ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๘

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๘ จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ ตอนที่ ๒

ที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพ สมบุญ สิงหเสนี ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑

พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ


สมบุญ สิงหเสนี ชาตะ ๒๔๐๘ มรณะ ๒๔๗๙ คำนำ นายถนอม สิงหเสนี ( พ.ต. หลวงไกรธามาตย์ ) มาแจ้งความจำนงว่า จะขอรับเรื่องเกี่ยวจดหมายเหตุ ไปพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพ สมบุญ สิงหเสนี ผู้เป็นมารดา สมบุญ สิงหเสนี บุตรีนายกีดและสำริด ตำบลบ้านบุ่งสินนะวา อำเภอวังกระโจม จังหวัดนครนายยก เกิดเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นภรรยามหาอำมาตย์ตรี นายพันตรี พระยาไกรโกษา ( ทัด สิงหเสนี) มีบุตรคนเดียว คือ นายถนอม สิงหเสนี ( พ.ต. หลวงไกรธามาตย์ ) สมบุญ สิงหเสนี มีอายุเจริญมาถึงปีที่ ๗๑ เริ่มป่วยเป็นโรคไตพิการ และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ กรมศิลปากรเห็นว่า ถ้าได้พิมพ์จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ เป็นที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพคราวนี้จะสมควรอย่างยิ่ง เพราะว่า เรื่องราวที่ปรากฎในจดหมายเหตุนั้นเกี่ยวเนื่องกับประวัติท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ ) ซึ่งเป็นต้นสกุลสิงหเสนี ก็มีอยู่หลายประการ และเวลานี้ กรมศิลปากรกำลังรวบรวมจดหมายรายงานทัพ, ใบบอก, ท้องตรา, หมายรับสั่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนสมัยนั้น จัดเข้าเรื่องตามลำดับปี แล้วทำคำอธิบายเหตุการณ์โดยย่อเป็นปี ๆ ไป สำหรับนำทางให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ง่าย และสอบสวนข้อความ



ข ประกอบความรู้ทางประวัติศาสตร์ตอนนั้นโดยสะดวก เรื่องนี้กรมศิลปากรเก็บรวบรวมไว้มาก จะเป็นเครื่องมือสำคัญของนักศึกษาประวัติศาสตรในกาลต่อไป ที่จัดให้พิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๘ นับเป็นตอนที่ ๑ คือเหตุการณ์ตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๗๕ จนถึง ปีกุน พ.ศ. ๒๓๘๒ ส่วนที่พิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๘ นี้ นับเป็นตอนที่ ๒ คือเหตุการณ์ส่วนหนึ่งในปีชวดพ.ศ. ๒๓๘๓ กรมศิลปากรขออนุโมทนากุศล ที่นายถนอม สิงหเสนี ( พ.ต. หลวงไกรธามาตย์ ) บำเพ็ญเป็นปฎิการะแด่สมบุญ สิงหเสนี ผู้มารดาตามวิสัยกตะเวทีบุคคลเป็นลำดับมา เพื่อเพิ่มพูนมนุญญานิสงส์ ให้สำเร็จตามควรแก่คติในสัมปรายภพทุกประการ

กรมศิลปากร วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑





จดหมายเหตุ เกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ ตอนที่ ๒ เหตุการณ์ในปีชวด พ.ศ. ๒๓๘๓

ญวนสั่งกองทัพมากำกับเมืองเขมร และเข้าควบคุมการบ้านเมืองเขมร ด้วยหวังจะรวบรัดตัดตอนเมืองเขมร เอารวมเข้าไปไว้ในอาณาจักรญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) สมุหนายกเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกออกไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพัตบอง คอยคุมเชิงระวังมิให้ญวนรุกล้ำเข้ามา และคอยทนุบำรุงเขมรเท่าที่จะมีโอกาสช่วยได้ แต่เพื่อจะให้ทราบเหตุการณ์ครั้งนั้นตลอด จำเป็นจะต้องเล่าถอยขึ้นไปถึงเรื่องเดิม ที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระทบกระทั่งขึ้น ในระหว่างไทยกับญวนติดต่อเป็นลำดับมา คือ เดิมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีพระราชไมตรีเกี่ยวเนื่องกับญวน ครั้นพระเจ้าเวียดนามยาลอง ( องเชียงสือ ) แพ้กบฎไกเซินแตกหนีมา ฝ่ายไทยช่วยทนุบำรุงญวน จนเมื่อพระเจ้าเวียดนามยาลองปราบกบฎราบ ๑



๒ คาบแล้ว ต่อมาพระเจ้าเวียดนามยาลองอยากจะได้เมืองพุทไธมาศของไทย จึงไล่เจ้าเมืองเก่าออก และตั้งขุนนางญวนมาเป็นแทน แล้วมาทูลขอภายหลัง ก็ได้เมืองพุทไธมาศไปโดยสะดวก มาในรัชกาลที่ ๒ ญวนยังกันเอาเมืองเขมรไปเป็นสิทธิ์ของตนเป็นเหตุให้ไทยไม่พอใจมาก แต่ก็ยังพยายามรักษาทางพระราชไมตรีให้คงอยู่เป็นปกติ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ ญวนกันเอาเขตต์แดนเมืองเวียงจันท์ตอนบนไปอีกเล่า ฝ่ายไทยจึงเหลือที่จะอดกลั้น พอเกิดกบฎขึ้นในเมืองญวนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ ไทยเห็นเป็นโอกาศสมควรจะทำตอบญวนบ้างจึงสั่งกองทัพออกไปทั้งทางบกทางเรือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปทางบก เจ้า พระยาพระคลัง ( ดิศ บุญนาค ) เป็นแม่ทัพเรือ บังเอิญกองทัพเรือไปทำการอ่อนแอ ในที่สุดต้องถอยทัพกลับหมด กองทัพเรือถอยมาตั้งพักอยู่จันทบุรี ฝ่ายกองทัพบกยกมาตั้งมั่นอยู่เมืองพัตบอง องเตียนกุนแม่ทัพญวนทราบว่ากองทัพไทยถอยหมดแล้ว ก็ให้องค์จันเบยี่พาสมเด็จพระอุทัยราชากลับมาตั้งอยู่ที่เมืองพนมเป็นอีก ต่อมา พ.ศ. ๒๓๘๒ เจ้าองค์อิ่ม ซึ่งไทยช่วยทนุบำรุงให้ปกครองเมืองพัตบอง อยากจะไปเป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชา เพราะรู้ไม่เท่าความคิดญวน เอาใจออกหากจากไทย ลอบกวาดต้อนครัวเมืองพัตบองหนีไปเมืองพนมเป็น แต่พระพิทักษ์บดินทร ( โสม )


๓ พระนรินทรโยธา ( นอง ) ยกมาสะกัดกันเอาครัวไว้ได้ พอข่าวทราบมาถึงกรุงเทพ ฯ ก็โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เป็นแม่ทัพใหญ่ รีบยกออกไปเมืองพัตบองทันที เจ้าองค์อิ่มไปอยู่เมืองพนมเป็น ญวนก็จับส่งไปเมืองเว้ หาได้สนับสนุนให้เป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชาไม่ รุ่งขึ้น พ.ศ. ๒๓๘๓ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ยกไปล้อมเมืองโพธิสัตว์จับญวนได้มาก แต่แล้วก็ปล่อยญวนชะเลย เหล่านั้นกลับคืนไปหมด เพื่อซ้อนความคิดของญวน ซึ่งมีเรื่องราวเป็นหลักฐานปรากฎอยู่ในเอสารต่อไปนี้







ฉะบับที่ ๑ ย่อความใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี )

วัน เดือนยี่ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ( ๒๓๘๓) ปล่อยญวนเมืองโพธิสัตว์ไปทางบกชาย ๑๕๐๐ คน ไปทางเรือชายหญิง ๘๐๐ คน (รวมเป็น) ๒๓๐๐ คน จดหมายตำรวจที่ ๗ ว่าทั้งทางบกทั้งทางเรือเป็นญวนชายหญิง ๒๓๔๔ คน วันศุกรเดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีชวดโทศก ( พ.ศ. ๒๓๘๓ ) จหมื่นสรรเพ็ชญ์ภักดี หลวงนายสิทธ์ หมื่นราชฤทธิ หมื่นจินดารักษ์ ตำรวจที่ ๘ ถือหนังสือบอก ฯ พณ ฯ สมุหนายกเข้ามาแจ้งราชการณ กรุงเทพ ฯ เป็นหนังสือบอก ฯ พณ ฯ ด้วยส่ง.......โพธิสัตว์ ๑....... ......ญวน ส่งกระวาน ๑ ส่งครัวเมืองพ้อง ส่งครัวเมืองพลาน ส่งครัวเมืองชุมพร ๑ ส่งเงินส่วย ( เป็น ) ๓ สำเนาหนังสือ ฯ พัณ ฯ มีไปเถิงองค์ผู้ใหญ่เมืองเว้ ๑ หนังสือสัญญาญวนฉะบับ ๑ ( เป็น ) ๒ ต้นหนังสือญวนฉะบับ ๑ ( รวมเป็น ) ๖ ต้นหนังสือขุนนราบริรักษ์ ต้นหนังสืออุปหาดเมืองอุบล ด้วยครัวพระอินศรีเชียงใหม่ ๑ ต้นหนังสือหลวงกำจร ต้นหนังสือขุนนาถจำนง ว่าด้วยครอบครัวตัวเลขเมืองพ้องหนีไปชำระได้ ๑ ครัวเมืองพ้อง เมืองพลาน กับส่งเงินส่วย ๑


๕ (เป็น ) ๒ หางว่าวจำนวนครัวเมืองชุมพรเก่าใหม่ ๑ ( เป็น ) ๔ ( รวมเป็น ) ๑๐ ฉะบับ ยังไม่ได้บอก กับส่งญวนเขมรจับได้ที่เมืองบริบูรณ์ส่งเข้ามา อ้ายสวาผัว ๑ อีเตียบเมีย ๑ ( เป็น ) ๒ บุตรอีเตียงแลน ๑ ( เป็น ) ๓ อีหมาย ๑ บุตรอีเกรียงลุน ๑ ( เป็น ) ๒ อ้ายติแลน ๑ อีสวาแลน ๑ ( เป็น ) ๒ ( รวมเป็น ) ๗ คน ให้หลวงศรีสมบัตินายกองเกวียนเมืองกบินทร์คุมมายังไม่เถิง ไปบอก ฯ พณ ฯ สมุหนายกว่าได้ยกมาเมืองปัตบองณวันแรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ พระยาสังขโลก พระหลวงขุนหมื่น นายไพร่ ๖๐๐ คน เมืองตะคร้อนายไพร่ ๒๐๐ คน เมืองกรองนายไพร่ ๒๐๐ คน เมือง ขลุงนายไพร่ ๑๐๐ คน (รวมเป็น ) ๑๑๐๐ คน สิ่งของในค่ายเมืองโพธิสัตว์ ( คือ ) ข้าวสาร ๑๓๐ เกวียน ข้าวเปลือก ๑๒๐ เกวียน ปืนใหญ่เหล็กกระสุน นิ้ว ( เป็น ) ๓ ปืนใหญ่ทองกระสุน ๒ นิ้ว ( เป็น ) ๒ ( รวมเป็น ) ๕ ปืนหามแล่นเหล็ก ๒๓ ปืนหามแล่นทอง ๑๓ รวมเป็น ๓๖ ปืนคาบศิลาดีมีเครื่องพร้อม ๒๘ ปืนคาบศิลามีแต่ลำกล้อง ( เป็น ) ๓๒ ปืนคาบชุด ๒๘๐ กระสุนใหญ่ นิ้ว ๑๑๓ กระสุน กระสุนหามแล่น ๑๕๑๔ กระสุน กระสุนคาบศิลา ๑๖๒๒๐ กระสุน ดินดำหนัก ๑๔ หาบ ๓๓ ชั่ง ดินประสิวขาว ๒๖ หาบ ๘๐ ชั่ง สุพัณถัน ๕ หาบ ๔๓ ชั่ง เขนงไม้ ๑๘๖ อัน ลูกหน้าไม้ ปลายเหล็ก ๓๙๐ อัน โล่ ๔๙ บาน ดาบยาว ๕ ดาบสั้น ๒ ( เป็น )


๖ ๗ เล่ม ฆ้องโหม่งใหญ่ ๑ ฆ้องโหม่งเล็ก ๒ ( เป็น ) ๓ ใบ เหล็กก้อน ๓๔ ก้อน เสียม๑๒ เล่ม ขวานหมู ๑๓ เล่ม ผาล ๑๒๐ เล่ม ทวนมีด้าม ๑๐๖๑ เล่ม ทวนไม่มีด้าม ๒๐ เล่ม ( รวมเป็น ) ๑๐๘๑ เล่ม พลุ ๒๕ ดอก ใต้ขวาก ๓๒๘ ดอก ใต้ใหญ่ ๔ ดอก ขวากหลุมเหล็กติดกระดาน ๕๘ แผ่น อยู่รักษาค่ายจาอุย ๓ ค่าย ไกลกับเมืองโพธิสัตว์ ๘๐๐ เส้น พระยาปราจิน พระรามพิชัย พระชนะ รณชิต พระวิชิตสงคราม พระยกรบัตร์ โคราช นายไพร่ ๑๒๐๐ ( เป็น ) ๓๓๘๓ คน ลาวท่าส้าน เมืองสุพรรณ เมืองลพบุรี เมืองอินท์ ปืนใหญ่จ่ารง ๑ ปืนใหญ่สัมมาทิษฐิ ๓ ปืนใหญ่ฤทธิฦาชัย ๑ ( เป็น ) ๕ บอก. ปืนสำหรับเมืองปัตบอง ๑๑ ( เป็น ) ๑๖ บอก ปืนหามแล่น ๓๐ ปืนคาบศิลา ๑๕๐๐ ดินดำหนัก ๓๐ หาบ เมืองขลุง เมืองกรองกับครัวเมืองตะคร้อใกล้กะพงหลวง ให้ญวนเข้ามาอยู่ เมืองโพธิสัตว์ คำขอพระยาพิพัฒนอกราชการล่ามญวน บอกมาณ วันแรม ๑๒ ค่ำเดือนยี่ ฉะบับหนึ่งว่าหลวงกำจรใจราช ขุนนาถจำนง ขุนนราบริรักษ์ ข้าหลวงอุปหาดราชวงศ์เมืองอุบล บอกส่งทองเงินสิ่งของแทนเงินส่วยให้ หมวดพรม หมื่นทิพ คุมลงมาเมืองอุบล ทองคำผุย ๑ ตำลึง ๑ บาท เงินตราไทย เงินตราลาว เงินแน่น..... เงินน้ำหักคิดเป็นเงิน ๘ ชั่ง ๑ ตำลึง ๑ เฟื้อง ส่งเมืองปาสัก ทองคำผุย ๑๒ ตำลึง ๓ บาท


๗ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เงินตราไทย เงินตราลาว เงินแท่งมีด เงินราง เงินแน่นตู เงินน้ำหก คิดเป็นเงิน ๒๓ ชั่ง ๕ ตำลึง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ของแทนเงินส่วยส่งตามระยะทางเมืองอุบล เร่ว ๒ หาบ ๔๐ ชั่ง ครั่ง ๓ หาบ ๖ สลึง สีผึ้ง ๑ หาบ ๑๗ ชั่ง ไหม ๑ หาบ ๙๗ ชั่ง ๘ ตำลึง เมืองปาสักเร่ว ๗ หาบ ๑๖ ชั่ง ครั่ง ๖๐ ชั่ง สีผึ้ง ๔๕ ชั่ง กับ เกลี้ยกล่อมได้ ครัวเมืองพ้อง เพี้ยวงศ์ไชยา ชายหญิง ๑๑๗ คน ครัวพระอินศรีเชียงใหม่ เมืองชุมพรตั้งอยู่บ้านพโลกชายหญิง ๑๖๐ คน ( เป็น ) ๒๗๗ คน กับชำระได้เก่าใหม่ฉกรรจ์ ๔๔๙ คน ครัว ๑๗๑๗ คน ( เป็น ) ๒๑๖๖ คน เลกเมืองพ้องหนีไปแอบแฝงชำระได้เมืองปาสัก เมืองคำทองใหญ่ชายหญิง ๑๕ คน มอบให้ขุนป้องพลขันธ์ไว้ แต่ เงินส่วย ๓๑ ชั่ง ๖ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้องนั้นเอาไว้ในกองทัพ แต่ทองคำผุย ๑๓ ตำลึง ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ๑ ไพมอบให้จะหมื่นสรรเพ็ชญ์ภักดีคุมเข้ามาส่ง บอกมาวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ กระวานจัดซื้อมาหาบละ ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ส่งเข้าครั้งก่อน ๑๓ หาบ ครั้งนี้เก่า ๗ หาบ ใหม่ ๑๕ หาบ ๒๒ หาบ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๕๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ฯ พณ ฯสมุหนายกบอกขอเงิน.......ส่วยไว้กับเงินหลวงพระราชทานออกไปจากกรุง ฯ เป็นเงินปีกุนเงินหลวงพระราชทานแรกยกออกไป ๓๐ ชั่ง เมืองปาสัก ๗ ชั่ง ๑๑ ตำลึง ๓ สลึง เงินส่วยเมืองสีทันดร ๑๗ ชั่ง ๘ ตำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เมืองอุบล ๒ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๒ บาท


๘ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เมืองแสนปาง ๓ ชั่ง ๑๒ ตำลึง ๑ บาท (เป็น ) ๓๑ ชั่ง ๖ ตำลึง ๑ บาท ( เป็น ) ๖๑ ชั่ง ๖ ตำลึง ๑ บาท เงินหลวงพระราชทานออกไป ๒๓๐ ชั่ง เงินค่านาเมืองนครราชสีมา ๒๒๗ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๒ บาท ๑ เฟื้อง เงินส่วยกองนอกพระราชวังบวร ๑๓ ชั่ง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ( เป็น ) ๑๔๐ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๓ บาท เงินส่วยเมืองปาสัก ๕๒ ชั่ง ๓ ตำลึง ๑ เฟื้อง เมืองอุบล ๔๙ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๑ บาท ๑ เฟื้อง เมืองสีทันดร ๔๔ ชั่ง ๔ ตำลึง ๒ บาท ๒ สลึง เมืองแสนปาง ๓ ชั่ง ๑๒ ตำลึง ๑ บาท ( เป็น ) ๑๕๐ ชั่ง ๘ ตำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ( เป็น ) ๒๙๑ ชั่ง ๘ ตำลึง ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เงินพระพิเรนทรเทพชำระมาแต่เมืองนคร ๔๓ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ( เป็น ) ๕๖๕ ชั่ง ๓ ตำลึง ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ปีชวดเงินหลวงพระราชทานออกไป ๒ ครั้ง ๒๐๐ ชั่ง ปีมะแม ๒ ตำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ปีวอก ๒ ชั่ง ๑๗ ตำลึง ๓ สลึง เงินค่านาเมืองนครราชสีมาจำนวนปีระกา ๒๒ ชั่ง ๖ ตำลึง ๒ บาท ปีจอ ๑๐๒ ชั่ง ๑๓ ตำลึง ๑ บาท ๑ เฟื้อง ( เป็น ) ๑๒๗ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๒ บาท ๑ เฟื้อง เงินส่วยกองนอกพระราชวังบวรกองพระมหาพิชัยคชลักษณ์ ๒ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๒ บาท ๒ สลึง กองพระมหาณรง ๗ ชั่ง ๕ ตำลึง ๒ สลึง ๑ เฟื้อง กองหลวงเดชคชกรรม์ ๓ ชั่ง ๑ บาท ๓ สลึง ( เป็น ) ๑๓ ชั่ง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ( เป็น ) ๑๔๐ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๓ บาท เงินส่วยเมืองอุบล ๔๗ ชั่ง ๔ ตำลึง ๒ บาท ๑ สลึง เมืองปาสัก ๔๕ ชั่ง ๑ ตำลึง ๓ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เมืองสีทันดร


๙ ๒๖ ชั่ง ๑๖ ตำลึง ๒ บาท ๑ เฟื้อง ( เป็น ) ๑๑๙ ชั่ง ๒ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เงินรายพระพิเรนทรเทพชำระลงมาแต่เมืองนครพนม ๔๓ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ( รวมเป็น ) ๕๖๓ ชั่ง ๑๗ ตำลึง ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง จำหน่ายจัดซื้อกระวานโพธิสัตว์ ปีชวด ๒ ครั้งหนัก ๓๕ หาบ เงิน ๕๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง จัดซื้อข้าวขึ้นฉางไว้ ๘ เมืองข้าว ๑๑๕๙ ๑๔ ๐ เงิน ๑๑๙ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ให้พระยาราชนิกุลเอาไปราชการทางเมืองกระพงสวาย เงิน ๕๐ ชั่ง ( รวมเป็น ) ๒๒๑ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๓ บาท






๒ ฉะบับที่ ๒ สำเนาแปลอักษรสารแม่ทัพญวนถึงเจ้าพระยา บดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เรื่องขอผูกทางไมตรีกับไทย

วันอังคารเดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีชวดโทศก เตรนติเตินไต แม่ทัพใหญ่ ให้องเอียนงอยเหือง กับองพอลันบิน องทงเบียน ถือหนังสือมาณศาลากลางข้างค่ายเมืองโพธิสัตว์ (แปลออกได้ความว่า) เตินไตเตืองกุญ แม่ทัพใหญ่ หนังสือมาแม่ทัพใหญ่นครไทยโกยจึกได้ทราบ ด้วยอยู่ณวันขึ้น ๘ ค่ำเดือนนี้ องค์โปนจึกได้ใช้กำลังเป็นทัพหน้ายกมารบเขมรเมืองโพธิสัตว์นั้น ทัพหน้ามาถึงกลางทางได้พบกับคนใช้กวานเดดก กับคนปลัด ไปถึงว่าโกยจึกนำกำลังมาถึงเมืองโพธิสัตว์แล้วโกยจึกได้ให้หนังสือบอกเป็นไมตรีอย่ารบแก่กัน จึ่งกวานเดดก, กวานตะเวียนภูสือ, กวานพอลันบิน, กวานเทิงเบียนกับโกยจึกได้เป็นไมตรีด้วยกัน จึ่งโกยจึกใช้กำลังส่งขุนนางทั้งสี่คนกับไพร่พลเครื่องศาสตราอาวุธไปทางบกทางน้ำ จะไปทัพหน้านั้นหารู้ว่าเป็นแน่ประการใดไม่ จึ่งหยุดกำลังอยู่กระพงหลวง ใช้คนนำเรียนถึงโปนจึก จึ่งรู้ว่าโกยจึกนึกทางข้างหน้าข้างหลังจึ่งทำตอบถูก ครั้นถึงกวานเดดกไปแล้วนำหนังสือฉะบับหนึ่งไปนั้น โปนจึกดูรู้เสร็จแล้ว กวานเดดก,



๑๑ กวานพอลันบิน, กวานเทิงเบียน, เรียนครบราชการ โกยจึกอยากเป็นไมตรีเหมือนแต่ก่อน โปยจึกได้ทราบใจโกยจึกถูกนัก กวาน เดดก, กวานพอลันบิน, กวานเทิงเบียน ได้เรียนว่าโกยจึกได้พูดว่า ๒ ฝ่าย บัดนี้ไม่ได้รบกันหยุดอยู่ก่อน ต้องการอะไรขุนนางทั้งสิ้นนั้น ก็ไปแล้ว โกยจึกก็ให้ไปทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ใช้การคนไป ว่าการเป็นไมตรีนั้น โปนจึกนึกคำโกยจึกว่าการไมตรีก็เป็นแน่ไม่หลีกเลี่ยง แต่ทว่าการนี้เป็นการช้ายืดยาวแล้วเป็นการใหญ่ไม่อาจรับแต่คนเดียว จึ่งได้นำเนื้อความกับหนังสือไปทูลพระเจ้าเวียดนามคิดอ่านเห็นจะได้คนใช้กลับคืนมา ถ้าและสองพระนครเป็นไมตรีดีดังนั้นอนาประชาราษฎรก็สุขสบาย แต่บัดนี้อยู่คอยได้ข่าวคนใช้ไปกลับมานั้นทางไซ่ง่อนอยู่ไกลวันเดือนช้าอยู่ ถ้าสองฝ่ายพร้อมตั้งทัพใหญ่ ห็นเหมือนสงสัยกันอยู่ ยังหาทันแน่สิ้น ด้วยคำกวานเดดก, กวานอานพ, กวานพอลันบิน, กวานเทิงเบียน พูดว่าโกยจึกก็ไปดังนั้น โกยจึกได้คิด เห็นก่อนนำกำลังไปจะคิดอ่านการไมตรี จึ่งโปนจึกบังคับกำลังทัพหน้าให้หยุดก่อน ถ้าโกยจึกนำกำลังไปนั้น โปนจึกกำลังทัพหน้าอยู่ พวก ทัพหลังก็ไปนั้นสิ้นสงสัย ถ้าโกยจึกคิดไปวันใดก็ให้มีหนังสือไปให้รู้ด้วย บัดนี้ก็เป็นไมตรีด้วยกันอย่าสงสัยอีก ซึ่งการเขมรนั้นโกยจึกว่า กับกวานเดดก กวานอานพ กวานพอลันบิน กวานเทิงเบียน ว่าเขมรมันยืนแหลมทั้งสองข้าง เคยคิดผินหน้ามันคืนไปเมืองพระตะบอง


๑๒ ฟ้องหมดเรื่องนี้ โกยจึกก็รู้หาเป็นแน่การทำผิดอยู่มันจึ่งคำรามว่ามากทำไม ด้วยเขมรขุนนางหมดกันทำเป็นข้านอก มันชวนกันทำเป็นข้าศึกฆ่าฟันกำลังและราษฎรญวนเป็นอันมากนั้น มันมีโทษ กับโปนจึกก็เหมือนมีโทษกับนครไทย บัดนี้ขุนนางกับไพร่ญวนไปรบกับมัน ๆ ขืนแข็งแรงไม่ทันระงับโทษลง จะให้ราษฎรมันอยู่สุขเหมือนแต่ก่อนบัดนี้มันอยากสุขดี จะไม่ฆ่าฟันมันอย่างไรได้ ความนี้ทำประการใดก็ให้รู้ด้วย บัดนี้ใช้คนมีสติปัญญาให้นำหนังสือมาให้ทราบเป็นการแน่บัดนี้, หนังสือมาณวันเดือนยี่ปีชวด โทศก ( พ.ศ. ๒๓๘๓ )








ฉะบับที่ ๓ อักษรสารเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี ) ตอบแม่ทัพญวน

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ แม่ทัพใหญ่ ณกรุงเทพ ฯ ผู้สำเร็จราชการ มายัง เตินไตเตืองกุญ แม่ทัพใหญ่ ณกรุงเวียดนาม ผู้สำเร็จราชการ ด้วยมีหนังสือให้องเวียนงอยเอิง กับกวานพอลันบิน, กวานเทิงเบียน นำไปณเมืองโพธิสัตว์ เป็นอักษรญวนฉะบับ ๑, สำเนาอักษรเขมรฉะบับ ๑ นั้น ได้แจ้งข้อความตามหนังสือโกยจึกทุก ประการแล้วก็มีความยินดียิ่งนัก ซึ่งโกยจึกได้นำเนื้อความกับหนังสือ ซึ่งให้กวานเดดก กวานตะเวียนภูสือ ไปกราบทูลพระเจ้ากรุงเวียดนามให้ทราบ จะให้ทรงยินดีในทางพระราชไมตรี และไมตรีทั้งสอง พระนคร ขุนนางราษฎรซึ่งเป็นข้าขอบขันธเสมาทั้งสองฝ่ายจะได้อยู่เย็นเป็นสุขสบายนั้น ก็ชอบตามโบราณราชประเพณีสืบมาแต่ก่อนนั้น ขอให้เทพยดาช่วยทนุบำรุงโกยจึกให้สำเร็จทางพระราชไมตรีทั้งสองสามพระนคร จะได้ปรากฎชื่อเสียงเป็นที่สรรเสริญแก่นานาประเทศ อยู่ชั่วฟ้าดินนั้น จึ่งให้พระอินทร์ธิบาล, หลวงลบบาดาล, หลวงสัสดี เมืองนครมายินดีนั้น อย่าให้โกยจึกมีความรังเกียจสงสัยต่อไปเลย ซึ่งว่าเขมรหัวเมืองทั้งปวงพากันไปเมืองพระตะบอง ชวนกันทำเป็น


๑๔ ข้าศึกฆ่าฟันกำลังและราษฎรญวน ว่ามีโทษอยู่เป็นอันมากนั้น ให้ โกยจึกตริตรองอดโทษหัวเมืองเขมรทั้งปวงไว้ก่อน ถ้าและเจ้านายพระยาพระเขมร ราษฎรหัวเมืองทั้งปวงคืนเข้าบ้านเมืองเป็นปรกติพร้อมมูลเรียบร้อยแล้ว โกยจึกจะคิดอ่านจัดแจงกระทำประการใด ก็จะได้โดยง่ายสะดวกทุกประการ ข้อความทั้งนี้โกยจึกเห็นข้างหน้าข้างหลัง แล้วก็จะไม่หนักแรงทแกล้วทหาร การก็จะสำเร็จโดยเร็ว ถ้าพระอินทร์ธิบาล, หลวงลบบาดาล, หลวงสัสดี มายินดี กลับคืนไปแล้ว ก็จะได้เลิกทัพใหญ่กลับไปตั้งฟังราชการอยู่ณมืองพระตะบอง ที่กองพระนรินทรโยธา ปลัดเมืองพระตะบองนั้น จะต้องถือหนังสือลงไปพูดจาบอกกล่าวแก่พระยาพระเขมร ราษฎรเมืองพนมเพ็ญให้รู้ราชการว่า สองพระนครเป็นทางพระราชไมตรีแก่กัน อย่าให้เกิดรบพุ่งฆ่าฟันแก่กองทัพญวนสืบไป ขอให้โกยจึกจัดญวนที่มีสติปัญญากำกับลงไปกับพระนรินทรโยธา ปลัดเมืองพระตะบอง พระยาพระเขมรหัวเมืองทั้งปวงจะได้เห็นเป็นที่เชื่อถือตามหนังสือและถ้อยคำพระนรินทรโยธาปลัด ถ้าและหนังสือที่โกยจึกส่งไปเมืองเว้ พระเจ้ากรุงเวียดนามจะโปรดความมาประการใด จะได้มีหนังสือ บอกไปมาให้รู้ราชการด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยเร็ว และข้อความในหนังสือซึ่งมีมาทั้งนี้ ด้วยหามีญวนที่รู้แปลหนังสือสันทัดชัดเจนไม่ หนังสือไทยแปลเป็นเขมร หนังสือเขมรแปลเป็นญวน ความจะ เหลือเกินประการใด อย่าให้โกยจึกถือโทษน้อยใจเลย หนังสือมา ณวันพฤหัศบดี เดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวดโทศก

ฉะบับที่ ๔ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี )

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาถึงพระยามหาอำมาตย์ ได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละออง ฯ ด้วยข้าพระพุทธเจ้าบอกเข้ามาแต่ก่อนว่า ข้าพระพุทธเจ้ากับนายทัพนายกองจะถอยทัพกลับเข้ามาตั้งฟังราชการอยู่ ณ เมืองพระตะบอง ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดให้พระยาสังขโลก เจ้าเมืองโพธิสัตว์ พระ หลวง ขุนหมื่อน นายไพร่ ๖๐๐ คน, เมืองตะคร้อนายไพร่ ๒๐๐ คน, เมืองตรองนายไพร่ ๒๐๐ คน, เมืองหกลุงนายไพร่ ๑๐๐ คน, เข้ากัน ๔ เมืองนายไพร่ ๑,๑๐๐ คน ให้อยู่รักษาบ้านเมือง ครอบครัว, ตั้งฟังราชการลาดตระเวนอยู่ณเมืองโพธิสัตว์ แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดให้พระยาปราจินบุรี กับพระรามพิชัย, พระชนะรณชิต, พระวิชิตสงคราม, พระพรหมภักดี ยกรบัตร์เมืองนครราช สีมา ลาวท่าส้าน ลาวเมืองสุพรรณ ลาวเมืองลพบุรี เมืองอินทร์ เข้ากับนายไพร่ไทยลาวในกรุงหัวเมือง ๓,๓๘๓ คน ปืนจ่ารง ๑ บอก ปืนสัมมาทิฎฐิ ๓ บอก ปืนฤทธิฦาชัย ๑ บอก รวม ๕ บอก ปืนใหญ่สำหรับเมืองพระตะบอง ๑๑ บอก กระสุน ๓ นิ้ว ๔ นิ้ว ๒ นิ้ว กิ่ง เข้ากัน ๑๖ บอก ปืนหามแล่น ๓๐ บอก ปืนคาบศิลา ๑,๕๐๐


๑๖ บอก ดินดำหนัก ๓๐ หาบ ให้ตั้งค่ายมั่นอยู่ณบ้านจ่าอยู่ ๓ ค่าย ทางไกลกับเมืองโพธิสัตว์ ๘๐๐ เส้น เกลือกจะมีราชการเมืองโพธิสัตว์ ระยะทางใกล้กัน จะได้รีบเพิ่มเติมอุดหนุนไปช่วยกันให้ทันท่วงที ทั้งจะได้อาศัยสะเบียงอาหารใกล้กันกับฉางด่านนนทรี ได้ให้ขนข้าวในค่ายญวนมาใส่ในค่ายใหม่ ณเมืองโพธิสัตว์ ได้ข้าวสาร ๑๓๐ เกวียน ข้าวเปลือก ๑๒๐ เกวียน จะได้แจกจ่ายกองทัพเขมรครอบครัวเขมรรับพระราชทานต่อไป กับสิ่งของ ๆ ญวนมอบให้ปืนใหญ่เหล็กกระสุน ๒ นวกิ่ง ๓ บอก ปืนใหญ่ทองกระสุน ๒ นิ้ว ๒ บอก รวม ๕ บอก, ปืนหามแล่นเหล็ก ๒๓ บอก ทอง ๑๓ บอก รวม ๓๖ บอก, ปืนคาบศิลาดีมีเครื่องพร้อม ๒๘ บอก มีแต่ลำกล้อง ๔ บอก รวม ๓๒ บอก, ปืนคาบชุด ๒๘๐ บอก รวมปืนคาบศิลาคาบชุด ๓๑๒ บอก กระสุนปืนใหญ่ ๒ นิ้ว ๓ นิ้ว ๑,๐๑๓ กระสุน, กระสุน หามแล่น ๑,๕๑๔ กระสุน, กระสุนคาบศิลา ๑๖,๒๒๐ กระสุน, ดินดำ หนัก ๑๔ หาบ ๓๓ ชั่ง, ดินประสิวขาวหนัก ๒๖ หาบ ๘๐ ชั่ง สุพัณถันหนัก ๕ หาบ ๔๓ ชั่ง, ดาบยาว ๕ เล่ม ดาบสั้น ๒ เล่ม รวม ๗ เล่ม ฆ้องโหม่งใหญ่ ๑ เล็ก ๒ รวม ๓ ใบ, เหล็กก้อน ๓๔ ก้อน เสียม ๑๒ เล่ม ขวานหมู ๑๓ เล่ม ผาล ๑๒๐ อัน, ทวนมีด้าม ๑,๐๖๑ เล่ม ไม่มีด้าม ๒๐ เล่ม, รวม ๑,๐๘๑ เล่ม พลุ ๒๕ บอก, ใต้ขวาก ๓๒๘ ดอก ใต้ใหญ่ ๔ ดอก, ขวากหลุมเหล็กติดกระดาน ๕๘ แผ่น เขนงไม้ ๑๖๘ เขนง, ลูกหน้าไม้ใส่ปลายเหล็ก


๑๗ ๓๙๐ อัน, โล่ ๔๙ บาน แต่ครอบครัวเมืองขลุง เมืองตรอง เมืองตะคร้อ ๓ เมืองนี้ใกล้ท่ากระพงหลวง ท่ากันจอ เป็นที่ใกล้ทัพเรือ ญวนไปมาจะไว้ใจไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจะให้ผ่อนครอบครัวมาไว้ ณเมืองโพธิสัตว์ ได้ให้แต่นายไพร่ชายฉกรรจ์ผลัดเปลี่ยนกันลาดตระเวนรักษาบ้านเมืองด่านทางไว้ทั้งสามเมือง แต่คนเมืองบริบูรณ์เมืองลาดปะเอียนั้น ให้อยู่รักษาครอบครัวตามบ้านเมืองก่อน ถ้ามีราชการให้ยกมาช่วยบรรจบเมืองโพธิสัตว์ให้สิ้น ณวันเดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดโทศก ข้าพระพุทธเจ้ากับเจ้าพระยานครราชสีมา นายทัพนายกองได้ถอยกลับ เข้ามาฟังราชการอยู่ณเมืองพระตะบอง ถ้าราชการเรียบร้อยอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งจะให้เจ้าพระยานครราช สีมา ทัพหัวเมืองลาวทั้งปวงเลิกกลับคืนไปบ้านเมือง ถ้าญวนจะมีหนังสือมาถึงข้าพระพุทธเจ้าณเมืองพระตะบอง ไม่มีผู้ใดที่รู้อย่าง ธรรมเนียม จะได้พูดจาโต้ตอบกับญวน ล่ามที่จะรู้แปลหนังสือญวนสันทัดชัดเจน ณเมืองพระตะบองก็หามีไม่ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับ พระราชทานพระยาพิพัฒน์โกษานอกราชการ กับล่ามแปลหนังสือญวนต่อไป ณเมืองพระตะบอง จะได้พูดจาแปลหนังสือญวน ต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งต้นหนังสือสัญญาญวนฉะบับ ๑, สำเนาข้าพระพุทธเจ้ามีไปถึงเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองเว้ฉะบับ ๑ มอบให้ เจ้าหมื่นสรรเพ็ชญภักดี, หลวงนายสิทธิ์ นายเวนมหาดเล็ก หมื่น ๓


๑๘ ราชฤทธิ์ ตำรวจนอกขวา, หมื่นจินดารักษ์ ตำรวจสนมขวา เข้ามาแจ้งราชการด้วยแล้ว หนังสือมาณวันอังคารเดือนยี่แรม ๑๒ ค่ำ ปีชวดโทศก. (พ.ศ. ๒๓๘๓)









ฉะบับที่ ๕ คำให้การญวน กองพระยาสังขโลกส่งมาให้แม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการ

ณวันเดือนยี่แรม ๘ ค่ำ ปีชวดโทศก ได้ถามญวนทั้ง ๓๐ คน ซึ่งหนีขึ้นมาแต่ค่ายเมืองพนมเป็ญให้การว่า ราชการองที่อยู่รักษา ค่ายพนมเป็ญนั้นชื่อองจันลันบิน ๑ องภอลันบิน ๑ สองคนมีไพร่ญวนประมาณ ๑,๐๐๐ คน แล้วองแม่ทัพขึ้นมาใหม่ชื่อองทำตานไตทาน มีไพร่ญวน ๕๐๐ คน ขึ้นไปบนแต่ณวันเดือนยี่แรมค่ำหนึ่ง ว่าไปตามองเตียนกุญ หาทราบว่าจะไปด้วยราชการสิ่งใดไม่ เมื่อครั้งก่อน องเตียนกุญทำหนังสือให้ไปล่อลวงญวนครัวแต่บ้านล่าง ว่าเขมรไม่ มีโทษอะไรกับญวน แล้วเขมรชวนกันพาบุตรภรรยาหนีทิ้งบ้านเรือน ข้าวของเสียเป็นอันมาก ให้ครัวญวนขึ้นมาเอาข้าวของเขมรที่ทิ้งไว้ ครั้นพวกญวนขึ้นมาถึงค่ายเมืองพนมเป็ญแล้ว ให้ชักเอาแต่ชาย ฉกรรจ์ไว้ ผู้หญิงนั้นไว้ให้อยู่รักษาเรือ ผู้ชายนั้นให้รักษาค่ายเมือง พนมเป็ญทั้งกลางวันกลางคืน แล้วจ่ายข้าวสารให้กินหาอิ่มไม่ลำบากนัก จึงพากันหนีมาทีหลังอีกเป็นอันมาก องเตียนกุญ องเดดกกับอง โดยองกายขึ้นไปตั้งอยู่เมืองพระพงสวาย เมืองกระพงขนัง แต่ก่อนนั้น หายไปหาทราบว่าราชการเป็นประการใดไม่ แล้วเรือครัวเขมรญวน ให้รื้อประทุนเสียเอาเป็นเรือรบ ได้ถามญวน ๆ ให้การว่าทราบความ แต่เท่านี้

ฉะบับที่ ๖ คำให้การนายญวน

ณ วันเดือนยี่แรม ๑๐ ค่ำปีชวดโทศก ศักราช ๑๒๐๒ ได้ถามญวนตัวนาย ๒ คน องกายเหียบกับไพร่ญวน ๑๐๖ คนให้การว่า หนีมาจากเมืองพนมเป็ญมาด้วยกันทั้งนี้บ้านเรือนอยู่เมืองไซ่ง่อน เป็นคนทำไร่นากิน องผู้ใหญ่ให้ข้าพเจ้าม่าทั้งนี้ว่ามาให้ทำค่ายเมือง ไซ่ง่อน ครั้นไม่เห็นทำค่ายให้ทำเรือน ๕ หลังกับรั้วให้เจ้าผู้หญิง ๓ องค์อยู่ แล้วจับข้าพเจ้าใสเรือแง่โอแง่ทรายมาณเมืองพนมเป็ญ แต่ ณเดือน ๑๑ ข้างขึ้น อยู่กว่า ๓ เดือนมาแล้ว ๆ ให้ทำค่ายขนดินระมัดระวังทั้งกลางวันกลางคืน จ่ายข้าวให้กินก็ไม่พอ และญวน กองทัพกับญวนครัวเมืองพนมเป็ญ เกิดความไข้ลงรากตายเสมอทุกวันเป็นอันมาก และข้าพเจ้าได้ยินลือว่าทัพไทยยกมาเมืองโพธิสัตว์ ทัพญวนรบแพ้ทัพไทย ญวนเข้าหาทัพไทยเสียสิ้น ว่าข้างทัพไทยเอ็นดูมิได้ฆ่าฟันแต่สักคนหนึ่งก็ปล่อยไปเสียสิ้น และข้าพเจ้าได้ยินว่ากองทัพไทยยกไปด้วยกันกับเขมรล้อมป้องกันทุกทาง ข้าพเจ้าวิตกกลัวจะทนไม่ได้จึงพากันหนีเข้ากัน ๑๖๐ คน พลัดกันเสีย ๕๒ คน นายทัพนายกองจับเขมรได้ ๑๘๐ คนทั้งข้าพเจ้า แต่ไพร่ญวนซึ่งอยู่ในค่ายเมืองพนมเป็ญนั้นจะหนีมาทีหลังข้าพเจ้าอีกเป็นอันมาก จำนวนไพร่ญวนในค่ายประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ องเหียบตาน องดกโบเป็นผู้


๒๑ ใหญ่ เมื่อ ณ วันเดือนยี่แรม ๘ ค่ำ ข้าพเจ้าเห็นองดกโบกับไพร่ญวน ๙๐๐ คน เรือแง่โอเรือแง่ทราย เรือบันลองกับเรือครัวญวน แจวลงไปเมืองไซ่ง่อนเป็นอันมาก ราชการข้างญวน ข้าพเจ้าเป็นนายได้รู้เห็นแต่เท่านี้









ฉะบับที่ ๗ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

หนังสือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาถึงพระยามหาอำมาตย์ ได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยข้าพระพุทธเจ้าบอกมาแต่ก่อนว่า ให้พระฤทธิสงครามนำพระยาพิบูลยราช พระยาสุริโยไทย พระยาวงษาสัตรี พระสุรินทรธิบดี พระราชานุชิต พระมหานุชิต พระธึกเดโช พระ ชิตสงคราม พระไกรสร พระสำอางสัตรี กับหนังสืออักษรเขมร ๑๘ ฉะบับ เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบถวายบังคมขอ พระองค์ด้วงออกไป ครอบครองพระยาพระเขมรอาณาประชาราษฎร แจ้งมาในบอกข้าพระพุทธเจ้าแต่ก่อนนั้นแล้ว ครั้นณวันเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีชวดโทศก พระยาสีหราชเดโช หลวงเทเพนทร์ เชิญท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมออกไปถึงข้าพเจ้านายทัพนายกอง ทรงพระมหากรุณาโปรดพระราชทานให้พระองค์ด้วงออกไปครอบครองบ้านเมืองอาณาประชาราษฎร บังคับบัญชาพระยาพระเขมรทั้งปวงสืบแล้ว จะได้ยกย่องพระบวรพุทธศาสนาให้เป็นที่พึ่งกับบรรดาเขมรทั้งปวงสืบต่อไป สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ได้พระราชทานเครื่องยศถาศักดิและเครื่องอุปโภคสำหรับเกียรติยศแก่พระองค์ด้วง กับพระแก้วผลึกน่าตัก ๕ นิ้ว ทรงเครื่องทองคำองค์หนึ่ง ผ้าไตรเนื้อดี ๑๐ ไตร กับเครื่อง

๒๓ บริขารพร้อม ข้าพระพุทธเจ้าจะได้จัดแจงให้แก่พระองค์ด้วงถวายพระสงฆ์ที่จะตั้งเป็นราชาคณะฐานานุกรม แล้วให้ข้าพระพุทธเจ้าทำหนังสือประกาศบอกไปถึงพระยาพระเขมรเจ้าเมืองกรมการทั้งปวงให้รู้ความทั่วกันว่า พระยาพระเขมรพร้อมใจกันมีหนังสือให้พระยาพิบูลยราช พระยาสุริโยไทย พระยาพระเขมรเข้ามาขอพระองค์ด้วงออกไปเป็นเจ้าครอบครองบ้านเมืองราษฎรทั้งปวง พระยาพิบูลยราช พระยาสุริโยไทย พระยาพระเขมรเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทแจ้งราชการณกรุงเทพพระมหานครแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ทรงพระมหากรุณาเมตตากับเขมร โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระองค์ด้วงออกไปเป็นเจ้าเขมรสืบวงษ์กษัตริย์ในแผ่นดินเมืองเขมรต่อไป อย่าให้สูนย์สิ้นเจ้านาย จะได้ช่วยกันยกย่องพระพุทธศาสนาขึ้น อย่าให้พระพุทธศาสนาสาบสูญ แต่เมืองเขมรทุกวันนี้ญวนตั้งอยู่เมืองพนมเป็ญ จะต้องตั้งบ้านเมืองให้พระองค์ด้วงอยู่เมืองโพธิสัตว์ ๆ ใกล้กับเขตต์แดนกรุงเทพพระมหานคร จะได้ช่วยทำนุบำรุงไปกว่าเมืองเขมรจะได้เป็นบ้านเมือง เป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นได้ ให้พระยาพระเขมรมีความรักใคร่เสียดายพระพุทธศาสนา รักษาชาติสัมมาทิษฐิ อย่างให้อ้ายญวนชาติมิจฉาทิษฐิครอบงำบ้านเมืองล้างพระพุทธศาสนาเสีย ให้พร้อมมูลกันทำราชการต้านทานสู้รบญวนให้แข็งแรง ไว้ชื่อเสียงให้ปรากฏเป็น เกียรติยศอยู่ในแผ่นดิรเมืองเขมร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะทรง


๒๔ สงเคราะห์กู้แผ่นดินเมืองเขมรให้เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนาขึ้นตามเดิม จะได้เป็นกองการกุศลผลประโยชน์แก่บรรดาเขมรสืบไปภาย น่า จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเงินตราเสื้อผ้าให้พระยาพิบูลยราช พระยาสุริโยทัย พระยาวงษาสัตรี พระธึกเดโช พระสุรินทรธิบดี พระธึกสงคราม พระไกรสรมหาดไทย พระสำอางสตรี พระมหานุชิต หลวงไกรสรนอกราชการ พระยาธึกโกษาสงครามเมืองพนมเป็ญ ขุนหมื่น ๗ คนไพร่ ๓๐ คน ตามลำดับยศถาศักดิพระยาพระเขมรผู้ใหญ่ผู้น้อย กับพระราชทานเงินตรา ๑๐๐ ชั่ง คนโทบัญรี ๑๐ ใบ ราตคตหนามขนุน ๒๐ สาย เสื้อแพรต่างสี ๗๐ ตัว เสื้อกระบวนไหม ๓๐ ตัว เป็นเสื้อ ๑๐๐ ตัว ออกไปพระราชทานให้ข้าพระพุทธเจ้า สำหรับจะได้ใช้สอยแจกจ่ายให้บรรดาพระยาพระเขมร จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาสีหราชเดโชหลวงเทเพนทร์ ขุนหมื่น ๓๑ คน ไพร่ ๓๙ คน เข้ากัน ๗๐ คน หญิงม่าย ๔ คน หญิงคนใช้ ๑๓ คน เข้ากัน ๑๗ คน เข้ากันกับชายหญิงนายไพร่ ๘๗ คน กับพระยาพิบูลยราชพระยาพระเขมร นาย ๑๙ ไพร่ ๓๐ เข้ากัน ๔๙ คน ออกไปทางบกให้เป็นเกียรติยศกับพระองค์ด้วย โปรดให้มีพระราชโอวาทพระราชทานพระองค์ด้วงออกไป ข้าพระพุทธเจ้านายทัพนายกองพร้อมกัน ได้กราบถวายบังคมต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้รับพระราชทานสิ่งของนอกท้องตรา ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน


๒๕ ออกไปนั้น พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำปีชวดโทศก พระยาราชโยธา พระยาภิรมย์ราชา บอกนำดำเนินท้องตรากับกระแสพระราชดำริส่งต่อตามระยะออกไปณเมืองปัตบอง ในท้องตราต้นกระแสพระราชดำริ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมไปถึงข้าพระพุทธเจ้า นายทัพนายกอง ว่าซึ่งทำคุณไว้กับญวนปล่อยให้รอดชีวิตไปหาเสียเปล่าไม่ เป็นผลประโยชน์ในราชการอยู่ แต่ว่าเขมรรู้ว่า ข้าพระพุทธเจ้าปล่อยญวนในที่ล้อมไป เขมรจะยินดีหรือจะไม่ชอบใจ ถ้าเขมรยินดีด้วยแล้วเขมรคงจะนับถือ ถ้าเขมรไม่ชอบใจ เขมรจะเข้าใจว่ากลัวญวนไม่รบพุ่งปล่อยญวนไปนั้น เขมรเสียใจก็ให้ข้าพระพุทธเจ้าคิดอ่านพูดจากลบเกลื่อน แก้ความเสียให้สิ้นวิตกของเขมร ให้เขมรเห็นความว่าหากลัวเกรงฝีมือญวนไม่ ปล่อยญวนในที่ล้อมไปจะผ่อนการรบพุ่งให้รอลงแต่พอจะให้เขมรตั้งตัวได้ คิดอ่านไปอย่างนี้ถ้าญวนหลงเชื่อก็เป็นประโยชน์ มีคุณกับเขมรอยู่มาก ให้ข้าพระพุทธเจ้าพูดจาให้เห็นเป็นความดีกับเขมร อย่าให้เขมรเสียใจหมิ่นประมาทได้ แต่การซึ่งจะทำให้เป็นไมตรีไว้กับญวนนั้น เห็นหาเป็นไมตรีตลอดยืดยาวไปได้ไม่ องดึดก องอานผู้เป็นแต่นายทัพนายกอง แม่ทัพใหญ่ญวนผู้สำเร็จราชการก็ยังมีอยู่ เมืองเขมรเป็นที่ปรารถนาของญวน ญวนรักเมืองเขมร ๔


๒๖ มากนัก ญวนได้ผลประโยชน์ในแผ่นดินเมืองเขมรก็มาก ญวนจะ ทิ้งเมืองเขมรก็มีความเจ็บอาย ญวนหาปล่อยเมืองเขมรไม่ ญวนจะทำแต่ทีอยู่ว่าจะเป็นไมตรีกับไทย ญวนจึงย่ำยีรบกวนเขมร เขมรจะมาพึ่งข้าพระพุทธเจ้า ๆ ก็จะต้องช่วยเขมรให้เต็มมือ เขมรจะไม่กลับใจเข้าหาญวน ถ้าไพร่พลกองทัพเป็นแต่ลาวเขมรป่าดงมาก ไม่แข็งแรงจะสู้รบญวนไม่ได้ จะขอนายทัพนายกองผู้ใดที่จะใช้สอยได้ ไพร่พลกองใดที่แข็งแรงจะต้องการอีกสี่พันห้าพัน ก็ให้ข้าพระพุทธเจ้าบอกขอเข้ามา จะได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อุดหนุนเพิ่มเติมออกไป จะได้ช่วยกันรบพุ่งญวน เอาชัยชำนะญวนให้จงได้ แล้วให้ข้าพระพุทธเจ้า คิดอ่านเอาเขมรเก่าที่มีสติปัญญาไว้ใจได้ให้แยกไปกำกับพระยาพระเขมรที่ตั้งตัวเป็นนายทัพนายกองอยู่ทุกแขวงเมืองเขมร จะได้ยั่วเย้าให้สู้รบญวนให้แข็งแรงกว่าจะแตกร้าวขาดกัน ไม่กลับใจเข้าหาญวนอีกได้แล้วก็เป็นที่ไว้ใจได้อย่างหนึ่ง เมื่อแลกำลังญวนมาก กำลังเขมรน้อย เขมรสู้รบกับญวนเคี่ยวขับไปมิได้ก็ต้องพาครอบครัวถอยร่นเข้ามา ถ้าข้าพระพุทธเจ้าคิดได้ดังนี้แล้วก็จะดี ครอบครัวเขมรข้าพระพุทธเจ้าพิทักษ์รักษาทำนุบำรุงไว้ได้แล้ว จะเอาฉกรรจ์เขมรเข้าสู้รบทำศึกกับญวนต่อไป การก็จะเบาแรงทแกล้วทหารไพร่พล ให้ข้าพระพุทธเจ้าตริตรองราชการให้รอบคอบ ควรจะได้ราชการบ้านเมืองไพร่พลเขมรประการใด ก็ให้คิดไปตามท่วงทีราชการ ๆ ครั้งนี้จะคิดพูดจาเป็น


๒๗ ทางไมตรีกับญวนโดยจริงก็ดี จะเป็นไมตรีโดยอุบายก็ดี และการต้องสู้รบประการใดก็ดี ก็ตามแต่ปัญญาความคิดของข้าพระพุทธเจ้า ให้ข้าพระพุทธเจ้ารักษาพระองค์ด้วงอย่างดวงแก้ว ในท้องตรากระแสพระราชดำริ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกไปมีหลายประการนั้น ข้าพระพุทธเจ้านายทัพนายกองได้กราบถวายบังคมทราบเกล้าทราบกระหม่อม ในท้องตรากระแสพระราชดำริทุกประการแล้ว ซึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโทษข้าพระพุทธเจ้านายทัพนายกองทั้งปวงไปในท้องตรากระแสพระราชดำริ ให้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณปฤาษาหารือกับนายทัพนายกองแต่จะเอาบ้านเมืองไพร่พลเขมรให้จงได้ อย่าให้เขมรได้ไปกับญวน พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานข้อความในท้องตรากระแสพระราชดำริ ปฤกษานายทัพนายกองเห็นว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้พระองค์ด้วง ไปเป็นเจ้าครอบครองบ้านเมืองพระยาพระเขมร อาณาประชาราษฎรทั้งปวง อยู่ณเมืองโพธิสัตว์ จะเอาเมืองโพธิสัตว์เป็นเมืองใหญ่ เมืองโพธิสัตว์ก็ยังไม่ราบเป็นบ้านเมืองแน่นหนาเป็นที่ไว้วางใจได้ จะต้องรับพระราชทานคิดทำบ้านเมืองโพธิสัตว์ให้มั่นคงก่อน ครั้นจะจัดแจงให้ทำบ้านเมืองขึ้นในเดือนยี่เดือน ๓ นี้ สะเบียงอาหารก็ยังขัดสนข้าวที่ได้ไว้ในค่ายญวนเมืองโพธิสัตว์ ก็รับพระราชทานเอาไว้พอจะได้แจกจ่ายเจือ


๒๘ จาน เลี้ยงพระยาพระเขมรครอบครัวเมืองโพธิสัตว์เมืองขึ้นกับเมืองโพธิสัตว์ ทั้งพระยาพระเขมรที่จะสามิภักดิ์ สมัครเข้ามาอยู่กับพระองค์ด้วง สะเบียงอาหารที่จะเลี้ยงกองทัพซึ่งจะยกออกไปทำบ้านเมืองรักษาเขตต์แดน จะไปปลูกยุ้งฉางไว้ที่เมืองโพธิสัตว์ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้ไปจัดซื้อข้าวเมืองพนมศก เมืองสวายจิต เมืองมงคลบุรี เมืองอรัญประเทศ จะได้ให้เรือขนผ่อนข้าวออกไปให้พอจับจ่ายกองทัพ ๆ ที่จะทำบ้านเมืองยังอยู่กับข้าพระพุทธเจ้า กองกรุงเทพมหานคร ทัพเมืองนครราชสีมา ไปอยู่ค่าย จะอยู่ไปกับพระยาเสนาภูเบศร์ทั้งอยู่ที่เมืองปัตบองนายไพร่ ๕๐๐๐ คนเศษ จึงจะยกออกไปทำบ้านเมืองที่เมืองโพธิสัตว์ณเดือน ๔ นี้ให้แน่นหนามั่นคงจะได้ผ่อนเอาปืนใหญ่น้อยกระสุนดินดำออกไปไว้ให้มาก เป็นที่ไว้วางใจได้ จึงจะให้พระองค์ด้วงออกไปอยู่เมืองโพธิสัตว์ เมืองเขมรหัวเมืองขึ้นกับเมืองเขมรถึง ๓๐ หัวเมือง ไพร่พลก็มากแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้พระองค์ด้วง มีหนังสือพระองค์ด้วงบอกไปให้พระยาพระเขมรเจ้าเมืองทั้งปวง ใจความว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระยาสีหราชเดโชพาพระองค์ด้วงออกมาถึงณเมืองปัตบอง ให้เจ้าเมืองกรมการเข้ามารับนำพระองค์ด้วงจะได้ไปครอบครองบ้านเมือง ถ้าเจ้าเมืองกรมการยังสู้ บกับญวน ราชการติดพันอยู่ ก็ให้แต่งบุตรหลานเข้ามารับพระองค์ด้วงณ เมืองปัตบอง จึงจะได้เป็นเกียรติยศกับพระองค์ด้วง แต่ราชการที่


๒๙ ญวนกับเขมรแตกร้าววิวาทสู้รบกันครั้งนี้ เขมรที่พากันเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตั้งใจทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ คิดคืนเอาแผ่นดินเมืองเขมรมาเป็นขอบขันธเสมาตามเดิมก็มากหลายเมือง เขมรที่ยังเข้าอยู่กับญวนก็หลายเมืองจะไว้ใจว่าเขมรแตกร้าวกับญวนทั้งสิ้นยังหาได้ไม่ ที่ข้าพระพุทธเจ้าพูดจาเป็นไมตรีไปกับญวน ถ้าญวนไปประชุมปฤกษาหารือพร้อมกัน ญวนก็จะยินดีเป็นไมตรีกับไทยโดยสุจริต ญวนก็จะเลิกถอยทัพไปจากเมืองพนมเป็ญตามสัญญา ถ้าญวนพูดจาเป็นกลอุบายแต่พออย่าให้กองทัพไทยยกอุดหนุนไปช่วยเขมร ญวนก็จะรักษาแผ่นดินเมืองพนมเป็ญไว้เหมือนแต่ก่อน ที่ข้าพระพุทธเจ้าปล่อยญวนในค่ายเมืองโพธิสัตว์กลับคืนไป พระยาพระเขมรราษฎรที่เมืองใกล้มาพร้อมกันอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์ ทราบว่าข้าพระพุทธเจ้าพูดจาเป็นไมตรีกับญวน แต่พอจะให้ญวนรอการที่จะสู้รบกับเขมร ๆ จะได้ตั้งตัวจัดแจงสะเบียงอาหารรักษาครอบครัวไว้ให้มั่นคง ก็มีความยินดีพร้อมมูลกัน แต่พระยาพระเขมรที่เมืองไกล ข้าพระพุทธเจ้าได้มีหนังสือบอกข้อราชการไปให้ทราบหลายเมือง จะยินดีหรือจะเสียใจหมิ่นประมาทประการใดยังหาทราบเกล้าทราบกระหม่อมไม่ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพระพุทธเจ้าจัดขุนนางเขมรเก่า ให้ออกไปกำกับพระยาพระเขมรหัวเมืองทั้งปวง ที่ตั้งตัวเป็นนายทัพนายกองให้ยั่วเย้าพระยาพระเขมร


๓๐ รบสู้ญวนให้แข็งแรง ให้เขมรกับญวนแตกร้าวกันจงได้นั้น ข้าพระพุทธเจ้าให้พระยาสังขโลกคนเก่า พระนรินทรโยธาปลัดเมืองปัตบอง ออกไปพูดจาชักชวนพระยาพระเขมรทางเมืองพนมเป็ญ ให้มีความอุตสาหะสู้รบกับกองทัพญวน ให้พระเสนาราชกุเชน พระองค์แก้วกรมการเมืองนครเสียมราบไปกำกับยั่วเย้าพระยาพระเขมร ให้สู้รบกับญวนทางเมืองสโทงเมืองกระพงสวาย ราชการที่จะคิดทำฉลองพระเดชพระคุณ ให้บ้านเมืองเขมรราบคาบเป็นปรกติ เกลือกจะยืดยาวต่อไปจะไว้ใจแก่ราชการยังไม่ได้ ด้วยญวนก็ยังคิดพูดจาเกลี้ยกล่อมทำศึกสงครามกับเขมรติดพันไปอยู่ เกลือกญวนจะยกกองทัพทุ่มเทขึ้นมากระทำกับเขมรในฤดูน้ำเดือน ๘ เดือน ๙ ปีฉลูตรีศก เขมรจะต้านทานสู้รบกับกองทัพญวนไม่ได้ เขมรจะบอกขอกองทัพเข้ามาณเมืองปัตบอง เรือรบที่เมืองปัตบองก็ขัดสน เรือซึ่งข้าพระพุทธเจ้าให้ต่อขึ้นไว้ที่เมืองปัตบอง เขมรช่างหมันที่เมืองปัตบองก็ทำหมันช้ำเหล็กคัดหมันหาได้ไม่ ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดทัพเรือให้ไปรักษาปากน้ำเมืองโพธิสัตว์ขัดด่านไว้ครั้งนี้ ได้สู้รบกับกองญวนยิงปืนใหญ่หน้าเรือได้ลำละ ๒ นัดบ้าง ๓ นัดบ้าง ก็บิดคอคายหมันชำรุดรั่ว เห็นจะใช้ราชการต่อไปไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าตัดมาดยาว ๙ วามาทำเป็นเรือศีรษะมีดโกนขึ้นไว้ที่เมืองปัตบอง ๒ ลำ ได้เอาปืนกระสุน ๓ นิ้ว ๔ นิ้ว ลงใส่หน้าเรือยิงลองดู เห็นจะได้ราชการอยู่ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับพระราชทานนายช่างเรือสัก ๑๐ คน จะให้


๓๑ ไปตั้งทำเรือศีรษะมีดโกนที่เมืองอรัญประเทศ ยาว ๙ วา ๑๐ วา ๑๑ วา ไว้สำหรับราชการสัก ๔๐ ลำ ๕๐ ลำ ตามแต่จะได้ก่อนด้วยไม้ใหญ่ยาวที่เมืองอรัญประเทศพอจะหาได้บ้าง ถึงฤดูฝนเดือน ๘ เดือน ๙ ก็เอาเรือมาทางน้ำถึงเมืองปัตบองได้คล่อง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพระพุทธเจ้าปฤกษาราชการกับเจ้าพระยานครราชสีมา ๆ ก็ป่วยกราบถวายบังคมลากลับไป เมืองนครราชสีมา แต่ณวันเดือน ๓ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีชวดโทศก อาการเจ้าพระยานครราชสีมาป่วยครั้งนี้เกลือกจะไม่หายเร็ว ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับพระราชทานเจ้าพระยายมราชออกไปเป็นแม่ทัพบังคับบัญชา นายทัพนายกองไพร่พล และพระยาพระเขมรหัวเมืองทั้งปวงคิดราชการรักษาเขตต์แดนบ้านเมืองครอบครองทางเมืองสโทงเมืองกระพงสวาย กับกองทัพมอญไทยหัวเมือง ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าบอกขอเข้ามาแต่ก่อน ครั้งนี้จะขอรับพระราชทานสัก ๓๐๐๐ คน จะได้ยกออกไปกับเจ้าพระยายมราชโดยเร็ว ๑๐๐๐ คนก่อน กองทัพ ๒๐๐๐ คนนั้นจะขอรับพระราชทานไว้ให้ฟังราชการอยู่ที่เมืองกะ_บินทร์บุรีให้พร้อมมูลก่อน ด้วยข้าวที่จะเลี้ยงกองทัพมาก ที่เมืองนครเสียมราบก็ขัดสนยังให้จัดซื้อขนถ่ายอยู่ ถ้ามีราชการศึกสงครามหนักแน่นร้อนเร็วมาประการใด กองทัพ ๒๐๐๐ คนที่อยู่ ณเมืองกะบินทรบุรีจะได้รีบยกอุดหนุนเจ้าพระยายมราชออกไปให้ทันท่วงที อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าบอกมาแต่ก่อนว่า ได้มีหนังสือให้พระ


๓๒ อินทร์ ธิบาลถือไปถึงพระยาราชนิกูล ด้วยข้อราชการทางเมืองโพธิสัตว์ แล้วให้พระยาราชนิกูลนายทัพนายกอง จัดแจงผ่อนปรนกองทัพรักษาเขตต์แดนครอบครัว ทางเมืองสโทงเมืองกระพงสวายไว้ให้มั่นคง แจ้งมาในบอกข้าพระพุทธเจ้าแต่ก่อนนั้นแล้ว ครั้นณวันเดือน ๓ แรม ๔ ค่ำปีชวดโทศก พระอินทร์ธิบาลเจ้ากรมพระตำรวจกลับมาถึงเมืองปัตบอง พระยาราชนิกูลมีหนังสือบอกราชการทางเมืองสโทงเมือง กระพงสวายว่า ณวันเดือนยี่แรม ๑๓ ค่ำปีชวดโทศก องญวนในค่ายกระพงธม ให้ภาษากีล่ามญวนออกมาพูดจากับพระยามนตรีเสน่หาเจ้าเมืองไพรกะดี หลวงมนตรีพิมลกรมการเมืองนครเสียมราบ ว่าองตอเวียนภู องลัน จะใคร่พบพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวาย ให้พระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวายไปหาที่หน้าค่ายญวนพระยาอภัยสงคราม หลวงรักษาเทพ จึงให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ พระฤทธิฦๅชัย พระยาสังฆะไป จะพูดกับองตอเวียนภู องลัน ๆ ให้ แต่ภาษากีล่ามออกมาพูดจากับหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ พระฤทธิฦๅชัย พระยาสังฆะว่า องตอเวียนภู องลัน จะขอพบกับ พระยาเดโช หลวงอนรักษ์ภเบศร์ พระฤทธิฤาชัย พระยาสังฆะบอกภาษากีล่าม ว่าพระยาเดโชป่วยมาไม่ได้ องตอเวียนภู องลันจะพูดกับพระยาเดโชประการใด ก็ให้มาพูดกับหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ พระฤทธิฦาชัย พระยาสังฆะเถิด ภาษากีล่ามญวนก็เข้าไปในค่ายแล้วกลับออกมาบอกหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ พระฤทธิฦๅชัย พระยาสังฆะว่า ให้กลับ


๓๓ ไปเสียก่อน องตอเวียนภู องลันจะปฤกษาให้พร้อมกัน ได้ความแน่ประการใดจึงจะได้บอกให้รู้ ครั้นณวันเดือนยี่แรม ๑๕ ค่ำปีชวดโทศก จึงให้พระภักดีสุนทรน้องพระยาเสนาราชกุเชน พระวงษาประเทศ พระยกรบัตรเมืองสังฆะไปฟังดูที่หน้าค่ายญวนตามสัญญาองตอเวียนภู องลันก็หามาพูดจาไม่ กับพระยาราชนิกูลจัดให้สนองอีนายไพร่ ๒๕๐ คนอยู่คิดราชการ ป้องกันรักษาครอบครัวกับพระยาเดโชณเมืองกระพงสวาย ให้พระยามนตรีเสน่หาไพรกะดีพระยามนตรีเสน่หาเมืองกระพงเสียม อยู่กับพระยาเชตว่าที่ฟ้าทะละหะณเมืองบาราย พระยาเสนาราชกุเชนนายไพร่ ๒๐๐ คน อยู่ฟังราชการณเมืองสโทง พระวงษาประเทศนายไพร่ ๑๐๐ คนอยู่รักษาเมืองชีแครง จัดเอากองทัพหัวเมืองไว้กับพระยาราชนิกูลเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองศีศะเกษ เมืองเดชอุดม เข้ากัน ๑๐๐๐ คน ด้วยสะเบียงอาหารที่เมืองสโทงก็ขัดสนหนักแล้ว ว่ากองทัพนอกกว่านั้นหนีแตกไปบ้านเมืองก็เป็นอันมาก กองทัพหัวเมืองยังอยู่แต่ ๒๐๐๐ พระยาราชนิกูลนายทัพนายกองจึงถอยทัพลงมา ตั้งฟังราชการอยู่ณด่านพรมศกแขวงเมืองนครเสียมราบ กับส่งญวน ๒๒ คน จีน ๒ คน พากันหนีจากค่ายกระพงธมจะไปบ้านเมือง กองตระเวนพระยาเชตว่าที่ฟ้าทะละหะพระยาเดโชและเจ้าเมืองกระพงแลงจับได้ ๕


๓๔ คำให้การญวนฉะบับหนึ่งกับหนังสือพระยาเดโชมีมาถึงจมื่นสรรเพ็ชญภักดีฉะบับหนึ่ง ถึงพระยาเสนาราชกุเชนฉะบับหนึ่ง หนังสือพระปลัดแสนท้องฟ้ามาถึงพระองค์แก้วฉะบับหนึ่ง หนังสือพระยาศรีธรรมาธิราชถึงพระยาแสนท้องฟ้าฉะบับหนึ่ง หนังสือญวนมาถึงนายทัพนายกองทางเมืองสโทงฉะบับหนึ่ง หนังสือเกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร ๓ ฉะบับ เข้ากันทั้งหนังสือญวนเขมร ๘ ฉะบับ กับปืนทองเหลืองญวนได้ไว้ในที่รบ กระสุนนิ้วกึ่งสองนิ้ว ๖ บอก ส่งมาเมืองปัตบองที่พระยาราชนิกูลให้แต่สนองอีและพระยาเสนาราชกุเชนคุมไพร่นายละสองร้อยสองร้อยเศษ อยู่รักษาเมืองสโทงเมืองกระพงสวาย พระยาราชนิกูลนายทัพนายกองก็ถอยทัพลงมาตั้งฟังราชการอยู่ถึงด่านพรมศก แขวงเมืองนครเสียมราบ ไกลกับราชการที่จะคิดรักษาเขตต์แดนบ้านเมืองครอบครัวเขมรหนักแล้ว หนังสือพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวายมีมาถึงพระยาเสนาราชกุเชน ก็ได้ความว่าพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวาย จะคิดรักษาเขตต์แดนครอบครัวไว้ก็น้อยตัว เขตต์แดนเมืองกระพงสวายก็กว้างขวาง ทางที่ญวนจะยกกองทัพมาได้ก็หลายทาง แล้วว่าพระยาเดโชสามิภักดิ์ สมัครเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตั้งใจทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ จะให้ราษฎรครอบครัวเขมรได้อยู่เย็นเป็นสุข เกลือกจะไม่สมความปราถนาก็กลัวความผิดในราชการนัก ด้วยเรือ


๓๕ ญวนชื่อองดีดกองซ้ายขึ้นมาใหม่ ๒๐ ลำ ออกยามุขสงครามไปลาดตระเวน พบญวนคนหนึ่งได้พูดจากัน ญวนแจ้งความว่าอย่าให้เขมรไว้ใจญวน จะคิดเอาเขมรแดนบ้านเมืองเขมรให้จงได้ ทุกวันนี้กำลังจัดแจงยกมาทางแซกันดานทางหนึ่ง ทางโงนเซอเตียนทางหนึ่ง เที่ยวสกัดครอบครัวรักษาเขตต์แดนเมืองกระพงสวาย เมืองบาราย เมืองเชิงไพร เมืองกระพงเสียม ข้าพระพุทธเจ้าทราบข้อความในหนังสือรพะยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวาย ข้าพระพุทธเจ้ามิไว้ใจกับราชการ ด้วยพระยาราชนิกูลก็ถอยทัพมาตั้งฟังราชการอยู่ด่านพรมศก ให้แต่พระยาเสนาราชกุเชนนายไพร่ ๒๐๐ คนอยู่รักษาเมืองสโทง พระวงษาประเทศนายไพร่ ๑๐๐ คนอยู่รักษาเมืองชีแครง เกลือกญวนจะยกจู่โจมมาตั้งมั่นลงที่เมือง สโทง เมืองชีแครง กันเอาเขตต์แดนไปได้ก็จะเสียราชการไป ข้าพระพุทธเจ้าได้มีหนังสือไปถึงพระยานุภาพไตรภพเจ้าเมืองนครเสียมราบ ให้ชักเอานายทัพนายกองไพร่พลในกองทัพพระยาราชนิกูลกับคนเมืองนครเสียมราบ ตามแต่พระยานุภาพไตรภพจะเกนเอาไปให้พอกับราชการ รีบยกขึ้นไปให้ถึงเมืองสโทงโดยเร็ว อย่าให้ทันญวนมาตั้งกันเอาเขตต์แดนไปได้ ให้พระยานุภาพไตรภพกับพระองค์แก้ว ตั้งรักษาเขตต์แดนบ้านเมืองครอบครัวอยู่ที่เมือง สโทงก่อน แล้วจะให้เจ้าพระยายมราชเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกไป


๓๖ คิดราชการทางเมืองสโทงเมืองกระพงสวาย ให้พระยาเสนาราชกุเชน สนองอีนั้นไปคิดราชการกับพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวาย จะได้พูดจาตักเตือนเอาใจพระยาเขมรไพร่พลทั้งปวง ให้สู้รบกับกองทัพญวนให้แข็งแรง ข้าพระพุทธเจ้าได้ลอกสำเนาตรากระแสพระราชดำริ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมขึ้นไป ให้คิดทำราชการรักษาเขตต์แดนบ้านเมืองเขมรไว้ ไปให้พระยานุภาพไตรภพ พระองค์แกล้ว และนายทัพนายกองทราบเกล้าทราบกระหม่อมด้วยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้มอบเงินตราให้พระยานุภาพไตรภพ ๑๑ ชั่ง จะได้จัดซื้อข้าวเจือจานกองทัพอย่าให้ขัดสน จะไม่ได้ถอยทัพกลับมา อย่าให้เสียราชการไปแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ แล้วก็ได้ให้พระยาณรงค์วิชัย พระพรหมบริรักษ์ พระอินทร์ธิบาล ไปจัดทัพชักคนในกองทัพพระยาราชนิกูลให้พระยานุภาพไตรภพ แต่พระยาราชนิกูล พระยาอภัยสงคราม หลวงรักษาเทพ ข้าพระพุทธเจ้าให้กลับมาณเมืองปัตบอง จะได้ปฤกษาหารือไล่เลียงไถ่ถามค่ายญวนซึ่งตั้งอยู่ณเมืองกระพงธม การควรที่จะทำได้ไม่ได้ประการใด เจ้า พระยายมราชขึ้นไปถึงพร้อมกันแล้วจะได้คิดราชการต่อไป พระยาณรงค์วิชัย พระพรหมบริรักษ์ พระอินทร์ธิบาล ได้กราบถวายบังคมลาไปจากเมืองปัตบอง แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำปีชวดโทศก


๓๗ อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้มีหนังสือไปถึงพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวายฉะบับหนึ่ง พระยาเชตว่าที่ฟ้าทะละหะฉะบับหนึ่ง พระยาราชเดชะว่าที่พระยาจักรีฉะบับหนึ่ง ใจความว่าญวนเข้าหากองทัพที่เมืองโพธิสัตว์ แจ้งความว่ามีใจเจ็บแค้นพระยาพระเขมรหัวเมืองทั้งปวง เกิดสู้รบกับกองทัพญวนครั้งนี้ทแกล้วทหารไพร่ พลแข็งแรงแต่กองทัพพระยาเดโช พระยาเชต พระยาราชเดชะ พระยาเดโช พระยาเชต พระยาราชเดชะมีความประมาทไว้ใจเชื่อถือสติปัญญาญวนให้เสียท่วงทีไปได้ ให้คิดระมัดระวังรักษาตัวให้มั่นคงเอาใจทแกล้วทหาร ไพร่พลให้สู้รบกับกองทัพ ญวนให้แข็งแรง ข้าพระพุทธเจ้าให้หลวงแพ่งเมืองนครเสียมราบ ถือไปถึงพระยาเดโช พระยาเชต พระยาราชเดชะ แต่ณวันเดือนยี่แรม ๑๓ ค่ำ ปีชวดโทศก ข้าพระพุทธฌจ้าได้ส่งญวน ๒๒ คน จีน ๒ คนเข้ากัน ๒๔ คน คำให้การ องกายเหียบญวน กับต้นหนังสืออักษรเขมรพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวาย มีมาถึงจมื่นสรรเพ็ชญภักดีหัวหมื่นมหาดเล็กฉะบับหนึ่ง ถึงพระยาเสนาราชกุเชนฉะบับหนึ่ง หนังสือพระปลัดแสนท้องฟ้ามาถึงพระองค์แก้วฉะบับหนึ่ง หนังสือพระยาศรีธรรมาธิราชมาถึงพระยาแสนท้องฟ้าฉะบับหนึ่ง เข้ากันหนังสืออักษรเขมร ๔ ฉะบับ หนังสือญวนมี อักษรเขมร กำกับมาถึงนายทัพนายกองทางเมืองสโทงฉะบับหนึ่ง มีมาเกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร ๓ ฉะบับ เข้ากันหนังสือ


๓๘ ญวนหนังสือเขมร ๘ ฉะบับ กับสำเนาหนังสือข้าพระพุทธเจ้าคัดเอาข้อความในท้องตรากระแสพระราชดำริ มีประกาศไปถึงพระยาพระเขมรหัวเมืองทั้งปวงฉะบับหนึ่ง เข้าผนึกปิดตราให้หมื่นศรีสังหารตำรวจนอกซ้าย หมื่นวิเศษตำรวจ สนมซ้าย เข้ามาแจ้งราชการด้วยแล้ว หนังสือมาณวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๙ ค่ำปีชวดโทศก ศักราช ๑๒๐๒ ( พ.ศ. ๒๓๘๓ )





_________________________________________________________ ศรีบัญชา ผู้พิมพ์โฆษณา พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ถนนบำรุงเมือง พระนคร ๑๗/๒/๘๑


งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก