ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๙

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๙ เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า ตอนที่ ๑

เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาพิริยะวิชัย (เพียบ สุวรรณณิน) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ณวัดมกุฎกษัตริยาราม


พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์

คำนำ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาพิริยะวิชัย (เทียบ สุวรรณิน) เจ้าภาพแจ้งความประสงค์มายังกรมศิลปากร จะขอรับหนังสือสักเรื่องหนึ่ง เพื่อไปตีพิมพ์แจกเป็นที่ระลึก กรมศิลปากรเห็นว่า พระยาพิริยะวิชัยเคยรับราชการอยู่ในจังหวัดพระ นครศรีอยุธยา เมื่อครั้งยังตั้งเป็นมณฑลอยู่มาเป็นเวลาช้านาน หนังสือที่แจก ควรจะให้เนื่องด้วยเรื่องซึ่งเกี่ยวกับจังหวัดนั้น และเป็นหนังสือแปลก ซึ่งยังไม่เคยตีพิมพ์แพร่หลายนัก จึงเลือกได้เรื่องที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อว่า เรื่องเกี่ยวกับพระนครศรีอยุธยา นับเข้าในชุดประชุมพงศาวดาร เล่มนี้เป็นภาคที่ ๖๙ ตอนที่ ๑ หนังสือเรื่องนี้ได้คัดและรวบรวมเรื่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมายรับสั่งและหมายประกาศต่าง ๆ ซึ่งมีต้นฉะบับเป็นสมุดไทยเขียนด้วยตัวฝุ่น เก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติ เอกสารเหล่านี้มีอยู่มากด้วยกัน ฉะเพาะที่เกี่ยวกับพระนครศรีอยุธยาก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่คัดเอามาลงพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นแต่บางส่วนเท่านั้น จึงได้แยกไว้เป็นตอนหนึ่ง เอกสารเหล่านี้ย่อมมีประโยชน์ในการค้นคว้า เพราะให้ความรู้ในทางพงศาวดารและในทางขนบธรรมเนียมเก่า ตลอดจนในทาง วรรณคดี นับว่าเป็นหนังสือดี ควรพิมพ์รักษาไว้ไม่ให้สูญ ที่เจ้าภาพในงานศพพระยาพิริยะวิชัยตีพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ขึ้น ก็เท่า


ข กับรักษาของเก่าอันเป็นมรดกและวัฒนธรรมของชาติไว้ หวังว่าท่านที่ใฝ่ใจในเรื่องเหล่านี้ คงยินดีอนุโมทนา กรมศิลปากรขออนุโมทนาในกุศลราศีทักษิณานุปทาน ซึ่งเจ้าภาพบำเพ็ญสนองปัจโจปการคุณแด่พระยาพิริยะวิชัย ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอกุศลราศีนี้ จงเป็นผลสำฤทธิ์อิฐคุณมนุญญภาพสมดังความปรารถนาจงทุกประการเทอญ ฯ

กรมศิลปากร ๑๕ มิถุนายน ๒๔๘๑








พระยาพิริยะวิชัย ( เพียบ สุวรรณิน ) ชาตะ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๔ มรณะ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๐

ประวัติ พระยาพิริยะวิชัย (เทียบ สุวรรณิน) เกิดณวันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๒๔ ณตำบลศาลาแดง อำเภอบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรนายโต กับ นางพัน สุวรรณิน เมื่อเยาว์ได้เล่าเรียนหนังสือไทยในสำนักโรงเรียนหลวงวัด ชัยมงคล จังหวัดอ่างทอง เรียนอยู่ ๓ ปี สอบไล่ได้ประโยคหนึ่งหนังสือไทย ได้รับประกาศนียบัตร ต่อแต่นั้นก็เข้ารับราชการมาด้วยความมานะอุตสาหะในตำแหน่งและหน้าที่ต่าง ๆ ดัง ต่อไปนี้ พ.ศ. ๒๔๓๘ เป็นเสมียนศาลจังหวัดอ่างทอง ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๒ บาท พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นเสมียนมหาดไทยจังหวัดอ่างทอง ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒๐ บาท พ.ศ. ๒๔๔๑-๓ เป็นเสมียนกองอัยยการจังหวัดอ่างทอง ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒๐ บาท พ.ศ. ๒๔๔๔-๘ เลื่อนขึ้นเป็นแพ่งจังหวัดอ่างทอง ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐-๖๐ บาท พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นยกกระบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท


ข พ.ศ. ๒๔๕๐-๔ ย้ายไปเป็นยกกระบัตร จังหวัดสระบุรี ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ ถึง ๒๐๐ บาท พ.ศ.๒๔๕๕-๖ ย้ายไปเป็นยกกระบัตร จังหวัดนคร ศรีธรรมราช ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒๐๐ ถึง ๒๕๐ บาท พ.ศ.๒๔๕๗-๖๑ ย้ายไปรับตำแหน่งปลัดมณฑลประจำจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐๐ บาท พ.ศ.๒๔๖๒-๕ ย้ายไปรับตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแพร่ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๕๐ บาท พ.ศ.๒๔๖๖-๗๒ ย้ายไปเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดนครราชสีมา ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๕๐๐ ถึง ๖๐๐ บาท รวมระยะเวลาที่พระยาพิริยะวิชัย ได้รับราชการประจำมาตั้งแต่ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๓๘ จนถึง เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ เป็นเวลา ๓๕ ปี จึงได้กราบถวายบังคมลาออก จากหน้าที่ราชการ เนื่องด้วยความเจ็บป่วยมีประจำตัวอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ออกจากราชการ โดยได้รับพระราชทานบำนาญ ตลอดเวลาที่ได้รับราชการมาด้วยความมานะอุตสาหะใน หน้าที่ราชการ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ต่าง ๆ คือ


ค ยศ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นรองอำมาตย์โท พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นอำมาตย์ตรี พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นอำมาตย์โท พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นอำมาตย์เอก

บรรดาศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นขุน ประสงค์ศุขการี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นหลวง ประสงค์ศุขการี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระ ประสงค์ศุขการี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้น เป็น พระยาพิริยะวิชัย

เครื่องราชอิสสริยาภรณ์และเหรียญ พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานเหรียญรัชชมังคลาภิเศก พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานเหรียญบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ เบ็ญจมาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕ ฆ พ.ศ.๒๔๖๓ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ จตุตรถาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้น ๔ พ.ศ.๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเหรียญบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ จตุตรถาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๔ นอกจากหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว พระยาพิริยะวิชัย ยังได้เป็นสมาชิกเสือป่าอีก คือ พ.ศ. ๒๔๕๔ เข้าเป็นสมาชิกเสือป่า กองร้อยที่ ๔ จัง หวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๔๕๕ ย้ายไปอยู่กองร้อยที่ ๒ จังหวัดนครศรี ธรรมราช พ.ศ. ๒๔๕๗ ย้ายไปประจำการอยู่กองร้อยที่ ๔ จังหวัด สุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๕๘ เลื่อนขึ้นเป็นนายหมู่ใหญ่ อยู่ในกองร้อย ที่ ๔ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๕๙-๖๑ เลื่อนขึ้นเป็นนายหมวดตรี นายหมวด โท และนายหมวดเอก ในกองร้อยที่ ๔ จังหวัดสุรินทร์ นั้น


ง พ.ศ. ๒๔๖๒ ย้ายไปเป็นผู้บังคับกอง กองร้อยเดินข่าวที่ ๑๐ จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นนายกองตรี คงประจำการอยู่กองร้อย ที่ ๑๐ จังหวัดแพร่นั้น พ.ศ. ๒๔๖๖ ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรม กรมเสือป่าราบ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๔๖๗ เลื่อนขึ้นเป็นนายกองโท กรมเสือป่ารักษา ดินแดน จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการแล้ว โรคภัยที่มีประจำตัวก็ยังรบกวนอยู่เสมอ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีฉลู เวลา ๑๓.๓๐ น. ท่านก็ถึงแก่อนิจกรรมโดยอาการอันสงบ คำนวณอายุได้ ๕๗ ปี พระยาพิริยะวิชัย มีบุตรเกิดด้วยคุณหญิงเป้า พิริยะวิชัย คนหนึ่งชื่อ นายเฟ็นต์ แต่ได้ถึงแก่กรรมภายหลังบิดาไม่สู้ช้านัก จึงได้ทำการฌาปนกิจศพพร้อมกับพระราชทานเพลิงศพ พระยาพิริยะวิชัยคราวนี้ ฯ



สารบาญ

จดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๑ กระบวนแห่พระทราย ครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ หน้า ๑ เริ่มก่อพระทราย ครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ " ๒

จดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๓ ภาษีอากร " ๖ ชำระความผู้ร้าย " ๑๐ ทำทำนบกักน้ำไว้ทำนา " ๑๓ รายงานการทำนา " ๒๓ กระบือของหลวง " ๒๔ ผู้ร้าย " ๒๖ น้ำฝนต้นข้าว " ๒๗ ชำระความ " ๒๙ ชำระความ " ๓๑ จัดซื้อข้าวขึ้นฉาง " ๓๒ ชำระความ " ๓๓ สารตราเรื่องชำระความ สั่งให้รังวัดบ้านใกล้เรือนเคียง " ๓๕ ใบบอกเรื่องช้างล้ม " ๓๙ ใบบอกเรื่องส่งดอกไม้สำหรับบูชาธรรม " ๔๐


(ข) ใบบอกเรื่องจำนวนปืนที่มีอยู่ในหัวเมือง หน้า ๔๑ อากรสมพัตสร " ๔๓

จดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔ บัญชีคนขึ้นไปปิดน้ำกรุงเก่า " ๔๙ หมายบอกข้าราชการ ว่าด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่กรุงเก่า พระราชทานส่วนพระราชกุศล " ๕๑ เสด็จพระราชดำเนินทรงปิดทองพระพักตร์พระพุทธรูป ใหญ่วัดพนัญเชิง " ๕๖ สมโภชช้างพลายเล็บดำ " ๕๗ หมายฉะบับก่อนเสด็จพระราชทานพระกฐินพยุหยาตรา เมืองประทุม เมืองกรุงเก่า " ๖๘ ขอแรงเลขที่ขึ้นจำนวนปีเถาะพายเรือแห่นำ " ๗๓ เสด็จพยุหยาตราพระราชทานพระกฐิน เมืองประทุม กรุงเก่า เกณฑ์พายเรือแห่นำ " ๗๔ ให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญพระองค์แสนณเมืองเชียงแตง " ๗๔ เชิญพระพุทธรูปแต่วังจันทรเกษมกรุงเก่ามาไว้วัดเขมา " ๗๖ ให้ซ่อมพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง และวัดหน้าพระเมรุ " ๗๘ ชำระความ " ๗๙ กำหนดการที่จะแห่เทวรูปเขาตก " ๘๐ การที่จะรับรองแห่แหนเทวรูปเขาตก " ๘๑

(ค) เสด็จก่อพระฤกษ์วัดเสนาสน์ และพระราชทานพระกฐิน วัดสุวรรณดาราม หน้า ๘๓ เร่งให้ทำตำหนักพลับพลาให้แล้วโดยเร็ว " ๘๔ เสด็จก่อพระฤกษ์วัดชุมพลนิกายาราม " ๘๕ ทรงปิดทองแผ่นอิฐ แผ่นศิลา ก่อพระฤกษ์พระพุทธ ไสยาสน์วัดเสนาสนาราม กรุงเก่า " ๘๖ การปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดชุมพลนิกายาราม " ๘๗ ทรงถวายกุฎีที่วัดเสนาสน์ " ๙๐ เสด็จถวายธูปเทียนพระสงฆ์วัดชุมพลนิกายาราม " ๙๑ จัดเรือรับพนักงานละครไปเล่นสมโภชในการปิดทอง พระพุทธรูปวัดชุมพลนิกายาราม " ๙๖ ให้ขุดดินเหนียวบางขวดลงไปส่งกรุงเทพ ฯ " ๙๘ ให้หาไม้ขอนสักยาวทำเสาธงปักในพระอารามหลวง " ๙๙ ตำนานพระที่นั่งเกาะบางปอิน " ๑๐๐





กระบวนแห่พระทราย ครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ตามที่มีรับสั่งเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๗ ปีที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์

วันอังคารเดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ ปีขาลจัตวาศก ( พ.ศ. ๒๓๒๕ ) มีหมายเวรนายควร ( รู้อัศว์ มหาดไทย ) มาว่าหลวงบำเรอภักดิ์รับสั่งใส่เกล้า ฯ สั่งว่า พระทรายอย่างแต่ก่อน ให้เอาไปท้องพระโรง(๑) แต่เพลาเย็นณวันพุธ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ ปีขาล ให้มหาดไทยกลาโหมเกณฑ์คู่แห่พระทรายตามแต่ก่อน ( แล ) พันพุฒ พันเทพราชบอกเข้าไปว่า ครั้งนี้ ( ทรงพระกรุณาโปรด ) ให้ทำราชการตามอย่าง ( เมื่อแผ่นดินสมเด็จ ) พระบรมโกษฐ์ อย่าให้เอาอย่างพระยาตากสินและอย่างธรรมเนียมครั้งพระบรมโกษฐ์นั้น ถ้าจะเกณฑ์พระหลวงขุนหมื่นเป็นคู่แห่เดินเท้าแห่หน้าแห่หลัง การสิ่งใด ๆ ถ้าแห่แต่นอกพระราชวังเข้ามา เป็นพนักงานมหาดไทยกลาโหมได้เกณฑ์ ( ถ้าแห่แต่ ) ในพระราชวังออกไปนอกพระราชวัง เป็นพนักงานเสมียนตรา

(๑) คือท้องพระโรงพระราชวังเดิม เวลานั้นแรกเสวยราชย์ ยังไม่สร้างกรุงเทพ ฯ



๒ กรมวังได้เกณฑ์ นายควรนายเวรมหาดไทยสั่งบอกเข้าไป ให้ชาววังว่าแก่หลวงรักษ์มณเฑียร หลวงบำเรอภักดิ์ หลวงรักษ์มณเฑียร หลวงบำเรอภักดิ์ สั่งให้ชาววังอยู่เวรเกณฑ์พระหลวงขุนหมื่นคู่แห่เดินเท้าแห่พระเจดีย์ทราย สั่งเวรนายควร ฯ

เริ่มก่อพระทราย ครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ตามที่บันทึกไว้เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๒๖ ปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์

อนึ่งเมื่อครั้ง ( แผ่นดิน ) สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกษฐ์นั้น ครั้นวันขึ้นปีใหม่โหรถวายฤกษ์เป็นวันมหา สงกรานต์ เจ้าพนักงานได้ก่อพระทรายหน้าพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ หมู่สี่ตำรวจรวมกันทำพระมหาธาตุองค์ ๑ สูง ๘ ศอก มียอดนภศูล พระทรายสูง ๒ ศอก ๘๐ องค์ เกณฑ์ตำรวจใน ซ้าย ๘ องค์ ขวา ๘ องค์ ตำรวจใหญ่ ซ้าย ๘ องค์ ขวา ๘ องค์ ตำรวจนอก ซ้าย ๔ องค์ ขวา ๔ องค์ สนมทหาร ซ้าย ๔ องค์


๓ ขวา ๔ องค์ สนมกลาง ซ้าย ๓ องค์ ขวา ๓ องค์ อาสา ซ้าย ๓ องค์ ขวา ๓ องค์ เขนทอง ซ้าย ๓ องค์ ขวา ๓ องค์ อาสาเดโช ๓ องค์ ( อาสาท้ายน้ำ ) ๓ องค์ ทำลุ ซ้าย ๒ องค์ ขวา ๒ องค์ รักษาองค์ซ้าย ๓ องค์ ขวา ๓ องค์ ดั้งทอง ( ซ้าย ๒ องค์ ) ขวา ๒ องค์(๑) และเครื่องราชวัฏิฉัตรธงเครื่องประดับพระทรายนั้น เจ้าพนักงานได้เบิกสิ่งของให้แก่ช่างเขียนทำ และพระทรายนั้นช่างเขียนได้ตัด(๒) ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าวันมหาสงกรานต์ ล้นเกล้าล้นกระ หม่อมเสด็จไปณพระวิหารใหญ่ด้วย(๓) นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะอธิการวัด ได้ฉันณพระวิหารใหญ่ฉลองพระทราย และที่พระ ( ทราย ) มหาธาตุและพระทรายบริวารนั้น วิเศษแต่งเทียนและบายศรี ( มี ) เทียนทองคำขวัญบูชาพระทรายองค์ละสำรับ ครั้นเสร็จ ( งาน ) พระทรายที่วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์แล้วรุ่งขึ้นเป็นวันเนา เจ้าพนักงานจึงเอาทรายและเตียงเข้าไปให้ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทรงก่อพระทรายณพระที่นั่งทรงปืน เป็น

(๑) ยอดจำนวนเกินต้นฉะบับ ๑๐ องค์ (๒) จะหมายความว่า เขียนตัดเส้นระบายสีฤๅตัดพระทรายให้เป็นรูปทรงสงสัยอยู่ (๓) พระวิหารหลวงพระศรีสรรเพ็ชญ์มี ๓ หลัง พระวิหารใหญ่คือหลังกลาง

๔ พระปรางค์ ๕ ยอด ( พนักงาน ) หมู่เรือพระที่นั่งศรีสักหลาดซ้ายองค์ ๑ หมู่เรือพระที่นั่งศรีสักหลาดขวาองค์ ๑ หมู่เรือพระที่นั่งกราบลำทรงซ้ายองค์ ๑ หมู่เรือพระที่นั่งกราบลำทรงขวาองค์ ๑ เป็นพระปรางค์ ๕ ยอด ๔ องค์ พระสถูป(๑) เจดีย์ ( พนักงาน ) หมู่เรือกราบพระที่นั่งรองซ้ายองค์ ๑ หมู่เรือกราบพระที่นั่งรองขวาองค์ ๑ หมู่เรือดั้งทหารในซ้าย นายจงใจสนิทองค์ ๑ หมู่เรือดั้งทหารในขวา นายจิตรรักษาองค์ ๑ หมู่ตำรวจในซ้าย นายไชยรักษาองค์ ๑ หมู่ตำรวจในขวา นายโชติอภัยองค์ ๑ เป็นพระสถูปเจดีย์ ๖ องค์ ทรงก่อแล้วพนักงานยกพระทรายออกมาให้ช่างเขียนตัด และเครื่องประดับพระทรายนั้น ให้เจ้าพนักงานเบิกทองอังกฤษประดับ และช่าง(๒) เขียนทำประดับประดาพระทราย แล้วยกเข้าไปตั้งไว้ณพระที่นั่งทรงปืน ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าวันเถลิงศก เสด็จ ฯ ออกฉลองพระเจดีย์ทรายเตียงยกพระที่นั่งทรงปืน พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานยกพระทรายออกมาตั้งไว้ณศาลาลูกขุนท้ายสระ พันพุฒ พันเทพราช พันจันท์ เกณฑ์เครื่องเล่นและคู่แห่เดินเท้าและม้า ปี่กลองชะนะ ธงสามชาย ปี่กลองมะลายู ปี่กลองจีน แห่พระ

(๑) ในต้นฉะบับเขียน พระประถูมเจดีย์ ที่ถูกคงเป็น พระสถูปเจเดีย์ คู่กับพระปรางค์ (๒) ในต้นฉะบับว่าเครื่องเขียน เห็นว่าคงจะเป็นช่างเขียนจึงทำประดับประดา

๕ ทรายไปไว้ณวัดวรโพธิ์ วัดพระราม วัดมงคลบพิตร ( เป็น ) อย่างธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน ( ดังนี้ ) และทุกวันนี้เสด็จลงมาสร้างพระนครอยู่เมืองธนบุรี ครั้นถึงกำหนดสงกรานต์เมื่อใด ก็ให้หมายบอกแก่เจ้าพนักงานให้ก่อพระทรายหน้าวิหารพระแก้วมรกต(๑) และพระทรายเตียงยกตามอย่างในพระบรมโกษฐ์แต่ก่อน อนึ่งถ้าเสด็จไปก่อพระทรายน้ำไหลนั้น พันทิพราช ได้คุมเจ้าพนักงานสี่ตำรวจ สนมทหาร ตำรวจนอก ไปทำพลับพลาของหลวงและข้างในและฉนวนรับเสด็จ พันเทพราชได้เกณฑ์อาสาหกเหล่าไปปลูกทิมสงฆ์และได้หมายบอกเจ้าพนักงานให้ก่อ พระทราย เป็นตำรวจในซ้าย ๓ องค์ ขวา ๓ องค์ เป็น ๖ องค์ ตำรวจใหญ่ซ้าย ๓ องค์ ขวา ๓ องค์ เป็น ๖ องค์ ตำรวจนอกซ้าย ๒ องค์ ขวา ๒ องค์ เป็น ๔ องค์ สนมทหารซ้าย ๒ องค์ ขวา ๒ องค์ เป็น ๔ องค์ รักษาองค์ซ้าย ๒ องค์ ขวา ๒ องค์ เป็น ๔ องค์ ดั้งทองซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ องค์ ทำลุซ้าย ๑ ขวา ๑ เป็น ๒ องค์ อาสาซ้าย ๒ ขวา ๒ เป็น ๔ องค์ ( อาสา ) เดโช ๒ องค์ อาสาท้ายน้ำ ๒ องค์ เขนทองซ้าย ๒ ขวา ๒ เป็น ๔ องค์ เข้ากันเป็น ( พระทราย ) ๔๐ องค์ ทหารในซ้ายขวาได้ทำวังเวียนสำหรับเวียนพระทราย และ

๑) เป็นเวลาแรกสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงก่อพระทรายหน้าวิหารพระแก้วมรกต คือหน้าพระอุโบสถทุกวันนี้

๖ ริ้วเฝือกวงรอบพลับพลานั้นเป็นพนักงานแขวงนายอำเภอ และปลาซึ่งมีในเฝือกนั้นเป็นพนักงานอาสาซ้ายขวา ได้เอาแหทอดปลาในเฝือกเสียให้สิ้นอย่าให้มีปลาเงี่ยงปลางาอยู่ได้ ครั้นฉลองพระทรายแล้วเสด็จสรงน้ำในเฝือกวงอยู่นั้น ฯ

เรื่องภาษีอากร เป็นจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๔ พ.ศ. ๒๓๘๕

หนังสือออกญาสมบัติบริบาล...........................พิริยพาหะเจ้ากรมพระคลังในขวา มาถึงพระยาวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชชาติเสนาธิบดีผู้รักษากรุงเก่า หลวงปลัดผู้ว่าราชการเมืองอ่างทองและกรมการ ด้วยนายวัดนายอากร หมื่นอินทร์ผู้เช่าสวน ทำเรื่องราวมายื่นแก่เจ้าจำนวนกรมพระคลังในขวา ว่านายมั่งเป็นที่หมื่นอินทรสมบัตินายอากรยาสูบ รับทำผูกขาด ณแขวงเมืองกรุงเก่าเมืองอ่างทอง เป็นเงินอากรจำนวนปีละ ๔ ชั่ง ๑๒ ตำลึง อากรมีภาษีอยู่หาบอกขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายไม่กับว่าอากรกรุงเก่า อากรอ่างทอง ๒ เมืองนี้ขาดทุนจึงส่งเงินอากรล่วงงวดล่วงปีช้าไป นายวัดนายอากร หมื่นอินทร์ผู้เช่าสวน ขอพระราชทานประมูลเงินอากรขึ้นอีก ๘ ตำลึง เดิม ๔ ชั่ง ๑๒ ตำลึง ประมูล ๘ ตำลึง เข้ากันเป็นเงินอากรจำนวน

๗ ปีละ ๕ ชั่ง ได้หาตัวอากรคนเก่ามาสู้ประมูลก็หาสู้ประมูล ไม่ ยอมให้ นายวัด หมื่นอินทร์ทำ................................. จึงนำเอาเรื่องราวนายวัดนายอากร หมื่นอินทร์ผู้เช่าสวน ขึ้นกราบทูลพระกรุณา ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่านายมั่งผู้เป็นที่หมื่นอินทรสมบัติ รับทำอากรยาสูบผูกขาด ณแขวงเมืองกรุงเก่า เมืองอ่างทอง เป็นเงินจำนวนปีละ ๔ ชั่ง ๑๒ ตำลึง อากรมีภาษีอยู่หาบอกขึ้นท้องพระคลังไม่ แล้วส่งเงินอากรก็หาทันงวดไม่ ก็ให้ยกนายมั่งผู้เป็นที่หมื่นอินทร สมบัติออกเสียจากที่นายอากรยาสูบให้ตั้งนายวัดไปตามเรื่องราว ที่กราบทูลพระกรุณานั้นเถิด เจ้าจำนวนได้เรียกเอานายประกันนายวัดไว้มั่นคงสมควรด้วยเงินอากรอยู่แล้ว จึงตั้งนายวัดเป็นที่หมื่นอินทรสมบัติเป็นนายอากร หมื่นอินทร์เป็นผู้เช่าสวนรับทำอากรยาสูบผูกขาดณแขวงเมืองกรุงเก่า เมืองอ่างทอง เป็นเงินอากรจำนวนปีละ ๕ ชั่ง ตั้งแต่ปีขาลจัตวาศกนี้สืบไป ครั้นถึงงวดเดือนสี่ปีขาลจัตวาศก ให้นายวัดผู้เป็นที่หมื่นอินทรสมบัติส่งเงินอากรแก่เจ้าจำนวนพระคลังในขวา ๔ ชั่ง ๑๒ ตำลึง กรมพระราชวัง ๘ ตำลึงเข้ากันเป็นเงินอากรปีละ ๕ ชั่ง อย่าให้เงินอากรค้างล่วงงวดล่วงปีไป แต่จำนวนใดจำนวนหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว ให้หมื่นอินทรสมบัติเรียกอากรยาสูบแก่ราษฎร พันหลุมต่อ ๑ บาท ตามพิกัดอัตราสืบมาแต่ก่อน ถ้าราษฎรปลูกยาสูบขึ้นแต่ ๙ หลุม ๑๐ หลุมนั้น ห้ามมิให้เรียกเอาอากร

๘ ถ้าปลูกที่สัตพระสัตสงฆ์ให้นายอากรมีบัญชีไว้ต่างหาก จะได้ยกไว้เป็นเงินเกณฑ์บุญ อนึ่งให้หมื่นอินทรสมบัติเรียกอากรยา สูบแต่โดยสัตย์โดยจริงตามพิกัดอย่างธรรมเนียม ห้ามมิให้หมื่นอินทรสมบัติเรียกอากรยาสูบล่วงแขวงล่วงอำเภอให้ล้ำเหลือผิด ด้วยอย่างธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน อนึ่งสมัครพรรคพวกบ่าวและทาสหมื่นอินทรสมบัติ ไปเรียกอากรยาสูบด้วยกันนั้น ถ้าเกิดวิวาทกันเป็นแต่เพียงเนื้อความมะโนสาเร่ ก็ให้หมื่นอินทรสมบัติว่ากล่าวแต่ในกันเอง ถ้าเป็นเนื้อความมหันตโทษข้อใหญ่ก็ให้ส่งไปยังผู้รักษาเมือง กรมการพิจารณาว่ากล่าวตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าราษฎรฟ้องหากล่าวโทษหมื่นอินทรสมบัติ ก็ให้แต่งทนายไปว่าไปแก้ต่างอย่าขัดขวางคดีของราษฎรไว้ อนึ่งห้ามอย่าให้.....................ข้าหลวงผู้ไปมากิจราชการและผู้รักษาเมือง กรมการ แขวงนายบ้านนายอำเภอเกาะกุมหมื่นอินทรสมบัติและพรรคพวก บ่าวและทาสซึ่งไปเรียกอากรด้วยกันนั้นกะเกณฑ์ไปใช้ราชการเบ็ดเสร็จ ซึ่งมิได้เป็นพนักงานและเก็บเรือยืมเรือแจวจังกูดกรรเชียงถ่อพาย เครื่องสำหรับเรือไปให้ป่วยการทำอากรแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อนึ่งให้หมื่นอินทรสมบัติว่ากล่าวห้ามปรามแก่พรรคพวกบ่าวและทาสซึ่งไปเรียกอากรด้วย กันนั้น อย่าให้ทำข่มเหงฉกชิงฉ้อตระบัดทำกรรโชกราษฎร์ เป็นโจรผู้ร้ายปล้นสดมเอาพัสดุทองพัสดุเงินเครื่องอัญญมณี ของสมณะชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร และลูกค้าวานิช ทางบกทาง

๙ เรือ และสูบฝิ่นกินฝิ่นซื้อฝิ่นขายฝิ่นทำลายพระพุทธรูปพระสถูปพระเจดีย์พระศรีมหาโพธิพระอุโบสถพระวิหารการเปรียญ วัดวาอารามฆ่าช้างเอางาและขนาย ฆ่าสัตว์อันมีคุณซื้อขายสิ่งของอันต้องห้าม กระทำให้ผิดพระราชกำหนดกฎหมายห้ามปรามเก่าใหม่ แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นขาดทีเดียว ถ้าเถิงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารทพิธีสารท ก็ให้หมื่นอินทรสมบัติไปพร้อมด้วยเจ้าเมืองกรมการ กราบถวายบังคมรับพระราชทานน้ำพระพิ พัฒน์สัจจาปีละสองครั้งจงทุกปี ครั้นหนังสือนี้มาเถิงวันใด ถ้ามีตราพระราชสีห์มาด้วยตามอย่างธรรมเนียมแล้ว ก็ให้กรมการทั้งหลายลอกเอาท้องตรานี้ไว้ ประทวนส่งต้นตรานี้ให้แก่นายวัด ผู้เป็นที่หมื่นอินทรสมบัติคนใหม่ แล้วให้หมายยกนายมั่งผู้เป็นที่หมื่นอินทรสมบัติคนเก่าออกเสียจากที่หมื่นอินทรสมบัตินาย อากรยาสูบ ให้นายวัดผู้เป็นที่หมื่นอินทรสมบัติคนใหม่เรียกอากรยาสูบณแขวงเมืองกรุงเก่า เมืองอ่างทอง ตามท้องตราตั้งมานี้จงทุกประการ หนังสือมาณวันพุธขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๙ ปีขาล นักษัตรจัตวาศก ฯ




๑๐ เรื่องชำระความผู้ร้าย

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ ฯ มาเถิงพระยาไชยวิชิต ผู้รักษากรุงเก่ากับกรมการ ด้วยนวมข้าในกรมหลวงรักษ์รณเรศนายผูกบ่าวนายบัวมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ทำเรื่องราวมายื่นยังลูกขุน ณศาลากล่าวโทษ พระปลัด หลวงจ่าเมือง หลวงสุภมาตรา ขุนศรเลข นายเมืองบุตรผู้รักษากรุง ภูดาษคลาย เสมียนปลอม กับนายเสง นายอิน นายรอด นายสง นายขาว นายอ่อน โจทย์ ขุนศรี อำแดงศรีภรรยาขุนศรี อำแดงอ่วมบุตรขุนศรี อ้ายผึ่งทาสขุนศรี อ้ายอ่ำ อ้ายโพ อ้ายอ่อน อ้ายเมก อ้ายศุกลิ อ้ายยิ้ม อ้ายอินสูง ผู้ร้าย เป็นใจความว่า นายนวม นายผูก ทำเรื่องราวความผู้ร้ายเสี้ยนหนามแผ่นดิน ยื่นกับพระยาไชยวิชิต พระปลัดกรมการ กล่าวโทษขุนศรีนายอำเภอนอกราชการว่า ณเดือน ๑๒ ปีขาลจัตวาศก นายอิน นายรอด นายอ่อน ฟ้องกับขุนศรีนายอำเภอว่า อ้ายศุก อ้ายยิ้ม อ้ายอิน เป็นผู้ร้ายลักกระบือ นายอิน นายรอด นายอ่อนไป ขุนศรีถาม อ้ายศุก อ้ายยิ้ม อ้ายอิน รับเป็นสัตย์ตามฟ้อง ขุนศรีกับอำแดงศรีภรรยา อ้ายผึ่งทาส ลงเอาเงินกับอ้ายศุก อ้ายยิ้ม อ้ายอิน คนละ ๑๕ ตำลึง ปล่อยผู้ร้ายเสีย รายหนึ่งนายเสงฟ้องว่าขุนศรีจับผู้ร้ายลักกระบือ ลักเรือได้ ๕ รายลงเอาเงินปล่อยเสีย ผู้รักษากรุงให้ขุนศรเลขเป็นตระลาการ ขุนศรี นายเสง คุมกันอยู่ยังหาได้ถามไม่ ขุนศรี

๑๑ นายเสงพากันหนีไป ขุนศรี อำแดงศรีภรรยาขุนศรี อำแดงอ่วมบุตรขุนศรี อ้ายผึ่งทาสขุนศรี ขอเสียเงินให้กับนายเสงโจทย์ นอกตระลาการปิดความผู้ร้ายเสีย นายนวม นายผูก ฟ้องให้เรียกขุนศรี นายอิน นายเสง นายเรือง กับ อ้ายผึ่ง อ้ายอ่ำ อ้ายโพ อ้ายอ่อน อ้ายเมก อ้ายศุก อ้ายยิ้ม อ้ายอินสูง ผู้ร้ายพิจารณา ผู้รักษากรุงให้พระปลัดเป็นตระลาการ เกาะได้ตัวขุนศรีมาแล้วหาพิจารณาไม่ ปล่อยให้ขุนศรีฟ้องกล่าวโทษ อำแดงขำ อำแดง ฤทธิ์ ภรรยานายนวม นายผูก ต่อหลวงจ่าเมือง กรมการ นาย เมืองบุตรผู้รักษากรุง ประทับฟ้องให้หลวงสุภมาตราเป็นตระลา การเกาะเอาตัว นายนวม นายผูก มาเป็นจำนำแทนตัว อำแดง ขำ อำแดงฤทธิ์ แล้วหาพิจารณาไม่นั้น ความทั้งนี้จะเท็จจริง ประการใดหาแจ้งไม่ และนายนวม นายผูก ว่ากล่าวด้วยความ โจรผู้ร้ายทั้งนี้เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน ครั้นจะให้พระยาไชย วิชิตกรมการชำระว่ากล่าวต่อไป ก็เกี่ยวข้องเป็นข้ออุทธรณ์อยู่ จึงให้เอาลงมาณกรุงเทพ ฯ จะได้ส่งไปให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตน ราชโกษาแม่กองชำระความผู้ร้ายลักช้างม้าลักโคกระบือ ให้เห็น เท็จและจริง แต่พระปลัดนั้นราชการสำหรับเมืองมีมากอยู่ ถ้า พระปลัดให้ขุนศาลชำระความรายนี้อยู่ ก็ให้แต่งขุนศาลลงมาแก้ คดีต่าง ถ้าพระปลัดว่ากล่าวอยู่เอง ก็ให้พระปลัดลงมาแก้คดี ตามกฎหมาย บัดนี้ให้หมื่นวิเศษอักษรมหาดไทยถือตราขึ้นมา ให้ พระยาไชยวิชิต กรมการส่งตัวพระปลัด หลวงจ่าเมือง หลวง

๑๒ สุภมาตรา นายเมืองบุตรผู้รักษากรุง ขุนศรเลข ภูดาษคลาย เสมียนปลอม ให้กับข้าหลวง ถ้าผู้มีชื่อซึ่งมีตราขึ้นมาให้ส่งหลบ หลีกหนีมิพบตัว ก็ให้เกาะกุมผู้คนลูกเมียซึ่งอยู่ณเรือนมาเป็น จำนำเร่งรัดเอาตัวส่งให้กับข้าหลวงคุมลงไปณกรุงเทพ ฯ จงได้โดย เร็ว และให้พระปลัด หลวงจ่าเมือง หลวงสุภมาตราคุมเอาตัว นายเสง นายอิน นายรอด นายสง นายขาว นายอ่อน โจทย์ กับขุนศรี อำแดงศรีภรรยาขุนศรี อำแดงอ่วมบุตรขุนศรี อ้ายผึ่ง ทาสขุนศรี และจำเลย อ้ายอ่ำ อ้ายโพ อ้ายอ่อน อ้ายเมก อ้ายศุกลิ อ้ายยิ้ม อ้ายอินสูง ผู้ร้ายคู่ความเดิม กับฟ้องและถ้อยคำ สำนวนบรรดาได้ชำระว่ากล่าวลงไปพร้อมด้วยข้าหลวงให้สิ้น จะ ได้ให้ตระลาการชำระว่ากล่าวให้สำเร็จตามข้อความ ห้ามอย่าให้ข้าหลวงผู้ถือตราเก็บเอาเนื้อความอื่นนอกท้องตรามาว่ากล่าวลง เอาพัสดุทองเงิน และกระทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย ห้ามปรามเก่าใหม่แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว หนังสือมาณวันอังคาร เดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ ปีเถาะ เบ็ญจศก วันเดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ เจ้าคุณฝ่ายเหนือว่าราชการณศาลา ลูกขุน พระพรหมธิบาลนำเอาเรื่องราว นายนวม นายผูก มา กราบเรียนกล่าวโทษ พระปลัด กรมการกรุงเก่า ครั้นณวันเดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ เจ้าคุณฝ่ายเหนือว่าราชการณศาลาลูกขุน ได้เอาร่างตรานี้กราบเรียนแล้ว ได้มอบตัวนายนวม นายผูก ให้นายแก้วผู้คุมรองนายเกิดเรียกนายประกันไว้แล้ว

๑๓ ได้มอบตัวให้พันพิษณุราช แล้วได้ส่งตรานี้ให้พันพิษณุราชรับ ไปแต่ณวันเดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ ฯ

เรื่องทำทำนบกักน้ำไว้ทำนา

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงเจ้าพระยาพระคลังว่าที่ สมุหพระกลาโหม ด้วยบอกลงไปว่าณวันเดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ ฝนตกครั้งหนึ่งณวันเดือน ๑๑ แรม ๑๐-๑๑-๑๒ ค่ำ ฝนตกประปรายทั่วทุกอำเภอ น้ำแขวงกรุงเก่าตั้งแต่ณวันเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ มาจนวันเดือน ๑๑ แรม ๑๓ ค่ำน้ำลด ๒ นิ้ว แขวงเมืองอ่างทองตั้ง แต่ณวันเดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำมาจนวันเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำน้ำลด ๖ นิ้ว น้ำแควประสักณวันเดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำฝนตกหนัก ข้าง เมืองสระบุรีน้ำกลับขึ้นอีก ๘ นิ้ว ครั้นวันเดือน ๑๑ แรม ๑๓ ค่ำน้ำถอยลง ๖ นิ้ว นาปักน้ำฝนขังท้องนา ที่ลุ่มคืบเศษ ที่ ดอนคืบหนึ่งบ้าง ไม่ถึงคืบบ้าง ต้นข้าวงามดี เจ้าพระยา พลเทพ พระยาสุรเสนา พระยาไชยวิชิต ได้ลงทำนบ ปิดคลองกุ่ม คลองสาน คลองโพ คลองวัดกลอเหนือ วัดเกาะเลิ่ง คลองใต้ คลองสาน คลองวัดเขาดิน คลอง ข้าวเม่า เข้ากัน ๘ คลอง ถมดินแล้วยังยกคันคลองที่ต่ำขึ้นมาที่ สูงแขวงเสนา เจ้าพระยามหาโยธาลงทำนบปิดคลองบ้านกบเจา คลองงัว คลองน้ำเต้า บ้านช่างเหล็ก ๔ ตำบล ถมดินแล้ว

๑๔ ปลายคลองบางปลาหมอออกคลองมโนราปักหลักใส่คานตีแตะ แล้วยังไม่ได้ทิ้งดินคลองหนึ่ง แต่คลองกะทุ่ม คลองบ้านกอไผ่ คลองบางหัก ต้นสะตือ น้ำยังไหลเข้าทุ่งอยู่ ถ้าน้ำไหลกลับ ออกมาจะได้ปิดต่อไป กับจะพูนดินคันคลองมโนราที่ต่ำขึ้นหา ที่สูงไม่ให้น้ำไหลออกได้ พระยาเกียรติ์ พระยากาญจนบุรี พระปลัดกรุงเก่า ได้ปิดคลองวัดลาด คลองสำรอก ๒ คลอง ลงทำนบถมดินแล้ว ยกคันคลองที่ต่ำขึ้นหาที่สูงได้ ๔๕ เส้น ยังอีก ๑๐ เส้นจะแล้ว คลองต้นตาล คลองอิ่มตายใต้ คลอง อิ่มตายเหนือ คลองอิ่มตาย เข้ากัน ๔ คลองได้ปักหลักวาง คานตีแตะแล้วยังไม่ถมดิน ยังคลองยาญี ๒ คลอง ๆ หางกะ เบน ๒ คลอง คลองตะหม้อ คลองแฟงใหญ่ คลองแฟง น้อย จะได้ปิดต่อไป พระชนะหงษาปิดคลองบ้านแมนแล้ว คลองหนึ่ง พระยาราชสุภาวดีขึ้นไปตรวจทุ่งนาแขวงเมืองอ่าง ทอง แขวงเมืองลพบุรี กลับมาแจ้งว่าได้ขอแรงลาวกอง เมืองพรหม เมืองสิงห์ เมืองอ่างทอง ๑๕๐ คน ให้พระยา สุพรรณนอกราชการ หลวงเสนานนท์ ขุนศรีทิพโภช กำ กับช่วยราษฎรปิดคลองบางผี คลองมะนาวหวาน แล้วให้ ยกคันหน้าตลิ่งกันน้ำไว้ แขวงเมืองลพบุรี บ้านใหม่ บ้านโก่งธนู บ้านสามพะเนียง น้ำแม่น้ำสูงกว่าน้ำท้องนาศอกเศษ ได้ขอแรงลาวเมืองลพบุรีของกรมช้างช่วยราษฎรชาวบ้านขุดราง น้ำ ๒๙ ราง ทำ ๒ วันแล้ว น้ำไหลเข้าทุ่ง วันแรกน้ำในทุ่ง

๑๕ ขึ้น ๕ นิ้ว วันหลังขึ้น ๔ นิ้ว ราษฎรพากันยินดีว่าข้าวทุ่งนี้ คงจะได้ผลรับพระราชทาน แลน้ำแขวงเมืองลพบุรีน้อยกว่า น้ำปีขาล ๒ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้วน้ำในทุ่งที่ลุ่มลึก ๒ ศอก ๓ ศอก ที่ ดอน ศอกหนึ่งบ้าง คืบหนึ่งบ้าง นาหน้าตลิ่งน้ำไม่ถึงต้นข้าว ถ้าไม่ปิดถ้าไม่ไขน้ำ ๆ ลงในเดือน ๑๑ ข้างแรม เดือน ๑๒ ข้างขึ้น ต้นข้าวจะเสียเป็นอันมาก ถ้าปิดคลองตะพานอิฐ คลองศาลา สูง คลองบางขันหมาก คลองบางกระบือ คลองบางคู คลอง มะขามเทศ คลองม่วงหมู่ ๗ คลองขังน้ำไว้ได้จะได้ผลเมล็ด ข้าว ๕ ส่วนเสีย ๑ ได้มอบการให้หลวงคชศักดิ์ หลวงสุนทร กรมม้า หลวงจำนงราชาให้กำกับช่วยราษฎรปิดคลองอย่าให้น้ำ ไหลออกได้ เมืองสุพรรณพระยานราราชมนตรีบอกมาว่า น้ำ ปีเถาะเบ็ญจศกน้อยกว่าปีขาลจัตวาศก ๒ ศอก ๑ คืบ น้ำแม่น้ำต่ำ กว่าน้ำท้องนา น้ำหาเข้าทุ่งไม่ ได้มีหนังสือไปเถิงพระยานราราช มนตรีให้ตรวจดูที่แห่งใดหน้าตลิ่งต่ำพอจะไขน้ำเข้าท้องนาได้ ก็ ให้ไขน้ำเข้าในนา ที่น้ำฝนขังท้องนาอยู่นั้น ให้ปิดให้กันน้ำไว้ อย่าให้ไหลตกลำคลองได้ กับหมื่นคชบริบาล หมื่นสงครามนเรน ไปสืบน้ำฝนต้นข้าวเมืองนครนายก พระนครนายกกรมการ บอกมาว่าฝนงดหาตกไม่ นาลุ่มดินยังเปียกชุ่มอยู่ ที่นาดอน ดินแห้ง หมื่นคชบริบาล หมื่นสงครามนเรน แจ้งว่ากลับมา แต่เมืองนครนายกเถิงบ้านนา วันเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำฝนตก หนักทั้งกลางวันกลางคืน และนาแขวงกรุงเก่ามีจำนวนอยู่ ๒

๑๖ แสนเศษ พระยาไชยวิชิตว่าซึ่งปิดน้ำ ๓ ตำบลนี้ ปิดไว้ ให้รอช้าพอน้ำเลี้ยงต้นข้าวได้ จะได้ผลแบ่ง ๓ ส่วนได้ ๒ ส่วน เสียน้ำเข้าเถิงแต่น้อย น้ำเข้าไม่เถิงส่วนหนึ่ง และณเมือง ลพบุรีไขน้ำปิดไว้ได้จะได้ ๗ ส่วนเสีย ๓ ส่วน เมืองอ่างทองปิด น้ำไว้ได้จะได้ ๖ ส่วนเสีย ๔ ส่วนนั้น ได้นำเอาหนังสือบอกขึ้น กราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละออง ฯ แล้ว ทรงพระ กรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งบอกรายการลงทำนบ ถม ดินปิดคลองไขน้ำเข้านายกคันคลอง และบอกอาการน้ำท่าน้ำ ฝนต้นข้าวในนาลงไปว่าถ้าไม่ไขน้ำ นาแขวงกรุงเก่า แขวงเมืองอ่างทอง แขวงเมืองลพบุรี ต้นข้าวจะเสียเป็นอันมาก ถ้า จัดแจงไขน้ำจัดแจงปิดน้ำกันน้ำในนาไว้ต้นข้าวในนาจะได้ผลมาก ขึ้นนั้น ก็ต้องกับทรงพระราชดำริ ได้ทรงพระกรุณาดำรัส ปฤกษา เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาพลเทพ พระยา ราชสุภาวดีแต่เดิมแล้ว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ เจ้าพระยา พระคลัง เจ้าพระยาพลเทพ เจ้าพระยามหาโยธา พระยาราชสุภาวดี พระยาสุรเสนา ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย กับเจ้าเมือง กรมการขึ้นมาช่วยกันคิดอ่านไขน้ำปิดน้ำกันน้ำในนาไว้ แล้วได้ โปรดเกล้า ฯ ให้มีตราให้หมื่นชาญณรงค์ถือขึ้นมาว่า เสียแรงเจ้าพระยาพระคลัง ฯ กับเสนาบดีผู้ใหญ่ได้ขึ้นมาแล้ว ให้เร่ง รีบจัดแจงไขน้ำเข้าในท้องนาปิดกันน้ำไว้ อย่าให้น้ำในท้องนา ไหลบ่าลงลำน้ำลำคลอง ได้แจ้งอยู่ในท้องตราซึ่งทรงพระกรุณา ๑๗ โปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาแต่ก่อนทุกประการ และณกรุงเทพ ฯ ได้ โปรดเกล้า ฯ ให้เผดียงพระสงฆ์ราชาคณะเจ้าอธิการวัดในกรุง นอกกรุงเทพ ฯ ให้ตั้งพิธีสวดพระพุทธมนต์ขอฝน สระสงฆ์เจ้าทั้ง ปวงได้ประชุมพร้อมกันตั้งพิธีสวดพระพุทธมนต์ ทุกวัดวาอาราม เดชอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยเจ้า กับทั้งอำนาจพระสงฆ์ประชุม พร้อมกัน และพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ กอบไปด้วยพระราช ศรัทธาและทรงพระเมตตาทวีคูณเป็นอันยิ่ง ฝนตกตั้งแต่ณวัน เดือน ๑๑ แรม ๙-๑๐-๑๑ ค่ำ ได้จดหมายอาการน้ำฝนให้ หมื่นชาญณรงค์ถือขึ้นมาแต่ก่อนแล้ว ณวันเดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำฝนตกหนักแต่เพลาพลบค่ำไปจนเพลา ๔ ทุ่ม ณวัน เดือน ๑๑ แรม ๑๓ ค่ำเพลาบ่ายฝนตกมาก ตกไปจน ๓ ชั่วโมง เศษ ฝนตกคราวนี้ทั่วแขวงกรุงเทพ ฯ แขวงเมืองนนทบุรี แขวงเมืองประทุมธานี เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทรปรา การ มีน้ำขังท้องนาลึก ศอกเศษ ศอกหนึ่ง คืบหนึ่ง คืบเศษ ไม่ถึงคืบบ้าง ทั่วกันทุกอำเภอ ราษฎรเจ้าของนาที่มีต้น กล้ายังปักดำเพิ่มเติมลงอีกจะทำไปจนเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำ ขึ้น ๖ ค่ำ ราษฎรที่มีเนื้อนาอยู่ ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐-๖๐-๗๐ ไร่ มีต้นกล้าอยู่ ได้ปักดำสิ้นเนื้อนา แต่นาเจ้าต่างกรม นาเจ้า หากรมมิได้ นาข้าราชการที่มีนามาก ๑๐๐-๒๐๐-๓๐๐ ไร่ สิ้นต้นกล้าเสียปักดำ หาสิ้นเนื้อนาไม่ ต้นข้าวใน ๒ ๑๘ นาข้าวเบาที่ได้ทำลงไว้แต่ก่อนได้บ้างออกรวงเป็นลูกหวาย ข้าวกลางปีต้นกลมกลัดยอดข้าวหนัก ได้ฝนคราวนี้ต้นข้าวงามบริ บูรณ์ทั่วกัน และนาแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีโปรดเกล้า ฯ ให้นาย แก้วภักดีนายเวรพระตำรวจออกไปสืบ พระยาเพ็ชรบุรีกรมการ บอกเข้ามาว่า นาเจ้าเมือง นากรมการ ราษฎรฝั่งตะวัน ออกแต่ก่อนน้ำขังท้องนา ๔ ส่วน ไม่มีน้ำ ราษฎรไม่ได้ทำส่วน หนึ่ง นาฝั่งตะวันตกราษฎรได้ทำประมาณ ๕ ส่วน น้ำขังท้องนา ๑-๒-๓-๔ นิ้ว ๒ ส่วน ที่ดอนท้องนาแห้งประมาณ ๓ ส่วน ครั้นณวันเดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ฝนตกประปรายมาจนณวันเดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ ณวันเดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ แรม ๙-๑๐-๑๑ ค่ำ ฝนตกมาก ตก พรำทั้งกลางวันกลางคืน ณวันเดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ เพลา เช้าน้ำป่าหลากมาประมาณศอกหนึ่ง เพลาเย็นน้ำทวีมากขึ้น ๒ ศอก เพลาค่ำขึ้นอีก ๒ ศอก น้ำไหลเข้านาดอนนาสะเทิ้นได้ทุก ตำบล น้ำทรงอยู่ น้ำเข้าทุ่งทั่วกันได้แล้ว พระยาเพ็ชรบุรี กรมการให้ป่าวร้องราษฎรที่มีต้นกล้าให้ปักดำทำต่อไป แจ้ง อยู่ในหนังสือบอกเมืองเพ็ชร์บุรี ซึ่งลอกสำเนาขึ้นมานั้นแล้ว และณกรุงเทพ ฯ เค้าฝนก็ยังตั้งอยู่ เห็นฝนยังจะตกต่อไปอีก นา สวนแขวงกรุงเทพ ฯ แขวงเมืองนนท์ กับนาแขวงเมืองเพ็ชร์บุรี พระยาศรีพิพัฒน์กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าได้ให้ไปตรวจดูนาทุกอำเภอ น้ำที่เลี้ยงต้นข้าวในนานั้นจะพอกันกับข้าวจะออกรวง สุกได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นวางพระทัยอยู่แล้ว ทรง

๑๙ พระราชวิตกแต่นาแขวงกรุงเก่า แขวงเมืองอ่างทอง แขวงเมือง ลพบุรี แขวงเมืองสระบุรี แขวงเมืองนครนายก หัวเมืองทั้งนี้เนื้อ นามีมาก น้ำที่กรุงเก่า ที่เมืองอ่างทอง ก็ลดอยู่แล้ว การปิดน้ำต้อง รีบเร่งทำอย่าให้ทันน้ำในท้องทุ่งไหลบ่าออกได้ การปิดน้ำเป็นการ แผ่นดินการใหญ่สำคัญ ให้เจ้าพระยาพระคลัง ฯ เจ้าพระยาพลเทพ เจ้าพระยามหาโยธา พระยาราชสุภาวดี พระยาสุรเสนาตรวจตรา ดูแลกำชับกำชาข้าราชการ เจ้าเมือง กรมการ ให้ตั้งใจช่วยราษฎร แขวงกรุงเก่า แขวงเมืองลพบุรี แขวงเมืองอ่างทอง ปิดคลองลงทำ นบ ถมดินยกคันคลองบันจบที่สูงที่ทำยังไม่แล้วก็ให้เร่งรัดทำให้ แล้ว ที่แห่งใดตำบลใดจะต้องไขน้ำปิดน้ำยกคันกั้นน้ำ ก็ให้ ทำให้ทั่วทุกตำบล ให้ผู้ใหญ่แยกไปตรวจตราทุกหน้าที่ และบัดนี้ น้ำก็เคลื่อนลดอยู่แล้ว ถ้าการปิดน้ำช้าไป น้ำในท้องนาจะไหล ออกเสีย ให้เร่งรีบทำให้แล้วโดยเร็ว ทำให้มั่นคง ขังน้ำในท้อง นาไว้ให้จงได้ ให้มีน้ำเลี้ยงต้นข้าวอยู่กว่าจะออกรวงสุก และ ที่เนื้อนามีน้ำอยู่น้อยนั้น จะเห็นว่าน้ำจะไม่เลี้ยงต้นข้าวอยู่จน ออกรวง ก็อย่าให้ทอดอาลัยเสีย ถ้ามีที่ปิดที่กั้นน้ำ ควร จะทำก็อย่าให้ละความเพียรให้ปิดกั้นขังน้ำในท้องนาไว้ให้ราษฎร เจ้าของนามีความเพียรวิดสาดน้ำเข้าในนา และเอาถ่อแทงท้อง นาให้เป็นช่องเป็นหลุม ให้น้ำขังอยู่ได้ เมื่อฝนตกเพิ่มเติมลง น้ำไม่ไหลออกได้ก็พอจะได้ผลบ้าง ผลเมล็ดข้าวจะได้มากขึ้น ด้วยอำนาจพระเดชพระคุณ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ

๒๐ ให้ขึ้นมาช่วยกันปิดน้ำไว้ จนข้าวออกรวงสุกได้ ข้าวไม่สู้มี ราคาแพงมากแล้ว สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรไม่ได้ความเดือดร้อน ก็จะเป็นพระเกียรติยศในใต้ฝ่าละออง ฯ สมเด็จพระ พุทธเจ้าอยู่หัว และเป็นกองการกุศลผลประโยชน์กับเสนา บดีข้าราชการ เจ้าเมือง กรมการ ผู้ซึ่งปิดน้ำกั้นน้ำเลี้ยงต้น ข้าวไว้ได้ตามท้องตราซึ่งโปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาแต่ก่อน และซึ่ง บอกลงไปว่ากรุงเก่ามีเนื้อนาอยู่ ๒ แสนเศษ พระยาไชยวิชิต ว่าปิดน้ำไว้ให้รอช้าพอน้ำเลี้ยงต้นข้าวได้ จะได้ผลแบ่งสามส่วน ได้ ๒ ส่วน เสียน้ำเข้าเถิงแต่น้อยน้ำเข้าไม่เถิงส่วนหนึ่งนั้น จะประมวลนาแขวงกรุงเก่าทั้งสองแสนเศษ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ปิด น้ำไว้ได้ ๒ ส่วนเสียส่วนหนึ่ง ที่เสียนั้นจะประมาณเอานาที่น้ำ เข้าเถิงน้อย กับน้ำที่ไม่เถิงต้นข้าวกันเป็นเสียส่วนหนึ่งหรือ ๆ จะแบ่งส่วนประการใด ความในหนังสือบอกไม่ชัด ได้โปรด เกล้า ฯ ให้ พระราชเสนา หลวงศรีเสนา กับขุนอักษรเสมียน ตราผู้ถือหนังสือบอกผลัดกันอ่านทั้ง ๓ คน ก็ได้ความเป็นแต่ เงา ๆ อยู่ หาแจ่มแจ้งไม่ และการประมาณข้าวในนาจะได้เสีย เป็นการสำคัญ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะใคร่ทรงทราบให้แจ่ม แจ้ง ให้ประมาณข้าวในนาที่ราษฎรทำลงได้สิ้นเนื้อนา ๒ แสน เศษหรือประการใด ปิดกันน้ำไว้ต้นข้าวของราษฎรที่ทำลงไว้จะ ได้ผลสักเท่าใด จะเสียสักเท่าใด ให้บอกลงไปให้ชัด กับซึ่ง บอกหนังสือให้หมื่นชาญณรงค์ถือลงไปว่า จะปิดกั้นน้ำเหมือนครั้ง

๒๑ ก่อน น้ำปีนี้น้อยกว่าแต่ก่อน น้ำจะไหลออกเสียได้ คิดจะยกคัน กั้นน้ำในท้องนาไว้ไม่ให้บ่าลงคลอง น้ำปีเถาะน้อยกว่าปีขาล ๓ ศอก ๙ นิ้ว และบอกลงไปครั้งนี้ว่าน้ำลด แต่วันเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ มาจนณวันแรม ๑๓ ค่ำน้ำลด ๒ นิ้ว น้ำปีเถาะจะน้อยกว่าปีขาล สักเท่าใดหามีกำหนดไม่ ให้เจ้าพระยาพระคลังไล่เลียงไต่ถาม พระยาวิชิต น้ำที่ลดกรุงเก่าน้ำลดวันใด น้ำปีเถาะเบ็ญจศกน้อย กว่าน้ำปีขาลจัตวาศกเท่าใด น้ำปีเถาะนี้จะมากน้อยกว่าปีมะโรง จัตวาศกสักเท่าใด ให้บอกกำหนดลงไปให้แน่ จะได้เขียน จารึกเป็นแบบแผนไว้ จะได้เป็นที่สังเกตน้ำต่อไปภายหน้า และ ซึ่งหมื่นคชบริบาล หมื่นสงครามนเรน ไปสืบอาการน้ำฝนต้นข้าว แขวงเมืองนครนายก กลับมาแจ้งกับเจ้าพระยาพระคลัง ฯ ว่า มาเถิงบ้านนา ณวันเดือน ๑๑ ฝนตกหนักทั้งกลางวันกลางคืน นั้น บ้านนาจะไปเมืองนครนายกทาง ๔๐๐-๕๐๐ เส้น ชอบ แต่หมื่นคชบริบาล หมื่นสงครามนเรน จะกลับคืนออกไปสืบ ถามเจ้าเมือง กรมการ ไต่สวนดูฝนจะตกทั่วแขวงเมืองนครนายก หรือไม่ จะได้น้ำฝนขังนาอยู่สักเท่าใด เจ้าพระยาพระคลังก็ จะได้บอกอาการน้ำฝนต้นข้าวลงไป สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็จะได้ทรงทราบใต้ฝ่าละออง ฯ หมื่นคชบริบาล หมื่นสงคราม นเรน ก็ไม่กลับคืนออกไปสืบสวน มันเป็นคนเกียจคร้านหาเห็น แก่ราชการไม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงคอยฟังข่าวอาการ น้ำฝนต้นข้าวแขวงกรุงเก่า แขวงเมืองอ่างทอง แขวงเมืองลพบุรี

๒๒ แขวงเมืองสระบุรี แขวงเมืองนครนายก แขวงเมืองสุพรรณอยู่ ไม่ทราบ ให้แต่งคนไปสืบสวนให้แน่นอน บอกอาการน้ำฝนต้น ข้าวและรายการปิดน้ำลงไปให้แจ้งทุกประการ ตามท้องตราซึ่ง โปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาแต่ก่อน ถ้าการลงทำนบถมดินยกคันคลอง ปิดน้ำขังท้องนาไว้เสร็จการเป็นที่ไว้ใจได้แล้ว เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาพลเทพ เจ้าพระยามหาโยธา พระยาราชสุภาวดี พระ ยาสุรเสนา ก็จะได้กลับลงไปเฝ้าทูลละออง ฯ แจ้งราชการณกรุง เทพ ฯ หนังสือมาณวันอังคารเดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีเถาะเบ็ญจศก ร่างตราท่านหลวงศรีเสนาทำ ได้กราบเรียนเจ้าคุณฝ่ายเหนือ เจ้าคุณปลายเชือก เจ้าคุณศรีพิพัฒน์ ตกแทรกวงกาแล้ว ครั้น ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลาค่ำเสด็จออกหน้าพระที่นั่งอัมมรินทร วินิจฉัย เจ้าคุณฝ่ายเหนือเอาร่างตรานี้กราบทูลพระกรุณาให้หลวง ศรีเสนาอ่านทูลเกล้า ฯ ถวายจนสิ้นข้อความแล้ว ฯ ทรงโปรด เกล้า ฯ ให้มีไปตามร่างนี้เถิด กับให้ลอกหนังสือสำเนาบอกอาการ น้ำฝนต้นข้าวเมืองเพ็ชร์บุรี ให้ขุนอักษรเสมียนตราถือขึ้นไปด้วย วันเดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ ได้ส่งตราให้ ขุนอักษรเสมียนตรารับ ไป ฯ



๒๓ เรื่องรายงานการทำนา

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ ฯ มาเถิงพระยาไชยวิชิตผู้ รักษากรุงเก่า ด้วยบอกลงไปว่าณเดือน ๖ ฝนตกชดเชยตกมาก บ้างน้อยบ้าง ตกรายบ้านไปทั่วกันทั้ง ๔ อำเภอ แขวงเสนาแขวง นคร ราษฎรได้ไถดะแปรนาข้าวหางม้าข้าวเบาข้าวสามเดือนทัน สารทชุกชุม ที่ได้ไถหว่านข้าวหางม้าคนละกระทง ๒ กระทงก็มีบ้าง แขวงอุทัยราษฎรเพาะกล้าข้าว ๓ เดือนทันสารท ขึ้นสูง ๙- ๑๐-๑๔-๑๕-๒๐ นิ้ว ได้ปักดำทำต่อไปบ้าง ยังย่ำเทือกไถคราด อยู่บ้าง ยังกำลังเร่งรีบทำอยู่ทุกวัน แต่นาข้าวหนักนาข้าวเบา กลางปีนาทุ่งทั้งสี่อำเภอราษฎรได้ออกไถดะแปรอยู่ ยังหาได้ หว่านไม่นั้น ได้นำหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา แล้ว จึงทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า การทำ นาปีนี้หาเหมือนทุกปีไม่ ทรงพระราชดำริว่าจะให้ข้าราชการ เจ้าเมือง กรมการ ราษฎรทำไร่นาให้ทั่วหน้าพร้อมมูลกัน ความ แจ้งอยู่ในท้องตราซึ่งโปรดขึ้นมาแต่ก่อนทุกประการแล้ว สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว จะใคร่ทรงทราบว่าการไร่นาน้ำฝนน้ำท่าให้ ถ้วนถี่แน่นอน ให้พระยาไชยวิชิต พระปลัดกรมการว่ากล่าว ตรวจตราดูแลให้เจ้าเมือง กรมการ ราษฎรทำไร่นาให้ทั่วกัน ให้เต็มภูมิฐาน ให้ได้ผลเมล็ดข้าวในปีมะโรงฉอศกให้จงมาก ข้าวจึงจะไม่มีราคาแพง แต่บอกอาการน้ำฝนน้ำท่า อาการไร่นา

๒๔ เจ้าเมืองกรมการราษฎรที่ทำเป็นประโยชน์ของตัว และทำส่วน เข้าจำนวนเกณฑ์บอกอาการลงไปให้แน่นอน อย่ามักง่ายบอกลง ไปเป็นอันขาดทีเดียว บัดนี้โปรดเกล้า ฯ ให้ลอกหนังสือบอก อาการน้ำอาการไร่นาเมืองเพ็ชร์บุรีขึ้นมาให้ พระยาไชยวิชิต พระปลัด กรมการ ให้รู้ข่าวคราวไร่นาข้างเมืองเพ็ชร์บุรีด้วยแล้ว หนังสือมาณวันศุกรเดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ปีมะโรงฉอศก ฯ

เรื่องกระบือของหลวง

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ ฯ มาเถิงพระยาไชยวิชิตผู้ รักษากรุงเก่า ด้วยหมื่นสารวัตร หมื่นรักษ์ นายกองเลี้ยงกระบือ หลวง อยู่ในพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาจางวางพระคลังสินค้า ตั้งอยู่ณบ้านผักไห่แขวงกรุงเก่า ทำเรื่องราวมายื่นว่า เดิมหมื่นกำจรมหิงสาเป็นนายกองเลี้ยงกระบือ อยู่ณบ้านห้วยคันแหลน แขวงเมืองอ่างทอง หมื่นกำจรมหิงสาเถิงแก่กรรม ผู้มีชื่อเป็นเจ้า หนี้หมื่นกำจรมหิงสา มาชักเอากระบือหลวงไปไว้ณแขวงกรุงเก่า บ้างแขวงเมืองอ่างทองบ้าง ได้มีตราขึ้นมาให้พระยาไชยวิชิตพระอ่างทองกรมการ ชำระเอากระบือหลวงมาไว้ตามกองให้สิ้นเชิง แจ้งอยู่ในท้องตราแต่ก่อนนั้นแล้ว พระอ่างทองกรมการชำระได้ กระบือผู้ดำ ๔ ตัว หลวงสุภมาตรากรุงเก่าชำระได้กระบือเขาตั้ง ตอนแล้วตัวหนึ่ง กระบือเขากางศีร์ษะโคกยังไม่ตอนตัวหนึ่ง

๒๕ ได้ส่งกระบือให้กับหมื่นรักษ์นายกองไว้ ๖ ตัว ครั้นณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ นายม่วงนำหมื่นศรีสนุก กำนันนุ้ย นายปาน นายเมือง มาจับกระบือเกียดผู้ดำเขากางศีร์ษะโคกที่หลวงสุภ มาตราชำระได้ส่งมาให้หมื่นรักษ์ไปตัวหนึ่ง หมื่นศรีสนุก กำนันนุ้ย เอาตัวนายเกิดทาสขุนชำนาญ ซึ่งเลี้ยงกระบืออยู่ใกล้ ฝูงหมื่นรักษ์ไปจำตรวนไว้ณบ้านหมื่นศรีสนุก บ้านหมื่นรักษาราช แล้วกำนันนุ้ยว่ากระบือตัวจับนี้ เป็นกระบือของนายอยู่บุตรเขย ขุนชำนาญ จะเร่งเอาตัวนายอยู่บุตรเขยขุนชำนาญหลานเขย หมื่นรักษ์ ๆ กับนายอยู่ได้ไปว่ากล่าวกับหมื่นศรีสนุก หมื่นรักษา ราช กำนันนุ้ย กำนันมา ว่ากระบือตัวจับนี้เป็นกระบือหลวง หมื่นรักษ์ได้ไปตักเตือนว่ากล่าวหลายครั้ง หมื่นศรีสนุก หมื่น รักษาราช กำนันนุ้ย กำนันมา ก็หาส่งไปให้เจ้าเมืองกรมการ ชำระไม่ แล้วนายเมืองกลับไปฟ้องกล่าวโทษ หมื่นรักษ์ นายอยู่ อ้ายเกิดทาส เป็นเนื้อความหลายข้อแจ้งอยู่ในฟ้องนั้นแล้ว หลวงจ่าเมืองเป็นตระลาการเกาะเอาตัวนายอยู่หลานเขยหมื่นรักษ์ ไปบังคับ ให้ส่งตัวหมื่นรักษ์นั้น ความทั้งนี้จะเท็จจริงประการใด ไม่แจ้ง ความหาจับกระบือผู้ดำเขากางศีร์ษะโคกตัวนี้ที่หลวง สุภมาตราชำระส่งให้กับขุนชำนาญ ความอันนี้หลวงสุภมาตรากรมการก็แจ้งอยู่ว่าเป็นกระบือหลวงชำระได้มอบไว้ให้หมื่นรักษ์ ครั้นจะให้กรมการชำระว่ากล่าวที่กรุงเก่านั้น หลวงจ่าเมืองผู้เป็นตระลาการก็ลงไปอยู่กรุงเทพ ฯ หาได้ว่ากล่าวกันไม่ ความจะ

๒๖ เนิ่นช้าไป จึงให้หมื่นรักษ์นายกอง หมื่นสารวัตร ถือตราขึ้นมา ให้ พระยาไชยวิชิต กรมการ แต่งกรมการคุมเอาตัวหมื่นศรี สนุก หมื่นรักษาราช กำนันนุ้ย กำนันมา กับนายเมือง นายปาน นายม่วง อ้ายเกิดทาส และฟ้องเดิมนายเมืองส่งลง ไปณกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยผู้ถือตราโดยเร็ว จะได้ส่งให้ตระลา การชำระว่ากล่าวให้เห็นเท็จและจริงตามข้อความ หนังสือมา ณวันพุธเดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำปีมะโรงฉอศก วันเดือน ๑๐ ท่านเจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือนั่งว่าราชการอยู่ณศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย ได้เอาร่างตรานี้อ่านกราบเรียนตก แทรกวงกาลงบ้าง ว่าถูกต้องอยู่แล้ว แล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่าง นี้เถิด ฯ

เรื่องผู้ร้าย

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ ฯ เถิงพระยาไชยวิชิตผู้รักษา กรุงเก่า ด้วยหลวงธรเณนในกรมมหาดไทยมาแจ้งความว่า เดิม อ้ายโตเป็นทาสหลวงธรเณน อ้ายโตเป็นผู้ร้ายต้องเรือนจำอยู่ ณทิมจมื่นทิพเสนาปลัดกรมพระตำรวจ หลวงธรเณนรับประกัน ตัวอ้ายโตออกมาจากทิม ครั้นอยู่มาอ้ายโตหลบหนีไปช้านาน หลายเดือน แล้วสืบได้ความว่าอ้ายโตหนีขึ้นไปสำนักอาศัย อยู่ที่เรือนนายม่วง อำแดงคง ณบ้านพระนครหลวงแขวงกรุง . ๒๗ เก่า บัดนี้ให้หลวงธรเณน ถือตราขึ้นมาให้พระยาไชยวิชิต กรมการแต่งกรมการไปกับหลวงธรเณน สืบจับเอาตัวอ้ายโต ทาสอย่าให้เกิดความอริวิวาทกันแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ถ้าจับได้ ตัวอ้ายโตแล้วให้ส่งอ้ายโตให้กับหลวงธรเณนคุมลงไปณกรุงเทพ ฯ ถ้ามิได้ตัวอ้ายโต ก็ให้พระยาไชยวิชิตกรมการไล่เลียงดูว่า ถ้า อ้ายโตไปสำนักอาศัยอยู่ที่เรือนนายม่วง อำแดงคงจริง ก็ให้เอา ตัว นายม่วง อำแดงคง เจ้าสำนักส่งลงไปณกรุงเทพ ฯ พร้อม ด้วยหลวงธรเณน จะได้ชำระว่ากล่าวเอาตัวอ้ายโต หนังสือมาณวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะโรงฉอศก ฯ

เรื่องน้ำฝนต้นข้าว

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ มาเถิงพระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าพระยา ไชยวิชิตบอกลงไปว่าฝนตกทุกวันตกมากบ้างน้อยบ้าง น้ำขึ้น แต่ณวันเดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ มาจนเดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค่ำน้ำขึ้น ๔ นิ้วกับ ๒ กระเบียด น้ำเดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค่ำปีมะโรงฉอศก มากกว่าน้ำปีเถาะปีเบ็ญจศก ๒ ศอก ๘ นิ้ว ๒ กระเบียด ยังน้ำ อีก ๔ นิ้วกับ ๒ กระเบียดจะเท่าน้ำปีจอสัมฤทธิศก เค้าฝนก็ยัง มีทีน้ำก็ยังจะขึ้นอีกอยู่ ราษฎรกำลังเร่งรีบเกี่ยวข้าว ๔ เดือนแล้วประมาณ ๓ ส่วน ยังประมาณส่วนหนึ่ง ข้าวหางม้าเกี่ยวได้ประ

๒๘ มาณส่วนหนึ่ง ยังประมาณส่วนหนึ่ง ข้าวกลางปีนาปักแคว ประสัก เกี่ยวได้ ๒ ส่วน ยังประมาณส่วนหนึ่ง ข้าวหนักนาปัก ออกรวงโพลงบ้างผ่าลามอยู่บ้าง ข้าวหนักนาทุ่งแต่งตัวต้นกลม ข้าวเหนียวกลัดยอดจะผ่าลามอยู่แล้ว เดือน ๑๒ ข้างขึ้นข้าว เหนียวจะออกรวง เดือน ๑๒ กลางเดือนและข้างแรม ข้าว หนักนาทุ่งก็จะผ่าลามออกรวงเป็นลำดับกันไป ราษฎรเกี่ยวข้าว หางม้าข้าวกลางปีนาปักแล้ว ก็จะได้เกี่ยวข้าวเหนียวข้าวหนัก นาทุ่งต่อติดกันไปนั้น และข้าวหนักนาทุ่งแต่งตัวต้นกลม เดือน ๑๒ กลางเดือนและข้างแรมก็จะออกรวง ข้าวหางม้าเกี่ยว ได้ส่วนหนึ่งยังส่วนหนึ่ง ข้าวกลางปีก็ยังเกี่ยวไม่แล้ว ข้าว หนักนาปักก็ออกรวงโพลงจะได้เกี่ยวติดกันไป ระดูก็ล่วงเข้ามา จนเถิงเดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ จะเข้าระดูเหมันต์อยู่แล้ว ฝน ก็ยังหางดไม่ ตกชุกชุมเสมออยู่ทุกวัน น้ำก็ยังไม่ลดถอย ในกระแสพระราชดำริทรงเห็นว่า ณปีมะโรงฉอศกนี้น้ำจะหา ลดเร็วทันข้าวหนักนาทุ่งไม่ ข้าวจะออกรวงสุกเหลืองเสียก่อน จะต้องเกี่ยวน้ำ เกลือกว่าราษฎรจะเกี่ยวไม่ทันข้าวจะจมน้ำเสียไป สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกอยู่ด้วยน้ำและข้าวเป็นอัน มาก ให้พระยาไชยวิชิตกรมการตริตรองใคร่ครวญดูน้ำ ถ้า เห็นว่าน้ำจะไม่ลดถอยลงเร็วจะต้องไล่น้ำ ก็ให้พระยาไชยวิชิต เร่งบอกลงไป จะได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแจงการพระราชพิธีสวด พระพุทธมนต์ขับไล่น้ำ ด้วยอำนาจพระพุทธมนต์น้ำจะได้ลดถอย

๒๙ ลงเร็ว ราษฎรจะได้เกี่ยวข้าวโดยสะดวก หนังสือมาณวัน ศุกร เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรงฉอศก วันเดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ได้ส่งตรานี้ให้หมื่นฤทธิ์ศรไกร ตำรวจนอกขวาถือไป ฯ

เรื่องชำระความ

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ ฯ มาเถิง หลวงมหาดไทย หลวงจ่าเมือง หลวงแพ่ง หลวงสุภมาตรา กรมการกรุงเก่า ด้วยมีรับสั่งกรมหลวงหลวงรักษ์รณเรศ โปรดเกล้า ฯ รับสั่งว่า จีนอยู่มามิได้ไว้ความให้จีนปังกีผู้พี่ ทำเรื่องราวกราบทูลกล่าวโทษ ขุนวังเอี่ยมภรรยาขุนวัง นายจุ้ย นายโม นายจ้าย จีนเปา จีนเต็ก ใจความว่า ณวันเดือน ๓ แรม ๓ ค่ำปีมะโรงฉอศก จีนเต็กกับจีนมีชื่อไปนัดบ่อนโป ที่แพจีนมีชื่อ จีนอยู่กับจีนเต็ก วิวาททุ่มเถียงกันในเชิงเล่นโป ขุนวังถามจีนเต็กว่าอั้นประตูละเท่า ใด จีนเต็กบอกขุนวังว่าอั้นประตูโปประตูละ ๓ ตำลึง จีนอยู่ว่า หาได้อั้นประตูโปไม่ ขุนวังกับนายอยู่ จีนหุดเปา นายโม นายจ้าย พรรคพวกบ่าวทาสขุนวังประมาณ ๖-๗ คน พา กันกลุ้มรุมเตะต่อยชกตีทุบถองเอาจีนอยู่ฟกช้ำดำทั้งตัว แล้ว ฉุดเอาตัวจีนอยู่ไป ขุนวังให้นายจุ้ยนายโมกับพรรคพวก ยึดมือยึดเท้าจีนอยู่คว่ำลง ขุนวังเอาหวายเฆี่ยนจีนอยู่ ๑๐ ที

๓๐ เอาขื่อจำจีนอยู่ไว้ ขุนวังกลัวจีนอยู่จะฟ้อง ขุนวังส่งตัวจีนอยู่ ไปให้ขุนพัฒนสมบัติ เอาตัวจีนอยู่ไว้ ผู้มีชื่อมารับตัวจีนอยู่ ไป จีนอยู่จึงไปทำคำกฎหมายฟ้องต่อกรมการณศาลากลาง แจ้งอยู่ในคำกฎหมายบาดแผลและฟ้องจีนอยู่นั้นแล้ว จีนเต็ก รู้ว่าจีนอยู่ฟ้องจีนเต็กกับขุนวังพวกขุนวัง จึงให้ขุนพัฒน์เอาตัว จีนอยู่ไปคุมไว้นั้น ความทั้งนี้จะเท็จจริงฉันใดหาแจ้งไม่ ต้อง ที่จะเอาตัวขุนวังคนมีชื่อส่งไปชำระว่ากล่าวกับจีนปังกีณกรุงเทพ ฯ ให้เห็นเท็จและจริง บัดนี้นายมาตำรวจถือตราขึ้นมาให้ หลวงมหาดไทย หลวงจ่าเมือง หลวงแพ่ง หลวงสุภมาตรา ส่งตัว ขุนวัง เอี่ยมภรรยาขุนวัง นายจุ้ย นายโม นายจ้าย จีน เปา จีนเต็ก ให้แก่ข้าหลวง ถ้าผู้มีชื่อซึ่งมีตรามาให้ส่งนี้ หลบ หลีกหนีมิพบตัว ก็ให้เกาะเอาผู้คนซึ่งอยู่ณเรือนเอามาเป็น จำนำ เร่งรัดเอาตัวส่งให้กับข้าหลวงคุมลงไปณกรุงเทพ ฯ จงได้ จะได้ส่งให้ตระลาการชำระว่ากล่าวให้แล้วสำเร็จแก่ กันตามพระราชกำหนดกฎหมาย และตัวจีนอยู่นั้น ให้หลวงมหาดไทย กรมการ หาตัวขุนพัฒน์มาว่ากล่าวให้ส่งตัวจีนอยู่ให้ กับข้าหลวงคุมไปณกรุงเทพ ฯ คอยถ้าขุนพัฒน์จะติดใจว่า กล่าวว่าจีนอยู่เป็นหนี้สิน ก็ให้แต่งคนติดตามลงมา จะได้ ชำระตัดสินให้ และให้ข้าหลวงผู้ถือตราว่ากล่าวเอาตัวผู้มีชื่อ ตามมีมาในท้องตราแต่เท่านี้ ห้ามอย่าให้เก็บเอาเนื้อความอื่น นอกท้องตราว่ากล่าวลงเอาพัสดุทองพัสดุเงิน และกระทำให้ผิด

๓๑ ตามพระราชกำหนดกฎหมายห้ามปรามเก่าห้ามปรามใหม่แต่สิ่งใด สิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว หนังสือมาณวันอาทิตย์เดือน ๔ แรม ๑ ค่ำปีมะโรงฉอศก ร่างตรานี้หมื่นวิเศษว่าที่ขุนบริบาล เอาเรื่องราวมายื่นว่ารับ สั่งเสด็จกรมหลวงรักษ์รณเรศให้มาบอก วันอาทิตย์เดือน ๔ แรม ๑ ค่ำ เพลาบ่ายเจ้ากรมมหาด ไทยฝ่ายเหนือนั่งว่าราชการศาลาลูกขุนฝ่ายซ้าย ได้เอาร่างนี้อ่าน กราบเรียนจนสิ้นข้อความตกแทรกวงกาลงบ้าง แล้วสั่งให้มีไป ตามร่างนี้เถิด วันเดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ปีมะโรงฉอศก หมื่นวิเศษรับไป นายมาตำรวจเป็นข้าหลวงไป ฯ

เรื่องชำระความ

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิง พระปลัด หลวงยก กระบัตร กรมการกรุงเก่า ด้วยอ้ายพุดทำเรื่องราวกล่าวโทษ ข้า หลวง เสนากรมการ กำนันแขวงกรุงเก่าว่า คบคิดกันกับขุน ทิพเสนา หมื่นทิพเสนา ขุนอินเสนา หมื่นรองอิน ขุน พรหมเสนา ว่าฉ้อบังเงินค่านาของหลวง จำนวนปีขาลจัตวาศก ปีเถาะเบ็ญจศก ๕ อำเภอ คิดเป็นนา ๑๘๘๓ ไร่ ๒ งาน เป็นเงิน ๘๘ ชั่ง ๕ ตำลึง ๑ บาท ๑ สลึง แจ้งอยู่ในเรื่องราวนั้นแล้ว ตระ

๓๒ ลาการเกาะได้ตัวจำเลยบ้าง ยังไม่ได้ตัวบ้าง ที่ได้ตัวมาถามให้การปฏิเสธไม่รับ จะชำระว่ากล่าวต่อไป กรมการผู้กำกับ ข้า หลวงเสนาและกำนันที่เป็นจำเลยอยู่ณแขวงกรุงเก่า ต้องที่จะ ชำระว่ากล่าวให้เห็นเท็จและจริง ครั้นจะให้ พระปลัด กรมการ ส่งตัวกรมการกำนันลงไปชำระว่ากล่าวกันณกรุงเทพ ฯ ที่ขอ มีรับประกัน ก็จะต้องขึ้นมาสืบสักขีพะยานณแขวงกรุงเก่า ความ จะเนิ่นช้าไป จึงให้หลวงพิพิธสาลีคุมเอาตัวอ้ายพุดโจทก์กับ ข้าหลวงเสนาขึ้นมา ให้พระปลัด กรมการ พร้อมด้วย หลวงพิพิธสาลี เอาตัวกรมการผู้กำกับและกำนันบ้านราษฎร ซึ่ง เกี่ยวข้องในเรื่องราว มาชำระว่ากล่าวให้เป็นสัจเป็นธรรม ให้ ถูกต้องกับกฎหมายให้สำเร็จโดยเร็ว อย่าให้เข้าด้วยฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลย และกดความรายนี้ไว้ให้เกี่ยวข้องเป็นข้ออาญา อุทธรณ์ต่อไปได้เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าชำระว่ากล่าวได้ความ ประการใดให้บอกลงไปให้แจ้ง หนังสือมาณวันพฤหัสบดีเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำปีมะเส็งสัปตศก ฯ

เรื่องจัดซื้อข้าวขึ้นฉาง

หนังสือ พระยาราชสุภาวดี ฯ มาเถิงพระปลัดกรมการกรุง เก่า ด้วยเจ้าพนักงานกรมนาแจ้งความว่า โปรดเกล้า ฯ ให้ เอาข้าวหลวงซึ่งโปรดให้หลวงพิพิธสาลี ขึ้นมาจัดซื้อไว้ณฉาง

๓๓ กรุงเก่า สีเป็นข้าวสารเตรียมไว้ให้ได้ข้าวสาร ๒๐๐ เกวียน มี ราชการมาจะได้เอาข้าวสารจับจ่ายราชการทัพ กรมนาเจ้าพนัก งานจะขอให้คนโทษลูกความต้องเวรจำอยู่ณกรุงเก่าช่วยสีข้าวนั้น คนโทษณกรุงเก่าจะมีมากน้อยเท่าใดก็ยังไม่รู้ ให้พระปลัด กรมการตรวจตราดูคนโทษลูกความซึ่งมีอยู่ณกรุงเก่า ถ้าคน โทษลูกความมีมาก จะรับสีข้าวหลวงได้มากน้อยเท่าใด ให้ พระปลัดกรมการบอกลงไปให้แจ้ง จะได้ให้ขึ้นมาให้สีข้าวสาร ไว้สำหรับราชการ หนังสือมาณวันพุธเดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำปีมะเส็งสัปตศก ร่างตรา ๒ ร่างนี้ พระศรีเสนาทำ ได้กราบเรียนเจ้าคุณ พระยาราชสุภาวดี ที่หอพระสัสดี เมื่อวันเดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำแล้ว สั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด วันเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำได้ส่งตรานี้ให้หลวงพิพิธสาลีถือไป ฯ

เรื่องชำระความ

หนังสือ พระยามหาอำมาตย์ ฯ มาเถิง พระปลัด หลวงยกกระบัตร กรมการกรุงเก่า ด้วยนายเขียวเติม ( เป็น ) เลขเมือง ลพบุรีสมัครมาเป็นไพร่หลวงกองขุนอินทรคิรี ส่วยศิลายกตั้งบ้าน เรือนอยู่บ้านโพสามต้นแขวงกรุงเก่า ทำเรื่องราวมายื่นยังลูกขุน ณศาลาว่า เดิมนายเพงน้านายเขียวเถิงแก่กรรม อำแดงคุ้ม ๓ ๓๔ ภรรยานายเพง เก็บเอาทรัพย์มรดกไว้ผู้เดียว หาแบ่งปัน ให้นายเขียวไม่ นายเขียวฟ้องต่อพระปลัดกรมการ ให้เอา อำแดงคุ้มมาพิจารณา หลวงมหาดไทยเป็นตระลาการ ถาม อำแดงคุ้มเป็นสำนวนต่อกัน ได้เรียกเอาทรัพย์สิ่งของและทาส ชายทาสหญิง ๒ คนมาไว้เป็นกลางแล้ว แต่กระบือ ๔ ตัว อำแดง คุ้มขัดไว้ อยู่มาหลวงมหาดไทย เสมียนผู้คุม ปล่อยทาสไป เสีย นายเขียวตักเตือนให้พระปลัด หลวงยกกระบัตร หลวง มหาดไทยชำระว่ากล่าวให้สำเร็จ พระปลัดกรมการพากันนิ่งเสีย นั้น ความทั้งนี้จะเท็จจริงประการใดไม่แจ้ง และนายเขียว นายเนียม เป็นไพร่หลวงกองศิลา ได้ไปทำศิลาเขาตะเภาเมือง ลพบุรี เขาชะโงกเมืองนครนายก ส่งเข้ามาปูพื้นศาลารายวัดพระ เชตุพนและประดับซุ้มประตูซุ้มเสมา ประดับเกยวัดสุทัศน์เทพ ทารามมาหลายปีแล้ว และณปีมะเส็งสัปตศกนี้ ให้ทำศิลาส่ง เข้าไปประดับซุ้มเสมาวัดอรุณราชทารามอีก ได้ไปรับราชการ แต่นายเนียมพี่ชาย นายเขียวนั้นต้องคดีเกี่ยวข้องความมรดกหา ใคร่จะแล้วไม่ จะเอาตัวนายเขียวไปทำศิลา นายเขียวก็ผัดผ่อน ไปว่าความกับอำแดงคุ้มน้าสะใภ้ก่อน จึ่งให้นายเขียวกลับขึ้น มาให้พระปลัด หลวงยกกระบัตร หลวงมหาดไทยกรมการ เร่ง ชำระว่ากล่าวความนายเขียวกับอำแดงคุ้มให้เป็นสัจเป็นธรรม การควรจะผ่อนปรนแบ่งปันทรัพย์สิ่งของคนกระบือ จะควรได้ กับนายเขียวบ้างประการใด ก็ให้พระปลัด กรมการว่ากล่าว

๓๕ เปรียบเทียบแบ่งปันให้ควรแก่การ นายเขียวก็เป็นไพร่หลวง ควรจะได้ทรัพย์มรดกของพี่ป้าน้าอาอยู่ อย่าให้สูญเสียความ มรดก แล้วจะได้เอาตัวนายเขียวไปเข้ากองขุนอินทรคิรี ทำ ศิลาส่งเข้ามาประดับซุ้มเสมาวัดอรุณราชทารามให้ทันกำหนด ถ้าอำแดงคุ้มจะขัดขวางไม่ผ่อนปรนให้นายเขียวประการใด ก็ให้ แต่งกรมการคุมเอาตัวนายเขียว อำแดงคุ้ม ลงไปณกรุงเทพ ฯ ให้สิ้น จะได้ส่งให้ตระลาการชำระว่ากล่าวให้สำเร็จตามพระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือมา ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก ฯ

สารตรา เรื่องชำระความสั่งให้รังวัดบ้านใกล้เรือนเคียง

สารตรา ท่านเจ้าพระยาจักรี ฯ ให้มาแก่พระปลัด หลวงยกกระบัตร หลวงมหาดไทย กรมการกรุงเก่า ด้วยบอกหนังสือ ให้พะทำมะรงเอี่ยม ถือลงไปว่าณเดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก จีนภูเป็นพี่น้องกับจีนโกย เอาทราก ๒ เล่ม ซอไม้ เลี้ยงอัน ๑ ขวากไม้รวก ๖๐ กับคบเพลิงผ้าชุบน้ำมัน มาฟ้องว่า จีนโกย อำแดงหนูกับจีนภูลูกจ้างตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านชีหน แขวง กรุงเก่า ณวันเดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ เพลาประมาณยามเศษ จีนภู นอนอยู่ที่เรือหน้าบ้านจีนโกย มีอ้ายผู้ร้ายเอาก้อนอิฐทิ้งถูกประ ๓๖ ทุนเรือ จีนภูตื่นขึ้นเห็นอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๑๗-๑๘ คน ถือ ไต้เพลิงบ้าง ถือดาบบ้าง มีดบ้าง ไม้พลองบ้าง อ้ายผู้ร้ายโห่ร้อง ขึ้นปล้นเรือน จีนโกย อำแดงหนู อ้ายผู้ร้ายเอาดาบฟันจีนโกยอำ แดงหนู มีบาดแผล ณวันเดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ จีนโกยตาย อ้ายผู้ ร้ายเก็บเอาทรัพย์สิ่งของกับเงินตรา ๘ ชั่ง พระปลัด หลวงยกกระ บัตรกรมการสืบจับได้ตัวอ้ายแตงมาถาม อ้ายแตงให้การรับ เป็นสัจ ซัดเถิงนายเอี่ยม นายนิล นายสัง นายหอม นายอาจ นายคลาย นายมา แขวงกรุงเก่า นายแย้มเมียชื่ออำแดงแจ่ม เป็นทาสท้าวเทพอากร นายพุ่ม นายคง อยู่สวนข้าวแฟ หลัง วัดพระยาธรรมกับชายมีชื่ออีก ๓ คนว่าอยู่กรุงเทพ ฯ เป็นผู้ร้าย ไปปล้นเรือนจีนโกยด้วย อ้ายแตงถาม นายเอี่ยม นายนิล นายสัง นายคลาย นายมา นายอาจ นายหอม ไม่รับ ครั้น จะผูกทำโทษอ้ายแตงเอาความจริง อ้ายแตงว่าเงินตรากับสิ่งของ ซึ่งปล้นได้แบ่งปันกัน เงินสิ่งของส่วนอ้ายแตง ๆ ให้อ้ายแย้มเอา ไว้ และอ้ายแย้ม อ้ายพุ่ม อ้ายคง กับอ้ายมีชื่อ ๓ คนยังหา ได้ตัวไม่ บอกส่งตัวจีนภูโจทก์กับอ้ายแตงผู้ร้ายเป็นสัจ นาย เอี่ยม นายอาจ นายนิล นายสัง นายคลาย นายหอม นาย มา กับถ้อยคำสำนวนลงไปนั้น ได้นำเอาหนังสือ บอกขึ้น กราบทูลพระกรุณาแล้ว ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า อ้ายผู้ร้ายปล้นเรือน จีนโกย อำแดงหนู เก็บเอาทรัพย์สิ่งของไป พระปลัดกรมการให้สืบจับได้ตัว อ้ายแตงหาได้รูปพรรณของ

๓๗ กลางไม่ พระปลัดกรมการถามอ้ายแตง ๆ ให้การรับเป็นสัจโดย ชื่นตา แล้วซัดเถิงนายเอี่ยมเถิงคนมีชื่อว่าไปปล้นด้วยอ้าย แตง ได้สิ่งของมาแบ่งปันกัน นายเอี่ยมคนมีชื่อที่ได้ตัวมา ถามก็ไม่รับ ดูหามั่นคงเจาะจริงจังไม่ ความเป็นเลื่อนลอย อยู่แล้ว อ้ายผู้ร้ายลักทองรูปพรรณและผ้าพันนุ่งห่มสิ่งของสิ่ง ใดไปเป็นสลักสำคัญบ้าง กับราษฎรชาวบ้านใกล้เคียงได้มาช่วย จับอ้ายผู้ร้ายกี่คน ในบอกก็หาชัดไม่ จึงทรงพระราชดำริว่าพระ ปลัดหลวงยกกระบัตร หลวงมหาดไทย เป็นกรมการผู้ใหญ่อยู่ รักษาบ้านเมือง ชำระผู้ร้ายปล้นสดมเป็นความมหันตโทษข้อ ใหญ่เสี้ยนหนามแผ่นดิน พระปลัด หลวงยกกระบัตร ก็หาไล่ เลียงเอาความให้ชัดจะแจ้งไม่ แล้วทองและสิ่งของในคำตราสิน อ้ายผู้ร้ายปล้นสิ่งใดเท่าใดก็ไม่มีบอกกล่าวกลมกลืนลงไป ฟัง ไม่ได้ความดังนี้ พระปลัด หลวงยกกระบัตร หลวงมหาดไทย กรมการมีความผิดอยู่เป็นอันมาก ให้ภาคทัณฑ์โทษไว้ครั้งหนึ่ง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยามหาเทพ พระยาเพ็ชรปาณี เป็นตระ ลาการชำระ และสืบได้ อ้ายคง อ้ายรอด อ้ายล้อม อ้ายแย้ม อ้ายลิ อ้ายพุ่มมาถาม อ้ายแย้ม อ้ายมีชื่อให้การรับเป็นสัจ ชำระได้เงินทองรูปพรรณสิ่งของ ๆ กลางแล้ว แต่นายเอี่ยม คน มีชื่อ ๗ คนอ้ายแตงกลับคืนคำว่าแกล้งซัดนายเอี่ยมว่าเป็นผู้ร้าย ชำระนายเอี่ยมหาได้เป็นผู้ร้ายไปปล้นเรือนจีนโกยไม่ บัดนี้ให้ ขุนนรบาล กรมเมือง ขุนสวัสดิ์ราชาคลังมหาสมบัติ หมื่นสนิท

๓๘ อักษรแพ่งกลาง หมื่นพุฒวิเศษ ตำรวจในซ้ายเป็นข้าหลวงถือ ตราขึ้นมา ให้พระปลัด หลวงยกกระบัตร หลวงมหาดไทย กรมการ แต่งกรมการ นายอำเภอ กำนัน กำกับด้วยข้าหลวง ไปรังวัดชาวบ้านเรือนใกล้เคียงอยู่ในที่รังวัด ๕ เส้นจะเป็นเรือน เท่าใด เป็นคนกี่คน ๆ เหล่านั้นได้มาช่วยจับอ้ายผู้ร้ายกี่คน ถูก กวาดป่วยเจ็บกี่คน ให้ชำระเอาบัญชีให้แน่นอน แล้วให้ข้า หลวง พระปลัด กรมการ ชำระเอาเงินค่ารังวัด กับราษฎรมีชื่อ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานขึ้นมาไว้ สำหรับบ้านสำหรับเมือง ถ้าเรียกได้เงินค่ารังวัดมากน้อยเท่าใด ให้กรมการคุมเงินค่ารังวัดลงไปพร้อมด้วยข้าหลวง ให้เถิงกรุง เทพ ฯ โดยเร็ว จะได้เอาเงินค่ารังวัดพระราชทานให้แก่ผู้สืบจับ อ้ายผู้ร้ายได้ เป็นค่าสินบนต่อไป และให้ข้าหลวง พระปลัด หลวงยกกระบัตรกรมการลงเส้นเชือกรังวัดและเรียกเอาเงินค่ารัง วัด แต่โดยสัจโดยจริง ให้ถูกต้องกับกฎหมาย อย่าให้เคลือบ แฝงกระทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย ห้ามปรามเก่าห้ามปรามใหม่แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว สารตรามาณวัน เสาร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๗ ปีมะเส็งสัปตศก ร่างตรานี้ เจ้าคุณฝ่ายเหนือทำได้อ่านกราบเรียนเจ้าคุณพระยาราชสุภาวดี พระยาเพ็ชรพิไชย เมื่อวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ เพลาเช้าแล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด เมื่อสั่งหลวงเทเพน- ทรอยู่ด้วย

๓๙ วันเสาร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ได้ส่งตรานี้ ให้ขุนนรบาล กรมเมืองรับไป ฯ

ใบบอกเรื่องช้างล้ม

ข้าพเจ้าหลวงปลัดผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง แลกรมการขอ บอกมายังท่านออกพันนายเวร ได้นำขึ้นกราบเรียน แด่พณหัวเจ้า ท่านลูกขุนณศาลา ให้ทราบ ด้วยเดิมช้างพังเครือ สูง ๔ ศอก ๑ คืบ ๓ นิ้ว หางด้วน มีขนายซ้ายขวา เจ้าอุปราชเมืองเวียงจันท์ซื้อเมืองหนองคายถวาย รับณวันเดือน ๘ ทุติยสาฒปีมะโรงฉอศก จัด ไว้เป็นช้างประเทียบส่งขึ้นไปกองบ้านรี ขุนทรงคชกรรม์ ขุน อนันต์คชเดช มอบให้คำภาเลี้ยงปรนปรือไว้ ครั้นณวันเดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำปีมะเส็งสัปตศก เพลาเช้า นายคำภาเอาช้างพังเครือ ไปวางให้รับพระราชทานหญ้าณทุ่งบ้านโพ เพลาตะวันบ่ายนายคำภาออกไปแก้ช้างพังเครือ นายคำภาเห็นช้างพังเครือเชื่อมมืนไป หารับพระราชทานหญ้าไม่ นายคำภากลับเข้ามาบอกขุนทรงคช กรรม์ ขุนอนันต์คชเดช กับหมอปัตตะโนฏ พากันออกไป พิเคราะห์ดูเห็นช้างพังเครือฟกขึ้นที่ตะโคนรัด เท่าผลลูกส้มโอผ่า ซีก หมอเศกปูนสูญทา เอาหญ้าฉาบเอาน้ำพุทธมนต์รดประกอบ หญ้าให้รับพระราชทานหาฟังไม่ ให้เท้าสั่นงวงสั่น ดัดหน้าดัด หลัง เพลาพลบค่ำช้างพังเครือล้มขาดใจตาย หมื่นสารวัตร

๔๐ มาบอกข้าพเจ้า ๆ ให้นายอำเภอไปชันสูตรดูศพช้างพังเครือ แล้วข้าพเจ้าให้หมื่นสารวัตรคุมเอาขนายซ้ายขวายาว ๑๖ นิ้ว ใหญ่รอบ ๓ นิ้ว กระดูกเท้าหลังคู่หนึ่ง มอบให้หมื่นสารวัตรคุมเอาลงมา ส่งด้วยแล้ว ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด บอกมาณวันเสาร์เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก เมืองอ่างทองบอกลงมาว่าช้าง หลวงเกิดปฏิเหตุล้ม ช้างพังเครือสูง ๔ ศอก ๑ คืบ ๓ นิ้ว มีขนาย ซ้ายขนายขวา เจ้าอุปราชเมืองเวียงจันท์จัดซื้อถวายรับไว้ณวัน เดือน ปีมะโรงฉอศก ส่งไว้กองบ้านรี ขุนทรงคชกรรม์ ขุน อนันต์คชเดช ให้นายคำภาเลี้ยงอยู่ณวันเดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ ล้ม ช้างหนึ่ง แต่งให้หมื่นสารวัตรคุมเอาขนายซ้ายขนายขวาลงมาส่ง วันอังคารเดือนอ้ายขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก หมื่นสารวัตรกรมช้างถือมา ฯ

ใบบอกเรื่องส่งดอกไม้สำหรับบูชาธรรม

ข้าพเจ้า หลวงไชยสงครามปลัดผู้ว่าราชการเมืองและกรมการขอบอกมายังท่านออกพันนายเวร ได้นำขึ้นกราบเรียน แต่พณ หัวเจ้าท่านลูกขุนณศาลาให้ทราบ ด้วยมีตราพระราชสีห์โปรดกระ หม่อมขึ้นมาเถิงข้าพเจ้า ด้วยทรงพระราชศรัทธาให้มีพระธรรม เทศนามีพระประฐมในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ณวันเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรมค่ำหนึ่งเหมือนอย่างทุกปี ต้องการดอก

๔๑ ไม้สดสำหรับจะบูชาพระธรรมเทศนา ให้ปลงใจลงในพระราช กุศลจัดหาดอกบัวหลวง บัวขม บัวเผื่อน ดอกนีลุบล สัตบุษย์ ดอกลินจง สามหาว ดาวเรือง บานไม่รู้โรย ดอกรัก ให้จงมาก ข้าพเจ้าทราบกระหม่อมในท้องตราทุกประการแล้ว ข้าพเจ้าเก็บ ได้ดอกบัวหลวง ๒๘๐๐ ดอก ดอกบัวขมบัวเผื่อน ๒๐๐๐ ดอก ดาวเรืองห่อหนึ่ง บานไม่รู้โรยห่อหนึ่ง ข้าพเจ้าแต่งให้นาย พะทำมะรงคุมเอาดอกไม้ลงมาส่งตามท้องตราซึ่งโปรดขึ้นมานั้น แล้ว ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ข้าพเจ้าขอบอกมาณวัน อังคารเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก เมืองอ่างทองบอก ส่งดอกบัวหลวง ๒๘๐๐ ดอกบัวขมดอกบัวเผื่อน ๒๐๐๐ ดอก ดาวเรืองห่อ ๑ ดอกบานไม่รู้โรยห่อ ๑ วันอังคารเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก นายพะ ทำมะรง ถือมา ฯ

ใบบอกเรื่องจำนวนปืนทีมีอยู่ในหัวเมือง

ข้าพเจ้า พระพิทักษ์ธานีปลัด หลวงมหาดไทย หลวงสุภมาตรากรมการกรุงเก่า บอกปรนนิบัติมายังท่านออกพันนายเวร ขอได้กราบเรียน พณหัวเจ้าท่านลูกขุนณศาลาให้ทราบ ด้วยมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมขึ้นไปเถิงข้าพเจ้ากรมการว่า ปืนทองเจ้าพนักงานจ่ายเอาไปไว้สำหรับเมืองบ้าง เจ้าเมืองกรม

๔๒ การไปราชการทัพศึกได้มาไว้ก็มีบ้าง ปืนทองบรรดามีอยู่ที่หัว เมืองทั้งปวงนั้นได้มาช้านานแล้ว เห็นจะชำรุดเหมือนกันกับปืน ทองที่เมืองสาครบุรีส่งเข้ามา และปืนเปรียมและปืนหลักทอง จะมีอยู่หัวเมืองใดเท่าใด ให้ส่งลงไปณกรุงเทพพระมหานครให้ สิ้น จะโปรดให้เจ้าพนักงานเปลี่ยนปืนเปรียมเล็กขึ้นมาไว้ สำหรับเมือง แล้วให้ตรวจดูปืนใหญ่น้อยซึ่งจ่ายขึ้นมาไว้สำหรับ เมือง จะใช้ราชการได้มิได้เท่าใด ให้บอกจำนวนปืนลงมา ณกรุงเทพพระมหานครนั้น ได้ทราบเกล้าทราบกระหม่อมตาม ท้องตราซึ่งโปรดขึ้นไปทุกประการแล้ว ข้าพเจ้ากรมการได้ค้นตรวจดูปืนเปรียมเหล็กเปรียมทองที่กรุงเก่าหามีไม่ มีแต่ปืน หลักเหล็ก ๔ บอก กับปืนคาบศิลา ๕๐ บอก พระยาไชยวิชิตผู้ รักษากรุงเอาไปราชการทัพ ๑๕ บอก ยังปืนคาบศิลาอยู่ ๓๕ บอก ปืนคาบศิลาปืนหลักเหล็กดีอยู่หาชำรุดไม่ ควรมิควรแล้วแต่จะ โปรด ข้าพเจ้าบอกปรนนิบัติมาณวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้นค่ำ หนึ่ง ปีมะเส็งสัปตศก เมืองกรุงเก่าบอกด้วยปืนเปรียมเหล็ก ปืนเปรียมทองหามีไม่ มีแต่ปืนหลักเหล็ก ๔ บอก ปืนคาบศิลา ๕๐ บอก พระยาไชยวิชิตเอาไปราชการปืนคาบศิลา ๑๕ บอก ยังคงอยู่ ๓๕ บอก วันศุกรเดือน ๑๒ ปีมะเส็งสัปตศก หลวงยกกระบัตร ถือมา ฯ


๔๓ เรื่องอากรสมพัตสร

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยาไชยวิชิตผู้รักษา กรุงเก่า ด้วยนายแย้มทำเรื่องราวมายื่นว่า เดิมอากรสมพัตสร กรุงเก่า ขุนเทพอากรจอกแต่งให้จีนกลิ่นเป็นที่หมื่นวิเศษสมบัติ รับทำจำนวนปีละ ๒๖ ชั่งนั้น นายแย้มเห็นว่าเงินอากรจำนวน ปีกุญตรีนิศกมีภาษี ขอประมูลเงินอากรขึ้นพระคลังมหาสมบัติ ๑๐ ตำลึงเข้ากัน เดิม ๒๖ ชั่ง ประมูล ๑๐ ตำลึง (รวม) ๒๖ ชั่ง ๑๐ ตำลึงก่อน ถ้าทำอากรครบปี เงินอากรมีภาษี จะบอก ทูลเกล้า ฯ ถวายขึ้นอีก จึ่งนำเอาเรื่องราวนายแย้มขึ้นกราบ บังคมทูลพระกรุณา ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งนายแย้มประมูลเงินอากรขึ้นอีก ๑๐ ตำลึง เข้ากันเดิมประมูล เป็นเงิน ๒๖ ชั่ง ๑๐ ตำลึงนั้น ก็ให้นายแย้มเป็นนายอากรไปทำ อากรตามเรื่องราว ให้กราบบังคมทูลพระกรุณานั้นเถิด และ เจ้าจำนวนได้เรียกเอานายประกันนายแย้มไว้มั่นคงสมควรด้วย เงินอากรอยู่แล้ว จึงตั้งให้นายแย้มเป็นที่หมื่นวิเศษสมบัติ ขึ้น มาเก็บเรียกเงินอากรสมพัตสรกรุงเก่า แขวงกรุงเก่าจำนวนปี กุญตรีนิศก ปีละ ๒๖ ชั่ง ๑๐ ตำลึงสืบไป และเงินอากรพระ คลังมหาสมบัติ เดิม ๑๕ ชั่ง ๕ ตำลึง ๓ บาท ๑ สลึง ๕๔๙ (เบี้ย) ประมูล ๑๐ ตำลึง (รวม) ๑๕ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๓ บาท ๑ สลึง ๕๔๙ (เบี้ย) กรมพระราชวังบวร ๖ ชั่ง ๑๑ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ๖๗๘

๔๔ ( เบี้ย ) พระคลังข้างใน ๓ ตำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ๒๔๓ ( เบี้ย ) กรมหลวงเทพวดี ๖ ตำลึง ๑ บาท ๓ สลึง ๑๕๙ ( เบี้ย ) กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ๓ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๔๙๒ ( เบี้ย ) หม่อมไกรสร ๑๗ ตำลึง ๒ สลึง............กรมขุนกัลยาสุนทร.............๑ สลึง ๔๘๘ ( เบี้ย ) กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ ๕ ตำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ๑๘๒ ( เบี้ย ) เจ้าฟ้าในกรมพระศรีสุดารักษ์ ๔ ตำลึง ๑๖๐ ( เบี้ย ) เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรร ๙ ตำลึง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ๓๖๐ ( เบี้ย ) กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ๕ ตำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ๑๘๒ ( เบี้ย ) พระองค์เจ้าบุตรี ๔ ตำลึง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ๓๕๕ ( เบี้ย ) พระองค์เจ้าโสมนัศ ๔ ตำลึง......................... เจ้าในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์เจ้าหญิง ๒ ตำลึง ๒ บาท ๓ สลึง ๕๓ ( เบี้ย ) เข้ากันเดิม ๒๖ ชั่ง ประมูล ๑๐ ตำลึง ( รวม ) ๒๖ ชั่ง ๑๐ ตำลึง และให้ หมื่นวิเศษสมบัติส่งเงินอากรคิดแต่จำนวนปีกุญตรีนิศก ส่งเงิน อากรแก่เจ้าจำนวนปีละ ๒ งวด ๆ เดือน ๑๐ งวดหนึ่งเงิน ๑๓ ชั่ง ๕ ตำลึง เดือน ๔ งวดหนึ่งเงิน ๑๓ ชั่ง ๕ ตำลึง เข้ากันปีหนึ่ง เป็นเงิน ๒๖ ชั่ง ๑๐ ตำลึง จงทุกงวดทุกปีสืบไป อย่าให้เงิน อากรขาดค้างล่วงงวดล่วงปีไปได้เป็นอันขาดทีเดียว และให้ หมื่นวิเศษสมบัติเรียกอากรสมพัตสรตามที่พิกัดอัตรา กล้วยใด ปลูกใหม่ไร่ละบาท กล้วยตอไร่ละ ๒ สลึง กล้วยหักมุกปลูก ใหม่ไร่ละบาท กล้วยตอไร่ละ ๒ สลึง อ้อยปลูกใหม่ไร่ละ บาท อ้อยตอไร่ละ ๒ สลึง ครามปลูกใหม่ไร่ละบาท คราม

๔๕ ตอไร่ละ ๒ สลึง ถั่วเขียวไร่ละ ๒ สลึง ถั่วดำไร่ละ ๒ สลึง ถั่วแระไร่ละ ๒ สลึง ข้าวโพดไร่ละ ๒ สลึง งาไร่ละ ๒ สลึง หอมไร่ละบาท กะเทียมไร่ละบาท ดอกคำไร่ละบาท พลู ไม้ล้มลุก ๑๒ ค้างต่อ ๑ เฟื้อง มันเทศไร่ละ ๒ สลึง ถั่วโลสง ไร่ละบาท กล้วยเสงเพรงไร่ละ ๓ สลึง แตงโมไร่ละบาท แตงกวาไร่ละ ๒ สลึง ขิงไร่ละบาท ข่าไร่ละ ๓ สลึง ฝ้าย ไร่ละบาท ขมิ้นไร่ละบาท กันชาไร่ละ ๒ สลึง กะเจาไร่ละ ๒ สลึง กะจับไร่ละ ๑ สลึง พริกเทศไร่ละ ๑ สลึง มะขาม ๒ ต้น ๑ เฟื้อง ต้นน้อยหน่าวัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูงศอกหนึ่งโอบ รอบ ๔ นิ้ว เรียก ๒๐ ต้น ๑ เฟื้อง ต้นป่านใบเรียกไร่ละ ๒ สลึง ต้นแมงลักเรียกไร่ละ ๒ สลึง ผักกาดเรียกไร่ละ ๑ สลึง ฟักเขียว เรียกไร่ละ ๒ สลึง ฟักทองเรียกไร่ละ ๑ สลึง มะม่วงต้นใหญ่ แต่ ๒ ต้นขึ้นไปถึงย่อมลงมานิ้วหนึ่งสองนิ้ว เรียกอากร ๒ ต้น ๑ เฟื้อง ถ้าต้นระยะห่างกันชั่วโคลอดได้ ให้เรียกอากรเรียงต้น ถ้าต้นชิดกัน ๒-๓-๔ ต้นโคลอดไม่ได้ ให้เรียกอากรแต่ต้นหนึ่ง ถ้ามะม่วงมีแต่ต้น ๑-๒-๓ ต้น แห่งหนึ่งก็ดี และต้นเป็น โพรงยอดด้วน มีแต่กิ่งหนึ่งสองกิ่งก็ดี อย่าให้เรียกเอาอากร เลย ถ้าปลูกทำสมพัตสรลงในไร่ในขนัดนั้นพร้อมกัน ๒-๓-๙-๑๐ สิ่ง ให้นายอากรวัดคงเส้นคงวา พิเคราะห์ดูในไร่นั้นขนัดนั้น ผลไม้สิ่งใดต้องในพิกัดเป็นเงินอากรสูงกว่าทุกสิ่ง ก็ให้เอาผล ไม้สิ่งที่อากรสูง มาตั้งเรียกอากรในไร่ในขนัดนั้นแต่สิ่งเดียว

๔๖ ผลไม้สิ่งที่อากรเป็นอยู่ให้ยกเสีย ถ้าปลูกผลไม้เป็นหมู่เป็น เหล่ากันหลายสิ่งปลูกสิ่งหนึ่งแต่ต้น ๑-๒-๓ ต้นปลูกเคียงติดต่อ กันไป นายอากรลงเส้นเชือกวัดคงเส้นคงวา ผลไม้ต้องใน ที่ไร่ที่ขนัดนั้นรวมกัน ๒-๓-๔-๕ สิ่ง ก็ให้ยกเอาผลไม้สิ่งที่ อากรสูงมาตั้งเรียกอากรแต่สิ่งเดียวเหมือนกัน ถ้าไร่ใดไร่ขนัด ใดราษฎรปลูกทำสมพัตสรลงในไร่แต่ต้นปี นายอากรเรียกอากร ครั้งหนึ่งแล้ว ๆ และปลูกทำสมพัตสรลงในไร่นั้นในขนัดนั้นในปี นั้นอีกปีหนึ่ง ๒-๓ ครั้งก็ดี ให้นายอากรเรียกอากรตามผลไม้ ซึ่งปลูกลงในไร่ทุกครั้งตามราษฎรปลูกผลไม้ ต้องอากรมากก็ ให้เรียกตามมาก ต้องการน้อยก็ให้เรียกตามน้อย และ ที่เป็นสัตพระสัตสงฆ์ พระราชทานอุทิศไว้แต่ก่อน ทุกวันนี้ เบาะแสสาปสูญไปแล้ว ถ้านายอากรไปเรียกอากรแก่ราษฎร ๆ ที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ว่าที่ตำบลนั้นเป็นสัตพระสัตสงฆ์ เคยผูกแก้มา แต่ก่อน ก็ให้นายอากรผู้ไปเรียกอากรมีบัญชีไว้ให้แจ้ง เงิน อากรสัตพระสัตสงฆ์ จะได้ยกไว้เป็นเงินเกณฑ์บุญ และ ให้หมื่นวิเศษสมบัติเรียกอากรสมพัตสรตามพิกัดอัตรา อย่าให้ เรียกอากรล่วงแขวงล่วงอำเภอให้ล้ำเหลือผิดด้วยพิกัดอัตราแต่ สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ถ้าและราษฎรผูกแก้อากรแล้ว ให้หมื่นวิเศษ สมบัติทำใบฎีกาปิดตราประจำปีประจำเงิน ให้ไว้แก่ราษฎรเป็น สำคัญ อย่าให้เกิดวิวาทกัน ประการหนึ่งถ้าพรรคพวกบ่าวและ ทาสหมื่นวิเศษสมบัติซึ่งไปทำอากรด้วยกันนั้น เกิดวิวาทแก่

๔๗ กันเป็นแต่เนื้อความมะโนสาเร่ ก็ให้หมื่นวิเศษสมบัติสมัคร สมาว่ากล่าวให้สำเร็จแต่ในกันเอง ถ้าเป็นเนื้อความมหันตโทษ ข้อใหญ่ก็ให้ส่งไปยังผู้รักษาเมือง กรมการ พิจารณาว่ากล่าว ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าและราษฎรฟ้องหากล่าวโทษ หมื่นวิเศษสมบัติ และสมัครพรรคพวก ก็ให้หมื่นวิเศษสมบัติ ส่งตัวผู้ต้องคดีให้ผู้รักษาเมือง กรมการพิจารณาว่ากล่าว ถ้าคดี ต้องตัวหมื่นวิเศษสมบัติ ก็ให้หมื่นวิเศษสมบัติแต่งทนายไปว่า ไปแก้ต่าง อย่าให้ขัดขวางคดีของราษฎรไว้ อนึ่งห้ามอย่าให้ ผู้รักษาเมือง กรมการ แขวงนายบ้านนายอำเภอเกาะกุมหมื่น วิเศษสมบัติพรรคพวกบ่าวและทาส ซึ่งไปเก็บอากรด้วยกันนั้น กะเกณฑ์ไปใช้ราชการเบ็ดเสร็จซึ่งมิได้เป็นพนักงานและเก็บเรือ ยืมเรือจังกูดกรรเชียงถ่อพายเครื่องสำหรับเรือไปให้ป่วยการทำ อากรแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ และให้หมื่นวิเศษสมบัติกำชับห้าม ปรามว่ากล่าว แก่พรรคพวกบ่าวและทาสอย่าให้กระทำข่มเหง ฉกชิง ฉ้อ ตระบัด ทำกันโชกราษฎร เป็นโจรผู้ร้าย ปล้นสดมภ์ เอาพัศดุทอง พัศดุเงิน เครื่องอัญญมณีของสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎรไพร่บ้านพลเมืองลูกค้าวานิช และสูบฝิ่น กิน ฝิ่น ซื้อฝิ่น ขายฝิ่น ทำลายพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ พระศรีมหาโพธิ พระอุโบสถ พระวิหาร การเปรียญ วัดวาอาราม ฆ่าช้างเอางาและขนาย ฆ่าสัตว์อันมีคุณ ซื้อขายสิ่งของต้องห้าม ทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย ห้ามปรามเก่าห้ามปรามใหม่

๔๘ แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ครั้นรู้ท้องตรานี้ไซร้ ถ้ามีตรานกวายุภักษ์ มีหนังสือเจ้าจำนวน มาด้วยเรื่องราวจำนวนเงินต้องกันแล้ว ก็ ให้พระปลัดกรมการลอกเอาท้องตรานี้ไว้ แล้วให้หมายยกหมื่น วิเศษสมบัติคนเก่าออกเสียจากที่นายอากร ให้ประทวนส่งตรา นี้ให้แก่นายแย้มผู้เป็นที่หมื่นวิเศษสมบัติคนใหม่ เข้าเรียก อากรสมพัตสรแต่จำนวนปีกุญตรีนิศกสืบไป ตามท้องตราและ รับสั่งมานี้จงทุกประการ สารตรามาณวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอนักษัตร โทศก







๔๙ เรื่องบัญชีคนขึ้นไปปิดน้ำกรุงเก่า เป็นจดหมายเหตุในรัชกาลที ๔ จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕

บัญชี ขึ้นไปปิดน้ำกรุงเก่า ณวันเดือน ๑๒ ปีชวดจัตวาศก ขึ้นไปแล้ว นายกองปลัดกอง กองรามัญ ๑๗ กอง คน ๓๐๐ พระยาวิเศษสงครามคุมญวณเข้ารีด ๕๐๐ พระยาประทุมธานีคุม คนเมืองประทุมธานี ตามไปอีก กรมพระพิทักษ์เทเวศร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ( รวม ) ๒ พระยาราชสุภาวดี ๑ พระยาสุรเสนา ๑ พระยา มหาอำมาตย์ ๑ พระยาศรีพิพัฒน์ ๑ พระยาศรีหราชเดโชไชย ๑ พระยาอาหารบริรักษ์ ๑ พระยาเกษตรรักษา ๑ พระยาวิชิตณรงค์ ๑ พระอนุชิตพิทักษ์ ๑ หลวงพิพิธสาลี ๑ หลวงศรเสนี ๑ กรม อาสาจาม ๑ ( รวม ) ๑๑ ทำวัดบวรนิเวศน์ กองหลวงทรงประวาศ ๔ คน ชัก ๓ กอง พระพิพิธเดชะ ๕๕ คน ชัก ๙ ( รวม ) ๑๒ ทำวัดบรมนิวาศน์ กองพระยาพิพิธไอยสูรย์ ๒๕ คน ชัก ๓ เฝ้าโรงงานวัดมหาธาตุ กองพระยาศรีหราชเดโชไชย ๑๕ คน ชัก ๔ ทำวัดสระเกษ กองพระยาสามภพพ่าย ๑๐ คน ชัก ๔ ทำพระทวาร กองพระศรีศรราช ๔๐ คน ชัก ๗ กองขุน

๕๐ รามรณฤทธิ์ ๒๐ คน ชัก ๖ ( รวม ) ๑๓ ทำพระที่นั่งพุทธมนเทียร กองพระยาศรีหราชเดโชไชย ๘๐ คน ชัก ๗ ทำตำหนักเดิม กองหลวงเทพบริบาล ๑๐ คน ชัก ๕ ทำตำหนักใหม่ กองพระยาสามภพพ่าย ๓๒ คน ชัก ๕ กองหลวงเทพบริบาล ๒๗ คน ชัก ๑๐ กองหลวงราชฤทธานนท์ ๒๗ คน ชัก ๑๒ ( รวม ) ๒๗ ทำเขื่อนเพ็ชร์ กองหลวงอาสาสำแดง ๒๕ คน ชัก ๑๓ ( รวม ) ชัก ๘๘ คน ในกรมพระพิทักษ์เทเวศร ๑ ในกรมหลวงภูวเนตรนรินทร ฤทธิ์ ๑ กรมมหาดไทย พระยามหาอำมาตย์ ๑ พระอนุชิตพิทักษ์ ๑ ( รวม ) ๒ กรมนา พระยาอาหารบริรักษ์ ๑ หลวงพิพิธสาลี ๑ ( รวม ) ๒ กรมพระสัสดี พระยาราชสุภาวดี ๑ พระศรีกลาสมุท ๑ หลวงพิไชยเสนา ๑ ( รวม ) ๓ ขุนหมื่น ๒๑ ไพร่หลวงนักการ ๘ ไพร่สม ๔๒ ( รวม ) ๕๐ ( รวม ) ๗๔ คลังสินค้า พระยาศรีพิพัฒน์ ๑ ( รวม ) ๑ กรมม้าซ้าย กรมม้าขวา หลวงทรงพลราบเจ้ากรม ๑ หลวง พิไชยมนตรีเจ้ากรม ๑ หมื่นยุทธพิไชย ๑ หมื่นไกรเพ็ชร ๑ ปลัด ๒ ( รวม ) ๔ ไพร่หลวงนายม้า ๒๐ ( รวม ) ๒๔

๕๑ กรมพระกลาโหม พระยาสุรเสนา ๑ ( รวม ) ๑ กรมอาสาใหญ่ขวา พระยาศรีหราชเดโชไชย ๑ ( รวม ) ๑ กรมเขนทองซ้าย พระยาวิชิตณรงค์ ๑ ( รวม ) ๑ อาสาจาม หลวงศรเสนี ๑ ( รวม ) ๑ พระบวรราชวัง กรมนา พระยาเกษตรรักษา ๑


เรื่องหมายบอกข้าราชการ ว่าด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่กรุงเก่า พระราชทานส่วนพระราชกุศล

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์วรุตมพงศนายก สยามดิลกโลกานุปาลนนาถ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ นรเนตรนาถราชสุริยวงศ์ ฯ มีบัญชารับสั่งว่า ให้หมายบอกเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่มีกรม และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้น้อย ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน ในพระบรมมหาราชวัง พระบวรราชวัง ซึ่งอยู่ รักษาพระนคร มิได้ตามเสด็จขึ้นไปให้รู้จงทั่วกัน ด้วยพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตรา ทางชลมารคขึ้นไปกรุงเก่า ได้ทรงบำเพ็ญทานการพระราชกุศล ทั้งปวง โปรดเกล้า ฯ พระราชทานมีจดหมายลงมาพระราชทาน ส่วนพระราชกุศลทั้งปวง ซึ่งได้ทรงทำให้อนุโมทนาทั่วกันตาม

๕๒ จดหมาย ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ลงมานั้น ว่าณวันศุกรเดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ เวลาบ่ายเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกระบวนพยุหยาตรา แห่เครื่องสูงกลองชะนะไปที่ปราสาท พระสงฆ์ ๓๗ รูปสวดพระ พุทธมนต์ อาลักษณ์อ่านคำประกาศเรื่องสังเวยบวงสรวงพระเจ้า แผ่นดิน ๓๗ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จพระเชษฐบิดรมาจนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับได้ปี ๕๐๐ ปี มีเทียนเงินเทียน ทองเครื่องสังเวย ๓๗ ที่ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญเครื่องสูง ฉัตรพระขรรค์อภิรุมชุมสายบังแซรกพัดโบกบังพระสูรย์ พระ แสงวางเครื่องธง ๙ ชาย ธง ๗ ชาย เข้าไปนั่งรายตามหน้าปรำ ที่พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ เป็นคำนับแก่พระเจ้าแผ่นดินที่ล่วง แล้ว แล้วให้ประโคมมะโหรีปี่พาทย์ กลองแขก กลองชะนะ แตรสังข์มะโหระทึก ให้ละครข้างในจับระบำกระทำบวงสรวงเสร็จ เสด็จพระราชดำเนินกลับ ครั้นรุ่งขึ้นณวันเสาร์เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ เวลาเช้า เสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราไปทรงปฏิบัติพระสงฆ์ ให้กระทำการบวงสรวง จับระบำเหมือนเวลาเย็นอีกเวลาหนึ่ง ถวายไทยทานกับพระสงฆ์สบงตัวหนึ่งจีวรตัวหนึ่งกระจาดองค์ละ หนึ่งกระจาดเสื่อหมอนขวดน้ำผึ้งน้ำมัน ตะบะบูชาร่มรองเท้า พระเจ้าแผ่นดินโบราณ ๓๔ พระองค์ เงินตราองค์ละบาท ทอง คิดเป็นราคาเงินบาทองค์ละเหรียญหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัว ๓ พระองค์ ณกรุงเทพ ฯ เงินองค์ละกึ่งตำลึง ทององค์ละสองเหรียญ ทรงพระราชอุทิศกรรมพฤกษ์ ๓๗ ถุง เป็นกรรมพฤกษ์ ๒๐๐๐ มีฉลากเงินสลึง

๕๓ เงินเฟื้อง พระเจ้าแผ่นดินโบราณ ๓๓ นั้นให้กรมการกรุงเก่าทิ้ง เจ้าตากสิน หลวงมงคลรัตนทิ้ง พระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๓ พระองค์ ทรงโปรย แล้วเสด็จกลับมาเชิญพระบรมอัฏฐิพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ พระองค์ สดัปกรณ์ไตร ๓ ไตร อันดับสามร้อย เป็นเงินรูปละ สลึง พระสงฆ์ ๓๐๓ รูป ครั้นเวลาบ่ายเสด็จพระราชดำเนินปิด ทองพระวัดพนัญเชิง เต็มพระพักตร์สิ้นทอง ๗๙๑๓ เท่านั้น เว้น พระศอไว้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ เวลาเช้าเสด็จพยุหยาตราโดยทางชลมารค ทอดพระเนตรจับช้างที่พะเนียด จับได้ช้างเล็บ ดำช้างหนึ่ง ผิวตัวจะงอยงวงดำผิดช้างตามธรรมเนียม มีพิเศษลักษณะเหมือนพระบรมนิลนัข ฯ ข้าหลวงเดิม แล้วเสด็จกลับ มานิมนต์พระสงฆ์ ๑๓ รูปสดัปกรณ์พระบรมอัฏฐิพระบาทสมเด็จ พระมหาจักรีบรมนารถปฐมพงษาธิราชรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระมเหศวรสุนทรไตรยเสวตรกะชาติศรมหาสวามินทร์ พระบาทสมเด็จพระมหาเจฐาธิบดินทร์สวามินทโรดม บรมธรรมิก ราชสมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ๖ พระองค์เป็นผ้า ๑๓ ไตร แล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายไตรพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ วัด พนัญเชิง ๓๙ รูป แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปถวายไตรพระ สงฆ์สวดพระพุทธมนต์โรงช้าง ๑๕ รูป แล้วเสด็จพระราช ดำเนินไปถวายไตรพระสงฆ์ สวดพระพุทธมนต์ วัดสุวรรณดาราม

๕๔ ๔๖ รูป สามแห่งรวมกันเป็นพระสงฆ์ ๑๐๐ รูป ผ้า ๑๐๐ ไตร เวลาค่ำจุดดอกไม้มีละครข้างใน มีโขน มีงิ้ว มีหนัง ๒ โรง เวลาเย็นมีไม้ต่ำไม้สูง ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เสด็จไปปฏิบัติพระสงฆ์ที่โรงช้าง โปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศา นุวงศ์ ไปปฏิบัติพระสงฆ์ที่วัดพนัญเชิงวัดสุวรรณดาราม ทรง ปฏิบัติพระสงฆ์ถวายไทยทาน เสื่อ หมอน แล้วเสด็จมามีพระ ธรรมเทศนาที่พลับพลาโรงละครกัณฑ์หนึ่ง แล้วทรงโปรยทาน ราษฎร เป็นเงิน ๕๐๐ เฟื้อง เวลาบ่ายเสด็จพระราชดำเนินไป ทรงจุดเทียนนมัสการวัดพนัญเชิง แล้วเสด็จไปถึงโรงช้างวัด สุวรรณดาราม จุดเทียนนมัสการทั้ง ๓ แห่ง เวลาค่ำมีละครข้างใน โขน งิ้ว หนัง เหมือนวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ครั้นรุ่งขึ้นณวัน เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำเสด็จไปวัดพนัญเชิงทรงปฏิบัติพระสงฆ์ ๓๙ รูป โปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ไปปฏิบัติพระสงฆ์วัด สุวรรณดารามโรงช้าง ถวายไทยทานร่มรองเท้าทุกรูป แล้วเสด็จ กลับมาทรงสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งที่พลับพลา แล้วทรง โปรยเงิน ๓๐๐ เฟื้องแก่ราษฎรที่มาฟังพระธรรมเทศนา ครั้นเวลา เย็นเสด็จไปทรงจุดเทียนนมัสการทั้ง ๓ แห่ง แล้วจุดดอกไม้เพลิง มีละครข้างใน และโขนงิ้ว ไม้ต่ำไม้สูง และหนังเหมือนกับวัน หลัง ครั้นรุ่งขึ้นณวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำเสด็จไปทรงปฏิบัติพระสงฆ์ ในพระอุโบสถวัดสุวรรณดาราม โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านายและข้า ราชการไปปฏิบัติพระสงฆ์ที่วัดพนัญเชิงและโรงช้างเผือกเสร็จแล้ว

๕๕ ถวายขวดน้ำผึ้งน้ำมัน และกระจาดของฉันครบทั้ง ๑๐๐ รูปทั้ง ๓ แห่ง แล้วทรงถวายไทยธรรมเครื่องกัณฑ์ โปรดให้พระสงฆ์ เทศนาในโรงธรรมสถานณะวัดสุวรรณดาราม แล้วโปรดให้แจก เงินคนละเฟื้องสิ้นเงินร้อยเจ็ดสิบเฟื้อง ตั้งแต่ณวันพุธเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำนี้ไป โปรดให้มีงานมหรสพละครข้างใน และโขน มหาดเล็ก และงิ้วข้าหลวงเดิมและไม้ต่ำไม้สูง เป็นสมโภช พระพุทธรูปและช้างเผือก จะให้มีงานเนื่องไปดั่งนี้จนณวันเดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จึงทรงพระราชทานกรรมพฤกษ์แก่ราษฎรทั้งปวง ตามสมควร การพระราชกุศลทั้งนี้ทรงบำเพ็ญทั้งปวง ได้ทรงเสวย พระราชกุศลเป็นมงคลในชาตินี้ และเป็นเหตุแห่งความสุขสวัสดิ ในภพหน้าเท่าใด ก็มีพระราชหฤทัยอารีรักต่อพระบรมวงศา นุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ในพระ บรมมหาราชวังและพระบวรราชวังทุกองค์ทุกคน จึงโปรด เกล้า ฯ ให้จดหมายบรรยายการพระราชกุศลทั้งปวงมานี้ ให้ กราบทูลพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และกราบ เรียนสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ องค์น้อย ให้ทรงทราบ ขอ ให้ประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศลทั้งปวงมาให้ท่านทั้งปวงบรรดาที่อยู่รักษาพระมหานคร มิได้โดยเสด็จนั้นได้อนุโมทนา ยินดีตามทุกพระองค์ทุกคน ขอท่านทั้งปวงจงเป็นสุขสวัสดิ มงคลเจริญเถิด มีพระบรมราชโองการให้จดหมายส่งลง มาณวันพุธเดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีขาลนักษัตรฉอศก หมายมา

๕๖ ตามรับสั่งโปรดเกล้า ฯ ณวันจันทร์เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำปีขาล นักษัตรฉอศก ฯ

เรื่องเสด็จพระราชดำเนินทรงปิดทองพระพักตร์ พระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ให้ส่งหางว่าวปืนใหญ่ที่จะไปจุกช่องล้อมวง

อนึ่งเพลาย่ำค่ำ นายพวงเสมียนพันอินทราชมาสั่งว่า ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาจะเสด็จ ฯ ขึ้นไป ทรงปิดทองพระพักตร์พระพุทธมหาปฏิมากรณ์วัดพนัญเชิง แล้ว จะเสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรนมัสการพระวัดสุวรรณดาราม ซึ่งสม เด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ประดิษฐานไว้แต่เดิม อนึ่งกำหนดพระยานครราชสีมา พระสุนทรราชวงศา จะนำช้างเผือกลงมาถึงกรุงเก่า ในเดือน ๓ ขึ้น ๘-๙ ค่ำเป็นแน่แล้วจะ เสด็จ ฯ ทางชลมารคไปประทับร้อนพลับพลาเมืองประทุมธานีประ ทับแรมพระตำหนักป้อมเพ็ชร์กรุงเก่านั้น เกณฑ์ให้เบิกปืนหลัก ทองไปจุกช่องล้อมวงทางบก ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ตาม ตำแหน่งเกณฑ์ กรมอาสาวิเศษซ้าย ๑ กระบอก ขวา ๑ กระบอก ๒ กระบอก ๒ กระบอก กรมกองกลางซ้าย ๑ กระบอก ขวา ๑ กระบอก ๒ กระบอก กรมเรือกันซ้าย ๑ กระบอก ขวา ๑ กระบอก ( เป็น ) ๒ กระบอก ( รวม )

๕๗ ๖ กระบอก และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ ตระเตรียมกระสุนกระบอก ละ ๑๐ นัด ดินดำกระบอกละ ๑๐ นัด เครื่องสำหรับปืนให้พร้อม เสร็จ ให้มีขุนหมื่น ไพร่ นั่งปืนกระบอกละ ๔ คน และผู้ต้อง เกณฑ์กรมใด จะให้ขุนหมื่นไปเท่าใด จะให้ไพร่ไปเท่าใด ให้ ทำหางว่าวมายื่นกับผู้เกณฑ์ แต่ณวันเดือนยี่แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล ฉอศก จะได้เอาบัญชีจำนวนปืน จำนวนคน เข้างบยื่นพระนรินทร เสนีทูลเกล้า ฯ ถวาย จะเสด็จวันใด จึงจะหมายบอกครั้งหลัง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ

เรื่องสมโภชช้างพลายเล็บดำ

ด้วย พระราชวังเมือง รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ช้างพลายเล็บดำซึ่งโปรด เกล้า ฯ ให้จับณพะเนียดกรุงเก่า แต่ณวันเดือน ๔ ปีขาลฉอศก เลี้ยงฝึกหัดไว้ณพะเนียดเชียงรายแล้ว บัดนี้โปรดเกล้า ฯ ให้ลง แพแต่ณวันเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีเถาะสัปตศกล่องลงมา กำหนด ถึงท่าพระกรุงเทพ ฯ แต่ณวันพฤหัสบดี เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ กำ หนดจะได้นำช้างพลายเล็บดำเข้าผูกโรงยอดไม้โรงทานในพระ ราชวังชั้นกลาง หน้าพระมหาปราสาท ริมคลังพระแสงใน ครั้น เพลาบ่ายจะเสด็จ ฯ ทรงฟังพระสงฆ์ ๑๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้าพระสงฆ์จะได้รับพระราชทาน .. ๕๘ ฉัน เพลาบ่ายจะได้ทำขวัญเวียนเทียนนั้น ให้กรมพระนคร บาลตั้งโขลนทวารให้มีเทริดหูช้าง ทำด้วยแผงมีไม้อุมาเทวา พรหมโองการราชวัฏิ รั้วให้สูง ๒ ศอกคืบยาวข้างละ ๔ ศอก ผูกต้นกล้วยต้นอ้อย แล้วให้ส่งทนนใส่น้ำ ๑ กำคา ๒ กำ นกเขาคู่ ๑ ไก่ คู่ ๑ ให้กับพระหมอเฒ่าที่ประตูท่าพระ แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเพลาเช้าแล้วให้กวาดแผ้วตั้งแต่ประตูท่าพระมาจน ประตูวิเศษ ไชยศรี อย่าให้รกเปื้อนอยู่ได้ อนึ่งให้กรมตะพุ่นปลูกเกยที่ริมโขลนทวารข้างซ้ายเกยหนึ่ง สูง ๕ ศอกกว้างยาว ๔ ศอก มีพนัก ๓ ด้าน มีบันไดขึ้นลงตาม เคย สำหรับพระหมอเฒ่าจะได้ขึ้นรดน้ำ แล้วให้จ่ายหญ้าให้ ราชมัน ๒ ฟ่อน จะได้ใส่โต๊ะเป็นเครื่องยศตามเคย แล้วให้คิด ส่งหญ้าตามพิกัดท้องช้างเสมอทุกวันไป อนึ่งให้ ๔ ตำรวจไปปลูกเกยข้างโขลนทวารข้างขวาเกยหนึ่ง สูง ๕ ศอก กว้างยาว ๔ ศอก มีพนัก ๓ ด้าน มีบันไดขึ้นลง สำหรับพระสงฆ์จะได้รดน้ำช้าง แล้วให้ยกศาลเทวดามีชั้นลด ปักฉัตร คาดผูกต้นกล้วยต้นอ้อย ไปตั้งศาลหนึ่ง แล้วให้จัด เตียงไปตั้งณโรงช้างรองพระเตียงทอง ๑ เตียง รองหม้อน้ำเงิน ๕ หม้อ รองบาดทราย ๑ เตียงทองจมูกสิงห์ ๑ เตียง แล้วให้ปลูก เกยในโรงช้างข้างเบญพาศเกยหนึ่ง มีพนัก ๓ ด้านสูงต่ำกว้างยาวตามเคย มีบันไดขึ้นลงสำหรับราชบัณฑิตย สำหรับพราหมณ์จะ ได้ขึ้นรดน้ำ แล้วให้ปลูกร้านที่น่าโรงช้างสำหรับจะได้ตั้งกระจาด . ๕๙ ถวายพระสงฆ์ให้พอ ๑๐ กระจาด แล้วให้ ๘ ตำรวจทำแพลูกบวบ ยาว ๕ วา กว้าง ๓ วามีแผงบังตา ๒ ข้างสูง ๕ ศอกให้มั่นคง อย่าให้ ลูกบวบจมน้ำได้ ให้เร่งทำให้แล้วแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ เพลาเช้า แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๘๐ คน เบิกธงมัง กรเสื้อปัสตูแดง กางเกงปัสตูแดง หมวกหนังแดง เกี้ยวลาย ต่อ ชาวพระคลังเสื้อ พระคลังหมวก พระคลังวิเศษ ให้พอนุ่งห่ม ไปคอยเตรียมเข้ากระบวนแห่ที่ประตูท่าพระ แล้วให้ ๔ ตำรวจยืม โคมแก้วใหญ่ ๖ เหลี่ยม ต่อชาวคลังพิมานอากาศไปแขวน ณโรงช้าง อนึ่งให้สังฆการีนิมนต์พระสงฆ์ถานารูปหนึ่งไปคอยเตรียม รดน้ำช้างที่เกย เมื่อเข้าโขลนทวารที่ประตูท่าพระ แล้วให้นิมนต์ พระสงฆ์สวดฉันณโรงช้าง จะเป็นพระสงฆ์องค์ใดให้ไปเฝ้าทูล ถามกรมหมื่นอุดมรัตนราศรีก่อน แล้วให้รับเภสัชอังคาสต่อวิเศษ ถวายพระสงฆ์สวดฉันให้พอทั้ง ๒ เพลา แล้วให้เบิกด้ายดิบต่อ ชาวพระคลังในซ้ายมาจับสายสิญจน์วงให้รอบโรงช้าง พระสงฆ์ถือสวดให้พอ อนึ่งให้พระหมอเฒ่าไปคอยเตรียมรดน้ำช้างบนเกยที่ประตู ท่าพระ แล้วให้รับทะนนน้ำใบ ๑ กำคา ๒ กำ นกเขาคู่ ๑ ไก่คู่ ๑ ต่อกรมพระนครบาล แล้วให้เบิกด้ายดิบต่อพระคลังในซ้ายมา วงศาลโขลนทวารให้พอ เบิกผ้าขาวต่อพระคลังวิเศษกว้าง ๔ คืบ ยาว ๔ แขน ๔ ผืน นุ่งเสาโขลน ๒ ผืน ห้อยหูโขลน ๒ ผืน

๖๐ แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ แล้วให้คอยเตรียมเบิกแว่นเทียน เอาสังข์ไปรดน้ำ ไปเป่าด้วยตามเคย แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ เพลาบ่ายโมง ๑ ให้ทันฤกษ์ แล้วให้เตรียมกล่อมเมื่อเพลาค่ำ ตั้งแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ ไปจนณวันเดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ แล้ว ให้รับเครื่องกระยาบวชต่อวิเศษวันละ ๒ สำรับ กับเทียนดูหนัง สือวันละ ๒ เล่มทั้ง ๓ วัน อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการเอาเสื่อลวดไปปูณโรงช้างบนยก พื้นที่ดิน ให้เต็มแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเช้า แรม ๗ ค่ำเช้า บ่ายแล้วให้จัดเสื่ออ่อนถวายพระสงฆ์ฉันที่โรงช้าง ๑๐ ผืน แล้ว ให้จ่ายน้ำมันมะพร้าวให้รักษาพระองค์ตามโคมแก้วไปให้พอคืน หนึ่ง แล้วให้จ่ายฟืนแสมรอนขนาดกลางให้กับวิเศษหุงข้าวถวาย พระสงฆ์ฉัน ๒๐ ดุ้น ให้จ่ายแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ เพลาเช้า อนึ่งให้ชาวพระคลังสุภรัต พระคลังมหาสมบัติ จัดเอาอา- สนะกระโถนขันน้ำไป แต่งตั้งถวายพระสงฆ์สวดฉันที่โรงช้างณวัน เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้า แล้วให้พระคลังสุภรัต จัดผ้าสบง ถวายพระสงฆ์ ๑๐ ผืน อนึ่งให้สนมพลเรือนรับเครื่องบูชาเครื่องตะบะมุกด์ เชิงต่อ ท่านข้างใน ไปตั้งณโรงช้างแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้า แล้วให้รับพวงดอกไม้ภู่กลิ่น ๖ พวง ดอกไม้มาลัย ผูกตลุง ๒ พวง ต่อท่านข้างในไปแขวนณโรงช้างเพลาบ่าย แล้ว

๖๑ ให้รับหม้อน้ำเงินใส่น้ำ ๕ ใบต่อขุนศรีสยุมพรไปตั้งณโรงช้าง แต่ ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้า อนึ่งให้กรมนาจ่ายข้าวสารซ้อมนาสวนแต่ต้นที่ขาวดี ให้ กับวิเศษหุงถวายพระสงฆ์ฉัน ๕ ทนาน ใส่ท้องกระจาด ๔ ถัง ๑๐ ทนาน ให้จ่ายแต่ณวันค่ำเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเช้า อนึ่งให้ชาวพระคลังในซ้ายจ่ายด้ายดิบให้กับพระหมอเฒ่าจะ ได้จับสายสิญจน์วงศาลเทวดาโขลนทวารให้พอ แล้วให้จัดร่ม ๑๐ คัน รองเท้า ๑๐ คู่ ถวายพระสงฆ์ณโรงช้างแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า ( สั่งงด ) อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษจ่ายผ้าขาวกว้าง ๔ คืบ ยาว ๔ แขน ๔ ผืน ให้กับพระหมอเฒ่านุ่งเสาโขลน ๒ ห้อยหูโขลน ๒ ให้จ่าย แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ เพลาบ่าย แล้วให้จ่ายผ้าเกี้ยวลาย ให้ผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ อนึ่งให้ล้อมพระราชวังซ้ายขวา สานกระจาดก้นกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๑๐ ใบปิดกระดาษให้งามดี เร่งเอามาส่งเสมียนตรากรมวังแต่ณวันค่ำเดือน ๓ แรม ๖ เพลาบ่าย แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๕ คน มาตักน้ำใส่อ่างจีนใหญ่ณโรงช้าง อย่าให้น้ำ แห้งขาดว่างได้เป็นอันขาด ให้เร่งไปตักแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเพลาเช้าไปจนกว่าจะเสร็จการ อนึ่งให้ข้าพระราชบัณฑิตย อภิรมย์ ราชยาน เชิญพระ พุทธรูปพระไชยนากน้อยใหม่ไปตั้ง ณ โรงช้าง แล้วให้ราชบัณ-

๖๒ ฑิตยไปคอยเตรียมรดน้ำช้างที่บนเกยในโรงด้วย ให้ยืมบาตรดิน ต่อชาวพระคลังพิมานอากาศใบหนึ่งใส่น้ำพระพุทธมนต์ รับกำ คาต่อกรมพระนครบาลกำหนึ่ง เอาไปถวายพระสงฆ์ที่เกยริมโขลนทวารประตูท่าพระ แล้วให้อภิรมย์จัดกระชิงเกรด ๔ คัน รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๔ คน เบิกกางเกง เสื้อ เกี้ยว ลายต่อชาวพระคลังเสื้อ พระคลังหมวก พระคลังวิเศษ ให้นุ่ง กางเกงยก ใส่เสื้อมัสรู เกี้ยวลาย ไปคอยเตรียมแห่ช้างที่ประตู ท่าพระ อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศยืมบาตรดินให้ราชบัณฑิตยใบหนึ่ง แล้วให้จ่ายโคมแก้วใหญ่ ๖ เหลี่ยม ให้ ๔ ตำรวจ แขวนที่แขวนโรงช้างให้พอ อนึ่งให้กรมท่าซ้ายจัดน้ำร้อนใส่ที่ชามาถวายพระสงฆ์สวด ฉัน ณโรงช้างแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้าให้ พอทั้ง ๒ เพลา อนึ่งให้กรมวัง ทนายเลือก ยกสำรับคาว ๑๐ หวาน ๑๐ ถวายพระสงฆ์ณโรงช้าง แล้วให้ราชมันกรมวังรับโต๊ะเงินใส่ กล้วย ๑ อ้อย ๑ หญ้า ๑ ๓ โต๊ะต่อวิเศษ ให้รับหม้อเงินใส่น้ำต่อ ขุนศรีสยุมพรหม้อหนึ่ง ให้เบิกหญ้าต่อกรมตะพุ่น ๒ ฟ่อน ให้ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๔ คน เบิกกางเกงริ้วทองรุ้งเกี้ยว ลายต่อคลัง เสื้อหมวก คลังวิเศษ นุ่งห่มไปคอยเตรียมเข้า กระบวนแห่ที่ประตูท่าพระ แล้วให้เอามาตั้งที่โรงเมื่อพระสงฆ์

๖๓ สวดฉันเพลาทำขวัญทั้ง ๓ เพลา อนึ่งให้ขุนศรีสยุมพรยืมหม้อน้ำเงินต่อท่านข้างในใส่น้ำส่ง ให้สนมพลเรือนไปตั้งณโรงช้าง ๕ ใบ ส่งให้ราชมันถือตามช้าง ใบหนึ่ง อนึ่งให้ฆ้องไชย ปี่พาทย์ กลองแขก แตรสังข์ ไปคอย เตรียมประโคมเมื่อพระสงฆ์สวดฉันทำขวัญเวียนเทียน ณโรงช้าง แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้าบ่าย ให้ทันกำหนด อนึ่งให้คลังแสงสรรพยุทธจัดเครื่องหุ้มโหมต ภู่ ตาไข่ จงกล ผ้าปกหลัง ไปผูกช้างพลายเล็บดำที่ท่าพระ แล้วให้จ่าย ผ้าปกหลัง เครื่องลูกพลู ๔ สำรับ ภู่ ตาไข่ แซ่หางม้า ๒ แซ่ หวาย ๒๐ กระบอกกลึง ๑๐ ผ้าปกหลัง ให้กับกรมช้างให้พร้อม แล้วให้จัดเครื่องภู่ ตาไข่ จงกล ผ้าปกหลัง ไปผูกช้างเมื่อพระ สงฆ์สวดฉัน เวียนเทียน ที่โรงให้ทันกำหนด อนึ่งให้กรมช้างจัดช้างพังนำ๑ ช้างพังสายสูต ๑ ช้างพังเชือก ๒ (รวม) ๔ ช้างผูกเครื่องลูกพลู ภู่ ตาไข่ ถมปัทม์ ผ้าปกหลังปักไหม ให้เบิกเครื่องลูกพลู ภู่ ตาไข่ ผ้าปกหลัง ๔ สำรับ เบิกแซ่หวาย ๒๐ แซ่ หางม้า ๒ กระบองกลึง ๑๐ ต่อคลังแสงสรรพยุทธให้พอ แล้ว ให้จัดหมอควานขี่ช้างให้ครบตัวช้าง หมอนุ่งใหม คาดรัตคต เกี้ยวเจียรบาต ควาญนุ่งกางเกงยก เกี้ยวเจียรบาต แล้วให้จัด หมอ ๑ ควาญ ๑ ไปขี่ช้างพลายมาใหม่ หมอควาญนุ่งไหมคาด รัตคต เกี้ยวเจียรบาต แล้วให้รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช

๖๔ ๓๒ คน เบิกกางเกงยก กางเกงริ้วทองรุ่งประกอบเชิง เกี้ยวลาย เกี้ยวเจียรบาต ต่อชาวพระคลังเสื้อหมวก พระคลังวิเศษ มา นุ่งห่มให้พอ ไปคอยเตรียมแห่ที่ประตูท่าพระ อนึ่งให้รักษาพระองค์ซ้ายขวา จัดอ่างจีนใหญ่ไปตั้งที่โรงช้าง ๒ ใบ ให้เร่งเอาไปตั้งแต่วันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเพลาเช้า แล้ว ให้เบิกน้ำมันมะพร้าวต่อชาวคลังราชการมาตามโคมแก้วใหญ่ ๖ เหลี่ยมให้พอคืนหนึ่ง อนึ่งให้หลวงราชมานู หลวงเพชรฉลูเสนี จัดจ่าปี่ ๑ กลองชนะเขียว ๒๐ รวม ๒๑ คน รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ๒๐ คน เบิกกางเกงเสื้อหมวกต่อชาวพระคลังเสื้อหมวกชาวพระคลัง วิเศษให้พอ จ่าปี่นุ่งกางเกงยก เสื้อมัสรู หมวกกลีบลำดวน คน ตีกลองนุ่งกางเกงปัสตูแดง เสื้อปัสตูแดง หมวกกลีบลำดวน นุ่ง ห่มไปคอยเตรียมเข้ากระบวนแห่ อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้กับแปดตำรวจ ถือ ธงมังกร ๘๐ คน กรมช้างถือแซ่หวาย ๒๐ คน แซ่หางม้า ๒ คน รวม ๒๒ คน ถือกระบองกลึง ๑๐ คน ๓๒ คน หลวงราชมานู หลวงเพชรฉลูเสนี ตีกลองชนะ ๒๐ คน อภิรมย์ถือกระชิงเกรด ๔ คน ราชมันถือเครื่องยศ ๔ คน ล้อมวังซ้ายขวาตักน้ำใส่อ่างใน โรงช้าง ๕ คน ( รวม ) ๑๔๕ คน ให้จ่ายแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ เพลาบ่าย จะได้เอาไปถือเครื่องแห่รับช้างณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ ให้ทันกำหนด

๖๕ อนึ่ง ให้เสมียนตรากรมวัง รับกระจาดต่อล้อมวังซ้ายขวา ๑๐ ใบส่งให้วิเศษจัดสิ่งของคาวหวานถวายพระสงฆ์ณโรงช้าง แต่ ณวันเดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ เพลาบ่าย อนึ่งให้หลวงทานาธิบดีเจ้ากรมโรงทานจัดของเคียงคาวถวายพระสงฆ์ฉันณโรงช้าง ๑๐ สำรับ อนึ่งให้หลวงศรีราชอาวุธ ขุนพิทักษ์อาวุธจ่ายธง กางเกง เสื้อ หมวก ให้กับผู้ต้องเกณฑ์ให้พอ อนึ่งให้เกณฑ์พระ หลวง ขุน หมื่น มหาดไทย ๓๐ คน กลาโหม ๒๐ คน เข้ามาปรนนิบัติพระสงฆ์ณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำเพลาเช้า ครั้นเพลาบ่ายโมง ๑ เข้ามาคอยรับแว่นเวียน เทียนทำขวัญณโรงช้างให้ทันกำหนด อนึ่งให้ท่านข้างในจัดเครื่องบูชาตะบะมุกด์เชิง มีธูปเทียน ดอกไม้ให้พร้อม ส่งให้สนมพลเรือนไปตั้งณโรงพลายช้างเล็บ ดำ แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้า แล้ว ให้แต่งสำรับคาว ๑๐ สำรับ หวาน ๑๐ สำรับ ให้มีสำรับข้าว พระ ขนมจีนน้ำยาด้วย ส่งให้นายเวรกรมวัง ทนายเลือก แล้ว ให้ร้อยภู่กลิ่นแขวนเพดาน ๖ พวง ร้อยมาลัยผูกตลุง ๒ พวง ส่งให้สนมพลเรือน แล้วให้จัดเทียนหนักเล่มละ ๒ สลึงเป็น เทียนติดแว่นสำรับละ ๙ เล่ม ๓ สำรับ ๒๗ เล่ม เทียนติดยอด บายศรี ๖ เล่ม เทียนชะนวน ๔ เล่ม (เป็น) ๓๗ เล่ม กับเทียน ดูหนังสือหนักเล่มละ ๑ ตำลึง วันละเล่ม ๓ วัน ๓ เล่ม เทียน ๕ ๖๖ เครื่องกระยาบวชหนักเล่มละ ๑ บาท วันละ ๒ เล่ม ๓ วัน ๖ เล่ม ส่งให้วิเศษ แล้วให้ส่งโต๊ะเงินใส่กล้วย ๑ ใบ ใส่อ้อย ๑ ใบ ใส่ หญ้า ๑ ใบ ให้วิเศษให้ส่งหม้อน้ำเงินใหญ่ ๕ ใบ หม้อน้ำเงิน กลาง ๑ ใบ ให้ขุนศรีสยุมพร อนึ่งให้วิเศษหมากพลูจัดเภสัชอังคาสส่งให้สังฆการีถวายพระสงฆ์สวดฉัน ตั้งพาน ใส่ซองเพลาละ ๑๐ พาน ๒ เพลา ๒๐ พาน แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้า แล้วให้วิเศษ ฉอทานเบิกข้าวสารซ้อมต่อกรมนาถัง ๕ ทะนาน แล้วให้เบิก ฟืนแสมรอนขนาดกลางต่อชาวพระคลังราชการ ๒๐ ดุ้นมาหุง ข้าวถวายพระสงฆ์ฉันณโรงช้าง ณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ เพลา เช้าให้พอ แล้วให้วิเศษกลางเบิกข้าวสารซ้อมนาสวนต่อกรม นา ๔ ถัง ๑๐ ทะนาน แล้วให้รับกระจาดต่อเสมียนตรากรมวัง ๑๐ กระจาด มาจัดของคาวหวานใส่ท้องกระจาดถวายพระสงฆ์ ณโรงช้าง แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้า แล้วให้ วิเศษบายศรีจัดบายศรีตอง ๓ ชั้น ๒ สำรับ ธูปเทียนเครื่อง สำหรับบายศรีให้พร้อม ศรีษะสุกร ๒ ศรีษะ ไปส่งให้พระ หมอเฒ่าที่ประตูท่าพระ แต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ เพลาเช้า แล้วให้จัดบายศรีทอง บายศรีเงิน ๕ ชั้น ๔ สำหรับ บายศรี ตอง ๕ ชั้น ๒ สำรับ ให้มีข้าวขันเชิงปักแว่นพานรองน้ำ วักเหม ข้าว มะพร้าวแก้ว พลูคะแนน แป้งหอม น้ำมันหอม เครื่อง สำหรับบายศรีให้พร้อม แว่นเวียนเทียน ๓ สำรับ ให้รับเทียน

๖๗ ติดแว่น ๓ สำรับ ๆ ละ ๙ เล่ม ๒๗ เล่ม เทียนติดยอดบายศรี ๖ เล่ม เทียนชะนวน ๔ เล่ม ( เป็น ) ๓๗ เล่ม ๆ ละ ๒ สลึงกับ เทียนดูหนังสือหนักเล่มละ ๑ ตำลึง วันละเล่ม ๓ วัน ๓ เล่ม เทียนเครื่องกระยาบวชหนักเล่มละ ๑ บาท วันละ ๒ เล่ม ๓ วัน ๖ เล่ม ไปตั้งณโรงช้างแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ เพลาบ่ายโมง หนึ่ง กับโต๊ะเงินสำหรับใส่กล้วยอ้อยหญ้า ๓ ใบ ต่อท่าน ข้างในมาจัดกล้วย ๑ อ้อย ๑ หญ้า ๑ ส่งให้ราชมันแต่ณวัน เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเช้าบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้าบ่าย ๔ เพลา แล้ว ให้จัดเครื่องกระยาบวชวันละ ๒ สำรับ กับเทียนดูหนังสือวัน ละเล่ม เทียนเครื่องกระยาบวชวันละ ๒ เล่ม ส่งให้พระหมอ เฒ่า ตั้งแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖-๗-๘ ค่ำ เพลาค่ำทั้ง ๓ เพลา อนึ่งให้ขุนภักดีนาวาเจ้ากรมญวนแจว จัดเรือแจว ๑๐ ลำ พลแจวให้ครบ ให้มีนายเรือ มีธงมังกร เชือกยาว ๙-๑๐ วา จงทุกลำ ให้ขึ้นไปคอยเตรียมฉุดแพช้างที่หน้าวัดเขมาลงมาให้ ถึงท่าพระแต่ณวันเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ เพลาย่ำรุ่ง และให้เจ้า พนักงานและผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้มาจัดแจงการงานให้พร้อม ให้ ทันกำหนดเพลาจงทุกพนักงาน ถ้าพนักงานสิ่งใดไม่แจ้ง ให้เฝ้า ทูลถามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลาให้ชัดเจน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ


๖๘ เรื่องหมายฉะบับก่อนเสด็จ พระราชทานพระกฐินอย่างพยุหยาตราเมืองประทุม กรุงเก่า อย่าให้เจ้าพนักงานเชื่อหมายฉะบับนี้

อนึ่งเพลา ๒ ยามเศษ นายตำรวจวังเวรนายชำนิมาสั่ง ว่า ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่าจะเสด็จ ประทับแรมที่เมืองประทุมธานีนั้น ยังหาถูกต้องไม่ อย่าให้ เชื่อฟังหมายเก่า จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หมายรับสั่งใหม่ ให้ เจ้าพนักงานทุกตำแหน่ง กำหนดหมายนี้เป็นแน่ จะเสด็จทาง ชลมารคเป็นกระบวนพยุหยาตราตามอย่างครั้งเมื่อเสด็จในเดือน ๔ แล้วมา แต่ครั้งนี้จะทรงพระราชทานพระกฐินเมืองประทุมธานี เมืองกรุงเก่า เป็นพระราชประสงค์ กำหนดณวันอาทิตย์เดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก เพลา ๓ ยามให้กระบวนพร้อม จะเสด็จแต่ยังไม่รุ่ง เมื่อจะออกเรือพระที่นั่งนั้น จะได้ยิงปืน ในเรือพระที่นั่ง ๓ นัด โห่ ๓ ลาเป็นสำคัญเป็นสัญญา แล้วจึง ให้เรือที่มีปืนหน้าเรือยิงรับต่อ ๆ ไปลำละนัดตลอดกระบวน แล้ว เดินกระบวนตามลำน้ำขึ้นไป ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๓ ค่ำ เมื่อ เสด็จถึงเมืองประทุมธานี ให้ประทับเรือพระที่นั่งฉนวนวัด ประทุมทองทีเดียว อย่าประทับที่ฉนวนพลับพลาก่อน ต่อพระ ราชทานพระกฐินเสร็จแล้ว จึงจะเสด็จมาพลับพลาครู่หนึ่ง แล้ว

๖๙ จะเสด็จเดินกระบวนต่อไปไม่ประทับแรมที่ประทุมธานี เมื่อจะ ออกเรือพระที่นั่งจากวัดประทุมทองนั้น จะได้ยิงปืนสัญญาทุก ลำเหมือนอย่างแรกออกอีกครั้งหนึ่ง เดินกระบวนตามทางลำน้ำ ขึ้นไปประทับณค่ายหลวงป้อมเพ็ชร์กรุงเก่า ในวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๓ ค่ำให้ได้ตามอย่างครั้งก่อน ครั้นรุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาบ่ายเสด็จทรงพระราชทานพระกฐินวัดสุวรรณดาราม ที่ ๑ วัดพนัญเชิงที่ ๒ สองพระอาราม ครั้นณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำเพลาเช้า เสด็จเป็นกระบวนพยุหยาตราทรงเรือพระที่นั่ง เอกไชย ตามกระบวนที่จะจัดที่กรุงเก่า เมื่อออกกระบวนให้โห่ รับกันไปตามธรรมเนียม จะประทับพระราชทานพระกฐิน วัด พุธไธยสวรรย์ที่ ๑ วัดกระษัตรารามที่ ๒ วัดโลกยสุธาศาลาปูนที่ ๓ วัดหน้าพระเมรุที่ ๔ สี่พระอาราม ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำเสด็จ เป็นกระบวนอย่างขึ้นไปจากกรุงเทพ ฯ ให้ทอดกระบวนให้ยาวยืด เมื่อจะออกเรือพระที่นั่งนั้นให้ยิงปืนเป็นสัญญาตลอดกระบวนอีก ครั้งหนึ่ง แล้วเสด็จพระราชทานพระกฐิน วัดป่าโมกข์พระอาราม หนึ่ง ถ้าเวลายังมีจะเสด็จไปนมัสการพระพุทธไสยยาสน์วัดอินทประมูลด้วย แล้วเสด็จกลับมาที่ประทับป้อมเพ็ชร์ในวันนั้น แลเมื่อออกเรือกลับให้ยิงปืนอย่างเมื่อไป ครั้นณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๗ ค่ำเพลาเช้า เสด็จเป็นกระบวนตามธรรมเนียมพระกฐิน ในกรุงเทพ ฯ จะพระราชทานพระกฐินวัดธรรมารามที่ ๑ วัดขุน ญวนที่ ๒ สองพระอาราม แล้วเสด็จไปประทับทรงนมัสการ

๗๐ พระเจดีย์วัดภูเขาทอง แล้วกลับทางแหลมศีร์ษะรอ ประทับที่วัดมณฑปทรงถวายไตรปีพระสมุทมุนี แล้วจะเสด็จกลับที่ประทับ พลับพลาก่อน ถวายไตรปีพระสงฆ์ที่พลับพลาเพลาบ่าย พระ ราชาคณะ พระถานานุกรม เจ้าอธิการ ที่ได้รับไตรปีและ พระกฐิน จะได้สวดพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำเพลาเช้า พระราชาคณะ พระครู พระถานานุกรม เจ้าอธิการ อันดับที่ได้จีวรเข้ามารับบิณฑบาตฉลองพระกฐิน ฉลองไตรปี แล้ว พระราชาคณะ พระถานานุกรม เจ้าอธิการจะได้รับพระราช ทานฉัน เพลาค่ำจะให้มีผ้าป่าที่ท่าหน้าพลับพลาก่อน ครั้นณวัน เดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำเพลาบ่าย พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ที่พระปราสาท เสด็จทรงฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ หรือไม่เสด็จ ยังไม่แน่ รุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จทรงปรนนิบัติพระสงฆ์ฉันพระฤกษ์ที่จะได้ทรงก่อพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ ปราสาทแล้วเสด็จกลับหรือถ้าการอันใด ๆ ยังไม่เสร็จ ก็จะเสด็จ กลับต่อวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เมื่อจะออกเรือพระที่นั่งนั้น ให้ยิงปืนเป็นสัญญาจนตลอดกระบวน แล้วล่องตามลำน้ำลงมาประทับที่เกร็ดพระราชทานพระกฐินวัดปากอ่าวนนทรามัญเสร็จ แล้ว เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ เมื่อออกเรือพระที่นั่งให้ยิงปืนอย่าง ก่อนอีกครั้งหนึ่งนั้น ให้มหาดไทย กลาโหม กรมพระสัสดี กรมนา หมายทูลพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีกรม ที่ยังมิได้ตั้งกรม แล้วหมายบอกข้าทูลละอองผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้างหน้า ข้างใน

๗๑ ตำรวจหน้า ตำรวจหลัง พลพัน ทหารใน ทหารปืนใหญ่ ทหารปืนปลายหอก ทหารปืนสิปาย ทหารปืนเกณฑ์หัดปืน ใหม่ ทหารปืนหามแล่น ทหารปืนขานกยาง แสงใน แสงต้น มหาดเล็ก ช่างสนะ ที่ใหญ่ ชาววัง ชาวที่ ที่พระบรรทม ชาวพระราชยาน อภิรมย์ กรมช้าง กรมม้า สนมพลเรือน กลองชนะ ปี่ พาทย์ กลองแขก แตรสังข์ นาฬิกา ฝีพาย เรือดั้ง เรือแซรูป สัตว์ เรือปตูหน้าหลัง เรือนำ เรือตาม ตั้งกองรายทางจุกช่อง ล้อมวง ทางบก ทางน้ำ และจะตามเสด็จ เร่งเตรียมการสำหรับ กรมแต่ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำเพลา ๓ ยามให้พร้อมทุกหมู่ทุก กรมเหมือนอย่างเสด็จขึ้นไปทรงปิดทองพระพุทธรูป ครั้งปีขาล ฉอศก แต่เรือดั้ง เรือตำรวจ ซึ่งจะต้องล้อมวงรักษาที่ค่ายหลวง ป้อมเพ็ชร์กรุงเทพ ฯ นั้นให้มีสมอ ฆ้องกระแต โคมสาร โคม เพ็ชร์ไปให้พร้อมจงทุกลำ ถ้ากรมใดพนักงานสิ่งใดขาดจากธรรม เนียมแต่ก่อนจะเอาโทษกรมนั้น แล้วให้ข้าทูลละอองแต่งตัวนุ่ง ไหมใส่เสื้อเครื่องคาดรัตคตจงทุกคน แล้วให้เตรียมเสื้อครุย ขาวสมปักลายไปด้วย และตำรวจหน้า พลพัน ทหารใน ทนาย เลือกรักษาพระองค์นั้นให้มีหอกและกระบี่สำหรับยศเตรียมแห่ เสด็จไปให้พร้อม แล้วให้กรมมหาดไทย กลาโหม พระสัสดี กรมท่า กรมนา กรมเมือง กรมวัง ๑๒ พระคลังสรรพากรใน สรรพากรนอก สนมพลเรือน และกรมขึ้นซึ่งรักษาพระราชทรัพย์ และเครื่องราชูประโภค ให้จัดแจงสิ่งของซึ่งก่อนจะตามเสด็จไป . ๗๒ ให้พร้อมทุกพนักงานอย่าให้ขาดได้ ทั้งที่จะอยู่จะรักษาพระราช วัง แล้วให้เร่งทำบัญชีจำนวนคนซึ่งจะไปจะอยู่ทูลเกล้า ฯ ถวาย ทุกหมู่ทุกกรม แล้วให้มีตราบอกหัวเมืองรายทางแต่กรุงเทพ ฯ จนถึงกรุงเก่า ให้จัดการรับเสด็จจงทุกหัวเมืองให้พร้อม แล้ว ให้ป่าวร้องเรือแพกรุยหลักตอหยั่งน้ำลึกน้ำตื้นดู อย่าให้ขัด ขวางทางเสด็จได้ และเจ้าพนักงานซึ่งต้องเกณฑ์เข้ากระบวน นั้น ถ้าข้อใดไม่แจ้งให้ไปดูริ้วเสียก่อน และการทั้งปวงสงสัย ให้ถามผู้รับสั่ง แล้วให้พระแก้วพระคลังสวนจัดผลหมากดิบ พลูจีนสด ดอกไม้สด ขึ้นไปส่งต่อกรมวังณที่ประทับค่ายหลวง ป้อมเพ็ชร์ จะได้ส่งท่านพนักงานข้างในให้เสมอทุกวันให้พอ กว่าจะเสด็จกลับ เหมือนอย่างครั้งก่อน อนึ่งให้ฝรั่งทหารแม่น ปืนที่ลงเรือรูปสัตว์และนายเรือคอยฟังเสียงปืนสัญญาในเรือพระ ที่นั่ง ๓ นัดแล้วให้คู่ในที่หนึ่ง ยิงรับลำละนัด แล้วให้คู่ ๒-๓-๔-๕ ยิงรับลำละนัดตามลำดับออกไปจนสุดกระบวนเป็นสัญญาทั้ง ๗ ครั้ง ตามซึ่งกำหนดที่จะได้ยิงในต้นหมายอย่าให้เคลื่อนคลาด จงทุกลำ อนึ่งให้พนักงานทั้งปวงซึ่งอยู่รับเสด็จที่วัดประทุมทอง นั้นให้คอยรับเสด็จที่ฉนวนวัด อย่าไปคอยข้างพลับพลาเป็น อันขาด เมื่อเรือพระที่นั่งถึง ประทับฉนวนวัดแล้วเสด็จขึ้น จากเรือพระที่นั่ง ให้ตั้งกระบวนแห่เสด็จไปในพระอุโบสถ ทรง ถวายพระกฐินแล้ว ตั้งกระบวนแห่เสด็จกลับ ถ้าไม่มีรับสั่งว่าจะประทับพลับพลาก่อน อย่าได้นำเสด็จไปประทับเลยเป็นอันขาด

๗๓ ทีเดียว ให้นำเสด็จมาเรือพระที่นั่ง ต่อมีพระบรมราชโองการสั่ง แล้ว ให้นำเสด็จไปที่ประทับ อนึ่งเสด็จถึงเมืองประทุมธานี ให้ฝีพายลำทรงประทับที่ฉนวนวัดประทุมทอง อย่าให้ประทับ ที่ฉนวนพลับพลาก่อนเป็นอันขาด มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้า ฯ ให้ประทับที่ฉนวนพลับพลาจึงประทับเรือพระที่นั่งตามรับ สั่ง ซึ่งสั่งมาทั้งนี้เตรียมการให้พร้อมตามพนักงานทุก ๆ ตำแหน่ง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ

เรื่องขอแรงเลขที่ขึ้นจำนวนปีเถาะพายเรือแห่นำ

ณวันพฤหัสบดีเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำปีเถาะสัปตศก ด้วย มีรับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท โปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๓ ค่ำปีเถาะสัปตศก ทรงพระราช ศรัทธา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เจ้าอยู่หัว จะเสด็จ ทางชลมารคขึ้นไปทรงทอดพระกฐิน ณพระอารามวัดกรุงเก่า ให้ขอแรงเลขไพร่หลวงที่สักหลังมือแปลง และขึ้นจำนวนปีเถาะ สัปตศก ที่ยังไม่ได้บวกเดือนพายเรือดั้งเรือกัน เรือนำเรือตาม เสด็จเสมอทุกคน ให้เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี หาตัวเลข มาให้ถึงกรุงเทพ ฯ แต่ณเดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ ให้ พร้อมจงทุกหมู่ทุกกรม ให้ทันกำหนดตามรับสั่ง ฯ


๗๔ เรื่องเสด็จพยุหยาตรา พระราชทานพระกฐินเมืองประทุม เมืองกรุงเก่า เกณฑ์พายเรือแห่นำ

ณวัน ๑๑ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก ด้วย เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่ สมุหพระกลาโหม รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศล จะ เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคพระราชทานพระกฐิน ณ เมืองประ ทุมธานี เมืองกรุงเก่า ณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๓ ค่ำปีเถาะสัปตศก เป็นกระบวนพยุหยาตรา ให้เกณฑ์ฝีพายเกณฑ์ยก ช่าง พม่า คอกกระบือ มอญลาวรักษาโรงเรือ มอญกรุง พายเรือนำเรือตาม เสด็จนั้นเกณฑ์ และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้เอาตัว เลข ช่าง ส่งให้แก่นายเรือณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๑ ค่ำ จะได้ยกเรือลงจ่าย เครื่องแต่งตัวให้ ครั้นรุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๓ ค่ำ เพลาเช้า ย่ำฆ้องรุ่ง จะได้พายเรือนำเรือตามเสด็จให้ทันกำหนดตามรับสั่ง ฯ

เรื่องให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญพระองค์แสน ณเมืองเชียงแตง

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาถึงเจ้าพระยามหาศิริธรรม พระยาโบราณบุราณุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี พระยาสระบุรี


๗๕ กรมการกรุงเก่า ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ โปรดให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญพระองค์แสนณเมืองเชียงแตงลงมาพัก ไว้ณเมืองสระบุรี จะได้เชิญพระองค์แสนลงมาพักไว้ที่กรุงเก่า ณเดือน ๖ ข้างขึ้นปีมะเมียสัมฤทธิศก จะเสด็จ ฯ ทางชลมารค ขึ้นมาประทับที่พลับพลาป้อมเพ็ชร์ ทรงทอดพระเนตรพระองค์ แสนแล้ว จะเสด็จกลับลงมาประทับทรงทอดพระเนตรที่เกาะ บางปอินด้วย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้กรมฝีพายคุมเรือม่านทอง เชิญตราขึ้นมารับพระองค์แสนณเมืองสระบุรีลงไปพักไว้ที่กรุงเก่า ให้พระยาสระบุรีกรมการ ส่งพระองค์แสนให้กับฝีพายลงมา พักไว้ที่กรุงเก่าโดยเร็ว ให้เจ้าพระยามหาศิริธรรม พระยา โบราณบุราณุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี กรมการรับพระองค์แสน ไว้สมควรให้ดี แล้วให้เกณฑ์ไพร่จัดแจงแผ้วถางซ่อมแซมพลับ พลาที่ป้อมเพ็ชร์ให้ดีอย่าให้รกอยู่ได้เป็นอันขาดทีเดียว หนังสือมาณวัน ปีมะเมียสัมฤทธิศก ร่างตรานี้ ท่านหลวงศรีเสนาทำแล้ว ณวันเดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ ได้ให้พระศรีสหเทพดูแลการตกแทรกแล้ว ณวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เจ้าคุณปลายเชือกได้ส่งตรา ๒ ฉะบับให้ปอโทนจันพันเรืองกรมฝีพายรับไป ฯ



๗๖ เรื่องเชิญพระพุทธรูปแต่วังจันทรเกษม กรุงเก่ามาไว้วัดเขมา

อนึ่งเพลาทุ่มเศษนายกลั่นตำรวจวังมาสั่งว่า ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดจะได้ขึ้นไปเชิญพระพุทธรูปที่วังจันทรเกษม เมืองกรุงเก่า ณวันพุธเดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ กำหนดให้ลงมา ถึงกรุงเทพ ฯ ณวันศุกรเดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ จะได้เชิญพระ พุทธรูปขึ้นไว้ในพระอุโบสถวัดเขมาภิรตาราม ครั้นรุ่งขึ้นณวัน เสาร์เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ เพลาบ่ายพระสงฆ์จะได้สวดพระ พุทธมนต์ทั้งพระอารามฉลองพระพุทธรูป เพลาค่ำมีหนังมีดอก ไม้ทั้ง ๒ คืน ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือน ๑๒ แรม ๘ ค่ำ เพลา เช้า พระสงฆ์ทั้งอารามจะได้รับพระราชทานฉัน จะเสด็จ ฯ ทางชลมารคทรงเรือพระที่นั่งสยามวรสุมพลทรงปรนนิบัติพระ สงฆ์สวดพระพุทธมนต์รับพระราชทานฉันทั้ง ๒ วัน อนึ่งให้สนม พลเรือนรับเครื่องบูชาตะบะมุกด์เชิง ต่อท่านข้างใน ๒ สำรับให้มี ธูปเทียนไปสำรับละ ๒ ผลัด ไปลงเรือศรีที่ท่าโรงฝีพาย ไปรับพระ พุทธรูปลงเรือแล้วก็ให้จุดเครื่องบูชา ๆ พระพุทธรูปมาตามทางถึง วัดเขมา แล้วให้รับเครื่องทองทิศต่อท่านข้างในไปตั้งถวายเวลาบ่าย พระสงฆ์สวดมนต์ฉันเวลาละสำรับให้ทันกำหนดทั้ง ๒ เวลา อนึ่ง ให้ราชบัณฑิตย ข้าพระไปลงเรือศรีที่ท่าโรงฝีพาย รีบไปเชิญ

๗๗ พระพุทธรูปลงมาให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจัด เสื่ออ่อนเสื่อลวดไปปูเกย ปูรองทรงประทับ ปูทางเสด็จ ที่ขุน นางเฝ้าให้พอทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังศุภรัต ชาวพระ คลังมหาสมบัติจัดอาสนกะโถน ขันน้ำ ไปแต่งตั้งถวายพระสงฆ์ สวดพระสงฆ์ฉันให้พอตามเคย อนึ่งให้สังฆการีนิมนต์พระสงฆ์ วัดเขมาภิรตารามสวดมนต์ฉันทั้งพระอาราม ให้ทันตามกำหนด อนึ่งให้หมื่นเทวาทิศ หมื่นไฉนไพเราะห์ หมื่นเสนาะราชา หมื่น ปรีดาราช หมื่นฉลาดกลองชะวา หมื่นราชาราช หมื่นศักดากาศ จัดปี่พาทย์ ๒ สำรับ กลองแขก ๒ สำรับ ไปลงเรือดั้งเรือแซที่ ประตูท่าพระไปประโคมแห่พระพุทธรูปที่กรุงเก่ามาขึ้นวัดเขมาให้ ทันตามกำหนด แล้วให้จัดปี่พาทย์ กลองแขก แตรสังข์ ฆ้อง ไชย สำรับ ๑ ไปประโคมให้ทันเวลาพระสงฆ์สวดมนต์ พระสงฆ์ ฉันตามเคย อนึ่งให้พระยาราชภักดีจัดสำรับคาวหวานจังหัน เภสัชอังคาสน้ำร้อนน้ำชาถวายพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ รับ พระราชทานฉันให้พอ ให้ตำรวจหน้า ตำรวจหลัง พลพัน ทหาร ใน ทนายเลือก รักษาพระองค์เก่า รักษาพระองค์ใหม่ ปืนแดง แสงต้น แสงใน มหาดเล็ก มาลาภูษา ชาวที่ ชาววัง ชาว พระราชยาน คลังมหาสมบัติ คลังวิเศษ คลังแสงสรรพยุทธ ทหารหัดอย่างยุโรป ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป ทหารปืนปลาย หอก และเจ้าพนักงานจุกช่องล้อมวงตั้งกองรายทางบกทางน้ำให้ พร้อมทันกำหนด อนึ่งให้กรมวัง ให้ทนายเลือก ไปยกสำรับ

๗๘ คาวหวานต่อพระยาราชภักดีไปถวายพระสงฆ์ฉันให้พอ อนึ่งให้ พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขให้ฝีพายบรรจุเรือศรี ๒ ลำ ให้ พรหมราชบรรจุเรือดั้ง ๒ ลำ เรือรูปสัตว์ ๔ ลำให้ครบกระทง ให้ เร่งจ่ายให้ทันกำหนด อนึ่งให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถจัดเรือพระที่นั่งสยามวรสุมพลมาประทับรับเสด็จ ฯ ที่ท่าพระที่นั่งทรงประทับริมน้ำ ให้ทันทั้งสองวัน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ

เรื่องให้ซ่อมพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง และวัดหน้าพระเมรุ

หนังสือ พระศรีสหเทพ ฯ มาถึงพระยาเพทราชา จางวาง กรมช่าง พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี ปลัด กรุงเก่า ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทเวศรวัชรินทรโปรด เกล้า ฯ สั่งว่า มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้า ฯ ว่า พระพุทธรูปวัดพนัญเชิงซึ่งแตกร้าวนั้น ให้เอาน้ำรักกับมูลน้ำมัน ซ่อมแซมยาเสียให้ดี อย่าให้ชำรุดแตกร้าวต่อไปได้ แล้วโปรด เกล้า ฯ ว่าพระพุทธรูปหน้าวัดพระเมรุนั้นให้ลงรักทั้งองค์ทั้งฐาน ให้ดีขึ้นกว่าเก่า โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัด กระจกต่างสี ๒๑ สลึง น้ำรักไชยา ๓๕ ทะนาน น้ำรักเขมร ๑๕ ทะนาน มอบ ให้ขุนสุวรรณราชา เจ้ากรมช่างรัก คุมขึ้นมาให้ พระยาเพทราชา พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี รับเอากระจก

๗๙ น้ำรักไว้ แล้วให้พระยาเพทราชา พระยาโบราณบุรานุรักษ์ กรม การเร่งให้ช่างรักช่างกระจกลงรักประดับกระจกพระพุทธรูปวัด พนัญเชิงวัดหน้าพระเมรุให้แล้วโดยเร็ว แล้วให้พระยาเพทราชา พระยาโบราณบุรานุรักษ์ กรมการ บอกรายการลงมาจงเนือง ๆ จะได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละออง หนังสือมาณวันเสาร์เดือนอ้ายแรม ๑ ค่ำปีมะแมเอกศก

เรื่องชำระความ

หนังสือ พระศรีสหเทพ ฯ มาถึง พระยาเพทราชาจางวาง กรมช่าง พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี ปลัดกรม การกรุงเก่า ด้วยปะแดงจันอักษรกรมเมืองนำเอาเรื่องราวเม้ยสวย มายื่นลูกขุนณศาลาว่า เม้ยสวยกับมะตุบออกชายมีชื่อลูกจ้าง บรรทุกสินค้าขึ้นไปจอดนอนอยู่ที่บ้านกบเจาแขวงกรุงเก่า ครั้น เพลารุ่งเช้าชายมีชื่อ ๖ คนมาที่เรือ ชิงเอาผ้าขาวม้าที่มะตุบออก แล้วสบประมาทว่ามะตุบออกเป็นผู้ร้าย ชายมีชื่อจึงทำคำอายัด ตัวเม้ยสวยตัวมะตุบออกไว้กับหมื่นรองเสนานายอำเภอ ๆ บังคับ ให้นายเดชเอาตรวนเอาขื่อจำเท้าเม้ยสวยเท้ามะตุบออกไว้จะเอา เงิน ๕ ตำลึง เม้ยสวยให้ผู้มีชื่อไปหาหลวงมหาดไทย ๆ มีหมาย มา หมื่นรองเสนาจึงให้นายเดชคุมตัวเม้ยสวยไปส่งให้หลวงมหาดไทยแต่ฝ่ายเดียว เม้ยสวยจึงฟ้องกล่าวโทษ หมื่นรองเสนา

๘๐ นายทรัพย์ นายเดช นายกลิ่น อำแดงฤทธิ์ ให้เรียกออกมา พิจารณา หลวงคลังเป็นตระลาการเกาะได้ตัวหมื่นรองเสนามาถึง ศาลบังคับให้ส่งผู้มีชื่อก็หาส่งไม่ หมื่นรองเสนามีคำตัดฟ้องตระลาการกลับเอาคำหมื่นรองเสนาขึ้นปรึกษาให้สิ้น แล้วเอาคำ เม้ยสวยขึ้นปรึกษาให้งดไว้ แจ้งอยู่ในเรื่องราวนั้นแล้ว และ เม้ยสวยมาว่ากล่าวทั้งนี้ต้องที่จะชำระให้เห็นเท็จและจริงทั้ง ๒ ฝ่าย จึงให้นายปั่น ถือหนังสือขึ้นมาให้พระยาเพทราชา พระยาโบราณ บุรานุรักษ์ กรมการ หาตัวหมื่นรองเสนา นายทรัพย์ นายเดช นายกลิ่น อำแดงฤทธิ์ มาชำระเอาความเท็จความจริงให้จงได้ ถ้าชำระว่ากล่าวมิตกลงขัดขวางประการใด ก็ให้แต่งกรมการคุม เอาตัวโจทย์ตัวจำเลยกับถ้อยคำสำนวนบรรดาได้พิจารณา คุมลง ไปส่งณกรุงเทพ ฯ จะได้ส่งให้ตระลาการเจ้ากระทรวงชำระว่า กล่าวตามพระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือมาณวันอาทิตย์เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำปีมะแมเอกศก ฯ

เรื่องกำหนดการที่จะแห่เทวรูปเขาตก

หนังสือ เจ้าพระยาจักรีมาถึง พระยามหาอำมาตย์ พระยาเพทราชาจางวางกรมช้าง พระยาโบราณบุรานุรักษ์กรมการกรุงเก่าด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดการ ที่จะแห่เทวรูปเขาตกขึ้นไปไว้ณศาลที่เขาตกแต่ณวันพฤหัสบดี

๘๑ เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำนั้นเป็นอันไม่ติ โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนไป วันขึ้นไปกำหนดจะให้แห่ขึ้นมาณวันพุธเดือน ๔ แรม ๑ ค่ำปีมะ แมเอกศกเพลาเช้าเป็นแน่ ในวันนั้นเพลาบ่ายพระสงฆ์สวด พระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ พระ สงฆ์จะได้รับพระราชทานฉัน ตั้งบายศรีเวียนเทียนสมโภชตาม ท้องตรา ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาแต่ก่อน ให้พระยามหาอำมาตย์ พระยาเพทราชา พระยาโบราณบุรานุรักษ์ กรมการจัดแจงการ ที่จะรับรองแห่แหนสมโภชเลี้ยงพระสงฆ์ราชาคณะให้พร้อม แต่ ธง ๑๐๐, เสื้อ ๑๐๐, หมวก ๑๐๐, กางเกง ๑๐๐, เป็นเครื่อง สำหรับจะได้แห่เทวรูปนั้น ได้มอบให้พระกำแพงรามภักดีเจ้า กรม ๆ ช่างขวาคุมขึ้นมาด้วยแล้ว หนังสือมาณวันพฤหัสบดีเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำปีมะแมเอกศก ฯ

การที่จะรับรองแห่แหนเทวรูปเขาตก

หนังสือเจ้าพระยาจักรี มาถึงพระยามหาอำมาตย์แม่กอง พระยาเพทราชาจางวางกรมช้าง พระยาโบราณบุรานุรักษ์ กรม การกรุงเก่า ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ได้มีตราขึ้นมาแต่ก่อนให้พระยาเพทราชา พระยาโบราณบุรา นุรักษ์กรมการ จัดแจงการที่จะรับรองแห่แหนสมโภชเทวรูปขึ้น ไปไว้ณศาลเขาตกณวันพุธเดือน ๔ แรม ๑ ค่ำปีมะแมเอกศก ๖ ๘๒ เพลาเช้า ความอยู่ในท้องตราซึ่งโปรดขึ้นมาแต่ก่อน และการที่จะ แห่เทวรูปขึ้นไปไว้ณศาลเขาตกนั้น ระยะทางแต่กรุงเทพ ฯ จะ ขึ้นไปถึงเขาตกนั้นระยะทางไกลมาก ทรงพระราชดำริว่าเทวรูป จะไม่ใคร่ถึงตามกำหนดวันตามโปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาเป็นแน่ จึง ได้โปรดเกล้า ฯ ให้หมื่นรัตนดาษหัวหมื่นพระตำรวจนอกขวา ถือตราขึ้นมาให้พระยาเพทราชา พระยาโบราณบุรานุรักษ์กรมการ รีบเร่งแต่งขุนหมื่นกรมการราษฎรมาช่วยแห่แหนชักเรือเทวรูปขึ้น ไปให้ถึงทันกำหนดโดยเร็ว อย่าให้ผิดวันและเวลาเหมือนหนึ่ง กำหนดขึ้นได้เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าได้แห่เทวรูปขึ้นไปไว้ณศาล เจ้าเขาตก แล้วมีการสมโภชแห่แหนอย่างไรให้บอกลงไปให้แจ้ง จะได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละออง หนังสือมาณวันศุกรเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำปีมะแมเอกศก ฯ

เสด็จก่อพระฤกษ์ วัดเสนาสน์และพระราชทานพระกฐินวัดสุวรรณดาราม

อนึ่งเพลาบ่าย ๔ โมงเศษ นายแช่ม นายรองพันพรหม ราชมาสั่งว่า ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ รับพระบรมราช โองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ณวัน เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ จะเสด็จทรงเรือพระที่นั่งกลไฟขึ้นไป กรุงเก่าเพลาค่ำ รุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๑ แรม ๕ ค่ำเพลาเช้า

๘๓ ถึงกรุงเก่า แล้วเสด็จไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถวัดเสนาสน์ ครั้นเพลาบ่ายเสด็จพระราชทานพระกฐิน วัดสุวรรณดารามที่ ๑ วัดพนัญเชิงที่ ๒ ครั้นเพลาค่ำประทับแรมอยู่ที่วังจันทรเกษม รุ่งขึ้นณวันเดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำเพลาเช้าทรงปรนนิบัติพระสงฆ์ ฉันฉลองพระพุทธรูปที่วัดพระเมรุราชิการาม แล้วพระราชทานพระกฐินวัดนั้น แล้วเสด็จพระราชทานพระกฐินวัดโลกยสุธา ศาลาปูน แล้วเสด็จกรุงเทพ ฯ ในเวลากลางคืนนั้น ให้ หมายบอกนายเรือประตูหน้า ๑ ประตูหลัง ๑ เป็น ๒ ลำ เรือดั้งอาสาวิเศษซ้าย ๑ ลำ ขวา ๑ ลำ เป็น ๒ ลำ ล้อมวังซ้าย ๑ ลำ ขวา ๑ ลำ เป็น ๒ ลำ ทหารเกณฑ์หัดปืนแดงจัดคนถือ ปืนลงนั่งเรือดั้งลำละ ๖ คน ปืนลำละ ๖ บอก ๔ ลำเป็น ๒๔ บอก คน ๒๔ คน และให้ผู้ซึ่งต้องเกณฑ์ทั้งนี้ รับเลขต่อ พันพุฒ พันเทพราช มาบรรจุพลพายให้ครบกระทง พลพายใส่ เสื้อแดงใส่หมวกแดงจงทุกคน กางเกงสำหรับลำ ให้เร่ง ขึ้นไปคอยเตรียมแห่เสด็จที่วังจันทรเกษม ให้นีนายเส้านายลำ สำหรับเรือ แล้วให้ดาษสีหลังคาผูกผ้าหน้าโขน เครื่องสำหรับ เรือจงทุกสิ่ง ให้มีปืนหน้ากันยาลำละบอก ให้รับทหารเกณฑ์ หัดปืนแดงลงเรือลำละ ๖ คน เร่งไปยกเรือลงน้ำวันเดือน ๑๐ แรม ๒ ค่ำ อนึ่งเมื่อประทับแรมอยู่ที่วังจันทรเกษม ให้เรือดั้งออก ทอดทุ่นล้อมวง ให้มีฆ้องโคมเชือกสมอกระสุนสำหรับเรือจง

๘๔ ทุกลำ ให้เร่งไปคอยรับเสด็จให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้ตาม รับสั่ง ฯ

เร่งให้ทำตำหนักพลับพลาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

สารตรา เจ้าพระยาจักรี ฯ มาถึง พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานีปลัด นายเวรผู้ว่าที่หลวงกรุงศรียกกระบัตร หลวงพล กรมการกรุงเก่า ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือ เกล้า ฯ สั่งว่าโปรด ฯ ให้นายด้านนายงานขึ้นมาทำพระตำหนักพลับพลาพักที่วังจันทรเกษมก็ช้านาน การค้างอยู่ยังหาแล้วไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์เป็นแม่กองขึ้นมาช่วยดู แลเร่งนายด้านนายงานให้ทำพระตำหนักพลับพลาให้แล้วโดยเร็ว ถ้าพระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์เสด็จขึ้นมาถึงแล้ว จะมีรับสั่งให้ทำการ สิ่งใดก็ให้นายด้านนายงานเร่งทำตามรับสั่งจงทุกประการ และ อิฐปูนที่จะใช้ทำการนั้น ให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์ เทพธานีปลัด นายเวรผู้ว่าที่หลวงกรุงศรียกกระบัตร หลวงพล กรมการ จัดหาอิฐปูนส่งนายด้านนายงานให้ทันทำการ ถ้าอิฐที่ กรุงเก่ามีน้อยไม่พอจ่าย ก็ให้จัดเรือและคนขึ้นไปขนอิฐหลวง เกณฑ์ทำที่เมืองลพบุรีลงมาส่งให้พระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์แม่กอง และนายด้านนายงานให้พอทันทำการ จะให้ผู้ใดคุมเรือขึ้นไป บรรทุกอิฐณเมืองลพบุรีก็ให้มีหนังสือขึ้นไปถึงพระนรินทรเสนีแม่

๘๕ กองจะได้จ่ายอิฐให้กับผู้คุมเรือรับบรรทุกลงมาส่งณกรุงเก่า อย่า ให้อิฐขาดมือทำการได้ แต่ปูนผงนั้นได้ให้จัดแจงเผาไว้ที่กรุงเก่า แต่ก่อน แล้วให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี ปลัด นายเวรผู้ว่าที่หลวงกรุงศรียกกระบัตร หลวงพล กรมการ จัดหาปูนส่งให้พอ อย่าให้อิฐให้ปูนขาดมือทำการได้เป็นอันขาด ทีเดียว สารตรามาณวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีระกา ตรีศก ร่างตรานี้ มีรับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทมีรับสั่งให้ทำ ทำแล้วณวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำเพลา เช้า เสด็จประทับอยู่ที่แพ ได้เอาร่างตรานี้อ่านทูลเกล้า ฯ ถวาย แล้วทรงตกแทรกวงกา แล้วมีรับสั่งว่าให้ส่งนายเวรมหาดไทย กราบเรียน ฯ พณ ฯ สมุหนายกแล้วเขียนขึ้นกระดาษประทับ ตราไปเถิด เมื่อมีรับสั่งนั้นพระยาตากเฝ้าอยู่ด้วย ฯ

เสด็จก่อพระฤกษ์วัดชุมพลนิกายาราม

สารตรา เจ้าพระยาจักรี ฯ มาถึงพระยาอาหารบริรักษ์ ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า จะเสด็จ พระราชดำเนินขึ้นไปณบางปอินณวันศุกร เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ณวันอาทิตย์เดือน ๘ แรม ๑๒ ค่ำ ปีกุนเบ็ญจศก จะได้สวด พระพุทธมนต์ ณวันจันทร์เดือน ๘ แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุนเบ็ญจศก

๘๖ จะได้ทรงก่อพระฤกษ์วัดชุมพลนิกายาราม แล้วจะได้มีละคร โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอาหารบริรักษ์ปลูกโรงละครให้งามดี จะ ปลูกแห่งใดเป็นที่ชอบกลกว้างขวางราษฎรดูได้มากก็ตามแต่พระ ยาอาหารบริรักษ์จะเห็นดีเห็นควร สิ่งของซึ่งจะใช้สอยในการโรง ละครนั้นสิ่งใดขาดก็ให้บอกลงไป จะได้โปรดให้เจ้าพนักงาน คุมขึ้นมาให้พระยาอาหารบริรักษ์ตกแต่งใช้สอยในการโรงละคร ได้พระราชทานฝาเซียมให้กรมพระตำรวจ คุมขึ้นมาให้พระยา อาหารบริรักษ์ก่อน ให้เร่งจัดแจงปลูกโรงละครให้แล้วโดยเร็ว สารตรามาณวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุนเบ็ญจศก ร่างตรานี้พระศรีเสนาทำ ทำแล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้ เถิด ฯ

ทรงปิดทองแผ่นอิฐแผ่นศิลาก่อพระฤกษ์ พระพุทธไสยาสน์วัดเสนาสนาราม กรุงเก่า

อนึ่งเพลาบ่าย ๓ โมง เวรนายพิมานตำรวจวังมาสั่งว่า ด้วยชาววังเสนาภิมุข รับสั่งพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีห วิกรม ใส่เกล้า ฯ สั่งว่า กำหนดจะได้ทรงปิดทอง ปิดเงิน ปิด นากแผ่นอิฐ แผ่นศิลา ที่จะก่อพระฤกษ์พระพุทธไสยาสน์ที่วัด เสนาสนารามกรุงเก่า ณวันเดือน แรม ๑ ค่ำ เพลาเช้าที่พระที่ นั่ง อนันตสมาคมนั้น ให้ขุนสุวรรณสิทธิ ขุนสุวรรณราชา ช่าง

๘๗ รักซ้ายขวามาลงรัก แผ่นอิฐแผ่นศิลาถวายปิดทอง ให้ทันกำหนด อนึ่งให้เจ้าพนักงานชาวพระคลังมหาสมบัติจัดคำเปลว ทอง เงิน นาก มาด้วย ถวายทรงปิดให้พอ ๒๑ แผ่นให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษจ่ายผ้าขาว ผ้าชมพูปูม้าที่ทรงก่อ พันอิฐ พันศิลา ให้กับผู้รับสั่งให้พออย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ

การปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดชุมพลนิกายาราม

มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ในพระ บาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง เป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเป็นที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์ ซึ่งดำรงกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยาราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ประเทศบางกอกนั้น ดำรัสสั่งให้ประกาศแก่ผู้มายังพระ อารามนี้ให้ทราบทั่วกันว่า พระเจดีย์สองพระองค์ในวัดชุมพล นิกายารามเกาะบางปอินนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชปราบดาภิเศกณกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา เมื่อปีมะเมียโทศก ศักราช ๙๙๒ นั้น ได้ทรงสถาปนาไว้พร้อม ทั้งวัตถุทั้งปวงในพระอารามนี้ ในปีวอกจัตวาศก ศักราช ๙๙๔ คิดนับตั้งแต่ปีนั้นมาจนปีกุนเบ็ญจศก ศักราช ๑๒๒๕ ล่วงไป ๒๓๑ ปีมาแล้ว และได้ยินมาว่าภายหลังมา เมื่อแผ่นสมเด็จพระ บรมราชาธิราชพระบรมโกษฐ์ ซึ่งได้เสด็จเถลิงถวัลยราชปราบดา

๘๘ ภิเศก ในปีชวดจัตวาศก ศักราช ๑๐๙๔ นั้น สมเด็จพระเจ้าราช วรวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ในแผ่นดินนั้น ทรง ผนวชเสด็จอยู่วัดโคกแสงในพระนคร มาทรงปฏิสังขรณ์ซ่อม แซมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง บัดนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้า เจ้าแผ่นดินสยามซึ่งทรงพระราชดำริ แล้วดำรัสสั่งให้ประกาศนี้ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศก ณกรุงรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยาบางกอก เมื่อณวันพฤหัสบดีเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีกุนตรีศก ศักราช ๑๒๑๓ ทรงพระราชศรัทธาให้ปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์ทั้งสองนี้ กับทั้งวัตถุทั้งปวงในวัดชุมพลนิกายารามนี้ขึ้น ใหม่เสร็จแล้ว ได้ทรงบรรจุพระบรมธาตุขนาดกลาง ๒ ขนาด น้อย ๒ (รวม) ๔ พระองค์ไว้ในผอบจันทน์แดงจันทน์ขาวผอบ ศิลาซ้อนกันเป็นลำดับ แล้วเก็บไว้ในมณฑปศิลากับใบพระมหา โพธิ ที่สืบมาแต่ต้นพระมหาโพธิเดิมด้วย และไม่ให้มีเครื่อง เพ็ชร์ เครื่องพลอย เครื่องทอง เครื่องเงิน ของมีราคาแต่สักสิ่ง หนึ่งบรรจุด้วยเลย มีแต่ทองใบหนักไม่ถึงส่วนที่ ๔ ของเฟื้อง ห่อพระบรมธาตุอยู่ชั้นในเท่านั้น เพราะได้ทราบแล้วว่าผู้ที่ ปรารถนาหาเงินหาทอง เที่ยวขุดทำลายพระเจดีย์ฐานในที่ต่าง ๆ มีมามากแล้ว กล่าวไว้นี้เป็นความจริงทีเดียวไม่ว่าเท็จ จะทำบุญ แล้วจะพูดเท็จให้เป็นบาปทำไม ขอท่านทั้งปวงอย่าได้คิดขุด ทำลายพระเจดีย์นี้ ด้วยสำคัญว่าจะได้เงินทองของมีราคาเลย

๘๙ จงช่วยกันระวังรักษาไว้ให้ถาวรอยู่สิ้นกาลนาน เป็นที่ไหว้กราบ สักการบูชาด้วยทั่ว ๆ ไป เพื่อจะได้จำเริญกุศลราศีเทอญ ฯ พระราชกุศลในการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นี้ และพระพุทธปฏิ มากร ทั้งโรงพระอุโบสถพระวิหารการเปรียญกุฎีสงฆ์ศาลาทั้ง ปวง ในวัดชุมพลนิกายารามเกาะบางปอินนี้ คิดเป็นพระ ราชทรัพย์ทรงบริจาคประมาณห้าร้อยชั่งเศษครั้งนี้ ทรงพระราช อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ซึ่งได้ ทรงสถาปนาพระอารามนี้มาแต่เดิม และทรงพระราชอุทิศกัลปนาผล เพื่อให้ถึงแด่เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ผู้ซึ่งได้มาทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์และพระอารามนี้ครั้งหนึ่งนั้นด้วย และ พระราชทานส่วนพระราชกุศลแก่ท่านทั้งหลายชายหญิง ผู้ได้อ่านหนังสือนี้ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต เทพยดามนุษย์ทั้งปวงจงได้อนุโมทนา จงเจริญด้วยอายุพรรณสุขพลปฏิภาณสรรพศิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ทุกประการ จงสำเร็จแก่ความปรารถนาในทางนฤพาน ดับทุกข์ ทั้งปวงเทอญ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลนี้ก็ดี อื่น ๆ อีกเป็นอัน มากก็ดี จะได้ทรงปฏิญญาว่าขอให้ได้สำเร็จพระพุทธภูมิโพธิ- ญาณ อวดอ้างพระบารมีว่าเป็นพระโพธิสัตว์ดังเช่นใช้มาแต่ก่อน อึง ๆ อยู่นั้นก็หามิได้ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลนี้และอื่น ๆ ก็ไว้ หวังตั้งพระราชหฤทัย ขอให้ได้สรรพสมบัติคือความบริบูรณ์ คุณธรรม แลอิสสริยยศบริวารทรัพย์สิ่งสินเป็นอาทิ บรรดาที่จะ ได้เปนอุปการุปนิสสัยอุดหนุนให้ได้ช่องโอกาศเพื่อจะเสด็จถึงที่ . ๙๐ สุดสังสารทุกข์ภัยทั้งปวงโดยเร็วโดยง่าย ความทุกข์ทั้งปวงจะ ดับด้วยประการใดขอจงได้ดังนั้น สรรพวิบัติทั้งปวงซึ่งเป็นเหตุ จะให้เนิ่นช้าอยู่ในสังสารทุกข์จงอย่าได้มี ถึงจะมีบ้างก็ให้พลันอันตรธานหายเทอญ ประกาศไว้เมื่อวันจันทร์เดือน ๘ บุรพาสาธ แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุนเบ็ญจศก ศักราช ๑๒๒๕ เป็นปีที่ ๑๓ หรือ วันที่ ๔๔๔๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ฯ

ทรงถวายกุฎีที่วัดเสนาสน์

อนึ่งเพลา ๒ ยามเศษนายตำรวจวังมาสั่งว่า ด้วยนาย จ่าเรศมหาดเล็กรับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ สั่งว่าทรงพระราชศรัทธาจะเสด็จพระราชดำเนินขึ้น ไปกรุงเก่า ทรงถวายกุฎีที่วัดเสนาสน์นั้น ให้ชาวพระคลังในซ้าย จัดซื้อหาอ่างเขียวมังกรสำหรับจะได้ใส่ของถวายพระสงฆ์ ๆ มาก น้อยเท่าใดให้ถามพระพรหมรักษาเสีย ( ให้ ) แน่แล้ว ให้หาจัด ซื้ออ่างเขียวลายเหมือนอย่างที่ตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ๒ อ่างให้ดูเสียก่อน รูปอย่างไรให้มาดูให้ถามที ถ้าแลสงสัยสิ่ง หนึ่งสิ่งใดให้มาเรียนถามผู้รับสั่งเสียก่อน ให้เร่งจัดแจงขึ้น ไปคอยเตรียมถวายพระสงฆ์ขึ้นกุฎีที่วัดเสนาสน์ให้ทันตามกำหนด วัน อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ


๙๑ เสด็จถวายธูปเทียนพระสงฆ์วัดชุมพลนิกายาราม

ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่าณวันจันทร์เดือน แรม ๔ ค่ำ เพลา บ่าย ๕ โมง จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคแต่ท่าราชวรดิษฐ์ ทรงเรือพระที่นั่งกลไฟไปพระราชทานธูปเทียนพระสงฆ์ที่วัดชุม พลนิกายารามเกาะบางปอิน ๑๗ รูป กำหนดณวันอังคารเดือน แรม ๕ ค่ำ แล้วเสด็จขึ้นไปประทับวังจันทรเกษม ครั้นณวันพุธ เดือน แรม ๖ ค่ำเช้าถวายที่จันทรเกษม ๓๑ รูป ครั้นเพลาบ่าย พระสงฆ์ ๑๖ รูปจะได้สวดพระพุทธมนต์ที่วัดเสนาสนาราม ครั้น รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือน แรม ๗ ค่ำ เพลาเช้าจะได้ก่อพระฤกษ์พระวิหาร พระสงฆ์จะได้รับพระราชทานฉัน แล้วจะได้เสด็จ พระราชดำเนินกลับกรุงเทพ ฯ นั้น ให้สังฆการีธรรมการนิมนต์ ผะเดียงพระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานธูปเทียน สวดมนต์รับพระ ราชทานฉันที่ก่อพระฤกษ์ให้พร้อม รับเภสัชวางด้ายต่อกรมการ กรุงเก่าถวายพระสงฆ์ให้พอ เบิกด้ายดิบต่อชาวพระคลังในซ้าย จับเป็นสายสิญจน์วงที่ก่อฤกษ์ให้พอพระสงฆ์สวดด้วย อนึ่งให้ชาวพระคลังสุภรัต พระคลังมหาสมบัติจัดอาสนะ กะโถนขันน้ำไปแต่งตั้งถวายพระสงฆ์สวดฉัน รับเทียนให้ พร้อม แล้วให้รับชาวพระคลังมหาสมบัติจัดหม้อเงินหม้อทอง ขึ้น ไป เตรียม สำหรับ ก่อ ฤกษ์ ให้พร้อม แล้วให้ชาวพระคลัง

๙๒ สุภรัตจัดผ้าสบงถวายพระสงฆ์ ๑๖ รูป แล้วให้รับธูปเทียนต่อ ท่านข้างในขึ้นไปเตรียมรับเสด็จให้พร้อมทั้งสองแห่ง อนึ่งให้ชาวพระคลังในซ้าย พระคลังในขวา พระคลังวิเศษ จัดเครื่องไทยทานถวายพระสงฆ์ก่อฤกษ์ให้พอ แล้วให้ชาวพระ คลังในซ้ายจัดขันสาครมีหูขึ้นไปรับน้ำเชื้อต่อนายด้าน กับคัน บวยพันผ้าขาว ๒ คันขึ้นไปเตรียมถวายให้ทันกำหนด แล้วให้ จ่ายด้ายดิบให้สังฆการีจับเป็นสายสิญจน์วงที่ก่อฤกษ์ให้พอพระ สงฆ์ถือสวด อนึ่งให้นายด้านจัดเกรียง ๒ อัน ทับพา ๒ อัน ธารพระกร พันผ้าขาวเตรียมถวายให้ทันกำหนด แล้วให้จัดน้ำเชื้อให้ชาว พระคลังในซ้ายใส่พระสาครให้พอ ๒ ขัน ให้ทำที่พักพระสงฆ์ สวดและที่รับเสด็จด้วย อนึ่งให้ฆ้องไชย ปี่พาทย์ กลองแขก แตรสังข์ ขึ้นไป ประโคมเมื่อพระสงฆ์สวดฉัน ๒ เวลา ก่อฤกษ์ให้มีกลองทัดทั้งสี่ ทิศ ๆ ละสำรับ อนึ่งให้หมื่นเทวาทิศจัดนาฬิกาขึ้นไปตั้งทุ่มโมงยามที่วังจันทรเกษม ให้มีมะโหระทึกแตรงอนประโคมยามด้วย อนึ่งให้หลวงศรีสยุมพรชาวน้ำสรงน้ำเสวย พระสาครมีคลุมปิดขึ้นไปตั้งสำหรับ สรงเสวย ให้พร้อมอย่าให้ขาดวันได้ อนึ่งให้หลวงเสนาภิมุข จัดอิฐลงรักน้ำเกลี้ยง ให้สี่ตำรวจถวายทรงปิดคำเปลว ทอง เงิน นาก แล้วส่งอิฐให้ตำรวจเบิกผ้าชมพูต่อชาวพระคลังวิเศษห่อ

๙๓ อิฐกว้างยาว ๕ คืบจตุรัส ๒๐ ผืน สำหรับห่ออิฐเอาขึ้นไปตั้งเข้า พระมณฑลให้ทันฤกษ์ แล้วให้กำกับขึ้นไปด้วย อนึ่งให้สนมพลเรือนรับเครื่องนมัสการ เครื่องทองทิศต่อ ท่านข้างในไปตั้งที่ก่อฤกษ์วัดเสนาสนาราม ณวันเดือน แรม ๖ ค่ำบ่าย แรม ๗ ค่ำเช้า เวลาละสำรับ ให้มีพุ่มข้าวตอกพุ่มดอก ไม้ธูปเทียนสำหรับเครื่อง แล้วเอาม่านไปกั้นที่หลังพระสงฆ์สวด ฉันให้พร้อม แล้วรับน้ำพรม ๕ หม้อต่อท่านข้างในเอาตั้งเข้าพระมณฑล ให้รับบัตร ๙ ชั้น ๑ บัตร บัตรสามเหลี่ยม ๑ บัตร บัตร สี่เหลี่ยม ๒ บัตรต่อกรมการส่งให้โหรบูชาเทวดาให้พร้อม แต่งที่ รับเสด็จข้างในให้พอ อนึ่งให้ชาวพระคลังในขวา พระคลังวิเศษจ่ายผ้าชมพูให้ หลวงเสนาภิมุข กว้างยาว ๕ คืบ ๒๐ ผืน ผ้านุ่งกว้าง ๕ คืบ ยาว ๕ แขน ๔ สำรับ ผ้าขาวให้โหรห่ม กว้าง ๔ คืบยาว ๔ แขน ๔ สำรับ ผ้าขาวปูศาลวงศาล กว้าง ๔ คืบ ยาว ๔ แขน ๘ ผืน เร่งจ่ายให้ทันกำหนด อนึ่งให้โหรเบิกผ้าขาวต่อชาวพระคลังในขวาคลังวิเศษ สำหรับจะได้นุ่งกว้าง ๕ คืบยาว ๕ แขน ๒ สำรับ ห่มกว้าง ๔ คืบ ยาว ๔ แขน ๒ สำรับ ปูศาลวงศาลกว้าง ๔ คืบ ๒ ผืน ยาว ๔ แขน ๒ ผืน รับบายศรี ๒ สำรับ รับศีร์ษะสุกร ๒ ศีร์ษะ รับเครื่อง บายศรี บัตร รับแป้งหอม น้ำมันหอม กระทงเปล่า ๒๗ ใบ เทียนเล่ม ๑ หนักบาท ยอดบายศรี ๔ เทียนเล่มหนัก ๑ เฟื้อง

๙๔ สำหรับบัตร ๒๗ ต่อวิเศษ รับบัตรต่อพลเรือน ๙ ชั้น บัตร สามเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ๒ บัตร ขึ้นไปบูชาเทวดาบูชาฤกษ์ตามเคย และตามกำหนดวันให้ทันกำหนด อนึ่งให้พระมหาราชครูพิธีพราหมณ์จัดน้ำกลศ น้ำสังข์ขึ้นไปเตรียมก่อฤกษ์เอาสังข์ไปเป่าเป็นฤกษ์ให้ทันกำหนด อนึ่งให้ ทนายเลือกตำรวจวัง รับสำรับคาวสำรับหวานต่อพระยาโบราณ บุรานุรักษ์กรมการกรุงเก่าถวายพระสงฆ์ให้ทันเวลา อนึ่งให้มหาด ไทยกลาโหมหมายบอกข้าราชการพระยา พระ หลวง ขุน ฝ่าย ทหาร ๓๐ คน ฝ่ายพลเรือน ๕๐ คน ไปช่วยปรนนิบัติพระสงฆ์ สวดฉันให้ทันเวลา แล้วให้มีตราขึ้นไปถึงพระยาโบราณบุรานุรักษ์กรมการ เบิกเงินต่อกรมวังไปจัดสำรับจังหันคาว ๑๖ สำรับ หวาน ๑๖ สำรับ เคียง ๑๖ สำรับ ๆ ละ ๒ สลึง เป็นเงิน ๔ ตำลึง ถวายพระสงฆ์ฉันที่ก่อฤกษ์ วัดเสนาสนาราม กับน้ำร้อนน้ำชา เภสัชถวายพระสงฆ์ บ่ายเช้า ให้ทำปรำที่ก่อพระฤกษ์ด้วย ให้จัด แจงที่วังจันทรเกษม รับเสด็จให้พร้อมทั้งข้างหน้าข้างในเหมือน อย่างเคย แล้วให้ตัดหยวกกล้วยก้านกล้วยให้สนมพลเรือนทำ บัตร ๙ ชั้น ๑ บัตร ๆ สามเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ๒ บัตรส่งให้โหรด้วย อนึ่งให้ชาวที่พระบรรทมใหญ่จัดพระยี่ภู่พระเขนยพระวิสูตรขึ้นไป แต่งที่รับเสด็จตามเคย อนึ่งให้พันจันทนุมาศจัดระยะทางน้ำลึก น้ำตื้นทูลเกล้า ฯ ถวายให้พร้อมเหมือนอย่างทุกครั้ง อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการเอาเสื่อลวดไปปูที่วังจันทรเกษมรับเสด็จ เสื่อทาง

๙๕ เสื่อขุนนางเฝ้าให้พอทุกแห่ง แล้วให้จ่ายน้ำมันพร้าวให้แปด ตำรวจรักษาพระองค์ซ้ายขวาตามตะเกียงที่ก่อฤกษ์ที่วังจันทร์ให้ พอ อนึ่งให้สรรพากรในจัดพลูใบเหลืองหมากดิบขึ้นไปส่งท่าน ข้างในสำหรับจะตั้งพานพระศรีอย่าให้ขาดขัดสนได้ อนึ่งให้กรมมหาดไทย กลาโหม พระสัสดี หมายบอก ตำรวจหน้าตำรวจหลัง ทหารใน แสงใน แสงต้น ชาวพระราชยานเกณฑ์หัดแสงใน ชาวพระมาลาภูษา มหาดเล็ก กรมหมอ ทหารปืนใหญ่ ทหารปลายหอกอย่างยุโรป เกณฑ์หัดอย่างยุโรป หามแล่น ตามกระบวน ปืนทองปราย กรมวัง กรมนา กรมท่า กรมเมือง หมื่นเทวาทิศ นาฬิกา ประโคมยาม จุกช่องล้อมวง ตั้งกองรายทางบกทางน้ำ ทั้งนี้ให้เตรียมนำตามรับเสด็จให้พร้อมจง ทุกพนักงาน แล้วให้หมายบอกข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหาร พลเรือน พระยา พระ หลวง ขุน หมื่นไพร่ที่ตามเสด็จ และจะอยู่ รักษาพระบรมมหาราชวังประจำซอง ให้ทำบัญชีมายื่นต่อ ฯ พณ ฯ กรมวังแต่ณวันเดือน แรม ๓ ค่ำ ถ้างบบัญชีไม่ทันให้เอาบัญชี ผู้ใหญ่ผู้น้อยไปทูลเกล้า ฯ ถวายให้ทรงทราบจำนวนบ้าง อย่า ให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ



๙๖ จัดเรือรับพนักงานละครไปเล่นสมโภช ในการปิดทองพระพุทธรูปวัดชุมพล

อนึ่งเพลาบ่าย ๓ โมงเศษ นายเผือกตำรวจวังเวรนายยี่ส่าน มาสั่งว่า ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรง ปิดทองพระพุทธรูปณวัดชุมพลนิกายารามเกาะบางปอิน แล้วจะ ได้มีละครเป็นการสมโภชพระพุทธรูป กำหนดละคร พนักงาน กองในจะล่วงหน้าไปคอยรับเสด็จณพระที่นั่งทิพยอาศน์ไอสวรรย์ เกาะบางปอิน และวังจันทรเกษมเมืองกรุงเก่า กำหนดชาวพระ เครื่องต้นคาวหวาน พนักงาน ชาวคลัง เฒ่าแก่ ครูละคร จ่า โขลนจะไปณวันอังคารเดือน ๘ แรม ๗ ค่ำ เวลาเช้า กำหนด ละครจะไปวันศุกร เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้านั้น ให้พระ ยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ พระวรสุมพลาภิบาล จัดเรือกลไฟ ๒ ลำ เบิกสะเบียงอาหารสำหรับจะได้เลี้ยงละครและพนักงานที่จะไปใน เรือกลไฟให้พอ ให้ถอยมาประทับรับละครที่ท่าพระที่นั่งอนงค์ในสำราญรมย์ให้ทันตามกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราชจ่ายเลขให้นายชิตนายนิจบรรจุ พลแจวเรือญวณ พนักงานข้างในที่จะล่วงหน้าไปรับเสด็จ ฯ ที่ เกาะบางปอินและวังจันทรเกษมเมืองกรุงเก่ารวมเรือ ๙ ลำให้พอ อนึ่งให้ขุนพงศ์พาทย์ไพเราะห์ ขุนเสนาะบรรเลงจัดปี่พาทย์

๙๗ สำรับใหญ่ขึ้นไปเตรียมเล่นละครที่วัดชุมพลนิกายาราม ที่วังจันทรเกษมสำรับหนึ่ง ให้เร่งไปแต่ณวันจันทร์เดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ ให้ ถึงวันศุกรเดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า อนึ่งให้ขุนรักจัดเครื่องโรงไปลงเรือกันบตที่ท่าช้าง เร่งไป ให้ถึงณวันศุกรเดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า อนึ่งให้กรมม้าจัดม้าเทียมรถ ๑ ม้าละคร ๘ ม้าผูกแผงไปลงเรือกันบตที่ท่าช้าง ให้เร่งไปให้ถึงณวันศุกรเดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจัดเสื่อไปปูโรงละครให้พอ เร่ง ไปปูแต่ณวันศุกรเดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำเวลาเช้า อนึ่งให้กรมวังนาย ๒ ตำรวจ ๑๐ รวม ๑๒ กรมพระตำรวจนอกสนมซ้ายขวา นาย ๔ ตำรวจ ๒๐ รวม ๒๔ สนมพลเรือน นาย ๒ ขุนหมื่น ๑๐ รวม ๑๒ ทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอก ซ้ายขวา นาย ๒ ทหาร ๒๔ รวม ๒๖ หมอนวด ๒ หมอยา ๒ รวม ๔ ไปลงเรือกลไฟลำที่ละครไป ดูแลอย่าให้มีความผิดได้ ทั้งนี้ให้พร้อมอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ




๙๘ ให้ขุดดินเหนียวบางขวดลงไปส่งกรุงเทพ ฯ

สารตรา เจ้าพระยาจักรี ฯ มาถึง พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี หลวงกรุงศรีบริรักษ์ยกกระบัตร กรมการ กรุงเก่า ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปและการเบ็ดเสร็จณกรุงเทพพระมหานคร ดินเหนียวบางขวดซึ่งเกณฑ์ ขึ้นมาแต่ก่อนก็ค้างทบเถ้าอยู่มาก พระยาโบราณบุรานุรักษ์ก็ หาส่งลงไปไม่ เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลพระกรุณาว่าหามีดิน เหนียวจะใช้ไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หมื่นยงทลวงฟันในกรม มหาดไทยข้าหลวงเชิญตราขึ้นมา ถ้าเรือบรรทุกพระพุทธรูป ส่งพระเสร็จแล้วให้รับบรรทุกดินเหนียวบางขวดลงไปด้วย ให้ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ พระพิทักษ์เทพธานี หลวงกรุงศรี บริรักษ์ แต่งกรมการคุมไพร่ขุดดินเหนียวบางขวดให้ได้ ๔ พัน ๕ พันก้อน บรรทุกเรือให้หมื่นยงทลวงฟันกรมมหาดไทยคุมลง ไปส่งณกรุงเทพ ฯ โดยเร็ว แล้วให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์จัด ดินเหนียวบางขวดส่งลงไปจงเนือง ๆ อย่าให้ดินขาดมือทำการได้ สารตรามาณวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุนเบ็ญจศก ร่างตรานี้พระศรีสหเทพทำ ๆ แล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด ฯ


๙๙ ให้หาไม้ขอนสักยาวทำเสาธงปักในพระอารามหลวง

หนังสือ เจ้าพระยาภูธราภัย ฯ ที่สมุหนายก มาถึงพระยา ไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานหาไม้ขอนสักที่ยาว มาทำเสาธงปักในพระอาราม หลวงเป็นหลายอาราม ให้จัดหาซื้อไม้ลูกค้าและเลือกไม้ที่เจ้า เมืองกรมการถวายไม้ในเจ้าภาษีก็หาไม่ได้ ขุนสวัสดิโภคาเจ้า ภาษีกรุงเทพ ฯ มาแจ้งว่าหลวงจ่าเมืองเก็บได้ไม้ขอนสักยาว ๑๑ วาต้นหนึ่ง ยาว ๑๓ วาต้นหนึ่ง ( รวม ) ๒ ต้นเมื่อขึ้นไปปิด น้ำ ก็ได้ว่ากล่าวให้หลวงจ่าเมืองนอกราชการถวาย หลวงจ่าเมือง ก็รับว่าจะนำไม้ขอนสักลงไปถวาย ก็ยังหาได้นำลงไปถวายไม่ และไม้ใหญ่ยาวเป็นของหายาก หลวงจ่าเมืองไม่ยอมถวายจะ ขายเป็นเงินมากน้อยเท่าใดก็จะซื้อไว้ตามราคา ให้พระยาไชยวิชิต หาตัวหลวงจ่าเมืองมาว่ากล่าวเอาไม้ขอนสัก ๒ ต้น ให้จงได้ แล้ว ให้แต่งกรมการคุมไม้ขอนสัก ๒ ต้นลงไปณกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วย หลวงจ่าเมืองเจ้าของไม้ หนังสือมาณวันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก๑๕ ฯ



๑๐๐ ตำนานพระที่นั่งเกาะบางปอิน

ขอแจ้งความแด่ท่านทั้งหลายทั้งปวง บรรดาซึ่งได้มาตำบลเกาะบางปอิน และราษฎรบรรดาซึ่งได้อยู่ณแขวงจังหวัดนี้ หรือ กรุงศรีอยุธยาโบราณ คือ กรุงเก่า และผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งอยากจะ ทราบ ให้ทราบว่าที่ตำบลเกาะบางปอินนี้ เป็นที่ประพาสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แต่ครั้งกรุงทวารวดีศรีอยุธยา โบราณสืบมา จะขอเล่าเรื่องความตามกระแสรับสั่ง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเรื่องเกร็ดมิได้มีจดหมาย ในพระราชพงศาวดาร แต่จะกล่าวไว้พอให้ยุติต้นปลาย มีความ ว่า เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินใน กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๑ ใน จุลศักราช ๙๑๘ ปีมะโรงอัฐศก มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระองค์ใหญ่ทรงพระนามสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า พระองค์ น้อยทรงพระนามสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถ ในกาล ครั้งหนึ่งมีที่เสด็จพระราชดำเนินลงไปข้างใต้ แล้วเสด็จกลับ พอเกิดพายุพัดหนักมืดมัว เรือพระที่นั่งล่มลงตรงเกาะบางปอินนี้ สมเด็จพระเอกาทศรฐ ทรงว่ายน้ำมาขึ้นเกาะนี้ พบบ้านแห่งหนึ่ง เจ้าของบ้านนั่งผิงไฟอยู่ สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จเข้าไปทรง อาศัยผิงไฟ ทอดพระเนตรเห็นหญิงเจ้าเข้ามีรูปโฉมงามต้อง พระทัย ก็เสด็จอยู่ด้วยหญิงนั้นคืนหนึ่ง แล้วจึ่งเสด็จกลับขึ้น . ๑๐๑ ไป ตั้งแต่นั้นมาหญิงนั้นก็มีครรภ์คลอดบุตรเป็นชาย ครั้นโตขึ้น ก็ได้รับราชการสืบมา แต่มิได้ปรากฏว่าเป็นพระเจ้าลูกเธอ ภายหลังได้เป็นที่พระมหาอำมาตย์

แต่นี้จะว่าด้วยความซึ่งมีปรากฏในพระราชพงศาวดารต่อไป ครั้นสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๑ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรราชโอรส ได้ดำรงสิริราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระ ศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๒ ครั้นสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรฐ ได้ดำรงสิริราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์เป็น ที่ ๓ ครั้นเสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ได้ดำรงสิริราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระศรี สรรเพ็ชญ์เป็นที่ ๔ ครั้นจุลศักราช ๙๖๔ ปีขาลจัตวาศก พระ พิมลธรรมเป็นขบถ จับพระเจ้าแผ่นดินประหารเสีย แล้วขึ้น ดำรงราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาทรงธรรม ใน ขณะนั้นญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายหลายลำ ญี่ปุ่นโกรธว่าเสนาบดีมิได้ เป็นธรรม คบคิดกับพระพิมลธรรมฆ่าพระมหากษัตริย์เสีย จึ่ง คุมกันประมาณ ๕๐๐ ยกเข้ามาในท้องสนาม จะจับพระเจ้าแผ่น ดินซึ่งเสด็จมาฟังพระสงฆ์บอกหนังสือ ณพระที่นั่งจอมทอง พระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรมพาพระเจ้าแผ่นดินหนีไปได้ พระมหาอำมาตย์จึ่งได้คุมพลมาต่อสู้ด้วยญี่ปุ่นแตกลงสำเภาหนีไป แล้ว เชิญพระเจ้าแผ่นดินกลับมาอยู่ในพระราชวัง พระเจ้าแผ่นดินจึ่ง

๑๐๒ ปูนบำเหน็จให้พระมหาอำมาตย์ เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ครั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงธรรมสวรรคตแล้ว พระเชษฐาธิราช ราชโอรส ได้ดำรงสิริราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระบรม ราชา แล้วคิดร้ายต่อเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ผู้ไม่มีความผิด เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จับสำเร็จโทษเสีย แล้วยกพระอาทิตย วงศ์อนุชาขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นพระ ชนม์ ๙ พรรษา ขุนนางทั้งปวงมิเต็มใจ จึงลดลงเสียจากราช สมบัติ ยกเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ซึ่งเป็นพระบรมราชวงศ์ เดิมแต่ไม่ปรากฏนั้น ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในจุลศักราช ๙๙๒ ปีมะเมียโทศก ตั้งพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ นับเป็น ที่ ๕ ครั้นจุลศักราช ๙๙๔ ปีวอกจัตวาศก พระราชเทวีประสูติ พระราชบุตรองค์หนึ่ง พระราชทานนามพระนารายณ์ราชกุมาร ในปีนั้นจึ่งทรงพระกรุณาให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ที่ เกาะบางปอิน แต่ในพระราชพงศาวดารเรียกว่าเกาะบางนางอิน เป็นพระราชนิเวศน์ปราการประกอบพฤกษาชาติร่มรื่น เป็นที่ สำราญพระราชหฤทัยประพาสราชตระกูลสุริยวงศ์ อนงคนารี ทั้งปวง แล้วให้สร้างพระอารามเคียงพระราชนิเวศน์ มีพระเจดีย์ วิหารเป็นอาทิ เสร็จบริบูรณ์ พระราชทานนามวัดชุมพลนิกายา ราม ในเดือนยี่ปลายปีนั้น เสด็จไปโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระ องค์อินท์ณเกาะบ้านเลน คำซึ่งเรียกว่าเกาะบ้านเลนนี้ ก็เห็นจะ เป็นเกาะนี้เอง ด้วยฝั่งข้างตะวันออกของเกาะนี้นั้น มีบ้านซึ่ง

๑๐๓ เรียกว่าบ้านเลนอยู่ทั้งศีร์ษะเกาะท้ายเกาะ ข้างศีร์ษะเกาะเรียกว่า บ้านเลนเหนือ ข้างท้ายเกาะเรียกว่าบ้านเลนใต้ เพราะฉะนั้นจึ่ง เรียกว่าเกาะบ้านเลน คือเกาะอยู่ในระหว่างบ้านเลน แต่เห็นจะ เป็นคำเก่า เรียกติดมาแต่ยังไม่ได้สร้างพระราชนิเวศน์ในที่นี้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงพระปรารภ ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปโสกันต์พระเจ้าลูกเธอที่เมืองเพ็ชร์ บุรีนั้นก็ได้ทรงว่า แต่พระเจ้าปราสาททองยังไปโสกันต์พระเจ้า ลูกเธอที่เกาะบางปอินได้ จึ่งควรเห็นความว่าเกาะนี้เป็นที่โสกันต์ พระองค์อินท์ ครั้นโสกันต์แล้ว จึ่งพระราชทานนามใหม่ว่าเจ้าฟ้า ไชย ภายหลังเจ้าฟ้าไชยได้รับราชสมบัติ สืบราชอิสสริยยศในสมเด็จพระราชบิดา ทรงพระนามสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์เป็นที่ ๖ อนึ่งมีจดหมายในพระราชพงศาวดารว่า ในจุลศักราช ๑๐๐๓ ปี มะเส็งตรีศก พระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง เสด็จพระราชดำเนินลง มาประพาสพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เสด็จอยู่แรม เวลาค่ำ เสด็จออกมาประทับอยู่หน้ามุข สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระ นารายณ์ราชกุมารส่องโคม อสนีตกลงต้องหน้าบันแว่นประดับ รูปสัตว์ ตกกระจายลงมารอบพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าลูกเธอก็มิได้เป็นอันตราย มีความกล่าวมาในพระ ราชพงศาวดารดังนี้ เมื่อจะมาคิดประกอบกับเรื่องนอกพระราชพงศาวดารตามอย่าง เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งนั้น ก็จะพอยุติกันได้ เพราะเป็นที่พระราชเคหสถานเดิม

๑๐๔ ของท่าน ๆ จึงได้โปรดมาสร้างพระราชนิเวศน์สถานลงในที่นี้ แล้ว พระราชทานนามว่าไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เพราะท่านได้บังเกิดขึ้น ในที่นี้ แล้วและได้มไหยศวริยสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็น มงคลสถานของท่าน อนึ่งวัดซึ่งสร้างไว้ใกล้พระราชนิเวศน์สถาน นั้น พระราชทานนามว่าวัดชุมพลนิกายาราม เมื่อพิเคราะห์ความ ตามชื่อวัดก็เห็นว่าจะเป็นที่ประชุมไพร่พลข้าหลวงเดิม ซึ่งเป็น กำลังในพระองค์ท่าน เมื่อขณะใดขณะหนึ่ง หรือเมื่อท่านจะได้ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ประชุมไพร่พลไว้ในที่นี้ จึ่งพระราช ทานนามว่าวัดชุมพลนิกายาราม ก็และพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย อาสน์นี้ ได้เป็นที่ประพาสของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในพระบรม วงศ์ปราสาททองสืบมา ตั้งแต่จุลศักราช ๙๙๔ ปี จนถึงจุลศักราช ๑๑๒๙ ปี คิดเป็นปีได้ ๑๑๕ ปี จึ่งเสียกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา เป็นพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ ครั้นเมื่อเสียกรุงแล้ว ที่นี้ จึ่งได้รกร้างยับเยินไป ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณกรุงอมรรัตนโกสินทร มหินทราอยุธยา ในจุลศักราช ๑๒๑๓ ปีกุนตรีศก ในปีเป็น ลำดับต่อมา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประพาสกรุงทวาราวดี ศรีอยุธยาโบราณ ทรงสังเวชสลดพระราชหฤทัย ในพระนครซึ่ง ชำรุดทรุดโทรมไปนั้น ครั้นจะปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์ขึ้น ก็ใหญ่โต เหลือประมาณ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างพระราชวังจันทร เกษม ซึ่งเป็นที่พระราชวังหน้าแต่เดิมนั้นขึ้นเป็นพระราชวัง

๑๐๕ สำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประพาสกรุงศรีอยุธยาโบราณ และเกาะบางปอินนี้ ก็เป็นสถานที่พระเจ้าแผ่นดินเคยเสด็จ ประพาส เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยแต่เดิมมา จึ่งทรงพระ กรุณาโปรดให้เจ้าพนักงานกรมนา มาแผ้วถางจัดให้เป็นที่เสด็จ พระราชดำเนินประทับประพาส เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยอีก ตำบลหนึ่ง เมื่อมาจับการนั้น นายช่างได้เห็นขอบสระ ในเกาะ ข้างตะวันออกนั้นโดยกว้าง ๒ เส้นยาว ๑๐ เส้น แต่ตื้นด้วยอิฐ ปูนและต้นไม้หญ้าขึ้นรกเต็มไปทั้งสระ จึ่งทรงพระกรุณาโปรด ให้ขุดสระนั้นใหม่ กว้างแต่เพียงครึ่งหนึ่งของสระเดิม คือกว้าง เส้น ๑ ยาว ๑๐ เส้นคงตามเดิม เมื่อจีนได้ลงมือขุดนั้น พบตัว ไม้พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ซึ่งจมอยู่ใต้แผ่นดิน แต่ได้เสา ถึง ๑๒๐ ต้น และได้ยอดปราสาทด้วย ตามสังเกตดูเห็นว่า ปราสาทนั้น จะปลูกขวางยาวตามกว้างของสระ ประมาณสักเส้น หนึ่งเป็นกึ่งกลาง จะเป็นที่ประพาส ในสระนั้นเห็นจะเลี้ยงปลา ต่าง ๆ ที่แผ่นดินซึ่งเหลืออยู่นั้นพอตั้งกองล้อมวงได้รอบ และ คลองซึ่งตัดกลางเกาะบางปอินเป็นสองเกาะไปนั้น ก็เห็นว่าจะ เป็นคลองขุดใหม่ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง เพราะ คลองนั้นดูท่าทางเป็นคลองขุดเก่า ๆ เหมือนกับคลองลัดที่ปาก เกร็ด เพื่อจะเป็นทางสำหรับเรือพระที่นั่งไปทอดถึงได้แทบพระ ที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์จะได้ล้อมวงรักษาโดยง่าย ก็และการ ซึ่งจับทำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็น

๑๐๖ แต่การเล็กน้อย คือขุดสระกว้างเส้น ๑ ยาว ๑๐ เส้น ครึ่งหนึ่ง ของแนวสระเดิม ถมดินให้สูงขึ้นพอปลูกต้นมะม่วงต้นส้มต่าง ๆ เป็นอันมาก และมีพลับพลาริมน้ำ และพระที่นั่งองค์หนึ่ง เรือน แถวข้างในแถวหนึ่งมีกำแพงล้อมโดยรอบ พระราชทานนาม ตามเดิมว่าพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ และเกาะข้างตะวันตก นั้นเป็นที่ลุ่ม จึ่งได้ทำเป็นพลับพลาไว้กลางเกาะสำหรับทอด พระเนตรไร่แตงอุลิศ ไร่ถั่วต่าง ๆ มีนายกองและไพร่หลวง สำหรับรักษา ครั้นเมื่อทรงพระราชดำริจะสถาปนาพระราชวังเมืองลพบุรีซึ่งสมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้าทรงสร้างไว้นั้น เป็นพระราช วังต่อไป แต่ขัดอยู่ด้วยพระราชวังเมืองลพบุรีนั้น สมเด็จ พระนารายน์เป็นเจ้าได้ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นที่วิสุงคามสีมา ไว้ แต่เมื่อจวนจะเสด็จสวรรคตแล้ว จึ่งทรงพระราชดำริจะ ออกพระราชทรัพย์ถ่ายที่วังนั้นจากเป็นที่วิสุงคามสีมา ทรงพระ ราชดำริว่าวัดซึ่งเป็นที่พระอารามหลวง ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง และ สมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้าได้ทรงสร้างแต่เดิมนั้น จะปฏิสังขรณ์ ขึ้นแทนที่พระราชวัง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้จับการปฏิสังขรณ์ วัดขวิด ซึ่งใกล้พระราชวังเมืองลพบุรี พระราชทานนามว่า วัดกระวิศราราม และวัดเสนาสนาราม ซึ่งอยู่ใกล้พระราช วังจันทรเกษม และวัดชุมพลนิกายาราม ซึ่งอยู่ณตำบลเกาะบาง ปอินนี้ ให้บริบูรณ์ดีขึ้นเหมือนแต่ก่อน แล้วเสด็จพระราช

๑๐๗ ดำเนินมาทำมหกรรมการฉลอง แล้วเชิญพระพุทธรูปสำหรับแผ่น ดิน ของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์นั้น ขึ้นมาตั้งทรงบำเพ็ญ พระราชกุศล ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งสองพระองค์เป็นอเนกประการ และตำบลเกาะบางปอินนี้ ก็ เป็นที่เสด็จพระราชดำเนินมาประพาสอยู่เนือง ๆ อนึ่งกรมสมเด็จ พระเทพศิรินทรามาตย์ก็ได้พระราชทานพระกฐิน เสด็จขึ้นมา พระราชทานณวัดชุมพลนิกายารามนี้ด้วย ครั้นมาถึงในรัชกาล ปัตยุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ เสด็จพระราชดำเนินมาประพาส ณตำบลเกาะบางปอินนี้เนือง ๆ ทรงพระกรุณาโปรดว่าเป็นที่เกาะอยู่กลางน้ำเงียบไม่เป็นที่ผู้คนละ เล้าละลุม ควรจะเป็นที่ประพาสในกระบวนเรือต่าง ๆ ได้ อนึ่งก็ เป็นที่ประพาสของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา และสมเด็จพระบรมชนกนารถพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวด้วย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้ขุดสระถมดินเพิ่มเติมให้ ลึก และเรียบร้อยกว้างขวางกว่าแต่ก่อน ได้ลงมือจับทำแต่ ปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ แล้วให้สร้างปราสาทลงใน กลางสระ ที่ปลายพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาทเดิม ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างนั้น ไว้เป็นที่ระลึกถึง ปราสาทเดิม และเป็นที่ประทับในกลางสระ พระราชทานนาม ว่าพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาทตามนามเดิม และให้ สร้างพระที่นั่งอีกองค์หนึ่ง ตรงพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระ

๑๐๘ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่าพระ ที่นั่งวโรภาสพิมาน และจะทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างพระที่นั่ง น้อยอีกองค์หนึ่งทำด้วยเครื่องไม้ ในพระราชอุทยานซึ่งถมดิน ใหม่ จะพระราชทานนามว่า พระที่ยั่งอุทยานภูมิเสถียร แต่ พระที่นั่งองค์นี้ยังหาได้ลงมือทำไม่ และศาลเทพารักษ์สำหรับ เกาะแต่เดิมนั้น อยู่ที่จะทำตำหนักสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ จึ่งทรงพระกรุณาให้สร้างปราสาทน้อย ยอดปรางค์ ย้ายที่มาไว้ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งสระ พระราชทานนามว่า เหมมณเฑียรเทวราช และตึกฝ่ายในพระราชทานนามว่า วรนาฎเกษมสานต์ และตึกสำหรับพระเจ้าน้องยาเธอเสด็จอยู่พร้อมกัน นั้น พระราชทานนามว่าสภาคารราชประยูร และทำพระตำหนัก กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรข้างเหนือสระ และตำหนัก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ และการทำอื่น ๆ อีก หลายแห่งหลายอย่าง ครั้นการพระที่นั่งแล้วเสร็จ จึ่งทรงพระ กรุณาโปรด ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งและการสมโภชยกพระเศวต ฉัตร ยกธงสำหรับแผ่นดิน เพื่อจะให้เป็นศิริสวัสดิ์มงคล คิด กำหนดซึ่งได้สร้างเกาะบางปอินนี้ แต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวปราสาททอง ศักราช ๙๙๔ ถึงปีชวดอัฐศก ศักราช ๑๒๓๘ บัดนี้เป็นปีได้ ๒๓๔ ปี ครั้นถึงณวันพุธเดือนสิบสอง ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ ได้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะ ถานานุกรม หัวเมืองในกรุง ๒๕ รูป สวดพระพุทธมนต์ณพระ

๑๐๙ ที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ๕ รูป พระที่นั่งวโรภาสพิมาน ท้อง พระโรง ๑๐ รูป ในที่พระบรรทม ๕ รูป ในที่พระบรรทมชั้นสูง ๕ รูป ทรงถวายไตรผ้าสลับแพร, พัดรอง, ย่าม ครั้น ณวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ เวลาเช้าพระฤกษ์ยกเศวตฉัตรในที่พระบรรทม และยกธง พระสงฆ์รับประทานฉัน ทรงถวายปริกขารต่าง ๆ เสร็จแล้ว ครั้นเวลาบ่ายทรงถวายผ้าสบง ผ้าจีวร ผ้ากราบพระ แด่พระสงฆ์วัดเสนาสนาราม ๑๒ รูป วัดชุมพลนิกายาราม ๑๙ รูป และวัดอื่น ๆ ซึ่งใกล้เกาะบางปอินอีก ๔ รูป รวม ๓๕ รูป แยกกันไป สวดมนต์ที่วรนาฎเกษมสานต์ ๕ รูป สภาคารราชประยูร ๕ รูป ตำหนักกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ๕ รูป ตำหนักสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมหลวงจักรพรรดิพงศ์ ๕ รูป ตำหนักสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ ๕ รูป ทิมดาบ ๕ รูป โรงทหารมหาดเล็ก ๕ รูป รวม ๓๕ รูป วันศุกร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลาเช้าพระสงฆ์ในกรุงหัวเมืองรับบิณฑบาต ๑๐๐ รูป พระสงฆ์ฉันในที่ต่าง ๆ ๓๕ รูป แล้วได้พระ ราชทานเงินตราผ้านุ่งผ้าห่ม แด่ไพร่หลวงในเกาะนั้น เป็นจำนวน คนซึ่งได้รับพระราชทาน ไพร่หลวงชายฉกรรจ์ ๔๓๙ คน เงินคน ละกึ่งตำลึง ผ้านุ่งผ้าห่มคนละสำรับ เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง ๑๙ ตำลึงกึ่ง เป็นผ้า ๔๓๙ สำรับ ชายรุ่น ๑๕๐ คน แล่น ๑๙๕ คน จูง ๓๑ คน อุ้ม ๖๕ คน เงินคนละ ๒ สลึง กางเกงผ้าห่มคนละสำรับ เป็นเงิน ๒ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๒ สลึง เป็นกางเกงผ้าห่ม ๔๔๑ สำรับ

๑๑๐ หญิงฉกรรจ์ ๔๘๖ คน เงินคนละบาทหนึ่ง ผ้านุ่งผ้าห่มคนละ สำรับ เป็นเงิน ๖ ชั่ง ๖ บาท เป็นผ้านุ่งผ้าห่ม ๔๘๖ สำรับ หญิง รุ่น ๑๗๙ คน แล่น ๑๘๖ คน จูง ๓๗ คน อุ้ม ๗๐ คน เงินคนละ ๒ สลึง กางเกงผ้าห่มคนละสำรับ เป็นเงิน ๒ ชั่ง ๑๙ ตำลึง เป็นกางเกงผ้าห่ม ๔๗๒ สำรับ รวมคนทั้งหญิงชายผู้ใหญ่เด็ก ๑๘๓๘ คน เป็นเงิน ๒๒ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๒ สลึง เป็นผ้านุ่งผ้าห่ม ๙๒๕ สำรับ เป็นกางเกงผ้าห่ม ๙๑๓ สำรับ อนึ่งทรงพระกรุณาโปรด ให้ทำฉลาก สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครื่องทำนามีกระบือและผาน เป็นต้น กับทั้งเครื่องนุ่งห่มใช้สอยมี ผ้าม่วง ผ้าปูม หม้อข้าวเชิง กรานและสิ่งอื่น รวม ๔๙ อย่าง เป็นฉลาก ๓๐๐๐ ฉลาก เป็น ราคาประมาณ ๒๐ ชั่งเศษ พระราชทานแด่ข้าราชการทหารฝีพาย และอื่น ๆ ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินและราษฎรตามที่ควร และ มีการละคร งิ้ว หนัง ศักวา ดอกไม้เพลิง และตามประทีปในที่ต่าง ๆ เป็นการสมโภช ๓ วันนั้น ทรงพระราชอุทิศส่วนพระราชกุศล ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งได้ ทรงสร้างและได้ทรงประทับอยู่ในที่นี้แต่เดิมมา และพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงสถาปนาเกาะนี้ อัน เป็นที่รกร้างแล้วให้ดีขึ้น กับทั้งเทพยดาซึ่งสิงสถิตย์รักษาใน ประเทศจังหวัดเกาะบางปอินนี้ และพระราชทานส่วนพระราชกุศล แด่ท่านทั้งหลายทั้งปวงบรรดาซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนิน และ ราษฎรในแขวงจังหวัดเกาะบางปอิน กับทั้งกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา

๑๑๑ โบราณและผู้ใด ๆ ซึ่งได้ทราบ จงได้มีใจยินดีอนุโมทนาในส่วน พระราชกุศล แล้วและให้สำเร็จประโยชน์ความสุขในทางสวรรค์ และนฤพานตามประสงค์ทุก ๆ ประการ เทอญ แจ้งความมา ณ วันศุกร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีชวดอัฐศก ศักราช ๑๒๓๘ ฯ


งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก