับอังกฤษเหมือนกัน อนึ่งถ้าคนอันอยู่ใต้บังคับกรุงเทพ ฯ จะไปมีที่อยู่ค้าขายในแดนอังกฤษทั่วเขตต์แดนก็ยอมให้ทำได้ แล้วคนประเทศอื่น ๆ ได้คุณและโอกาศในการซื้อขายและการอื่น ๆ เป็นคุณประการใด ก็จะได้แก่คนไทยเหล่านั้นเหมือนกัน ความข้อ ๒ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันเห็นว่าคนไทยที่เป็นพ่อค้าพานิช จะไปตั้งซื้อขายในบ้านเมืองอังกฤษหามีไม่มีแต่คนโหยกเหยกละญาติพี่น้องทิ้งภูมิลำเนาไปเที่ยวอยู่ในเขตต์แดนอังกฤษ คนดังนี้เราหาเอาเป็นธุระไม่ เถิงจะไปเที่ยวอยู่บ้านใดเมืองใด กระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองประการใด ก็ให้กระทำโทษกันตามอาญากฎหมายบ้านเมืองนั้นเถิด ซึ่งคนอยู่ใต้บังคับอังกฤษจะเข้ามาอยู่ ค้าขายในแดนเมืองไทย หัวเมืองซึ่งเป็นขอบขันธเสมาให้ได้เหมือนคนประเทศอื่น ๆ นั้น คนประเทศอื่นเข้ามาตั้งทำมาหากินอยู่ในขอบขันธเสมาช้านานหลายชั่วอายุคนมาแล้ว จนมีภรรยามีบุตรมีหลานเกี่ยวพันกันทุกชาติทุกภาษา เช่นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเหมือนกัน จะทำเรือกสวนไร่นาทำมาหากินประการใดก็กระทำได้ ถ้าคนเหล่านั้นกระทำผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมายก็กระทำโทษได้เหมือน คนไทย และคนชาติอังกฤษแต่บุราณมา ก็ยังไม่เคยเข้ามาอยู่ในเขตต์แดนกรุง ฯ เมื่อจุลศักราช ๑๑๘๖ ปีวอกฉอศก มิศหันแตรเข้ามาตั้งค้าขายอยู่ณกรุง ฯ ก่อนลูกค้าอังกฤษทั้งปวง เมื่อแรกเข้ามาอยู่ก็ซื้อขายกับลูกค้าพานิชเรียบร้อยเป็นปกติ หามีถ้อยความ

๑๘๗ เกี่ยวข้องสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ต้องพระราชประสงค์ปืนใหญ่น้อยก็อุตส่าห์หาเข้ามาจำหน่าย ก็ได้ซื้อหาไว้เป็นกำลังสำหรับบ้านเมือง มิศหันแตรเข้ามาอยู่ที่กรุง ฯ หลายปีจนได้ฝรั่งชาติพุทเกตที่กรุง ฯ เป็นภรรยาเกิดบุตรใหญ่แล้ว มิศหันแตรขอลาให้บุตรออกไปเรียนหนังสือที่เมืองวิลาศ เจ้าพนักงานก็ตามใจมิได้ขัดขวาง มิศหันแตรรู้อย่างธรรมเนียมณกรุง ฯ ทุกสิ่งทุกประการ ครั้นนานมาคุ้นเคยกันเข้ากับพวกจีนคนร้าย ก็เอาฝิ่นซึ่งเป็นของต้องห้ามเข้ามาลักลอบซื้อขายกัน และจำหน่ายสิ่งของใด ๆ ไปกับลูกค้า ก็เป็นความเกี่ยวข้องกันเนือง ๆ พูดจาขู่ข่มข่มเหงลูกค้าหลายอย่าง แล้วมิศหันแตรพูดอวดว่า กำปั่นไฟใช้ได้รวดเร็วคล่องแคล่วนัก จึงเอากำปั่นไฟเข้ามาลำหนึ่ง ติดไฟขึ้นใช้กำปั่นให้ขุนนางและราษฎรดู ก็ไม่เห็นรวดเร็ว พอทัดกันกับเรือ ๙ พาย ๑๐ พาย ไม่เป็นอัศจรรย์นัก กำปั่นลำนั้นก็เป็นกำปั่นเก่าผุรั่วอยู่บ้างแล้ว จะขอขายให้ในหลวงเป็นราคา ๑๒๐๐ ชั่ง เจ้าพนักงานไม่ซื้อไว้ก็โกรธ ว่ากล่าวเหลือเกินต่อเจ้าพนักงานต่าง ๆ ทำให้ผิดสัญญาซึ่งกะปิตันหันตรีบารนีทำไว้ เสนาบดีเห็นพร้อมกันว่าหันแตรพูดเหลือเกิน ก็ให้ขับไปเสีย ไม่ให้อยู่ในบ้านในเมือง และมิศเฮพวกเดียวกันกับมิศหันแตร ไม่ได้ทำถ้อยความสิ่งไรให้เกี่ยวข้องการบ้านเมือง ก็ให้ได้อยู่ซื้อขายมาจนทุกวันนี้ มิศเฮก็ได้มาช่วยเจ้าพนักงานแปลหนังสือเขียนหนังสือฝรั่งอยู่บ้าง เราเห็นว่าแต่หันแตรเข้ามาอยู่คนเดียว เท่านี้ก็ยังองอาจพูดจาเหลือเกิน ถ้าอังกฤษจะ

๑๘๘ เข้ามาอยู่ณกรุง ฯ มากแล้ว จะเที่ยวไปอยู่ในขอบขันธเสมาแห่งใด ๆ ก็จะมีความทะเลาะวิวาทจนเถิงทุบตีกัน ฝ่ายอังกฤษหรือฝ่ายไทยล้มตายลงฝ่ายหนึ่ง ก็จะเป็นความใหญ่ขึ้น เห็นการดังนี้ ที่จะให้อังกฤษเข้ามาอยู่มากนักไม่ได้ บ้านเมืองจะไม่อยู่เย็นเป็นสุขทั้งจะทำให้ทางไมตรีมัวหมองไป ความข้อ ๒ นี้ขอเสียเถิด เราจะยอมให้ไม่ได้ ในหนังสือสัญญาข้อ ๓ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงเทพ ฯ พระองค์สัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ใดถือศาสนาแห่งพระเยซูคฤศต และได้นมัสการตามศาสนานั้น ในแว่นแคว้นแห่งเมืองที่พระองค์ทรงครองอยู่ พระองค์อนุญาตให้ทำได้มิให้ขัด และพระองค์จะประทานให้มีที่อันควรจะฝังศพของคนที่ถือดังนั้น อนึ่งฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองอังกฤษนั้นก็สัญญาว่า ถ้าคนถือพระพุทธศาสนาอยู่ในแดนเมืองอังกฤษ คนเหล่านั้นจะได้นมัสการตามลัทธิของตนไม่ขัดสิ่งใด แล้วจะประทานให้มีที่จะฝังศพจะเผาศพของคนที่ถือพระพุทธศาสนาเป็นอันสมควร ความข้อ ๓ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า กรุง ฯ เป็นประเทศใหญ่ ไพร่บ้านพลเมืองหลายเพศหลายภาษา ถือลัทธิศาสนาต่าง ๆ กัน ฝรั่งชาติพุทเกตบาดหลวงฝรั่งเศส เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งบ้านเรือนเป็นพากภูมช้านานแต่บุราณมา มีบุตรหลานสืบ ๆ หลายชั่วคนมาแล้ว ฝรั่งชาติพุทเกตกตัญญูรู้พระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว คนใดที่มีสติปัญญาก็ทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยงให้มียศถา

๑๘๙ ศักดิตามสมควร จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทำวัดสั่งสอนศาสนา หมอ มริกันซึ่งเข้ามาเช่าที่ปลูกโรงสวด แจกหนังสือแผ่ศาสนาอยู่ที่กรุง ฯ นี้ ก็รู้จักพระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ว่าได้เข้ามาอยู่มีความสุขสบาย มิได้มีผู้ใดเบียดเบียฬ หมอปรัดเลก็ได้แปลหนังสือตำราปลูกฝีดาดและตำราหญิงคลอดบุตร ส่งให้เจ้าพนักงานทูลเกล้า ฯ ถวาย หมอยอนก็เป็นคนรู้หนังสือไทยหนังสืออังกฤษชัดเจน ก็ได้มาช่วยเจ้าพนักงานเขียนหนังสือแปลหนังสืออังกฤษออกเป็นคำไทยอยู่เนือง ๆ หมอมริกันเข้ามาทำหนังสือแจกแผ่ศาสนาเรื่อง ความพระเยซูคฤศต มิได้ทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เหลือเกิน ก็อยู่ไปได้ด้วยกัน ถ้ากระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ผิดอย่างธรรมเนียม ก็จะต้องขับให้ไปเสียจากบ้านจากเมือง พวกหมอมริกันและกะปิตันต้นหนพ่อค้าอังกฤษเข้ามาตั้งซื้อขายอยู่ที่กรุง ฯ ก็หลายปีมาแล้ว ป่วยไข้ล้มตายลงก็มี ได้ฝังศพฝังผีตามเพศภาษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาอันประเสริฐ ก็มิได้ห้ามปรามเกียจกันในทางศาสนาของคนต่างประเทศ เมื่ออยู่ไม่ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ผิดกฎหมายประเพณีบ้านเมืองแล้วก็อยู่ด้วยกันไปได้ ความก็แจ้งประจักษ์อยู่ดังนี้ และคนฝ่ายไทยถ้าไปอยู่ในบ้านในเมืองแว่นแคว้นของอังกฤษ และบ้านเมืองอื่น ๆ ก็ดี ก็เป็นไพร่บ้านพลเมืองของเมืองนั้น จะกระทำความดีความชั่วสิ่งใดก็สุดแต่กฎหมายประเพณีบ้านเมือง คนเหล่านี้จะยังถือศาสนาของตัวอยู่ หรือจะไปถือศาสนาภาษาใด ๆ ก็ดี ล้มตายลงจะฝังศพเผาผีอย่างไรก็สุดแต่น้ำใจของเขา

๑๙๐ เราก็มิได้เอาเป็นธุระ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกจะมาขอทำหนังสือสัญญาด้วยที่ฝังศพฝังผีนั้น เห็นหาต้องการที่จะเป็นข้อสัญญากันไม่ ในหนังสือสัญญาข้อ ๔ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ท่านผู้เป็นอธิปไตยครองเมืองเครตบริตัน เมืองอิรลันด์ และเมืองฮินดูสถานฝ่ายข้างหนึ่ง และท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงเทพ ฯ ฝ่ายข้างหนึ่ง ยังปลงพระทัยพร้อมกันจะตั้งคำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ว่าด้วยทางค้าขายแก่กัน ปรารภจะให้การนี้มีประโยชน์ยิ่งมากขึ้นแก่เมืองทั้งสองความข้อ ๔ นี้เสนาบดีปรึกษาพร้อมกัน ซึ่งว่าจะให้เป็นประโยชน์ในการค้าขายมากขึ้นนั้น เราหาเห็นความแจ่มแจ้งไม่ ไม่รู้ที่จะโต้ตอบจะเอาเป็นข้อสัญญาประการใดได้ ในหนังสือสัญญาข้อ ๕ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองเมืองเครตบริตันอิรลันด์ และฮินดูสถานท่านสัญญาไว้ว่า ตั้งแต่นี้ไปภายหน้า ถ้าคนที่อยู่ใต้บังคับกรุงเทพ พระมหานครศรีอยุธยาไปค้าขายแดนอังกฤษ พวกอังกฤษจะทำสิ่งอันใดขัดขวางให้คนไทยเหล่านั้นเสียประโยชน์ในการซื้อขายก็หามิได้ ก็ห้ามเสียมิให้ทำได้ แล้วฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงเทพ ฯ เล่าท่านสัญญาไว้ว่า ตั้งแต่นี้ไปภายหน้า เมื่อคนอันอยู่ในบังคับอังกฤษเข้ามาค้าขายอยู่ณกรุงเทพ ฯ ฝ่ายกรุง ฯ นั้นจะทำสิ่งอันใดขัดขวางให้พวกคนอังกฤษพ่อค้าเหล่านั้นเสียประโยชน์ในการซื้อขายก็หามิได้ ก็ห้ามเสียมิให้ทำได้ ความข้อ ๕ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันว่า ณกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา สินค้าซึ่งลูกค้าในประเทศนอก

๑๙๑ ประเทศก็ดีจะเอาเข้ามาค้าขาย ห้ามแต่ฝิ่นเป็นของชั่ว ไม่ให้ลูกค้าเอามาขายในแว่นแคว้นพระราชอาณาเขตต์ขาดทีเดียว แต่ปืนกระสุนปืน, ดินปืนนั้น ถ้าลูกค้าจีน แขก ฝรั่ง และลูกค้าชาติอื่น ๆ ก็ดี จะบรรทุกสลุบกำปั่นเข้ามาก็ให้ขายให้ในหลวง ถ้าในหลวงไม่ต้องการซื้อไว้ก็ให้ลูกค้าเอาปืน กระสุนปืน ดินปืนกลับออกไปเสีย ไม่ให้ขายกับลูกค้าและไพร่บ้านพลเมืองณกรุง ฯ และสินค้าอื่น ๆ ก็ตามแต่ลูกค้าจะซื้อขายกันมิได้ขัดขวาง แต่ข้าวเปลือกข้าวสารเป็นของต้องห้าม ให้ซื้อให้ขายกันได้แต่ในประเทศซึ่งเป็นข้าขอบขันธเสมา ถ้าลูกค้านอกประเทศเข้ามาค้าขายจะกลับออกไป ก็ห้ามมิให้ซื้อข้าวเปลือกข้าวสารเป็นสินค้า ให้ซื้อไปแต่พอเป็นสะเบียงกินกลางทางตามเมืองใกล้และไกล สมควรกับคนที่มาในลำสลุบกำปั่นสำเภาและเรือปากใต้ ด้วยข้าวนี้เป็นอาหารแก่ไพร่พลเมือง ทั้งเป็นกำลังแก่บ้านแก่เมืองด้วยจึงห้ามไว้ ไพร่บ้านพลเมืองจึงมิได้ซวดโซเหมือนเมืองประเทศอื่น ๆ ถ้าแม้นฟ้าฝนตกเป็นปกติไร่นาทำได้ผลมาก เม็ดข้าวจะผุราเสียเปล่าจึงให้ขายไปนอกประเทศบ้าง และซึ่งฝิ่นกับข้าวเปลือกข้าวสาร ปืน กระสุนปืน ดินปืนนี้ เป็นของต้องห้ามมาแต่บุราณราชประเพณีสืบ ๆ มาแต่ก่อน ซึ่งว่าอย่าให้ขัดทางค้าขายนั้นแต่บรรดาลูกค้าไทยจีน ลูกค้าแขกชาติมห่น ชาติสุหนี่ ชาติสุรัต ชาติมัตราด ฝรั่งชาติอังกฤษ ชาติพุทเกต ชาติวิลันดา ที่ไปมาค้าขายอยู่ที่กรุง ฯ ถ้ามีผู้ใดขัดขวางในทางค้าขาย ก็ชอบแต่ลูกค้าจะ

๑๙๒ มาบอกกับพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเสนาบดีผู้เป็นเจ้าพนักงาน ผู้ใหญ่ ก็จะได้ว่ากล่าวให้ นี่ก็หามีผู้ใดมาว่ากล่าวว่ามีผู้ขัดขวางในทางซื้อขายสิ่งใดไม่ และลูกค้าที่กรุง ฯ ก็ไปค้าขายที่เมืองจีน เมืองสิงหโปรา เมืองไญกะตรา เมืองสำปาหลัง เมืองกุกัง ไปเมืองใดก็ทำตามเมืองนั้น ก็หามีผู้ใดมาว่ากล่าวว่าบ้านใดเมืองใดขัดขวางทางค้าขายไม่ มีแต่พูดกันว่าขาดทุนบ้างได้กำไรบ้าง ด้วยสินค้าขายดีขายไม่ดี กับว่าลูกค้าไปขึ้นร้านขึ้นห้างนั้น ซื้อขายสินค้าไม่มีราคา เมื่อจะกลับมาก็ตีสิ่งของให้เป็นผ้าบ้างเป็นด้ายบ้าง สิ่งของต่าง ๆ จะเอาเงินก็ไม่ได้ ได้ยินพูดแต่ดังนี้ความข้อ ๕ นี้เห็นหาต้องที่ ที่จะทำสัญญากันไม่ ในหนังสือสัญญาข้อ ๖ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา ก็อนุญาตว่า ถ้าข้างอังกฤษได้เห็นชอบจะตั้งกงสุล คือผู้สำหรับรับจะเอาธุระเป็นพนักงานจะว่ากล่าวในการซื้อขาย ให้มาอยู่ในเมืองใด ๆ อันเป็นท่าจอดในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยาก็ให้มาได้ แล้วพนักงานของกงสุลเหล่านั้น คือว่าถ้าพวกอังกฤษอันอยู่ในกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยาเป็นความกันเองก็ดี เป็นความกับชาวกรุง ฯ ก็ดี กงสุลเหล่านั้นจะเอาเป็นธุระพิจารณาปรึกษากันกับขุนนางในกรุง ฯ ให้ระงับความให้สูญจงได้ แล้วฝ่ายท่านผู้เป็นอธิปไตยในเมืองอังกฤษเล่าท่านก็อนุญาตว่า ถ้าข้างกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยาได้เห็นชอบจะตั้งกงสุลไปอยู่ในเมืองใด ๆ อันเป็น

๑๙๓ ท่าจอดในแดนอังกฤษ เป็นภาระธุระเหมือนกันก็ให้ทำได้เป็นเสมอกันนั้น ความข้อ ๖ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันว่า แต่บุราณมีฝรั่งเศสชื่อวิไชเยนทร์เข้ามาอยู่ณกรุงพระมหานครศรีอยุธยาคนหนึ่ง วิไชเยนทร์ละอย่างธรรมเนียมฝรั่งเสีย มาถือประเพณีไทยตามพระราชกำหนดกฎหมายกรุง ฯ เป็นคนมีสติปัญญาสามิภักดิสมัครทำราชการ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้วิไชเยนทร์เป็นขุนนางผู้ใหญ่ ใช้สอยอยู่ที่กรุง ฯ ช้านานจนวิไชยเยนทร์เถิงแก่กรรม แต่นั้นมาก็หามีฝรั่งต่างประเทศชาติใดเข้ามาอยู่ณกรุง ฯ อีกไม่ มีแต่ฝรั่งชาติพุทเกตตั้งบ้านเรือนเป็นพากภูมอยู่ณกรุง ฯ แต่บุราณมาจนเท่าทุกวันนี้เป็นอันมาก ที่เป็นขุนนางทำราชการอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ก็มี เมื่อจุลศักราช ๑๑๘๒ ปีมะโรงโทศก เจ้าเมืองปะตูกันมีหนังสือเข้ามาเถิงเสนาบดีให้กราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขอตั้งให้การละลดเป็นที่กงสุลแล้วขอที่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ด้วย ฝรั่งชาติพุทเกตซึ่งเป็นขุนนางอยู่ณกรุง ฯ มีความยินดี จึงเรียนกับท่านเสนาบดีรับว่า ถ้ากงสุลจะทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะประพฤติตามอย่างธรรมเนียมของไทย เหมือนฝรั่งชาติพุทเกตซึ่งอยู่ณกรุง ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้กาละลดเป็นกงสุล ทั้งพระราชทานที่ให้ทำเรือนอ ยู่กาละลดอยู่ที่กรุงฯ หลายปีมาแล้วลาเสนาบดีกลับออกไป เจ้าเมืองมะเกาให้มัศลินเข้ามาอยู่รักษาที่ซึ่งพระราชทานนั้นไว้จนเท่าทุกวันนี้ มัศลินก็มานิ่ง ๆ อยู่ ไม่มีถ้อยความสิ่งใดสลุบกำปั่นลูกค้าชาติพุทเกตเล่า ก็ไม่มีเข้ามาซื้อขายแต่สักลำหนึ่ง

๑๙๔ ไม่เห็นเป็นผลเป็นประโยชน์สิ่งไรกับบ้านเมืองฝ่ายเราเลย และลูกค้าฝรั่ง, แขก , จีน , ต่างประเทศเข้ามาค้าขายณกรุง ฯ มีความสิ่งใดเกี่ยวข้องกันกับลูกค้าณกรุง ฯ ด้วยการซื้อขาย เป็นแต่ความเล็กน้อยเจ้าพนักงานก็ชำระว่ากล่าวให้ ถ้าเป็นความข้อใหญ่เสนาบดีก็ตัดสินให้ตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมของไทยให้เป็นอันสำเร็จแก่กัน ถ้าลูกค้าไปค้าขายหัวเมืองใด ๆ ที่เป็นข้าขอบขันธเสมากรุง ฯ จะมีความเกี่ยวข้องด้วยเหตุสิ่งหนึ่งสิ่งใด เจ้าเมืองกรมการก็ได้ชำระว่ากล่าวตัดสินให้ตามกฎหมาย อันประเพณีกรุง ฯ แต่ก่อนก็หาได้เคยไปตั้งกงสุลอยู่ที่บ้านใดเมืองใดไม่ เถิงมาตรว่าบ้านใดเมืองใดจะมาชักชวนให้แต่งคนไทยไปตั้งเป็นกงสุลอยู่ที่บ้านนั้นเมืองนั้น เราก็ไม่รักจะให้ไปตั้งอยู่ ด้วยไม่เห็นเป็นผลเป็นประโยชน์อย่างไร จะไปกีดขวางบ้านเมืองเขาเปล่า ๆ หาต้องการไม่ ถ้าลูกค้าฝ่ายกรุง ฯ จะไปค้าขายบ้านใดเมืองใด มีความเกี่ยวข้องสิ่งใด ก็ต้องฟังบังคับตามกฎหมายบ้านนั้นเมืองนั้นจึงจะชอบ เสนาบดีเห็นดังนั้น จึงไม่พอใจที่จะให้คนอังกฤษเข้ามาเป็นกงสุลอยู่ในบ้านในเมือง ความซึ่งว่าจะขอตั้งกงสุลนั้นขอเสียเถิด อย่าน้อยใจเลย ในหนังสือสัญญาข้อ ๗ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ถ้าและเรือรบของเจ้าแผ่นดินอังกฤษของกัมปนีที่ครองเมืองอินเดียมีเหตุจะมาเถิงที่จอดเถิงแม่น้ำแห่งใด ๆ ในแว่นแคว้นกรุง ฯ ปรารถนาจะซึ้อข้าวของอันสำหรับจะใช้ในเรือ คือเครื่องอาหารและฟืนเป็นต้น ฝ่ายท่านผู้เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในกรุง ฯ ท่านก็ยอมสัญญาไว้ว่าจะทำได้แล้ว

๑๙๕ ครั้นจะซื้อข้าวของนั้นยอมให้ซื้อตามราคาอันควรด้วยธรรม ถ้าและกำปั่นและเรือรบอันเป็นของเจ้าแผ่นดินณกรุงเทพ ฯ มีเหตุจะเข้าในที่จอดและแม่น้ำใด ๆ ที่เป็นเขตต์แดนอังกฤษ ฝ่ายท่านผู้ครองเมืองเครตบริตัน เมืองอิรลันด์ เมืองฮินดูสถาน ท่านก็ยอมสัญญาไว้ว่าจะทำได้เหมือนกัน มิได้ขัดขวางสิ่งใดนั้น ความข้อ ๗ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า กรุงเทพ ฯ เขตต์แดนฝ่ายบกทิศตะวันตก ตะวันออกกว้างขวางเป็นอันมาก ทิศใต้เป็นทางชเลบ้านเมืองน้อยไม่เหมือนฝ่ายชเลข้างอังกฤษใหญ่กว้างมีบ้านเมืองมาก ทั้งมีท่ากำปั่นจอดทุกบ้านทุกเมือง และหัวเมืองซึ่งขึ้นกับกรุง ฯ ทางชเลฝ่ายตะวันตก ตั้งแต่เมืองสงขลาเข้ามาจนฝ่ายตะวันออกเพียงเมืองตราดอยู่ในอ่าวชเลเดียวกัน ปากน้ำคลองน้ำเล็กน้ำตื้นทุกเมืองไม่เป็นที่ท่าทอดกำปั่นได้แต่สักเมืองหนึ่ง กำปั่นรบจะมาทอดที่หน้าเมืองใด ๆ จะทอดได้ก็แต่ในท้องชเล โดยว่ากำปั่นรบกำปั่นไฟจะเข้ามาณกรุง ฯ ถ้าเป็นกำปั่นกินน้ำลึกก็จะทอดอยู่ได้แต่ที่นอกสันดอน จะซื้อของใช้สอยในกำปั่นและของกินเป็นต้นด้วยน้ำและฟืนประการใด ไทยก็จะต้องช่วยทำนุบำรุงให้ได้ซื้อหาไปตามราคาลูกค้าซื้อขาย เมืองเป็นไมตรีกันจะนิ่งละเมินเสียได้หรือ ฝ่ายกำปั่นและเรือรบของไทยมีเหตุอันใดจะไปที่แดนเมืองอังกฤษ จะต้องการเครื่องใช้สอยสำหรับกำปั่น และจะขัดสะเบียงอาหารประการใดก็คงจะซื้อหาได้โดยสะดวก ทุกวันนี้บ้านเมือง


๑๙๖ เป็นไมตรีสนิทกันอยู่แล้วก็เหมือนบ้านเมืองเดียวกัน จะต้องทำสัญญาทำไมเล่า ในหนังสือสัญญาข้อ ๘ ของเซอร์เชมสับรุกนั้นว่า ถ้าและกำปั่นเรือใด ๆ ที่ใช้ธงอังกฤษจะเกยหาดทรายโดนหินแตกอับปางใกล้ฝั่งเขตต์แดนกรุง ฯ ฝ่ายท่านกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพ ฯ นั้นท่านยอมสัญญาไว้ว่า ถ้ามีช่องจะช่วยได้จะให้ช่วยจนเต็มกำลัง เก็บเรือเก็บข้าวของนั้นรักษาไว้ จะได้ส่งคืนให้แก่เจ้าของด้วยดี อนึ่งด้วยนายเรือลูกเรือที่เสียดังนั้นกับข้าวของ ๆ เขา พวกไทยจะรักษาบำรุงไว้ให้ปราศจากอันตราย แล้วถ้ากำปั่นและเรือลำใด ๆ ที่ใช้ธงไทยได้เถิงที่แตกเสียใกล้แดนอังกฤษ ท่านผู้ครองเมืองอังกฤษก็ยอมสัญญาไว้ว่า จะให้พวกอังกฤษสงเคราะห์ช่วยในผู้คนและข้าวของให้ปราศจากอันตรายได้ ความข้อ ๘ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า กำปั่นลูกค้าใช้ธงอังกฤษเข้ามาค้าขายณกรุงเทพ ฯ แต่ก่อนมาก็ไม่เคยเกยหินเกยตื้นแตกแต่สักครั้งหนึ่ง โดยว่าสืบต่อไปภายหน้าสลุบกำปั่นใช้ธงอังกฤษเข้ามา จะเกยหินเกยตื้นแตกริมฝั่งที่แห่งใดในแขวงหัวเมืองใดที่ขึ้นกับกรุง ฯ ถ้านายเรือลูกเรือไปบอกผู้รักษาเมืองกรมการรู้แล้ว ก็คงจะช่วยโดยสมควรที่จะช่วยได้ และเมื่อเดือน ๗ ปีจอโทศก มิสเบนเซนต้นหนกับกลาสี ๘ คนขี่เรือบตเข้ามาแจ้งว่า กำปั่นเกยหินแตกที่แดนเมืองเขมร เข้ามาจะขอโดยสารเรือณกรุง ฯ กลับออกไปเมืองสิงหโปรา ฝ่ายเราจึงได้รู้ว่ากำปั่นที่ใช้ธงอังกฤษมาแตกที่หน้าเมืองเขมรลำหนึ่ง จึง

๑๙๗ ให้เจ้าพนักงานเบิกเงินหลวงพระราชทานให้ ๑๐ ตำลึง ด้วยเมตตาแก่คนที่ได้ทุกข์ยากลำบาก จะได้ไปซื้อเสื้อผ้าสะเบียงอาหารแจกกันกินโดยทางไมตรี เมืองเขมรเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกับกรุงเทพ ฯ แผ่นดินเมืองเขมรต่อเขตต์แดนกันกับเมืองญวน สืบไปเมื่อหน้าถ้ากำปั่นที่ใช้ธงอังกฤษจะมาแตกที่เขตต์แดนเมืองเขมรอีก ถ้ารู้แล้วก็จะมีหนังสือไปให้เมืองเขมรช่วยสงเคราะห์ และกำปั่นสำเภาเรือตั้วแงฝ่ายข้างไทยไปค้าขายอับปางลงในเขตต์แดนบ้านเมืองฝ่ายอังกฤษ ขุนนางอังกฤษรู้แล้วก็คงจะช่วยโดยเมืองเป็นไมตรีกัน จะนิ่งละเมินเสียได้หรือ ความข้อนี้จะต้องสัญญากันทำไมมี ในหนังสือสัญญาข้อ ๙ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่า ถ้าเว้นไว้แต่ข้อความที่เปลี่ยนแล้วในหนังสือฉบับนี้ และที่จะเปลี่ยนในฉบับอันจะสัญญาด้วยการค้าขายนั้น ข้อใด ๆ อื่นอันเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่เมืองทั้งสองฝ่าย ก็คงจะจำเริญไว้ตามหนังสือสัญญาเก่าที่กัมปนีอันครองเมืองอินเดีย ได้สัญญาไว้กับท่านกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพ ฯ ก็ได้จำเริญแต่นี้ไปตราบเท่ากัลปาวสาน ความข้อ ๙ นี้ เสนาบดีปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า มีความแต่จะให้รักษาหนังสือสัญญาเดิมไว้ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่าความสัญญามา ๙ ข้อครั้งนี้ ความข้อ ๑ นั้นว่า จะให้ทางพระราชไมตรีสองพระนครจำเริญยิ่งขึ้นไปนั้น เราก็มีใจยินดีว่ากล่าวตอบมาในฉบับสัญญาข้อ ๑ แจ้งอยู่ทุกประการแล้ว และความซึ่งว่ามาในข้อ ๔ นั้น พิเคราะห์ดูก็หาเห็นมีความสิ่งใดไม่ก็ได้ตอบตามความซึ่งว่ามาในข้อ ๔ นั้นแล้ว แต่ความในข้อ ๕

๑๙๘ ข้อ ๗ ข้อ ๘ สามข้อนั้นบ้านเมืองเป็นไมตรีกันอยู่แล้ว ไม่ต้อง การที่จะทำสัญญากัน และความข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๖ สามข้อนั้น เป็นความชอบใจของเซอร์เชมสับรุก ด้วยคิดเห็นผลเห็นประโยชน์แล้วจึงจะขอทำหนังสือสัญญา ฝ่ายไทยไม่เห็นเป็นผลเป็นประโยชน์สิ่งใดจึงหารักทำสัญญาไม่ ได้ตอบความมาแจ้งอยู่ทั้งสามข้อแล้ว และความในข้อ ๙ นั้น เซอร์เชมสับรุกว่าให้รักษาหนังสือสัญญาเก่าซึ่งกัมปนีผู้ครองอินเดียได้ทำสัญญากับกรุง ฯ ไว้ด้วยกัน ก็ให้จำเริญไปตราบเท่ากัลปาวสานนั้นก็ชอบอยู่แล้ว หนังสือสัญญาเก่าได้ทำไว้แล้วจะเอาไปเสียข้างไหนได้เล่า ฝ่ายเราก็จะต้องรักษาความสัญญาไว้ชั่วกัลปาวสานดังคำเซอร์เชมสับรุกว่า เสนาบดีประชุมกันปรึกษาความ ๙ ข้อของเซอร์เชมสับรุกแล้ว จึงปรึกษากันต่อไปด้วยความซึ่งเซอร์เชมสับรุกได้พูดจากับท่านเจ้ายาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหมที่เมืองสมุทรปราการว่า ทางไมตรีที่ได้ทำไว้ครั้งกะปิตันหันตรีบารนีเป็นการของกัมปนีเจ้าเมืองมั่งกล่า เมืองมั่งกล่าเป็น เมืองน้อยอุปมาเหมือนเมืองนคร กรุง ฯ กับกรุงวิลาสเป็นเมืองใหญ่ ชอบจะทำไมตรีกันตามเมืองใหญ่จึงจะดี ท่านเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหมก็ได้ตอบว่า เซอร์เชมสับรุกว่าดังนี้สมควรที่มีสติปัญญามาพูดจาทางไมตรีแล้ว ก็แต่ว่าเมื่อครั้งกะปิตันหันตรีบารนีเข้ามา ครั้งนั้นก็ว่ากษัตริย์ผู้ครองกรุงอังกฤษมีรับสั่งให้กัมปนีเจ้าเมืองมั่งกล่า แต่งหนังสือให้กะปิตันหันตรีบารนีคุมสิ่งของเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย แด่พระบาท

๑๙๙ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐขอทำหนังสือสัญญาว่าด้วยการบ้านเมืองและการค้าขาย ครั้งนั้นกะปิตันหันตรีบารนีก็อวดอ้างไปต่าง ๆ ว่าตัวเป็นขุนนางผู้ใหญ่แทนกัมปนีเจ้าเมืองมั่งกล่าเข้ามา ฝ่ายเราก็ได้ว่าเมืองมั่งกล่าเป็นเมืองขึ้นกับกรุงวิลาส ซึ่งจะมาทำหนังสือสัญญาการบ้านเมืองนั้นจะสิทธิ์ขาดได้แล้วหรือ กะปิตันหันตรีบารนีว่ากรุงวิลาสอยู่ไกล ฝ่ายว่าข้างอินเดียเจ้ากรุงวิลาสได้มอบให้เจ้าเมืองมั่งกล่าเป็นผู้บังคับสิทธิ์ขาด เจ้าเมืองมั่งกล่าจะทำการสิ่งใด ๆ ก็ทำได้เหมือนกับเจ้ากรุงวิลาสเหมือนกัน เสนาบดีกรุง ฯ จึงได้ยอมทำหนังสือสัญญากับกัมปนีเจ้าเมืองมั่งกล่า ก็เข้าใจว่าได้ทำหนังสือสัญญากับชาติอังกฤษเหมือนกับได้ทำสัญญากับเจ้ากรุงวิลาสแล้ว ตามถ้อยคำกะปิตันหันตรีบารนีว่าเจ้ากรุงวิลาสมีรับสั่งมา จึงได้รักษาทางไมตรีอันใหญ่ยิ่งทั้งสองพระนครถาวรจำเริญมาจนทุกวันนี้ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกเข้ามาว่าจะทำหนังสือสัญญาอีกนั้น จะเฝ้าแต่ทำหนังสือสัญญาไม่รู้แล้วรู้เล่าดังนี้ กรุง ฯ มีเมืองขึ้นเมืองออกมาก ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็มากหลายชาติหลายภาษา ที่จะรับทำหนังสือสัญญาเป็น ๒ แยก ๓ แยกดังนี้ จะรักษาความสัญญาทางไมตรียาก ถ้าคนข้างฝ่ายไทยผู้ใดผู้หนึ่งไปทำให้ผิดสัญญาข้างวิลาสหรือข้างอินเดีย ให้เกิดการใหญ่ขึ้นจนเถิงเสียทางไมตรีไป นานาประเทศก็จะติเตียนว่ากรุง ฯ ก่อเหตุขึ้นก่อน ความชั่วก็จะอยู่กับกรุง ฯ ไปชั่วฟ้าและดิน เซอร์เชมสับรุกเป็นผู้มีสติปัญญารอบรู้ในการทั้งปวง เป็น

๒๐๐ ทูตถือรับสั่งพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงวิลาสเข้ามาเจรจาการบ้านเมืองครั้งนี้ จะให้เป็นผลเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายโดยยุติธรรม จงพิเคราะห์ตริตรองดูตามความแต่ต้นจนปลายให้สมควรกับการนั้นเถิด หนังสือสี่ฉบับนี้ได้เขียนเป็นอักษรไทย อักษรอังกฤษ กำกับกันทั้งสี่ฉบับ ข้อความต้องกัน หนังสือมาณวันพุธเดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอนักษัตรโทศก หนังสือเสนาบดีพร้อมกัน มีถึง เซอร์เชมสับรุก

หนังสือ เสนาบดีพร้อมกันให้มายังเซอร์เชมสับรุก ซึ่งเซอร์เชมสับรุกทำหนังสือมาให้ท่านเจ้าพระยาพระคลังอีก ๒ ฉบับ เราพิเคราะห์ดูก็ไม่สู้เข้าใจแจ่มแจ้ง ฉบับหนึ่งว่าด้วยการซื้อขายแก่กัน กับว่าด้วยพิกัดค่าภาษี ใจความในหนังสือของเซอร์เชมสับรุกว่า หนังสือฉบับนี้เป็นที่นำหน้าและกำกับเรื่องความว่าด้วยความซึ้อขายแก่กัน ซึ่งเซอร์เชมสับรุกแต่งร่างไว้ และส่งมายังเจ้าคุณให้พิจารณาในข้อ ๆ ที่ลำดับกันไว้นี้ ก็มีหลายสิ่งอันยอมไว้ให้มีประโยชน์แก่กรุงพระมหานครฝ่ายเดียว เซอร์เชมสับรุกไว้ใจว่าท่านผู้เป็นเสนาบดีทั้งหลายจะหมายดูซึ่งข้อเหล่านั้น จึงจะเห็นว่าอันยอมดังนี้ หวังจะได้คิดอ่านจัดแจงให้ซื้อขายนั้นเป็นอันดี มีคุณตลอดทั้งสองเมือง เมื่อแต่งร่างหนังสือเป็นข้อ ๆ ลำดับกันดังนี้เล็งเอาความว่า ครั้นคนปรารถนาจะซื้อสินค้าเป็นมากไป คนที่จะขายก็จัดแจงทำสินค้าให้มาก ถ้ากำปั่นพ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุง ฯ เป็นอันมาก กำปั่นพ่อค้า

๒๐๑ ข้างกรุง ฯ จะไปค้าขายในเมืองแดนอังกฤษยิ่งมากขึ้นเหมือนกัน แล้วถ้าการค้าขายกับประเทศอื่น ๆ ทวีขึ้นมาก ก็จะเป็นเหตุให้เมืองกรุงเทพ ฯ เป็นสบายปกติดี ด้วยว่าพวกจีนและคนชาติอื่นที่อยู่ใต้บังคับของกรุง ฯ ก็จะมีการทำเต็มมือเต็มใจ การอันมีคุณ และเงินภาษีส่วยสาอากรที่จะเข้าคลังหลวงก็จะยิ่งขึ้นมากกว่าทุกวันนี้ ในเมืองใด ๆ ถ้าบ้านเมืองสงบสบายตลอดขอบขันธเสมาเป็นปกติดีแล้ว เงินส่วยสาอากรที่จะเข้าท้องพระคลังหลวงจึงจะมากขึ้น ที่บ้านเมืองเล่าก็จะสบาย อย่างนั้นก็อาศัยเหตุการค้าขายกันกับประเทศอื่นโดยมาก ถ้าภาษีและค่าธรรมเนียมแรงนักการค้าขายก็ถอยลง อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนเป็นอันมาก เงินที่เข้าคลังหลวงก็น้อยลง น่าที่จะเกิดโกลาหลเสียพระเกียรติยศไป ความอันนี้ถูกกันกับเมืองนี้และเมืองอื่นทั่วกันไป เซอร์เชมสับรุกมิได้สงสัยว่า ท่านผู้เป็นเสนาบดีในกรุงมิได้เข้าใจความดังนี้ อันจะสงสัยความดังนั้นมิได้ แต่ว่าเซอร์เชมสับรุกเห็นความนี้ควรแก่การที่จะปรึกษาหารือจึงชักมาว่า ในภาษาอังกฤษมีคำปราชญ์มาว่า เมื่อไพร่ฟ้ามั่งคั่งบริบูรณ์ ท่านกษัตริย์บรรทมด้วยดี เมื่อไพร่ฟ้ายากจน ท่านกษัตริย์มีแต่จะกรรแสง เหตุดังนี้ถ้าท่านผู้เป็นเสนาบดีปรารถนาจะให้ความสุขแผ่ไปใหญ่ขึ้นมากในกรุง ฯ ทั้งเมืองอังกฤษ และปรารถนาจะให้เจริญสุขสวัสดีแก่กษัตริย์ทั้งสองฝ่าย จึงควรให้เสนาบดีทั้งสองเมืองอุตสาหะพากเพียรจะให้การซึ้อขายแก่กันยิ่งมากยิ่งง่าย อย่าให้ขัดข้องเพราะเห็นแก่ประโยชน์คนหนึ่งสองคน หรือเพราะใจสงสัย ๒๖ ๒๐๒ กันและกัน ใครผู้ใดมิได้กลัว คนที่เป็นเพื่อนกันก็ไว้ใจเพื่อนคนนั้น และหาภัยอันตรายมิได้ และเพื่อนนั้นกลับไว้ใจในเพื่อนที่ไว้ใจในตนแต่ว่าถ้าคนมาสงสัยด้วยเพื่อน น่าที่จะให้เพื่อนกลับมาสงสัยแทนจึงมีแต่จะกลัวกันทั้ง ๒ ถ้อยคำภายนอกยังหวานดี แต่ภายในก็กินแหนงชิงชังกัน เป็นอย่างไรกับผู้คน กับบ้านเมืองก็เป็นอย่างนั้นแต่ว่าฝ่ายกรุง ฯ กับเมืองอังกฤษก็มิได้สงสัยกัน มีแต่จะไว้ใจแก่กันและที่ไว้ใจนั้นบันดาลให้ไว้ยิ่งมาก ดังนั้นแลพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์ทั้ง ๒ จะสูงขึ้นเป็นอันยิ่ง เสนาบดีจะเป็นใหญ่ และคนยากจนได้มีอาหารกิน ในคำที่ว่าด้วยการค้าขายที่นี้ ความปรารถนาอันจะเป็นประโยชน์กับอังกฤษแต่ ๒ สิ่งเท่านั้น คือว่าให้ลดค่าธรรมเนียมในกำปั่นค่าปากเรือให้น้อยลงประการหนึ่ง แล้วอย่าให้มีใครพิกัดคาดค่าสินค้า เว้นไว้แต่เจ้าของสินค้า ให้พ่อค้าไทยพ่อค้าอังกฤษซื้อขายแก่กันโดยคล่อง ๆ ไม่มีใครขัดทัดทานนั้น เป็น ๒ ประการด้วยกัน การที่จะกล่าวไว้ว่าค่าปากเรือเดี๋ยวนี้เป็นมากนัก เหตุดังนี้เรืออังกฤษที่จะมาค้าขายน้อยลำ ถ้ากำปั่นจะมามากเป็นหลายลำ ก็จะทำให้สินค้าที่มีในกรุง ฯ ยิ่งมากขึ้น ครั้นมาหลายลำค่าปากเรือเมื่อรวมกันเข้าก็จะมากขึ้น และครั้นสินค้าเกิดมากแล้วภาษีก็จะยิ่งมากขึ้นเหมือนกัน ถ้าทำดังนี้ที่ลดค่าปากเรือนั้นก็จะกลับเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพ ฯ เหมือนกันกับเมืองอังกฤษ และการที่จะซื้อขายกันก็จะเจริญขึ้นทั้งสองฝ่าย อนึ่งครั้นว่าให้พ่อค้าอังกฤษกับพ่อค้าข้างกรุง ฯ ค้าขายแก่กันด้วยคล่องง่าย มิให้ผู้ใดขัดขวางนั้น

๒๐๓ เสนาบดีอังกฤษมิได้ปรารถนาสิ่งใดอื่น เว้นไว้แต่การที่สัญญาไว้แล้วในหนังสือที่เมชะเบอร์นีช่วยแต่งแต่ก่อน ถ้าจะว่าด้วยน้ำตาลทรายหรือสินค้าอื่น ๆ ถ้าเจ้าภาษีมาพิกัดคาดค่าไว้แล้ว พ่อค้าจะซื้อสินค้านั้นด้วยคล่องเป็นปกติไม่ได้ ถ้าเจ้าภาษีก็ดี คนอื่นก็ดี ถือฎีกามาคาดค่าสินค้าได้ ก็เห็นว่ามีคนอื่นแซกตัวเข้า มิใช่คนที่จะซื้อมิใช่คนที่จะขายแล้ว ที่จะซื้อที่จะขายด้วยคล่องด้วยง่ายไม่ได้ อันจะทำดังนี้เป็นที่ห้ามแล้วในหนังสือสัญญานั้น ถ้าเจ้าภาษีหรือคนอื่นมิได้ฎีกาให้อาญาแก่ตัวก็มิอาจที่จะทำได้ ถ้าน้ำตาลทรายนั้นขายได้แต่แห่งเดียว ยังจะว่าขายคล่องถูกต้องกับใจความในคำสัญญานั้นก็หามิได้ เหตุดังนี้เซอร์เชมสับรุกเห็นว่ามิใช่ข้อใหม่ ๆ เป็นข้อที่ยอมไว้แล้วในหนังสือก่อนแล้ว ถ้าได้ถือตามก็จะเป็นคุณและประโยชน์แก่พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าข้างกรุงฯ ด้วยให้ซื้อให้ขายกันดี ถ้าจะเอาข้าวของอันเป็นสินค้ามาพิกัดค่าให้แรงมากนักก็ขายไม่ได้ คนจึงไม่ทำ ถ้าขายได้ก็ขายแต่น้อย คนทำจึงทำน้อยเข้า ถ้าจะทำให้ดีแก่ผู้ซื้อและผู้ขาย ก็ให้มีกฎหมายหลวงกำหนดค่าภาษีตามควรแก่ธรรม ครั้นใช้ค่าภาษีนั้นแล้ว ให้เจ้าของสินค้าและผู้ซื้อตกลงกันเองตามแต่จะได้ อย่าให้คนอื่นแซกเข้ามาว่าได้จึงจะดี ถ้าและข้างอังกฤษและกรุง ฯ คิดอ่านเห็นพร้อมกันตามความที่ลำดับไว้ในร่างหนังสือสัญญาอันส่งมานี้ ก็จะเป็นคุณและประโยชน์แก่พวกอังกฤษเป็นประการใด ก็จะเป็นประโยชน์แต่เพียงว่าการซื้อขายมีกำหนดเป็นแน่แล้วจึงจะทวีขึ้นมาก และประโยชน์อันนี้ได้แก่ชาว

๒๐๔ กรุง ฯ เหมือนกันกับชาวอังกฤษ ท่านผู้เป็นพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติในกรุงเทพ ฯ ได้ทรงพระกรุณาตั้งพระทัยปรารภจะให้ชาวพระนครอยู่เย็นเป็นสุขทั่ว ได้ทรงโปรดปรานต่อพ่อค้าอังกฤษ และตั้งเป็นราชสัมพันธมิตรไมตรีต่อแผ่นดินอังกฤษเป็นอันสนิทแล้ว เมื่อพระองค์ทรงพระทัยประกอบด้วยพระกรุณากว้างใหญ่ และพระปัญญา อันแหลมดังนี้ ก็น่าที่พระองค์จะเห็นชอบในการคิดดังว่ามาแล้วนี้และยิ่งกว่านี้อีก ถ้าเป็นแต่ผู้มีวาสนาน้อย ปัญญาน้อย อันจะเป็นที่ไว้ใจดังนี้ก็หามิได้ เถิงดังนั้นแล้วเซอร์เชมสับรุกได้ตรึกตรองความเห็นว่า ท่านผู้เป็นอธิปไตยครองแผ่นดินอังกฤษ ทรงพระทัยถือไมตรีต่อท่านผู้เป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติในกรุงเทพ ฯ เป็นอันสนิท เซอร์เชมสับรุกจึงเห็นว่า ควรที่จะยกสินค้าอันเป็นของสำคัญเถิง ๗ ประการ ด้วยสินค้า ๗ สิ่งนั้น ถ้าขุนนางฝ่ายกรุง ฯ จะจัดแจงอย่างไร ๆ ขุนนางฝ่ายอังกฤษไม่ว่าประการใด ถ้าจะให้เจ้าภาษีพิกัดค่าสิ่งเหล่านี้หรือไม่พิกัด จะขายหรือไม่ขาย อังกฤษไม่ว่า ถ้าจะถือว่าที่ลดค่าปากเรือเป็นที่เสียประโยชน์แก่กรุง ฯ ที่ยอมยกสินค้าให้เป็นประโยชน์แก่กรุง ฯ ฝ่ายเดียวเป็นที่แทนกันหลายเท่า ฝ่ายข้าวเปลือกข้าวสารคำสัญญาอันส่งมานี้ว่า เมื่อใช้ค่าภาษีแล้วจึงซื้อกันขายกันเอาไปได้ เซอร์เชมสับรุกเข้าใจว่า เมื่อแรกดูความนี้เหมือนเป็นเหตุที่จะขัดได้ แต่ทว่าเซอร์เชมสับรุกยังเห็นว่า ถ้าเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังกับเสนาบดีทั้งหลายได้พิจารณาตรึกตรองดี ๆ แล้วจึงจะทราบว่าการนี้คงจะมีประโยชน์มาก เงินภาษีที่จะเข้าพระคลัง

๒๐๕ จะมากขึ้น และอาหารกินในเมืองจะบริบูรณ์ขึ้นมาก ดินในกรุงเทพ ฯ เป็นที่เกิดผลดกบริบูรณ์มาก ผู้คนก็มาก ถ้าเอาข้าวเปลือกข้าวสารขายเอาไปเสียจากเมืองเป็นอันมาก ๆ คนทั้งหลายจึงจะอุตส่าห์ทำนาให้เกิดผลข้าวให้ยิ่งมาก ครั้นข้าวมีมากแล้ว ราคาแก่ชาวบ้าน พลเรือนคงจะถอยน้อยลง คนจนจะได้ซื้อง่าย ๆ ไม่ขัดสนเลย บัดนี้เถิงดินควรและบริบูรณ์งาม คนปลงใจลงทำไร่นามีแต่น้อย ด้วยว่าเมื่อทำแล้วจะเอาข้าวนั้นทำอะไรได้เขาไม่รู้ จะขายไปเมืองอื่นเอาเงินเป็นกำไรไม่ได้ ห้ามเสียแล้ว ถ้าเอาข้าวเป็นภาษีหาบละสลึง ค่าภาษีรวมกันจะเป็นอันงาม และเสื่อจะบรรทุกเรือกำปั่นไม่ต้องเก็บภาษีเรือ และผู้ซื้อผู้ขายจะได้ซื้อขายกันด้วยคล่องไม่มีใครขัดสินค้าทั้งเจ็ดประการที่ยอมให้ไว้แก่กรุง ฯ กับทั้งค่าปากเรือ และค่าภาษีต่าง ๆ จะเป็นเงินเข้าคลังหลวงเป็นอันมาก และเป็นที่กำหนดเป็นแน่ ถ้าเว้นไว้แต่ปืน, ลูกปืน, ดินปืนเท่านั้น แล้วให้เจ้าภาษีถือและพิกัดค่าเหมือนทุกวันนี้ ไม่เป็นที่ผิดหนังสือสัญญาที่แต่งไว้ในปี ๑๘๒๗ หรือมิเป็นเหตุที่สงสัยได้ แต่ว่าที่นี้ยกไว้อย่าให้เป็นที่เคืองกันเลย ด้วยว่าเซอร์เชมสับรุกจะใคร่กล่าวให้เจ้าคุณเจ้า พระยาพระคลังทราบเป็นแน่ว่า เมื่อเซอร์เชมสับรุกเข้ามาปรึกษาหารือกันคราวนี้ มิได้ปรารถนาที่จะเอาความสิ่งใดอันมิชอบแก่เสนาบดี ที่กรุง ฯ เป็นที่เคืองใจกัน เอาความนั้นมาว่าหามิได้ มีแต่จะขอให้เจ้าคุณพิจารณาดูในประโยชน์ที่จะเกิดแต่คำสัญญาดังว่ามานี้ แล้วเอาเหตุการณ์ทุกสิ่งกราบทูลแก่พระมหากษัตริย์กรุงเทพ ฯ จะได้ทรง

๒๐๖ พระปัญญาอันประเสริฐตรัสให้ทราบ อนึ่งอันจะกำหนดค่าภาษีแห่งสินค้าต่าง ๆ ด้วยการนั้น หนังสือที่สัญญากันกับเมชะเบอร์นีได้ว่า ถ้าขุนนางฝ่ายกรุง ฯ คาดค่าภาษีมากเท่าใด ตามแต่เห็นชอบ ก็ทำได้จึงไม่มีห้าม แต่ทว่าถ้าพิกัดคาดค่าภาษีในสินค้าที่เกิดในกรุง ฯ ให้แรงหนักเหลือเกิน ก็เป็นที่สำแดงน้ำใจเป็นปรากฏ ว่าหวังจะให้การค้าขายกันกับคนอังกฤษเสีย และเมืองทั้งสองจะให้ขาดจากกัน ถ้ากำหนดค่าภาษีเป็นแน่ในคำสัญญาใหม่ได้กำหนดไว้แล้ว ทีหลังพ่อค้าจะทุ่มเถียงกันไม่ได้ ตัดเหตุที่จะวิวาทกันให้สูญสิ้นทีเดียวจะคล่องสบายดี เซอร์เชมสับรุกเห็นว่า มิตรไมตรีที่จำเริญมานานแล้วยังจะจำเริญยิ่งแม่นยิ่งสนิทกว่าแต่ก่อน ฝ่ายอังกฤษที่ครองเมืองอินเดียได้ทำหนังสือสัญญากรุงอังวะว่า อันพวกพะม่าจะมาประทุษฐร้ายต่อกรุง ฯ ก็หามิได้ และเป็น ๒๔ ปีมาแล้วก็สงบดี ฝ่ายเมืองมะลายูเถิงเกิดการกบฎวุ่นวายด้วยกัน ก็ยังกันไว้มิให้เป็นอันตรายแก่เมืองไทย แล้วขุนนางฝ่ายอังกฤษเห็นแก่คำสัญญามิได้บังคับบัญชาในเมืองเหล่านั้นเป็นประการใดเลย อนึ่งคิดอ่านกันด้วยการค้าขายกันนี้ เป็นเหตุที่จะให้ไปมาซื้อขายกันยิ่งมากยิ่งดีให้ประโยชน์ยิ่งมากแก่เมืองทั้งสองเมือง อันขุนนางอังกฤษจะถือมานะหวังจะให้เมืองตนเป็นใหญ่แต่ท่าเดียวก็หามิได้ แต่ว่าตั้งใจเหมือนเป็นเพื่อนสนิท จะไม่ปิดซ่อนสิ่งใด ตั้งใจควรแก่ไมตรีเป็นอันดี เห็นประโยชน์ข้างไหนมาชักชวนให้เข้าส่วนเป็นประโยชน์ด้วยกัน ในหนังสือที่กษัตริย์ใหญ่ทั้งสองทรงอนุญาตตั้งสัญญากัน

๒๐๗ สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์แก่เมืองอังกฤษ ก็เป็นประโยชน์แก่กรุง ฯ เหมือนกัน จะแยกกันไม่ได้ ถ้าบุคคลผู้ใดเป็นชาวอังกฤษก็ดีชาวกรุง ฯ ก็ดี ได้ปรารถนาให้ความสุขจำเริญไว้แก่เมืองของตนผู้นั้นคงปรารถนาให้ความสุขจำเริญแก่เมืองทั้งสองฝ่ายเหมือนกัน เซอร์เชมสับรุกขอกล่าวไว้ดังนี้ หวังจะให้ท่านเสนาบดีณกรุง ฯ เข้าใจประจักษ์ว่า เสนาบดีข้างอังกฤษจะใคร่ทำการแต่โดยสัตย์เป็นสุจริตธรรมสิ้นทั้งนั้น และเซอร์เชมสับรุกยังไว้ใจว่า ครั้นเสนาบดีได้พิจารณาดูความที่กล่าวมาแล้ว จะเอาไปกราบทูลท่านผู้เป็นมหากษัตริย์ ณกรุง ฯ จะได้ทรงพระดำริ (สิ้นข้อความฉบับหนึ่ง) ยังอีกฉบับหนึ่งนั้นเซอร์เชมสับรุกว่า เรื่องความกำหนดการซื้อขายแก่กันเป็นหลายข้อลำดับกัน ที่เซอร์เชมสับรุกส่งมายังเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลังจะได้พิจารณาตั้งแต่แรกตั้งพระราชไมตรีกับกัมปนีที่ครองเมืองอินเดียฝ่ายหนึ่ง และพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพ ฯ ฝ่ายหนึ่ง ก็ได้รักษาทางพระราชไมตรีสืบกันลงมา และครั้นในจุลศักราช ๑๑๘๓ คฤศตศักราช ๑๘๒๖ ได้คิดอ่านกันทำหนังสือกำหนดว่าด้วยค่าปากเรือและการค้าขายกัน หนังสือนั้นสำเร็จในเดือนชันนุเอรี ๑๗ ค่ำปี ๑๘๒๗ นับแต่ครั้งนั้นลงมา เหตุการณ์บ้านเมืองผิดกันกับการแต่ก่อนหลายสิ่งไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว ครั้นเหตุดังนั้นแล้ว ท่านผู้เป็นใหญ่ครองเมืองเครตบริตันเมืองอิรลันด์ และเมืองฮินดูสถานฝ่ายหนึ่ง กับท่านผู้ดำรงแผ่นดินมหานครศรีอยุธยาฝ่ายหนึ่ง จึงปลงพระทัยพร้อมกันปรารภจะแต่งคำสัญญาใหม่ กำหนดว่าด้วยทาง

๒๐๘ ค้าขายกันหวังจะให้ไปมาซื้อขายในเมืองทั้งสองยิ่งมากยิ่งคล่อง มีประโยชน์ยิ่งมากทั้งสองฝ่าย และคำสัญญาใหม่จะเป็นที่แทนคำสัญญาเก่า ก่อนที่ว่าด้วยการค้าขายแล้วให้คำใหม่นี้ติดเนื่องกันเข้าที่ปลายหนังสือสัญญาปลูกพระราชไมตรีกับกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ อันที่พึ่งทำสำเร็จแล้วด้วยดี ข้อ ๑ ฝิ่นเป็นของต้องห้ามมิให้ซื้อขายเลยในแว่นแคว้นกรุงเทพ ฯ ถ้าใครเอาฝิ่นมาจับได้ให้ริบฝิ่นนั้นเป็นของหลวง และผู้เอามาให้ไหมเสียเป็นเงินเหรียญ ๑๐๐ แผ่น ถ้ามิได้ใช้เงินให้เอาตัวจำไว้กำหนด ๖ เดือน ข้อ ๒ สินค้าทั้งเจ็ดสิ่งนี้ คือ น้ำมัน ๑ ปืน, ลูกปืนและดินปืน รวบไว้เป็น ๑ เหล็ก ๑ กะทะเหล็ก ๑ เหล็กกล้า ๑ สุรา ๑ ไม้สัก ๑ เป็น ๗ ประการเข้าด้วยกัน ทั้งเจ็ดสิ่งนี้ยอมให้ไว้ แก่กรุงเทพ ฯ ฝ่ายเดียว จะพิกัดค่าภาษีไม่พิกัดตามแต่จะเห็นชอบในกรุง ฯ เรือและกำปั่นลำใดที่ใช้ธงอังกฤษจะเอาของเหล่านี้บรรทุกเข้ามาขายหรือจะบรรทุกเอาไปก็มิได้ห้ามเสีย เว้นไว้แต่มีบัตรหมายของขุนนางไทยอันเป็นเจ้าพนักงานยอมให้จึงจะทำได้ ข้อ ๓ ข้าวสารก็ดี ข้าวเปลือกก็ดี และของอื่นทั้งปวงที่เป็นสินค้า อย่าให้ต้องค่าภาษี เว้นไว้แต่ตามที่กำหนดไว้ในคำสัญญาใบนี้ ข้อ ๔ เว้นไว้แต่สินค้า ๗ ประการที่ยอมให้ไว้แก่กรุงเทพ ฯ ฝ่ายเดียว คนใต้บังคับอังกฤษก็ดี คนใต้บังคับแห่งกรุงเทพ ฯ ก็ดี

๒๐๙ จะซื้อขายกันในกรุงเทพ ฯ ก็ดี ในเมืองอื่นอันเป็นท่าจอดก็ดี จะทำได้คล่องมิให้ขัดข้องประการใด เมื่อว่าดังนี้ ก็เข้าใจว่าเว้นแต่ค่าภาษีที่กำหนดไว้แล้ว เจ้าภาษีจะมาพิกัดคาดค่ามิได้ จะตั้งภาษีสินค้าว่าเป็นของขายไปนอก เป็นของเข้ามาแต่นอกมาขายนี้มิได้ ผู้ใดอื่นเว้นไว้แต่ผู้ซื้อผู้ขาย จะแซกตัวเข้าทัดทานมิให้ซื้อขายกันคล่องง่าย อย่าให้ทำได้ ข้อ ๕ ค่าภาษีในน้ำตาลทรายขาวบัดนี้เป็นหาบละ ๒ สลึง คำสัญญานี้จะได้ว่าให้แปลกเปลี่ยนกันก็หามิได้ ด้วยสินค้าที่เขียนลำดับกันไว้ข้างหน้านี้ก็เหมือนกัน แต่สินค้าอื่นอันมิได้คิดเป็นแทนภาษีที่ใช้ในของเข้ามา และของที่เอาไปข้างนอกจดลงที่นี่ให้ถือว่าหามีภาษีไม่เลย ข้าวสารนั้นให้เป็นภาษี หาบละสลึง น้ำตาลทรายขาว หาบละ ๒ สลึง ครั่ง หาบละ ๒ สลึง เขาสัตว์ หาบละสลึง คิดเป็นแทน น้ำตาลทรายแดง หาบละสลึง เกลือ เกวียนละ ๒ บาท ไม้ฝาง หาบละเฟื้อง ภาษีที่ใช้ในของเข้ามาและของที่เอาไปข้างนอก ข้อ ๖ ถ้ากำปั่นอังกฤษบรรทุกของมาขาย บรรทุกของไปขายข้างนอก หรือบรรทุกเข้ามาทั้งบรรทุกออกไปด้วย ต้องใช้ค่า ๒๗ ๒๑๐ ปากเรือวาละ ๕๐๐ บาท วานั้นคิดเป็น ๗๘ นิ้วอังกฤษ เมื่อจะวัดปากเรือให้วัดบนดาดฟ้าชั้นบนก็ได้ ชั้น ๒ ก็ได้ ให้วัดตามที่กว้างมาก ค่าปากเรือดังนี้ให้คิดเอาแทนภาษีของเข้าออก, ค่าท่าจอด, ค่าร่องน้ำสารพัตร ครั้นกำปั่นลำใดใช้ค่าปากเรือดังนี้แล้ว ถึงจะขนของขึ้นที่ ๒ แห่ง หรือจะบรรทุกที่ ๒ แห่ง ๓ แห่งในแว่นแคว้นกรุง ฯ มิต้องใช้อะไรอีกในเที่ยวนั้น อนึ่งถ้ากำปั่นอังกฤษลำใดจะเข้ามาในแดนกรุงเทพ ฯ ปรารถนาแต่จะซ่อมแปลงเรือที่เสีย หรือจะซื้อสะเบียงอาหาร หรือจะใคร่ถามข่าวรู้ราคาสินค้าเท่านั้น ก็ยอมอย่าให้เสียค่าปากเรือเลย ยังมีเหตุอื่นข้อเล็กน้อยจะคิดอ่านกันต่อภายหลังได้ และซึ่งเซอร์เชมสับรุกว่ามาดังนี้อีก ครั้นจะตอบให้เป็นข้อ ๆ มา ก็ได้ตอบตามใจความเป็นข้อ ๆ มาแต่ก่อนเถิง ๓ ฉบับแล้ว ซึ่งจะทำหนังสือสัญญาความ ๙ ข้อ เราก็ได้ตอบไปทุกข้อ ๆ แล้ว ซึ่งเซอร์เชมสับรุกจะขอให้ลดค่าธรรมเนียมปากกำปั่นลงจะให้เรียกแต่วาละ ๕๐๐ บาทนั้น ค่าธรรมเนียมสลุบกำปั่นเคยเรียกมาแต่ก่อน ทั้งค่าธรรมเนียมปากกำปั่น ค่าจังกอบภาษี คิดเข้าด้วยกันได้วาหนึ่งถึง ๒๒๐๐ บาทเศษ เมื่อครั้งกะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางไมตรี แล้วว่าด้วยค่าธรรมเนียมสลุบกำปั่น ขออย่าให้เรียกเป็นค่าธรรมเนียมจังกอบภาษีเลย จะขอเสียรวมกันคิดเป็นค่าปากกำปั่น ถ้ากำปั่นมีสินค้าเข้ามาให้เรียกว่าละ ๑๗๐๐ บาท ถ้ากำปั่นไม่มีสินค้าเข้ามาให้เรียกวาละ ๑๕๐๐ บาท เสนาบดี


๒๑๑ ณกรุงพระมหานครศรีอยุธยาปรึกษาพร้อมกันเห็นว่าควรจะเป็นไมตรีกับชาติอังกฤษ จึงได้ทำหนังสือสัญญาเป็นไมตรีด้วยการบ้านเมือง ๑๔ ข้อ การค้าขาย ๖ ข้อ แต่ปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๑๘๘ ปี ตั้งแต่นั้นมาเจ้าพนักงานจึงได้เรียกค่าธรรมเนียมปากสลุบกำปั่นที่มี สินค้าเข้ามาวาละ ๑๗๐๐ บาท ที่ไม่มีสินค้าเข้ามาวาละ ๑๕๐๐ บาท จนเท่าทุกวันนี้ ซึ่งเซอร์เชมสับรุกจะมาขอลดค่าธรรมเนียมลงอีกจะให้เรียกแต่วาละ ๕๐๐ บาทนั้น เรายอมให้ไม่ได้ แล้วว่าสินค้าซึ่งเกิดในกรุงพระมหานครศรีอยุธยานี้ เหมือนข้าวเปลือกข้าวสารที่เป็นของต้องห้ามแต่โบราณมา ก็ว่าให้มีภาษีเสียให้ลูกค้าได้ซื้อขายกัน เราจะยอมตามใจให้นั้นไม่ได้ ถ้าฉวยทำไร่ทำนาไม่ได้ผลไพร่บ้านพลเมืองก็จะได้ความอดอยากซวดโซเสียเปล่า ๆ ของที่ไม่ต้องห้ามลูกค้าเคยซื้อขายกันมาแต่ก่อน ให้ยกเป็นของต้องห้ามเอาไว้สำหรับแผ่นดิน พูดจาแต่ตามชอบใจดังนี้ สมที่เป็นผู้มีสติปัญญาฉลาด คิดอ่านมาจัดแจงในการซื้อขายให้เป็นประโยชน์เสมอกันทั้งสองฝ่าย ช่างมีอุตสาหะพากเพียรแต่งหนังสือมาแต่ต้นจนปลาย ว่ากล่าวยืดยาวทบทวนวนเวียนไม่รู้สิ้นรู้จบ จะมาลบล้างเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีพระนครใหญ่ อันตั้งไว้ได้หลายร้อยปีมาแล้วให้ฟั่นเฟือนผันแปรไปเสียนั้น ก็ควรจะยกย่องว่าเซอร์เชมสับรุกเป็นผู้มีสติปัญญาเจรจามาก ตั้งแต่เราเป็นขุนนางทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมา


๒๑๒ ได้ ๗๐ ปีก็มี ๖๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๒๐ ปีเศษก็มี จะได้เคยพบเคยเห็นผู้ใดมาเจรจาความบ้านเมือง ประดุจดังครูบาอาจารย์มาสั่งสอนบังคับบัญชา เหมือนน้ำท่วมป่าท่วมทุ่งเช่นนี้หามีไม่ เฝ้าแต่ตั้งใจหลงคิดว่ากล่าวจัดแจงในการซื้อขาย จะให้ลูกค้าพาณิชเกิดผลเกิดประโยชน์เพลิดเพลินไป ไม่คิดปราณีกับเราทั้งหลายเจ้าของบ้านเจ้าของเมืองบ้างเลย และหนังสือ ๒ ฉบับซึ่งเซอร์เชมสับรุกให้มาอีกทีหลังนี้ เสนาบดีข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนทุกตำแหน่ง ได้ประชุมพร้อมกันพิเคราะห์ดูหนังสือเซอร์เชมสับรุกแล้ว จึงได้ตอบหนังสือมาให้เซอร์เชมสับรุกตรึกตรองดูเถิด ได้เชิญเอาตราท่านเจ้าพระยาพระคลังปิดมาเป็นสำคัญ ได้เขียนเป็นอักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง ข้อความต้องกัน หนังสือให้มาณวันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก หนังสือ เซอร์เชมสับรุกให้ กะปิตันบรุก มิศเซนยอน มายื่น จมื่นไวยวรนาถ วันจันทร์เดือน ๑๐ แรม ๒ ค่ำ ปีจอโทศก เซอร์ เยียมสบรุกได้ใช้ให้กะปิตันบรุก มิศเซนยอนมาให้ ขอให้จัดแจงเรือที่จะส่งเซอร์เยียมสบรุกลงไปเถิงกำปั่นที่ปากน้ำ เซอร์เยียมสบรุกได้ตั้งให้กะปิตันบรุก มิศเซนยอน เป็นผู้รับหนังสือของเจ้าคุณพระคลังตามอย่างของเจ้าคุณตั้งไว้ จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ๆ ไปนั้นไม่ได้อันจะส่งหนังสือที่กรุงเทพ ฯ นี้เป็นอันยากอย่างไร เซอร์เยียมสบรุกก็ไม่อยากที่จะให้มีความลำบาก เมื่อเจ้าคุณจะอยากส่งหนังสือนั้น

๒๑๓ ก็ขอให้ลงไปส่งที่กำปั่น จะได้รับให้เหมือนรับหนังสือลอดปลมสะตัน ถ้าเจ้าคุณจะมิได้ปรารถนาที่จะส่งหนังสือนั้นแล้ว และซึ่งเซอร์เยียมสบรุกเข้ามาหวังจะจำเริญทางพระราชไมตรีนั้น ก็เป็นอันสำเร็จแล้วเซอร์เยียมสบรุกจะขอลากลับไป เมื่อจะกลับไปนั้น เซอร์เยียมสบรุกก็ยังถือใจว่า ท่านเสนาบดีทั้งปวงณกรุงเทพ ฯ ได้ตรึกตรองมากแล้วก็จะมีใจปรารถนาซึ่งจะทำหนังสือสัญญาตามที่กล่าวมาแล้ว เพื่อความ นี้จะได้สำเร็จนั้น จะได้ตั้งผู้ใดผู้หนึ่งที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นราชทูตไปเถิงเมืองลอนดอน อันเป็นที่อยู่แห่งกษัตริย์ เซอร์เยียมสบรุกขอให้ได้จัดเรือส่งลงไปให้เถิงกำปั่นที่ปากน้ำ โดยอันควรแก่เวลามิให้มีความลำบาก เมื่อเซอร์เยียมสบรุกจะลาไปนั้น จะให้กะปิตันบรุก มิศเซนยอนมากราบลาเจ้าคุณ ให้เป็นอันสมควรกับทางไมตรี ครั้นณวันเดือน ๑๐ แรม ๒ ค่ำ เซอร์เซมสับรุกทำหนังสือให้กะปิตันบรุกที่ ๑ มิศเซนยอนที่ ๒ มาให้จมื่นไวยวรนาถว่าจะลา กลับไป ท่านเสนาบดีจึงได้ทำหนังสือตอบไปเถิงลอดปลมะสตันฉบับหนึ่งส่งให้เซอร์เชมสับรุก ๆ รับหนังสือแล้วก็ลากลับไปจากกรุงเทพ ฯ หนังสือเจ้าพระยาพระคลังตอบ ลอดปลมะสตัน

หนังสือ ท่านเจ้าพระยาพระคลังเสนาบดีผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุธยาแจ้งความโดยยินดี มายังลอดไวเกาปลมะสตันเนดกรันกรอดออดนิโมดเนาเบออริบัด ผู้ได้ว่าการต่างประเทศแห่งนางพระยา


๒๑๔ ริวิกตอเรียพระเจ้ากรุงอังกฤษ ที่มีอาญาสิทธิ์บังคับฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือเมืองอิรลันด์ และเมืองฮินดูสถาน ด้วยมีหนังสือให้หิศเอกสเลน เซอร์เยียมสบรุกเนกมันเดอออดนิโมดเนาเบออริเบด เข้าไปจำเริญทางพระราชไมตรี คิดปรึกษาพร้อมกับท่านเสนาบดีที่กรุง ฯ ว่า ราชการครั้งนี้เพื่อจะให้เป็นไมตรีต่อไป และเป็นประโยชน์กับไพร่บ้านพลเมืองทั้งสองฝ่าย พระเจ้ากรุงอังกฤษเห็นว่าเซอร์เยียมสบรุกจะเข้ามาว่าด้วยความสิ่งใด ๆ ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ผู้น้อยคงจะชอบใจ ถ้าเสนาบดีผู้ใหญ่ผู้น้อยกับเซอร์เยียมสบรุกเห็นชอบด้วยกันทำความตกลงกันแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุง ฯ กับนางพระยาริวิกตอเรียพระเจ้ากรุงอังกฤษ จะได้เป็นไมตรีอันสนิทมีความจำเริญด้วยกันทั้งสองพระนครนั้น ได้แจ้งความตามหนังสือซึ่งว่าเข้ามา ก็มีความยินดีโดยฉันไมตรี ซึ่งได้เป็นสัมพันธมิตรรักใคร่ผูกพันกันมาแต่ก่อนช้านาน และเซอร์เยียมสบรุกเข้าไปเถิงกรุง ฯ ครั้งนี้ ก็ได้รับรองสมควรโดยราชประเพณี จัดที่ทางให้เซอร์เยียมสบรุกอยู่ เลี้ยงดูเบิกเงินหลวงพระราชทานให้ซื้อจ่ายของกิน ทั้งสิ่งของข้าวปลาผลไม้ต่าง ๆ ส่งเสียมิได้ขาด และกำปั่นไฟลำใหญ่ซึ่งเซอร์เยียมสบรุกขี่เข้าไปเมื่อแรกเถิงปากน้ำกรุง ฯ กำปั่นติดตื้นที่ดอนชเลนอกปากน้ำ ค้างอยู่หลายวัน ก็ได้เอาเป็นธุระโดยทางไมตรีอันสนิท ให้ผู้รักษาเมืองสมุทรปราการ จัดเรือลำเลียงออกไปถ่ายสิ่งของในลำจนกำปั่นเบาขึ้นออกจากตื้นได้ ช่วยทำนุบำรุงมิได้ขัดสนแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด และเซอร์เยียมสบรุกทำหนังสือมาให้ ๕ ฉบับ ได้รับหนังสือแล้วพิเคราะห์ดู

๒๑๕ มีความเป็นหลายประการ ด้วยเหตุจะทำหนังสือสัญญาใหม่อีก ๙ ข้อ ท่านเสนาบดีปรึกษาพร้อมกัน เห็นว่าคำสัญญาซึ่งกะปิตันหันตรีบารนีเข้ามาทำไว้ แต่เมื่อครั้งจุลศักราช ๑๑๘๘ ปีจออัฐศก ความบ้านเมือง ๑๔ ข้อ การค้าขาย ๖ ข้อก็มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำสัญญาต่อไปอีกนั้น ข้างฝ่ายไทยอย่างธรรมเนียมมีมาแต่บุราณราชประเพณีประการใด ก็จะประพฤติตามประเพณีบ้านเมือง จะละอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนนั้นเสียไม่ได้ จึงทำหนังสือตอบให้เซอร์เยียมสบรุกความแจ้งมากับเซอร์เยียมสบรุกทุกประการแล้ว กรุง ฯ รักทางไมตรีกรุงอังกฤษยิ่งนัก ตั้งแต่ศักราช ๑๑๘๔ ปีมะเมียจัตวาศก การะฝัดเข้ามาจำเริญทางไมตรี ไทยก็รักษาทางไมตรีมาจนทุกวันนี้ ขอให้ลอดไวเกาปลมะสตันผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ ได้ช่วยทำนุบำรุงทางไมตรียิ่งนานให้ยิ่งสนิทสืบต่อไป ได้เขียนเป็นอักษรไทยฉบับหนึ่งอักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง ข้อความถูกต้องกัน หนังสือมาณวันศุกร์เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอนักษัตรโทศก ณวันเดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ เมื่อเซอร์เชมสับรุกจะลงเรือ ฝากหีบไว้กับนายพาณิชใบหนึ่ง ให้กับพระยาวิเศษสงคราม ๆ เปิดออกดูได้เสื้อสักหลาดดำอย่างฝรั่ง ๒ ตัว กางเกงสักหลาดดำตัว ๑ เซอร์เชมสับรุกเข้ามาอยู่ณกรุงเทพ ฯ ๓๘ วัน ได้จ่ายของหลวง ( ดังนี้ ) ให้เงินซื้อกินเดือนละ ๓ ชั่ง คิดให้ ๒ เดือน เงิน ๖ ชั่ง นมโควันละ ๖ ทะนาน ๒๒๘ ทะนาน

๒๑๖ ข้าวสารขาวคนหนึ่งวันละทะนาน เป็นข้าว ๖๘ ถัง น้ำมันมะพร้าววันละ ๑๐ ทะนาน ๓๘๐ ทะนาน ฟืนแสมรอนที่กรุงเทพ ฯ ๒๕๐๐๐ ดุ้น ฟืนแสมขนาดกลางให้ที่ปากน้ำ ๗๐๐๐ ดุ้น ไต้ ๕๒๐ ใบ เจ้าพระยาพระคลังส่งทุเรียน ลางสาด ผลไม้ดี ๆ ขนมของหวานทุกวัน ๆ วันละ ๓ - ๔ - ๕ โต๊ะบ้าง ใบชากาแฟกินเป็นนิตย์ ดินประสิวละลายน้ำแช่เหล้า แช่น้ำอาบ หนัก ๑ ชั่ง ๓ ตำลึง ๒ สลึง กับเรือสำปั้นเก๋งภั้งเขียนลายทองยาว ๗ วา ให้เซอร์เชมสับรุกไปขี่ ที่เมืองอังกฤษลำหนึ่ง เซอร์เชมสับรุกลงไปเถิงเมืองสมุทรปราการ วันเดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ เพลาบ่าย ๒ โมง รุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่ง จมื่นไวยวรนาถให้พระยาวิเศษสงคราม หมื่นวรวาทีล่ามโยเสฟ ลงไปเยี่ยมเยียนที่กำปั่น เซอร์เชมสับรุกเอาหนังสือผนึกกระดาษผนึกหนึ่ง กับหีบเป็นหีบใส่บุหรี่ผนึกปากหีบ มาส่งให้พระยาวิเศษสงคราม หมื่นวรวาทีล่าม โยเสฟ แล้วฝากหีบใส่กล้องส่องมากับโยเสฟ ว่าให้เอามาให้กับจมื่นไวยวรนาถ (๑) พอพระยา

(๑) ความปรากฏตามจดหมายเซอร์เชมสบรุกพิมพ์ไว้ ในเรื่องอื่น ว่ากล้องส่องนี้ เซอร์เชมสบรุกฝากถวายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พิมพ์พระราชหัดถเลขา ซึ่งทรงภาษาอังกฤษตอบรับกล้องส่องนี้ไว้ในที่นั้นด้วย ๒๑๗ วิเศษสงคราม หมื่นวรวาทีล่าม โยเสฟ ลงมาเถิงเรือ กำปั่นก็ใช้จักรออกจากเมืองสมุทรปราการไปในเพลานั้น จมื่นไวยวรนาถเปิดหีบออกดู เห็นกระดาษห่อปิดตราสลักหลังว่า ส่งมายังธะภักดี ศรีสุริยวงศ์ ครั้นฉีกกระดาษออกเห็นห่อผ้าใบเย็บแน่น สลักหลังว่าเถิงเจ้าคุณพระนายไวย ซึ่งได้รับใช้พระมหากษัตริย์ ครั้นฉีกห่อผ้าใบออก มีถุงแพรต่วนหุ้มหีบสลักหลังว่า มาแต่ราชทูตอังกฤษเถิงท่านเสนาบดีกรุงเทพ ฯ ผู้ได้รับใช้พระมหากษัตริย์ แก้ถุงออกเห็นหีบญี่ปุ่นใส่กุญแจ จึงไขกุญแจออกดู มีหนังสือใส่ถุง ๓ ถุง กระดาษเปล่าพับเหมือนหนังสือ ไม่มีตัวอักษรแผ่น ๑ แพรห่อทองคำใบห่อหนึ่งหนังสือ ๓ ถุง สลักหลังเถิงเจ้าคุณพระคลังฉบับหนึ่ง ใส่ถุง ๑ เถิงเสนาบดี ๒ ถุง ทองคำเป็นทองใบชั่งได้หนัก ๑๐ ตำลึง ๑ เฟื้อง สลักหลังห่อทองว่าราคา ๗๒๒ บาท หนังสือเถิงจมื่นไวยวรนาถฉบับหนึ่ง หนังสือในหีบ ๓ ฉบับ เถิงเจ้าพระยาพระคลังฉบับหนึ่งเสนาบดี ๒ ฉบับ นั้น แปลมีความแจ้งอยู่ในหนังสือนั้นแล้ว สิ้นความเท่านี้ ในหนังสือฉบับหนึ่งว่า เซอร์เยียมสบรุกได้รับหนังสือ ๔ ฉบับ ของเจ้าคุณพระคลัง เอาอ่านดูถี่ถ้วนแล้ว เซอร์เยียมสบรุกจะลาไปขอฝากคนในร่มธงอังกฤษซึ่งอยู่ณกรุงเทพ ฯ ใต้บังคับพระมหากษัตริย์ระวังช่วยสงเคราะห์ด้วย หนังสือนี้เขียนที่ปากน้ำวันที่ ๒๘ เดือนแซบแตมเบอร์ ศักราช ๑๘๕๐ ปี


๒๑๘ หนังสือฉบับนี้เขียนสลักหลังว่า มาแต่แห่งนางพระยาใช้สอยเถิงเจ้าคุณเจ้าพระยาพระคลัง ผู้เป็นอัครมหาเสนาแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองไทย พวกอังกฤษซึ่งเป็นทูตเข้ามาครั้งนี้ ได้รับสิ่งของ ๆ ท่านตามอย่างธรรมเนียมไทยซึ่งมีมาแต่โบราณแล้ว ขอให้ท่านเสนาบดีได้รับของทูตตามธรรมเนียมเมืองอังกฤษด้วยยินดีบ้างหนังสือเขียนที่ปากน้ำ วัน ๒๘ เดือนแซบแตมเบอร์ ศักราช ๑๘๕๐ ปี หนังสือฉบับนี้เขียนสลักหลังว่า ทูตอังกฤษมาแต่นางพระยาใช้สอย เถิงเสนาบดีทั้งหลายแห่งเมืองไทย เซอร์เยียมสบรุกได้อ่านหนังสือของท่านเสนาบดีกรุงไทยรู้แล้ว เซอร์เยียมสบรุกมีความเสียดาย ด้วยเสนาบดีในกรุงเทพ ฯ ลืมเสียซึ่งความหนักแห่งอายุซึ่งจะยืดยาวไปข้างหน้า และยศศักดิ์ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ชุบเลี้ยงตั้งแต่งไว้ตามตำแหน่งที่จะให้สูงขึ้นไป และการที่เคยทำของพระมหากษัตริย์เจ้าของตัวยืดยาว หนังสือเขียนที่ปากน้ำวัน ๒๘ เดือนแซบแตมเบอร์ ศักราช ๑๘๕๐ ปี คิดเป็นวันเสาร์ เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ ปีจอโทศก หนังสือฉบับนี้เขียนสลักหลังว่า มาแต่แห่งนางพระยาใช้สอยเถิงเสนาบดีทั้งหลายแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองไทย หนังสือเซอร์เยียมสบรุก มาเถิงท่านภักดีศรีสุริยวงศ์ ด้วยนึกเสียดายว่า เมื่อยังอยู่ที่บางกอกมิได้พบกัน และกลัวว่าจะมิได้พบกันกว่าจะไป เพราะว่าจะต้องกลับไปเมืองสิงหโปร์ทีเดียว เราขอบใจท่านหนักหนา เพราะมีอัชฌาสัยต่อเราเสมอเป็นอันดี ถ้าจะได้พบกัน

๒๑๙ ต่อไปภายหน้า ก็จะเป็นเหตุให้ยินดีต่อกัน หนังสือเขียนที่กำปั่นนิมมีสิทธิ์ ทอดอยู่ที่ปากน้ำ วันเสาร์เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ ศักราชฝรั่ง ๑๘๕๐ ปี รายนามบุคคลที่ปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องเซอร์เชมสบรุก ทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา

ทูลกระหม่อมพระ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รังสรรค์ กรุมขุนเดชอดิศร เป็นสมเด็จกรมพระเดชาดิศร ในรัชกาลที่ ๔ กรมหลวงวงศาสนิท เป็นกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาพระคลัง เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ใน ( ดิศ ) รัชกาลที่ ๔ พระยาศรีพิพัฒน (ทัด) เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ใน รัชกาลที่ ๔ พระยาพิพัฒนโกษา เป็นพระยามหาอำมาตย์ แล้วเป็นเจ้าพระยา ( บุญศรี ) ธรรมา ในรัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้าพระยา สุธรรมมนตรี ในรัชกาลที่ ๕


๒๒๐ พระยาจุฬาราชมนตรี ( นาม ) พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เป็นพระยาไกรโกษา ในพระบวรราชวัง ( บุญมา ) รัชกาลที่ ๔ พระยาสวัสดิ์วารี ( ฉิม ) หมื่นพิพิธอักษร (เสง) เป็นหลวงพิทักษ์คงคา ในรัชกาลที่ ๔ หมื่นจรเจรชลา หมื่นวรวาที ล่าม หมื่นแม่น นายพาณิช พระยาสุรเสนา (สุก) เป็นเจ้าพระยายมราช ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยามหาโยธา ( ทอเรียะ ภาษาไทยว่า ทองดี ) พระยาพิชัยรณฤทธิ์ เป็นพระยามหาอัครนิกร จางวางทหารปืน ( เหม็น ) เมืองสมุทรปราการ ในรัชกาลที่ ๔ พระยาวิชิตณรงค์ (ฟัก) เป็นพระยาพิชัยสงคราม ในรัชกาลที่ ๔ พระยารามกำแหง เป็นพระยาอภัยพิพิธ ในรัชกาลที่ ๔ ( กะต่าย ) พระยาราชบังสัน ( บัว )

๒๒๑ พระยาวิเศษสงคราม ( จัน ชื่อคฤศตัง ชื่อเบนิดิกต์ ) หลวงศรีเยาวภาษ เป็นพระจักราราชมนตรี ในรัชกาลที่ ๔ พระยาราชสุภาวดี (โต) เป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ที่สมุหนายก ในรัชกาลที่ ๔ พระยาเพ็ชรพิชัย (เสือ) เป็นเจ้าพระยาธรรมา ในรัชกาลที่ ๔ พระยาอุทัยธรรมราช เป็นเจ้าพระยามหาศิริธรรม พโลปถัมภ์ ฯ ( หนูใหญ่ ) ผู้รักษากรุงเก่า ในรัชกาลที่ ๔ จมื่นไวยวรนาถภักดี เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ในรัชกาลที่ ๓ เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม ในรัชกาลที่ ๔ เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ใน รัชกาลที่ ๕ จมื่นมหาสนิท (แสง เป็นจมื่นประธานมนเทียร ในรัชกาลที่ ๔ บุตรเจ้าพระยาบดินทร เดชา ) นายจ่าเรศ (เม่น) เป็นพระสุนทรนุรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมือง แล้วเป็นพระยาวิเชียรคิรี ผู้ว่าราชการเมือง สงขลา ในรัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้าพระยาวิเชียร คิรี ในรัชกาลที่ ๕ จมื่นทิพเสนา (เรือง) ทิพเสนาตาแหวนก็เรียก

๒๒๒ จมื่นราชามาตย์ (ขำ) เป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี ใน รัชกาลที่ ๔ จมื่นราชาบาล(ขุนทอง) เป็นพระยาเพ็ชรปาณี ในรัชกาลที่ ๔ จมื่นมนเทียรพิทักษ์ ( สวัสดิ์ บุตรเจ้าพระยา อภัยภูธร ) จมื่นสิทธิ์แสนยารักษ์ จมื่นศักดิ์บริบาล จมื่นอินทรเสนา (เอี่ยม) เป็นพระยาไพบูลย์สมบัติ ในรัชกาลที่ ๔ เป็นพระยาอิศรานุภาพ ในรัชกาลที่ ๕ พระอภัยพลรบ (แก้ว) เป็นพระยาวิชิตณรงค์ ในรัชกาลที่ ๔ หลวงราชมาณู ( อาจ ) ขุนสรสิทธิราช หมอยอน หมอ ยอน. เตเลอ. โยนส์. มิชชันนารี อเมริกัน นายโยเสฟ โยเสฟฝรั่ง วิลันดา เป็นล่ามของจมื่นไวยวรนาถ เสมียนยิ้ม มิศเตอร์ เชมส เฮ อังกฤษ ที่เรียกว่า มิศเฮ ในคำปรึกษา ก็คนนี้เอง

จดหมายเหตุเรื่องเซอร์เชมสบรุกทูตอังกฤษ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๕๓ โรงพิมพ์ไทย สะพานยศเส ๒๒๓ ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ ๔

เมื่อ (๑) ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๔ สมเด็จ พระราชินีวิกตอเรีย พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ทรงแต่งให้เซอร์ยอนเบาริง เป็นอัครราชทูตเชิญพระราชศาสน์และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจะขอทำหนังสือสัญญา ให้ประเทศอังกฤษกับประเทศสยาม มีทางพระราชไมตรีตามประเพณีประเทศที่เป็นอิสสระเสมอกันสืบไป ที่จริงอังกฤษกับไทย ได้เริ่มมีไมตรีกันตั้งแต่สมเด็จพระเอกา ทศรฐครองกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลาแรกที่อังกฤษจะมาค้าขายถึงเมืองไทยในรัชกาลนั้น แต่นั้นมาพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษกับพระเจ้าแผ่นดินสยาม ก็มีพระราชศาสน์และส่งราชบรรณาการไปมาถึงกันเนือง ๆ แต่ไม่ปรากฏว่าได้เคยแต่งราชทูตแต่ราชสำนักฝ่ายใดไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งเหมือนอย่างฝรั่งเศส พระราชศาสน์และศุภอักษรเสนาบดีที่อังกฤษกับไทยมีถึงกัน เป็นแต่ให้พวกพ่อค้าเป็นผู้เชิญไปมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทรเป็นราชธานี ในรัชกาลที่ ๑ ทางประเทศยุโรปกำลังเกิดสงครามนะโปเลียน ฝรั่งต่างชาติต้องกังวลด้วยการสงครามนั้นอยู่ช้านาน

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ ๙

๒๒๔ จน พ.ศ. ๒๓๕๓ พวกสัมพันธมิตรจึงมีชัยชะนะฝรั่งเศส แต่นั้นอังกฤษก็มีอำนาจมากขึ้นทางประเทศตะวันออก แต่อำนาจนั้นยังอยู่ในบริษัทอังกฤษซึ่งปกครองประเทศอินเดีย รัฐบาลอังกฤษเองยังหาใคร่จะได้มาเกี่ยวข้องทางประเทศตะวันออกนี้ไม่ เพราะฉะนั้น หมอครอเฟิต ที่เป็นทูตอังกฤษเข้ามาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ก็ดี เฮนรีเบอร์นีทูตอังกฤษ ที่เข้ามาทำหนังสือสัญญาฉบับแรก ที่ไทยทำกับอังกฤษในรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ก็ดี เป็นแต่ทูตของผู้สำเร็จราชการอินเดีย หาได้เป็นราชทูตมาแต่ราชสำนักพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไม่ รัฐบาลอังกฤษพึ่งจับบัญชาการทางประเทศตะวันออกเอง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ ตรงในรัชกาลที่ ๓ เริ่มได้เกิด อริวิวาทกับประเทศจีนจนเลยถึงรบพุ่งกัน อังกฤษมีชัยชะนะจีนต้องยอมทำหนังสือสัญญาค้าขายกับอังกฤษ และต้องยกเกาะฮ่องกงให้แก่อังกฤษ เมื่ออังกฤษมีอาณาเขตต์เป็นที่มั่นทางเมืองจีนแล้ว รัฐบาลอังกฤษจึงคิดขยายการค้าขายของอังกฤษ ให้กว้างขวางออกไปตามประเทศที่ใกล้เคียง เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ลอร์ดปาลเมอสะตันเสนาบดีว่าการต่างประเทศอังกฤษ ให้เซอร์เชมสบรุกถือหนังสือเข้ามาถึงเสนาบดีในกรุงเทพ ฯ จะขอแก้ไขหนังสือสัญญาซึ่งเซอร์เฮนรีเบอร์นี ได้มาทำไว้ ให้เป็นประโยชน์แก่พ่อค้าอังกฤษยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่หาสำเร็จดังประสงค์ไม่ ด้วยเมื่อเซอร์เชมสบรุกเข้ามาเป็นเวลาจวนจะสิ้นรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรอยู่แล้ว ฝ่ายไทยไม่ยอมแก้ไขสัญญาให้ตามประสงค์ของรัฐบาลอังกฤษ

๒๒๕ เซอร์เชมสบรุกก็ต้องกลับไป ความมาปรากฏภายหลังว่า เมื่อเซอร์เชมสบรุกบอกรายงานไปยังรัฐบาลอังกฤษ ๆ มีคำสั่งมาว่า ให้กลับมาเมืองไทยอีก และคราวนี้ให้เอาเรือรบในกองทัพของอังกฤษที่เมืองจีนมาด้วย ถ้าไทยไม่ยอมแก้หนังสือสัญญา ก็ให้ใช้อำนาจเหมือนที่ได้ทำที่เมืองจีน ให้ไทยยอมทำหนังสือสัญญาตามอังกฤษต้องการให้จงได้ แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาถึง ประจวบเวลาทางเมืองไทยเปลี่ยนรัชกาลใหม่ อังกฤษแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘

อังกฤษทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาทราบภาษาอังกฤษ และมีราชหฤทัยนิยมต่อการที่จะสมาคมกับฝรั่ง เข้าใจว่ารัฐบาลไทยคงจะไม่ถือคติอย่างจีนเหมือนแต่ก่อน รัฐบาลอังกฤษจึงเปลี่ยนความคิดเดิม แต่งให้เซอร์ยอนเบาริง เจ้าเมืองฮ่องกงเป็นอัครราชทูตเชิญพระราชศาสน์ ของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย กับเครื่องราชบรรณาการเข้ามา ขอทำหนังสือสัญญาโดยทางไมตรี การที่เซอร์ยอนเบาริงเข้ามาครั้งนั้น เป็นการสำคัญแก่ฝ่ายไทย ที่อาจจะมีผลดีหรือผลร้ายได้ ทั้งสองสถาน คือถ้าหากว่า ไทยแข็งขึงดันไม่ยอมแก้สัญญาอย่างเมื่อครั้งเซอร์เชมสบรุกเข้ามา ก็คงเกิดรบกับอังกฤษ แต่ถ้าหากหวาดหวั่นเกรงอำนาจอังกฤษ ยอมแก้

๒๒๖ สัญญาด้วยความกลัวเกินไป ก็คงเสียเปรียบในกระบวนสัญญาก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน ทางที่จะได้ผลดีมีแต่ที่จะต้องให้เป็นการปรึกษาหารือกันโดยปรองดอง ด้วยมีไมตรีจิตต์ต่อกันทั้งสองฝ่ายเพราะฉะนั้นการรับราชทูตอังกฤษครั้งนี้ จึงเป็นการสำคัญ ผิดกับทูตที่เคยมาคราวก่อน ๆ อยู่อย่างหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ประเพณีการรับราชทูต ย่อมเป็นการที่เจ้าของเมืองต้องระมัดระวังแต่โบราณมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ไม่ว่าในประเทศไหน ๆ ด้วยราชทูตถือว่า เป็นผู้มาต่างพระองค์พระเจ้าแผ่นดินของตน ถ้าเจ้าของเมืองไม่รับรอง หรือประพฤติไม่สมเกียรติยศ ราชทูตก็หาว่าเป็นการประมาทหมิ่นไม่นับถือพระเจ้าแผ่นดิน อาจจะเป็นเหตุให้ถึงหมองหมางทางพระราชไมตรีก็เป็นได้ ฯ ล ฯ เซอร์ยอนเบาริงเข้ามาคราวนี้ เป็นราชทูตอังกฤษคนแรกที่จะได้เข้ามาเมืองไทย เพราะผู้ที่มาแต่ก่อน ๆ เช่นหมอครอเฟิตและเฮนรีเบอร์นี เป็นแต่ทูตของขุนนางผู้สำเร็จราชการอินเดีย เซอร์เชมสบรุกก็เป็นแต่ผู้ถือหนังสือของเสนาบดีว่าการต่างประเทศดัง กล่าวมาแล้ว ยังหาเคยมีราชทูตมาจากราชสำนักของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไม่ แท้จริงราชทูตฝรั่งที่ได้เคยมาเมืองไทย จากราชสำนักประเทศอื่นแต่ก่อนมา เคยมีปรากฎแต่เมื่อครั้งพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ทรงแต่งราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันล่วง

๒๒๗ เวลามาได้ถึง ๑๖๗ ปี แต่หากจดหมายเหตุยังมีอยู่จึงรู้เรื่องได้ ความปรากฏในหนังสือซึ่งเซอร์ยอนเบาริงกลับไปแต่งเรื่องเมืองไทยว่า เซอร์ยอนเบาริงเข้ามาคราวนั้นก็ตั้งใจมาว่า ถ้าไทยรับรองเพียงเสมออย่างหมอครอเฟิตหรือเฮนรีเบอร์นี ก็จะถือว่าไม่รับรองให้สมเกียรติยศได้ค้นหาจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ทรงรับรองราชทูตฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ เตรียมมาไว้สำหรับจะคอยว่ากล่าวกับรัฐบาลแต่ข้างฝ่ายไทยในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคาดการณ์โดยพระปรีชาญาณเห็นว่า เซอร์ยอนเบาริงคงจะเกี่ยงให้รับรองให้เกียรติยศสูงกว่าเคยรับทูตฝรั่งที่มาแต่ก่อน เพราะเป็นราชทูตมาแต่ราชสำนัก พระองค์เคยทรงหนังสือจดหมายเหตุเรื่องราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายน์ ทรงพระราชดำริเห็นลักษณะการตรงกับที่เซอร์ยอนเบาริงเข้ามาครั้งนั้น จึงโปรดให้จัดการรับเซอร์ยอนเบาริงตามแบบอย่างครั้งสมเด็จพระนารายน์รับราช ทูตฝรั่งเศส มิให้ใช้แบบแผนซึ่งเคยถือเป็นตำรารับแขกเมืองในชั้นกรุงรัตนโกสินทร กระแสพระราชดำริไปตรงกับความมุ่งหมายของเซอร์ยอนเบาริงเหมือนอย่างว่ารู้เท่าทันกัน ก็ไม่มีข้อที่จะเกิดเป็นปากเสียงเกี่ยงงอนกันด้วยเรื่องการรับรองราชทูตอังกฤษในครั้งนั้น ถึงเซอร์ยอนเบาริงได้ชมไว้ในหนังสือที่แต่งว่า เมื่อราชทูตอังกฤษเข้ามาคราวนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับรองพระราชทานเกียรติยศเหมือนอย่างครั้งราชทูตพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ เข้ามา


๒๒๘ เฝ้าสมเด็จพระนารายน์ โดยพระราชหฤทัยนิยมในทางพระราชไมตรี ที่จะได้มีกับสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ดังนี้ (๑) เมื่อเซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษ ทูลลากลับไปแล้วก็มีทูตประเทศอื่น ๆ เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี อีกหลายประเทศซึ่งจะได้ทราบรายละเอียดว่าด้วยการต้อนรับราชทูต จากสำเนาความในพระราชหัตถเลขา, ในจดหมายเหตุ, และในหมายรับสั่ง เป็นลำดับไป

(๑) พระอธิบายของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ ๙







๒๒๙ พระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยัง เซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษ พ.ศ. ๒๓๙๘ ว่าด้วยเรื่องจัดคนรับรอง เซอร์ยอนเบาริง หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ แปล(๑)

ที่ ๔๒ พระราชมนเทียร พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพ ฯ วันที่ ๓ เมษายน ค.ศ. ๑๘๕๕ มายังอุปการมิตรของข้าพเจ้า เมื่อเช้าวันนี้ ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้ทราบ แต่หนังสือของ ฯ พณ ฯ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ส.พ.ก. อัครมหาเสนาธิบดี และราชประยูรอันสนิทสิเนหาของข้าพเจ้า ( ซึ่งข้าพเจ้าได้ ส่งลงไปปากน้ำเพื่อให้ไปต้อนรับ พณ ท่าน ถึงปากแห่งแม่น้ำของกรุงเรา ในเมื่อแรก พณ ท่านมาถึงนั้น บอกความให้ข้าพเจ้าทราบว่า เรือไฟแรตตเลอร์ ซึ่งพาห์ พณ ท่านมานั้น ได้มาถึงเมืองปากน้ำ แต่บ่าย ๕ โมงเมื่อวานนี้แล้ว และว่าในเมื่อ พณ ท่าน จักได้พบกับตัวเจ้า

(๑) ในหนังสือ พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๔ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

๒๓๐ พระยาศรีสุริยวงศ์ ในเช้าวันนี้ ประมาณเวลาสัก ๕ โมงเช้าวันนี้ แล้วก็จะได้พาห์ พณ ท่านขึ้นมาโดยเรือ อันได้ตกแต่งไว้แล้วสรัพ ซึ่งข้าพเจ้าได้ส่งลงไป เพื่อแก่เกียรติยศของ พณ ท่าน ในการที่ พณ ท่านจะเดินทางขึ้นมาสู่พระนครนี้นั้นกับว่า พณ ท่านจะมาถึงณที่สำนักใหม่ อันได้จัดเตรียมไว้แล้วนั้นในเย็นวันนี้ ครั้นเมื่อข้าพเจ้าได้ทราบว่า พณ ท่านมาถึงแล้ว ข้าพเจ้าจึ่งให้ขุนนางมหาดเล็ก ๒ คน ถือหนังสือลายมือนี้มา เพื่อมาประจุคมรับรอง พณ ท่าน โดยสันถวาคารวะ ในเมื่อแรก พณ ท่านมาถึง คนหนึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวรพงศ์พิพัฒน์จางวางที่ ๒ หรือจางวางฝ่ายซ้าย แห่งเวรมหาดเล็กทั้งสี่ตำแหน่งเทียมกัน หรือคู่กันกับอีกคนหนึ่ง ซึ่ง ฯ พณ ฯ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้พี่ชายได้ให้ไปเยี่ยมเยือน พณ ท่าน ในเมื่อแรกเรือไฟเข้ามาถึงปากน้ำ เมื่อเย็นวานนี้นั้นขุนนางผู้นี้เป็นราชประยูรของข้าพเจ้า เหมือนกันกับ ฯ พณ ฯ เจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์ ด้วยเป็นชาติสัมพันธ์กับพระราชวงศ์บัดนี้ กับอีกคนหนึ่งมีบรรดาศักดิ์ เป็นจมื่อสรรเพธภักดี หัวหน้ามหาดเล็กเวร ๑ ใน ๔ เวรนั้น มียศศักดิ์เทียมกันกับพระนายไวยวรนาถบุตร ฯ พณ ฯ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งได้ไปเยี่ยมเยือน พณ ท่านที่นอกสันดอน และที่ พณ ท่านได้เรียกร้องเอา และได้รับธงมหาราชของข้าพเจ้าจากเขานั้น ขุนนางคนที่ ๒ ( คือ จมื่นสรรเพธภักดี ) นี้ อันที่จริงเป็นปิยบุตรบุญธรรมของข้าพเจ้า บิดามารดาได้ถวายแด่ข้าพเจ้าตั้งแต่เด็กยังเป็นทารกอยู่ และได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

๒๓๑ โดยข้าพเจ้าเลี้ยงดูมา ข้าพเจ้าเคยส่งลงไปสิงคโปร์ครั้งหนึ่งแล้ว ตั้งแต่เมื่อข้าพเจ้ายังเป็นแต่เพียงเจ้านายอยู่ในกรุงนี้ ฉะนั้นเขาจึงรู้จักกับเพื่อนของ พณ ท่าน คือ ท่าน ว.จ. บัตเตอร์เวอร์ธ ค.บ. กับภรรยา กับทั้งเพื่อนของข้าพเจ้าในเมืองท่านั้นอีกหลายคน แต่ก่อนนี้ที่เมืองท่านนั้นเรียกชื่อเขาว่า จิง นะโปเลียน ครั้นมาบัดนี้ก็ได้ต่อหรือเติมเข้ากับบรรดาศักดิ์ของเขา คือ พระนายสรรเพธภักดี นั้นและเพื่อนของข้าพเจ้า นายพันเอก ว.จ. บัตเตอร์เวอร์ธ ค.บ. ก็ยังคงส่งจดหมายส่วนตัวของเขามีถึงจมื่นสรรเพธภักดีนี้ ผ่านทางข้าพเจ้าอยู่เสมอ แม้ในขณะที่ข้าพเจ้าเถลิงถวัลราชสมบัติแล้วนี้ ข้าพเจ้าขอส่งขุนนาง ๒ คนที่ได้ออกนาม และได้พรรณนามาแล้วนี้ มายัง พณ ท่าน เพื่อมาต้อนรับ พณ ท่าน ในนามของข้าพเจ้า ในเมื่อแรก พณ ท่านมาถึงพระนครนี้ ด้วยขุนนางทั้งสองนี้ เป็นที่โปรดปรานและจงรักภักดีต่อข้าพเจ้าเป็นที่สุด กับทั้งเป็นที่ไว้วางใจของข้าพเจ้าอย่างยิ่งด้วย ด้วยข้าพเจ้าขอแนะนำเขาทั้งสองนี้มายัง พณ ท่าน แม้ว่า พณ ท่านจักต้องการสิ่งใดจากข้าพเจ้า หรือจักใคร่แจ้งกิจการอันใดแด่ข้าพเจ้า พณ ท่านไม่จำเป็นจะต้องเขียนจดหมายไปยังข้าพเจ้าบ่อย ๆ ให้ลำบาก ขอให้พูดหรือแจ้ง หรือบอก แก่ขุนนางทั้งสองนี้ คนใดคนหนึ่งก็ได้ แล้วและสั่งให้เขานำความกราบบังคมทูลแด่ข้าพเจ้าเถิด หรือถ้าบางเวลา พณ ท่านจักใคร่เขียนหนังสือไปยังข้าพเจ้าแล้ว ก็ขอให้ส่งไปกับ


๒๓๒ เขาทั้งสองนี้พร้อมกัน หรือแต่คนเดียวก็ได้ เขาทั้งสองนี้จะได้เชื่อฟังถ้อยคำของ พณ ท่านเสมอไป และถ้าหากว่า เขาแจ้งความ ใด ๆ ให้ พณ ท่านทราบด้วยวาจา ว่าข้าพเจ้าได้สั่งให้เขาแจ้งแก่ พณ ท่าน หรือให้ปรึกษาหารือกับ พณ ท่านแล้ว ข้าพเจ้าขอแนะนำด้วยความสัตย์ซื่อ ขอให้ พณ ท่านเชื่อโดยปราศจากความสงสัยเถิดว่า เป็นถ้อยคำหรือเป็นคำสั่งของข้าพเจ้าเองดังนี้ จงเชื่อข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าขอยืนยงคงเป็นมิตรอันซื่อสัตย์ของ พณ ท่าน

( พระปรมาภิไธย ) ส. พ. ป. ม. มงกุฎ พระเจ้ากรุงสยาม ป.ล. ข้าพเจ้าจะให้ขุนนางมหาดเล็กของข้าพเจ้า ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้นคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคน มาเยี่ยมเยือน พณ ท่าน ณที่สำนักทุก ๆ วันตลอดเวลาที่ พณ ท่านพักอยู่ในพระนครนี้ ( พระปรมาภิไธย ) ส. พ. ป. ม. มงกุฎ มายัง พณ ท่าน เซอร์ ยอน เบาริง ก., ลล. ด., และผู้มีอำนาจเต็ม ฝ่ายสมเด็จพระนางเจ้ากรุงอังกฤษ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ


๒๓๓ พระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังเซอร์ยอนเบาริงราชทูตอังกฤษ พ.ศ. ๒๓๙๘ ว่าด้วยเรื่องการยิงสลุดรับเซอร์ยอนเบาริง หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ แปล (๑)

ฉบับที่ ๔๓ พระที่นั่งราชฤดี พระบรมมหาราชวัง วันที่ ๓ เมษายน ค.ศ. ๑๘๕๕ เวลา ๔ ทุ่ม. มายังปรียมิตรของข้าพเจ้า ตามความที่ พณ ท่านได้สนทนากันวันนี้ กับขุนนางจางวางมหาดเล็กทั้งสอง ในเรื่องการยิงสลุด ๒๑ นัดแต่เรือแรตตเลอร์ ซึ่งจะได้ขึ้นมาถึงป้อมใหม่ใต้พระนครในวันพรุ่งนี้ จางวางมหาดเล็กทั้งสองได้แจ้งประเพณีของฝ่ายไทย และได้ห้ามมิให้ยิงสลุด ๒๑ นัดนั้น บัดนี้ข้าพเจ้าตกลงยอมอนุญาตให้ตามประเพณีของฝ่าย พณ ท่านและตามความประสงค์ของ พณ ท่าน ที่จะแสดงความเคารพยิ่งต่อข้าพเจ้านั้นแล้ว ฉะนั้น เพื่ออนุโลมตามความประสงค์ของ พณ ท่าน ข้าพเจ้าจึงได้ออกประกาศ ( พิมพ์กระดาษบาง ซึ่ง

(๑) พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๔ หน้า ๑๒


๒๓๔ ข้าพเจ้าได้สอดมากับหนังสือนี้แล้ว ๑ ฉบับ ) ห้ามมิให้ประชาชนพลเมืองตระหนกตกตื่น. ข้าพเจ้าจึงขออนุญาตให้ หรือยินยอมให้เรือไฟแรตตเลอร์ยิงสลุด ๒๑ นัดได้ ในเมื่อมาถึงทำเล ที่ได้จัดไว้ให้สำหรับทอดสมอใกล้ป้อมใหม่นั้น ครั้นเมื่อยิงนัดที่ ๒๑ เสร็จแล้วทางฝ่ายทหารในป้อมจะได้ยิงตอบจำนวนเดียวกัน ขอ พณ ท่านได้สั่งนายเรือแห่งเรือไฟของ พณ ท่าน ให้ยิงสลุดตามประเพณีของฝ่ายอังกฤษนั้นเถิด ทั้งนี้มีมาแต่มิตรของ พณ ท่าน

( พระปรมาภิไธย ) ส. พ. ป. ม. มงกุฎ พระเจ้ากรุงสยาม มายัง พ ณ ท่าน เซอร์ยอนเบาริง ก, ลล ด. ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ





๒๓๕ พระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังเซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษ พ.ศ. ๒๓๙๘ หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ แปล (๑)

พระที่นั่งราชฤดี พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพ ฯ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๕๕ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบันนี้ มายังท่านผู้เป็นที่เคารพ ข้าพเจ้าได้ถือโอกาศเขียนหนังสือมาถึง พณ ท่าน ๒ ครั้งแล้ว ทั้งเมื่อก่อนและภายหลังที่ได้รับหนังสือของ พณ ท่าน ลงวันที่ ๑๑ และที่ ๒๖ พฤษภาคมนี้ ส่งมาทางสิงคโปร์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ทราบว่าหนังสือของข้าพเจ้านั้น ๆ ตันกิมจิ๋งตัวแทนของข้าพเจ้า ได้ส่งต่อไปยัง พณ ท่านแล้วโดยทางเรือไฟ ในหนังสือฉบับท้ายของข้าพเจ้า ๆ ได้รับรองแก่ พณ ท่านไว้ว่า ข้าพเจ้าจะส่งของบางอย่างที่ต้องการไปให้ พณ ท่านโดยเรือของข้าพเจ้าชื่อ เนปตยูน อันจะเดินทางไปสู่ฮ่องกงนั้น ฉะนั้นในบัดนี้ ข้าพเจ้าจึงถือโอกาศประสาท

(๑) พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๔ หน้า ๑๔

๒๓๖ หนังสือไวยากรณ์ภาษาละติน และภาษาไทย ให้แก่ พณ ท่าน หนังสือเล่มนี้ ท่านสังฆราช จอห์น บัปติสต ปัลลกัวซ์ เป็นผู้แต่งและเป็นบรรณาธิการและได้พิมพ์ขึ้นในกรุงนี้ ๔ ปีมาแล้ว ในหนังสือเล่มนี้มีจดหมายเหตุและพงศาวดารสยามสั้น ๆ แสดงเป็นภาษาละตินสั้น ๆ รวมอยู่ด้วย แต่ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะต้องกล่าวว่า มีถ้อยคำคลาดเคลื่อนในกระบวนชื่อบ้านเมือง ฯ ล ฯ อยู่มาก และชื่อถิ่นที่บางแห่งในพงศาวดารนั้น ก็ผิดกันมากกับที่เรารู้ว่าเป็นชื่อที่จริง และที่ผู้แต่งหนังสือไทยอื่น ๆ ได้กล่าวไว้นั้น เพราะว่าท่านสังฆราชปัลลกัวซ์ ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ แม้จะได้ข้อความและความรู้ในเรื่องวรรณคดีมาจากบุคคลผู้มีความรู้มากอยู่ก็ดี แต่ก็ได้มาหลายปีมาแล้ว เมื่อท่านสังฆราชพึ่งเข้ามาถึงกรุงสยาม หรือเข้ามาถึงใหม่ ๆ นั้น อนึ่งซึ่งท่านสังฆราชจะบำเพ็ญตน เพื่อจะให้รอบรู้ในภาษาไทย ยิ่งกว่าที่จะ ปฏิบัติกิจการ อันจำเป็นแก่ฐานะที่เป็นผู้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ หรือสกุลที่เข้ารีดนับถือคฤสตศาสนาโรมันคาธอลิก ในกรุงสยามนี้นั้นก็เป็นการที่ทำไม่ได้อยู่เอง ด้วยเหตุนี้ ถ้อยคำหลายแห่งจึงผิดกันหรือผิดจากความเป็นจริงและถ้อยคำที่ถูก ข้าพเจ้าได้จดบันทึกลงในหน้าแห่งหนังสือซึ่งมีจดหมายเหตุ หรือพงศาวดารสังเขปของกรุงสยามพิมพ์อยู่นั้นแล้ว ๒ แห่ง อนึ่งข้าพเจ้าได้แต่งเรื่องสังเขปแห่งรายการเป็นไปของพระราชวงศ์ปัจจุบันนี้ จำเดิมแต่ที่เรารู้เรื่องราวมา ด้วยข้าพเจ้าคิดว่า พณ ท่านคงจะเปรียบเทียบกับสมัยในรัชกาลของพระเจ้ากรุงสยามแต่ก่อน ๆ ซึ่งมีกล่าวไว้ในหนังสือ

๒๓๗ ที่ว่านั้น ข้าพเจ้าจึงได้แนบเอกสารมาด้วยอีก ๒ ฉบับ แสดงเรื่องราวสังเขปแห่งพระราชวงศ์ของเรา ตั้งแต่สกุลเดิมแห่งบรรพบุรุษของเรา พณ ท่านคงจะว่า, โดยไม่ต้องสงสัย, ว่าเรื่องราวนี้สั้นนัก และไม่รู้ข้อความบริบูรณ์ แต่ก็ดูก่อนสิท่านปรียมิตรของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าหาเวลาไม่ได้จริง ๆ สำหรับที่จะแต่งเรื่องราวให้สมบูรณ์ตามความประสงค์ของข้าพเจ้า ด้วยมีอุปสรรคราชการมาทำให้ต้องงดเว้นอยู่เนืองนิตย์ฉะนี้ กับอีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ในภาษาอังกฤษเพียงพอ ที่จะแต่งให้เป็นผลสำเร็จบริบูรณ์ได้ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งข้าพเจ้าจะเอาตัวเขามาไว้กับข้าพเจ้าหลาย ๆ ชั่วโมง และหลาย ๆ วันไม่ได้ อนึ่ง ข้าพเจ้าขอส่งสำเนาอักษรไทยโบราณ ซึ่งได้เริ่มประดิษฐ์คิดขึ้นในกรุงสยามฝ่ายเหนือ เมื่อปีคฤสตศักราช ๑๒๘๒ นั้นมาให้ พณ ท่าน ๒ ฉบับ อักษรเหล่านี้ คัดมาจากหลักศิลาอันจารึกอักษรนั้น ๆ ไว้ ข้าพเจ้าได้เริ่มแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ พณ ท่านแล้ว แต่ข้าพเจ้ายังทำไม่แล้ว หรือยังทำไม่สำเร็จในคราวนี้ ข้าพเจ้าจึงจะส่งมาให้ พณ ท่านในโอกาศอื่นในเมื่อทำเสร็จแล้ว เพื่ออนุโลมตามคำขอของ พณ ท่าน ข้าพเจ้ากับน้องชายของข้าพเจ้า คือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายเราคนหนึ่ง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปรึกษากับ พณ ท่านในพระนครนี้ เมื่อเดือนเมษายนนั้น กำลังพยายามจะเตรียมแต่งพงศาวดารสยามอันถูกต้อง จำเดิมแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยาโบราณราชธานี เมื่อปี ค.ศ.

๒๓๘ ๑๓๕๐ นั้น กับทั้งในเรื่องพระราชวงศ์ของเรานี้ ก็จะได้กล่าวโดยพิสดาร (๑) ยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงมาให้ พณ ท่านทราบในคราวนี้ด้วย เราได้ลงมือแต่งแล้วเป็นภาษาไทย ในชั้นต้น เราเลือกสรรเอาเหตุการณ์บางอย่างอันเป็นที่เชื่อถือได้ มาจากหนังสือโบราณ ว่าด้วยกฎหมายไทยและพงศาวดารเขมรหลายฉบับ กับทั้งคำบอกเล่าของบุคคลผู้เฒ่า อันเป็นที่นับถือและเชื่อถือได้ ซึ่งได้เคยบอกเล่าให้เราฟังนั้นด้วย หนังสือซึ่งเราได้ลงมือเตรียมแต่งและแก้ไขอยู่ใน บัดนี้ ยังไม่มีข้อความเต็มบริบูรณ์เท่าที่เราจะพึงพอใจ เมื่อแต่งสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว เราจะได้ขอล่ามภาษาอังกฤษคนหนึ่ง มาจากมิชชันนารีอเมริกัน เพื่อให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และให้แก้ไขบรรดาชื่อสันสกฤตและชื่อไทย ให้ถูกต้องตามแบบไวยากรณ์สันสกฤต ซึ่งได้พิมพ์จำหน่ายณเบงกอลและลังกาเมื่อเร็ว ๆ นี้ และจะได้ส่งมาให้ พณ ท่าน เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ พณ ท่าน แต่ขอได้โปรดผ่อนเวลาให้บ้าง คือ ให้พอแก่การ เพราะว่าบางเวลา เราก็ทำการเตรียมแต่งเช่นนี้ไม่ได้ทุก ๆ วันไป ด้วยกิจการของเราหลายอย่าง ก็ต้องเป็นอันงดเว้นเป็นส่วนมากอยู่แล้ว ข้าพเจ้าใคร่จะขอหนังสือ พณ ท่านสักเล่มหนึ่ง คือหนังสือเรื่องคณะเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสมาเจริญทางพระราชไมตรี ในรัชสมัย

(๑) คือหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พิมพ์เมื่อ พ.ศ ๒๔๕๕ ๒๓๙ สมเด็จพระนารายน์ พระเจ้ากรุงสยามแต่ก่อนนั้น ฉบับหมายเลขที่ ๔ ในสมุดซึ่งส่งมาด้วยนี้ หนังสือเช่นนี้ข้าพเจ้าได้ยินว่า ท่านกงสุลแฮรรี ปาร์กส มีมาด้วยเล่มหนึ่ง ในเมื่อเข้ามากับ พณ ท่าน พณ ท่านจะหาหนังสือเช่นว่านี้ และส่งไปให้ข้าพเจ้าได้หรือไม่ ข้าพเจ้าคิดว่า หนังสือเล่มนั้น บางหน้าบางตอนคงจะช่วยให้เราแก้ไขประวัติที่เราจะแต่งขึ้นใหม่นี้ได้ ข้าพเจ้ามีหนังสือฝรั่งเศสแต่โบราณ ว่าด้วยคณะเอกอัครราชทูตครั้งนั้นเล่มหนึ่ง แต่ข้าพเจ้าอ่านไม่ออก ข้าพเจ้าได้แต่ดูรูปภาพ หรือแผ่นรูปและชื่อแห่งวัตถุต่าง ๆ เท่านั้น อนึ่งข้าพเจ้าจักมีความยินดีที่จะได้หนังสือสักเล่มหนึ่ง ว่าด้วยรายการที่คณะเอกอัครราชทูตสยามไปเจริญทางพระราชไมตรียังกรุงฝรั่งเศส เพื่อเป็นการตอบแทนในรัชกาลอันเดียวกันนั้น คณะเอกอัครราชทูตนี้กล่าวกันว่า บรรพบุรุษของเราคนหนึ่งได้เป็นหัวหน้า ในกรุงสยามนี้ก็มีจดหมายเหตุรายการ หรือรายละเอียดแต่งขึ้นไว้ นัยว่าเป็นจดหมายเหตุของคณะเอกอัครราชทูต ในเมื่อกลับมาจากฝรั่งเศส แต่สำนวนและข้อความไม่เป็นที่พอใจเราจะเชื่อได้ เพราะว่าเป็นการกล่าวเกินความจริงไปมาก กับทั้งขัดต่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเรารู้อยู่ในเวลานี้ ว่าเป็นการเป็นไปที่แท้ที่จริงแห่งโลกนั้นมาก ด้วยผู้แต่งจดหมายเหตุของคณะเอกอัครราชทูตสยามในครั้นนั้น คงจะคิดว่าไม่มีใครในกรุงสยามจะได้ไปดูไปเห็นประเทศฝรั่งเศสอีกเลย ขอ พณ ท่านจงรับลูกดุมทองคำไว้ ๖ เม็ด เป็นลูกดุมห้อย หรือต่อกับสายสร้อยทองคำ ซึ่งช่างทองของเราเป็นผู้ทำ ได้ลงมือทำสำหรับเป็นของขวัญเพื่อให้ พณ ท่าน ในเมื่อ พณ ๒๔๐ ท่านมาราชการในพระนครนี้ แต่เมื่อก่อน พณ ท่านออกเดินทางไปจากนี้นั้น ยังไม่แล้วดี จึงตกค้างอยู่ที่นี่ ข้าพเจ้าได้ปากกาทองคำ ซึ่งทำดีขึ้นใหม่ ๆ นี้ มาจากเมืองอังกฤษ ๒ เล่ม ช่างทองของเราได้ทำตามแบบเดิม และได้ทำเทียมหัตถกรรมอันงดงามนี้ ทั้งประณีตและคล้ายกับหัตถกรรมของชาว ยุโรปนั้นมาก ปากกาทองคำที่ช่างทองทำขึ้นนี้ กับทั้งด้ามกาไหล่ทองเบา ๆ สำหรับกันนั้น ข้าพเจ้าขอส่งมาพร้อมกับลูกดุม ซึ่งข้าพเจ้าให้ พณ ท่านเป็นของขวัญนั้นด้วย ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า พณ ท่านคงจะพอใจรับไว้สำหรับความสบายในการเขียน ด้วยเบาดีมากและหนักกว่าปากกาธรรมดาแต่เพียงนิดหน่อยเท่านั้น ทั้งจิ้มหมึกครั้งหนึ่งก็ได้หมึกไว้มากกว่าปากกาธรรมดาทุกชะนิด ในโอกาศนี้ ข้าพเจ้าขอส่งนายทัต ข้าในกรมของบุตรชายใหญ่ของข้าพเจ้า คือพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสให้มาเยี่ยม พณ ท่าน กับทั้งส่งหนังสือและของขวัญของข้าพเจ้าซึ่งส่งมาโดยเรือ เนปตยูน และขอยืนยงคงเป็น มิตรอันซื่อสัตย์ของ พณ ท่าน ( พระปรมาภิไธย ) ส. พ. ป. ม. มงกุฎ สยามมินทร์ มายัง พณ ท่าน เซอร์ยอนเบาริง ก. ลล. ด. ผู้ดูแลการค้าขายในประเทศจีน และผู้สำเร็จราชการเมืองฮ่องกงกับเขตต์สังกัดทั้งหลาย ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ๒๔๑ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับเซอร์ยอนเบาริงราชทูตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดของไปทักทูตอังกฤษที่เมืองสมุทรปราการ

ด้วยท่านผู้สำเร็จราชการในกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระยาราชวังสัน พระยามหาอัครนิกร พระยาสมุทรบุรานุรักษ์บอกขึ้นมาว่า ณวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีเถาะ ยังเป็นฉอศก ( พ.ศ. ๒๓๙๗ ) อยู่เพลาเช้าเห็นกำปั่นไฟมาทอดอยู่นอกสันดอนก่อนลำหนึ่ง จะเป็นกำปั่น ทูตอังกฤษหรือทูตเมืองอเมริกันยังหาได้ความชัดไม่ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดน้ำตาลกาแฟใบชากล้วยส้มส่งลงไป ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์เตรียมไว้คอยทักทูต ที่เมืองสมุทรปราการ ตามเยี่ยงอย่างแต่ก่อน ถ้าเป็นกำปั่นทูตเป็นแน่ก็จะให้ทักเสียทีเดียวนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังสินค้าจัดกาแฟหนัก ๕๐ ชั่ง ให้เจ้าพนักงานพระคลังในซ้ายจัดน้ำตาลทรายขาวหนัก ๕๐ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ให้เจ้าพนักงานกรมท่าซ้าย จัดใบชาหีบใหญ่หีบหนึ่ง กล้วย ๕๐ เครือ มะพร้าวอ่อน ๑๐๐ ทะลาย ให้พระแก้วพระคลังสวนจัดส้มโอ ๓๐๐ ผล แล้วให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดสิ่งของลงไปส่งให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ณเมืองสมุทรปราการ


๒๔๒ แต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาเช้าเป็นการเร็ว อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๒ เรื่องจัดสิ่งของ ๆ หลวงไปทักทูตอังกฤษที่เรือกลไฟ

ด้วยท่านผู้สำเร็จราชการกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำปั่นไฟเซอร์ยอนเบาริงทูตอังกฤษเข้ามาทอดอยู่ที่หน้าป้อมปิดปัจจนึกตัวเซอร์ยอนเบาริง ขึ้นมาพักอยู่ที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศาราม ทหารกลาสี พักอยู่ในกำปั่นไฟนั้น แต่ก่อนเป็นอย่างธรรมเนียมทูตมาจากต่างประเทศเกณฑ์ให้ขุนศาลมหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ เวียนกันเอาสิ่งของไปทักแขกเมืองกว่าแขกเมืองจะกลับไป และเมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์เยียมสับรุกทูตอังกฤษเข้ามาครั้งนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้เกณฑ์จีนเจ้าภาษีเวียนกันเอาสิ่งของไปทักแขกเมืองครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่าจะเกณฑ์ให้เจ้าภาษีเวียนกันเอาสิ่งของไปทักเหมือนอย่างเมื่อครั้งเซอร์เยียมสับรุกนั้น ก็เป็นที่เบียดเบียฬเจ้าภาษีอาการไป จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ เบิกเงินหลวงออกซื้อสิ่งของไปพระราชทานทูตครั้งนี้ เพื่อจะให้เฉลิมพระเกียรติยศแก่นานาประเทศ เมื่อกำปั่นไฟกำปั่นรบ ๒ ลำยังอยู่นอกสันดอน แล้วเข้ามาอยู่เมืองสมุทร ปราการ ก็โปรดให้เจ้าพนักงานซื้อของส่งแขกเมืองมิให้อดอยาก

๒๔๓ เดี๋ยวนี้กำปั่นไฟขึ้นมาทอดอยู่ที่ป้อมปิดปัจจนึก แล้วให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติจัดซื้อสุกร เป็ดไก่ เผือกมันผลไม้ต่าง ๆ เครื่องกับข้าวพอสมควรไปทักแขกเมืองที่กำปั่นไฟแต่ณวันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำไป แล้วเว้น ๓ วัน มาทักครั้งหนึ่ง กว่าแขกเมืองจะกลับไปและสิ่งของที่จะเอาไปทักนั้น ครั้นจะกำหนดมามากและน้อยก็มิได้ พระนายบาภักดีก็ทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยงเป็นอธิบดีผู้ใหญ่มีสติปัญญาอยู่แล้ว ให้จัดไปทักให้สมควรกับการเถิด เมื่อจะเอาของไปทักทูตครั้งไรให้บอกบัญชีต่อพระสุธรรมไมตรีให้รู้ด้วยจงทุกครั้ง จะได้จัดล่ามพนักงานนำเอาสิ่งของไปส่งที่กำปั่น อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการ เอาไต้ไปจ่ายให้แขกเมืองใช้ที่ตึกหลวงหน้าวัดประยูรวงศาราม พอสมควรอย่าให้แขกเมืองขัดสน เมื่อจะเอาไต้ไปจ่ายครั้งไร ก็ให้บอกบัญชีต่อพระสุธรรมไมตรีให้รู้ด้วยจงทุกครั้ง ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๓ เรื่องพระราชทาน เบี้ยเลี้ยงทูต

ด้วยท่านผู้สำเร็จราชการกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าแผ่นดินอังกฤษเมืองวิลาศ แต่งให้เซอร์ยอนเบาริง เจ้าเมืองฮ่องกง ผู้สำเร็จราชการในเมืองจีน เป็นทูตเข้ามา ลำดับทางพระราชไมตรีกรุงเทพ ฯ กับอังกฤษให้ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

๒๔๔ บัดนี้เซอร์ยอนเบาริง ขึ้นมาพักอยู่ตึกหลวงหน้าวัดประยูรวง ศารามแล้ว แต่ก่อนเป็นอย่างธรรมเนียม ถ้าทูตมาแต่ต่างประเทศโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัดเอาเงินหลวงไปพระราชทานทูตเป็นค่ากับข้าวของกินเสมอทุกเดือนกว่าทูตจะกลับไป และเมื่อเซอร์ เยียมสับรุกเป็นทูตเข้ามาครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่นั้น ก็โปรดพระราชทานเงินหลวงไปเป็นค่ากับข้าวของกินเดือน ละ ๓ ชั่ง ด้วยครั้งนั้นเซอร์เยียมสับรุก หาได้เอากำปั่นขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ ไม่ ครั้งนี้โปรดให้เซอร์ยอนเบาริง เอากำปั่นมาณกรุงเทพ ฯ มีอังกฤษนายไพร่ขึ้นมาด้วยมาก โปรดให้เอาเงินหลวงพระราชทานเซอร์ยอนเบาริงเพิ่มขึ้นอีก เป็นเงิน ๕ ชั่ง เสมอทุกเดือนกว่าจะกลับไปนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังวิเศษไปเบิกต่อเจ้าพนักงานชาวพระคลังมหาสมบัติ ไปพระราชทานเซอร์ยอนเบาริง กำหนดเดือนละครั้ง ตั้งแต่ณวันเดือน ๕ ปีเถาะยังเป็นฉอศกไป จงเสมอทุกเดือนกว่าทูตจะกลับไป เมื่อจะเอาเงินไปพระราชทานแขกเมืองนั้นให้บอกบัญชีต่อพระสุธรรมไมตรีให้รู้ด้วยจงทุกครั้ง อนึ่งให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ จ่ายเงินให้ชาวพระคลังวิเศษไปพระราชทานทูตเดือนละ ๕ ชั่ง ตั้งแต่ณวัน เดือน ๕ ปีเถาะยังเป็นฉอศกไป เสมอทุกเดือนกว่าทูตจะกลับไป อย่าให้ขาดตามรับสั่ง


๒๔๕ ฉบับที่ ๔ ให้จุดไฟรายทางรับราชทูตเข้าเฝ้า

ด้วยจมื่นจงซ้ายรับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันศุกร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ เพลาค่ำ แขกเมืองเข้ามาเฝ้านั้น โปรดเกล้า ฯ ให้จุดตะเกียงช่องใบเสมาประตูพิมานชัยศรี ๕๔ ตะเกียง โคมแขวนทิมสงฆ์ ๖ โคมนั้น ให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้แก่ขุนหมื่นวังนอก ๓๐ ทนาน ให้เร่งจ่ายให้แต่ณวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ เพลาบ่าย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๕ หมายกำหนดการเสด็จออกรับแขกเมือง

ด้วยท่านเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการกรมท่า รับพระบรมราชโอง การใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าวิกตอเรียเจ้าเมืองวิลาศ ซึ่งเป็นใหญ่ในชาติอังกฤษ แต่งให้เซอร์ยอนเบาริงเจ้าเมืองฮ่องกง ผู้สำเร็จราชการเมืองจีน เป็นทูตเข้ามาลำดับทางพระราชไมตรี ซึ่งอังกฤษกับไทยได้รักใคร่กันมาแต่ก่อนให้ยิ่งขึ้น แล้วให้เซอร์ยอนเบาริงทำหนังสือสัญญาเสียใหม่ ให้ดีด้วยกันทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษนั้น กำหนดเซอร์ยอนเบาริงจะได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณวันจันทร์ เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ

๒๔๖ ปีเถาะยังเป็นฉอศก เพลาเช้าเสด็จออกรับแขกเมืองอย่างแขกเมืองประเทศใหญ่นั้น ให้มหาดไทย กลาโหม กรมพระสัสดี หมายบอกเจ้าพนักงานและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหาร พลเรือน ในพระบรมมหาราชวังจงทุกพนักงาน เมื่อวันแขกเมืองเข้าเฝ้านั้น ให้นุ่งสม ปักลาย ใส่เสื้อเข้มขาบชั้นใน เสื้อครุยขาวชั้นนอก อนึ่งให้ชาวที่กรมวัง แต่งที่รับเสด็จบนพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมานแห่งหนึ่ง ที่โรงพระวิสูตรรัตนกริณีแห่งหนึ่ง แต่งที่ แล้วให้เชิญพระเก้าอี้หุ้มทองคำ และที่ตั้งพานพระขันหมากเครื่องราชบริโภคตั้งด้วยแห่งหนึ่ง อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศ เอาพรมใหญ่ที่ใหม่งามดี ไปปูในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแห่งหนึ่ง ที่ทิมดาบไว้กลองแห่งหนึ่ง แล้วให้จ่ายพรมให้จ่าศาลา ปูศาลาลูกขุนในฝ่ายขวาที่พักแขกเมือง อนึ่งให้จ่าศาลายืมพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ไปปูที่ศาลาลูกขุนฝ่ายกลาโหมแห่งหนึ่ง อนึ่งให้กรมท่าจัดเก้าอี้ไปตั้งให้ฝรั่งนั่งที่ศาลาลูกขุนฝ่ายกลาโหมให้พอ อนึ่งให้มหาดเล็กพนักงานน้ำร้อน จัดเครื่องน้ำชา กาแฟ ไปคอยเลี้ยงแขกเมืองณศาลา อนึ่งให้ชาวพระคลังมหาสมบัติ เอาพานทอง ๒ ชั้นเข้าไปตั้งไว้ในพระที่นั่ง คอยรับหนังสือที่เซอร์ยอนเบาริงจะทูลเกล้า ฯ ถวาย


๒๔๗ อนึ่งให้ชาวพระอภิรม จัดเครื่องเจ็ดชั้น ๒ เครื่อง ห้าชั้น ๑๐ เครื่อง ชุมสาย ๔ หักทองขวาง เข้าไปตั้งในพระที่นั่ง อนึ่งให้กรมแสงใน กรมแสงต้น จัดพระแสงทวน พระแสงปืนให้กำนัลเชิญเข้าไปในพระที่นั่ง แล้วให้จัดพระแสงหอก พระแสงทวน พระแสงง้าว ส่งให้มหาดเล็กตามอย่างแต่ก่อน อนึ่งให้ชาวพระมาลาภูษา จัดพระมหาพิชัยมงกุฎ จัดพานพระภูษา และพระกลด เชิญเข้าไปตั้งในพระที่นั่ง อนึ่งให้พระนรินทรเสนี พระศรีสหเทพ พันพุฒอนุราช พันเทพราช เกณฑ์พระหลวงขุนหมื่นนั่งทิมดาบกรมวัง ๑๕๐ คน นั่งทิมสงฆ์ ๕๐ คน นั่ง (ศาลา) ลูกขุนซ้าย ๘๐ คน นั่ง (ศาลา) ลูกขุนขวา ๘๐ คน นั่งทิมคดหน้าพระมหาปราสาท ๖๐ คน นั่งทิมดาบชั้นใน ๓ ทิม ๓๐๐ คน เกณฑ์ไพร่ยืน ๒ ฟากถนนนอกประตูพิมานชัยศรีถือเครื่องอาวุธต่าง ๆ ถือดาบ ๒ มือ ๑๒๐ คน ถือดาบเขน ๑๒๐ คนถือดาบดั้ง ๑๒๐ คน ถือง้าว ๑๒๐ คน ถือตรี ๑๒๐ คน ถือกระบอง ๑๒๐ คน ถือทวนทอง ๑๒๐ คน ถือธนูหางไก่ ๑๒๐ คน ถือหอกคู่ ๑๒๐ คน ถือเสโลห์ ๑๒๐ คน ถือทวนจีน ๑๒๐ คน ถือปืนหลังม้า ๑๒๐ คน ถือดาบชะเลย ๑๒๐ คน ถือดาบโล่ห์ ๑๒๐ คน ถือดาบกระเหรี่ยง ๑๒๐ คน รักษาพระองค์ถือปืนทองปลาย ๑๐๐ คน ถือปืนปลายหอกรักษาประตู ๑๐๐ คน เกณฑ์หัดถือปืนรางแดง ๒๐๐ คน ถือกระบองกลึง ๑๖ คน ถือแส้หวาย ๔ คน ถือแส้หางม้า ๔ คน ถือกรรชิงเกล็ด ๒ คน ถือโต๊ะกล้วยโต๊ะอ้อย ๕ คน

๒๔๘ อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษ จ่ายผ้าขาวเทศให้ ๔ ตำรวจทำเพดานปรำพระยาช้างพระยาม้า อนึ่งให้หลวงมหามนเทียรกรมแสงสรรพยุทธ จัดเครื่องดาว เครื่องกุดั่น เครื่องถมปัดลูกภู่สำหรับช้างพระที่นั่ง ประดับช้างพระที่นั่งให้งามดี อนึ่งให้กรมม้า จัดเครื่องม้าพระที่นั่ง ผูกม้าพระที่นั่งประดับให้งามดี แล้วให้กรมช้าง กรมม้า จัดพระยาช้าง พระยาม้า มาผูกยืนตามที่แต่งไว้เหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้กรมแสงในซ้าย กรมแสงสรรพยุทธ คลังเสื้อหมวกคลังวิเศษ จ่ายเครื่องอาวุธ ๑๔ อย่าง ๆ ละ ๑๒๐ เสื้อหมวกกางเกงเกี้ยวลายให้แก่ผู้ต้องเกณฑ์ให้ครบจำนวน อนึ่งให้ขุนมหาสิทธิโวหาร ขุนอักษรประเสริฐ กรมพระอาลักษณ์ ทูลเบิกแขกเมือง เมื่อทรงพระราชปฏิสันถาร ๓ ครั้งแล้ว ให้อาลักษณกราบทูลสืบคำแขกเมืองต่อไป อนึ่งให้เจ้าพระยาและพระยา ฝ่ายทหารพลเรือน เอาพานทอง โต๊ะทอง ถาดทอง เครื่องยศสิ่งของซึ่งได้รับพระราชทานเข้าไปตั้งกิน ในที่เฝ้าตามตำแหน่งจงทุกคน อนึ่งให้ชาวพระคลังมหาสมบัติ เอาเจียดทอง เจียดถม เข้าไปตั้งให้ขุนนางตามตำแหน่ง แล้วให้เอากระโถนถมตะทอง ขันน้ำถมตะทอง เข้าไปตั้งให้แขกเมืองในที่เฝ้า ๒ สำรับ


๒๔๙ อนึ่งให้ขุนนางจีน ขุนนางแขก ขุนนางฝรั่ง ขุนนางพะม่า ขุนนางทวาย ขุนนางมอญ ขุนนางลาว แต่งตัวตามเพศของตัวให้เข้ามาพร้อมกันในที่เฝ้า อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษ คอยรับเครื่องราชบรรณาการเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายตามอย่างแต่ก่อน อนึ่งเมื่อเสด็จออก ให้มหาดเล็กตีกรับสัญญาแล้วให้ตัวสี่ชาววังชักม่านสองไข แล้วให้ชาวนาฬิกาประโคมมโหระทึกขึ้น เมื่อเสด็จออกแล้ว ให้หลวงราชมาณูชูดอกไม้ทองเป็นสัญญา ให้ห้ามประโคมกลองชะนะ แตรสังข์ เมื่อเสด็จออกเสด็จขึ้นทั้งสองครั้ง อนึ่งให้นายประภาษมนเทียรปลัดวังซ้าย นายเสถียรรักษาปลัดวังขวา ออกไปรับแขกเมือง แล้วให้หลวงราชฤทธานนท์ หลวง นนทเสนกับล่ามพนักงาน นำแขกเมืองเดินเป็นคู่ ๆ กันเข้าประตูพิมานชัยศรี แล้วให้นำเข้าไปในพระทวารพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ครั้นถึงที่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมานในที่เฝ้าแล้ว ให้กราบถวายบังคม ๓ ครั้ง อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัล ตั้งหมากเวียนให้แขกเมืองรับพระราชทาน แล้วให้ตำรวจหน้า ตำรวจวัง คอยห้ามปาก ห้ามเสียงห้ามสูงห้ามต่ำตัดหน้าฉานตามอย่างแต่ก่อน อนึ่งถ้าเสด็จขึ้นแล้ว ให้ข้าราชการและแขกเมืองกราบถวายบังคม ให้ชาววังชักม่านสองไขปิดเสีย ถ้าแขกเมืองยังไม่ลุกจากที่ให้ข้าราชการนั่งสงบอยู่ อย่าให้ลุกเดินไปเดินมาเป็นอันขาดทีเดียว

๒๕๐ ถ้าแขกเมืองกราบถวายบังคมลุกจากที่แล้ว ให้หลวงราชฤทธานนท์ หลวงนนทเสน จัดคนถือกระบองทอง ๔๐ คน ถือกระบี่ฝักหนัง ๒ คน ยืนที่ในหว่างประตู ๒ ชั้น ให้เบิกกระบองทอง เบิกกระบี่ฝักหนังต่อกรมแสงใน แล้วให้ขุนหมื่นคุมไพร่ข้างละคน แล้วล่ามพนักงานนำแขกเมืองออกมาพักอยู่ที่ทิมดาบชาววังชั้นในก่อน ให้ขุนนางออกไปสิ้นแล้ว จะเสด็จออกพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ ไปประทับที่โรงพระวิสูตร์รัตนกริณีนั้น ให้ชาวพระราชยานเชิญพระที่นั่งทองคำคอยเสด็จที่เกย อนึ่งให้เจ้าพนักงานอภิรม พนักงานราชยาน จัดแคร่มีเก้าอี้ตั้ง จัดสัประทน แล้วจัดแคร่ตามอย่างธรรมเนียมขุนนางไทยขี่นั้น ๑๑ แคร่ ให้มีสัประทนคนหามให้ครบ ลงไปเตรียมคอยรับทูตที่ประตูท่าพระ อนึ่งให้มหาดเล็กรับพานพระขันหมากต่อท่านเจ้าพนักงานข้างในเชิญไปตั้งที่พระที่นั่ง แล้วเชิญไปตั้งที่โรงพระวิสูตร์รัตนกริณีด้วย อนึ่งให้กรมพระสัสดีขวา หมายบอกเจ้ากรม ปลัดกรม ให้ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอกรมสมเด็จพระเดชาดิศร ๑ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ๑ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ ๑ กรมหลวงมหิศวรรินทรามเรศ ๑ รวม ๔ พระองค์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ๑ กรมขุนสรรพศิลปปรีชา ๑ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ๑ กรมขุนสถิตย์สถาพร ๑ กรมหมื่นถาวรวรยศ ๑ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ๑ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล ๑ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ๑ กรมหมื่น วรจักรธรานุภาพ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา ๑ รวม ๑๐ พระองค์

๒๕๑ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ ๑ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ ๑ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๑ กรมหมื่นราชสีหวิกรม ๑ กรมหมื่นอุดมลักษณสมบัติ ๑ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี ๑ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ๑ รวม ๗ พระองค์ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ๑ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ ๑ รวม ๒ องค์ รวมทั้งสิ้น ๒๓ พระองค์ให้แต่งพระองค์ผ้าทรงเขียนทองพื้นสี ฉลองพระองค์อย่างน้อยข้างในครุยกรองสีข้างนอก แล้วให้เอาพานหมากเสวยพระเต้าบ้วนพระโอษฐน้อย เข้าไปตั้งในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเหมือนครั้งเสด็จออกแขกเมืองครั้งก่อน แล้วให้เชิญเสด็จเข้ามาให้พร้อมกันจงทุกพระองค์ แต่ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้า ให้เจ้าพนักงานเตรียมให้พร้อมตามกำหนด ถ้าขัดขวางสงสัยที่ข้อไหน ให้ไปเฝ้าทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลาก่อน ในเจ้าพนักงานเตรียมการให้พร้อม จะกำหนดเมื่อไรให้ไปฟังดูที่ศาลาลูกขุน จงทุกพนักงานตามรับสั่ง ฯ ฉบับที่ ๖ เรื่องจ่ายเลขเข้ากระบวนตั้งรับแขกเมือง

ด้วยเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดแขกเมืองจะเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำปีเถาะยังเป็นฉศก


๒๕๒ เพลาเช้า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่า ให้จ่ายเลขให้กรมช้างถือแส้หวาย ๔ แส้ห้างม้า ๔ ( รวม ) ๘ ถือกระบองกลึง ๑๖ คน ( รวม ) ๒๔ จ่ายให้อภิรมถือกรรชิงเกล็ด ๒ ราชมันถือโต๊ะ กล้วย อ้อย ๕ รวม ๓๑ คนยังหาพอไม่นั้น ให้พันพุฒอนุราช พันเทพราช จ่ายเลขเพิ่มขึ้นอีก ให้กรมช้างถือแส้หวาย ๘ คน ถือแส้หางม้า ๒ คน ( รวม ) ๑๐ กับถือกระบองกลึง ๑๔ คน ( รวม ) ๒๔ ให้แก่อภิรมถือกรรชิงเกล็ด ๑๐ คน ให้แก่ราชมันถือเครื่องยศ กล้วย อ้อย หญ้า หม้อน้ำ ๑๙ คน รวม ๕๓ คน ให้เร่งจ่ายแต่ณวันอาทิตย์เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำเพลาบ่ายให้ทันกำหนด จะได้เอาไปคอยเตรียมรับแขกเมืองณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้า อนึ่งให้กรมช้างรับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช รวม ๒๔ คน แล้วให้เบิกแส้หวาย ๘ แส้หางม้า ๒ ( รวม ) ๑๐ กระบองกลึง ๑๔ มงคลแดง ต่อคลังแสงสรรพยุทธ์แล้ว ให้เบิกกางเกงริ้วทองรุ้งเกี้ยวลายต่อชาวพระคลังเสื้อหมวก มานุ่งห่มคอยเตรียมรับแขกเมือง ณโรงช้าง ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้าให้ทันกำหนด อนึ่งให้อภิรมจัดกรรชิงเกล็ดอีก ๑๐ คัน ให้รับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช ๑๐ คน นุ่งกางเกงยศ ใส่เสื้อมัศรู มาคอยเตรียมรับแขกเมืองณโรงช้างให้ทันกำหนด ฯ อนึ่งให้ราชมันกรมวังรับเลขต่อพันพุฒอนุราชพันเทพราช ๑๙ คน ให้เบิกกางเกงริ้วทองรุ้งเกี้ยวลาย ต่อชาวคลังเสื้อ หมวก แล้วให้รับโต๊ะเงินใส่กล้วย ๓ อ้อย ๓ หญ้า ๓ ( รวม ๙ ) โต๊ะทองขาวใส่

๒๕๓ กล้วย ๓ อ้อย ๓ หญ้า ๓ (รวม ๙ ) ( รวม ) ๑๘ ใบต่อวิเศษแล้วให้รับหม้อน้ำเงิน ๓ หม้อน้ำทองขาว ๓ ( รวม ) ๖ ใบใส่น้ำต่อขุนศรีสยุมพรมาคอยรับแขกเมืองณโรงช้าง ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้าให้ทันกำหนด อนึ่งให้คลังแสงสรรพยุทธ์จ่ายแส้หวายแส้หางม้า กระบองกลึง ให้คลังเสื้อหมวกจ่ายกางเกงเสื้อหมวก ให้คลังวิเศษจ่ายเกี้ยวลายให้แก่ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ แต่ณวันอาทิตย์เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ เพลาบ่าย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดการเพิ่มเติม

ด้วยท่านเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่าเซอร์ยอนเบาริงแขกเมืองอังกฤษจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ในพระ ที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้านั้น แจ้งอยู่ในหมายครั้งก่อนนั้นแล้ว บัดนี้สิ่งของยังขาดอยู่ให้เพิ่มเติมขึ้นอีกนั้น ให้สนมพลเรือนรับพวงมาลัยใส่ตะลุงหน้า ๑ หลัง ๑ รวม ๒ พวง รับภู่กลิ่นแขวนต่อท่านข้างในไปแขวนที่โรงพระวิสูตรรัตนกริณีแต่ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้า อนึ่งให้ชาวพระอภิรมจัดกรรชิงเกล็ดปักราวพระวิสูตรรัตน กริณี ๒ ถือที่แท่นพระยา ๒ รวม ๔ คัน

๒๕๔ อนึ่งให้แสงปืนต้นจัดปืนคาบศิลารางเขียว ๗บอก กำนัล ๗ คน ขึ้นนั่งหลังช้างทั้งเจ็ดช้างตามรับสั่ง ฉบับที่ ๘ เรื่องจัดเรือรับแขกเมือง

ด้วยท่านเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการในกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าวิกตอเรียเมืองวิลาศ ซึ่งเป็นใหญ่ในชาติอังกฤษ แต่งให้เซอร์ยอนเบาริงเจ้าเมืองฮ่องกงผู้สำเร็จราชการฝ่ายเมืองจีนเป็นทูตเข้ามา ลำดับทางราชไมตรีณกรุงเทพ ฯ กำหนดเซอร์ยอนเบาริงกับขุนนางอังกฤษซึ่งเข้ามากับเซอร์ยอนเบาริง จะได้เข้าเฝ้าทูลละอองออกใหญ่ ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำปีเถาะยังเป็นฉศกเพลาเช้านั้น เซอร์ยอนเบาริงว่าขุนนางอังกฤษซึ่งจะเข้ามาเฝ้ากับเซอร์ยอนเบาริง ๒๑ คน จะขอเรือหลวงขี่เข้าไปเฝ้า นั้น ให้มหาดไทย กลาโหม พันพุฒอนุราช พันเทพราช เกณฑ์เรือหลวง เกณฑ์เลขบรรจุพลพายให้ครบกระทง เร่งลงไปรับเซอร์ยอนเบาริง กับขุนนางอังกฤษที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม ขี่เข้าเฝ้าแต่ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำปีเถาะยังเป็นฉศก เพลาย่ำรุ่งให้พร้อมกัน และเจ้าพนักงานซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ จัดเรือสิ่งใด ตกแต่งเรืออย่างใด จะเป็นสักกี่วา ถ้าไม่เข้าใจให้ไปทูลถามพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

๒๕๕ ฉบับที่ ๙ อธิบายเรื่องเรือรับราชทูต

ด้วยเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการในกรมท่ารับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งหมายสั่งไปแต่ก่อนว่า กำหนดเซอร์ยอนเบาริงกับขุนนางอังกฤษ ๒๑ คนจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ออกใหญ่ ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้าให้มหาดไทยกลาโหม เกณฑ์เรือหลวงให้พันพุฒอนุราช พันเทพราช เกณฑ์เลขบรรจุพลพายให้ครบกระทงลงไปรับเซอร์ยอนเบาริง ณตึกหลวง หน้าวัดประยุรวงศาราม ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้าให้พอนั้นความแจ้งอยู่ในหมายแต่ก่อนนั้นแล้ว แต่ความซึ่งว่าให้จัดเรือหลวงนั้นหาชัดไม่นั้น ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์เรืออสุรวายุภักษ์ลำ ๑ เรือมังกร ๒ ลำ เรือเหรา ๒ ลำ เรือกิเลน ๒ ลำ (รวม) ๗ ลำ ที่เกณฑ์ลงไปรับเซอร์ยอนเบาริงที่เมืองสมุทร ปราการครั้งก่อน แล้วให้พันพุฒอนุราช พันเทพราชเกณฑ์เลขลงบรรจุเรือใส่เสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดงให้ครบกระทงจงทุกลำให้ดาดหลังคาตกแต่งเรือทำให้เหมือนอย่างเมื่อลงไปรับเซอร์ยอน เบาริงที่เมืองสมุทรปราการ แล้วให้นายเรือจัดเสื่ออ่อนปูให้เต็มให้มีหมอนอิงจงทุกลำ แล้วให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งแต่งเรือลงไปรับเซอร์ยอนเบาริงแต่ณวันจันทร์เดือน ๕ แรม๗ ค่ำปีเถาะยังเป็นฉศกเพลาเช้า


๒๕๖ ย่ำฆ้องรุ่งให้ทันกำหนด ให้เจ้าพนักงานฟังเอาหมายนี้เป็นแน่ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๐ เลื่อนกำหนดแขกเมืองเข้าเฝ้า

ด้วยเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการกรมท่ารับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่าเซอร์ยอนเบาริงกับขุนนางทหาร แขกเมืองจะเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ นั้น บัดนี้กำหนดแขกเมืองจะได้เข้าเฝ้าณวันพุธ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ ปีเถาะสัปตศกเพลาเช้าเป็นแน่นั้น ให้มหาดไทยกลาโหมกรมสัสดี พันพุฒอนุราช พันเทพราชหมายบอกเจ้าพนักงานซึ่งเกณฑ์กระบวนบกกระบวนเรือ รับแขกเมืองตามหมายรับสั่ง ซึ่งสั่งมาแต่ก่อน ให้รู้จงทั่วทุกพนักงาน และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรมตามกำหนด จะนุ่งจะห่มนั้นให้เอาตามข้อรับสั่งเดิม และผู้ต้องเกณฑ์แต่ก่อนนั้นเตรียมการให้พร้อมจงทุกพนักงาน อนึ่งให้สนมพลเรือนรับพวงมาลัยภู่กลิ่น ต่อท่านข้างใน ไปแขวนโรงพระวิสูตร์รัตนกริณีให้พร้อม อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๑ เรื่องจัดเรือ ๕ ลำรับแขกเมือง

ด้วยเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการกรมท่ารับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่า ๒๕๗ เซอร์ยอนเบาริงกับขุนนางทหาร แขกเมืองจะเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ นั้น บัดนี้กำหนดแขกเมืองจะได้เข้าเฝ้าณวันพุธ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำปีเถาะสัปตศกเพลาเช้าเป็นแน่นั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอกล้อมวังซ้าย เรือมังกรจำแลงลำ ๑ ล้อมวังขวา เรือมังกรแผลงฤทธิ์ลำ ๑ อาษาใหม่ กรมวังซ้าย เรือเหราล่องลอยสินธุ์ลำ ๑ อาษาใหม่กรมวังขวา เรือเหรา ลินลาสมุทรลำ ๑ อาษาวิเศษขวา เรือวายุภักษ์ลำ ๑ รวม ๕ ลำ และให้ ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ รับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้ครบกระทง แล้วให้ยกเรือลงน้ำแต่ณวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำเช้า ครั้นรุ่งขึ้นณวันพุธ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำเช้า ให้ถอยเรือไปรับแขกเมืองให้มีเสื่ออ่อนหมอนอิงจงทุกลำ แต่เรือวายุภักษ์ให้มารับเอาพรม ที่วังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา พลพายใส่เสื้อแดง กางเกงแดง หมวกแดง นุ่งห่มตามรับสั่งเดิม ให้ทันตามกำหนดตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๒ เกณฑ์จุกช่องล้อมวงเสด็จวัดอรุณ

ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า เสด็จทางชลมารคไปทรงปรนนิบัติพระสงฆ์ณวัดอรุณราช วรารามนั้นเกณฑ์ให้เบิกปืนหลักทองไปจุกช่องล้อมวงทางบก กรมกองกลางซ้าย ๑ ขวา ๑ กรมเรือกันซ้าย ๑ ขวา ๑ กรมอาษาวิเศษซ้าย ๑

๒๕๘ ขวา ๑ รวม ๖ บอก แล้วให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เร่งเอาปืนไปจุกช่องล้อมวงตามตำแหน่ง ให้ทันเสด็จเหมือนอย่างทุกครั้งตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๓ สั่งกระบวนพยุหยาตราเสด็จวัดอรุณในพิธีสงกรานต์

ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า จะเสด็จทางชลมารคเป็นกระบวน พยุหยาตราไปวัดอรุณราชวราราม แขกเมืองจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ กำหนดณวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๑๐ ค่ำปีเถาะสัปตศกเพลาเช้านั้น ให้มหาดไทยกลาโหมพระสัสดี เกณฑ์กระบวนแห่รับเสด็จที่วัดอรุณราชวราราม มหาดเล็กนั้น เจ้าหมื่น นายเวร จ่า หุ้ม แพรรองหุ้มแพร ให้นุ่งผ้ายกไหมนุ่งปูม ให้ใส่เสื้อเข้มขาบอัดตลัดโพกขลิบขัดดาบแต่เจ้ากรมเจ้าหมื่นนายเวรนั้น ให้ใส่หมวกตุ้มปี่ ที่ยังไม่มีหมวกตุ้มปี่ให้ยืมต่อชาวพระมาลาภูษา แต่ข้าทูลละออง ฯ ฝ่ายทหารพลเรือน พระยาพระหลวงที่นอกจากเข้ากระบวนแห่เสด็จ ให้นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อเข้มขาบเสื้ออัดตลัดชั้นใน ใส่เสื้อครุยขาวชั้นนอก จงทุกหมู่ทุกกรม ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศเจียดกระบี่ ก็ให้เอาตามด้วยจงทุกคน แล้วให้เกณฑ์มหาดเล็ก ๔ เวรเป็นอินทร์พรหม ๑๖ เชิญพระแสง หว่างเครื่องสั้น ๔ ยาว ๖ เจ้าหมื่นเชิญพระแสงนั่งรายตีนตองในเรือพระที่นั่ง ๔ รวม ๓๐ แต่อินทร์พรหมพระแสงหว่างเครื่องนั้นให้ตามไป ๒๕๙ รับที่วัดอรุณราชวราราม เชิญพระแสงหว่างเครื่องให้นุ่งปูมใส่เสื้ออย่างน้อยโพกขลิบ แล้วให้เกณฑ์ข้าทูลละออง ฯ เป็นคู่เคียง เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาศิริธรรม พระยาสุรเสนา พระยามหาอำมาตย์ พระยานครราชสีมา พระยาราชภักดี พระยาราชสุภาวดี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาสีหราชฤทธิไกร พระยามนตรีสุริยวงศ์ พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ให้นุ่งสมปักลายใส่เสื้อเข้มขาบชั้นในใส่เสื้อครุยขาว ใส่ชฎาพอก ให้ไปเตรียมเครื่องที่พระที่นั่งพุดตาล ที่วัดอรุณราชวรารามตามกำหนด ให้ยืมชฎาพอกที่ชาวพระมาลาภูษา อนึ่งให้เกณฑ์ปี่พาทย์ ๔ สำรับ กลองแขก ๔ สำรับ ปี่พาทย์จีน ๒ สำรับ ปี่พาทย์มอญ ๒ สำรับ แตรสังข์ให้พร้อม ไปเตรียมประโคมที่วัดอรุณราชวรารามให้พร้อม อนึ่งให้มหาดเล็กรับเครื่องใหญ่น้อยต่อท่านข้างใน เชิญไปตามเสด็จลงเรือพระที่นั่งจงทุกสิ่ง ให้เหมือนอย่างเสด็จออกแขกเมืองจงทุกครั้ง และเจ้าพนักงานที่ลงเรือพระที่นั่ง นุ่งยกไหมนุ่งปูม ใส่เสื้ออย่างน้อยโพกขลิบจงทุกคน อนึ่งให้กรมพระสัสดีหมายบอกเจ้ากรมปลัดกรม ให้ทูลเจ้าต่างกรม ที่ยังไม่ได้ตั้งกรม ไปตามเสด็จนั้นให้ทรงเขียนทองพื้นสี เสื้ออย่างน้อยสีเสื้อครุยสี ให้เอาพานหมากเสวยพระเต้าบ้วนพระโอษฐน้อยจงทุกพระองค์ ทั้งนี้อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง


๒๖๐ ฉบับที่ ๑๔ สั่งกระบวนพยุหยาตราเสด็จวัดอรุณ

ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดณวันเสาร์เดือน ๕ แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า จะเสด็จทางชลมารคเป็นกระบวนพยุหยาตราไป ทรงปรนนิบัติพระสงฆ์ฉันฉลองพระทรายณวัดอรุณราชวรารามนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์เรือประตูหน้า ๒ ประตูหลัง ๒ ใส่เสื้อผ้าแดง มงคลแดง กางเกงสำหรับลำ นายเรือใส่เสื้อเข้มขาบใส่หมวกตุ้มปี่ เรือนำเสด็จเรือตามเสด็จ พลพาย ตามธรรมเนียมให้พร้อมทันกำหนดเหมือนอย่างแต่ก่อน อนึ่งให้พันพุฒอนุราช พันเทพราช จ่ายเลขให้แก่ผู้ต้องเกณฑ์เข้ากระบวนให้ครบจำนวนจงทุกลำ ให้เร่งจ่ายให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังเสื้อ หมวก ธง จ่าย เสื้อหมวก กางเกง ธง ให้แก่ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอจงทุกลำ อนึ่งให้ชาวพระอภิรมจัดเครื่องสูงลงเรือพระที่นั่งเอกชัย ๓ ลำ พัดโบก ๑ จามร ๑ ให้นุ่งห่มตามเคย ให้เร่งไปลงเรือพระที่นั่งให้พร้อมรับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช ๑๗ คนตามเคย อนึ่งให้เกณฑ์เจ้ากรมไพร่หลวงนั่งกองจุกช่องล้อมวงทางน้ำทางบกให้พร้อม อนึ่งให้หมื่นเทวาทิตจัดกลองมโหรทึกลงเรือเอกชัยคู่ชักตามเคยให้ทันกำหนด

๒๖๑ อนึ่งให้กรมเมือง นครบาล กำกับไล่เรือแพกรุยหลักตอ และเอาศพสัตว์ มนุษย์ ในน้ำ บนบก อย่าให้กีดขวางทางเสด็จได้เป็นอันขาด อนึ่งให้นายเวรกรมวัง นายเวรทนายเลือกไปยกสำรับคาวหวานถวายพระสงฆ์ฉัน แต่ณวัน เดือน ๕ แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า ให้ชาวที่ไปแต่งที่รับเสด็จให้พร้อม อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการเอาเสื่อไปปูทางรับเสด็จ และขุนนางเฝ้าเหมือนอย่างเคย อนึ่งให้ชาวพระมาลาภูษาจัดพระเครื่องต้นลงเรือพระที่นั่งรองให้พร้อม ให้เชิญพระกลดไปถวายในเรือพระที่นั่งถึงรับที่วัดอรุณให้พร้อมเหมือนอย่างเคย อนึ่งให้มหาดไทย กลาโหม หมายบอกข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนนำเสด็จตามเสด็จ ให้นุ่งสมปักลาย คาดเสื้อ ครุยขาว อนึ่งให้กรมพระสัสดีหมายทูลเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรมซึ่งตามเสด็จ ให้ทรงผ้าเกี้ยวเขียนทองสี ทรงเสื้อครุยสีทุกพระองค์ อนึ่งให้กรมแสงในซ้าย เชิญพระแสงไปทอดที่เรือพระที่นั่งให้พร้อมตามเคย แล้วให้ส่งพระแสงให้มหาดเล็กสำหรับเชิญนั่งรายตีนตองเหมือนอย่างแต่ก่อน อนึ่งให้มหาดเล็กรับพระแสงต่อกรมพระแสงใน เชิญลงเรือพระที่นั่งให้พร้อมตามเคย

๒๖๒ อนึ่งให้เกณฑ์หัดแสงในจัดกำนัลถือปืนรางแดง ใส่เสื้อเสนากุฎลาย ใส่กางเกงเกี้ยวลาย ลงเรือตาร้ายลำละ ๖ คน แล้วให้ไปรับที่วัดเหมือนอย่างแต่ก่อน และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เตรียมการให้พร้อมจงทุกพนักงานตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๕ เกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ไปส่งเรืออังกฤษ

ด้วยพระยารักษ์มนเทียร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เซอร์ยอนเบาริงแขกเมืองจะได้กราบถวายบังคมลาออกไป กำหนดณวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำปีเถาะสัปตศก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชศาสน์มอบให้เซอร์ยอนเบาริงราชทูตเชิญไปด้วยฉบับหนึ่ง พระราชศาสน์ใหญ่กำหนดจะได้แห่ไปส่ง ณเมืองสมุทรปราการ ลงเรือกำปั่นณวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำเพลาเช้านั้น ให้กรมท่าเกณฑ์กระบวนแห่บกแห่เรือ ให้พร้อมเหมือนอย่างแห่พระราชศาสน์ไปเมืองจีนแต่ก่อน กระบวนบกนั้นรับพระราชศาสน์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แห่ออกประตูวิเศษชัยศรีลงเรือที่ท่าพระกระบวนเรือพระราชศาสน์ลงเรือเอกชัยให้มีเรือดั้งคู่ ๑ เร่งเกณฑ์ให้พร้อมจงทุก ๆ พนักงาน ทั้งกระบวนบกกระบวนเรือเหมือนอย่างเคยแห่พระราชศาสน์อย่าให้ขาดได้ อนึ่งให้เกณฑ์เรือกราบมีกันยายาว ๙-๑๐ วา ไปส่งแขกเมืองเหมือนเมื่อไปรับ ให้เกณฑ์พระบรมมหาราชวัง มหาดไทย เจ้าพระยา

๒๖๓ นิกรบดินทร์ลำ ๑ พระยามหาอำมาตย์ลำ ๑ ( เป็น ๒ ) กลาโหม พระยาสุรเสนาลำ ๑ พระยาเทพอรชุนลำ ๑ ( เป็น ๒ ) กรมเมือง พระยายมราชลำ ๑ กรมวังเจ้าพระยาธรรมาลำ ๑ กรมนา เจ้าพระยาพลเทพลำ ๑ กรมท่าซ้าย พระยาโชฎึกราชเศรษฐีลำ ๑ กรมท่าขวา พระยาจุฬาราชมนตรีลำ ๑ ( เป็น ๒ ) คลังสินค้า พระยาศรีพิพัฒน์ลำ ๑ คลังมหาสมบัติ พระยาราชภักดีลำ ๑ กรมพระสัสดี พระยาราชสุภาวดีลำ ๑ ล้อมพระราชวัง พระยาเพ็ชรพิชัยลำ ๑ รวม ๑๓ ลำ เกณฑ์พระบวรราชวัง กลาโหม พระยาเสนาภูเบศลำ ๑ กรมเมือง พระยาพิชัยบุรินทราลำ ๑ กรมวัง พระยามนเทียรบาลลำ ๑ กรมนา พระยากระเสบรักษาลำ ๑ กรมท่า พระยาราชนุประดิษฐ์ลำ ๑ คลังมหาสมบัติ พระยาศิริไอศวรรย์ลำ ๑ รวม ๖ ลำ รวมทั้งสิ้น ๑๙ ลำ ทั้งนี้ให้บรรจุพลพายให้ครบกระทง แล้วให้มีนายเรือกำกับไปคนหนึ่ง เรือนั้นให้ปูเสื่อปูพรมมีเบาะมีหมอนให้พร้อมจงทุกลำ ถอยไปคอยรับแขกเมืองแต่เพลาย่ำรุ่ง ลงไปส่งให้ถึงเมืองสมุทรปราการ อนึ่งให้พันพุฒอนุราช พันเทพราช จ่ายเลขให้ บรรจุเรือรูปสัตว์ให้เต็มทั้ง ๗ ลำ พลพายให้ครบทุกกระทงเร่งจ่ายแต่ณวันเสาร์เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ ทั้งนี้อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๖ เกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ไปส่งเรืออังกฤษ

ด้วยพระรักษ์มนเทียร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เซอร์ยอนเบาริงแขกเมืองจะได้ ๒๖๔ กราบถวายบังคมลาออกไป ณวันเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชศาสน์มอบให้เซอร์ยอนเบาริงราชทูต เชิญออกไปด้วยฉบับหนึ่ง พระราชศาสน์ลงเรือเอกชัยณประตูท่าพระ แห่ลงไปส่งลงเรือกำปั่นณเมืองสมุทรปราการ และเรือรูปสัตว์ ๗ ลำนั้นรับแขกเมืองณตึกฝรั่งริมวัดประยุรวงศ์ ลงไปส่งณเมืองสมุทรปราการ ให้นายเรือมารับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้ครบกระทงนั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอก นายเรือ เรือรูปสัตว์รับทูต กรมอาษาวิเศษขวา เรือวายุภักษ์ลำหนึ่งผูกม่านทอง อาษาใหม่ กรมวังซ้าย เรือเหราลำหนึ่งผูกม่านเขียวบังสาด อาษาใหม่กรมวังขวา เรือเหราลำหนึ่งผูกม่านเขียวบังสาด ล้อมพระราชวังซ้าย เรือมังกรลำหนึ่งผูกม่านลายวิลาศ ล้อมพระราชวังขวา เรือมังกรลำหนึ่งผูกม่าน ลายวิลาศ ให้ดาดสีหลังคาปูเสื่ออ่อนพรมเจียมหมอนอิง พลพายใส่เสื้อใส่หมวกใส่กางเกง แต่งตัวตามเคยจงทุกลำ เรือดั้งแห่พระราชศาสน์ เรือดั้งกองกลางซ้ายลำหนึ่ง ขวาลำหนึ่ง รวม ๒ ลำ ให้ดาดสีหลังคาให้เอาสีใหม่ดาด ผูกภู่ผ้าหน้าโขนให้พร้อมงามดี ให้มีนายเรือสำหรับลำละคน ให้รับกลองชะนะลำละ ๕ ใบ ให้มีธงปักหน้ากันยาลำละ ๒ คัน พลพายใส่เสื้อแดงหมวกแดงกางเกงแดง จงทุกคน และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ มาคอยเตรียมรับทูต มาคอยเตรียมแห่พระราชศาสน์ แต่ณวันพุธเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า ๑ โมง ให้ทันกำหนดตามรับสั่ง


๒๖๕ ฉบับที่ ๑๗ สั่งกระบวนแห่พระราชศาสน์ไปส่งเรืออังกฤษ

ด้วยพระยารักษ์มนเทียร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า หมายสั่งมากรมท่าให้หมายเกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ซึ่งมีออกไปถึงพระนางเจ้ากรุงลอนดอน ซึ่งเป็นใหญ่ในชาวอังกฤษ เป็นกระบวนทางบก ทางเรือ เหมือนอย่างแห่พระราชศาสน์ไปเมืองจีนนั้น กำหนดเซอร์ยอนเบาริงจะได้กราบถวายบังคมลาล่องจากกรุง ฯ ณวันเดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก เพลาเช้าโมงหนึ่งนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์เรือเอกชัยสำหรับใส่พระราชศาสน์ ๑ ลำ เรือดั้งเป็นคู่ชัก ๒ ลำ ให้จัดแจงตกแต่งเหมือนกระบวนเสด็จ เรือดั้งนั้นให้รับมะโหระทึกลงเรือด้วย ให้ผู้ต้องเกณฑ์เรือรับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช บรรจุพลพายใส่เสื้อแดง หมวกแดง ลงเรือเอกชัย ลงเรือดั้งให้ครบกระทง ให้มาคอยเตรียมแห่ณประตูท่าพระ รับพระราชศาสน์ลงไปส่งณเมืองสมุทรปราการ ถ้า พระราชศาสน์ลงเรือเอกชัยแล้ว ให้เรือเอกชัยคอยรับอาลักษณ์ รับปี่กลอง รับแตรสังข์ พร้อมแล้วจึงให้ออกเรือ อนึ่งให้สี่ตำรวจรับพระราชยานต่อพันเงินองค์ ๑ ยืมพรมน้อยต่อพระคลังพิมานอากาศ ๑ แล้วให้ไปรับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช มาใส่เสื้อแดงหมวกแดงกางเกงแดง หามพระราชยานไปรับกล่องพระราชศาสน์ณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แห่ออกประตูวิเศษชัยศรี ลงประตูท่าพระ ๒๖๖ แล้วให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์หลวง ขุน หมื่น เป็นคู่แห่เดินเท้า นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุย ลำพอกขาว แห่หน้า ๓๐ แห่หลัง ๒๐ รวม ๕๐ คู่ ให้เกณฑ์ไพร่ใส่เสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดง ถือปืนแห่หน้า ๒๐ ถือธงแห่หน้า ๒๐ แห่หลัง ๑๐ รวม ๕๐ คู่ แล้วให้เกณฑ์ปี่คัน ๑ แตรงอน ๓ คู่ แตรฝรั่ง ๒ คู่ กลองชะนะ ๑๕ คู่ จ่ากลอง ๑ สังข์ ๑ มะโหระทึก ๒ สำรับ ใส่เสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดง คอยรับแห่ที่ประตูวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกประตูวิเศษชัยศรีประตูท่าพระ อนึ่งให้พันทองรับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช มาแต่งตัวตามเคย เชิญเครื่องสูงแห่หน้า ๖ แห่หลัง ๔ รวม ๑๐ องค์ ให้ชาวพระมาลาภูษาเชิญพระกลดองค์ ๑ ไปกั้นพระราชศาสน์ครั้นคู่แห่พร้อมแล้วให้อาลักษณ์เชิญ กล่องพระราชศาสน์ทรงเหนือพระราชยาน เอาด้ายดิบผูกให้มั่นคงอย่าให้โคลงได้ ให้กรมพระอาลักษณ์เดินเคียงพระราชยานข้างละ ๒ คน ถ้าพระราชศาสน์ลงเรือเอกชัยแล้วให้ปี่กลอง แตรสังข์ ลงเรือเอกชัย ปี่คัน ๑ กลองชะนะ ๕ คู่ แตรงอนคู่ ๑ แตรฝรั่งคู่ ๑ สังข์คู่ ๑ ประโคมพระราชศาสน์ลงไปส่งให้ถึงเมืองสมุทรปราการ อนึ่งให้กรมพระตำรวจหน้า ๘ กรม จัดหัวหมื่นตำรวจถือหวายแห่ ๒๐ คน ให้เตรียมแห่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แห่เรือประตูท่าพระ และให้อาลักษณ์รักษาพระราชศาสน์ไปด้วย ๒ คน


๒๖๗ อนึ่งให้พันพุฒอนุราช พันเทพราช จ่ายเลขให้หลวงราชมนู ตีกลองชะนะ ๓๐ ให้บรรจุเรือเอกชัย เรือดั้ง ให้ครบกระทง ให้พันทองเชิญเครื่องสูง ๑๐ ให้ สี่ตำรวจมหาราชยาน ๔ ให้เกณฑ์หัดแสงปืนจ่ายคาบศิลาให้คู่แห่ ๔๐ บอก ให้กรมพระกลาโหมจ่ายเสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดง ธงจีน ให้ฝีพายให้คู่แห่ ให้พันเงินจ่ายพระราชยานให้สี่ตำรวจองค์ ๑ ให้คลังพิมานอากาศจ่ายพรมน้อยให้สี่ตำรวจปูพรมพระราชยานผืน ๑ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เร่งจัดแจงการมาเตรียมแห่พระราชศาสน์ให้พร้อม ให้เร่งแห่พระราชศาสน์ลงเรือ แต่ณวันจันทร์เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ เพลาเช้า ให้ทันเซอร์ยอนเบาริงล่องจากกรุงเทพ ฯ อนึ่งซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่า ให้เกณฑ์เรือแห่พระราชศาสน์ลงไปส่งเซอร์ยอนเบาริงณเมืองสมุทรปราการ ณวันเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำนั้น เลื่อนไปณวันเดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีเถาะสัปตศกเพลาเช้า ๑ โมง ให้เจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ฟังเอาหมายรับสั่งฉบับนี้เป็นแน่ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๘ จะเสด็จลงประทับตำหนักน้ำให้แขกเมืองทูลลา

ด้วยเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่ง จะเสด็จออกบนพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ส่ง


๒๖๘ พระราชศาสน์บนเกย แล้วจะเสด็จไปบนพระตำหนักน้ำทอดพระเนตรกระบวนแห่ โปรดเกล้า ฯ สั่งให้เจ้าพนักงานแวะเรือเซอร์ยอนเบาริงเข้าที่แพลอย แล้วให้เจ้าพนักงานพาเซอร์ยอนเบาริงเข้าเฝ้าที่พระตำหนักน้ำ จะพระราชทานของให้เซอร์ยอนเบาริงนั้น ให้มหาดเล็กรับของต่อท่านข้างในที่จะพระราชทานเซอร์ยอนเบาริง ลงไปเตรียมที่พระตำหนักน้ำ แต่เพลาเช้าโมงหนึ่งให้พร้อม อนึ่งโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า การที่จะแห่พระราชศาสน์ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่งนั้น ให้เจ้าพนักงานผู้ที่ต้องเกณฑ์ทุก ๆ พนักงานตระเตรียมไว้ให้พร้อมแต่เพลาย่ำรุ่งอย่าให้ขาดได้ ถ้าเจ้าพนักงานจะขัดข้องสงสัยด้วยการงานสิ่งใด ห้ามมิให้กราบทูลฉลอง โปรดเกล้า ฯ ให้ไปทูลถามพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ทั้งสามพระองค์นั้นให้มหาดไทย กลาโหม หมายบอกเจ้าพนักงานซึ่งสั่งมาทั้งนี้ให้รู้จงทั่ว อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๙ ว่าด้วยเรื่องอนุญาตให้อเมริกันไปมานอกด่านทางได้

ด้วยเจ้าพระยาผู้ช่วยสำเร็จราชการกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานกรมอาลักษณ์ ตีพิมพ์หนังสือประทับตรา ๒๖๙ พระราชลัญจกร ให้มหาดไทยกลาโหมกรมท่า แจกประกาศกำชับการซึ่งอยู่ในที่สุดแขวงพระนครณกรุงเทพ ฯ ห้ามมิให้พวกฝรั่งชาติอเมริกันออกไปเที่ยวนอกด่านความแจ้งอยู่ในหนังสือแต่ก่อนนั้นแล้ว(๑) บัดนี้เจ้าแผ่นดินอังกฤษ ให้เซอร์ยอนเบาริงขุนนางผู้ใหญ่เป็นทูตเข้ามาทำหนังสือสัญญาลำดับทางพระราชไมตรีณกรุงเทพ ฯ กับกรุงอังกฤษครั้งนี้พวกฝรั่งชาติอเมริกันได้มาช่วยสอบทานหนังสืออังกฤษกับหนังสือ คำสัญญาฝ่ายไทยให้ถูกต้องเป็นอันดีแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มหาดไทยกลาโหมกรมท่า คืนหนังสือพิมพ์ซึ่งแจกประกาศไว้ทุกด่านนั้นให้เลิกถอนมาเสีย แต่นี้ไปพวกฝรั่งชาติอเมริกันจะเที่ยวไปนอกด่านทางก็ปล่อยให้ไปตามใจเถิด ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องเสด็จออกรับแขกเมืองอังกฤษแขกเมืองฝรั่งเศส ที่พระที่นั่งราชฤดี อย่างปกติ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘

ด้วยท่านเจ้าพระยาผู้สำเร็จราชการ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า แขกเมืองอังกฤษฝรั่งเศสจะได้เข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ในพระที่นั่งราชฤดี แต่ ณวันจันทร์เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำเพลาเช้า เสด็จออกแขกเมืองอย่างปกติ (๑) หมายประกาศออกเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๗


๒๗๐ ให้เกณฑ์ยกเอาเลยนายด้านนายกองประจำการใน หมู่ยืนรักษาประตูหมู่พายเรือนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงานแต่ณวันเดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ เพลาเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องมิศคิง กงสุลเมืองมูเตีย เข้าเฝ้า

ด้วยเจ้าพระยาพิพัฒนโกษารับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศคิง นายห้างเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นกงสุลเมืองมูเตีย จะได้เข้าเฝ้าทุลละออง ฯ ถวายของในพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ณวันเสาร์เดือนอ้ายขึ้น ๖ ค่ำเพลาเช้า ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการในหมู่ยืนรักษาประตูนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่ เจ้าพนักงานแต่ณวันเสาร์เดือนอ้ายขึ้น ๖ ค่ำ เพลาย่ำรุ่งเช้า จะได้ยืนรักษาประตูให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง




๒๗๑ อังกฤษนำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีเข้ามาเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับฮารีปากส์ ทูตอังกฤษ ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดของไปทักทูตอังกฤษที่เมืองสมุทรปราการ และรับทูตเข้ามากรุงเทพ ฯ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ฮารีปากส์ ทูตอังกฤษซึ่งเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี กับเซอร์ยอนเบาริง ณกรุงเทพ ฯ ครั้งก่อนนั้น เอาหนังสือสัญญาออกไปปิดตราเจ้าแผ่นดินอังกฤษเมืองวิลาศเข้ามาเปลี่ยน บัดนี้เจ้าแผ่นดินอังกฤษ มีพระราชศาสน์กับของทรงยินดี ให้ฮารีปากส์ทูตขี่กำปั่นไฟเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย และเป็นหนังสือสัญญาด้วย กำปั่นไฟฮารีปากส์ทูตเข้ามาถึงทอดอยู่นอกสันดอนแต่ณวันพุธเดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีเถาะสัปตศกแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสิ่งของส่งลงไป ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ทักทูต ณเมืองสมุทรปรการตามอย่างเคยแต่ก่อนนั้น ให้เจ้าพนักงาน


๒๗๒ พระคลังในซ้ายจัดน้ำตาลทรายหนัก ๑๐ หาบน้ำตาลทรายขาวหนัก ๑๐ หาบ ให้เจ้าพนักงานกรมท่าซ้ายจัดใบชาหีบใหญ่หีบหนึ่ง แล้วให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดน้ำตาลทรายจัดใบชา ไปส่งให้พระยามนตรี สุริยวงศ์ณเมืองสมุทรปราการ แต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำปีเถาะสัปต ศกเพลาเช้า อนึ่งให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติจัดเผือกจัดมันจัดสุกรจัดเป็ดไก่เครื่องกับข้าว ให้เจ้าพนักงานพระแก้วพระคลังสวนจัดมะพร้าวอ่อน ๑๐๐ ทลาย จัดกล้วยสุก ๕๐ เครือ จัดผลไม้ที่มีรสหวานพอสมควรลงไปทักทูตที่กำปั่น เหมือนอย่างเซอร์ยอนเบาริงเข้ามาครั้งก่อน แล้วให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ เร่งจัดสิ่งของลงไปส่งพระยามนตรีสุริยวงศ์ณเมืองสมุทรปราการ แต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำปีเถาะสัปตศก เพลาเช้าให้ทันกำหนด แล้วให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ พนักงานพระแก้วพระคลังสวน จัดมะพร้าวอ่อนผลไม้กับข้าวลงไปส่ง ๕ วันครั้ง ๑ กว่าทูตจะกลับออกไป อนึ่งให้ชาวพิมานอากาศจัดโคมหม้อจัดโคมหวดขนาดใหญ่ จัดห่วงตะเกียงฝาชีแก้วกระบอก จัดโคมตั้งพานแก้ว จัดสำรับ............... ลงไปแขวนไปตั้งที่ตึกรับทูตหน้าวัดประยุรวงศ์......................ณวันขึ้น๙ ค่ำ.....................เกี้ยวลายใส่เสื้อครุยขาวใส่ลำพอกขาว เตรียมแห่เครื่องพระราชศาสน์ที่ประตูท่าพระ อนึ่งให้ชาวพระคลังมหาสมบัติ จัดพานทรงพระมหากฐินส่งให้อาลักษณ์ รับพระราชศาสน์สำหรับให้ทันกำหนด


๒๗๓ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้หลวงราชมนูตีกลองชะนะ ๓๐ ให้พันทองเชิญเครื่องสูง ๑๗ ให้สี่ตำรวจหามพระราชยาน ๔ คน ให้ชาวราชยานหามแคร่ ๓๖ คน ให้พันเงินจ่ายพระราชยานให้สี่ตำรวจองค์หนึ่งให้พระคลังพิมานอากาศให้จ่ายพรมน้อย ๔ ตำรวจ ปูพระราชยาน และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เร่งจัดการให้พร้อมจงทุกพนักงาน เร่งมาคอยรับแห่พระราชศาสน์ที่ประตูท่าพระแต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะสัปตศกให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๒ เรื่องให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม ) ไปรับราชทูตอังกฤษ ที่เมืองสมุทรปราการ

โปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ฮารีปากส์ทูตซึ่งเข้ามากับเซอร์ยอนเบาริงทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับกรุงเทพ ฯ นั้น เอาหนังสือสัญญาออกไปปิดตราเจ้าแผ่นดินเมืองอังกฤษนั้น บัดนี้เจ้าแผ่นดินอังกฤษ มีพระราชศาสน์กับของทรงยินดี ให้ฮารีปากส์ทูตเข้ามาทูล เกล้า ฯ ถวาย โปรดเกล้า ฯ ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ กับข้าราชการ ลงไปจัดแจงการรับทูตอยู่ที่เมืองสมุทรปราการ เกณฑ์ให้ทหารปืนหัวเมือง มาระดมทำการรักษาประจำหน้าที่เป็นอันมาก กว่าทูตจะกลับไป โปรดเกล้า ฯ ให้กรมนาจัดข้าวสารลงไปพระราชทานฮารีปากส์ทูตที่กำปั่น ข้าวสารชาวนาสวน ๑ เกวียน พระราชทานข้าราชการไทยสำหรับรักษาหน้าที่ทหารเมืองสมุทรปราการ ข้าวสาร ๓๕ ๒๗๔ ขาวนาสวน ๑ เกวียน ข้าวนาเมือง ๔ เกวียน เป็น ๕ เกวียน รวมเป็น ๖ เกวียนนั้น ให้เจ้าพนักงานกรมนาเร่งจัดข้าวนาสวนลงไปส่งให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ณเมืองสมุทรปราการ แต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำเพลาบ่าย อนึ่งกำหนดจะได้รับฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษทูตมีชื่อนายไพร่ขึ้นมาพักอยู่ตึกหน้าวัดประยุรวงศารามณเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำนั้น เตียงนอนสำหรับทูตตัวนาย ๙ คนได้จัดตั้งไว้เสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานพระคลังในซ้ายจัดฟูกใหญ่ ไปปูเตียง ๙ ฟูก มีหมอนหนุนศีร์ษะ หมอนข้างผ้าขาว มีผ้าขาวปูลาดที่นอนด้วย ให้เจ้าพนักงานพระคลังวิเศษจัดมุ้งแพรโล่สีมีระบายผูกเตียง ๓ หลัง จัดมุ้งผ้าบางผูกเตียงขุนนางอังกฤษ ๖ รวม ๙ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งลง ไปจัดเตียงขึ้นมาเย็บฟูกมุ้งให้ได้กับเตียง อย่าให้ฟูกมุ้งเล็กใหญ่กว่าเตียง ตกแต่งให้งามดี และให้เอามุ้งหมอนฟูกลงไปผูก แต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์เลขไพร่หลวงรองงานสี่ตำรวจ มาอยู่เฝ้าที่ ฉบับที่ ๓ เรื่องจัดปืนยิงสลุตรับแขกเมือง

ด้วยเจ้าหมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก รับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรศักดาพิศาลใส่เกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดแขกเมืองจะ

๒๗๕ เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ จะได้เอาปืนกระสุน ๑๐ นิ้วลงไปยิงสลุดรับแขกเมืองที่ป้อมปิดปัจจนึกนั้น ให้เจ้าภาษีมะพร้าวพระคลังราชการเอาเปลือกมะพร้าวมาส่ง ๕๐๐ ผล ให้เร่งมาส่งที่โรงกองแก้วจินดาจะเอามาทำลูกดอกปืนกระสุน ๑๐ นิ้ว แต่ณวันอาทิตย์เดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ เพลาบ่าย ๓ โมง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดการยิงสลุตรับแขกเมืองที่ป้อมปิดปัจจนึก

อนึ่งเพลาบ่าย ๓ โมง นายทิมตำรวจมาสั่งว่า ด้วยเจ้าหมื่นไวยวรนาถหัวหมื่นมหาดเล็ก รับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรศัก ดาพิศาล ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดแขกเมืองจะเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ จะได้เอากระสุน ๑๐ นิ้วลงไปยิงสลุตรับแขกเมืองที่ป้อมปิดปัจจนึกนั้น ให้เจ้าภาษีมะพร้าวมาส่ง ๑๐๐ ผล ให้เร่งเอามาส่งที่โรงกองแก้วจินดาจะเอามาทำลูกดอกปืนกระสุน ๑๐ นิ้ว แต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ เพลาโมงเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๕ เรื่องเกณฑ์เรือและคู่เคียงแห่พระราชศาสน์

อนึ่งเพลาเช้า ๒ โมงเศษ นายตำรวจวังมาสั่งว่า ด้วยแขกเมืองจะขึ้นมาเฝ้า เกณฑ์กระบวนเรือกระบวนบก กับเกณฑ์เป็นคู่เคียงพระราชศาสน์

๒๗๖ ฉบับที่ ๖ เรื่องจุดไฟรับแขกเมืองตามช่องสีมา

ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทใส่เกล้า ฯ สั่งว่า ณวันเดือน ๔ แรม ๖ ค่ำเพลาค่ำฮารีปากส์จะเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่พระที่นั่งราชฤดี ให้นายประตูพิมานชัยศรีจุดตะเกียงช่องเสมารับแขกเมืองด้วยนั้น ให้เจ้าพนักงานชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ขุนหมื่นนายประตู ๑๐ ทะนาน สำหรับจะได้ตามตะเกียงรับแขกเมืองให้ทันเพลาตามรับสั่ง ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดการรับราชทูตอังกฤษ ที่นำหนังสือสัญญา ทางพระราชไมตรีมาส่งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ให้เตรียมการให้พร้อมทุกหน้าที่

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศฮารีปากส์ทูตอังกฤษซึ่งเข้ามากับเซอร์ยอนเบาริง ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ณกรุงเทพ ฯ ครั้งก่อนนั้น เอาหนังสือสัญญาออกไปปิดตราเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ณเมืองลอนดอน เข้ามาส่ง บัดนี้เจ้าแผ่นดินอังกฤษมี


๒๗๗ ราชศาสน์กับของทรงยินดี ให้ฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษมีชื่อเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย และเอาหนังสือสัญญาที่ปิดตราแล้ว เข้ามาส่งด้วยฮารีปากส์ ขุนนางอังกฤษขี่กำปั่นไฟเข้ามาถึงกรุง ฯ ทอดอยู่หน้าป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก แต่ณวันเดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ แล้ว กำหนดฮารีปากส์ ๑ ขุนนางอังกฤษ ๑๑ คน เป็น ๑๒ คน จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณวันจันทร์เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า เสด็จออกรับแขกเมืองอย่างแขกเมืองประเทศใหญ่นั้น ให้มหาดไทยกลาโหมหมายบอกเจ้าพนักงาน และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือน ในพระบรมมหาราชวังจงทุกพนักงาน เมื่อวันแขกเมืองเข้าเฝ้านั้น ให้นุ่งสมปักลายใส่เสื้อเข้มขาบชั้นใน ใส่เสื้อครุยขาวชั้นนอก อนึ่งให้ชาวที่กรมวังแต่งที่รับเสด็จบนพระที่นั่งดุสิตมหาประสาทแห่งหนึ่ง แต่งที่แล้วให้เชิญพระเก้าอี้หุ้มทองคำ และที่จะตั้งพานพระขันหมาก เครื่องราชบริโภค ตั้งคอยแห่งหนึ่ง อนึ่งให้พระคลังพิมานอากาศเอาพรมใหญ่ที่ใหม่งามดี ไปปูในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแห่งหนึ่ง ที่ทิมดาบไว้กลองแห่งหนึ่งแล้วให้จ่ายพรมให้จ่าศาลาปูศาลาลูกขุนฝ่ายขวาที่พักทูตให้เต็ม อนึ่งให้จ่าศาลายืมพรม ต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ไปปูที่ศาลาลูกขุนฝ่ายขวาแห่งหนึ่ง อนึ่งให้มหาดเล็กพนักงานทำสวน จัดเครื่องชากาแฟไปคอยกรมท่าจัดเก้าอี้ไปตั้งให้ทูตนั่งที่ศาลาลูกขุนฝ่ายขวาให้พอ

๒๗๘ อนึ่งให้เลี้ยงทูตณศาลาลูกขุนฝ่ายขวาตามเคย อนึ่งให้หลวงราชมนูจัดกลองชนะทอง ๒๐ เงิน ๒๐ แดง ๑๒๐ เป็น ๑๖๐ จัดจ่าปี่ ๒ จ่ากลอง ๒ เป็น ๔ จัดแตรงอน ๒๐ แตรฝรั่ง ๑๖ เป็น ๓๖ สังข์ ๒ เข้าไปคอยเตรียมประโคมรับเสด็จส่งเสด็จเหมือนอย่างแต่ก่อน แล้วให้รับพุ่มดอกไม้ทองชาวพระคลังมหาสมบัติ เข้าไปคอยชูถวายหน้าพระที่นั่ง อนึ่งให้ชาวพระคลังมหาสมบัติ เอาพานทอง ๒ ชั้น เข้าไปตั้งไว้ในพระที่นั่ง คอยรับราชศาสน์เจ้าแผ่นดินอังกฤษ ที่ฮารีปากส์ทูลเกล้า ฯ ถวาย อนึ่งให้ชาวพระอภิรม จัดเครื่อง ๗ ชั้น ๒ เครื่อง ๕ ชั้น ๑๐ เครื่องชุมสาย ๔ หักทองขวาง เข้าไปตั้งในพระที่นั่ง อนึ่งให้กรมแสงในกรมแสงต้น จัดพระแสงทวนพระแสงปืน ให้กำนัลเชิญเข้าไปในพระที่นั่ง แล้วให้จัดพระแสงหอกพระแสงทวนพระแสงง้าว ส่งให้มหาดเล็กตามอย่างแต่ก่อน อนึ่งให้ชาวพระมาลาภูษาจัดพระมหาพิชัยมงกุฎ จัดพานพระภูษาและพระกลด เชิญเข้าไปตั้งในพระที่นั่ง อนึ่งให้พระนรินทรเสนี ให้พระศรีสหเทพ ให้พันพุฒอนุราช พันเทพราช เกณฑ์พระหลวงขุนหมื่น นั่งทิมดาบกรมวัง ๑๕๐ นั่งทิมสงฆ์ ๕๐ นั่งลูกขุนซ้าย ๘๐ ขวา ๘๐ เป็น ๑๖๐ นั่งทิมคดหน้าพระมหาปราสาท ๖๐ นั่งทิมดาบชั้นใน ๓ ทิม ๓๐๐ รวมเป็น ๗๒๐ คน เกณฑ์ให้ยืน ๒ ฟากถนนนอกประตูพิมานชัยศรี

๒๗๙ ถือเครื่องอาวุธต่าง ๆ ถือดาบ ๒ มือ ๒๒๐ ถือดาบเขน ๑๒๐ ถือดาบดั้ง ๑๒๐ ถือง้าว ๑๒๐ ถือตรี ๑๒๐ ถือกระบอง ๑๒๐ ถือทวนทอง ๑๒๐ ถือธนูหางไก่ ๑๒๐ ถือหอกคู่ ๑๒๐ ถือเสโล ๑๒๐ ถือขวานจีน ๑๒๐ ถือปืนหลังม้า ๑๒๐ ถือดาบชะเลย ๑๒๐ ถือดาบโล่ ๑๒๐ ถือกะเรียง ๑๒๐ รักษาพระองค์ถือปืนทองปลาย ๑๐๐ ถือปืนปลายหอกรักษาประตู ๑๐๐ เกณฑ์หัดพันทนายถือปืนราง แดง ๒๐๐ เกณฑ์หัดอย่างยุโรป ๒๐๐ ถือกระบองกลึง ถือแส้หวาย แส้หางม้า ถือกรรชิงเกล็ด ถือโต๊ะกล้วยโต๊ะอ้อย อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษจ่ายผ้าขาวให้สี่ตำรวจ ทำเพดานปะรำพระยาช้างพระยาม้า อนึ่งให้หลวงมนเทียรกรมแสงสรรพายุธ จัดเครื่องทองกุดั่นถมปัทม์ลูกพลูสำหรับพระที่นั่ง ประดับช้างพระที่นั่งให้งามดี อนึ่งให้กรมม้าจัดเครื่องม้าพระที่นั่งผูกม้าพระที่นั่ง ประดับให้งามดี แล้วให้กรมม้ากรมช้างจัดพระยาช้างพระยาม้า มาผูกยืนตามที่แต่งไว้เหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้แสงในซ้ายสรรพายุธให้คลังเสื้อคลังหมวกคลังวิเศษจ่ายเครื่องอาวุธ ๑๔ อย่าง ๆ ละ ๑๒๐ จ่ายเสื้อจ่ายหมวกจ่ายกางเกง จ่ายเกี้ยวลาย ๑๒๐ ให้กับผู้ต้องเกณฑ์ให้ครบจำนวน อนึ่งให้ขุนปฏิภาณพิจิตร์กรมพระอาลักษณ์ ทูลเบิกแขกเมืองเมื่อทรงพระราชปฏิสันถาร ๓ ครั้งแล้ว ให้อาลักษณ์กราบทูลสืบคำแขกเมืองต่อไป

๒๘๐ อนึ่งให้เจ้าพระยาและพระยาฝ่ายทหารพลเรือน เอาพานทองเอาโต๊ะทองเอาถาดทอง เครื่องยศสิ่งของ ซึ่งได้รับพระราชทานเข้าไปตั้งกินในที่เฝ้าตามตำแหน่งจงทุกคน อนึ่งให้ชาวพระคลังมหาสมบัติ เอาเจียดทองถมเข้าไปตั้งให้ขุนนางตามตำแหน่ง แล้วให้เอากระโถน เอาขันน้ำ ถมตัวทองเข้าไปตั้งให้แขกเมืองในที่เฝ้า ๒ สำรับ อนึ่งให้ขุนนางจีนแขกฝรั่งพะม่าทะวายมอญลาว แต่งตัวตามเพศของตัว ให้เข้ามาพร้อมกันในที่เฝ้า อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษ คอยรับเครื่องราชบรรณาการเข้าไปตั้งทูลเกล้า ฯ ถวายตามอย่างแต่ก่อน อนึ่งเมื่อเสด็จออก ให้ข้าราชการกราบถวายบังคม ให้มหาดเล็ก ตีกรับสัญญา แล้วให้ตัวสี่ชาววังชักม่าน ๒ ไข แล้วให้ชาวนาฬิกาประโคมมะโหระทึกขึ้นเมื่อเสด็จออก แล้วให้หลวงราชมนู ชูดอกไม้ทองเป็นสัญญา ให้ห้ามประโคมแตรสังข์กลองชะนะ เมื่อเสด็จออกเสด็จขึ้นทั้งสองครั้ง อนึ่งให้นายประภาษมนเทียรปลัดวังขวา ให้นายเสถียรรักษาปลัดวังซ้าย ออกไปรับแขกเมือง แล้วให้หลวงราชฤทธานท์ให้หลวง นนทเสนกับล่ามพนักงานนำแขกเมืองเดินเป็นคู่กัน ๆ เข้าประตูพิมาน ชัยศรี แล้วให้นำแขกเมืองเข้าไปเฝ้าทูลละออง ฯ ครั้นถึงที่หน้าพระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในที่เฝ้าแล้ว ให้กราบถวายบังคม ๓ ครั้ง


๒๘๑ อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการให้ขุนทานกำนัล ตั้งหมากเวียนให้แขกเมืองรับพระราชทาน แล้วให้ตำรวจหน้าวังคอยห้ามปากเสียงสูงต่ำตัดหน้าฉานตามอย่างแต่ก่อน อนึ่งถ้าเสด็จขึ้นแล้ว ให้ข้าราชการและแขกเมืองกราบถวายบังคม ให้ชาววังชักม่าน ๒ ไขปิดเสีย ถ้าแขกเมืองยังไม่ลุกจากที่ ให้ข้าราชการนั่งสงบอยู่ อย่าให้ลุกเดินไปมาเป็นอันขาด ทีเดียว ถ้าแขกเมืองกราบถวายบังคมลาลุกจากที่แล้ว ให้หลวง ราชฤทธานนท์ให้หลวงนนทเสน และล่ามพนักงานนำแขกเมือง ออกมาพักอยู่ที่ทิมดาบชาววังชั้นในก่อน ให้กลองชะนะแตรสังข์ยืนแถวคอยประโคมรับเสด็จส่งเสด็จ เหมือนอย่างแต่ก่อน อนึ่งให้มหาดเล็กรับพานพระขันหมากและเครื่องราชบริโภค ต่อท่านเจ้าพนักงานข้างใน เชิญไปตั้งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท อนึ่งให้กรมพระสัสดีขวา หมายบอกเจ้ากรมปลัดกรมให้ ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร ๑ ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ๑ ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงภูวเนตนรินทร ฤทธิ์ ๑ ให้ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ๑ เป็น ๔ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ ๑ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ๑ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพศิลปปรีชา ๑ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นถาวรวรยศ ๑ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ๑ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล ๑ ให้ทูลพระเจ้า

๒๘๒ น้องยาเธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ๑ ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ ๑ ให้ทูลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ๑ เป็น ๙ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐา ธิเบนทร์ ๑ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ ๑ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๑ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีหวิกรม ๑ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราศรี ๑ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ๑ ให้ทูลพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ๑ เป็น ๗ ให้ทูลพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ๑ ให้ทูลพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ ๑ เป็น ๒ ให้แต่งพระองค์ทรงผ้าเขียนทองพื้นสี เสื้อทรงอย่างน้อยข้างใน เสื้อทรงครุยกรองสีชั้นนอก แล้วให้เอาพานหมากเสวย เอาพระเต้า เอาบ้วนพระโอฐน้อยเข้าไปตั้งในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เหมือนอย่างเสด็จออกแขกเมืองครั้งก่อน แล้วให้เชิญเสด็จเข้ามาให้พร้อมกันจงทุกพระองค์ แต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า ถ้าเจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้สงสัยสิ่งใดไม่เข้าใจ ให้ไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๘ เรื่องเตรียมเข้าเฝ้า ในเวลารับแขกเมือง

ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เสด็จพระราชดำเนินออกแขกเมือง ๒๘๓ ครั้งนี้ ไม่เหมือนกับทุก ๆ ครั้ง กำหนดแขกเมืองจะเชิญพระราชศาสน์มาจากกำปั่นเพลาย่ำเที่ยง แล้วจะไปพักศาลาลูกขุน ตรงขึ้นเฝ้าทูลละออง ฯ ทีเดียว เพลาย่ำเที่ยงให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย เข้าไปเตรียมเฝ้าตามตำแหน่ง ที่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พอปืนยิง สลุดขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทีเดียว อย่าต้องทรงรอคอยท่าเหมือนอย่างออกขุนนางทุก ๆ ครั้งนั้น ให้มหาดไทยให้กลาโหม ให้สัสดี หมายบอกให้รู้จงทั่วกันแต่ในเพลาบ่ายเย็นวันนี้ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๙ เรื่องให้จัดของส่งเรือพระที่นั่งลำที่ไปส่งแขกเมืองอังกฤษ

ด้วยเจ้าหมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้แต่งเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพล ออกไปส่งมิศฮารีปากส์ แขกเมือง ที่ปากอ่าวนั้น ให้เจ้าพนักงานคลังราชการ เอาฟืนไม้ตะบูนรอนใหญ่ ๒๕๐๐ ดุ้น น้ำมันมะพร้าว ๑๐๐ ทะนาน ไต้เหนือ ๒๐ มัด ไปส่งที่เรือพระที่นั่งสยามอรสุมพล แต่ณวันเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง



๒๘๔ ฉบับที่ ๑๐ เรื่องเตรียมเข้าเฝ้าในเวลารับแขกเมือง

( ฉบับตอนต้นขาดหาย ) พระหลวงขุนฝ่ายทหาร ๒๐๐ คนยืนนั่งที่ไหนให้ไปดูแผนที่ ๆ วังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ให้แม่นอย่าให้เคลื่อนคลาดไปได้ ให้เร่งเตรียมเข้ามาเฝ้ารักษาที่พระมหาปราสาทแต่ณวัน เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าตามกำหนด อย่าให้ขาดได้ตาม รับสั่ง

ฉบับที่ ๑๑ เรื่องราชทูตอังกฤษเข้าเฝ้า เกณฑ์ข้าราชการเฝ้า ตามที่กำหนดให้

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศฮารีปากส์ทูตอังกฤษถือราชศาสน์เจ้าแผ่นดินเมืองพลันดอน จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กำหนดณวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีเถาะสัปตนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม หมายเกณฑ์จางวาง, หัวหมื่น, จ่า, นายเวร, หุ้มแพร, มหาดเล็ก, พระแสงนั่งรายตีนตอง ๑๒ วง ถืออาวุธสั้น ๒๐๐ ชาววังตัวสี่ ข้างละ ๔ คน กำนัล เชิญพระแสงปืน ๔๐ คน พระแสงทวน ๔๐ คน ๒๘๕ เกณฑ์จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม นายเวร หัวหมื่น ตำรวจ นั่งตลอดแล้ว เกณฑ์หัวหมื่นตำรวจในซ้าย ขวา ถือกระบี่ ๔๐ คน ถือหอก ๔๐ คน เกณฑ์ตำรวจนั่งถือด้ามกลด ๖๐ คน ถือปืนทองปราบ ๑๐๐ คน รักษาพระองค์ถือหอก ๑๐๐ คน ทั้งนี้จะนุ่งห่มอย่างไร........... ฉบับที่ ๑๒ เรื่องราชทูตอังกฤษเข้าเฝ้า ให้จัดการรับให้พร้อม

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งหมายสั่งไปแต่ก่อนว่ามิศฮารีปากส์ ๑ ขุนนางอังกฤษ ๑๑ รวม ๑๒ จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า แจ้งอยู่ในหมายรับสั่งครั้งก่อนแล้ว บัดนี้ขุนนางอังกฤษมากขึ้นอีก ๕ คน รวมกัน ๑๗ คน ให้เพิ่มเรือกันยาขึ้นอีกลำหนึ่ง เพิ่มแคร่อีก ๕ แคร่ รับมิศฮารีปากส์ขุนนางอังกฤษให้พอนั้น ให้ราชยานจัดแคร่ตามธรรมเนียมขุนนางไทยขี่ ๕ แคร่ มีสัปทนคนหามให้พร้อม ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายบรรจุเรือใส่เสื้อแดงหมวกแดง ให้ครบกะทง ลงไปรับทูต ที่กำปั่นไฟมาป้อมป้องปัจจามิตร์ แล้วให้จ่ายเลขให้ราชยานหามแคร่ ๒๐ คน รวมกับหมายเดิมคนหามแคร่ ๘๖ คนให้ครบจำนวน และให้


๒๘๖ ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เร่งจัดแจงให้ทันกำหนด แต่ณวันเดือน ๔แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๓ เรื่องเกณฑ์เรือแห่ราชศาสน์ รับทูตอังกฤษ

อนึ่งเพลา ๔ โมงเศษ นายแช่มรองพันพรมราช ถือหมายมาสั่งว่า เกณฑ์เรือแห่พระราชศาสน์ รับทูตอังกฤษณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เกณฑ์เรือดั้งกองกลางซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ เกณฑ์เรือเหราอาษาในกรมวังซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ เกณฑ์เรือโตคลังสินค้าซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ เกณฑ์เรืออาษาในกรมท่าซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ รวม ๘ ลำ

ฉบับที่ ๑๔ เรื่องจัดเรือมะโหระทึกนำแห่พระราชศาสน์อังกฤษ

ด้วยนายเสถียรรักษาปลัดวังซ้าย รับสั่งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดจะได้เชิญพระราชศาสน์อังกฤษเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย กับฮารีปากส์จะได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เจ้าพนักงานจะได้จัดมะโหระทึกจะได้รับพระราชศาสน์ที่ป้อมป้องปัจจามิตร์ ที่ป้อมปิดปัจจนึกยังหามีคนจะหามมะโหระทึกไม่นั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้

๒๘๗ หมื่นเทวาทิตย์ เจ้าพนักงานโรงนาฬิกา ๔ คน ให้เร่งจ่ายแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ เพลาบ่าย อนึ่งให้หมื่นเทวาทิตย์ เจ้าพนักงานโรงนาฬิกา รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๔ คนหามมะโหระทึก ให้ทันเพลาตามกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๑๕ เรื่องเกณฑ์เรือมังกร ๒ ลำ ในการรับราชทูต

อนึ่งเพลาบ่าย ๒ โมงเศษ นายแช่มรองพันพรมราชกิจ หมายมาสั่งเกณฑ์เรือมังกร ล้อมวังซ้าย ๑ ล้อมวังขวา ๑ ( รวม ) ๒ ลำ ลงไปแห่พระราชศาสน์รับทูตอังกฤษ ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า

ฉบับที่ ๑๖ เรื่องมีละครหลวง ให้จัดการให้พร้อม

ด้วยพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดจะได้มีละครริมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทข้างมุขกระสัน วันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ เพลาบ่ายโมงหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานชาวพระคลังราชการ จัดเสื่อมาปูให้พอเหมือนอย่างทุกครั้ง

๒๘๘ อนึ่งให้กรมม้าจัดม้าที่เรียบร้อยที่ละครเคยขี่ มาคอยเตรียมให้ทันเพลา อนึ่งให้ขุนรัดลูกคู่ละคร มาจัดแจงการที่จะเล่นละครเหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้ จ่ายง จ่ายวด จัดรถละครเตรียมไว้ จะเรียกเมื่อใดให้ได้เมื่อนั้น อนึ่งให้ขุนหมื่นชาววัง กรมวัง จัดพระยี่ภู่ พระเขนย พระที่ไปแต่งให้ทันเพลา แล้วเชิญพระเก้าอี้ที่ขุนรักษ์ราชฤดีไปตั้งด้วย อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการ จัดไต้เสม็ดลำใหญ่ ๒๐๐ ลำมาส่งที่ประตู ๒ ชั้น เพลาบ่ายโมงหนึ่ง อนึ่งให้ ตำรวจหน้า ตำรวจหลัง ทหารใน รักษาพระองค์เก่าใหม่ ทะนายเลือก ปืนแดง แสงต้น มาลาภูษา มหาดเล็กเชิญเครื่องชาวที่ ชาววัง คลังวิเศษมหาสมบัติ มาเตรียมเพลาบ่ายโมงหนึ่ง จงทุกพนักงานให้ทันเพลา อนึ่งให้พระแก้วพระคลังสวน นายระวาง จัดหาผลไม้ ดอกไม้ เบญจพรรณ เข้ามาส่งให้พลพันให้ทันเพลาแต่งโรงละคร อย่าให้ขาดได้ ตามรับสั่ง



๒๘๙ ฉบับที่ ๑๗ เรื่องราชทูตอังกฤษเข้าเฝ้า

ด้วยพระยาบำเรอศักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศฮารีปากส์ ขุนนางอังกฤษจะเข้าเฝ้าที่พระมหาปราสาท ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาค่ำนั้น ให้พระ นรินทรเสนี พระศรีสหเทพ พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์สี่ตำรวจแขวนโคมที่ทิมสงฆ์ โคม ๖ เหลี่ยมใหญ่ในประธาน ๖ เหลี่ยม เล็กในเฉลียงตามเคย อนึ่งให้วังนอกถือตะบองรักษาประตูวิเศษชัยศรี ประตูพิมานชัยศรี คลังราชการปูเสื่อที่ทิมสงฆ์ อนึ่งให้ชาวพระราชยานจัดแคร่ ๕ แคร่รับอังกฤษ เมื่อณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช หามแคร่ ๒๐ คน ให้เร่งรับเลขต่อ ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาบ่าย โมงหนึ่ง แล้วให้ไปเตรียมที่ท่าพระ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ครบพระราชยาน ๒๐ คน ให้เร่งจ่ายแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาบ่ายโมงหนึ่ง อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้รักษาพระองค์ซ้ายขวาให้พอ ให้เร่งจ่ายแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาบ่ายโมงหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานทั้งนี้จัดแจงการให้พร้อมทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

๒๙๐ ฉบับที่ ๑๘ เรื่องฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษเข้าเฝ้า ให้จัดการรับรอง

มีรับสั่งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา โปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาค่ำอีก ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการใน หมู่พายเรือ หมู่ขึ้นรักษา หมู่หามแคร่นั้นเกณฑ์และให้หมู่ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แต่เจ้าพนักงานแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาบ่าย จะได้จ่ายเครื่องแต่งตัวให้ ครั้นเพลาค่ำจะได้รับแขกเมืองตามรับสั่ง ตำรวจในซ้ายยืนรักษาประตูรัตนพิศาล กองพระรามพิชัยทำที่นั่งเก่า ๑๕ ใหม่ ๕ เป็น ๒๐ ตำรวจในซ้ายยืนรักษาประตูพิมานชัยศรีชั้นนอก กองหลวงรามรักษา ๑๕ กองพระราชยานบริคุต ๕ เป็น ๒๐ ตำรวจในขวายืนรักษาประตูวิเศษชัยศรี กองหลวงอภัยพิทักษ์ ๑๕ กองหลวงแมนพลพ่าย ๕ เป็น ๒๐ ตำรวจในขวายืนรักษาประตูวิเศษชัยศรีชั้นใน กองหลวง รณฤทธิ์ ๖ กองหลวงจัตุรงค์โยธา ๖ กองหลวงนิกรไพรสณฑ์ ๖ กอง หลวงนนทเสน ๒ เป็น ๒๐ ตำรวจเอกซ้ายขวา สนมซ้ายขวา ยืนรักษาประตูสุนทร กองพระราชวรินทร์ ๔ กองพระอินทรเดช ๔ ในหมู่สนม ๑๒ เป็น ๒๐ ราชยานหามแคร่ กองพระยาสีหราชเดโชชัยทำมณฑป ๕ กองหลวงวิจารณ์ ๑๑ อภิรม ๔ เป็น ๒๐ ฝีพาย พายเรือ ๓ ลำ ฝีพาย ๓๐ ช่างลาง ๑๕ กองหลวงราชโยธาเทพ ๑๑ กอง

๒๙๑ ขุนอินทรรักษา ๑๑ กองหลวงอภัยเสนา ๑๑ กองพระยาสีหราชเดโชชัยทำมณฑป ๖ เป็น ๘๔

ฉบับที่ ๑๙ เรื่องจ่ายน้ำมันตามตะเกียงรับราชทูตอังกฤษในเวลาเข้าเฝ้า

ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาสนิทใส่เกล้า ฯ สั่งว่า ณวันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ฮารีปากส์จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั้น ให้นายประตูพิมานชัยศรี จุดตะเกียงช่องเสมารับแขกเมืองด้วยนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังราชการ จ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ขุนหมื่นนายประตู ๑๐ ทะนาน สำหรับจะได้ตามตะเกียงรับแขกเมืองให้ทันเพลาตามรับสั่ง ฉบับที่ ๒๐ เรื่องจัดเรือรับทูตอังกฤษเข้าเฝ้า

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณวันเดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ เพลากลางวัน ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกอง ประจำการในหมู่พายเรือรับแขกเมืองนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่ฝีพาย แต่วันเดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ เพลาเช้าให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ๒๙๒ ฝีพายพายเรือ ๓ ลำ กองฟั่นเชือก ๑๐ ช่างลาง ๑๕ ฝีพาย ๓๐ เป็น ๕๕ เลขล้อมพระราชวัง กองพระรามพิชัย ๑๐ กองพระราชยาน บริคุต ๕ กองหลวงอภัยพิทักษ์ ๑๐ กองหลวงรามรักษา ๑๐ เป็น ๓๕ รวมเป็น ๙๐ คน หามแคร่ ๘ แคร่ กองพระรามพิชัย ๘ กองหลวงพลวาศัย ลาวพวน ๘ กองหลวงอภัยพิทักษ์ ๘ กองหลวงรามรักษา ๘ นายประตูในหมู่ ๔๐ เป็น ๗๒ ยืนรักษาประตูวิเศษชัยศรี ตำรวจในขวาในหมู่ ๕ กองพระยาเพ็ชรพิชัย ๑๕ เป็น ๒๐ ยืนรักษาประตูรัตนพิศาล ตำรวจในซ้าย นายประตูซ้าย ๕ ขวา ๑๕ เป็น ๒๐ ยืนรักษาประตูพิมานชัยศรี ใช้ตำรวจในซ้ายชั้นนอกในหมู่ ๕ กองหลวงภักดีรณฤทธิ์ ๖ กองหลวงนราภักดี ๕ กองพระรามพิชัยเดชะ ๕ เป็น ๒๐

ฉบับที่ ๒๑ เรื่องมีละครให้แขกเมืองดู

ด้วยนายเสถียรรักษา ปลัดวังซ้าย รับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า จะมีละครให้แขกเมืองดู ที่ชาลามหาปราสาท ณวันเดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ เพลาบ่าย ๑ โมงนั้น ให้ชาวพระคลังราชการ เอาเสื่อมาปูให้พอตามเคย อนึ่งให้สนมพลเรือนผูกม่านแต่งที่สำหรับข้างใน ให้ทันเพลาตามเคย


๒๙๓ อนึ่งให้เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี จัดพิณพาทย์สำรับใหญ่มาเตรียมเล่นละครให้ทันเพลาตามเคย อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้รักษาพระองค์ซ้ายขวา เติมตามตะเกียงให้พอตามเคย อนึ่งให้ชาวม่านกรมวังเชิญพระที่พระเก้าอี้ไปแต่งตั้งให้ทันเพลาตามเคย อนึ่งให้พระแก้วพระคลังสวน นายระวางซ้ายขวา จัดหาดอกลำเจียกหรือดอกเตยก็ได้ ดอกหนึ่ง มาส่งต่อผู้รับสั่ง กับดอกไม้ผลไม้ต่าง ๆ มาส่งให้พลพัน ประดับแต่งต้นไม้ในโรงละครให้ทันเพลา กว่าจะพอตามเคย อนึ่งให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ จัดเขน ๒๐ คน ที่ไปเล่นที่วัดบวรนิเวศน์ มาเตรียมเล่นละครให้ทันเพลาตามเคย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๒๒ เรื่องให้งดจ่ายข้าวสารให้แขกเมืองอังกฤษ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งส่งหมายไปแต่ก่อนว่า มิศฮารีปากส์อังกฤษ ถือราชศาสน์เฮอมายิศตริ ควีนวิกตอเรีย เจ้าแผ่นดินอังกฤษเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย และนำหนังสือสัญญาเข้ามาเปลี่ยน กำหนดมิศฮารีปากส์กับขุนนางอังกฤษไพร่นาย ๙ คน ๒๙๔ ขึ้นมาพักณตึกวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ให้กรมนาจ่ายข้าวสารให้มิศฮารีปากส์ไพร่นายรับพระราชทานคนหนึ่งวันละทะนาน ๑๐ วันจ่ายครั้ง หนึ่ง ความแจ้งอยู่แล้วนั้น เจ้าพนักงานกรมนาได้เอาข้าวสารไปพระราชทานมิศฮารีปากส์นายไพร่ คิดตั้งแต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก๕ มาจนถึงวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก๖ ได้เดือนหนึ่ง ส่ง ๓ ครั้งเป็นข้าวสาร ๑๓ ถัง ๑๐ ทะนาน แล้วบัดนี้ มิศฮารีปากส์จวนจะกลับออกไปอยู่แล้ว ข้าวที่ส่งไว้ก็ยังมีอยู่ อย่าให้เอาข้าวสารไปพระราชทานมิศฮารีปากส์อีกเลย ให้งดเสียตั้งแต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำไป ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๒๓ เรื่องมิศฮารีปากส์เข้าเฝ้าที่พระที่นั่งราชฤดี ให้จัดการรับรอง

ด้วยพระยาวรวงศ์พิพัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า แขกเมืองมิศฮารีปากส์จะเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ที่พระที่นั่งราชฤดีแต่ณวันเดือน ๕ แรม ๕ ค่ำ เพลาบ่าย ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้าน นายกอง ประจำการใน หมู่ยืนรักษาประตู หมู่พายเรือ หมู่หามแคร่นั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงาน แต่ณวันเดือน ๕ แรม ๕ ค่ำ เพลาบ่ายให้ทันกำหนดตามรับสั่ง ราชยานหามแคร่ กองหลวงวิจารณ์โกษา ๑๐ กองหลวงอภัยเสนา ๑๐ กองหลวงพลวาศัย ๘ เป็น ๒๘

๒๙๕ ฝีพาย พายเรือลำ ๑ ฝีพาย ตำรวจในซ้ายยืนรักษาประตูรัตนพิศาล กองหลวงราชโยธาเทพ ๑๐ กองขุนอินทรรักษา ๑๐ กองพระยา สีหราชเดโชชัยทำมณฑป ๑๐ ทำวิหาร ๑๐ เป็น ๒๐ รวมเป็น ๔๐ ตำรวจใหญ่ซ้ายยืนรักษาประตูพิมานชัยศรีชั้นนอก กองพระรามพิชัยทำพระที่นั่งเย็น ๒๐ ตำรวจในขวายืนรักษาประตูวิเศษชัยศรี กองหลวงอภัยพิทักษ์ ๒๐ กองหลวงรามรักษา ๒๐ เป็น ๔๐ ตำรวจใหญ่ขวายืนรักษาประตูพิมานชัยศรีชั้นใน กองพระรามพิชัยทำพระ ที่นั่งเก๋ง ๑๐ กองพระอินทรเดช ๕ กองพระราชวรินทร์ ๕ เป็น ๑๐ รวมเป็น ๒๐ ตำรวจนอกซ้ายขวา ๔๐ ตำรวจสนมทหารซ้ายขวา ๔๐ ยืนรักษาประตูเทเวศรรักษา ประตูเทวาภิบาล ฟั่นเชือก ๒๐ กองขุนวิเศษสงคราม ๑๕ กองพระยาสามภพพ่ายทำตำหนัก ๗ ทำวัดมหาธาตุ ๓ เป็น ๑๐ ทำโรงม้าในกองตำรวจในซ้าย ๕ ขวา ๕ เป็น ๑๐ ใหญ่ซ้าย ๕ ขวา ๕ เป็น ๑๐ รวมเป็น ๒๐ ในหมู่ ๑๖ รวมเป็น ๘๑





๒๙๖ อเมริกันแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับ แฮรี่ ทูตอเมริกัน ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดสิ่งของไปทักทูตที่เมืองสมุทรปราการ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดน ผู้บังคับ แผ่นดินเมืองอเมริกัน แต่งให้ มิศแฮรี่เยเนราลกงสุลเมืองญี่ปุ่น กำปโดปดึงแม่ทัพข้างฝ่ายอินเดีย เป็นทูตขี่เรือจักรไฟ เข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรีณกรุงเทพ ฯ เรือทอดอยู่นอกสันดอนนั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าวสารปลาหาง น้ำมันพร้าว ออกไปพระราชทานทูตที่เรือนอกสันดอนนั้น ให้เจ้าพนักงานกรมนาจัดข้าวสารนาสวนซ้อมขาว ๒ เกวียน ให้พระคลังมหาสมบัติ จัดปลาหางหนัก ๑๐ หาบ ให้ พระคลังราชการ จัดน้ำมันพร้าวหนัก ๕ หาบ ออกไปพระราชทานทูตที่เรือนอกสันดอนตามเคย และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดสิ่งของ ลงไปส่งให้พระยามหาอัครนิกร พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ ณเมืองสมุทรปราการ พระยามหาอัครนิกร พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ จะได้บรรทุกเรือออกไปพระราชทานทูตอเมริกัน กำหนดให้เจ้าพนักงาน

๒๙๗ ทั้งนี้ เร่งจัดข้าวสาร ปลาแห้ง น้ำมันพร้าว ลงไปส่งพระยามหาอัครนิกร พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ ณเมืองสมุทรปราการ แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก ให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๒ เรื่องจัดเรือไปรับเครื่องราชบรรณาการ

ด้วยเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าพนักงานจะลงไปรับเครื่องราชบรรณาการที่แขกเมืองอยู่หน้าวัดประยุรวงศ์นั้น ให้นายนิตย์ นายชิด จัดเรือกันยาไม่มีม่านลำหนึ่ง เรือเก๋งภั้งที่ดีลำหนึ่ง แต่เรือเก๋งภั้งนั้นให้ไปรับฝรั่งที่หน้าวังกรมหลวงวงศาธิราชสนิท แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราชนั้น ให้พันพุฒพันเทพราช จ่ายเลขให้แก่นายนิตย์ นายชิดบรรจุเรือให้พอทั้งสองลำ แล้วให้ถอยเรือไปรับเครื่องบรรณาการฝรั่งแต่ณวัน เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลา ๕ โมงเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๓ จัดเรือพายไปรับทูตที่สมุทรปราการ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดน ผู้บังคับ


๒๙๘ แผ่นดินเมืองอเมริกันแต่งให้มิศแฮรีเยเนราลกงสุลเมืองญี่ปุ่น แต่ง ให้กำมะโดดเปริงแม่ทัพข้างฝ่ายอินเดีย เป็นทูตขี่เรือจักร์ไฟชื่อเซนยะซิงโต เข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรีณกรุงเทพ ฯ เรือทอดอยู่นอกสันดอน กำหนดจะได้รับทูตขึ้นมาอยู่ที่เรือนพัก คลองผดุงกรุงเกษม ณกรุงเทพ ฯ ณวัน เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ เป็นคนนาย ๔๐ คน ไพร่ ๔๐ คน ให้เกณฑ์ยกเอาเลข นายด้าน นายกอง ประจำการใน หมู่ พายเรือไปรับแขกเมือง ที่เมืองสมุทรปราการ หมู่รักษารับใช้สรอยแขกเมืองกว่าจะกลับไปนั้น เกณฑ์กองพระยาอนุชิตชาญชัย ๔ กองหลวงพิทักษ์โยธา ๒ กองหลวงนราเรืองเดช ๒ เป็น ๘ ฝีพายพายเรือรับแขกเมือง ๒ ลำ ฝีพาย ๑๐ ช่างลาง ๒๐ กองหลวงพิพิธเดชะ ๑๖ กองหลวงพิพิธณรงค์ ๕ กองพระอินทรเทพทิม ๖ กองพระพิเรนทรเทพ ๓ เป็น ๖๐ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่ฝีพายนายเวรกรมท่า แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดเรือรับทูตอเมริกัน มาพักที่ปากคลองผดุง และให้จัดของไว้ให้ทูตให้พร้อม

ให้เกณฑ์ใน พระบรมมหาราชวัง มหาดไทย ๒ กลาโหม ๒ กรมวัง ๑ กรมเมือง ๑ กรมนา ๑ กรมท่าซ้าย ๑ กรมท่าขวา ๑


๒๙๙ ( รวม ) ๙ พระคลังมหาสมบัติ๑ กรมพระสัสดี ๑ ล้อมพระราชวัง ๑ คลังสินค้า ๑ ( รวม ) ๑๓ ให้เกณฑ์ในพระบวรราชวัง มหาดไทย ๑ กลาโหม ๑ กรมวัง ๑ กรมเมือง ๑ กรมพระสัสดี ๑ ล้อมพระบวรราชวัง ๑ คลังมหาสมบัติ ๑ คลังสินค้า ๑ กรมนา ๑ (เป็น) ๙ ( รวม ) ๒๒ ลำ ให้มีเสื่ออ่อนปู หมอนอิง พรมปู เบาะ ฟูก ผ้าหน้าโขน ผ้า บังแดด มีพนักข้าง พนักหลัง เหมือนอย่างเรือขุนนางขี่ตามเสด็จ พระราชทานพระกฐิน ให้มีขุนหมื่นกำกับลำไปด้วยลำละคนจงทุกลำและให้ผู้ต้อง (เกณฑ์) ทั้งนี้เร่งจัดแจงแต่งให้งดงามดี ลงไปให้ถึงเมืองสมุทรปราการแต่ณวัน เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก ๖ เพลาบ่ายณวันเดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่งจะได้รับทูตขึ้นมาที่พักณกรุง ฯ อนึ่งกำหนดจะได้รับทูตอเมริกันายไพร่ ๔๐ คน ขึ้นอยู่ที่เรือนพักปากคลองผดุงกรุงเกษมใต้ป้อมป้องปัจจามิตร์ ณวันเดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศกเพลาเช้านั้น ให้เจ้าพนักงานกรมนาจัดข้าวสารขาวไปให้ทูตนายไพร่รับพระราชทานคนหนึ่งวันละทนาน ๑๐ วันจ่ายครั้ง แล้วให้จ่ายนมโคให้แขกรับพระราชทานวันละ ๖ ทะนาน กว่าแขกเมืองจะกลับ และให้ชาวพระคลังราชการฟืนแสมกลาง น้ำมัน พร้าว ไต้ ไปจ่ายให้แขกให้พอตามสมควร กว่าแขกให้เมืองจะกลับไปและให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดสิ่งของไว้ ทูตขึ้นมาถึงวันใดให้ไป จ่ายให้ทันกำหนด

๓๐๐ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราชเกณฑ์เลขรองงานสี่ตำรวจ ให้ไปพิทักษ์รักษารับใช้สรอยแขกเมืองเดือนละ ๘ คน กว่าจะกลับไปให้เร่งเอาเลขมาส่งต่อนายเวรกรมท่า แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก ให้ครบจำนวนตามกำหนดอย่า ให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๕ เรื่องจัดเรือรับทูตอเมริกัน

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดนผู้บังคับแผ่น ดินเมืองอเมริกันแต่งให้มิสแฮรี่เยเนราล กงสุลเมืองญี่ปุ่น กำมะโดดเปริงแม่ทัพข้างฝ่ายอินเดีย เป็นทูตขี่เรือจักรไฟ ชื่อเซนยะโด เข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี เข้ามาณกรุงเทพ ฯ เรือทอดอยู่นอก สันดอน กำหนดจะได้รับทูตขึ้นมาอยู่ที่เรือนพักปากคลองผดุงกรุงเกษม ณวัน เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เป็นคนนายไพร่ ๔๐ คนนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์เรือลงไปรับทูตณเมืองสมุทร ปราการ ให้นายนิตย์ นายชิด จัดเรือกันยายาว ๑๒ -๑๓ วา สำหรับทูตขี่ ๒ ลำ ให้มีเสื่ออ่อน พรม หมอนอิง ผูกผ้าหน้าโขน ผูกม่าน บังแดด มีพนักข้าง พนักหลังปิดทองให้งดงามดีอย่างเรือขุนนางขี่ แล้วให้รับเลข ต่อพันพุฒ พันเทพราช ให้เบิก เสื้อแดง เบิก หมวกแดง ต่อชาวพระคลังเสื้อ พระคลังหมวก มาบรรจุเรือให้ครบ


๓๐๑ กระทง ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้นายนิตย์ นายชิด บรรจุเรือให้พอ อนึ่งให้เกณฑ์เรือกันยาข้าราชการยาว ๘ วา ยาว ๙ วา ยาว ๑๐ วา เป็นเรือสำหรับพวกขุนนางชาติอเมริกัน ขี่ลงไปรับทูต ที่เมืองสมุทรปราการขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ ณวัน เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ( ต่อนี้ไปต้นฉบับขาด ) ฉบับที่ ๖ เรื่องจัดเรือรับทูตอเมริกัน

ให้เกณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง มหาดไทย ๒ กลาโหม ๒ กรมวัง ๑ กรมเมือง ๑ กรมนา ๑ กรมท่าซ้ายขวา ๒ คลังมหาสมบัติ ๑ กรมพระสัสดี ๑ ล้อมพระราชวัง ๑ คลังสินค้า ๑ ( รวม ) ๑๓ ให้เกณฑ์พระบวรราชวัง มหาดไทย ๑ กลาโหม ๑ กรมวัง ๑ กรมเมือง ๑ กรมสัสดี ๑ ล้อมพระบวรราชวัง ๑ คลังมหาสมบัติ ๑ คลังสินค้า ๑ กรมนา ๑ ( เป็น ) ๙ รวม ๒๒ ลำ ให้มีเสื่ออ่อนปูหมอนอิง พรมปู ผูกผ้าหน้าโขนบังแดด มีพนักข้างหลัง เหมือนอย่างเรือขุนนางขี่ตามเสด็จพระราชทานพระกฐิน ให้มีขุนหมื่นกำกับลำไปด้วยลำละคนจงทุกลำ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เร่งจัดแจงแต่งให้งดงามดี ลงไปให้ถึงเมืองสมุทรปราการแต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ


๓๐๒ ปีมะโรงอัฐศกเวลาบ่าย ณวัน เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำเพลาเช้า ๑ โมงจะได้รับทูตขึ้นมาพักณกรุง ฯ อนึ่งกำหนดจะได้รับทูตอเมริกันนายไพร่ (รวม) ๔๐ คน ขึ้นอยู่ที่เรือนพักปากคลองผดุงกรุงเกษม ใต้ป้อมป้องปัจจามิตร์ ณวัน เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำปีมะโรงอัฐศกเพลาเช้านั้น ให้เจ้าพนักงานกรมนาจัดข้าวสารขาวไปให้ทูต นายไพร่รับพระราชทานคนหนึ่งวันละทะนาน ๑๐ วันจ่ายครั้ง แล้วให้จ่ายนมโคให้แขกเมืองรับพระราชทานวันละ ๖ ทะนาน กว่าแขกเมืองจะกลับ ให้ชาวพระคลังราชการจัดฟืนแสม จัดน้ำมันมะพร้าว ตามสมควร ไปจ่ายให้แก่แขกเมืองให้พอกว่าแขกเมืองจะกลับไป และ ให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดสิ่งของไว้ ทูตขึ้นมาถึงวันใดให้ไปจ่ายให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์เลขรองงานสี่ตำรวจ ให้ ไปพิทักษ์รักษารับใช้สรอยแขกเมืองเดือนละ ๘ คน กว่าจะกลับไป ให้เร่งเอาเลขมาส่งต่อนายเวรกรมท่า แต่ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก ให้ครบจำนวนตามกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดการรับรองและจัดของไปทักทูต

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดนผู้บังคับ

๓๐๓ แผ่นดินเมืองอเมริกัน แต่งให้มิสแฮรีเยเนราล กงสุลเมืองญี่ปุ่น แต่งให้กำมะโดดเปริงแม่ทัพฝ่ายอินเดีย เป็นทูตเข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี ณ กรุงเทพ ฯ บัดนี้ได้จัดเรือรับทูตขึ้นมาเรือนรับทูตที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม แต่ณวันจันทร์ เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศกแล้วให้เจ้าพนักงานพระคลังในซ้ายจ่ายสีผึ้ง ให้นายเวรกรมท่าฟั่นเทียน ใช้ที่เรือนรับทูตหนัก ๑๐ ชั่ง จ่ายด้ายดิบให้นายเวรกรมท่าไปทำไส้เทียน ไส้ตะเกียง ใช้ที่เรือนรับทูตหนัก................... อนึ่งให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติจัด เผือก, มัน, สุกร เป็ดไก่เครื่องกับข้าวพอสมควร ไปทักทูตอเมริกันที่เรือนรับทูตเหมือนอย่างแต่ก่อน กำหนดให้เอาของไปทักแต่ณวัน เดือน ๕ แรม ๓ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก แล้วเว้น ๕ วันไปทักครั้งหนึ่ง กว่าทูตจะกลับไป อนึ่งให้พระแก้วพระคลังสวนจัดมะพร้าวอ่อน, จัดกล้วย,จัดผลไม้ต่าง ๆ พอสมควรไปทักตามเคย กำหนดให้ไปทักแต่ณวันเดือน ๕ แรม ๖ ค่ำปีมะโรงอัฐศก แล้วเว้น ๕ วันไปทักครั้งหนึ่ง กว่าทูตจะกลับไป อนึ่งซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่า ให้กรมนาเอานมโคไปจ่ายทูตรับ พระราชทานวันละ ๖ ทะนาน กว่าทูตจะกลับไป ความแจ้งอยู่ในหมายแต่ก่อนนั้นแล้ว บัดนี้ขุนนางอเมริกันทูตที่ขึ้นมาอยู่เรือนพัก คน ให้จ่ายนมโค วันละ ๖ ทะนานมากนัก ให้ลดลงเสีย ๓ ทะนาน ตั้งแต่ณวันเดือน ๕


๓๐๔ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศกไป ให้เจ้าพนักงานกรมท่าเอานมโคไปจ่ายให้แต่วันละ ๓ ทะนาน เสมอจงทุกวันกว่าทูตจะกลับไปตามรับสั่ง ฉบับที่ ๘ เรื่องทูตอเมริกันจะเข้าเฝ้า ให้จัดการรับรอง

ด้วยมีรับสั่งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดนผู้บังคับแผ่นดินอเมริกัน แต่งให้มิสแหดิงชุมเมือง ญี่ปุ่นแต่งให้กำมะโดดปรง เป็นทูตขี่เรือจักร์ไฟเข้ามาจำเริญทาง พระราชไมตรี บัดนี้ทูตเมืองอเมริกันขึ้นมาพักอยู่ที่เรือนปากคลอง ผดุงกรุงเกษม กำหนดจะได้เข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ณวัน เดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกอง ประจำการใน หมู่ซ้อมกลองรับส่งเสด็จนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอา ตัวเลขส่งให้แก่หลวงราชมนูให้แก่หลวงเพชรฉลูเสนีเจ้าพนักงาน แต่ ณวัน เดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ เสมอทุกวันไปกว่าแขกเมืองจะเข้าเฝ้าแล้ว อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๙ เรื่องทูตเข้าเฝ้าที่พลับพลาท้องสนามหลวง

ด้วยพระบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า จะเสด็จทางสถลมารคทรงฟังพระสงฆ์

๓๐๕ สวดพระพุทธมนต์ ปรนนิบัติพระสงฆ์ฉันที่ท้องสนามหลวงณวัน เดือน ๖ ขึ้น ๓ ค่ำ บ่าย ขึ้น ๔ ค่ำ เช้าบ่าย ขึ้น ๕ ค่ำ เช้าทูตแขก เมืองจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ที่พลับพลานั้น ให้มหาดไทย กลาโหม หมายบอกข้าทูลละอองผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ตำรวจ หน้าหลังและทหารในรักษาพระองค์ ทองปลาย ปลายทอง มหาดเล็ก ชาวที่ชาววัง ชาวพระราชยาน กรมเมือง คลังราชการ คลังแสงใน คลังแสงต้น เกณฑ์หัดแสงใน เกณฑ์หัดอย่างยุโรป ทหารอย่าง ยุโรป ทหารปืนหามแล่น ชาวพระมาลาภูษา กรมท่า ตั้งกอง จุกช่องล้อมวง คลังมหาสมบัติ คลังในซ้าย คลังในขวา คลังวิเศษ ปืนใหญ่ทำตาม คลังสินค้า กรมท่า กรมวัง กรมหมอ สนม พลเรือน ให้รู้จงทั่วหมู่ทั่วกรม เหมือนอย่างรับเสด็จมีงานท้องสนามทุกครั้ง แล้วให้รักษาพระองค์ซ้ายขวา เบิกน้ำมันต่อชาวพระคลังราชการตามโคมให้พอ แล้วให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้รักษาพระองค์ ซ้ายขวา ตามโคมให้พอ ๒ คืน ถ้ารองงานตำรวจจะเบิกน้ำมันมะพร้าว ห้ามมิให้จ่าย อนึ่งให้ชาวพระราชยานจัดแคร่ ๑๒ แคร่ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราชมาหามแคร่ ๔๘ คน ให้ลงไปรับแขกเมืองที่ประตูท่าพระแต่ณวัน เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาเช้า อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายบรรจุเรือกันยา ๓ ลำ ราชยานหามแคร่ ๑๒ แคร่ ๔๘ คน ให้เร่งจ่ายให้แต่ณวันเดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

๓๐๖ ฉบับที่ ๑๐ เรื่องทูตอเมริกันเข้าเฝ้าทูลลากลับ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดนผู้ครอบครองยูไนติสเทศ แต่งให้ตันเซรันแฮริศอิสแกวเป็นทูต เชิญอักษรศาสน์แสดงความจำเริญทางพระราชไมตรี แล้วคุมเครื่องราชบรรณาการ เข้าทูลเกล้า ฯ ถวาย และทำหนังสือสัญญาใหม่แก้หนังสือสัญญาเก่านั้นทำเสร็จแล้ว บัดนี้ตันเซรันแฮริศอิสแกว จะได้กราบถวายบังคมลากลับออกไปเมืองอเมริกา กำหนดตันเซรันแฮริศอิสแกว กับขุนนางอเมริกัน ๑๑ คน จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ กราบถวายบังคมลาณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณวัน เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำปีมะโรงอัฐศกเพลาเช้า ๑ โมง เสด็จออกครั้งนี้เหมือนอย่างวิศโม กงสุลพุทเกศ เข้าเฝ้าครั้งก่อนนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม หมายบอกข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย นายทหาร พลเรือน ในพระบรมมหาราชวัง ให้นุ่งถมปัก ตามธรรมเนียม ใส่เสื้อเข้มขาบอัตลัดตามยศศักดิ์ เข้าเฝ้าจงทุกคน และตำรวจหน้าหลังนุ่งถมปักตามธรรมเนียม คาดราตคด ใส่เสื้อเข้มขาบอัตลัดตามยศศักดิ์ ขัดกระบี่เข้าเฝ้าตามเคย อนึ่งให้กรมแสงใน กรมแสงต้น จัด..............แสงปืน ๔๐ คน แสงหอก ๔๐ คนใส่เสื้ออย่างน้อย............ตามเคยเหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งเครื่องราชบริโภค ............................

๓๐๗ หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับรองมิศหินเล กงสุลอังกฤษ ที่จะมาอยู่ประจำกรุงเทพ ฯ ให้จัดการรับให้พร้อมทุกหน้าที่

ด้วยพระยาพิพัฒนโกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กงสุลอังกฤษซึ่งจะเข้ามาตั้งอยู่ ณกรุงเทพ ฯ ตามหนังสือสัญญานั้น บัดนี้มิศหินเล กงสุลอังกฤษมากับเรือกลไฟชื่ออกแดรมเข้ามาถึงนอกสันดอนที่ทอด ณวันเดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก ได้รับมิศหินเลขึ้นมาอาศัยอยู่ที่ตึกรับทูต ณกรุงเทพ ฯ แต่ณวันเดือน ๗ ขึ้น ๗ ค่ำแล้ว กำหนดมิสหินเลกงสุลจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณวันเดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เพลาบ่ายโมงหนึ่ง เสด็จออกครั้งนี้เหมือนอย่างเมื่อครั้งตอนเฟดารีดโฆ กงสุลพุทเกศเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ครั้งก่อนนั้น ให้มหาดไทยกลาโหมหมายบอกข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือน นุ่งสมปักตามธรรมเนียม ใส่เสื้อ อย่างน้อยต่างสีเข้าเฝ้าจงทุกคน เสด็จขึ้นแล้วแขกเมืองยังไม่ลุก จากที่เฝ้า อย่าให้ลุกเดินไปเดินมาเป็นอันขาด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ตามเคย


๓๐๘ อนึ่งให้ขุนรักษาราชฤดีเชิญพระเก้าอี้ทององค์ใหญ่ ที่พระยา วรพงศ์พิพัฒน์นำไปตั้งบนพระที่นั่งถม ให้ทันเสด็จตามเคย แล้วให้มหาดเล็กรับพานพระขันหมากเครื่องราชบริโภค ต่อท่านข้างใน ไป ตั้งในพระที่นั่งให้พร้อม อนึ่งให้ชาวพิมานอากาศเอาพรมใหญ่ ไปปูที่ในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย แล้วให้จ่ายพรมให้จ่าศาลา ปูศาลาลูกขุนในฝ่าย ขวา ให้แขกเมืองพักให้พอ อนึ่งให้จ่าศาลายืมพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ยืมเสื่อลวดต่อชาวพระคลังราชการ ไปปูศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา ให้แขกเมืองให้พอ อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายเสื่อลวด ให้จ่าศาลาปูศาลาลูกขุนที่แขกเมืองพักให้พอ อนึ่งให้กรมวังจัดที่ไปตั้งในพระที่นั่งให้ทันกำหนด แล้วให้นำแขกเมืองเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ เหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้กรมแสงในซ้ายจัดกำนัลนุ่งสมปักตามธรรมเนียม ใส่เสื้ออย่างน้อยเชิญพระแสงทวน ๔๐ คน เข้าไปเชิญในพระที่นั่งตามเคยให้พร้อม ให้กรมแสงปืนต้นจัดกำนัลนุ่งสมปักตามธรรมเนียม ใส่เสื้ออย่างน้อยเชิญพระแสงปืน ๔๐ คน เข้าไปเชิญในพระที่นั่ง ตามเคย ให้เกณฑ์หัดแสงในจัดพันทะนายนุ่งกางเกงคาดเกี้ยวลาย ถือปืนรางแดง ล้อมวงที่พระที่นั่งตามเคย ๑๐๐ คน ให้จมื่นก่ง


๓๐๙ ศิลป์สรจัดทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปนุ่งห่มตามเคย ยืนตามที่ ๑๐๐ คน อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการขุนธารกำนัล รับพานหมากพานบุหรี่ต่อวิเศษหมากพลูไปตั้งให้แขกเมืองรับพระราชทาน พานในที่เฝ้า พานถมเครื่องทอง ๑ พานในที่ศาลา พานถมเครื่องทอง ๑ อนึ่งให้ชาวที่ใหญ่คอยเตรียมประโคมมะโหระทึก เมื่อเสด็จออกครั้งหนึ่ง เมื่อเสด็จขึ้นครั้งหนึ่ง ให้พร้อมตามเคย อนึ่งให้มหาดเล็ก จัดกาแฟ จัดน้ำร้อน เลี้ยงแขกเมืองที่ศาลาลูกขุนให้พอตามเคย อนึ่งให้พระหลวงและล่ามพนักงานกรมท่า จัดโต๊ะเก้าอี้ให้แขกเมืองนั่งที่ศาลาลูกขุนให้พอ ให้นำแขกเมืองขึ้นประตูท่าพระ แล้วนำเข้าเฝ้าตามเคย อนึ่งให้กรมสัสดีหมายบอกเจ้ากรมปลัดกรม ให้ทูลกรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ ๑ ให้ทูลกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ๑ ทูล กรมหลวงมหิศวรินทร์ ๑ ทูลกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ๑ ทูล กรมขุนสรรพศิลป์ปรีชา ๑ ทูลกรมหมื่นวรศักดาพิศาล ๑ ทูลกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ๑ ทูลกรมหมื่นถาวรวรยศ ๑ ทูลกรมหมื่น วรจักรธรานุภาพ ๑ ทูลกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ๑ ทูลสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ๑ เป็น ๑๑ ให้ทูลกระหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ ๑ ทูลกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ ๑ ทูลกรมหมื่น ราชสีหวิกรม ๑ ทูลกรมหมื่น

๓๑๐ ราชสีหวิกรม ๑ ทูลกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ๑ ทูลกรมหมื่น อุดมรัตนาศรี ๑ ทูลกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ๑ เป็น ๖ ให้ทูล กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ๑ ทูลพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า สุประดิษฐ์ ๑ เป็น ๒ รวมเป็น ๑๘ พระองค์ ให้แต่งพระองค์ ผ้าทรงตามธรรมเนียม เสื้อทรงอย่างน้อยสีขาว ให้เชิญเสด็จ เข้าไปเฝ้าให้พร้อมกัน แต่ณวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาบ่ายโมงหนึ่ง อนึ่งให้พระนรินทรเสนี ให้พระศรีสหเทพ ให้พันพุฒ พัน เทพราช เกณฑ์หัวหมื่นนายตำรวจในซ้ายขวา เกณฑ์หัวหมื่นนายตำรวจใหญ่ซ้ายขวา รักษาพระทวารเทวาภิบาล กรมละ ๕ คน เกณฑ์หัวหมื่นนายตำรวจนอกซ้ายขวา รักษาพระทวารเทเวศร์ เกณฑ์หัวหมื่นนายตำรวจสนมซ้ายขวา รักษากรมละ ๕ คน แล้ว ให้เกณฑ์ไพร่พันทะนาย ๘ ตำรวจนุ่งกางเกงถือพลอง รักษาประตูวิเศษชัยศรี ๒๐ รักษาประตูรัตนพิศาล ๒๐ รักษาประตูพิมาน ชัยศรีชั้นใน ๒๐ รักษาประตูพิมานชัยศรีชั้นนอก ๒๐ เป็น ๘๐ คน ให้เข้าไปยืนตามที่ และให้หมู่ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เร่งจัดแจงการ ให้พร้อมทันกำหนดจงทุกพนักงาน สิ่งใดสงสัยไม่แจ้งให้ไปทูล ถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ตามรับสั่ง



๓๑๑ ฝรั่งเศสแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙

จดหมายเหตุเรื่องต้อนรับมองติคนีราชทูตฝรั่งเศส

มองตีงี ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำหนังสือสัญญากับกรุงเทพ ฯ มากำปั่นไฟ ๒ ลำ กำปั่นรบ ๑ ลำ เป็น ๓ ลำ ถึงสันดอน ณวัน อาทิตย์ เดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ กำปั่นไฟลำ ๑ ณวันเดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ เข้ามาถึงอีก กำปั่นไฟ ๑ กำปั่นรบ ๑ เป็น ๒ ครั้นณวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ กำปั่นไฟลำเล็กเข้ามาทอดหน้าด่านเมืองสมุทรปราการลำ ๑ แต่กำปั่นไฟกำปั่นรบลำใหญ่ ไม่ได้เข้ามาในกรุงเทพ ฯ กำปั่นไฟทูตขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ ทอด ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ณวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาเที่ยง ครั้นณวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ กำปั่นไฟใช้จักร์ขึ้นมาทอดหน้า จวนสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ เพลาค่ำขึ้นอยู่จวนสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ครั้นณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ ทูตเข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง ครั้นณวันเดือน ๘ แรม ๑๒ ค่ำ เข้าเฝ้าในพระบวร ราชวัง ออกใหญ่ ณวันพุธเดือน ๘ แรม ๑๓ ค่ำ ทูตขึ้นไปประชุมปรึกษาทำหนังสือสัญญาที่วังกรมหลวงวงศาครั้งหนึ่ง เป็นวันแรกประชุม ยังไม่ตกลงกัน แล้วนัดกันขึ้นไปประชุมปรึกษาเสมอ


๓๑๒ ทุกวันมา จนถึงณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ๑๖ วันจึงสำเร็จ ครั้น ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลาเที่ยง มองตีงีให้ทหารที่กำปั่นไฟ ยิงปืน คำนับวันเกิดเอมเปรอเจ้าแผ่นดินเมืองฝรั่งเศส ๒๑ นัด ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมงเศษ ฝ่ายกรุง ฯ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ๑ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม ๑ เจ้าพระยา รวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ๑ เจ้าพระยายมราช ๑ เป็น ๔ ทูต มองตีงีราชทูต ๑ กำมะโดดโตเสีย ๑ ขุนนางฝรั่งเศส ๑ เป็น ๓ เสมียน ๒ เป็น ๕ บาดหลวงลุยลาบ ขึ้นไปประชุม พร้อมกันที่วังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ลงชื่อ ปิดตราหนังสือสัญญา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี เชิญพระราชลัญจกรพระอุณาโลมธำมรงค์ออกมาปิดตราหนังสือสัญญา ด้วยหนังสือสัญญาครั้งนี้ ทำเป็น อักษรไทย ๓ ฉบับ อักษรฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ความต้องกันกับอักษรไทย กับอักษรฝรั่งเศส ทำให้ไว้คนละฉบับ ไม่ได้เย็บ ติดกันเหมือนหนังสือสัญญาอังกฤษอเมริกัน ครั้นจัดแจงเย็บทำ เสร็จแล้ว มองตีงีทูตลงชื่อในหนังสือสัญญาอักษรไทย อักษรฝรั่งเศส ทุกใบกระดาษ แล้วประทับพระราชลัญจกรพระอุณาโลมในหนังสือสัญญาอักษรไทย อักษรฝรั่งด้วยทุกใบกระดาษ เว้นแต่ใบประกาศ ที่ปิดตราท่านทั้งห้านั้น หาได้ปิดตราพระราชลัญจกรพระอุณาโลมไม่ลงชื่อปิดที่หน้าท้องพระโรง พระนามกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ปิด


๓๑๓ ตราพระนารายน์ทรงนาค ๑ ลงนามสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ปิดตราพระจันทรมณฑล ๑ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม ปิดตราพระคชสีห์ ๑ เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ปิดตราบัว แก้ว ๑ เจ้าพระยายมราช ปิดตรายมขี่สิงห์ ๑ เป็น ๔ รวม ๕ ลงชื่อมองตีงีทูต ปิดตราครั่งดวง ๑ ลงนาม ชื่อ ปิดตรา ดังนี้ ที่หมายสัญญา ๒๔ ข้อแห่งหนึ่ง ที่ท้ายกฎหมาย ๔ ข้อแห่งหนึ่ง ท้ายที่กับสินค้าแห่งหนึ่ง เหมือนกันทั้งอักษรไทย ฝรั่ง ครั้นลงชื่อ ปิดตราหนังสือสัญญาแล้ว ฝ่ายไทยยิงปืนที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์สุทธิ์ ๒๑ นัด ฝ่ายทูตฝรั่งเศสยิงปืนที่กำปั่นไฟสลุด ๒๑ นัดเหมือนกัน จนค่ำจึงแล้ว หนังสือสัญญานั้นมองตีงีทูตเอาไปเมืองฝรั่งเศส อักษรไทย ๒ อักษรฝรั่งเศส ๒ ( รวม ) ๔ ฉบับ เอาไว้ที่กรุง ฯ อักษรไทยหนึ่ง อักษรฝรั่งหนึ่ง ( รวม ) ๒ ฉบับ แล้วมองตีงีเชิญพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท กับสมเด็จเจ้าพระยา องค์น้อย ฯ พณ ฯ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ฯ พณ ฯ กรมท่า ฯ พณ ฯ กรมเมือง ลงมากินโต๊ะที่พักทูตด้วย วันเสาร์เดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรงนักษัตรอัฐศก ๖ ฯ พณ ฯ ผู้สำเร็จราชการกรมท่า ให้หมื่นวิเศษอักษรนายเวรกรมท่า เอา หนังสือสัญญาทูตฝรั่งส่งไว้ณหอพระมาลาภูษา อักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ๒ ฉบับ ขุนพินิจภูษา นายเวรรับเวรสมบัติ


๓๑๔ หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับราชทูตฝรั่งเศส ฉบับที่ ๑ เรื่องเตรียมการเสด็จออกรับมองติคนี ราชทูต

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ลุอิศณโปเลซิงเจ้าแผ่นดินผู้ครอบครองเมืองฝรั่งเศส แต่งให้มองตีงีเป็นราชทูตคุมเครื่องมงคลราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดแขกเมืองจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศกเพลาเช้าช้างต้นช้างพิเศษ จะได้ยืนปะรำรับแขกเมืองนั้น ให้พันพุฒพันเทพราชจ่ายเลขให้กับกรมช้างถือแส้หวาย ๑๒ ถือแส้หางม้า ๖ รวม ๑๘ ถือกระบองกลึง ๒๔ รวม ๔๒ จ่ายให้กับอภิรมถือกรรชิงเกล็ด ๑๐ ให้กับราชมันถือเครื่องยศ ถือกล้วย ๕ ถืออ้อย ๕ ถือหญ้า ๕ ถือหม้อน้ำ ๕ รวม ๒๐ รวม ๗๒ คน ให้เร่งจ่ายแต่ ณวันเดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ เพลาบ่าย ให้ทันกำหนด จะให้เอาไปถือเครื่องแห่ช้างมาคอยรับแขกเมือง ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้กรมช้างจัดช้างต้น ช้างพิเศษไปผูกเกยยืนปะรำ แล้วให้จัดช้างดั้ง ช้างปืน ไปยืนที่ริมศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา แล้วให้เบิกเครื่องช้างสำหรับผูกช้างต้น ช้างพิเศษ ช้างดั้ง ช้างปืน ภู่ตาข่าย


๓๑๕ มาปกหลังให้พร้อม กับแส้หวาย ๑๒ แส้หางม้า ๖ รวม ๑๘ กระบองกลึง ๒๔ มงคลแดง ๓๖ ต่อคลังสรรพายุธ แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๔๒ คน แล้วให้เบิกกางเกงปัสตูเหลืองริ้วทองรุ้งประกอบด้วยเชิง เบิกเสื้อเสนากุฎเหลืองเกี้ยวลาย หมวกยันต์เขียนลายทอง ต่อคลังเสื้อ คลังหมวก คลังวิเศษ ให้พอแล้วให้จัดคนในกรมช้างเป็นจัตุลังคบาท ใส่เสื้อ ใส่กางเกง ขัดกระบี่ ๑๒ คน นุ่งห่มคอยเตรียมรับแขกเมือง ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้อภิรมจัดกรรชิงเกล็ด ๑๐ คัน ให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๑๐ คน นุ่งกางเกง ยกเสื้อมัสรูมาคอยเตรียมแห่ช้างเข้าไปรับแขกเมืองในพระราชวัง ที่ประตูวิเศษชัยศรี แต่ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า ให้ทันกำหนด อนึ่งให้ราชมันกรมวังรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๒๐ คน ให้เบิกกางเกงริ้วทองรุ้งเกี้ยวลายต่อชาวพระคลังเสื้อหมวก พระคลังวิเศษ แล้วให้รับโต๊ะเงินใส่กล้วย ๒ อ้อย ๒ หญ้า ๒ รวม ๖ รับโต๊ะทองขาวใส่กล้วย ๓ ใส่อ้อย ๓ ใส่หญ้า ๓ รวม ๙ รวม ทั้งสิ้น ๑๕ ใบ ต่อวิเศษ ให้รับหม้อน้ำเงิน ๒ หม้อน้ำทองขาว ๓ รวม ๕ ใบ ใส่น้ำ ต่อขุนศรีสยุมพร มาคอยเตรียมตามช้างต้น ช้างพิเศษแห่เข้าไปรับแขกเมืองในพระราชวัง ที่ประตูวิเศษชัยศรี แต่ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า


๓๑๖ อนึ่งให้ขุนศรีสยุมพรรับหม้อน้ำเงิน ๒ หม้อน้ำทองขาว ๓ รวม ๕ ใบต่อท่านข้างใน มาใส่น้ำส่งให้ราชมันกรมวัง แต่ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้คลังแสงสรรพายุธจ่ายเครื่องช้าง แส้หวาย แส้หางม้า กระบองกลึง ให้คลังวิเศษ ให้คลังเสื้อหมวก จ่ายกางเกง เสื้อหมวกให้คลังวิเศษจ่ายเกี้ยวลายให้แก่ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ แต่ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้คลังราชการเอาเสื่อลวดไปปูที่ โรงพระบรมไกรสรให้เต็ม สำหรับแขกเมืองจะได้ดูพระยาช้าง แต่ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า ให้ทันกำหนด อนึ่งให้กรมเกณฑ์หัดแสงปืนจัดปืนรางเขียวไว้บนสัประคับช้าง ๆ ละบอก ๗ ช้าง ๗ บอก ให้จัดขุนหมื่นนั่งบนสัประคับช้าง ๆ ละ ๒ คน ๗ ช้าง ๑๔ คน แล้วให้เบิกเสื้อเสนากุฎน้ำเงิน เบิกเกี้ยวเจียรบาด เบิกหมวกเขียนทอง ต่อคลังเสื้อหมวก คลังวิเศษ มานุ่งห่มคอยเตรียมขึ้นช้างที่ประตูวิเศษชัยศรี แต่ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า และให้เจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้มาด้วยเตรียมให้พร้อมทุกพนักงาน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง



๓๑๗ ฉบับที่ ๒ ว่าด้วยจัดเรือพายไปรับราชทูตฝรั่งเศส กับขุนนางรวม ๒๖ คน ที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี มาส่งท่าพระ

อนึ่งเพลาเช้า ๔ โมงเศษ นายแช่มรองพันพรหมราชมาสั่งว่าลุอิศณโปเลซิงเจ้าแผ่นดินผู้ครองเมืองฝรั่งเศส แต่งให้มองตีงีเป็นราชทูตมากับเรือรบลำ ๑ เรือกลไฟ ๒ ลำ คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ขอเป็นทางพระราชไมตรี เข้ามาพักอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาองศ์ใหญ่ กำหนดมองตีงีราชทูต ๑ กำมะโดด ๑ ขุนนางฝรั่งเศส ๒๒ รวม ๒๔ สังฆราชยวง บาดหลวงล่าม ๒ รวม ๒๖ คน จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า ๑ โมงนั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอกเรือวรสุรวายุภักษ์ อาษาวิเศษซ้ายลำ ๑ รับมองตีงีทูต กำมะโดด เรือเหราอาษาในกรมวังซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ รวม ๒ ลำ รับขุนนางฝรั่งเศส ให้ดาดสีหลังคากุฎ มีเสื่ออ่อน มีหมอนอิง มีพรม มีม่านบังแดด ตบแต่งให้พร้อมงามดีจงทุกลำ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ ทั้งนี้ไปรับเอาเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช บรรจุพลพายให้ครบกะทง พลพายให้ใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดง จงทุกคน แล้วให้เบิกเสื้อแดงหมวกแดงต่อชาวพระคลังเสื้อ พระคลังหมวก แล้วไปเตรียมพร้อมกัน


๓๑๘ ที่บ้านท่านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า ๑ โมง ให้ทันกำหนด ขึ้นมาส่งประตูท่าพระ แล้วให้ส่งทูตถึงที่พัก อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๓ ว่าด้วยเกณฑ์กระบวนแห่รับพระรูปเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส แต่ท่าพระเข้าประตูวิเศษชัยศรี

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดมองตีงี ทูต ฝรั่งเศสจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวายเครื่องมงคลราชบรรณาการ ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เพลาเช้านั้น ให้มหาดไทยกลาโหม ให้พันพุฒ พันเทพราชเกณฑ์ฝีพายจัดเรือกราบยาว ๙ - ๑๐ วา รับทหารฝรั่งเศส ๔ ลำ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดงมาบรรจุเรือให้ครบกะทงลงไปรับทหารฝรั่งเศส ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ที่ทูตพัก ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า แล้วให้ คอยรับคอยส่งให้ถึงที่พัก อนึ่งให้จัดกระบวนแห่รับรูปเจ้าแผ่นดิน เมืองฝรั่งเศสทางบก ที่ประตูท่าพระเข้าประตูวิเศษชัยศรี เกณฑ์ไพร่ นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อเสนากุฎหมวกหนัง ถือปืนรางแดงแห่หน้า ๒๐๐ คน เกณฑ์กรมท่าซ้ายจัดปี่พาทย์จีนสำรับ ๑ นุ่งห่มตามเคย

๓๑๙ เกณฑ์ปี่พาทย์สำรับ ๑ กลองแขกสำรับ ๑ ปี่กลองมะลายูสำรับ ๑ ให้นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดง แห่หน้า และให้ผู้ ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ผู้ใดควรจะไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ก็ให้ ไปรับเลข แล้วให้เบิกธง เบิกเสื้อ เบิกกางเกง หมวก ต่อพระคลังธง พระคลังเสื้อ พระคลังหมวก มาเตรียมแห่ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้ครบจำนวน ให้ชาวพระคลังธง พระคลังเสื้อ พระคลังหมวก พระคลังกางเกง จ่ายธงจ่ายเสื้อ จ่ายกางเกง จ่ายหมวก ให้ผู้ต้องเกณฑ์ ให้พอ ถ้าผู้ใดสงสัยไม่เข้าใจ เข้าไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา เสียก่อนตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๔ ว่าด้วยเกณฑ์เรือรับราชทูตกับขุนนางและทหารฝรั่งเศส ตามแห่พระรูปเจ้าแผ่นดินไปส่งในพระบรมมหาราชวัง มีทหารปืนฝรั่งเศส ๑๐๐ คน เกณฑ์เรือเพิ่มเติมให้พอ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดมองตีงีทูต ฝรั่งเศสจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เพลาเช้า เป็นจำนวนคนมองตีงีราชทูต ๑ ขุนนาง ฝรั่งเศส ๒๐ คน ล่าม ๒ คน มีทหารปืนฝรั่งเศสตามแห่รูปเจ้าแผ่นดิน

๓๒๐ ฝรั่งเศสเข้าไปด้วย ๑๐๐ คน เรือซึ่งเกณฑ์รับทูตบรรทุกทหารไว้ แต่ก่อน คิดดูหาพอไม่นั้น ให้มหาดไทยกลาโหมเกณฑ์เรือกันยา ข้าราชการ ยาว ๘ หรือ ๙ วา เป็นเรือรับทูต เกณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง กรมมหาดไทย ๒ กรมกลาโหม ๒ กรมท่าขวา ๑ พระคลังมหาสมบัติ ๑ พระคลังสินค้า ๑ กรมพระสัสดี ๑ กรมล้อมพระราชวัง ๑ รวม ๙ ลำ ให้มีเสื่ออ่อน ให้มีหมอนอิง ให้มี พรมปู มีพนักข้าง พนักหลัง ผ้าม่านบังแดด ผ้าหน้าโขน เบิกเสื้อ เบิกหมวก ผ้าแดงต่อพระคลังเสื้อ พระคลังหมวก มาบรรจุพลพาย ให้ครบกะทงจงทุกลำ ให้ลงไปรับทูตที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ณวันเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่ง ขึ้นท่าพระแล้วให้ คอยรับคอยส่งทูตให้ถึงที่พัก อนึ่งเรือกันยาข้าราชการในกรมวัง ในกรมเมือง ในกรมนา ในกรมท่าซ้าย ซึ่งเกณฑ์รับทูตนั้น ให้เบิกเสื้อ หมวก ผ้าแดง ใส่ พลพายด้วยจงทุกลำ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๕ เรื่องให้พนักงานไปรับเครื่องราชบรรณาการของฝรั่งเศส ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่

ด้วยเจ้าพระยารวิวงค์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า นาโปเลออนที่ ๓ เอมเปรอฝรั่งเศส แต่งให้มองตีงีเป็นราชทูตคุมเครื่องมงคลราช ๓๒๑ บรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ขอทำหนังสือสัญญาเป็นทาง พระราชไมตรีกับกรุงเทพ ฯ เมื่อมองตีงีทูตเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ได้เชิญเอารูปเจ้าเอมเปรอเข้าทูลเกล้า ฯ ถวายแล้ว แต่เครื่องมงคล ราชบรรณาการนอกนั้น ยังหาได้ทรงทอดพระเนตร์ไม่นั้น ให้ เจ้าพนักงานพระคลังพิมานอากาศมารับเอา ระย้าแก้วแขวนระย้า ๑ พนักงานคลังแก้วจินดามารับปืนไปเรี่ยมทองบอก ๑ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งลงไปรับปืนรับระย้าที่นายเวรกรมท่า ณจวนสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ที่ทูตพัก แต่ณวันเดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก เพลาเช้า เข้าไปตั้งทูลเกล้า ฯ ถวาย อย่าให้ขาดได้ตาม รับสั่ง ฉบับที่ ๖ เรื่องบุตรภรรยาราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้า แล้วไปดูวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้จัดการรับให้สะอาด

ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า บุตรภรรยามองตีงีทูตฝรั่งเศสจะเข้า เฝ้าทูลละออง ฯ ในพระบรมมหาราชวัง แล้วจะไปดูวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วจะได้มาในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณวันเดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เพลาบ่าย ๑ โมงนั้น ให้พระนรินทรเสนีให้พระศรีสหเทพ ให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์จ่ายพันทะนายไทย ๔๑

๓๒๒ รักษาประตูวิเศษชัยศรี ประตูพิมานรัตนพิศาล ประตูศรีสุนทร ประตูเทวาพิทักษ์ ประตูศักดิ์ชัยสิทธิ์ รักษาตามเคย แล้วให้ เจ้ากรม ปลัดกรม จ่านายเวร นุ่งสมปักตามธรรมเนียม ใส่เสื้อขาวคอยเตรียมล้อมวงรักษาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเสด็จกลับ จะเสด็จมาพระมหาปราสาท ให้มาคอยเตรียมรับเสด็จทางประตู ข้างฉนวนหน้าท้องพระโรง นำเสด็จมาตามเคย แล้วให้จมื่นก่ง ศิลปศรจัดทหารอย่างยุโรป รักษาประตูพระมหาปราสาท ๗ ประตู ๆ ละ ๘ คน ให้ทันกำหนด แล้วให้รักษาพระองค์ พลองปลายหอก จัดพันทะนายถือพลองปลายหอก นุ่งกางเกงดำ ใส่เสื้อดำ ใส่หมวกดำ กับรักษาพระทวารมุขเด็จ ๒ พระทวารมุขกระสัน ๒ ทวารเทเวศรรักษา ทวารเทวาภิบาล เป็น ๖ พระทวาร ๆ ละ ๘ คน ทั้งนี้ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๗ เรื่องมีละครที่โรงทหารหน้าโรงหล่อ ให้แขกเมืองฝรั่งเศสดู

ด้วยจมื่นจงขวา รับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดจะมีละครที่โรงทหารหน้าโรงหล่อ ให้แขกเมืองฝรั่งเศสดู ณวันเดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ เวลาเช้านั้น ให้คลังราชการเอาเสื่อไปปู ให้หลวงมหามนเทียรสารพัตรยุทธ์

๓๒๓ ดาดสีอินทธนู ให้สนมพลเรือนจัดแจงที่ข้างใน ผูกม่าน ให้พระแก้วพระคลังสวนจัดดอกไม้ ลูกไม้ มาส่งกรมวัง ให้กรมวังชาวห้อง ผูกม่านแต่งที่ตามเคย ทุกพนักงานให้เตรียมไป แต่ณวันเดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ ๕ ค่ำ เพลาเช้าทั้งสามวัน แต่พระแก้วพระคลังสวนนายระวางซ้ายขวาจัดเอาดอกไม้ ลูกไม้ มาส่งแต่ณวันเดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ ไปกว่าจะเลิกงานละคร อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรือรับพระราชศาสน์กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าเอมเปรอกรุงฝรั่ง เศสมีพระราชศาสน์ส่งเข้ามา ให้กงสุลฝรั่งเศสที่อยู่กรุงเทพ ฯ นำเข้าทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดจะได้เข้าเฝ้าทูลละอองฯ ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเมียยังเป็นนพศกเพลาเช้า แล้วกงสุลฝรั่งเศสจะเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์เรือพระที่นั่งเอกชัยรับพระราชศาสน์ลำ ๑ เกณฑ์อาลักษณ์รักษา พระราชศาสน์ รับพานทอง ๒ ชั้น รับพระราชศาสน์ตั้งเหนือบุษบกเรือพระที่นั่งออกไป เอาด้ายดิบผูกให้มั่นคง ให้ลงไปกับเรือพระที่นั่งเอก

๓๒๔ ชัย ๒ คน เรือดั้งเป็นคู่ชัก ๒ ลำ จ่าปี่ ๓ จ่ากลอง ๑ กลองชะนะ ๕ คู่ ลงเรือโต เรือสาง เรือเหรา แตรงอน ๓ คู่ แตรฝรั่ง ๒ คู่ สังข์คู่ ๑ ลงเรือดั้ง เรือเหราล่องลอยสินธุ์ ๑ เรือลินลาสมุทร ๑ ( รวม ) ๒ เรือโตขมังคลื่น ๑ เรือโตฝืนสมุทร ๑ ( รวม ) ๒ เรือสางกำแหงหาญ ๑ เรือสางชาญชลสินธุ์ ๑ ( รวม ) ๒ ( เป็น ) ๖ ลำมีคู่แห่ไปมาคู่ชักเรือมังกรจำแลง ๑ เรือมังกรแผลงฤทธิ์ ๑ ( รวม ) ๒ เรือแซง ๒ รวม ๔ ปี่พาทลงเรือโต, เรือสาง, เรือเหรา ๔ สำรับ ธงมังกรใส่เรือโต, เรือสาง, เรือเหรา ลำละ ๒ คน เรือกันข้าราชการลำละคน ทวนลงเรือโต, เรือสาง, เรือเหรา ลำละ ๔ คน มีมะโหระทึกลงเรือดั้ง ๒ สำรับชาวพระมาลาพระภูษาเชิญพระกลดลงเรือพระที่นั่งเอกชัยกั้นพระราชศาสน์องค์ ๑ หัวหมื่นพระตำรวจวังลงเรือพระที่นั่งเอกชัยเป็นนักสร้างนุ่งถมปักลายใส่เสื้อกรุยลำพอกขาว ถือธงหักทองขวาง ๒ คน นั่งท้าย ตีนตอง นุ่งถมปักลาย ใส่เสื้อกรุย ลำภอกขาว ๖ คน เครื่องสูงลงเรือพระที่นั่งเอกชัย หน้า ๓ ท้าย ๒ ( รวม ) ๕ องค์ ฝีพายจัดเรือกันยายาว ๑๒ - ๑๓ วา สำหรับทูตขี่ลำ ๑ ให้มีเสื่ออ่อน หมอนอิง พรมปู ผูกผ้าหน้าโขน ม่านบังแดด มีพนักข้างหลังอย่าง เรือขุนนางขี่ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาบรรจุเรือให้ครบกะทงจงทุกลำ พลพายให้ใส่เสื้อแดง หมวกแดง จงทุกคน แล้วให้เบิกเสื้อกางเกงทั้งหมวก ต่อชาวคลังเสื้อคลังหมวก แล้วให้คลังเตรียมพร้อมกันที่ท่าขุนนางเหนือพระที่นั่งฉลังคพิมาน แต่ ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า จงทุกพนักงานให้ทันกำหนดแล้วลงไปรับกงสุลนั้นและท่านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีก่อน ๓๒๕ อนึ่งให้เกณฑ์เรือกันยาข้าราชการเป็นเรือกำกับเกณฑ์ ในพระบรมมหาราชวัง กรมมหาดไทย ๒ กรมพระกลาโหม ๒ กรมวัง ๑ กรมเมือง ๑ กรมนา ๑ กรมท่าซ้าย ๑ กรมท่าขวา ๑ ( รวม ) ๙ กรมพระคลังมหาสมบัติ ๑ กรมพระสัสดี ๑ กรมล้อมพระราช วัง ๑ กรมพระคลังสินค้า ๑ รวม ๑๓ เกณฑ์ในพระบวรราชวังมหาดไทย ๑ กรมวัง ๑ กรมพระสัสดี ๑ กรมล้อมพระบวรราชวัง ๑ กรมพระคลังมหาสมบัติ ๑ กรมเมือง ๑ กรมพระกลาโหม ๑ ( เป็น ) ๗ ลำ ให้บรรจุพลพายให้ครบกะทง ให้มีขุนหมื่นกำกับลำ จงทุกลำ ๆ ละคน ให้มีเสื่ออ่อน พรม เบาะ หมอนอิง ผูกผ้าหน้าโขน ผ้าบังแดด เหมือนอย่างเรือขุนนางขี่ตามเสด็จพระราชทานพระกฐินเมื่อจะไปนั้นให้เบิกธงมังกรลำละคันจงทุกลำ ให้เร่งลงไปพร้อมกัน กับเรือพระราชศาสน์ให้ทันกำหนด แล้วให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เร่งจัด แจงแต่งเรือ ให้เหมือนกระบวนแห่พระราชศาสน์ครั้งก่อน ให้พร้อมจงทุกพนักงาน ลงไปรับพระราชศาสน์รับกงสุลที่บ้านกงสุลฝรั่งเศส แต่ ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้าให้ทันกำหนด เมื่อลงไปเรือพระ ที่นั่งเอกชัยรับเครื่องสูง เรือดั้งรับมะโหระทึกแตรสังข์ เรือสาง เรือโต เรือเหรา รับปี่พาท กลองชะนะ ลงเรือไปด้วยตามเคย แล้ว จึงให้ล่องเรือไปแต่เรือพระที่นั่งเอกชัย เรือกันยาทูตขี่นั้น เมื่อจะลง ไป ให้แวะที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ตรวจตราดูแลก่อนจึงให้ล่องไป แล้วแห่มาขึ้นประตูท่าพระ


๓๒๖ อนึ่งให้มหาดไทย ให้กลาโหม พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ทางบกที่ประตูท่าพระ แห่เข้าประตูวิเศษ ชัยศรี ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำเวลาเช้า ให้เกณฑ์ขุนหมื่น เป็นคู่แห่เดินเท้า นุ่งถมปักลายใส่เสื้อครุย ลำพอกขาว แห่หน้า ๖๐ แห่หลัง ๔๐ ( รวม ) ๑๐๐ คน ให้เกณฑ์ ตำรวจเวร ๘ กรมนุ่งไหมคาด ราตคตถือมัดหวายแห่หน้า ๒๐ คน ให้เกณฑ์สี่ตำรวจ สนม ตำรวจถือธงมังกร นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อเสนากุฎ หมวกหนัง แห่หน้า ๖๐ แห่หลัง ๔๐ ( รวม ) ๑๐๐ คน ให้เกณฑ์สี่ตำรวจรับพระ ราชยานต่อพันเงินองค์ ๑ ให้ยืมพรมน้อยต่อพระคลังพิมานอากาศ ผืน ๑ ให้นุ่งกางเกงแดงคาดเกี้ยวลายหามพระราชยาน ให้เกณฑ์อภิรมนุ่งห่มตามเคย เชิญเครื่องสูงแห่หน้า ๖ แห่หลัง ๔ ( รวม ) ๑๐ องค์ ให้เกณฑ์พระราชยานจัดแคร่ตาม ธรรมเนียมอย่างขุนนางไทยขี่ ๑๘ แคร่ ให้มีสัปทนคนหามให้พร้อม ให้เกณฑ์ชาวมาลาภูษา จัดกำนัลเชิญพระกลดองค์ ๑ ให้เกณฑ์อาลักษณ์รับพานทอง ๒ ชั้นต่อชาวพระคลังมหาสมบัติ ไปรับพระราชศาสน์ที่ประตูท่าพระตั้งบนพระราชยานแล้วให้เดินเคียงพระราชศาสน์ข้างละ ๒ คน ให้เกณฑ์หัดแสงใน นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อเสนากุฎ ใส่หมวกหนัง ถือปืนรางแดง ๔๐ คน ให้เกณฑ์มะโหระทึก นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดง ลงไปแห่พระราชศาสน์ที่ประตูท่าพระ ๒ สำรับ


๓๒๗ ให้ราชยานจัดพระที่นั่งน้อยหามบรรณาการองค์ ๑ จ่าปี่ ๑ จ่า กลอง ๑ กลองชะนะ ๓๐ แตรงอน ๖ แตรฝรั่ง ๔ ( รวม )๑๐ สังข์ ๒ คน นุ่งห่มตามเคย แห่พระราชศาสน์ และให้หมู่ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ผู้ใดควรจะรับเลขก็ให้ไปรับเลข ต่อพันพุฒ พันเทพราช ให้ครบ จำนวน เบิกเสื้อ หมวกธง ต่อชาวพระคลังเสื้อ พระคลังหมวก แต่ คู่แห่เดินเท้าให้มารับเสื้อครุย ลำพอก ที่วังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา แล้วให้เร่งลงไปคอยเตรียมแห่พระราชศาสน์ ที่ ประตูท่าพระแต่ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒพันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ ทั้งกระบวนบกกระบวนเรือ ให้ครบจำนวนเกณฑ์ทั้งสองกระบวน อนึ่งให้เกณฑ์ข้าทูลละออง ฯ เป็นคู่เคียงพระราชศาสน์ที่ประตูท่าพระนั้น ให้เกณฑ์กรมท่า หลวงสวัสดิอุดม ๑ หลวงรักษาสมบัติ ๑ ( รวม ) ๒ เกณฑ์กรมนา หลวงพิพิธสาลี ๑ หลวงศรีทิพโภชน์ ๑ ( รวม ) ๒ เกณฑ์กรมเมือง หลวงปัตพิจาร ๑ หลวงสุธาพิทักษ์ ๑ ( รวม ) ๒ เกณฑ์กรมวัง หลวงศรีราชบุตร์ ๑ หลวงวุฑฒามาตย์ ๑ ( รวม ) ๒ สนมกลาง หลวงภูเบศรสิงหนาท ๑ หลวงอเรนทรชาติ ๑ ( รวม ) ๒ ( เป็น ) ๑๐ คน ให้นุ่งถมปักลาย ใส่เสื้อครุย ลำพอกขาว เตรียมเครื่องราชศาสน์ที่ประตูท่าพระ ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้ชาวพระราชยานจัดเฉลี่ยงน้อยองค์หนึ่ง ไปคอยรับพระราชศาสน์ณเกยที่ประตูท่าพระให้ทันกำหนด

๓๒๘ อนึ่งให้ชาวพระคลังแสงสรรพาวุธ ไปแต่งเกยที่ประตูท่าพระแต่ ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำเพลาเช้าให้งามดี และให้ผู้ต้องเกณฑ์ ทั้งนี้จัดแจงการให้พร้อม ทั้งกระบวนบกกระบวนเรือ ตามกำหนดที่วันถ้าการสิ่งใดไม่เข้าใจ ก็ให้ไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเสด็จออกรับกงสุลฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มีหมายสั่งไปแต่ ก่อนว่า แขกเมืองมะลายูซึ่งคุมดอกไม้ทอง ดอกไม้เงิน เข้ามาทูล เกล้า ฯ วายนั้น จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ กราบถวายบังคมลา ณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณวันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๒ ค่ำปีมะเมีย สัมฤทธิศก ความแจ้งอยู่ในหมายรับสั่งนั้นแล้ว บัดนี้พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส แต่งให้มองซิเออร์กลเตอร์เกอร์ดัสเล็ลโนกงสุล เข้ามา เปลี่ยนกงสุลคนเก่า เข้ามาอยู่ณกรุงเทพ ฯ กำหนดมองซิเออร์กลเตอร์เกอร์ดัสเต็ลโนจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในวันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๒ ค่ำเพลาเช้านั้นด้วยพวกหนึ่ง เสด็จออกแขกเมืองเป็น ๒ ครั้งนั้น ให้มหาดไทย ให้กลาโหม ให้กรมสัสดี

๓๒๙ หมายบอกเจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ในการรับสั่งแขกเมือง ให้รู้จงทุกพนักงานให้จัดแจงการเหมือนอย่างกงสุลเฝ้าครั้งก่อน อนึ่งให้ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่มีตำแหน่งเฝ้า ให้เอาเสื้อเข้มขาบเข้ามาเตรียมไว้ด้วยจงทุกคน ถ้าจะโปรดให้ใส่เสื้อเข้มขาบหรือเสื้อแพรสีประการใด จะได้ใส่เข้าเฝ้าทันการตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับรองมิศยาเวชาติอังกฤษ เข้าเฝ้าที่พระตำหนักน้ำ

ด้วยพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิศยาเวชาติอังกฤษจะเข้ามาเฝ้า ทูลละออง ฯ ที่พระตำหนักน้ำ ณวันเดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ เพลาย่ำเที่ยงนั้น ให้ชาวพระคลังราชการเอาเสื่อลวดไปปูที่พระตำหนักน้ำ และที่ โรงเรือจะได้พักแขกเมืองให้พอ อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศ จัดพรมไปปูที่พระตำหนัก น้ำให้เต็ม เร่งไปปูให้ทันกำหนด อนึ่งให้รักษาพระองค์ซ้ายขวา ให้ชาวที่พระบรรทมจัดพระเก้าอี้ไปตั้งรับเสด็จ และเก้าอี้รับแขกเมืองให้พอ แล้วชาวที่ใหญ่จัดเทียน มีเชิงปักมาตั้งรับแขกเมืองด้วย อนึ่งให้อาษาจาม อาษาเดโช จัดเรือมาทอดทุ่นเหนือทุ่นท้ายน้ำตามเคย ๔๒ ๓๓๐ อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการ ให้ขุนธารกำนัล จัดกระโถนจัดขันน้ำ ไปตั้ง ให้แขกเมืองรับพระราชทานที่โรงเรือ เหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้นายบำรุงราชบทมาลย์จัดน้ำร้อนน้ำชากาแฟ ไปจัด แจงให้แขกเมืองรับพระราชทานให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้นายนิต นายชิดให้พอเรือ ๓ ลำ จ่ายให้ณวันเดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำเช้าย่ำรุ่ง อนึ่งให้มาลาภูษาให้ชาวพระราชยานให้ชาววังชาวที่ ให้มหาดเล็ก ให้แสงในให้แสงต้น ให้เกณฑ์หัดแสงใน ทหารปืนเกณฑ์หัดอย่าง ยุโรป จุกช่องล้อมวงตั้งกองรายทางบกทางน้ำ ทั้งนี้ให้เตรียมทำตามรับสั่งเสร็จให้มากกว่าปกติสักหน่อย แต่อย่าให้มากนัก จงทุก พนักงานตามรับสั่ง โปตุเกศแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตโปตุเกศ ฉบับที่ ๑ เรื่องให้จัดที่พักปากคลองผดุงรับราชทูตโปตุเกศ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าเมืองปัตุกัน แต่งให้พิเรนทร์ขุนนางโปตุเกศ เป็นทูตเข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี ๓๓๑ ณกรุงเทพ ฯ พิเรนทร์ทูตมาเรือรบชื่อโมงติโก มาถึงที่ทอดนอก สันดอนแต่ณวันเดือนยี่แรม ๓ ค่ำแล้ว ทูตเข้ามาครั้งนี้ จะให้ทูตขึ้นพักที่ตึกรับทูตปากคลองผดุงกรุงเกษม กำหนดทูตจะได้ขึ้นมาถึง ตึกพักณวันอาทิตย์เดือนยี่แรม ๕ ค่ำนั้น ให้พระคลังพิมานอากาศจัดโคมหวดโคมหม้อลงไปแขวนห้องตึก ถ้วยแก้วกระบอกสำหรับตึก เสื้อผ้า เบิกยืมเลขห้องตะเกียงต่อพระคลังในขวา ไปตึกให้พอ กับ ถ้วยแก้วให้พอ ตามเคยมาแต่ก่อน อนึ่งให้พระคลังวิเศษเร่งไปแขวนไปติด ให้จัดมุ้งแพรโล่มีระบาย ไปผูกเตียง ผ้าขาวกำมะหยี่ปูที่นอนปูโต๊ะกินข้าว สำหรับขุนนางนอน ๑๘ หลัง ให้เร่งลงไปผูกให้พอตามเคย อนึ่งให้กรมพระนครบาลเบิกยืมตุ่มสามโคก ต่อกรมพระกลาโหม ไปตั้งที่ตึกรับทูต ๒๐ ใบ อนึ่งให้พระคลังราชการจัดเสื่อลวดเสื่ออ่อน ไปปูที่ตึกรับทูตให้พอ แล้วให้จ่ายน้ำมันมะพร้าวฟืนแสม ไต้ ให้แขกเมืองใช้สรอยให้พอกว่าจะกลับไป และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ เร่งจัดสิ่งของลงไปตกแต่งตึก รับทูต ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม แต่ณวันเสาร์เดือนยี่แรม ๔ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พระแก้วพระคลังสวน จัดมะพร้าวอ่อน จัดกล้วยส้มและ ผลไม้ต่าง ๆ ที่มีรสหวาน สิ่งละมาก ๆ ไปทักทูตที่ตึกรับทูตแต่ ณวันจันทร์เดือนยี่แรม ๖ ค่ำครั้งหนึ่งก่อน แล้วเว้น ๔ วันทักครั้งหนึ่งกว่าทูตจะกลับไป เมื่อจะเอาสิ่งของไปทักทูตนั้นให้บอกจำนวนสิ่งของที่เวรกรมท่าจงทุกครั้ง ๓๓๒ อนึ่งให้กรมนาจ่ายข้าวสารนาสวนขาว นมโค ให้ทูตนายไพร่รับพระราชทานข้าวสารวันละถัง นมโควันละ ๓ ทะนาน ให้เร่งไป จ่ายแต่ณวันจันทร์เดือนยี่แรม ๖ ค่ำเพลาเช้าไป เสมอจงทุกวันอย่า ให้ขาดจนกว่าทูตจะกลับไป อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขรองงานสี่ตำรวจลงไป รับใช้สรอยทูต ๘ คน กว่าทูตจะกลับไป ให้เร่งเอาเลขลงไปจ่ายให้ ขุนอักษรสมบัติ เสมียนตรากรมท่า แต่ณวันอาทิตย์เดือนยี่แรม ๕ ค่ำให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังในซ้ายจ่ายสีผึ้ง จ่ายด้ายดิบ ให้หมื่นวิเศษอักษรนายเวรกรมท่าไป สำหรับฟั่นเทียนให้ทูตใช้สรอย สีผึ้งหนัก ๒๐.......... ด้ายดิบ ๕ เข็ด ให้เร่งจ่ายแต่ณวันเสาร์เดือนยี่แรม ๔ ค่ำ ให้ทันกำหนด และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ เร่งเอาเลขสิ่งของ ไปจ่าย ที่ตึกรับทูตปากคลองผดุงกรุงเกษม ให้ทันกำหนดจงทุกสิ่ง อย่าให้ ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๒ เรื่องจารึกพระราชศาสน์ไปประเทศโปตุคอล ให้พิณพาทย์แตรสังข์ ไปคอยประโคม

ด้วยพระศรีสุนทรโวหาร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดจะได้จารึกพระสุพรรณบัตร์

๓๓๓ แผ่นพระราชศาสน์ที่จะออกไปกรุงโปตุคอล ที่หอพระมนเทียรธรรม ณวันศุกร์เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ อนึ่งให้ปี่พาทย์แตรสังข์ ไปประโคมเมื่อจารึกพระราชศาสน์ ถ้าเจ้าพนักงานรู้หมายนี้แล้ว ให้เร่งจัดแจงเอาไปตั้งไว้ในหอพระมนเทียรธรรม ณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่จะได้จารึกพระราชศาสน์นั้น ให้เจ้าพนักงานจัดแจงบายศรีตองสำรับ ๑ ศีร์ษะสุกรศีร์ษะ ๑ พร้อมด้วยแป้งหอมน้ำมันหอม สำหรับจะได้เจิมพระราชศาสน์ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๓ เรื่องแขกเมืองจะมาดูละครที่ริมเขาไกลาศ ให้จัดการรับรองให้ดี

ด้วยพระยาพิพัฒนโกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันจันทร์เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาบ่าย ๑ โมง แขกเมืองจะเข้ามาทูลก่อนที่ริมเขาไกลาศ อนึ่งให้ราชยานจัดแคร่ ๑๔ แคร่ แล้วรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราชหามแคร่คอยรับคอยส่งแขกเมืองที่ท่าพระ หามเข้ามาใน พระบรมมหาราชวัง อย่าให้ขาดได้ อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัล จัดกระโถนปั้นน้ำหมากพลูมาตั้งตามกำหนด อนึ่งให้จ่าศาลายืมพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศไปปูศาลา กลาโหมเหมือนอย่างทุกครั้ง ๓๓๔ อนึ่งให้หัวป่ายืมเก้าอี้ ๑๔ เก้าอี้ ยืมโต๊ะที่ขุนราชฤดี ไปตั้งที่ศาลาลูกขุกในฝ่ายซ้าย อย่าให้ขาดได้ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายให้เต็มลำเรือ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๔ เรื่องแขกเมืองเข้าเฝ้าวังหน้าเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ทูลเจ้านายวังหน้า แต่งพระองค์เข้าเฝ้าให้พร้อม

ด้วยนายราชาอัฎนายเวรพระบวรราชวังมาสั่งว่า ด้วยพระราชา นุประดิษฐ์ รับพระบวรราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ สั่งว่า วิชิโกโรเข้ามาเฝ้าฝ่าละออง ฯ ณวันเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จออกณพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เหมือนครั้งเซอร์ยอนเบาริงเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ให้หมายบอกจางวาง บอกเจ้ากรม บอกปลัดกรมสมุห์บัญชี กราบทูลพระราชวรวงค์เธอ ๓ ทูลพระวรวงศ์เธอ ๒ พระองค์เจ้าชั้นหนึ่ง ๒ เป็น ๗ พระองค์ สัมพันธวงศ์เธอ ๕ พระองค์ แต่งพระองค์เริ่มไปเฝ้า




๓๓๕ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลอเมริกันเข้าเฝ้าถวายอักษรศาสน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเด็นผู้ครอบครองเมืองอเมริกา มีอักษรศาสน์ส่งเข้ามายังกงสุลอเมริกาให้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดกงสุลอเมริกาจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวาย อักษรศาสน์ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเสาร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลาเช้า ให้เกณฑ์ยกเวรเลขฝีพายจ่ายการประจำการในหมู่พายเรือหามแคร่ ถือกรรชิง ถือธงมังกร แห่พระราชศาสน์นั้นเกณฑ์ และให้หมู่ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้เอาตัวเลขให้เจ้าพนักงาน แต่ณวันศุกร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำเพลาบ่าย จะได้จ่ายเครื่องแต่งตัวให้ รุ่งขึ้นณวันเสาร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำเพลาเช้า จะได้เข้ากระบวนแห่พระราชศาสน์อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง




๓๓๖ ปรูเซียแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตปรูเซีย

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินเมืองปรูเซีย มีพระราชศาสน์แต่งให้ทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ขอทำหนังสือสัญญาให้ลูกค้าไปมาค้าขาย เหมือนอย่างเมืองไทยต่างประเทศ แต่งให้ราชทูตเข้ามาแต่ก่อน ๆ นั้น กำหนดราชทูตเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในเดือน ๗ ข้างแรมปีวอกโทศก ทูตเข้ามาครั้งนี้จะให้พักที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศารามนั้น ให้พระคลังวิเศษจัดมุ้งแพรมีระบายสำหรับผูกเตียงทูต ๔ ให้จัดมุ้งผ้ามีระบายสำหรับผูกเตียงขุนนางที่เข้ามา กับทูต ๗ เป็น ๑๑ หลัง ให้เร่งเย็บตามเคยไปผูกเตียงให้ทันกำหนด ให้พระคลังในซ้ายจัดฟูก ๑๑ จัดผ้าขาวปูที่นอน ๑๑ เป็น ๒๒ ผืน ให้ จัดหมอนหนุนศีร์ษะ ๑๑ หมอนข้าง ๒๒ รวมเป็น ๓๓ ใบ ให้เร่ง เย็บลงไปปูลาดที่นอนตามเคย ให้พระคลังพิมานอากาศจัดโคมหวด จัดโคมหม้อจัดโคมตั้งจัดถ้วยแก้วกระบอก ไปแขวนไปตั้งที่ตึกรับทูต ให้พอ ให้กรมพระนครบาล ยืมตุ่มสามโคกต่อกรมพระกลาโหม ไป ตั้งที่ตึกรับทูต ๒๐ ใบ ให้พระคลังราชการจัดเสื่ออ่อนเสื่อลวด ไปปูตึก

๓๓๗ รับทูตให้พอตามเคย ให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งเอามุ้งหมอนฟูก เอาเสื่ออ่อนเอาตุ่มไปตั้ง เอาโคมไปแขวน ที่ตึกรับทูตหน้าวัดประยุรวงศารามแต่ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๓ ค่ำปีวอกโทศก เมื่อจะเอาของไปตั้งให้ บอกบัญชีต่อขุนอักษรสมบัติ เสมียนตรากรมท่า พาทูตกลับไปแล้ว ให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ รับเอาสิ่งของที่ไปตั้งคืนมาตามเคย อย่าให้ขาด ได้ตามรับสั่ง

ฮอลันดาแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓

หมายรับสั่ง เรื่องราชทูตฮอลันดาเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา ให้จัดการให้พร้อม

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า โยนฮอนเกอ์รเชียด ราชทูต และขุนนางฮอลันดา จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ กราบถวายบังคมลาในพระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น ให้ชาวพระราชยานจัดแคร่มีเก้าอี้ ๑ จัดแคร่ไม่มีเก้าอี้ ๖ เป็น ๗ แคร่ ให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช นุ่งกางเกงขาวเกี้ยวลายตามเคยหามแคร่ ๒๘ คน ให้ ชาวอภิรมจัดสัปทนลงไปกั้นทูตที่ท่าพระ ๗ คัน ให้เร่งส่งไปรับทูต ๔๓ ๓๓๘ ที่ท่าพระเข้าประตูเทวาพิทักษ์ พักที่เก๋งจวนกลาง ณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาบ่าย ๒ โมง แล้วให้คอยรับคอยส่งตามเคย อนึ่งให้กรมพระนครบาลจัดคนกวาดถนนตั้งแต่ท่าพระถึงประตู เทวาพิทักษ์ ให้เร่งกวาดแต่ณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาเช้า อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ราชยานหามแคร่ให้พอตามเคย ให้เร่งจ่ายแต่ณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาเช้า อนึ่งให้คลังพิมานอากาศจัดเจียมจัดพรมที่ดี ให้คลังราชการเอาเสื่อมาปูที่เก๋งจวนกลางให้พอ ให้เลือกเอาเสื่อเอาพรมที่ใหม่งามดีมาปู ให้เร่งปูแต่ณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาเช้า อนึ่งให้อภิรมยืมโต๊ะยืมเก้าอี้ต่อนายบำรุง จัดโต๊ะจัดเก้าอี้มาตั้งที่ เก๋งจวนกลาง สำหรับทูตพักให้พอตามเคย อนึ่งให้พระคลังมหาสมบัติจัดเผือกจัดมันต่าง ๆ หนัก ๑๕ ชั่ง อนึ่งให้พระแก้วพระคลังสวนจัดฟักทอง ๒๐๐ ผล จัดส้มโอ ๔๐๐ ผล จัดสัปรส ๒๐๐ ผล ลงไปทักทูตที่ตึกปากคลองผดุงกรุงเกษม แต่ณวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๙ ค่ำเพลาเช้า ให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์ ส่งเรืออเมริกันนอกสันดอน

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่ เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เปรสิเดนผู้ครอบครอง ๓๓๙ แผ่นดินอเมริกามีอักษรศาสน์ ส่งเข้ามาให้มิศจันดเลกงสุลอเมริกัน นำทูลเกล้า ฯ ถวายเมื่อณวันเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำปี มะแมเอกศก ยังหาได้ตอบพระราชศาสน์ออกไปไม่ ครั้งนี้กัปตันยิแอมเปอริน นายเรือรบชื่อยอนอาดามของแผ่นดินอเมริกา ลาดตระเวนไฟท้องทะเล แวะเข้ามาเยี่ยม กงสุลอเมริกาซึ่งอยู่ณกรุงเทพ ฯ จะขอให้เฝ้าทูลละออง ฯ ด้วย ได้โปรดเกล้า ฯ ให้กัปตันยีแอมเปอริน กับขุนนางนายทหาร เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ แต่ณวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำแล้ว บัดนี้กัปตันจะได้กราบถวายบังคมลากลับออกไป ได้โปรดเกล้า ฯ มีพระ ราชศาสน์และของทรงยินดี มอบให้กัปตันยิแอมเปอริน นายเรือรบเชิญออกไปแผ่นดินอเมริกาด้วย กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาเช้า จะได้จัดกระบวนแห่ ตั้งแต่หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ แห่มาทางหน้าป้อมเผด็จดัษกร ลง เรือพระที่นั่งกลไฟที่ท่าพระ ลงไปส่งที่เรือรบนอกสันดอนนั้น ให้ พระอรสุมพลาภิบาล เจ้ากรม ให้หลวงชำนาญนาวากล ปลัดกรม จัดเรือพระที่นั่งกลไฟสยามอรสุมพลมาด้วย รับพระราชศาสน์ที่ท่าพระ ลำหนึ่ง ให้มีโต๊ะเก้าอี้นั่งเก้าอี้ยาวให้พร้อม เมื่อจะลงไป ให้รับอาลักษณ์รับกลองชนะรับแตร รับเครื่องสูงรับของทรงยินดีลงไปด้วยแล้วให้ลงไปรับกัปตันนายเรือรบ ที่บ้านมิศกุเด็นลงเรือไปด้วย ออก ไปส่งที่เรือรบยอนอาดำนอกสันดอน ถึงเมืองสมุทรปราการแล้วให้ แวะที่รับนายท้ายและพักเลี้ยงกัปตันก่อนจึงให้ออกไป


๓๔๐ อนึ่งให้เกณฑ์กระบวนแห่ราชศาสน์ทางบกลงไปส่งท่าพระนั้น ให้ เกณฑ์สี่ตำรวจรับพระราชยานกงต่อพันเงินองค์ ๑ ยืมพรมน้อยต่อคลังพิมานอากาศผืนหนึ่ง ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาใส่ตั้งเก๋งไว้มาใส่พระเกี้ยวลายตามเคย หามมารับพระราชศาสน์ ที่พระที่นั่ง พุทไธศวรรย์ลงไปส่งท่าพระ หลวงขุนหมื่นเป็นทูตแห่เดินเท้า นุ่ง สมปักลายใส่เสื้อครุยขาว แห่หน้า ๓๐ คู่ หลัง ๒๐ คู่ เป็น ๕๐ คู่ ไพร่นุ่งกางเกงแดง ใส่ลำพอกใส่เสื้อเสนากุฎใส่หมวกหนัง ถือปืนแห่มาหน้า ๒๐ ถือธงมังกรแห่มาหน้า ๒๐ แห่มาหลัง ๑๐ เป็น ๓๐ รวมเป็น ๕๐ คู่ หลวงราชมนูหลวงเพชร์ฉลูเสนี หมื่นสุรินทร์ราชา หมื่นปรีดาราช หมื่นเทวาทิตย์ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ จัดกลองชนะ ๑๕ คู่ จัดแตรงอน ๓ คู่ จัดแตรฝรั่ง ๒ คู่ ใส่เสื้อปัสตูนุ่งกางเกงใส่หมวก คอยรับแห่พระราชศาสน์ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ให้เกณฑ์ชาวอภิรม รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาแต่งตัวตามเคย เชิญเครื่องสูงแห่หน้า ๖ แห่หลัง ๔ เป็น ๑๐ เชิญเครื่องสูงบังสูรย์ ๑ บังแทรก ๖ พัดโบก ๑ ให้เกณฑ์ชาวพระคลังมหาสมบัติส่งพานทอง ๒ ชั้นให้อาลักษณ์ สำหรับรองพระราชศาสน์ ให้เกณฑ์ชาวพระมาลาภูษาเชิญพระกลดกั้นพระราชศาสน์ ให้เกณฑ์อาลักษณ์รับพานทอง ๒ ชั้นต่อชาวพระคลังมหาสมบัติ มาคอยเตรียมรับพระราชศาสน์ แล้วให้ เชิญพระราชศาสน์ขึ้นพระราชยาน ให้ขึ้นประคองไปด้วยคน ๑ ตามเคย เกณฑ์หัดแสงปืนจ่ายปืนคาบศิลาให้คู่แห่ ๔๐ บอก ให้เกณฑ์ชาว พระคลังเสื้อพระคลังหมวกพระคลังธงพระคลังวิเศษ จ่ายเสื้อหมวก

๓๔๑ จ่ายกางเกงจ่ายเกี้ยวลาย ให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ หัวหมื่นพระตำรวจ นุ่งไหมคาดราตคตถือมัดหวายแห่หน้า ๕ คู่ ให้เกณฑ์พระคลัง พิมานอากาศจ่ายยืมพรมมอบให้สี่ตำรวจผืน ๑ ให้พันเงินจ่ายพระราช ยานกง ให้สี่ตำรวจองค์ ๑ ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ ต้องเกณฑ์ให้พอตามเคย ให้ฝีพายจัดเรือกันยายาว ๑๑-๑๒ วา ผูกม่านทอง คอยรับพระราชศาสน์ที่ท่าพระ ลงเรือพระที่นั่งกลไฟ คอยเรือกลไฟเข้าตื้นไม่ได้ลำ ๑ ครั้นคู่แห่พร้อมแล้ว ให้กรมพระ อาลักษณ์เดินเคียงพระราชศาสน์ข้างละ ๒ คน ถ้าพระราชศาสน์ลงเรือพระที่นั่งกลไฟแล้ว ให้อาลักษณ์ลงเรือพระที่นั่งกลไฟ รักษา พระราชศาสน์ไปด้วย ๒ คน ให้ชาวพระมาลาภูษาลงเรือพระที่นั่ง กลไฟ เชิญพระกลดกำมะลอกั้นพระราชศาสน์ ๑ ให้ชาวพระอภิรม ลงเรือพระที่นั่งกลไฟถือเครื่อง ๑๐ คน ให้จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ กลองชะนะ ๕ คู่ แตรงอน ๖ แตรฝรั่ง ๕ สังข์ ๑ ลงเรือพระที่นั่งกลไฟโดยพระราชศาสน์ด้วย อนึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้จัดของทรงยินดี ออกไปจำเริญทางพระราช ไมตรีเปรสิเดน ดาบเหล็กลายทำที่เมืองสยามตามรูปอย่างญี่ปุ่น มี ฝักเงินถมยาดำกาไหล่ทอง และมีเครื่องประกับทองคำเล่ม ๑ พระรูปองค์ ๑ งาช้างใหญ่ ๒ กิ่ง กิ่งหนึ่งหนัก ๕๒.... กิ่งหนึ่งหนัก ๔๘.... รวม ๑๐๐.... ให้เจ้าพนักงานกรมแสงรับดาบเล่ม ๑ ให้ เจ้าพนักงานชาวพระมาลาภูษาเชิญพระรูป ให้ชาวพระคลังมหาสมบัติรับงาช้าง ของทรงยินดีลงเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลที่ท่าพระ พร้อม

๓๔๒ ด้วยพระราชศาสน์ ไปมอบให้กัปตันยีแอมเปอริน แต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ให้ทันกำหนด ให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้เร่งจัดแจงการมาเตรียมแห่พระราชศาสน์ ให้พร้อมแต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาเช้า ให้ทันกำหนดจงทุกพนักงาน ถ้าสงสัยสิ่งใดไม่แจ้ง ให้ทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเลื่อนกำหนดแห่พระราชศาสน์ ไปส่งเรืออเมริกัน

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งมาแต่ก่อนให้ เจ้าพนักงานเตรียมการแห่พระราชศาสน์ไปเมืองหลวงอเมริกัน ลงเรือสยามอรสุมพล ไปส่งกำปั่นรบอเมริกันนอกสันดอน ณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ .....ประการใดแจ้งอยู่ในหมายแต่ก่อนนั้นแล้วโปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่า พระราชศาสน์เขียนยังไม่ทัน บัดนี้ให้เลื่อนไปกำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ณวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำเป็นแน่ ให้ เจ้าพนักงานทั้งปวงเตรียมการแห่พระราชศาสน์ ให้พร้อมจงทุกพนักงานตามหมายรับสั่งแต่ก่อน อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้นายนิต นายชิต ให้พอ เรือทั้งสองลำ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

๓๔๓ โปตุเกศและเยอรมัน นำหนังสือสัญญา ทางพระราชไมตรี เข้ามาเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลโปตุเกศและเยอรมัน กับขุนนางรวม ๕ คน เข้าเฝ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ขอเปลี่ยนหนังสือสัญญา และให้จัดการให้พร้อมทุกหน้าที่

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เมื่อณปีมะเมียสัม ฤทธิศก พระเจ้าแผ่นดินโปตุคอล แต่งให้วิชิโกโรผู้สำเร็จราชการ เมืองมะเกา เป็นทูตเข้ามาทำหนังสือสัญญาเป็นทางพระราชไมตรี กับกรุงเทพ ฯ ประเทศหนึ่ง เปรสิเดนผู้สำเร็จราชการเมืองปลิแมมเมืองฮำเบอเมืองลือแบดมสมดัน เรียกว่าประเทศแฮนไสวาติกชาวเยอรมัน แต่งให้ทิโอโดรทิตวิสแค้วเข้ามาทำหนังสือสัญญา เป็นทางพระราชไมตรีกับกรุงเทพ ฯ ประเทศหนึ่ง ทิโอโดรทิตวิสแค้ว ทำหนังสือสัญญาเสร็จแล้ว นำหนังสือสัญญาถือเอาไว้สำหรับแผ่นดินกรุงเทพ ฯ ออกไปประทับตราสำหรับแผ่นดินโปตุคอล แผ่นดิน ไสวาติกยังหาได้เปลี่ยนไม่ บัดนี้เจ้าแผ่นดินโปตุคอลเจ้าแผ่นดิน


๓๔๔ เปรสิเดนประเทศแฮมไสวาติก ส่งหนังสือสัญญาที่ประทับตราแล้วเข้ามา ให้มิศโมกงสุลโปตุเกศ ให้มิศทิตกงสุลเยอรมันนีซึ่งอยู่ณกรุง เทพ ฯ เปลี่ยนกับหนังสือสัญญาที่ประทับตราสำหรับแผ่นดินกรุงเทพ ฯ ออกไปไว้สำหรับแผ่นดินโปตุคอลแผ่นดินแฮมไสวาติก แต่เปรสิเดนประเทศแฮมไสวาติก มีอักษรศาสน์เข้ามาให้ทูลเกล้า ฯ ถวายด้วยนั้นกำหนดมิศโมกงสุลโปตุเกศกับขุนนาง ๑ เป็น ๒ กำหนดทิโอโดร ทิตวิสแค้ว กงสุลเยอรมัน กับขุนนาง ๒ เป็น ๓ รวม ๕ คน จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม และเปลี่ยนหนังสือสัญญาที่เก๋งเหนือพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ณวันพุธ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้าปีระกาตรีศกนั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายพายเรือกันยายาว ๑๓ วา ๒ ลำ ลงไปรับกงสุลรับหนังสือสัญญา รับ อักษรศาสน์ที่บ้านกงสุล แต่ณวันพุธ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำเช้า อนึ่งให้อาลักษณ์รับพานทองรับโต๊ะเงิน ต่อชาวพระคลังมหาสมบัติรับอักษรศาสน์เมืองแฮมไสวาติก พานทองชั้นเดียวพานหนึ่ง รับหนังสือสัญญา ๒ โต๊ะ แล้วให้ไปกับเรือกันยาม่านทอง ลงไปรับหนังสือสัญญาตามเคย อนึ่งให้ชาวพระมาลาชาวพระภูษา จัดพระกลดองค์ ๑ ชาวอภิรม จัดสัปทนปัสตูเชิงชายคัน ๑ ลงเรือม่านทองสำหรับกั้นหนังสือสัญญาอักษรศาสน์ แล้วให้กั้นทางบกที่ท่าพระ ให้มีกรรชิงด้วยตามเคย แล้วให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ผู้ใดควรจะรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ก็ให้ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช เบิกเสื้อแดงหมวกแดง ต่อพระคลังเสื้อ

๓๔๕ พระคลังหมวกมา บรรจุเรือกันยาให้ครบกระทง ลงไปรับอักษรศาสน์หนังสือสัญญามาขึ้นท่าพระ แต่ ณ วันพุธ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งเกณฑ์รับอักษรศาสน์ทางบกที่ประตูท่าพระ แห่เข้าประตูเทวาพิทักษ์ เข้าพักที่เก๋งเหนือพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ณวันพุธ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้า ให้เกณฑ์ขุนหมื่นคู่แห่เดินเท้า นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยขาว แห่หน้า ๔๐ แห่หลัง ๔๐ เป็น ๘๐ คน เกณฑ์ชาวพระราชยานจัดพระที่นั่งน้อยส่งให้สี่ตำรวจ ๒ องค์ จัดแคร่ตามธรรมเนียม ๕ แคร่เกณฑ์ให้มหาดเล็กจัดน้ำร้อนน้ำชากาแฟ เลี้ยงกงสุล ที่เก๋งพัก แล้วให้จัดเครื่องโต๊ะรับกับข้าวของกินต่อประยาวิเศษสงครามเลี้ยงกงสุลและขุนนางฝรั่ง ที่เก๋งโภชนลินลาศด้วย ตามเคยเกณฑ์ อนึ่งให้กรมวังจัดมโหรีมาทำ ให้กงสุลและขุนนางฝรั่งฟังเมื่อกินโต๊ะด้วยตามเคย เกณฑ์ให้ชาวที่พระบรรทม แต่งที่รับเสด็จบนพระที่นั่งอนันตสมาคมตามเคย เกณฑ์ให้ชาวพระคลังราชการจ่ายเสื่อลวดให้ชาวพระคลังพิมานอากาศจ่ายพรมที่ใหม่งามดี ส่งให้จ่าศาลาปูที่ เก๋งกงสุลพักให้พอ แล้วให้จ่าศาลารับเสื่อต่อชาวพระคลังราชการ ให้จ่า ศาลารับพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ไปปูที่เก๋งให้เต็ม เกณฑ์ ให้กรมพระนครบาล จัดคนกวาดถนนตั้งแต่ประตูท่าพระจนถึงท้าย พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ให้เตียนสะอาดดี เกณฑ์ให้ชาวพระคลังมหาสมบัติจ่ายยืมพานทองโต๊ะเงินให้อาลักษณ์ เกณฑ์ชาวพระมาลา ๔๔

๓๔๖ ชาวพระภูษารองหนังสือสัญญาให้พอ เกณฑ์ให้ขุนทิน ขุนทวนรับ พานหมากพานบุหรี่ต่อวิเศษหมากพลู ไปตั้งให้แขกเมืองรับพระ ราชทานที่เก๋งพัก แล้วให้จัดคณโฑน้ำถ้วยแก้วสำหรับกินทำคอย ให้พร้อม เกณฑ์ให้กรมท่าซ้าย จัดโต๊ะจีนไปตั้งที่เก๋งกงสุลพัก ๒ โต๊ะ ให้มีผ้าหน้าโต๊ะด้วย สำหรับรองหนังสือสัญญา เกณฑ์ให้ ชาวพระมาลาภูษาจัดโต๊ะเงินคอยรับหนังสือสัญญาที่เก๋งกงสุลพัก ๒ โต๊ะ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ตามเคย ให้ ชาวพระคลังเสื้อคลังหมวกคลังวิเศษ จ่ายเสื้อหมวกกางเกงเกี้ยวลายให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ จัดแจงการให้ทันกำหนดเพลาจงทุกพนักงาน ผู้ใดควรจะรับเลขได้ ให้ไปรับเลขต่อ พันพุฒ พันเทพราชตามเคย อนึ่งให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือน ในพระบรมมหาราชวังที่มีตำแหน่งเฝ้า ให้เข้ามาพร้อมกันที่เก๋งท้ายพระที่นั่ง สุทไธสวรรย์ เหมือนอย่างเปลี่ยนหนังสือสัญญาครั้งก่อน เมื่อกงสุล เข้าเฝ้านั้น ให้ข้าราชการนุ่งสมปักตามธรรมเนียมใส่เสื้อริ้วอย่างน้อยเข้าเฝ้าทูลละอองฯ พร้อมกันจงทุกคน อนึ่งให้กรมพระสัสดีขวา หมายบอกเจ้ากรมปลัดกรมจางวางให้ ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ พระราชวรวงศ์เธอ พระเจ้าลูกยาเธอ และให้แต่งพระองค์ทรงผ้าและเสื้อทรงแพรสีตามธรรมเนียม แล้วให้เชิญ เสด็จเข้าไปให้พร้อมจงทุกพระองค์ แต่ณวันพุธ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า ทั้งนี้เร่งจัดแจงการให้พร้อมทันกำหนดวัน กำหนดเพลา ถ้า

๓๔๗ เจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ที่สงสัยสิ่งไรให้ไปทูลถามสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ปรูเซียแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตปรูเซีย ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดของไปรับทูตปรูเซีย

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินปรูเซียแต่งให้คอลออยเลนเบิตราชทูต เข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี ทำหนังสือสัญญากับกรุง ฯ เข้ามาด้วยเรือรบ ๓ ลำ โปรดเกล้า ฯ ให้ จัดสิ่งของออกไปพระราชทานทูตและขุนนางทหารนายไพร่ รับพระ ราชทานที่เรือรบนอกสันดอน ตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองเป็น ไมตรีกันนั้น ได้พระราชทานไปลำ ๑ แล้ว ยังอีก ๒ ลำโปรด ให้จัดสิ่งของเดิมอีกนั้น ให้พระคลังในซ้ายจัดน้ำตาลทรายขาว หนัก ๒๕ หาบ ให้กรมท่าซ้ายจัดใบชาหีบใหญ่ ๔ หีบ ให้กรมนา จัดข้าวสารมารวมซ้อมขาวใส่กระสอบ ๓ เกวียน ให้พระคลังราชการ


๓๔๘ จัดน้ำมันมะพร้าวหนัก ๑๕ หาบ ให้กรมพระคลังสินค้าเจ้าภาษีจัดปลาหางตากแห้ง ๓๐ หาบ จัดเผือกมัน ๓๐ หาบ จัดฟักทอง ๖๐๐ ผล และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ จัดสิ่งของไปพระราชทานทูตที่ตึกหลวง หน้าวัดประยุรวงศาราม แต่ณวันศุกร์เดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำปีระกาตรีศก เมื่อเอาสิ่งของไปทักทูตนั้น ให้บอกบัญชีที่เวรกรมท่าก่อน อย่าให้ ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๒ เรื่องมีละครที่ท้องสนามหลวงให้ราชทูตปรูเซียดู

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า กำหนดจะได้มีละคร ที่ทุ่งสนามหลวง ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำเพลาเช้า โปรดเกล้าฯ ให้หาราชทูตและขุนนางปรูเซีย ไปดูละครให้เป็นพระเกียรติยศกับแผ่นดิน เหมือนอย่างราชทูตเข้ามาแต่ก่อน ให้เกณฑ์ ยกเว้นเลขนายด้าน นายกองประจำการในหมู่หามแคร่ กั้นสัปทน รับราชทูตนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้เอาตัวเลขส่งให้แก่ราชยาน แต่วันพุธเดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำเพลาบ่าย จะได้จ่ายเครื่องแต่งตัวให้ รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำเพลาเช้า ให้ หามแคร่ตามรับสั่ง คนหามแคร่ กองนาวาพลานุโยค ๑๐ คน กองหลวงวิจารณ์โกศา ๑๐ คน กองหลวงราชฤทธานนท์ ๗ คน


๓๔๙ กองหลวงคชสิทธิ ๕ คน กองพระราชฐานบริคุตทำทิม ๗ ศาลา ๕ (รวม) ๑๒ ช่างหลวง ๘ (รวม) ๒๐ (รวม) ๓๒ (รวม) ๕๒ กั้นสัปทน กองพระราชฐานบริคุต ๕ กองหลวงราม รักษา ๕ ทำพระที่นั่ง อนึ่งในกองพระพิธสาลี ๓ ( รวม ) ๑๐ ( รวม ) ๑๓ คน

ฉบับที่ ๓ เรื่องจัดสะเบียงให้เรือเสพสหายไปส่งทูตนอกสันดอน และให้ไปรับทูตที่เพ็ชรบุรีด้วย

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้แต่งเรือพระที่นั่ง เสพสหายไมตรี คอยรับพระราชศาสน์ที่ตึกแขกเมือง แล้ว รับพวกขุนนางปรูเซียไปด้วย แล้วให้เรือพระที่นั่งเสพสหายไมตรี เลยไปรับทูตที่เมืองเพ็ชรบุรี เอามาส่งที่เรือรบนอกสันดอนนั้น ให้กรมนาเอาข้าวสารขาวอย่างดี ๑๕ ถังไปส่งไปจ่าย ให้คลังสรรพากรนอกจัดปลาแห้ง ๕๐ หาง จัดปลาใบไม้ ๕๐๐ ตัว จัดปลากุเลา ๕๐ ตัว จัดปลาย่าง ๕๐ ไม้ จัดฟักเขียว ๒๕ ผล จัดฟักเหลือง ๒๕ ผล เป็น ๕๐ ผล จัดมันเทศ ๒๐ ชั่งจีน ให้คลังราชการจัดน้ำมันมะพร้าว ๑๐๐ ทะนาน ให้จัดน้ำมันมะพร้าวอย่างใส ๕๐ จัดอย่าง กลาง ๕๐ เป็น ๑๐๐ ทะนาน จัดไต้เหนือ ๑๐๐๐ ลำ ให้คลังในซ้าย


๓๕๐ จัดน้ำตาลทราย ๑๐ ชั่งไทย จัดใบชาอย่างดี ๕๐ ห่อ จัดฟองเป็ดจืด ๕๐๐ ฟอง จัดฟองเป็ดเค็ม ๕๐๐ เป็น ๑๐๐๐ ให้เจ้าพนักงาน ถ่านตะบูน ๓ หาบภาษีฟืน ฟืนตะบูน ๓๐๐๐ ดุ้น ให้คลังสินค้า จัดกระสอบ ๒ กระสอบ ซึ่งสั่งมาทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานจัดเอาสิ่งของทั้งนี้มาส่งที่ท่านจมื่นสรรพเพธภักดี แต่ณวันอาทิตย์เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำเพลาเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๔ เรื่องแห่พระราชศาสน์ไปส่งราชทูตปรูเซีย ที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศ์

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดิน ปรูเซียแต่งให้คอลออยเลนเบิตเป็นราชทูต เชิญพระราชศาสน์ขอทำหนังสือสัญญาเป็นทางพระราชไมตรีกับกรุงเทพ ฯ ได้ทำหนังสือ สัญญาเสร็จแล้ว กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ลงไปให้ราชทูตที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม ณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำเพลาเที่ยง ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด่านนายกอง ประจำการในหมู่ถือธง เชิญเครื่อง สูง ตีกลองชะนะ หามราชยาน ปี่พาทย์ พายเรือเอกชัย เรือศรี รูปสัตว์ เรือแซเป็นอันมากนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงานนายเรือ แต่ณวันอาทิตย์เดือน ๓

๓๕๑ แรม ๒ ค่ำ จะได้ยกเรือลงจ่ายเครื่องแต่งตัวให้ ครั้นรุ่งขึ้น ณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เวลาเช้าจะได้พายเรือเข้ากระบวนแห่พระราชศาส์นทางบกทางเรือทั้งสองกระบวน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่งบก ๒๐๒ เรือ ๔๓๐ ( รวม ) ๖๓๒ คน ตำรวจในซ้าย ตำรวจในขวาถือธงมังกร กองพระมหามนตรี ๑๑ กองหลวงสุทธาพิทักษ์ ๑๕ นายหมู่ ๔ ( รวม ) ๓๐ ตำรวจ ในซ้าย ตำรวจในขวา ถือธงมังกร กองพระมหาเทพ ทำ โรงม้า ๕ กองพระพิเรนทรเทพ ๕ กองพระราชฐานบริคุตศาลา ๕ กองนายแจ้ง ๗ กองขุนทรงฤทธิ ๔ ในหมู่ ๔ รวม ๓๐ ตำรวจ นอกซ้ายตำรวจนอกขวาถือธงมังกร กองพระอภัยสุรินทรรักษ์ ๖ กองพระราชโยธาเทพ ๔ กองหลวงเสนาภิมุข ๓ กองหลวงเทพเดช ๓ ในหมู่ ๔ ( รวม ) ๒๐ สนมซ้าย สนมขวา ถือธงมังกร กองพระราชโยธาเทพ ๓ กองขุนอินทรรักษา ๗ กองขุนภักดีอาษา ๓ กองขุนโยธานุรักษ์ ๓ ในหมู่ ๔ ( รวม ) ๒๐ สี่ตำรวจหามพระราชยาน กองพระอภัยสุรินทรรักษ์ ๘ หาม ปี่พาทย์ ๒ สำรับ นายประตูซ้ายนายประตูขวา ๘ อภิรมเชิญ เครื่องสูงสัปทน กองพระรามพิชัยระเบียง ๗ นายประตู ๒ กอง นันทะพิชัยชาญสิทธิ ๕ กองขุนชัยสรฤทธิ์ ๕ ( รวม ) ๑๗ ตี กลองชนะ กองขุนวิเศษสงคราม ๕ กองฟั่นเชือก ๑๕ ช่าง ลาง ๑๐ ( รวม ) ๓๐

๓๕๒ ราชยานหามเฉลี่ยงน้อย หามแคร่ ๑๐ แคร่ ๔๐ กองพระราชฐานบริคุต ดิด ๖ กองหลวงยี่สานประเวสน์ ๖ กองหลวง วิเศษสุริยงค์ ๖ กองหลวงไกรสรเดช ๖ กองขุนพรมรักษา ๗ กองหลวงมนทานุโยค ๕ กองหลวงราชฤทธานนท์ กองหลวง วิชิตสรไกร ๕ ( รวม ) ๘ ( รวม ) ๔๔ หามมะโหระทึก นายประตูซ้าย นายประตูขวา กองหลวง ราชสิทธิ ๔ ฝีพายเรือเอกชัย ๓๐ เรือศรี ๓๐ กองพระอนุรักษ์ โยธา ๑๒ กองหลวงพลพ่ายกรีฑา ๑๐ ฝีพายประจำท่า ๒๑ กองพระ อภัยรณฤทธิ โรงเงิน ๖ เก๋ง ๓ ( รวม ) ๙ กองหลวงอภิบาลภูวนาถ ๘ ( รวม ) ๖๐ พายเรือเหราอาษาในกรมวังซ้าย กองพระพิเดช สงคราม ๑๑ กองหลวงสกลพิมาน ๑๑ กองหลวงอภัยพิทักษ์ ระเบียง ๗ กองพระอิศราภัย ๖ ( รวม ) ๓๕ กองพระอินทราทิตย์ ๒ การ...... ๑๐ พายเรือเหราอาษาในกรมวังขวา กองพระรามพิชัยโรงทหาร ๑๐ กองหลวงประสูทสำแดงฤทธิ ๑๐ กองหลวงเจตียา นุรักษ์ ๖ กองพระองค์เจ้าภุมเรศ ๖ กองหมื่นประจักษ์ราชกิจ ๓ ( รวม ) ๓๕ พายเรือดั้งเกณฑ์หัดซ้าย กองพระพิพิธเดช ๑๖ กองพระมหาเทพ ๑๓ ห้อง ๖ กองขุนราชกิจปรีชา ๑๐ กองหลวงราชวราช วรานุรักษ์ ๘ (รวม) ๔๐ พายเรือดั้งอาษาในกรมท่าซ้าย กองหลวง ศรีทรงยศ ๔ กองหลวงวิสูตร์สมบัติ ๔ กองขุนนราฤทธิไกร ๔ กองหมื่นรุด ๔ กองหมื่นภักดี ๔ ( รวม ) ๒๐ กองหลวงอนุรักษ์

๓๕๓ ภักดี ๘ กองหม่อมเจ้าหุ่น ๗ ( รวม ) ๓๕ กองหลวงนรา เรืองเดช ๒ พายเรือดั้งเกณฑ์หัดขวา กองขุนชาติวิชา ๑๖ กองหลวงวงศาธิราช ๕ กองหลวงภูเบนทรพิทักษ์ ๕ กองหลวงรามรักษาตำหนักน้ำ ๕ กองหลวงไกลาศ ๔ ( รวม ) ๔๐ พายเรือดั้งอาษาในกรมท่าขวา กองหลวงชินศรีรักษา ๘ กองหมื่นภูบาลบริรักษ์ ๕ กองหลวงรักษานาถ ๘ กองขุนวิเศษสมบัติ ๘ กองขุนผลาญไพรณ ๖ กองหลวงพิทักษ์โยธา ๒ ( รวม ) ๓๕ พายเรือโต คลังสินค้า กองพระยานาวาพลานุโยค ๑๕ กองขุนศรีสังหาร ๕ กองพระราชฐานบริคุต ตำหนักน้ำ ๑๐ ( รวม ) ๓๐ พายเรืออสุรวายุภักษ์ กองหลวงพลาสัย การ.....๕....๖ ( รวม ) ๑๑ กองขุนรณฤทธิพิชัย การวัด ๖.......๖ ( รวม ) ๑๒ กองหลวงมณีรักษา ๖ กองพระพิพิธภูบาล ๕ กองหลวงเสนพล ๖ กองหลวงพิพิธมนเทียร ๖......๘......๗....... ( รวม ) ๔๐ พายเรือโต คลังสินค้า กองหลวงวิจารณ์โกษา ๑๕ กอง หลวงอเรนทรชาติสังหาร ๗ กองพระราชฐานบริคุต ทำทิม ๘ (รวม) ๓๐ ตีกระเชียงแซง ๒ ลำ กองขุนจิตร์จอมราษฎร์ ๑๐ กองหลวงอินทโรดม ๘ กองขุนฤทธิพิชัย ๘ กองพระ อินทรเดช ๘ กองพระมหาเทพ วร ๑๑ กองพระเทพผลู ๕ (รวม) ๕๐ ๔๕


๓๕๔ ฉบับที่ ๔ เรื่องราชทูตปรูเซียกราบถวายบังคมลา ให้จัดการรับรองให้พร้อมทุกหน้าที่

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า คอลออยเลนเบิต ราชทูตจะได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา รับพระราชศาสน์ณพระที่นั่ง อนันตสมาคม ณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำปีระกาตรีศกนั้น ให้เกณฑ์เรืออสุรวายุภักษ์ รับทูตลำหนึ่ง ให้ดาดหลังคามีเสื่ออ่อนมีหมอน มีพรมพร้อม ให้บรรจุพลพายใส่เสื้อแดงหมวกแดงให้ครบกะทง ลง ไปรับคอลวอยเลนเบิตราชทูต ที่ตึกพักหน้าวัดประยุรวงศาราม ณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำเพลาเที่ยง มาขึ้นประตูท่าพระแล้ว ให้คอยรับคอยส่งด้วย ให้ถึงที่เรือ ให้ชาวพระราชยานจัดแคร่จัดเก้าอี้ตามธรรมเนียม ๑๐ แคร่ ให้รับสัปทนคนหามให้พร้อม มาคอยรับทูต ที่ท่าพระ เข้าประตูเทวาพิทักษ์ ให้คอยรับคอยส่งตามเคย อนึ่ง ให้พนักงานโต๊ะเก้าอี้จัดโต๊ะเก้าอี้มาตั้งที่เก๋งทูตพักให้พอ อนึ่ง ให้ขุนทินบรรณาการขุนธารกำนัล จัดหมากบุหรี่จัด คณโฑน้ำ จัดถ้วยแก้ว มาตั้งให้ทูตรับพระราชทานที่เก๋งรับทูต ตามเคย อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ


๓๕๕ อนึ่งให้อาษายืมพรมที่ใหม่งามดีต่อชาวพิมานอากาศ มาปูที่เก๋งทูตพัก เหนือพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ให้เต็มอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๕ เรื่องราชทูตจะออกไปเพ็ชรบุรี โดยเรือแจวเรือพาย

ด้วยมีรับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท โปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ราชทูตปรูเซียซึ่งเข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี มาพักอยู่ตึกแขกเมือง ณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำเพลาเช้าราชทูต จะออกไปเที่ยวเล่นเมืองเพ็ชรบุรี ให้ฝีพายจัดเรือให้ราชทูตสองลำ ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการในหมู่แจวเรือ พายเรือราชทูตไปเมืองเพ็ชรบุรีนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้เอา ตัวเลขส่งให้แก่ฝีพาย ณวันอาทิตย์เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำจะได้จัดแจงยกเรือลง ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำเพลาเช้า จะได้แจว พายเรือราชทูตไปเมืองเพ็ชรบุรี ไปกว่าจะกลับมา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ ฝีพายแจวเรือพาย เรือราชทูตไปเมืองเพ็ชรบุรี ๒ ลำ ๆ ละ ๒๐ คน กองหลวงศรีคงยศ ๒ กองหลวงอินทรสมบัติ ๒ กองขุนนราฤทธิ ไกร ๒ กองหมื่นภักดี ๒ กองหมื่นรุด ๒ กองพระพิพิธเดชะ ๘ กองขุนชาติวิชา ๘ กองหลวงชินศรีรักษา ๓ กองพระมหาเทพ ๑๓ ห้อง ๓ กองพระอนุรักษ์โยธา ๖ กองหลวงพลกายกรีฑา ๒ ( รวม ) ๘ ( รวม ) ๑๑ ( รวม ) ๒๙ ( รวม ) ๔๐ คน ฯ สมเด็จเจ้าฟ้ารับสั่งให้จ่ายคน ๓๕๖ ให้หามแคร่รับแขกเมือง ๑๐ แคร่ กองพระยานาวาพลานุโยค ๘ กองหลวงวิจารณ์โกษา ๘ กองพระราชโยธาเทพ ๖ กองขุนอินทรรักษา ๖ กองพระรามพิชัย ๔ กองหลวงอภัยพิทักษ์ ๔ กองหลวงเจติยานุรักษ์ ๔ ( รวม ) ๑๒ ( รวม ) ๒๘ ( รวม ) ๔๐ คน บอกนายด่านแล้ว

ฉบับที่ ๖ เรื่องแห่พระราชศาสน์ตอบพระเจ้าแผ่นดินปรูเซีย ไปส่งให้ทูตที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศ์

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินปรูเซียแต่งให้คอลออยเลมเบิตเป็นราชทูตเชิญพระราชศาสน์ และของทรงยินดีขึ้นมาทูลเกล้า ฯ ถวาย ขอทำหนังสือสัญญาเป็นทางพระราชไมตรี กับกรุงเทพ ฯ บัดนี้คอลออยเลมเบิตราชทูตได้ทำหนังสือสัญญา เสร็จแล้ว จะได้กราบถวายบังคมลากลับไป โปรดเกล้า ฯ มีพระราช ศาสน์ตอบออกไปยังพระเจ้าแผ่นดินกรุงปรูเซียด้วยฉบับหนึ่ง กำหนด จะได้แห่พระราชศาสน์ลงไปส่งให้คอลออยเลมเบิตราชทูต ที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ ปีระกา ตรีศก เพลาเที่ยงนั้น ให้มหาดไทย ให้กลาโหม เกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ทางบกทางเรือ เหมือนอย่างแห่พระราชศาสน์ไปต่างประเทศแต่ก่อน และกระบวนแห่ทางบกนั้น เกณฑ์พระพัฒนโกษา

๓๕๗ จัดทหารอย่างยุโรป มีปืนมีกลองพร้อม ๑๐๐ เกณฑ์ขุนหมื่นเป็นคู่ แห่เดินเท้านุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยลำพอกแห่หน้า ๖๐ แห่หลัง ๔๐ เป็น ๑๐๐ เกณฑ์ตำรวจเวร ๘ กรม นุ่งไหมคาดราตคตถือมัดหวายแห่หน้า ๒๐ เกณฑ์มะโหระทึกนุ่งกางเกงแดงใส่เสื้อแดงใส่หมวกแดง แห่พระราชศาสน์ ๒ สำรับ ปี่พาทย์ ๒ สำรับ เกณฑ์พระคลังมหาสมบัติยืมพานทอง ๒ ชั้นให้อาลักษณ์รับพระราชศาสน์พาน ๑ เกณฑ์ กรมกลองชะนะ จัดจ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เป็น ๒ จ่ากลองชะนะ ๓๐ จ่าแตรงอน ๖ จ่าแตรฝรั่ง ๔ เป็น ๑๐ จ่าสังข์ ๒ นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อแดงหมวกแดงตามเคย ๔๔ เกณฑ์ชาวพระอภิรมนุ่งห่ม ตามเคยเชิญเครื่องสูงแห่หน้า ๖ แห่หลัง ๔ เป็น ๑๐ เชิญบังสูรย์บังแทรกแห่พระราชศาสน์ เกณฑ์สี่ตำรวจรับพระราชยานต่อพัน เงินองค์ ๑ ยืมพรมน้อยต่อพระคลังพิมานอากาศผืน ๑ นุ่งกางเกงแดงคาดเกี้ยวลายหามพระราชยาน ๘ คน เกณฑ์ชาวพระมาลาภูษา เชิญพระกลดกั้นพระราชศาสน์องค์ ๑ เกณฑ์คลังพิมานอากาศยืม พรมน้อยให้สี่ตำรวจปูพระราชยานผืน ๑ เกณฑ์ให้ราชยานจัด พระราชยานกงส่งให้สี่ตำรวจองค์ ๑ ให้ราชยานจัดพระที่นั่งน้อย รับพระราชศาสน์พิเศษองค์ ๑ เป็น ๒ องค์ เกณฑ์อาลักษณ์รับ พานทอง ๒ ชั้น รับพระราชศาสน์ขึ้นตั้งบนพระราชยาน แล้วเดิน เคียงพระราชศาสน์ข้างละ ๒ คน เป็น ๔ เกณฑ์สี่ตำรวจ เกณฑ์ สนมตำรวจนุ่งกางเกงแดงใส่เสื้อเสนากุฎใส่หมวกหนัง ถือธงมังกร แห่หน้า ๖๐ แห่หลัง ๔๐ เป็น ๑๐๐ เกณฑ์กรมแสงในนุ่งกางเกง

๓๕๘ แดงใส่เสื้อเสนากุฎใส่หมวกหนังถือปืนรางแดงแห่หน้า ๔๐ และให้ ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ผู้ใดควรจะรับก็ให้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ให้ครบจำนวน เบิกเสื้อเบิกหมวกเบิกธงเบิกเกี้ยวลาย ต่อชาวพระคลังเสื้อคลังหมวกคลังธง แต่คู่แห่เดินเท้าให้มารับเสื้อครุยลำพอก ที่ วังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ให้ชาวพระคลังเสื้อ คลังหมวกคลังธง จ่ายเสื้อจ่ายหมวกจ่ายธงจ่ายเกี้ยวลาย ให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้ครบจำนวนทั้งกระบวนบกกระบวนเรือ อนึ่งให้เกณฑ์ข้าหลวงเป็นคู่เคียงแห่พระราชศาสน์ ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น เกณฑ์กรมท่าหลวงรักษาสมบัติ ๑ หลวงอินทรโกษา ๑ เป็น ๒ เกณฑ์กรมท่า พระพิพิธสาลี ๑ หลวงศรีทิพโภชน์ ๑ เป็น ๒ เกณฑ์กรมเมือง หลวงสวัสดิ์นัคเรศ ๑ หลวงวิเศษธานี ๑ เป็น ๒ เกณฑ์อาษากรมวัง หลวงวิเชียรไทยชน ๑ หลวงสกลพิมาน ๑ เป็น ๒ เกณฑ์กรมสนมกลาง หลวงภูเบนทรสิงหนาท ๑ หลวงอเรนทรชาติ ๑ เป็น ๒ นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยขาวใส่ลำพอกขาว รวมเป็น ๑๐ คน และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เร่งมาคอยเตรียม แห่พระราชศาสน์ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม แต่ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เพลาเที่ยงแล้วแห่ลงไปส่งที่เรือพระที่นั่งเอกชัยประตู ท่าพระ ให้พร้อมทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังแสง สรรพยุทธแต่งเกยที่ท่าพระให้งามดี เร่งแต่ง แต่ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เพลาเที่ยงให้ทันตามกำหนด

๓๕๙ อนึ่งให้เกณฑ์แห่พระราชศาสน์ทางเรือนั้น เกณฑ์เรือเอกชัย รับพระราชศาสน์ลำ ๑ เรือศรีดาษหลังคาผูกม่านทอง บรรทุกกำปั่นบรรณาการลำ ๑ เกณฑ์อาลักษณ์รับพานทอง ๒ ชั้นต่อชาวพระคลังมหาสมบัติลงเรือพระที่นั่ง เกณฑ์เอกชัยรับพระราชศาสน์ตั้งบน บุศบก เกณฑ์อาลักษณ์ลงเรือรักษาพระราชศาสน์ เป็น ๒ คน เกณฑ์ชาวพระมาลา ชาวพระภูษา เชิญพระกลดลงเรือพระที่นั่งเอกชัย กับพระราชศาสน์องค์ ๑ แล้วกับทางบกที่ท่าพระด้วยองค์ ๑ เกณฑ์เรือดั้งเป็นคู่ชัก ๒ ลำ เกณฑ์เรือเหราล่องลอยสินธุ์ ๑ เรือเหราลินลาสมุทร ๑ เป็น ๒ เรือโตขมังคลื่น ๑ เรือโตฝืนสมุทร ๑ เป็น ๒ เกณฑ์เรือสางกำแพงหาญ ๑ เรือสางชาญชลสินธุ์ ๑ เป็น ๒ ลำ ๖ ลำให้มีกลดมีคาดหลังคา แห่ไปท่าเรือคู่ชัก เกณฑ์เรือแซ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เป็น ๒ เรือกลองชะนะ ๕ คู่ ลงเรือโตเรือสางเรือเหรา ๑๒ คน เกณฑ์แตรงอน ๖ แตรฝรั่ง ๔ แตรสังข์ ๒ ลงเรือดั้ง ๑๒ คน เกณฑ์ปี่พาทย์ลงเรือโตเรือสางเรือเหรา ๒ สำรับ เกณฑ์เรือโตเรือสางเรือเหราลำละ ๒ คัน ใส่ธงมังกรเรือกันยาข้าราชการ ลำละคัน เกณฑ์มะโหระทึกลงเรือดั้ง ๒ สำรับ เกณฑ์เครื่องสูงลงเรือเอกชัย เครื่องสูงหน้า ๓ วง เครื่องสูงท้าย ๒ วง บังสูรย์บังแทรกหัวหมื่นตำรวจลงเรือพระที่นั่งเอกชัยเป็นนัก ส้างนุ่งสมปักลายใส่เสื้อ ครุยใส่ลำพอกขาว ถือธงหักทองขวาง ๒ คน นั่งม้าตีนตองนุ่งสม ปักลายใส่เสื้อครุยใส่ลำพอก ๖ คน และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาบรรจุเรือให้ครบกะทง พลพลายใส่เสื้อ

๓๖๐ แดงใส่หมวกแดงจงทุกคน และให้ผู้ต้องเกณฑ์เบิกเสอเบิกหมวกเบิกธงเบิกกางเกง ต่อพระคลังเสื้อคลังหมวกคลังธง แล้วให้มาคอยพร้อมกันที่ท่าพระ รับแห่พระราชศาสน์ลงไปส่งที่ตึกรับทูตหน้าวัดประยุรวงศาราม แต่ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เพลาเที่ยงจงทุกพนักงานให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้ครบจำนวน ทั้งกระบวนบกกระบวนเรือ อนึ่งให้เกณฑ์เรือกันยาข้าราชการ เป็นเรือกำกับแห่พระราชศาสน์นั้น เกณฑ์พระบรมมหาราชวัง กรมมหาดไทย ๒ กรมพระกลาโหม ๒ กรมวัง ๑ กรมเมือง ๑ กรมนา ๑ กรมท่าซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ กรมพระคลังมหาสมบัติ ๑ กรมพระสัสดี ๑ กรมล้อมพระราชวัง ๑ กรมคลังสินค้า ๑ รวมเป็น ๑๓ เกณฑ์พระบวรราชวัง กรมมหาดไทย ๑ กรมพระกลาโหม ๑ กรม เมือง ๑ กรมวัง ๑ กรมนา ๑ กรมท่า ๑ กรมพระสัสดี ๑ กรม พระคลังมหาสมบัติ ๑ กรมล้อมพระราชวัง ๑ เป็น ๙ รวมเป็น ๒๒ ลำ ให้บรรจุพลพายให้ครบกะทง ให้ขุนหมื่นเป็นนายลำด้วยลำละคน ให้มีเสื่ออ่อนมีพรมมีเบาะปูให้มีหมอนอิง ผูกผ้าหน้าโขนม่านบังแดด ให้เบิกธงมังกรปักลำละคันจงทุกลำ ให้เร่งไปพร้อมกันที่ท่าพระแต่ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เพลาเที่ยงให้ทันกำหนด แล้วให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เร่งจัดแจงกระบวนแห่ทางบกทางเรือ ให้พร้อมทันกำหนดจงทุกพนักงาน ถ้าสงสัยสิ่งใดก็ให้ไป

๓๖๑ เฝ้าทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดโต๊ะเลี้ยงเจ้านายและแขกเมือง ในงานฉลอง พระสุพรรณบัตร เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

ด้วยพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันเดือน ๔ แรม ๑ ๒ ๓ ๔ ค่ำ จะได้ทำงานโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเยาวลักษณ์ ครั้น ณวันเดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ แรม ๖ ค่ำ จะได้ทำงานพระราชทานพระสุพรรณบัตรและสมโภชพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ให้ตั้งโรงครัวทำโต๊ะเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและแขกเมือง ให้เกณฑ์หัวป่าพ่อครัว รักษาพระองค์ซ้ายขวา ทะนายเลือกหอก ให้ไปเข้าโรงครัวพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ และเลขรักษาพระองค์ซ้ายขวา ต้องจ่ายเข้าการสิ้นจำนวน หามีคน จะทำโรงครัว ให้เกณฑ์ชักเอาเลขรักษาพระองค์ ซึ่งจ่ายการกอง ให้แก่รักษาพระองค์เข้าโรงครัวนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ ทั้งนี้ ให้เอาตัวเลขรักษาพระองค์ ส่งให้แก่กรมรักษาพระองค์ไปเข้า โรงครัว แต่ณวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เสมอทุกวันไปกว่าจะเสร็จการ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ๔๖

๓๖๒ ฉบับที่ ๘ เรื่องจัดเรือรับแขกเมือง และเครื่องราชบรรณาการ ที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า แขกเมืองเอาเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เพลา ๓ โมงเช้านั้น ให้ฝีพายจัดเรือกันยาที่ดีมีกำลังลำหนึ่ง แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้พอลำ แล้วไปรับแขกเมืองเครื่องบรรณาการ ที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีตามเคย อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายบรรจุเรือให้พอลำเร่งจ่ายแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เพลา ๒ โมงเช้า อย่าให้ขาดได้ทันกำหนด อนึ่งให้จางวางสังในเจ้าหมื่นเพชดี ให้อาลักษณ์ไปรับเครื่องบรรณาการที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ณวันอังคาร เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เพลา ๓ โมงเช้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง



๓๖๓ ฮอลันดานำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี เข้ามาเปลี่ยนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตฮอลันดา ฉบับที่ ๑ เรื่องให้จัดเรือไปรับราชทูตที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศ์

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลน แต่งให้มิศหลอคอร กับขุนนางฮอลันดา เป็นทูตเชิญหนังสือสัญญา ซึ่งโยนเทนเรกองเดอระเกวเชียดราชทูต ได้ทำไว้ที่กรุงเทพ ฯ แต่ก่อน ทูตรับออกไปประทับตราสำหรับแผ่นดินนิเธอแลน แล้วให้ เข้ามาเปลี่ยนหนังสือ ที่ประทับตราสำหรับแผ่นดินกรุงเทพ ฯ ออกไปไว้สำหรับแผ่นดินนิเธอแลน กำหนดทูตกับขุนนางฮอลันดา ๑๔ นาย จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่ง จะได้เปลี่ยนหนังสือสัญญาด้วยนั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอกนายเรือรูปสัตว์ กรมอาษาวิเศษซ้ายลำ ๑ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มา



๓๖๔ บรรจุพลพายให้ครบกะทง แต่พลพายใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดง คาดศรีกริช ให้เบิกเสื่ออ่อน เบิกหมอนอิง เบิกพรม เบิกม่านบังแดดเครื่องสำหรับเรือให้พร้อมทุกสิ่ง ให้เร่งไปยกเรือมาณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ครั้นรุ่งขึ้นณวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ ลงไปรับทูตที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม มาขึ้นท่าพระแล้ว ถอยเรือมาคอยรับคอยส่งให้ถึงที่เหมือนอย่างแต่ก่อน ให้เร่งลงไปรับแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ เพลาเช้าโมงหนึ่ง ให้ทันตามกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๒ เรื่องเตรียมรับทูตฮอลันดา เข้าเฝ้า ขอเปลี่ยนหนังสือสัญญา

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลน แต่งให้มิศหลอคอรเกบกับขุนนางฮอลันดา เป็นทูตเชิญหนังสือสัญญา ซึ่งโยนเทนเรกองเดอระเกวเชียดราชทูต ได้ทำไว้ที่กรุงเทพ ฯ แต่ก่อน ทูตรับออกไปประทับตราสำหรับแผ่นดินนิเธอแลนแล้ว ให้เข้ามาเปลี่ยนรับหนังสือที่ประทับตราสำหรับแผ่นดินกรุงเทพ ฯ ออกไปไว้รับสำหรับแผ่นดินนิเธอแลนนั้น กำหนดรับทูตกับขุนนางฮอลันดา ๑๔ นาย จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวัน ๓๖๕ พุธเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ ปีระกาตรีศก เพลา ๔ โมงเช้าจะได้เปลี่ยนหนังสือสัญญาด้วยนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม หมายบอกเจ้าพนักงานและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนในพระบรมมหาราชวังให้รู้จงทุกพนักงาน ครั้งนี้จะเสด็จพระราชดำเนินออกรับทูตแต่ในเวลา ๔ โมงเช้า อย่าให้มีความสงสัยว่าเคยเสด็จพระราชดำเนินออกแขกเมืองต่อเพลาบ่ายเหมือนอย่างแต่ก่อน ดังนั้นด้วยเพลาบ่ายเป็นการพระราชพิธีสมพัจฉรฉินท์ ให้เร่งรัดจัดแจงการงานให้ทันกำหนดเวลาจงทุกพนักงาน อนึ่งให้เกณฑ์เรืออสุรวายุภักษ์รับทูตลำ ๑ ให้ดาดหลังคาผูกม่านทองกาวกระจับ ให้เกณฑ์เรือกันยายาว ๑๒-๑๓ วา สำหรับขุนนางพวกทูต ๒ ลำ ให้มีเสื่ออ่อน มีหมอนอิง มีพรม รับต่อพันพุฒ พันเทพราช ใส่เสื้อแดง ใส่หมวกแดง บรรจุเรือให้ครบกะทงลงไปรับทูตที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม ขึ้นท่าพระแล้วให้คอยรับคอยส่งให้ถึงที่เหมือนอย่างแต่ก่อน ให้เร่งลงไปรับแต่ ณวันพุธเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ เพลา ๓ โมงเช้าให้ทันกำหนด อนึ่งให้พระราชยานจัดแคร่ มีเก้าอี้ ๑ ไม่มีเก้าอี้ ๑๓ รวม ๑๔ แคร่ ให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช นุ่งกางเกงเกี้ยวลาย หามแคร่ ๕๒ คน ลงไปรับที่ท่าพระขึ้นมา เลี้ยวป้อมเผด็จดัษกรเข้าประตูเทวาพิทักษ์ เข้าพักเก๋งจวนกลาง ให้คอยรับคอยส่งตามเคย อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ตามเคย


๓๖๖ อนึ่งชาวที่พระบรรทม แต่งที่รับเสด็จปลายพระที่นั่งอนันตสมาคม แห่ง ๑ แต่งที่แล้วให้เชิญพระเก้าอี้หุ้มทองคำและที่จะตั้งพานพระขันหมาก เครื่องราชบริโภคตั้งด้วยแห่ง ๑ ให้ชาวพระคลังพิมานอากาศจ่ายพรมให้จ่าศาลา ปูที่เก๋งจวนกลางทูตพักให้พอ ให้กรมวังจัดเบาะเข้าไปตั้งให้ขุนนางทูตนั่งในที่เฝ้าตามเคย ให้จ่าศาลายืม พรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ยืมเสื่อลวดต่อชาวพระคลังราชการปูที่เก๋งจวนกลางแขกเมืองพักให้พอ ให้เอาพรมที่ใหม่ ๆ มาปู อย่าให้เอาพรมเก่าพรมขาดมาปู ให้ชาวพระอภิรมจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ไปตั้งให้ทูตพักให้พอตามเคย ให้มหาดเล็กจัดน้ำร้อนน้ำชากาแฟไปเลี้ยงทูตที่เก๋งจวนกลางที่ทูตพักตามเคย ให้กรมพระนครบาลจัดคนกวาดถนน ตั้งแต่ท่าพระตลอดถึงหน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ให้เตียนสะอาดดี ให้กรมพระแสงใน พระแสงต้น จัดพระแสงทวน พระแสงปืน ให้กำนัลเชิญเข้าไปตั้งในพระที่นั่ง จัดพระแสงหอก พระแสงทวน พระแสงง้าว ส่งให้มหาดเล็กเหมือนแต่ก่อนตามเคย ให้ชาวพระมาลาภูษา จัดพระมหาพิชัยมงกุฎ ให้จัดพานพระภูษา ให้จัดพระกลดเข้าไปตั้งในพระที่นั่ง ให้เตรียมเครื่องทรงทูลเกล้า ฯ ถวายด้วยตามเคย ให้มหาดเล็กรับพานพระขันหมากเครื่องราชบริโภคต่อท่านข้างใน เชิญเข้าไปตั้งบนพระที่นั่งตามเคย ให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัล รับพานหมากพานบุหรี่ คณโฑน้ำถ้วยแก้ว ไปตั้งให้แขกเมืองรับพระราชทานที่พัก แล้วเข้าไปตั้งพานหมากเจียนในที่เฝ้าตามเคย ให้ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป จัดทหารถือปืนเข้ามายืนแถว

๓๖๗ ตามเคย ๒๐๐ คน ให้นายบำรุง นายบำเรอ มหาดเล็กพนักงานจัดโต๊ะจัดเครื่องโต๊ะ รับกับข้าวของกินที่พระยาวิเศษสงคราม เลี้ยงทูตที่เก๋งโภชนลินลาศตามเคย ให้พระพนมเกษา ให้หลวงโยธาธิบาลให้ขุนพรหมรักษาจัดทหารอย่างยุโรป แต่งตัวถือปืนคาบศิลายืน ๒ แถว ตั้งแต่ประตูหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมจนถึงหน้าเก๋งทูตพัก อนึ่งให้หมายบอกเจ้าพระยา และพระยา พระหลวง ขุนหมื่นที่มีตำแหน่งเฝ้า เมื่อวันทูตเฝ้านั้น ให้เข้ามาเฝ้าในพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อเข้มขาบชั้นใน ใส่เสื้อครุยชั้นนอกจงทุกคน ให้เอาเสื้อแพรสีอย่างน้อยเตรียมไปด้วย ถึงจะติดการงานอยู่แห่งใดให้งดไว้ก่อน ให้เข้ามาเฝ้าพร้อมกัน อนึ่งให้ขุนนาง จีน แขก ฝรั่ง ทะวาย มอญ ลาว พะม่า แต่งตัวตามเพศของตัว ให้มาพร้อมกันในที่เฝ้า ให้เจ้าพระยา และ พระยา ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน เอาพาน เอาโต๊ะ เอาถาด ของเครื่องยศสิ่งของซึ่งได้พระราชทาน เข้าไปตั้งกินในที่เฝ้าตามตำแหน่งจงทุกคน อนึ่งเมื่อเสด็จออก ให้ข้าราชการกราบถวายบังคม ให้มหาดเล็ก ตีกรับขึ้นเป็นสัญญา แล้วชาวที่ใหญ่ประโคมมะโหระทึกแตรขึ้นเมื่อเสด็จออก อนึ่งให้นายประพาสมนเทียรปลัดวังขวา นายเสถียรรักษาปลัดวังซ้าย ออกไปรับแขกเมือง แล้วให้หลวงราชฤทธานนท์ หลวงนนทเสนกับล่ามพนักงาน นำแขกเมืองเดินเป็นคู่ ๆ กัน แล้วนำแขกเมือง

๓๖๘ เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ครั้นถึงหน้าพระที่นั่งในที่เฝ้าแล้ว ให้กราบถวายบังคม ๓ ครั้ง อนึ่งให้พระยาพิพัฒนโกษาทูลเบิกแขกเมือง เมื่อทรงพระราชปฏิสันถาร ๓ ครั้งแล้ว ให้ทูลสืบคำแขกเมืองต่อไป ให้ตำรวจหน้า ตำรวจวัง คอยห้ามปากเสียงสูงต่ำตัดหน้าฉานตามอย่างแต่ก่อน ถ้าเสด็จขึ้นแล้ว ให้ข้าราชการและแขกเมืองกราบถวายบังคม ถ้าแขกเมืองยังไม่ลุกจากที่ ให้ข้าราชการนิ่งสงบอยู่อย่าให้ลุกไปมาเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าแขกเมืองกราบถวายบังคมลาลุกจากที่เฝ้าแล้วให้หลวงราชฤทธานนท์ หลวงนนทเสน และล่ามพนักงานนำแขกเมืองออกมาพักที่เก๋งโภชนลินลาศก่อน อนึ่งให้กรมพระสัสดีหมายบอกเจ้ากรมปลัดกรม ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ ให้ทูลพระเจ้าราชวงศ์เธอ ให้ทูลพระเจ้าลูกยาเธอ ให้ทูลพระวงศ์เธอ ให้แต่งพระองค์ทรงผ้าเขียนทองพื้นศรีเสื้อทรงอย่างน้อยข้างใน กรุยกรองศรีชั้นนอก ให้เอาเสื้อทรงศรีอย่างน้อยเตรียมไปด้วย แล้วเอาพานหมากเสวย เอาพระเต้าบ้วนพระโอฐน้อยเข้าไปตั้งในพระที่นั่งอนันตสมาคม เหมือนอย่างเสด็จออกแขกเมืองครั้งก่อน แล้วให้เชิญเสด็จให้มาให้พร้อมกันจงทุกพระองค์ แต่ณวันพุธเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ ปีระกาตรีศก เพลา ๔ โมงเช้า และเจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ให้เร่งจัดแจงการให้พร้อมทันกำหนด ถ้าสงสัยสิ่งใดไม่เข้าใจ ให้ไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่งนั้น

๓๖๙ ฉบับที่ ๓ เรื่องเลื่อนเวลาแขกเมืองเข้าเฝ้าไปวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งส่งหมายไปแต่ก่อนว่ากำหนดอาเลกแซนเดอลูกอนซึ่งเชิญหนังสือสัญญาเข้ามาเปลี่ยน จะได้เข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ เพลา ๔ โมงเช้า แจ้งอยู่ในหมายรับสั่งครั้งก่อนนั้นแล้วบัดนี้โปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่าณวันพุธ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ มีพระราชกิจที่จะโสกันต์เจ้าไม่มีเพลาว่าง ให้เลื่อนไปกำหนดเฝ้าณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลา ๔ โมงเช้าเป็นแน่นั้น ให้หมายบอกเจ้าพนักงานและข้าราชการ ที่ต้องจัดแจงในการรับแขกเมืองให้จงทุกพนักงาน ให้เร่งจัดแจงการให้ทันรับแขกเข้าเฝ้าณวัน พฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลา ๔ โมงเช้าจงทุกพนักงาน อนึ่งซึ่งสั่งไปแต่ก่อนให้ชาวพระราชยาน จัดแคร่มีเก้าอี้ ๑ แคร่ไม่มีเก้าอี้ ๑๓ รวม ๑๔ แคร่นั้น บัดนี้ขุนนางฮอลันดาที่เรือรบเพิ่มเติมขึ้นอีก แคร่ที่จัดไว้หาพอไม่ ให้จัดแคร่เพิ่มขึ้นอีก ๓ แคร่ ให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราชให้พอ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ราชยานหามแคร่เพิ่มขึ้นอีก ๓ แคร่ให้พอ ๔๗

๓๗๐ อนึ่งนมโคสั่งไปแต่ก่อนให้ส่งวันละ ๓ ทะนานนั้น แขกเมืองหาพอรับพระราชทานไม่ ตั้งแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำไป ให้ขุนโคจัดนมโคเติมขึ้นอีกวันละทะนาน รวมเป็นวันละ ๔ ทะนาน ส่งเสมอทุกวันไป กว่าแขกเมืองจะกลับไป อนึ่งมีหมายไปแต่ก่อนว่า ให้เจ้าพนักงานกรมนา จัดข้าวสารนาสวนซ้อมขาวไปส่งให้แขกเมืองรับพระราชทานเสมอทุกวัน ให้ส่งครั้งละ ๔ ถัง ๔ วัน ให้ส่งครั้งหนึ่ง กว่าแขกเมืองจะกลับไป แจ้งอยู่ในหมายครั้งก่อนแล้ว เจ้าพนันงานได้เอาข้าวสารไปจ่ายครั้งหนึ่งข้าว ๔ ถัง แล้วก็หาได้จ่ายต่อไปไม่นั้น ให้เจ้าพนักงานกรมนาจัดข้าวสารไปจ่ายให้แขกเมืองรับพระราชทานเสมอจงทุกวัน ๆ ละ ๒๐ ทะนาน กว่าทูตจะกลับไป ให้เร่งไปจ่ายแต่ณวันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีระกาตรีศก ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดให้ราชทูตดูกระบวนแห่พยุหยาตรา เสด็จในพิธีถือน้ำ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เมื่อวันถือน้ำพระราชพิธีตรุษนี้ จะเสด็จพระราชดำเนินออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นกระบวนพยุหยาตรา โปรดเกล้า ฯ ให้หามิศหลอคอรราชทูตฮอลันดา กับขุนนางพวกทูตเข้าเฝ้า ฯ ดูกระบวนแห่พยุหยาตราด้วย ๓๗๑ อนึ่งให้ชาวพระอภิรม จัดโต๊ะจัดเก้าอี้ไปตั้งให้แขกเมืองพักที่ปะรำให้พอ อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการ จัดเสื่อลวดไปปูปะรำที่แขกเมืองพักให้เต็ม อนึ่งให้มหาดเล็ก จัดน้ำร้อนชากาแฟให้ทูตรับพระราชทานด้วยตามเคย และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดแจงการให้ทันกำหนดทุกพนักงาน ถ้าสงสัยสิ่งใด ให้เฝ้าทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา เสียก่อน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ฉบับที่ ๕ เรื่องจัดของกินส่งราชทูต

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลน แต่งให้โลคอนดับขุนนางเป็นทูตเชิญหนังสือสัญญา ซึ่งกองเดอระเกวเชียดราชทูตเข้ามาทำไว้ณกรุงเทพ ฯ ออกไปประทับตราสำหรับแผ่นดินนิเธอแลน แล้วเข้ามาเปลี่ยนกับหนังสือสัญญาซึ่งประทับตราสำหรับกรุงฯ ออกไปนั้นทูตมาด้วยเรือกลไฟ ๒ ลำ พลนายไพร่ ๒๖๐ คนเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัดสิ่งของลงไปพระราชทานทูตนายไพร่ที่กำปั่น รับพระราชทานฉันบ้านเมืองเป็นไมตรีกัน เหมือนอย่างทูตเข้ามาแต่ประเทศใหญ่แต่ก่อน ๆ นั้น ให้

๓๗๒ พระคลังในซ้ายจัดน้ำตาลทรายขาวหนัก ๒๐ หาบ ให้กรมท่าซ้ายจัดใบชาหีบใหญ่ ๔ หีบ ให้พระคลังราชการจัดน้ำมันพร้าวหนัก๑๐ หาบ ให้กรมท่าจัดข้าวสารนาสวนใส่กระสอบ ๒ เกวียน ให้จัดเผือกมันหนัก ๒๐ หาบ ให้จัดฟักทอง ๔๐๐ ผล ให้เจ้าภาษีคลังสินค้าจัดปลาหางหนัก ๖ หาบ ปลาใบไม้หนัก ๒๐ หาบ ให้พระแก้วพระคลังสวนจัดมะพร้าวอ่อน ๑๐๐ ทะลาย ให้สรรพากรจัด กล้วย ส้มผลไม้ต่าง ๆ ที่มีรสหวาน ๖๐ โต๊ะ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดสิ่งของลงไปทักทูต ที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม แต่ณวันอังคารเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ให้ทันกำหนด เมื่อจะเอาสิ่งของลงไป ส่งนั้น ให้บอกบัญชีที่เวรกรมท่าก่อน จะได้ให้ล่ามพาไปตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องรับพระราชศาสน์กับกงสุลอังกฤษที่ท่าพระ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

ด้วยท่านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษมีพระราชศาสน์ส่งเข้ามา ให้เซอร์รอเบตซอมเบอร์กงสุลอังกฤษนำทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ ณวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำปีระกาตรีศกนั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพาย


๓๗๓ บรรจุเรือกันยายาว ๑๑-๑๒ วาลำหนึ่งให้ครบกะทง ให้พระราชยานหามแคร่ ๘ แคร่ให้พอ อนึ่งให้พระราชยานจัดแคร่รับกงสุลอังกฤษกับขุนนาง ที่ท่าพระ ๘ แคร่ รับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช มาหามแคร่ให้พอให้มีสัปทนคนหามให้พร้อม ให้เร่งลงไปคอยรับที่ท่าพระเพลาเที่ยงอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์ตอบไปเยี่ยมเยียน ในการที่พระราชชนนีของพระเจ้ากรุงอังกฤษสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ฉบับที่ ๑

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่ เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงวิกตอเรียพระเจ้าแผ่นดินกรุงลอนดอน มีพระราชศาสน์จำเริญทางพระราชไมตรีส่งต่อ ๆ เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ กงสุลอังกฤษนำพระราชศาสน์ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย มีความในพระราชศาสน์นั้นว่า สมเด็จพระมารดาพระเจ้ากรุงลอนดอน ทรงพระประชวรสวรรคตแล้วนั้น กรุงลอนดอนกับกรุงเทพ ฯ เป็นทางพระราชไมตรีรักใคร่กันสนิท พระเจ้ากรุงลอนดอนมีพระราชศาสน์บอกความทุกข์เข้ามา โปรดเกล้า ฯ ให้มี

๓๗๔ พระราชศาสน์ออกไปเยี่ยมเยียนโดยทางพระราชไมตรี กำหนดจะได้เชิญแห่พระราชศาสน์ลงไปส่งณบ้านกงสุล ๆ จะได้ฝากเรือออกไปส่งณเมืองสิงคโปร์ จะได้ส่งต่อ ๆ ออกไปกรุงลอนดอน กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ ณวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาบ่าย ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกอง ประจำการในหมู่ ตำรวจในซ้ายถือธง กองพระพิพิธเดชะ ๖ กองหลวงชินศรีรักษา ๓ กองขุนชาติวิชา ๖ เป็น ๑๕ ตำรวจใหญ่ซ้ายถือธง กองพระยานาวาพลานุโยค ๗ กองหม่อมเจ้าหนู ๘ เป็น ๑๕ ตำรวจในขวาถือธง กองพระราชโยธาเทพ ๘ กองขุนอินทรรักษา ๗ เป็น ๑๕ ตำรวจใหญ่ขวาถือธง กองหลวงวิจารณ์โกษา ๔ กองหลวงพิพิธมนเทียร ๓ กองหลวงอภัยพิทักษ์ทำในวัง ๓ ทำวัด ๕ เป็น ๘ รวมเป็น ๑๕ ตำรวจนอกซ้ายถือธง กองขุนพรหมรักษา ๗ กองหลวงไกรนารายน์ ๓ เป็น ๑๐ ตำรวจสนมซ้ายถือธง กองพระรามพิชัยทำโรงทหาร ๑๐ ตำรวจนอกขวาถือธง กองหลวงพลโยธานุโยค ๒ กองหลวงพิษณุเสนี ๘ เป็น ๑๐ ตำรวจสนมขวาถือธง กองหลวงสวรรค์สำแดงฤทธิ์ ๑๐ สี่ตำรวจหามพระราชยานกงองค์ ๑ กองหลวงเจติยานุรักษ์ ๕ กองหลวงราชมนู ๕ กองหลวงเสนาภิมุข ๒ เป็น ๑๒ นาฬิกาหามมะโหระทึก ๒ สำรับ กองหลวงคชสิทธิ์ ๔ อภิรมเชิญเครื่องสูงบก ๑๘ เรือ ๕ กองพระยาพิชัย ๕ กองพระรามพิชัยระเบียง ๕ กองพระราชฐานบริคุต ๘ กองพระพิเดชสงคราม ๕ เป็น ๒๓ ตีกลองชะนะบก ๓๐ เรือ ๑๐ กองพระพิพิธเดชะ ๑๐

๓๗๕ กองขุนชาติวิชา ๑๐ กองหลวงชินศรีรักษา ๕ กองพระมหา เทพทอง ๕ กองฟั่นเชือก ๑๐ เป็น ๔๐ แสงปืนโรงใหญ่ซ้ายขวานุ่งกางเกงแดงใส่เสื้อเสนากุฎหมวกหนัง ถือปืนรางแดงเลขในหมู่ ๔๐ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป ถือปืนแห่หน้าทหารในกรม ๑๐๐ ฝีพายพายเรือเอกชัยลำหนึ่ง ๓๐ เรือศรีลำหนึ่ง ๓๐ กองหลวงอภิบาลภูวนาถ ๗ กองหลวงราชวรานุรักษ์ ๗ เป็น ๑๔ กองหลวงมณีรักษา ๖ กองหลวงอนุรักษ์ภักดี ๙ กองหลวงเสน่ห์วิชิต ๒ ช่างลาง ๑๒ กองหลวงรามรักษาทำในวัง ๓ ทำตำหนักน้ำ ๙ เป็น ๑๒ กองขุนจรูญเรืองฤทธิ์ ๕ เป็น ๖๐ พายเรือดั้งทหารในซ้าย กองขุนราชกิจปรีชา ๑๐ กองขุนผลาญไพรณ ๘ กองขุนอินทรรักษาสาร ๑๕ กองพระอินทรเดช ๗ เป็น ๔๐ พายเรือดั้งทหารในขวา กองพระยาสามภพพ่าย ๑๕ กองหลวงพลวาสัย ๓ กองหมื่นภูบาลบริรักษ์ ๕ กองขุนสิทธิ์จอมราช ๑๐ กองพระมหามนตรี ๗ เป็น ๔๐ ถือธงหมู่ตีกลองชนะ หมู่เชิญเครื่องสูง หมู่หามพระราชยาน หมู่มะโหระทึก พายเรือเอกชัย เรือศรีปัดสมุทร เรือดั้งเป็นอันมากนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงานนายเรือแต่ณวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ จะได้ยกเรือลงจ่ายเครื่องแต่งตัวให้แล้ว จะได้เข้ากระบวนแห่พระราชศาสน์ทางบกทางเรือ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง


๓๗๖ ฉบับที่ ๒

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงวิกตอเรียพระเจ้าแผ่นดินกรุงลอนดอนมีพระราชศาสน์ จำเริญทางพระราชไมตรีส่งต่อ ๆ เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ กงสุลอังกฤษนำพระราชศาสน์ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายมีความในพระราชศาสน์ว่า สมเด็จพระมารดาพระเจ้ากรุงลอนดอน ทรงพระประชวรสวรรคตแล้วนั้น กรุงลอนดอนกับกรุงเทพ ฯ เป็นทางพระราชไมตรีรักใคร่กันสนิท พระเจ้ากรุงลอนดอนมีพระราชศาสน์บอกความทุกข์เข้ามา โปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชศาสน์ออกไปเยี่ยมเยียนโดยทางพระราชไมตรี กำหนดจะได้เชิญแห่พระราชศาสน์ลงไปส่งณบ้านกงสุล ๆ จะได้ฝากเรือออกไป ณเมืองสิงคโปร์ จะได้ส่งต่อ ๆ ออกไปกรุงลอนดอน กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ณวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาบ่าย ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการในหมู่ถือธง หมู่ตีกลองชนะหมู่เชิญเครื่องสูง หมู่หามพระราชยาน หมู่มะโหระทึก พายเรือเอกชัย เรือศรี เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เป็นอันมากนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงานนายเรือ แต่ณวันจันทร์เดือน ขึ้น ๘ ค่ำ จะได้ยกเรือลงจ่ายเครื่องแต่งตัวให้แล้ว จะได้เข้ากระบวนแห่พระราชศาสน์ทั้งบกทั้งเรือ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง


๓๗๗ หมายรับสั่ง เรื่องจัดของกินไปประทานกำมะโดด นายเรือรบฝรั่งเศส ที่หน้าบ้านกงสุล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำมะโดดเฟรสิเนคุมกำปั่นรบกลไฟ กรุงฝรั่งเศสเข้ามาเยี่ยมกงสุลซึ่งตั้งอยู่ณกรุงเทพ ฯ นั้น กรุงฝรั่งเศสกับกรุงเทพ ฯ เป็นไมตรีกันสนิท กำมะโดดนายทหารก็เป็นขุนนางของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ แล้ว จะต้องจัดสิ่งของพระราชทานให้โดยบ้านเมืองเป็นไมตรีกันเหมือนอย่างเรือประเทศใหญ่ ๆ ที่ได้เป็นไมตรีกับกรุง ฯ ซึ่งเข้ามาแต่ก่อนนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังในซ้าย จัดน้ำตาลทรายขาว หนัก ๕ หาบ ให้กรมท่าซ้ายจัดใบชาหีบหนึ่ง ให้พระแก้วพระคลังสวนสรรพากร จัดผลไม้มะพร้าวอ่อน ๖๐ ทะลาย ผลไม้ต่าง ๆ ที่มีรสหวาน ๒๐ โต๊ะ ลงไปพระราชทานให้กำมะโดดที่บ้านกงสุลฝรั่งเศส แต่ณวันอังคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำปีระกาตรีศก กว่ากำมะโดดจะกลับไปเสร็จ และเมื่อเจ้าพนักงานจะเอาของลงไปนั้น ให้แวะบอกบัญชีที่เวรกรมท่าก่อน จะได้ให้ล่ามเจ้าพนักงานพาลงไป และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ เร่งจัดสิ่งของตามหมายมานี้ให้ได้ตามกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ๔๘ ๓๗๘ หมายรับสั่ง เรื่องกรุงฝรั่งเศสให้เรือรบเข้ามาส่งพระศรีพิพัฒน์ราชทูต ส่งเจ้าหมื่นไวยอุปทูต ส่งพระณรงค์ตรีทูต ขุนนางนายทหารเรือรบเข้าเฝ้าที่พระที่นั่งอนัตสมาคม ให้จัดการรับรองให้พร้อมทุกพนักงาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แต่งให้ดัมโกเล่อฟา เป็นนายกำปั่นรบกับขุนนางนายทหาร คุมเรือกลไฟชื่อเยอรเบียนเข้ามาส่งพระยาศรีพิพัฒน์ราชทูตส่งเจ้าหมื่นไวยวรนาถ อุปทูต ส่งพระณรงค์วิชิต ตรีทูต ซึ่งออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกรุงฝรั่งเศสนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้รับกำมะโดดกับขุนนางนายทหารปืน มาพักที่ตึกหน้าวัดประยุรวงศารามแล้ว ยังหาได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ไม่ บัดนี้กำหนดให้กงสุลฝรั่งเศสพากำมะโดด และขุนนางนายทหาร ๒๐ คนเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระ ที่นั่งอนันตสมาคม ณวันอาทิตย์ เดือนอ้ายขึ้น ๑๓ ค่ำ เวลาบ่าย แขกเมืองเข้าเฝ้าครั้งนี้ จะเสด็จพระราชดำเนินออกเหมือนเมื่อครั้งมอง ซิเออร์เลอตองมันดังวันเพรตตอยยอง เข้ามารับทูตครั้งก่อนนั้น ให้มหาดไทยให้กลาโหม ให้พันพุฒ พันเทพราช หมายบอก เจ้าพนักงานข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนไพร่จงทั่ว เมื่อ

๓๗๙ วันแขกเมืองเข้าเฝ้านั้น ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ที่มีตำแหน่งเฝ้านุ่งสมปักตามธรรมเนียม ใส่เสื้อเข้มขาบอย่างน้อย ใส่เสื้ออัตหรัตอย่างน้อย เข้าเฝ้าจงทุกคน แล้วให้เอาพานทอง เอาโต๊ะทอง ถาดทอง เครื่องยศสิ่งของซึ่งได้พระราชทานเข้าไปตั้งกินในที่เฝ้าด้วยจงทุกคน อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายบรรจุเรือให้พอ ๓ ลำ จ่ายเลขให้ชาวพระราชยานหามแคร่ ๒๐ แคร่ กับสัปทนให้พอ เร่งจ่ายให้แต่ณวันอาทิตย์ เดือนอ้ายขึ้น ๑๓ ค่ำ ให้ทันกำหนดตามเคย อนึ่งให้ชาวพระราชยานจัดแคร่อย่างขุนนางขี่ ๒๐ แคร่ ให้มีสัปทนคนหามแต่งตัวตามเคยให้พร้อม ลงมารับที่ประตูท่าพระ ไปเข้าประตูเทวาพิทักษ์ ให้คอยรับคอยส่งตามเคย อนึ่งให้กรมวังชาวที่และเจ้าพนักงาน จัดแจงการแต่งที่รับเสด็จในพระที่นั่งให้พร้อมจงทุกพนักงาน เหมือนอย่างเมื่อครั้งมองซิเออร์เลอตองมันดังวันเพรตตอยยอง เข้าเฝ้ารับทูตออกไปเมืองฝรั่งเศสครั้งก่อน อนึ่งชาวพระคลังพิมานอากาศ จ่ายพรมให้จ่าศาลาปูที่เก๋งจวนกลางที่พักแขกเมืองให้พอ อนึ่งมหาดเล็กจัดน้ำร้อนน้ำชากาแฟไปเลี้ยงแขกเมือง ที่เก๋งจวนกลางที่แขกเมืองพักตามเคย ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ จัดทหารดาบ ๔๐ คน ขัดดาบทุกคนถือโล่ห์ทุกคน

๓๘๐ หมายรับสั่ง เรื่องจัดแคร่ ๓ แคร่ไปรับแขกเมืองฝรั่งเศสที่ท่าพระ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

ด้วยหมื่นจิตร์รับสั่งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า ณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำปีระกาตรีศกเวลาบ่าย แขกเมืองฝรั่งเศสเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ที่โรงห้องในพระบรมมหาราชวัง เข้ามาดูแห่ด้วยนั้น ให้ชาวพระราชยานจัดแคร่ ๓ แคร่ ไปคอยเตรียมรับฝรั่งเศสที่ท่าพระให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้กับชาวพระราชยานจะได้ หามแคร่ ๑๒ คน ให้เร่งจ่ายแต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ เวลาบ่าย ให้ทันกำหนดตามเคย ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องมีละครที่ท้องสนามหลวง ให้ตั้งกองรับเสด็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔

อนึ่งให้เกณฑ์เจ้ากรม ปลัดกรม ขุนหมื่น ตั้งกองรับเสด็จนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ให้มีเครื่องกองให้พร้อมจงทุกกองให้เร่งไปตั้งกองรับเสด็จ แต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำเพลาเช้าแล้ว ให้ผู้นั่งกองตรวจจัดดูแลห้ามปรามผู้คน อย่าให้เกิดเหตุสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นได้ ให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง


๓๘๑ หมายรับสั่ง เรื่องรับแขกเมืองฝรั่งเศส ที่นำเรือรบเข้ามารับช้างและสัตว์ต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ช้างและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งจะส่งออกไปทรงยินดีสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ตกค้างอยู่ยังไม่ได้ส่งออกไป บัดนี้สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงฝรั่งเศส แต่งให้กัมปะโดปัศการิยาคุมเรือรบกลไฟซิวยิรวมเดอ เข้ามารับช้างและสัตว์ต่าง ๆ ออกไปถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสณกรุงปารีส โปรดเกล้า ฯ กำหนดให้กัมปะโดปัศการิยา และขุนนางในเรือรบ และมองสิเออร์ดิสตรียาผู้ว่าการกงสุลฝรั่งเศส รวมกัน ๑๑ นาย เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๓ ค่ำ ปีจอจัตวาศก เพลาบ่ายนั้น เสด็จออกแขกเมืองครั้งนี้เหมือนอย่างเสด็จออกรับกัปตันนายกำปั่นรบแต่ก่อน ๆ นั้น ให้มหาดไทยกลาโหมหมายบอกข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหาร พลเรือน ในพระบรมมหาราชวังให้รู้จงทุกพนักงาน เมื่อวันแขกเมืองเข้าเฝ้าในพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้นุ่งสมปักตามธรรมเนียม ให้ใส่เสื้อสีอย่างน้อยเข้าเฝ้าจงทุกคน


๓๘๒ อนึ่งให้ชาวที่พระบรรทมแต่งที่รับเสด็จบนพระแท่นถม ให้เชิญพระเก้าอี้หุ้มทองคำ และที่จะตั้งพานพระขันหมากเครื่องราชบริโภคตั้งคอยแห่งหนึ่ง ให้กรมวังจัดเบาะเข้าไปปูให้แขกเมือง ๓ เบาะตามเคย ให้มหาดเล็กรับพานพระขันหมากเครื่องราชบริโภค ต่อท่านข้างในเชิญเข้าไปตั้งบนพระที่นั่งตามเคย ให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัลรับพานหมากพานบุหรี่ หมากเวียน คณโฑน้ำ ถ้วยแก้ว ไปตั้งให้แขก เมืองรับพระราชทานที่พัก แล้วเข้าไปตั้งพานหมากเวียนที่เฝ้าด้วยตามเคย ให้ชาวที่จัดเทียนจัดไฟเข้าไปตั้งให้แขกเมือง สำหรับจุดบุหรี่ที่เก๋งจวนกลางตามเคย ให้ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป จัดทหารถือปืนเข้ามายืนแถวตามเคย ๑๐๐ คน ให้ชาวพระคลังพิมานอากาศยืมพรมให้จ่าศาลา ปูที่จวนกลางที่แขกเมืองพักให้พอตามเคย ให้จ่าศาลายืมพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ยืมเสื่อลวดต่อชาวพระคลังราชการ ปูที่เก๋งจวนกลางแขกเมืองพักให้พอ ให้เอาพรมที่ใหม่ ๆ มาปู อย่าให้เอาพรมเก่าขาดมาปู ให้ชาวอภิรมจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ไปตั้ง ให้ทูตพักให้พอตามเคย ให้มหาดเล็กจัด น้ำร้อน น้ำชา กาแฟ ไปเลี้ยงแขกเมือง ที่เก๋งจวนกลางแขกเมืองพักตามเคย ให้กรมพระนครบาลกวาดถนน ตั้งแต่วัดพระเชตุพนตลอดถึงประตูเทวาพิทักษ์ให้เตียนสะอาดดี อนึ่งเมื่อเสด็จออก ให้ข้าราชการกราบถวายบังคม อนึ่งให้นายประภาษมนเทียรปลัดวังขวา ให้นายเสถียรรักษาปลัดวังซ้าย ออกไปรับแขกเมือง แล้วให้หลวงราชฤทธานนท์

๓๘๓ หลวงนนทเสนกับล่ามพนักงานนำแขกเมืองเดินคู่ ๆ กัน แล้วนำแขกเมืองเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ครั้นถึงหน้าพระที่นั่งในที่เฝ้าแล้วให้กราบถวายบังคม ๓ ครั้ง อนึ่งให้พระยาพิพัฒนโกษาทูลเบิกแขกเมืองเมื่อทรงพระราชปฏิสันถาร ๓ ครั้ง แล้วให้ทูลสืบคำแขกเมืองต่อไป อนึ่งให้ตำรวจหน้าตำรวจวัง คอยห้ามปากเสียงสูงต่ำตัดหน้าฉานตามอย่างแต่ก่อน ถ้าเสด็จขึ้นแล้ว ให้ข้าราชการและแขกเมืองกราบถวายบังคม ถ้าแขกเมืองยังไม่ลุกจากที่ ให้ข้าราชการสงบอยู่อย่าให้ลุกไปมาเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าแขกเมืองกราบถวายบังคมลาลุกจากที่เฝ้าแล้ว................ อนึ่งให้กรมพระสัสดีหมายบอกเจ้ากรมปลัดกรม ให้ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ พระราชวรวงศ์เธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระวงศ์เธอ ให้แต่งพระองค์ผ้าทรงตามธรรมเนียม ทรงเสื้อสีอย่างน้อยแล้วให้เชิญเสด็จเข้ามาเฝ้าพร้อมกัน เหมือนอย่างเสด็จออกแขกเมืองแต่ก่อน ๆ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ไปเร่งจัดแจงการให้พร้อมทันกำหนด แต่ณวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๓ ค่ำ เพลาบ่าย ถ้าสงสัยสิ่งใดไม่เข้าใจให้ไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง



๓๘๔ หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับรองแม่ทัพฝรั่งเศส

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระพิเทศพาณิชสยามพิชิตภักดี ซึ่งอยู่ณเมืองสิงคโปร์ มีหนังสือเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวายว่า อัศมิราลเบนาดแม่ทัพฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อนจะเข้าทูลละออง ฯ ณกรุงเทพ ฯ อัศมิราลเบนาดได้ออกจากเมืองไซ่ง่อนแล้ว กำหนดจะได้มาถึงกรุงเทพ ฯ ในเดือน ๑๑ ข้างขึ้น ปีจอจัตวาศก โปรดเกล้า ฯ ว่า อัศมิราลเบนาดเป็นขุนนางแม่ทัพจะต้องจัดแจงการรับรองให้สมควรแก่ยศศักดิ์ จะให้ขึ้นพักอยู่ณตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศารามนั้น ให้ชาวพระคลังราชการ จัดเสื่ออ่อนเสื่อลวดปูตึกและปูเตียงนอนให้พอ ให้ชาวพระคลังพิมานอากาศจัดโคมหวด โคมหม้อ โคมตั้ง ไปแขวนไปตั้งที่ตึกรับทูตตามเคย ให้กรมพระนครบาลเบิกยืมตุ่มสามโคกต่อกรมพระกลาโหม มาตั้งให้ทูต ๒๐ ใบ ทั้งนี้ให้เร่งเอาโคมไปแขวนไปตั้ง ตุ่มไปตั้ง แต่ณวันเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีจอจัตวาศก ให้ทันกำหนด อนึ่ง มุ้ง ที่นอน ฟูก ซึ่งเจ้าพนักงานไปจ่ายไว้สำหรับรับทูตต่าง ประเทศแต่ก่อนนั้น ได้รับทูตหลายครั้งแล้ว มุ้ง หมอน ฟูก เก่าขาดไป จะเอามาใช้ในการรับทูตครั้งนี้ต่อไปไม่ได้นั้น ให้ชาวพระคลัง


๓๘๕ วิเศษจัดมุ้งแพรให้มีระบาย ๔ ผ้ามีระบาย ๔ รวม ๘ หลัง ให้ชาวพระคลังในซ้ายจัดฟูกใหญ่ ๘ ให้มีผ้าขาวปูให้พร้อม จัดหมอนข้าง ๑๖ ให้มีผ้าขาวหุ้ม ให้เร่งเย็บทำไว้ให้แล้วพร้อม อัศมิราลเบนาดเข้ามาถึงเมื่อใด ก็ให้เอาไปจ่ายที่ตึกรับทูตให้ทันราชการอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องจัดตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศารามรับแม่ทัพฝรั่งเศส ผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งส่งหมายมาแต่ก่อนว่า อัศมิราลเบนาดแม่ทัพฝรั่งเศส ซึ่งสำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน จะเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศารามเป็นที่พักอาศัย รับอัศมิราลเบนาด โปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่า อัศมิราลเบนาดเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ให้จัดแจงการรับรองให้สมควรกับขุนนางผู้ใหญ่ ให้ชาวพระคลังในซ้ายจัดฟูกใหญ่ ๘ ฟูก หมอนข้าง ๑๖ ความแจ้งอยู่ในหมายแต่ก่อนแล้ว แต่หมอนหนุนศีร์ษะกับฟูก หมอนขนาดเล็กสำหรับทหารยังหามีไม่นั้นให้เจ้าพนักงานคลังในซ้าย จัดหมอนหนุนศีร์ษะสำหรับขุนนาง ๑๐ ใบ ฟูกหมอนขนาดเล็กสำหรับทหาร ฟูก ๕๐ หมอน ๕๐ ให้เร่งลงไปส่ง ๔๙

๓๘๖ ที่ตึกหลวงหน้าวัดประยุรวงศาราม แต่ณวันเดือน ๑๑ แรม ๓-๔ ค่ำ ปีจอจัตวาศก ด้วยอัศมิราลเบนาดจอรัจเข้ามาแล้ว อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมการรับรองมองซิเออร์ซาโนนกงสุลฝรั่งเศส จะเข้าเฝ้าที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มองซิเออร์ซาโนนกงสุลฝรั่งเศสคนใหม่จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ สำแดงตราตั้งทูลเกล้า ฯ ถวายณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ เวลาพระสงฆ์ฉันเช้าแล้ว ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้วนั้น ให้กรมวังหมายสั่งเจ้าพนักงาน ให้เอาพรมมาปูที่ศาลาต้นกระทิง แล้วให้เอาโต๊ะมาตั้ง เก้าอี้ ๕ เก้าอี้ และโต๊ะนั้นให้มีผ้าปูโต๊ะด้วย แล้วให้จัดคณโฑน้ำ จัดถ้วยแก้ว จัดบุหรี่ฝรั่ง เทียนสูบบุหรี่ มาตั้งที่โต๊ะให้พร้อม และบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั้นจะตกแต่งอย่างไรให้ไปทูลถามพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา ท่านรับสั่งบังคับอย่างไรก็ให้ทำตามรับสั่ง แล้วให้มหาดไทยให้กลาโหม หมายบอกเจ้ากรมปลัดกรม

๓๘๗ นายเวร ให้ทูลพระบรมวงศานุวงศ์ และหมายบอกข้าทูลละออง ฯ นายทหารพลเรือนที่มีตำแหน่งเฝ้า ให้นุ่งผ้าใส่เสื้อตามธรรมเนียมเข้าเฝ้า เมื่อวันพระให้มาเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ให้พร้อมกัน และให้มีเสื้อสีสมปักตามธรรมเนียมเตรียมเข้าไปด้วย เผื่อจะผันแปรประการใดจะได้ทันการตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องจัดสิ่งของไปทักขุนนางอังกฤษที่เรือกลไฟ ซึ่งเข้ามาเยี่ยมกรุงสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ ผู้สำเร็จราชการเมืองสมุทรปราการ บอกขึ้นมาว่า เรือรบกลไฟอังกฤษ ขุนนางนายเรือชื่อกำมะโดดคอตยอนเฮ มาด้วยเรือกลไฟชื่อโอเดนลำหนึ่ง กัปตันอาเลกซันเด มาด้วยเรือกลไฟชื่อโกเกตลำหนึ่ง มาแต่เมืองสิงคโปร์ จะเข้ามาเยี่ยมเยียนบ้านเมืองที่เป็นไมตรีกัน แต่เรือกลไฟชื่อโกเดนลำหนึ่งนั้น ทอดอยู่นอกสันดอนกัมมะโดดกับขุนนางนายทหาร ลงเรือกลไฟชื่อโกเกตเข้ามาทอด ณกรุงเทพ ฯ แต่ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำแล้วนั้น อังกฤษกับกรุงเทพ ฯ เป็นทางพระราชไมตรีกัน กัมมะโดดคุมกำปั่นเข้ามา


๓๘๘ เยี่ยมเยียนถึงบ้านเมืองแล้ว จะต้องจัดสิ่งของไปทักถามโดยทางไมตรี เรือเข้ามาทั้งนี้ ๒ ลำผู้คนก็มากนั้น ให้ชาวพระคลังในจัดน้ำตาลขาวหนัก ๑๐ หาบ ให้กรมท่าซ้ายจัดใบชาหีบใหญ่ ๔ หีบ ให้พระคลังมหาสมบัติสรรพากรจัดกล้วย จัดส้มผลไม้ต่าง ๆ ๖๐ โต๊ะ ให้พระแก้วพระคลังสวนจัดมะพร้าวอ่อน ๒๐๐ ทะลาย และเรือรบเข้ามาครั้งนี้จะกลับไปเร็ว ให้เจ้าพนักงานจัดสิ่งของลงไปทักแขกเมืองให้ทัน ณวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ ปีจอจัตวาศก เมื่อจะเอาสิ่งของลงไปทักนั้น ให้แวะบอกบัญชีที่เวรกรมท่าก่อนตามเคยจะได้ให้ล่ามพนักงานพาไป อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดรับขุนนางเรือรบอังกฤษเข้าเฝ้า ในพระที่นั่งอนันตสมาคม

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ ผู้สำเร็จราชการเมืองสมุทรปราการบอกขึ้นมาว่า เรือรบกลไฟอังกฤษขุนนางคอตยอนเฮลงมาด้วย นายเรือชื่อกัมมะโดด เรือกลไฟชื่อโอเกตลำหนึ่ง กัปตันอาเลกซันเด นายเรือกลไฟซื่อโกเกตลำหนึ่งมาแต่เมืองสิงคโปร์ จะเข้ามาเยี่ยมเยียนบ้านเมืองที่เป็นไมตรีกัน แต่เรือกลไฟชื่อโอเดนนั้น ทอดอยู่นอกสันดอน กัมมะโดด


๓๘๙ กับขุนนางนายทหารลงเรือกลไฟชื่อโกเกตเข้ามาณกรุงเทพ ฯ ทอดอยู่ใต้ป้อมปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก แต่ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ แล้วกัมมะโดดกับขุนนางทหารขึ้นพักอยู่ที่ตึกเซอร์รอเบต ซอบเปอร์กงสุลอังกฤษ ๆ มีหนังสือให้ทูลเกล้า ฯ ถวายว่า กัมมะโดดกับขุนนางนายทหารอังกฤษ จะขอเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ๑๓ นายนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้กงสุลกัมมะโดดขุนนางนายทหารอังกฤษเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเสาร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำปีจอจัตวาศก เวลาเที่ยงนั้น ให้มหาดไทย ให้กลาโหม หมายบอกข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือน และเจ้าพนักงานในพระบรมมหาราชวังให้รู้จงทั่ว เมื่อวันแขกเมืองจะเข้าเฝ้านั้น ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนที่มีตำแหน่งเฝ้า นุ่งสมปักตามธรรมเนียม ใส่เสื้อแพรสีอย่างน้อยที่งามดี เข้าเฝ้าพร้อมกันจงทุกคน อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศจัดพรมที่ใหม่ จ่ายยืมให้จ่าศาลาไปปูที่เก๋งจวนกลางให้เต็ม อนึ่งให้รักษาพระองค์จัดโต๊ะจัดเก้าอี้ ไปตั้งที่เก๋งจวนกลางให้แขกเมืองพักให้พอ ให้จ่าศาลายืมพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศไปปูที่เก๋งจวนกลางแขกเมืองพักให้พอ ให้กรมพระนครบาลกวาดถนนตั้งแต่สะพานหน้าวัดพระเชตุพน ตลอดถึงประตูเทวาพิทักษ์ ให้เตียนสะอาดดี ที่เชิงสะพานน้ำท่วมเปรอะเปื้อนอยู่ ให้เอากะดานมาทอดให้ดีด้วย ให้ชาวที่กรมวังแต่งที่รับเสด็จบนพระที่นั่งอนันตสมาคม

๓๙๐ แห่งหนึ่ง แล้วให้เชิญพระเก้าอี้หุ้มทองคำตั้งบนพระแท่น แต่ที่จะตั้งพานพระขันหมาก เครื่องราชบริโภค มาตั้งคอยตามเคย อนึ่งให้ชาวพระราชยานจัดแคร่ตามธรรมเนียม ๑๓ แคร่ รับเลข ต่อพันพุฒ พันเทพราช มาแต่งตัวใส่กางเกงพระเกี้ยวลายหามแคร่ให้พอ ลงไปรับแขกเมืองที่ท่าวัดพระเชตุพน เข้าประตูเทวาพิทักษ์แล้วคอยรับคอยส่งด้วย อนึ่งให้นายทหารอย่างยุโรป ทหารเกณฑ์หัด จัดทหารแต่งตัวยืนแถวทั้งชั้นนอก ชั้นใน ชั้นกลาง ให้ครบตามเคย อนึ่งให้จัดมโหรีมาทำเมื่อเวลาแขกเมืองรับพระราชทาน ที่เก๋งโภชนลินลาศด้วยตามเคย อนึ่งให้กรมวังจัดเบาะสำหรับให้แขกเมืองนั่ง เข้าไปในพระที่นั่งด้วย ๒ เบาะตามเคย อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัล รับพานบุหรี่ หมากเจียน คณโฑน้ำ ถ้วยแก้ว กะโถน ไปตั้งให้แขกเมืองรับพระราชทานที่พัก และตั้งในที่เฝ้าตามเคย อนึ่งให้มหาดเล็กรับพานพระขันหมาก เครื่องราชบริโภคต่อท่าน ข้างใน มาตั้งที่พระที่นั่งตามเคย แล้วให้นายบำรุงมหาดเล็กจัดน้ำร้อนน้ำชาไปเลี้ยงแขกเมืองที่เก๋งพักด้วย แล้วให้จัดเครื่องโต๊ะมาตั้งที่หอโภชนลินลาศ สำรับคาวของกินต่อพระเพลิง พระรามแผลงฤทธิ์มาเลี้ยงแขกเมืองด้วย ให้ชาวนาฬิกาประโคมมะโหระทึก


๓๙๑ ประโคมแตรประโคมสังข์ เมื่อเสด็จออกเสด็จขึ้นตามเคย ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ชาวพระราชยานหามแคร่ให้พอ อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจัดไต้ มาคอยจ่ายให้รองงานตำรวจส่งแขกเมืองให้พอ อนึ่งให้นายประภาษมนเทียรปลัดวังขวา ให้นายเสถียรรักษาปลัดวังซ้าย ไปรับแขกเมือง แล้วให้หลวงราชฤทธานนท์ ให้หลวง นนทเสน กับล่ามพนักงานนำแขกเมืองเดินเป็นคู่ ๆ กันเข้าประตูพระที่นั่ง ให้นำแขกเมืองเข้าเฝ้าทูลละออง ฯครั้นถึงหน้าพระที่นั่งในที่เฝ้าแล้ว ให้ถวายบังคม ๓ ครั้ง อนึ่งให้พระยาพิพัฒนโกษาทูลเบิกแขกเมืองก่อน เมื่อทรงพระราชปฏิสันถารกับแขกเมืองแล้ว ให้ทูลสืบคำแขกเมืองต่อไป อนึ่งให้ตำรวจหน้าตำรวจวัง คอยห้ามปากเสียงและผู้คน อย่าให้ ยืนล้อมดูแขกเมืองที่เก๋งพักเหมือนอย่างแต่ก่อน ๆ เป็นอันขาด อนึ่งเมื่อเสด็จขึ้นแล้ว ให้ข้าทูลละออง ฯ กราบถวายบังคม ถ้า แขกเมืองยังไม่ลุกจากที่ ให้ข้าราชการนั่งสงบอยู่ อย่าให้ลุกเดินไปมาเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าแขกเมืองลาลุกจากที่แล้ว ให้หลวงราชฤทธานนท์ หลวงนนทเสน และล่ามพนักงานนำแขกเมืองออกมาพักรับพระราชทานที่หอโภชนลินลาศด้วย อนึ่งให้กรมพระสัสดีขวาหมายบอกเจ้าปลัดกรมจางวาง ให้ทูล พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระเจ้าลูกยาเธอ ให้แต่งพระองค์ผ้าทรงตามธรรมเนียม เสื้อทรงสีอย่างน้อย ให้เชิญเสด็จ

๓๙๒ เข้ามาพร้อมกันจงทุกพระองค์ ถ้าเจ้าพนักงานทั้งนี้สงสัยสิ่งไรไม่เข้าใจให้ไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องตั้งโรงครัวเลี้ยงฝรั่งที่หน้าวัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

ด้วยหมื่นจงขวารับสั่ง พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิว วิลาศใส่เกล้า ฯ สั่งว่า โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงครัวเลี้ยงฝรั่งที่หน้าวัดมหาธาตุนั้น หามีคนจะตักน้ำทำของเลี้ยงฝรั่งไม่นั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้กับล้อมพระราชวัง ๑๐ คน ให้เร่งจ่ายให้แต่ ณวัน เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำเวลาบ่าย ให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้ อนึ่งให้กรมล้อมพระราชวังไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๑๐ คนมาตักน้ำใส่โรงครัวเลี้ยงฝรั่ง ตั้งแต่ณวัน เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ เวลาบ่าย ให้ทันกำหนดเสมอทุกวันไปกว่าจะเลิกการครัวเสร็จ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง




๓๙๓ หมายรับสั่ง เรื่องเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแต่งราชทูต ให้นำเครื่องราชอิศริยยศ เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส แต่งให้ดาระแมนลิบโป ขุนนางนายทหารเชิญพระราชอิศริยยศประดับเพ็ชรองค์ ๑ ลึงญาชาวีองค์ ๑ (ลงยาราชาวดีองค์ ?) เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดดาระแมนลิบโปและขุนนางนายทหาร ๒๐ นายจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวายพระราชอิศริยยศ ณพระที่นั่ง อนันตสมาคม ณวัน เดือน ๖ แรม ๘ ค่ำเวลาเช้า เจ้าพนักงานจะได้จัดแจงรับ ให้เหมือนอย่างออกแขกเมืองกรุงใหญ่ทำมาแต่ก่อนนั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอกกับนายเรือ เรือวายุภักษ์กรมอาษาวิเศษขวาลำ ๑ รับทูตเครื่องเรือเสื่ออ่อน ๑ หมอนอิง ๑ พรม ๑ ม่าน ๔ ผืน บอกกับนายเรือ เรือเหรากรมอาษาในกรมวังซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ รับปี่พาทย์ลำละสำรับ หมายบอกกับนายเรือดั้งกองกลางเป็นคู่ชักซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ สำรับ กลองชนะ ๕ คู่ ธงมังกร ๒ คัน เบิกเสื้อแดงหมวกแดง และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ให้มีเครื่องเรือดาษสีหลังคาให้พร้อมตามเคย ให้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้ครบกะทง ให้เร่งไปยกเรือลงน้ำแต่ณวัน เดือน ๖ แรม ๗ ค่ำ ให้พายเรือมาคอยเตรียมให้ ๕๐

๓๙๔ พร้อมที่ท่าช้างเสียก่อน จึงจะได้ลงเรือไปรับขุนนางฝรั่งเศสที่เรือกลไฟ หน้าบ้านกงสุลฝรั่งเศส ขึ้นท่าราชวรดิษฐ์ คอยรับคอยส่งตามเคยเหมือนอย่างทุกครั้ง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดนมโคมาเลี้ยงฝรั่ง ที่มาดูงานมหรศพ

ด้วยจมื่นจงซ้าย รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ฝรั่งเศสมาดูงานที่พระศพ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นวิศณุนาถนิภาธร เสร็จแล้วจะไปพักที่โรงนายบำรุงราชบทมาลย์ ท้องสนามหลวงกินเลี้ยงนั้น ยังหาน้ำนมโคกินกาแฟน้ำร้อนไม่นั้น ให้ขุนกชีให้ขุนโค กองโค จัดน้ำนมโคมาส่งเสมอทุกวันไปกว่าจะเลิกแต่วัน เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำเพลาเช้า ๓ ทะนานเวลาเช้า ๓ โมงเพลาบ่าย ๓ ทะนานเวลา ๓ โมง มาส่งให้นายบำรุงให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้

หมายรับสั่ง เรื่องให้พาทูตฝรั่งไปเที่ยวเมืองเพ็ชรบุรี, เมืองสมุทรปราการ

ด้วยพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จางวางทหารบกทุกหมู่ รับพระ บรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้พาทูต ฝรั่งไปเมืองเพ็ชรบุรี ให้จัดเรือพระที่นั่งเสพสหายไมตรี กำหนดจะ ๓๙๕ ไปณวันพฤหัสบดีเดือน ๘ ขึ้น ๓ ค่ำปีกุรเบญจศกเพลา ๓ โมงเช้า ให้เจ้าพนักงานกรมนาจัดข้าวสารขาวสำหรับเลี้ยงทูต ๔๐ ถัง ข้าว สารแดงสำหรับกะลาสี ๔๐ ถัง ให้กรมสรรพากรในจัดปลาแห้ง ๒๐๐ หาง ปลาใบไม้ใหญ่ ๕๐๐ ตัว เนื้อเค็ม ๒๐๐ แผ่น ปลาย่าง ๒๐๐ ไม้ ฟองเป็ดสด ๕๐๐ ฟองเป็ดเค็ม ๑๐๐๐ ( รวม ) ๑๕๐๐ ปลากุเลา ๕๐ ตัว ส้มมะขาม ๔๐ ปั้น กะปิดี ๒ กะปิแกง ๒ (รวม ) ๔ ถัง หอม ๒๐ หมวด กะเทียม ๒๐ หมวด พริก ๕ ถัง มันเทศ ๒ หาบ ฟักเขียว ๒ หาบ ฟักเหลือง ๒ หาบ เกลือ ๒ ถัง คลังราชการจัดไต้เหนือ ๑๐๐๐ ลำ น้ำมันมะพร้าว ๓๐๐ ทะนาน น้ำมันยางใส ๑๐๐ ทะนาน กระสอบ ๑๐๐ ใบ ให้เร่งไปส่งที่เรือพระที่นั่งเสพสหายไมตรี แต่ณวันพุธเดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำเพลาบ่าย ๓ โมงเช้า ให้ทันกำหนดตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรือรับฝรั่งที่มาใหม่ ขึ้นไปตามเสด็จกรุงเก่า

ด้วยพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้พระอรสุมพลาภิบาลจัดเรือปัทโย ปนิกา รับฝรั่งมาใหม่ตามเสด็จพระราชดำเนินไปกรุงเก่า ณวันเดือน ๘ แรม ๔ ค่ำนั้น ให้เจ้าพนักงานจัดสิ่งของลงเรือฟืนตะบูนตามเคย ไต้เหนือ ๒๐ มัด น้ำมันมะพร้าว ๑๕๐ ทะนาน ข้าวสารนาสวน ๑๕

๓๙๖ ข้าวสารนาเมือง ๑๕ เป็น ๓๐ ถัง ฟองเป็ดจืด ๑๐๐ ฟอง ฟองเป็ดเค็ม ๒๐๐ เป็น ๓๐๐ ฟอง ปลาหาง ๑๐๐ หาง ปลากุเลา ๑๐๐ ตัว ปลาสลิดใหญ่ ๔๐๐ ตัว ปลาใบไม้ ๑๐๐ ตัว พริก ๒ ถัง เกลือ ๑ ถัง กะปิ ๑ ถัง หอม ๑๐ หมวด กะเทียม ๕ หมวด กะเทียมดอง ๒ ไห ส้มมะขาม ๑๐ ปั้น กระสอบ ๒๐ ใบ ให้เอา ไปส่งที่เรือ ณวัน เดือน ๘ แรม ๓ ค่ำ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดกงสุลฝรั่งเศสกับบาดหลวงจะเข้าเฝ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันอาทิตย์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำปีกุรเบญจศก มองซีเออร์มารีเนตกงสุลฝรั่งเศส กำมกรชิมอร์เรือรบกลไฟฝรั่งเศสกับบาตหลวง จะได้เข้าเฝ้าทูลลออง ฯ ณพระที่นั่ง อนันตสมาคม แขกเมืองจะเข้ามาพักที่เก๋งเหนือพระที่นั่งสุทไธศวรรย์นั้นให้กรมวังบอกเจ้าพนักงาน เอาพรมใหญ่มาปูที่เก๋งรับแขกเมืองและให้จัดโต๊ะโต ๑ จัดเก้าอี้ ๕ เก้าอี้มาตั้งแล้ว ให้มีคณโฑน้ำถ้วยแก้วบุหรี่ฝรั่งเทียนสูบบุหรี่ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ เร่งจัดแจงเตรียมการไว้ให้พร้อม แต่ณวันอาทิตย์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำเวลาบ่าย ๑ โมง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

๓๙๗ ฮอลันดาแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตฮอลันดา ฉบับที่ ๑ เรื่องจัดเรือแห่พระราชศาสน์

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์ มีพระราชศาสน์ ให้ยิปิเจมัตเซลเชิญพระราชศาสน์กับของทรงยินดีเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ยิปิเจมัตเซลมาด้วยพระราชศาสน์กับทูตขี่เรือกลไฟนั้น ให้นายเวรเรือดั้งล้อมพระราชวังเป็นคู่ชักซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เป็น ๒ ลำ รับแตรงอน แตรฝรั่งรับสังข์คู่รับกลองรับมะโหระทึก มหาดไทยหมายบอกนายเรือรูปสัตว์ นายเรือดั้งรับพระราชศาสน์ เรือเหราอาษาในกรมวัง ซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เป็น ๒ ลำ รับกลองชะนะ ๕ คู่ เรือสางอาษาในกรมท่าซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เป็น ๒ ลำ รับกลองชะนะ ๕ คู่ คลังสินค้าเรือโต ซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เป็น ๒ สำหรับรับปี่พาทย์รับกลองชะนะ ๕ คู่ เรือมังกรล้อมพระราชวัง ซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เป็น ๒


๓๙๘ สำหรับรับปี่พาทย์รับกลองชะนะ ๕ คู่ รับทูต วายุภักษ์ อาษาวิเศษซ้ายลำหนึ่ง มีเสื่ออ่อนมีหมอนพรมทั้งรับทั้งส่ง และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้เตรียมเรือให้พร้อม รับเลขต่อพันพุฒอนุราช พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้ครบกะทง แต่พลพายใส่เสื้อแดง หมวกแดง เบิกธงมังกรจงทุกคน ให้เร่งไปยกเรือลงน้ำแต่ณวันเดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ ครั้นรุ่งขึ้นณวันเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้าโมงหนึ่ง ให้เร่งถอยเรือมาพร้อมกันที่ท่าราช วรดิษฐ์ เมื่อจะไปรับพระราชศาสน์กับทูต ที่ตึกหลวงหน้าวัดประยูรวงศ์แห่นำขึ้นท่าช้าง เมื่อจะล่องลงไปแวะที่บ้านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีเสียก่อน เหมือนอย่างทุกครั้ง ให้ทันกำหนดตามรับสั่ง ฉบับที่ ๒ เรื่องกำหนดราชทูตเฝ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ให้จัดช้างต้นจัดช้างพิเศษรับแขกเมือง

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์ มีพระราชศาสน์กับของทรงยินดี แต่งให้ยิปิเจมัตเซลกับขุนนางวิลันดา ๕ นาย กำหนดยิปีเจมัตเซลเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำปีกุรเบญจศกเวลาเช้า ให้จัดช้างต้นจัดช้างพิเศษยืนประจำรับแขกเมืองนั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้กับกรมช้าง ถือแส้

๓๙๙ หวาย ๑๔ ถือแส้หางม้า ๖ เป็น ๒๐ กระบองกลึง ๔๐ รวมเป็น ๖๐ จ่ายเลขให้กับอภิรมถือกรรเชิงเกล็ด ๑๐ ให้กับราชมัน ถือเครื่องยศ กล้วย ๖ อ้อย ๖ หญ้า ๖ หม้อน้ำ ๖ เป็น ๒๔ รวมเป็น ๙๔ คน ให้เร่งจ่ายแต่ณวันอังคารเดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ เวลาบ่ายให้ทันกำหนดจะได้เอาไปถือเครื่องแห่ช้างม้า มาคอยรับแขกเมือง ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้า อนึ่งให้กรมช้างจัดช้างต้นช้างพิเศษไปผูกเกยยืนปะรำ แล้วให้จัดช้างดั้งช้างปืนไปยืนที่ริมข้างโรงพระมหาศรีเศวต แล้วให้เบิกเครื่องช้างสำหรับผูกช้างต้นช้างพิเศษช้างดั้งช้างปืน ภู่ตาข่ายผ้าปกหางให้พร้อมกับแส้หวาย ๑๔ แส้หางม้า ๖ เป็น ๒๐ กระบองกลึง ๔๐ มงคลแดง ๖๐ เสื้อปัสตูแขนสั้น ๖๐ ต่อคลังแสงสรรพยุทธ์แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๕๘ คน ให้เบิกกางเกงปัสตูเหลืองประกอบเชิง กางเกงริ้วทองรุ้งประกอบเชิง ให้เบิกเสื้อเสนากุฎเหลืองเสื้อปัสตูแขนสั้น เกี้ยวลายหมวกยันต์เขียนลายทอง ต่อคลังเสื้อหมวกคลังวิเศษให้พอ แล้วให้จัดคนในกรมช้าง เป็นจัตุลังคบาท ใส่เสื้อกางเกงขัดกระบี่ ๑๒ คน นุ่งห่มคอยเตรียมรับแขกเมือง ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้า อนึ่งให้พระอภิรมจัดกรรเชิงเกล็ด ๑๐ คัน ให้รับเลขต่อ พันพุฒ พันเทพราช ๑๐ คนนุ่งกางเกงยกเสื้อมิสรู มาคอยเตรียมแห่ช้างเข้าไปรับแขกเมืองในพระราชวัง ที่ประตูวิเศษชัยศรี แต่ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้า ให้ทันกำหนด

๔๐๐ อนึ่งให้ราชมันกรมวัง รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๑๘ คนให้เบิกกางเกงริ้วทองรุ้งเสื้อปัสตูแขนสั้นเกี้ยวลาย ต่อชาวคลังเสื้อหมวกคลังวิเศษ แล้วให้รับโต๊ะเงินใส่กล้วย ๔ ใส่อ้อย ๔ ใส่หญ้า ๔ เป็น ๑๒ ให้รับโต๊ะทองขาวใส่กล้วย ๒ ใส่อ้อย ใส่หญ้า ๒ เป็น ๖ รวมเป็น ๑๘ ใบ ต่อวิเศษ แล้วให้รับหม้อน้ำเงิน ๔ หม้อน้ำทองขาว ๒ เป็น ๖ ใบใส่น้ำ ต่อขุนศรีสยุมพร มาคอยเตรียมตามช้างต้นช้างวิเศษ แห่เข้าไปรับแขกเมืองในพระราชวัง ที่ประตูวิเศษชัยศรี แต่ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้า อนึ่งให้ขุนศรีสยุมพรรับหม้อน้ำเงิน ๔ หม้อน้ำทองขาว ๒ เป็น ๖ ใบ ต่อท่านข้างใน มาใส่น้ำส่งให้ราชมันกรมวัง แต่ณวันพุธ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ เวลาเช้า อนึ่งให้คลังแสงสรรพยุทธ์จ่ายเครื่องช้าง แส้หวายแส้หางม้า กระบองกลึง ให้คลังเสื้อหมวกจ่ายกางเกงจ่ายเสื้อหมวก ให้คลังวิเศษจ่ายเกี้ยวลาย ให้กับผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ แต่ณวันอังคารเดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้คลังราชการเอาเสื่อลวดไปปูให้เต็ม สำหรับแขกเมืองจะได้ดูพระยาช้างที่โรงพระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ที่โรงพระวิมลรัตนกริณี แต่ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ อนึ่งให้เกณฑ์หัดแสงปืน จั ดปืนรางเขียวใส่บนสัปคับช้างละบอก ๗ ช้าง ๗ บอก ให้จัดพันทะนายนั่งบนสัปคับกำกับปืนช้างละ ๒ คน

๔๐๑ แล้วเบิกกางเกงยศเสื้อเสนากุฎน้ำเงิน เกี้ยวเจียรบาดหมวกเขียนทองต่อคลังเสื้อคลังหมวกวิเศษ มานุ่งห่มคอยเตรียมขึ้นช้างที่ประตูวิเศษชัยศรี แต่ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้า และให้เจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ มาคอยเตรียมให้พร้อมจงทุกพนักงานอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๓ เรื่องให้จัดดอกไม้สดสำหรับเครื่องบูชา

ด้วยนายบำรุงราชบทมาลย์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ เวลาเช้า แขกเมืองวิลันดาจะเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ บัดนี้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเครื่องบูชาเป็นอันมากนั้น หามีดอกไม้สดจะใส่จานแก้วเครื่องบูชาไม่ ให้ขุนมาลาการจัดดอกไม้สีต่าง ๆ กับผู้รับส่งที่หอโภชนลินลาศ แต่ณวันพุธเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำเวลาเช้าโมงหนึ่ง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฉบับที่ ๔ เรื่องจัดเรือไปรับเครื่องบรรณาการที่พักทูต หน้าวัดประยุรวงศ์

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดิน ๕๑

๔๐๒ นิเธอแลนด์แต่งให้ฮอไวมัดเซลเป็นทูตคุมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทรงยินดี พระรูป ๑ ตุ้มหูคู่ ๑ พระแสงองค์ ๑ ฉลองพระบาทคู่ ๑ และของอื่นหลายสิ่งนั้น ให้เจ้าพนักงานชาวพระมาลาภูษา ให้เจ้าพนักงานกรมพระแสง ให้เจ้าพนักงานพระคลังพิมานอากาศ ลงไปรับเครื่องบรรณาการที่พักทูต หน้าวัดประยุรวงศารามณวันเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ เพลาเช้า เมื่อจะลงไปให้แวะที่เวรกรมท่าก่อน จะได้ให้ล่ามพนักงานพาไป ฉบับที่ ๕ เรื่องเสด็จออกรับแขกเมือง ให้จัดการให้พร้อม

รับสั่ง แห่พระราชศาสน์พระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์ เสด็จออกแขกเมืองณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ เวลาออกรับเหมือนออกแขกเมืองใหญ่ทุกครั้ง ฉบับที่ ๖ เรื่องแห่พระราชศาสน์ตอบพระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์ แต่งให้ยิปิเชมอตเสนเชิญพระราชศาสน์ของทรงยินดีเข้ามาทรงยินดี บัดนี้โปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชศาสน์และของ


๔๐๓ ทรงยินดี ตอบแทนออกไปยังสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์มอบให้ยิปิเชมอตเสนออกไปคอยรับพระราชศาสน์ อยู่ที่เรือกลไฟชื่อสิกเดนแวนวันตะเออขึ้นนอกสันดอนแล้ว กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ออกไปส่งที่เรือทูต ณวันเดือน ๘ ขึ้น ๕ ค่ำปีกุรเบญจศกเวลาบ่าย ๑ โมงนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม เกณฑ์กระบวนแห่พระราชศาสน์ทางบกลงเรือกลไฟที่ท่าพระ สี่ตำรวจรับพระราชยานกงต่อชาวพระราชยานองศ์ ๑ สี่ตำรวจรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช หามพระราชยาน ๑๐ คน สี่ตำรวจรับพระราชศาสน์ลงเรือกลไฟที่ท่าพระ สี่ตำรวจรับพรมต่อชาวพระคลังพิมานอากาศ ปูพระราชยานผืนหนึ่ง สี่ตำรวจนุ่งกางเกงยกคาดเกี้ยวลาย ขุนหมื่นเป็นคู่แห่เดินเท้า นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุย ใส่ลำพอกขาว แห่หน้า ๑๐๐ แห่หลัง ๖๐ ( รวม ) ๑๖๐ เกณฑ์ไพร่ นุ่งกางเกงแดง ใส่เสื้อเสนากุฎ ถือธงมังกรแห่หน้า ๑๐๐ แห่หลัง ๖๐ ( รวม ) ๑๖๐ หลวงราชมนู หลวงเพ็ชรฉลูเสนี จัดจ่าปี ๑ จัดกลอง ๑ จัดกลองชะนะ ๒๐ คน แตรงอน ๖ แตรฝรั่ง ๔ สังข์ ๒ (รวม ) ๑๒ ใส่เสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดง ประโคมแห่พระราชยาน มะโหระทึก ๒ สำรับ นุ่งห่มตามเคย


๔๐๔ ฉบับที่ ๗ เรื่องจัดเรือมณีเมขลาส่งพระราชศาสน์

ด้วยพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้พระอรสุมพลาภิบาล จัดเรือพระที่นั่งมณีเมขลาออกไปส่งพระราชศาสน์ ซึ่งวิลันดาเข้ามาเฝ้าจอดอยู่ณปากอ่าวเมืองเพ็ชรบุรีนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังราชการสินค้าสรรพากรในกรมนา ให้จัดสิ่งของมาส่งแต่ณวันเดือน ๘ ขึ้น ๕ ค่ำ เวลาบ่าย ที่เรือพระที่นั่งมณีเมขลาให้พร้อมทุกพนักงาน แล้วให้เจ้าพนักงานมาบอกกับกงสี จะได้มอบของให้กับนายเรือในเวลาประเดี๋ยวนี้ ฟืนตะบูน ตามเคย ไต้เหนือ ๒๐ มัด น้ำมันมะพร้าว ๕๐ ทะนาน ข้าวสาร ๑๕ ถัง ปลาหาง ๕๐ หาง ปลาทุกัง ๕๐ ตัว ปลาใบไม้ ๕๐๐ ตัว กระสอบ ๑๐ กระสอบ มาส่งอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องจัดของไปทักแขกเมืองอังกฤษ ที่มาเยี่ยมกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ กรมการบอกขึ้นมาว่า เรือรบกลไฟอังกฤษ ๆ เขาใช้จักร์ท้ายเข้ามาถึงเมือง


๔๐๕ สมุทรปราการลำหนึ่ง กำมะโดวิลิเยียมอาโนซอน นายเรือมาแต่เมืองไซ่งอน เข้ามาเยี่ยมเยียนกรุงเทพ ฯ และเยี่ยมกงสุลอังกฤษแล้วจะขอถอยเรือขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ จะเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ด้วย เรือกลไฟใช้จักร์ขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ ณวันจันทร์เดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำทอดหน้าบ้านกงสุลอังกฤษแล้วนั้น อังกฤษกับกรุงเทพ ฯ เป็นทางพระราชไมตรีกัน กำมะโดคุมกำปั่นใบเข้ามาเยี่ยมเยียนถึงบ้านเมืองแล้ว จะต้องจัดสิ่งของไปทักทายโดยชอบเมืองเป็นไมตรีนั้น ใช้ชาวพระคลังในซ้าย จัดน้ำตาลทรายขาวหนัก ๕ หาบ ให้กรมท่าซ้าย จัดใบชาหีบใหญ่ ๒ หีบ ให้พระคลังมหาสมบัติสรรพากร จัดกล้วยส้ม ๖๐ โต๊ะให้..............และเรือรบ ( ต้นฉบับขาด ) หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลอังกฤษเข้าเฝ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กัปตันหวันเซฟองกรีดกงสุลเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์ ณวันอังคารเดือนอ้ายแรม ๔ ค่ำเพลาบ่ายโมงหนึ่งนั้น ให้ทหารรักษาพระองค์ยืนประตูรับแขกเมืองอย่างน้อยตามเคย


๔๐๖ อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศ จัดพรมมาปูที่เก๋งให้พอ อนึ่งให้ชาวที่ยกเก้าอี้ ๑๐ เก้าอี้ โต๊ะ ๑ มาตั้งที่เก๋งให้ทันกำหนด แล้วรับเทียนต่อท่านข้างในไปตั้งตามเคย อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัล รับบุหรี่รับขันน้ำ ต่อท่าน ข้างใน มาตั้งเลี้ยงแขกเมือง ที่แต่งให้ทูตไปพักตามเคย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องให้หาดอกไม้ที่หอม มาตั้งรับแขกเมือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗

รับสั่งให้พระแก้วพระคลังสวน นายช่วง จัดหาดอกไม้ที่หอมมาส่งพระยาบุรุษรัตน์ราชพัลลภ ๓๐ ห่อ แขกเมืองเฝ้าณวันเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ หมายรับสั่ง เรื่องจัดช้าง มายืนรับแขกเมือง

รับสั่งให้พันภารกรมช้าง จัดช้างต้นช้างพิเศษ มายืนปะรำรับแขกเมือง ณวันเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ



๔๐๗ หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดม้ามายืน รับแขกเมือง

รับสั่งให้พันเภากรมม้า จัดม้าเกราะทอง จัดขุนหมื่นยืนม้า ๖๐ มายืนและแห่พระราชศาสน์ วันเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ หมายรับสั่ง เรื่องมองซิเออร์โอบาเรด์ฝรั่งเศส เข้าเฝ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗

ด้วยพระยาวิสุทธิโกษา ปลัดกรมท่า รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอให้มองซิเออร์โอบาเรด์ ซึ่งให้เข้ามาเป็นกงสุลณกรุงเทพ ฯ เชิญพระราชศาสน์เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย เจริญทางพระราชไมตรีนั้นมองซิเออร์โอบาเรด์มาด้วยเรือกลไฟชื่อเวนตรีดาตอบ เข้ามาทอด ณเมืองสมุทรปราการ แล้วบอกขอเรือลงไปรับนั้น โปรดให้จัดเรือกลไฟชื่ออัคเรศรัตนาฎลงไปรับขึ้นมา และเรือรบกลไฟเวนตรีดาตอบ ก็ใช้จักร์ขึ้นมาพร้อมกัน ทอดอยู่ที่หน้าตึกกงสุลฝรั่งเศส ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวดยังเป็นเบญจศก แล้วกำหนดมองซิเออร์โอบาเรด์ จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวายพระราชศาสน์บนพระที่นั่งเศวตฉัตร์ในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย แต่ณวันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ


๔๐๘ ปีชวดฉศกเพลาเช้า ๓ โมงนั้น ให้กรมพระสัสดี กรมสนมพลเรือนหมายบอกจางวางเจ้ากรมปลัดกรมสมุห์บัญชี กราบทูลพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทร์ ๑ กราบทูลพระราชวงศ์เธอ พระองศ์เจ้าสิงหรา ๑ เป็น ๒ กราบทูลพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ๑ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมเรศ ๑ เป็น ๒ กราบทูลพระวรวงศ์เธอชั้น ๑ พระองศ์เจ้ายุคนธร ๑ พระองศ์เจ้ารองทรง ๑ เป็น ๒ กราบทูลพระวรวงศ์เธอชั้น ๓ กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ ๑ กรมหมื่นมนตรีรักษา ๑ เป็น ๒ กราบทูลพระองค์เจ้ามหาหงส์ ในกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ๑ กราบทูลพระองค์เจ้าชิต ในกรมหมื่นพิพิธโภคภูเบนทร์ ๑ กราบทูลพระองค์เจ้ามงคลเลิศ ในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ๑ ให้แต่งพระองค์ผ้าทรงเขียนพื้นศรี ฉลองพระองค์อย่างน้อยข้างใน กรุยทองศรีข้างนอก แล้วให้เอาพานหมากเสวยเอาพระเต้าบ้วน พระโอฐ เข้าไปตั้งในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เหมือนครั้งเสด็จออกแขกเมืองเมื่อครั้งก่อน แล้วให้เชิญเสด็จขึ้นมาพร้อมกันจงทุกพระองค์ แต่ณวันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวดฉศก อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องจัดสิ่งของไปส่งเรือรบฝรั่งเศส

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เรือรบฝรั่งเศสชื่อ

๔๐๙ เวนตรีดาตอบ ซึ่งเข้ามาส่งกงสุลฝรั่งเศสนั้น กงสุลฝรั่งได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวายพระราชศาสน์แล้ว เรือรบเวนตรีดาตอบจะได้กลับออกไป โปรดเกล้า ฯ ให้จัดสิ่งของลงไปส่งเกื้อหนุนกัปตันนายเรือขุนนางทหารเรือรบ ตามบ้านเมืองเป็นไมตรีกันนั้น ให้กรมพระคลังสินค้าเจ้าภาษีผัก จัดมันพร้าวมันเทศและมันต่าง ๆ หนัก ๗ หาบ จัดผลฟักทอง ๓๐๐ ผล ลงไปส่งที่บ้านกงสุลฝรั่งเศส จะได้นำไปส่งที่เรือรบกลไฟฝรั่งเศส แต่ณวันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวดฉศก เวลาเช้า เมื่อจะเอาสิ่งของไปส่งให้แวะบอกบัญชีที่เวรกรมท่าก่อน จะได้ให้ล่ามพาลงไปตามเคยตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์กรุงฝรั่งเศส

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส มีพระราชศาสน์ส่งเข้ามาให้มองซิเออร์โอบาเรด์กงสุลฝรั่งเศสทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้ายแรม ๒ ค่ำเพลาเที่ยง ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการในหมู่ตีกลองชะนะ เชิญเครื่องสูง หามราชยานแคร่ พายเรือ เอกชัยเรือดั้งเรือรูปสัตว์ รับพระราชศาสน์แขกเมืองนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงาน แต่ณวันพุธ ๕๒ ๔๑๐ เดือนอ้ายแรม ๑ ค่ำ จะได้ยกเรือลงจ่ายเครื่องแต่งตัวให้ รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือนอ้ายแรม ๒ ค่ำเพลาเที่ยง จะได้พายเรือเข้ากระบวนแห่พระราชศาสน์ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ตำรวจในซ้ายถือธงมังกร กองพระมหาเทพ ๑๓ กองตำรวจใน พระโรงช่าง ๒ เป็น ๑๕ ตำรวจนอกซ้ายถือธงมังกร กองตำรวจนอกซ้าย ๒ กองพระอินทรเดช ๘ เป็น ๑๐ ตำรวจในขวาถือธงมังกร กองพระมหามนตรี ๔ กองตำรวจในขวา ๒ กองหมื่นชำนิ ๗ กองหลวงพิพิธมนเทียร ๒ เป็น ๑๕ ตำรวจนอกขวาถือธงมังกร กองตำรวจนอกขวา ๒ กองพระราชรินทร์ ๘ เป็น ๑๐ ตำรวจใหญ่ซ้ายถือธงมังกรกองตำรวจใหญ่ซ้าย ๒ กองขุนวิจิตร์จอมราช ๗ กองพระรามพิชัยโรงทหารเก่า ๖ เป็น ๑๕ ตำรวจสนมซ้ายถือธงมังกร กองตำรวจสนมซ้าย ๒ กองพระอินทรเดช ๔ กองหลวงราชวรานุรักษ์ ๔ เป็น ๑๐ ตำรวจใหญ่ขวาถือธงมังกร กองตำรวจใหญ่ขวา ๒ กองพระอินทรเทพ ๔ กองพระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ ๖ กองพระยาพิชัยทำประตู ๓ เป็น ๑๕ ตำรวจสนมถือธงมังกร กองตำรวจสนมขวา ๒ กองพระศรีราชเดโชชัย ๘ เป็น ๑๐ ตีกลองชะนะ บก ๓๐ เรือ ๑๐ ช่างลาง ๑๖ กองฟั่นเชือก ๑๔ เป็น ๓๐ สี่ตำรวจหามราชยาน กองหลวงอภิบาลภูวนาถ ๔ กองหลวงเพ็ชรคำแหง ๔ เป็น ๘ แสงปืน โรงใหญ่ซ้ายขวา นุ่งกางเกงแดงใส่เสื้อเสนากุฎหมวกหนัง เลขในหมู่ ๔๐ อภิรมเชิญเครื่องสูง บก ๒๐ เรือ ๗ หลวงราชบริพารนายประตูซ้าย ๓ ขวา ๑๔ กองหลวงราชฤทธานนท์ทำประตู ๓ เป็น ๒๐

๔๑๑ นาฬิกาหามมะโหระทึก กองพระรามพิชัยทำโรงทหารใหม่ ๔ ฝีพายพายเรือเอกชัยลำหนึ่ง ๔๕ คน พายเรือกันยาลำหนึ่ง ๓๐ คน กองพระยาอภัยรณฤทธิ์ ๕ กองพระราชโยธาเทพ ๑๕ กองขุนทิพย์ไพรสณฑ์ ๙ กองหลวงไกรนารายน์ ๖ กองพระยาวิชิตณรงค์ ๑๒ กองพระยาอัพภันตริกามาตย์ ๕ กองพระรามพิชัยทางหลวง ๑๐ กองหลวงไกรเทพการ ๑๓ เป็น ๗๕ หามแคร่ ๕ แคร่ กองหลวง นนทเสน ๕ กองหลวงราชฤทธานนท์ด้านใน ๔ กองหมื่นอัตราคดี ๔ กองขุนกำแพงวังรี ๒ กองขุนศรีวังราช ๒ กองขุนรามรณฤทธิ์ ๕ เป็น ๒๐ พายเรือเหราอาษาในกรมวังซ้าย กองหลวงวงศาธิราชสนิท ๖ กองหลวงภูเบศรพิทักษ์ ๖ กองขุนราชกิจปรีชา ๗ กองพระกำแพง ๗ กองพระราชวังเมือง ๖ กองหลวงรักษานาถ ๓ เป็น ๓๕ พายเรือเหราอาษาในกรมวังขวา กองหลวงชินศรีรักษา ๖ กองหม่อมเจ้าหมู่ ๖ กองพระพิเดชสงคราม ๖ กองหลวงรามรักษาเมือง ๖ กองขุนวิชิตชลหาญ ๕ กองขุนกำแพงวังรี ๖ เป็น ๓๕ คลังสินค้าพายเรือโตขมังคลื่น ๓๐ ฝืนสมุทร ๓๐ กองหลวงวิจารณ์โกษา ๒ ด้าน ๑๕ กองขุนศรีสังหาร ๑๓ กองขุนชำนาญภักดี ๖ กองขุนราคาปนิจ ๘ กองหมื่นพินิจรจนา ๘ กองหลวงวิสูตร์สมบัติ ๑๐ เป็น ๖๐ ตีกระเชียงเรือแซ ๒ ลำ กองสมิงสุรินทรศักดิ์ ๖ กองสมิงพิทักษ์เทวา ๖ เป็น ๑๒ กองหลวงพิศณุเสนี ๖ กองหลวงราชเสวก ๕ กองพระยานาวาพลานุโยค ๙ กองหลวงอภัยเสนา ๘ กองหลวงอเรนทรชาติสังหาร ๕ กองหลวงพลวาสัย ๕ เป็น ๕๐ พายเรือ

๔๑๒ สางกำแหงหาญ อาษาในกรมท่าซ้าย กองหลวงนราเรืองเดช ๓ กองนายเนียมพี่เลี้ยง ๖ กองหลวงรัตนพิมพา ๓ กองขุนนราฤทธิไกร ๑๐ กองหลวงอนุรักษ์ภักดี ๖ กองหลวงศรีคงยศ ๗ เป็น ๓๕ พายเรือสางชาญชลสินธุ์ อาษาในกรมท่าขวา กองพิทักษ์โยธา ๓ กองหมื่นชำนาญอาวาส ๓ กองหลวงสุเรนทรวิชิต ๓ กองหมื่นภักดี ๖ กองพระราชฐานบริคุต ๘ กง ๖ กองหลวงทิพยรักษา ๖ กองหลวงสังขวิชิต ๖ กองขุนกำแพงวังรี ด้านใน ๒ เป็น ๓๕ พายเรือกิเลนทำลุซ้าย กองพระยาพิชัยสงคราม ๕ กองหลวงกันภยุบาทว์ ๕ กองหลวงพิทักษ์ราชา ๕ กองพระยาพิพิธเดชะ ๑๒ กองพระยาอนุชิตชาญชัย ๖ กองหลวงเสนาภิมุข ๒ เป็น ๓๕ พายเรือกิเลนทำลุขวา กองหลวงเทพเดชะ ๒ กองหลวงอินทโรดม ๖ กองขุนพรหมรักษา ๖ กองขุนนาถภักดี ๖ กองหลวงชัยเดชะ ๘ กองขุนประดิษฐ์ศิลา ๗ เป็น ๓๕ พายเรือดั้งเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งซ้าย กองหลวงดิสารสรรพากร ๕ กองหลวงวิชิตสรไกร ๓ กองหลวงแผนพลพ่าย ๓ กองหลวงนราภักดี ๓ กองหลวงพรหมเดชะ ๓ กองหลวงชำนิโยธา ๕ กองหลวงพินิจพลขันธ์ ๕ กองขุนดาษมณีกรณ์ ๖ กองหลวงรามรักษาด้านใน ๘ เป็น ๔๐ พายเรือดั้งเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งขวา กองหลวงศรีรณรงค์ ๖ กองขุนภักดีไตรรัตน์ ๖ กองขุนผลาญไพรณ ๖ กองพระยาราชสัมภารากร ๙ กองหมื่นจำนงค์รักษ์ ๙ กองขุนสวัสดิ์สาลี ๔ แสงปืนโรงใหญ่ซ้ายขวา เลขในหมู่ถือปืนรางแดง ๔๐

๔๑๓ หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่พระราชศาสน์ กรุงอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษารับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระนางเจ้าควีนวิกตอร์เรียเจ้าแผ่นดินอังกฤษ มีพระราชศาสน์ส่งเข้ามาให้มิสเตอร์นอกกงสุลนำทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ณวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๔ ค่ำเพลาเข้า ให้เกณฑ์ยกเจ้าเลขนายด้านนายกองประจำการ ในหมู่พายเรือเอกชัยเรือรูปสัตว์เรือดั้ง หมู่หามเฉลี่ยง ถือธงถือเครื่องสูงตีกลองชะนะ แห่พระราชศาสน์นั้นเกณฑ์และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงาน แต่ ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๓ ค่ำ จะได้ยกเรือลง จ่ายเครื่องแต่งตัวให้ รุ่งขึ้นณวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๔ ค่ำเพลาเช้า จะได้พายเรือแห่พระราชศาสน์ตามรับสั่ง ฝีพายพายเรือเอกชัยลำหนึ่ง ๔๕ คน ฝีพายพายเรือกันยาลำหนึ่ง ๓๐ คน กองพระยาอภัยรณฤทธิ์สงครามเขียน ๕ กองพระราชโยธาเทพ ๑๕ กองขุนทิพยไพรสณฑ์ ๙ กองหลวงไกรนารายน์ ๖ กองหลวงไกรเทพ ๗ เป็น ๑๓ กองพระยาวิชิตณรงค์ ๑๒ กองพระยาอัพภันตริกามาตย์ ๕ กองพระรามพิชัยทำห้างหลวง ๑๐ เป็น ๗๕ พายเรือเหราอาษาในกรมวังซ้าย กองหลวงวงศาธิราชสนิท ๖ กองหลวงภูเบนทรพิทักษ์ ๖ กองขุนราช

๔๑๔ กิจปรีชา ๗ กองพระกำแพง ๗ กองพระราชวังเมือง ๖ กองหลวงรักษานาฎ ๓ เป็น ๓๕ คน พายเรือเหราอาษาในกรมวังขวา กองหลวงชินศรีรักษา ๖ กองหม่อมเจ้าหมู่ ๖ กองพระพิเดชสงคราม ๖ กองหลวงรามรักษา ๖ เป็น ๑๒ กองขุนวิชิตชลหาญ กองขุนกำแพงวังรี ราชยาน ๖ รวมเป็น ๓๕ พายเรือโตขมังคลื่น ๓๐ พายเรือโตฝืนสมุทร ๓๐ กองหลวงวิจารณ์โกษา ฉั ตร์ ๙ พช ๖ เป็น ๑๕ กองขุนศรีสังหารวัน ๕ พช ๘ เป็น ๑๓ กองขุนชำนาญภักดี ๖ กองขุนราคาปนิจ ๘ กองหมื่นพินิจรจนา ๘ กองหลวงวิสูตร์สมบัติกำแพง ๖ เรือ ๒ ตะพาน ๒ เป็น ๑๐ รวมเป็น ๖๐ พายเรือสางกำแหงหาญ อาษาในกรมท่าซ้าย กองหลวงนราเรืองเดช ๓ กองนายเนียมพี่เลี้ยง ๖ กองหลวงรัตนพิมพา ๓ กองขุนนราฤทธิไกร ๑๐ กองหลวงนุรักภักดี ๖ กองหลวงศรีคงยศ ๗ เป็น ๓๕ พายเรือสางชาญชลสินธุ์อาษาในกรมท่าขวา กองหลวงพิทักษ์โยธา ๓ กองหมื่นชำนาญอาวาศ ๓ กองหลวงสุเรนทรวิชิต ๓ กองหมื่นภักดี ๖ กองพระราชฐานบริคุตทำศาลา ๔ กองหลวงทิพยรักษา ๒ การ ๖ กองหลวงรอบวิชิต ๖ เป็น ๓๕ พายเรือกิเลนทำลุซ้าย กองพระยาพิชัยสงคราม ๕ กองหลวงกันภยุบาทว์ ๕ กองหลวงราชเสนา ๕ ระเบียงเป็น ๑๕ กองพระยาพิพิธเดชะ ๑๒ กองพระยาอนุชิตชาญชัย ๖ กองหลวงเสนาภิมุข ๒ เป็น ๓๕ พายเรือกิเลนทำลุขวา กองหลวงเทพเดชะ ๒ กองหลวงอินทโรดม ๖ กองขุนพรหมรักษา ๖ กองขุนนาฎภักดี ๖ กองหลวงชัยเดชะ ๘ กองขุน

๔๑๕ ประดิษฐ์ศิลา ๗ เป็น ๓๕ พายเรือดั้งกองกลางซ้าย กองหลวงชำนิโยธา ๕ กองหลวงพิพิธพลขันธ์ ๕ กองพระยานาวาพลานุโยค ๙ กองหลวงอภัยเสนา ๘ กองขุนเทศมณีกรณ์ ๖ กองหลวงรามรักษา หอพระคดี ๘ เป็น ๔๑ พายเรือดั้งกองกลางขวา กองหลวงศรีรณ รงค์ ๖ กองขุนภักดีเกษตร์ ๖ กองขุนผลาญไพรณ ๖ กอง พระยาราชสรรพากร ๘ กองหมื่นจำนงค์รักษ์ ๙ กองขุนสวัสดิ์สาลี ๕ เป็น ๔๐ ตีกระเชียงเรือแซ กองมอญ ๒ ลำ กองสมิงสุรินทรศักดิ์ ๖ กองสมิงพิทักษ์เทวา ๖ กองหลวงพิศณุเสนี ๖ กองหลวงพิทักษ์ราชา ๕ กองหลวงยี่สารสรรพเดช ๕ กองหลวงพลวาสัย ๕ กองหลวงวิชิตสรไกร ๓ กองหลวงแผนพลราบ ๓ กองหลวงนราภักดี ๓ กองหลวงพหลเดชะ ๓ กองหลวงอเรนทรชาดิสังหาร ๕ เป็น ๕๐ ตีกลองชะนะเรือ ๑๐ บก ๓๐ กองฟั่นเชือกช่างลาง ๓๐ อภิรมถือเครื่องสูงเรือ.........บก..........กองหลวง..............นายประตูซ้ายขวา ๑๕ เป็น ๑๗ ตำรวจในซ้ายถือธง กองพระมหาเทพ ๑๓ กองทำโรงช่างในกรม ๒ เป็น ๑๕ ตำรวจนอกซ้ายถือธง กองพระอินทรเดชสารสวน ๘ กองทำโรงช่างในกรม ๒ เป็น ๑๐ ตำรวจในขวาถือธง กองพระมหามนตรี ๔ กองหมื่นชำนิ ๗ กองทำโรงช่างในกรม ๒ กองหลวงพิพิตรมนเทียร ๒ เป็น ๑๕ ตำรวจนอกท่าถือธง กองทำโรงช่างในกรม ๒ กองพระราชรินทร์ ๘ เป็น ๑๐ ตำรวจใหญ่ซ้ายถือธง กองทำโรงช่างในกรม ๒ กองขุนจิตร์จอมราช ๗ กองพระ รามพิชัยทำโรงทหารเก่า ๖ เป็น ๑๕ ตำรวจสนมซ้ายถือธง กอง

๔๑๖ พระอินทรเดชโรงผ้า ๔ กองทำโรงช่างในกรม ๒ กองหลวงราช ภาณุรักษ์ ๔ เป็น ๑๐ ตำรวจใหญ่ขวาถือธง กองทำโรงช่างในกรม ๒ กองพระอินทรเทพ ๔ กองพระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ ๖ กองพระรามพิชัยทำประตู ๓ เป็น ๑๕ ตำรวจสนมขวาถือธง กองพระศรีราช เดโชชัย ๘ กองทำโรงช่างในกรม ๒ เป็น ๑๐ ตำรวจหามเฉลี่ยงรับพระราชศาสน์ กองหลวงเพ็ชรคำแหง ๔ กองหลวงอภิบาลภูวนาถ ๔ เป็น ๘ หามปี่พาทย์ ๒ สำรับ กองขุนตะเวน ๘ แสงปืนใหญ่ซ้ายขวา เลขในหมู่ถือปืนรางแดง ๔๐ หามมะโหระทึก กองพระ รามพิชัย ทำโรงอาหาร ทหารใน ๔

หมายรับสั่ง เรื่องเตรียมแห่หนังสือเยเนราลอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เกอเน่อเยเนราลอินเดียผู้ครองเมืองกัลกะตาซึ่งขึ้นแก่อังกฤษ มีหนังสือส่งเข้ามาให้กงสุลอังกฤษซึ่งอยู่ณกรุง เทพ ฯ นำทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดกงสุลกับขุนนาง จะได้นำหนังสือขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๓ ค่ำเวลาบ่ายโมงหนึ่ง ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการในหมู่ถือกรรชิง หามเฉลี่ยงหามแคร่พายเรือแห่หนังสือ

๔๑๗ ทางบกนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่เจ้าพนักงาน แต่ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม ๒ ค่ำ จะได้จ่ายเครื่องแต่งตัวให้ รุ่งขึ้นณวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๓ ค่ำเวลาบ่าย จะได้แห่หนังสือให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง สี่ตำรวจหามเฉลี่ยงในหมู่ ๕ ราชยานหามแคร่ ๕ แคร่ นายประตูซ้ายขวา ๒๐ อภิรมถือกรรชิง กองขุนกำแพงวังรี ๒ กองขุนศรีวังราช ๒ ด้านใน ๔ ฝีพายพายเรือลำ ๑ ช่างลาง ๒๐ กองฟั่นเชือก ๑๐ เป็น ๓๐

หมายรับสั่ง เรื่องมิศนอกมาเป็นกงสุลอังกฤษเข้าเฝ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗

ด้วยพระยาราชานุประพันธ์รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า วาโรรอดเสนเสนาบดีซึ่งได้ว่าราชการต่างประเทศกรุงลอนดอน มีหนังสือมายังท่านเสนาบดี ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สมเด็จพระนางเจ้าเฮอมายิสติกะวินอิสตอเรียพระเจ้ากรุงลอนดอน ตั้งให้มิศนอกเป็นกงสุลอังกฤษอยู่ณกรุงเทพ ฯ แทนเซอร์รอเบตจอมเบิกกงสุลอังกฤษที่ลากลับไป กำหนดให้มิสเตอร์นอกกงสุลกับขุนนางในกงสุล ๕ นาย จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำเวลาบ่าย ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการในหมู่หามแคร่นั้น ๕๓ ๔๑๘ เกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้เอาตัวเลขส่งให้แก่ราชยานเจ้าพนักงาน แต่ณวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำเวลาเที่ยงให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หามแคร่ ๕ แคร่ กองหลวงโยธา ๕ กองหลวงสังขวิชิต ๕ กองขุนตะเวน ๑๐ เป็น ๒๐ คน

หมายรับสั่ง เรื่องพระเจ้าแผ่นดินฮอลันดา ส่งหมวกอย่างเยเนราล เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗

ด้วยพระยาพิพัฒน์โกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินนิเธอแลนด์ จัดได้หมวกยางเยเนราล ส่งเข้ามาให้กงสุลนำทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนด ณวันเสาร์ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำเวลาบ่ายโมงหนึ่ง กงสุลขุนนางจะได้เข้าเฝ้า ถวายหมวกณพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เกณฑ์ยกเอาเลขนายด้านนายกองประจำการ ในหมู่พายเรือกันยาหมู่หามแคร่ รับกงสุลขุนนางนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ เอาตัวเลขส่งให้แก่พนักงานแต่ณวันเสาร์ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำเวลาเช้า ครั้นเวลาบ่ายจะได้รับกงสุลขุนนาง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฝีพายพายเรือกันยา ๒ ลำ ฝีพายประจำท่า ๒๐ กองพระยาอภัยรณฤทธิ์ ๕ กองพระอินทรเทพ ๖ กองพระอินทรเดช ๖ กอง

๔๑๙ พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ ๑๒ กองพระรามพิชัย ทำโรงทหารเก่า ๑๒ เป็น ๖๑ ราชยานหามแคร่ ๔ แคร่ กองพระกำแพง ๖ กองพระราชวังเมือง ๕ กองขุนกำแพงวังรี การนอก ๕ เป็น ๑๖ เรือรับวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๓ ค่ำ พายเรือเหรา อาษาในกรมวังซ้าย กองขุนชาบาลภักดี ๕ กองขุนราคาปนิจ ๘ กองหลวง วิสูตร์สมบัติเรือแพ ๖ กองขุนศรีสังหารพช ๘ กองหมื่นพินิจรจนา ๘ เป็น ๓๕ พายเรือสางอาษาในกรมท่าซ้าย กองหลวงศรีรณรงค์ ๕ กองหลวงนราเรืองเดช ๓ กองพระยาพิชัยสงคราม ๔ กองหลวงกันภยุบาทว์ ๔ กองหลวงราชเสวก ๔ กองนายเนียมพี่เลี้ยง ๕ กองหลวงอินทโรดม ๕ กองขุนผลาญไพรณ ๕ เป็น ๓๕ พายเรือเหราอาษาในกรมวังขวา กองหลวงชินศรีรักษา ๕ กองหม่อมเจ้าหนู ๕ กองพระพิเดชสงคราม ๕ กองหลวงรามรักษา ๕ กองหลวงวิจารณ์โกษา ๒ ด้าน ๑๓ กองหมื่นชำนาญอาวาส ๒ เป็น ๓๕ พายเรือสางอาสาในกรมท่าขวา กองหลวงพิทักษ์โยธา ๓ กองหลวงทิพยรักษา ๕ กองหลวงสังขวิชิต ๕ กองหลวงชำนิโยธา ๔ กองหลวงพินิจพลขันธ์ ๔ กองพระรามพิชัยทำทางหลวง ๑๐ กองขุนสวัสดิ์สาลี ๔ เป็น ๓๕ พายเรือดั้งคู่ชักขวา กองพระยานาวาพลานุโยค ๘ กองหลวงอภัยเสนา ๘ กองพระยาสีหราชเดโชชัย ๘ กองขุนพรมรักษา ๕ กองพระยาพิพิธเดชะ ๑๐ เป็น ๓๙ กองพระยาอนุชิตชาญชัย ๕ กองหลวงรัตนพิมพา ๒ กองขุนวิชิตชลหาญ ๔ เป็น ๑๑ รวมเป็น ๕๐

๔๒๐ หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลอังกฤษพานายทหารเรือเฝ้าไปรเวศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘

ด้วยท่านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งหมายสั่งไปแต่ก่อนว่า กำหนดมิสเตอร์นอกกงสุลอังกฤษกัปตันเกราและขุนนางนายเรือรบกลไฟซิวโกเกตจะได้เฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๕ ค่ำปีฉลูสัปตศก๑๕ เวลาบ่าย ให้ เจ้าพนักงานจัดการให้พร้อม ความแจ้งอยู่ในหมายรับสั่งครั้งก่อนนั้น แล้ว บัดนี้มิสเตอร์นอกกงสุลอังกฤษ ได้นำกัปตันเกรานายเรือรบเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ เป็นการเฝ้าไปรเวศ แต่ณวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำแล้ว มิสเตอร์นอกกงสุลกราบทูลว่าเรือจวนจะกลับไป การที่จะเข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง ณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ นั้นบอกเลิกเสีย จะขอเฝ้าแต่พระบรมศพในพระบวรราชวังแต่เท่านั้นให้มหาดไทย กลาโหม หมายบอกให้ข้าราชการและเจ้าพนักงานให้รู้จงทั่ว การที่สั่งมาให้เตรียมรับแต่ก่อนให้เลิกเสีย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง



๔๒๑ หมายรับสั่ง เรื่องมิศนอกจะนำเรือรบเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘

ด้วยท่านเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มิสเตอร์นอกกงสุลอังกฤษ มีหนังสือให้เจ้าพนักงานนำทูลเกล้า ฯ ถวาย ว่ากัปตันเกราซานายเรือรบกลไฟอังกฤษชื่อโกเปต ซึ่งเที่ยวตระเวนในท้องทะเลฝ่ายอินเดีย เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ จะขอเฝ้าทูลละออง ฯ และเยี่ยมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว บัดนี้เรือรบโกเปตขึ้นมาทอดท่าหน้าบ้านกงสุลอังกฤษ แต่ณวัน พุธ เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีฉลูสัปตศกแล้วนั้น โปรดให้มิสเตอร์นอกกงสุลนำกัปตันเกรานายเรือ กับออฟิเซอร์ในเรือรบ ๗ นายเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำนั้น ให้มหาดไทย กลาโหมหมายบอกเจ้าพนักงานให้รู้จงทั่ว อนึ่งให้กรมพระนครบาลจัดคนกวาดถนน ตั้งแต่ท่าออฟฟิศหน้าวัดพระเชตุพน ตลอดถึงหน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ให้เตียนสะอาดดี เร่งกวาดให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศ จัดพรมใหญ่ที่ใหม่ ๆ มาปูที่เก๋งจวนกลาง ที่แขกเมืองพักให้เต็มตามเคย


๔๒๒ อนึ่งให้ชาวพระอภิรมรับโต๊ะเก้าอี้ ต่อรักษาพระองค์ไปตั้งที่เก๋งจวนกลางให้แขกเมืองพักให้พอ ๑๒ นาย อนึ่งให้ขุนทินบรรณาการ ขุนธารกำนัล รับพานหมากพานบุหรี่ ฝรั่ง ต่อวิเศษหมากพลู และจัดคณโฑน้ำ ถ้วยแก้ว กะโถน ไปตั้งให้แขกเมืองที่เก๋งจวนกลางตามเคย อนึ่งให้ชาวที่จัดเทียนจุดไฟ ไปตั้งที่เก๋งจวนกลางสำหรับแขกเมือง จุดบุหรี่ อนึ่งให้มหาดเล็กจัดน้ำชากาแฟ ไปเลี้ยงแขกเมืองที่เก๋งจวนกลางที่แขกเมืองพัก อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจัดไต้เข้ามาด้วย เตรียมจ่ายให้รองงานตำรวจนำส่งแขกเมืองเมื่อเพลาค่ำ อนึ่งให้ชาวพระราชยานจัดแคร่มีเก้าอี้ ๑ แคร่ตามธรรมเนียม ๑๑ ( รวม ) ๑๒ แคร่ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาแต่งตัวนุ่งกางเกงคาดเกี้ยวลาย หามแคร่ให้พอ ลงไปรับแขกเมืองที่ท่าออฟฟิศหน้าวัดพระเชตุพน เข้าประตูเทวาพิทักษ์ แล้วให้คอยหามส่งลงเรือด้วย อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ชาวพระราชยานหามแคร่ ๔๘ คน และให้พนักงานทั้งนี้เร่งจัดการให้ทันกำหนดวันแขกเมืองเฝ้า จงทุกพนักงานตามรับสั่ง


๔๒๓ หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดแม่ทัพเรืออังกฤษเข้าเฝ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดอัศมีราลยอศกิงแม่ทัพใหญ่ ซึ่งคุมเรือรบอังกฤษจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันอังคาร เดือน ๗ แรม ๕ ค่ำเวลาบ่าย ความแจ้งอยู่ในหมายครั้งก่อนนั้นแล้ว โปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่า แต่ก่อนมีการแขกเมืองเข้าเฝ้าก็ดีหรือมีการอื่น ๆ ก็ดี สั่งหมายไปเจ้าพนักงานจัดแจงการให้ทันกำหนดเช้าครั้งหนึ่ง สั่งไปกำหนดเวลาเช้า กว่าจะพร้อมกันเวลาเที่ยงบ้างเวลาบ่ายบ้าง สั่งไปกำหนดเวลาบ่ายกว่าจะพร้อมกันเวลาค่ำ ก่อนเป็นดังนี้เนือง ๆ มา และเสด็จออกรับอัศมิราลยอศกิงเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ครั้งนี้ ณวันอังคาร เดือน ๗ แรม ๕ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมงเป็นแน่นั้น ให้มหาดไทย ให้กลาโหมหมายบอกข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือน และเจ้าตั้งกรม แล้วเจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม และเจ้าพนักงาน ให้รู้จงทั่วทุกหมู่ทุกกรม ให้เร่งจัดแจงการและเตรียมเฝ้าทูลละออง ฯ ให้ทันตามกำหนด อย่าให้ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง


๔๒๔ หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรือกลไฟไปรับแม่ทัพอังกฤษที่นอกสันดอน

ด้วยพระยาสุรวงศไวยวัฒน์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งให้พระอรสุมพลาภิบาล จัดเรือพระที่นั่ง อัคเรศวรนาฎ เรือเวฆาภิชวน เรืออัศโยปนิกา ๓ ลำนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้ออกไปรับอัศมิราลแม่ทัพอังกฤษที่นอกสันดอนจะเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ แต่เรืออัศโยปนิกานั้นจะออกไปรับก่อนกำหนดณวันเสาร์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ เพลาย่ำรุ่ง แต่เรือพระที่นั่งอัคเรศวรนาฎ เรือเวฆาภิชวน ๒ ลำนั้นกำหนดออกไปณวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาย่ำรุ่งนั้น ได้ให้เจ้าพนักงานหมายบอก ท่านเจ้าพนัก งานพระคลังราชการ กรมนา สรรพากร คลังสินค้า ให้จัดสิ่งของมาส่ง แต่ณวันศุกร์ เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเที่ยงให้พร้อมกันทุก พนักงาน เรือพระที่นั่งอัคเรศวรนาฎ ฟืนตะบูนตามเคย ฟืนแสมรอนตามเคย ไต้เหนือ ๕๐ มัด น้ำมันมะพร้าว ๓๐๐ ทนาน ข้าวสารนาสวน ๓๐ ถัง ข้าวสารนาทุ่ง ๒๐ ถัง รวม ๕๐ ถัง ปลาหาง ๒๐๐ ตัว ปลาทุกัง ๒๐๐ ตัว ปลากุเลา ๒๐๐ ตัว ปลาย่าง ๔๐๐ ตัว ปลาสลิดใหญ่ ๖๐๐ ตัว ฟองเป็ดจืด ๒๐๐ ฟองเป็ดเค็ม ๒๐๐ รวม ๔๐๐ ฟอง ฟักเขียวหนัก ๑ หาบ ฟักทองหนัก ๑ หาบ รวม ๒ หาบ พริก ๓ ถัง กะปิ ๑ ถัง หอม ๒๐ หมวด กะเทียม ๑๐


๔๒๕ หมวด เกลือ ๑ ถัง ส้มมะขาม ๕๐ ปั้น กระสอบ ๓๐ กระสอบ เรืออัศโยปนิกาฟืนตะบูนตามเคย ฟืนแสมรอนตามเคย ไต้เหนือ ๓๐ มัด น้ำมันมะพร้าว ๑๐๐ ทนาน ข้าวสารนาสวน ๒๐ ถัง ข้าวสารนาทุ่ง ๑๐ ถัง รวม ๓๐ ถัง ปลาหาง ๑๐๐ ตัว ปลาทูกัง ๑๐๐ ตัว ปลากุเลา ๑๐๐ ตัว ปลาย่าง ๑๐๐ ตัว ปลาสลิดใหญ่ ๕๐๐ ตัว ฟองเป็นจืด ๑๕๐ ฟองเป็นเค็ม ๑๕๐ รวม ๓๐๐ ฟอง ฟักเขียวหนัก ๑ หาบ ฟักทองหนัก ๑ หาบ รวม ๒ หาบ พริก ๓ ถัง กะปิ ๑ ถัง หอม ๒๐ หมวด กะเทียม ๑๐ หมวด ส้มมะขาม ๓๐ ปั้น กระสอบ ๒๐ กระสอบ เรือเวฆาภิชวน ฟืนตะบูนตามเคย ฟืนแสมรอนตามเคย ไต้เหนือ ๕๐ มัด น้ำมันมะพร้าว ๒๐๐ ทนาน ข้าวสารนาสวน ๓๐ ถัง ข้าวสารนาทุ่ง ๒๐ ถัง รวม ๕๐ ถัง ปลาหาง ๒๐๐ ตัว ปลาทูกัง ๒๐๐ ตัว ปลากุเลา ๒๐๐ ตัว ปลาย่าง ๒๐๐ ตัว ปลาสลิดใหญ่ ๖๐๐ ตัว ฟองเป็ดจืด ๒๐๐ ฟองเป็ดเค็ม ๒๐๐ รวม ๔๐๐ ฟอง ฟักเขียวหนัก ๑ หาบ ฟักทองหนัก ๑ หาบ รวม ๒ หาบ พริก ๓ ถัง กะปิ ๑ ถัง หอม ๒๐ หมวด กระเทียม ๑๐ หมวด เกลือ ๑ ถัง ส้มมะขาม ๕๐ ปั้น กระสอบ ๓๐ กระสอบ มาส่งอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ๕๔



๔๒๖ หมายรับสั่ง เรื่องจัดของไปทักแม่ทัพอังกฤษ

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า อิศมิราลไฟเอศไมสเราคิง อังกฤษ นายเรือรบ ชื่อเปรนเปรกรอย เข้ามาเยี่ยมเยียนกรุงเทพ ฯ แล้วจะขอเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ด้วยกำหนดจะขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ ณวันเดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก นั้นอังกฤษกับกรุงเทพ ฯ เป็นทางพระราชไมตรีกัน อัศมิราลไฟเอศไมสเราคิง ก็เป็นขุนนางในสมเด็จพระเจ้ากรุงอังกฤษ เข้ามาเยี่ยมเยียมถึงบ้านเมืองแล้วจะต้องจัดสิ่งของไปพระราชทานเกื้อหนุนขุนนาง นายไพร่ในเรือรบรับพระราชทาน..........ฉั นบ้านเมืองเป็นไมตรีกัน ให้พระคลัง..................หนัก ๑๐ หาบ ฯ ให้กรมท่าซ้ายจัดใบชา หีบใหญ่ ๔ หีบ ฯ ให้พระคลังมหาสมบัติ สรรพากรจัดกล้วย ส้มผลไม้ต่าง ๆ ๖๐ โต๊ะ ให้พระแก้วพระคลังสวนจัดผลมะพร้าวอ่อน ๒๐๐ ทลาย ไปทักแขกเมืองให้ทันแต่ณวัน เดือน ๗ ขึ้น ค่ำ เมื่อจะเอาสิ่งของไปทักแขกเมือง ให้แวะบอกบัญชีที่เวรกรมท่าตามเคย จะได้ให้ล่ามพนักงานพาไปส่ง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง



๔๒๗ หมายรับสั่ง เรื่องแห่พระราชศาสน์ไปกรุงฝรั่งเศส ส่งที่บ้านกงสุล

ด้วยเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า จะได้มีพระราชศาสน์และของทรงยินดี ออกไปจำเริญพระราชไมตรีสมเด็จพระเจ้าเอมเปรอ ฝรั่งเศส มอบให้มองซิเออร์โอบาเรด์ กงสุลฝรั่งเศสซึ่งอยู่กรุงเทพ ฯ ส่งออกไปตามระยะทาง กำหนดจะได้แห่พระราชศาสน์ส่งลงไปส่งมอง ซิเออร์โอบาเรด์กงสุลฝรั่งเศสที่บ้านกงสุลฝรั่งเศส ใต้บ้านเจ้าพระยาพลเทพ ณวันเดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก๑๕ เพลาเช้านั้น แห่พระ ราชศาสน์นั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอกกับนายเรือดั้งเรือรูปสัตว์นั้น เกณฑ์เรือดั้งกองกลาง ซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ ( รวม ) ๒ ลำ รับมะโหระทึกและรับแตร เกณฑ์เรือรูปสัตว์เรือเหรา กรมอาษาในกรมวังซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ รับปี่พาทย์ รับกลองชนะ รวม ๔ ลำ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้ครบกะทง แต่งพลพายใส่เสื้อแดง หมวกแดง จงทุกคน เบิกธงมังกร ๒ คัน ทวนท้ายคู่เขน ทิวเขน ซองหอกซัดใส่หางนกยูงส่งคู่เครื่องเรือให้พร้อมทุกสิ่ง ให้เร่งไปยกเรือแต่ณวันเดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ครั้นรุ่งขึ้นณวัน เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า ให้คอยเตรียม เรือมาพร้อมที่ท่าพระ จึงล่องลงไปส่งพระราชศาสน์ บ้านกงสุลฝรั่งเศส เหมือนอย่างทุกครั้ง อย่าให้ขาดได้ตามรัสสั่ง ๔๒๘ หมายรับสั่ง เรื่องให้คาดรัตคตเข้าเฝ้าเมื่อเวลาเสด็จออกแขกเมือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘

ด้วยพระยาภูบาลบันเทิง รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เสด็จออกรับแขกเมืองฝรั่งณพระที่นั่งอนันตสมาคมวันอังคาร เดือน ๗ แรม ๕ ค่ำ เพลาบ่าย ๓ โมงเป็นแน่นั้น ให้กรมพระสัสดีหมายบอกเจ้ากรมปลัดกรมจางวางให้ทูลพระราชวงศานุวงศ์เจ้าตั้งกรมแล้ว ยังไม่ได้ตั้งกรม ที่ได้รับพระราชทานราตคตผู้นั้น ให้คาดเข้าเฝ้าเมื่อเวลาเสด็จออกแขกเมือง จงทุกพระองค์ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

ออสเตรียและเบลเยียมแต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙

หมายรับสั่ง เรื่องต้อนรับทูตออสเตรียและทูตเบลเยียม

ด้วยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโอง การใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดิน


๔๒๙ เมืองออสเตรียเมืองหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินเมืองเบลเยียมเมืองหนึ่งจะแต่งให้ราชทูตเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ขอทำหนังสือสัญญาเป็นทางพระไมตรี ให้ลูกค้าได้ไปมาค้าขายเหมือนอย่างเมืองอื่น ๆ กำหนดราชทูตจะเข้ามาถึงในเร็ว ๆ นี้ ราชทูตเข้ามาต้องจัดที่ให้อยู่พักอาศัยตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ๆ นั้น ที่นั่ง ที่นอนหมอน ซึ่งเบิกไปรับทูตแต่ก่อนนั้น ได้รับทูตหลายครั้งแล้ว ที่นั่งที่นอนหมอนเก่าชำรุดไปจะรับทูตต่อไปไม่ได้นั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังวิเศษจัดมุ้งแพรมีระบาย ๕ จัดมุ้งผ้าขาวมีระบาย ๕ ( รวม ) ๑๐ หลังผ้าขาวปูฟูกนอน ๑๐ ผืน และให้เจ้าพนักงานพระคลังในซ้าย จัดฟูกใหญ่ผ้าขาว ๑๐ หมอนข้างผ้าขาว ๒๐ หมอนหนุนอย่างฝรั่ง ๑๐ และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดไว้ให้พร้อม ราชทูตเข้ามาถึงเมื่อใด จะได้เบิกไปรับทูตให้ทันกำหนด อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องจัดเรืออัคเรศไปรับนายเรืออเมริกาที่นอกสันดอน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙

ด้วยพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้พระอรสุมพลาภิบาลจัดเรือกลไฟ


๔๓๐ เรือพระที่นั่งอัคเรศรัตนาฎ เรือเวฆาภิชวน โปรดเกล้า ฯ ให้ออกไปรับกำมะโดดที่กำปั่นรบอเมริกา นอกสันดอนนั้นให้เจ้าพนักงานหมายบอกท่านเจ้าพนักงานพระคลังราชการ กรมนา สรรพากรในพระคลังสินค้าให้จัดสิ่งของมาส่ง แต่ณวัน เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ เพลาเที่ยงให้พร้อมกันทุกพนักงาน เรือพระที่นั่งอัคเรศรัตนาฎ ฟืนตะปูนใหญ่ ๑๐๐๐๐ ดุ้น ไต้เหนือ ๒๐ มัด น้ำมันมะพร้าว ๒๐๐ ทะนาน ข้าวสารนาสวน ๕ นาทุ่ง ๕ ( รวม ) ๑๐ ถัง ปลาหาง ๕๐ ตัว ปลาทูกัง ๕๐ ตัว ปลากุเลา ๕๐ ตัว ปลาย่าง ๕๐ ตัว ปลาสลิดใหญ่ ๓๐๐ ตัว ฟักเขียวหนัก ๑ หาบ ฟักทองหนัง ๑ หาบ ( รวม ) หนัก ๒ หาบ ฯ ฟองเป็ดจืด ๑๐๐ ฟอง ฟองเป็ดเค็ม ๒๐๐ ฟอง ( รวม ) ๓๐๐ ฟอง พริก ๒ ถัง กะปิ ๑ ถัง หอม ๑๐ หมวด กระเทียม ๕ หมวด ส้มมะขาม ๒๐ ปั้น เกลือ ๑ ถัง กระชาย ๕๐ กระสอบ

หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลฝรั่งเศสเฝ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐

ด้วยพระยาพิพัฒนโกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งหมายไปแต่ก่อนว่ามองซิเออโอบาเรด์กงสุลฝรั่งเศส จะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวายพระแสงกระบี่ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันพฤหัสบดีเดือน ๘ ๔๓๑ แรม ๒ ค่ำปีเถาะนพศก ให้เจ้าพนักงานจัดการรับพระแสงกระบี่และรับมองซิเออโอบาเรด์กงสุล ความแจ้งอยู่ในหมายครั้งก่อนทุกประการแล้วนั้น มองซิเออโอบาเรด์กงสุลป่วย เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ไม่ได้ การจึงเลื่อนไป บัดนี้มองซิเออโอบาเรด์กงสุลหายป่วยแล้ว กำหนดจะได้เข้าเฝ้า ทูลละออง ฯ ถวายพระแสงกระบี่ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๖ ค่ำปีเถาะนพศกเวลาบ่ายเป็นแน่นั้น ให้มหาดไทย กลาโหม กรมพระสัสดี หมายบอกเจ้าพนักงานและข้าราชการนายทหารพลเรือน ให้รู้จงทั่วกันจงทุกกรมทุกพนักงาน ให้จัดการรับรองตามหมายรับสั่ง ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนจงทุกสิ่งทุกประการให้ทันกำหนด เจ้าตั้งกรมแล้ว เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม และข้าราชการที่มีตำแหน่ง เฝ้าเมื่อวันแขกเมืองเข้าเฝ้านั้น ให้เตรียมเสื้อเข้มขาบอัตลัตอย่างน้อยเข้าไปคอยตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องกงสุลฝรั่งเศสเฝ้าถวายพระแสงดาบ

ด้วยนายบำรุงมหาดเล็กรับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มองซิเออโอบาเรด์กงสุลฝรั่งเศสเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ถวายพระแสงดาบ ณวันพฤหัสบดีเดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ


๔๓๒ เวลาบ่ายนั้น ให้ขุนโคจัดน้ำนมโคเข้ามาส่งเลี้ยงแขกเมือง ให้พอเหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้พระคลังแก้วพระคลังสวนนายระวางซ้ายขวา จัดดอกไม้ เบญจพรรณ์ต่าง ๆ ๑๐ ห่อ มาส่งให้ผู้รับสั่งตั้งโต๊ะรับแขกเมืองเหมือนอย่างทุกครั้ง ให้เร่งมาส่งให้ทันกำหนด

หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดที่รับทูตฝรั่งเศสที่หอนั่งสมเด็จองค์ใหญ่ แห่งหนึ่ง ทูตเมืองมะเกาพักที่สวนดอกไม้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แห่งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐

ด้วยพระยาราชานุประพันธ์ปลัดทูลฉลองกรมท่า รับพระบรม ราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ซึ่งเป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรี ณกรุงปารีสฝรั่งเศส กลับเข้ามาถวายบังคมทูลพระกรุณา ว่าคะแวนิแมนฝรั่งเศสแต่งราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีณกรุงเทพ ฯ กำหนดเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในเดือน ๑๒ ข้างขึ้นปีเถาะนพศก อนึ่งผู้ครองเมืองมะเกามีหนังสือเข้ามาใส่กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า จะขอเข้ามาณกรุงเทพ ฯ เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ด้วยเมืองหนึ่งกำหนดเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในเดือน ๑๒ ข้างขึ้นปีเถาะนพศกด้วย

๔๓๓ นั้น โปรดเกล้า ฯ ให้จัดที่รับทูตฝรั่งเศส ที่หอนั่งสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่แห่ง ๑ ให้จัดที่รับทูตผู้ครองเมืองมะเกา ที่สวนดอกไม้ ฯ พณ ฯ สมุหพระกลาโหมแห่ง ๑ นั้น ให้ชาวพระคลังในซ้ายจัดฟูกหมอนสำหรับเตียง รับทูตฝรั่งเศสที่หอสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ฟูก ๖ หมอนหนุน ๖ เป็น ๑๒ ให้ชาวพระคลังในซ้ายจัดฟูกหมอนสำหรับปูเตียงรับผู้ครองเมืองมะเกาที่ตึกสวนดอกไม้ ฯ พณ ฯ สมุหพระกลาโหมฟูก ๖ หมอนหนุน ๖ เป็น ๑๒ รวมเป็น ๒๔ ให้ชาวพระคลังราชการจัดเสื่ออ่อนเสื่อห้อง ไปปูหอสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่แห่ง ๑ที่สวน ดอกไม้ ฯ พณ ฯ ที่สมุหพระกลาโหมแห่ง ๑ ให้พอทั้งสองแห่ง แล้วให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ ให้เร่งจัดสิ่งของไปแต่งตั้งที่รับทูตให้เสร็จ แต่วันพุธเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำปีเถาะนพศก ให้ทันกำหนดทั้งสองแห่งอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องจัดการรับราชทูตฝรั่งเศส

ด้วยพระยาพิพัฒนโกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงฝรั่งเศส แต่งให้มองซิเออเดอเชตเน่อเดอเปลเล่อกรุสมิมิสเตอร์เปลนิปลเตนแชรี เป็นราชทูตนำหนังสือสัญญา ซึ่งท่านพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ราชทูต ออกไปทำไว้ต่อเคาวแมนต์ฝรั่งเศสที่กรุงปารีส เข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ กำหนดมองซิเออเดอเชตเน่อเดอเปลเล่อกรุสราชทูต ๕๕ ๔๓๔ กับขุนนางออฟีเซอในเรือรบเข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันพุธเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำปีเถาะนพศกเวลาเช้า ให้จัดช้างระวางต้น ระวางพิเศษยืนปะรำรับแขกเมืองนั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้กับกรมช้างถือแส้หวาย ๑๔ แส้หางม้า ๖ เป็น ๒๐ กระบองกลึง ๕๐ รวมเป็น ๗๐ จ่ายเลขให้กับอภิรมถือกรรชิงเกล็ด ๑๐ ให้กับราชมันถือเครื่องยศกล้วย ๖ อ้อย ๖ หญ้า ๖ หม้อน้ำ ๖ เป็น ๒๔ รวมเป็น ๑๐๔ คน ให้เร่งจ่ายแต่ณวันพุธเดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำเวลาบ่าย ให้ทันกำหนด อนึ่งให้กรมช้างจัดช้างระวางต้นระวางพิเศษไปยืนเกยปะรำ แล้ว ให้จัดช้างดั้งช้างปืน ไปยืนที่หน้าพระที่นั่งสุทไธยศวรรย์ แล้วให้เบิกเครื่องช้างสำหรับช้างต้นช้างพิเศษช้างดั้งช้างปืน ภู่ตาข่ายผ้าปกหลังให้พร้อมกับแส้หวาย ๑๔ แส้หางม้า ๖ เป็น ๒๐ กระบองกลึง ๕๐ มงคลแดง ๗๐ ต่อคลังแสงสรรพยุทธแล้ว ให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๗๐ คน ให้เบิกกางเกงปัสตูเหลืองประกอบเชิง เสื้อทองรุ้งประกอบเชิง ให้เบิกเสื้อเสนากุฎเหลือง เสื้อปัสตูแขนสั้นหมวกหนังเขียนลายทองเกี้ยวลาย ต่อคลังเสื้อหมวกคลังวิเศษให้พอแล้วให้จัดคนในกรมช้างเป็นจัตุลังคบาท ใส่เสื้อกางขัดกระบี่ ๑๒ คน ให้คอยเตรียมรับแขกเมืองให้ทันกำหนด อนึ่งให้กรมอภิรมจัดกรรชิงเกล็ด ๑๐ คัน แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๑๐ คน นุ่งกางเกงยกเสื้อปัสตู มาคอยเตรียมแห่ ช้างเข้าไปรับแขกเมือง ที่ประตูเทวาพิทักษ์ให้ทันกำหนด

๔๓๕ อนึ่งให้ราชมันกรมวังรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๒๔ คน นุ่งกางเกงเสื้อทองรุ้งเสื้อปัสตูแขนสั้นเกี้ยวลาย แล้วให้รับโต๊ะเงินใส่กล้วย ๖ ใส่อ้อย ๖ ใส่หญ้า ๖ เป็น ๑๘ ให้รับโต๊ะทองขาวใส่กล้วย ๒ ใส่อ้อย ๒ ใส่หญ้า ๒ เป็น ๖ รวมเป็น ๒๔ โต๊ะต่อวิเศษให้รับหม้อเงิน ๖ หม้อทอง ๒ หม้อใส่น้ำต่อขุนศรีสยุมพร มาคอยเตรียมตามช้างระวางต้นระวางพิเศษที่ประตูวิเศษชัยศรี แห่เข้าไปรับแขกเมืองในพระราชวังให้ทันกำหนด อนึ่งให้ขุนศรีสยุมพรรับหม้อน้ำเงิน ๖ หม้อ ๆ น้ำทองขาว ๒ หม้อต่อท่านข้างใน มาใส่น้ำส่งให้ราชมันกรมวังให้ทันกำหนด อนึ่งให้คลังแสงสรรพยุทธ์จ่ายเครื่องช้าง แส้หวาย แส้หางม้า กระบองกลึง คลังเสื้อหมวก จ่ายกางเกง จ่ายเสื้อหมวก อนึ่งให้คลังวิเศษจ่ายเกี้ยวลาย ให้กับผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ อนึ่งให้กรมอาษาทวนทอง จัดขุนหมื่นถือทวนผูกภู่ ๗ คัน ๔ คัน นุ่งกางเกงยกเสื้อเสนากุฎลายเกี้ยวเจียรบาดพอกเกษา ให้คอยเตรียมขึ้นช้าง ที่ประตูวิเศษชัยศรีให้ทันกำหนด อนึ่งให้กรมเกณฑ์หัดแสงปืนเดินจัดปืนรางเขียวใส่บนสัประคับช้าง ละบอก ๓ ช้าง ให้จัดพันทะนายนั่งบนสัประคับกำกับปืนช้างละ ๒ คน นุ่งกางเกงยกเสื้อเสนากุฎน้ำเงินเกี้ยวเจียรบาดหมวกหนังเขียนทอง ให้มาเตรียมขึ้นช้างที่ประตูวิเศษชัยศรี ให้ทันกำหนด อนึ่งให้คลังราชการ เอาเสื่อลวดไปปูที่โรงพระมหาศรีเศวต วิมลวรรณ ที่โรงพระวิมลรัตนกริณี ให้เต็มดี รับแขกเมืองจะได้ไปดูพญาช้าง ๔๓๖ อนึ่งให้ท่านข้างในจัดโต๊ะเงิน ๑๘ โต๊ะทองขาว ๖ เป็น ๒๔ โต๊ะ ส่งให้กับวิเศษ อนึ่งให้ท่านข้างในจัดหม้อน้ำเงิน ๖ หม้อทองขาว ๒ เป็น ๘ หม้อ ส่งให้ขุนศรีสยุมพร แต่ณวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำเวลาเช้า อนึ่งให้วิเศษบายศรีรับโต๊ะเงิน ๑๘ โต๊ะ โต๊ะทองขาว ๖ โต๊ะมาจัดกล้วยจัดอ้อยใส่โต๊ะเงิน กล้วย ๖ อ้อย ๖ หญ้า ๖ เป็น ๑๘ ใส่โต๊ะทองขาว กล้วย ๒ อ้อย ๒ หญ้า ๒ เป็น ๖ รวมเป็น ๒๔ โต๊ะ ส่งให้ราชมันแต่ณวันพฤหัศบดีเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำเวลาเช้าให้ทันกำหนด และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ มาจัดแจงเตรียมการให้พร้อมให้ทันกำหนดเวลาจงทุกพนักงาน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องแห่พระรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเข้ามาในพระราชวัง

ด้วยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า มองซิเออร์เดอร์เซตราชฑูตฝรั่งเศสจะได้เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำปีเถาะนพศกเวลาเช้าบัดนี้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดกระบวนแห่ทางบกทางเรือ รับพระรูปพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส รับราชทูตด้วยนั้น ให้เกณฑ์อาษาใหม่กรมวังซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เรือเหราล่องลอยสินธุ์ ๑ เรือเหราลินลาสมุทร ๑ เป็น

๔๓๗ ๒ ลำ และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราชบรรจุให้พอทั้งสองลำ พลพายใส่เสื้อแดงหมวกแดง เบิกเสื้อแดงหมวกแดง ต่อชาวพระคลังเลื้อพระคลังหมวก มาเตรียมกันที่ท่าราชวรดิษฐ์ แต่ณวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำเวลาเช้า มาขึ้นท่าออฟฟีศหน้าวัดพระเชตุพน ให้ดาดสีหลังคากฤต ให้มีเสื่ออ่อนหมอนอิงพรม ให้มีธงทวน ผ้าม่านบังแดด แต่งเรือตามเคยให้พร้อมเหมือนอย่างทุกครั้ง ให้รับปี่พาทย์ลงเรือไปด้วย ให้ไปที่บ้านกงสุลฝรั่งแต่ณวันเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำเวลาเข้า อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง หมายรับสั่ง เรื่องแห่พระรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเข้ามาในพระราชวัง

และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ผู้ใดควรจะรับเลขก็ให้ ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช และเบิกเสื้อหมวกกางเกงเกี้ยวลาย ต่อพระคลังเสื้อหมวก มาเตรียมให้พร้อมทันกำหนด ให้เร่งลงไปคอยรับแห่พระพุทธรูป ที่ท่าออฟฟิศหน้าวัดพระเชตุพน มาเข้าประตูเทวาพิทักษ์แต่ณวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำเพลาเช้าให้พร้อมกัน อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งกระบวนบกกระบวนเรือ ให้พอตามเคย


๔๓๘ อนึ่งให้กองแก้วจินดาจัดปืนใหญ่ ไปคอยเตรียมยิงสลุตพระรูปสมเด็จพระเจ้าเอมเปรอฝรั่งเศส ที่ท่าออฟฟิศหน้าวัดพระเชตุพน ๒๑ นัด ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พระคลังเสื้อคลังหมวกคลังธงคลังวิเศษ จ่ายเสื้อ จ่ายหมวก จ่ายธงเกี้ยวลาย ให้ผู้ต้องเกณฑ์ตามเคย และทั้งนี้ให้เร่งจัดการ ให้พร้อมทันกำหนดที่วัน จงทุกพนักงาน ถ้าสงสัยสิ่งใดไม่แจ้ง ให้ไปทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนมหามาลาก่อน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเกณฑ์เรือไว้รับขุนนางฝรั่งเศส

ด้วยพระยาพิพัฒนโกษารับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงฝรั่งเศส แต่งให้มองซิเออร์เดอร์เชตเป็นราชทูตนำหนังสือสัญญาเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ทอดเรืออยู่หน้าบ้านกงสุลฝรั่งเศส ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ กำหนดกงสุลฝรั่งเศส ๑ มองซิเออร์เดอร์เชต ๑ กับขุนนางในเรือรบ ๑๘ ( รวม ) ๑๙ นาย เข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำเพลาเช้าก็โปรดเกล้า ฯ ให้งดไว้นั้น เกณฑ์เรือรูปสัตว์ นายเอม มหาดไทยหมายบอกกับกรมคลังสินค้าเรือโต ซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ ( รวม ) ๒ ลำ และให้ผู้ซึ่งต้อง


๔๓๙ เกณฑ์เตรียมการพร้อมไว้ รับทูตฝรั่งเศสเมื่อใดก็ให้ได้เมื่อนั้น ถ้ากำหนดเมื่อใดจึงจะหมายมาให้แจ้งต่อคลัง เครื่องสำหรับเรือให้มีเสื่ออ่อน หมอนอิง พรม ม่านบังแดด มีธงบังท้ายกันยา ๒ คัน มีทวน ๒ คันบังหน้ากันยา ตามเคยเหมือนอย่างทุกครั้ง อย่าให้ขาดได้ให้ครบตามเกณฑ์ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องเสด็จออกรับมองซิเออร์ซาโฟนกงซุลฝรั่งเศส ถวายพระกล้องทองคำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐

ณวันพฤหัสบดีเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำปีเถาะนพศกเวลาบ่าย ๒ โมง เสด็จออกแขกเมืองครั้งนี้ มองซิเออร์ซาโฟนกงสุลฝรั่งเศส เข้าเฝ้าถวายกล้องทำด้วยทองคำทำด้วยเงิน เมื่อแรกเข้ามาเฝ้าเป็นกงสุล

หมายรับสั่ง เรื่องให้จัดการรับทูตโปตุเกศ และจัดของเลี้ยงจนกว่าทูตจะกลับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐

ด้วยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี รับพระบรมราชโอง การใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า โยเสฟมาเรีย

๔๔๐ ผู้ครองเมืองมะเกาซึ่งขึ้นกับกรุงโปตุคอล เป็นทูตเข้ามาเยี่ยมเยือนบ้านเมืองฝ่ายสยาม โยเสฟมาเรียทูตเข้ามาด้วยเรือกลไฟสามเสาใช้จักร์ท้ายทอดอยู่นอกสันดอน โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัดเรือกลไฟอัครเรศรัตนาฎลงไปรับโยเสฟมาเรีย และกัปตัน นายทหารกะลาสี ขึ้นมาณกรุงเทพ ฯ พักอยู่ที่ห้างเก่ามิสเตอร์สกอส แต่ณวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีเถาะนพศก๑๗แล้ว ได้จัดพ่อครัวทำกับข้าวของกินเลี้ยง ตามอย่างทูตเมืองใหญ่เข้ามาแต่ก่อน ๆ เสมอทุกวันกว่าจะกลับไปนั้น ให้เจ้าพนักงานพระคลังราชการจ่ายฟืนแสมรอน จ่ายไต้ จ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ล่าม ให้พนักงานใช้สอยในการทูตให้พอตามเคย ให้กรมนาจ่ายข้าวสารนาสวนซ้อมขาว สำหรับเลี้ยงนายไพร่ ๑๐๐ คน คิดคนหนึ่งวันละทนาน วันหนึ่งเป็นข้าวสาร ๕ ถัง ๖ วันให้ส่งครั้งหนึ่ง เป็นข้าวสาร ๓๐ ถัง แล้วให้จ่ายต่อไปกว่าทูตจะกลับไป จ่ายน้ำนมโคให้ล่ามพนักงานเลี้ยงทูตวันละ ๔ ทนาน กำหนด ให้ส่งแต่ณวันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๑ ค่ำ เวลาเช้า ๆ เสมอทุกวันกว่าทูตจะกลับไป และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดสิ่งของไปส่งให้ล่ามพนักงาน ที่ห้างมิสเตอร์สกอสเหนือปากคลองผดุงกรุงเกษม แต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำ ปีเถาะนพศก ให้ทันกำหนดทุกพนักงาน เมื่อจะเอาสิ่งของไปส่งนั้น ให้บอกบัญชีสิ่งของให้ล่ามพนักงานรู้จำนวนไว้ด้วย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง


๔๔๑ ออสเตรียเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐

หมายรับสั่ง เรื่องรับพระราชศาสน์ประเทศออสเตรีย

ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ รับพระบรมราช โองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า พระเจ้าแผ่นดินออสเตรียมีพระราชศาสน์ ส่งเข้ามาให้มิสเตอร์เรสลิกกงสุล ซึ่งอยู่ณกรุงเทพ ฯ นำทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดมิสเตอร์เรสลิกกงสุลจะได้เข้าเฝ้าไปรเวส ถวายพระราชศาสน์ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะนพศก เวลาเที่ยงนั้น ให้ชาวพระราชยานจัดเสลี่ยงองค์น้อยเสลี่ยง ๑ สำหรับพระราชศาสน์ แล้วให้จัดแคร่สำหรับกงสุลขี่แคร่ ๑ ให้มีคนหามให้พร้อม ให้ลงไปคอยรับพระราชศาสน์กงสุลที่หน้าออฟฟิศ มาส่งที่ประตูเทวาพิทักษ์ แล้วให้คอยรับส่งด้วยตามเคย อนึ่งให้กรมพระอาลักษณ์ ยืมพานทองต่อชาวพระคลังมหาสมบัติพาน ๑ ยืมตะลุ่มต่อชาวพระมาลาภูษา ไปรับพระราชศาสน์มาตั้งบนเสลี่ยงองค์น้อย ๕๖


๔๔๒ อนึ่งให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ พระมาลาภูษาจ่ายยืมพานทอง ตะลุ่ม ให้อาลักษณ์ไปรับพระราชศาสน์ตามเคย อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศ จัดพรมมาปูที่เก๋งจวนกลางให้เต็ม อนึ่งให้กรมวังบอกเจ้าพนักงานจัดโต๊ะ เก้าอี้ คณโฑน้ำ ถ้วยแก้ว กระโถน พานบุหรี่ฝรั่ง มาตั้งที่เก๋งจวนกลางรับกงสุลตามเคย และให้เจ้าพนักงานทั้งนี้ จัดการให้พร้อมในเวลาเที่ยงให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

หมายรับสั่ง เรื่องจัดสิ่งของออกไปทักที่เรือรบฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑

ด้วยพระยาพิพัฒนโกษา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเอมเปรอมีพระราชศาสน์ให้มองซิเออร์ตรวจ เข้ามาเป็นกงสุลอยู่ณกรุงเทพ ฯ เชิญพระราชศาสน์เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย มองซิเออร์ตรวจกงสุลเข้ามาด้วยเรือกลไฟรบชื่อเฟลอง ถึงกรุงเทพ ฯ ทอดหน้าบ้านกงสุลฝรั่งเศส ณวันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศกแล้วนั้น ฝรั่งเศสกับกรุงเทพ ฯ เป็นทางพระราชไมตรีกันสนิท สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมีพระราชศาสน์ให้มองสิเออร์ตรวจกงสุล เชิญเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีนั้น ให้จัดสิ่งของไปพระราชทานเกื้อหนุน ให้ขุนนาง ๔๔๓ ทหาร คนใช้ ในเรือ รับพระราชทานโดยบ้านเมืองเป็นไมตรีกันนั้นให้เจ้าพนักงานพระคลังในซ้ายจัดน้ำตาลทรายหนัก ๑๐ หาบ ให้กรมท่าจัดใบชาหีบใหญ่ ๒ หีบ ให้เจ้าพนักงานพระคลังราชการจัดน้ำมันมะพร้าวหนัก ๕ หาบ ให้พระแก้วพระคลังสวนจัดมะพร้าวอ่อน ๑๐๐ ทะลาย ให้พระคลังมหาสมบัติสรรพากร จัดผลไม้ต่าง ๆ ที่มีรสหวาน ๔๐ โต๊ะ เจ้าพนักงานทั้งนี้เร่งจัดหาสิ่งของไปพระราชทานกัปตัน นายทหาร ที่เรือกลไฟรบชื่อเฟลอง ทอดคอยหน้าบ้านกงสุลฝรั่งเศส แต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๙ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศกเวลาเช้าให้ทันกำหนด เมื่อจะเอาสิ่งของไปพระราชทานนั้น ให้แวะบอกบัญชีที่เวรกรมท่า วังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพก่อน จะได้จัดให้ล่ามพนักงานพาไป อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่งหมายมาณวันพุธ เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก

หมายรับสั่ง เรื่องกำหนดขุนนางฝรั่งเศสจะเข้าเฝ้า ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เกณฑ์เรือรับราชศาสน์กรุงฝรั่งเศส

ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสมีพระราชศาสน์ให้มองซิเออร์เข้ามาเฝ้าทูลเกล้า ฯ ถวาย กำหนดมอง ซิเออร์กงสุลมีชื่อ ๘ นายจะได้ให้เข้ามาเฝ้าทูลเกล้า ฯ ถวายพระราช

๔๔๔ ศาสน์ ณพระที่นั่งอนันตสมาคม ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมงนั้น ให้นายเวรมหาดไทยหมายบอกกับนายเรือ เรือดั้งกรมกลางซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ เป็น ๒ ลำ รับกลองมะโหระทึกแตรงอนแตรฝรั่งลงเรือด้วยนั้น เกณฑ์เรือดั้งรูปสัตว์ เรือเหรา กรมอาษาในกรมวังซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ รวม ๒ ลำ เรือมังกรล้อมพระราชวังซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ รับกลองชนะ เรือโตกรมพระคลังสินค้าซ้ายลำ ๑ ขวาลำ ๑ รวม ๒ ลำ อาษากรมท่าซ้าย ๑ ขวาลำ ๑ รวม ๒ ลำ เรื่อกิเลนรับปี่พาทย์ เรือวายุภักษ์ กรมอาษาวิเศษให้มีเสื่ออ่อน พรม หมอน ม่านทอง รับกงสุล และให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้ไปรับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช บรรจุพลพายให้ครบกะทง แต่พลพายไพร่ใส่เสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดงจงทุกคน แล้วให้พายเรือไปคอยเตรียมแห่ท่าราชวรดิษฐ์วินิจฉัย แต่ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เวลาเช้าโมงหนึ่ง เมื่อจะลงไปให้แวะท่าออฟฟิศหน้าวัดพระเชตุพน ตรวจตราดูแลเสียก่อน จึงลงไปแห่พระราชศาสน์หน้าวัดพระ เชตุพนให้เร่งไปยกเรือลงแต่ณวันเดือน....................ค่ำ ครั้น................. ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาเช้าหนึ่งโมง ( ต้นฉบับชำรุด )







สารบาญค้นเรื่อง








สารบัญค้นเรื่อง ก

ก่งศิลปศร จมื่น ๓๒๒ กชี ขุน ๓๙๔ กรุงธนบุรี มอญอพยพมาสู่โพธิสมภาร ๔๐ กลเตอร์ มองซิเออร์ ๓๒๘ กวางตุ้ง เมือง ๗๕, ๑๐๙ กษัตริย์ศรีศักดิเดช กรมหมื่น ๔๐๘ กะต่าย พระยารามกำแหง ๒๒๐ กะบังปาสู เมือง ๖๔ กันภยุบาทว์ หลวง ๔๑๒, ๔๑๔ กัลกะตา เมือง ๒๓, ๔๑๖ กาญจนบุรี เมือง ๕๙ การละลด ดูที่ กาลส การะฝัด ดูที่ ครอเฟิต กาลกัตตา ดูที่ กัลกะตา กาลส ทูตโปตุเกศ ๑๐, ๑๑, กงสุลโปตุเกศ ๔๒, ๑๙๓



๔๔๖ กาละ เมือง ๔๗ กำแพง พระ ๔๑๑, ๔๑๔ กำแพงวังรี ขุน ๔๑๑ กุกัง เมือง ๑๘๑ กุเดน มิสเตอร์ ๓๓๙ เกาะหมาก เมือง ๒๐, ๖๑, ๑๗๕, ๑๘๑ เก๋ง พระที่นั่ง ๒๙๕ เกราซา กัปตัน ๔๒๑ เกษตรรักษา พระยา ๒๖๓ แก้ว พระอภัยพลรบ ๒๒๒ โกเกต เรือกลไฟ ๓๘๗ โกชาอิศหาก หลวง ( นะกุด่าอรี ) ๒๙ โกเดน เรือกลไฟ ๓๘๗ โกเปต เรือรบ ๔๒๑ ไกรโกษา พระยา ( บุญมา ) ๑๑๕, ๒๒๐ ไกรเทพการ หลวง ๔๑๑, ๔๑๓ ไกรนารายน์ หลวง ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๓ ไกรสรเดช หลวง ๓๕๒ ไกลาศ เขา ๓๓๓, หลวง ๓๕๓


๔๔๗ ข ขำ จมื่นราชามาตย์ ๑๑๖, ๒๒๒ ขุนทอง จมื่นราชาบาล ๒๒๒ ขุนนาง ๒๔๙, ๓๖๗ เขดบา เมือง ๔๗ เขมร ๑๙๖ แขก ที่ไปมาค้าขายในเมืองไทย ครั้งรัชกาล ที่ ๓ ๑๙๑

ค คชสิทธิ์ หลวง ๓๔๙, ๓๗๔ คชสีห์ ตรา ๓๑๓ ครอเฟิต นาย ทูตอังกฤษ ๑๐, ๑๘, ๒๑๙ คอลออยเลนเบิต ราชทูตปรูเซีย ๓๔๗ คลัง ดูที่พระคลัง คาอิด นายกำปั่นรบ ๕๗ คิง มิสเตอร์ ๒๗๐ โค ขุน ๓๙๔, เมือง ๑๕

ง แงนเดรัน นาย ชาวโปตุเกศ ๑๘

๔๔๘ จ จงซ้าย จมื่น ๒๔๕ จงพยุห หลวง ๑๔๐ จรเจนชลา หมื่น ๑๑๙, ๒๒๐ จรูญเรืองฤทธิ์ ขุน ๓๗๕ จวนกลาง เก๋ง ๓๓๘, ๓๖๕ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ ๒๑๙ จักรพรรดิพิมาน พระที่นั่ง ๓, ๑๒ จักราราชมนตรี พระ ๒๒๑ จัตุรังคโยธา หลวง ๒๙๐ จัน พระยาวิเศษสงคราม ๑๑๖ จันดเล มิสเตอร์ ๓๓๙ จันทรมณฑล ตรา ๓๑๓ จารึกพระนาม ๑๘๔ จ่าเรศ นาย ๑๗๑, ๑๘๔, (เม่น) ๒๒๑ จำนงค์รักษ์ หมื่น ๔๑๒, ๔๑๕ จิง นะโปเลียน พระนายสรรพเพธภักดี ๒๓๑ จินดา เมือง ๔๔ จิตร์จอมราษฎร์ ขุน ๓๕๓, ๔๑๕ จีน แดน ๑๓๐, เมือง ๒๖๕


๔๔๙ จุฬาราชมนตรี พระยา ๓, ๓๖, ๗๔, ๑๓๔, ๑๓๕, ๑๗๐, ๑๘๔, ๒๖๓, ( นาม ) ๑๑๕, ๒๒๐ จุฬาลงกรณ์ สมเด็จเจ้าฟ้า ๓๖๑ เจดีย์สามองค์ ด่าน ๓๘ เจติยานุรักษ์ หลวง ๓๕๒, ๓๕๖, ๓๗๔ เจตุบา เมือง ๔๔ เจษฎาบดินทร พระเจ้าลูกยาเธอ ๒๔

ฉ ฉิม เจ๊สัว ๑๐๕, พระยาสวัสดิ์วารี ๑๑๖, ๒๒๐, ภูดาษ ๑๓๒

ช ช่วง พระนายไวยวรนาถ ๑๑๖ ชัยเดชะ หลวง ๔๑๒, ๔๑๔ ชัยสรฤทธิ์ ขุน ๓๕๑ ชาติวิชา ขุน ๓๕๓, ๓๕๕, ๓๗๔ ชำนาญภักดี ขุน ๔๑๑, ๔๑๔ ชำนาญอาวาส หมื่น ๔๑๒, ๔๑๔ ชำนิ หมื่น ๔๑๐, ๔๑๕ ๕๗ ๔๕๐ ชำนิโยธา หลวง ๔๑๒, ๔๑๕ ชิคุ เมือง ๔๗ ชิด นาย ๒๙๗ ชิต พระองค์เจ้า ๔๐๘ ชินศรีรักษา หลวง ๓๕๓, ๓๕๕, ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๔ ชุมพร พระยา ( ซุย ) ๓๘, เมือง ๖๔ เชตุพน วัด ๓๘๙, ๔๒๑, ๔๓๗, ๔๔๔ เชมสบรุก เซอร์ ๑๑๘ เชมส์เฮส์ นายยิ้ม ๑๑๗ เชษฐาธิเบนทร์ กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๐๙ เชียงใหม่ เมือง ๖๐ แช่ม รองพันพรหมราช ๓๑๗ โชฎึกราชเศรษฐี พระยา ๗๐, ( บุญมา ) ๑๑๕, ๑๘๔ ๒๒๐, ๒๕๙, ๒๖๓ ไชยาธิบดี ออกญา ๑๗

ซ ซาโฟน กงสุลฝรั่งเศส ๓๘๖, ๔๓๙ ซิวโกเกต เรือรบกลไฟ ๔๒๐ ซุย พระยาชุมพร ๓๘

๔๕๑ เซนยอน นาย ๑๐๒ เซนยะซิงโต เรือจักรไฟ ๒๙๘ เซี่ยงไฮ้ เมือง ๒๗๐ ไซ่ง่อน เมือง ๓๘๔

ญ ญวน ประเทศ ๓๖, ๑๓๐, การเก็บภาษี ๑๙ ญี่ปุ่น เริ่มมีไมตรีกับไทย ๑ ไญกะตรา เมือง ๑๘๑

ณ ณรงควิชิต พระ ตรีทูตไทย ๓๗๘

ด ดอดยอนเฮ กัปตัน อังกฤษ ๓๘๗ ดัมโกเล่อฟา นายกำปั่นรบฝรั่งเศส ๓๗๘ ดารแมนลิบโป ทูตฝรั่งเศส ๓๙๓ ดาอี บุตรเจ้าพระยาไทร ๖๔ ดาษมณีกรณ์ ขุน ๔๑๒ ดิก กัปตัน ขุนศรีปรีชาชาญสมุทร ( ดิศ ) ๑๑๗ ดิด นาย ล่าม ๑๔๐ ๔๕๒ ดิน มิชชันนารี ๗๑, ๗๕ ดิศ เจ้าพระยาพระคลัง ๑๑๕, ขุนปรีชา ชาญสมุทร ๑๑๗ ดิศมิต กัปตัน ๖๙ ดิสตรียา มองซิเออร์ ๓๘๑ ดิสารสรรพากร หลวง ๔๑๒ ดีน หมอ ๑๑๗ ดุสิดาภิรมย์ พระที่นั่ง ๔, ๒๕๐, ๒๖๗ ดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่ง ๒๗๗, ๒๘๐, ๒๘๔, ๒๘๗, ๒๙๑, ๓๑๘, ๓๘๖ เดชอดิศร กรมขุน ๑๓๕, ๒๑๙ เดชาดิศร สมเด็จกรมพระ ๒๑๙, ๒๕๐, กรม สมเด็จพระ ๒๘๑ เดนมาร์ค เริ่มมีไมตรีกับไทย ๑, ชาว ๑๗ เดนเยอร์ฟิลด์ นายร้อยเอก ๒๓ เดอร์เชต ราชทูตฝรั่งเศส ๔๓๖ แดนเวอส์ นาย ชาวอังกฤษ ๑๗

ต ตกราน เมือง ๕๙ ตรัง เมือง ๔๙

๔๕๓ ตรวจ กงสุลฝรั่งเศส ๔๔๒ เตนเฟดารีดโฆ กงสุลโปตุเกศ ๓๐๗ ตะกั่วทุ่ง เมือง ๔๕ ตะกั่วป่า เมือง ๔๕ ตะณุพยู เมือง ๔๗ ตะนาวศรี เมือง ๑๗, ๓๘, ๔๔, ๑๗๕ ตังเลง เมือง ๑๐๙ ตาลา เมือง ๔๔ ติกนอมอ ๕๗ ตุรน อ่าว ๗๐ เตนาบิ เมือง ๔๔ เตเลอโยนส์ หมอยอน ๑๑๗ โตขมังคลื่น เรือ ๓๒๔ โตฝืนสมุทร เรือ ๓๒๔ โต พระยาราชสุภาวดี ๑๑๕, ๒๒๑

ถ ถม พระที่นั่ง ๓๐๘ ถลาง เมือง ๔๕, ๑๘๑ ถาวรวรยศ กรมหมื่น ๒๕๐, ๒๘๑, ๓๐๙ ถือน้ำ ๓๗๐

๔๕๔ ท ทัด พระยาศรีพิพัฒน์ ๑๑๕, ๒๑๙ ทรงธรรม สมเด็จพระเจ้า ๑ ทรงฤทธิ์ ขุน ๓๕๑ ทวารเทเวศร์ ประตู ๓ ทองดี ดูที่ทอเรียะ ทอเรียะ เจ้าพระยามหาโธยา ๓๘, ๒๒๐ ทะวาย เมือง ๓๘, ๔๔, ๑๗๕ ท่าพระ ประตู ๒๕๐, ๒๖๒, ๒๖๕, ๒๖๖, ๒๗๒, ๓๔๕, ๓๕๔ ท้ายน้ำ พระยา ๗ ทินบรรณาการ ขุน ๒๔๙, ๒๘๑, ๓๐๙, ๓๐๐, ๓๓๓, ๓๕๔, ๓๖๖, ๓๙๐, ๔๐๖, ๔๒๒ ทิพมงคล ขุน ๕๔ ทิพไพรสณฑ์ ขุน ๔๑๑, ๔๑๓ ทิพยรักษา หลวง ๔๑๒, ๔๑๔ ทิพวาจา ขุน ๔๒ ทิพเสนา จมื่น ๑๗๑, ๑๘๔ ( เรือง ) ๒๒๑ ทิพเสนาตาแหวน ดูที่ เรือง


๔๕๕ ทิพากรวงศ์ เจ้าพระยา ( ขำ ) ๑๑๖, ๒๒๒ ทิมดาบชาววัง ประตู ๘ ทุ่ง ๓๔๘ ทุเรียน ๑๓๒ เทพเดชะ หลวง ๓๕๑, ๔๑๒, ๔๑๔ เทพผลู พระ ๓๕๓ เทพราช พัน ๒๔๗ เทพวาจา ขุน ๔๒ เทพอรชุน พระยา ๒๖๓ เทวาทิตย์ หมื่น ๒๖๐, ๒๘๗, ๓๔๐ เทวาพิทักษ์ ประตู ๓๒๒, ๓๓๘, ๓๔๕, ๓๕๔, ๓๘๙, ๔๓๔, ๔๔๑ เทวาภิบาล ประตู ๒๙๕, ๓๑๐, ๓๒๒ เทเวศรรักษา ประตู ๒๙๕, ๓๑๐, ๓๒๒ เทเวศรวัชรินทร์ กรมหลวง ๒๕๐, ๒๘๑, ๒๙๒, ๓๐๙, ๓๒๒ เทศมณีกรณ์ ขุน ๔๑๕ ไทย แต่งราชทูตไปประเทศฮอลันดา ไทรบุรี พระยา ๑๓๙, เมือง ๒๐, ๖๑, ๑๔๘, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๘๑


๔๕๖ ธ ธนบุรี กรุง ๑ ธรรมา เจ้าพระยา ๓, ๒๖๓, ( บุญศรี ) ๑๑๕, ๒๑๙, ( เสือ ) ๒๒๑, พระยา ๗, ๒๕๘, ๒๖๐ ธารกำนัล ขุน ๒๔๙, ๒๘๑, ๓๐๙, ๓๓๐, ๓๓๓, ๓๕๔, ๓๖๖, ๓๙๐, ๔๐๖, ๔๒๒

น นครเขื่อนขันธ์ เมือง ๗๒, ๑๓๖ นครชัยศรี เมือง ๕๙ นครลำพูน เมือง ๖๐ นครศรีธรรมราช เมือง ๒๑, เจ้าพระยา ๔๑, ๖๓, ๑๓๖, ๑๗๕, พระยา ( น้อย ) ๒๑ นครราชสีมา พระยา ๒๕๙ นนทเสน หลวง ๒๔๙, ๒๘๐, ๒๙๐, ๓๖๘, ๓๘๓, ๔๑๑ นราภักดี หลวง ๒๙๒, ๔๑๒, ๔๑๕ นราเรืองเดช หลวง ๒๙๘, ๓๕๓, ๔๑๒, ๔๑๔


๔๕๗ นราฤทธิไกร ขุน ๓๕๒, ๓๕๕, ๔๑๒, ๔๑๔ นรินทรเสนี พระ ๗๔, ๑๑๖, ๒๔๗, ๒๗๙, ๒๘๙, ๓๑๐, ๓๒๑ นอก มิสเตอร์ ๔๑๗, ๔๑๓ น้อย ดูที่ นครศรีธรรมราช นะกุด่าอรี นาย ล่ามภาษามะลายู ๒๙ นะโปเลียนที่ ๑ พระเจ้า ๒ นาถภักดี ขุน ๔๑๒, ๔๑๔ นาม พระยาจุฬาราชมนตรี ๑๑๕, ๒๒๐ นามาภิธัย จารึก ๑๘๔ นารายน์ สมเด็จพระ ๑, ๒๓๙ นารายน์ทรงนาค ตรา ๓๑๓ นาวาพลานุโยค พระยา ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๕ น้ำ พระตำหนัก ๒๖๘, ๓๒๙ นิกรบดินทร์ เจ้าพระยา ( โต ) ๑๑๕, ๒๒๑, เจ้า พระยา ๒๖๓ นิกรไพรสณฑ์ หลวง ๒๙๐ นิตย์ นาย ๒๙๗ นิพอน เมือง ๑๓๐ นุช พระสุริยภักดี ๑๑๖ เนปตยูน เรือ ๒๓๕ ๕๘ ๔๕๘ ในขวา พระคลัง ๕๕ ในซ้าย พระคลัง ๕๕

บ บดินทรเดชา เจ้าพระยา ๖๑, ๒๒๑ บรมไกรสร พญาช้าง ๓๑๖ บรมมหาพิชัยญาติ สมเด็จเจ้าพระยา ( ทัด ) ๖๘, ๑๑๕, ๒๑๙ บรมมหาประยุรวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยา ( ดิศ ) ๖๘, ๑๑๕, ๒๑๙ บรมมหาราชวัง ดูที่ หลวง บรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยา ๑๑๖, ๒๒๑ บราน นาย นายทหาร ๑๔๐ บรุก กัปตัน ๑๒๐, ๑๒๖ บวรนิเวศน์ วัด ๒๙๓ บวรราชวัง ดูที่ หน้า บวรวิชัยชาญ กรมหมื่น ๔๐๘ บอนำ มิสเตอร์ ๖๕, ๑๗๘ บัดเสน เมือง ๔๔ บัตเตอร์เวอร์ธ นาย ๒๓๑ บัว พระยาราชวังสัน ๑๑๕, ๒๒๐

๔๕๙ บัวแก้ว ตรา ๓๑๓ บัวผัน ตรา ๕๗ บารนี ดูที่ เฮนรี เบอร์นี บำรุงราชบทมาลย์ นาย ๓๓๐, ๓๙๔, ๔๐๑ บำเรอภักดิ์ พระยา ๗, ๒๗๖, ๒๘๒, ๒๘๙, ๒๙๑, พระ ๓๐๔ บิแอมเบอริน กัปตัน ๓๓๙ บุญมา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ๑๑๕, ๒๒๐ บุญศรี พระยาพิพัฒนโกษา ๒๑๙ บุรุษรัตนราชพัลลภ พระยา ๔๐๖ บุษบกมาลามหาจักร พรรดิพิมาน พระที่นั่ง ๒๔๖ เบนเซน ต้นหน ๑๙๖ เบนาต แม่ทัพฝรั่งเศส ๓๘๔ เบนิติกต์ พระยาวิเศษสงคราม ๒๒๑, ดูที่ วิเศษ สงคราม เบลเยียม ทูต ๔๒๘

ป ปฎิภาณพิจิตร์ ขุน ๒๗๙ ปตน เมือง ๔๔ ๔๖๐ ประจักษ์ราชกิจ หมื่น ๓๕๒ ประดิษฐ์ศิลา ขุน ๔๑๒, ๔๑๕ ประธานมนเทียร จมื่น ( แสง ) ๒๒๑ ประพาศพิพิธภัณฑ์ พระที่นั่ง ๔๐๕ ประพาสมนเทียร นาย ๒๔๙, ๒๘๐, ๓๖๗, ๓๘๒ ประยุรวงศ์ วัด ๒๔, ๕๑ ประสิทธิราช ขุน ๑๓๓ ประสูทสำแดงฤทธิ์ หลวง ๓๕๒ ปรัดเล หมอ ๑๘๙ ปราสาททอง สมเด็จพระเจ้า ๑ ปรีชาชาญสมุทร ขุน ๖๙, ( ดิศ ) ๑๑๗ ปรีดาราช หมื่น ๓๔๐ ปรูเซีย แต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ๓๓๖, ๓๔๗ ปลมะสตัน หลอด ๑๒๗, ดูที่ ปาลเมอสะตัน ปลิด เมือง ๑๘๑ ปลิแมม เมือง ๓๔๓ ป้อมปัจจามิตร ป้อม ๒๗๗, ๒๘๕, ๒๘๖ ปะแงรัน เจ้าพระยาไทรบุรี ๒๑, ๖๒ ปะตูกัน ดูที่ ปัตุกัน และ โปตุเกศ


๔๖๑ ปัตพิจาร หลวง ๓๒๗ ปัตุกัน เจ้าเมือง ๓๓๐ ปัลลกัวซ์ สังฆราชบาดหลวง ๒๓๖ ปัศนู พระยาอภัยนุราช ๒๑ ปากแพรก ทัพ ๙ ปาลเมอสะตัน ลอร์ด ๒๒๔ ปิดปัจจนึก ป้อม ๒๔๒, ๒๗๕, ๒๗๗, ๒๘๖ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ ๑๑๕, ๒๑๙, ๔๒๑ เปหระ เมือง ๖๒ เปไหล เมือง ๖๒ เปอร์เซีย ประเทศ ๒๕ แประ พระยา ๔๑, เมือง ๑๗๕ แประโมต กำปั่น ๖๙ โปตุเกศ เริ่มมีไมตรีกับไทย ๑, เจริญทางพระ ราชไมตรี ๒, เรือค้าขาย ๑๙, ๓๐๗, ๓๔๓, ราชทูต ๓๓๐, ดูที่ มะเกา โปตุคอล ประเทศ ๓๓๒


๔๖๒ ผ ผดุงกรุงเกษม คลอง ๒๙๘, ๓๐๐ ผลาญไพรณ ขุน ๓๕๓, ๓๗๕, ๔๑๒, ๔๑๕ ผีเสื้อสมุทร ป้อม ๗๑ แผนพลพ่าย หลวง ๔๑๒ แผนพลราบ หลวง ๔๑๕

ฝ ฝรั่ง ที่ไปมาค้าขายในเมืองไทย ครั้งรัชกาลที่๓ ๑๙๑ ฝรั่งเศส เริ่มมีไมรตรีกับไทย ๑, แต่งทูตเข้ามา เจริญทางพระราชไมตรี ๓๑๑, กงสุล ๓๒๘, ๓๘๑, ๓๘๖, ๓๙๖, ๔๐๗, ๔๒๗, ๔๓๐, ๔๓๙, ๔๔๒, ประเทศ ๓๗๘, แม่ทัพ ๓๘๔ ฝิ่นเถื่อน ๑๗๘

พ พงศาวดารสยาม สังเขป ๒๓๖, พิสดาร ๒๓๗ พนมเกษา พระ ๓๖๗ พรหมเดชะ หลวง ๔๑๒ ๔๖๓ พรหมรักษา ขุน ๓๕๒, ๓๖๗, ๓๗๔, ๔๑๒, ๔๑๔ พระ ท่า ๒๕๐, ๓๓๘ พระคลัง พระยา ๗, ๓๖, เจ้าพระยา ๑๙, ๕๑, ๖๑, ๖๕, ๖๘, ( ดิศ ) ๑๑๕, ๑๒๐, ๑๘๓, ๒๑๙ พลกาย หลวง ๓๕๕ พลเทพ เจ้าพระยา ๒๖๓, ๔๒๗ พลพ่าย หลวง ๓๕๒ พลโยธานุโยค หลวง ๓๗๔ พลวาศัย หลวง ๒๙๒, ๒๙๔, ๔๑๑, ๔๑๕ พลันดอน เมือง ๒๘๔ พลาสัย หลวง ๓๕๓ พหลเดชะ หลวง ๔๑๕ พะโก เมือง ๔๔ พะม่า ชวนญวนให้รบไทย ๓๖, รบอังกฤษ ๓๗ พังงา เมือง ๑๘๑ พาณิช นาย ๒๑๕, ๒๒๐ พิชัย พระยา ๓๗๔, ๔๑๐ พิชัยบุรินทรา พระยา ๒๖๓

๔๖๔ พิชัยรณฤทธิ์ พระยา ๑๒๗, ( เหม็น ) ๒๒๐ พิชัยสงคราม พระยา ( ฟัก ) ๒๒๐, ๔๑๒, ๔๑๔.. พิชิตณรงค์ พระยา ๑๒๗ พิเดชสงคราม พระ ๓๕๒, ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๔ พิทักษ์คงคา หลวง ( เสง ) ๒๒๐ พิทักษ์ทศกร พระยา ( ย้ง ) ๑๑๖ พิทักษ์เทวา สมิง ๔๑๑, ๔๑๕ พิทักษ์เทเวศร์ กรมพระ ๒๕๐, ๒๘๑ พิทักษ์โยธา หลวง ๒๙๘, ๓๕๓, ๔๑๔ พิทักษ์ราชา หลวง ๔๑๒, ๔๑๕ พิเทศพาณิชสยามพิชิต- ภักดี พระ ๓๘๔ พิทักษ์อาวุธ หมื่น ๕๔ พินิจพลขันธ์ หลวง ๔๑๒ พินิจภูษา ขุน ๓๑๓ พินิจรจนา หมื่น ๔๑๑, ๔๑๔ พิพัฒนโกษา พระยา ๔๒, ๗๑, ๗๔, ( บุญศรี ) ๑๑๕, ๑๓๔, ๑๓๕, ๑๗๐, ๑๘๔, ๒๑๙, ๒๗๐, ๓๐๗, ๓๖๘, ๓๙๑, ๔๐๔, ๔๐๙, ๔๑๓, ๔๑๖, ๔๓๓

๔๖๕ พิพิธณรงค์ หลวง ๒๙๘ พิพิธเดชะ หลวง ๒๙๘, พระ ๓๕๕, ๓๗๔ พระยา ๑๔๔, ๔๑๒ พิพิธพลขันธ์ หลวง ๔๑๕ พิพิธภูบาล พระ ๓๕๓ พิพิธโภคภูเบนทร์ กรมหมื่น ๔๐๘ พิพิธมนเทียร หลวง ๓๕๓, ๓๗๔, ๔๑๐ พิพิธสาลี หลวง ๓๒๗, พระ ๓๔๙, ๓๕๘ พิพิธอักษร หมื่น ๑๗๐, ( เสง ) ๒๒๐ พิมานชัยศรี ประตู ๘, ๒๔๗, ๒๗๖, ๒๗๙, ๒๘๐, ๒๘๙, ๒๙๑, ๓๑๐ พิมานรัตนพิศาล ประตู ๓๒๒ พิมานอากาศ พระคลัง ๔ พิเรนทร์ ขุนนาง ๓๓๐ พิเรนทรเทพ พระ ๒๙๘, ๓๕๑ พิษณุเสนี หลวง ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๕ พุฒอนุราช พัน ๒๔๗ พุทเกศ ดูที่ โปตุเกศ เพ็ชรคำแหง หลวง ๔๑๐, ๔๑๖ เพ็ชรฉลูเสนี หลวง ๓๐๔, ๓๔๐, ๔๐๓ เพ็ชรชฎา พระยา ๗๔, ๑๑๕ ๕๙ ๔๖๖ เพ็ชรบุรี เมือง ๓๔๙, ๓๕๕, ๓๙๔, ปากอ่าว ๔๐๔ เพ็ชรปาณี พระยา ( ขุนทอง ) ๒๒๒ เพ็ชรพิชัย พระยา ๑๓๖, ๒๖๓, ๒๙๒, พระยา ( เสือ ) ๒๒๑ ไพบูลยสมบัติ พระยา ( เอี่ยม ) ๒๒๒

ฟ ฟัก พระยาวิชิตณรงค์ ๒๒๐ ฟินเลสัน นาย หมอ ๒๓ เฟลอง เรือรบ ๔๔๒ ไฟเอศไมสเราคิง แม่ทัพอังกฤษ ๔๒๖

ภ ภักดี หมื่น ๓๕๒, ๔๑๒ ภักดีเกษตร์ ขุน ๔๑๕ ภักดีไตรรัตน์ ขุน ๔๑๒ ภักดีรณฤทธิ์ หลวง ๒๙๒ ภักดีอาษา ขุน ๓๕๑ ภุมเรศ พระองค์เจ้า ๓๕๒, ๔๐๘ ภูธราภัย เจ้าพระยา ( นุช ) ๑๑๖ ภูบดีราชหฤทัย กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๑๐ ๔๖๗ ภูบาลบริรักษ์ กรมหมื่น ๒๕๐, ๒๘๒, ๓๐๙ หมื่น ๓๕๓, ๓๗๕ ภูบาลบันเทิง พระยา ๔๒๘ ภูเบนทรพิทักษ์ หลวง ๓๕๓, ๔๑๓ ภูเบนทรสิงหนาท หลวง ๓๕๘ ภูเบศรพิทักษ์ หลวง ๔๑๑ ภูเบศรสิงหนาท หลวง ๓๒๗ ภูมินทรภักดี กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒ ภูวนัยนฤเบนทร์ กรมหมื่น ๔๐๘ ภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ กรมหลวง ๒๕๐, ๒๘๑, ๓๐๙ โภชนลินลาศ เก๋ง ๓๖๗, ๓๖๘, หอ ๓๙๐, ๔๐๑

ม มงคลเลิศ พระองค์เจ้า ๔๐๘ มณีปุระ เมือง ๓๗ มณีเมขลา เรือพระที่นั่ง ๔๐๔ มณีรักษา หลวง ๓๕๓, ๓๗๕ มนตรีรักษา กรมหมื่น ๔๐๘ มนตรีสุริยวงศ์ พระยา ๒๔๑, ๒๕๙, ๒๗๑ ๒๗๓, ๒๙๓

๔๖๘ มนทานุโยค หลวง ๓๕๒ มนเทียรธรรม หอ ๙, ๓๓๓ มนเทียรบาล พระยา ๒๖๓ มนเทียรพิทักษ์ จมื่น ๑๓๔, ( สวัสดิ์ ) ๒๒๒ มริกัน ดูที่ อเมริกัน มฤท เมือง ๓๘, ๔๔, ๕๐, ๑๗๕ มห่น แขก ๑๙๑ มหาเทพ พระ ๓๕๑, ๓๕๓, ๓๗๕, ๔๑๕ มหาธาตุ วัด ๒๙๕, ๓๙๒ มหามนตรี พระ ๗๔, ๓๕๑, ๓๗๕, ๔๑๐, ( สวัสดิ์ ) ๑๑๖, พระยา ( นุช ) ๑๑๖ มหามนเทียร หลวง ๒๔๘, ๓๒๒ มหามาลา เจ้าฟ้า ๒๖๘, ๒๘๒, ๒๙๐, ๓๐๙, ๓๑๐, ๓๔๗, ๓๘๐, ๓๘๖, ๒๕๐ มหาโยธา เจ้าพระยา ( ทอเรียะ ) ๓๘, ๑๗๔, ๑๘๓, ๒๒๐ มหาศิริธรรมพโล ปถัมภ์ ฯ เจ้าพระยา ( หนูใหญ่ ) ๒๒๑ มหาศิริธรรม เจ้าพระยา ๒๕๙ มหาศรีเศวตวิมลวรรณ พญาช้าง ๔๐๐, ๔๓๕ มหาสนิท จมื่น ( แสง ) ๒๒๑

๔๖๙ มหาสมบัติ พระคลัง ๕, ๕๓ มหาสิทธิโวหาร ขุน ๒๔๘ มหาหงส์ พระองค์เจ้า ๔๐๘ มหาอัครนิกร พระยา ( เหม็น ) ๒๒๐, ๒๔๑, ๒๙๖ มหาอำมาตย์ พระยา ( บุญศรี ) ๑๑๕, ๒๑๙, ๒๕๙, ๒๖๓ มหิศวรินทรามเรศ กรมหลวง ๒๕๐, ๒๘๑, ๓๐๙ มเหศวรศิววิลาศ กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๑๐ มองติคนี ราชทูตฝรั่งเศส ๓๑๑ มองตีงี ดูที่ มองติคนี มอริชอน เสมียน ๕๗ มะเกา เมือง ๑๙๓, ๓๔๓, ๔๓๒, ๔๔๐ ดูที่ มาเก๊า มะตะมะ เมือง ๔๔ มะตุน มิชชันนารี ๗๓, ๗๕, ๑๑๗ มะลายู แขกเมือง ๓๒๘ มะสิง เมือง ๔๗ มังกรจำแลง เรือ ๒๕๗, ๓๒๔ มังกรแผลงฤทธิ์ เรือ ๒๕๗, ๓๒๔ มั่งกล่า เมือง ๑๓๐ มัตราต แขก

๔๗๐ มัศลิน กงสุลโปตุเกศ ๑๙๓ มาเก๊า เมือง ๒, ๑๐, ๑๐๙, ดูที่ มะเกา มาตยาพิทักษ์ กรมหมื่น ๔๐๘ มารเกศ หัสตึ่ง ดูที่ มาร์ควิส เหสติงส์ มาร์ควิส เหสติงส์ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองอินเดียของอังกฤษ ๑๐, ๑๘ มารีเนต มองซิเออร์ ๓๙๖ มาลาการ ขุน ๔๐๑ มาลาพระนคร เรือกำปั่นหลวง ๑๐ มาลาภูษา หอ ๓๑๓ มุขกระสัน ๓๒๒ มุขเด็จ ๓๒๒ มูเตีย เมือง ๒๗๐ เมชะเบอนี ดูที่ เฮนรี เบอร์นี เม่น นายจ่าเรศ ๒๒๑ เมาะตะมะ เมือง ๓๘ เมาะตำเลิม เมือง ๕๙ แมคดอลเนล กัปตัน ๒๓, ๓๕ แม่น หมื่น ๑๑๙, ๒๒๐ แมนพลพ่าย หลวง ๒๙๐ โมงติโก เรือรบ ๓๓๑

๔๗๑ ย ยง เจ๊สัว ๑๐๕ ย้ง พระยาพิทักษ์ทศกร ๑๑๖ ยมขี่สิงห์ ตรา ๓๑๓ ยมราช พระยา ๒๖๓, เจ้าพระยา ( สุก ) ๑๑๕, ๒๒๐, ( นุช ) ๑๑๖, เจ้าพระยา ๒๕๙, ๓๑๒ ยวง สังฆราชบาดหลวง ๓๑๗ ยอน มัชชันนารี ๗๕, ๑๑๗, ๑๗๐, ๑๘๙ ยอนเบาริง เซอร์ ราชทูตอังกฤษ ๒๒๕, ๓๓๔ ยอนอาดาม ๓๓๙ ยอนอดัม เรือ ๒๓ ยะไข่ เมือง ๓๗ ย่างกุ้ง เมือง ๔๔ ยาเว มิสเตอร์ ๓๒๙ ยิปิเจมัตเซล ทูตฮอลันดา ๓๙๗, ๔๐๒ ยิ้ม นามเชมส์ เฮส์ ๑๑๗, เสมียน ๑๗๑ ยี่สานประเวศน์ หลวง ๓๕๒


๔๗๒ ยี่สานสรรพเดช หลวง ๔๑๕ ยุคนธร พระองค์เจ้า ๔๐๘ เย เมือง ๔๔ ดูที่ เร เย็น พระที่นั่ง ๗, ๒๙๕ เยสัปรุด ๑๑๘, ดูที่ เชมสบรุก เยอรเบียน เรือกลไฟ ๓๗๘ เยอรมัน ๓๔๓ เยาวลักษณ์ พระองค์เจ้าหญิง ๓๖๑ เยียมบุรุก เซอร์เชมสบรุก ๑๑๘ แยกสัน ประธานาธิบดิอเมริกัน ๕๐ โยธาธิบาล หลวง ๓๖๗ โยธานุรับษ์ ขุน ๓๕๑ โยนฮอนเกอร์เชียด ราชทูต ๓๓๗ โยเสฟ นาย ฝรั่ง ๑๗๐ โยเสฟบัลเลศเตีย ทูตอเมริกัน ๖๘ โยเสฟมาเรีย ผู้ครองเมืองมาเก๊า ๔๓๙

ร รณฤทธิ์ หลวง ๒๙๐ รณฤทธิ์พิชัย ขุน ๓๕๓ ระเขง เมือง ๔๗

๔๗๓ รักษ์มนเทียร พระ ๒๖๓, พระยา ๒๖๕ รักษ์รณเรศร กรมหลวง ๖๑ รักษานาถ หลวง ๓๕๓, ๔๑๑, ๔๑๔ รักษาราชฤดี ขุน ๓๐๘ รักษาสมบัติ หลวง ๓๒๗ รังคง เมือง ( ดูย่างกุ้ง ) ๔๗ รัตนกริณี พระ ช้าง ๒๕๐ รัตนพิมพา หลวง ๔๑๒, ๔๑๔ รัตนพิศาล ประตู ๒๙๒, ๓๑๐ ร่างกุ้ง เมือง ๓๘ ราชการ พระคลัง ๕๕ ราชกิจปรีชา ขุน ๓๕๒, ๓๗๕, ๔๑๑, ๔๑๓ ราชโกษา พระ ๕๘ ราชฐานบริคุต พระ ๓๔๙, ๓๕๒, ๓๕๓, ๓๗๔, ๔๑๒, ๔๑๔ ราชนุประดิษฐ์ พระยา ๒๖๓ ราชบริพาร หลวง ๔๑๐ ราชบังสัน พระยา ( บัว ) ๒๒๐ ราชบุรี พระยา ๕๙ ราชภักดี พระยา ๒๕๙, ๒๖๓ ราชภาณุรักษ์ หลวง ๔๑๖ ๖๐ ๔๗๔ ราชมนู หลวง ๑๔๐, ๒๗๘, ๒๘๐, ๓๐๔, ๓๔๐, ๓๗๔, ๔๐๓, ( อาจ ) ๒๒๒ ราชโยธาเทพ หลวง ๒๙๐, ๒๙๕, พระ ๓๕๑, ๓๕๖, ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๓ ราชรินทร์ พระ ๔๑๐, ๔๑๕ ราชฤดี พระที่นั่ง ๒๖๙, ๒๗๖, ๒๙๔, ขุน ๓๓๔ ราชฤทธานนน์ หลวง ๒๔๙, ๒๘๐, ๓๔๘, ๓๕๒, ๓๖๘, ๓๘๒, ๔๑๐ ราชวรดิษฐ์ ท่า ๓๙๘, ๔๓๗, ๔๔๔ ราชวรานุรักษ์ หลวง ๓๕๒, ๓๗๕, ๔๑๐ ราชวรินทร์ พระ ๒๙๐, ๒๙๕ ราชวังเมือง พระ ๔๑๑, ๔๑๔ ราชวังสัน พระยา ๗๐, ๑๓๒, ๒๔๑, ( บัว ) ๑๑๕ ราชสรรพากร พระยา ๔๑๕ ราชสัมภารากร พระยา ๔๑๒ ราชสิทธิ หลวง ๓๕๒ ราชสีหวิกรม กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๑๐ ราชสุภาวดี พระยา ๗๔, ๑๓๖, ๑๘๓, ๒๕๙, ๒๖๓, ( โต ) ๑๑๕, ๒๒๑

๔๗๕ ราชเสวก หลวง ๔๑๑ ราชเสนา หลวง ๔๑๔ ราชาบาล จมื่น ๑๓๓, ( ขุนทอง ) ๒๒๒ ราชามาตย์ จมื่น ๗๔, ๑๒๐, ๑๗๑, ๑๘๔, ( ขำ ) ๑๑๖, ๒๒๒ ราชาอัฎ นาย ๓๓๔ รามกำแหง พระยา ๑๑๙, ( กะต่าย ) ๒๒๐ รามพิชัย พระ ๒๙๐, ๒๙๒, ๒๙๕, ๓๕๑, ๓๕๒, ๓๗๔, ๔๑๐, ๔๑๑, ๔๑๓, ๔๑๕ รามพิชัยเดชะ พระ ๒๙๒ รามรณฤทธิ์ ขุน ๔๑๑ รามรักษา หลวง ๒๙๐, ๒๙๒, ๒๙๕, ๓๕๓, ๓๗๕, ๔๑๑, ๔๑๒, ๔๑๔, ๔๑๕ รามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระ ๑ รำรีย์ เมือง ๔๗ รำเร เมือง ๔๔ ริดซัน นาย ๕๘ รุด หมื่น ๓๕๒, ๓๕๕ รุเธอฟอด นายร้อยโท ๒๓

๔๗๖ รูปสัตว์ เรือ ๒๖๓ เร เมือง ๔๗, ดูที่ เย เรสลิก กงสุลออสเตรีย ๔๔๑ เรือง จมื่นทิพเสนา ๒๒๑ เรือรบฝรั่งเศส ๓๗๗ แรตตเลอร์ เรือไฟ ๒๒๙ โรงปืนนางตานี ถนน ๔

ฤ ฤทธิไกรเกรียงหาญ พระยา ๔๑๐, ๔๑๖ ฤทธิพิชัย ขุน ๓๕๓ ฤทธิสชอน มิสเตอร์ ดูที่ ริดซัน ฤทธิสรเดช หลวง ๗๑, ๑๑๖ ฤทธิสำแดง หลวง ๑๓, ๑๑๖

ล ลาบอน เมือง ๑๒๘ ลำพูน เมือง ๖๐ ลินลาสมุทร เรือ ๓๒๔ ลิสบอน กรุง ๒ ลือแบดมสมดัน เมือง ๓๔๓ ลูกขุน ศาลา ๒๔๖ ๔๗๗ โล นายพันโท ๖๓ โลคอน ทูตฮอลันดา ๓๖๓, ๓๗๑

ว วงศาธิราชสนิท กรมหลวง ๒๑๙, ๒๕๐, ๒๖๘, ๒๗๖, ๒๙๑, ๒๘๑, ๒๙๗, ๓๐๙, ๓๑๑, ๓๑๒, ๓๕๕, ๓๘๖, หลวง ๓๕๓, ๔๑๑, ๔๑๓ วชิรญาณ หอพระสมุด ๑๗ วรจักรธรานุภาพ กรมหมื่น ๒๕๐, ๒๖๘, ๒๘๒, ๓๐๙, กรมขุน ๔๔๓ วรพงศ์พิพัฒน์ พระยา ๒๓๐, ๒๕๙, ๒๘๗, ๓๐๘, ๓๖๑ วรรณไวทยากร หม่อมเจ้า ๒๒๙, ๒๓๓, ๒๓๕ วรวาที หมื่น ๒๑๖ วรศักดาพิศาล กรมหมื่น ๒๕๐, ๒๘๑, ๓๐๙, หมื่น ๒๗๔ วายุภักษ์ เรือ ๒๕๗ วิกตอเรีย สมเด็จพระนาง ๑๒๘, ๔๑๓ วิจารณ์ หลวง ๒๙๐ วิจารณโกษา หลวง ๒๙๔, ๓๔๘, ๓๕๓, ๓๕๖, ๓๗๔, ๔๑๑, ๔๑๔ ๔๗๘ วิจิตร์จอมราช ขุน ๔๑๐ วิชิโกโร ๓๓๔, ๓๔๓ วิชิตชลหาญ ขุน ๔๑๑, ๔๑๔ วิชิตณรงค์ พระยา ( ฟัก ) ๒๒๐, ( แก้ว ) ๒๒๒, พระยา ๔๑๑, ๔๑๓ วิชิตสรไกร หลวง ๓๕๒, ๔๑๒, ๔๑๕ วิเชียร หลวง ๓๕๘ วิเชียรคิรี เจ้าพระยา ( เม่น ) ๒๒๑ วิชเยนทร์ ฝรั่ง ๑๙๓ วิมลรัตนกริณี พญาช้าง ๔๐๐, ๔๓๕ วิลันดา ดูที่ฮอลันดา วิลาศ เจ้า ๑๒๐, เมือง ๑๒๒, ๒๔๓ วิเศษ พระคลัง ๕๒ วิเศษชัยศรี ประตู ๔, ๒๖๒, ๒๖๕, ๒๖๖, ๒๘๙, ๓๑๕, ๓๒๒, ๔๓๕ วิเศษธานี หลวง ๓๕๘ วิเศษศักดา พระยา ๗๐, ๑๑๖ วิเศษสงคราม ขุน ๒๙๕, ๓๕๑, พระยา ๗๒, ๑๑๔, ๒๑๕, ( จัน ) ๑๑๖, ๒๒๑ วิเศษสมบัติ ขุน ๓๕๓ วิเศษสุริยงค์ หลวง ๓๕๒

๔๗๙ วิเศษอักษร หมื่น ๓๑๓ วิศณุนาถนิภาธร กรมหมื่น ๓๙๔ วิสูตรรัตนกริณี พระ ช้าง ๒๔๖ วิสูตรสมบัติ หลวง ๔๑๑, ๔๑๔ วุฒสรเดช หลวง ๗๑, ๑๑๖ วุฒามาตย์ หลวง ๓๒๗ เวนตรีดาตอบ เรือกลไฟ ๔๐๗ ไวเกาปลมะสตัน หลอด ๑๒๑, ดูที่ ปลมะสตัน ไวยวรนาถ พระนาย ๖๙, ๗๔, ๒๓๐, ( ช่วง ) ๑๑๖, จมื่น ๑๑๙, ๑๗๐, ๑๘๓, ๒๒๑, เจ้าหมื่น ๒๘๓, อุปทูตไทย ๓๗๘

ศ ศรีคงยศ หลวง ๓๕๕, ๔๑๒, ๔๑๔ ศรีทรงยศ หลวง ๓๕๕ ศรีทิพโภชน์ หลวง ๓๒๗, ๓๕๘ ศรีพิพัฒนรัตนราชโกศา พระยา ๖๘, ๗๔, ( ทัต ) ๑๑๕, ๑๓๕, ๑๗๐, ๑๘๓, ๒๑๙, ๒๕๙, ๒๖๓, ราชทูตไทย ๓๗๘ ศรีโยวภาษ หลวง ๑๗๐

๔๘๐ ศรีเยาวภาษ หลวง ๒๒๑ ศรีรณรงค์ หลวง ๔๑๒, ๔๑๕ ศรีรัตนศาสดาราม วัด ๒๖๒, ๒๖๕, ๒๖๖, ๓๒๑, ๓๓๓, ๓๗๐ ศรีราชเดโชชัย พระ ๔๑๐, พระยา ๔๑๖ ศรีราชบุตร หลวง ๓๒๗ ศรีวังราช ขุน ๔๑๑ ศรีสยุมพร ขุน ๒๕๓, ๓๑๕, ๔๐๐ ศรีสหเทพ พระ ๒๔๗, ๒๗๙, ๒๘๙, ๓๑๐, ๓๒๑ ศรีสักหลาด เรือพระที่นั่ง ๓ ศรีสังหาร ขุน ๓๕๓, ๔๑๑, ๔๑๔ ศรีสุนทร ประตู ๓๒๒ ศรีสุริยวงศ์ พระยา ( ช่วง ) ๑๑๖, เจ้าพระยา ( ช่วง ) ๒๒๑, ๒๒๙, ๓๑๒ ศรีอยุธยา พระมหานคร ๒๑, ๑๒๘, ๑๗๒ ศักดิชัยสิทธิ์ ประตู ๓๒๒ ศักดิบริบาล จมื่น ๑๓๓, ๒๒๒ ศาสนา ๑๘๘ ศิริไอศวรรย์ พระยา ๒๖๓ เศวตสุวรรณาภา พญาช้าง ๔๐๐

๔๘๑ ส สกลพิมาน หลวง ๓๕๒, ๓๕๘ สกอส มิสเตอร์ ๔๔๐ สงขลา เมือง ๒๒๑ สตัด กำปั่น ๘๖ สถิตย์สถาพร กรมขุน ๒๕๐ สะเปญ เริ่มมีไมตรีกับไทย ๑ สมิท มิชชันนารี ๗๕, ๑๑๗ สมุทรบุรานุรักษ์ พระยา ๒๔๑, ๒๙๖, ๓๘๗, ๔๐๔ สมุทรปราการ เมือง ๖๙, ๑๑๙, ๒๖๕, ๓๘๗ สยามอรสุมพล พระที่นั่ง ๒๘๓ สรรสำแดงฤทธิ์ หลวง ๓๗๔ สรรพศิลปปรีชา กรมขุน ๒๘๑, ๓๐๙, กรมหลวง ๒๕๐ สรรพเพธภักดี จมื่น ๒๓๐, เจ้าหมื่น ๒๖๗, ๒๙๗, ๒๙๓ สรวะ เมือง ๑๒๘, ๑๓๒ สรสิทธิราช ขุน ๒๒๒ สลางอ เมือง ๖๒, ๑๗๕ สลุด ยิง ๒๓๓ ๖๑ ๔๘๒ สวัสดิ์ พระมหามนตรี ๑๑๖, จมื่นมนเทียร พิทักษ์ ๒๒๒ สวัสดินัคเรศ หลวง ๓๕๘ สวัสดิวารี พระยา ๗๔, ๑๘๔, ( ฉิม ) ๑๑๖, ๒๒๐ สวัสดิสาลี ขุน ๔๑๒, ๔๑๕ สวัสดิอุดม หลวง ๓๒๗ สะดะลัน กัปตัน ๔๙ สังขวิชิต หลวง ๔๑๒ สัญญา ร่าง ๑๕๕, ๑๖๖ สากรีเตเลอ ประธานาธิบดีอเมริกัน ๑๐๘ สางกำแหงหาญ เรือ ๓๒๔ สางชาญชลสินธุ์ เรือ ๓๒๔ สามภพพ่าย พระยา ๒๙๕, ๓๗๕ สำปาหลัง เมือง ๑๘๑ สำเร็จประแดง ขุน ๕๔ สิกเดน เรือกลไฟฮอลันดา ๔๐๓ สิงหบุรี เมือง ๑๔๘, ดูที่ สิงคโปร์ สิงคโปร์ เมือง ๑๘, ๒๐, ๓๖, ๖๕, ๑๗๘, ๓๗๔, ๓๘๔ สิงหโปรา เมือง ๖๙, ดูที่ สิงคโปร์

๔๘๓ สิงหรา พระองค์เจ้า ๔๐๘ สิทธิ์จอมราช ขุน ๓๗๕ สิทธิแสนยารักษ์ จมื่น ๑๓๓, ๒๒๒ สินค้า พระคลัง ๕๕ สีชัง เกาะ ๓๖ สีหราชเดโชชัย พระยา ๒๙๐, ๒๙๑, ๒๙๕ สีหราชฤทธิไกร พระยา ๒๕๙ สุก พระยาสุรเสนา ๑๑๕, เจ้าพระยายมราช ๒๒๐ สุทไธศวรรย์ พระที่นั่ง ๓๔๐, ๓๔๔, ๓๔๕, ๓๖๖, ๓๙๖, ๔๒๑, ๔๓๔ สุธรรมมนตรี เจ้าพระยา ( บุญศรี ) ๑๑๕, ๒๑๙ สุธรรมไมตรี พระ ๒๔๓ สุธาพิทักษ์ หลวง ๓๒๗, ๓๕๑ สุนทร ประตู ๒๙๐ สุนทรนุรักษ์ พระ ( เม่น ) ๒๒๑ สุประดิษฐ์ พระองค์เจ้า ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๑๐ สุรวงศ์ไวยวัฒน์ พระยา ๓๙๕, ๔๐๔, ๔๒๔, ๔๒๙, ๔๓๒, ๔๓๓ สุรสาคร หลวง ๑๐, ๔๒

๔๘๔ สุรเสนา พระยา ๓๘, ๗๐, ๗๔, ๑๓๖, ๒๕๙, ๒๖๓, ( สุก ) ๑๑๕, ๒๒๐, ( สวัสดิ์ ) ๑๑๖ สุรัต แขก ๑๙๑ สุริยภักดี พระ ๗๔, ( นุช ) ๑๑๖ สุริยวงศ์โกษา พระยา ๒๙ สุริยวงศ์มนตรี พระยา ๑๒, ๑๙, ๒๔, ๒๙ สุรินทรรักษ์ กรมหมื่น ๔๐๘ สุรินทรราชา หมื่น ๓๔๐ สุรินทรศักดิ์ สมิง ๔๑๑, ๔๑๕ สุเรนทรวิชิต หลวง ๔๑๒, ๔๑๔ สุวรรณภักดี หลวง ๕๓ สุหนี่ แขก ๑๙๑ เสง หมื่นพิพิธอักษร ๒๒๐ เสถียรรักษา นาย ปลัดวังขวา ๒๔๙, ๒๘๐, ๒๘๖, ๒๙๒, ๓๖๗, ๓๘๒ เสนพล หลวง ๓๕๓ เสน่ห์วิชิต หลวง ๓๗๕ เสนาภิมุข หลวง ๓๕๑, ๓๗๔, ๔๑๒, ๔๑๔ เสนาภูเบศ พระยา ๒๖๓ เสพสหายไมตรี เรือพระที่นั่ง ๓๔๙, ๓๙๔

๔๘๕ เสเรียน เมือง ๔๔ เสือ พระยาเพ็ชรพิชัย ๒๒๑ แสง จมื่นมหาสนิท ๒๒๑ ไสวาติก แผ่นดิน ๓๔๓

ห หน้า วัง ๓๒๕ หนูใหญ่ พระยาอุทัยธรรมราช ๒๒๑ หมวก ฮอลันดาถวาย ๔๑๘ หมาก เกาะ ดูที่ เกาะหมาก หมาเก๊า ดูที่ มาเก๊า หลวง วัง ๓๒๕, สนาม ๓๔๘ หลอคอร ดูที่ โลคอนดับ หลุยที่ ๑๔ พระเจ้า ๕๘ หวันเซฟองกรีด กัปตัน ๔๐๕ หอ พระมาลาภูษา ๓๑๓ หันแตร นาย ๑๘๖, ดูที่ ฮันเตอร์ ๓๗ หัวเนียกุย เมือง ๑๐๙ หินเล มิสเตอร์ ๓๐๗ หุยวาน เมือง ปากน้ำ ๑๑๐ เหมกฝากร กัปตัน ๔๙

๔๘๖ เหม็น พระยาพิชัยรณฤทธิ์ ๒๒๐ เหราล่องลอยสินธุ์ เรือ ๒๕๗, ๓๒๔, ๔๓๖ เหราลินลาสมุทร เริอ ๒๕๗, ๔๓๖ เหรียญ ๒๐๘ เหา หมอ ๑๑๗ ใหญ่ นาย ๑๑๗

ฮ ฮ่องกง เมือง ๑๐๙, ๒๓๕, ๒๔๓ ฮอลันดา ๑๙๑, เริ่มมีไมตรีกับไทย ๑, กำปั่น ๕, แต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ๓๓๗, ๓๙๗, แลกเปลี่ยนหนังสือ สัญญา ๓๖๓, ถวายหมวก ๔๑๘ ฮอไวมัดเซล ทูตฮอลันดา ๔๐๒ ฮันเตอร์ นาย ชาวอังกฤษ ๓๗ ฮารีปากส์ ทูตอังกฤษ ๒๗๑ ฮำเบอ เมือง ๓๔๓ เฮนรีเบอร์นี นายร้อยเอก ๔๑, ๑๒๓, ๑๓๘, ๑๔๔, ๒๑๕ เฮส์ นายยิ้ม ๑๑๗, ๑๘๗ เฮาส์ หมอ ๑๑๗

๔๘๗ แฮมไสวาติก ประเทศ ๓๔๓ แฮรี มิสเตอร์ ๒๙๖ แฮรี่ปากส์ กงสุลอังกฤษ ๒๓๙

อ องค์น้อย สมเด็จเจ้าพระยา ๓๑๒ องค์ใหญ่ สมเด็จเจ้าพระยา ๓๑๑, ๓๑๗, ๔๓๓ องตนวีเสน แขกเมืองโปตุเกศ ๒ อดุลยลักษณสมบัติ กรมหมื่น ๒๘๒, ๓๑๐ อนันตสมาคม พระที่นั่ง ๓๓๗, ๓๖๓, ๓๖๖, ๓๖๗, ๓๖๙, ๓๘๙, ๓๙๓, ๔๐๒, ๔๑๖, ๔๑๗, ๔๒๐, ๔๓๐, ๔๓๖, ๔๔๑, ๔๔๔ อนุชิตชาญชัย พระยา ๑๔๔, ๒๙๘, ๔๑๒ อนุรักษ์ภักดี หลวง ๓๕๒, ๓๗๕, ๔๑๒, ๔๑๔ อนุรักษ์โยธา พระ ๓๕๒ อภัยนุราช พระยา ( ปัศนู ) ๒๑ อภัยพลรบ พระ ๑๑๙, ๑๔๐, ( แก้ว ) ๒๒๒ อภัยพานิช หลวง ( กาลส มันแวนต์ สิลไวร์ ) ๑๖ อภัยพิทักษ์ หลวง ๒๙๐, ๒๙๒, ๒๙๕, ๓๕๒, ๓๕๖, ๓๗๔ ๔๘๘ อภัยพิพิธ พระยา ( กระต่าย ) ๒๒๐ อภัยภูธร เจ้าพระยา ๒๒๒ อภัยรณฤทธิ์ พระ ๓๕๒, พระยา ๔๑๓, ๔๑๘ อภัยสุรินทรรักษษ์ พระ ๓๕๑ อภัยเสนา หลวง ๒๙๑, ๒๙๔, ๔๑๑, ๔๑๕ อภิบาลภูวนาถ หลวง ๓๕๒, ๓๗๕, ๔๑๐, ๔๑๖ อมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่ง ๖๐, ๑๗๐, ๒๔๕, ๒๔๖, ๓๐๗, ๓๒๘ อมเรนทรบดินทร กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๐๙ อเมริกัน ๒๖๙, เรือค้าขาย ๑๙, มีไมตรีกับไทย ๕๐, ขอแก้หนังสือสัญญา ๖๗, หมอ สอนศาสนา ๑๘๙, กงสุล ๓๓๕, ๓๓๙ อรบ เมือง ๔๗ อรสุมพลาภิบาล พระ ๓๙๕, ๔๐๔, ๔๒๔, ๔๒๙ อรุณราชวราราม วัด ๒๕๗ อเรนทรชาติสังหาร หลวง ๓๒๗, ๓๕๓, ๓๕๘, ๔๑๑, ๔๑๕ อลงกฎกิจปรีชา กรมหมื่น ๒๕๐, ๒๘๑, ๓๐๙ อสุรวายุภักษ์ เรือ ๓๕๓, ๓๖๕ อหิวาตก โรค ๑๖

๔๘๙ ออกแดรม เรือกลไฟ ๓๐๗ ออเล็ต กัปตัน ๖๙, ๑๑๙ ออสเตรีย ทูต ๔๒๘, กงสุล ๔๔๑ อักษรประเสริฐ ขุน ๒๔๘ อังกฤษ เริ่มมีไมตรีกับไทย ๑, ๑๘, แต่งทูต เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ๒๒๕, กงสุล ๓๐๗, ๓๗๒, ๓๘๙, ๔๐๕, ๔๑๖, ๔๑๗, รบกับพะม่า ๓๗, ๑๙๑, สมเด็จพระราชชนนี สวรรคต ๓๗๓ อัคเรศวรนาฎ เรือพระที่นั่ง ๔๒๔ อังวะ กรุง ๓๗, ๑๖๕ อัตราคดี หมื่น ๔๑๑ อันเรยักซอน ๕๖ ดูที่ แยกสัน อัพภันตริกามาตย์ พระยา ๔๑๑, ๔๑๓ อัศโยปนิกา เรือ ๔๒๔ อัสสัม เมือง ๓๗

อา อาเก็บ ตนกู ๖๔ อาจ หลวงราชมนู ๒๒๒ ๖๒ ๔๙๐ อาจณรงค์ หลวง ๗๑, ๑๑๖ อาชีบัลด์ แคมป์เบล เซอร์ แม่ทัพเรืออังกฤษ ๓๘ อารกัน เมือง ๔๔ อาเลกซันเด กัปตัน ๓๘๗ อาเลกซันเดอลูกอน ดูที่ โลคอนดับ อาสรร เมือง ๔๔ อาสัน ตนกู ๖๔ อาหนุ่ม ตนกู ๖๔ อาหรับ แคว้น ๒๖ อำแหด ดูที่ แอมเฮิสต์

อิ อินเดีย อาณาจักร ๒๕ อินทรโกษา หลวง ๓๕๘ อินทรเดช พระ ๒๙๐, ๒๙๕, ๓๕๓, ๓๗๕, ๔๑๐, ๔๑๕, ๔๑๖, ๔๑๘ อินทรเทพ พระ ๒๙๘, ๔๑๐, ๔๑๖, ๔๑๘ อินทรรักษา ขุน ๒๙๑, ๒๙๕, ๓๕๑, ๓๕๖, ๓๗๔, ๓๗๕ อินทรสมบัติ หลวง ๓๕๕ อินทรเสนา จมื่น ๑๓๔, ( เอี่ยม ) ๒๒๒

๔๙๑ อินทราทิตย์ พระ ๓๕๒ อินทโรดม หลวง ๓๕๓, ๔๑๒, ๔๑๔ อิยันเต เรือกำปั่น ๑๑ อิสต์อินเดีย บริษัท ๕๘ อิศรานุภาพ พระยา ( เอี่ยม ) ๒๒๒ อิศราภัย พระ ๓๕๒ อิศราวินิจฉัย พระที่นั่ง ๓๓๔ อิศเรศรังสรรค์ เจ้าฟ้ากรมขุน ๖๙, ๑๑๕, ๑๓๖, ๑๗๑, ๒๑๙

อุ อุณาโลม พระราชลัญจกร ๓๑๒ อุดม หมื่น ๕๔ อุดมรัตนราษี กรมหมื่น ๒๕๑, ๒๘๒, ๓๑๐ อุดมลักษณสมบัติ กรมหมื่น ๒๕๑ อุทัยธรรมราช พระยา ๑๒๐, ๑๓๖, ( หนูใหญ่ ) ๒๒๑

เอ เอกชัย เรือ ๒๖๒ เอกาทศรฐ สมเด็จพระ ๑

๔๙๒ เอดมันต์รอเบิต ทูตอเมริกัน ๕๐, ๕๑, ๕๖, ๗๖ เอราวดี แม่น้ำ ๓๘ เอี่ยม จมื่นอินทรเสนา ๒๒๒

แอ แอมเฮิสต์ หลอด ๔๑

โอ โอเดน เรือกลไฟ ๓๘๗ โอบาเรด์ มองสิเออร์ ๔๐๗


งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก