ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐
เรื่อง เมืองนครจำปาศักดิ์
พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส
วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ เรื่อง เมืองนครจำปาศักดิ์
พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์
คำนำ พ.ต.อ. พระพินิจชนคดี และ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี จะใคร่ได้หนังสือสำหรับพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ผู้เป็นป้า
ได้ขอให้กรมศิลปากรช่วยจัดหาให้สักเรื่องหนึ่ง และต้องการหนังสือเรื่องซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับดินแดนภาคอีศาน
กรมศิลปากรจึงจัดเรื่องที่พิมพ์อยู่นี้ รวมเป็นประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ ให้พิมพ์ตามประสงค์
ประชุมพงศาวดาร เป็นหนังสือชุดรวบรวมเรื่องที่เกี่ยวกับพงศาวดารและตำนานต่าง ๆ ในภาษาไทย ที่พิมพ์แล้วก็มี ที่ยังไม่ได้พิมพ์ก็มี
บางเรื่องยาว ซึ่งควรพิมพ์ฉะเพาะเรื่อง บางเรื่องมีขนาดสั้น ก็เอามารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกันก็มี
ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรดาผู้ศึกษาจะได้มีโอกาสพบเห็น ทำการค้นคว้าเรื่องทางประวัติศาสตร์ได้สะดวก
เรื่องที่รวบรวมอยู่ในชุดหนังสือประชุมพงศาวดาร ไม่มีกำหนดว่ากี่ภาค หรือเรียบเรียงเรื่องเป็นลำดับอย่างไร
แล้วแต่จะหาเรื่องอันเนื่องด้วยพงศาวดารได้พอรวบรวม ถ้ามีผู้ศรัทธาว่าจะสร้างก็พิมพ์เป็นภาค ๆ ลำดับไป
หนังสือประชุมพงศาวดารจึงมีขนาดต่าง ๆ กัน แล้วแต่จะรวบรวมได้ และตามขนาดที่มีผู้ศรัทธา
ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ เล่มนี้ มีเรื่องที่พิมพ์ไว้ คือ :-
ข
๑. พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับพระยามหาอำมาตย์ ฯ เรียบเรียงทูลเกล้า ฯ ถวายในรัชชกาลที่ ๕
๒. พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเณจร) เรียบเรียง เคยพิมพ์อยู่ในหนังสือเทศาภิบาล
๓. ตำนานเมืองจำปาศักดิ์ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยตำนานพระพุทธ-บุษยรัตน์ ฉะบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ และเจ้าราชวงศ์เมืองนคร-จำปาศักดิ์ เรียบเรียง
๔. เรื่องขุนบรม นายสุด ศรีสมวงศ์ เจ้าหน้าที่ในหอสมุดแห่งชาติถอดจากต้นฉะบับเดิมในใบลาน
๕. พงศาวดารเมืองยโสธร (เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอขึ้นจังหวัดอุบล ฯ )
๖. ตำนานเมืองทรายฟอง ถอดจากฉะบับเดิมเป็นใบลาน (เมืองทรายฟอง เป็นเมืองร้างอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงใต้เมืองเวียงจันทน์ลงมา แต่อยู่เหนือจังหวัดหนองคาย)
๗. ตำนานเมืองพวน ๒ ฉะบับ (เป็นแคว้นอยู่ทางตะวันออกของเวียงจันทน์ มีเมืองเชียงขวาง เชียงคำ เป็นต้น)
๘. พงศาวดารย่อเวียงจันทน์ ๒ ฉะบับ (เป็นชะนิดปูมโหร มีประโยชน์ในการสอบค้นศักราชเหตุการณ์)
๙. เรื่องสร้างวัดพระแก้วศรีเชียงใหม่ (บ้านศรีเชียงใหม่ อยู่ในจังหวัดหนองคาย ตรงข้ามกับเมืองเวียงจันทน์)
ค
๑๐. ประวัติท้าวสุวอ เจ้าเมืองหนองคาย
๑๑. คำให้การพระยาเมืองฮาม เรื่องเมืองเชียงแตง คำให้การพระกำแหงพลศักดิ์ เรื่องเมืองเชียงแตง คำให้การท้าวลอง เรื่องเมืองอัตปือ คำให้การพระราชวิตรบริรักษ์ เรื่องเมืองสพังภูผา คำให้การหลวงเทียม ฯ เรื่องเมืองเซลำเภา คำให้การเหล่านี้ ได้สำเนามาจากกระทรวงมหาดไทย เมืองที่กล่าวเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับเขตต์แคว้นนครจำปาศักดิ์ ส่วนมากเป็นเมืองอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงถัดเมืองปากเซออกไป
๑๒. พงศาวดารเมืองนครพนมสังเขป ฉะบับพระยาจันทรโงนคำ
๑๓. ตำนานเมืองวังมล
๑๔. พงศาวดารเมืองมูลปาโมข
เรื่องที่รวบรวมดั่งมีรายชื่อแจ้งมาข้างต้นนี้ เป็นเรื่องของบ้านเมืองภาคอีศาน และข้ามไปถึงบ้านเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงด้วยเรื่องเหล่านี้และรวมทั้งที่ได้จัดพิมพ์มาแล้วในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑,๔,๙,๑๑ และ ๒๒ ย่อมเป็นเครื่องมือสำหรับนักศึกษาทำการสอบสวน ค้นคว้าเรื่องราวของชาติทางภาคลุ่มแม่น้ำโขง อันหนังสือประวัติศาสตร์จะเกิดมีขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยเอกสารบางอย่างที่พิมพ์อยู่นี้เป็นหลักฐาน กรมศิลปากรจึงเชื่อว่า ในการที่ พ.ต.อ.พระพินิจชนคดี และ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี ได้จัดพิมพ์ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ นี้ขึ้น
ฆ
ย่อมอำนวยประโยชน์แก่นักศึกษาไม่น้อย และคงจะยินดีอนุโมทนาทั่วกัน เพื่อให้ทราบว่าดินแดนตอนที่มีกล่าวไว้ในประชุมพงศาวดารภาค ที่ ๗๐ นี้ มีเรื่องราวมาแต่โบราณอย่างไร จึงจะขอเล่าเป็นสังเขปไว้ในที่นี้ด้วย แผ่นดินตอนสองฟากแม่น้ำโขง เมื่อราว ๑๖๐๐ ปีที่ล่วงมานี้ เป็นอาณาเขตต์ตอนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ชื่อนี้เป็นอย่างจีนเรียกชื่อจริงของฟูนัน จะเรียกว่าอะไร ยังไม่มีหลักฐานให้ทราบได้ ประเทศฟูนันสมัยมีอำนาจ มีอาณาเขตต์ทางตะวันตกจดแดนประเทศพะม่า และลงไปถึงแหลมมะลายู ทางเหนือว่ากินไปถึงภาคอีศานสองฝั่งแม่น้ำโขง จดแคว้นหลวงพระบาง ทิศใต้จดทะเล เป็นอันว่าประเทศฟูนันสมัยมีอำนาจ จึงรวมประเทศเขมรและลุ่มน้ำเจ้าพระยาอยู่ด้วย ทิศตะวันออกจดเขตต์แดนประเทศญวน ซึ่งในสมัยที่เล่านี้เป็นประเทศจัมปาของพวกจาม ครั้นถึง พ.ศ.๑๐๙๓ โดยประมาณ คือล่วงจากที่เล่ามาข้างต้นราว ๒๐๐ ปี ประเทศฟูนันถูกประเทศซึ่งจีนเรียกว่าเจนละ และเป็นเมืองขึ้นของฟูนันเป็นกบฏ แย่งเอากรุงของประเทศฟูนันได้ แต่นั้นมา ประเทศฟูนันก็ค่อยเสื่อมและศูนย์สิ้นชื่อไป จนไม่มีใครทราบ นอกจากมีชื่อปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุของจีนจดไว้ ส่วนประเทศที่จีนเรียกว่า เจนละ นั้น ต่อมาได้แก่ประเทศเขมรกัมพุชา ทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือเป็นแคว้นหลวงพระบาง ถัดแคว้นหลวงพระบางไปทางเหนือและทางตะวันออก เป็นแคว้นสิบสองจุไทย
ง
ซึ่งทางตะวันออกต่อแดนกับแคว้นตังเกี๋ย และทางเหนือต่อแดนกับมณฑลยูนนานซึ่งเป็นบ้านเมืองของไทย เดิมอยู่ในตอนใต้ของประเทศจีน เขตต์แดนแคว้นสิบสองจุไทยกว้างขวางมาก เพราะฉะนั้น ในตอนที่อยู่ใกล้เมืองหลวงพระบางไปทางตะวันออก จึงเรียกแยกว่า "เมืองหัวพันห้าทั้งหก" หรือ "หัวพันทั้งหก" ส่วนตอนที่อยู่ใกล้เมืองเวียงจันทน์ คงเรียกว่า เมืองพวน ถัดแดนหัวพันห้าทั้งหกและเมืองพวนออกไป คงเรียกว่า แคว้นสิบสองจุไทย มีเมืองไล เมืองแถง หรือแถน เป็นต้น ในสมัยโบราณเห็นจะราว ๒๐๐๐ ปีขึ้นไป ได้มีไทยอพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแดนสิบสองจุไทย ส่วนมากเห็นจะได้กับพวกผู้ไทย ซึ่งเป็นไทยสาขาหนึ่ง สายเดียวกับพวกไทยซ่ง แล้วก็มีไทยอีกสาขาหนึ่งเรียกในประวัติศาสตร์ว่า ไทยน้อย ยกลงมาตั้งกรุงศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างขึ้น ในที่สุดสายหนึ่งได้แผ่อาณาเขตต์ลงมาใต้ตามลุ่มน้ำโขง จนจดเขตต์แดนกัมพุชาตอนใต้จังหวัดนครจำปาศักดิ์ เพราะฉะนั้น แผ่นดินในลุ่มน้ำโขง บางตอนจึงมีเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกับประเทศกัมพุชาด้วย ในระยะเดียวกับที่ไทยยกลงมาอยู่ในแว่นแคว้นสิบสองจุไทย ญวนซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีนเหนือ มณฑลฮกเกี้ยนขึ้นไป ถูกจีนตีบ้านเมืองแตก ต้องหนีร่นลงมาใต้จนเข้าแดนตังเกี๋ย ก็มาเผชิญเข้ากับพวกจาม ซึ่งเป็นชนชาติในตระกูลชะวามะลายูปนชาวอินเดียใต้ พวกจามสู้ญวนไม่ได้ หนีร่นลงมาใต้เรื่อย แล้วยังถูกเขมรตีซ้ำเติมทางด้านหลังเป็นศึกขนาบ ในที่สุดประเทศจามก็ศูนย์ไป กลายเป็นประเทศญวนในปัจจุบัน จ รวมความ พวกไทย, ญวน, จาม, เขมร ในแดนเหล่านี้ ครั้งโบราณมีเขตต์แดนติดต่อถึงกันโดยลำดับ จึงย่อมมีเรื่องราวเกี่ยวข้องพ้องพานกันทั้งในทางวัฒนธรรมและในทางสงครามด้วยประการฉะนี้ ขออนุโมทนากุศลราศีทักษิณานุปทาน ซึ่งนายพันตำรวจเอกพระพินิจชนคดีและ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี พร้อมด้วยญาติมิตรได้บำเพ็ญกุศลแด่ผู้ซึ่งล่วงลับไปแล้ว และจัดพิมพ์หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ นี้แจกจ่ายเป็นวิทยาทาน เกื้อกูลแก่ความรู้เป็นสาธารณประโยชน์ ขอจงสัมฤทธิ์แด่ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช เพื่อประโยชน์สุขในสัมปรายภพ สมดังมโนปณิธานทุกประการ เทอญ.
กรมศิลปากร ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๔
ลำดับพระวงศ์ ของ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช
ทางพระบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าจอมมารดา อำภา มีพระโอรส ธิดา ๖ พระองค์ คือ ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมหมื่นนฤบาล (พระองค์เจ้า กปิฐา ต้นสกุล กปิฐา ณอยุธยา) ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระ-องค์เจ้าปราโมช ต้นสกุลปราโมช ณ อยุธยา) ๓. พระองค์เจ้าชาย กรรฐา ๔. พระองค์เจ้าชาย เกยูร ๕. พระองค์เจ้าหญิง กัลยาณี ๖. พระองค์เจ้าหญิง กนิษฐน้อยนารี
สายทางพระมารดาสืบมาดั่งนี้ กรมพระราชวังสถานพิมุข (พระวังหลัง) พระองค์เจ้าทับทิม หม่อมแย้ม มีธิดา ๓ ท่าน คือ
(ข) ๑. หม่อมราชวงศ์ ดวงใจ ปราโมช ๒. หม่อมราชวงศ์ จร อิศรางกูร ๓. หม่อมราชวงศ์ ดา ว ปราโมช กรมขุนวรจักร ฯ และ หม่อมราชวงศ์ ดวงใจ ปราโมช มีพระ-โอรส, พระธิดา ๑๑ องค์ ๑. หม่อมเจ้าหญิง ไม่มีนาม ๒. หม่อมเจ้าชาย ไม่มีนาม ๓. หม่อมเจ้าหญิง เมาฬี ปราโมช ๔. หม่อมเจ้าหญิง ฉวีวาด ปราโมช ๕. หม่อมเจ้าหญิง คอยท่า ปราโมช ๖. หม่อมเจ้าชาย จำรูญ ปราโมช ๗. หม่อมเจ้าชาย ไม่มีนาม ๘. หม่อมเจ้าชาย เสพย์บัณฑิตย์ ปราโมช ๙. หม่อมเจ้าหญิง โอษฐอ่อน ปราโมช ๑๐. หม่อมเจ้าหญิง รัมแข ปราโมช ๑๑. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรม-มหาราชวัง กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ตั้งแต่พระชันษาย่าง ๑๖ ปี เข้าไปอยู่ได้ ๔ เดือนด้วยคุณงามความดีของท่าน สมเด็จกรมพระยาสุดารัตน ฯ ได้ทรงมอบให้เป็นหน้าที่ปอกผลไม้ ตั้งเครื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๕ ตลอดมาและเทียบเครื่องคาว (ค) ด้วย จนพระชันษาได้ ๓๗ ปี ตรงกับปี ร.ศ.๑๑๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านได้ทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าที่ ๓ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นทั้งข้างในและข้างนอก ปี ร.ศ. ๑๑๔ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ทิวงคต พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค ได้ทรงมอบให้หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า เป็นผู้จัดการจ่ายเงินเครื่องพระศพ และค่าอาหารของข้าหลวงทั้งหมด ปีกุน ร.ศ. ๑๑๗ ถวายพระเพลิงกรมพระยาสุดารัตน ฯ แล้ว ท่านได้ไปรับราชการทำเครื่องต้นอยู่กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปีจอ ร.ศ. ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๕ สวรรคตแล้ว ท่านยังทรงทำเครื่องพระบรมศพตลอดไปจนถวายพระเพลิง ร.ศ. ๑๒๙ ปลายปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินี พระพันปีหลวง ได้ทรงขอร้องให้ไปช่วยทำเครื่องพระบาทสมเด็จพระ-มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้ช่วยคุณท้าวราชกิจทำอยู่ ๒ ปี จนถึงปี ร.ศ. ๑๓๑ ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าที่ ๒ ปี ร.ศ.๑๓๒ ได้ทรงเป็นผู้อำนวยการห้องเครื่องต้นทั้งหมด แทนคุณท้าวราชกิจ และต่อมาได้รับราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๓ เข็มพระบรมนามาภิไธยชั้น ๑ ประดับเพ็ชร และเข็มเสมา ร.ร.๖ ชั้น ๒
(ฆ) ระหว่างที่ท่านทรงรับราชการอยู่ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทุกคราว เหตุด้วยพระองค์ท่านมีพระนิสสัยอันดีงาม และโอบอ้อมอารีทำให้เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาข้าราชการหัวเมือง ที่มาติดต่อกับพระองค์ท่าน ต่างพากันชมเชยคุณความดีของท่านอยู่เสมอ คราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จไปซ้อมรบเสือป่า ท่านทรงทำเครื่องต้นและรับเลี้ยงอาหารเสือป่าที่ไปซ้อมรบเป็นจำนวนมากทั้งหมด ขณะที่ทรงรับราชการอยู่นั้นได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดทั้งในและนอกปีละ ๓,๐๐๐ บาท และเงินเดือนๆละ ๓๐๐ บาท ต่อมาท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ด้วยโรคภัยเบียดเพียฬ เมื่อปีจอ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ตอนนี้ยังได้ทรงรับเงินปีอยู่ปีละ ๑,๐๐๐ บาท หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมชทรงเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้ที่ยามท่านล่วงลับไปแล้ว ในฐานะที่ท่านทรงเป็นอุบาสิกาในวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันท่านสิ้นนั้นสมเด็จ-วชิรญาณ ฯ ได้มีการเทศนาถึงคุณความดีของท่านที่ได้มีแก่วัด และแก่พระสงฆ์ดังปรากฏอยู่แก่ท่านผู้ฟังธรรมในวัดนั้นแล้วทุกท่าน ทั้งคณะสงฆ์วัดบวร ฯ ได้ทำบุญถวายท่าน ๗ วันครั้งหนึ่ง อุบาสิกาในวัดบวร ฯ ๗ วันครั้งหนึ่ง สมเด็จวัดบวร ฯ ๗ วันครั้งหนึ่ง ท่านได้ทรงสร้างกุฏิคอยท่า ปราโมช ๑ หลังเป็นเงิน ๕,๕๐๐ บาท และทรงบริจาคทรัพย์สร้างเสนาสนะ และถนนในวัดบวร ฯ และถวายนิตยภัตต์ประจำเดือนแก่ภิกษุบางรูป ทรงเป็นประมุขของอุบาสิกาในวัดบวรนิเวศ ฯ
(ง) ส่วนวัดบรมนิวาสได้ทรงสร้างหอเขียว ฉะเพาะหอเขียวนี้ส่วนพระองค์ท่านได้ทรงออกเงิน ๘,๐๐๐ บาท และสร้างกุฏิอีกหนึ่งหลัง ได้เคยทรงสร้างกุฏีวัดราชาธิวาส ๑ หลัง ซึ่งภายหลังได้ใช้เป็นโรงเรียนบาลีสำหรับพระสงฆ์ และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ ๑ องค์ บนพระตำหนักเขียวที่วัดราชาธิวาสและซ่อมศาลาแดงคู่ที่หน้าวัดราชาฯ วัดเสาธงทองที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดคุณจอมมารดาอำภา คุณย่าของท่านปฏิสังขรณ์ วัดนี้เมื่อหม่อมเจ้าหญิงคอยท่ายังมีพระชนม์อยู่ และเมื่อยังอยู่ในราชการท่านเคยทรงทอดกฐินหลายครั้ง ได้ทรงช่วยปฏิสังขรณ์โบสถ์ สร้างศาลาน้ำ และกุฎี และเคยทรงสอนหลาน ๆ ว่าวัดนี้เป็นวัดคุณชวดได้ปฏิสังขรณ์ ถ้าต่อไปหลานคนใดมีอันจะกินขึ้นควรจะมาทอดกฐินทุกคนจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง ในภายหน้า นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นพระทัยอันดีงามของท่านว่า แม้แต่สิ่งใดที่เป็นของบรรพบุรุษก็มิได้ทรงลืม แม้ทรงเห็นว่าพระชนม์ของท่านมากแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ทรงสอนหลาน ๆ ไว้ให้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อพระองค์ท่านอีก ส่วนตามวัดหัวเมือง ได้ทรงเข้าทำโบสถ์วัดเมืองหลังสวน ๕๐๐ บาท และวัดจันนฤมิตต์ (เขาพระงาม) จังหวัดสระบุรี ๔๐๐ บาท เมื่อสมเด็จพระมงกุฏเกล้า ฯ ทรงซ่อมองค์พระปฐมเจดีย์ ท่านก็ได้เข้าเงินตามเสด็จซ่อมองค์ปฐม ๑ ช่อง ทางโรงพยาบาลท่านได้เข้าเงินที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๓๐๐๐บาท ได้ทรงเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์แห่งโรงพยาบาลนี้ และเมื่อทรง
(จ) ทำบุญพระชันษาครบ ๕ รอบ ก็ได้เข้าเงินตามโรงพยาบาลเท่าพระชนม์ มีวชิรพยาบาล, โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทรงทำบุญ ๘๑ ก็ทรงเข้าตามโรงพยาบาลเหล่านี้อีกเช่นกัน อนึ่ง ท่านได้ทรงเป็นบุพพการีแก่หลานทุกคน ไม่ว่ามีหรือจน ได้ทรงช่วยเหลือตามวิทยะฐานะ มิได้ทรงลำเอียงเลย ผู้ใดประพฤติดีก็ทรงยินดีด้วย ถ้าผู้ใดยากจนก็ทรงประทานตามพระกำลังที่พอจะทำได้ ทรงเป็นหลักของสกุลปราโมช ไม่ว่าเจ้านายพี่น้องก็ดี หลานก็ดี ทรงพระเมตตาทั่วถึงกัน ยามใครมีสุขก็ทรงยินดีด้วยน้ำพระทัยอันแท้จริง ยามทุกข์ก็ทรงสั่งสอนด้วยธรรมให้คลายทุกข์ ทรงเป็นผู้อุปการะแก่มวลญาติเป็นที่พึ่งแก่ผู้น้อย เป็นมิตรที่ดี แม้ยามประชวรนายแพทย์มีพระวรสุนทรโรสถได้เคยกล่าวว่าท่านเป็นคนไข้ที่เอาใจหมอดีมาก แม้จะทรงหงุดหงิดเพราะพยาธิ ก็ยังทรงคุยให้สนุกสนานได้ในเมื่อยามทรงทุเลา ในคราวประชวรหนักคราวนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดถวายทุกคืน เมื่อเวลาพระสวดท่านอุตส่าห์พะยุงพระองค์ขึ้นนั่งประณมพระหัตถ์ฟังตลอดเวลา จนลุกไม่ได้ก็บรรทมประณมพระหัตถ์ฟังโดยสำรวม ท่านเป็นผู้ที่มั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอันแท้จริง เมื่อเวลาประชวรก่อนสิ้นพระชนม์ท่านทรงปรารภว่า ถ้าชีวิตยังมีอยู่ จะรวมเงินช่วยป้องกันภัยทางอากาศ การป้องกันภัยทางอากาศนี้รัฐบาลได้แถลงในวิทยุ ท่านทรงฟังวิทยุทีไรก็ปรารภอยู่เสมอ แต่หากเป็นเวลากำลังประชวร ทั้งยังมีพระทัยเป็นห่วงพวกพี่น้องที่อพยพมาจากอินโดจีนด้วยความสงสาร เคยรับสั่งอยู่เสมอ
(ฉ) จะได้จัดการมอบเงินเพื่อประโยชน์แก่องค์การณ์ ทั้งนี้ให้สบพระทัยเมื่อเวลายังมีพระชนม์อยู่ต่อไป หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ประชวรด้วยพระโรคชราสิ้นชีพตักษัยด้วยพระอาการอันสงบ ในท่ามกลางพระสงฆ์ที่มาเยี่ยมและหมู่พระญาติมิตร เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๓ เวลา ๑๖.๕๕ น. คำนวณพระชันษาได้ ๘๔ บริบูรณ์ เป็นที่วิปโยคแก่บรรดาพระญาติ วงศ์มิตรสหาย และบริวารทั่วกัน
ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี
ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ฉะบับ พระยามหาอำมาตยาธิบดี
ข้าพระพุทธเจ้า พระยามหาอำมาตยาธิบดี ขอพระราชทานเรียบเรียงพงศาวดารเมืองนครจำปาศักดิ์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ฯ เดิมเมืองนครจำปาศักดิ์นั้นว่า เป็นเมืองจำปานคร มีพระมหากษัตริย์ครอบครองบ้านเมืองต่อมาแล้วก็ขาดวงศ์ตระกูล แล้วยังมีท้าวพระยาผู้หนึ่ง มีนามปรากฏว่าท้าวคัชนามครอบครองเมืองจำปานครต่อไป ครั้นท้าวคัชนามทิวงคตแล้ว ก็หามีเจ้านายที่จะครอบครองบ้านเมืองต่อไปไม่ ครั้นภายหลังมา ยังมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง มีพระ-นามว่าพระยากำมะทาเป็นเชื้อแขก ยกไพร่พลแขกจามขึ้นไปสร้างเมืองที่เมืองจำปานคร แต่พระยากำมะทาสร้างเมืองลงที่ริมฝั่งแม่น้ำของฟากตะวันตกตรงเขาหนองสระลงไป ที่บนเขาหนองสระนั้นพระยากำมะทาก็ไปสร้างปราสาทและเรือนสนมกำนัลตึกแถว และถนนกำแพงแก้วมีป้อมอยู่ตามเนินเขาแล้วไปด้วยศิลาทั้งสิ้น แล้วพระยากำมะทาให้ช่างปั้นรูปของตนไว้ทำด้วยศิลา และแต่งตัวสามเทริดใส่สังวาลย์เหมือนอย่างคนตีมงครุ่มตั้งไว้ที่หน้าปราสาทณบนเขาหนองสระ รูปนั้นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ครั้นพระเจ้ากำมะทาทิวงคตแล้วเมืองนั้นก็ว่างมาช้านาน หามีกษัตริย์ผู้ใดที่จะปกครองต่อไปไม่ มีแต่บ้านเรือนพวกลาวพวก
๒ ส่วยตั้งเรียงรายอยู่ที่เมืองเก่าริมฝั่งโขงและตามเชิงเขาหนองสระ ว่ายังมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งนามมิได้ปรากฏ ยกพลเขมรแขกจามขึ้นไปสร้างพระนคร ที่เมืองพระเจ้ากำมะทาสร้างอยู่นั้น ครั้นสร้างเมืองสำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่านครกาลจำปากนาคบุรีศรี พระเจ้านครกาลจำปากนาคบุรีศรีกับพระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดีเป็นทางพระราชไมตรีซึ่งกันและกัน ครั้นอยู่มาพระเจ้านครกาลจำปากนาคบุรีมีพระราชโอรสองค์หนึ่งซึ่งพอเจริญวัยวัฒนาการ พระเจ้านครกาลจำปากนาคบุรีศรีก็ถึงแก่พิราลัย เจ้าพระยาเสนาพฤฒามาตย์ผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกัน จึงอัญเชิญพระราชโอรสพระเจ้านครกาลจำปากนาคบุรีศรีขึ้นครองราชสมบัติ ถวายพระนามว่าพระเจ้าสุทัศสาราชา ๆ ก็ปกป้องท้าวพระยาประชาราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขหาอันตรายมิได้ พระ-เจ้าสุทัศสาราชากับพระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดี ก็เป็นทางพระราชไมตรีต่อกันมาเหมือนอย่างแต่ก่อน ครั้นอยู่มาพระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดีมีพระราชสาส์นมายังพระเจ้าสุทัศสาราชาว่า มีอริราชไพรียกมากระทำย่ำยีแก่กรุงกำพุชาธิบดีขอให้พระเจ้าสุทัศสาราชาเห็นแก่ทางพระราชไมตรี เกณฑ์กำลังไปช่วยปราบปรามอริราชดัษกร พระเจ้าสุทัศสาราชได้ทราบในพระราชสาสน์แล้ว จึงสั่งให้ท้าวพระยาเกณฑ์ไพร่พลล่ำฉกรรจ์พร้อมไปด้วยช้างม้าเครื่องสรรพศาสตราวุธ ครั้นได้วันมหาพิชัยฤกษ์ พระเจ้าสุทัศสาราชาท้าวพระยานายทัพนายกองยกไพร่พลไปถึงกรุงกำ- พุชาธิบดี ก็ยกกองทัพเข้าตีข้าศึกซึ่งมาตั้งรบพุ่งกำพุชาธิบดีแตกพ่ายหนีไป แล้วพระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดี ก็อัญเชิญพระเจ้าสุทัศสาราชา
๓ เข้าพักอยู่ในพระนคร แล้วพระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดีก็จัดสิ่งของอันมีค่าให้พระเจ้าสุทัศสาราชา และพระราชทานเสื้อผ้าแก่ท้าวพระยานายทัพนายกองเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรีตามลำดับผู้ใหญ่ผู้น้อย แล้วพระเจ้าสุทัศสาราชา ก็ลาพระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดียกไพร่พลกลับมายังเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี ลุจุลศักราช ๙๘๙ ปีเถาะนพศก พระเจ้าสุทัศสาราชาก็ถึงแก่พิราลัย พระเจ้าสุทัศสาราชาหามีโอรสนัดดาที่จะสืบวงศ์ตระกูลต่อไปไม่ ก็ว่างกษัตริย์ที่จะครอบครองเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี จนถึงศักราชได้ ๑๐๐๐ ปีขานสัมฤทธิศก ยังมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นคนตั้งอยู่ในยุตติธรรมซื่อตรง สมณชีพราหมณ์ประชาราษฎรก็เป็นที่นับถือเคารพยำเกรง จะว่ากล่าวกิจสุขทุกข์สิ่งใดก็เด็ดขาด จึงพร้อมกันสมมุติขึ้นให้เป็นใหญ่แก่คนทั้งปวง แต่นามหาได้ปรากฏไม่ แต่นั้นมาจะบัญชาการก็เด็ดขาดในราชอาณาเขตต์นครกาลจำปากนาค บุรีศรี ผู้ครองเมืองนั้นมีบุตรีคนหนึ่ง มีนามว่านางเภา ๆ เจริญขึ้นมา บิดาก็ถึงแก่อสัญญกรรมไป พระยาคำยาตรพระยาสองฮาดเสนาของบิดานางเภา พร้อมด้วยท้าวเพี้ยใหญ่น้อยรักษาบ้านเมือง ต่อมาในศักราชได้ ๑๐๐๓ ปีมะเส็งตรีศก เจ้าปางคำบ้านหนองบัวลำภู เดินช้างพลายพังหมอควานพร้อมด้วยท้าวเพี้ยไพร่พลยกลงมาเที่ยวโพนแซกคล้องช้างตามอรัญราวป่าประเทศ ก็ถึงเขตต์แดนนครกาลจำปากนาคบุรีศรีหยุดพักอาศัยในนครได้หลายวัน เจ้าปางคำเห็นนางเภามีสิริรูปอันงาม เจ้าปางคำพูดจาลอบรักร่วมสังวาสด้วย
๔ นางเภาจนมีครรภ์ แล้วเจ้าปางคำพร้อมด้วยท้าวเพี้ยไพร่พลช้างต่อหมอควานยกกลับไปบ้านหนองบัวลำภู อยู่ภายหลังนางเภาครรภ์แก่พอถ้วนทศมาสแล้วจะคลอดบุตรก็มีความเจ็บปวดลำบาก นางเภาจึงแช่งไว้ว่า ถ้าหญิงคนใดหาผัวมิได้ มีชายมาลอบรักร่วมสังวาสจนมีครรภ์ดังนี้ ให้หญิงนั้นจัดหากระบือแต่งเครื่องพลีกรรมบวงสรวงเสื้อเมืองทรงเมือง ถ้าผู้ใดไม่ทำตามดังนี้ให้ข้าวในไร่ในนาตายแล้ง แล้วนางเภาจึงสั่งให้พระยาคำยาตรพระยาสองฮาด พร้อมด้วยท้าวเพี้ยใหญ่น้อยทำหนังสือประทับตราประจำครั่งรูปช้างยืนแท่น ประกาศให้พวกส่วยรักษาเขตต์แขวงอำเภอตามคำนางเภา จึงเป็นเยี่ยงอย่างมาจนทุกวันนี้ ครั้นนางเภาคลอดบุตรออกมาเป็นกุมารี นางเภาจึงให้ชื่อบุตรว่านางแพง และเมื่อศักราชได้๑๐๐๕ ปีมะแมเบ็ญจศกนั้นว่ายังมีท่านพระครู ยอดแก้วอยู่เมืองเวียงจันทน์ ในเวลากลางคืนจำวัดอยู่นิมิตต์ฝันเห็นว่า มีคชสารพลายตัวใหญ่เข้ามาในอารามทำลายพระวิหารขึ้นไปบน กุฎีแล้วแทงหอไตรทำลายลง ช้างจึงจับเอาหนังสือกลืนเป็นอาหารหมดทั้งหีบ พอรุ่งสว่างก็ตกใจตื่นขึ้น แล้วท่านพระครูยอดแก้วก็เล่านิมิตต์ให้สงฆ์ทั้งปวงฟัง ๆ แล้วก็พากันไปบิณฑบาตร พอเวลาสายพระสงฆ์กลับมาจากบิณฑบาตรก็เห็นสามเณรองค์หนึ่งอายุประมาณ ๑๓-๑๔ ปี มานั่งอยู่ในอาราม พระสงฆ์ทั้งปวงจึงถามสามเณรว่ามาแต่แห่งใด สามเณรจึงบอกแก่พระสงฆ์ว่ามาแต่กะลึมเมืองพาน ข้าพเจ้าเป็นสานุ-ศิษย์พระครูลึมบองเที่ยวมาหาที่เล่าเรียน พระสงฆ์ทั้งปวงจึงไปแจ้ง
๕ ความแก่พระครูยอดแก้ว พระครูยอดแก้วจึงนิมนต์สามเณรขึ้นไปบนกุฎี แล้วพระครูยอดแก้วก็ทำนุบำรุงสามเณรนั้นไว้ แล้วพระครูยอดแก้วก็ให้สามเณรเล่าสวดมนต์จนถึงพระปาฏิโมกข์ สามเณรเล่าเรียนแม่นยำจนชำนิชำนาญ พระครูยอดแก้วจึงให้สามเณรเล่าสูตรจำได้จนจบ แล้วพระครูยอดแก้วก็บอกหนังสือพระไตรปิฎก ตั้งแต่ธรรมบทบั้นต้นบั้นปลายและเล่าเรียนในพระคัมภีร์ใด ๆ สามเณรก็เล่าเรียนได้หมดสิ้น จึงเอาหนังสือในหีบอยู่ในหอไตรมาให้สามเณร ๆ ก็รอบรู้ทุกพระคัมภีร์ไม่มีผู้ใดจะเปรียบได้ กิติศัพท์ได้ยินเลื่องลือถึงพระเจ้าเมืองเวียงจันทน์ ๆ ก็ยินดีมีจิตต์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงจัดผ้าไตรมาถวายยกชื่อขึ้นให้เป็นราชาจั่ว แต่นั้นมาก็ลือชาทั่วไปทั้งอาณาเขตต์เมืองเวียงจันทน์ พออายุสามเณรถ้วนถึง ๒๑ ปีครบอุปสมบทพระเจ้าเวียงจันทน์ก็นิมนต์ราชาจั่วให้บวชเป็นภิกษุ ราชาจั่วจึงว่าแก่ท่านพระครูยอดแก้วว่าถ้าจะบวชข้าพเจ้าแล้ว ขอให้นิมนต์พระสงฆ์นั่งหัตถบาสให้ได้ ๕๐๐ รูป ให้ทำโบสถ์น้ำจึงจะบวช ท่านพระครูก็เข้าไปถวายพระพรแก่พระเจ้าเวียงจันทน์ตามถ้อยคำสามเณร พระเจ้าเวียงจันทน์ได้ทราบดังนั้น จึงสั่งให้ท้าวพระยาจัดหาเรือใหญ่มาพ่วงติดกันเข้าแล้วทำเป็นโสบถ์น้ำ ครั้นถึงวันกำหนดก็แห่สามเณรไปยังโบสถ์น้ำ พระอุปัชฌาย์อนุกรรมวาจากับพระสงฆ์อันดับ ๕๐๐ รูป ก็พร้อมกันอุปสม- บทสามเณรขึ้นเป็นภิกษุ ขอนิสสัยเสร็จแล้วอนุกรรมวาจาจะให้อนุ- ศาสน์ แพโบสถ์น้ำก็จมลง ทันใดนั้นสงฆ์ทั้งปวงก็ต้องว่ายน้ำขึ้นฝั่งไป ไตรจีวรก็เปียกทุกองค์ แต่ภิกษุที่บวชใหม่นั้นไม่เปียก สบงจีวรก็แห้ง
๖ อยู่สงฆ์ทั้งปวงเห็นแล้วก็พากันอัศจรรย์ยิ่งนัก พระเจ้าเวียงจันทน์ก็ยินดีปรีดา ครั้นได้พรรษาหนึ่งพระเจ้าเวียงจันทน์ก็จัดหาเครื่องไตรอัฏฐ บริกขารครบเสร็จแล้ว พร้อมด้วยคณะสงฆ์จึงตั้งพระภิกษุองค์นั้นขึ้นเป็นพระครูให้อยู่วัดโพนเสม็ด คนทั้งหลายจึงเรียกพระครูโพนเสม็ดมาจนเท่าทุกวันนี้ แล้วพระครูก็อยู่รักษาวินัยสิกขาบริบูรณ์ได้ถึงอภิญญาห้าอัฏฐสมาบัติ ๘ ประการสำเร็จไปด้วยญาณ จะว่าสิ่งใดก็แม่นยำด้วยบุญบารมีธรรมโปรดสำเร็จดังใจนึก คนทั้งปวงก็นิยมเป็นอันมาก ต่างคนต่างสรรเสริญบุญพระครูโพนเสม็ด พระเจ้าเวียง- จันทน์ก็โปรดเป็นอุปัฏฐาก พระเจ้าเวียงจันทน์มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง เรียกว่าเจ้าหล่ออายุได้ ๑๓ ปี และพระมเหสีพระเจ้าเวียงจันทน์คนหนึ่งมีครรภ์ประมาณได้ ๖ - ๗ เดือน ศักราช ๑๐๕๐ มีมะโรงสัมฤทธิศก พระเจ้าเวียงจันทน์ก็ถึงแก่พิราลัย พระยาเมืองแสนชิงเอาสมบัติได้แล้วก็ขึ้นครองเมืองเวียงจันทน์จะรับเอานางที่เป็นมเหสีพระเจ้าเวียงจันทน์ขึ้นเป็นภรรยา นางไม่ยอมร่วมสังวาสกับพระยาเมืองแสน นางจึงเข้าไปพึ่งอาศัยอยู่กับพระครูโพนเสม็ด ๆ กลัวจะมีความครหาติเตียน จึงให้นางลงไปอยู่ภูสะง้อหอคำ ฝ่ายพรรคพวกเจ้าองค์หล่อบุตรพระเจ้าเวียงจันทน์จึงพาเจ้าองค์หล่อหนีไปอยู่ ณ เมืองญวน ๆ ก็รับเอาเจ้าองค์หล่อไว้ แล้วให้ชื่อว่าเจ้าองค์เวียด ฝ่ายพระมเหสีพระเจ้าเวียงจันทน์พอครรภ์นางถ้วนทศมาสนางก็คลอดบุตรเป็นราชกุมาร พระครูโพนเสม็ดจึงให้นามว่าเจ้าหน่อกษัตริย์ ครั้นนานมาพระยาเมืองแสนที่ได้ครองเมืองเวียงจันทน์
๗ เห็นว่าท้าวพระยาไพร่บ้านพลเมืองพากันนิยมนับถือพระครูโพนเสม็ด เป็นอันมาก พระยาเมืองแสนกลัวว่านานไปภายหน้า พระครูโพนเสม็ดจะชิงเอาสมบัติ จึงคิดเป็นความลับกับพรรคพวกที่สนิทจะทำอันตรายแก่พระครูโพนเสม็ด ๆ ก็ล่วงรู้ในความคิดของพระยาเมืองแสน พระ-ครูโพนเสม็ดจึงให้ไปรับเอาเจ้าหน่อกษัตริย์กับมารดามาแต่ภูสะง้อหอ คำ แล้วจึงปรึกษากับญาติโยมและศิษย์สานุศิษย์ผู้อุปัฏฐากพร้อมกันรวมได้ชายหญิงใหญ่น้อย ๓๓๓๓ คน ก็ยกออกจากเมืองเวียงจันทน์ไปถึงบ้านงิ้วพันลำโสมสนุก พระครูโพนเสม็ดจึงให้เจ้าหน่อกษัตริย์กับมารดาและพรรคพวกตั้งอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก แล้วพระครูโพนเสม็ดก็เที่ยวไปตามลำชี พระครูโพนเสม็ดไปหยุดพักอยู่ที่แห่งใดตำบลใด คนก็ปีติยินดีเป็นอันมาก ครั้นยกไปแห่งใดญาติโยมก็ยกติดตามไปตำบลละ ๒ - ๓ ครัว แล้วพระครูโพนเสม็ดก็ลงไปกรุงอินทปัทมหานคร ครอบครัวที่เฉื่อยช้าติดตามลงไปมิได้ ก็ให้ตั้งบ้านเรือนเรียงรายกันไป จึงเรียกว่าลาวเดิมบานบารายมาจนทุกวันนี้ แล้วพระครูโพนเสม็ดกับครอบครัวญาติโยมสานุศิษย์ก็ลงไป ถึงหางตุยจังวะสุดแดน แต่บัดนี้เรียกว่าจะโรยจังวา(๑) พระครูโพนเสม็ดเห็นที่ตำบลจะโรยจังวาข้ามเป็นชัยภูมิกว้างขวางและมีเขา ใหญ่น้อย จึงพักญาติโยมครอบครัวศิษย์สานุศิษย์อยู่ที่นั้น แล้วพระครูโพนเสม็ดจึงสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งบนเขานั้น เมื่อวันจะสำเร็จ (๑) แปลว่าแหลม
๘ ยังมีหญิงเขมรแก่คนหนึ่งชื่อเป็น ลงไปอาบน้ำในลำน้ำใหญ่ ยายเป็นเห็นพระบรมธาตุเลื่อนไหลมาบนหลังน้ำ มีพระรัศมีมีโอภาสเป็นอันงาม ยายเป็นเห็นประหลาด จึงเอาขันน้ำเข้ารับรองขึ้นไปถวายแก่พระครูโพนเสม็ด ๆ เห็นว่าเป็นพระบรมธาตุแน่แล้วก็บิณฑบาตรกับยายเป็น แล้วพระครูโพนเสม็ดก็อัญเชิญพระบรมสาริกธาตุเข้าบรรจุไว้ในพระ เจดีย์ แล้วพระครูโพนเสม็ดเห็นว่าภูเขานั้นภาษาเขมรเรียกว่าพนมแล้วเอานามยายเป็นที่ได้พระบรมสาริกธาตุมาประกอบกันเข้า พระครูโพนเสม็ดจึงให้ชื่อว่าพระเจดีย์พนมเป็น ครั้นภายหลังมาเจ้ากรุงกำพุชาธิบดียกเมืองจากเมืองประทายเพ็ชรลงไปสร้างเมืองขึ้นที่ตำบล นั้นเป็นเมืองหลวง จึงเรียกนามเมืองว่าพนมเป็นมาจนทุกวันนี้ และเมื่อพระครูโพนเสม็ดสร้างพระเจดีย์แล้ว จึงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์หนึ่งได้ตั้งแต่พระเศียรลงมาถึงพระกร เบื้องขวายังหาทันสำเร็จไม่เจ้ากรุงกำพุชาธิบดีแจ้งว่าพระครูโพนเสม็ดพาครอบครัวญาติโยมลาว เข้ามาอยู่ในเขตต์แดน จึงแต่งให้พระยาพระเขมรไปตรวจบัญชีครอบครัว พระยาพระเขมรจะเรียกเอาเงินครัวละ ๘ บาท พระครูโพนเสม็ดเห็นว่าญาติโยมจะได้ความยากแค้น จึงพาญาติโยมครอบครัวหนีขึ้นไปตามลำน้ำโขง ถึงสถานบ้านแห่งหนึ่งที่เรียกว่าเมืองสมบูรณ์บัดนี้ พระครูโพนเสม็ดจึงได้พาญาติโยมครอบครัวตั้งพักอาศัยอยู่ใน ที่นั้น แล้วพระครูโพนเสม็ดจึงชักชวนญาติโยมศิษย์สานุศิษย์สร้างพระวิหารไว้หลังหนึ่งในที่ตำบลนั้น ครั้นเจ้ากรุงกำพุชาธิบดีได้แจ้งว่า
๙ พระครูโพนเสม็ดยกไปยังไม่พ้นเขตต์แดน จึงแต่งให้พระยาพระเขมรยกทัพมาขับไล่พระครูโพนเสม็ด ๆ เห็นว่าญาติโยมทายกจะพากันเป็นอันตราย จึงตั้งอธิษฐานว่าเดชบารมีธรรมที่ได้บำเพ็ญมาแต่หนหลัง ครั้งนี้จงช่วยสร้างสรรพสัตว์ให้พ้นอันตราย ขอเทพยเจ้าจงช่วยอภิบาลในครั้งนี้ ด้วยอำนาจกุศลเผอิญให้พระยาพระเขมรหาคิดที่จะทำอันตรายไม่ พระครูโพนเสม็ดก็พาครอบครัวไปได้โดยสะดวก พระยาพระเขมรก็เลิกทัพกลับคืนไปยังกรุงกำพุชาธิบดี ฝ่ายพระครูโพนเสม็ดไม่มีที่พักอาศัย จึงตั้งอธิษฐานว่าเดชกุศลธรรม ดินก็ผุดขึ้นเป็นเกาะ ในที่นั้นก็เป็นหาดทราย ราษฎรก็เรียกว่าหาดท่านพระครูมาเท่าจนบัดนี้ พระครูโพนเสม็ดก็พาญาติโยมทายกหยุดพักอยู่ในเกาะนั้น พร้อมกันหล่อพระพุทธปฏิมากรแต่บ่าพาดพระกรเบื้องซ้ายถึงหน้าตักหัตถบาสตลอดพระแท่นสำเร็จแล้ว จึงให้ศิษย์ไปเชิญพระปฏิมากรที่หล่อไว้ที่เจดีย์พนมเป็นยังไม่สำเร็จนั้นมาสวมต่อกันเข้า เกาะนั้นก็เรียกกันว่าเกาะพาดเกาะทรายมาจนบัดนี้ แล้ว พระครูโพนเสม็ดจึงพาญาติโยมทายกแห่พระขึ้นมาถึงหางโค ปากน้ำเซกองฝั่งตะวันออก เห็นภูมิสถานที่นั้นสมควร พระครูโพนเสม็ดเห็นว่านานไปภายหน้าก็คงจะได้เป็นเมือง จึงพร้อมญาติโยมทายกสร้างพระวิหารลงไว้ที่นั้น แล้วอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรพระแสนประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้น แล้วก่อพระเจดีย์ไว้ที่บาจงองค์หนึ่ง พระครูโพนเสม็ดจึงให้ศิษย์ผู้หนึ่ง กับทั้งครอบครัวเป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธปฏิมากรพระแสนที่นั้น
๑๐ ครั้นนานมาศิษย์ผู้นั้นมีบุตรชายผู้หนึ่งชื่อเชียงแปง ครั้นบิดาถึงแก่กรรมแล้ว เชียงแปงก็รักษาครอบครัวอยู่ในที่ตำบลนั้นต่อมา และพระครูโพนเสม็ดก็พาศิษย์ทั้งปวงขึ้นไปตามลำน้ำโขง ถึงดอนสี่ผี พระครูโพนเสม็ดจึงสร้างพระเจดีย์ด้วยศิลาองค์หนึ่งสูงสี่ศอก สร้างพระวิหารไว้หลังหนึ่ง แล้วพระครูโพนเสม็ดก็ขึ้นไปตามลำน้ำโขงถึงเกาะใหญ่แห่งหนึ่งจึงพักอยู่ในที่นั้น แล้วพระครูโพนเสม็ดนั่งบริ- กรรมเห็นว่า ในเกาะนี้นานไปภายหน้าจะได้เป็นเมือง จึงสร้างพระเจดีย์ไว้องค์หนึ่งบนยอดนพสูรจารึกเป็นอักษรขอมไว้ว่า ศักราชได้ ๑๐๗๐ ปี ณ วัน ๑ ๒ ค่ำ พระครูโพนเสม็ดมีศรัทธาสร้างพระเจดีย์ไว้นครโขงให้เป็นที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดาและคนทั้งหลาย แล้วหล่อระฆังใหญ่ไว้ระฆังหนึ่ง วัดโดยกว้างได้สองศอก แล้วจึงประชุมบุตรหลานลาวเดิมให้ไว้เป็นข้าพระมหาธาตุเจดีย์ตอนโขงตราบเท่า ๕๐๐๐ พรรษา แล้วให้จารียฮวดอยู่รักษาอาณาเขตต์อำเภอโขง แล้วพระครูโพนเสม็ดก็ขึ้นมาศีร์ษะเกาะไชย เห็นว่าถ้าตั้งอยู่ที่นี้คงจะมีไชยแต่เกาะน้อยไม่พอจะเป็นเมืองได้ จึงให้เรียกว่าเกาะไชยมาจนบัดนี้แล้วพระครูโพนเสม็ดก็ขึ้นมาถึงเกาะแดงหยุดพักอยู่ แล้วให้ศิษย์ ๑๖ คนนุ่งขาวห่มขาวรับศีลแล้วให้ไปเที่ยวนอนเอานิมิตต์ ณ กลางเกาะแห่งหนึ่ง ศีร์ษะเกาะแห่งหนึ่ง ผ้าขาว ๑๖ คนมาถึงตำบลกลางเกาะหยุดนอนแล้วพร้อมกันอธิษฐานเสร็จแล้ว เทพยเจ้าก็ลงมานิมิตต์ว่าตำบลนี้จะเป็นศรีนคร แต่จะมีปรปักษ์มาเบียดเบียฬในศาสนา ครั้นได้นิมิตต์แล้วผ้าขาว ๑๖ คนก็ขึ้นไปนอนศีร์ษะเกาะพร้อมกัน
๑๑ ตั้งสัตยาธิษฐานเสร็จแล้ว เทพยเจ้าลงมาให้นิมิตต์ว่าเห็นปุถุชนทั้งปวงมีใจกล้าหาญหยาบช้าก่อการวิวาทเป็นปรปักษ์แก่กันอยู่ ผ้าขาว ๑๖ คนได้นิมิตต์ ๒ ตำบลแล้ว ก็เข้าไปแจ้งความแก่พระครูโพนเสม็ด ๆ เห็นว่าตำบลนี้กษัตริย์องค์ใดมาครอบครองสมบัติในนครอันนี้ สองพี่น้องก็จะไม่ถูกต้องปรองดองกัน ประชาราษฎรก็จะเป็นปรปักษ์ฉกลักเบียดเบียฬซึ่งกันและกัน ฝ่ายข้างเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี นางเภาชราแล้วก็ถึงแก่ กรรม นางแพงผู้บุตรกับท้าวพระยาก็กระทำการฌาปนกิจเสร็จแล้ว นางแพงผู้บุตรกับพระยาคำยาตร พระยาสองฮาดจึงว่าราชการบ้านเมืองต่อมา ครั้นได้ทราบกิติศัพท์ว่าพระครูโพนเสม็ดมาพักอยู่ที่เกาะแดงมีคนนับถือเป็นอันมาก นางแพงก็มีจิตต์เลื่อมใสจึงปรึกษาด้วยท้าวพระยาผู้ใหญ่ผู้น้อยว่า เราจะอาราธนาพระครูโพนเสม็ดมา จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้จิรฐิติถาวรไปภายหน้า ท้าวพระยาทั้งปวงก็เห็นชอบด้วย นางแพงจึงให้พระยาคำยาตร พระยาสองฮาดไปอาราธนาพระครูโพนเสม็ด ๆ จึงพาญาติโยมสานุศิษย์ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งตะวันตกตั้งพักอยู่ที่ห้วยสระหัว นางแพงก็ปลูกกุฎีเสนาสนะถวายพระครูโพนเสม็ดให้จำพรรษาอยู่ ณ วัดห้วยสระหัว คนทั้งหลายก็เรียกว่าวัดหลวง แล้วนางแพงกับท้าวพระยาทั้งปวงจึงมอบพุทธจักรอาณา-จักร ให้พระครูโพนเสม็ดทำนุบำรุงสมณพราหมณาจารย์ท้าวพระยาอาณาประชาราษฎรในเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี ในศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลูเอกศก แล้วพระครูโพนเสม็ดจึงชัก
๑๒ ชวนชาวเมืองหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์หนึ่ง หน้าตักสิบเก้านิ้วสำเร็จบริบูรณ์ ก็อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรประดิษฐานไว้ที่พระวิหารวัดบางซ้ายอยู่มาจนเท่าทุกวันนี้ ครั้นนานมาประชาชนทั้งหลายก็เกิดเป็นโจรผู้ร้ายฉกลักเครื่องอัญญมณีของสมณะและทรัพย์สิ่งของอาณาประชาราษฎรทั้งปวง แล้วก็เกิดฆ่าฟันกันขึ้นหลายแห่งหลายตำบล พระครูโพนเสม็ดจะชำระว่ากล่าวตามอาญาก็กลัวจะผิดด้วยวินัยสิกขา-บท ครั้นจะนิ่งเสียไม่ปราบปรามให้ราบคาบ สมณพราหมณาจารย์ราษฎรก็จะได้ความเดือดร้อนยิ่งขึ้นไป พระครูโพนเสม็ดจึงเห็นว่าเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งเป็นโอรสพระเจ้าเวียงจันทน์ จะปกครองประชาราษฎรต่อไปได้ พระครูโพนเสม็ดจึงให้จารียแก้วจารียเสียงช้างกับท้าวเพี้ยไพร่พลไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งตั้งอยู่บ้านงิ้วพันลำ-โลมสนุกลงมาเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี ในศักราช ๑๐๗๕ ปีมะเส็งเบ็ญจศก แต่มารดาของเจ้าหน่อกษัตริย์นั้นถึงแก่กรรมเสียก่อนแล้ว แล้วพระครูโพนเสม็ดให้ตั้งโรงราชพิธีที่จะได้ราชาภิเษกเสร็จแล้ว ครั้นได้วันอันเป็นมหาพิชัยฤกษ์ พระครูโพนเสม็ด ก็อัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์เข้าสรงมุรธาสนานราชาภิเษกเสร็จแล้ว สมณพราหมณาจารย์ท้าวพระยาทั้งปวงถวายพระนามว่าเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเป็นเจ้าเอกราชครองราชสมบัติตามโบราณ ราชประเพณีกษัตริย์ในมาลาประเทศ แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรจึงให้ทำระเนียดเสาไม้แก่นสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลริมฝั่งศรีสุมังแล้ว เปลี่ยนนามเมืองใหม่ให้เรียกว่านครจำปาบาศักดิ์นาคบุรีศรี และ
๑๓ นางแพงบุตรนางเภานั้น เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรก็รับเข้าไปไว้ในวังเลี้ยงดูทำนุบำรุงเคารพเป็นอันดี แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรก็จัดแจงราชการบ้านเมืองตั้งเจ้านายและแสนท้าวพระยา พระยาเมืองแสนเป็นเสนาบดีฝ่ายขวา พระยาเมืองขวาปลัด พระยาเชียงเหนือ พระยาเมืองฮาม นามฮุงศรี สองเมืองสมุหบัญชี สุวอกรมหนึ่ง พระยาเมืองจันเป็นเสนาบดีฝ่ายซ้าย พระยาเมืองซ้ายปลัด พระยาเชียงใต้ศักขาเมืองปาก หมื่นวิสัยสมุหบัญชี พันหนองกรมหนึ่ง พระยาเสระโยธากรมนครบาล พระยาคำมูลปลัด พระยาเวียงคำเมืองคุก กรมเมืองสมุหบัญชี พระโยหะ อินทกุมพันขันธฤาไชย หารเพ็ชรลักไชยบาลกรมหนึ่ง พระยาวิไชยมนเทียรกรมวัง พระยาพะชุมปลัด พุทธวงษ์พลลักขวาอัคชา มหาวงษ์ หมื่นวงษ์ไชยกรมหนึ่ง พระยารามโฆษาพระคลัง ราชโกฏิสิหาคลัง แสนยศ ศรีสุทธสมุหบัญชีกรมหนึ่ง กรม นาพระยาจิตตะเสนา พระยาหมื่นเยียปลัด พันนา พระทิพสาลี ทิพ-มุนตรีกรมหนึ่ง กรมสัสดีพระยาเมืองกลาง พระยาโยธา ราชานนพัฒมานศรีสุนนท สุขนันทา แสนจัน ศรีสมุดกรมหนึ่ง นายเวรสาลาพันโนฤทธิ พันโนลาษ ศรีสุธรรม ชาบูฮม กรมหนึ่ง พนักงานรับแขก แขกขวา แขกซ้าย กรมหนึ่ง กรมไพร่หลวง พระละครมหาโฆษ พลลักซ้าย นามราชา หมื่นเสมอใจ กางสงคราม ศรี- ทิพเนตรกรมหนึ่ง ผู้จำหน่ายของหลวง ศรีสมบัติ หอมสมบัติ เพี้ยจ่าย จันทพานิช ยศสมบัติ กรมหนึ่ง กรมช่างทองสุวรรณจักคำ สุวรรณวิจิตร สุวรรณปัญญา หลวงสุวรรณ กรมหนึ่ง หกเหล่า
๑๔ พระยาสุโพ พระยาพลเชียงสา เวียงแก อุปราชา เมืองซอง มหา-สงคราม กรมหนึ่ง สี่ท้าวช้าง นาใต้นาเหนือ หมื่นนาเมืองแพน กรมหนึ่ง กรมแสง สินระแสง พรมเทพ พันลูกท้าว กรมหนึ่ง ช่างเหล็ก แสนนามเกียน แสนแก้ว หมื่นอาวุธ พนทะนี กรมหนึ่ง นายมหาดเล็ก นักภูมินทร คำชุมภู ขันขวา ขันซ้าย กรมหนึ่ง นายเวรมหาดเล็ก คำพีทูล แก้วพิทูล แก้วมาลา แก้วกินนรี ลาดปาอิน อินทสริยา กวอินตา อินทวีไชย แก้วดวงดี นามลคร พทักภูบาล สีหาจักร กรมหนึ่ง ตำรวจ พลเดชซาภักดี ซาหลาบคำ วงษภูธร กรมหนึ่ง นายประตู แสนแกว่ง แสนวัง แสนคุ้ม เพี้ยสูน มหาวังกรมหนึ่ง พ่อมโรง มหาโนชิต มหามุนตรี ซาโนชิต ซามาต ซาเนตร ซากำนัน ซาทิพฮต ซามุนตรี อุทธามุนตรี แสนไชย กรมหนึ่ง เถ้าแก่ ซาบรรทม ซามะรัต คำเพียงตา ราชอาส กรมหนึ่ง กรมโหรสีมังคละ สิทธิมงคล สีกาชะโยก โสระบัณฑิต โลกวิวร ไลยณุโยก กรมหนึ่ง เป็นตำแหน่งไว้ครบทุกตำแหน่ง ตามอย่างเมืองเวียงจันทน์ แล้วจัดการทำเนียบเมืองตามโบราณราชประเพณีสืบมาแต่ก่อน แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร จึงสร้างอารามขึ้นใหม่อารามหนึ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงอาราธนาพระครูโพนเสม็ดกับพระสงฆ์อันดับมาอยู่ที่อารามใหม่นั้น จึงเรียกว่าวัดหลวงใหม่ และวัดที่พระครูโพนเสม็ดอยู่เดิมนั้น เรียกว่าวัดหลวงเก่ามาจนทุกวันนี้ ครั้น ณ วันสงกรานต์วันเถลิงศก เจ้านายและแสนท้าวพระยาครบตำแหน่งและเจ้าเมืองกรรมการเมืองขึ้น และท้าวฝ่ายในจัด ๑๕ บายศรีสองสำรับซ้ายขวา เจ้านายแสนท้าวพระยาข้าราชการใหญ่น้อยทุกตำแหน่งมีข้าวตอกดอกไม้เทียนใหญ่คู่หนึ่งพร้อมกันณหอราชสิงห์หาร กราบถวายบังคมแล้ว พราหมณ์จึงถวายพรแก่เจ้าสร้อยศรีสมุทพุท ธางกูร ครั้นเวลาบ่ายโมงหนึ่ง จึงพร้อมกันเข้าไปสู่พระอุโบสถพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทำน้ำพระราชพิธี เจ้าท้าวพระยาทั้งปวงก็กระทำสัตยานุสัตย์ รับพระราชทานน้ำพิพัฒน์ ครั้นรุ่งขึ้นนางเภาเถ้าแก่หม่อมนางข้างใน และภรรยาเจ้านายพระยาแสนท้าวครบตำแหน่ง พร้อมกันณหอราชสิงห์หารรับน้ำพระราชพิธี ครั้นถึงณวันเดือนสิบเอ็ดแรมค่ำหนึ่งเป็นวันปวารณาทำบุญให้ทาน วันแรมสองค่ำแต่งเครื่องกระยาบูชาเทพยดา วันแรมสี่ค่ำแต่งการบวงสรวงแข่งเรือ ให้พวกข่าสูลงเรือลำหนึ่งเรียกว่าเรือมเหศักดิ์ ตีฆ้องใหญ่น้อยสามฆ้อง สวมเสื้อแดงหมวกแดงแต่งเป็นคนรำ ๔ คนพายเรือขึ้นล่องกำกับเรือทั้งปวง เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเสด็จออกหอไชยดูแข่งเรือทุก ๆ วัน ถ้วนคำรบสามวัน รุ่งขึ้นพอเวลาตีสิบเอ็ดยิงปืนใหญ่สามนัด พวกคนทรงทอดทุ่นเหนือน้ำใต้น้ำแล้ว แล้วเอาเนื้อกระบือเขา มาประชุมที่ท่าหอแต่งพล่ายำทำเครื่องบวงสรวงเสื้อเมืองทรงเมืองเสร็จแล้วก็แจกจ่ายแก่เจ้านายแสนเท้าพระยาข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยแล้วก็แข่งเรือกันไปถึงเวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เจ้านายท้าวพระยาที่รับเลี้ยงสีพาย เรือลำใดก็จัดเทียนใส่ขันเงินผ้าแดงปกปากขันนุ่งขาวห่มขาวนั่งมาบนศีร์ษะเรือ พายลงมาถึงหน้าหอไชยแล้วจอดเรือขึ้นถวายเทียนแก่เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรทุกลำ แล้วก็แจกหมาย
๑๖ คาดคู่เรือบ้านนั้นกับบ้านนั้นลำดับกันไปตามเรือมากและน้อยเป็นคู่ๆ กันพอเวลาบ่าย ๕ โมงเศษ เรือมเหศักดิ์พวกข่าลงมาก่อน เรือแข่งคู่หนึ่งคู่สองคู่สามก็แข่งเป็นคู่ ๆ ลงมา ถึงเรือทอดทุ่นแล้วพอเวลาย่ำค่ำยิงปืนใหญ่นัดหนึ่งพวกสีพายเรือก็ตั้งโห่ร้องแข่งเรือเสมอหน้ากันลง มา เรือมเหศักดิ์พวกข่าก็จุดเทียนที่ศีร์ษะเรือพายตามหลังเรือทั้งปวงลงมาถึงเพียงท่าหอไชยยิงปืนใหญ่อีกนัดหนึ่ง ก็จุดดอกไม้ไฟพะเนียงบูชาเทพารักษ์ ครั้นเรือไปถึงทุ่นใต้น้ำก็ยิงปืนใหญ่อีกนัดหนึ่ง ครบสามวันแล้วก็เลิกการพิธีแข่งเรือ จนเป็นธรรมเนียมมาจนเท่าบัดนี้ เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรให้ทำเงินเป็นน้ำหนัก ๔ หุนตอกตรารูปหงส์เรียกว่าเงินสิงห์ แล้วหล่อทองเหลืองเหมือนรูปกระสวยยาวประมาณ ๕ นิ้วเศษ ๖ นิ้วข้างหลังกลม ข้างท้องเป็นร่องเหมือนตัวชันลุกะเรียกว่าลาดให้ใช้ต่างเบี้ย แต่ลาดนั้นยังใช้ต่อมาจนเท่าทุกวันนี้ เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรมีราชบุตรด้วยนางมเหสีขวาชื่อเจ้าไชยกุมาร ๑ มีบุตรกับมเหสีซ้าย ๒ องค์ ๆ หนึ่งชื่อเจ้าธรรมเทโว องค์หนึ่งชื่อเจ้าสุริโย ฝ่ายนางแพงครั้นชราลงก็ถึงแก่กรรม เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรกับพระยาลาวท้าวแสน ก็กระทำการฌาปณกิจตามสมควร แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรจึงปรึกษา เจ้านายแสนท้าวพระยาเสนาพฤฒามาตย์ข้าราชการว่า ครั้งพระครูโพนเสม็ดลงไปกรุงกำพุชาธิบดี เจ้ากรุงกำพุชาธิบดีคิดก่อการวิวาทกับฝ่ายลาว พระยาพระเขมรยกทัพมาขับไล่พระครูโพนเสม็ดกับญาติโยมพา กันหนีมานาน ต่อไปภายหน้าเกลือกพระเจ้ากำพูชาธิบดีจะยกมาคิด
๑๗ การสงครามสืบต่อไป จำเราจะแต่งเครื่องมงคลราชบรรณาการไปอ่อนน้อมขอเป็นทางสัมพันธมิตรสืบโบราณราชประเพณี จะเห็นเป็นประการใด แสนท้าวพระยาข้าราชการใหญ่น้อยก็พร้อมกันเห็นชอบด้วยจึงแต่งราชสาส์นเครื่องมงคลราชบรรณาการให้ทูตานุทูตจำทูลพระราชสาส์นเจริญทางพระราชไมตรี ไปขอพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงกำพูชาธิบดี ๆ ทราบในราชสาส์นแล้ว จึงแต่งพระยาพระเขมรและบ่าวไพร่ ให้ท้าวพระยานำราชธิดากับเครื่องมงคลราชบรรณาการตอบแทนมาให้กับเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรตามราชประเพณี เจ้ากรุงกำพุชาธิบดียกให้ บ่าวไพร่ชายหญิงมาอยู่กับพระราชธิดาเป็นอันมาก ธิดาเจ้ากรุงกำพูชาธิบดี มาอยู่ได้สามเดือนก็มีครรภ์ แต่หาทราบว่านางมีครรภ์ไม่ แล้วนางก็ลาเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรลงไปเยี่ยมเยือนพระราชบิดา เจ้าสร้อยศรี สมุทพุทธางกูร จึงแต่งท้าวพระยาพานางลงไปเยี่ยมเยือนพระราชบิดา ณกรุงกำพุชาธิบดี ครั้นครรภ์นางแก่ขึ้น พระเจ้ากรุงกำพุชาธิบดีก็ส่งพระราชธิดาคืนมา เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรมีความสงสัย จึงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่าถ้าเป็นบุตรแล้วคลอดออกมาขอให้เสียอวัยวะแห่งหนึ่ง ถ้ามิใช่บุตรขอให้กุมารนั้นบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอวัยวะสามสิบสองประการ ครั้นนางคลอดกุมารออกมาเสียเนตรข้าง ๑ เป็นสำคัญ ครั้นพระราชกุมารใหญ่ขึ้นมาให้นามว่าเจ้าโพธิสาร แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร จึงจัดตั้งบ้านอำเภอโขง ขึ้นเป็นเมืองโขง ให้จารียฮวดเป็นเจ้าเมืองรักษาอาณาเขตต์ที่ตำบลนั้น ให้จารียเสียงช้างขึ้นไปเป็นเจ้าเมืองศรีครอเตา ให้จารียแก้วเป็นเจ้าเมืองท่งรักษาเขตต์
๑๘ แดนฝ่ายเหนือ ตั้งแต่ยางสามต้นอ้นสามข้อยหลักทอดยอดยางตะวันออกเขาประทัดต่อแดนกับญวณ ตะวันตกลำน้ำกระยุงเป็นแดนแล้วก็ยกให้นายมั่นข้าหลวงเดิมเป็นคนใช้สอยสนิท ไปเป็นหลวงเอกรักษาอำเภอบ้านโพนเรียกว่าเมืองมั่น ให้นายพรมไปเป็นซาบุตตโคตรักษาอำเภอบ้านแก้งอาเฮิม มีพระเจดีย์อยู่ในตำบลนั้นองค์หนึ่งเรียกว่าธาตุกระเดาทึก จึงให้เป็นเมืองคำทองหลวง ให้จารียโสมไปเป็นใหญ่รักษาอำเภอบ้านอิดกระบือ แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรจึงมีราชสาส์นให้ท้าวพระยาถือไปยังกรุงกำพุชาธิบดี ขอยืมฉะบับพระไตรปิฎก พระเจ้ากำพุชาธิบดีก็ให้พระราชาคณะสงฆ์ผู้ใหญ่จัดพระไตร ปิฎกให้แก่ท้าวพระยาคุมขึ้นไปเมืองนครการจำปาศักดิ์เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรก็ให้จำลองออกแล้ว ให้พระเถรานุเถระที่รู้อรรถธรรมบอกแก่พระสงฆ์สามเณรให้เล่าเรียนศึกษาในคันธธุระวิปัสสนาธุระ ตั้งแต่นั้นมาเจ้านายท้าวพระยาสมณพราหมณาจารย์ประชาราษฎรก็อยู่ เย็นเป็นสุข ลุจุลศักราช ๑๐๘๒ ปีชวดโทศก พระครูโพนเสม็ดก็อาพาธลง ครั้นอาการมากแล้วพระครูโพนเสม็ดเห็นว่าจะไม่รอดจึงสั่งไว้ว่า ถ้าถึงแก่มรณภาพแล้วให้เอาอัฏฐิไปบรรจุไว้ที่ธาตุพนม ครั้นถึง ณ วันพุธขึ้นห้าค่ำเดือนเจ็ด พระครูโพนเสม็ดก็ถึงแก่มรณภาพอายุได้ ๙๐ ปี เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรจึงสั่งให้พระยาลาวท้าวแสน ให้ทำเมรุเสร็จแล้วก็ชักศพพระครูโพนเสม็ดเข้าสู่เมรุ แต่งตั้งการทำบุญให้ทานมีการเล่นต่าง ๆ ได้เดือนหนึ่ง แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุท
๑๙ พุทธางกูรกับแสนท้าวพระยา พร้อมกันก็จุดเพลิงเผาศพพระครูโพนเสม็ดเสร็จแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรจึงให้สร้างพระอารามขึ้นในที่ตำบลเผาศพพระครูโพนเสม็ดอารามหนึ่ง และก่อพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งพระเจดีย์เล็กสามองค์บรรจุอังคารพระครูโพนเสม็ดไว้ในพระอารามนั้น จึงได้เรียกว่าวัดธาตุมาจนบัดนี้ แต่อัฏฐินั้นเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรให้ท้าวพระยาคุมขึ้นไปให้บรรจุไว้ที่ธาตุพนมตามคำ พระครูโพนเสม็ดสั่งไว้ แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร จึงปรึกษาพร้อมด้วยเจ้านายพระยาลาวท้าวแสนว่า จะให้เจ้าโพธิสารราชบุตรที่มารดามาแต่ฝ่ายเขมรออกตั้งรักษาประชาราษฎรฝ่ายเขมร จึงได้มีพระราช-สาส์นไปยังเจ้ากรุงกำพุชาธิบดีผู้ตาเจ้าโพธิสาร ๆ ได้ทราบในพระราช-สาส์นแล้ว ก็ให้พระยาพระเขมรผู้ใหญ่มาพร้อมกันจัดการตั้งให้เจ้าโพธิสารเป็นเจ้าเมืองศรีจำบังอยู่ ลำน้ำเซลำเภาแล้วพระยาพระเขมรจึงปันเขตต์แดนฝ่ายใต้ให้เป็นเขตต์แดนเมืองนครจำปาศักดิ์ น้ำโขงฝั่งตะวันจดตั้งแต่ปากคลองน้ำจะหลีกไปตามปลายคลองถึงลำน้ำเสน ฟากฝั่งเสนเป็นเขตต์แดนเมืองสะโทงกำปงสวาย ฝั่งน้ำโขงตะวันออกบุงขาถึงลำน้ำปากคลองสบา ครั้นลุศักราช ๑๐๙๘ ปีมะโรงอัฏฐศก นายพรานนำข่าวสารมาแจ้งต่อท้าวพระยาเสนาบดีว่า พรานทึงพรานเทืองข่าบ้านส้มป่อยนายอนได้พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกมาองค์หนึ่ง พวกข่าหารู้จักว่าเป็นพระปฏิมากรไม่ ว่าเป็นรูปเจว็ดเอาเซ่นบวงสรวง ถ้าจะไปเที่ยวยิงสัตว์ก็เซ่นบอก ครั้นได้สัตว์มาแล้วก็เอาโลหิตสัตว์นั้นมาทาที่
๒๐ พระโอษฐ์พระ ถ้าจะตากเข้าและของก็เอาพระปฏิมากรมาตั้งไว้ให้เฝ้า ไก่กาก็หาทำอันตรายแก่ของที่ตากไม่ แต่พระกรรณนั้นข่าเมื่อได้พระเอาหน้าไม้คอนมาพระกรรณกระทบหน้าไม้บิ่นข้างหนึ่ง ท้าวพระยาเสนาบดีจึงนำข้อความขึ้นกราบทูลเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ๆ ทราบ แล้วก็มีปีติโสมนัส จึงแต่งท้าวพระยาผู้ใหญ่คุมไพร่พลขึ้นไปอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกลงมาณเมืองนครจำปาบาศักดิ์ ท้าวพระยา คุมไพร่พลขึ้นไปถึงบ้านส้มป่อยนายอนแล้ว ก็อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกแห่ลงมา พวกข่าบ้านส้มป่อยนายอนก็พากันตามลงมาส่งพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก จนถึงปากคลองบางเลียง ท้าวพระยาผู้ไปอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกนั้น ก็ให้พวกข่าบ้านส้มป่อยนายอนกลับคืนไปตามภูมิลำเนาเดิม แล้วก็อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกลงเรือ พอจะออกเรือลงมานครจำปาบาศักดิ์เกิดมหัศจรรย์คลื่นลมพายุก็หามีไม่ เผอิญให้เรือที่ทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกเอียงลง พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกก็จมน้ำหายไป ท้าวพระยาจึงให้ไพร่พลลงดำน้ำค้นคว้าหาถึงสองวันสามวันก็หาได้ไม่ จึงได้นำข้อความไปกราบทูลเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ๆ ได้ทรงทราบแล้วก็มีความเสียดายเสียพระทัยเป็นอันมาก แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุทพุท-ธางกูรจึงให้ตั้งพิธีบวงสรวงเทพารักษ์เสร็จแล้ว ตั้งสัตยาธิษฐานว่าบุญบารมีเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรจะมีบุญญาภิสมภารแล้วขอให้ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกองค์นี้ ครั้นเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว ในวันนั้นเวลาค่ำเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร
๒๑ เข้าที่บรรทมบังเกิดสุบินนิมิตต์เป็นเทพสังหรณ์ว่า ให้เอาพวกข่าบ้านส้มป่อยนายอนที่ตามมาส่งพระปฏิมากรแก้วผลึก มาดำน้ำค้นหาจึงจะได้แต่พระพุทธปฏิมากรแกล้วผลึกองค์นี้อยู่ที่บ้านใด เมืองใด เมืองนั้นก็จะ บริบูรณ์หาอันตรายมิได้ เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรตื่นบรรทมแล้วก็มีปิติโสมนัส จึงสั่งให้แสนท้าวพระยาขึ้นไปหาตัวพวกข่าส้มป่อยนายอน ที่ตามมาส่งพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกแต่ก่อนนั้น ทั้งหญิงทั้งชายลงมาแล้วให้พวกข่าลงดำน้ำค้นหาพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก พรานทึงนายข่าจึงดำได้พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกขึ้นมา เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร จึงให้ช่างทำฐานและเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก เสร็จแล้ว แห่เข้าสู่โรงสมโภชมีการเล่นต่าง ๆ ครบ ๗ วัน ๗ คืนแล้วให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึ ประดิษฐานไว้ในหอพระที่วังเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเป็นที่สักการบูชา พวกข่าที่ตามลงมาส่งพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกนั้น ก็ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านขามเนิ่งจึงเรียกว่าข่าข้าพระแก้วมาจนบัดนี้ แต่พรานทึงนั้นตั้งให้เป็นนายกองพิทักษ์รักษาข่าบ้านส้มป่อย นายอนที่ยังเหลืออยู่ให้เป็นส่วยขี้ผึ้งผ้าขาว ถวายพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกตั้งแต่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกมาไว้ในบ้านเมือง สมณ พราหมณาจารย์เจ้านายพระยาท้าวแสนก็อยู่เย็นเป็นสุข ลุศักราช ๑๐๙๙ ปีมะเส็งนพศก เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรประชวรโรคชรา จึงให้หาตัวเจ้านายท้าวพระยามาพร้อมกัน มอบราชสมบัติบ้านเมืองให้แก่เจ้าไชยกุมารผู้บุตร แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุท
๒๒ พุทธางกูรก็ถึงแก่สวรรคต เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรครองราชสมบัติได้ ๒๕ ปี แต่ชนมายุเท่าใดมิได้ปรากฎ เสนาบดีทั้งปวงจึงอัญเชิญเจ้าไชยกุมารขึ้นครองราชสมบัติในเมืองนครจำปาบาศักดิ์ ถวายพระนามว่าพระเจ้าองค์หลวง ๆ จึงตั้งเจ้าธรรมเทโวอนุชาเป็นมหาอุป-ราช ตั้งเจ้าสุริโยเป็นราชวงศ์ แล้วพระเจ้าองค์หลวงทำเงินพดด้วงตอกตรา ๆ ดวงหนึ่งเป็นเม็ด ๆ เจ็ดเม็ด ตราดวงหนึ่งเรียกว่าตรา ดอกรักน้ำหนัก ๓ สลึงเฟื้องลาวเรียกว่าเงินเป้งแปด หาเรียกว่าเงินบาทไม่ แต่ทุกวันนี้เรียกว่าเงินบาทลาวเงินเนื้อต่ำ พระองค์เจ้าหลวงจึงสั่งให้ท้าวพระยาเกณฑ์ไพร่ทำเมรุขึ้นที่ข้างวัง ครั้นการทำเมรุเสร็จแล้วจึงได้ชักศพเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเข้าสู่เมรุทำบุญให้ทานพระเจ้า องค์หลวงแลเจ้านายท้าวพระยาก็เผาศพเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเสร็จแล้ว พระเจ้าองค์หลวงจึงให้เกณฑ์ไพร่พลก่อพระเจดีย์ขึ้นที่ตำบลทำเมรุ บรรจุอัฏฐิเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรไว้ในที่พระเจดีย์นั้นยังปรากฏมาจนทุกวันนี้ ครั้นลุศักราช ๑๑๐๐ ปีมะเมียสัมฤทธิศก พระเจ้าองค์หลวงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์หนึ่ง หน้าตักศอก ๘ นิ้ว ครั้นสร้างสำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดศรีสมังจนทุกวันนี้ อยู่นานมาชาวบ้านราษฎรพากันไปเที่ยวซุ่มซ่อมช้อนปลาในลำห้วย แล้วไปพบพระพุทธไสยาสน์องค์หนึ่งเป็นศิลา แต่ผู้ที่ไปพบหาทราบว่าเป็นพระพุทธปฏิมากรไสยาสน์ไม่ด้วยจมอยู่ในลำห้วย เห็นแต่พระกรสูงขึ้นมาพ้นน้ำ ราษฎรชาวบ้านจึงได้เอา
๒๓ มีดไปลับที่พระกรพระนั้นเนือง ๆ มา วันหนึ่งมีคนไปลับมีดที่พระกรพระแล้ว เป็นด้วยอำนาจเทพยดาให้พระร้องปรากฏขึ้น คนที่ลับมีดก็ตกใจแล้วไปบอกแก่ชาวบ้านทั้งปวง ราษฎรชาวบ้านพากันไปขุดค้นดูจึงเห็นองค์พระพุทธไสยาสน์
ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ฉะบับ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม) เรียบเรียง
เมืองนครจำปาศักดิ์นี้ พงศาวดารมณฑลอีสานว่า พระครูโพนเสม็ดได้ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๒๕๑ ปีมะเส็งเบ็ญจศกจุล-ศักราช ๑๐๗๕ ต่อนั้นมาจนถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๒๖ นี้ได้ ๑๙๔ ปี มีเรื่องราวดังนี้ เมื่อก่อนจุลศักราช ๑๐๐๐ ปี เมืองนครจำปาศักดิ์นี้ยังเป็นทำเลป่าดง แต่มีชาวบ้านเรียกว่าข่า, ส่วย, กวย, อยู่สืบเชื้อสายต่อมา ภายหลังลาวชาวเมืองเหนือ (มีเมืองศรีสัตนาคนหุตเป็นต้น) พากันมาตั้งนิวาสถานอยู่มากขึ้น แล้วพร้อมกันยกหัวหน้าแห่งตนขึ้นเป็นผู้ปกครองสืบตระกูลต่อมา จนถึงผู้ครองเมืองคนหนึ่งได้สร้างเมืองขึ้นที่ริมแม่น้ำโขงฝั่งตะวันตก คือตำบลที่เรียกว่าบ้านกระตึบเมืองกลางเดี๋ยวนี้ ขนานนามเมืองว่า พระนครกาลจำบากนาคบุรี ครั้นพิราลัยแล้วเจ้าสุทัศนราชาผู้บุตรได้ครองเมืองต่อมาจนถึง จุลศักราช ๑๐๐๐ ปี พิราลัยไม่มีบุตร ประชุมชนจึงยกผู้มีตระกูลผู้หนึ่งนามไม่ปรากฏ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการบ้านเมืองได้ ๖ ปี ก็ถึงแก่กรรม นางแพงบุตรนางเภาหลานได้เป็นหัวหน้าอำนวยการบ้านเมืองต่อมา จุลศักราช๑๐๐๕(ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่๕ พระ เจ้าปราสาททอง) มีภิกษุรูปหนึ่งอยู่วัดโพนเสม็ดแขวงเมืองศรีสัตนา-
๒๕ คนหุต ชาวเมืองเรียกว่าพระครูโพนเสม็ด ๆ มีญาติโยมสานุศิษย์มาก ครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๐๕๑ (ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระมหาบุรุษพระเพทราชา) ผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตพิราลัย มีบุตรชายชื่อเจ้าองค์หล่ออายุ ๓ ปี และมารดายังมีครรภ์อยู่ พระยาเมืองแสนจึงชิงสมบัติขึ้นครองเมือง และมีความปรารถนาจะใคร่ได้มารดาเจ้าองค์หล่อเป็นภรรยา นางไม่ยินดีพาบุตรหนีไปอยู่กับพระครูโพนเสม็ด ๆ จึงให้ไปอยู่ที่ตำบลภูฉะง้อหอคำ ครั้นนางคลอดบุตรเป็นชาย คนทั้งหลายเรียกว่าเจ้าหน่อกษัตริย์ ฝ่ายเจ้าองค์หล่อผู้เป็นเชษฐา ครั้นเจริญวัยขึ้นคิดคุมโทษโกรธแค้นพระยาเมืองแสน จึงพาบ่าวไพร่หนีไปตั้งเกลี้ยกล่อมส้องสุมผู้คนอยู่ณเมืองญวน ส่วนพระยาเมืองแสนคิดจะกำจัดพระครูโพนเสม็ด ด้วยเห็นว่าเป็นผู้มีกำลังวังชามากเกรงจะเป็นศัตรูต่อบ้านเมือง พระครูโพนเสม็ดรู้ตัวจึงพาเจ้าหน่อกษัตริย์กับมารดาพร้อมทั้งญาติโยมพรรคพวกประมาณ ๓๐๐๐ เศษ อพยพออกจากเมืองศรีสัตนาคนหุตไปถึงตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก จึงให้เจ้าหน่อกษัตริย์กับมารดาและสานุศิษย์ตั้งเคหะสถานอยู่ที่นั้นบ้าง เหลือนั้นพระครูโพนเสม็ดก็พาต่อไปถึงตำบลใด ก็มีผู้นิยมยินดีนับถือและติดตามไปด้วยเป็นอันมาก จนไปถึงเขตต์แขวงเมืองบันทายเพ็ชร คิดว่าจะตั้งพักอยู่ณแขวงเมืองบันทายเพ็ชร ๆ ตรวจสำมะโนครัวและจะเก็บเงินครัวละ ๘ บาท พระครูเสม็ดเห็นว่ายังไม่มีผลประโยชน์และจะเป็นความเดือดร้อนแก่พวกญาติโยม จึงได้พากันย้อนกลับมาทางลำแม่น้ำโขง ถึงนครกาลจำบากนาคบุรีศรีก็หยุดตั้งพักอาศัยอยู่ แต่
๒๖ พวกศิษย์ซึ่งเป็นลาวและเขมรก็พากันแยกไปตั้งนิวาสถานอยู่ณที่ต่าง ๆ คละปะปนกันอยู่กับพวกข่า, กวย, ตามภูมิลำเนาอันสมควร ฝ่ายนางแพงนางเภา ตั้งแต่พระครูโพนเสม็ดมาอยู่ในเมืองแล้ว ก็มีความนิยมนับถือ จึงพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาลาวอาราธนาให้พระครูโพนเสม็ดบัญชาการบ้านเมือง และสั่งสอนพระพุทธศาสนา ครั้นจุลศักราช ๑๐๗๑ (ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ ๙ ขุนหลวงท้ายสระ) ประชาชนชาวนครกาลจำบากนาคบุรีศรีเกิดวิวาทบาดหมางและคบพากันตั้งชุมนุมประพฤติเป็นโจรผู้ร้ายกำเริบทวีขึ้น จนราษฎรซึ่งตั้งอยู่ในความสุจริตพากันเดือดร้อน พระครูโพนเสม็ดได้ว่ากล่าวห้ามปรามโดยทางธรรม ก็หาเป็นการสงบเรียบร้อยสมประสงค์ไม่ ครั้นจะใช้อำนาจปราบปรามเอาตามอาญาจารีตก็เกรงว่าจะผิดวินัยสมณเพศ จึงดำริเห็นว่าเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งให้ตั้งอยู่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก มีความเจริญวัยประกอบด้วยเกียรติยศเกียรติคุณพอจะเป็นผู้ระงับปราบปรามและปกครองบ้านเมืองได้ จึงให้แสนท้าวพระยาลาวไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ กับมารดามายังนครกาลจำบากนาคบุรีศรี ครั้นจุลศักราช ๑๐๗๕ พระครูโพนเสม็ดพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาลาวจัดตั้งพิธียกเจ้าหน่อกษัตริย์ ขึ้นเป็นเจ้าสร้อยศรีสมุทพุท-ธางกูรครองนครกาลจำบากนาคบุรีศรี แล้วเปลี่ยนนามเมืองว่านครจำปาศักดิ์นาคบุรีศรี แล้วตำแหน่งเจ้านายแสนท้าวพระยาลาวเต็มตามตำแหน่งอย่างกรุงศรีสัตนาคตหุต (เวียงจันทน์) และตั้งอัตราเก็บเงิน
๒๗ ส่วยแก่ชายที่มีบุตรเขย ๑๐ เก็บแต่พ่อตา ๑ บุตรเขย ๑ ถ้ามี ๕ เก็บฉะเพาะพ่อตา ๑ กำหนดคนละ ๑ ลาด และข้าวเปลือกหนักคนละร้อยชั่ง (ข้าวเวลานั้นหนักร้อยชั่งต่อบาท ลาดนั้นทำด้วยทองแดงบ้างทองเหลืองบ้างทองขาวบ้าง รูปคล้ายเรือชะล่าแต่หัวแหลมท้ายแหลมขนาดยาว ๓, ๔, ๕ นิ้ว ใช้เป็นอัตราสิบหกอันต่อบาทของเงินพดด้วงลาว ที่เรียกว่าเงินเป้งแปดน้ำหนักสามสลึงเฟื้อง) แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ สร้างอารามขึ้นในเมืองวัดหนึ่ง ให้ชื่อว่าวัดหลวงใหม่ อา-ราธนาพระครูโพนเสม็ดกับพระสงฆ์อันดับ มาอยู่ณวัดหลวงใหม่นั้น (วัดนั้นยังปรากฏอยู่จนบัดนี้) เจ้าสร้อยศรีสมุทรมีบุตรชาย ๓ คน ชื่อเจ้าไชยกุมาร ๑ เจ้าธรรมเทโว ๑ เจ้าสุริโย ๑ และเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ มีศุภอักษรแต่งให้แสนท้าวพระยาลาว คุมบรรณาการไปขอธิดาเจ้าเขมรเมืองบันทายเพ็ชรมาเป็นชายา มีบุตรอีกคนหนึ่งชื่อเจ้าโพธิสาร แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ ให้จารหวดเป็นนายอำเภอรักษาบ้านดอนโขง ซึ่งเป็นเกาะอยู่ในลำแม่น้ำโขง (คือที่เรียกว่าเมืองศรีทันดรบัดนี้) ให้ท้าวสุดเป็นพระไชยเชษฐ์รักษาอำเภอบ้านหางโคปากน้ำเซ-กอง ซึ่งอยู่ฝั่งโขงตะวันออก (คือเมืองเชียงแตงเดี๋ยวนี้) ให้จารแก้วเป็นนายอำเภอรักษาบ้านทง (ภายหลังเรียกบ้านเมืองทงคือเมืองสุวรณภูมิบัดนี้) ให้จันสุริยวงศ์เป็นอำเภอรักษาบ้านโพนสิมเมืองตะโปนเมืองพินเมืองนอง ให้นายมั่นบ่าวเดิมของนางแพง เป็นหลวงเอกรักษาอำเภอบ้านโพน (ภายหลังเรียกว่าเมืองมั่นคือเมืองศาลวันเดี๋ยวนี้) ให้นายพรหมเป็นซาบุตตโคตรักษาอำเภอบ้านแก้วอาเฮิม
๒๘ ซึ่งมีเจดีย์อยู่ที่นั้นลาวเรียกว่าธาตุกำเดาทึก ภายหลังเรียกว่าเมืองคำทองหลวง (คือเมืองคำทองใหญ่บัดนี้) ให้จารโสมรักษาบ้านทุ่งอิดกระบือ (คือเมืองอัตปือบัดนี้) เป็นทำเลเมืองร้างมาก่อนเรียกว่าเมืองโศรก เมืองซุงคือซองและพะเนียดแต่ก่อนพวกเวียงจันทน์แซกคล้องและฝึกช้างเถื่อนที่นั้น ให้ท้าวหลวงบุตรพระละงุมเป็นขุนนักเฒ่ารักษาอำเภอโขงเจียม เขตต์แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้นมีว่าทิศเหนือตั้งแต่ยางสามต้นอันสามขวายหลักทอดยอดยาง ทิศตะวันออกถึงแนวภูเขาบรรทัดต่อแดนญวน ทิศใต้เวลานั้นยังไม่ปรากฏ ทิศตะวันตกต่อเขตต์แขวงเมืองพิมายฟากลำน้ำกระยุง จุลศักราช ๑๐๘๒ พระครูโพนเสม็ดอาพาธเป็นโรคชรา ถึงมรณภาพอายุ ๙๐ ปี เจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ ได้จัดการฌาปนกิจเสร็จแล้วสร้างพระเจดีย์ที่ตรงหอไว้ศพ ๓ องค์ กับสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ณที่ปลงศพองค์หนึ่งลาวเรียกว่าธาตุฝุ่น ภายหลังได้สร้างวิหารขึ้นณที่นั้น จึงได้ปรากฏนามว่าวัดธาตุฝุ่นมาจนบัดนี้ แล้วเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ ให้เจ้าโพธิสารบุตร ไปเป็นเจ้าเมืองควบคุมคนเขมรอยู่ณบ้านทุ่งบัวศรียกบ้านทุ่งบัวศรีเป็นเมืองศรีจำบัง คือตำบลที่ตั้งอยู่ฝั่งลำน้ำใต้เมืองเซลำเภาในปัตยุบันนี้ แล้วได้ตกลงกับเมืองเขมรปันเขตต์แดนเป็นเขตต์แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ ในทิศใต้ตั้งแต่ริมลำน้ำโขงฝั่งตะวันตกปาก-คลองน้ำจะหลีกไปตามปลายคลอง ถึงลำน้ำเสนต่อแดนเมืองสะทมกำพงสวาย ฝั่งน้ำโขงตะวันออกแต่บุ่งขลาไปถึงลำน้ำปากคลองสบา จุลศักราช ๑๐๘๖ พรานทึงพรานเทืองข่าบ้านส้มป่อยนายอน
๒๙ (คือที่เป็นเมืองสะพาดบัดนี้) ได้พระแก้วผลึกมา แต่เข้าใจว่าเป็นรูปมนุษย์จึงให้บุตรเล่น พระกรรณลิไปข้างหนึ่ง ครั้นความทราบถึงเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ จึงจัดให้แสนท้าวพระยาลาว ไปเชิญพระแก้วผลึกแห่มาประดิษฐานไว้ณเมืองนครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๐๘๗ เจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ ป่วย จึงให้เจ้าไชยกุมารผู้บุตรว่าการบ้านเมืองแทน แล้วออกจำศีลอยู่ จุลศักราช ๑๐๙๔ เจ้าองค์หล่อซึ่งหนีไปตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนอยู่ ณเมืองญวนนั้น ครั้นได้กำลังมากขึ้นก็ยกมาจับพระยาเมืองแสนฆ่าเสีย แล้วขึ้นครองเมืองศรีสัตนาคตหุตต่อไป จุลศักราช ๑๐๙๙ (ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระบรมราชธิราชที่ ๓ พระเจ้าหัวบรมโกศ) เจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ พิราลัย อายุได้ ๕๐ ปี เจ้าไชยกุมารบุตรได้ครองเมืองต่อไป เจ้าไชยกุมารได้ตั้งให้เจ้าธรรมเทโวผู้น้องเป็นเจ้าอุปราช และเปลี่ยนธรรมเนียมเก็บส่วยเป็นไหมหนักคนละ ๑ บาท แก่ชายฉกรรจ์ที่มีภรรยาแล้ว จุลศักราช ๑๑๒๐ (ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ กับที่ ๔ ต่อกัน) เจ้าไชยกุมารกับเจ้าอุปราชธรรมเทโววิวาทกัน เจ้าอุปราชคบคิดกับศรีธาตุบุตรจารหวดผู้รักษาอำเภอดอนโขงส้องสุมผู้คน ได้มาก แล้วยกมาเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าไชยกุมารมิได้คิดต่อสู้จึงหนีไปอยู่ดอนมดแดง ซึ่งตั้งอยู่ในลำน้ำมูนแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ (บัดนี้เป็นแขวงเมืองอุบล ฯ) เจ้าอุปราชจึงเข้ารักษาเมืองนครจำปาศักดิ์อยู่ ครั้นทราบว่าเจ้าไชยกุมารหนีไปตั้งอยู่ดอนมดแดงก็เกณฑ์กำลัง
๓๐ จะยกไปขับไล่เพื่อให้ไปเสียให้พ้นเขตต์แขวงเมืองจำปาศักดิ์ ฝ่ายมารดาจึงห้ามเจ้าอุปราชไว้และว่ากล่าวให้คืนดีกันกับเจ้าไชยกุมาร เจ้าอุปราชจึงแต่งให้แสนท้าวพระยาลาวไปอัญเชิญเจ้าไชยกุมารกลับมาครองเมืองนครจำปาศักดิ์ตามเดิม จุลศักราช ๑๑๒๑ (ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระบรมราชที่ ๓ พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ คือเจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เวลานั้นพระยาช้างเผือกแตกโรงออกจากกรุง ไปอยู่ในป่าดงทางตะวันตกเมืองนครจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้สองพี่น้อง (ผู้เรียบเรียงพงศาวดารเดิมนี้เข้าใจว่า คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี กับกรมราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสีหนาท แต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็นนายสุจินดา) กับพวกกรมช้างคุมไพร่พลเที่ยวติดตามพระยาช้าง เผือกไปทางแขวงเมืองพิมายแล้วเลยไปถึงดงทางฟากลำน้ำมูนข้างใต้ จึงได้ข่าวพระยาช้างเผือกจากพวกเขมรส่วยอยู่ป่าดงคือ ตากะจะ เชียงขัน ซึ่งตั้งอยู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนใหญ่ ตาคะบ้านดงยางหรือเรียกว่าโคกอัจประหนึ่ง เชียงปุ่มบ้านโคกเมืองพี่เชียงสี (หรือตาพ่อควาน) บ้านกุดหวาย (หรือบ้านเมืองเตาตามชื่อเชียงสีเมื่อเป็นหลวงศรีนครเตา) เป็นผู้นำสองพี่น้องติดตามพระยาช้างเผือกได้มา จุลศักราช ๑๑๒๙ เจ้าองค์หล่อผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตพิราลัยไม่มีบุตร แสนท้าวพระยาลาวและนายวอนายตาจึงพร้อมกันเชิญกุมารสองคน (นามไม่ปรากฏ) ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ผู้ครองเมืองศรีสัตนา
๓๑ คนหุตคนเก่า (ไม่ปรากฏว่าคนไหน) ซึ่งได้หนีไปอยู่กับนายวอนายตาเมื่อเจ้าองค์หล่อยกกำลังมาจับพระยาเมืองแสนฆ่าเสียนั้น ขึ้นครองเมืองศรีสัตนาคนหุตแล้วนายวอนายตาขอเป็นที่มหาอุปราช กุมารผู้เป็นเชษฐาเห็นว่านายวอนายตามิได้เป็นเชื้อเจ้า จึงตั้งให้นายวอนายตาเป็นแต่ตำแหน่งพระเสนาบดี และตั้งให้กุมารผู้น้องเป็นมหาอุปราช พระวอพระตามีความโทมนัสจึงพากันอพยพไปสร้างเวียงอยู่ที่บ้านหนองบัวลำภู ให้ชื่อว่าเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (บัดนี้เป็นเมือง กมุทาไสย) ผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุต ได้ห้ามไม่ให้พระวอพระตาตั้งเป็นเมือง ก็หาฟังไม่ จึงได้ยกกำลังไปตีพระวอพระตาสู้รบกันได้ประมาณ ๓ ปี พระวอพระตาเห็นจะต้านมิได้ จึงได้แต่งคนไปอ่อนน้อมแก่พะม่าขอกำลังไปช่วย พะม่าได้แต่งให้มองละแงะเป็นแม่ทัพยกไปช่วยพระวอพระตา ฝ่ายผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตแจ้งดังนั้น จึงแต่งบรรณาการให้แสนท้าวพระยาลาวคุมลงมาดักกองทัพพะม่าอยู่กลางทาง แล้วพูดเกลี้ยกล่อมชักชวนเอาพะม่าเข้าเป็นพวกเดียวกันยกไปตีพระวอพระตา พระตาตายในที่รบ ยังอยู่แต่พระวอกับท้าวฝ่ายหน้าท้าวคำผง ท้าวทิพยพรหมผู้เป็นบุตรพระตา กับท้าวทิตยก่ำบุตรพระวอจึงพาครอบคัวหนีอพยพลงไปพึ่งอยู่กับเจ้าไชยกุมารเมือง นครจำปาศักดิ์ ตั้งอยู่ตำบลเวียงดอนกอง (คือที่เรียกว่าบ้านดู่บ้านแคแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์บัดนี้) เจ้าอุปราชธรรมเทโวถึงแก่กรรม มีบุตรชาย ๔ คน คือเจ้าโอ ๑ เจ้าอิน ๑ เจ้าธรรมกิติกา ๑ เจ้าคำสุก ๑ บุตรหญิง ๑ ชื่อนางตุ่ย
๓๒ จุลศักราช ๑๑๓๓ (ระหว่างรัชชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี) ผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตทราบว่าพระวอแตกหนีไปตั้งอยู่ตำบลดอนกอง จึงได้แต่งให้อัคฮาดคุมกำลังยกตามไปถึงแขวงนครจำปาศักดิ์ เจ้าไชยกุมารจึงแต่งให้พระยาพลเชียงสาคุมกองทัพขึ้นไปต้านทานไว้ แล้วมีศุภอักษรถึงผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตขอโทษพระวอ ผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตก็มีศุภอักษรตอบยกโทษให้โดยทางไมตรี และมีคำสั่งให้อัคฮาดยกกำลังกลับไปยังเมืองศรีสัตนาคนหุต ฝ่ายเจ้าไชยกุมารดำริจะสร้างเมืองใหม่ ที่ตำบลศรีสุมังถอยไปจากเมืองเดิมทางประมาณ ๒๐๐ เส้น พระวอรับอาสาเป็นผู้สร้างกำแพงเมือง พระมโนสาราชและพระศรีอัคฮาดเมืองโขงรับอาสาสร้างหอคำ ครั้นสร้างเสร็จแล้ว เจ้าไชยกุมารยกไปอยู่เมืองใหม่ อยู่มาวันหนึ่งเจ้าไชยกุมารออกว่าการณหอราชสิงห์หาร พร้อมด้วยเจ้านายแสนท้าวพระยาลาว พระวอจึงทูลว่าที่พระวอได้สร้างกำแพงเมืองถวาย กับผู้ที่ได้สร้างหอคำถวายนั้น ใครจะประเสริฐกว่ากัน เจ้าไชยกุมารตอบว่า กำแพงเมืองนั้นก็ดีเป็นที่กำบัง สำหรับป้องกันศัตรูซึ่งจะมาทำร้าย แต่หอคำนั้นจะดีกว่าสักหน่อยด้วยได้เป็นที่อาศัยนั่งนอนมีความสุขสำราญ มาก พระวอได้ฟังดังนั้นก็มีความอัปยศโทมนัส จึงพาครอบครัวอพยพหนีไปตั้งส้องสุมผู้คนอยู่ดอนมดแดงในลำน้ำมูน (ซึ่งเป็นแขวงเมืองอุบล ฯ เดี๋ยวนี้) แล้วมีใบบอกแต่งให้ท้าวเพี้ยพี่น้องคุมเครื่องบรรณาการมายังเมืองนครราชสิมา ให้นำขึ้นสมัครอยู่ในความปกครองของกรุงธนบุรี ๓๓ ฝ่ายผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตทราบว่า พระวอมีความวิวาทบาดหมางกับเจ้านครจำปาศักดิ์ ยกครอบครัวไปตั้งอยู่ดอนมดแดง จึงแต่งให้พระยาสุโปคุมกองทัพไปตีพระวอ ๆ เห็นจะสู้มิได้จึงพาครอบครัวหนีไปตั้งอยู่ตำบลเวียงดอนกอง แล้วแต่งคนให้มาขอกำลังเจ้านครจำปาศักดิ์ไปช่วย เจ้านครจำปาศักดิ์ก็หาไปช่วยไม่ กองทัพพระยาสุโพจึงยกตามไปล้อมเวียงไว้ จับพระวอได้ฆ่าเสีย ท้าวก่ำบุตรพระวอกับท้าวฝ่ายหน้าท้าวคำผงท้าวทิตยพรหมบุตรพระตาหนีออกจาก ที่ล้อมได้ จึงมีใบบอกแต่งคนลงมาเมืองนครราชสิมา เพื่อให้บอกลงมากรุงธนบุรีขอกองทัพขึ้นไปช่วย จุลศักราช ๑๑๔๐ เจ้าธนบุรี จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ครั้งยังทรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกไปทางบกสมทบกับกำลังเกณฑ์ของหัวเมืองตะวันออก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสีหนาท แต่เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิศณวา ธิราชเป็นแม่ทัพยกไปเมืองกัมพูชา เกณฑ์พลเมืองเขมรต่อเรือรบยกขึ้นไปตามลำน้ำโขง ฝ่ายกองทัพพระยาสุโพทราบว่ากองทัพกรุงยกขึ้นไปเห็นจะต้านทาน มิได้ ก็ยกถอยกลับไปยังเมืองศรีสัตนาคนหุต กองทัพกรุงทั้งสองทัพก็ยกขึ้นไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าไชยกุมารผู้ครองเมืองนครจำ- ปาศักดิ์ เห็นว่าจะต่อสู้ต้านทานมิได้ จึงพาครอบครัวอพยพหนีไปตั้งอยู่ที่เกาะไชย กองทัพกรุงตามไปจับเจ้าไชยกุมารได้แล้วก็เลยยกไป
๓๔ ตีเมืองนครพนมและเมืองหนองคาย (บางทีจะเป็นเมืองไชยบุรี) ได้แล้วยกเลยไปล้อมเมืองศรีสัตนาคนหุตไว้ ผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตต่อสู้ต้านทานไม่ได้ก็แตกหนีไปทางเมืองคำเกิด กองทัพกรุงยกเข้าเมืองศรีสัตนาคนหุตได้แล้ว จึงตั้งให้พระยาสุโพเป็นผู้รั้งเมืองศรีสัตนาคนหุตและจัดราชการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วเชิญพระแก้วมรกตหนึ่ง พระบางหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเมืองศรีสัตนาคนหุตกับคุมตัวเจ้าไชยกุมารยกกองทัพกลับมายังกรุงธนบุรี เจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้เจ้าไชยกุมารกลับไปครองเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นเมืองประเทศราชขึ้นกับประเทศไทยแต่นั้นมา เจ้าสุริโยราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ถึงแก่กรรม มีบุตรชายชื่อเจ้าหมาน้อย ๑ แล้วท้าวคำผงบุตรพระตาไปได้นางตุ้ยบุตรเจ้าอุป ราชธรรมเทโวเป็นภรรยา เจ้าไชยกุมารเห็นว่าท้าวคำผงมาเกี่ยวเป็นเขยและเป็นผู้มีครอบครัวบ่าวไพร่มาก จึงตั้งให้ท้าวคำผงเป็นพระประทุมสุรราชนายกองใหญ่ ควบคุมครอบครัวตัวเลขตั้งบ้านเวียงดอนกองแขวงนครจำปาศักดิ์ (คือตำบลที่เรียว่าบ้านดู่กับบ้านแกบัดนี้) จุลศักราช ๑๑๔๒ เจ้าโอบุตรเจ้าอุปราชธรรมเทโวผู้เป็นเจ้าเมืองและเจ้าอินอุปฮาดผู้น้องเมืองอิดกระบือ (คือเมืองอัตปือ) กระทำการกดขี่ข่มเหงราฎษรได้ความเดือดร้อน เจ้านครจำปาศักดิ์ (ไชยกุมาร) ทราบจึงให้เจ้าเชฐ เจ้านู หลานคุมกำลังไปตามตัวเจ้าโอเจ้าอิน ๆ รู้ตัวหนีไป แต่เจ้าโอนั้นหนีเข้าไปกอดพระศอพระปฏิมากรอยู่ เจ้าเชฐจึงให้จับตัวเจ้าโออกมา แล้วให้เอาเชือกหนังรัดคอเจ้าโอถึงแก่กรรม เจ้าโอมีบุตรชายสองคน ชื่อเจ้านากหนึ่ง เจ้าฮุยหนึ่ง
๓๕ จุลศักราช ๑๑๔๔ (ระหว่างรัชชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ได้ทรงทราบว่าเมืองนคจำปาศักดิ์กับเมืองอัตปือเกิดวิวาทฆ่าฟันกัน จึงโปรดให้ข้าหลวงขึ้นไปคุมเอาตัวเจ้านคร-จำปาศักดิ์ (ไชยกุมาร) กับเจ้าเชฐเจ้านูและเจ้าหมาน้อยลงมากรุงเทพฯ ถึงกลางทางเจ้านครจำปาศักดิ์ (ไชยกุมาร) ป่วยจึงโปรดให้กลับไปรักษาตัวอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ข้าหลวงก็คุมเอาแต่ตัวเจ้าเชฐเจ้านูเจ้าหมาน้อยลงมากรุงเทพ ฯ จุลศักราช ๑๑๕๓ อ้ายเชียงแก้วซึ่งอยู่ตำบลเขาโองฝั่งน้ำลำน้ำโขงตะวันออกแขวงเมืองโขง แสดงตนว่าเป็นคนมีวิทยาคุณมีผู้คน นับถือมาก และอ้ายเชียงแก้วรู้ข่าวว่า เจ้านครจำปาศักดิ์ (ไชยกุมาร) ป่วยหนักอยู่เห็นเป็นโอกาสอันดี จึงคิดการเป็นขบถยกกำลังมาล้อมเมืองนครจำปาศักดิ์ไว้ ฝ่ายเจ้านครจำปาศักดิ์ (ไชยกุมาร) ทราบดังนั้น ก็ตกใจโรคกำเริบขึ้นเลยถึงแก่พิราลัยอายุได้ ๘๑ ปี มีบุตรชายชื่อเจ้าหน่อเมือง ๑ บุตรหญิงชื่อเจ้าป้อมหัวขวากุมารี ๑ เจ้าท่อนแก้ว ๑ แลกองทัพอ้ายเชียงแก้วก็เข้าตีเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ ครั้นความทราบถึงกรุงเทพ ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานครราชสิมา (ทองอิน) แต่เมื่อครั้งยังเป็นพระพรหมยกบัตร ยกกองทัพขึ้นไปปราบปรามอ้ายเชียงแก้ว และจัดราชการเมืองนครจำปาศักดิ์ กองทัพยกขึ้นไปยังมิทันถึง ฝ่ายพระประทุมสุรราช (คำผง) นายกองใหญ่บ้านเวียงดอนกองซึ่งย้ายไปตั้งอยู่บ้านห้วยแจะละแม (คือตำบลที่อยู่ริมเมืองอุบลฯ เดี๋ยวนี้)
๓๖ กับท้าวฝ่ายหน้าบุตรพระตาซึ่งไปตั้งอยู่บ้านสิงทา (คือเป็นเมืองยโสธรเดี๋ยวนี้) จึงพากันยกกำลังไปตีอ้ายเชียงแก้ว ๆ ยกกำลังออกต่อสู้ ณที่แก่งตนะ (อยู่ในลำน้ำมูนแขวงเมืองพิมูลมังษาหารเดี๋ยวนี้) กองทัพอ้ายเชียงแก้วแตกหนี ท้าวฝ่ายหน้าจับตัวอ้ายเชียงแก้วได้ให้ฆ่าเสียแล้ว พอกองทัพเจ้าพระยานครราชสิมา (ทองอิน) ยกขึ้นไปถึงก็พากันไปจัดราชการที่เมืองนครจำปาศักดิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวฝ่ายหน้าเป็นเจ้าพระวิไชยราชขัติยวงศาเจ้านครจำปาศักดิ์ และโปรดให้เจ้าเชฐเจ้านูขึ้นไปช่วยราชการอยู่ด้วยเจ้าพระวิไชยราชขัติวงศา จึงได้ย้ายเมืองขึ้นไปตั้งอยู่ทางเหนือ (คือที่เรียกว่าเมืองเก่าคันเกิงเดี๋ยวนี้) จุลศักราช ๑๑๖๗ เจ้าพระวิไชยราชขัติวงศา ขอตั้งบ้านนายอนเป็นเมือง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขนานนามว่าเมืองสะพาด (อยู่ฝั่งลำน้ำโขงตะวันออก) ตั้งพระศรีอัคฮาดบุตรจารหวดเจ้าเมืองโขง (ศรีทันดร) เป็นเจ้าเมืองขึ้นเมืองนครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๑๗๒ (ระหว่างรัชชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย) พระยาเดโช (เม่ง) เจ้าเมืองกำพงสวาย (เขมร) กับนักปรังผู้เป็นน้องชาย มีความวิวาทกันกับนักพระอุทัยราชา (นักองจัน) เจ้ากรุงกำพุชประเทศ พระยาเดโชกับนักปรังจึงอพยพ ครอบครัวเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธสมภารอยู่ณแขวงเมืองโขง (ศรีทันดร) เมืองนครจำปาศักดิ์มีบอกเข้ามากรุงเทพ ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา คุมกำลังขึ้นไปขัดตาทัพรับครัวเขมรอยู่ ณท่าหม้อออม ครัวพระยาเดโช ได้มาตั้งอยู่ณบ้านลงปลา ครัว
๓๗ นักปรังตั้งอยู่บ้านเวนฆ้อง (เมืองเซลำเภา) จึงมีเขมรแซกปนอยู่ในเมืองโขงตั้งแต่นั้นมา จุลศักราช ๑๑๗๓ เจ้าพระยาวิไชยราชขัติยวงศา (ท้าวฝ่ายหน้า) เจ้านครจำปาศักดิ์พิราลัย มีบุตรชายชื่อเจ้าบุตร ๑ บุตรหญิง ๓ ชื่อนางแดง ๑ นางไทย ๑ นางก้อนแก้ว ๑ แสนท้าวพระยาลาวมีใบบอกมากรุงเทพ ฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา เป็นข้าหลวงเชิญตรากับหีบศิลาหน้าเพลิงเครื่องไทยทาน ซึ่งพระราชทานในการศพเจ้าพระวิไชยราชขัติยวงศา กับสัญญาบัตรซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้เจ้านูบุตรเจ้าหน่อเมืองหลานเจ้านครจำปาศักดิ์ (ไชยกุมาร) เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์นั้นขึ้นไปถึงนครจำปาศักดิ์ได้ ๓ วัน เจ้านครจำปาศักดิ์ (นู) ก็พิราลัย พระยากลาโหมราชเสนาจึงพร้อมด้วยท้าวพระยาลาวจัดการปลงศพเจ้าพระวิไชยราชขัติยวงศาเสร็จแล้ว บุตรเจ้าพระวิไชยราชขัติยวงศากับแสนท้าวพระยาลาวได้ก่อเจดีย์บรรจุอัฎฐิไว้ณวัดเหนือ ซึ่งอยู่ในเมืองเก่าคันเกิง (คำลาวเรียกว่าธาตุหลวงเฒ่ามาจนบัดนี้) จุลศักราช ๑๑๗๔ พระยากลาโหมราชเสนาจัดราชการเมืองนครจำปาศักดิ์เรียบร้อยแล้วจึงได้เชิญพระแก้วผลึกซึ่งเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ ประดิษฐานไว้ณเมืองนครจำปาศักดิ์นั้น นำกลับมาทูลเกล้า ฯ ถวายณกรุงเทพ ฯ (พระแก้วผลึกองค์นี้หน้าตักกว้าง ๙ นิ้วกึ่ง สูง ๑๒ นิ้วเศษ ซึ่งปรากฏพระนามในปัตยุบันนี้ ว่าพระพุทธบุษยรัตน-จักรพรรดิพิมลมณีมัย)
๓๘ จุลศักราช ๑๑๗๕ ทรงกระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าหมาน้อยบุตรเจ้าราชวงศ์ (สุริโย) หลานเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้เจ้าธรรมกิติกาบุตรเจ้าอุปราช (ธรรมเทโว) เป็นเจ้าอุปราชเมืองนครจำปาศักดิ์ ภายหลังเจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) กับเจ้าอุปราช (ธรรมกิติกา) มีความวิวาทบาดหมางคุมกันลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท จึงโปรดเกล้า ฯ ให้แยกเจ้าอุปราชอยู่เสีย ณกรุงเทพ ฯ ให้เจ้านครจำปาศักดิ์กลับไปครองเมืองนครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๑๗๙ มีภิกษุอลัชชีรูปหนึ่งชื่อสาอยู่บ้านหลุดเลาเตาปูนแขวงเมืองสารบุรี ได้มาพักอยู่เขาเกียดโง้งฝั่งลำน้ำโขงตะวันออก แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ อ้ายสมีสาแสดงตนว่าเป็นคนมีวิชาและมีฤทธานุภาพต่าง ๆ เป็นต้นว่าเอาแว่นแก้วมาส่องแดดให้ติดเชื้อเป็นไฟขึ้น แล้วอวดว่าเรียกไฟฟ้าได้ และสามารถที่จะเรียกให้ไฟนั้นมาเฝ้าบ้านเมืองให้ไหม้วินาศไปสิ้นก็ได้ คนในเขตต์แขวงเหล่านั้นมีพวกข่าเป็นต้นซึ่งประกอบไปด้วยความโง่เขลา ครั้นเมื่อเห็นอ้ายสมีสาแสดงวิชาเช่นนั้นก็เห็นเป็นอัศจรรย์ ต่างมีความกลัวเกรง ก็พากันมีความนิยมยินดีเชื่อถือเข้าเป็นพวกอ้ายสมีสาเป็นอันมาก อ้ายสมีสาใจกำเริบจึงคิดขบถยกเป็นกระบวนทัพเที่ยวตีตามตำบลบ้านใหญ่น้อย ไปจนถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) ทราบดังนั้นก็ตกใจมิทันที่จะเตรียมตัว จึงอพยพครอบครัวหนีเข้าป่าไป อ้ายสาเกียดโง้งก็ยกเข้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ เที่ยวเก็บเงินเอาทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ แล้วเอาไฟจุดเผาเมืองนครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นเจ้า
๓๙ พระยานครราชสิมา (ทองอิน) กำลังเที่ยวปราบข่าพวกเสม็ดกัญชาและข่าประไรนบประไรต่างอยู่ณแขวงเมืองโขง (ศรีทันดร) ครั้นทราบว่าอ้ายสาเกียดโง้งคิดการเป็นขบถขึ้นเช่นนั้น จึงมีใบบอกลงมากรุงเทพ ฯ แล้วเจ้านายพระยานครราชสิมากับพระศรีอัคฮาดพระโพสาราชเมืองโขง จึงเกณฑ์กำลังยกไปตีอ้ายสาเกียดโง้งแตกหนีไปตั้งอยู่ ณเขายาปุ แขวงเมืองอัตปือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) กับพระศรสำแดงคุมกองทัพยกขึ้นไปตามจับอ้ายสาเกียดโง้ง อ้ายสาเกียดโง้งก็หนีต่อไปหาได้ตัวไม่ พระยามหาอำมาตย์ พระศรสำแดงจึงคุมเอาตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) ลงมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้วเจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) ถึงแก่พิราลัย มีบุตรชาย ๖ คน ชื่อเจ้าอุ่น ๑ เจ้านุด ๑ เจ้าแสง ๑ เจ้าบุญ ๑ เจ้าจุ่น ๑ เจ้าจู ๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอนุเวียงจันทน์ยกกำลังเทียวตามจับอ้างสาเกียดโง้ง ฝ่ายกองเจ้าราชบุตร (โย่) บุตรเจ้าอนุเวียงจันทน์จับตัวอ้ายสาเกียดโง้งได้ส่งลงมากรุงเทพ ฯ จุลศักราช ๑๓๘๓ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าราชบุตร (โย่) เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ และให้เจ้าคำป้อมเมืองเวียงจันทน์เป็นเจ้าอุปราช เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ไปอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วเกณฑ์ไพร่พลขุดดินพูนขึ้นเป็นกำแพงเมือง และก่อสร้างกำแพงวัง และสร้างหอพระแก้วไว้สำหรับเจ้านายแสนท้าวพระยาลาวถือน้ำตามธรรม-เนียม แล้วเปลี่ยนธรรมเนียมเก็บส่วยแก่ชายฉกรรจ์ที่มีภรรยาแล้ว
๔๐ เป็นไหมหรือป่านหรือผลเร่วคนหนึ่งหนักชั่งห้าตำลึง ส่วนข้าวเปลือกคงเก็บตามเดิม จุลศักราช ๑๑๘๘ (ระหว่างรัชชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ฝ่ายเจ้าอนุบิดาผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ และเจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) บุตรผู้ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ เห็นว่ามีเขตต์แขวงและกำลังผู้คนมากขึ้น ก็มีความกำเริบคิดการเป็นขบถขึ้น เจ้าอนุจึงแต่งให้เจ้าอุปราช (ศรีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์และเจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) คุมกองทัพตีเมืองรายทางเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลมูลเคงแห่งหนึ่ง ที่บ้านส้มป่อยแห่งหนึ่ง ที่ทุ่งมนแห่งหนึ่ง ที่ค่ายน้ำคำแห่งหนึ่ง ที่บกหวานแห่งหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมง-คลเป็นทัพหลวง เจ้าพระยาบดินทร์เดชาแต่เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นทัพหน้ายกขึ้นไปปราบปราม ครั้นกองทัพกรุงยกขึ้นไปถึงแขวงเมืองนครราชสิมา ก็พบกับกองทัพเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ได้สู้รบกันเป็นสามารถ กองทัพเจ้าราชวงศ์แตกถอยไปค่ายมูลเคงกองทัพกรุงก็ยกตามไปตีค่ายมูลเคงแตกแล้วยกไปตีค่ายส้มป่อย และค่ายทุ่งมน ค่ายน้ำคำแตกกระจัดกระจายไปทุก ๆ ค่าย จนถึงปะทะกับกองทัพเจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ขณะนั้นพวกครัวลาวเขมรที่เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ให้กวาดส่งไปไว้ยังเมืองนครจำปาศักดิ์นั้น ครั้นทราบว่ากองทัพกรุงยกขึ้นไปก็พากันจุดเผาบ้านเรือนในเมืองนครจำปา-ศักดิ์ขึ้น ไพร่บ้านพลเมืองก็พากันแตกตื่นเป็นอลหม่าน กองทัพเจ้านคร
๔๑ จำปาศักดิ์ (โย่) ก็แตกหนีข้ามแม่น้ำโขงไป แต่เจ้าอุปราช (คำป้อม) เมืองนครจำปาศักดิ์หนีไปตายอยู่กลางป่า กองทัพเจ้าอุปราชและเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ก็แตกหนีไปตั้งรวบรวมอยู่ด่านบกหวาน เจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงยกกองทัพตามไปตั้งอยู่เมืองยโสธรพักผ่อนไพร่พล และจัดเกณฑ์หัวเมืองต่าง ๆ มาเข้ากองทัพ แล้วให้เจ้าฮุยบุตรเจ้าโอเมืองอัตปือยกกำลังกองหนึ่งไปติดตามจับเจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ณ ฟากโขงตะวันออก และให้เจ้านากพี่เจ้าฮุยคุมกำลังมาสมทบกองทัพพร้อมแล้ว เจ้าพระยาราชสุภาวดีก็ยกไปตีกองทัพเจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ซึ่งตั้งอยู่ตำบลบกหวานนั้น และมีเสียงกล่าวกันว่า วันหนึ่งเจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ขี่ม้าไปกับนายทัพนายกอง เพื่อเที่ยวตรวจหาชัยภูมิที่ตั้งค่าย ครั้นถึงที่เลี้ยวแห่งหนึ่ง พอพบเจ้าราชวงศ์ขี่ม้ามากับนายทหารสองสามคนจนหน้าม้าชนกันโดยยั้งมิทัน เจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่รู้จักเจ้าราชวงศ์ เจ้าราชวงศ์เอาหอกแทงเจ้าพระยาราชสุภาวดี ๆ หลบปลายหอกพลาดถากถูกสีข้าง ๆ ซ้ายตกม้าลง นายทัพนายกองที่ตามไปรู้จักตัวเจ้าราชวงศ์ และได้ต่อสู้ป้องกันเจ้าพระยาราชสุภาวดี ๆ ขึ้นม้าได้แล้วก็ช่วยกันต่อรบกับเจ้าราชวงศ์ ๆ น้อยกว่าก็หนีไปทางฝั่งแม่น้ำโขง แล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดีก็ยกกองทัพไปตีทัพเจ้าอุปราชเวียงจันทน์แตกในวันนั้น แล้วก็ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์แตก และจับเจ้าอนุได้จึงเข้าตั้งพักกองทัพอยู่ในเมืองเวียงจันทน์ ฝ่ายเจ้าฮุยตามไปจับเจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ได้ที่ปลายลำน้ำคลองบางเรียงฟากแม่น้ำโขงตะวันออก คุมมาส่งเจ้าพระยาราชสุภาวดี ๆ
๔๒ หยุดพักไพร่พลจัดราชการหัวเมืองลาวตะวันออกฝ่ายเหนือทั้งปวงเรียบร้อยแล้ว ให้คุมเอาตัวเจ้าอนุเวียงจันทน์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ยกกองทัพกลับลงมากรุงเทพ ฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ให้เจ้าฮุยเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้เจ้านากเป็นเจ้าอุปราชเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้ตั้งเงินส่วยปีละร้อยชั่ง กำหนดให้เก็บแก่ชายฉกรรจ์คนละสี่บาทสลึง ถ้าชราพิการคนละสองบาทสลึง(เศษสลึงนี้คือเป็นค่าเผา) และให้เมืองนครจำปาศักดิ์จัดเครื่องบรรณาการลงมาทูลเกล้า ฯ ถวายณกรุงเทพ ฯ กำหนดสามปีครั้งหนึ่ง จุลศักราช ๑๑๙๙ เกิดเพลิงไหม้ในเมืองนครจำปาศักดิ์ บ้านเรือนเจ้านายแสนท้าวพระยาลาว เสียไปด้วยเพลิงครั้งนั้นเป็นอันมาก เจ้านครจำปาศักดิ์ (ฮุย) จึงได้พาไพร่บ้านพลเมืองอพยพจากเมืองเก่าคันเกิง ย้ายลงมาตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลเมืองหินรอด (จึงได้เรียกว่าเมืองเก่าหินรอดมาจนบัดนี้) จุลศักราช ๑๒๐๒ เจ้านครจำปาศักดิ์ (ฮุย) พิราลัย อายุได้ ๖๓ ปี มีบุตรชาย ๗ คน ชื่อเจ้าโสม ๑ เจ้าอิน ๑ เจ้าคำใหญ่ ๑ เจ้าคำสุก ๑ เจ้าคำสุย ๑ เจ้าน้อย ๑ เจ้าพรหมบุตร ๑ บุตรหญิง ๗ คน ชื่อเจ้าพิมพ์ ๑ เจ้าเข็ม ๑ เจ้าทุม ๑ เจ้าคำสิง ๑ เจ้าไช ๑ เจ้าคำแพง ๑ เจ้าดวงจันทร์ ๑ รวม ๑๔ คน พร้อมกันจัดการปลงศพแล้วก่อพระเจดีย์บรรจุอัฏฐิไว้ที่วัดไชยเมืองเก่าหินรอด (คำลาวเรียกว่าธาตุเจ้าย่ำขม่อมปาศักดิ์ฮุยปรากฎอยู่จนบัดนี้)
๔๓ จุลศักราช ๑๒๐๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอุปราช(นาก) เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้เจ้าเสือบุตรเจ้าอินหลานเจ้าอุปราช(ธรรมเทโว) เป็นเจ้าอุปราช เจ้าเสนเป็นเจ้าราชวงศ์ เจ้าสาเป็นเจ้าราชบุตร ทั้งสองคนนี้เป็นบุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (นาก) จุลศักราช ๑๒๑๒ เจ้าเมืองบัวกับเจ้าเมืองเดชอุดมเกิดวิวาทเรื่องเขตต์แดนที่ติดต่อว่ากล่าวไม่ตกลงกัน เจ้านครจำปาศักดิ์ (นาก) กับพระศรีสุระเจ้าเมืองเดชอุดม จึงได้พากันลงมาณกรุงเทพ ฯ ขอให้กระทรวงมหาดไทย ตัดสินเรื่องวิวาทเขตต์แดนเป็นการตกลงกันแล้วเจ้านครจำปาศักดิ์ (นาก) ป่วยเป็นอหิวาตกโรคพิราลัยอยู่ณ กรุงเทพ ฯ อายุได้ ๗๖ ปี มีบุตรชาย ๖ คน ชื่อเจ้าราชวงศ์ (เสน) ๑ เจ้าราชบุตร (สา) ๑ เจ้าโพธิสาร (หมี) ๑ เจ้าอินทชิต (บุตร) ๑ เจ้าสิงคำ ๑ เจ้าคำน้อย ๑ บุตรหญิง ๔ คน ชื่อดวงจันทร์ ๑ เจ้า อิ่ม ๑ เจ้าเจียง ๑ เจ้าเข็ม ๑ รวม ๑๐ คน ในระหว่างนั้นยังมิได้โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ผู้ใดเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๒๑๓ (ระหว่างรัชชกาลพระบาทสมเด็จพระจอม-เกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์เป็นข้าหลวงขึ้นไปจัดราชการณเมืองนครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๒๑๔ เจ้าอุปราช (เสือ) เมืองนครจำปาศักดิ์ป่วยถึงแก่กรรม หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์จึงพาตัวเจ้าบัวบุตรเจ้านู กับเจ้าราชวงศ์ (เสน) เจ้าโพธิสาร (หมี) เจ้าแสงคุมเครื่องยศและเงินส่วยเมืองนครจำปาศักดิ์ลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย ณ กรุงเทพ ฯ
๔๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเจ้าบัวเป็นเจ้านครจำปา-ศักดิ์ แต่ยังหาได้ทันรับพระราชทานสัญญาบัตรไม่ เจ้าบัวป่วยพิราลัยอยู่ ณ บ้านช่างแสงกรุงเทพ ฯ เจ้าราชวงศ์ (เสน) กับเจ้าแสง ต่างกราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ และ ต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกันอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดกล้า ฯ ให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์กับหลวงเสนีพิทักษ์ เป็นข้าหลวงขึ้นไปตามสมัครและจัดราชการ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๒๑๕ เจ้าท้าวพระยาลาวเมืองนครจำปาศักดิ์ มีใบบอกกล่าวโทษหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ หลวงเสนีพิทักษ์ว่า ทำการข่มขู่ลงเอาเงินราษฎร จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ หลวงเสนีพิทักษ์กลับมากรุงเทพ ฯ แล้วให้นำตัวเจ้าคำใหญ่บุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (ฮุย) เจ้าจูบุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระวัชรินทรารักษ์ พระมหาวินิจฉัยเป็นข้าหลวงพาเจ้าคำใหญ่ เจ้าจูกลับไปจัดราชการบ้านเมือง ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ พระวัชรินทรารักษ์ป่วยถึงแก่กรรมอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ พระมหาวินิจฉัยจึงพาเจ้าใหญ่ เจ้าจู กลับลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ ครั้นจุลศักราช ๑๒๑๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าคำใหญ่บุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (ฮุย) เป็นเจ้ายุตติธรรมธรเจ้านครจำปาศักดิ์ เจ้าจูเป็นอุปราช เจ้าหมีบุตรเจ้าราชบุตร (เกต) เป็นเจ้าราชวงศ์เจ้าอินทชิตบุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (นาก) เป็นเจ้าราชบุตร เจ้า
๔๕ สุริย (บ้ง) น้องเจ้านครจำปาศักดิ์ (ฮุย) เป็นเจ้าศรีสุราช กลับไปรักษาราชการเมืองนครจำปาศักดิ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนธรรมเนียมกำหนด ให้จัดเครื่องราชบรรณาการลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย ณ กรุงเทพ ฯ ปีละครั้งทุกปี จุลศักราช ๑๒๒๐ เจ้านครจำปาศักดิ์ (คำใหญ่) พิราลัย อายุ ๒๘ ปี มีบุตรหญิง ๒ คน ชื่อเจ้าคำผิว ๑ เจ้ามาลา ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอุปราช (จู) บังคับบัญชาเมืองต่อไป จุลศักราช ๑๒๒๔ เจ้าอุปราช (จู) ผู้บังคับบัญชาการเมืองนครจำปาศักดิ์ไม่ถูกกับแสนท้าวพระยาแล มีผู้ทำเรื่องราวกล่าวโทษเจ้าอุปราชา (จู) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หาตัวเจ้าอุปราช(จู) ลงมาแก้คดีที่กรุงเทพ ฯ และโปรดให้มีตราถึงเจ้าพระยายมราช (แก้ว) เมื่อยังเป็นพระยากำแหงสงคราม เจ้าเมืองนครราชสิมาซึ่งตั้งกองสักอยู่ ณ เมืองยโสธรนั้น ให้เลือกหาบุตรหลานเจ้านครจำปาศักดิ์เก่า ซึ่งสมควรจะได้รับตำแหน่งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ต่อไป พระยากำแหงสงครามจึงมีใบบอกลงมา ณ กรุงเทพ ฯ ขอเจ้าคำสุกบุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (ฮุย) เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ จุลศักราช ๑๒๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าคำสุกเป็นเจ้ายุตติธรรมธรเจ้านครจำปาศักดิ์ ฯ ระหว่างนั้นเจ้าอุปราช (จู) ป่วยถึงแก่กรรมอยู่ ณ บ้านช่างแสนกรุงเทพ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าแสงบุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) เป็นเจ้าอุปราช ให้เจ้าหน่อคำบุตรเจ้าเสือหลานเจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นเจ้าราชวงศ์
๔๖ จุลศักราช ๑๒๒๖ เจ้ายุตติธรรมธรเจ้านครจำปาศักดิ์ (คำสุก) ได้ย้ายครอบครัวจากเมืองเก่าหินรอด ไปตั้งอยู่ที่ตำบลระหว่างโพนบกกับวัดละครริมแม่น้ำโขงฝั่งตะวันตก เป็นเมืองนครจำปาศักดิ์ซึ่งคงปรากฏมาจนบัดนี้ ฯ
ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ฉะบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ และเจ้าราชวงศ์ เมืองนครจำปาศักดิ์
วัน ๔ เดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๓ ปีระกาตรีศกศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับปีคฤสตศักราช ๑๘๖๑ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชชกาลที่ ๔ ในพระบรมราช วงศ์อันนี้ พระบาทสมเด็จพระบรเมนทรมหามงกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมราชมหาจักร พรรดิราชสังกาศบรเมธรรหิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์อันนี้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง พระศรีสุนทรโวหารเจ้ากรมพระอา-ลักษณ์ และเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์เจ้าเมืองอุบลราชธานี และเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์เก่า ซึ่งเป็นโทษต้องถอดออกนอกราชการค้างอยู่นานในกรุงเทพมหานคร มารวบรวมพงศาวดารเก่าของเมืองนครจำปาศักดิ์ และรวบรวมจดหมายเหตุเก่าใหม่มีใน ๔ แผ่นดินมาเลือกเอาความตามสมควร แล้วเรียงเรื่องพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกเอกอุดมลงไว้ เพื่อจะให้ผู้อ่านได้ทราบความเดิม ตามเหตุที่มีจริงเป็นจริงดังจะกล่าวไปนี้ พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกซึ่งทรงพระปรารภเป็นสาทนิยารมณ์พระองค์นี้ เป็นพระพุทธปฏิมาล้วนแล้ว
๔๘ ด้วยแก้วผลึก อย่างเอกอุดมที่ช่างพลอยเรียกว่าบุศน้ำขาวบ้าง เพ็ชรน้ำค้างบ้าง และมีส่วนทรวดทรงฝีมือช่างทำงานดีกว่าพระพุทธรูปอื่น บรรดามีในที่ต่าง ๆ ซึ่งช่างดี ๆ ได้ทำไว้ เมื่อพิเคราะห์ไปโดยละเอียดจนถึงจับกางเวียนมาจับกระเบียดเทียบเคียงดู จะจับส่วนที่คลาดเคลื่อนไม่เที่ยงเท่ากันนั้น ก็จะได้เป็นอันยาก มีประมาณสูงแต่ที่สุดทับเกษตรขึ้นไปจนสุดปลายพระจุฬาธาตุ ๑๒ นิ้ว ๒ กระเบียดอัศฎางค์ หน้าตักวัดแต่ระหว่างพระชานุทั้งสอง ๙ นิ้วกับ ๔ กระเบียดอัศฎางค์ระหว่างพระกรรปุรทั้งสอง ๖ นิ้ว ๑ กระเบียดอัศฏางค์ ระหว่างพระอังศกูฎ ๕ นิ้วกับ ๗ กระเบียดอัศฎางค์ ประมาณพระเศียรแต่ปลายพระหนุขึ้นไป ถึงที่สุดพระจุฬาธาตุ ๑ นิ้วกึ่งกับ ๑ กระเบียดอัศฎางค์ กว้างพระพักตร์วัดในระหว่างปลายพระกรรณสองข้าง ๒ นิ้วกับ ๗ กระเบียดอัศฎางค์ นิ้วที่ว่านั้นคือนิ้วช่างไม้ นับนิ้วหนึ่งคือเจ็ดเมล็ดข้าวเปลือกเรียงกัน พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกพระองค์นี้ แต่เดิมจะเป็นก้อนแก้วณตำบลใด ท่านผู้ใดได้มาแล้วและสร้างขึ้น สร้าง ณ ที่ใดเมื่อใดความลับลึกไปไม่ได้ความแจ้งชัด พระพุทธปฏิมากรแก้วบุศน้ำขาวพระองค์นี้ ได้มายังกรุงเทพมหานครนี้แต่เมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อปลายปีมะแมตรีศกศักราช ๑๑๗๓ เป็นปีที่ ๓ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นแผ่นดินที่ ๒ ในพระบรมราชวงศ์นี้ เมืองนครจำปาศักดิ์นั้น เป็นเมืองลาวขึ้นกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในฝั่งแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำใหญ่ไหลมาแต่เมืองลาว หรือ ๑๒ พัน
๔๙ มาที่ไม่ได้ขึ้นแก่กรุงเทพมหานคร และไหลมาทางเมืองเชียงแสนและเมืองหลวงพระบาง เมืองล้านช้าง และเมืองเวียงจันทน์ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นเมืองกรุงเทพมหานคร ตลอดไปในแผ่นดินเขมรและไปมีปากน้ำออกน้ำออกทะเลในแผ่นดินเขมร ที่อยู่ในอำนาจญวน คือปากน้ำป่าสักพระตะพัง เมืองนครจำปาศักดิ์นั้น ตั้งอยู่ในที่ต่อลาวกับแดนเขมรเมืองนครจำปาศักดิ์นั้น แต่ก่อนเป็นแต่ตำบลชื่อจำปะ ยังไม่ได้เป็นบ้านเมืองมีเจ้านายเปนที่เปลี่ยวอยู่ เมืองล้านช้างเมืองเวียงจันทน์ตั้งก่อนช้านาน ครั้งหนึ่งไม่รู้กำหนดว่าปีใดนานกว่าปี ๒๐๐ ปีมาแล้ว ก่อนแต่เมืองล้านช้างและเมืองเวียงจันทน์ได้มาขึ้นกรุงเทพมหา นคร เมื่อปีกุนเอกศกศักราช ๑๑๔๑ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๗๗๙ นั้นไปช้านาน เมืองเวียงจันทน์ยังเป็นเมืองไม่ขึ้นข้างไหนมีเจ้าแผ่นดินครองเมืองเอง ครั้นเจ้าเวียงจันทน์องค์หนึ่งจำชื่อไม่ได้เป็นเจ้าแผ่นดินถึงพิราลัยลง เจ้านายบุตรหลานวิวาทรบพุ่งกันอยู่ช้านาน จนไพร่บ้านพลเมืองได้ความร้อนรนระส่ำระสาย เพราะเจ้านายชักเย่อแย่งชิงจับกุมเอาไปเป็นพวกข้างโน้นข้างนี้ แล้วกะเกณฑ์ให้รบพุ่งฆ่าฟันรันตีกัน ไม่เป็นอันที่จะได้ทำมาหากินล่วงกาลนานหลายปีไป จึงมีลาวบางจำพวกซึ่งเป็นไพร่มากมายหลายครอบครัวด้วยกัน เห็นว่าจะอยู่ในเขตต์แคว้นแดนแขวง ใกล้เคียงเมืองล้านช้างเมืองเวียงจันทน์จะหามีความสุขไม่ ครั้นจะหนีเข้าป่าดงพงไพรไปทั้งครอบครัวบุตรภรรยาก็เห็นว่าจะยากลำบาก ด้วยไม่มีถิ่นที่ไร่นาทำมาหากิน จะต้องซุกซ่อนปล้อนปลิ้นหลบลี้หนีเจ้านายไม่วายลง ถ้าจะพากันลงเรือแพแล้วถ่อพายทวนน้ำขึ้น
๕๐ ไป อาศัยเขตต์แขวงเมืองเซ่าหลวงพระบางหรือเมืองเชียงแสนเมืองเชียงรุ้ง ก็จะได้ความลำบาก ยากที่จะหนีเจ้านายที่วุ่นวายกันอยู่นั้นให้พ้นไปได้ จึงพากันผูกแพบ้าง ที่มีเรือก็ลงเรือบ้าง รวบรวมสะเบียงอาหารบรรทุกแล้วพาครอบครัวล่องน้ำลำของลงไปเป็นอันมากด้วยกัน ครั้งนั้นมีพระครูอยู่วัดโพนเสม็ด เป็นอาจารย์บอกพระกรรมฐานเป็นที่นับถือของชนเป็นอันมาก ได้ลงไปกับครอบครัวลาวเหล่านั้นด้วยเมื่อพวกครอบครัวเหล่านั้น จะมีการขุ่นข้องหมองหมางไม่สมัครสโมสรกันประการใด พระครูโพนเสม็ดช่วยว่ากล่าวเกลี่ยไกล่ ชักโยงให้สมัครสโมสรพร้อมเพรียงกัน แล้วพากันล่องลงไปจนถึงเขาลี่ผีแล้วยังจะกลัวว่าจะหนีนายฝ่ายเวียงจันทน์ไม่พ้น พากันล่วงข้ามเขาเขาลี่ผีผูกพ่วงแพหนีต่อไป เข้าอาศัยอยู่ณที่เมืองพนมเพ็ญในแผ่นดินแดนเมืองเขมรช้านาน ครั้นล่วงกาลนานมาผู้ครองฝ่ายเขมรเห็นว่าพวกลาวเป็นคนผิดเพศภาษา มาอาศัยอยู่ในอำนาจของตัวแล้ว ถึงแต่แรกได้รับรองอนุเคราะห์ให้เป็นสุข พอเป็นที่ยินดี ภายหลังก็มีกรุณาน้อยไปกะเกณฑ์ใช้การงานหนักบ่าหนักแรงมาก และเรียกส่วยไร่เกินพิกัดทำให้ไพร่ลาวเหล่านั้น ได้ความยากจนทนมิได้ พวกลาวเหล่านั้นพร้อมใจกันกับพระครูโพนเสม็ด ยกอพยพหลบหนีขึ้นมาข้างบนจนข้ามเขาลี่ผีพ้นแดนเขมรมาได้ ครั้นจะกลับคืนไปยังภูมิลำเนาเดิม ก็ยังกริ่งเกรงผู้ครองฝ่ายเมืองเวียงจันทน์อยู่ จึงได้พากันตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลนั้น ๆ ที่ได้ชื่อว่าเชียงแตงและโขงและอัตปือและคำทองน้อยคำทองใหญ่และอื่น ๆ แต่พระครูโพนเสม็ดกับครอบครัวพวกพ้องเป็น
๕๑ อันมาก มาตั้งอยู่ที่ตำบลจำปะ เพราะเห็นว่าที่นั้นเป็นภูมิสถานอันดีควรเป็นที่ตั้งอยู่สบาย เมื่อพระครูโพนเสม็ดกับครอบครัว ยกอพยพมาจากเมืองเขมรมาตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงแตงเป็นที่แรกนั้น ได้เรี่ยไรพวกครอบครัว ให้ประมวญทองแดงทองเหลืองเป็นอันมากหนักได้ ๑๖๐ ชั่งเศษ หล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปพระองค์หนึ่งเนื้อหนาดี ขัดสีเกลี้ยงเกลางาม พระครูโพนเสม็ดถวายพระนามว่าพระแสน เพราะคิดน้ำหนักได้กว่าแสนเฟื้องตั้งไว้ในวัด ซึ่งเปนที่อยู่ของพระครูโพนเสม็ดณเมืองเชียงแตง พระแสนนั้นก็อยู่ที่เมืองเชียงแตงมาจนถึงแผ่นดินปัจ-จุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบทราบต้องพระราชประสงค์ เสด็จลงมากราบทูลขอให้มีท้องตราให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญอาราธนาลงมา เมื่อปีมะแมนักษัตรเอกศกศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๘๕๙ ครั้นเชิญเสด็จพระแสนลงมาถึงแล้วก็พระราชทานไปในพระบวรราชวังตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้อัญเชิญไปสร้างแท่นฐาน ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนารามคลองบางกอกใหญ่อยู่ จนทุกวันนี้ พระแสนนั้นรูปพรรณเป็นฝีมือช่างลาวโบราณประหลาดอยู่ก็พระครูโพนเสม็ดนั้น อยู่ที่เชียงแตงไม่สบายก็ย้ายถิ่นยกครอบครัวมาตั้งอยู่ที่เมืองโขง เป็นเกาะกลางแม่น้ำโขง แล้วไปอยู่ที่ตำบลอัตปือแล้วจึงไปอยู่ที่คำทองน้อย แล้วย้ายไปอยู่ที่คำทองใหญ่ แล้วไปอยู่ตำบลมั่นตำบลเจียม ภายหลังจึงมาตั้งอยู่ที่ตำบลจำปะ ก็เมื่อพระครูนั้นยักย้ายที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ รอบครัวญาติโยมยกเหย้าย้ายเรือนตาม
๕๒ ต่อไปบ้าง คงตั้งอยู่ตามที่ตั้งนั้น ๆ บ้าง นายครัวผู้ใหญ่ที่ตั้งอยู่ในที่นั้น ก็เกลี้ยกล่อมผู้คนไปมา และชาวป่าชาวดอนมาอยู่ด้วยแน่นหนามากขึ้น พวกนั้นเพราะเป็นศิษย์ญาติโยมครูโพนเสม็ด เมื่อมีเหตุการณ์วิวาทบาดคล้องกันบ้างประการใด ๆ ก็พากันตามไปฟ้องร้องต่อพระครูโพนเสม็ด ให้ช่วยว่ากล่าวไกล่เกลี่ยระงับความให้สงบไป การก็เรียบร้อยกันอยู่ได้ไม่แตกร้าวจากกัน ตำบลต่าง ๆ ตั้งแต่เชียงแตงมาจนถึงจำปะ ก็อยู่ในอำนาจพระครูโพนเสม็ดทั้งสิ้นหลายปี ครั้นภายหลังไม่ช้ามีเจ้าฝ่ายลาวเวียงจันทน์ผู้หนึ่ง ชื่อว่าเจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ มีความวิวาทกับญาติพี่น้องซึ่งเป็นเจ้านายผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ จึงได้พาครอบครัวบุตรภรรยาบ่าวไพร่เป็นอันมาก ลงเรือล่องน้ำหนีลงมาจนถึงตำบลจำปะ ได้พบกับพระครูโพนเสม็ด และพวกครอบครัวซึ่งตั้งอยู่ก่อนก็สมัครสโมสร ขึ้นอยู่กลมเกลียวเป็นอันเดียวกัน ด้วยประการนี้ที่ตำบลจำปะนั้น ก็เป็นถิ่นสถานโตใหญ่ขึ้นควรจะเป็นบ้านเมือง จึงพระครูโพนเสม็ดปรึกษาพร้อมกับนายครัว ซึ่งมีกำลังเป็นญาติโยมและศิษย์ทั้งปวงว่า เจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ นั้นเป็นเชื้อสายเจ้านายเมืองเวียงจันทน์มาแต่เดิม ขอให้ชาวบ้านทั้งปวง ยอมยกให้เจ้าสร้อยศรีสมุท ฯ เป็นเจ้าแผ่นดินว่าราชการเมือง แล้วให้ตั้งบ้าน จำปะนั้นเป็นเมืองหลวง เรียกว่าเมืองนครจำปาศักดิ์เถิด นายครัวทั้งปวงก็เห็นชอบด้วย ยอมทำตามพระครูโพนเสม็ดทุกประการ ตั้งแต่นั้นมาเจ้าสร้อยสมุท ฯ ก็ได้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นปฐมเมืองนครจำปาศักดิ์นั้นเมื่อตั้งขึ้นแล้ว เจ้านครจำปาศักดิ์มีอำนาจ ได้
๕๓ ว่ากล่าวลาวชาวตำบลต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ตั้งขึ้นเรียกว่าเมืองเจ็ดหัวเมือง คือเมืองโขง เมืองเชียงแตง เมืองอัตปือ เมืองคำทองน้อย เมืองทองคำใหญ่ เมืองมั่น เมืองเจียม เมืองนครจำปาศักดิ์ครั้ง นั้นก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ ไม่ได้ขึ้นอยู่ในอำนาจแผ่นดินไทย และเขมร และญวนและลาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองมีอำนาจใหญ่อยู่รอบด้านเพราะครั้งนั้นเมืองทั้งปวงก็มีการทัพจับศึกวุ่นวายไม่สบายอยู่ด้วยเหตุ ต่าง ๆ เจ้านครจำปาศักดิ์สร้อยศรีสมุทมีบุตรชายใหญ่ ๆ สี่คือ เจ้าไชยกุมาร ๑ เจ้าธรรมเทโว ๑ เจ้าสุริโย ๑ เจ้าโพธิสาร ๑ ภายหลังพระครูโพนเสม็ดก็ถึงมรณภาพ แล้วเจ้านครจำปาศักดิ์สร้อยศรีสมุท ฯ ก็ถึงแก่พิราลัยล่วงไป ท้าวเพี้ยผู้ใหญ่ในเมืองนครจำปาศักดิ์พร้อมกัน ตั้งเจ้าไชยกุมารบุตรผู้ใหญ่ของเจ้านครจำปาศักดิ์สร้อยศรีสมุท ฯ นั้น เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์สืบมา แล้วจึงตั้งเจ้าธรรมเทโวเป็นเจ้าอุปราช ตั้งเจ้าสุริโยเป็นเจ้าราชวงศ์ รักษาเมืองนครจำปาศักดิ์สืบไป ก็เมื่อเวลาเจ้าไชยกุมารเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์อยู่นั้น มีลูกค้าลาวผู้หนึ่งชาวนครจำปาศักดิ์ มาแจ้งความแก่เจ้าไชยกุมารผู้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ และเจ้าธรรมเทโวผู้เป็นอุปราชว่า ได้เห็นพระพุทธรูปแก้วงามดีเป็นของวิเศษมีอยู่ในเรือนพรานป่า ชื่อพรานทึงพรานเทิงตำบลบ้านส้มป่อยนายอน พรานทึงพรานเทิงสองคนหาได้นับถือเป็นพระไม่ ถือว่าเป็นผีเสื้อหน้าไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงซ่อนเก็บไว้เป็นมิ่งบ้านขวัญเรือน ลูกค้าผู้นั้นเห็นว่าไม่ควร เพราะพระพุทธรูปเป็นของดี ถ้าได้มาไว้เป็นที่มหาชนได้นมัสการด้วยกันเป็นอันมากจึงจะ
๕๔ สมควร เจ้าไชยกุมารผู้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ เจ้าธรรมเทโวอุปราชจึงได้สั่งให้ลูกค้าผู้นั้น นำท้าวเพี้ยกรมการไปยังบ้านพรานทึงพรานเทิง ขอดูพระพุทธรูปแก้วได้เห็นว่ามีจริงแล้ว จึงได้ให้ท้าวเพี้ยกรมการพร้อมกัน แห่พระพุทธรูปแก้วนั้นเข้ามาไว้ในเมืองนครจำปาศักดิ์ ทำสักการบูชาสมโภชฉลองเป็นอันมากแล้ว ยกไพร่ข่าบ้านส้มป่อยนายอนบ้านพรองบ้านจองออน ถวายเป็นข้าพระแก้วเก็บส่วยมาทำสักการบูชา และสร้างสถานที่ไว้ที่โดยสมควร พรานทึงพรานเทิงพรานป่าเจ้าของพระแก้วนั้น เมื่อเจ้านครจำปาศักดิ์ซักถามว่า พระพุทธรูปแก้วนี้ได้มาแต่ที่ไหน พรานทึงพรานเทิงให้การว่า ตัวพรานทึงพรานเทิงเป็นพรานป่าไปเที่ยวยิงสัตว์ในป่า แต่ก่อนหาใคร่จะพบปะสัตว์ที่ควรจะยิงไม่ วันหนึ่งเดินไปถึงถ้ำเปลี่ยวในเขาส้มป่อยนายอน เป็นเวลาร้อนแวะเข้าไปในปากถ้ำ จึงได้เห็นพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ ตั้งอยู่ในถ้ำเป็นของประหลาดอยู่ เข้าใจว่าจะมีผีศักดิ์สิทธิสิง จึงกราบไหว้บนบานขอให้ยิงสัตว์ได้มากจะถวายเครื่องเซ่น ครั้นพรานทึงพรานเทิงไปเที่ยวยิงสัตว์ในป่า แต่นั้นมาก็พบช้างพบแรด และสัตว์ที่ควรจะยิงมากกว่าปกติแต่ก่อน พรานทึงพรานเทิงทำเครื่องเซ่นไปสังเวย ใช้บนพระพุทธรูปแก้วแล้วก็บนต่อไปด้วยเหตุนี้ พรานทึงพรานเทิงต้องทำเครื่องเซ่นไปใช้บนพระพุทธรูปแก้วเนือง ๆ ภายหลังพรานทึงพรานเทิงมีความเกียจคร้าน เพื่อจะไปยังถ้ำเปลี่ยวนั้นเนือง ๆ อนึ่งมีความวิตกว่า เมื่อพรานทึงพรานเทิงเดินไปมายังถ้ำนั้นเนือง ๆ เกลือกจะมีผู้อื่นรู้เข้าตามไป แล้วยักเอาพระพุทธรูปแก้วไปอื่นเสีย พรานทึง
๕๕ พรานเทิงจึงได้อาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปแก้ว ว่าเชิญท่านไปอยู่บ้านด้วยกันเถิด จะได้เครื่องเซ่นวักบูชาเนือง ๆ ทุกวัน เมื่อว่าดังนี้แล้วจึงได้เอาสายหน้าไม้ผูกพระศอพระพุทธรูปแก้ว ให้ติดเนืองแน่นกับขาหน้าไม้ แล้วคอนกลับมาบ้าน เมื่อคอนกวัดแกว่งไปมา ปลายพระกรรณขวาของพระพุทธรูปแก้ว กระทบกับขาหน้าไม้ลิหักแตกตกหายไปเสียข้างหนึ่ง ครั้นมาถึงบ้านแล้ว พรานทึงพรานเทิงจึงเชิญพระพุทธรูปแก้วไว้ในเรือนเซ่นวักสักการบูชา เมื่อไปยิงช้างได้งา ยิงแรดได้นอเมื่อใด ก็นำเอาโลหิตสัตว์มาทาเข้าไปในองค์พระพุทธรูปแก้วเป็นสังเวยเมื่อนั้น ครั้นนานมาโลหิตสัตว์ก็ติดกรังหนาพอกพระองค์พระ-พุทธรูปแก้วอยู่ เมื่อไรพรานทึงพรานเทิงและบุตรภรรยา จะตากเข้าหรือเนื้อสัตว์ไว้ และมีกิจธุระไปนาไปไร่ไปเที่ยวยิงสัตว์ ก็ได้ว่าสั่งพระพุทธรูปแก้ว ที่เรียกว่าผีเสื้อหน้าไม้นั้น ให้อยู่เฝ้าเรือนเฝ้าของที่ตากไว้ ถึงเรือนและของที่ตากไว้นั้นไม่มีผู้ใดเฝ้า ก็ไม่เคยมีอันตรายเลย โจรผู้ร้ายไม่ได้ขึ้นเรือน นกกาไก่ก็ไม่ได้มากินเข้ากินเนื้อซึ่งเป็นของตากไว้ พรานทึงพรานเทิงจึงเห็นว่า พระพุทธรูปแก้วที่ชื่อผีเสื้อหน้าไม้นี้เป็นของที่ดีที่ลาวเรียกว่าคำคุณ ควรหวงควรสงวนซ่อนไว้ ก็ลูกค้าซึ่งนำท้าวเพี้ยกรมการไปรับพระพุทธรูปแก้ว ผู้นั้นได้เห็นพรานทึงพรานเทิงมีนอระมาดงาช้าง มากกว่าพรานป่าที่หากินด้วยยิงสัตว์ทั้งปวงทุกแห่ง จึงได้ไปขอซื้อนอระมาดงาช้างเนือง ๆ จนคุ้นเคยเข้าสนิทเป็นมิตรสหาย ลูกค้านั้นถามถึงพรานทึงพรานเทิงว่าด้วยเหตุอันใด พรานทึงพรานเทิงจึงยิงสัตว์ได้มากกว่าผู้อื่น พรานทึง
๕๖ พรานเทิงจึงได้บอกว่าได้ด้วยอำนาจผีเสื้อหน้าไม้เป็นของคำคุณ ลูกค้าผู้นั้นขอดู พรานทึงพรานเทิงได้ให้ดู ลูกค้านั้นเห็นแล้วจึงว่าของนี้ใช่เจว็ดผี เป็นพระพุทธรูปแท้ แล้วจึงมาแจ้งความแก่เจ้านครจำปาศักดิ์ ดังนี้ และเจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร ได้รักษาพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ไว้ในเมืองนครจำปาศักดิ์เก่า ได้เป็นใหญ่รักษาแผ่นดินอยู่ตามอำนาจเดิมนั้น นานล่วงกาลหลายปีมา จนเจ้าธรรมเทโวอุปราชและเจ้าสุริโยผู้น้องถึงแก่พิราลัยล่วงไปก่อน ภายหลังพวกเมืองนครจำปาศักดิ์ สมคบกับผู้สำเร็จราชการกรมการเมืองนางรอง พระยานางรอง เพราะสมคบกับพวกเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นกำลัง ก็มีความกำเริบกระด้างกระเดื่องขึ้น ครั้งนั้นฝ่ายไทย เจ้าตากสินเป็นเจ้าแผ่นดินใหญ่อยู่ ณ กรุงธนบุรี ประมาณเมื่อนั้นเป็นปีมะแมสัปตศกศักราช ๑๑๓๗ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๗๗๘ ผู้สำเร็จราชการ และกรมการเมืองนครราชสิมาเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี จึงมีหนังสือบอกลงมายังกรุงธนบุรีเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้แต่งกองทัพขึ้นไป กำราบปราบปรามพระยานางรองและเพราะมีการเกี่ยวข้องกับพวกเมืองนครจำปาศักดิ์ กองทัพไทยจึงได้ยกไปปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองลาว ซึ่งขึ้นแก่นครจำปาศักดิ์ทั้งปวงนั้นด้วย ครั้งนั้นเจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมารยอมแพ้ขอถวายดอกไม้ทองเงินเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงธนบุรี ตั้งแต่ปีระกานพศกศักราช ๑๑๓๙ มา ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๗๓๗ และเมื่อกองทัพใหญ่ฝ่ายไทย ขึ้นไปปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์ครั้งนั้น เจ้านครจำ-ปาศักดิ์จึงยอมแพ้ขอขึ้นแก่กรุงธนบุรี ก็ยังมีความตระหนี่เสียดายซ่อน
๕๗ พระพุทธปฏิมากรแก้ว ซึ่งเป็นของวิเศษนั้นเสีย ปิดความไม่ให้แม่ทัพนายกองฝ่ายไทยได้ทราบความเลย ว่าพระพุทธปฏิมากรแก้วมีอยู่ในเมืองนครจำปาศักดิ์ ครั้นกาลล่วงมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองนครจำปาศักดิ์ก็คงขึ้นแก่กรุงเทพมหานครอยู่ ภายหลังมีข่าวว่า เจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมารแก่ชรา เจ้าหลานผู้บุตรของเจ้าธรรมเทโวเจ้าสุริโยผู้น้อง และบุตรของเจ้าหน่อเมือง ผู้บุตรของเจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร เกิดวิวาทริษยาชิงกันจะเป็นใหญ่จนเกิดรบพุ่งฆ่าฟันกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงมีพระราชโองการ ให้ข้าหลวงเชิญท้องตราขึ้นไปเมืองนครจำปาศักดิ์ให้หาตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร กับหลานซึ่งมีกำลังจะได้ราชการลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อจะทรงบังคับบัญชาไกล่เกลี่ยการบ้านเมืองเสียให้เป็นปกติเรียบร้อย ข้าหลวงไปถึงเมืองนครจำปาศักดิ์แล้ว จึงพาตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร กับเจ้าหลานสามนายลงมาจากเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมารป่วยลงกลางทาง ลาข้าหลวงกลับคืนไปรักษาตัวที่เมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วป่วยหนักลงถึงแก่พิราลัย เจ้าหลานสามนายลงมากับข้าหลวงจนถึงกรุงเทพมหานคร ต้องตกค้างอยู่นานเพราะการไม่ตกลงกัน ก็เพราะเจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมารถึงแก่พิราลัยลง แล้วไม่มีผู้เป็นใหญ่ในเมืองนครจำปาศักดิ์ มีลาวผู้หนึ่งชื่อนายเชียงแก้วชาวเมืองโขง ตั้งซ่องสุมผู้คนมีกำลังได้มาก ยกเข้ามาตีเอาเมืองนครจำปาศักดิ์แตกกระจัดกระจาย ครั้งนั้นเจ้าหน้าอยู่บ้านสินท่า เป็นเชื้อสายสืบวงศ์วานมาแต่
๕๘ เจ้าอุปราชเวียงจันทน์คนเก่า กับท้าวพรหมบ้านเจรแม และท้าวคำบ้านคงเพนียงพร้อมใจกัน คุมคนไปรบพวกนายเชียงแก้วเอาไชยชะนะได้แล้วรวบรวมไพร่บ้านพลเมืองให้ตั้งอยู่ตามภูมิลำเนาโดยปกติ รักษาเมืองนครจำปาศักดิ์ไว้ แล้วมีใบบอกลงมายังกรุงเทพมหานครพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชดำริเห็นว่าเจ้าหน้าและท้าวพรหมท้าวคำมีความชอบมาก จึงมีพระราชโองการดำรัสให้หาตัวลงมา แล้วทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ท้าวพรหมเป็นพระพรหมราชวงษา บ้านเจรแมเป็นเมืองคือเมืองอุบล ราชธานี ท้าวคำเป็นพระเทพวงษา แล้วยกบ้านคงเพนียงเป็นเมืองคือเมืองเขมราช ให้ขึ้นแก่กรุงเทพมหานครทั้งสามเมือง บ้านสินท่าบ้านเดิมของเจ้าหน้านั้น ก็ให้ยกเป็นเมืองคือเมืองยโสธร แล้วจึงตั้งท้าวม่วงน้องชายเจ้าหน้าเป็นพระสุนทรราชวงษาเจ้าเมือง แต่ให้ขึ้นแก่เมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อเจ้าหน้าได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์แล้ว ก็ยังหวงซ่อนพระปฏิมากรแก้วผลึกไว้ไม่เชิญลงมา หรือบอกข่าวลงมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ภายหลังเจ้าหน้าผู้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ไม่ชอบใจสถานที่เมืองนครจำปาศักดิ์เก่า ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลจำปะแต่เดิมนั้นคิดยักย้ายมาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ตำบลบ้านคันตะเกิง อยู่ฝั่งแม่น้ำของฝ่ายตะวันตก ก่อเป็นกำแพงเมืองมีใบเสมา และสร้างพระวิหารสถานที่ประดิษฐานพระปฏิมากรแก้วผลึกขึ้นในที่นั้น แล้วบอกกล่าวป่าวร้องพระสงฆ์สามเณรท้าวเพี้ยราษฎรทั้งปวง ให้พร้อมกันอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก แห่ออกจากเมืองนครจำปาศักดิ์เก่ามายัง
๕๙ เมืองใหม่ แล้วประดิษฐานไว้ในพระวิหารใหม่ซึ่งสร้างขึ้นนั้น แล้วแบ่งข้าพระพวกที่เจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมารได้อุทิศถวายไว้แต่ก่อน ให้ผลัดกันมาพิทักษ์รักษาปฏิบัติอยู่ เจ้าหน้าเจ้านครจำปาศักดิ์กับบุตรหลานท้าวเพี้ยทั้งปวงถือใจว่า พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกพระองค์นี้เป็นของสำหรับเมืองนครจำปาศักดิ์มาแต่เดิม เมื่อไม่มีท้องตราไปแต่กรุงเทพมหานคร บังคับให้ส่งมาก็นิ่งอยู่ ความที่พระพุทธปฏิมา-กรแก้ว มีอยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์นั้น ในกรุงเทพมหานครก็ยังไม่มีผู้ใดรู้ จะกล่าวขึ้นให้ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตลอดแต่ต้นจนสิ้นสุดรัชชกาลแผ่นดินนั้น เจ้าหน้าได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณรักษาบ้านเมืองเป็นปกติ ถวายดอกไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการ ส่งลงมากรุงเทพมหานครทุกปีมิได้ขาด ล่วงกาลนานถึง ๓๐ ปี จึงป่วยโรคชราถึงแก่พิราลัยลง ในปีมะเมียนักษัตรโทศกศักราช ๑๑๗๒ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๘๑๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้นเมื่อปีมะแมตรีศกศักราช ๑๑๗๓ ตรงกับปีคฤสตศักราช ๑๘๑๑ เป็นลำดับปีนั้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทราบความพิราลัยของเจ้านครจำปาศักดิ์ แล้วจึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งให้แต่งข้าหลวงเชิญหีบศิลาหน้าเพลิง และเครื่องไทยธรรมของพระราชทานในการศพเจ้าหน้า ซึ่งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ที่ถึงแก่พิราลัยนั้น ขึ้นไปพระราชทานเพลิง ครั้งนั้นข้าหลวงเมื่อไปถึงเมืองนครจำปาศักดิ์แล้ว ได้เข้าไปนมัสการพระพุะทธปฏิมา-
๖๐ กรแก้วผลึก พิเคราะห์ดูเห็นว่าเป็นของดีมาก ควรที่จะเป็นของต้องพระราชประสงค์ และเป็นสิ่งมิ่งมงคลศรีสวัสดิ์รัตนราชดิลก เฉลิมกรุงเทพมหานคร ไม่ควรจะประดิษฐานอยู่ในเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นแต่เมืองประเทศราชน้อยจึงได้ไต่ถามความต้นเดิมว่า พระพุทธปฏิมากรแก้วพระองค์นี้ ได้มีมาอยู่ในเมืองนครจำปาศักดิ์แต่ครั้งใดท้าวเพี้ยทั้งปวงก็แจ้งความตามเรื่องซึ่งบรรยายมาแต่หลัง ตั้งแต่พรานทึงพรานเทิงได้พระพุทธปฏิมากรแก้วองค์นี้ มาแต่ถ้ำเขาส้มป่อยนายอนนั้นเป็นเดิม มาจนถึงเวลาเมื่อเจ้าหน้าเจ้านครจำปาศักดิ์ เชิญมาประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้นให้ข้าหลวงฟังทราบทุกประการ ข้า-หลวงได้จดหมายไว้แล้ว จึงชักชวนท้าวเพี้ยทั้งปวงให้พร้อมใจกันเข้าชื่อกับข้าหลวง ลงใบบอกมายังลูกขุน ณ ศาลา ให้กราบทูลถวายพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แล้วข้าหลวงได้มอบให้ท้าวเพี้ยรักษาพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกนั้นไว้ ให้มั่นคงมิให้มีอันตราย แล้วก็คุมใบบอกลงมากรุงเทพมหานครวางยังศาลามหาดไทย ขอให้กราบทูลพระกรุณา ครั้นเมื่อความในใบบอกนั้นเจ้าพนักงานได้กราบทูลพระกรุณาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงสดับก็ทรงพระโสมนัสโดยพระราชศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระราชโองการ ดำรัสให้กรมมหาดไทยมีท้องตราให้ข้าหลวงคุมขึ้นไปสั่งเมืองรายทาง ให้แต่งที่ทางรับส่งพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ด้วยแห่แหนสักการบูชา และฉลองสมโภชในระยะทางและที่ประทับโดยสมควรทุกเมือง ตามระยะเมือง
๖๑ รายทางตั้งแต่เมืองสระบุรีขึ้นไป จนถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วให้ข้าหลวงกับท้าวเพี้ยเมืองนครจำปาศักดิ์พร้อมกัน ทำสักการบูชาสมโภชฉลองพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ที่เมืองนคจำปาศักดิ์โดยสมควร แล้วก็ตั้งกระบวนแห่รับเชิญออกจากเมืองนครจำปาศักดิ์พรักพร้อมด้วยราษฎรที่มีความเลื่อมใสศรัทธามาตามส่งเป็นอันมาก เจ้าเมืองกรมการแลราษฎรทุกหัวเมืองตามรายทางก็มีความชื่นชมยินดี ได้แต่งกระบวนการแห่แลการสมโภชสักการบูชามาทุกเมือง ตามระยะทางตลอดเวลาอันควร จนพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกมาถึงเมืองสระบุรี มีใบบอกลงมากราบทูลพระกรุณา จึ่งมีพระราชโองการให้เจ้าพนักงานคุมเรือพระที่นั่งศรี มีเรือดั้งแลเรือเจ้าพนักงานป้องกันขึ้นไปรับ เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วลงเรือพระที่นั่งศรี ล่องลงมาโดยทางชลมารคแต่เมืองสระบุรีมา มีกำหนดให้ประทับสมโภชที่กรุงเก่า แล้วล่วงลงมาประทับที่วัดเขียนตลาดแก้วแขวงเมืองนนทบุรีทันในวันมีมงคลศุภนักขัตตฤกษ์แล้ว ในกรุงเทพมหานครให้กะเกณฑ์กระบวนมหาพยุหยาตราอย่างใหญ่ เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือไชย เรือพระที่นั่งศรี เรือพระที่นั่งกราบ เรือรูปสัตว์เหราทั้งปวง แลเรือข้าราชการทุกตำแหน่ง ฝ่ายพระบรมมหาราชวังแลพระบวรราชวัง จัดขะบวนเป็นขะบวน ๆ แห่พระพุทธรูป ทอดลงมาแต่วัดเขียนตลาดแก้วขะบวนหนึ่งขะบวนเสด็จพระราชดำเนิน ในพระบรมมหาราชวังขะบวนหนึ่งขะบวนเสด็จพระราชดำเนินในพระบวรราชวังขะบวนหนึ่ง แล้วให้บอกบุญป่าวร้องพระราชาคณะถานานุกรมเจ้าอธิการ แลลูกค้าวานิชราษฎร
๖๒ ในกรุงเทพมหานคร บรรดาที่มีเรือพายแลกำลังผู้พายจะไปได้ ให้แต่งเครื่องสักการบูชาตั้งแลธงปักในลำเรือ ไปแห่รับพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกตามศรัทธา ครั้นเมื่อพระพุทธปฏิมากร เจ้าพนักงานไปรับมาแต่เมืองสระบุรีถึงวัดเขียนตลาดแก้ว ทันในวันกำหนดพยุหยาตราใหญ่ไปรับแล้วนั้น เจ้าพนักงานก็เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ขึ้นประดิษฐานบนพานทองใหญ่แล้วเชิญขึ้นตั้งบนบัลลังก์บุษบกพิมาน ในเรือกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์ เป็นเรือพระที่นั่งใหญ่ประดับไปด้วยเครื่องพระอภิรมย์หักทองขวางอย่างเอก มีพานพุ่มแลเชิงเทียนทอง ตั้งบูชาในชั้นเก็ดพระที่นั่งบุษบกนั้น แลเรือไชยอื่นก็มีเครื่องสูงแลเครื่องสักการบูชา ตั้งบนพระที่นั่งบุษบกพิมานทุกลาแวดล้อมเป็นบริวารมีแตรสังข์อยู่ในท้ายเรือกิ่งเรือไชยเป็นที่ให้สัญญา กลองชะนะในเรือคู่ชักแลเรือดั้งเป็นลำดับมา พร้อมทั้งพิณพาทย์มโหรีดุริยางค์ดนตรีต่าง ๆ ทุกลำ พลพายเรือขะบวนแห่พระพุทธรูปทั้งเรือนำ แลเรือตามสวนสอดสวมเสื้อสีงามต่างกัน เจ้าพนักงานรายตีนตอง แลนักสาตรสำรับเรือกิ่งเรือไชยทุกลำนุ่งสมปักษ์ลายสอดสวมเสื้อครุย แลพอกเกี้ยวตามอย่างธรรมเนียมพยุหยาตราใหญ่ ทอดไว้คอยรับเสด็จพระราชดำเนิน ณตำบลวัดเขียนตลาดแก้วแขวงกรุงเทพมหานครกับเมืองนนทบุรีต่อกัน ครั้นได้เวลาจึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระเลิศเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรือพระที่นั่งกราบดาดสีลายทอง เสด็จพระราชดำเนินโดยขะบวนมีเรือดั้งตามตำแหน่ง เรือตำรวจนำแลตามเรือประตูหน้าประตูหลัง แลเรืออาสากลองนำพร้อม
๖๓ อย่างเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกฐิน แลขะบวนเสด็จพระราชดำเนินพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร ฯ ก็จัดไปพร้อมตามตำแหน่งเหมือนกัน พระราชวงศานุวงศ์แลเสนาบดีข้าทูลละอองธุลีพระบาทก็โดยเสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือกราบ ตามบรรดาศักดิ์ทั้งสิ้นพร้อมทั้งเรือโขมดยาพระราชาคณะ แลเรือต่าง ๆ ของถานานุกรมเปรียญเจ้าอธิการเจ้าคณะแลเรือต่าง ๆ ของราษฎรขึ้นไปรับถึงตำบลตลาดแก้วพร้อมกัน ครั้งนั้นเรือขบวนแลเรืออื่นแน่นนันเต็มไปทั้งแม่น้ำ ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงขบวนพระพุทธรูปทอดอยู่ ก็ให้ประทับเรือพระที่นั่งเข้าขนานกับเรือพระที่นั่งกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์ซึ่งทรงพระพุทธรูปอยู่นั้น แล้วทรงถวายนมัสการพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ทรงจุดเทียนทองธูปกระแจะหอม แล้วทรงระลึกพระพุทธคุณอุทิศเป็นพุทธบู ชาแล้วตั้งบนเก็ดหน้าพระที่นั่งบุษบกพิมานซึ่งทรงพระพุทธรูปอยู่ แล้วมีพระราชโองการดำรัสถามเจ้าพนักงานว่า พระพุทธรูปแก้วผลึกองค์นี้เมื่ออยู่เมืองลาวมีเครื่องประดับประดาเป็นอย่างไร เจ้าพนักงานกราบทูลว่ามีปลอกทองคำประดับด้วยแก้วต่าง ๆ รัดทับเกษตรอยู่โดยรอบกับเทริดอย่างลาวแลเครื่องประดับทองคำบ้าง ได้ตามเสด็จพระพุทธ-รูปมาด้วยจึ่งมีพระราชโองการดำรัสให้เจ้าพนักงานนำเครื่องประดับเดิมออกประดับเข้าในองค์พระปฏิมากรถวายทอดพระเนตร ครั้นทอดพระเนตรแล้วทรงพระราชดำริว่า เครื่องประดับนั้นเป็นฝีมือลาวรุงรังนัก เมื่อประดับอยู่ในองค์พระพุทธรูปแห่ลงไปกำบังเนื้อแก้วเป็นของวิเศษเสีย หางามสมควรไม่ ให้เปลื้องเครื่องตั้งไว้แต่
๖๔ พระองค์เปล่าเห็นเนื้อแก้วปลอดโปร่งตลอดงามดีกว่า ครั้นทรงมนัส การบูชาแลทอดพระเนตรแล้ว ก็ให้ปละเรือพระที่นั่งออกตั้งขะบวนแห่พระพุทธรูป ลงมาในกลางแม่น้ำลำเจ้าพระยาขะบวนเสด็จในพระบรมมหาราชวัง กระหนาบขะบวนแห่พระพุทธรูปมาโดยฝั่งตะวันออก ขะบวนเสด็จพระราชดำเนินฝ่ายพระราชวังบวร ฯ กระหนาบขะบวนแห่พระพุทธรูปมาโดยฝั่งตะวันตก ครั้นถึงหน้าท่าราชวรดิษฐ์แล้ว ให้ประทับเรือพระที่นั่งกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์เข้ากับแพขะบวนซึ่งผูกแล้วทอดสมอไว้กลางแม่น้ำ เพื่อจะให้ราษฎรได้นมัสการทั่วกัน บรรดาเรือไชยเรือศรีเหรารูปสัตว์ในขะบวนแห่พระพุทธรูปนั้น ก็ให้จอดกับบวบซึ่งทอดไว้เรียงรายแวดล้อมเป็นบริวารเรือพระที่นั่งกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์ เหนือน้ำบ้างใต้น้ำบ้างพร้อมทั้งเครื่องสูงแลเครื่องสักการบูชา เรือเหราเรือรูปสัตว์ซึ่งมีปืนหน้าเรือก็ให้ทอดไว้ เป็นเรือจุกช่องล้อมวงด้านเหนือน้ำด้านท้ายน้ำ มีคนเฝ้าประจำรักษาอยู่ทุกลำ แลที่บนบวบข้างเรือพระที่นั่งกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์ มีราวเทียนกระถางธูป ตั้งไว้สำหรับรับเทียนรับธูปดอกไม้เครื่องสักการบูชา โปรดให้พระสงฆ์สามเณรแลราษฎรลงเรือเข้าไปนมัสการใกล้ ๆ ตามปรารถนา แล้วให้มีงานมหรสพโขนหุ่นละครมอญรำต่าง ๆ ในโรงบนแพบวบทอดรายอยู่เหนือน้ำใต้น้ำบ้างสามวัน มีดอกไม้เพลิงในเรือดอกไม้ ในกลางคืนด้วยทั้งสามวัน มีละครข้างในที่โรงเรือริมที่ประทับท่าน้ำด้วยทั้งสามวัน ตั้งแต่วันขะบวนแห่มาถึง มีพระราชโองการโปรดให้อาราธนาพระราชาคณะ มาสวดพระพุทธมนต์ ที่พระที่นั่งประทับริมน้ำเวลาบ่าย
๖๕ เวลาเช้าพระราชทานบิณฑบาตรทานแลไทยธรรมโดยสมควรแก่พระสงฆ์มีประมาณพอสมควรแก่ที่บนพระที่นั่งที่ประทับริมน้ำนั้น ผลัดเปลี่ยนต่อไปทั้งสามเวลา ครั้นการฉลองในน้ำเสร็จแล้ว มีพระราชโองการให้เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วขึ้นบกโดยท่าราชวรดิษฐ์ แล้วเชิญขึ้นพระยานุมาศ แวดล้อมด้วยขุนนางคู่เคียงอินทร์พรหม และเครื่องพระภิรมย์เอกหน้าหลัง แตรสังข์กลองชะนะธงชายธงฉานแห่ขึ้นจากท่าราชวรดิษฐ์ เข้าในพระบรมมหาราชวัง โดยประตูรัตนพิศาลมาทางหน้าศาลาลูกขุนใน แล้วแห่วงไปโดยถนนริมกำแพง ข้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดารามด้านเหนือ วงไปจนถึงประตูหน้าพระอุโบสถ แล้วเชิญเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประดิษฐานไว้ในพานทองตั้งอยู่บนพระแท่นทอง แลมีเครื่องนมัสการทองสำรับใหญ่ตั้งบูชาในเบื้องพระพักตร์พระพุทธปฏิมากร แล้วโปรดให้พระราชวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน มาทำสักการบูชาตามปรารถนาเมื่อเวลาแห่พระพุทธปฏิมากรขึ้นมานั้น เสด็จประทับอยู่ที่พลับพลาโรงละครด้านตะวันตกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้มีละครข้างในรับเสด็จพระพุทธปฏิมากรเมื่อเวลาแห่นั้นด้วย ตั้งแต่วันนั้นมาโปรดให้อาราธนาพระสงฆ์ราชาคณะ ถานานุกรมเปรียญ มีประ-มาณโดยสมควรแก่ฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มาสวดพระพุทธมนต์เวลาบ่าย เวลาเช้าขึ้นพระราชทานบิณฑบาตรทานเลี้ยงพระสงฆ์ แล้วพระราชทานไทยธรรมโดยสมควร ผลัดเปลี่ยนพระสงฆ์ไปทั้งสามวัน เวลาบ่ายก่อนพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ แลในวัน
๖๖ สุดนั้นเจ้าพนักงานได้ตั้งบายศรีเงินบายศรีทองบายศรีแก้ว แลเสนาบดีมีสกุลเป็นเชื้อพราหมณ์แลเชื้อเจ้านายโบราณ เบิกแว่นเวียนเทียนรอบพระอุโบสถทั้งสามวัน ในวันทั้งสามนี้นับเป็นสี่ กับทั้งวันเชิญพระพุทธปฏิมาขึ้นแห่เข้าในพระราชวังนั้น มีละครข้างในที่โรงละครใหญ่ แลมีการเล่นต่าง ๆ บนบกแลดอกไม้เพลิงเวลากลางคืน เป็นการสมโภชด้วยทั้ง ๔ วัน ๔ คืน รวมการสมโภชพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกเมื่อแรกมาถึงเป็นเจ็ดวันเจ็ดคืน ในงานสี่วันนั้นก็ดี พ้นวันงานวันนั้นไปหลายวันก็ดี พระราชวงศ์ศานุวงศ์ แลข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายใน แลพระภิกษุสงฆ์สามเณรราษฎรเป็นอันมาก มานมัสการพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกเนือง ๆ ไปหลายวันหลายเวลา ครั้นชนนมัสการเบาบางช้าไปแล้ว จึ่งมีพระราชโองการให้เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกนั้นไปประทับไว้ในโรงที่ประชุมช่างอยู่ข้างพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน แล้วเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร ให้ช่างจัดเนื้อแก้วผลึกที่เหมือนกับเนื้อแก้วในพระองค์พระพุทธรูป มาเจียรไนเป็นรูปปลายพระกรรณที่ลิอยู่นั้นต่อติดให้บริบูรณ์แล้ว ให้ขัดเกลาชักเงาชำระพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ให้เกลี้ยงเกลามีเงาขึ้นสนิทเสมอกัน แล้วทรงพระราชดำริพระราชทานอย่างให้ช่างปั้นฐาน มีหน้ากระดานชั้นสิงห์บัวหงาย แลหน้ากระดานบนลวดทับหลัง ย่อเก็ดเป็นหลั่น แลมีหน้ากระดานท้องไม้ชั้นรองรับบัวกลุ่มหุ้มรับทับเกษตรแก้วต่อองค์พระพุทธปฏิมา โดยทรวดทรงสัณฐานที่พึงพอพระราชหฤทัยแล้ว ก็ให้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ แต่งให้เกลี้ยงเกลาสนิทแล้วหุ้มด้วยทองคำ
๖๗ ทำให้เกลี้ยงกวดขึ้นเงางาม ด้วยชอบพระราชหฤทัย ว่าเนื้อแก้วเกลี้ยงใสสะอาด ติดต่อกับเครื่องทองอันเกลี้ยงนั้นงามยิ่งนัก เพราะพระราชประสงค์ครั้งนั้น จะใคร่ให้เนื้อแก้วอันบริสุทธิ์ใสสะอาด ทึบทั้งแท่งนั้นปรากฏตลอดงามดี แต่ยอดพระรัศมีแลพระศกยังไม่มีต้องอย่างแบบแผนพระพุทธรูป จึ่งมีพระราชโองการให้ช่างแผ่ทองคำหุ้มส่วนพระเศียรที่มีพระศก แล้วดุนเป็นเม็ดพระศกเต็มตามที่แล้วต่อกับพระรัศมีลงยาราชาวดี มีเพ็ชรประดับใจกลาง หน้าหลังแลกลีบต้นพระรัศมี เมื่อเครื่องทองพระศกพระรัศมีเสร็จแล้วถวายสวมลง พื้นทองแลช่องดุนพระศก ก็มาปรากฏข้างพระพักตร์เป็นรวงผึ้งไป พระพักตร์ก็เห็นพรรณเหลืองคล้ำไม่ผ่องใสเหมือนสีพระองค์ จึ่งมีพระราชโองการให้ชุมนุมนายช่างที่มีสติปัญญาปรึกษากันคิดแก้ไข จึ่งปรึกษาตกลงกัน เอาเนื้อเงินไล่ขาวบริสุทธิหุ้มลงเสียก่อนชั้นหนึ่ง แล้วขัดข้างในให้เกลี้ยงชักเงางามแล้ว จึ่งสวมพระศกทองคำลงชั้นนอกแผ่นเงิน ก็เห็นพระพักตร์ใสสะอาดขาวนวลดีเสมอกับพระองค์ แล้วมีพระราชโองการให้ทำพระสุวรรณกรัณฑ์น้อยพอจะสอดลงในช่องบนพระจุฬาธาตุ ได้เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุไว้ให้สมควรเป็นอุดมปูชนียวัตถุ แลให้ทำตัวทองน้อยเท่ากับช่องพระเนตร แล้วลงยาราชาวดีขาวดำ ตามที่พระเนตรขาวดำ แล้วฝังให้แนบพระเนตรให้งามดีขึ้น เพราะแต่ก่อนนั้นช่องพระเนตรเป็นแต่ขุม แล้วแลแต้มหมึกแลฝุ่นเป็นขาวดำเท่านั้น ไม่มีผิวเป็นมันมั่นคงเหมือนผิวยาราชาวดี แลมีพระราชโองการให้ช่างทองทำฉัตรทอง
๖๘ คำ ๕ ชั้น ๆ ต้นเท่าส่วนพระอังศา ลงยาราชาวดีประดับพลอยมีใบโพธิ์แก้วห้อยเป็นเครื่องประดับ ปลายคันฉัตรปักลงไปในสายยูเนื่องกับฐาน เบื้องพระปฤษฏางค์พระพุทธปฏิมากร แลให้ทำสันถัดห้อยหน้าฐานพระพุทธปฏิมา ด้วยทองคำจำหลักลายพื้นเป็นทรงเข้าบินมีชายกรวยเชิงงอนแล้วลงยาราชาวดีประดับพลอยเพ็ชร ครั้นการสำเร็จจึ่งให้เชิญไปประดิษฐานในหอพระเทพาติเทพย์พิมาน ซึ่งประดิษ-ฐานอยู่ข้างบูรพทิศ ของพระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นที่มนัสการ ข้างในบรรจุพระบรมธาตุไว้สามพระองค์ ในพระสุวรรณกรัณฑ์ซึ่งมีอยู่ในช่องบนพระจุฬาธาตุ แล้วทรงสักการบูชานมัสการวันละสองเวลาเช้าค่ำมิได้ขาด แลการซึ่งได้ทรงบริจาค แลพระราชอุสาหในที่ประดับพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ครั้งเป็นประถมเพียงนี้ด้วยพระราชหฤทัยรีบร้อน จะให้การแล้วเร็วทันตามพระราชประสงค์ จะตั้งไว้ทอดพระเนตรนมัสการไปเนือง ๆ ทรงพระปฏิญญาณว่าจะค่อยทรงพระราชดำริการที่ควร แล้วจึงจะให้ทำแก้ไขเพิ่มเติมต่อภายหลังตั้งแต่พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกมาไว้ในพระนคร แลทรงสักการบูชาดังนี้ ก็ดูประหนึ่งว่าจะเห็นผลเป็นทิฎฐธรรมเวทนีย์มีโชคไชยพระเดชา นุภาพพระบารมีจำเริญมากขึ้นไป ในปีวอกจัตวาศกศักราช ๑๑๗๔ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๘๑๒ ซึ่งเป็นแต่ปีมแมตรีศกนั้นมา ก็ได้พระยาเศวตกุญชรช้างเผือกพรายมาประดับพระบารมีเป็นศรีพระนครครั้นล่วงข้ามสามปีไปถึงปีชวดอัฏฐศกศักราช ๑๑๗๘ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๘๑๖ แลปีฉลูนพศกศักราช ๑๑๗๙ ตรงกับปีคฤสตศักราช
๖๙ ๑๘๑๗ เป็นปีที่ ๘ ที่ ๙ ในรัชชกาลอันนั้น ก็ได้พระยาเศวตไอยราแลพระยาเศวตคชลักษณ์ เป็นช้างเผือกพรายมีลักษณในกาย เหมือนกันเป็นอันเดียวกับพระยาเศวตกุญชร มาสู่พระนครเป็นมิ่งมงคลสวัสดิ์ศรีพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งพระเทพกุญชรช้างเผือกพังเก่า ซึ่งมาสู่พระนครแต่ปีระกาตรีศกศักราช ๑๑๖๓ ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๘๐๑ ก่อนแต่เวลาเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ๘ ปีนั้น ได้ตั้งโรงเรียงกันเป็นแถวไปในระวางพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีแต่ช้างเผือกเอกอุดมทั้งสี่ ไม่มีช้างอย่างอื่นคั่นอนึ่งในปีจอฉศกต่อกันกับปีกุนสัปตศก เป็นปีที่ ๖ ที่ ๗ แห่งรัชชกาลอันนั้น มีคนครอบครัวพะม่ารามัญเป็นอันมากกว่าสามหมื่นเศษ ซึ่งเป็นชาวเมืองเมาะตะมะ แลเมืองใกล้เคียงเป็นข้าแผ่นดินเจ้าอังวะ เมื่อไม่มีใคร ฝ่ายไทยไปเกลี้ยกล่อมก็พร้อมใจกันสวามิภักดิ์ อพยพยกครอบครัวเข้ามาขอพึ่งพระบารมียอมเป็นข้าแผ่นดิน เมื่ออ้ายพะม่าข้าศึกคิดอ่านไปสมคบเมืองญวน ชักชวนให้คิดร้ายต่อกรุงเทพมหานครพะม่าที่ไปนั้นก็มีผู้จับได้นำตัวเข้ามาถวาย ทำลายความประสงค์ศัตรูเสียได้ เมื่อผู้ครองฝ่ายญวนทราบความไปแล้ว แต่งทูตให้โดย สารจ้างกำปั่นลูกค้าไปเมืองพะม่า แล้วกลับรับเอาทูตพะม่ามาถึงเมืองเกาะหมาก กำปั่นลำนั้นก็เกิดเพลิงไหม้ทูตญวนทูตพะม่าแตกกระจัดกระจายกันไป ข้าศึกภายในคือ ผู้ใดคิดการลอบลักกระทำผิด ๆ ไม่สัตย์ซื่อตรงต่อพระเดชพระคุณ ความก็ปรากฏอื้ออึงออกเอง จนผู้ผิดนั้นต้องอันตรายไปต่าง ๆ เห็นประจักษ์เป็นหลายเรื่องหลายราย ลูก
๗๐ ค้าวานิชต่างประเทศที่ไม่เคยเข้ามาค้าขายก็เข้ามา มีเครื่องบรรณาการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอพึ่งพระบารมีไปมาค้าขายมากมายหลายพวก จนสมบัติในพระนครจำเริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ตั้งแต่พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกพระองค์นี้มาอยู่ในพระนคร เมื่อมีการพระราชพิธีใหญ่ ๆ คือเฉลิมพระที่นั่งใหม่ลงสรงโสกันต์ พระราชพิธีสัมพัจฉร-ฉินท์สำหรับปี แลพระราชพิธีพิรุณสาตร แลอาพาธวินาศอุทโกสารนะสำหรับการเมื่ออุบัติมีมา ก็มีพระราชโองการให้เชิญพระพุทธปฏิมา-กรแก้วผลึก ไปตั้งบนแท่นพระมณฑล ทำสักการบูชาเสร็จการพระราชพิธีแลเชิญไปเป็นประธาน ในการที่มีขบวนแห่เรือแลบกตามนิยม การพระราชพิธีนั้น ๆ ทุกครั้ง อนึ่งเวลาใดว่าง ๆ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยสำราญพระราชหฤทัย ก็มีพระราชโองการให้เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้ว ไปสมโภชทำสักการบูชาในที่นั้น ๆ เนือง ๆ นับครั้งไม่ถ้วน
นิทาน เรื่องขุนบรมราชา พงศาวดารเมืองล้านช้าง
นโมตัสสภควโตอรหโตสัมมาสัมพุทธัสส นโมอันว่ากิริยาอันน้อมไหว้ เมแห่งข้า อัตถุจงมี ตัสสแห่งพระพุทธเจ้าตนนั้น ภควโตตนมีทำเนาเลาตนอันงาม หาบุคคลผู้จักเทียบเทียมบ่ได้ อรหโตตนไกลแก่ราคาทิกิเลส สัมมาสัมพุทธัสสตนตรัสรู้ยังธรรมทั้งมวลด้วยดีด้วยตนแล อหังอันว่าข้าผู้นั้น นมัสสิตวาไหว้แล้วแล พุทธัง ธัมมัง สังฆังยังพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า ด้วยคาถาว่าศรีศรีอัญชลีปณาเมเตย รตตนาคุณณ นโมพุยาโลโก ปกรนสัมพุทธัง ดังนี้ แล พุทโธ ธัมโม สังโฆ จงมาทะรงทรงแทบไท้สีรสามารัง ขออย่ามีมารมาประจนเบียดม้าง บารมีโยบารมีแม่งกำจัดเจียรจาคสัพพโรคา สัพพอันตรายา สัพพภยา ขออย่าให้มีโภยภัยต้องหนีไกลแสนโยชน์ พ้นจากโทษบาปเวรหนา ด้วยผละแห่งผู้ข้าได้สร้างแลได้เขียน ยังปิฎกธรรมเจ้าดวงนี้ไว้โชตนา พุทธศาสนาเท่า ๕๐๐๐ พระวัสสา ให้เป็นที่ไหว้นบเคารพยำแยงแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย สืบเมื่อภายหน้าพุ้นแล ฯ โภสาธโว ดูกรสัปปุริสเจ้าทั้งหลาย ฝูงมีผยาปรารถนาเถิงสุขสามประการ มีนิรพานเป็นที่แล้ว จงตั้งยังโสตประสาทหูฟังยังรสธรรมดวงนี้ ให้มีขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนหมากพลู กล้วยอ้อย
๗๒ เครื่องบูชาแล้วจึงฟังเทอญ เหตุว่าเป็นคำบุคคลผู้ล้ำหยิ่ง ผู้มีบุญมีศีล ๕ ศีล ๘ ดีหลีดาย ดูกรสัปปุริสทั้งหลาย บัดนี้จักกล่าวตำนานนิทานแห่งขุนบรมรา-ชาธิราชเจ้าก่อนแล คำไทยว่าแถนฟ้าขื่นนั้น บิดา หากเป็นพ่อขุนบรมแล คือว่าตนแห่งพระยาอินทาธิปติราช แลเขาว่าแถนแต่งนั้น คือว่า พิศณุกรรมเทวบุตร แลอันว่าแถนคมและแถนชั่งนั้นแถนเถือก แถนผู้นี้หูหิงแลแถนสี่ตนนี้อยู่ชั้นฟ้าจาตุมหาราชิกา แต่งยังโลกหลิงยังสัตว์ยังคนอันกระทำยังบาปแลบุญแล ที่แท้คนทั้งหลายว่าผีฟ้าผีแถน ว่าอันที่แท้แหม่นพระยาอินทรแลท้าวจตุโลกทั้งสี่ดาย จัดเขียนถามยังคนทั้งหลายฝูงกระทำบุญคุณแลโทษ แลยังมีนางเทวดาตนหนึ่งชื่อว่านางธรณีอันรักษายังน้ำหยาดหมายทานแห่งคนทั้งหลาย ยังมีนางเทวดาตนหนึ่งชื่อว่านางเมกขลา อยู่รักษาพระยาท้าวขุนแลคนทั้งหลาย ผู้มีบุญก็ดีบ่มีบุญก็ดีหากรู้สู่คนในโลกนี้ทั้งมวลดาย คนทั้งหลายผีเสื้อเมืองนั้นบ่มีแล แหม่นนางเมกขลานั้นแล คนทั้งหลายกระทำบาปบุญคุณโทษดังนั้น ก็เมื่อบอกแก่ท้าวทั้งสี่ให้แจ้งเขียนถามดูต่อเขาหั้นแล ฯ ดูราสัปปุริสนักปราชญ์เจ้าทั้งหลาย จงตั้งยังโสตปราสาท หูฟังยังตำนานนิทานมหากัปนี้เทอญ โพธิสัตโตอันว่าโพธิสัตว์เจ้าเราได้เกิดเป็นสมันตรพรหม เป็นใหญ่แก่พรหมทั้งหลาย ก็หากเสด็จลงมาดูยังจักรวาฬทั้งมวลอันกว้างแลแคบ ให้รู้ชมพูทวีปเรานี้ กว้างได้หมื่นโยชน์พรหมทั้งหลายก็มาหมายไว้ยังที่อันจักตั้งเมืองใหญ่ทั้งหลาย ๑๖ เมือง ใส่หลักแก้ว ใส่หลักคำ ใส่หลักเงินไว้ ที่อันจักตั้งเมืองน้อยทั้งหลาย
๗๓ มี ๑๕ เมือง ใส่หลักเงิน ใส่หลักคำ ใส่หลักหิน หมายไว้สู่แห่งหั้นแล เมื่อนั้นจึงให้พรหมตนชื่อว่าตัปปะระเมศวรรักษาก้ำตะวันออก พรหมตนหนึ่งคือพระนารายรักษาก้ำตะวันตก พรหมคนหนึ่งชื่อว่ามโนสิทธิรักษาก้ำหนเหนือ พรหมตนหนึ่งชื่อว่าเสละสิทธิรักษาก้ำใต้อยู่สอนศาสตร์ศิลป์ทั้งมวล จึงได้ชื่อว่าเมืองตักกะศิลานครหั้นแล พระโคตมเราเป็นสมันตรพรหมนั้น อยู่รักษาเขิ่งกางเมือง อันว่าพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือพระเมตไตรยเจ้า จักมาเป็นพระลุนพระเจ้าทั้งหลายในมหากัปนี้แล แดนแต่นั้นเมือหน้า บ้านเมืองทั้งมวนอันพรหมทั้งหลาย ตั้งแต่งหมายไว้นั้น ก็บังเกิดมีท้าวพระยาหญิงชายทั้งหลายอ่อนเต็มไป ท้าวพระยาก็อยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ ชอบทศราชธรรมแต่งคองชอบโลกสะกำราบงามดีก็มีวันนั้นแล พระกุกกุสนธเจ้าเกิดมาเป็นพระ แลศาสนาก็ลาลดไป แล้วชุมพูทีปก็เศร้าศูนย์เป็นอันเหิงนานนัก ดังนั้นพระยาอินทร์แลวิศณุกรรมเทวบุตรแลท้าวจตุโลกทั้งสี่ แลนางธรณีแลนางเมกขลา อันลาวเก่าเขาว่าผีฟ้าผีแถนว่าอั้น จึงเอาเทวดาอันอยู่ชั้นฟ้าภายบนลงมาใส่ เป็นท้าวเป็นพระยาด้วยอันเป็นโอป ปาติกชาติ ก็ให้ท้าวพระยาอยู่ในราชธรรม ๑๐ ประการ คือทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นดีแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมมาเกิดเป็นพระ หมดศาสนาพระโกนาคมแล้ว ชุมพูทีปทั้งมวลก็เศร้าศูนย์เสียทั้งมวล พระยาอินทร์แลเทวดาทั้งหลายก็เล่าเอาเทวบุตรเทวดาอันอยู่ชั้นฟ้าภายบน ลงมาเป็นท้าวเป็นพระยาเหมือนดังกล่าวแล้วแต่ภายหลังนั้นแล บ้านเมืองทั้งหลายก็สภาพราบงามแล เมื่อพระพุทธเจ้าองค์ชื่อว่กัสสปเจ้า มา
๗๔ เกิดเป็นพระหมดศาสนาพระกัสสป อยู่มานานนักผีเผดผียักษ์ทั้งหลายอยู่เบียดกุกกวนกระทำร้ายในชุมพุทวีปเรานี้ แลคนทั้งหลายก็รบเลวผีเผดผียักษ์ ๆ ทั้งหลายก็รบเลวคน ฆ่าฟันกันไปมาหั้นแล พระพุทธเจ้าตนชื่อว่าพระโคดมเจ้าแห่งเรามาเกิดแล้วดังนั้น ก็กระทำเพียรไปได้ ๖๐ วัสสาจึงได้เป็นพระ ยังบ่ได้โผดสัตว์ทั้งหลายในเมืองใหญ่ทั้งหลาย ๑๖ เมืองพุ้น ไป่มาฮอดเราสักเทือยังเป็นบั้นเป็นท่อนเสียแล ฯ บัดนี้มาจักจายังนางกางฮีเมืองลานช้างเราพี้ ทั้งผีเสื้อแลอ้ายชะเลิกเกิกแลเถ้าชะโคมฟ้า และอ้ายเจ็ดใหแลปู่พีสีแลย่าพีใส แลนางเงือกอยู่ภูช้างนั้นแลพระยางูเหลือมตัวหนึ่งอยู่ภูซวงหลวง เขานี้เป็นผัวเมียกัน จึงมีลูกผู้หนึ่งชื่อว่านางปากกว้างหูฮี กับทั้งนางนันทาเทวีเขาฝูงนี้เป็นผีเสื้อเมืองแลเขารักษาเขตต์ขงกงเมืองลานช้างทั้งมวลแล แต่นั้นไปภายหน้ายังมีเจ้ารัสสีสองพี่น้อง จึงมาตั้งหลักหมายแผ่นดินไว้เบื้องตะวันออกนั้นฝังหลักคำ หลุ่มใส่หลักเงิน กลางใส่หลักไม้ ฝังลงเลิ้กมี ๑๖ ศอกอันนี้ชื่อว่าหลักปฐมหัวที ใส่ชื่อหลักหมั้น ทีหนึ่งชื่อว่าท้ายขันธตั้งกางเมืองหลักหนึ่งหั้นแล หลักหนึ่งตั้งไว้ท้ายเมืองที่งอนห้วยสบโฮบ ก้ำฝ่ายเหนือ แล้วจึงฝังหลักหินแก้ว อันหนึ่งหลักคำหลักเงินไว้ที่ต้นไม้ถ่อนต้นหนึ่งมีดอกบานตระกานงาม บานสู่เดือนบ่ขาดเหมือนดังดอกทองแดง มีลำใหญ่ได้ ๑๗ อ้อม สูงได้ ๑๑๗ วา เจ้ารัสสีสองพี่น้องจึงเอาหินหน่วยหนึ่งชื่อว่า ก้อนก่ายฟ้ามาหมายไว้ให้เป็นที่ตั้งปราสาทเจ้าภูมิปาลเจ้าแผ่นดินหั้นแล อัตถ ถัดนั้นเจ้ารัสสีพี่น้องสองพระองค์ จึงไปเอาน้ำอโนมตัสส
๗๕ มาหดเสาหลักคำทั้งสี่แห่งนี้แล้ว น้ำอันเหลือกว่านั้นเจ้ารัสสีจึงไปไว้ในบ่อนหนึ่ง คนทั้งหลายเรียกว่าถ้ำน้ำเที่ยงแห่งหนึ่งหั้นแล จึงไปตักเอามาหดสรงท้าวพระยาทั้งหลายตนจักนั่งเมืองหั้นแล ถัดนั้นเจ้ารัสสีจึงมาตั้งนักขัตตฤกษ์ชื่อไว้ว่าเป็นชาตาเมืองไว้กับแผ่นดินที่เชียงทองเป็นต้นว่าดังนี้ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ลัคคนาว่า ฤกษ์ทั้งหลายมวลฝูงนี้อยู่ในสิงทราษีแล ตั้งหลักคำฝูงนี้ไว้กับแผ่นดิน อันนี้แหม่นยามจักใกล้รุ่ง ไว้ลัคคนาที่กรกฎทราษี อันเป็นชาตาแผนเมืองเจ้ารัสสีจึงก่อตั้งแผ่นดินแล ถัดนั้นเจ้ารัสสีพี่น้องไปสถิตอยู่ที่หินสบคานที่น้ำของคบกันหั้น จึงเรียกมายังนาคทั้งหลาย ๑๕ ตัว ๆ หนึ่งอยู่ถ้ำภูซวง ตัวหนึ่งอยู่ภูช้าง ตัวหนึ่งอยู่แก่งหลวงน้ำเซือง ตัวหนึ่งอยู่สบเชือง ตัวหนึ่งอยู่ผารังเมืองที่สบอู ตัวหนึ่งอยู่แก่งหลวงน้ำอู ตัวหนึ่งอยู่ท่างของแก่งอ้อยผาธนู ตัวหนึ่งอยู่ผาเสื้อ ตัวนี้เป็นแก่กว่าพระยานาคแล ตัวหนึ่งอยู่ผาเดี่ยวหลุ่มผาจอมเพ็ชรหั้นแล ตัวหนึ่งอยู่ คตเฮือ ตัวหนึ่งอยู่กกถ่อน ตัวหนึ่งอยู่ผาตัดแคแลผาต่างนาย ตัวหนึ่งอยู่แก่งแตนท่างน้ำของดอนควายฟูม ตัวหนึ่งอยู่ปากสบโฮบหั้น ตัวนี้เป็นพระยาใหญ่รักษาน้ำรักษาเมืองก้ำฝ่ายใต้ ตัวอยู่ผาเสื้อเป็นใหญ่รักษาฝ่ายหนน้ำก้ำฝ่ายเมืองหนเหนือหั้นแล พระยานาค ๑๕ ตระกูลก็ออกมาแล้ว ก็เอากันเนรมิตร ตัวเป็นทหาร เป็นท้าว เป็นพระยา ออกมาพร้อมกัน แล้วเจ้ารัสสีพี่น้องจึงมาสถิตอยู่ก้อนหินก่ายฟ้าที่กกไม้ทองต้นใหญ่ แล้วก็สั่งสอนพระยานาคทั้งหลายว่าดังนี้ ดูราพระยานาคทั้งหลายบ่อนที่นี้ เป็นที่ตั้งปราสาทเจ้าผู้มีบุญอันจักมาเป็นท้าวพระยา
๗๖ ข้างหน้าพุ่นดีหลีแล เจ้าทั้งหลายจงพร้อมเพรียงกับด้วยกันพิทักษ์รักษาบ้านเมืองแม่น้ำ ภูดอยใต้เหนือทางเทิงแผ่นดินแผ่นทราย แม่น้ำใหญ่น้ำน้อย แม่น้ำใหญ่ทั้งหลายสู่ที่สู่แห่งเทอญ เจ้าทั้งหลายพร้อมกันรักษาที่เชียงดงเชียงทองนี้เป็นเค้าเทอญ จงมารักษาสี่เดือนให้พร้อมกันมาเทือหนึ่ง พระยานาคตัวอยู่หน้าห้วยให้มาที่ก้อนผาขวางก้อนเยียบหั้นก่อน พระยานาคตัวอยู่น้ำของครั้นว่ามาเซาที่ ที่เซาที่ก้อนผาเดียวหั้นแลวังคกเฮือหั้นเทอญ อันนี้เจ้ารัสสีกฎหมายบอกส่วนให้แก่พระยานาคทั้งหลายแลพลอยเหล่าเรียกเอาเทวดาทั้งหลายให้มาบอกรักษา ให้รักษายังเมืองทั้งมวลแลแม่น้ำแลแผ่นดิน ยังภูดอยทั้งมวลนั้นมา เทวดาตนหนึ่งเรียกชื่อว่าเป็นพี่สี ตนหนึ่งชื่อว่านางพีใส สองขานี้อยู่ภูซวงหลวงแลภูช้างนั่ง สองขานี้หากเป็นผัวเป็นเมียกัน เจ้ารัสสีให้รักษาเบื้องตะวันออก เทวดาตนหนึ่งชื่อว่าเก้าง้าว ( เก้าเง่า ) เทวดาตนหนึ่งชื่อว่าท้าวบุญเหลือสองขานี้หากเป็นผัวเมียกันอยู่ภูแสนข้าวคำ เจ้ารัสสีให้รักษาเมืองฝ่ายเหนือ เทวดาตนหนึ่งชื่อว่าเจ้าฟ้าแสดองค์หนึ่งชื่อว่านางพิจิตรเลขาลูกแถนคม เจ้ารัสสีให้รักษาฝ่ายใต้ขาหากเป็นผัวเมียกันเจ้ารัสสีแต่งให้รักษาเมืองก้ำเหนือ แลบ้านเมืองทั้งมวนดังนี้ ผู้ใดจักเป็นท้าวพระยาที่เชียงดงเชียงทองดังนั้น ให้แต่งขันข้าวตอกดอกไม้ภาชนะคาวหวานบูชาเจ้ารัสสีแลเทวดาเจ้าทั้งหลายฝูงว่ามานี้เทอญ เจ้ารัสสีหากสั่งสอนเขาไว้ดังนี้แล ตโตกาเลในการแต่นั้นไปภายหน้า โสตาปัสโสอันว่าเจ้ารัสสีทั้งหลายตนอื่น ก็หนีไปตั้งบ้านตั้งเมืองที่เข้าเจ้ากฎหมายไว้ ที่จักตั้งบ้านแปงเมืองหั้นแล ยังแต่
๗๗ เจ้ารัสสีพี่น้องตนพี่นั้นชื่อว่ารัสสีทอง ตนน้องนั้นชื่อว่าทวาทรัสสีเจ้าจึงมากฎชื่อเมืองก้ำใต้นั้นเอาภูช้างเป็นนิมิตต์ ฝ่ายก้ำเหนือนั้นเอาภูช้างนั่งเป็นนิมิตต์แล ชื่อสองอันนี้จึงได้ชื่อว่าเมืองชวาลานช้างเพื่ออั้นแล ตทนันตรังถัดนั้นเสฎฐตาปัสโสอันว่าเจ้ารัสสีทองตนพี่ ก็จึงให้เจ้ารัสสีตนน้องอยู่เฝ้าที่นั้น แล้วเจ้ารัสสีตนพี่จึงเข้ายังฌานสมาบัติแล้วเจ้าก็เสด็จขึ้นเมือสู่ชั้นฟ้าดาวดึงสา แล้วเจ้าก็เข้าไปสู่สำนักแห่งพระยาอินทร์เจ้ากล่าวกิจการทั้งมวล อันตั้งหมายเขตต์แดนบ้านเมืองทั้งมวล ท่อจักให้หาท้าวพระยาตนอยู่ชอบโลก ชอบทศราชธรรม ๑๐ ประการเป็นต้นว่าให้ทานรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ฟังธรรมเมตตาภาวนาบ่ข่มเหงข้อยไพร่ใหญ่ไทย อนึ่งบ่ให้ม้างราชประเวณีบุราณธรรมตั้งไว้เก่าถมใหม่ถางฮีดกอง แต่ปิตุปิตาหากตั้งไว้แล้วพอยเหล่าริม้างเสีย อันนี้ก็เป็นคองฉิบหายในโลกอันนี้แลโลกภายหน้า ประการหนึ่ง ข้าแห่งพระยาอินทร์เจ้า ให้ซอกหาท้าวพระยาตนประเสริฐลงไปนั่งบ้านแปงเมืองให้ชอบ ให้ข้อยไพร่ใหญ่ไทยได้สุขย่อนเจ้าแผ่นดิน ดูราพระยาอินทร์เจ้าเป็นแทนท้าวพระยานี้ ตนใดยังเห็นแก่คติ ๔ คือ โทสคติ โมหคติ ฉันทาคติ พยาคติ บ่พิจารณาหลิงโทษหนักโทษเบา หลง ๆ เข้าไปในวัตถุกาม แลกิเลสกาม ถ้อยความคนเขาสู่รู้หาตัดแต่งร้ายดีไปไกล รักชังโคตรวงศ์เห็นแก่ทรัพย์สิน รูปทรงมีคุณบ่มีคุณ ได้ย่อนบ่อได้ย่อนคำหลายให้น้อย คำน้อยให้เกิดมีหลายอิ่มก็ดีใจอิดฮ่อน แหม่นให้ผิดผิดให้แหม่นฮ่าย เห็นแก่หยับตายิกคิ้วย่านกลัวภายลุน โทษทันบาปไหมหย่าเป็นใหญ่ ผิแผ่นแก่อนารัฐคาดคา
๗๘ บ่ตามฤดูปีเดือนวันยาม บ่ตามโบราณราชประเพณี คำฮีบให้เวียกการแต่งเบี้ยเงิน ผู้พ่ายให้แพ้ผู้แพ้ให้พ่ายเห็นแก่สินจ้างนัดเหินดังนั้นบ้านเมืองอันนั้นบ่สุขคุ้มชุ่มเย็น ฉิบหายในชาตินี้ แหม่นท้าวพระยาเสนาอำมาตย์แปงบ้านนั่งเมือง เป็นดังว่ามานี้ ครั้นจุติตายไปสู่นรกมีกองทุกข์ทั้งมวลหากเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นพี่น้อง กองทุกข์อันนั้นหากควรพิลึกพึงกลัวหนักหนา หาความสบายบ่ได้ฮ้องให้อยู่เวย ๆ แก่ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ผู้นั่งบ้านแปงเมืองบ่ให้ชอบโลกชอบธรรมนั้นแล ดูกรพระยาอินทร์ ตนเป็นแก่กว่าเทวดาทั้งหลาย ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์หญิงชาย แต่งให้แหม่นทำนองสัปปุริสเจ้าดังนั้น อโกธังอย่าได้มีคำกอยลัก ใจน้อยขื่นขมใน อวิหิงสัญจรอย่าได้ปองบังเบียด ผิแผ่นอันบ่แหม่นคองเมือง อัชชวังให้มีใจอันซื่อต่อ ตั้งใจห่อคองบุญ มัทธ-วังให้มีใจอ่อนขามละเอียด บ่กอยเคียดย่อมปราณี ขันตีย่อมอดคำเคียมย่อมปราณี ปริจาคังมีใจดีสะจ่ายให้ด้วยง่ายเป็นทาน หิริโอตัปปะปากอันได้กระทำอันใด ให้ละอายแก่นักปราชญ์ ผู้ฉลาดคองธรรม อวิโรทนังแต่งให้ราบตามคองเมือง สีลทานังให้มีศีลแลทานทุกเมื่อ ใจกว้างเพื่อมักบุญก็จิงได้นำตัวไปเกิด ชั้นฟ้าเลิศดุสิดาแท้ดีหลีแล ตโตภายหน้าแต่นั้นเสฏฐอิสิ อันว่าเจ้ารัสสีตนพี่คือรัสสีทองจึงได้รัสสีตนน้อง อยู่รักษาที่นั้นก่อนแล เจ้าก็เข้ายังฌานสมาบัติทยานขึ้นเมือชั้นฟ้าดาวดิงสา เล่ากิจการถ้อยคำทั้งมวลแก่พระยาอินทร์อันได้แต่งบ้านแปงเมือง ให้ท้าวพระยาตนแต่งชอบโลก ให้เป็นสุขแก่สัตว์แก่คนทั้งหลาย แล้วก็ต้านจารจากับดอมพระยาอินทร์ ให้ท้าว
๗๙ ทั้งสี่มาเลียบดูยังชุมพูทวีป ให้เป็นบ้านเป็นเมืองแล้วหั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้าเกิดมาตรัสสัพพัญญูเป็นพระในโลกนี้ แล้วยังไป่ได้โผดสัตว์ทั้งหลาย ในเมืองใหญ่ทั้งหลาย ๑๖ เมืองก่อนแล เมืองน้อยทั้งหลาย ๑๕ เมืองนี้พระพุทธเจ้าไปโผดสัตว์บ่ทันฮอดทันเถิงเมืองเพื่อ บ่มีท้าวพระยาตนใดรักษาแผ่นดินหั้นแล เจ้ารัสสีมีคำต้านจารจากับดอมพระยาอินทร์ดังนี้แล้ว จึงสั่งอำลาพระยาอินทร์เจ้าฟ้ากับทั้งท้าวทั้งสี่กับทั้งวิศณุกรรมเทวบุตรทั้งหลาย ก็มาชุมชนุมกันในสำนักแห่งพระยาอินทร์ตนเป็นแก่กว่าเทวดาทั้งหลายหั้นแล เมื่อนั้นเจ้ารัสสีโอตริตวาก็เสด็จลงมาจากชั้นฟ้าตาวดิงสา มาแล้วก็มาบอกเล่าอันได้ต้านจารจากับดอมพระยาอินทร์ แก่เจ้ารัสสีตนเป็นน้องแห่งตนสู่ประการแล้ว ก็โตเจ้ารัสสีทั้งสองพี่น้องก็เสด็จไปสู่ที่อยู่แห่งตนก็มีวันนั้นแล ฯ โภสาธโวดูราสัปปุริสทั้งหลาย ฝูงมีผยาจักกล่าวยังพระยาผีแถน จักให้ท้าวขุนบรมลงมาเกิดในเมืองลาวเก่าเฮานี้ก่อนแล แต่นั้นผีแถนก็ให้ท้าวขุนบรมราชาลงมาเกิดในเมืองลาว ให้เป็นพระยาหั้นแล หิด้วยมีแท้อันว่าลาวเก่าเขาว่า แถนฟ้าขื่นนั้นคือตนพระยาอินทร์เจ้าฟ้าแล แถนองค์นี้หูบ่องหูหิ้งแล แถนผู้ให้เป็นฝนเป็นลมนั้นก็ดีแถนผู้ให้เป็นเครื่องเสพของรำก็ดี แถนผู้แต่งให้เป็นเครื่องไฮเครื่องนาแลแต่งให้เป็นโลกทั้งหลายฝูงนี้ แหม่นเทวบุตรเทวดาทั้งหลายอันอยู่ในชั้นฟ้าจาตุมหาราชิกา ทั้งมวลเป็นองค์ประเสริฐยิ่งนักแลลาวเมืองล่างปางก่อนนั้น เขาเรียกว่าผีฟ้าผีแถนว่าอั้น ที่แท้บ่เป็นดังคำ
๘๐ เขาดาย บัดนี้เราทั้งหลายตามคำลาวเก่านั้นก่อนแล แถนฟ้าขื่นจึงว่าเจ้ารัสสีมาเล่าต่อเราดังนี้ เราทั้งหลายจักให้ไผไปเป็นท้าวพระยาในเมืองหลุ่มนี้จา แถนทั้งหลายจึงกล่าวว่า เออควรให้แถนชั่งมาชั่งดู ก่อน ลูกฟ้าแกนทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชาย บุญไผมีมากทลาย เขาจึงให้ ลงไปเป็นเจ้าแผ่นดิน ที่เชียงดงเชียงทองเทอญ ผู้บุญน้อยให้ไปเป็นเจ้าเป็นใหญ่ที่นั้นบ่ได้ แลผีแถนทั้งหลายจากันดังนี้ ด้วยมีแท้คำเจ้ารัสสีมาเล่าต่อเราดังนี้ เป็นหนักเป็นใหญ่กว้างขวางดีหลี ผู้บุญน้อยบ่ควรเป็นเจ้าเป็นใหญ่บ่ควรเลย อนึ่งไม้ทองต้นนั้นใหญ่นัก ยอดปลายมันนั้นแหม่นหินกัมพลศิลาบาทแห่งพระอินทร์ เจ้าฟ้าแท้ดีหลีดายบ้านเมืองชวาลานช้างอันนี้ เป็นหนักเป็นใหญ่ดายเงินคำเหล็กทองทั้งต้นไม้แลเป็นใบ แลมีรสหอมนัก แก้ว ๗ ประการก็มีในพื้นแผ่นดินนั้นหั้นแล เจ้ารัสสีว่าดังนั้นแถนฟ้าขื่นกล่าวว่าผู้ใดบุญน้อยลงไปเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองอันนั้นบ่ได้แล แถนทั้งหลายจึงมาชั่งคุณดูในแถนทั้งหลายในเมืองฟ้าเมืองแถน ทั้งผู้หญิงผู้ชายหลายนัก จึงมาได้ลูกแถนขื่นผู้หนึ่ง จึงมาได้ลูกแถนชั่งหญิงหนึ่ง จึงมาได้ลูกแถนแต่งหญิงหนึ่ง สามคนเขานี้ แถนทั้งหลายจึงเอามาตั้งไว้ณท่าม กลางแถนทั้งหลาย ส่วนว่าแถนฟ้าขื่น จึงมาสั่งสอนแก่เขาทั้งสามว่าดังนี้ ดูราเจ้าทั้งสาม สูเจ้าครั้นเป็นผัวเมียกันแล้วจงไปสู่ที่อยู่ที่กินในเมืองหลุ่มพุ้นเทอญ ลูกแถนคมนั้นใส่ชื่อนางยมมะพาลา ให้เป็นเทวีก้ำขวา ลูกแถนชั่งนั้นใส่ชื่อนางเอ็ดแคง ให้เป็นเทวีก้ำซ้าย เจ้าผู้เป็นผัวนั้นให้ชื่อว่าขุนบรมราชธิราช แล้วจึงมาให้เครื่องท้าวทั้ง ๕ ประการ
๘๑ เพื่อเป็นเครื่องราชาภิเษก แล้วจึงมาให้ดาบแม่วี กับทั้งตาวฮางกอนกับทั้งดาบฟันเหลียว และดาบสายฟ้าแมบ และดาบเหล็กกอนแข้เผือกกับทั้งด่างสามดวง กับทั้งแคนสามงา กับฆ้องฮางเงินฮางคำ และง้าวฟ้าฟื้นกับแสงฟ้ากระตาก ทั้งกลองไชยทั้งฆ้องน้อยฆ้องใหญ่ ให้ไว้คนหอยสังข์ดังเสียงมี่ทั้งปี่แก้วชื่อว่าสอนไร ทั้งไตเงินไตคำเป็นขัน หมาก ทั้งหม้อไหไตพาดทั้งบวยเงินบวยคำ ทั้งเงินแก้วเครื่องแสงหลากหลายสิ่งสู่ประการ กับทั้งเจียดพันลายปกหัวช้าง กับทั้งประคือกว้างกางกั้นกางหาว กับทั้งสาวสนมสามฮ่อยคู่ แถนก็ให้นั่งอยู่เป็นถ้องถันแถวหั้นแล เมื่อนั้นแถนฟ้าขื่นจึงให้เอาช้างเอาม้าทั้งมวลมาดูจึงมาได้ (ช้าง) ตัวหนึ่งชื่อว่าช้างงาเกี้ยวงากอด ช้างตัวนี้เป็นลูกช้างเอราวัณ มีตัวอันขาวกระโบงตาทั้งสองนั้นดำ มีริมปากทั้งสองนั้นก็ดำเป็นดังแต้มเขียนนั้นแล มีงาอันขาวเป็นดังแก้วผลึกนั้นแล จึงเอาม้าตัวหนึ่งเป็นชาติเชื้อพลหก จึงหาลูกแถนอันผู้มาต้อนหน้านั้นผู้หนึ่งชื่อว่าขุนธรรมราช ผู้หนึ่งชื่อขุนแสงมโนศาสตร์ เจ้านั้นรู้ศาสตร์เพททั้งมวล ไปก่อนขุนบรมราชา ผู้หนึ่งชื่อขุนอุ่น ผู้หนึ่งชื่อขุนคลีและสองขุนนี้ขี่ม้าตามหลังช้างขุนบรม และแถนฟ้าขื่นจึงให้ผู้หนึ่งชื่อปู่เถ้าเยอ ผู้หนึ่งชื่อว่าแม่ย่างาม สองคนนี้เป็นผัวเมียกัน แบกขวานไปก่อนเถ้าไลแลแม่มด สองขานี้เป็นผัวเมียกัน แบกพร้าแบกจกแบกเสียมไปตามหลังเถ้าเยอแลแม่ย่างาม ๔ คนเขานี้จักมาผาบข่มผีเผดผียักษ์ ผีเสื้อเมืองผู้ร้ายกล้าแข็งอั้น บ่ให้เข้าบ้านเข้าเมือง ก่อนขุนพรมหั้นแล แต่นั้นฟ้าขื่นจึงให้ผู้หนึ่งชื่อว่าขุนคัว ขี่ควายเขาลู่ จึง
๘๒ ให้ผู้หนึ่งชื่อลางเชิงขี่งัวอ้ายเขากว้าง สองขานี้คือรี้พลเสนาหมอบหลังขุนบรมมาหั้นแล ขุนบรมจึงขี่ช้างงาเกี้ยวงากอด ขัดทั้งตาวแม่วีทั้งสะพายไถ้แล่งทั้งเครื่องราชาภิเษก อันแถนฟ้าขื่นตนเป็นใหญ่ให้นั้นจึงเอานางยมมะพาลาทั้งนางเอ็ดแคง ขี่ช้างดอมจึ่งเอาขุนศาลขี่ท้ายช้างถือประดือหลวงไกวแกว่ง เมื่อขุนบรมจักลงมานั้นมื้อกาบอันนี้เป็นแม่มื้อ มื้อไจ้อันนี้เป็นลูกมื้อ จึงว่ากาบไจ้เพื่อดังนั้นแลเป็นต้นแลแลวันอันขุนบรมลงมานั้นวันอาทิตย์ อันนี้เป็นพระยาวันวันจันทร์อันนี้เป็นนางวันทะเทวี เป็นเมียพระอาทิตย์แล แต่นั้นแถนฟ้าขื่นจึงให้แถนชี้ชีบ่อนชี้ที่ให้แก่ขุนบรมว่า เจ้าจงไปตั้งที่นาน้อยอ้อยหนูหั้นก่อนแถนชีจึงชี้ว่าสิ่งนั้นเมื่อใดเจ้าไปตั้งอยู่แล้ว จัดให้เจ้ามีลูก ๗ ชายผู้พี่นั้นเจ้าให้ไปเป็นเจ้าแผ่นดินที่ต้นไม้ทอง เจ้ารัสสียังเอาหินหน่วยชื่อว่าก้อนก่ายฟ้าหมายไว้หั้นแล ครั้นเจ้ามีลูกผู้พี่ให้ไปเป็นเจ้าแผ่นดินหั้นเทอญ แถนชี้หั้นแล้วเหล่าชี้ไปที่เมืองญวน ที่เมืองโยธิยาชาวใต้ที่เมืองพวน ที่เมืองสา ใน ๗ แห่ง ๗ ที่นี้ แถนฟ้าขื่นจึงให้แถนชีชี้บ่อนชี้ที่ทั้งมวล แล้วแถนฟ้าขื่นจึงให้นักขัตตฤกษ์ทั้งมวล เป็นต้นว่าอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุก เสาร์ ราหูเข้าในราษีกันอยู่ก่อน จึงให้ขุนบรมโยงฆ้องหน่วยชื่อว่าท้าวฆ้องนั้นป่าวพลทั้งหลายให้แต่งดา ขุนบรมจึงเป่าหอยสังข์ เถ้าเยอเถ้าไลจึงลงก่อนหน้าหั้นแล แต่นั้นขุนบรมจึงเอารี้พลลงมาฮอดที่นาน้อยอ้อยหนู พอยามที่จะใกล้รุ่ง แถนแต่งจึงให้ไว้ลัคคณาเมืองที่สิงราษีหั้น อันนี้เป็นชาตาเมืองอั้นก่อนแล เจ้ารัสสีใส่ชาตาไว้นั้นเป็นชาตาแผ่นดินเหตุเพื่อไป่มีคนมาอยู่
๘๓ มาตั้ง อันแถนแต่งใช้นี้ขุนบรมมาตั้งบ้านตั้งเมืองแล้วมีคนอยู่ในแผ่นดินแล้วเป็นชาตาเมืองหั้นแล อันชื่อว่าแถนแต่งนั้นเป็นวิศุกรรมเทวบุตรแล จึงมาแต่งโฮงแต่งศาลแต่งสู่สิ่งสู่อันสู่เหยื่องไว้ทั้งเครื่องเสพเครื่องรำเครื่องหลิ่นเครื่องหัวทั้งมวล แล้วจึงมาอธิษฐานให้เป็นไฟไว้ในไม้ในหิน แล้วจึงอธิษฐานให้เป็นวังน้ำร้อน อนึ่งจึงมาอธิษฐานให้เป็นฮูลมอันหนึ่ง แล้วจึงสั่งเทวดาทั้งหลายอันอยู่พื้นแผ่นดินก็ดี อยู่ต้นไม้และภู เขาก็ดี ตนอยู่ในน้ำน้อยน้ำใหญ่ทั้งมวลก็ดี ให้มารักษาขุนบรมราชาแลเจ้าขุนทั้งหลาย อันลงเมืองฟ้ามาหั้นแลแถนแต่งจึงสั่งสอนขุนบรม แล้วจึงขึ้นเมือฟ้าคอบแถนหั้นแล อยู่นานได้สองปี ขุนบรมจึงมีลูกชายหนึ่งดอมนางยมมะพาลา จึงใส่ชื่อว่าขุนลอแล้วจึงมีลูกชายหนึ่งดอมนางเอ็ดแคง จึงใส่ชื่อว่าขุนลาน แล้วจึงมีลูกดอมนางยมมะพาลาผู้หนึ่ง ชื่อว่าจุสง แล้วจึงมีลูกดอมนางเอ็ดแคงชายหนึ่ง ใส่ชื่อว่าขุนคำพวง แล้วมีลูกดอมนางยมมะพาลาชายหนึ่ง ชื่อว่าขุนบานจึงเหลาแล้วมีลูกดอมนางเอ็ดแคงชายหนึ่ง ชื่อว่อขุนเจ็ดเจืองจึงเหลา มีลูกดอมนางยมมะพาลาชายหนึ่ง ชื่อว่าขุนเจ็ดเจียงแล แต่ขุนบรมมาตั้งเมืองได้ ๙ ปี มีลูก ๗ ชายเท่าว่าบ่มีข้อยมีไพร่ บ่มีเสนามนตรีบ่มีช้างม้าเข้าของสมบัติอันใด เอาแต่เมืองฟ้ามาจึงมีแล แต่นั้นขุนบรมราชากับทั้งนางยมมะพาลา กับทั้งนางเอ็ดแคงจึงค้างทุกข์ค้างยาก จึงให้ขุนสานทั้งเถ้าเยอทั้งแม่ย่างามเมือไหว้แถนฟ้าขื่นหั้นแล อนึ่งต้นไม้เครือเขากาดมาเป็นในหนองคู ว่าหั้นเป็นอันร่มเย็นนัก แดดบ่เห็นตะวันบ่ส่องได้ อนึ่งเครือหมากน้ำเต้าปุงสอง
๘๔ หน่วยก็เมือเกี้ยวเครือไฮหลวง ที่หัวหนองหั้นเฮงฮกเฮงมืดบ่เห็นฟ้าเห็นบนหนาวนัก อยู่เมืองหลุ่มบ่ได้จักให้ตูข้อยเฮ็ดสิ่งใด เจ้าทั้งหลายเท่าไหว้สิ่งนั้นเทอญ ขุนแลเขาทั้งหลายก็เมือไหว้ตามขุนบรมหากใช้หั้นแล ครั้นว่าฮอดเมืองฟ้าแล้วเขาก็ไหว้แถนฟ้าขื่นสู่สิ่งสู่อันตามความขุนบรมสั่งสู่อั้นแล แถนหลวงจึงว่าดั่งนี้ ถ้อยคำอันเจ้าทั้งหลายเล่านี้เราก็รู้ก็แจ้งสู่อันแล ท่อว่าลูกไปตั้งอยู่เมืองหลุ่มบ่เถิง ๙ ปี ๑๐ ปีเถื่อแล จักให้ไปป้ำไม้ฟันไม้ใหญ่เสียสิ่งนั้นก็บ่ดี แลบัดนี้กูก็ให้แถนทั้งหลายไปส่อยแต่งบ้านแปงเมืองสู่อันนี้แล ท่านเถ้าเยอแม่ย่างามสองเขือนี้ เถ้าไปป้ำไม้เครือเขากาดเทอญเถ้าไลแม่มดบน สองข้านี้ให้ไปป้ำไม้ไฮหลวง อันเครือหมากน้ำเกี้ยวนั้นเสียเทอญ แถนสิ่วให้ไปสิ่วน้ำเต้าปุงหน่วยพี่นั้น ให้คนผู้หญิงผู้ชาย ช้างเถิกช้างแหม่ม้าเถิกม้าแหม่ เข้าของเงินคำแก้วแหวนผ้าผ่อนท่อนจันทร์ฮำแพแฮจีน หากออกในน้ำเต้าปุงหั้นสู่เหยื่องสู่อัน แลแถนชีให้ไปชีน้ำเต้าปุงหน่วยน้องนั้น ให้คนผู้หญิงผู้ชายทั้งควายทั้งงัว ทั้งแบ้ทั้งเยืองทั้งหมูหมาเป็ดไก่ แลอาหารอันเป็นของเลี้ยงของดู ทั้งต้นส้มต้นหวานน้ำส้มน้ำเค็ม ทั้งต้นพร้าวต้นตาลกล้วยอ้อย ทั้งพริกขิงผักหอมผักเทียม ผักบั่ว หมากไม้ทั้งมวนอันเป็นของควรเคี้ยวควรกินทั้งมวน หากจักออกมานำสองเต้าปุงหน่วยน้องนั้นแล แถนฟ้าขื่นจึงให้แถนเถือกไขประตูคำประตูเงินประตูทองประตูเหล็ก ให้แถนทั้งหลายลงมาแต่งแปงให้แก่ขุนบรม สู่อันสู่สิ่งสู่เหยื่องหั้นแลแต่นั้นแถนสิ่วก็มาสิ่วน้ำเต้าปุงหน่วยพี่นั้นแถนชีก็มาชีน้ำเต้าปุงหน่วยน้องนั้น เขาทั้งมวลคือว่าคนผู้หญิงผู้ชาย
๘๕ ช้างม้าวัวควายก็ไหลออกมาจากน้ำเต้าปุงสองหน่วยนั้นหั้นแล แต่นั้นคนทั้งหลายจึงได้ชื่อว่าลาวเก่า ก็เพื่อความออกจากน้ำเต้าปุงสองเต้านั้นแล แต่นั้นแถนสิ่วแถนชีจึงว่าแก่เถ้าเยอเถ้าไลว่า ครั้นว่าเขือเมือเมืองฟ้าแล้ว เขือจงป้ำเครือเขาทั้งต้นไฮหลวงทั้งผ่าน้ำเต้าปุงเสียเทอญ สูอย่าเมือหาตูที่เมืองฟ้าพุ้นเทอญ ดูก็บ่เทียวมาหาสูแล ครั้นสูทั้งสี่ตายแล้วจงให้คนเมืองหลุ่มเวนทงสูเทอญ ตูก็สั่งขุนบรมไว้นี้ ครั้นว่าคนเมืองหลุ่มจักกินอันใดก็ดี ครั้นว่ามาเยอสูทั้งสี่จงแล่นมากินก่อนเทอญ แถนทั้งสองสั่งสู่สิ่งอันแล้ว ขึ้นเมือคอบแถนฟ้าขื่นหั้นแล แต่นั้นเขาก็ป้ำเครือเขากาดกับต้นไม้ไฮหลวงเสียหั้นแล ผ่าน้ำเต้าปุง แลหน่วยให้เป็นสองเสี่ยงเสียที่แคมหนองคูวาหั้นแล บัดนี้เฝื่องน้ำเต้าปุงก็ยังกายเป็นหินอยู่หั้นแล แต่นั้นบ้านเมืองแห่งขุนบรมที่นาน้อยอ้อยหนูก็รุ่งแจ้งดีนักแล เถ้าเยอเถ้าไลแม่ย่างามแม่มดมันก็ตายไปเป็นผีเสื้อเมืองตาบต่อเท่าบัดนี้แล แต่นั้นไปภายหน้าขุนบรมจึงใส่ไฮใส่นาปูกแปงท้าวพระยาหั้นแล ขุนศรีธรรมราชให้เป็นแสนเมืองแต่งรักษาไพร่ไทยทั้งมวล ต่างขุนบรมหั้น ขุนแสงให้เป็นหมื่นหลวงกลางเมืองรักษาคนทั้งมวล ขุนสานให้แต่งเครื่องเสิกเครื่องเวียกทั้งมวล เบื้องขวาขุนพี ให้รักษาเครื่องเสิกเครื่องเวียกทั้งมวล ก้ำซ้ายขุนสานผู้ขี่ท้ายช้างดอมขุนบรม ให้รักษาราชวัตก้ำหน้าทั้งใต้ถ้อยสวนความ ทั้งมวลสู่อันขุนอินทร์ให้รักษาราชวัดก้ำหลัง ทั้งไต่ถ้อยสวนความดอมขุนสานขาทั้งสองนี้แต่งพิจารณาตามขุนบรมให้ชอบธรรม ขุนธรรมราชาอันเป็นแสนเมืองนั้น แต่งรักษาสู่สิ่งสู่เหยื่องบ่ให้เคืองใจขุนบรมสัก
๘๖ เหยื่องแล แต่นั้นมาจึงตั้งให้เป็นห้าหัวเสิกหัวเวียกเพื่ออั้นแล บัดนี้เมือภายหน้าขุนบรมจึงให้หาบัวหานางอันออกที่น้ำเต้าปุงหน่วยพี่นั้น ผู้มีลักษณะกิจอันดีงามมาเป็นลูกนั้น มาเป็นลูกสะใภ้ทั้ง ๗ คนนั้นแลแล้วจึงมาแปงแต่งเอาคนผู้เป็นเจ้าเป็นขุน แบ่งปันลูกชายทั้ง ๗ นั้นจึงเล่าแต่งเอาไพร่เอาคน ผู้ควรอันเป็นไพร่ให้แก่เขาเจ้าสู่คนหั้นแล จึงเอาไม้เครือเขากาดทั้งไม้ไฮหลวงต้นใหญ่นั้นมาแปงดางสามงาให้แก่ลูกชายทั้ง ๗ คน แลคนแลสามดวงหั้นแล แต่นั้นช้างงาเกี้ยวงากอดอันลงมานำนั้นก็ตายเสีย จึงเอางามาเหลือ (เลื่อย) เป็น ๗ ท่อนให้แก่ลูกทั้ง ๗ คน เครื่องหอกเครื่องดาบเครื่องแก้วเครื่องแหวนทั้งมวล อันแถนฟ้าขื่นให้แต่เมืองฟ้ามานั้น ก็มาแจกมาปันให้แก่ลูกชายทั้ง ๗ หั้นแล แล้วจึงหามื้อดีวันดีนักขัตตฤกษ์ทั้งมวลอันอยู่ใน ๑๒ ราษีอันเป็นอุตตมราษีอันประเสริฐสู่ตัว แล้วจึงเอาลูกชายทั้ง ๗ มาไว้ซ่องหน้าคน กับเสนาอำมาตย์ทั้งหลายตามฮีดคองดังแถนฟ้าขื่นแต่งลงมาในเมืองหลุ่มนั้นแล จึงมาราชาภิเษกเอาน้ำใส่ไตคำอันใหญ่ จึงเอามือลูกชายทั้ง ๗ คนทั้งลูกสะใภ้ทั้ง ๗ คนมาสบในไตคำ แล้วแลให้พระพรอันวิเศษว่า เจ้าทั้งหลายไปกินบ้านกินเมืองตามความแถนชีชี้บ่อนชี้ที่แต่เมืองฟ้าให้นั้น ทั้งความกูพ่อจิงบอกกล่าวแก่สูทั้งหลายบัดนี้ ไปกินบ้านกินเมืองปกข้อยห้อมไพร่ อย่าเฮ็ดใจอ้ายใจเคียด อย่าเฮ็ดใจสั้นใจหลอนอย่ามักติมักเตียนท่าน อย่ามักฆ่ามักฟันกันกระทำตามใจตน ให้ค่อยคิดค่อยอ่าวดูสู่เหยื่องก่อนรู้แจ้งแล้วจึงกระทำ อนึ่งนั้นผู้หญิงผิดสิ่งใดก็ดีอย่าฆ่าอย่าฟันเสีย
๘๗ แถนฟ้าขื่นสั่งกูพ่อสิ่งนั้นแต่เมืองฟ้าพุ้น ว่าอย่าฆ่าอย่าฟันผู้หญิงเสียเหตุว่าผู้หญิงนี้ แต่ปฐมกัลปพุ้นเขาหากเป็นเค้าเป็นเดิมมาท้าวพระยาผู้ใดยังฆ่าผู้หญิงย่อมบ่มั่นบ่ยืน บ้านเมืองอันนั้นย่อมเศร้าศูนย์เสียแถนฟ้าขื่นสั่งกูพ่อสิ่งนี้ดีหลีดาย สูเจ้าทั้งหลายไปกินบ้านกินเมืองตามความกูพ่อ บุญไผมีหากได้ที่กว้างที่ขวางหั้นแล อย่าขี่ช้างตกนาพาแพนตกท่งกัน เมืองอ้ายไว้แก่อ้าย เมืองน้องไว้แก่น้อง ลูกสืบลูก หลานสืบหลาน เหลนสืบเหลน หมั่นใช้ถามข่าวกล่าวซึ่งกันผู้ใดได้เครื่องหลากของต่างในบ้านในเมือง ให้มาส่งมาถวายแก่กัน ผู้ใดฟังคำกูพ่อดังนี้ ทั้งลูกหลานเหลนอันได้ร้อยชั่วพันชั่วหมื่นชั่วแสนชั่วให้มั่นให้ยืนเทอญ ผู้ใดบ่ฟังคำกูพ่อชั่วอย่าฮีปีอย่ากว้าง ผู้ใดฟังความกูให้มั่นให้ยืนเทอญ อนึ่งขุนบรมจึงว่าลูกใภ้กู ๗ คนนี้ นอนให้นอนลุนผัวตื่นก่อนผัว ให้คึดหาเวียกการผัวอันจักแต่งจักปุนต่างผัวให้คึดหาอันจักต่ำหูกเขนฝ้าย ให้คึดหาอันจักเลี้ยงข้าเลี้ยงไทย ให้คึดหาอันจักกระทำไฮ่นาทำกินทำสวน อนึ่งไฟในเฮือนอย่าเอาไปนอกเฮือนไฟนอกเฮือนอย่าเอาไปในเฮือน คือว่าผู้ใดมาว่าดีว่าฮ้ายผู้ใดมาส่อมาสนก็ดี ให้พิจารณาดูก่อนควรบอกควรเล่าต่อผัว ก็จิงเล่า บ่ควรเล่าก็อย่าเล่า ควรให้แล้วแก่ตน อนึ่งให้เอาผู้หญิงสี่คนผู้รู้ดีสามคนสองคนก็ดีมาไว้พางไว้ใกล้ จักกระทำอันใดให้อือให้ยินเขาทั้งสี่คนนั้นดูก่อน แหม่นแล้วจึงกระทำ อนึ่งตัวลูกใภ้กูทั้ง ๗ คนนี้สูเจ้าอย่าฆ่าสัตว์ แหม่นเผิ่นก็อย่าจำให้ฆ่า แหม่นฆ่าคนก็ดีก็อย่าพร้อมอย่าจำเผิ่นฆ่า อนึ่งอย่าลักของผัวของท่านผู้อื่นก็ดี อนึ่งอย่าหลิ้นชู้กับผัวแหม่นว่าฝันกลาง
๘๘ วันกลางคืนก็ดี ก็อย่าได้ยินดีดอมมันผู้นั้นเทอญ อนึ่งอย่าหล่ายถ้อยหล่ายคำ อันมีจิงว่ามีบ่มีอย่าว่ามี อนึ่งอย่ากินเหล้ากินยาให้เมาย่อมเสียสมบัติปัญญาดีหลีดาย อนึ่งยามไฮ่ไถนาให้บอกให้เตือนคนทั้งหลาย อนึ่งเถิงยามหลิ้นมโหรสพก็ให้บอกให้เตือนคนทั้งหลาย หลิ้นให้หม่วนงัน เถิงยามกระทำก็ให้บอกให้เตือนคนทั้งหลายให้พร้อมกันเฮ็ดเพื่อสัพพัญญูเจ้า เกิดมาตรัสสัพพัญญูเป็นพระแล้วยังไป่โผดสัตว์ทั้งหลายในเมืองใหญ่ไป่ทันมาเถิงเฮาดีหลีดาย กูพ่อก็สอนเจ้าทั้งหลาย ตามปู่สูเจ้าแถนฟ้าขื่นสั่งสอนตู แต่เมืองฟ้ามาก็สิ่งเดียวนี้แล จึงให้เอามือเขาเจ้าออกจากไตคำอันใส่น้ำนั้นหั้นแลจึงให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย หดสรงสูเจ้าสู่เข้าเล่าขวัญอุสาภิเษกแล้วขุนบรม-ราชาธิราชทั้งนางยมมะพาลากับทั้งนางเอ็ดแคง แล้วเสนาอำมาตย์พร้อมกัน จึงให้ขุนเขียนดาบแก้วดาบคำใส่ชื่อขุนลอ ให้เมือกินเมืองชะวาลานช้าง เชียงดงเชียงทอง อันที่เจ้ารัสสีกฎหมายบ่อนที่ไว้หั้นแล จึงเขียนดาบคำใส่ชื่อว่าขุนลาน ให้เมือกินเมืองห้อวองแต่น้ำท้ายชายคำวิทธิราชพุ้น จึงมาเขียนดาบคำอันหนึ่งให้แก่ขุนสง ให้เมือกินเมืองระณีพรหมทัตราช จึงเขียนดาบคำอันหนึ่งให้แก่ขุนคำพวง ให้เมือกินเมืองกุมกามโยนกราชละพุนเชียงใหม่ จึงเขียนดาบคำอันหนึ่งให้แก่ขุนอินทร์ ให้เมือกินเมืองละโว้โยทธิยา จึงเขียนดาบคำอันหนึ่ง ให้แก่ขุนเจ็ดเจืองให้เมือกินเมืองพวนตะวันออก จึงมาเขียนดาบคำอันหนึ่งให้แก่ขุนเจ็ดเจียง ให้เมือกินเมืองมวนหั้นแล
๘๙ ขุนบรมราชาธิราชปูกลูกชายไปกินบ้านกินเมือง ตามความแถนฟ้าขื่นแถนชี แถนแต่งหั้นแล แต่นั้นเล่าซ้ำสั่งสอนว่าดังนี้ ครั้นเจ้าทั้งหลายจักให้มีรูปมีโฉมอันดีอันงามดังนั้น ให้รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ให้มีผยาปัญญา อันจัดให้ไปนำตนนี้มีท่อให้ท่านพ่อแล้ว เจ้าทั้ง-หลายไปกินบ้านกินเมืองตัวแล มีสมบัติเข้าของให้แจกเป็น ๗ ส่วนพ่อเนอ ส่วนหนึ่งให้ใส่เล่มฉางไว้ขนันบ้านเมืองไว้ ส่วนหนึ่งให้นุ่งให้กินพ่อเนอ ส่วนหนึ่งให้ทานแก่ลูกแก่เมียข้อยคนทั้งหลาย ฝูงอยู่ใช้ช่วงตน ส่วนหนึ่งทานแก่พระสงฆ์เจ้า ผิบ่มีให้ทานแก่เจ้ารัสสีแลคนอันมีศีลพ่อเนอ ส่วนหนึ่งให้ทานแก่เสนาอำมาตย์ใหญ่ ผู้จักอาสาให้แล้วกิจแห่งตน ส่วนหนึ่งไว้ตอบแขกอันจักมาไหว้มานบตนของ เขาท่อใดให้ตอบสองท่อของเขานั้นเทอญ ส่วนหนึ่งให้ทานแก่ยาจกคนขอ ฝูงหมู่หูหนวกตาบอดคนทุกข์ไฮ้ขีนใจนั้นพ่อเนอ ของทั้งหลายฝูงนี้ก็หากจักไปนำลูกทั้งหลายสู่แห่งสู่ที่พ่อแล้ว อันนี้คำปู่สูเจ้าแถนฟ้า ขื่นหากได้สั่งสอนกูพ่อแต่ในเมืองฟ้าพุ้นมา บัดนี้กูก็สั่งก็สอนตามความปู่สูเจ้าพ่อแล แต่นั้นขุนบรมราชาธิราช สั่งสอนลูกชายลูกสะใภ้ทั้ง ๑๔ คนก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ นับแต่ขุนบรมลงมาตั้งเมืองหลุ่มได้ ๒๐๕ ปี (๒๕ ปี) ขุนลอใหญ่มาได้ ๒๓ ปี ก็ล่วงมาตั้งเมืองชะวาลานช้าง ที่เชียงดงเชียงทองอันเจ้ารัสสีแฮกหมายใส่หลักคำใส่หลักเงินไว้ ที่ก้อนก่ายฟ้าหั้นแลยามนั้นขากันฮางปู่มัน พระยานาคอยู่น้ำท่าผาติงสบอูหั้น ขุนลอจึงมาเลวแพ้ ไล่เขาเมือภูเลาภูคาจึงเป็นข้าเก่าบัดนี้แล อันนั้นแหม่นชากันฮางแล
๙๐ ยังมีคนชุมหนึ่งแม่เขานั้นชื่อว่านางกางฮีผีเสื้อ พ่อเขานั้นเป็นคนมาเอากันเป็นผัวเมียจึงมีลูก เขาใส่ชื่อลูกผู้พี่นั้น ชื่อขุนเค็ด ผู้น้องว่าขุนคาน เขาอยากมาตั้งที่เชียงดงเชียงทองบุญเขาน้อยมาตั้งบ่ได้ เขาจึงไปตั้งที่เชียงงวดอันเฮาว่าขึงมวกบัดนี้แล บ่อนหั้นเป็นบ้านเมืองเขา ขุนลอจึงไปเลวเอา แต่นั้นเขาก็เอารี้พลมาฮอดท้ายขันหั้น ขุนลอก็ไปเลวได้ชนกัน ขุนลอก็เหล่าแพ้ไล่ไป ก็ได้ขุนเค็ดขุนคานที่เชียงงวดทั้งพ่อทั้งลูกเอาไปจมน้ำเสียที่ดอนสิงหั้นแล เชื้อแนวขุนคานก็พ่ายหนีไปลี่ซ่อนอยู่หั้นแลแต่นั้นเจ้าขุนลอก็คืนมาฮอดเชียงดงเชียงทอง แล้วคนทั้งหลายจึงราชาภิเษกให้เป็นเจ้าแผ่นดินหั้นแล เขาทั้งหลายจึงมาแปงโฮงบ่อนเจ้ารัสสีหมายเอาก้อนหินก่ายฟ้าไว้หั้นแล จึงราธนาเจ้าขุนลอเมือนั่งแท่นเงินแท่นคำ เป็นเจ้าแผ่นดินเมืองศรีสัต-นาคนหุตอุตตมราชธานี เอางอนหมื่นหลวงเท่าสบโฮบเป็นหางนาคเอาสบคานแลน้ำของก้ำเหนือเป็นหัวนาค จึงได้ชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาคเพื่อดังนั้นแลอันชื่อว่าเมืองลานช้างนี้เอานิมิตต์ เบื้องเหนือเอาภูช้างน้อยเป็นนิมิตต์ ก้ำใต้เอาภูช้างหลวงเป็นนิมิตต์ จึงเรียกชื่อว่าเมืองลานช้างเพื่ออั้นแล อนึ่งเจ้ารัสสีเขียนหนังสือใส่ไว้ในก้อนก่ายฟ้าหั้นหน่วยหนึ่ง อันหมายบ่อนเชียงทองนั้น ไว้ให้ผู้ใดจักเป็นท้าวพระยาในที่นี้ ให้มีศีล ๕ ศีล ๘ เหตุเพื่อสัพพัญญูเจ้ายังจักมาโผดสัตว์ทั้งหลาย ฮอดบ้านเมืองอันนี้ดีหลีตาย ผู้ใดจักเป็น (เจ้า) ในเมืองอันนี้ จงให้ทานแก่สัตว์ทั้งหลายแลคนทั้งหลายทุกวันอย่าให้ขาดสักวันเทอญ ภายหน้าพุ้นครั้นศาสนาพระพุทธเจ้ามาฮอดมาเถิงในบ้านในเมืองอันนี้ เล่าเร่งให้ทานแก่พระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า ๙๑ พระสังฆเจ้า ให้เชื่อใสในคุณแก้วสามประการ เหตุว่าศาสนาเป็นเจ้าแผ่นดินมี ๖ ชั่วเจ้าแผ่นดิน ๗ ชั่ว เขาจึงเอายาหลวงโงมมาเป็นเจ้าแผ่นดิน มีลูก ๙ คนผู้หญิง ๔ คน ลูก ๙ คนนี้เฮาบ่อจาก่อนแลเฮาท่อจักจาผู้กินเมืองแทนหลวงโงมแล เขาจึงเอายาคำเฮียวผู้เป็นลูกอ้ายมาเป็นเจ้าแผ่นดินแทน ยาคำเฮียวมีลูก ๔ คน ผู้หญิงสอง ผู้ชายสอง ผู้น้องเหล่านั้นมีแข้วออก ๓๓ เหล่มแต่ในท้องออกมา เสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่าเข็ดว่าขวงจักแพ้บ้านแพ้เมืองว่าดังนั้น เขาจึงเอาใส่แพไหลเสีย เอาข้อยเลี้ยงทั้งมวลใส่แพไปดอม ผู้หนึ่งชื่อบาคุม ผู้หนึ่งชื่อบากิม ผู้หนึ่งชื่อบาโบ ผู้หนึ่งชื่อบาเสียม ผู้หนึ่งชื่อบาจีแข้ ผู้หนึ่งชื่อบาลูข้อยเลี้ยงทั้งหลายฝูงนี้ ทั้งข้อยหญิงข้อยชายทั้งมวล ๓๓ คน ไหลแต่เชียงดงเชียงทองไปดอมเจ้าเขาหั้นแล นางยาคำเฮียวผู้เป็นแม่จึงอุ้มไปฮอดแพอันจักไหลเสียนั้น จึงเอิ้นป่าวเทวดาแลพระยานาคทั้งหลายว่า ให้รักษาลูกข้อยผู้นี้อย่าให้ฉิบหายเสียแด่ เสนาทั้งหลายว่าแข้วออกแต่ในท้อง ๓๓ เหล่ม เขาว่าเป็นคนฮ้ายว่าเข็ดว่าขวงแลให้ไหลเสีย ครั้นว่าบุญลูกข้อยยังมีขออย่าให้หล่มให้จมเสีย ให้ได้มาเป็นเจ้าแผ่นดินในเชียงดงเชียงทอง ด้วยอันชอบโลกชอบธรรมอย่าให้ได้ด้วยหยาบช้าทารุณเทอญ แหม่จึงฝากเทวดาสิ่งนั้น จิงสั่งข้อยเลี้ยงทั้งมวลนั้นว่าลูกกูนี้ตกที่ใดให้สูว่าพระยา อย่าให้ว่าลูกฟ้าคำเฮียว แหม่จึงใส่ชื่อสิ่งนั้นแล เขาจึงไหลไปแหม่ก็นำไปส่งฮอดเมืองขายจึงคืนเล แต่นั้นไหลไปฮอดบ้านใดเมืองใด เขาก็ให้ข้าวให้ของกินสู่บ้านสู่เมือง จึงไปฮอด
๙๒ หัวลีพุ้นที่เมืองหนึ่งชื่อว่าถ้ำมหาเถรเจ้าป่าสมัน เขาจึงมาเหล่าต่อพระ ๆ จึงไปอุ้มเอาออกมาจากแพอันไหลเสียนั้นเมือดอมตนหั้นแล นับแต่เจ้าใหญ่มาได้ ๓ ปี ไหลเสียได้ปีหนึ่ง จึงมาฮอดท่าพระสมันพระเลี้ยงไว้ ๓ ปี พระยานครหลวงจึงเอาเมือเลี้ยงได้ ๗ ปี ทั้งมวลเป็น ๑๔ ปี พระยานครหลวงจิงให้ลูกสาวได้ ๒ ปี พระยานครจิงเอาหมอหูฮาทั้งมวลมาดูชาตาแลนักขัตตฤกษ์เมืองลานช้าง หมอจิงทวยว่าพ่อเจ้านี้แม่เจ้านี้ตายแล้ว เขาจึงเอาอาว์เจ้าเป็นเจ้าแผ่นดินที่เชียงดงเชียงทองแทนแล พระยานครหลวงจิงว่าเฮาจักแต่งรี้พลค่ำคงเมืองปูกยังจักได้เป็นเจ้าแผ่นดินที่เชียงดงเชียงทองบ่จา หมอทั้งหลายจิงว่าอย่าว่าได้แต่เชียงดงเชียงทองเทอญ ยังจักได้เมืองโยทธิยาทั้งเมืองพิงเชียงใหม่ ทั้งเมืองลื้อเมืองเขิน ทั้งเมืองจุลนีแต่ฟากน้ำแม่แท้มาพี่ต่อเท่าเมืองมีฮ่านก้วนมีเสาหินสุ่มเสาน้ำเต้าแก้วพุ้นดีหลี หมอหูฮาพระยาเมืองนครหลวงว่าดังนี้ หากท่อว่าเจ้านี้บ่ได้ตายในเชียงดงเชียงทอง จักได้ตายในเมืองอันหนึ่งเบื้องตะวันตก ด้วยวุฒิสวัสดีแล หมอทั้งหลายว่าดังนั้น แต่อยู่ปีหนึ่งพระยานครหลวงจิงแต่งช้างม้ารี้พลให้ จึงราชาภิเษกใส่ชื่อว่าพระยาฟ้าหล้าธรณีหั้นแล จิงมาแต่งหมอผู้จักผาบเสิก ๔ คน จิงแต่งเครื่องผาบเสิกม่นทั้งมวล ให้ฆ้องไชย ๔ หน่วย แส่งไชย ๔ หน่วย จองวองไชย ๔ หน่วย หอกไชย ๔ ดวง ขวนไชย ๔ ดวง แพนไชย ๔ ดวง คนอันรักษาเครื่องไชย ๔๐๐ จิงให้หมอทั้งหลายหามื้อดียามดี แล้วก็ลงจากเมืองนครหลวงไปหั้นแล กับทั้งลูกตนผู้ชื่อว่านางแก้วกัญญาก็ให้ไปดอมหั้นแล ลงมาฮอดเมือง
๙๓ อันหนึ่งชื่อว่าพรหมทัต พระยาพรหมทัตมารบขาได้ชนช้างกันแพ้พระยาพรหมทัต ฆ่าพระยาพรหมทัตกับคอช้าง จิงแจกเมืองพรหมทัต ปูกผู้หนึ่งให้เป็นพระยาปางกบ ผู้หนึ่งให้เป็นพระยากุญชร ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาคำแหง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาดอนแดง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาโสก ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาฆ้องทอง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาจันทอม ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาอ้าย ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาพรหมทัตแทนหั้นแล พระยาทั้งหลายฝูงนี้ พระยาฟ้าให้เป็นเมืองส่วยช้าง ส่วยคำ ส่วยข้อย แล้วพระยาฟ้าจิงเอารี้พลโยธาขึ้นมารบพระยาแปดบ่อ ที่เมืองกระบองหั้น พระยาแปดบ่อขี่ช้างออกมาชนบ่ทันฮอด พระยาฟ้าพระยาแปดบ่อก็แหล่นหนีเขาจิงไปไล่เอาได้ทั้งเป็นมาจมน้ำเสียที่ปากทอกหั้นแล พระยาแปดบ่อผู้นี้เป็นปู่พระยาแปดบ่อ ผู้ว่าลูกหญิงโตนน้ำตาย เอากว้านไปตึกเอาลูกแลได้พระหิน อันเขาว่าพระแปดบ่อนั้นแล นับแต่พระยากระบองตนชนช้างกับพระยาฟ้านั้นมา ได้ ๗ ชั่วพระยาแปดบ่อ จิงมาเถิงพระยาแปดบ่อตนว่าลูกโตนน้ำตาย แลได้พระหินนี้แล พระยาฟ้าจิงให้พระยากระบองผู้น้องแทน จิงตั้งอาชญาไว้ว่า ให้ส่วยช้างฮ้อยหนึ่ง ข้อยฮ้อยหนึ่ง ข้อยกับช้างสองฮ้อย ให้ส่วยคำสองพัน ให้ส่วยลั่วส่วยแพลาสองฮ้อยฮำ ให้ส่วยข้อยหญิง ข้อยชายสองฮ้อย แล้วจิงเอารี้พลไปรบพระยาจำปาธิราช แพ้พระยาจำปาธิราชแล้วฆ่าตายกับคอช้างพระยาฟ้าจิงใส่ชื่อผู้หนึ่งให้เป็นพระยาจำปาธิราชแทน ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาจำปานคร ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาจิม ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาจาม ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาดอนชัคแค ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาสนัง ผู้หนึ่งให้เป็น
๙๔ พระยาชุง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาโสก พระยาทั้งหลายฝูงนี้ พระยาฟ้าให้เป็นเมืองส่วยสูด ส่วยม่าน ส่วยด้าย ส่วยไหม ส่วยคำ ส่วยช้าง ส่วยจำหงาย ส่วยข้อย สู่เมืองหั้นแล พระยาฟ้าจิงยอพลเข้ามาน้ำหินบูน พระยาตนหนึ่งชื่อว่าเวียงออกมารบเห็นดูหลากแล้วพ่ายหนี บากิมไปไล่ได้ฆ่าเสีย จิงให้น้องเป็นพระยาเจ็ดเจียงแทน จิงใส่ผู้หนึ่งให้เป็นพระยา กว้างเสียม ผู้หนึ่งให้เป็นพระยากว้างทง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาเมืองหลวง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาเมืองมวน ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาวัง ผู้หนึ่งให้เป็นพระยากระตาก ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาชุมพร ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาชะโปน พระยาทั้งหลายฝูงนี้พระยาฟ้าให้ส่วยด้าย ส่วยไหม ส่วยผ้ากั้งแลพีดานทั้งส่วยข้อยสู่ปี ให้เมือแต่เดือน ๑๒ เดือนสามให้ฮอดสู่เมืองหั้นแล แต่นั้นพระยาก็ยกพลมาฮอดปากชะดิง ยังมีผู้หนึ่งชื่อว่าพระยาสามค้อม มันเป็นเจ้าเมืองพระน้ำรุ่ง ดาพลได้ ๔ หมื่นช้างห้าฮ้อย มารบพระยาฟ้า ๆ ให้บาจีแข้ถือพบมารบแพ้พระยาสามค้อม บาจีแข้ไล่เอาพระยาสามค้อมได้เอามาจมน้ำเสียที่ปากบางบาทหั้น พระยาฟ้าจึงยอพลมาอยู่เมืองพระน้ำรุ่ง จิงให้ผู้หนึ่งเป็นพระยาพระน้ำรุ่งแทนพระยาสามค้อมหั้นแล แต่นั้นส่าเมือฮอดพระยาเจ็ดเจียง อันเป็นเจ้าเมืองพวกเชียงขวาง ๆ จิงแต่งหมื่นหลวงพวนทั้งหมื่นคำมาไหว้พระยาฟ้า ที่พระน้ำรุ่งหั้นว่าดังนี้ ผู้ข้านี้หากเป็นหลานเป็นเหลนเชื้อแนวขุนบรมราชาธิราชเจ้าทั้งขุนลอ แต่บุราณมาดีหลีดาย ในที่นี้แลพระยาฟ้าเจ้าแลจักผาบบ้านผาบเมืองที่ใดก็ดี ข้าจักแต่งรี้พลไปส่อยไปเติมสู่แห่งสู่ที่แล พระยาฟ้าจิงว่าดังนี้ พี่น้องเฮายังคิดเถิงเฮาดังนั้นก็ชอบดีแลบ้านเมืองอันหลานเฮากับน้องเฮาแต่ก่อนที่ใดก็ดี ให้ไว้แก่น้องเฮา ๙๕ เทอญ เครื่องเสิกเครื่องเวียกเครื่องเหล็กอันใดก็ดี เฮาหากจักให้มาเอาดอม อนึ่งบ้านเมืองแต่เฮาผาบได้ แต่เมืองชาเมืองมวนก็ให้มาไหว้มานบแก่น้องเฮา พระยาฟ้าว่าดังนั้น แต่นั้นเจ้าจิงยอพลนำนับชวนไปรูปพระยามีฮ้านกว้านมีเสา ทั้งพระยาอ่างสิงอ่างหนาม ไล่เอาพระยาทั้งสามเมืองนั้น แล้วพระยาฟ้าก็เอาพระยาทั้งสามเมือง เมือมอบแก่เจ้าบัวหลวง เจ้าบัวหลวงก็ถามดูเชื้อแนวพระยาฟ้าว่า เป็นหลานเป็นเหลนขุนบรมราชาธิราชสืบ ๆ มา หลายชั่วหลายปางนัก จิงมาเถิงพระยาฟ้าหั้นแล แล้วเจ้าบัวหลวงจิงว่าผิว่าแหม่นเชื้อแหม่นแนว เจ้าขุนบรมขุนลอแท้ ให้แต่เมืองมีฮ้านกว้านมีเสา แต่หินสามเส้าน้ำเต้าแก้ว บ้านเมืองดินดอนที่ใดก็ดี ฟ้าแถนหากแต่งไว้ ฝนตกน้ำใหลเมือเมืองลาวให้ไว้เขตต์แดนเมืองลาว ฝนตกน้ำไหลเมือเมืองบัวแต่ใดให้ไว้เป็นเมืองบัวแต่นั้น เจ้าบัวหลวงจิงแต่งคำมาสามหมื่น เงินมาสามแสนทั้งไม้กำพักเกสสนา ทั้งลั่วแฮแพจีนเป็นอันมากอันหลายนัก ให้แก่นายผู้ใช้อันเอาอานสิงอ่างหนามเมือมอบแก่เจ้าบัวนั้น มาถวายแก่พระยาฟ้าที่แดนเมืองหั้นแล แต่นั้นพระยาฟ้าจิงใช้ให้พระยาเมืองมีฮ้านกว้านมีเสา แต่งให้เขาส่วยคำทั้งส่วยลั่วแฮแพด้ายไหมสู่อันแต่นั้นพระยาจิงยอพลมาตั้งที่นาน้อยอ้อยหนู ที่ขุนบรมที่ขุนลอเกิดหั้นจึงได้ชื่อว่าเมืองแถนเพื่อว่าแถนฟ้าขื่นมาแต่งมาแปงหั้นก่อน จิงเป็นบ้านเป็นเมืองมาตราบเท่าบัดนี้แล ฯ บ่อเงินบ่อคำบ่อแก้วบ่อทองบ่อเหล็กมีสู่อันแล พระยาฟ้าใสผู้หนึ่งให้เป็นพระยาที่เมืองแถนนาน้อยอ้อย หนูหั้น จิงให้ผู้หนึ่งป็นพระยาเมืองไชยใส่ให้ผู้หนึ่งเป็นพระยาเมืองไลให้ผู้หนึ่งเป็นพระยาเมืองกว้าง ให้ผู้หนึ่งเป็นพระยาสามสิบพองเมือง ๙๖ โฮมมา ให้ผู้หนึ่งเป็นพระยากางล้าน ผู้หนึ่งเป็นพระยาสิงหาว ผู้หนึ่งเป็นพระยาเมืองหุม ผู้หนึ่งเป็นพระยาเมืองวาด ผู้หนึ่งให้เป็นพระยาเมืองกว้างทง แต่ฟากน้ำแท้นาพี้เจ้าบัวหลวงหากเวนให้แก่พระยาฟ้า พระยาฟ้าจึงใส่ให้เป็นท้าวเป็นพระยา ให้เขาส่งส่วยคำส่วยเงินส่วยข้อยส่วยผ้ากั้งผ้าไหมแลพีดาน แลเครื่องเสิกส่วยม้าทั้งอานเงินอานคำ ทั้งลั่วแลหอกแพนทั้งมวล แล้วจิงใช้เมือเล่าแก่เจ้าบัวหลวง โดยดังความทั้งมวลฝูงนี้ เจ้าบัวหลวงว่าให้พี่เฮาคืนเมืออยู่เชียงดงเชียงทองพุ้นเทอญ แต่นั้นพระยาฟ้าก็เอารี้พลข้ามน้ำอูเมือเมืองบูนใต้บูนเหนือ สองขาพระยาบูนเอาพลออกมารบพระยาฟ้าก็แพ้ เอาสองขาฆ่าเสีย แล้วจิงใช้เมือหาพระยาเชียงฮุงว่า ยังจักรบจักชนเฮาหรือพระยาเชียงฮุงจิงว่าเฮานี้ก็หากเป็นเชื้อ เป็นแนวอันเดียวดาย เฮาบ่รบบ่เลวพระยาเจ้าแล ให้พระยาเจ้าเอาเขตต์บ้านแดนเมืองแต่บ้านป่งลวงขวงเท่าเมือบูนใต้บูนเหนือพุ้น เป็นเขตต์ของเมืองลานช้างเทอญ เฮาก็จักให้บัวให้นางแก่เจ้าฟ้าแล บัดนี้ลูกเฮายังน้อยภายหน้าจิงเอาเมือปัดเสื่อปูหมอนแก่เจ้าฟ้าเทอญ เจ้าเชียงฮุงจิงแต่งเงินแสนหนึ่ง ม้าฮ้อยหนึ่งทั้งอานเงินอานคำฮำแฮแพจีนมากนัก พระยาฟ้าก็เอาแล้ว จิงใส่ข้อยผู้หนึ่งชื่อว่าบากิม ให้เป็นเจ้าขวา เขาจิงเรียกว่าขวากิมหั้นแล แต่นั้นพระยาฟ้าจึงล่องมาฮอดเมืองน้อย เจ้าเมืองน้อยจิงขอเป็นเมืองกางย่าวกางเฮือน พระยาเจ้าฟ้าเทอญ พระยาฟ้าจิงให้เถ้าเสียงเป็นเจ้าเมืองน้อยหั้นแล เถ้าเสียงแต่งที่เข้าขวัญทั้งผอกผีพลีเสื้อ พระยาฟ้าสู่อันแล แต่นั้นพระยาฟ้าล่องมาฮอดสบอูหั้น เจ้าฟ้าคำเฮียวผู้นี้เป็น
๙๗ อาว์น้องพ่อพระยาฟ้า พ่อพระยาฟ้าตายเสีย เขาจิงเอามันเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน มันมีลูกหญิงสองคนลูกชายบ่มี มันก็รู้ว่าพระยาฟ้าล่องมาฮอดสบอู มันก็ย่านพระยาฟ้าฆ่าขาทั้งสองผัวเมีย ลวดกินสานตายทั้งสองหั้นแล ยังแต่ลูกหญิงทั้งสอง เสนาอำมาตย์เมียนคาบส่งซะกาน บรบวนแล้วเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจิงเมือราธนาพระยาฟ้าที่สบอูพุ้น มาฮอดเชียงดงเชียงทอง แล้วจิงมาราชาภิเษกพระยาฟ้า ทั้งนางแก้วเก่งกัญญา อันเป็นลูกพระยานครหลวงนั้น ให้เป็นเจ้าแผ่นดินในเชียงดงเชียงทอง ให้ปู่เลี้ยงเป็นแสนเมืองให้ตาเลี้ยงเป็นหมื่นหลวง ให้อาว์เลี้ยงเป็นพูมเหนือ ให้น้าเลี้ยงเป็นพูมใต้ ให้พี่เลี้ยงเป็นพระยา กระชัก ข้าภูทั้งมวลให้ขึ้นลงดอมพระยากระชักหั้นแล ขึ้นโฮงขึ้นศาลขึ้นฟ้าขึ้นแถน ให้พระยากระชักขึ้นก่อน จิงให้แปงโฮงหลังหนึ่งให้มันอยู่ท้ายโฮงเชียงทองหั้น ของฝากอันเขามายื่นมาถวายแด่เจ้าแผ่นดิน ก็ให้มันรับเอาก่อน แต่งแปงสู่อัน มันจิงใส่ผู้หนึ่งให้ฮับตางเขาจิงว่ารามราชอั้น ทั้งหลายว่าหมื่นราชบัดนี้แล แต่นั้นพระยาฟ้าจิงเอาพลขึ้นเมือลานนา ทางน้ำของจิงไว้นางแก้วเก่งกัญญาที่เมืองเชียงดงเชียงทองรักษาแผ่นดิน เหตุเพื่อนางทรงครรภ์ได้สามเดือนแล้วพระยาฟ้าก็ขึ้นเมือฮอดท่าหัวเฮือเมืองเลิกหั้น ยังมีลูกอ้ายขี้หูดผู้หนึ่ง มันเป็นลูกนางแก้วมหาฮี เรียกชื่อท้าวอูลอง มันเป็นหลานฟ้าคำเฮียว มันจิงออกมาไหว้พระยาฟ้าที่ท่าสวงคอคำหั้น พระยาอูลองจิงว่าข้อยนี้เป็นลูกนางแก้วมหาฮี แม่ข้อยนี้เป็นลูกฟ้าคำเฮียวก็หากเป็นวงศาแห่เจ้ากูตาย พระยาฟ้าจิงว่าผิว่าเป็นดังนั้นแท้ เมืองเลิก
๙๘ นี้เจ้าจงกินเทอญ ให้เป็นเมืองกางเฮือนกูเทอญ แล้วพระยาฟ้าจิงขึ้นเมืออยู่สบแบ่ง แล้งจิงให้ขึ้นเมือเอาลามเมืองฮุนลามเมืองแบ่ง ได้แล้วจิงเมือตั้งอยู่สบท่าหั้น จิงจักเอาเมืองเชียงของคกฮำเชียงทอง จิงใส่ผู้หนึ่งให้กินเมืองเชียงตืนสี่เมืองนี้จิงได้ว่าสี่หมื่นท่างน้ำแล ให้เชียงตืนเป็นเจ้าสี่หมื่น จิงให้เอาเมืองผาเมืองพัวที่ภูคุบทั้งเมืองแหง จิงให้เจ้าเมืองผาเป็นสี่หมื่นทางบก แต่นั้นพระยาฟ้าก็มาพาดูพลที่สบท่าหั้น ได้พลสี่แสนแต่ลาวได้ยายได้แกวแสนหนึ่ง ช้างได้ห้าฮ้อยตัว จิงขึ้นเมือเอาเมืองหินเมืองงาวได้แล้ว จิงยอพลขึ้นเมือตั้งที่คอนมูลหั้น แต่นั้นเจ้าเมืองลานนาผู้หนึ่งชื่อว่าพระยาสามผยา มันก็อวนพลแต่เมืองลานนามาสู่แห่งได้พลสี่แสน ยามนั้นเอาเมืองเชียงแสนเป็นลานนา มันจิงให้เสนามันผู้หนื่งชื่อว่าแสนเมือง มันก็ถือพลมารบพระยาฟ้า ๆ จิงขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าเชียงทอง ว่ายน้ำกกเมือสู่แสนเมืองลานนา แล้ว ขวากิมขาก็ชนกันขวาก็แพ้ ฆ่าแสนเมืองลานนาตายกับคอช้าง แต่นั้นพระยาสามผยา อันเป็นเจ้าแผ่นดินลานนา ก็พ่ายหนีเข้าเวียงลานนาเชียงฮายพระยาฟ้าก็ให้ไปไล่เอาฮอดเมืองแพวเมืองเลม ทั้งเมืองไฮบ้านยูเมืองยองหัวพวง หัวฝาย คุงเมืองลื้อเมืองเขินเมืองเชียงแข็งหั้นแล แต่นั้นพระยาสามผยาจิงใส่ผู้หนึ่ง ว่าหมื่นกุมกาม ผู้หนึ่งชื่อว่าหมื่นชูน ผู้หนึ่งชื่อว่าหมื่นกางเมืองเชียงฮาย มาขอส่งส่วยข้าวพันคานแก่พระยาฟ้า เมื่อใดลูกผู้ข้านางน้อยอ่อนสอยังใหญ่ได้ ๑๖ ปี จักให้เมือปัดเสื่อปูหมอนแก่เจ้าฟ้าชะแด บัดนี้ยังน้อยขอแก่เจ้าฟ้าเอาแต่เวียงผาใดไป ให้เป็นบ้านเมืองเจ้าฟ้าข้อยท่อน พระยาสามผยามอบเวนให้
๙๙ แต่นั้นเป็นแดนเมืองลานช้างหั้นก่อน เล่าแต่งคำมาถวายพระยาฟ้าสองหมื่นคำ เงินสองแสน แหวนนิลลูกหนึ่งชื่อว่ายอดเชียงแสน แก้วพิฑูรย์ลูกหนึ่งชื่อว่ายอดเชียงฮาย แหวนแดงลูกหนึ่งชื่อว่ามณีฟ้าหลวง เอามาถวายแก่พระยาฟ้าหั้นแล บ่เท่าแต่นั้นเล่าแต่งเงินคำมาให้แก่เสนาพระยาฟ้าผู้ใหญ่สู่คน เป็นอันมากหลายนัก แต่นั้นพระยาฟ้าก็ล่องมาเมืองลานช้าง จิงมากวาดเอาข้าเก่าแต่หัวน้ำทา เท่าเมืองกอเมืองหลาเท่าแดนลื้อ หมดสู่แห่งสู่ที่ ท่อยังจ่งไว้ให้เป็นเชื้อเป็นแนวเขาที่หนึ่ง ว่าภูคุมซาวครัว ที่หนึ่งว่าภูจอมแลงซาวครัว ภูคางซาวครัว ไว้สี่แห่งนี้เป็นเชื้อสายแห่งเขาหั้นแล จิงบอกสอนเขาว่าดังนี้ สูอย่าบ่าอย่างานแก่ไทแก่ลาว สูอย่ายาดเอาสิ่งเอาของลาวอันใดก็ดี อนึ่งสูหากผิดกันแลว่าจักไปรบไปเลวกันก็ดี ให้สูจื่อความกูสิ่งนี้มื้อกาบมื้อฮับมื้อฮวยมื้อเมิงมื้อเบิก ห้ามื้อนี้ให้เป็นมื้อเสิก สูจักรบจักเลวกันก็ตามสู มื้อกัดมื้อกดมื้อฮ้วงมื้อเตามื้อกา ห้ามื้อนี้อย่าให้สูรบเลวกัน อย่าให้หยุบเอาควายบายเอาคนกัน ผู้ใดหากบ่ฟังยังความกูสิ่งนี้ หินหน่วยนี้กูเอาแต่สบคานเชียงดงเชียงทองพุ้นมาไว้แก่สูนี้ แล้วหินหน่วยนี้หนักสองพันห้าฮ้อยห้าบาท ผู้ใดหากบ่ฟังความกูอันเป็นเจ้าแผ่นดินเชียงดงเชียงทองนี้ ให้สูทั้งสี่ขุนราชนี้สั่งเอาเงินท่อหินหน่วยนี้ เล่าเอาควายโตหนึ่งกินแก่สู อย่าให้กันสั่งว่าดังนี้ อย่าฮื้อ ฮอกคอกครัวกัน พระยาฟ้าสั่งสอนข้าเก่าดังนี้ แล้วจิงเอาเขาล่องมาไว้ภูบ่อนหั้น แต่งให้เขาเชียงโปะเชียงพาหั้นแล พระยาฟ้าไปขว่าได้สองปีจิงมาฮอดเชียงดงเชียงทอง จิงเห็นหน้าลูกชายหนึ่งใส่ชื่อ
๑๐๐ ว่าท้าวอุ่นเรือน อันตนเป็นพระยาสามแสนไทบัดนี้แล ได้ข้าเก่าทั้งมวลทั้งหญิงทั้งชายน้อยใหญ่แสนหนึ่ง ให้ขวากิมเป็นเจ้าเป็นล่ามแก่เขาหั้นแล แต่นั้นพระยาฟ้าก็ยอพลล่องจากเมืองชะวา ให้บาโบบาจีแข้เป็นหัวหน้า ถือพลไปฮอดเมืองซาย ท้าวไคหลานขุนเค็ดขุนคานเมืองซาย ถือพลมารบบาโบบาจีแข้ ๆ แพ้ท้าวไคเสียที่เชียงสมหั้น จิงใส่บาโบเป็นชาย เขาจิงว่าชายโบหั้นแล แต่นั้นพระยาฟ้าล่องไปคอแก่งชายบาโบบาจีแข้ เอาพลตั้งท่านาเหนือ ท้าวเชียงมุงกินเวียงจันทน์ พระยาเภากินเวียงคำ สองขาพ่อลูกมีพลสองแสนช้างห้าฮ้อยท้างเชียงมุงขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าวังบุรีสูงแปดศอก พระยาเภาขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าแสนนางคอยสูงเก้าศอก บาโบขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าแผ่วจักรวาฬ บาจีแข้ขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าขวานลวงฟ้า พระยาฟ้าขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าห่มเชียงทอง ท้าวเชียงมุงแลพระยาเภาสองขาพ่อลูกออกมารบ พระยาฟ้าตั้งอยู่ท่านาเหนือ บาโบบาจีแข้อยู่ถินจำปี สองขาพ่อลูกลวงเข้ามาชน เขาจิงว่าหนองลวง ที่นั้นบาจีแข้ชนท้าวเชียงมุงแพ้ฆ่าท่านตายกับหัวช้าง บาโบแลขวากิมเข้าชนพระยาเภา ๆ เห็นช้างขาแข็ง พระยาเภาลวดพ่ายหนีเมือเวียงคำที่เมืองท่านพุ้น แต่นั้นพระยาฟ้าเข้าไปตั้งอยู่เวียงจันทน์หั้น จิงให้บากิมผู้หนึ่งบาเสียมผู้หนึ่งบาจีแข้ผู้หนึ่งสามคนนี้ เขาถือพลไปเอาเวียงคำบ่ได้ เขาจึงใส่มาเล่าแก่พระยาฟ้าว่า เวียงไม้ไผ่ขัดนัก พระยาเภาบ่ออกมาชนเอายากนักพระยาฟ้าจิงว่าบ่ยากสัง จิงมาตีเงินตีคำเฮ็ดเกียงปืนไปให้แก่เขาจิงใส่หนังสือไปว่าแก่สามขุนเขา ให้สูคุมเวียงเอาปืนอันนี้ยิงไปในป่า
๑๐๑ ไม้ไผ่สามวัน แล้วให้คืนมาอยู่ก่อนท่อน กูหากฮมเพิงภายหน้าว่า ดังนั้น เขาก็เฮ็ดตามเจ้าฟ้าว่า แล้วคืนมา พระยาฟ้าจิงหวายเมืออยู่เป็นแก่ ขมแต่งรบเอาแต่เมืองแก่นท้าวเท่าฮอดนครไท แลขอบดานทั้งมวล จิงให้บาจีแข้เป็นหมื่นแก่ แล้วพระยาฟ้าจิงมาเวียงจันทน์ จิงไปคุมเอาเวียงคำได้หั้นแล จิงเอาพระยาเภา มันก็เมือตายที่เชียงดงเชียงทองหั้น จิงเอาใส่ซองมาทางบก จิงตายที่บ้านถินแห่งหั้นแล เขาจิงว่าเมืองซองบัดนี้แล พระยาฟ้าจิงคืนมาอยู่เวียงจันทน์หั้นแล พระยาจิงโฮมช้างโฮมพลดูได้ช้างสองพันตัว ได้ม้าพันหนึ่ง ได้คนหกแสน อันนี้แต่ห้วยหลวงมาเหนือเท่าเวียงผาใด พระยาฟ้าจิงให้บาเสียมไปเป็นหมื่นกระบอง มันโฮมพลแต่พระน้ำฮุงเชียงสาไปใต้เท่าแดนจาม แลด่านละแวกแดนแกวก้ำใต้ ชื่อเมืองปากวางได้คน ๔ แสน ได้ช้างพันหนึ่งได้ม้าห้าฮ้อยตัว จิงให้บากุมเป็นหมื่นจันทร์พระยาโฮมพลท่อแต่ไท อันเป็นเฮือนบองทองได้สามแสน อันเป็นลาวได้ ๗ แสนทั้งมวล คนในเมืองลานช้างได้ล้านหนึ่ง จิงให้ขวากิมเอาข้าเก่าไปใส่กระแดฟ้าแตบนอกเวียงจันทน์หั้น หมื่นครัวหนึ่ง เอาไปใส่หนองหานน้อยหานหลวง ทั้งภูวานเถ้าวานปาว ทั้งเชืองชายแสนครัวหั้นแล พระยาฟ้ายอพลไปเมืองลานเพียศรียุทธิยามีคนหกแสนช้างห้าฮ้อยตัว ยังไว้พลรักษาเมืองสี่แสนคนช้างสามพันตัว มีท่อนี้แต่งไว้รักษาเมืองลานช้างหั้นแล พระยาฟ้าจิงให้หมื่นแก่หมื่นกระบองถือพลไปเป็นหัวหน้า ขวากิมเป็นปีกขวา ชายโบเป็นปีกซ้าย หมื่นจันทร์เป็นทัพหลัง พระยาฟ้าจิงยอพลไปทางบัวกองฮอดเวียงพระงาม ได้
๑๐๒ ได้เจ้าเวียงบึงพระงาม แล้วออกมาอยู่เวียงฮ้อยเอ็ดประตูหั้นแล จิงให้ไปขับเอาท้าวทั้งหลายสู่แห่งสู่ที่ จิงได้เมืองพระสาดพระสะเขียนพระลิงพระนารายณ์นางเทียนเชขมาดสะพังสีแจ ทั้งพระยาจันทร์พระยาธรรมสองขานี้อยู่เมืองโพนผิงแดด ท้าวพระยาทั้งหลายฝูงนี้เขาเป็นลูกเป็นหลานพระยากูบาหางแล พระยาฟ้าก็ให้ไปไล่เอาได้หมด มาผูกใส่คางวงเหล็กไว้ที่เมืองฮ้อยเอ็ดประตูหั้น ทั้งพระยาฮ้อยประตูก็ผูกไว้หั้น พระยาก็ฮื้อเทบ้านเมืองศาสนาสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าก็ม้างก็เทหั้นแล พระยาฟ้าก็ใช้ไปหาพระยาเมืองสิงอโยทธิยาว่า จักรบหรือฮู้ว่าสิ่งใดนั้นจา เจ้าโยทธิยาจิงกล่าวว่า เฮาหากเป็นพี่กันมาแต่ขุนบุรมบุราณปางก่อนพุ้นมาดาย เจ้าอยากได้บ้านได้เมืองให้เอาเขตต์แดนแต่ดงสามเส้าเมือเท่าภูพระยาผ่อแล แดนเมืองนครไทยเป็นเจ้าทอน อนึ่งลูกข้อย จักส่งอ้อยน้ำตาลสู่ปี อนึ่งลูกหญิงข้า (ชื่อ) นางแก้วลอดฟ้า ใหญ่มาแล้วจักส่งให้เมือปัดเสื่อปูหมอนแก่เจ้าฟ้าแล จิงแต่งช้างพลายห้าสิบช้าง พังห้าสิบช้าง คำสองหมื่นเงินสองหมื่นนอแสนหน่วยของอันอื่นกว่านั้นแต่งเครื่องฮ้อยสู่อัน จิงส่งมาให้แก่พระยาฟ้าหั้นแล พระยาทั้งหลายอันพระยาฟ้าได้ผูกเอานั้น เป็นต้นว่าพระยากูบางหางพระยาฮ้อยประตู พระยาฟ้าก็จักให้เอาไปฆ่าเสียแท้ เมื่อนั้นยังมีมหาเถรเจ้าตนหนึ่ง พารี้พลทั้งมวลเข้ามาฮอดพระยาฟ้า และอยู่ไกลพระยาชั่วห้าวาหั้นแล พระยาจิงกล่าวว่า ภันเตข้าไหว้เจ้ากู ๆ มีประโยชน์ด้วยอันใด จิงมาฮอดมาเถิงผู้ข้าในกาลบัดนี้จะ แต่นั้นมหาเถรเจ้าจิงกล่าวว่า เฮาจักมาถามปัญหานำพระยาแล เฮานี้ก็หากเป็น
๑๐๓ พ่อครูมหาปาสมันตนอันเลี้ยงพระยาใหญ่มานั้นดายพระยาฟ้าจิงปูอาสนไว้แล้ว จิงอาราธนามหาปาสมันเจ้านั้น ๆ เจ้าก็นั่งตามนิมนต์หั้นแล พระยาฟ้าจิงว่าเจ้ากูจักถามปัญหาดอมผู้ข้าสิ่งใดก็ถามไปข้อยท่อน มหาเถรเจ้าจิงกล่าวว่า อันแข้วพระยาออกมาแต่ท้องแม่สามสิบสามเหล่มนั้น ยังสู่เหล่มเบานั้นจา พระยาก็ว่าหล่อนเสียหมดแล้ว มหาเถรจิงว่าอันใหม่ยังออกมาแทนท่อเก่าเบาจา พระยากล่าวว่ายังออกมาทั้งสาม-สิบสามเหล่มดังเก่าก็ข้าแล มหาเถรเจ้าจิงว่าแข้วอันออกแต่ท้องมาแล้วนั้น ยังเป็นคุณสิ่งใดเล่ายังเป็นโทษสิ่งใดแก่มหาราชนั้นจา พระยาจิงว่า อันยังเป็นคุณนั้นข้าว่าได้เคี้ยวกินจิงใหญ่ อันนั้นข้าว่าเป็นคุณแล อนึ่งโทษนั้นคือว่าแข้วออกมาแต่ท้องคนทั้งหลายว่าเป็นขวง ข้อยว่าเป็นโทษเพื่อสิ่งนั้นแล แข้วอันเก่าหล่อนเสียแล้วอันใหม่ออกมาแทนยังเป็นคุณสิ่งใดเล่า ยังเป็นโทษสิ่งใด พระยาจิงว่าอันเป็นคุณมีแวนหลาย เพื่อข้อยได้เคี้ยวได้กิน อันเป็นโทษนั้นได้ขบลิ้นขบสบมันเจ็บมันปวดอันนั้นข้อยว่าเป็นโทษเพื่อสิ่งนั้นก็ข้าแล พระมหาเถรเจ้าจิงว่ามหาราชเจ้านี้ได้สร้างโพธิสมภารมากนักแล จิงแก้ปัญหาเฮาได้สิ่งนี้หั้นแล แล้วพระมหาเถรก็สั่งสอนพระยาทั้งเสนาอำมาตย์มุนตรีมากนักหั้นแล มหาเถรเจ้าจิงขอชีวิต ท้าวพระยาทั้งหลายฝูงผูกไว้นั้นเป็นต้นว่าพระยาฮ้อยเอ็ดประตู พระยาฟ้าก็แก้ก็ป่อยเสีย ให้เมือหาบ้านหาเมืองสู่คนตามความพระมหาปาสมันเจ้าหั้นแล พระมหาเถรจิงสั่งอำลาพระยา แล้วออกไปทางปองเอี้ยมด้วยอากาศกางหาวหั้นแล แต่นั้นพระยาฟ้าก้เอารี้พลทั้งมวล ขึ้นมาตามดาวหางจิงมาฮอด
๑๐๔ เวียงจันทน์ อยู่แต่งบูนบ้านเมืองสู่ที่สู่แห่งบรมวล แล้วเสนาอำมาตย์ทั้งหลายเป็นต้นว่าปู่เลี้ยงผู้ให้เป็นแสนเมืองนั้น ทั้งหมื่นกระบองสองขาเจ้านี้ ให้เป็นผู้ใหญ่กว่าเจ้าหัวเสิกทั้งห้า หมื่นหลวงเป็นใหญ่เจ้าขวาเจ้าซ้าย พูนเหนือพูนใต้ ห้าขุนนี้ พระยาฟ้าให้เป็นหัวเสิกทั้งห้าแล หมื่นหน้าหมื่นแพนสองขานี้ให้เป็นขุนราชวัตรก้ำหน้า หมื่นนาเหนือหมื่นนาใต้ สองขานี้ให้เป็นราชวัตรหลัง นายหลวงเหนือให้รักษาคุ้มในก้ำหน้า ให้หาความเจ้าพูมเหนือ นายหลวงใต้ให้รักษาคุ้มก้ำหลังให้หาถ้อยความเจ้าพูมใต้ ขุนทั้งมวลอันจักไหว้สาเจ้าแผ่นดิน เมื่อจักไปเสิกก็ดีอยู่บ้านอยู่เมืองก็ดีมีเท่านี้แล ขุนอันเจ้าเมืองใหญ่มีหมื่นจันทร์เป็นต้น ถัดนั้นมาเจ้าเวียงคำมาเจ้าเวียงแก หมื่นพระน้ำฮุง เจ้าปากห้วยหลวง เจ้าเมืองเชียงสา เท่านี้เป็นขุนใหญ่เชื่อนเมือง ขุนใหญ่ขอบเมืองแก่นท้าว เจ้าเมืองหนองบัว เจ้าเมืองซายขวา เอาด่านสามหมื่น ขุนทั้งมวลฝูงนี้พระยาฟ้าใสให้รักษาขอบเมืองลานช้างแลแต่นั้นท้าวพระยาทั้งหลาย เป็นต้นว่าหมื่นจันทร์แลหมื่นกระบองทั้งหมื่นหลวงจิงไหว้พระยาฟ้าว่าดังนี้ เจ้ากูไปผาบบ้านเมืองได้สู่แห่งสู่ที่แล้ว บัดนี้ผู้ข้าทั้งหลายขอกระทำไชยาภิเษกแก่เจ้ากู ให้มั่นให้ยืน หมื่นหลวงไหว้สาว่าดังนั้น พระยาฟ้าจิงว่าเจ้าทั้งหลายว่าดังนั้นก็ชอบแล้ว เขาจิงมาหาบ่อนหาที่อันจักเป็นมุงคุล จิงมาได้ที่อันหนึ่งอันตั้งวัดประสักบัดนี้แล เมื่อก่อนนั้นไปตั้งวัดประสักที่นั้น เขาจิงแปงหอสรงแล้วจิงเอาพระยาฟ้าไปสรงกระทำไชยาภิเษกหั้นแล อยู่เลี้ยงรี้พล ๗ วัน ๗ คืน ฆ่าช้างกิน ๑๐ ตัว ฆ่าวัวกิน ๑๐๐๐ ตัว ฆ่าควายกิน ๒๐๐๐ ตัว
๑๐๕ บรบวร แล้วพระยาฟ้าจิงสั่งสอนท้าวพระยาทั้งมวลสู่ตนสู่คนว่าดังนี้ เจ้าทั้งหลายรักษาบ้านเมืองอย่าให้มีข้าลักคนโจร อนึ่งอย่าให้ฆ่าฟันกันแหม่นว่าข่อยตนผิดก็ดี เมียตนผิดก็ดีเสนาแลลูกค้ามาผิดก็ดี ตนอย่าหลอนฆ่าฟันเสีย ให้ผู้อื่นพิจารณาดูก่อนเป็นโทษอันหนักจิงตามเหตุมันโทษบ่อหนักอย่าได้ฆ่าท่อว่าให้ใส่คอกขังไว้สมโทษ แล้วให้ป่อยเสียหาเวียกหาการสมบัติอันจักเกิดมาในแผ่นดินนี้ คั้นบ่มีคุณสมบัติก็จิงมีคั้นบ่มีคุณสมบัติเข้าของก็หาบได้แล เหตุเฮาบ่ให้ฆ่าคนเพื่อดังนั้นแล อนึ่งเจ้าทั้งหลายก็อย่าผิดอย่าข้องกัน ให้พ้อมกันดูขอบบ้านขอบเมืองทั้งมวล อนึ่งต่างบ้านต่างเมืองทั้งมวล เขาจักกระทำเบียดเบียฬบ้านเมืองเฮาสิ่งใด ก็ให้รู้ให้เห็นแจ้ง อนึ่งสองเดือนให้ใช้เมือไหว้สาหาเฮาสู่บ้านสู่เมือง ให้เฮาฮู้อันฮ้ายอันดี สามปีจิงให้ตัวเจ้าทั้งหลายขึ้นเมือไหว้เฮา เมื่อฮอดเชียงดงเชียงทองพุ้นแล้ว เฮาจักได้บูชาแถนฟ้าขื่นทั้งแถนคมแถนแต่ง แถนชั่งแถนเถือก ทั้งเถ้าเยอเถ้าไลแม่ย่างามแม่มดบนทั้งเทวดาอันรักษาผาติงแลสบอู ทั้งสบเชืองแลแสนเขาคำทั้งสบคาน สบโฮบสบดงผากับแกตังนาย ทั้งหลักมั่นท้ายขันทั้งนาไฮเดียว ภูเขากล้าอายมาท้าวคอง อยู่หนองหล่มภูเขากล้าหั้น ทั้งผาหลวงขวางกอนฟานเยี่ยม ทั้งก้อนฟ้าอันหมายไว้ที่เชียงดงเชียงทองนั้นเป็นควาย ๓๖ ตัว คั้นเมื่อฮอดแล้วเฮาจักได้บูชาผีฟ้าผีแถนทั้งหลายฝูงนี้ และคั้นเถิงเดือนเจียงให้ขึ้นสู่บ้านสู่เมือง เดือนสามให้ฮวดเมืองชะวา คั้นผู้ใดบ่ขึ้นเฮาว่าบ่ซื่อต่อเฮาแล อันว่าให้เลี้ยงฟ้าเลี้ยงแถนปู่เจ้าฟ้าหลวงโงม หากได้สั่งเฮาไว้ให้รู้จักหัวใจเจ้าขุนทั้งมวล
๑๐๖ อันอยู่แผ่นดินเมืองลานช้างผู้ซื่อแลผู้คด จากเจ้าแผ่นดินหั้นแล ปู่เฮาเจ้าฟ้าหลวงโงมสั่งไว้สืบ ๆ มาดังนี้แล อนึ่งเจ้าทั้งหลายอย่าเอาไพร่เมือเป็นข้อย ไพร่ผิดกันเป็นอันหนัก เป็นต้นว่ามีชู้สู่เมียท่านให้ไหมเอาแต่ห้าบาท เขาหากฆ่ากันตายเอาตัวมันแทนผู้หนึ่งอันตายนั้น อนึ่งไปเสิกอย่าเอาค่าหัวไพร่แต่บาทหนึ่งถึงสองบาท ต่อเท่าเถิงฮ้อย ก็ว่าเป็นค่าหัว แล้วเจ้าขุนอย่าไหมไพร่กายฮ้อยขึ้นไปเทิงผู้ใดยังไหมจักเสียหน้าตัวมันจักเอามาใส่ต่างไพร่ พระยาฟ้าสั่งสอนเจ้าขุนทั้งหลายมากหนักกว่านั้น อันนี้ว่าสมพอก่อนแล แต่นั้นเจ้าขุนทั้งหลาย ก็ออกไปกินบ้านกินเมืองสู่แห่งหั้นแล พระยาก็เอารี้พลออกมาทางบกฮวดเชียงดงเชียงทอง เมื่อเดือนสี่ขึ้นสามค่ำวันอังคารมื้อกาบซะง่าหั้นแล นางแก้วฟ้าผู้เป็นเจ้าแทน ทั้งชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย จิงมาสู่เข้าเล่าขวัญกระทำอุสาภิเษก ให้ขาเจ้าฟ้าทั้งสองผัวเมียเสวยราชย์เป็นท้าวเป็นพระยา ในเชียงดงเชียงทองมั่นยืนมีลูกหญิงลูกชาย สืบสายไปบ่ให้ขาด สืบเชื้อชาติแผ่นดินไปหั้นแล ฯ เมื่อพระยาฟ้าผาบบ้านผาบเมืองทั้งมวลได้ แล้วจิงขึ้นมาอยู่เชียงดงเชียงทองยามนั้น คนทั้งหลายในเมืองลานช้างทั้งมวลเอาผีฟ้าผีแถนผีพ่อผีแม่เขาเป็นที่จั้งที่เพิง เขาก็ฮ้ายนัก เขาบ่ฮู้จักคุณพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เจ้าสักอัน อันใดท่ออ้างแก้วอ้างหารอ้างหอกอ้างดาบ นางแก้วฟ้าอันเป็นลูกพระยานครหลวง อันเป็นเมียพระยาฟ้าโงมนั้น นางจิงจากับผัวว่าเมืองอันใดบ่อมีศาสนาพระเจ้าดังนี้ ข้าก็อยู่บ่เป็นข้าจักคืนเมือหาพ่อข้า ชื่อเมืองพระนครหลวงพุ้นแล พระยาฟ้าผู้เป็นผัวจิงว่าคั้นดังนั้น เฮาพาไปไหว้พระนครหลวง ขอเอาศาสนา ๑๐๗ พระพุทธเจ้ามาเทอญ จิงแต่งนายคนใช้เอาคำไปสามหมื่นเงินสามแสนแก้วน้ำดงแก้วภูก่อแก้วจอมเพ็ชรทั้งมวลนี้เป็นบรรณาการแก่พระนครหลวง อันเป็นพ่อนางแก้วเก่งกัญญานั้นแล พระนครหลวงจิงฮมเพิงหาลูกตน อนึ่งก็อยากให้ศาสนาสัพพัญญูเจ้าแผ่ไปทั่วชมพูทวีปทั้งมวล จิงจักให้มหาเถรเจ้าตนหนึ่งชื่อว่าพระปาสมัน เจ้าตนพี่กับทั้งพระมหาเถรเจ้าเทพลังกา ลูกศิษย์พระทั้งสองมี ๒๐ คน จึงนำเอาพระบางเจ้าอันชาวลังกา ฮอมเอาเงินเอาคำมาตั้งไว้ที่พระเจดีย์หลวง แล้วเล่าบอกแก่พระมหาจุลนาคเถรเจ้าว่า ตูข้าทั้งหลายอยากหล่อพระพุทธเจ้าไว้โผดสัตว์ทั้งหลาย พระมหาจุลนาคเถรเจ้า ได้ยินชาวลังกาว่าดังนั้น จิงเข้าสมาบัติทะยานไปสู่ป่าหิมพานต์ ที่ก้อนหินเสลาบาทอันหร่างมีกับป่าหิมพานต์ แต่ปฐมกัลปพุ้น จิงพบเจ้ารัสสีซาวตน มีรัสสีทองตนหนึ่งรัสสีซาวตนหนึ่งสองตนนี้แก่กว่ารัสสีทั้งหลาย มหาจุลนาคเถรเจ้าจิงต้านจารจากับเจ้ารัสสี อันชาวลังกาอยากหล่อรูปพระพุทธเจ้านั้นจิงฮ้อนหนบันฑุกัมพลศิลาอาสน พระยาอินทร์วิสุกรรมเทวบุตรทั้งพระยาอินทร์แลเทวดาทั้งหลาย อันอยู่ชั้นฟ้าดุสิดายามาตาวติงสาจาตุมแลเทวดาทั้งหลาย อันอยู่ในแผ่นดินแลจักรวาฬทั้งมวล พร้อมกันมีพระยาอินทร์เป็นประธาน แลมหาจุลนาคเถรเจ้าเป็นประธาน ภายในจิงใช้รัสสีสองตนมาเอาเงินเอาคำดอมพระยาลังกา อันชาวลังกาหาก ฮอมไว้ที่มหาเจดีย์หลวง จักให้หล่อรูปพระพุทธเจ้านั้น เจ้ารัสสีจึงไปตระหมวดเอาเข้าของทั้งมวลแล้ว ท่อเม็ดข้าวฝ้างเอาแล คนท่อเม็ดงาดาได้แล้ว พระยาลังกาจิงเอาคำฮ้อยนิกขหนึ่งให้แก่เจ้ารัสสีเอา
๑๐๘ หล่อกับของชาวเมืองแลเทวดาทั้งหลาย พระยาลังกาจึงอธิษฐานว่าคำข้านี้ให้เป็นตีนทั้งสองให้เป็นมือทั้งสอง ให้เป็นหัวใจพระพุทธเจ้าเทอญ อธิษฐานแล้วสั่งเจ้ารัสสีทั้งสองว่า เมื่อใดหล่อพระเจ้าแล้ว เจ้ากูจงให้มหานาคเถรเจ้ามาหาผู้ข้าแด่ จักมุทธาภิเสกในเมืองลังกาพี้ให้ลือชาปรากฏทั่วทีปทั้งมวล คั้นพระยาสั่งสอนแล้ว เจ้ารัสสีก็ไปฮอดมหาจุลนาคเถรเจ้าหั้นแล พระอินทร์แลเทวดาทั้งหลายก็ฮอมเอาเงินคำ แลทองอันเป็นของแห่งตนมีมหาจุลนาคเถรเจ้า แลพระยาอินทร์เป็นประธาน จึงไว้หนักแก่วิสุกรรมเทวบุตรหล่อเมื่อจักหล่อนั้นเดือนสี่เพ็งวันอาทิตย์ยามจักใกล้รุ่ง ครั้นว่าหล่อแล้วมหาจุลนาคเถรเจ้า ทั้งพระยาอินทร์แลเทวดาทั้งหลายจิงนำเอามาตั้งไว้ในข่วงหลวงลังกากางเมือง จิงให้เมือสัญญาแก่พระยาลังกาพระยาจิงเอาราชสมบัติทั้งมวล มาบูชาธาตุพระพุทธเจ้าห้าองค์ใส่ในไตคำมาตั้งไว้ช่องหน้าพระพุทธเจ้า แล้วจิงถวายราชสมบัติทั้งมวลบูชาพระพุทธเจ้า พระยาลังกาจิงอธิษฐานว่าดังนี้ ผิว่าพระพุทธเจ้าองค์นี้จักตั้งอยู่โผดสัตว์ทั้งหลาย ในลังกาทีปแลชมภูทีปให้แล้วคำมักคำปรารถนาแห่งคนทั้งหลายดังนั้น จงให้ธาตุพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์นี้ เสด็จเข้าในตนตัวพระพุทธเจ้าณบัดนี้เทอญ ครั้นว่าพระยาลังกาอธิษฐานแล้วดังนั้น ธาตุพระเจ้าก็เสด็จเข้าในหน้าผากองค์หนึ่ง เสด็จเข้าในต่อมคอองค์หนึ่งเสด็จเข้าในกลางอกองค์หนึ่ง เสด็จเข้าในฝ่ามือขวาองค์หนึ่ง เสด็จเข้าฝ่ามือซ้ายองค์หนึ่ง ธาตุพระพุทธเจ้าทั้งห้าองค์นี้ เสด็จเข้าในตนตัวพระพุทธเจ้ารูปเจ้าช่อง
๑๐๙ หน้า มหาจุลนาคเถรเจ้ากับทั้งพระยาลังกา แลเสนาอำมาตย์ทั้งหลายหั้นแล เทวดาทั้งหลายแต่หมื่นโลกจักรวาฬทั้งมวล ตราบต่อเท่าเถิงชั้นฟ้าดุสสิดา สาธุการผายเข้าตอกดอกไม้บูชาประทูปประเทีปมากนักแล พระยาลังกาอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จิงสร้างวิหารที่ข่วงหลวงหั้นไว้พระพุทธเจ้าแล ที่นั้นยังมีสระใหญ่อันหนึ่งข้างข่วงวิหารหั้นชื่อว่าสระบางพุทธาเขาลวดว่าพระบางเจ้า อนึ่งเขาเอานิมิตต์เมื่อไปเอาเงินคำดอมพระยาลังกาหล่อฮั้นแล เสนาชาวเมืองทั้งหลายว่าเอาของขาใส่บ้าง ๆ ว่าดังนั้น อันนี้เป็นโวหารชาวลังกาแล อนึ่งคั้นว่าผู้ใดได้ไหว้ได้บูชาพระพุทธรูปเจ้า ความอันเคียดแลตัณหากิเลส และพยาธิอันเกิดมีในเนื้อตน ก็ลวดน้อยลวดบางหายเสีย พระยาลังกาจิงเอานิมิตต์สามประการนั้นมาเป็นชื่อจิงเฮียกชื่อพระพุทธรูปเจ้าองค์นี้ว่า พระบาง เพื่อดังนั้นแล แต่นั้นพระเจ้าอยู่โผดสัตว์แลคนทั้งหลาย ในเมืองลังกาได้ ๗ ชั่วพระยาแล มหาพุทธโฆษาจารย์เจ้าไปจารหนังสือในเมืองลังกา มาฮอดเมืองนครหลวงจิงเล่าต่อพระยานครหลวงว่า ยังมีพระบาทเจ้าตนหนึ่งอยู่เมืองลังกาวิเศษนัก ย่อมให้แล้วคำมักคำปรารถนาแห่งคนทั้งหลาย องค์พระเจ้านั้นหนักสี่หมื่นสี่พันห้าฮ้อย เป็นปัญจโลหะคำทั้งเงินทั้งทองหล่อกับดอมกัน อนึ่งหากเป็นแต่ตำนานแต่ลังกามากับพระบางเจ้าแล พระยานครหลวงได้ยินจิงใช้ไปทำมิตรทำสหายกับพระยาลังกาขอเอาธรรมไตรปิฏกทั้งสามกับทั้งพระบางเจ้า มาไหว้นบให้โผดสัตว์ทั้งหลายในเมืองนครหลวง พระยาลังกาจิงให้ธรรมไตรปิฏกทั้งสาม
๑๑๐ มาก่อนพระบางเจ้าจิงหากเสด็จมาในเมืองนครหลวงเมื่อเดือนสี่เพ็ง อยู่โผดสัตว์ทั้งหลายในเมืองนครหลวง ได้ ๗ ชั่ว พระยาจิงได้มาอยู่ในเมืองลานช้าง เมื่อพระยาฟ้างุ่มแลนางแก้วเก่งกัญญา อันให้ไปขอดอมพ่อตนผู้ชื่อว่าพระยานครหลวงนั้น แลเมื่อจักเอาพระบางเจ้ามานั้น มีพระมหาปาสมันเจ้ากับเทพมหาลังกาเจ้าเป็นประธาน ชาวเจ้ามาดอมซาวตน จิงให้คนผู้เป็นคำคงรักษาพระบางเจ้าทั้งไตรปิฎกทั้งสาม แลพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายมากนักผู้หนึ่งชื่อนรสิงห์ ผู้หนึ่งชื่อนรเดช ผู้หนึ่งนรสาด เขาทั้งสามนี้ประกอบด้วยศาสตร์เพททั้งมวล มีโหราศาสตร์เป็นเค้าแลคนการช่างสักช่างพระช่างเหล็กช่างทองช่างคำแลเครื่องหลิ่นทั้งมวล เป็นต้นว่าหลิ่นหนังรามเกียรติและฆ้องเม็งคุมเครื่องหลิ่นเครื่องเสพทั้งมวลจัดให้คนชาวนครหลวงมาปางนั้นสี่บ้านกับพระปาสมัน กับทั้งพระเทพลังกาเจ้านั้นพันหนึ่ง คนกับนรสิงห์พันหนึ่ง คนกับนรเดชพันหนึ่ง คนกับนรสาดพันหนึ่ง คนกับแม่นมนางเก่งกัญญาพันหนึ่ง ทั้งหญิงชายน้อยใหญ่ทั้งมวลสี่พัน จิงให้เมืองสายมาเป็นเมืองโอมนาง คนทั้งมวลฝูงนี้ พระนครหลวงเจ้าส่งให้มาดอมพระปาสมันเจ้าหั้นแล มาฮอดเมืองแกหั้น แม่นมนางแก้วเก่งกัญญาเป็นพยาธิมาบ่ได้ จิงอยู่ที่หนึ่งว่าโคบไผ่ดินเมืองแกหั้น เถ้าเมืองแกกับเจ้าหมื่นแกจิงแทกดินที่โคบไผ่ให้แก่แม่นมนางแก้วเก่งกัญญาแล้ว ลวงกว้างสองพันวาลวงยาวสองพันวา ให้เขาตั้งเป็นบ้านขวงเขาหั้นแล จิงได้ชื่อว่าบ้านไผ่แม่นมเพื่อดังนั้นแล อยู่หั้นสองเดือน พระยาฟ้าทั้งนางแก้วเก่งกัญญาจิงแต่งรับเอาพระนางเจ้าฮอดเมืองแก มาเจ้า
๑๑๑ หนื่นจันทร์ทั้งชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย จิงราธนาพระเจ้าเซาที่ดอนจันทร์หั้นก่อน ท้าวพระยาทั้งหลายทั้งชาวบ้านชาวเมือง ก็ไปไหว้พระบางเจ้าทั้งไหว้พระมหาเถรเจ้าทั้งสองจิงถามท้าวพระยาทั้งหลายว่า ดังนี้ ที่ใดว่าปากบางไซที่ใดว่าปากปาสัก ที่ใดว่าโพนสบกที่ใดว่าหนองจันทร์ ที่ใดว่าหนองกระแดที่ใดว่าพังหมอพระมหาปาสมันเจ้าถามดังนั้น เขาจิงหาเจ้าเมืองเชียงมุงมาถามเถ้าเมืองเวียงจันทร์แลเถ้าเมืองเชียงมุง จิงบอกจิงเล่าบ่อนเล่าที่ทั้งมวลดังนั้น พระจิงเอาตำนานแต่เมืองนครหลวงนั้นมาอ่านดูแหม่นดังเถ้าเมืองแลท้าวพระยา ทั้งหลายบอกแท้แล พระจิงว่าอันที่ปากปาสักหั้นเจ้ารัสสีทั้งหลายหมายหลักไม้จันทร์ไว้ในที่นี้แล อันที่สระโพนสูงเบื้องตะวันออกเล่าข้างหนองกระแดมาก้ำตะวันตก เจ้ารัสสียังเอาหลักหินอันหนึ่งเป็นสี่เหลี่ยม หมายไว้แต่ธาตุพระเจ้าทั้งสี่ตนพู้น เป็นต้นว่าพระกุกกุสันโท พระโกนาคม พระกัสสปเจ้า มาใส่สิงคำตัวหนึ่ง อธิษฐานจิงเอาหลักหินหมายไว้ อันนี้เป็นธาตุพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ดีหลีแล ธาตุอันมาตกที่ในเมืองสุวรรณภูมิที่หลักหินเป็นเค้าแล เมื่อพระยาศรีธรรมอโศกราช ให้อรหันตาเจ้าทั้งหลาย เอาธาตุมาตกในเมืองอันนี้ที่หนึ่งว่ากู่พระหางที่นี้เป็นเค้า ที่หนึ่งพระนาราย ที่หนึ่งพระสาด ที่หนึ่งพระเขียน ที่หนึ่งพระนาเทียน สองที่นี้อยู่ในเมืองขวาง โลกบานที่หนึ่งว่าพระนม ที่หนึ่งว่าโพนผิงแดด อันที่ปากปาสักก้ำใต้อันเจ้ารัสสีใส่ธาตุอูปไม้จันทน์ไว้นั้นธาตุพระเจ้าทั้งสี่ใส่อูปแก้วทั้งสี่ลูก จิงอธิษฐานไว้หั้นแลอันนี้เป็นธาตุพระพุทธเจ้าทั้งสี่ตนนี้แล อันว่าเมืองชะวาอันเฮาจักเมือ
๑๑๒ อยู่นั้น อันนั้นตนพระโคดมเจ้าได้มาโผดสัตว์ทั้งหลาย ตามดังพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ก่อนพุ้นดีหลีแล ที่หนึ่งว่าผาบูนฟากน้ำของก้ำเหนือ เมือวันตกเหนือคกทอนหั้น ที่หนึ่งว่างอนสบโฮบเบื้องเหนือ ที่หนึ่งว่าภูเขาก้าที่หนึ่งหลุ่มภูเขาก้าก้ำมาน้ำของ เขาว่าก้อนหินหมอโลน ที่หนึ่ง หลุ่มภูเขาก้าก้ำมาวันออก ไต่สบห้วยช้างย่านเท็งฝั่งน้ำคานหัวนาเข้าจ้าวอรหันตาเจ้ายังไว้ฮอยตีนสี่อัน ท่อว่านิ้วตีนบ่สำแดงที่ภูเขาก้าก้ำเมือน้ำคานหั้นแล ศาสนาพระพุทธเจ้าอันมาตั้งอยู่ที่เมืองชะวา ยังจักเป็นไปเท่าห้าพันวัสสาพุ้นดีหลีดาย พระมหาปาสมันเจ้าว่าตำนานอันเฮาอ่านให้ท้าวพระยาทั้งหลายฟังนี้ หากมีแตปฐมกัลปพุ้นมา อินทร์พรหมทั้งหลายหากเขียนไว้ในแผ่นหิน อนึ่งในเมืองอินทปถนครพุ้นดีหลีดาย พระว่าดังนั้นแล อยู่หั้นได้สามวันสามคืน ผู้มักเมือทางน้ำก็เมือตัวพระมหาปาสมันเจ้าทั้งสอง ก็จิงเอาพระบางเจ้าออกมาเวียงคำหั้นแล พระยาเวียงคำจิงราธนาพระพุทธเจ้าไว้ไหว้นบเคารบบูชา พระบางเจ้าจิงกระทำปาฏิหาริย์เมื่อการคืนนั้นมากนักรุ่งเช้าแล้วเขาจิงแต่งออกมา เมืองชวา คนผู้หามพระเจ้านั้นมีแปดคนสู่วัน เมื่อจักมานั้นยอบ่ได้หนักนัก ๑๖ คนยอก็บ่ได้ ๒๔ คนยอก็บ่ได้ พระทั้งสองนายทั้งสามอันรักษา พระเจ้ามาแต่เมืองนครหลวงพุ้น จิงถอดสากดูสากออกว่าพระเจ้ามักอยู่หั้นก่อน เหตุว่าพระเจ้าหลิงเห็นพระยาฟ้างุ่มอยู่บ่ชอบโลกชอบธรรม แลข่มเอาค่าไฮค่านาข่มเอาลูกหญิงนางสาวเผื่อนแลเอาเมียเพื่อนมาอยู่มานอน ข่มเอาบ้านเอาเมืองเพื่อน ฆ่าเจ้าบ้านเจ้าเมืองเสีย คนทั้งหลายจักได้ขับหนีจากเมืองลานช้างเพื่อนั้นแล อนึ่งอายุนางแก้วเก่งกัญญา
๑๑๓ ก็บ่มั่นยืนหลาย พระบางเจ้าหลิงเห็นสิ่งนั้น จิงบ่มาออดเมืองชะวาเพื่อดังนั้นแล แลอยู่โผดสัตว์ทั้งหลายหั้นก่อน ภายหน้าส่าลูกส่ำหลานอันเป็นเจ้าแผ่นดินเชียงดงเชียงทอง ชอบโลกชอบธรรมพระเจ้าจิงมาโผดสัตว์ทั้งหลายแล แต่นั้นพระมหาปาสมันเจ้ากับทั้งเทพลังกาเจ้า จิงไว้พระบางที่เวียงคำหั้นแล พระมหาเถรเจ้าทั้งสองกับทั้งนายสามคนนั้น จิงเอาหมู่ชุมขึ้นมาฮอดเมืองชะวาก่อน พระจิงมาต้านจารจากับพระยาฟ้าแลเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย พระจิงเอาตำนานแต่เมืองนครหลวงมาอ่านตามตำนาน ให้พระยาแลเสนาอำมาตย์ฟังก็แหม่นบ่อนที่อันพระพุทธเจ้าทำนายไว้นั้นแล ที่นั้นพระพุทธโคดมเจ้ามาโผดสัตว์ทั้งหลาย ไว้บาทพระลักษณ์ก้ำซ้ายท่อบ่สำแดงนิ้วให้ ปรากฏแลตำนานหากออกว่าดังนั้น พระมหาปาสมันเจ้าจิงมาก่อเจดีย์วิหารตามนิทานตำนานแต่อินทปถนนครหลวงพุ้นมาแล อันว่าเมืองลานช้างชื่อว่าสุวรรณภูมินี้ก็หากมีในตำนานพระยาอินทร์เขียนไว้ที่ก้อนหินในเมืองอินทปถนครพุ้นแล แต่นี้เมื่อภายหน้า จักว่าที่พระยาฟ้าแต่งบ้านแต่งเมืองอันชอบแลบ่ชอบนี้ก่อนแล ภายหน้าพุ้นยังจักมีส่ำหลานส่ำเหลน ผู้มีบุญสมภารได้มาตั้งพระเจดีย์อันใหญ่อันหลวง เป็นที่เพิงแก่สัตว์ทั้งหลายดีหลีแล พระบางเจ้าจิงจักมาโผดสัตว์ยามนั้น ที่เชียงดงเชียงทองหั้นแล พระยาฟ้างุ่มมีลูกชายสองคน ผู้หนึ่งชื่อว่าท้าวอุ่นเฮือนผู้หนึ่งชื่อว่าท้าวคำกอง เป็นแสนเมืองแก่ท้าวอุ่นเฮือนผู้เป็นพระยาสามแสนไทนั้นแล ลูกหญิงผู้หนึ่งชื่อว่านางแก้วเกษเกษี มีนำนางแก้วเก่งกัญญา
๑๑๔ ลูกพระยานครหวงหั้นแล เมื่อพระยาฟ้างุ่มออกจากนครหลวง มีอายุได้ ๒๑ ปี มาผาบบ้านผาบเมืองทั้งหลายได้ ๔ ปี จิงมานั่งเชียงดงเชียงทองปีถ้วน ๕ เสวยราชย์บ้านเมืองนับแต่อายุท่านมาได้๒๕ ปี จิงฮอดเชียงดงเชียงทองหั้นแล นับแต่นั้นไปได้ ๑๕ ปี นางแก้วเก่งกัญญาจิงตาย แต่นั้นท่านอยู่บ่ชอบโลกชอบธรรม ตัดถ้อยสวนความอันผิดท่านว่าแหม่น อันแหม่นท่านว่าผิด อนึ่งข้อยคนเสนาอำมาตย์ท่านอันลุกแต่นครหลวงมานั้น ท่านเลี้ยงดูให้เพิงใจเขาสู่คนแม้เขาผิดบ่ว่าสัง อนึ่งเสนามนตรีแต่พ่อแต่เก่าอันบ่ได้ไปดอมตัวท่านลวดข่มเสีย เขาผิดน้อยก็ว่าผิดหลาย ฮอดโทษทั้งหลายฝูงนี้ เสนาอำมาตย์ใหญ่ทั้งหลายกับทั้งชาวเมือง และพระสงฆ์พร้อมกันจิงขับพระยาฟ้างุ่มหนีหั้นแล เมื่อท่านหนึ่งนั้นมีอายุได้ ๔๘ ท่านหนีทางตาดน้ำเมือตกเมืองน่าน อยู่ได้ ๒ ปีท่านจิงตาย เมื่อท่านตายนั้น จิงอธิษฐานไว้ว่าดังนี้ ดูกกูนี้ให้ส่งเมือเมืองลานช้างแด่ว่าดังนี้ เขาจิงสร้างวัดสบกระดูกอันหนึ่ง จิงได้ชื่อว่าวัดพระยาฟ้า พระยาน่านจิงเอากระดูกหน้าผากหยิบสนใส่ธุงดวงหนึ่งไว้บูชา พระพุทธเจ้าหั้นจิงเขียนความอันพระยาฟ้าสั่งไว้นั้น ใส่ในธุงหั้นว่าดังนี้ ธุงตัวนี้แลกระดูกหน้าผากพระยาฟ้า นี้แต่ว่าบุญท่านยังจักได้เลิกศาสนาพระ-พุทธเจ้า เมื่อส่ำลูกส่ำหลานส่ำเหลนพุ้น จงให้ลมพัดตัดเอาธุงอันนี้เมือฮวดเมืองลานช้าง ให้ลูกท่านได้สร้างเจดีย์วิหารไว้ดังท่านอธิษฐานนี้เทอญ พระยาน่านอธิษฐานแล้ว เทวดาจิงให้ลมพัดเอามาตกดอนสุงที่หนึ่งเขาจิงเอิ้นว่าดอนวานหั้นแล
๑๑๕ เมื่อนั้นท้าวอุ่นเฮือนผู้ลูกได้เป็นพระยาแทนพระยาฟ้านั้น จิงเอาธุงหน้าผากอันนั้นมาตั้งสร้างเป็นเจดีย์ธาตุกู่ไตหั้นแล ภูกู่กางนั้นกระดูกฟ้าคำเฮียว ภูกู่เหนือนั้นกระดูกฟ้ามืดแล บัดนี้จักจาพงศาท้าวพระยาไปภายหน้า เสนาทั้งหลายพระสงฆเจ้าเป็นต้นว่า พระมหาสามีเจ้าทั้งสองเป็นประธาน จิงเอาท้าวอุ่นเฮือนมาเป็นพระยาแทน จิงใส่ชื่อว่าพระยาสามแสนไทหั้นแล จิงเอานางน้อยนงเลียวลูกพระยาคำเฮียว อันเป็นลูกอาว์น้องพ่อพระยาสามแสนไทจิงเอามาเป็นนางแทน จิงใส่ชื่อว่าบัวแทนหั้นแล ยังมีพี่เลี้ยงผู้หนึ่งชื่อว่านางกาฮู้แต่งฮู้แบงสู่สิ่งสู่เหยื่องหั้นแล แต่นั้นบ้านเมืองก็กว้างขวางไปภายหน้า ศาสนาพระพุทธเจ้าก็รุ่งเฮืองไปหั้นแล แล้วจิงมา สร้างวัดแล้ว จิงเอาแก้วลูกหนึ่งอันนางแก้วเก่งกัญญา อันเป็นพระยาสามแสนไทนั้น เอาแต่เมืองนครหลวงมานั้นใส่ในอกพระพุทธเจ้าก็รุ่งเฮืองไปหั้นแล จิงใส่ชื่อว่าวัดแก้วหั้นแล เมื่อสร้างวัดแก้วแล้วจิงราธนาพระมหาเทพลังกาเจ้ามาเป็นพระมหาสามีเจ้าวัดแก้ว จิงให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายผู้ควรฆ่าแลควรตีควรผูกควรเงินฮ้อยเงินพันขันคา คอก็ดี คั้นได้เข้ามาเขตต์วัดแก้วแล้ว ลวดบ่ให้กระทำบ่ให้เสียหนี้เสียเงินสัง ท่อให้มีข้าวตอกดอกไม้เผิ้งเทียนสมา แล้วให้บอกสอนไปหาเวียกหาการดังเก่า อภัยโทษเสียทั้งมวลหั้นแล จิงให้เขตต์ให้แดนให้ทานบ้านเมืองทั้งมวลกับวัดแก้ว เป็นอันมากอันหลายนัก ทั้งไทบ้านไผ่แม่นมทั้งตัวแม่นมให้ทานกับวัดแก้วหั้นแล เจ้าแผ่นดินทั้งสองผัวเมีย จิงตั้งคำปรารถนาว่า เผือข้าทั้งสองขอให้มีลูกชายสองคน
๑๑๖ ผู้ประเสริฐ ลูกหญิงสองคนผู้ประเสริฐ มีผยาปัญญาสูสิ่งสูเหยื่อง อนึ่งอานิสงส์ผลอันได้สร้างวิหารแลพระพุทธรูปเจ้านี้ ให้ไปฮอดจอดเถิงปู่ย่าตายายเป็นต้นว่าขุนบรมราชาริราช แลนางยมมะพาลาทั้งนางน้อยเอ็ดแคงทั้งเผ่าพงศ์วงศาสู่คน ผู้ตายไปแล้วก็ดีผู้ยังบัดนี้ก็ดีอยู่ในทุกข์ให้พ้นจากทุกข์ อยู่ในสุขเห่งให้เถิงสุข ผู้ยังบัดนี้เป็นต้นว่าเจ้าแสนแลหมื่นหลวงแลเสนาอำมาตย์ ขุนหมื่นขุนพันกวานน้อยกวานใหญ่ ไพร่ฟ้าหน้าไททั้งหลาย ผู้ได้สร้างได้กระทำดอมก็ดี ผู้ได้อนุโมทนาดอมก็ดี พอแต่หูได้ยินก็ดีในเขตต์ขงเมืองลานช้าง ที่นี้สู่แห่งสู่ที่เทอญ พระยาสามแสนไทเจ้า ทั้งบัวแทนหลั่งน้ำแผ่ไปให้แก่สัตว์ทั้งหลายดังนี้แล แต่นั้นอยู่ไปได้สองเดือนมา นางจิงฝันเห็นภูซวงเป็นคำทั้งมวล ฮุงเช้าแล้วนางจิงเล่าต่อพระยาตนเป็นผัวแล แต่นั้นพระยาจิงเรียกหายังนักปราชญ์ทั้งหลายมา เป็นต้นว่านรสิงนรเดชนราสาด พระยาจิงให้นางเล่านิมิตต์คำฝันว่า เห็นภูซวงน้อยภูซวงหลวงเป็นคำหมดทั้งมวล พราหมณ์จิงถวายว่าเจ้าจักมีลูกชายผู้ประเสริฐเหตุเพื่อนางฝันนั้น แลเดือนสามออกห้าค่ำวันอาทิตย์ แต่นั้นนางก็ทรงครรภ์ไปเถิงเดือน ๑๒ ออกค่ำหนึ่ง จิงได้ลูกชายผู้หนึ่งอันม่มเดือนแล้วจิงใส่ชื่อว่าเจ้าลำคำแดงหั้นแล อยู่ปีหนึ่งเจ้าเมืองลานนาจิงเอาน้อยอ่อนสอทั้งเอาเมืองทินอม ทั้งไทเมืองพยาวมาดอมพันหนึ่งครัวพันหนึ่งพระยาสามแสนไท เจ้าจิงให้แปงโฮงหลังหนึ่งหอสูงหลังหนึ่งเป็นหอนอน จิงใส่ชื่อว่ากางหอสูงเชียงกาง ครัวไทยเมือง พยาวพันครัวนั้น จิงให้อยู่นอนท้ายภูเขาก้า จิงใส่ชื่อว่าง่อนพระยาว
๑๑๗ อยู่ได้ปีหนึ่งจิงมีลูกชายผู้หนึ่งตื่ม จิงใส่ชื่อว่าท้าวก่อนก่อเมือง ใหญ่มาแล้วพ่อจิงให้ไปกินเมืองเชียงสา จิงใส่ชื่อว่าเชียงสา พระยาโยทธิยาจิงส่งลูกสาวผู้หนึ่งชื่อว่า นางแก้วยอดฟ้ามาเป็นเมีย พระยาสามแสนไทเจ้าจิงแปงโฮงหลวงหลังหนึ่งเหนือสบดงให้อยู่ จิงใส่ชื่อว่าโฮงเชียงใต้หั้นแล นางมาอยู่ปีหนึ่ง จิงมีลูกชายผู้หนึ่ง จิงใส่ชื่อว่าท้าววังบุรีแลพ่อให้ไปกินเมืองประสมเล่ามีลูกหญิงผู้หนึ่งชื่อว่านางมหาไกล ใหญ่มาได้ ๕ ขวบจิงตายเสีย ผู้พี่อ้ายเอาดูกล่องมาสร้างไว้ที่ จิงใส่ชื่อว่าวัดศรีหอม จิงมามอบวัดอันนั้นมากับวัดแก้วเมืองชะวาหั้นแล อยู่น้อยหนึ่งพระยาเชียงฮุงจิงเอาลูกสาวมาเป็นเมีย พระยาสามแสนไทจิงให้อยู่หอท้ายเชียงทอง จิงใส่ชื่อว่าแมเหี่ยวโฮงทองหั้นแล มีลูกชายหนึ่งจิงใส่ชื่อว่าท้าวก้อนคำ พ่อให้ไปกินเมืองปากห้วยหลวง เจ้าปากห้วยหลวงมีลูกชายหนึ่ง ใส่ชื่อว่าท้าวต่อมคำ ๆ เป็นหลานพระยาสามแสนไท นับแต่พระยาสามแสนไท มีอายุได้ ๗๙ ปี หมอทายแต่น้อยว่าจักตายดิกน้ำ มาได้กินเมืองสังขานไปแค้นน้ำตายที่โฮงเชียงทองหั้นแล นางแทนผู้เป็นเมียนั้นจิงเอาลูกชายผู้ชื่อว่าเจ้าล้านคำนั้น มาเป็นพระยาแทนพ่อหั้นแล พระมหาสามีเจ้าวัดแก้วแลเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจิงใส่ชื่อว่าสุวรรณปารัง พระยาจิงมาสร้างวัดหลังหนึ่ง สบกระดูกพี่ทิดว่าขึ้นแถนเมื่อสร้างแล้วใส่ชื่อว่าวัดสวนแถนหั้นแล เล่าสร้างอุโบสถหลังหนึ่งที่กงเมืองหั้นไว้ จิงราธนามหาสัทธาทิโกเจ้ามาเป็นมหาสามีเจ้าวัดโบสถ เล่าเอามหาสมุดเจ้ามาเป็นสงฆเสนาเจ้าอยู่สวนแถน จิงมาให้ทานผู้หนึ่งชื่อว่าทานลุงลวดมาเป็นเศรษฐีให้ค้ำคง
๑๑๘ วัดสวนแถน จิงเฮียกว่าเศรษฐีลุงลอดวัดสวนแถน นี้หากเป็นวัดสบกระดูกพระยาสามแสนไทเจ้าหั้นแล พระยาสุวรรณปารัง จิงได้มาเป็นเจ้าแผ่นดิน จิงฝันว่าได้กินน้ำใจใคกระเสลาแลได้ดอกบัวในสระหั้น จิงเล่าคำฝันแก่นักปราชญ์ทั้งหลายหั้นแล ๆ เขาจิงทายว่าเจ้ากูจักได้ลูกชายผู้ประเสริฐคนหนึ่งแล แต่นั้นไปพระยาจิงมีลูกชายผู้หนึ่ง จิงใส่ชื่อว่าท้าวไคบัวบานหั้นแล พระยาสุวรรณปารัง มีอายุได้ ๖๔ ปี จิงตายเขาจิงเอาไปเผาที่หนึ่งจิงสร้างวัดหลังหนึ่งสบกระดูก จิงใส่ชื่อว่ามโนรมหั้นแล แต่นั้นเมือภายหน้าจิงเอาเจ้าพรหมกุมารหลานพระยาสามแสนไท เป็นพระยาแทนได้สามปี มหาเทวีเอาหลานน้อยไปฆ่าเสียที่คกทอนหั้นแล แดนแต่นั้นไปนางเทวีผู้เป็นลูกฟ้าคำเฮียวนั้น ชื่อน้อยว่านางอามพัน เป็นเมียเค้าพระยาสามแสนไทนั้นแล แต่งบ้านแปงเมืองบ่เป็น พระสังฆเจ้าทั้งหลายเสนาอำมาตย์ที่พี่เลี้ยง ผู้ชื่อว่านางกานั้นห้ามขอว่าอย่าให้เฮ็ดให้กระทำก็บ่ฟัง แต่นั้นบ้านเมืองลวดเส้าศูนย์เสียหั้นแล แต่นั้นจิงมาเอาท้าวไคบัวบาน แทนเป็นพระยาได้ ๙ เดือนนางเทวีจักฆ่าเสีย เจ้าฮู้แล้วลักหนีนางเทวีให้ไปนำทันที่ผาคาว เขาจิงสระแปงเสียหั้น นางเทวีจิงให้ไปเอาท้าวเชียงสาอันเป็นพระยา ลูกนางน้อยอ่อนสอ มาเป็นพระยาได้ปีปายเกิ่งหนึ่งให้เอาไปฆ่าเสียคกเฮือหั้นแล แต่นั้นนางกาก็หนีเสีย มาตั้งบ้านอยู่ที่หนึ่งชื่อว่างอนภูสี เผ่าพงศ์วงศาเจ้าแผ่นดิน ลวดหนีไปควาลี้ควาซ่อนอยู่หั้นแล นางเทวีจิงให้ไปเอาพระยาปากห้วยหลวง มาเป็นพระยาได้ ๑๐ เดือน จิงขอหนีไปอยู่ปากห้วยหลวงดังเก่า ได้ขวบหนึ่งจิงตายเสีย เขาจิงเผาเสีย
๑๑๙ ปากห้วยหลวงก้ำเหนือ จิงสร้างวัดหลังหนึ่งชื่อว่าวัดสบกระดูกพระยาปากห้วยหลวง แลนางเทวีให้มาเอาเพียงขวาประสักเมือเป็นพระยาแทนบ่มักมา ยังมีผู้หนึ่งชื่อว่าหมอมนมันเอาข้อยจือของพระยาสามแสนไทเป็นเมีย มันจิงมีลูกดอมผู้หนึ่งชื่อว่าท้าวคำเกิด มันผู้เป็นเมีย จิงบอกชื่อช้างชื่อม้า เสนามนตรีทั้งหลาย เข้าของอันใดก็ดีมันก็บอกลูกมันไว้ให้จื่อได้สู่สิ่งสู่อัน มันจิงว่าลูกกูนี้พระยาสามแสนไทมาเกิดดาย ความอันนั้นลวดส่าไปฮอดมหาเทวี ๆ จิงให้ล่องมาเอาเมือเป็นเจ้าแผ่นดิน เหตุเพื่อว่าเขือทั้งหลายฮักพระยาสามแสนไทเจ้า คั้นไปเกิดที่ใดทั้งหลายก็นำเอาเพื่อสิ่งนั้น ได้มาเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วจิงสร้างวัดหลังหนึ่ง เหนือสวนแถนหั้นแล นางเทวีจิงใส่ชื่อว่าวัดสีเกิดมันเป็นเจ้าแผ่นดินได้สองปีปายสองเดือน มันเป็นฮุงท้องแตกตาย นางเทวีแลหมอมนผู้เป็นพ่อจิงมาสร้างวัดสบกระดูก ที่ใต้บ้านเจ้าแม่กาหั้นจิงชื่อว่าวัดมนหั้นแล นางเทวีนั้นมันฮ้ายก้าแข็งเพื่อมันเอาลูกปู่เลี้ยงพระยาฟ้าเป็นผัวมัน มันใส่ชื่อว่าแสนหลวงเชียงลอ ทั้งหลายจิงว่าขานี้บ่ชอบโลกธรรมดีหลีแล เสนาทั้งหลายจิงเอาออกจากโฮงเชียงทองไปฆ่าเสียที่ผาเดียวฟากในเชียงทองหั้นแล ยามเมื่อนางเทวีตายนั้นอายุได้ ๙๕ แม่กาจิงมาขอเอาคาบดอมเสนาทั้งหลาย เมือเผาเสียบ้านท่านหั้น จิงสร้างวัดหลังหนึ่งสบกระดูกมหาเทวี จิงใส่ชื่อว่าวัดแม่กาหั้นแล เจ้าแม่กานี้เป็นพี่เลี้ยงมหาเทวีแล ฯ บัดนี้จักเล่าพงศาแม่กาก่อนแล แม่กานี้มีลูกผู้หนึ่งเป็นนางสองหมื่นไต นางนั้นมีลูกสาวสองคน ผู้พี่อ้ายได้เป็นพุมเหนือเมื่อปาง
๑๒๐ พระวิชุลราชเจ้านี้แล เจ้าพุมเหนือนั้นได้เอาน้องหรือพระวิชุลเป็นเมีย จิงมีลูกผู้หนึ่งชื่อว่าพระสองเมือง อันทั้งหลายว่าพระรูปนั้นแล แม่พระสองเมืองตายเจ้าพุมเหนือ ผู้ชื่อว่าเจ้าชายนั้น จิงมาเอาพี่เอื้อยพระยากาง ทั้งเป็นพี่เอื้อยตนพระไชยเชษฐาธิราชเจ้านั้นแล สามตนนี้เป็นลูกพ่อเดียวแม่เดียวกัน เชื้อพระยาจิกคำเอาเจ้าพุมเหนือจิงมีลูกนำผู้ใส่ชื่อว่าบุญสาน อันได้เป็นแสนเมืองลานช้าง จิงใส่ชื่อว่าอุปราชาหั้นแล อันนี้พงศาเจ้าแม่กาแลพระยาจิกคำเป็นโคตรเป็นวงศ์อันเดียวกันหั้นแล จาพงศ์พันธ์แม่กาก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ แต่นี้ไปภายหน้าจักจาพงศ์พันธ์นักปราชญ์ก่อนแล นักปราชญ์เจ้าอันมาแต่เมืองนครหลวง เป็นต้นว่านรสิง ๆ มีลูกสองชาย ผู้พี่ชื่อว่านรเดชผู้น้องชื่อว่านรราช ขาเจ้าทั้งสองนั้นจบไตรเพททั้งสาม อันมีกำลังเร็วยิ่งนักผยาปัญญาทะยานขึ้นเมืออากาศกางหาวได้ ๒๒ ศอก ๑๘ ศอก ได้ ๑๖ ศอก อันนี้เป็นปกติ นรเดชมีลูกชายผู้หนึ่งจบไตรเพททั้งสาม นรราชมีลูกชายผู้หนึ่งก็จบไตรเพททั้งสามริทธิเฮวแฮงแลผยาปัญญาก็สิ่งเดียวกัน กำลังเขาเจ้าแลคนนั้นคนเฮา นี้ฮ้อยหนึ่งก็ดีพันหนึ่งก็ดี จับกุมต่อมือเขาเจ้านั้นแขนหักมือหัก หัวเข่าแตกออกดังนั้น ก็บ่อาจจักกุมเอาได้แล อันเชิงดาบเขานั้นฟันคนเมือต่อเถิงหมื่น ก็เจ็บก็ตายบ่อาจจักเอาได้ นักปราชญ์ทั้งสามอันเป็นพ่อเขาเจ้าทั้งสี่นี้ก็ตายไปด้วยสวัสดี ตามกำลังเขาเจ้าทั้งสามหั้นแล จักสร้างวัดหลังหนึ่งสบกระดูกนักปราชญ์ทั้งสาม ใส่ชื่อว่าวัดหัวขวงเชียงกาง พระมหาปาสมันเจ้าก็ตาย พระมหาเทพลังกา
๑๒๑ และพระมหาสามีเจ้าวัดแก้ว ก็จุติไปตามกรรม จิงมาแปงเจดีย์ดวงหนึ่งต่อหน้าวัดป่าหมันหั้น จิงใส่ชื่อว่าวัดพระพี่น้องทั้งสามหั้น แต่นั้นบ้านเมืองลวดเส้าศูนย์เสีย หาท้าวพระยาบ่ได้เถิงสามปี นักปราชญ์ทั้งสี่และเสนาอำมาตย์ทั้งหลายพร้อมกัน จิงมาเอาพระมหาสัทธาทิโกเป็นมหาสามี เจ้าวัดแก้วจิงมาเอาสมุทโคตเจ้าวัดป่าสมัน จิงได้ ชื่อว่าพระมหาสามีเจ้าตนพี่ตนน้องปางนั้นแล จิงจักได้ชื่อว่าราชครูเจ้าแผ่นดินเมืองลานช้าง หล่างมีสองตนแล นักปราชญ์ผู้จักเป็นที่แสงที่ถามหล่างมีสี่มีสอง คนทั้งหลายอันเป็นข้าเจ้าแผ่นดินจิงสุขเกษมมาเพื่อดังนั้นแล ฯ บัดนี้จักจาพงศาพระยาฟ้าและพระยาสามแสนไทก่อนแล พระมหาสามีเจ้าทั้งสองและนักปราชญ์ทั้งสี่ และเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจิงพร้อมกันไปราธนาพองชะวาประสัก มาเป็นเจ้าแผ่นดินเชียงดงเชียงทอง โฮงท่านอยู่ต้นเดื่อหานที่เวียงจันทน์หั้นแล เจ้าก็ขึ้นมา ตามนิมนต์ จิงมาฮอดเมืองชะวา พระมหาสามีเจ้าทั้งสองนักปราชญ์ทั้งสี่ กับทั้งเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย พร้อมกันยอขึ้นให้เป็นเจ้าแผ่นดิน จิงใส่ชื่อว่าพระยาไชยจักรพรรดิ์แผ่นแผ้วนั้นแล เจ้าจิงมายอพระมหา สมุทรเจ้าเป็นธรรมเสนา ให้อยู่วัดมโนรม จิงเอาพระมหายานคัมภีร์เจ้า เป็นสังฆเสนาให้อยู่วัดโบสถ์กางเมือง จิงให้อาชญาอภัยโทษชีวิตแก่สัตว์โลกทั้งหลายโดยดังโบราณนั้น เจ้ามาเสวยราชมีลูกชายผู้หนึ่งชื่อว่าท้วเชียงลอ ให้เมือเป็นแสงเมืองแก่พ่อ จิงมีผู้น้องให้เมือกินเมืองกระบอง จิงใส่ชื่อว่าพระยาหมื่นเก้า ลูกชายผู้หนึ่ง
๑๒๒ ชื่อว่าเจ้าตนหล้า ให้ไปกินเมืองแก ผู้หนึ่งชื่อว่าวิชุลราชา ให้ไปกินเวียงคำ ทั้งท้าวหล้าพันหนอง ผู้หนึ่งชื่อว่าคำเฮือง ให้เมือกินเมืองชายและเมืองชอง จิงใส่ชื่อว่าเจ้าชายซอง ผู้หนึ่งชื่อว่าคำพาให้เมือกินเมืองขวา จิงใส่ชื่อว่าขวาเทพา จิงให้พ่อเลี้ยงผู้หนึ่ง ให้เมือเฮ็ดตางใส่ชื่อว่าขวาลูง ช้างตัวหนึ่งเมือแข็ง เมืองขวามีขแดงคีงแดงเป็นดังทองแดงนั้นแล้ว สูงได้เก้าศอก แต่เค้าหูก้ำขวามาเถิงเค้าหู้ก้ำซ้ายได้สามศอก จิงใส่ชื่อว่าเชยบั้งทอง ตัวนี้ช้างต้นเจ้าขวาเทพาแลเท่านี้ลูกชายพระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วหั้นแล ลูกหญิงผู้หนึ่งให้กินเมืองหมื่นหน้า ผู้น้องหญิงให้กินเมืองหมื่นแพน พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว มีลูกชายห้าคนลูกหญิงสองคน คั้นคนทั้งหลายว่าแม่หยัวเจ้านางหมื่นหน้า นางมื่นแพนนั้นแล บ้านเมืองแต่นั้นชายมุยกิน เวียงจันทน์แล จักเอาแต่ตาดน้ำไปใต้ ทั้งเมืองกระบองเป็นเมืองหมั้นเสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่าบ่ชอบ จึงแต่งให้เด็กน้อยและนายหลวงทั้งสองล่องเอาไปฆ่าเสียที่ดอนจันทน์ มันมาหลิ้นน้ำหลิ้นไกลหั้นแล เขาจิงเอามันไปเผาเสียที่หนึ่ง จิงสร้างวัดหลังหนึ่งใส่ชื่อว่าวัดใต้หันแล อันว่าวัดประสักนี้พระมหาสมันเจ้าและนักปราชญ์ทั้งสาม เอาตำนานแต่งเมืองนครหลวงพุ้นมาว่ามหารัสสีเจ้าตนตั้งหลักไม้จันทน์ ทั้งหลักแก้วหมายบ้านหมายเมืองไว้ที่นี้แล พระมหาสมันเจ้าบอกให้ตั้งอารามทั้งพุทธรูปเจ้า ไว้ในที่นี้เทอญ พระว่าให้เมือเอาพระบางเจ้าขึ้นมาเซาหั้น ๗ วัน จิงออกมาเวียงคำหั้นแล เมื่อสร้างแล้วจิงใส่ชื่อว่าวัดประสักหั้นแล พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วเจ้า จิงพิจารณา
๑๒๓ ดูจิงได้หลานผู้หนึ่ง มีอายุได้ ๓๕ ปี มันเป็นหงอกแต่หนุ่มมีลูกสองชาย จิงให้มากินเมืองเวียงจันทน์ แต่พระน้ำฮุงมาเหนือเท่าเขตต์เมืองชายแล ขอบด่านทั้งมวลไว้อาชญาให้แต่งหั้นแล เขาจิงว่าพระยาจันทน์หงอกแดงเขาว่าเจ้าตนนี้แล แต่นั้นมาปีหนึ่งยังมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าแก่นท้าว ได้ช้างเผือกตัวหนึ่งมาถวายแก่พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วเจ้าหั้นแล ช้างตัวนั้นสูงได้ ๗ ศอก รูปโฉมงามนักจิงแปงโฮงหลังหนึ่งไว้หลุ่มภูเขากล้าแคมน้ำคานหั้นแล พ่อหมอช้างผู้หนึ่งจิงทวยว่าช้างตัวนี้อยู่เมืองได้เถิง ๗ ปีเมืองอันนั้นก็จักวายแล มันทวยสิ่งนั้นผู้ทวยนี้แหม่นพ่อหมื่นช้างคำฮอน อันเป็นปู่หมื่นคานคอนแก้ว ว่าเป็นพระยานครคางมูมนั้นแล ได้ช้างเผือกสาปีความส่าเท่าบัวหลวงจิงให้ มาขอขนเมือดู พระยาเชียงลอเอาขี้ช้างเมือให้บัวหลวงดู พระยาบัวหลวงก็เคียดมากนัก จิงป่าวพลได้ปีหนึ่งปีลุนนั้นมาทางเมืองขวาสามล้าน ให้เสนาก้ำขวาชื่อว่าคกกงมาผู้หนึ่งไตหนึ่ง ผู้หลานม้างเมืองขวามีคน ๕ ล้าน ขันจักชนช้างเผือกเจ้าเชียงลอ เสนาผู้หนึ่งถือพลมา ๓ ล้าน ชื่อว่ากางกงมาทางเมืองซ้าย เสนาผู้หนึ่งชื่อว่าจุถวาย-ไตวาง เป็นหลานเจ้าบัวขัน ๆ ชนช้างหมื่นจันตัวชื่อว่าพิมานคำ ให้เสนาผู้หนึ่งชื่อว่ากงการถือพลมา ๓ ล้าน มาทางพระน้ำฮุงเสียงสาให้เสนาผู้หนึ่งชื่อว่ากงผูแสด ถือพลมา ๓ ล้านมาทางเมืองกระบองแกวหลวง มาตกแผ่นดินเมืองลานช้างปางนั้นสองตื้อหั้นแล พระยาเชียงลอถือพลสองแสน ให้นรสิงห์นรนารายณ์ นรเดช นรสาด ๔ คน เขานี้มีคนล้านสี่พัน พันหลวงสี่หมื่น ไปรบแต่ต้นภูมุงเมืองมา แกว
๑๒๔ ตายล้านหนึ่ง เถิงคาเข้าก็กุมกันลงมาจากภูมุงเมืองมานอนตีนภุมุงเมืองมานอนตีนภูกู่หั้นไตหนึ่งก็นอนที่หลักหมั้น พอยามเที่ยงคืนผีแถนมาเอิ้นบอกแก่ไตหนึ่งว่าเป็นความแกวว่า ท่านจักตายวันหน้าที่กางเมืองชะวาหั้น แล้วเล่ามาเอิ้นบอกพระยาเชียงลอว่า ให้ดาพระยาไชยเจ้าล่องหนีท่อน พระยาเชียงลอก็จักได้ชนช้างแกววันหั้น แล้วบ้านเมืองก็จักวายวันหั้น แล้วผีแถนมาเอิ้นบอกว่าสันนั้น ฮุงเช้าแล้วก็ดาช้างอันจักชนต้อนหน้าช้างเผือกนั้นสี่ร้อยตัว คนสี่หมื่น หมื่นหลวงหมื่นบุนขี่ช้างอ้ายตาขาว ถือพลแปดหมื่น ช้างตัวจักชนดอมแปดร้อย ออกมาทางงอน หมื่นหลวงลัดหลังไตหนึ่ง ช้างตัวนั้นงาก้ำขวาเป็นดังทบศอก งาก้ำซ้ายลงกกงาได้สี่กำ สูงได้เก้าศอกขวาลูชี่ช้างแดงตัวว่าไชยบอมทอง ชุมช้างหั้นได้แปดร้อย คนแปดหมื่นอยู่ทางผาเผิ้ง พลหลวงทั้งมวลตั้งนาข้าวจ้าวที่อันสร้างวัดวิชุณ บัดนี้แล เขาเจ้าทั้งหลายสี่ขุน คือว่านรสิงห์เป็นต้นถือพลออกสี่หมื่นไปตั้งนามุงคุณ รบมาเถิงนาไฮเดียว พระยาเชียงลอก็มาตั้งนาไฮเดียวหั้น หมื่นหลวงลัดหลังไตหนึ่งก็มาฮอดหั้น ขวาลูชนก็มาฮอดหั้นไตหนึ่งยังตั้งอยู่นาข้าวจ้าวไป่มา เจ้าหมื่นหลวงทั้งขวาลูถือพล มีช้างสองพันคนสองแสน เขาเจ้าทั้งสี่คนนี้คือว่านรสิงเป็นต้น ฮูมคนแกวแต่ยามตาวันเที่ยงเถ้ายามแลง แพ้แก้วสี่เถื่อคุงไตหนึ่งหั้นแล คนสองแสนช้างสองพันเลวแกวห้าล้าน ขาก็บ่แพ้แทงก็บ่แพ้ช้างพาควานแล่นหนีไปกินน้ำ แผ่นดินบ่ได้ย่ำท่อย่ำแกวตายหั้นแล แต่นั้นไตหนึ่งเข้ามาชนช้างเผือก ขลูวาวางไชยบอมทองใสกอนเบิ่งบัวหลวงมาฮูม
๑๒๕ สามตัวไชยบอมทองเอาหมดทั้งสาม ผู้หนึ่งว่าดือกองมาก้ำซ้ายไตหนึ่งชุมช้างมันสี่ตัว หมื่นหลวงหมื่นบุนวางอ้ายตาขาว ใส่ท้าวทั้งสี่แกวก็ตายทั้งสี่ โหนยก้ำขวาไตหนึ่ง ชื่อว่าหลีกพาชุมช้างมันมีหกตัววางมาก่อนไตหนึ่ง ข้อยพระยาเชียงลอผู้หนึ่งชื่อนายหลวงเหนือ มันขี่ช้างตัวหนึ่งชื่อว่าอ้ายหมากหญ้ามันชนอีก พาท้าวขาทั้งสองฮุมชนช้างหกตัวนั้นท่าวไป องค์ทั้งหกก็ตายไปขาทั้งสองตาย ช้างอ้ายหมากหญ้าทั้งไชยบอมทองลอยน้ำของหนี ผู้ว่านายหลวงเหนือนั้นแหม่นปู่เจ้าภูมิเหนือ อันว่าท้าวแจงพ่อท้าวบุญสารอันเป็นพระยาแสนนั้นแล แต่นั้นพลก้ำลาวเฮาก็บกบางไปหั้นแล แต่นั้นไตหนึ่งก็เอาพลทั้งมวลเข้ามาชนช้างเผือกพระยาเชียงลอทั้งหมื่นหลวงหมื่นบุนชนไตหนึ่ง ที่นาไฮเดียวหันช้างเผือกเอาช้างไตหนึ่งท่าวลงมันก็ตายไปหั้นแล ช้างเฮาทั้งสองพันนั้นลางตัวก็ตาย ลางตัวก็ลอยข้ามน้ำคานหนี ลางตัวก็ข้ามน้ำของหนี หมื่นหลวงหมื่นบุนเอาทั้งหลายกวนรบชนกันหั้นท่านก็ตายช้างก็ตาย ขุนทั้งสี่เป็นต้น ว่า นรสิง นรนารายณ์ นรเดช นรสาด เขาเจ้าทั้งหลายนี้ แกวก็กุมเอาได้ทั้งเป็น มาเสียบหลักเสียที่นาข้าวจ้าว ที่สร้างวัดหัวของหั้นแล ตัวพระยาเชียงลอก็เจ็บก็ป่วยจิงขี่ช้างเผือกหนี มาฮอดโฮงเชียงทองจิงลงช้างไปเข้าเฮือเหล่มหนึ่ง ชื่อว่าเพเลากาเฮือลวดจมที่ท่าเชียงทองหั้นเจ้าก็ตายหั้น แล้วแกวมาเมืองลาวบางมีช้างห้าล้าน นายหลวงเขาอันเป็นเจ้าช้างห้าร้อยกับทั้งไตหนึ่ง ก็ตายหมดมื่อเดียว อันพระยาเชียงลอได้ชนที่นาไฮเดียวหั้นแล้ว เขาก็วางช้างวางม้าวางเคื่อง
๑๒๖ เคาเสียหมด ยังมีผู้หนึ่งลูกดึกพาชื่อว่าองวางเอารี้พลทั้งหลาย อยู่สามวันจิงหนีเมือโฮมดูพลที่เมืองลาบได้คนสองแสนหั้นแล เขาจิงเมืออยู่ฟากน้ำมา อันเขาโฮมพลเอาก้อนหินมากองไว้นั้น เมื่อเขาขึ้นเมือเมือง เขาเอาก้อนหินขึ้นแลคนแลก้อน ค่อมได้คนห้าล้าน เสียคนตื้อปายห้าล้าน นายผู้ใหญ่มาปางนั้นสี่พัน ยังคืนหกฮ้อย เสียสามพันปายสี่ฮ้อย ย่อมเป็นโดยผู้ใหญ่ทั้งมวล ย่อมเป็นลูกเป็นหลานเป็นเชื้อแนวเจ้าบัวหลวงสู่คนหั้นแล เจ้าบัวหลวงจิงเคียด จิงตั้งอาชญาว่า ตั้งแต่นี้ไปไผอย่าชวนกันเมือเมืองล้านช้างท่อน เมืองอันนั้นหากเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันแต่ชั่วขุนบรมราชาธิราช หากได้กินได้แช่งไว้ เราจิงดับจิงวายเพื่อสิ่งนั้นแล จิงป่าวคนในเวียงให้สัก ฮอยตีนลาวที่ขม่อมสู่คน ชาวนอกเวียงสักหน้า แลทั้งฮอยตีนไว้หั้นแล อย่าให้ไผชวนกันเมือเมืองลานช้างสักเทื่อไผยังมาชวนดูน้ำเมิกที่หน้าผากหั้นเทอญ เจ้าบัวหลวงตั้งอาชญาไว้ดังนี้ แต่แคมน้ำแท้เมื่อพุ้นไว้เป็นเมืองลานช้าง เก่าบูฮาน เขตต์ก้ำใต้เอาแต่เมืองมีฮ้านกว้านมีเสา แต่ตีนสุมเส้าน้ำเก่าแกว ไว้เป็นเขตต์เมืองลานช้าง ตามบุฮานปางก่อนท่อน ฯ บัดนี้เมือหน้าจักจาที่เมืองลาวมาตั้งลุมแกวก่อนแล มหาสามีเจ้าวัดแก้ว ตนชื่อว่ายานสมุทกับทั้งพระธรรมเสนาเจ้า และเจ้าหยัวฮ้อยปายตน อยู่วัดแก้วทั้งวัดปาสมัน อยู่วัดสวนแถนสีเกิด ทั้งวัดโบสถ์กางเมือง ห้าวัดนี้ เบาหินแกวก้เบาเฮ็ดสัง ท่อลาวผู้เฒ่าผู้เบียวฝูงนี้เบาหินก็อยู่ดอมแกวก็เบาเฮ็ดสัง แกวฝูงเจ็บฝูงป่วยนั้น พระก็เอามาปัวดีแล้วก็หนี ผู้มักหนีเขาก็หนี ผู้มักอยู่เขาก็อยู่ แกวจิงมีใน
๑๒๗ เมืองลาวตราบต่อเท่าบัดนี้แล พระมหาสามีเจ้าวัดแก้ว จิงให้พระธรรมเสนาเจ้า กับชาวเจ้าสามสิบตน ทั้งคนฝูงอยู่ดอมนั้น ล่องมาราธนาพระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วมาเสวยราชย์ เป็นพระยาดังเก่าเถิงสามทีเจ้าก็บ่มา จิงไปราธนาพระยาหล้าแสนไตตนกินเมืองแกนั้นมาเป็นเจ้าแผ่นดิน เจ้าก็มาตามนีรมนต์พระมหาสามีเจ้าและพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายทั้งตามความพ่อตนหั้นแล คั้นว่าฮอดเชียงดงเชียงทองแล้วพระมหา สามีเจ้าทั้งพระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว จิงให้อาราธนาเจ้าวิชุลกุมารตนไปกินเมืองทาราพันหนองทั้งเวียงคำนั้นมาเป็นแสนเมือง เจ้าตนนั้นมีช้างตัวหนึ่งเป็นมุงคุลนัก ชื่อว่าช้างบานงาอ้าเจ้าก็ขี่มาทางบกฮอดเวียงคำหั้น จิงมาตั้งคำปรารถนาต่อพระบางเจ้าหั้น ว่าภายหน้าผู้ข้าหากยังเมือฮอดเซียงดงเชียงทอง และยังแล้วคำมักคำปรารถนา ข้าจักแปงวิหารหลังหนึ่ง ลวงกว้าง ๑๐ วา ลวงยาว ๒๐ วา จักราธนาสัพพัญญูเจ้าเมือโผด อนึ่งข้อยก็นิมนต์ไว้นี่ แล้วแต่นั้นเจ้าก็ขึ้นมาทางบกฮอดเมืองชะวาหั้นแล พระมหาสามีเจ้าตนพี่ตนน้อง ทั้งพระเจ้าตนหล้าและชื่อเมือง เจ้าทั้งหลายจิงยอให้เป็นแสน ให้ไปอยู่เชียงลอหั้นแล พระเจ้าตนหล้ามาเป็นเจ้าเชียงดงเชียงทองปีหนึ่ง พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วจิงตายที่เชียงคานหั้น จิงแปงหีบเงินใส่ไว้ จิงใช้ไปเล่าแก่พระยาศีโยทธิยา ปางนั้นพระยาไปเป็นเจ้าเมืองศีโยทธิยาจิงแต่งโลงคำลูกหนึ่ง โลงไม้จันทน์ลูกหนึ่ง พินพันแพห้าฮ้อยให้ขุนศรีราชโกษามาส่งชกาน พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว ๆ มีอายุได้ ๘๓ ปีจิงตาย จิงเผาเสียที่เชียงคาน จิงสร้างวัดสบกระดูกหลังหนึ่ง
๑๒๘ ที่เชียงคานนั้น ขุนศรีราชโกษาจิงคืนเมือคอบพระยาศรีโยทธิยา ปีลุนนั้นพระยาศรีโยทธิยาจิงแต่งเครื่องราชาภิเษก ให้ขุนอินทร์ ขุนพรหม ขุนศรีราชโกษาเอาเคื่องทั้งมวลขึ้นมาพร้อมกับมหาสามีเจ้าทั้งสอง และชื่อเมืองเจ้าทั้งหลายจิงอุสาภิเษกเจ้าตนหล้า ให้เป็นเจ้าแผ่นดิน เจ้าวิชุลกุมารให้เป็นแสนเมืองหั้นแล เมืองโยทธิยา เมืองลานช้างก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นั้นมาพระยาเจ้าตนหล้าจิงมีปฏิญาณว่าเมื่อใดพี่เฮาเจ้าโยทธิยา ยังใค่ได้ใค่เอาไปที่แดนเมืองหั้นก้ำพุ้นมาให้เซาที่ชงาปีและห้วยประหวัดหั้นก่อน ก้ำนี้ไปจักให้เซาที่หนองบัวหั้นก่อนแม่นจักเป็นคำบ้านคำเมืองก็ดี แม่นจักเป็นคำซื้อคำขายก็ดี จิงให้มาต้านมาจากันที่แดนเมืองหั้น จิงใส่ชื่อว่านาสองฮักเพื่อสิ่งนั้นแล พระยาหล้าแสนไกเจ้า เป็นเจ้าแผ่นดิน ศักราชได้ ๘๕๓ ตัวปีฮวงเป้าเดือนห้าขึ้นสิบสามค่ำวันจันทร์ยามกองงาย แลเจ้าเสวยราชย์ได้ปีหนึ่งมหาสามีเจ้าตนพี่ ตนน้องก็ตายไปหั้นแล เจ้าแผ่นดินก็เลิกซากส่ง ซกานแล้วจิงราธนามหาเถรเจ้าคัมภิร เป็นมหาสามีเจ้าตนพี่อยู่วัดแก้ว เล่ายอมหาเถรเจ้าสัทธรรมวัง ให้อยู่เป็นเจ้าวัดปาสมัน เล่ายอมหาเถรเจ้าเทพหลวงเป็นธรรมเสนาให้อยู่วัดมโนรม พระเจ้าตนหล้าให้อาชญาแก่พระเจ้าพี่น้องทั้งสาม เป็นอันสิทธิ์อันคม คั้นว่าผิด ตนก็ดีผิดอาชญาท้าวพระยาฝูงอื่นก็ดี เป็นโจรจูดเล่าเผาบ้านก็ดี ฆ่าเจ้าเอาของก็ดี หลิ่นกับเมียท่านแลลักราชสมบัติก็ดี โทษทั้งมวลฝูง นี้คั้นเขาได้เข้าเขตต์พระเจ้าพี่น้องตนใดตนหนึ่งก็ดี ก็บ่ให้ผูกให้ฆ่าให้เสียชีวิตแล ท่อให้บอกให้สอนเขาเมือหาเวียกหาการดังเก่า สัตว์ทั้ง
๑๒๙ หลายปางนั้นมีสุขมากนักแล นับแต่พระเจ้าหล้าเสวยราชย์ได้ ๔๐ ปี นับแต่เจ้าเกิดมาได้ ๗๔ เจ้าจิงได้นิพพานหั้นแล จัวนางแทนผู้เป็นเมียพระเจ้าพี่น้องทั้งสามแล เจ้าวิชุลอันเป็นแสนเมือง จิงมาส่งซกาน เผาเสียที่งอนเท็งโฮงเชียงกางหั้นแล จิงสร้างวัดสบกระดูกลูกหนึ่ง จิงใส่ชื่อว่าบุพพอารามอันเขาว่าวัดบวมพามนั้นแล จิงราธนามหาเถรเจ้าตนหนึ่งชื่อว่าสุเมธา มาเป็นเจ้าวัดหั้น ใส่ชื่อว่าสงฆเสนา ทั้งเอาท่านอาจารย์น้อยมาอยู่หั้น แต่งให้สอนธรรมจักแทน ให้ข้าวปีหกแสนเงินเดือนหกฮ้อย หมากเกือขิงเทียมเมี่ยงให้ท่านสู่เดือน ท่านนั้นมีผยาปัญญาจบไตรเภททั้งสามหั้นแล ทั้งหลายทำบุญส่งทานไปหาพระเจ้าตนหล้าบรบวร แล้วทั้งหลายจิงเอาลูกเจ้าตนหล้าผู้หนึ่งชื่อพระเจ้าชุมพูเจ้านั้นมีอายุได้ ๒๕ เสียตาก้ำหนึ่ง เจ้านั้นมีรูปโฉมอันงามนัก แลเจ้าเสวยราชย์แทนพ่อได้ ๓ ปีลวดตาย จิงเอามาเผาเสียที่หน้าวัดบวมพามหั้นแล จิงให้พ่อเลี้ยงผู้หนึ่งชื่อว่าหมื่นนาสร้างเจดีย์ลูกหนึ่งที่เผาหั้นจิงใส่ชื่อว่าเจดีย์หมื่นนาเพื่อดังนั้นแล ดูกพระชุมพูเจ้าจัวนางแทนผู้เป็นแม่เอาไปใส่อูบคำสองลูก มาใส่วัดสบที่ห้วยหลวงหั้น จิงให้กองข้อยสองฮ้อยให้เขารักษาจิงใส่ชื่อว่าวัดสบพระยาปากทั้งพระชุมพูหั้นแล อูบคำลูกหนึ่งเอาไปสร้างวัดปากชวยดอมกองข้อยหั้น ให้เขารักษากระดูกพระชุมพูหั้นแล อยู่ได้ ๔ เดือนลูกหญิงพระเจ้าตนหล้าผู้หนึ่งชื่อว่านางสีไว ก็ตายเอาไปเผาเสียที่ใต้วัดมโนหั้น จิงสร้างวัดสบกระดูกจิงใส่ชื่อว่าวัดเชียงกาง จิงให้เมืองอันหนึ่งชื่อว่าเมืองบางอยู่ดินเมืองสุย
๑๓๐ ทั้งให้นาสี่เผียก ทั้งให้ทานเศรษฐีสินกับหมู่ชุมทั้งมวลให้ค้ำคงวัดเลี้ยงกางหั้น นานมาได้ปีหนึ่งจัวแทนแม่พระเจ้าตนหล้าแลมหาสามีเจ้า เป็นประธานแลพระสงฆเจ้าทั้งหลาย กับเสนาทั้งมวลแลชาวเมืองพร้อมกัน จิงมายอเจ้าวิชุลราชอันเป็นแสนเมืองนั้น มาเป็นเจ้าแผ่นดินแทนพี่ตนน้องหั้นแล คั้นว่าเจ้าวิชุลราชาได้เป็นเจ้าแผ่นดินปีหนึ่ง ปีลุนนั้นให้ไปราธนาพระบางเจ้ามาทางบก มาไว้ที่วัดมโนรมหั้นก่อนแผ่นดินได้สามปี ยังมีนางผู้หนึ่งอยู่หลุ่มวัดสีเกิดหั้นแม่นางนั้นเป็นชาวสีเกิด พระเจ้าเชียงลอเอามาเป็นเมีย จิงมีนางนั้น ๆ ใหญ่มาพระวิชุลราชาไปฟังธรรมวัดสีเกิดแลเห็น จิงถามเชื้อถามโคตรดูว่าแหม่นเป็นลูกพระเจ้าเชียงลอ จิงเอาเมือเป็นเมีย จิงใส่ชื่อว่าจัวนางพันตีนเชียงหั้นแล เมียเค้านั้นทั้งหลายปูกสร้างให้เป็นบัวแทนเมียพระวิชุลราชเจ้ามีสองคนนี้แล พระวิชุลราชเสวยเมืองได้ ๗ ปีมีลูกหญิงหนึ่งดอมนางพันตีนเชียง ใหญ่มาได้สามปีแลตาย เอาไปเผาเสียหลุ่มวัดแม่กาหั้น จิงสร้างวัดสบกระดูกหลังหนึ่ง จิงใส่ชื่อว่าวัดอโศก อยู่ปีลุนจัวแทนอันเป็นเมียเค้านั้นเล่าตาย เอาไปเผาเสียที่งอนลินแสน เสร้าหั้นจิงสร้างเจดีย์ลูกหนึ่งที่เผาหั้นแล แต่นั้นอยู่ได้สามปีจัวนางพันตีนเชียง จิงฝันเห็นไม้ฮังต้นใหญ่นัก มีหง่ามีใบมีดอกงามยิ่งนัก ฮุ่งเช้าจิงเล่าแก่พระวิชุลราช ๆ เจ้าจิงให้หามาอาจารย์น้อยธรรมจุลลา อาจารย์สารพังมา ขาเจ้าทั้งสามนี้หากเป็นเชื้อเป็นชาติกันแต่นครหลวงพุ้นมา จิงทวยว่าเจ้ากูจักมีลูกชายผู้ประเสริฐ อันเป็นที่เพิง
๑๓๑ แก่คนทั้งหลายแล อยู่ได้ ๗ วันนางก็ทรงครรภ์เถิง ๑๐ เดือน จิงประสูตรออกมาก็เป็นผู้ชายแท้แล ออกปีฮวายยี พระวิชุลราชยินดีดอมลูกชายมากนัก อันนี้ก็หากได้ดังคำปรารถนากู ยามเมือจากเวียงซ้ำมาเป็นแสนเมืองนั้นแล ได้ปราถนาดอมพระบางเจ้า บัดนี้คำปรารถนาก็ได้ดังคำมักนี้แล บัดนี้กูจักสร้างเจดีย์อันใหญ่หนึ่ง ทั้งวิหารหลังใหญ่หนึ่ง แลเอาพระบางเจ้ามาไหว้บูชาเทอญ จิงราธนามหาสามีเจ้าวัดแก้วแลอาจารย์ทั้งสาม แลชื่อเมืองทั้งหลายมาต้านถามดู ที่อันจักตั้งเจดีย์วิหารให้เป็นไปในสถาน พระมหาสามีเจ้าวัดแก้ว แลอาจารย์เจ้าทั้งสาม เอาตำนานอันพระมหาสมันเจ้าเอาแต่เมืองนครหลวงมานั้น อ่านดูตำนานจิงออกว่ายังมีที่หนึ่ง ว่านาข้าวเจ้าที่หินก้อนหนึ่งกว้างได้ ๑๖ ศอก ยาวได้ ๑๘ ศอก อยู่ได้สบห้วยช้างหย่านหัวนาข้าวเจ้า หลุ่มภูเขาเก้าหั้นแล พระพุทธเจ้าทำนายไว้ว่า หินหน่วยกูนั่งนี้จักมีพระยาตนหนึ่ง อยู่ชอบโลกชอบธรรมจักมาตั้งศาสนาที่นี้แล ตำนานว่าสิ่งนั้น พระวิชุลราชเจ้ากับนางเทวีก็ยินดีมีใจภิรมย์มากนัก จิงตกแต่งให้เสนาทั้งหลาย เป็นต้นว่าหมื่นหลวงแลเจ้าชาย เจ้าขวาพูมใต้พูมเหนือหมื่นจันหมื่นแก ให้หาไม้อันจักแปงวิหารตีนแท่นตีนเชียงสี่พัน จ่าเฮือน ขุนพอง ขุนหอ กองข้อยทั้งหลาย ให้หาดินกี่อันจักตั้งเจดีย์กวมก้อนหิน อันออกในตำนานนั้นว่า พระพุทธเจ้านั่งนั้น มหา เทวีคำสร้างเจดีย์ พระวิชุลราชเจ้าสร้างวิหารหลวง ก่อเจดีย์ทั้งสร้างวิหารหลวงนั้นปีเตาสัน เดือนสามออกสองค่ำวันเสาร์ สามปีปายเจ็ด
๑๓๒ เดือนจิงแล้ว ฮูปพระพุทธเจ้าทั้งเจดีย์หลวง ลวงสูง ๒๓ วา จิงให้บ้านเมืองไฮนา กับแต่ทางหลวงหัวของ แจก้ำไต้ก้ำเทิง เถิงเมืองเท่าฮอดห่องลินแสนเสร้า เลาะดอมห้วยหันเลาะนั้นมาตกน้ำมาวล่องมาตกสบมาว ล่องน้ำคานมาเท่าท่าควายขึ้นไปดอมทางหลวงฮอดห่องลิน
พงศาวดารเมืองยโสธร
จุลศักราช ๑๒๕๙ ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๖ เรื่องพงศาวดารแลแผ่นศิลาเลขที่ท่านได้จารึกไว้แต่ก่อนได้ความว่าเดิมราชกุลที่ได้มาตั้งเมืองยโสธร มีพ่อตาแม่ยายชื่อว่าพระตาพระวอตั้งอยู่บ้านหนองบัวลุ่มภูแขวงกรุงจันทบุรี มีบุตรเจ้าลานช้างคนหนึ่งออกมาแต่กรุงจันทบุรีมาอาศัยอยู่กับพระตาพระวอ ในขณะนั้นข้างกรุงจันทบุรีหามีคนใดจะนั่งเสวยเมืองจันทบุรีมิได้ จึงมาเชิญเอากษัตริย์บุตรเจ้าจันทบุรีที่มาอาศัยอยู่กับพระตาพระวอบ้านหนองบัวลุ่มภูขึ้นไปเป็นเจ้าจันทบุรี ในขณะนั้นเจ้าจันทบุรีจึงแต่งให้กรมการออกมาขอเอาบุตรหลานของพระตาพระวอไปเป็นห้ามพระตาพระวอไม่ยอมให้บุตรหลานเป็นห้ามของเจ้าเมืองเวียงจันทบุรี จึงจัดเอากำลังออกมาจับได้ตัวพระตาไปฆ่าแล้วท้าวพระวอท้าวหน้าท้าวก่ำท้าวคำผงท้าวมุมจึงพาพวกพันธ์พี่น้องอพยพหนีจะไปถึงเจ้านครจำปาศักดิ์ ครั้นถึงดงสิงโคกสิงทาท้าวมุมบุตรหลานท้าวพระวอจึงพาครัวหนึ่งพักอยู่ดงสิงโคกสิงทา ท้าวมุมเป็นคนครอบครองบ้านสิงโคกสิงทา ท้าวพระวอท้าวหน้าท้าวก่ำท้าวคำผงทิดพรมไปตั้งอยู่บ้านดู่บ้านแก เจ้าเมืองเวียงจันทบุรีจึงแต่งให้เพี้ยสุโพกับอัครฮาดหำทองคุมเอาไพร่พลลงไปขอเอาครัว พระตาพระวอ ท้าวคำผงบ้านดู่บ้านแกริมห้วยพริงแขวงเมืองนครจำ ปาศักดิ์ จึงบอกให้เพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองว่าให้ไปเกลี้ยกล่อม
๑๓๔ เล้าโลมเอาเทอญ ข้างเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองว่าได้คำสั่งของเจ้านครจำปาศักดิ์แล้วก็ทำตัวมีอำนาจออกมาว่าจับผูกมัดเอาท้าวพระวอแลท้าวฝ่ายหน้าบ้านดู่บ้านแกไม่ยอมกลับคืนไปเมืองเวียงจันทบุรีนำเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทอง ข้างเพี้ยสุโพแลอัครฮาดหำทองก็เลยโกรธขึ้งขึ้น ว่าจะจับเอาตัวพระวอแลท้าวฝ่ายหน้าท้าวก่ำ ๆ ไม่ยอมให้จับก็เลยเกิดความวิวาทกันที่บ้านดู่บ้านแก ข้างพระวอท้าวฝ่ายท้าวก่ำจึงแต่งให้ท้าวคำผงไปขอเอากำลังกับเจ้านครจำปาศักดิ์ ๆ หาให้กำลังไม่ ท้าวคำผงจึงกลับคืนมาหาพระวอท้าวฝ่ายหน้าท้าวก่ำ ข้างเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองรู้กระแสว่าพระวอท้าวฝ่ายหน้าท้าวก่ำแต่งให้ท้าวคำผงไปขอเอากำลังกับเจ้านครจำปาศักดิ์จึงแต่งให้เพี้ยแก้วอาสาขึ้นไปขอเอากำลังกับเจ้าจันทบุรี ข้างพระวอท้าวฝ่ายหน้าท้าวก่ำรู้กระแสจึงได้แต่งให้เพี้ยแก้วโยธาเพี้ยแก้วนายช้างลงไปทูลขอเอากำลังกับพระเจ้าตากณกรุงเทพ ฯ พระเจ้าตากจึงโปรดให้พระยาจักรี พระยาสรศรีคุมเอากองทัพขึ้นมาเมืองนครจำปาศักดิ์ก็ยังหามาถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ไม่ ฝ่ายข้างเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองรู้กระแสว่ากองทัพใหญ่จะขึ้นมาแต่กรุงเทพ ฯ จึงพากันลอบมองจับเอาพระวอไปได้แล้วก็เลยเอาพระวอไปฆ่าเสียริมน้ำห้วยพริง ในขณะนั้นยังแต่ท้าวหน้าท้าวคำผงท้าวก่ำทิดพรมรักษาควบคุมเอาไพร่พลไว้ที่บ้านดู่บ้านแก ครั้นเจ้าแม่ทัพใหญ่ขึ้นมาถึงกลางทาง จึงใช้ราชทูตถือราชสาส์นขึ้นมาถึงพระวอท้าวหน้าท้าวก่ำท้าวคำผงทิดพรม ฝ่ายข้างเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองแจ้งกระแสข้อความว่ากองทัพใหญ่กรุงเทพ ฯ จะมาถึงแล้วเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทอง
๑๓๕ ก็เลยพากำลังหลบตัวหนีขึ้นไปทางเมืองเวียงจันทบุรี ครั้นเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสรศรีแม่กองทัพใหญ่ขึ้นมาถึงเมืองนครจำปาศักดิ์จึงเรียกหาตัวพระวอท้าวหน้าท้าวก่ำท้าวคำผงทิดพรมเข้าไปถามดูพวกพลทหารเมืองเวียงจันทน์อยู่ที่ไหนพวกท้าวหน้าจึงกราบเรียนว่าเมื่อข้าพ-เจ้ามีใบบอกลงไปขอกองทัพณกรุงเทพ ฯ ในขณะนั้นเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองก็ลอบมองเข้ามาจับเอาท้าวพระวอได้ไปแล้วก็เลยเอาไปฆ่าริมห้วยพริง ครั้นเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพใหญ่มีราชสาส์นขึ้นมาถึงข้าพเจ้าฝ่ายเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองรู้ว่าพณหัวเจ้าท่านจะมาถึงแล้ว เพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองกลัวพระบารมีของพณหัวเจ้าท่านก็หลบตัวพากำลังหนีขึ้นไปเมืองเวียงจันทน์พณหัวเจ้าท่านตรัสถามคนไหนเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ฆ่าศึกเกิดมีในท้องแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ทำไมจึงไม่เอากำลังมาช่วยมีใจเพิกเฉยเสีย ท้าวหน้าท้าวคำผงทิดพรมจึงเรียนว่า เมื่อเพี้ยสุโพ ฯ มาสู้รบกับพวกข้าพเจ้า ๆ ก็ใช้ให้ท้าวคำผงไปขอกำลังเจ้านครจำปาศักดิ์มาช่วยแรงพวกข้าพเจ้า เจ้านครจำปาศักดิ์ก็หาให้กำลังไม่ ฝ่ายเพี้ยสุโพ ฯ รู้กระแสว่าพวกข้าพเจ้าไปขอเอากำลังกับเจ้านครจำปาศักดิ์ ก็เลยมีใบบอกขึ้นไปขอกำลังกับเจ้าเมืองเวียงจันทน์พวกข้าพเจ้าก็รู้ว่าพวกเพี้ยสุโพ ฯ มีใบบอกขึ้นไปขอกำลังเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พวกข้าพเจ้าก็น้อยตัวเห็นจะสู้กำลังเมืองเวียงจันทบุรีไม่ได้จึงได้มีใบ บอกลงไปกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวณกรุงเทพ ฯ จึงโปรดให้พณหัวเจ้าท่านขึ้นมา เจ้านครจำปาศักดิ์ก็หามาดแลไม่ พณหัวเจ้าท่านจึงมีบัญชาต่อท้าวก่ำท้าวหน้าท้าวคำผงทิดพรม ว่าถ้ามีคำจริง
๑๓๖ ดังนั้นก็พาเราไปหาเจ้านครจำปาศักดิ์เทอญเราจะได้เรียกเอาตัวมาถามดูพวกท้าวหน้า ฯลฯ จึงพาพณหัวเจ้าท่านไปหาเจ้านครจำปาศักดิ์พักอยู่ที่วัดศรีเกิดขณะนั้น เจ้านครจำปาศักดิ์รู้ว่าพณหัวเจ้าท่านพักอยู่ที่วัดศรีเกิด เจ้านครจำปาศักดิ์ก็เลยลงเรือล่องไปพักอยู่ที่บ้านหัวดอนไชย พณหัวเจ้าท่านจึงใช้ให้คนไปตามเอาตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ ได้ตัวเจ้านครจำปาศักดิ์แล้ว พณหัวเจ้าท่านจึงตรัสถามว่าข้าศึกเกิดในท้องแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ทำไมจึงไม่ช่วย เจ้านครจำปาศักดิ์จึงกราบทูลว่าเมื่อเพี้ยสุโพ ฯ ถือเอาตราเจ้ากรุงจันท บุรีมาถึงข้าพระพุทธิเจ้าขอเอาครอบครัวท้าวหน้า ฯลฯ ที่มาตั้งอยู่บ้านดู่บ้านแกขึ้นไปจันทบุรีตามเดิม ข้าพเจ้าก็ได้ให้เพี้ยสุโพ ฯ เกลี้ยกล่อมเอาตามใจไพร่สมัคร เพี้ยสุโพ ฯ ไปถึงบ้านดู่บ้านแกก็ทำตัวมีอำนาจจะผูกมัด ข้างฝ่ายพระวอ ฯลฯ ไม่ยอมขึ้นไปแลไม่ยอมให้ผูกมัดก็เลยเกิดความวิวาทรบกัน ครั้นทีหลังท้าวพระวอ ฯลฯ จึงใช้ให้ท้าว คำผงมาขอเอากำลังกับข้าพเจ้า ๆ ไม่รู้จักที่จะให้กำลังไปเพราะนายบ่าวเป็นข้าศึกแก่กัน ครั้นข้าพเจ้าจะให้กำลังไป กลัวเมืองเวียงจันทบุรีจะว่าข้าพเจ้าเอาใจช่วยพระวอ พณหัวเจ้าท่านจึงมีบัญชาว่าเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์มีความผิดเป็นอันมาก จะคุมเอาตัวลงไปกรุงเทพ ฯ เพราะให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นข้าศึกแก่ท่านในท้องแขวงเมืองนครจำ ปาศักดิ์ตัวไม่ไปห้ามปรามและไม่ไปกำกับดูแล พณหัวเจ้าท่านมีบัญชาแล้วเจ้านครจำปาศักดิ์ก็ยอมตัวถวายดอกไม้ทองเงินขึ้นกับกรุงเทพ ฯ ขณะนั้นพณหัวเจ้าท่านถึงภาคโทษเจ้านครจำปาศักดิ์ไว้ครั้งหนึ่ง พณหัวเจ้าท่านจึงมีบัญชาถามท้าวทิดพรมว่า ครั้งนี้พระเจ้าอยู่หัวโปรด ๑๓๗ ให้เรามารบข้าศึกเมืองเวียงจันทบุรี ที่มาตั้งอยู่บ้านดู่บ้านแก ครั้นเราขึ้นมาถึงแล้วหาได้รบข้าศึกตามท่านโปรดมาไม่ ให้ท่านทั้งปวงพาเราไปดูเมืองเวียงจันทบุรีเทอญ ขณะนั้นท้าวหน้า ฯลฯ ก็เลยพาพณหัวเจ้าท่านขึ้นไปถึงพรรณพร้าวที่ริมแม่น้ำโขงใกล้เคียงกับเมืองเวียงจันทบุรี ขณะนั้นเจ้าผู้เป็นเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีหลบตัวหนีขึ้นพึ่งเจ้านครหลวงพระบางครั้นพณหัวเจ้าท่านมีราชสาส์นไปถึงเจ้าเมือง เวียงจันทบุรี ยังแต่เจ้าอุปฮาดดวงหน้าหลังนำเอาราชสาส์นออกมาหาพณหัวเจ้าท่าน อยู่ที่พรรณพร้าว พณหัวเจ้าท่านจึงถามเจ้าอุปฮาดดวงหน้าหลัง ว่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีหนีไปแห่งใด เจ้าอุปฮาดบอกว่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีหนีขึ้นไปเมืองนครหลวงพระบางขณะนั้น พณหัวเจ้าท่านให้อุปฮาดพาขึ้นไปตามตัวเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีที่เมือง นครหลวงพระบาง พณหัวเจ้าท่านจึงใช้ให้อุปฮาดเข้าไปเชิญเอาเจ้านครหลวงพระบางออกมาหาพณหัวเจ้าท่าน แล้วพณหัวเจ้าท่านจึงถามเจ้านครหลวงพระบางว่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีหนีขึ้นมาอยู่กับ เมืองของท่านที่นี่แล้วหนีไปแห่งใด เจ้านครหลวงพระบางกราบเรียนว่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรียังอยู่ที่นี่ ขณะนั้นพณหัวเจ้าท่านจึงให้เจ้านครหลวงพระบางส่งตัวเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีออกมาหาพณหัว เจ้าท่าน เจ้านครหลวงพระบางจึงส่งตัวเจ้าเมืองเวียงจันทน์ออกมาหาพณเจ้าท่าน ๆ จึงถามเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีว่าเหตุใดท่านจึงแต่งเพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองไปก่อการกองทัพที่แขวงเมืองจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองเวียงจันทบุรีจึงว่าได้แต่งให้เพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองไปเกลี้ยกล่อมเอาท้าวพระวอท้าวคำผงคืนมาบ้านเมืองตามเดิม หาได้ให้ไปคิด ๑๓๘ ก่อการกองทัพไม่ พณหัวเจ้าท่านจึงมีบัญชาว่าท้าวพระวอท้าวคำผงท้าวหน้าอยู่บ้านคู่บ้านแกแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ เหตุใดจึงให้เพี้ยสุโพอัครฮาดหำทองไปเกลี้ยกล่อมเอาขึ้นมาเมืองเวียงจันทบุรีแล้วเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีจึงว่าแต่ก่อนท้าวพระวอท้าวคำผงท้าวหน้า พาครอบครัวตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหนองบัวลุ่มภูขึ้นกับเมืองเวียงจันทบุรีแล้วพากันหลบตัวหนีไปตั้งอยู่บ้านดู่บ้านแกแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ แต่ปีมะโรงตรีศกศักราช ๑๑๓๓ หาได้บอกกับข้าพเจ้าไม่ พณหัวเจ้าท่านจึงว่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีหามีเหตุจับเอาตัวท้าวพระตาผู้ไม่มีผิดมาผลาญชีวิตท้าวพระวอท้าวคำผงท้าวหน้าท้าวก่ำก่ออำนาจ เจ้าจันทบุรีจึงได้พากันอพยพไปพึ่งเจ้านครจำปาศักดิ์แล้วเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีก็รับว่าได้ฆ่าท้าวพระตาจริงด้วยท้าวพระตาขัดไม่ให้บุตรแก่ข้าพเจ้าไปเป็นภรรยา แล้วพณหัวเจ้าท่านจึงว่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีเป็นพระมหากษัตริย์ ครอบงำปกครองบ้านเมืองไม่อยู่ในยุตติธรรมกดขี่ข่มเหงแม่ป้าน้าสาวเอาท้าวพระตาไปฆ่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีตกไปตามพณหัวเจ้าท่านจึงฆ่า เจ้าเมืองเวียงจันทบุรีตกไปตามกันอยู่ณเมืองหลวงพระบาง แล้วพณหัวเจ้าท่านจึงให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าเมืองเวียงจันทบุรี แล้วเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีคนใหม่กับเจ้านครหลวงพระบางเห็นว่าพณหัวเจ้าท่าน มีอำนาจฆ่าเจ้าเมืองเวียงจันทบุรีได้เจ้าเมืองเวียงจันทบุรีเจ้านครหลวงพระบางจึงยอมถวายดอกไม้ทองเงินขึ้นกับกรุงเทพ ฯ แล้วเจ้าจันทบุรีจึงจัดเอานางเขียวค้อมบุตรออกมาถวายพณหัวเจ้าท่าน ๆ จึงแต่งให้พระหลวงขุนหมื่น พาเอานางเขียวค้อมลงไปถวายพระเจ้า
๑๓๙ ตาก ณ กรุงเทพ ฯ แล้ว พณหัวเจ้าท่านเลยกลับไปเมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วบอกเจ้านครจำปาศักดิ์ว่าแต่ครัวท้าวคำผง ทิด-พรม หน้า ก่ำ สิงห์ กุลบุตรจะได้ให้ยกขึ้นไปตั้งอยู่ตามลำน้ำมูล ลำน้ำชี เจ้านครจำปาศักดิ์ก็ยอมให้ท้าวหน้าขึ้นมาตามคำสั่งพณหัวเจ้าท่าน ท้าวทิดพรม กุลบุตร คำผง ก่ำขึ้นมาตั้งอยู่บ้านแจะระแม ริมลำน้ำมูลท้าวหน้า สิงห์ ตั้งอยู่บ้านสิงห์ทาริมล้ำน้ำชีพากันเป็นหมวดกองอยู่ได้ประมาณ ๒๐ ปี ปีขานตรีศกศักราช ๑๑๔๓ เกิดทัพเมืองปะทาย พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยาจักรีเจ้าพระยาสรศรีเป็นแม่ทัพขึ้นมาปราบปรามกองทัพเมืองปะทาย เจ้าพระยาจักรีเจ้า พระยาสรศรีจึงมีตรามาถึงท้าวหน้า คำผง ทิดพรม ก่ำที่ยกมาจากบ้านดู่แกขึ้นมาตั้งอยู่บ้านสิงห์ทาบ้านแจะระแมนั้น ให้คุมกำลังลงไปรบกองทัพบรรจบกับเจ้าพระยาจักรีเจ้าพระยาสรศรีที่พระตะบอง แล้วเจ้าพระยาจักรีเจ้าพระยาสรศรีแม่ทัพใหญ่ พร้อมด้วยพระยาคทาธรเจ้าเมืองพระตะบองท้าวหน้าผง ทิดพรม ก่ำ สิงห์บ้านสิงห์ทาแจะระแมคุมกำลังไปรบเมืองปะทายมีไชยชนะแล้ว เจ้าพระยาจักรีเจ้าพระยาสรศรีกลับเข้าไปกรุงเทพ ฯ พวกท้าวหน้าก็พากันกลับคืนมาบ้านสิงห์ทาแจะระแม ครั้นอยู่มากองทัพจามสมมุตเชียงแก้วเขาโองยกมารบเมืองนครจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวหน้า คำผงสิงห์เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกำลังหัวเมืองฝ่ายตะวันออกไปรบจามสมมุตเชียงแก้วเขาโอง มีไชยชะนะแล้วท้าวหน้าจึงตามจับได้ตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ ที่หนีกองทัพจามสมมุตเชียงแก้วเขา
๑๔๐ โอง คุมลงไปส่ง ณ กรุงเทพ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวหน้าเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้ท้าวสิงห์เป็นเจ้าราชวงศ์ขึ้นมาครอบครองอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วเจ้านครจำปาศักดิ์ให้เจ้าราชวงศ์ไปอยู่เมืองโขง ครั้นถึงปีขานศักราช ๑๑๔๗ เจ้านครจำปาศักดิ์ จึงมีบอกรับพระราชทานท้าวทิดพรมเป็นเจ้าเมือง ท้าวก่ำเป็นอุปฮาดโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งท้าวทิดพรมเป็นที่พระพรหมวงศาเจ้าเมือง ท้าวก่ำเป็นอุปฮาดยกบ้านแจะระแมขึ้นเป็นเมืองอุบล เป็นข้าหลวงเดิมผูกส่วยน้ำรัก ๒ เลขต่อเบี้ยป่าน ๒ เลขต่อขอด ครั้นถึงปีวอกจัตวาศกศักราช ๑๑๗๔ เจ้านครจำปาศักดิ์บอกขอรับพระราชทานท้าวสิงห์ผู้เป็นที่ราชวงศ์เมืองโขงเป็นเจ้าเมือง ขอสีชาบุตรเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นที่อุปฮาด ยกบ้านสิงห์ทาเป็นเมืองยโสธร แล้วทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งพระราชวงศ์สิงห์เป็นที่พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมือง ตั้งท้าวสีชาเป็นอุปฮาด ตั้งท้าวบุตร ๆ พระสุนทรเป็นราชวงศ์ ตั้งท้าวเสนบุตรท้าวพระวอเป็นราชบุตร ยกบ้านสิงห์ทาขึ้นเป็นเมืองยโสธรผูกส่วยน้ำรัก ๒ เลขต่อเบี้ยป่าน ๒ เลขต่อขอด ครั้นถึงปีมะโรงนพศกศักราช ๑๑๖๙ อุปฮาดก่ำออกจากเมืองอุบลไปตั้งอยู่บ้านโคกก่งดงพะเนียงริมแม่น้ำโขง แล้วพระพรหมวงศาเจ้าเมืองอุบลพระสุนทรเจ้าเมืองยโสธร บอกขอรับพระราชทานอุปฮาดก่ำเป็นเจ้าเมืองโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งอุปฮาดก่ำเมืองอุบลเป็นที่พระเทพวงศาเจ้าเมือง ยกบ้านโคกก่งดงพะเนียงขึ้นเป็นเมืองเขม-
๑๔๑ ราฐผูกส่วยน้ำรัก ๒ เลขต่อเบี้ย ป่าน ๒ เลขต่อขอดด้วยความชอบรบข้าศึกศัตรูมีไชยชะนะจึงได้เป็นเมืองข้าหลวงเดิม ครั้นอยู่ได้ประมาณ ๘-๙ ปี พระสุนทรราชวงศาสิงห์เลยถึงแก่กรรม แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งอุปฮาดสีชา เป็นที่พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองราชวงศ์บุตรเป็นที่อุปฮาด ราชบุตรที่เป็นราชวงศ์ท้าวสุตตา บุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ ท้าวหน้าเป็นราชบุตรอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน พระสุนทรราชวงศาก็เลยถึงแก่กรรมไป บ้านเมืองก็ยังว่างอยู่ถึงปีจอสัปตศกศักราช ๑๑๘๗ แล้วเจ้าอนุผู้เป็นที่เจ้าเวียงจันทบุรีครอบงำเมืองเวียงจันทบุรี จึงคิดก่อการกองทัพรบกับกรุงเทพ ฯ แล้ว เจ้าอนุแต่งให้เจ้าราชวงศ์เจ้าราชบุตรเจ้าสุทธิสารเป็นแม่ทัพ คุมกำลังออกจากจันทบุรี เจ้าราชวงศ์คุมกำลังมารบเมืองร้อยเอ็ดกาฬสินธุ์ยโสธรแลหัวเมืองต่าง ๆ ลงไปจนถึงเมืองนครราชสิมา เจ้าราชบุตรคุมกำลังลงมารบเมืองเขมราฐนครจำปาศักดิ์แลหัวเมืองต่าง ๆ ไปจนถึงเมืองพระตะบองนครเสียม-ราฐ เจ้าสุทธิสารคุมกำลังไปรบเมืองหล่มศักดิ์ และหัวเมืองต่าง ๆ ไปจนถึงเมืองเลย ขณะนั้นข้อความล่ายกองทัพขุ่นเคืองไปจนถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิไว้ใจแก่ข้าศึกสัตย์จริง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพคุมทหาร ณ กรุงเทพ ฯ แลไพร่หัวเมืองออกจากกรุงเทพ ฯ มาปราบปรามกองทัพราชวงศ์ในปีนั้น ครั้นพระยาราช-สุภาวดีคุมกำลังขึ้นมาแกล้งคอยพบราชวงศ์กับพวกกำลังอยู่ที่นั้น เจ้า
๑๔๒ พระยาบดินทรเดชาแต่ยังเป็นเจ้าพระยาสุภาวดีพากำลังแลนายทัพนายกอง เข้าสู้รบกับกองทัพราชวงศ์ ๆ กับนายทัพนายกองแลไพร่ กำลังสู้เจ้า พระยาสุภาวดีไม่ได้ เลยพากำลังหลบกองทัพขึ้นมาถึงมูลแล้งแขวงเมืองนครราชสิมา เจ้าพระยาสุภาวดีคุมกำลังตามกองทัพราชวงศ์ขึ้นมาถึงมูลแล้งพบราชวงศ์กับกำลังอยู่ที่นั้น เจ้าพระยาราชสุภาวดีคุมกำลังเข้าสู้รบกองทัพราชวงศ์อยู่ที่มูลแล้ง แล้วพวกครอบครัวเมืองนคร ราชสิมาที่ราชวงศ์สู้รบได้ว่าจะคุมขึ้นไปเมืองเวียงจันทบุรีนั้น ก็กลับสวามิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาราชสุภาวดี เข้าสู้รบกับกองทัพราชวงศ์ ๆ ทนไม่ได้ก็เลยพากำลังหักจากกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี ขึ้นมาตั้งอยู่ ณ ค่ายส้มป่อย ขณะนั้นเจ้าพระยาราชสุภาวดีแม่ทัพนายหมวดนายกองแลไพร่กำลัง ตามกองทัพราชวงศ์ขึ้นมาถึงค่ายส้มป่อยแขวงเมืองศีรษะเกษ แล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดีพากำลังเข้าสู้รบกองทัพราชวงศ์ด้วยอาวุธสั้นยาว ราชวงศ์และนายหมวดนายกองสู้รบกองทัพพระยาราชสุภาวดีไม่ได้ เลยพากองทัพหักจากกองทัพเจ้าพระยาสุภาราชวดีกลับคืนไปเมืองเวียงจันทน์ แล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงขึ้นมาตั้งอยู่เมืองยโสธร จัดเอานายหมวดนายกองแลไพร่กำลังเมืองอุบล ฯ ได้อุป ฮาดเมืองเขมราฐคุมกำลังเมืองยโสธรได้อุปฮาด บุตรท้าวฝ่ายท้าวจันทน์สีสุราชเป็นแม่ทัพคุมกำลัง ครั้นเจ้าพระยาราชสุภาวดีจัดได้นายหมวดนายกองแลไพร่กำลังสิ้นเชิงแล้ว ถึงฤกษ์ยามก็เลยพานายหมวดนายกองแลไพร่ยกจากเมืองยโสธร ตามกองทัพราชวงศ์ขึ้นไปเมืองเวียงจันทบุรี ครั้นไปถึงบ้านผักหวานเมืองหนองคายราชวงศ์ตั้งค่าย
๑๔๓ อยู่ที่นั้น เจ้าพระยาราชสุภาวดีราชวงศ์ขี่ม้าเข้าสู้รบกับอุปฮาดบุตรท้าวฝ่ายท้าวคำท้าวสุวอตามหลังม้า เจ้าพระยาราชสุภาวดีคุมกำลังเข้าสู้รบกับกองทัพราชวงศ์ ทนกำลังกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่ได้ก็เลยพากำลังข้ามโขงไปพึ่งอยู่เมืองญวน ขณะนั้นเจ้าอนุเป็นเจ้าเมืองเวียงจันทบุรี หนีไปพึ่งอยู่เมืองพวนเจ้าพระยาราชสุภาวดีพานายทัพนายกองตามเจ้าอนุแลราชวงศ์ไปเมืองเวียงจันทบุรีอีก หาเห็นราชวงศ์ไม่ เมืองเวียงจันทบุนีก็เงียบงอมอยู่ ขณะนั้นเจ้าน้อยบุตรเขยเจ้าอนุผู้เป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง จึงอาสาพิทักษ์ต่อเจ้าพระยาสุภาวดียอมถวายดอกไม้ทองเงินเป็นทางพระราชไมตรีขึ้นอยู่กับกรุงเทพ ฯ แล้วเจ้า พระยาราชสุภาวดีจึงบังคับให้เจ้าน้อยเมืองเชียงขวาง ส่งตัวเจ้าอนุกับราชวงศ์ที่หนีตัวไปอยู่เมืองญวน ครั้นเจ้าน้อยเมืองเชียงขวางตามไปได้เจ้าอนุมาส่งให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี แล้วเจ้าอนุจึงเอาพระแก้วออกมาถวาย เจ้านครหลวงพระบางจึงเอาพระบางออกมาถวายเจ้าพระยาราชสุภาวดี แล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดีเลยคุมเอาตัวเจ้าอนุแลเชิญองค์พระแก้วพระบางลงมา ณ กรุงเทพ ฯ ขณะนั้นเจ้า พระยาราชสุภาวดี จึงตรวจดูครอบครัวเมืองเวียงจันทบุรีจะคุมลงไปกรุงเทพ ฯ แล้วท้าวบุตรจึงกราบเรียนเจ้าพระยาราชสุภาวดีว่าท้าวคำน้องชายอุปฮาดปิดบังครอบครัวไว้ ครั้นพระยาราชสุภาวดีไต่สวนก็ได้ความ จึงว่าท้าวำปิดบังครอบครัวเมืองเวียงจันทบุรีไว้ จึงเจ้าพระยาราชสุภาวดีจะเอาท้าวคำมวนประหารชีวิต แล้วอุปฮาดบุตรจึงกราบเรียนเจ้าพระยาราชสุภาวดี ว่าท้าวคำเป็นน้องชายข้าพเจ้า ไป
๑๔๔ รบศึกศัตรูมาด้วย ก็มีไชยชนะแก่ข้าศึกศัตรูมาแล้ว ก็จะอาตัวท้าวคำไปประหารชีวิตก็ขอให้เอาตัวข้าพเจ้ามาประหารชีวิตด้วยกัน ว่าดังนี้แล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดี เลยสั่งให้พลทหารทำคอกริมน้ำลำชีหัวเมืองยโสธรเสร็จแล้ว เอาดินปืนเข้าใส่ไว้ในคอก ครั้นถึงกำหนดแล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดีให้เพ็ชฆาฎเอาอุปฮาดผู้พี่ ท้าวคำผู้น้องแลภรรยาญาติพี่น้องของอุปฮาดบุตรท้าวคำเข้าใส่ในคอก ถึงกำหนดแล้วเอาเพลิงจุด อุปฮาดบุตรท้าวคำภรรยาญาติพี่น้องก็พร้อมกันสิ้นชีวิตไป ครั้น ณ ปีเถาะโทศกศักราช ๑๑๙๒ เจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงโปรดให้ท้าวฝ่ายบุตรเจ้านครจำปาศักดิ์ เป็นที่พระสุนทรราชวงศ์เจ้าเมืองให้ท้าวแพงบุตรพระปทุมเป็นที่อุปฮาด ท้าวสุตตาเป็นราช-วงศ์ท้าวอินเป็นราชวงศ์บุตรคุ้มครองเมืองยโสธร แล้วเห็นว่าพระสุนทรมีความชอบมาก โปรดประทานครัวที่รบมาได้ให้พระสุนทร ฯ ๕๐๐ ครัว แลให้เป็นเจ้าเมืองทั้ง ๒ คือ เมืองยโสธร นครพนม ครั้นเจ้าพระยาราชสุภาวดีกลับเข้าไปกรุงเทพ ฯ พระสุนทร ฯ จึงให้อุป-ฮาดแพง เป็นผู้ว่าราชการแทนอยู่ ณ เมืองยโสธร พระสุนทร ฯ เลยขึ้นไปจัดการอยู่เมืองนครพนมประมาณ ๖-๗ ปี พระสุนทร ฯ จึงบอกขอรับประทานคืนที่ควรเมืองนครพนมสร้างวัด แลพระอารามเจดีย์หนึ่งหลังไว้กับเมืองนครพนม ก็เป็นที่สะอาดภาคภูมิแก่บ้านเมืองมาเท่าทุกวันนี้ แต่อุปฮาดแพงผู้ว่าราชการแทนพระสุนทร ฯ อยู่ ณ เมืองยโสธรก็พร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรรมการบอกขอรับพระราชทาน คืนที่ควรเมืองยโสธร ๒ แห่ง ที่บ้านขวาแขวงเมืองยโสธรแห่ง ๑ สร้างวัดแล
๑๔๕ สร้างพระเจดีย์อารามที่เมืองยโสธร ๒ วัด ๆ หนึ่งชื่อวัดศรีเมืองคุล วัดหนึ่งชื่อวัดบัวรพานุทิศ แลสร้างอุปมุงใส่พระพุทธรูปมหากระจายหลังวัด และสร้างพระพุธรูปใหญ่ปิดทองก็หลายองค์เป็นที่สะอาดแก่บ้านเมืองเท่าทุกวันนี้ แลอุปฮาดแพงได้ไปตีทัพเมืองพระตะบองขณะเมื่อพระสุนทร ฯ ขึ้นไปเป็นเจ้าเมืองนครพนมนั้น ก็ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมาช้านานก็หามีความผิดไม่ แล้วพระสุนทร ฯ จึงไปเกลี่ยกล่อมส้องสุมเอาครอบครัวเมืองตะโปน เมืองวัง เมืองมหาไชยก่องแก้ว๑ ได้ครอบครัวนอกพระ-ราชทานอาณาเขตต์แขวงมาขึ้นกับกรุงเทพ ฯ เป็นครอบครัวหลายร้อยพัน แต่ครัวเมืองพินตะโปนยกมาตั้งห้วยแซงขึ้นเป็นบ้านห่องแซง ครัวเมืองมหาไชยก่องแก่ว พระสุนทร ฯ มีใบบอกขอรับพระราชทานขึ้นเป็นเมืองเวครัวเมืองนอง พระสุนทร ฯ บอกขอรับพระราชทานขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทนขึ้นแก่เมืองนครพนม แต่เมืองวานรนิวาศน์พระสุนทร ฯ บอกให้เป็นเมืองขึ้นกับเมืองสกลนคร ครั้นต่อมาได้ ๕ - ๖ ปีพระ-สุนทร ฯ แต่งให้ช้างต่อหมอควาญคุมเอาช้างพังพาย เข้าไปโพนแซกคล้องตามเถื่อนป่า หมอควาญไพร่เมืองยโสธรได้ช้างสีประหลาดมาให้พระสุนทร ฯ จึงมีใบบอกถวายช้างสีประหลาดลงไปกรุงเทพ ฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกมาทอดพระเนตร รับช้างสีประ-หลาดแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ นามสัญญาบัตรเลื่อนยศช้างสีประหลาดเป็นพระพิมลช้าง ๑ เป็นพระวิสุทธิ์ช้าง ๑ แล้วโปรดพระราชทานตราความชอบให้แก่พระสุนทร ฯ จะโปรดเกล้านามสัญญาบัตรตั้ง ๑. ต้นฉะบับเป็นมหาชนไชยก่องแก้ว ๑๔๖ หมอควาญอยู่ต่อมาถึง ณ ปีชวดจัตวาศกศักราช ๑๒๑๔ พระสุนทร ฯ จึงมอบเมืองนครพนมคืนให้แก่อุปฮาด และกรมการเมืองนครพนมแล้วพระสุนทร ฯ จึงกราบถวายบังคมลามาอยู่เมืองยโสธรตามเดิมแล้วก็สร้างวัดขึ้นที่เมืองยโสธรอีก ๑ วัด ครั้นถึงปีมะเส็งนพศกศักราช ๑๒๑๙ พระสุนทรเจ้าเมืองยโสธรเมืองนครพนมถึงแก่กรรมอุปฮาดราชวงศ์ราชบุตรก็เลยถึงแก่กรรมไปด้วยกัน ยังแต่หลวงศรีวรราชเผาศพบิดารักษาราชการบ้านเมืองอยู่ หามีเจ้าเมืองอุปฮาดราชวงศ์ราชบุตรไม่ บ้านเมืองก็ว่างเปล่าอยู่ ครั้นถึงปีมะเมียสัมฤทธิศก ๑๒๒๐ หลวงศรีวรราชผู้ช่วย จึงมีใบบอกขอรับพระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิงเผาศพพระสุนทร ฯ บิดาเสร็จแล้ว ครั้นถึงปีมะแมเอกศก ๑๒๒๑ จึงมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ให้พระยายมราชแต่ยังเป็นที่พระยากำแหงสงครามเจ้านครราชสิมา ขึ้นมาเป็นข้าหลวงแม่กองสักตั้งสักเลขหัวเมืองทั้งปวงฝ่ายตะวันออกอยู่เมืองยโสธร ครั้นถึงณปีวอกโทศก ๑๒๒๒ เมืองแสนเมืองจัน ท้าวเพี้ยกรมการเมืองยโสธรเห็นว่าหลวงศรีวรราชบุตรพระสุนทร ฯ ท้าวแข้เป็นบุตรอุปฮาดท้าวอันเป็นบุตรท้าวจันสีสุราชท้าวพิมเป็นหลานอุปฮาดแพง ท้าวสุพรมเป็นบุตรพระ-สุนทร ฯ แลมีความชอบมา ด้วยได้ตีทัพแลช้างเผือกแลเมื่อยังมีชีวิตนั้นก็พากันรับราชการมั่นคงแข็งแรง เมืองแสนเมืองจันท้าวเพี้ยกรมการญาติพี่น้อง จึงพร้อมกันมีใบบอกลงไปกราบบังคมทูลพระกรุณาใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทานหลวงศรีวรราชเหมนเป็นพระสุนทร ฯ ท้าวแข้เป็นอุปฮาด ท้าวอ้นเป็นราชวงศ์ ท้าวพิมเป็นราชบุตร ท้าวสุพรม
๑๔๗ เป็นหลวงศรีวรราชผู้ช่วยราชการ จึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ นามสัญญาบัตรตั้งหลวงศรีวรราชเป็นพระสุนทร ฯ ผู้ว่าราชการเมืองยโสธรท้าวแข้เป็นอุปฮาดท้าวอ้นเป็นราชวงศ์ท้าวพิมเป็นราชบุตรท้าวสุพรม เป็นหลวงศรีวรราช ผู้ช่วยขึ้นมาครอบครองแม่ป้าน้าสาวบ่าวไพร่เมืองยโสธรครั้นอยู่มาได้ประมาณ ๓ - ๔ ปี อุปฮาดแข้จึงถึงแก่กรรม ครั้นอยู่มาประมาณ ๒-๓ ปี พระสุนทร ฯ แต่งให้ช้างต่อหมอควาญไปแซกโพนได้ช้างสีประหลาดช้าง ๑ ได้บอกลงไปทูลเกล้าถวายชื่อเสวก ครั้นอยู่มาช้านาน ๒-๓ ปี พระสุนทรราชวงศ์บุตร หลวงศรีวรราชและบุตรภรรยาสร้างวัด และสร้างพุทธอารามสร้างพระพุทธรูป และสร้างพระเจดีย์ได้ประมาณ ๒-๓ ปี ราชวงศ์ราชบุตรถึงแก่กรรมครั้นปีระกาเบ็ญจศก ๑๒๓๕ พระสุนทรราชวงศ์เจ้าเมืองยโสธรบอกขอรับพระราชทานพระ-ศรีสุพรมเป็นที่อุปฮาดขอท้าวบาเป็นราชบุตรท้าวแก่เป็นพระศรีวรราชผู้ช่วยราชการเมืองยโสธร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ นามสัญญาบัตรตั้งพระศรีสุพรมเป็นที่อุปฮาดตั้งท้าวบาเป็นราชบุตรตั้งท้าว แก่เป็นที่พระศรีวรราชขึ้นมารับราชการช่วยพระสุนทร ฯ ครั้นต่อมาถึงปีจอฉศก๑๒๓๖ เกิดทัพอ้ายฮ่อที่ค่ายสมิด ค่ายวัดจันแขวงเมืองหนองคายจึงมีตราโปรดเกล้า ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์เป็นข้าหลวงแม่ทัพขึ้นไปตีทัพอ้ายฮ่อณเมืองหนองคายพระยามหาอำมาตย์ จึงเก็บเอากำลังเมืองยโสธร ๕๐๐ คน พระสุนทร ฯ ผู้ว่าราชการเมืองจึงแต่งให้อุปฮาดบาแต่ยังเป็นที่ราชบุตรท้าวกัลยาแต่ยังเป็นที่ท้าวสุทธิสมเป็นายหมวดกองคุม กำลังทัพ ๕๐๐ คน ขึ้นไปตีทัพอ้ายฮ่อพร้อมกับพระมหาอำมาตย์ณเมือง
๑๔๘ หนองคายครั้นเสร็จราชการแล้ว ครั้นต่อมาถึงปีฉลูนพศก ๑๒๓๙ พระสุนทร ฯ ถึงแก่กรรมครั้นถึงณปีขานสัมฤทธิศก ๑๒๔๐ อุปฮาดสุพรมราชบุตรบาพระศรีวรราชแก่บอกขอรับพระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิงขึ้นมาเผาศพพระสุนทร ฯ อุปฮาดแข้ราชวงศ์อันราชบุตรพิมเสร็จแล้ว เมืองแสนเมืองจันท้าวเพี้ยกรมการพร้อมกันเห็นว่าอุปฮาดสุพรมราชบุตรบาพระศรีวรราชแก่ท้าวกลัยาบุตรอุปฮาดแพงบุตรราชวงศ์สุตตา เป็นคนสัตย์ซื่อมั่นคงรับราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยความสุจริต จึงได้บอกให้อุปฮาดสุพรมลงไปเฝ้าทูลละองธุลีพระบาท แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวโปรดเกล้า ฯพระราชทานตั้งอุปฮาดสุพรมเป็นพระสุนทรฯ ราชบุตรบาเป็นอุปฮาดพระศรีแก่เป็นราชวงศ์ท้าวกัลยาเป็นราชบุตรท้าวอ้นเป็นพระศรีวรราชผู้ช่วยราชการ ขึ้นมารับราชการครอบครองเมืองยโสธร เมื่อเวลาพระสุนทร ฯ จะลงไปรับสัญญาบัตรนั้นหลวงจุมพลภักดีนายกองบุตรพระปทุมชิง พระสุนทรเหมนตั้งแต่งเป็นกรมการมีความทะเลาะวิวาท อยากทำส่วยผลเร่วเป็นแผนกขึ้นกับกรุงเทพ ฯ ต่างหาก อุปฮาดสุพรมไม่ยอมให้หลวงจุมพลภักดีทำส่วยผลเร่วเป็นแผนกจะให้ทำส่วยผลเร่วขึ้นกับเมืองยโยธรตามเดิม หลวงจุมพลภักดี นายกองหายอมขึ้นเมืองยโสธรไม่ จึงทำเอาบัญชีรายชื่อตัวเลขเมืองยโสธรไปขึ้นเมืองกมลาไสย แล้วพระราชบริหารผู้ว่าราชการ เมืองกมลาไชยจึงบอกขอรับพระราชทานหลวงจุมพลภักดีเป็นที่เจ้าเมือง ขอบ้านเขาดินบึงโดนในเขตต์แขวงเมืองยโสธรขึ้นเป็นเมืองเสลภูมิ์ครั้นถึงณปีเถาะเอกศก ๑๒๔๑ มีท้องตราพระราชสีห์โปรด
๑๔๙ เกล้า ฯ ขึ้นมาถึงพระสุนทรราชวงศ์ราชบุตรว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ นามสัญญาบัตร ตั้งหลวงจุมพลภักดีขึ้นเป็นที่พระนิคมบริรักษ์ผู้ว่าราชการเมืองเสลภูมิ์ ยกบ้านเขาดินบึงโดนเขตต์แขวงเมืองยโสธรขึ้นเป็นเมืองเสลภูมิ์ แล้วโปรดเกล้า ฯ แบ่งเขตต์แขวงเมืองยโสธร แต่ห้วยยางฝ่ายเหนือให้เป็นเขตต์แขวงเมืองเสลภูมิ์ฝ่ายใต้เป็นเขตต์แขวงเมืองยโสธรโปรดเกล้า ฯ ดังนี้ พระสุนทรยังหายอมได้แบ่งปันไม่ ครั้นประมาณ ๔-๕ ปี พระศรีวรราชอ้นเลยถึงแก่กรรมพระสุนทร ฯ เห็นว่าท้าวสุยบุตรราชบุตรเป็นคนสัตย์ซื่อมั่นคงพระสุนทร ฯ เจ้าเมืองอยู่ได้ประมาณ ๔-๕ ปี ราชบุตรกัลยา พระยาศรีวรราชสุยเลยถึงแก่กรรมไปยังหาทันได้เผาศพไม่ ครั้นถึงปีมะเส็งตรีศก ๑๒๔๓ อุปฮาดบาถึงแก่กรรมไป ครั้นบอกขอรับพระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิงขึ้นมาเผาศพอุปฮาดบาเสร็จแล้ว ครั้นต่อมาถึง ณ ปีมะแม๑ เบ็ญจศก ๑๒๔๕ อ้ายฮ่อยกกองทัพมาตั้งอยู่ทุ่งเชียงคำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพ ฯ มีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชวรานุกูลเป็นแม่ทัพขึ้นมาตีทัพอ้ายฮ่ออยู่ณทุ่งเชียงคำ พระยาราชวรานุกูลจึงมีหนังสือแต่งให้หลวงอภัยพิพิธ เป็นข้าหลวงมาเกณฑ์เอาช้างม้าโคต่างเมืองยโสธรบรรทุกข้าวน้ำไปเลี้ยงกองทัพ พระยาราชวรานุกูลอยู่ทุ่งเชียงคำพระสุนทรสุพรมจึงแต่งให้ราชวงศ์ฮู่ แต่ยังเป็นสุริยงเป็นนายคุมเอาช้างม้าโคต่างบรรทุกข้าวน้ำ ขึ้นไปเลี้ยงกองทัพทุ่งเชียงคำยังหาทันเสร็จไม่พระยาราชวรานุกุล จึงพาแม่ทัพนายกองกลับคืนมาตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย ครั้นปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๓ มีตราโปรดเกล้า ฯ ๑. ต้นฉะบับเป็นปีมะเส็ง ๑๕๐ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักรศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่คุมนายทัพนายกองขึ้นมาตีทัพฮ่ออยู่เมืองหนองคาย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักรศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน จึงมีตราเกณฑ์เอาช้างม้าต่างเมืองยโสธรไปเข้ากระบวนทัพ ณ เมืองหนองคาย พระสุนทรเมืองอุปฮาดราชวงศ์ราชบุตร พระศรี วรราชท้าวเพี้ยกรมการจึงจัดช้าง แต่งให้ท้าวโพธิสารเพ็ชรบุตรพระสุนทร ฯ คนเก่าเป็นนายคุมเอาช้างไปเข้ากองทัพ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักรศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนณเมืองหนองคาย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประ-จักร ฯ และแม่ทัพนายกองปราบปรามอ้ายฮ่อมีไชยชนะเสร็จแล้ว ครั้นถึงปีจออัฏฐศก ๑๒๔๘ พระสุนทร ฯ เห็นว่าราชวงศ์แก่เป็นผู้ใหญ่และได้สัญญาบัตรและมีความชอบกับไปเห็นท้าวฮู่บุตรอุปฮาดแข้ไปส่งข้าวน้ำเลี้ยงกองทัพฮ่อครั้งพระยาราชวรานุกูล พระสุนทร ฯ จึงบอกขอรับพระ-ราชทานราชวงศ์แก่เป็นอุปฮาดท้าวฮุ่เป็นราชวงศ์ ขึ้นมารับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่กับพระสุนทร ฯ เจ้าเมือง ครั้นปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ตรงกับปีขานโทศก ๑๒๕๒ พระสุนทร ฯ ราชวงศ์เจ้าเมืองสุพรมพร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการคุมเอาเงินแทนผลส่วยของหลวงไปทูลเกล้าถวายกรุงเทพ ฯ แลไปใส่กัณฑ์สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร แล้วพระสุนทร ฯ ท้าวเพี้ยเมืองยโสธรที่คุมเงินส่วยจึงพร้อมกันทำฎีกาน้อมเกล้า ฯ ถวายพระราชทาน ท้าววรบุตรหุนเป็นที่ราชบุตร ท้าวจันสีราชเป็นที่หลวงศรีวรราชแล้ว พระสุนทร ฯ เลยกราบถวายบันคมลาขึ้นมารับราชการเมืองยโสธร ครั้นถึงปีรัตนโก- ๑๕๑ สินทรศก ๑๑๐ ตรงกับปีเถาะตรีศก ๑๒๕๓ ราชุบุตร ขุนหลวงศรี วรราชผู้ช่วยศรีสุราชเชิญเอานามสัญญาบัตร ที่พระเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานขึ้นไปรับราชการอยู่กับพระสุนทร ฯครั้นอยู่ถึงเดือนพฤศจิกา-ยน ร,ศ,๑๑๐ ตรงกับปีเถาะตรีศก ๑๒๕๓ พระสุนทร ฯ เจ้าเมืองราชวงศ์ฮู่ถึงแก่กรรม อยู่มาครั้นถึงปี ร,ศ, ๑๑๐ มีบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรอธิบดีเสด็จขึ้นมาประทับอยู่ณเมืองอุบล ฯ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว แล้วโปรดเกล้า ฯ ลายพระราชหัตถ์ ให้ท้าวสิทธิกุมาร(ทองดี) อุปฮาด (บา) รับราชการตำแหน่งราชวงศ์ ครั้นถึงณปี ร,ศ, ๑๑๑ อุปฮาดแก่ราชวงศ์หุนหลวงศรีวรราชผู้ช่วยพร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการบอกขอพระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิงขึ้นมาเผาศพพระสุนทร ฯ เจ้าเมืองสุพรม แต่ยังหาทันได้เผาไม่ ครั้น ณ ปี ร,ศ, ๑๑๒ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรอธิบดีข้าหลวงต่างพระองค์ ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงพิทักษ์สุเทพ ข้าหลวงท้าวไชยกุมารกรมการเมืองอุบล ฯ ขึ้นมาจัดราชการอยู่เมืองยโสธร แล้วอุปฮาดบุตรหลวงศรีวรราชท้าวสิทธิกุมารผู้รับราชวงศ์ จึงพร้อมด้วยหลวงพิทักษ์สุเทพ ฯ ข้าหลวงเผาศพพระสุนทร ฯ เจ้าเมืองยโสธรเสร็จแล้วบ้านเมืองก็ว่างเปล่าอยู่ มีแต่อุปฮาดแก่ราชบุตรหุนหลวงศรีวรราชรับราชการบ้านเมืองอยู่กับข้าหลวงพิทักษ์สุเทพ ฯ ครั้นถึงปี ร,ศ, ๑๑๒ เกิดทัพฝรั่งเศสขึ้นทางเมืองเขมราฐแห่งหนึ่ง เมืองสามโบกแห่งหนึ่ง พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรอธิบดี ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวโปรดเกล้า ฯ เกณฑ์เอากำลัง เมืองยโสธร ๑๕๒ ได้๑๐๐๐คนให้หลวงพิทักษ์สุเทพคุมไปทั้งเมืองเขมราฐ๑๕๐๐คนอุปฮาด ราชบุตรหลวงศรีวรราชกรมการแต่งให้ราชวงศ์ราชบุตรคุมไปเข้ากอง ทัพทั้งเมืองสามโบก ๕๐๐ คนครั้นเสด็จราชการพ้นแล้ว พระเจ้าน้องยาเธอกรมหรวงพิชิตปรีชากรเสด็จกลับเข้าไปกรุงเทพ ฯ ครั้นถึงปี ๑๑๓ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จขึ้นมาประทับอยู่เมืองอุบล ฯ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว แลโปรดเกล้า ฯ ให้นายร้อยโทเป็นษร เป็นข้าหลวงขึ้นมาจัดราชการเมืองยโสธรแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้อุปฮาดรับราชการตำแหน่งอุปฮาดให้หลวงศรีวรราชผู้พิเศษรับราชการตำแหน่งราชบุตร ครั้นถึงศก ๑๒๗ โปรดพระราชทานนามสัญญาบัตรให้หลวงศรีวรราช ผู้ว่าราชการเมือง ยะโสธรเป็นพระสุนทรราชเดชผู้ว่าราชการเมืองยโสธร
ตำนานเมืองทรายฟอง
?นโมตสฺสตฺถุ ดูราโสดุชนะสัปปุริสสทั้งหลายจงตั้งโสตปราสาทฟัง ยังตำนานนิทานพระยาอินทาธิราชอันนี้เทอญ สัตถาอันว่าสัพพัญญูพระพุทธเจ้าแห่งเฮา จักเข้าสู่นีพพานพระพุทธเจ้าก็ไปเที่ยวโผดปันสัตว์ทั้งหลายในสกลชุมพูทีปทั้งมวล ในเขตต์ขงกงเมืองทั้งหลาย คือบ้านน้อยแลนิคมบ้านใหญ่แลเมืองหลวงทั้งหลาย ตามประเวณีดั่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ก่อน เข้าสู่นีพพานไปแล้วพระพุทธเจ้าก็ตระเดินเลียบโลกโผดสัตว์ทั้งหลาย ตามประเวณีดั่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันล่วงไปแล้วแต่ก่อนก็มีแล มหาอานนทและอรหัตตาเจ้าทั้งหลายมีพระยาอโสกกมหากษัตริย์ ก็ไปตามอุปปัฏฐาก ฮกษาพระพุทธเจ้า ไปด้วยลำดับบ้านน้อยแลนิคมห้วยหนองคลองบึงบาง คือว่าแม่น้ำแลภูดอยทั้งหลาย ควรโผดพระเจ้าก็โผด คือว่าคนแลเทวดาอาฮักกษ์มเหสักขาแลคุธนาคทั้งหลายแล้ว พระก็ไว้ปาทลักขณ์แล้ว ให้เป็นที่ไหว้แลบูชา แก่คนแลเทวดาทั้งหลายแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปเถิงด้อยอัน ๑ ชื่อว่าดอยช้างสาร เป็นที่อุดมยิ่งนัก ดอยอันนั้นเป็นรูปช้างนอนอยู่ มีสระน้ำบ่ออัน ๑ ตั้งอยู่เหนือปายดอยที่นั้นยังมีหินผาศิลาก้อน ๑ ฮาบเฮียงเพียงงาม ก็ควรระเมาเอาใจยิ่งนัก ยังมีพระยานาคตัว ๑ ออกมาขอสรณาคมดอมนั้น พระพุทธเจ้าก็อีดูกรุณายังพระยานาค ก็ให้สรณาคมแก่พระยานาคแต่นั้น
๑๕๔ พระยานาคก็ขอฮับเอาพระปาทลักขณ์ ไว้ให้แก่พระยานาคอุปปัฏฐากเพื่อให้เป็นที่ไหว้แลบูชา แก่คนแลเทวดาทั้งหลายก็มีแล อถตทาในการเมื่อนั้นสักโกเทวราชา อันว่าพระยาอินทาธิราชก็มาติคนิงดังนี้ในใจแห่งตนว่า กูก็ควรลงไปไหว้สัพพัญญูพระพุทธเจ้าเทศนาให้แจ้งจิงควรแท้ดีหลีแล อินทาติคนิงดั่งนี้แล้ว โอตริตวาก็ลงมา คันว่ามาฮอดแล้วก็ไหว้นบแลบูชาวันทิตวา พระยาอินทร์ก็ไหว้พระพระพุทธเจ้าว่า ภันเต ภควา ข้าไว้สัพพัญญูเจ้า ในเมื่อพระพุทธเจ้ายังอยู่โผดสัตว์โลกทั้งหลาย ก็สมฤทธิบรบวรด้วยคำมักคำปรารถนาแห่งสัตว์โลกแท้แล คันว่าสัพพัญญูเจ้าหากมีนีพพานไปแล้วดั่งนั้น คนทั้งหลายเขาทำบุญให้ทาน รักษาศีลฟังธรรม ได้สร้างกุศลโกศล คือว่าเป็นอันคุรุอันใหญ่ลหุ อันน้อยอันเบาอันนัก ก็ยังจักมีผลบุญผลอานิสงส์เป็นดั่งฤาก็ข้าจา เหมือนดังพระพุทธเจ้ายังอยู่โผดสัตว์โลกนี้ ก็ข้าจาฤาฮู้ ว่าจักหาอานิสงส์บ่อได้ก็ข้าจา ภควา อันว่าพระพุทธเจ้าก็ได้ยินคำพระยาอินทร์ หากไหว้ตนดั่งนั้น พระพุทธเจ้าก็เทศนาว่ามหาราชดูรามหา ราชในเมื่อกูพระตถาคตนีพพานไปแล้ว ท่อจักตั้งไว้ยังคองแก้ว คือว่าศาสนาไว้ถ้วน ๕๐๐๐ วัสสาดั่งนั้นบุคคลผู้ใดมีใจใส่ศรัทธาในศาสนาดั่งนั้น คือว่าให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวนากระทำบุญกุศลโกศลอันใหญ่อันน้อย ดั่งนั้น อันว่าผลอานิสงส์แห่งเขาอันได้กระทำบุญให้ทาน รักษาศีลภาวนาในศาสนากูตถาคตปฐมหัวทีพันตนนั้น ก็จักมีผลอานิสงส์มีประมาณว่าได้แสนกัลปแท้แล ศาสนากูตถาคต ลดลงไปเถิงพันถ้วน ๒ คนทั้งหลายกระทำบุญให้ทาน สร้างกุศลอันน้อยใหญ่ก็ดี อันว่าผลอานิสงส์ก็มี
๑๕๕ ประมาณหมื่น ๑ แล ดูราอินทาธิราช ในเมื่อศาสนากูตถาคต ลาลดถอยลงไปถ้วน ๓,๐๐๐ วัสสาดั่งนั้น คนทั้งหลายเขาเหลื่อมใสในศาสนาเขากระทำบุญให้ทานเมตตาภาวนา กระทำกุศลอันน้อยอันใหญ่อันว่าผลอานิสงส์บุญมีประมาณพันหนึ่งแล เหตุเขาได้กระทำบุญ ดั่งนั้น เขาบ่เชื่อใสในกุศลบุญ ใจแห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นบาปธรรมอกุศลเสีย จิงบ่มีผลมากคามเพื่อดั่งนั้นแล เจ้าภิกขุตนฮับทานทายกนั้นก็บ่ทรงธุตังควัติสิบสามท่อบ่ฮักษาสิกขาบทอันน้อยอันใหญ่ ท่อบ่ฮักษาแต่ปาราชึก ๔ ตัวทั้งยาก จิงหาผลบ่ได้เพื่ออั้นแล ผิว่าเจ้าภิกขุทะรงวินัยก็จิงมีผลมากพอสน่อยแล ดูราอินทาธิราช เหตุใดกูตถาคตว่าอั้น เหตุว่าหาอรหันตาขีณาสวเจ้าบ่ได้แล ภันเตข้าไหว้สัพพัญญูเจ้า ศาสนาสัพพัญญูเจ้า ยังจักตั้งอยู่เท่า ๕,๐๐๐ วัสสาดั่งนั้น บุคคลเจ้าองค์ใดแลจักขับตาม คำสอนสัพพัญญูเจ้าก็ยังจักมีก็ข้าฤาฮู้ว่าบ่มีก็ข้าจา เท่านับอยู่ ภควา อันว่าสัพพัญญูเจ้าก็เข้าเทศนาว่ามหาราช ดูรามหาราช ลูกศิษย์กูตถาคตเขามักน้อยมักบาง หาบุคคลผู้จักกระทำคองอันเป็นที่สุดที่แล้ว ในสิกขาบทอันน้อยใหญ่ ก็หาบ่ได้แล เท่านับอยู่นับกินตามอาจารย์แห่งเขาสั่งสอนไว้นั้นท่อขับตามฮิด คองเขาไปนั้นแล คันว่าศาสนาของเฮาไปเถิง ๔ พันวัสสาดั่งนั้น หาบุคคลภิกขุตนใดตน ๑ จักชุมนุมกันพอถ้วน ๔ ให้ฮู้ว่าทีสังฆกรรมมีต้นว่าอุโบสถ จตุทสี สามัคคีก็หาบ่อมีได้แล ดูรามหาราชในเมื่อศาสนาของเฮาล่วงไปเถิง ๕,๐๐๐ วัสสามาตรว่าผ้าเหลืองน้อย ๆ ห้อยบ่าไปมาเขาสมมุติว่า บุคคลผู้นั้นเป็นภิกขุภาวยามนั้นบุคคลผู้มีใจใส
๑๕๖ ศรัทธาให้ทานก็มีผลแท้แล เหตุว่าเขาเหลื่อมใสในศาสนาของกูพระตถาคตแท้แล พระพุทธเจ้าเทศนาแด่พระยาอินทร์เท่านั้นแล้วพระยาอินทร์ก็ไหว้นบคมรพยำแยงสัพพัญญูเจ้าแล้ว ก็เสด็จเมือสู่ที่อยู่แห่งตนก็มีแล กิริยาจาห้องพระยาอินทร์ลงมาไหว้ถามผลอานิสงส์แห่งคนทั้งหลาย อันกระทำบุญให้ทาน ก็เป็นห้องเท่านี้ก่อนแล ฯ ? อถสักโก ที่นั้นบั้นอินทาธิราช ก็เสวยสมบัติทิพยแห่งตนเลี้ยงกาลอันนานนัก พระพุทธเจ้าก็เสด็จเข้าสู่นีพพานไป นานได้สองพันปายสี่ฮอยสามสิบพระวัสสาดั่งนั้น อินทาธิราชก็มาหลิงดูสัตว์โลกทั้งหลาย อันจักเป็นโภยภัยหลายประการต่าง ๆ ก็มีแก่คนทั้งหลายหาสุขสำบายใจบ่ได้ จักเกิดโภยภัย ๗ ประการ ทุพภิกขาอัน ๑ คือว่าอึดข้าวอัน ๑ คือว่าผีตกห่า อัน ๑ คือว่าโภยภัยต่าง ๆ แก่คนทั้งหลายมากนัก ยักษ์คันธัพพา ๔ ตัว มันให้เกิดเป็นไข้ฮ้อนไข้หนาวแก่คนทั้งหลายทุกบ้านทุกเมืองก็มีแล ยักษ์ตัว ๑ มันกระทำให้เป็นไข่เป็นพอง เป็นบาดเป็นฝีเจ็บปวดเวทนามากนักก็มีแล ยักษ์ตัว ๑ มันกระทำให้เป็นเสือขบเสือกินควายชน แข่แลเงือกกินตายด้วยประสูตรลูกแก่ผู้หญิงทั้งหลาย ยักษ์ตัว ๑ มันให้บังเกิดเป็นท้องขี้ฮากตากหงายลงเลือดลงมูกให้ลำบากนักแล ยังมียักษ์ตัว ๑ ชื่อว่ามัคคะลาดมาฟังคำป้อยคำด่าแส้งคนทั้งหลาย ด่าว่ามึงตายเนอว่าดั่งนั้น ก็ตายแท้เสือขบเสือกินเนอก็กินผีหุงห่ากินเนอว่าดั่งนั้นก็กินแท้แล อินทาเจ้าฟ้าใค้อีดูกูณาคนทั้งหลาย จิงให้คาถาแก่คนทั้งหลายแล คันอยากเห็น
๑๕๗ หน้าเจ้าผู้มีบุญแท้ จงให้พร้อมกันฮักษาศีลฟังธรรมเทอญ ก็จักพ้นจากโภยภัยอนตาย จักได้เห็นหน้าผู้มีบุญชะแล เถิงปีระกาจักบังเกิดโภยภัยอึดอยาก ผีหุงผีห่าเจ็บพ้องขี้ฮากตากหงายตายมากนักแล อัน ๑ จักเป็นกลหลทุกบ้านทุกเมือง ในชมพูทีปนี้แล เถิงปีระกาไปต่อปีจอ จักบังเกิดเป็นเสิกคนโจรวิวาทผิดเถียงกัน บ้านใต้ผิดบ้านเหนือ บ้านเหนือผิดบ้านใต้ เฮือนใต้ผิดเฮือนเหนือ เฮือนเหนือผิดเฮือนใต้ ท้าวพระยาทั้งหลายก็ยาดชิ่งกันด้วยเขตต์แดนไฮ่นาฮั้วสวนขาดชพาดอาภรณ์ จักฆ่าฟันกันตายหาคำสุขาสำบายใจบ่ได้แก่คนทั้งหลายชะแล พระยาอินทาธิราชเจ้าจิงให้เอาคาถานี้ให้แก่คนทั้งหลายใค่อยากเห็นหน้าท่านผู้มีบุญ จิงภาวนาคาถาอันนี้เทอญ ปูเรยุก เขสัพ์พสตสัพ์พสัต์ตานํอิน์ธาเสฏฐํกุมพัน์ทมํ เทวเทโวสัพ์เพยัก์ขา ปรายันตุ หิริโอตตัป์ปสัม์ปัน์นาสุกกาธัม์มา สัมมาหิตา ตัปปุริสสา โลโกธัม์มาติอุจจเร ดั่งนี้ว่า บุคคลผู้คด ภาวนาคาถาอันนี้ พ้นพยุโภยภัยอนตายทั้งมวล จักเห็นหน้าท่านผู้มีบุญ ให้ว่าพุทธํ สรณํ คัจ์ฉามิ ธัม์มํสรณํคัจ์ฉามิ สังฆํสรณํคัจ์ฉามิ ตาบต่อเท่าเถิงทุติตติเทอญ เมื่อจักภาวนาให้ชำระเนื้อตนสระเก้าดำหัวเสียแล้ว ฮักษาศีล ๕ ศีล ๘ จิงภาวนาเทอญ จักได้เห็นหน้าท่านผู้มีบุญชะแล ให้คมรพยำแยงผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่คูบาอาจารย์เทอญ พระยาอินทาเจ้าฟ้าก็มาหลิงเห็นอันเป็นโภยภัยอนตายแก่คนทั้งหลายดั่งนั้น จิงไว้คาถาบทนี้ ให้ภาวนาไปหาท่านผู้มีบุญเทอญ เสทํสนํโสอสอธพุม ๒ บทนี้ภาวนาไปหาเจ้าผู้มีบุญชะแล โอมนิทิติเลสอุวหมมมาอิติ เขยยอิติกรมนมิทานนาโทม์ทิกะ
๑๕๘ บทนี้ ภาวนากันยักษ์แลพะยุทั้งมวลแล ให้คนทั้งหลายฮู้แจ้ง หนังสือพระยาอินทาเจ้าเทอญ ในปีระกาปีจอต่อกันนั้นท่านผู้มีบุญจัก มาโผดสัตว์ทั้งหลายบ่อย่าชะแล ท่านผู้มีบุญนั้นเกิดมาในเมืองภูชุนชะแล ยังไปเฮียนศาสตรศิลป์ในป่าหิมพานต์ จบบรบวรแล้วจิงจักออกมาสร้างเมืองทรายฟองหนองคำแสนแท้แล ตาปัสโสอันว่าเจ้ารัสสี ก็สั่งสอนสิปปคุณบรบวรทุกสิ่งทุกอัน อัน๑คือว่าดำฮอดพื้นปถวีพายลุ่ม บท ๑ เผ่นขึ้นเมือฟ้าดั่งหงส์ บท ๑ มนต์ก่อมกุ้มหลับตาทั่วทั้งเมือง คนทั้งหลายบ่ตึงตนได้ บท ๑ สบใส่ไม้ล้มท่าวเป็นถัน ฝูงสาขาหล่าวเลียนไป เสี้ยงบรบวรแล้ว ตาปัสโสสั่งสอนเจ้าก็ยอยืน ให้ธนูศิลป์อันประเสริฐเจ้าก็ชมชื่นยินดี ต่อรัสสีเจ้าพ่อคู เจ้าก็ก้มขาบไหว้ตาปัสโสลาเลิกนบนอบนิ้วพระรัสสีแล้วลวดหนี ท้าวก็เดินไปหน้าเถิงทิพพระยาทรณ์ตน ๑ เจ้าก็ก้มขาบไหว้ทรณ์เจ้าซูอัน ผู้ข้าไหว้เจ้าพ่อพระยาทรณ์ขอกูณาโผดผายตัวข้า ข้อยจักไปอยู่สร้างเมืองใหญ่ทรายฟอง ขออย่ามีอนตายถืกตนตัวข้า ทรณ์สอนสั่งให้สิปปคุณทุกสิ่ง สอนสั่งให้บาท้าวจือจำ บรบวรแล้วพระยาทรณ์ ยอยื่นตระบองเพ็ชรแก้ว ยอให้แต่บาแท้แล้ว ดูราท้าวสิปปคุณอันนี้ ท่านจักดำดินบินบนก็ได้แล ตระบองเพ็ชรอันนี้กวัดแกว่งขึ้นเป็นน้ำเป็นไฟก็ได้ แม้นว่าข้าเศิกศัตรูจักมาท้าวจงกวัดแกว่งไป อันว่าคนข้าเศิกเขาก็อรทายหายไป บ่อาจจักตั้งอยู่ได้แล พระยาทรณ์ก็สอนสั่ง ทุกประการถ้วนถี่แล้วท้าวก็อำลาเจ้าพระยาตนพ่อคู ท้าวก็มาตามลำดับทางแล้ว สัมปัตโต ก็มาฮอดมาเถิงเมืองภูชุนก็มีแล คันว่าฮอดผาสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน
๑๕๙ แล้ว แลบาก็นบนอบไหว้พระแม่มารดา ขอกูณาโผดผายตัวข้าข้าจักไปหล่ำเยี่ยมหนโลกโลกา อย่าให้มีโภยภัยเบียดตนตัวข้า ค่อมไหว้แล้วพระแม่มารดา บาก็วอย ๆ มาฮอดเมืองพายพี่ มาเถิงห้องทรายทองหลิงหล่ำ เจ้าผ่อเยี่ยมไปแท้ซูพาย ก็จิงเอามือบายน้าวศรทรณ์ยิงผ่า เป็นดั่งฟ้าผ่าไม้หักหมุ่นเป็นกระจวน คนทั้งหลายอันอยู่ในชุมพูทีปทั้งมวล ก็ตื่นสะดุ้งตกใจกัวมากนักก็มีแล ปืนก็กับคืนมาสู่แหล่งดั่งเก่าหั้นแล ท้าวก็ลงมาสู่พื้นปถวีถานต่ำ มือฮวยน้าวสายธนูแล้วยิงไปดั่งฟ้าผ่า ๗ ทีนั้นแล ปืนก็กลับคืนมาแหลงดั่งเก่าก็มีแล แล้วกายเกิดขึ้นมาแท้บ่นาน ปาสาทํ ยังผาสาท ๗ หลังพร้อมทั้งหอหลิงหอเลยทั้งมวล ก็ประดับไปด้วยแก้วช่อฟ้าแลดวงปี เปนดั่งวิมานเทวดาเทวบุตร อันเกิดในชั้นฟ้าตาวตึงสาก็มีแล ปาการํ อันว่าปราการเวียง ๓ ชั้นก็แวดล้อมทุกก้ำทุกพาย หอหลิงหอเลยพร้อมบรบวร ก็ควรอัศจรรย์มากนักแล อันว่าเสนาทั้ง ๔ ก็เกิดมาไหว้คมรพอยู่ก็มีแล อันว่าเสนาอำมาตย์ทั้งหลายอันได้ ๓ แสน ๖ หมื่นก็เกิดมามากนัก อันว่านางนักสนมทั้งหลายก็ได้ สามพันหกหมื่นก็มาแวดล้อมอยู่ทุกวันทุกยามก็มีแล เจ้าเสด็จขึ้นสู่หอผาสาทแล้ว ก็นั่งอยู่เหนือแท่นแก้วอันประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูฮุ่งเฮืองงามเป็นดั่งวิมานแห่งเทวบุตรนั้นก็มีแล อถ ในกาลยามนั้นสวนดั่งรี้พลพหลโยธาทั้งหลายก็ได้เป็นแสนโกฏิก็บังเกิดมา ก็ด้วยเดชานุภาพบุญสมภารก็มีแล อันว่าช้างม้าก็เกิดมาได้ด้วยล้านด้วยแสน ก็เข้ามาสู่สมภารมหาสัตว์เจ้าตนบุญมาก สวัณณํรัชชตํ อันว่าเงินคำ
๑๖๐ แก้วแหวน ๗ ประการ ก็ไหลหลั่งเข้ามาสู่เหล่มฉางมากนักแล อันว่าเสื้อผ้าเงินคำฮั้วแฮแพจีนก็เกิดมา ด้วยบุญสมภารเจ้ามากนัก อันว่าเข้าของคือว่าข้าวเปือกข้าวสารทั้งหลาย ก็ได้ไหลหลั่งมามากนัก อันว่าคนทั้งหลายเก็บได้กระทำไฮ่นา เถิงกาลดูหากเกิดมาด้วยบุญสมภารมหากษัตริย์ตนนั้นแล อันว่าตลาดใหญ่ตั้งเดียรดาษเป็นถัน ยูท่างคนทั้งหลายซื้อขายตามคำมักชูประการก็มีแล อันว่าฝูงชายหนุ่มน้อยเป็นบ่าวนงฮาม ยูท่างกินสุราปีบโฮทั้งค่าย อยู่สนุกล้นทรายฟองเมืองเอก ฮ้อยประเทศท้าวมาน้อมส่วยไฮ คนไหลเข้าทรายฟองแสนโกฏิ คับคั่งเท่าเมืองกว้างซูพายก็มีแล ท้าวก็เททานให้สังโฆทุกหมู่ อยู่สำบายสุขเพิ่งบุญบาท้าว ท้าวก็บ่มีกัวเกงสังแต่ข้าเศิกศัตรูก็หาบ่ได้แล อันว่าคนทั้งหลายอยู่ประเทศ ก็เข้ามาสู่สมภารบ่ขาดหั้นแล ท้าวพระยาทั้งหลายก็นำมาส่วยไฮทุกปี ๆ ก็ด้วยเดชสมภารมหาสัตว์เจ้าก็มีแล อถตทา ในกาลเมื่อนั้น พุทธฮูปพระสหิงเจ้าก็เสด็จมาด้วยลวงอากาศ มาตั้งอยู่ในเมืองทรายฟองโผดคนทั้งหลายก็มีแล โภยภัยทั้งมวลก็ระงับกับหายบ่บังเกิด ด้วยเดชะพุทธฮูปเจ้าองค์ประเสริฐ คนทั้งหลายอยู่สำบายด้วยข้าวน้ำเครื่องบริโภคทั้งมวล ก็ด้วยบุญสมภารมหาสัตว์เจ้าตนนั้น ก็อุปัฏฐากพุทธฮูปเจ้าหั้นแล คนทั้งหลายก็บ่ได้กระทำไฮ่นาฮั้วสวนกินก็หาบ่ได้เครื่องทั้งหลายมีต้นว่าเสื้อผ้าอาภรณ์ ก็หากเกิดด้วยบุญสมภารพระยาบุญตนนั้นแล อันว่าคนทั้งหลายก็บ่มีใจเบียดเบียฬกันสังสักอัน หาลักหาโจรบ่ได้ เขาก็บ่เบียดบีบตีกันด้วยขอบไฮ่ดินนา ฮั้วสวน
๑๖๑ ช้างม้าวัวควายของเลี้ยงของดูเซิงกันไปมา ยูท่างกระทำบุญให้ทานตามอันมักแห่งเขาอันว่าโภยภัยอนตายอันใด ก็บ่อบังเกิดแก่คนทั้งหลายก็มีแล ตทา ในกาลเมื่อนั้น อันว่าแท่นแห่งพระพุทธเจ้าพระสหิงนั้นก็อยู่ในถ้ำคูหา อัน ๑ อยู่จิมใกล้แคมแม่น้ำ อัน ๑ อยู่ฝ่ายข้างดอยผาบทก้ำหนเหนือ ยังมีตระกูลผู้ ๑ มีนามปรากฏเขื่อนทันบุรินทร์ บุคคลผู้นั้นเป็นคนเลื่อมใสในคุณแก้ว ๓ ประการ ถือสัจจ์ ๔ ประการ ท่านผู้นั้นอุปัฏฐากปินปัวบัวระบัติปักกติ ในแท่นพระสหิงเจ้าหั้นแล ท่านก็จักได้นำเอายังแท่นพระพุทธฮูปออกมาถวายแก่ท่านผู้มีบุญ ก็จักได้เอายังแท่นองค์พระพุทธฮูปเจ้า ก็ด้วยบุญกรรมอันท่านทั้งหลายหากกระทำแต่ก่อนพุ้นแล คันว่าเมี้ยนคาบแล้วก็จักเมือเสวยสุขตามบุญแห่งตนก็มีแล พระสหิงเจ้าก็ให้บังเกิดยังสุขสวัสดี ในเขตต์โขงตรงแดนเมืองทรายฟองเทพมหานคร ก็ปรากฏอาบซาบไปด้วยเตชสมภารพระสหิงเจ้าแล สมภารพระมหากษัตริย์ตนมีบุญอันมากก็มีอันนั้นแล เจ้าเสวยเมืองทรายฟองนานได้ ๑๖ ปีแล้ว สวนดั่งนางเทวีก็ทรงครรภ์ได้ ๑๐ เดือนแล้ว วิชายิ ก็ประสูติออกแล้วเป็นกุมารผู้ ๑ มีฮูปอันงามยิ่งนักเป็นดั่งคำ อันช่างผู้ฉลาดหากเรียงในเบ้าบ่เศร้าแลดูงาม ส่วนอันว่าพระยาตนพ่อก็ใส่ชื่อนามกรกุมารผู้นั้นชื่อว่าท้าวอำคา เหตุว่าฮูปอันงามยิ่งนักก็มีแล เจ้ากุมารผู้นั้นเกิดมาแล้วก็หาพยาธิโรคาบ่อได้ มีสติปัญญาก็ฉลาด มีบุญสมภารก็มาก มีฮูปก็งามเป็นดั่งเทวบุตรลงมาแต่ชั้นฟ้าก็มีแล ฝูงคนทั้งหลายเห็นฮูปท้าว ก็เป็นที่ฮักและเพิงใจ แก่คนและเทวดาทั้งหลาย มี
๑๖๒ ศาสตราศิลป์ก็กล้าคมยิ่งนัก ฝูงสาวน้อยหนุ่มทั้งหลายเห็นฮูปเจ้าก็สลบทบท่าวไป ด้วยฮูปกายแห่งกุมารผู้นั้นหั้นแล ตทา ในกาลเมื่อนั้นเจ้าก็ขึ้นใหญ่ ด้วยลำดับปีเดือนนานนัก ได้ ๑๖ ปีแล้วเจ้าก็ไหว้พระบิดาแห่งตนว่า ข้าไหว้พระบิดาเป็นเจ้าข้าจักเข้าป่าไม้ไพยะมาสหิมพานต์ ไปไหว้เจ้าตาปัสโสพระยอดคุณพายพุ้น บิดาไท้พระยาปุนกอยกล่าว เจ้าจงไปฮอดผู้รัสสีเจ้ายอดคุณพ่อท่อน อถในกาลเมื่อนั้นเจ้าอำคาตนประเสริฐ สั่งพ่อแล้วบาท้าวล่วงไป ตนเดียวผ่ายดงหลวงไพยะมาส ไปฮอดผู้รัสสีเจ้ากูนาผายโผด สอนสั่งให้สิปปคุณอันวิเศษ ข้าจัดไปอยู่สร้างเมืองบ้านที่ไกล ค้อมว่าแล้วรัสสีสอนสั่ง บอกให้แก่เจ้าอำคาท้าวซูอัน มนต์ไต่น้ำเดินไปได้โยชน์แม่นจักดำสอดพื้นแผ่นดินก็ดังเดียว อัน ๑ แม่นจักบินบนผ่ายเวหาอากาศ เป็นดั่งหงส์บินผ่ายไปแท้บ่สูง แม่นจักมนต์ก่อมกิ้งหลับทั่วทั้งเมือง คนทั้งหลายบ่ตีงตนได้ บาก็เฮียนเอาแล้วสิบปปคุณทุกสิ่ง ท้าวก็ชมชื่นดังใจเจ้าซูอัน พระรัสสีก็บายเอาให้ธนูศิลป์อันประเสริฐ ว่าดูราท้าวกุมารท่านธนูศิลป์ได้แล้ว ท่านอย่ากลัวอันใดเทอญ คันว่ายิงธนูอันนี้ จักใช้ให้เป็นไฟก็ได้ดั่งใจนัก จักใช้ให้เป็นน้ำก็จักเป็นน้ำท่วมไล่ข้าเศิกศัตรูทั้งมวลแล ผิว่าใช้ให้ไปกำจัดข้าเศิกก็ฉิบหายเสียเสี้ยงบ่หลอแท้แล ตทา ในกาลเมื่อนั้นท้าวอำคากุมารก็สั่งอำลาพระรัสสีเจ้าแล้ว ก็คืนมาหาบ้านเมืองแห่งตนแล้ว ก็ไหว้พระบิดามารดาพ่อแม่ แล้วก็สั่งอำลาพระยาตนพ่อว่า ข้าไหว้พระบิดาเป็นเจ้า ข้าจักไปหล่ำเยียมหนโลกเมืองไกลก่อนแล้ว ขออย่ามี
๑๖๓ โภยภัยเบียดเบียฬตัวข้า ขอให้พระบิดาเจ้าอนุญาตโทษาแก่ข้าเทอญ พระยาพ่อก็ให้อนุญาตแล้ว ท้าวก็บายเอาธนูทิพย์กับดาบสีคันไชแล้วก็เสด็จไปด้วยลวงอากาศ ก็ไปฮอดไปเถิงเมืองใหญ่กุลาแล้วก็หล่ำหลิงดูไปทุกแห่งแล้ว ก็เป็นอันเต็มไปทุกบ้านทุกเมืองแล้ว ก็กับคืนมาฉะเพาะหน้าเถิงนครเชียงใหม่แล้ว ก็เต็มไปด้วยคนทั้งหลายทุกบ้านทุกเมืองก็มีแล เจ้าก็หลิงมาก้ำทิศาเภณีทุกที่ทุกแห่งแล้ว ก็เป็นบ้านเป็นเมืองซูที่ซูแห่งแล้วก็มีหั้นแล เจ้าก็ทราบไปเถิงเชียงแสนเชียงของก็เป็นเมืองฮ้างอยู่ บ่มีท้าวพระยาอยู่เสวยเมืองที่นั้น เจ้าก็ฮวยมือน้าวธนูศิลป์ยิงผ่า เป็นดั่งเสียงฟ้าผ่าฮ้องดั่งก้องทุกแดนเป็นดั่งฟ้าผ่า ๗ ทีก็มีแล ท้าวก็ลงสู่พื้นปถวีพายลุ่ม เจ้าก็บายเอาธนู ศิลป์ยิงไปห้อมขงเมือง ๓ ฮอบ ก็บังเกิดเป็นเวียงแวดอ้อม ๓ ชั้น มีหอเลยมีปราการอ้อมเป็นดั่งคนเฮานั้นแล แล้ววอดบังเกิดขึ้นผาสาท ๗ หลัง โฮง ๆ ใสดั่งดาวตึงฟ้า บังเกิดขึ้นเสนาเค้าขุนหลวงทั้ง ๔ นบนอมนิ้วชูลีไหว้ซูพาย เสนาพร้อมสามพันหกหมื่น มาแวดล้อมบาท้าวซูพาย นางสนมพร้อมสามพันหกหมื่น มาแนบเฝ้าบาท้าวซูพาย อันว่าคนไหลเข้าเชียงแสนแสนโกฏิ ช้างแลม้าไหลเข้าซูทางเงินคำล้นไหลมาคับคั่งคือดั่งฝนหลั่งล้นเดือน ๙ เห่งมา เสื้อผ้าพร้อมทั้งแผ่นแพรขาว กาสาไหลนองมาดังทรายไหลแล้ง ตลาดใหญ่ตั้งเดียรดาษเป็นแถว ยูสำบายสุขไพ่ไทยทั้งค่าย ฝูงบ่าวน้อยคนเปียวซายฮาม เสียงโห่นันทั่วเมืองทั้งค่าย อยู่สนุกล้นเชียงแสนสนุกยิ่ง ฝูงไพ่น้อยไหลเข้าสู่พาย เขาก็บ่ฮ้อนกระทำไฮ่นาสวน เถิงยามมาก็หากมี
๑๖๔ เต็มเล้า ก็บ่บังเกิดแท้คนลักเอาของ ทั้งงัวควายบ่ห่อนมีคนฆ่าก็สุขอยู่ย้อมบุญบารมีมาก ยูท่างเททอดให้สังโฆเจ้าซูองค์ ก็หากฤๅชาเท่าเชียงแสนสนุกยิง คำซ่าเท่าเมืองกว้างซูแดน อันว่าคนไหลเข้าเชียงแสนบ่มีขาด เจ้าสนุกอยู่สร้างเมืองกว้างแห่งตน ก็บ่มีหย่อนย้านทุกประเทศแดนไกล ยูสำบายสุขไพ่ไทยยอย้อง ตทา ในกาลเมื่อนั้น คำซ่าเท่าพระยาใหญ่สามขา พระยาก็โกธาแข็งเคียดเคมบ่มีย่านก็มีแล ตทา ในกาลยามนั้นพระยาสามขาก็เข้ามายังเสนาอำมาตย์มาพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็ตกแต่งรี้พลทั้งหลายได้สามล้านปายสี่แสน พระยาก็เสด็จไปกับด้วยเสนาโยธาทั้งหลาย ไปด้วยลำดับคาวทางนานได้ ๓ เดือนแล้ว สัมปัตโต ก็ไปฮอดไปเถิงนาหลวงทุ่งใหญ่แล้วก็ตั้งอยู่ทัพฮาวคาวจอดอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ใช้ข่าวสาส์นไปเถิงท้าวอำคาอันเป็นเจ้าเมืองแสนว่า ตูราพระยาเชียงแสน ท่านจักโดยเฮาฤๅ ฤๅว่าบ่โดยนั้นจา เถิงฤดูแท้สังขารปีใหม่เมื่อใด ท่านจงนำช้างม้าเงินคำแท้ส่วยเฮาคันว่าบ่โดยเฮาแท้จักตัดหัวให้ขาด คันว่าจักสู้แท้เชียงแสนให้ว่ามาท่อน ตูจักบ่ไว้เมืองท้าวบ่ยอมแท้แล้ว คันว่าขืนขัดแล้วจำนายใช้ฮีบ ขึ้นขี่ม้าตัวกล้าฮีบไป เถิงท่านท้าวเมืองใหญ่เชียงแสน เขาก็เมือขาบไหว้ทูลเจ้าบ่นาน ฝูงทูตาเจ้าสามขาเมืองใหญ่ มาฮอดเจ้าพายพี่ขาบกรณ์ ว่าให้เจ้าองค์อาจยอมตนจงให้มีช้างม้าเงินคำแท้ขาบถวาย เถิงเมื่อสังขารข้ามฮอดเถิงปีใหม่ส่งส่วยเจ้าอย่าได้หลาคา ตทา ในกาลเมื่อนั้นอำคาเจ้าตนอาจเชียงแสนจิง กล่าวว่าดูราท่านนายทูตาคนใช้สูจงคืนคอบท้าวพระยาใหญ่สามขาเที่ยว
๑๖๕ เทอญ ให้สูนำบรรณาการไปส่วยไฮกูแท้ กูนี้ฤๅชาแท้เสวยราชย์เสียงแสน กูก็บ่มีกัวแท้เมืองใดสักหยาด ให้นำช้างม้าเงินคำนั้นส่วยกูว่าเนอ คันว่าบ่นำมาแท้บรรณาการส่งส่วยกูนั้น กูจักฟันมอดเมี้ยนตายแท้บ่หลอ สูจงคืนคอบเจ้าพระยาใหญ่สามขา จงให้เดาดารี้พลกับต่าวคืนเมือบ้าน อันบิดาไท้ภรรยาลูกรักสูนั้น เขาอยู่บ้านคอง ถ้าจ่มหาแลนา อถ ในกาลเมื่อนั้น พระยาเชียงแสนกล่าวดังนั้น บั้นคนใช้พระยาสามขาก็ลาลงหนีจากบาบุญกว้าง เขาก็เมือฮอดเท่าทัพฮาวคาวจอดแล้ว ก็ก้มขาบไหว้พระยาเจ้าแห่งเขา พระยามีใจโกธเคียดมากนัก เป็นดั่งงูอิสรพิษ อันท่านหากไม้มาตีวงหางนั้นแล กล่าวว่าเฮาจักไปรบเอาเมืองเชียงแสนให้ได้เทอญ ว่าดั่งนั้น อถ ตทาในกาลเมื่อคนใช้หนีจากเมืองแล้วดั่งนั้น พระยาเชียงแสนก็สั่งเสนาอำมาตย์ ให้ฮักษาบ้านเมืองแห่งเฮาก่อนเทอญ เฮาจักเมือขออัญเชิญพระยาบิตามาแข็งบ้านเมืองก่อนแล ค้อมสั่งเสนาอำมาตย์แล้วดังนั้นก็บายเอาธนูกับดาบสีคันไชแล้ว เจ้าก็เสด็จมาด้วยลวงอากาศมาเถิงเมืองทรายฟองอันเป็นเมืองพ่อดั่งนั้น เจ้าก็ลงมาจากอากาศแล้ว ก็ขึ้นเมือสู่ผาสาทพระยาพ่อแลแม่แห่งตนแล้ว ก็ไหว้ว่าข้าแด่พระบิดาธิราชเจ้า ข้าผู้ลูกก็ได้เมืองใหญ่เชียงแสนที่พุ้น ก็ด้วยสมภารพ่อเป็นเจ้าก็ข้าแล ยังมีพระยาตน ๑ เป็นใหญ่กว่าท้าวพระยาทั้งหลาย เรียกชื่อว่าพระยาสามขา ก็ได้เสวยเมืองอัน ๑ ชื่อว่าเมืองลื้อนคร ก็เต้าเอารีพลพหลโยธามาประมาณว่าได้ ๑๒ โกฏิ มาตั้งทัพฮาวคาวจอดอยู่ในนาหลวงทุ่งใหญ่ที่พุ้น เขาก็ใช้ข่าวสาส์นมาเถิง
๑๖๖ ข้าผู้เป็นลูกว่า ให้นำดอกไม้เงินคำช้างม้าวัวควาย เมือส่วยไฮทุกปี ๆ ว่าดั่งนั้น ข้าผู้เป็นลูกก็มีข่าวสาส์นเมือตอบว่าให้ท่านพระยาใหญ่สามขาให้สูนำบรรณาการส่วยไฮเฮาพี่ กูบ่อมีกัวเกงย่านฝูงพระยาเมืองอื่นที่ใดนั้น ให้สูนำช้างม้าเงินคำนั้นส่วยกู ข้าผู้ลูกก็มีข่าวสาส์นไปตอบดั่งนั้น บัดนี้ขอพ่อเป็นเจ้าเมือดอมข้าอย่าไลแด่ท่อน พระยาเชียงแสนตนลูกก็เล่ากิริยาอาการดั่งนั้น ที่นั้นพระยาใหญ่ตนเป็นเจ้าเมืองทราย-ฟอง คันว่าเจ้าได้ยินพระยาตนลูกเล่าเหตุแก่ตนดั่งนั้น เจ้าก็บ่อกัวสักหน่อย เจ้าก็มักใค่เมือกับด้วยลูกว่า ดูราเจ้าลูกฮักแก่พ่อเฮย เจ้าอย่ากัวเกงสังก็พ่อเทอญ แม้ว่ามันจักล้นเหลือดินก็ตามส่างเขาท่อน แม้นว่าเขาจักบินบนขึ้นเวหาอากาศก็ส่างเขาพ่อท่อน แม่นว่าเขาจักฮวยมนต์กล้าเป็นคนเหลือแผ่นก็ตาม แม้นว่าเขาจักดำสอดพื้นมาแท้ก็บ่อกัว เขาจักมนต์เป่าให้เป็นไฟเผาแผ่นก็ตาม เขาจักมนต์เป่าให้เป็นน้ำท่วมนองก็ดี ก็บ่อกัวอาคมเขาท่อไยยองน้อย พระยาใหญ่ทรายฟอง จาด้วยลูกแห่งตนดั่งนั้น พระอาทิตย์ก็ตกต่ำค่ำไปแล้ว พระยาทั้ง ๒ พ่อลูกก็นอนอยู่เหนืออาสนาอันดีแล้ว วิภาตายรัตติยาในคืนวันนั้นฮ่ง สายสุริยะก็พุ่งขึ้นมา พระยาทั้งสองพ่อลูกก็ลุกจากอาสนาแล้ว ก็สงน้ำชำระเนื้อตนบรบวร ก็เสวยข้าวน้ำโภชนอาหารเหนือไตคำ อันนายพ่อครัวหากตกแต่งมาถวายหั้นแล คันว่าเสวยข้าวแล้ว ๒ กษัตริย์ก็ตกแต่งเดาดา ถือเอาธนูแลตะบองเพ็ชรแล้วก็สั่งอำมาตย์ว่า ดูราเสนาทั้งหลายเฮย เฮาพระองค์ก็จักไปกับด้วยลูกเฮาเจ้าพระยาเชียงแสนก่อนแล ท่านทั้งหลายจงฮักษาบ้านเมือง
๑๖๗ ก่อนเทอญ ค้อมว่าพระยาสั่งเสนาทั้งหลายแล้ว ๒ กษัตริย์ก็เสด็จไปด้วยลวงอากาศ ก็ไปฮอดไปเถิงเมืองใหญ่เชียงแสนพอยามงาย ก็ขึ้นเมือสู่ผาสาทโฮงหลวงแล้ว ก็สถิตอยู่เหนือแท่นแก้วด้วยศรีสวัสดีหั้นแล ตทา ในกาลเมื่อนั้นบั้นเสนาทั้งหลายก็พร้อมกันมาแวดล้อม อ้อมเฝ้าพระยาทั้ง ๒ ฮอดทุกก้ำทุกพายหั้นแล แต่นั้นนายพ่อครัวก็ตกแต่งพางายมาถวายพระยาทั้ง ๒ พระองค์ ๆ ก็เสวยข้าวงายแล้ว ๆ เจ้าก็แต่งเดาดา ถือธนูแลดาบสีคันไช ก็เสด็จไปเถิงนาหลวงทุ่งใหญ่ ที่พระยาสามขาเอารี้พลมาตั้งทัพฮาวคาวจอดอยู่ พระยาสามขาทิสวาคันว่าเห็นพระยาทั้ง ๒ พ่อลูกไปเถิงดั่งนั้น ก็เอิ้นป่าวเสนาแก้วหาญทั้งหลาย ให้ห้างศาสตราวุธทุกทัพทุกที่แล้ว ก็ฉะเพาะเพื่อรบเล็วกับด้วยพระยาทั้ง ๒ ก็มีแล อถ ในกาลเมื่อนั้นบั้นพระยาตนลูก ก็กล่าวคำด้วยสีหนาทบ่เกงขามว่า ดูราพระยาสามขาเฮย จงให้ท่านเอารี้พลเสนาแห่งท่านคือเมือเมืองแห่งท่านเสียเทอญ ลูกแลเมียแห่งท่านทั้งหลายก็ว่าจักคองหาทุกวันทุกคืนบ่อขาดชะแลผิ ว่าสู่บ่คืนเมือ ดั่งนั้นจงพร้อมกันนำรี้พลช้างม้าเมือน้อมนมัสการเฮาพระองค์ประการ ๑ จงให้ท่านเข้าเมือมอบเมือง ส่วยดอกไม้เงินคำทุกปี ๆ นั้นเทอญ พระยาเชียงแสนกล่าวดั่งนั้น บั้นพระยาสามขาได้ยินแล้ว ก็ลวดมีใจอันเคียดมากนัก ก็เตินป่าวโยธาแก้วหาญ ทั้งหลายเพื่อจักรบเล็วดั่งนั้นแล้ว ท้าวก็บายเอาธนูแล้วก็ยิงไปประดุจจะดั่งฟ้าผ่าได้ ๗ ที อันว่าบุคคลทั้งหลาย คือช้างม้าก็ล้มท่าวตายไปบ่เศษสลอก็มีหั้นแล ส่วนว่าปืนก็ไปตัดยังหัวแห่งพระยาสามขา ก็เถิง
๑๖๘ ซึ่งอนตายไปบัดเดียวหั้นแล ท้าวก็เห็นคนแลสัตว์ตายไปบ่เศษสลอดั่งนั้น พระยาก็ซ้ำยิงธนูให้คนแลสัตว์ช้างม้าโยธาคืนมาดั่งเก่า อันว่าคนทั้งหลายอันตายแล้วก็คืนมา ช้างม้าทั้งหลายก็คืนหมดเสี้ยงเสียแล้ว เขาก็พร้อมกันทูลเมือไหว้ทุกคน ๆ หั้นแล พระยากล่าวว่าดูราท่านทั้งหลายฝูงเป็นเสนาโยธาทั้งหลาย จงคืนเมือสู่บ้านสู่เมืองแห่งสูทั้งหลายเทอญ อันว่าลูกแลเมียพายบ้านแห่งสูทั้งหลายก็จัก คองเห็นหน้าชะแล ตทา ในกาลเมื่อนั้นบั้นคนทั้งหลาย คั้นว่าได้ยินพระยากล่าวดั่งนั้น เขาก็ยอมือไหว้ตั้งไว้เหนือหัวทุกคน ๆ ยังมีเสนาใหญ่ผู้เป็นแก่กว่าคนทั้งหลาย ท้าวพระยาใหญ่น้อยก็พร้อม กันว่าไหว้ท้าวเธอ ข้าไหว้เจ้าผู้หาทุกข์บ่ได้ ฝูงข้าทั้งหลายขออัญเชิญเจ้ากูทั้ง ๒ ให้ลงมาในท่ามกลางทัพที่นี้ ฝูงข้าทั้งหลายขอถวายยังเครื่องฝูงนี้ มีเครื่องศาตราวุธ หอก ดาบ และช้างม้าทั้งหลายฝูงนี้แก่เจ้าข้าทั้ง ๒ ขอให้ไว้ชีวิตแก่ฝูงข้าแด่เทอญ พระยาทั้ง ๒ พ่อลูกคันว่าได้ยินถ้อยคำฝูงโยธาเสนาอำมาตย์ไหว้ขอโยมดังนั้น เจ้าทั้ง ๒ก็ลงมาในกลางหมู่คนทั้งหลายแล้ว เขาก็ขออัญเชิญเจ้าทั้ง ๒ ขึ้นสู่ช้างมังคละตัวประเสริฐ อันห้างแล้วด้วยเครื่องประดับประดาทั้งหลายแล้ว ก็แห่แหนเอาพระยาทั้ง ๒ คืนมาสู่เมืองเชียงแสนเทพมหานครแล้ว ก็ขึ้นสู่วิชัยยนต์ผาสาทแล้ว เขาก็พร้อมกันถวายบ้านเมืองทั้งมวลแก่พระยาทั้ง ๒ ว่า เทวฝูงข้าไหว้มหาราชเจ้า บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลายขอถวายบ้านเมืองทั้งมวล ในอาณารัฐเขตต์ขงกงเมืองสามขาและเมืองน้อย ๑๒ หัวเมือง เป็นข้าส่วยไฮบ่ขาดแก่มหาราชเจ้าทั้งมวลก็ข้าเทอญ ตั้ง
๑๖๙ แฮกแต่วันนี้ไปหน้าขอมหาราชเจ้าจงเป็นเจ้าแก่ฝูงข้าทั้งหลายก็ข้าเทอญ เสนาอำมาตย์ท้าวพระยาก็พร้อมกันถวายบ้านเมืองและหอกดาบ ช้างม้าทั้งมวลแล้วเขาก็อำลามหากษัตริย์เจ้าแล้ว ก็หนีเมือหาบ้านหาเมืองแห่งพระยาสามขา อันเป็นที่อยู่แห่งตนก็มีแล อถตทา ในกาลเมื่อนั้นพระยาทรายฟองตนเป็นพ่อ เจ้าก็สั่งลูกแก้วใค่จักคืนมาหาบ้านเมืองแห่งตน ก็บอกให้หมู่เสนาทั้งหลาย ก็จงพร้อมกันปฏิบัติเจ้าพระยาตนเป็นลูกแห่งเฮา ไว้ให้เป็นนาคราชในเมืองเชียงแสนมหานครที่นี้อย่าได้ประมาทสักคนเทอญ เฮาพระองค์ก็ใค่จักคืนเมือหาบ้านเมืองแห่งเฮาก่อนแล พระยาก็สั่งเสนาอำมาตย์แล้ว ก็แต่งห้างจัดดาบสีคันไชและธนูทิพย์แล้ว ก็เสด็จมาด้วยลวงอากาศ สัมปัตโต ก็มาฮอดมาเถิงเมืองทรายฟองเทพมหานครแล้ว ก็ขึ้นสู่ผาสาทมีอำมาตย์เสนาหากชะพัศแวดล้อมอ้อมเป็นบริวารก็มีหั้นแล เจ้าก็สนุกชมชื่นยินดีด้วยชาวเมืองทรายฟองทั้งมวล ทำบุญให้ทานบ่ขาดทุกวัน ๆ ก็มีแล บ่อาจจักกัวเกงแต่ท้าวพระยาข้าเศิกทั้งมวล อันจักมาเถิงแก่บ้านเมืองก็หาบ่ได้สักแห่งก็มีแล เจ้าก็เสวยราชสมบัติในเมืองทรายฟองที่นั้นนานประมาณว่าได้ ๘๑ ปีแล้ว เจ้าสุระคตจุติจากฟากเมืองคน ได้เอาตนเมื่อเสวยสมบัติในเมืองฟ้าเสวยสุขก็มีแล กิริยาอาจารย์เจ้าผู้มีปัญญา จาแก้ไขในเรื่องเมืองทรายฟองจักเกิดมาภายหน้าให้นักปราชญ์เจ้าทั้งหลายผู้ฉลาดด้วยปัญญาจงพิจารณาในมโนทวารจื่อ จำไว้ อันเทพยูดาหากมาบอกแก่ชาวเมืองทั้งหลาย ให้เป็นนิทานอันจักมาภายหน้าบ่คาดบ่คา โดยดั่งนิมิตต์กำลัง สัมมัตตัง ก็เสด็จบรบวรควรเท่านี้ก่อนแล ตำนานเมืองพวน
ก่อนจะกล่าวเรื่องนี้ เราจะต้องกล่าวไว้ก่อนว่า ผู้ใดได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกที่ในแผ่นดินลาว กษัตริย์องค์แรกนั้นชื่อว่าขุนบัลลินนัว ได้เสวยราชย์ล่วงมาได้ประมาณหลายร้อยปีมาแล้ว และมีบุตรห้าองค์ ๆ หนึ่งได้เป็นเจ้าเมืองหลวงพระบาง องค์ที่สองได้เป็นเจ้าเมืองเวียงจันทน์ องค์ที่สามเป็นเจ้าเมืองพวน องค์ที่สี่เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ และองค์ที่ห้าเป็นเจ้าเมืองเขมร แต่การครอบครองเมืองเหล่านี้ก็ไม่ได้จัดให้ถูกต้องตามฐานาศักดิ์ของเจ้าเมือง และผู้ใดได้เป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าเมืองเหล่านั้นต่อไปข้าพเจ้าก็หาทราบไม่ กษัตริย์เมืองพวนองค์แรกที่ข้าพเจ้าทราบนั้นชื่อเจ้าหลวง ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว เจ้าชมภูผู้บุตรขึ้นเสวยราชย์แทน เจ้าชมภูล่วงไปแล้ว เจ้าเสียงผู้บุตรแทน ครั้นเจ้าเสียงล่วงไปแล้ว เจ้าน้อยผู้บุตรนั่งเมืองแทน เจ้าน้อยมีบุตรห้าองค์ ชื่อ เจ้าโพ, เจ้าทัพ, เจ้าพรหมมา, เจ้าอุง, เจ้าก่ำ แต่องค์แรกสี่องค์นั้นได้สิ้นพระชนม์ ยังอยู่แต่เจ้าก่ำได้ครองเมืองพวน กษัตริย์เวียงจันทน์องค์แรกนั้นชื่อเจ้าอินทร์ ครั้นล่วงไปแล้วเจ้านันทผู้เป็นน้องนั่งเมืองแทน ครั้นเจ้านันทล่วงไปแล้ว เจ้าอนุผู้เป็นน้องนั่งเมืองแทน เมื่อครั้งเจ้าชมภูเป็นเจ้าเมืองพวนประมาณ ๗๐ ปีมาแล้ว เมืองพวนได้ขึ้นกับหลวงพระบางและได้ส่งบรรณาการดอกไม้เงินปีละสองตำลึงทุก ๆ ปี เมื่อครั้งเจ้านันทได้เป็นเจ้าเมืองเวียง
๑๗๑ จันทน์ พระเจ้าแผ่นดินไทยได้มีโองการไปถึงเจ้าชมภูให้ยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง ซึ่งได้ตีได้สำเร็จ ฝ่ายน้องเจ้านันทได้เกณฑ์ให้คนหนึ่งชื่อเขียวเป็นแม่ทัพยกไปรบกับเจ้าชมภู ๆ ปราชัย เจ้านันทจับได้แล้วได้เอาตัวส่งมาเวียงจันทน์ ให้เอาตัวไปแทงเสียด้วยหอก ครั้นเพ็ชรฆาฎได้พาตัวเจ้าชมภูเดินทางมาถึงตำบลที่จะฆ่าแล้ว ก็เผอิญฟ้าผ่าถูกหอกซึ่งเพ็ชรฆาฏถือนั้นหักสบั้นไป ครั้นเจ้านันทเห็นเหตุเป็นดั่งนี้แล้วจึงสั่งให้ปล่อยเจ้าชมภูไปครองเมืองพวนตามเดิม และให้ส่งเครื่องบรรณาการแก่เมืองเวียงจันทน์ตามที่เจ้าชมภูได้ส่งแก่เมืองหลวงพระบางแต่ก่อน ครั้นอยู่มาเจ้านันทได้ล่วงไป เจ้าอนุจึงได้ครองเวียง-จันทน์แทน และในเวลาครั้งนั้นเมืองพวนได้อยู่ในการปกครองแห่งเจ้าน้อย ครั้นอยู่มาในปีกุน เจ้าอนุได้คิดกบฎยกกองทัพมาทำศึกกับพระเจ้าแผ่นดินไทย ๆ ได้จัดกองทัพออกไปตีทัพเจ้าอนุแตก เจ้าอนุจึงได้หนีเล็ดลอดไปเมืองญวน ณวันเสาร์แรมสองค่ำเดือนหกและได้ยกเมืองให้เป็นเมืองขึ้นกับเจ้าเมืองญวนเจ็ดเมือง คือ เมืองพวน เมืองเชียงกัน, เมืองสวย, เมืองจัมใหญ่, เมืองจัมน้อย, เมืองสอน, และเมืองลาม แล้วเจ้าเมืองญวนจึงให้เจ้าอนุไปอยู่ในเมืองพวน ซึ่งในเวลาขณะนั้นอยู่ในการปกครองแห่งเจ้าน้อย ซึ่งเป็นปู่ของพระพนมสารนรินทร ครั้นอยู่มาหน่อยหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินไทยได้ทราบความตามเรื่องราวเจ้าอนุแล้ว จึงได้โองการสั่งให้เจ้าพระยาโหราบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพ เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึ่งจัดให้พระพิเรนทรเทพคุมทหารเป็นทัพหน้ายกล่วงไปเมืองพวนก่อน แล้วเจ้าน้อยจึ่งได้ยกทัพออก
๑๗๒ มาบรรจบกับพระพิเรนทรเทพเจ้าจับเจ้าอนุได้ จึ่งได้ส่งตัวลงมากรุงเทพฯ ครั้นเจ้าเมืองญวนทราบข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินไทยจับเจ้าอนุไปได้ จึ่งได้ให้องรีบัดเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองพวนจับเจ้าน้อยและบุตรชายได้ ส่งมาเมืองญวน เจ้าเมืองญวนจึ่งให้เอาตัวไปแทงเสีย ครั้นเจ้าน้อยล่วงไปแล้ว เจ้าเมืองญวนจึงได้ตั้งให้เจ้าสานซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าน้อยนั้นขึ้นครองเมืองพวน และได้ให้ทหารไว้ ๓๐๐๐ สำหรับจะได้ป้องกันอาณาเขตต์ อยู่มาหน่อยหนึ่ง เจ้าสานเอาใจออกหาก เจ้าเมืองญวนมีหนังสือมาถึงพระพิเรนทรเทพว่าเมืองญวนนี้แต่ก่อนได้ เป็นอาณาเขตต์ของไทย และบัดนี้ขอให้พระพิเรนทร ฯ ยกกองทัพมาช่วยกันไล่พวกญวนออกไปเสียจากเมือง ครั้นพระพิเรนทร ฯ ทราบความแล้วจึงได้ยกกองทัพมาบันจบกับเจ้าสานล้อมพวกญวนไว้ และไล่ฆ่าฟันทหารญวนสามพันตายลงมาก ที่เหลือตายบ้างเล็กน้อยก็หนีไปเมืองญวน แล้วเจ้าสานจึ่งได้อพยพครอบครัวและชาวเมืองพวนมาตั้งบ้านเรือนอยู่หนองคาย แล้วให้เจ้าสากับเจ้าสาลีซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง คุมชาวเมืองพวนกลับไปครองเมืองพวนทั้งสองคน อยู่มาหน่อยหนึ่งพระพิเรนทรเทพได้พาเจ้าสานลงมาเผ้าพระเจ้าแผ่นดินไทย พระเจ้าแผ่นดินไทยจึ่งได้ทรงตั้งให้เป็นขุนนาง เมื่อครั้งเจ้าสานลงมาจากเมืองพวนแล้ว พวกชาวเมืองได้คิดประทุษฐร้าย จับเจ้าสากับเจ้าสาลีฆ่าเสีย ยกผู้อื่นขึ้นว่าการแทนได้ประมาณ ๑๕ ปี ครั้งนั้นเตดุยได้เป็นเจ้าเมืองญวน ๆ จึงสั่งให้ปล่อยบุตรเจ้าน้อย ซึ่งเจ้าเมืองคนก่อนได้จำคุกไว้นั้นกลับไปเมืองพวน ตั้งให้เจ้าโพครองเมือง ครั้นเจ้าเมืองหลวงพระบาง
๑๗๓ ทราบข่าวว่าเจ้าโพครองเมืองพวนจึงมีหนังสือไปถามว่า เจ้าโพจะยอมส่งเครื่องบรรณาการแก่หลวงพระบางตามเคยเหมือนอย่างบิดาเจ้าโพได้ส่งแต่ก่อนหรือไม่ ถ้าไม่ส่งแล้วจะยกกองทัพไปรบ, เจ้าโพจึงมีคำตอบไปว่า จะยอมส่งเครื่องบรรณาการแก่หลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงมีคำสั่งลงมายังกรุงเทพ ฯ ด้วยเรื่องเจ้าโพนั้น พระเจ้าแผ่นดินไทยจึงทรงพระอนุมัติออกไปให้เจ้าโพครองเมืองพวนต่อไป และในเวลาขณะนั้น เจ้าเมืองญวนได้ยกมาเบียดเบียฬเมืองพวนอยู่เนืองๆ เจ้าโพจึงได้สู้ยอมเสียส่วยให้ญวนอีกทุก ๆ ปี เพราะจะไม่ให้ญวนมาข่มเหงเบียดเบียฬต่อไป ครั้นอยู่มาเจ้าโพล่วงไป เจ้าอุงผู้เป็นน้องได้ว่าการแทน ในขณะนั้นพวกฮ่อได้มาย่ำยีชิงเอาหัวเมืองขึ้นซึ่งอยู่ปลายแดนข้างเหนือเมืองพวน คือเมืองลาใหญ่, เมืองลาน้อย, เมืองห้อ, เมืองคีว, เมืองลา, เมืองมัว, เมืองทัก, เมืองทาอวย, เมืองเมือก เมืองดอย, เมืองพวน ชาวเมืองเหล่านั้นเรียกว่ามอยแลภูไทย (แปลว่าไทย) แต่ว่าอยู่ในการปกครองแห่งญวน แลชื่อเหล่านั้นก็ได้เรียกตามคุณประโยชน์ของเมืองนั้น ๆ แล้วพวกฮ่อได้ยกมาตีเอาเมืองกัน, เมืองโสบัด, เมืองคำเหนือ, เมืองฮ่อ, เมืองคำใหญ่, เมืองลาน, เมืองออ, ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์, แล้วพวกฮ้อได้ยกไปตีเอาเมืองเชียงคำ ครั้นเจ้าเมืองญวนรู้ความว่าพวกฮ่อมาย่ำยีเบียดเบียฬเมืองขึ้น จึ่งได้จัดกองทัพยกไปรบฮ่อที่ตำบลบ้านขัวแขวงเมืองเชียงคำ แตกพวกฮ่อ, แล้วแม่ทัพญวนจึ่งได้มีหนังสือไปถึงเจ้าอุง ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพวนให้ยกมาช่วย แล้วเจ้าอุง เสียทีฮ่อ ตายที่บ้านบัว ทัพญวนก็แตก
๑๗๔ ยับเยินไป ไม่ได้มารบฮ่ออีก อยู่มาไม่ช้านัก พวกฮ่อมีใจกำเริบขึ้นยกมาตีเอาเมืองพวนได้ในปีคริสตศักราช ๑๘๗๓ ก่อนฝรั่งเศสทำหนังสือสัญญากับญวนปีหนึ่ง ครั้นเมืองพวนเสียแก่ฮ่อ พระพนมสารนรินทรซึ่งเป็นหลานของเจ้าอุง ได้อพยพครอบครัวเจ้าอุงลงมาหนองคาย, แลพวกฮ่อก็ได้ตามตีลงมาจนถึงเวียงจันทน์ ครั้งนั้นพระยามหาอำมาตย์ได้ออกไปเป็นข้าหลวงว่าการเมืองอุบล ครั้นทราบกิจการแห่งพวกฮ่อแล้วจึ่งได้ยกกองทัพขึ้นไปเวียงจันทน์ ตีทัพฮ่อแตกยับเยิน หนีไปได้แต่หกคนเท่านั้น ในเวลาขณะนั้น พระยาราชวรานุกูล ได้ยกกองทัพออกจากหลวงพระบางตามพวกฮ่อขึ้นไป ตีทัพแตกสองทัพ ๆ หนึ่งที่นาบัวอีกทัพหนึ่งที่ทุ่งเชียงคำ พวกฮ่อได้หนีตั้งบ้านเมืองที่ตีได้สิ้น ครั้นพระยามหาอำมาตย์ทราบว่าพวกฮ่อแตกหนีไปหมดแล้ว จึ่งได้ให้พระพนมสารนรินทรไปเป็นเจ้าเมืองพวนพลาง ๆ ครั้นอยู่มาภายหลัง เจ้าขันทีซึ่งเป็นบุตรของเจ้าอุงนั้นขึ้นว่าการเมืองพวน ล่วงมาได้ประมาณ ๑ ปีแล้ว ครั้นฮ่อรู้ข่าวว่าทัพไทยกลับ จึ่งได้ยกมาตีเอาเมือง ซึ่งตีได้แต่ก่อนนั้นกลับคืนได้สิ้น ตั้งแต่เวลานั้นมา ฐานทัพศึกฝ่ายไทย จึ่งได้มีอยู่กับพวกฮ่อเนือง ๆ จนทุกวันนี้ พวกฮ่อเหล่านี้คือพวกจีนซึ่งตั้งซ่องสุมอยู่ในป่าเที่ยวเป็นโจรตีปล้นบ้านเมืองเล็กน้อยในพวกนี้ แบ่งออกเป็นสามพวก ๆ หนึ่งมีธงดำเป็นสำคัญ พวกหนึ่งธงเหลืองเป็นสำคัญแลอีกพวกหนึ่งนั้นซึ่งตีเมืองพวนได้มีธงแดงเป็นสำคัญ
ตำนานเมืองพวน
เมื่อขุนลอผู้เป็นพี่อยู่ครอบครองเมืองหลวงพระบางอยู่เป็นสุขสบายแล้ว ขุนลอมีความคิดถึงเจ็ดเจืองผู้น้องซึ่งครอบครองเมืองพวนเพราะเจ็ดเจืองกับขุนลอสองพี่น้องมีความรักกันมาก ทั้งฝ่ายเจ็ดเจืองก็มีความคิดถึงพี่ เจ็ดเจืองจึงพาเอากำลังลงไปหาขุนลอผู้พี่ ครั้นเจ็ดเจืองลงไปถึงเมืองหลวงพระบาง ขุนลอผู้พี่ก็มีความยินดี ขุนลอจึงออกไปรับเจ็ดเจืองเข้าไปในเมือง ให้ที่พักรับที่ภูศรีกลางเมืองหลวงพระบาง ภูศรีนี้ชื่อเดิมชื่อเขากล้า ขุนลอแลเจ็ดเจืองสองพี่น้องก็พร้อมกันเข้าพักในที่ทำไว้นั้น แล้วท้าวพระยาแลชาวเมืองก็พร้อมมาทำขวัญเสร็จแล้ว พวกชาวเมืองก็มีความยินดี เจ็ดเจืองกับขุนลอสองพี่น้องนั่งเคียงกันอยู่แล้วก็สนทนากันด้วยราชการเมืองต่าง ๆ ขุนลอกับเจ็ดเจืองความคิดถูกต้องกันเหมือนดังความคิดพรหม แล้วขุนลอ จึงว่าเรานี้เป็นพี่น้องบิดามารดาเดียวกัน แต่เราต่างคนต่างได้ครอบครองเมือง เมืองเราสองพี่น้องเขตต์แดนใกล้ชิดติดกัน เราทั้งสองต้องประกอบด้วยความรักษาไมตรีอย่าให้เป็นที่แตกร้าวกันได้ ให้เหมือนดังพระบิดาได้สาบานน้ำให้เรากินนั้นเทอญ อนึ่งเราก็ควรจะหมายเขตต์ที่แดนติดต่อกันไว้ อย่าให้เป็นที่เสื่อมศูนย์ในกาลข้างหน้า ขุนลอแลเจ็ดเจืองคิดถูกกันที่จะแบ่งหมายเขตต์แดนเมืองพวนเมืองหลวงพระบางเพื่อจะได้ตั้งมั่นในชั่วมหากัลป แลจะได้เป็นหลักสืบไปจนบุตร
๑๗๖ หลานเหลน เจ็ดเจืองกับขุนลอจึงพร้อมจัดแต่งขุน ๘ นาย ให้ออกไปหมายเขตต์แดน กำหนดให้ขึ้นไปทางน้ำคาน ถ้าถึงภูเขาหลูบแล้วให้ตั้งที่นั้นเป็นต้น แล้วจึงแบ่งกันไปทางฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ ขุนทั้ง ๘ รับคำสั่งของขุนลอแลเจ็ดเจืองแล้ว แปดขุนก็รีบไป ครั้นขุนทั้ง ๘ ไปถึงเขาหลูบแล้ว แปดขุนก็พากันขึ้นไปถึงยอดเขาหลูบ แล้วก็พากันนั่งพักแบ่งกัน สี่ขุนให้ไปหมายเขตต์แดนฝ่ายเหนือ สี่ขุนให้ไปหมายเขตต์แดนฝ่ายใต้ สี่ขุนที่ไปทางใต้นั้นออกจากเขาหลูบ ไต่สันเขาหลูบไปถึงเขาโทน ไต่สันเขาโทนไปถึงเขากิ่วก่อง ไต่สันเขากิ่วกับกิ่วก่องไปถึงเขากิ่วคอง ไต่สันเขากิ่วคองไปถึงเขามอน ไต่สันเขามอนไปถึงเขากะแทะ ไต่สันเขากะแทะไปถึงเขากะทิงขึ้นเขากะทิงไต่สันไปถึงเขากะซิงขึ้นเขากะซิงไต่สันไปลงใส่บ้านค่วง จากบ้านค่วงถึงเมืองกายเมืองซองจากเมืองกายเมืองซองถึงหน้าง่าป่าแค จากหน้าง่าป่าแคไปถึงบ้านถินน้อย จากบ้านถินน้อยไปถึงนาขม จากนาขมไปลงใส่ห้วยใหญ่ ตามห้วยใหญ่ร่องถึงน้ำงึ่มที่ท่าหวาย จากท่าหวายน้ำงึ่มขึ้นเขาหงส์ไต่สันเขาหงส์ไปถึงสะกาบ้านด่านหินคอน จากสะกาบ้านด่านหินคอนไปถึงเสวตซ้อยเชียงค้อมปากซาว จากที่เสวดซ้อยเชียงค้อมปากซาว ลงไปใส่น้ำชันตามน้ำชันร่องถึงหาดทรายพวนริมน้ำชันออกจากหาดทรายพวนขึ้นเขากิ่วใต้ ไต่สันเขากิ่วใต้ไปถึงพนอมบ้านแดด จากพนอมบ้านแดดไปลงใส่ปากน้ำกะดิงในส่วนน้ำกระดิงนี้คือน้ำม่วนแต่ปากที่ออกต่อกับน้ำของเขาเรียกว่าปากกะดิง แล้วตามน้ำกะดิงขึ้นไป ถึงที่หมอนท้าวท่าเพียจากหมอนท้าวท่าเพียไปถึงยอดน้ำซุน จากยอดน้ำซุนไปถึงยอดน้ำยาง
๑๗๗ จากยอดน้ำยางขึ้นเขาแร้ว ไต่สันเขาแร้วไปถึงเขาใส ไต่สันเขาใสไปถึงเขาแสด ไต่สันเขาแสดไปถึงเขาผาดับ ไต่สันเขาผาดับไปลงใส่ยอดห้วยเผือก ตามห้วยเผือกร่องไปถึงห้วยหาดคาว แล้วข้ามน้ำโม้ขึ้นเขาผาหลวง ไต่สันเขาผาหลวงลงไปใส่เพียงบ้าง จากเพียงบ้างลงไปใส่น้ำโม้ ตามน้ำโม้ล่องถึงปากห้วยสวาง จากปากห้วยสวางขึ้นเขาหลวง ไต่สันเขาหลวงไปถึงแคว้นแร้วเมืองตำ จากแควนแร้วเมืองตำขึ้นเขาหลวงเมืองตำ ไต่สันเขาหลวงเมืองตำไปลงใส่น้ำเนินตามน้ำเนินขึ้นถึงปากน้ำลาน เท่านี้เป็นเขตต์เมืองพวนทิศบูรพ์ ฯ ที่นี้จะว่าด้วยสี่ขุนที่ขึ้นไปหมายเขตต์เมืองพวนกับเมืองหลวงพระบางฝ่ายเหนือตั้งต้นเขาหลูบที่แปดขุนแบ่งกันนั้น สี่ขุนที่ไปฝ่ายเหนือก็ตามน้ำคานขึ้นไปถึงปากน้ำคาว จากปากน้ำคาวตามน้ำคานขึ้นไป ถึงปากน้ำสวยแล้วขึ้นเขาปากน้ำสวย ไต่สันเขาปากน้ำสวยไปถึงต้นมะม่วงเค้าแดนเมืองที่มีผลสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นมะม่วงคำ อย่างหนึ่งเป็นมะม่วงป่าน จึงได้เรียกชื่อต่อ ๆ กันมาว่าต้นมะม่วงเค้าแดนเมืองตัน มะม่วงนั้นสูงตั้งแต่ดินขึ้นไปถึงค่าคบประมาณได้ ๕ วา โตได้ ๔ อ้อม จากต้นมะม่วงเค้าแดนเมืองไปถึงเขานางคำผง ไต่สันเขานางคำผงไปถึงบ้านตาด จากบ้านตาดลงไปใส่น้ำเสียบเมืองสันลงไปใส่ปากน้ำซิ่ว ตามน้ำซิ่วล่องไปถึงห้วยนาหลวง จากห้วยนาหลวงไปลงใส่ห้วยนาแร้ง ตามห้วยนาแร้งล่องถึงน้ำเนิน ตามน้ำเนินล่องถึงปากน้ำลาน แปดขุนที่แบ่งกันไปหมายเขตต์แดนเลยไปบรรจบกันในที่ปากน้ำลาน ตั้งแต่พ้นเมืองลานลงไปเป็นแดนดินเมืองประกันหลวง คือเมืองญวนแปดขุนหมาย
๑๗๘ เขตต์แดนแล้ว ก็พากันกลับลงไปยังเมืองหลวงพระบางเข้าไปเฝ้าขุนลอแลเจ็ดเจืองทูลการที่ได้ไปหมายสำคัญเขตต์แดน ขุนลอกับเจ็ดเจืองได้ทราบความของแปดขุนแล้วก็มีความยินดี การซึ่งเมืองลานช้างกับเมืองพวนได้แบ่งเขตต์แดนกันนี้ ขอให้เป็นหลักอันมั่นคงไปชั่วมหากัลป ใครอย่าได้เอาเขตต์แดนซึ่งกันและกัน จนชั่วบุตรหลานเหลนที่จะได้สืบสกุลต่อ ๆ ไปในข้างหน้า จนกว่ามหาสมุทรแห้งจนเห็นทรายพื้นสมุทรแห้งปลิวขึ้นไปทั่วโลก หรือว่าเขาพระสุเมรุล้มอันตรธานลงไปก็ดี หรือว่าไฟเกิดไหม้ในพัทกับปนี้ จึงให้ที่หมายเขตต์แดนและคำที่แบ่งปันเขตต์แดนกันนี้ ศูนย์เมื่อนั้นเมื่อใดในพัทกลัปนี้ยังตั้งอยู่ตราบใด ขอให้เขตต์แดนและคำที่ไว้สัญญาตกลงกันนี้ตั้งอยู่ตราบนั้น ถ้าใครไม่ฟังตามคำสัญญาที่ได้ตกลงกันนั้นให้ผู้นั้นดับไปเหมือนดังเพลิง และให้คนนั้นเล็กและน้อยและน้อยเข้าไปดังคนปอกกองปี และขอให้มีอันตราย ๑๐ ประการเกิดขึ้นในตัวตนนั้น และเมื่อคนนั้นตายขอให้ไปตกนรกหมกไหม้ให้มากกว่าแสนปี แลผู้นั้นอย่าได้มีอายุยืน ให้ปีในอายุสั้นเข้ามา คนนั้นแม้นปลูกต้นไม้อย่าให้โต ปลูกหวายก็อย่าให้ทันเถาหวายล่อนและแก่ แม้ผู้นั้นแหงนหน้าขึ้นไปบนให้ฟ้าผ่า คนนั้นไปป่าให้เสือกินแม้คนนั้นไปทางน้ำให้เงือกใหญ่กิน และให้อัปรีย์จัญไรถึงตัวคนนั้นทุกวันจนชั่วบุตรและหลานเหลนโหลน ใครอย่าได้ชิงเขตต์แดนซึ่งกันและกัน และอย่าได้ยกกำลังไปรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ถ้าราษฎรและช้าง ม้า โค กระบือ เมืองใดหนีอยู่ในเขตต์ของผู้ใดให้ส่งคืนให้กัน
๑๗๙ โดยดี เมืองใครให้เป็นเมืองคนนั้น เพราะเจ็ดเจืองกับขุนลอสองพี่น้องได้สาบานน้ำให้แก่กันแล้ว และคำที่กล่าวมานี้ขอให้มั่นคงอยู่ได้แสนมหากัลป จะได้เป็นหลักมั่นคงดังพัทธสีมาแก่พงศ์พันธุ์ต่อไป ถ้าผู้ใดไม่ฟังคำดังที่กล่าวมานั้น ถึงพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาก็อย่าให้เห็นผู้นั้น ครั้นขุนลอกับเจ็ดเจืองทำสาบานกันแล้ว เจ็ดเจืองก็ลาขุนลอผู้เป็นพี่กลับคืนไปยังเมือเชียงขวางดังเก่า ต่อ ๆ มาได้หลายชั่วแล้ว ครั้นเมื่อเจ้าสุวรรณปันลังได้ครอบครองเมืองหลวงพระบางใน เมื่อศักราช ๑๕๔๒ เจ้าสุวรรณปันลังจึงแบ่งเขตต์แดนของเมืองหลวงพระบางเดิมให้กับนายคำกองเมืองพวนอีก กำหนดเขตต์แดนเมืองหลวงพระบางที่เติมให้นายคำกองเมืองพวน คือตั้งแต่บ้านพริกบ้านผึ้งไปถึงเมืองคะมัง จากเมืองคะมังไปถึงเกาะจาวเหนือปากน้ำคะมัง จากปากคะมังไปถึงบ้านแขม จากบ้านแขมไปถึงบ้านขาม จากบ้านขามไปถึงบ้านครก จากบ้านครกไปถึงเกาะตรวสลาลาศ จากเกาะตรวจสลาลาศไปถึงยอยไฮ จากยอยไฮไปถึงพวกรัก จากพวกรักไปถึงบ้านเกิน จากบ้านเกินไปถึงปากน้ำทะวาย จากปากน้ำทะวายถึงหอคำ จากหอคำไปถึงฮางชิงปากน้ำเนียด จากปากน้ำเนียดไปปากน้ำชัน จากปากน้ำชันไปถึงปากห้วยขอก จากปากห้วยขอกไปถึงเชียงษา จากเชียงษาไปถึงเมืองษา เหล่านี้เจ้าลานช้างได้จัดเติมให้แก่เมืองพวน ครั้นมาถึงเมื่อศักราช ๑๕๖๐ เจ้าเชฐวังโศได้ครอบครองเมืองหลวงพระบาง จึงซ้ำยกเขตต์แดนที่ท่ากือริมน้ำ
๑๘๐ คานให้กับเมืองพวนอีก เพื่อมิให้เสียทางไมตรีพี่น้องกัน ตามดังกษัตริย์แต่ก่อนที่ได้เคยยกเขตต์แดนแก่กัน เขตต์แดนดังที่กล่าวมาแล้วนั้นมิใช่เป็นเขตต์ของเมืองหลวงพระบางแล้ว หาเป็นเขตต์แดนของเมืองพวนโดยแท้ ต่อนี้ไปจะกล่าวถึงแดนเมืองคำเกิดคำม่วน อันเจ้าเมืองคำเกิดคำม่วนได้ยกเขตต์แดนเมืองมาให้กับเมืองพวน จำเดิมต้นเหตุที่พระยาเมืองคำเกิดคำม่วนจะยกเขตต์แดนมาเป็นของพวนนั้น เจ้าเมืองคำเกิดได้กระทำความผิดต่อน้องเจ้าเมืองพวน เจ้าเมืองพวนจึงปรับไหมเจ้าเมืองคำเกิดคำม่วนเป็นเงินตายหนักร้อยเจ็ดสิบหกชั่งสี่สิบบาท กับทองคำหนักร้อยสี่สิบเจ็ดชั่งสิบเก้าตำลึงสองบาทกับสลึงเฟื้อง พระคำเกิดทั้งท้าวเพี้ยกรมการราษฎรพากันกลัวเจ้าเมืองพวน เพราะหาเงินทองที่เสียค่าปรับไหมไม่มี เจ้าเมืองคำเกิดและท้าวเพี้ยกรมการทั้งหลายจึงพร้อมกันยกเมืองคำเกิดคำม่วน ทั้งเขตต์แขวงของเมืองคำเกิดคำม่วนให้กับเมืองพวน ในเมื่อศักราช ๙๔๕ ปีมะแมเบ็ญจศก พระคำเกิดได้ยกเขตต์แดนเมืองคำเกิดคำม่วนและไพร่พลเมืองมาเป็นเขตต์ของเมืองพวน เพื่อจะใช้แทนเงินค่าปรับไหมกำหนดเขตต์แดนที่เจ้าเมืองคำเกิดคำม่วนได้ยกเขตต์แดนมาเป็นเขตต์เมืองพวน ตั้งแต่เขตต์เมืองโม้และเมืองม่วนใหญ่ เมืองม่วนน้อย เมืองพึง จากเมืองพึงไปเมืองแสด จากเมืองแสดไปถึงเมืองหนาง จากเมืองหนางไปถึงเมืองราช จากเมืองราชไปถึงเมืองจอย จากเมืองจอยไปถึงเมืองจวน จากเมืองจวนไปถึงบ้านแซยางและนาเดื่อ จาก
๑๘๑ นาเดื่อไปถึงเชียงซางเชียงหิน จากเชียงซางเชียงหินไปถึงปากน้ำม่วน จากปากน้ำม่วนขึ้นไปถึงปากน้ำงอม จากปากน้ำงอมไปถึงแดนเมืองพึง จากแดนเมืองพึงออกไปฝ่ายซ้ายไปถึงแดนเมืองจอง จากแดนเมืองจองขึ้นเขาหนอก ไต่สันเขาหนอกไปลงใส่ดอนแม่ค้อม จากดอนแม่ค้อมขึ้นฝ่ายเหนือไปถึงต้นมะม่วงใหญ่ เอาต้นมะม่วงใหญ่เป็นที่สำคัญหมายเขตต์แดนจากต้นมะม่วงขึ้นเขากำและเขาลานต่อไปถึง เขายำไก่ จากเขายำไก่ไปลงใส่ยอดน้ำยวน จากยอดย้ำยาวนลงไปใส่ยอดน้ำโม้ เอาน้ำโม้เป็นเขตต์แดน เท่านี้พระยาคำเกิดได้มอบเขตต์แดนมาเป็นเขตต์แดนเมืองพวน เหล่านี้ทั้งสิ้นเป็นเขตต์แดนเมืองพวน ขอให้เขตต์แดนดังที่กล่าวมานี้ มั่นคงไปชั่วในพัทกัลปนี้ เพราะกฏหมายสำหรับเมืองมีที่ได้ยกเขตต์แดนใช้หนี้ซึ่งกันและกัน ขอจงพากันฟังเถิดนักปราชญ์และท้าวเพี้ยกรมการราษฏรทั้งหลาย เขตต์แดนที่ได้กล่าวมานี้เป็นเขตต์บ้านเมืองของเรา ถ้าผู้ใดเป็นคนราชการก็จงพากันจำออกที่หมายเขตต์แดนดังกล่าวมาแล้วนั้น เพราะพระเดชพระคุณของเจ้านายของเรามากอาจที่จะนับไม่ได้ เหตุว่าขุนบรมราชาได้ให้มาเป็นเจ้าแห่งเราทั้งหลายเป็นสิ้นเขตต์แดนเมืองพวนแต่เพียงนี้
พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์
จุลศักราช ๑๒๕๕ ตัวปีมะเส็งเป็นเดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ วันเสาร์องค์เป็นเจ้ากัติยะได้สร้างตำนานเมือง แผนเมือง และโศกเมือง และอัครนามตามโบราจริยมาดังนี้ ให้พิจารณาเอาเทอญ
อันนี้แผนเมืองฉะบับหนึ่งแล ศักราช ๕๗( ๑ ) ปีไค้ (กุน) เจ้าองค์หล่อนิพพานต์ ศักราชได้ ๖๐ ทัศปียี (ขาล) พระไชยเข้าเมือง ศักราช ๖๘ ปีเส็ด (จอ) จันธุลงโขน ศักราชได้ ๖๙ ปีไค้ (กุน) น้ำท่วมหลวง ศักราช ๗๐ ทัดปีไจ้ (ชวด) อาชญาเจ้าทั้งสองขึ้นตั้งทรายฟอง ศักราชได้ ๗๔ ปีสี (มะโรง) ไฟไหม้ทุ่งฝน ศักราชได้ ๗๕ ปีไส้ (มะเส็ง) ครัวขึ้นตั้งเมืองคุก ศักราชได้ ๘๐ ทัดปีเส็ด (จอ) เมืองฮมคต (ขบถ) กวาดครัวออก ศักราชได้ ๘๘ ปีซะง้า (มะเมีย) เศิกเพี้ยฮม ศักราชได้ ๙๒ ปีเส็ด (จอ) พนมแตกทีก่อน ศักราชได้ ๙๘ ปีสี (มะโรง) พนมผ้าขาวพนางแตก (๑) จ.ศ. ๑๒๕๗
๑๘๓ ศักราชได้ ๑๔ ตัวปีเส็ด (จอ) อากาศสูนตะวันมืดปีนั้น (สุริย-คาธ) อาชญาเจ้านิพพานก็แม่นปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๗๐ ตัวปีเป้า (ฉลู) เจ้าองค์หลวงนิพพาน ศักราชได้ ๑๘๐ ตัวปีมด (มะแม) อาชญาเจ้าบุญได้เวียงจันทน์ ศักราชได้ ๑๒๐ ทัศปียี (ขาล) ปาศักแตก (จำปาศักดิ์) ศักราชได้ ๑๒๔ ปีมด (มะแม) ครัวแสนนครไชยแตก ขึ้นเวียงจันทน์ ศักราชได้ ๑๒๘ ปีเส็ด (จอ) แผ่นดินไหว เศิกหมื่นจุมก็แม่นปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๒๙ ปีไค้ (กุน) แกว (ญวน) ม้าง (รบ) เมืองลคร ศักราชได้ ๑๓๔ ปีสี (มะโรง) เจ้าวงเมืองหลวง (หลวงพระบาง) มาเลว (รบ) เวียงจันทน์ แผ่นดินไหวก็แม่นปีนั้น เศิกผ้าขาวเป็นปีเก่าเท่าฮอดปีใหม่ ศักราชได้ ๑๓๙ ปีเมิงเฮ้า ( ระกา ) บาศัก แตกเดือน ๔ อาชญาปาศักดิ์เข้าเมืองไทยเดือน ๗ ศักราชได้ ๑๔๐ ทัดปีเส็ด (จอ) เจ้าพระวอและเมืองลครแตกเดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันจันทร์ ศักราชได้ ๑๔๑ ปีกัดไค้ เวียงจันน์แตก ศักราชได้ ๑๔๒ ปีไจ้ (ชวด) เจ้าเวียงจันทน์คืน (กลับมาเมือง) เดือนเจียง (อ้าย)
๑๘๔ ศักราชได้ ๑๔๕ ปีกาเม่า (เถาะ) สังฆะ (สงฆ์ ) เมืองลาวเข้าเมืองไทย ศักราชได้ ๑๔๘ ปีชะง้า (มะเมีย) อาชญาเจ้านันทได้เมืองพวน (เชียงขวาง) แล ศักราชได้ ๑๔๙ ปีมด แกวเบียนยาก (ญวนเบียดเบียฬ) ศักราชได้ ๑๕๐ ทัดปีสัน อาชญาเจ้านันท์ได้เมืองหลวง (หลวงพระบาง) แล ศักราชได้ ๑๕๓ ปีไค้ (กุน) จำปาศักดิ์นิพพานเวียงจันทน์เมืองนครเจ้าสมพมิตแตกแกว (ยวน) ก็แม่นปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๕๖ ปียี (ขาน) ไทยเอาเจ้านันท์ใส่ซีก (ตรวน) ศักราชได้ ๑๕๙ ปีไส้เจ้าอินมาม้าง (รื้อ) กอนงัว ศัราชได้ ๑๖๓ ปีฮวงเฮ้า (ระกา) เจ้าอินและเจ้าปาศักดิ์แลหัวเมืองทั้งหลายมาพัง (ทำลาย) โพค้ำแต่ปีเก่าเท่าฮอด (จนถึง)ปีใหม่ ศักราชได้ ๑๖๔ ปีเส็ด (จอ) แกว (ยวน) มาแต่ใต้ ศักราชได้ ๑๖๕ ปีไค้ (กุน) เจ้าบางกอกองค์น้องนิพพานเจ้าอึ่งก็นิพพาน คนทั้งหลายตัดผมก็แม่นปีนั้นแล ศักราช ๑๖๒ ตัวปีกาบไจ้(ชวด)อาชญาแม่เจ้าบังมุก (มุกดาหาร) จุติ (ตาย) แล ศักราชได้ ๑๖๘ ตัวปียี (ขาน) เจ้าอนุแลเมืองนครแลบังมุก(มุกดาหาร) สร้างขัว (สพาน) ในพระมหาธาตุวัดท่ง (ทุ่ง) บ่ (ไม่) ทันแล้ว ๑๘๕ ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า (เถาะ) เจ้าอนุเวียงจันทน์กลับเมืองละครบังมุก (มุกดาหาร) พร้อมกันฉลองขัว (สพาน) ในพระมหา ธาตุแลวัดท่ง (ทุ่ง) เสตสัด (เสวตรฉัตร์) ธาตุหักก็แม่นปีนั้นอาชญาเจ้าบังมุก (มุกดาหาร) จุติ (ตาย) ก็แม่นปีนั้น ศักราชได้ ๑๗๑ ตัวปีไส้ (มะเส็ง) เจ้าบางกอกผู้พี่ก็ จุติ(สวรรคต) แล ศักราชได้ ๑๗๓ ตัวปีมด (มะแม) เจ้าน่าปาศักดิ์จุติ (ตาย)แลพื้นบาทเจ้านุนิพพานก็แม่นปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๗๔ ตัวปีเตาสัน (วอก) เจ้ามหาชีวิตเวียงจันทน์ลงมาฉลองหอพระในพระมหาธาตุ แลแผ่นดินไหวเดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำวันเสาร์ก็แม่นปีนั้น ศักราชได้ ๑๗๗ ตัวปีฮับไค้ ( ) อาชญาเจ้าอุปฮาดบังมุก(มุกดาหาร) จุติ (ตาย) เดือน ๑๐ (แรม ๑๕ ค่ำ) วันพุธเจ้าเมืองค่ำทองหนีจากเมืองขึ้นมาถึงบังมุก (มุกดาหาร) ก็แม่นปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๗๘ ตัวปีฮวยไจ้ (ชวด) กักแห้งแล้งหลวง คนทั้งหลายตายอึด (อด) เข้าแล ศักราชได้ ๑๗๙ ตัวปีเป้า (ฉลู) อาชญาเจ้าบางกอกองค์น้องนิพพานน้ำท่อมหลวงก็แม่นปีนั้นแล ศักราชขได้ ๑๘๑ ตัวปีเม่า (เถาะ) ข่ามาจุด (เผา) เมืองปาศักดิ์ (นครจำปาศักดิ์) เมืองอัตปือแตกปีนั้น ศักราชได้ ๑๘๓ ตัวปีไส้ (มะเส็ง) คนตายพากหลวง (อหิวาตก- โรค) ในเมืองลานช้าง (เวียงจันทน์) ก็แม่นปีนั้น ๑๘๖ ศักราชได้ ๑๘๔ ตัวปีสง้าเจ้าเวียงจันทน์ให้ลูกชายลงไปนั่งเมืองปาศักดิ์ ( นครจำปาศักดิ์ ) เดือนเจียง ( เดือนอ้าย ) แต่ปีเก่าเท่าฮอด (ถึง) ปีใหม่ ศักราชได้ ๑๘๕ ตัวปีมด ( ) ไทยออกมาสักเลขเมืองลาวทั้งหลาย นอกกว่า (เว้นแต่) เวียงจันทน์แต่ปีเก่าเท่าฮอดปีสัน ( ) ศักราชได้ ๑๘๖ ปีสัน ( ) เจ้าบางกอกนิพพานเดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำ วันพุธ ศักราชได้ ๑๘๙ ปีไค้ ( ) เจ้าเวียงจันทน์ยกกำลัง (พล) ไปตีไทยเดือนสามบ่ (ไม่) ได้ จึงทบ (กลับ) คืนมาฮอด (ถง) เวียงจันทน์ ศักราชได้ ๑๙๐ ปีไจ้ (ชวด) เดือน ๖ แรม ๒ ค่ำวันศักร์ เวียงจันทน์จึงแตกคืนมาอยู่เมืองมหาไชยฮอด (ถึง) เดือน ๘ เจ้าเวียงจันทน์จึงลงมาอยู่เมืองแกว (ญวน) ศักราชได้ ๑๙๑ ปีเป้า ( ) เจ้าเวียงจันทน์เสด็จคืนเมือฮอดเมือง (ถึง) เดือน ๑๑ ไทยจึงได้เจ้าเวียงจันทน์แล ศักราชได้ ๑๙๕ ตัวปีไส้ เศิกไทยมาตีเมืองมหาไชยแตก เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำวันอังคารแล
๑๘๗ โอมนโมเมสิทธิเชยยะวะวิวิเชยยันต์ สิทธิกิจังสิทธิโลภังรปาตะติตากัดสะโกวา คุรุวินัง มหะโสธาธินิระสิละนากะโยวาชิยะเนชะเนหิตานังกร อันนี้คาถาไปเฝ้าเจ้าแล
อันนี้แผนเมืองฉะบับหนึ่งแล ศักราชได้ ๖๐ ตัว พระไชยนั่งเมืองปียี (ขาน) แล ศักราชได้ ๖๑ ปีกัดเม่า ( ) พระยานงขึ้นมาเมืองแล ศักราชได้ ๖๒ ปีกดสี ( ) ข้าหลวงนำบุนกวาดขึ้นมาแล ศักราชได้ ๖๓ ปีฮวงไส้ ( ) ข้าหลวงนำนางขึ้นมา ศักราชได้ ๖๔ ปีเตาสะง่า ( ) เพีนไปม้าง ( รื้อ ) ละครเอาเมืองนั้นขึ้นมา ศักราชได้ ๖๕ ปีกามด ( ) เพีนเอาเมืองจันทน์ป่าวปักลงเสีย ศักราชได้ ๖๖ ปีกาบสัน ( ) เพินไปเอาราชวงศ์พระ-นครแล ศักราชได้ ๖๗ ปีฮับเฮ้า เมืองจันลงโขนแล ศักราชได้ ๖๘ ปีฮวยเส็ด เจ้าบ้านท่ากวาดครัวนอกเข้ามาใน ศักราชได้ ๖๙ ปีเมีงไค้น้ำท่วมหลวงไหลช้าง ศักราชได้ ๗๐ ปีเปิกไจ้ ( ) เศิกโขงขึ้นมาตั้งเวียงคุกแล ศักราชได้ ๗๑ ปีกัดเป้า ( ) เจ้าใต้มาตั้งทรายฟอง
๑๘๘ ศักราชได้ ๗๓ ปีฮวงเม่ากวาดครัวท่งฝนเดือนเจียง ( อ้าย ) ทรายฟองแตกไปตั้งสง้อแล ศักราชได้ ๗๕ ปีกาไส้ ( ) เจ้าโอเทวะลัสะเจ้าบ้านทานซ้ำไปไล่หนีแล ศักราชได้ ๗๖ ปีกาบสะง่า ( ) เจ้าบ้านท่านกวาดครัวภูเวียงลง ศักราชได้ ๗๙ ปีเมิงเฮ้า ( ) น้ำท่วมเมืองแล ศักราชได้ ๘๐ ปี เปิกเส็ดเก็บฮมขง ศักราชได้ ๘๘ ปีฮวยสะง่า ( ) เป็นเศิกดอนตูมเพี้ยปู่แล ศักราชได้ ๙๒ ปีกดเส็ดพระไชยนิพพานแล เดือน ๖ เพ็ง จึงหด (ยก) เจ้าบุญนั่งเมืองนั้นแล ศักราชได้ ๙๓ ปีฮวงไค้ ( ) ออมกลืม ศักราชได้ ๙๘ ปีฮวงสี ( ) เจ้าคำตาย ขุดหลุมภูเดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ วันศุกร์ไปธาตุพนมปีนั่น ศักราชได้ ๙๙ ปีเมิงไส้ธาตุดอกช้อย ๆ ศักราชได้ ๑๐๑ ปีกัดมด ( ) น้ำท่วมไหลอีทุม ศักราชได้ ๑๐๒ ปีกดสัน ( ) เศิกบ้านเป้า ศักราชได้ ๑๐๒ ปีฮับเป้า เจ้าอุปราชคด ( ขบถ ) แก่องค์หลวงองค์โตนั่งเมืองก็ปีนั้น ศักราชได้ ๑๑๑ ปีกัดไส้ ( ) เจ้าทั้งสองได้บ้านโชกปีพระลางพร้อมกัน
๑๘๙ ศักราชได้ ๑๑๓ ปีฮวงมด ( ) เจ้าทั้งสองได้เวียงจันทน์แล ศักราชได้ ๑๑๖ ปีกาบเส็ด ( ) สอง ( ฉลอง ) ธาตุหลวงขึ้นโคบ ( ปิด ) จังโกก็ปีนั้น ศักราชได้ ๑๑๙ ปีเมิงเฮ้า น้ำท่วมไหลอีแก้ว ศักราชได้ ๑๒๑ ยอ (ยก) หอ ศักราชได้ ๑๒๒ ปีกดสี ( ) เจ้าแผ่นหนีจากเมือง ศักราชได้ ๑๒๖ ปีกาบสัน ( ) ซา (เล่าลือ) เศิกโขง ศักราชได้ ๑๒๗ ปีฮับเฮ้า ( ) เดือน ๔ เพ็งวันจันทน์ กบกินเดือนยอ (ยก) หอพระแก้วเทีง (บน) หนองเต่า ศักราชได้ ๑๒๘ ปีฮวยเส็ด ( ) เดือน ๘ เพ็งพระไชยน้อยเอาลูกสาวถวาย ศักราชได้ ๑๒๙ ปีเมิงไค้ ( ) เศิกหมื่นจุมเสียราชบุตรย้อน ศักราชได้ ๑๓๐ ปีเปิกไจ้ ( ) เอาเจ้าองค์นางเมือ (ไป) ม่าน ศักราชได้ ๑๓๑ ปีกัดเป้า ( ) ลงทัพไชยทุ่งหนองด้วง ศักราชได้ ๑๓๗ ปีฮับมด ( ) ฉลองหอพระบางเพินสร้างปีกายนั้น ศักราชได้ ๑๔๐ ปีเปิกเส็ด ( ) สร้างภูทรวงแล ศักราชได้ ๑๔๑ ปีกัดไค้ ( ) เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์แตกเศิกไทยวันนั้น ๑๙๐ ศักราชได้ ๑๔๘ ปีฮวยสะง่า ( ) เจ้านันทไปตีเมืองพวน ( เชียงขวาง) แตกปีนั้น เดือน ๖ ขึ้นน้ำฟ้าลำพู้น (โน้น) ก็ปีเดียวนั้นแล ศักราชได้ ๑๔๙ ขึ้นตีเมือง ( หลวงพระบาง ) ฮวด (ถึง) ๑๕๐ ปีเบีกสัน ( ) เมืองหลวงแตกเดือน ๖ เจ้าฝ่ายหน้าตายแลเอาเจ้าชุมภูลงมาแต่เมืองขวางก็ปีเดียวนั้นแล ศักราชได้ ๑๕๐ ปีกัดเฮ้า ( ) ไปขุดคลองเมืองไทย ศักราชได้ ๑๕๒ ปีกดเส็ด ( ) จึงคืนมาและเอาธิสารเมืองพวนลงมาก็แม่นปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๕๓ ปีฮวงไค้ ( ) แตกเศิกแกว ( ยวน) เสียเจ้าอุปราช ศักราชได้ ๑๕๔ ปีเต่าไจ้ เจ้าแกว (ยวน) วาดครัวนอกลงถิ่น ศักราชได้ ๑๕๕ ปีกาเป้า ( ) เข้าแพงนักเป็นพ้อมฮ้อยนับหกสารเป็นโปะ (ทะนาน) ๓๐๐๐ เบี้ยแต่ มื้อดอก ศักราชได้ ๑๕๖ ปีกาบยี ( ) เดือนเจียง (อ้าย) ขึ้น ๔ ค่ำ เจ้านันท์หนีไปไทย เจ้าองค์หลวงมาก็ปีเดียวนั้น ศักราชได้ ๑๕๗ ปีฮับเม่า ( ) จึงได้นั่งเมืองแลเมือ (ไป) เศิกเมืองแถงก็ปีเดียวนั้น ศักราชได้ ๑๕๘ ปีฮวยสี ( ) แก่พระเจ้าวัดใต้แลสาวราชเหล็กเฮย
๑๙๑ ศักราชได้ ๑๕๙ ปีเมีงใส้ ( ) เศิกพระนาคีบ่ได้คืนมาโลดไปเลว (รบ) พระมาเมืองเชียงใหม่ก็ในปีนั้น ศักราชได้ ๑๖๐ ซ้ำว่าไปเลว (รบ) พะม่าไปฮอด (ถึง) เมืองระแหงหั้นบ่ได้ไปลวดกลับคืนมา ศักราชได้ ๑๖๑ ปีกัดมด ( ) ไปเอาอาชญาคำเกิดกับไพร่มาอยู่เชียงหัวซายหมด ศักราชได้ ๑๖๒ ปีกดสัน องทวยมาขอกำลังไปตีประกันขึ้นทางเมืองพวนกวาดคืนมา เจ้าแกวบ่วายเสียธาตุ ศักราชได้ ๑๖๓ ปีฮวงเฮ้า พระยาสุโพ ฯ เป็นแม่ทัพไปตีแกวท่าสีดา เจ้าอินทไปพอก (ปิด) ธาตุ ไทยมาเมืองนคร ๒,๐๐๐๐ ตามพระยาใต้น้ำ ศักราชได้ ๑๖๔ ปีเต่าเส็ด ( ) เจ้าอินทเมือเศิกเชียงแสนบ่ได้ ศักราชได้ ๑๖๕ ปีกาไค้ ( ) เจ้าหลอนิพพานเดือนสาม ขึ้น ๗ ค่ำวันศุกร์แล ศักราชได้ ๑๖๖ ปีกาบไจ้ พระศรีหะตะนุได้นั่งเมืองแล ศักราชได้ ๑๖๘ ปีฮวยยี ( ) เจ้าเวียงจันทน์สร้างโฮง ( วัง ) แล ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า ( ) เจ้าเวียงจันทน์ไปฉลองขัว (สะพาน) ธาตุ ศักราชได้ ๑๗๐ ปีเปิกสี ( ) สร้างวัดหนองคาย
๑๙๒ ศักราชได้ ๑๗๕ ปีเต่าสัน ( ) เดือนเจียง (อ้าย) แรม ๔ ค่ำวันอังคารเจ้าเวียงจันทน์ไปฉลองวัดธาตุ คืนมาเมื่อเดือนยี่ ขึ้นสามค่ำวันพฤหัศบดีฮอด (ถึง) มื้อ (วัน) นั้นเดือนสามเพ็งตั้งบุญหลวงเท่า ฮอด (จนถึง) มื่อฮับ ( ) จึงแล้ว สร้างขัว (สพาน) ข้ามของก็ปีนั้น เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ วันเสาร์ มื่อ (วัน) เมีงไค้ ( ) ยามใกล้รุ่งแผ่นดินไหวแล ศักราชได้ ๑๗๖ ปีกาบเส็ด ( ) เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำวันจันทร์มื่อ (วัน) เมิงไค้ ( ) เทวดาลั่นกลอง (ตีกลอง) เท่าฮอด (จนถึง) ๓ ค่ำวันอังคารจึงอย่า (หยุด) แล เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ วันอาทิตย์ยามกลองแลง ( บ่ายสามโมงเศษ ) ลมหลวง ศักราชได้ ๑๗๘ ปีฮวยใจ้ ( ) เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำวัน อาทิตย์ ตั้งบุญหลวงฉลองหอพระแก้ว หอไต (หอไตร) ให้ทานผ้า ๗๐๐๐ ผืน แรม ๗ ค่ำจึงแล้วแล ศักราชได้ ๑๗๙ ปีเมิงเป้า เจ้าหลวงนิพพาน ศักราชได้ ๑๘๒ ปีกดสี ( ) เดือน ๗ ผีห่า (อหิวาตะกะโรค) กินคนเท่าฮอด (จนถึง) ปีฮวงไส้จึงหายแล ศักราชได้ ๑๘๓ ปีฮวงใส้ ( ) เดือนยี่ขึ้น ๙ ค่ำวันอังคาร มื่อ (วัน) ฮับเฮ้า ( ) เจ้าแผ่นดินเสด็จจากเมืองไปสร้างเมืองปาศักดิ์ ( จำปาศักดิ์) เจ้าราชบุตรไปนั่ง (เป็นเจ้าเมือง) แล ศักราชได้ ๑๘๖ ปีกาบสัน ( ) เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำวันพุธมื่อกดไจ้ ( ) ตั้งบุญหลวงฉลองวัดศรีสระเกษ มื่อ (วัน)
๑๙๓ ๙ ค่ำแก่ฮูบ แฮม ( แรม ) ๒ ค่ำไฟ, เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ วันเสาร์มื่อ (วัน) ฮับมด ( ) ไหล (ล่องน้ำ) ท้างศุขสาวสั้น เจ้าเมืองไทยนิพพานปีนั้น ศักราชได้ ๑๘๗ ปีฮับเฮ้าเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำวันอาทิตย์มื่อ (วัน) กาบสัน ( ) ลมเพ (พัง) หอพระบาง, เดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ มื่อ (วัน) เมิงไค้ ( ) ยามกองแลง (บ่าย ๓ โมงเศษ) ลมหลวง (พยุใหญ่) เพโฮง (พังวัง) เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำวันอังคารมื่อกัดไค้แผ่นดินไหว ศักราชได้ ๑๘๘ ปีฮวยเส็ด ( ) เดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ วันอังคารยามกองงาย ( เวลาเช้า ๓ โมง ) ยอ (ยก) หอพระบางตะวันออก ๒ หน่วย (ลูก) แล ศักราชได้ ๑๘๙ ปีเมิงไค้ ( ) เดือน ๖ แรม ๒ ค่ำวันศุกร์แตกไทยแล ศักราชได้ ๑๙๐ ปีเปิกไจ้ ( ) เดือน ๗ เจ้าเวียงจันทน์คืนมาฮอด (ถึง) ฆ่าไทยตัว (กะโดด) หนี, เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ ไทยคืนมาไล่แตกหนีจากเวียงจันทน์ ศักราชได้ ๑๙๑ ปีกัดเป้าเดือนเจียง (อ้าย) ขึ้น ๓ ค่ำเจ้าน้อยเมืองพวน (เชียงขวาง) เข้ามาฮอด (ถึง) มื่อ (วัน) ๙ ค่ำออกมาแรม ๓ ค่ำไปเมืองแกว (ญวน) แล ศักราชได้ ๑๙๒ ตัวปีกดยี ( ) พระยาพิไชยขึ้นมาเอาครัวเมืองหลวง (หลวงพระบาง) โลด (เลย) จับเอาเจ้าอุปราชเมือง
๑๙๔ หลวง เดือน ๕ พระยาพิไชยตายในเมืองหลวงก็ปีเดียวกันนั้นแล้ว เดือน ๘ เพ็งวันจันทน์เจ้าของนั่งเมืองพานก็ปีนั้นเจ้าสุวรวงษาเอาครัวแต่หนองบัวมาตั้งอยู่หนองคายก็ปีเดียวกันนั้นแล้ว ศักราชได้ ๑๙๓ ปีฮ่วงเม่า ( ) ศักราชได้ ๑๙๔ ปีเต่าสี ศักราชได้ ๑๙๕ ตัวปีกาใส้เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำวันจันทร์พระพิเรนทร์ ยกทัพเมือตีเมืองเชียงขวาง, เดือน ๔ แรม ๘ ค่ำเมืองพวนแตกแล ศักราชได้ ๑๙๖ ปีกาบสะง่า พระพิเรนทรเทพยกทัพจากเมืองหนองคายเมือตีเมืองพวนบ่ (ไม่) ได้คืนมา ศักราชได้ ๑๙๗ ปีฮับมด ( ) เดือน ๕ พระพิเรนทรเทพเอาเจ้าของเมืองพวนไปจากเมืองหนองคายไปไทย ศักราชได้ ๑๙๘ ปีฮวยสันเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำวันเสาร์ มื่อเต่าสี ( ) ยามกองแลง ( บ่าย ๓ โมงเศษ ) แผ่นดินยะ (แยก) วัดหอกองต่อหน้าพระเสรีมแล ศักราชได้ ๑๙๙ ปีเมีงเฮ้า ศักราชได้ ๒๐๐ ปีเปิกเส็ด เจ้าเถื่อนออกจากเมืองมหาไชยมาถึงเมืองหนองคายเดือนยี่ขึ้น ๑๒ ค่ำวันศุกร์มื่อกดเส็ด ( ) ยามเที่ยงวันแล ศักราชได้ ๒๐๑ ปีกัดไค้ เจ้าเมืองหนองคาย (ยก) วัดโพไชย เมื่อเดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ วันเสาร์แล เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำวันพุธอากาศสูนตะวัน (สุริยคราส) ก็ปีเดียวนั้นแล ศักราชได้ ๒๐๒ ปีกดไจ้
๑๙๕ ศักราชได้ ๒๐๓ ปีฮวงเป้า เดือน ๑๐ แรม ๑๐ ค่ำวันพฤหัศบดี ได้เกณฑ์ทัพเมืองหนองคายไปตีเมืองวังครั้งก่อน ศักราชได้ ๒๐๔ ปีเต่ายี ( ) ขึ้น ๑๑ ค่ำวันพุธไปทัพเมืองวังทีกลาง ศักราชได้ ๒๐๕ ปีกาเม่า เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำวันอังคารไปทัพเมืองวังทีลุน (หลัง) ศักราชได้ ๒๐๖ ปีกาบสี ( ) ศักราชได้ ๒๐๗ ปีฮับไส้ ( ) ศักราชได้ ๒๐๘ ปีฮวยสะง่า ( ) เดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ำ เจ้าเมืองหนองคายลงไปให้ (ทอด) กะฐินธาตุพนมปีนั้น ศักราชได้ ๒๐๙ ปีเมิงมด ( ) เดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำวันศุกร์เก็บโขนใหม่ขึ้นครูเมื่อนั้น, เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำวันศุกร์ยามแลใกล้ค่ำมื่อฮับไค้ ( ) พระธาตุใหญ่หนองคายเพ (พัง) ลงน้ำของมื่อนั้นแล ศักราชได้ ๒๑๐ ตัวเปิกสัน ( ) เดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำวันอังคาร เจ้าเมืองหนองคายลงไปปลงศพ (เผาศพ) พระบรมราชาเมืองลครแล ศักราชได้ ๒๑๑ ปีกัดเฮ้า ( ) วันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีระกา ท้าวพรมมาลูกเจ้าน้อยเมืองพวนออกมาถึงเมืองหนองคายมื่อนั้น ศักราชได้ ๒๑๒ ตัวปีกดเส็ด ( ) เดือน ๘ แรมค่ำ ๑ วันเสาร์ เกิดพยุ ( อหิวาตกโรค ) คนตายเป็นอันมาก ถึงเดือน ๑๑ จึงหายแล ๑๙๖ ศักราชได้ ๑๒๑๓๑ ตัวบีฮวงใค้ ( ใทยว่าปีกุน ) เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำวันอาทิตย์ หลวงทิพย์จำนวจ (ตำรวจ) เมืองโคราชเป็นข้า หลวงเชิญท้องตราขึ้นมาว่าเจ้าอยู่หัวขึ้นสู่สวรรคตแล้วเจ้านายกรมการพร้อมกันเถหัวทุกคนในปีนั้นแล ศักราชได้ ๑๒๑๔๒ ตัวปีเต่าไจ้ ( ) เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันอาทิตย์ มื่อฮวยเส็ด ( ) ยามกองงาย ( ๓ โมงเช้า ) เจ้าสุวรรณวงศาผู้เป็นพระประทุมเทวาเจ้าเมืองหนองคายนิพพาน ( ถึงแก่กรรม ) มื่อนั้นแล ศักราชได้ ๑๒๑๕๓ ตัวปีกาเป้า เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำวันพฤหัศบดี จึงให้เผาศพเจ้าเมืองแล ศักราชได้ ๑๒๑๖๔ ปีกาบยี ( ) เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันอังคาร เจ้าราชบุตรบ้านสิงโคกผู้เป็นอุปฮาดขึ้นนั่งเมืองหนองคายมื่อนั้น ศักราชได้ ๑๒๑๗๕ ปีฮับเม่า ( ) เดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ วันพฤหัสบดี เจ้าครู ( พระครู ) หอพระแก้วฟากใน (ฝั่งซ้าย) องค์มาเป็นเจ้าครูหลักคำเมืองหนองคายนิพพานมื่อนั้น, ถึงเดือนยี่ขึ้น ๑๒ ค่ำวันเสาร์จึงให้เผาศพแล, เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำวันจันทร์ เจ้าหน่อคำ
๑. ต้นฉะบับเป็น ๒๐๑๓ ๒. " " ๒๒๑๔ ๓. " " ๑๐๑๕ ๔. " " ๑๐๑๖ ๕. " " ๑๐๑๗
๑๙๗ เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราขึ้นมาชำระเลข เมืองหนองคายแลเมืองลาวฝ่ายตะวันออกแล ศักราชได้ ๑๒๑๘๑ ตัวปีมะโรงอัฏฐศก เดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ วันพฤหัสบดี เจ้าหน่อคำจึงยกจากเมืองหนองคายไปไทยแล, เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำวันพฤหัสบดี น้ำท่วมเมืองไหลออกจากทุ่งนาเป็นอันมาก, เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำวันอังคาร มื่อเต่าเส็ด ( ) ขุนวรธานีแลเจ้าเหม็นเป็นข้าหลวงขึ้นมาเอาพระเสริมยกจากเมืองหนองคายไปไทยก็ปีนั้น ศักราชได้ ๑๒๑๙๒ ตัวปีมะเสงนพศก เดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำวันจันทร์ หลวงศรีวรโวหารท้าว, เหม็นเป็นข้าหลวง ขึ้นมาเอาพระไสยกไปไทยมื่อนั้นอิกเล่าแล, เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำเจ้าราชบุตรบ้านสิงโคกผู้เป็นพระประทุมเทวาธิบาลเจ้าเมืองหนองคายนิพพาน ( ถึงแก่กรรม ) มื่อ (วัน) นั้นแล
พิเห็นควันดาว ชื่อว่าทุมเกตให้ดูแลทายว่าสันทิเห็นทุมเกตหน(ทิศ) บูรพา เกรงข้าเศิกจักมาขุนเมืองขุนนายจักเสียเข้าของหลาย, เห็นหนทิศทักษิณมีทุกข์แก่เมืองนั้นเศิกจักมาให้แขง, เห็นหนประจิมขุนนางจักมีคำกังวลจักเสียเมืองคนจักเจ็บไข้มาก เห็นหนอุดรจักเสียขุนใหญ่จักมา, เห็นอาคเณเมืองบ้านจักแล้งเศิกจักมามากนัก, เห็น
๑. ต้นฉะบับเป็น ๑๐๑๘ ๒. " " ๑๐๑๙
๑๙๘ หนหรดีไฟไหม้บ่มีจักเสียนางใหญ่ ๑ แล เห็นหนพายัพจักกังวลด้วยยากข้าว ๆ จักแพงเศิกจักมาให้กินให้แขง เห็นหนอิสาณให้แขงแก พรามสูตร์จึงดี ตายบ่มีจักเสียขุนมวลแล
บทตั้งบ้านเมืองในชมภูทวีปเฮานี้เป็นดังเดียวกันแล, แผ่นดินหนาได้ถึง ๒๔๐๐๐๐ โยชน์ก็หวั่นไหวไปมาถึง ๒ ที พระอาทิตย์พระ-จันทร์พระอังคารก็หวั่นไหวไปมาแล, ออกเบื้องหุ่ง (รุ่ง) ทีปก้ำทีปยังบ่หวั่นไหวไปมา แต่พระเพลิงสิ่งเดียวแล กะธา, สามพระพระยามาปัดสุมชุมลุม (ชุมนุม) กันตั้งกาตลาดลี (ตลาด) ก็จัดมีมืดมน อนทกาล ๗ วัน ๗ คืนแล, วันถ้วน ๗ ผู้พระเพลิงหนี วันถ้วน ๗ เป็นฝนแลลม วันถ้วน ๘ เห็นผาสาด (ปราสาท) เงินผาสาดคำผาสาดแก้วจักออกมาฝ้าแผ่นดินหนานี้, พ่อเหลือมแม่เหลือม (งูเหลือม) จักออกมา, พ่อจิเข็บ (ตะขาบ) แม่จิเข็บจักออกมาหน้านี้แล, พ่องูแม่งูจักออกมาหน้านี้ นโมตัสสะภควโต ชื่อว่าอินกะเตวาคำราชา อันว่า พระยาหมาจิ้งจอก ๔ ตัวนี้แม่นแม่แห่งเขาทั้งหลายแล บริวารแลตัวนั้น ๑๖๐๐ ตัว แลจักกินคนใจบาปหาบุญหาศิลมิได้แล, ทางลุ่ม (ใต้) นางธรณี อิสูริย์แต่งทางน้ำพระยาครุธพระยานาค, นางน้อยเมขลาแต่งทางบนท้าวจัตุโลกบาลทั้ง ๓ กับทั้งพระยาเวสุวรรณ์แต่งทางเหนือพระยากุมภัณฑ์ พระยาอินทร์พระยาพรหมแต่งมาเอาคนคนใจบาปไปสู่นรก,
๑๙๙ แลชมภูทวีป เฮานี้ทอเกล็ดหอยหาที่พึ่งบได้แลให้หาที่พึ่งเทอญ ชายคาฝาค้ำบมีหากจักฆ่าฟันกันกอบกำกินแล, ดงพระยากับปัณะทรง(ครอง) เมืองได้ ๔ เดือน พระยาสุบรรณ์บินขึ้นมาแต่ตอนโขงจุดเผาผาสาด (ปราสาท) พระยาทั้ง ๔ นี้เพื่อบได้ชนช้างหอเจ้า ๔ คนฝูงบาปหากฆ่ากัน พ่อฆ่าลูก ๆ ฆ่าพ่อแลในเมืองลานช้างตายเสีย เป็นคนแสนล้านสามแสนสามหมื่นสามพันสามร้อยสามสิบสามคนแล แตกตกต่างเมืองเป็นคน ๔๙๙๐๙ คนแล ยังกับเมืองลานช้างล้านปลายสี่หมื่นสี่พันสี่ร้อยสี่คนแล หล่าน้ำ (ใต้น้ำ) เหนือน้ำกลางน้ำจักเห็นเป็นใหญ่เป็นเจ้าแผ่นดินผู้เดียวหนึ่งยังจักมีเจ้ายอดธรรมจักลงมาบัด แผ้ว (ปราบ) แล ชื่อว่าบุรมมหาจักร์มาปัดแผ้วให้พระยาธรรมนั้นแล คนตายเสียได้เจ็ดแสนปลาย สองหมื่นสองคนยังต่อห้าแสนทัดแลฝูงยังนั้นเขาจะได้เห็นพระยาเจ้าสุคนแล อายุผู้เฒ่ายังจักได้ ๑๐๐๐ ปี ผู้หนุ่มจักได้ ๑๐๐๐๐ ปี เด็กน้อยได้ ๑๐๐๐๐๐ ปี พระอาทิตย์พระจันทร์พระอังคารออกเคิ่งเขาพระสุเมรุแล สองปีเฮา (เรา)เดียวนี้จึงเป็นปีพระยาธรรมปีหนึ่งแล สองมื่อ (วัน) จึ่งเป็นมื่อ (วัน) พระยาธรรมมื่อหนึ่งแลให้คนทั้งหลายฮำพึง (พิจารณา) ดูเทอญ เดียวนี้นาผู้ใดฆ่าพ่อตีแม่ฆ่าเฒ่าแก่ลูกอาวชาวเฒ่าได้กี่ยานคำกั้งห่ม (ร่ม) ขาวยากสองดวง (คัน) แลผู้ใดฆ่าพ่อจิจุมตัดศรีมหาโพธิได้ขี่ช้างเครื่องคำกั้งฮ่ม (ร่ม) ๓ ดวง (คัน) แล อายุยืนปานเห็ดละโงกนั้นแล ตายได้ตกนรกก็บเกิดสักเทือแล ตายหมดถ้วนแล แม่ฮ้าว ๆ ย้ายที่ออกจากตมหมดถ้วนแล้ว เทวดาก็ทุกข์ใฮ้เข้าฆ่าฟันกันถ้วนแล้ว
๒๐๐ ไม้ไผ่บ้านเป็นขีแล้ว น้ำสระหนองบกแห้งหมดถ้วนแล้ว สัตว์สิงกวนกินกันหมดแล้ว วังเป็นหาด ๆ เป็นวังหมดถ้วนแล้ว เสนาพระยาครุธในเมืองลุ่มก็หนี เทวดาก็หนีหมดถ้วนแล้ว ผีทุกข์กระเซิบเข้าสูนคนหานี้ให้เบิ่งบาฬีสี่พันหมื่น เหตุว่าคนกระทำบาปหนักหนา บ้านเมืองบดีแล ฝูงนี้พระยาให้พิจารณาดูเทอญ ให้รักษาธรรมสามัวนี้เทอญ พื้นเมืองลานช้างเฮาแล ฯ สิทธิการ จักกล่าวตำนานบ้านเมืองเฮานี้ เมื่อศักราชได้ ๙๔๑ ตัวเดือน ๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ยังมีเจ้าระษี ๓ ตน ๆ หนึ่งชื่อว่านาคคระษี ตนหนึ่งชื่อว่าบรรพตระษี ตนหนึ่งชื่อว่าอชิตระษี ๔ ตน กับเจ้าสัมณคุทธะเถรมาประสุมชุมกันที่ดอยสิงคุตราชแล้วจากันว่า เมืองทั้งสองคือว่าเมืองเชียงใหม่แลเมืองลานช้างจักเป็นอลหนนัก เจ้าระษีแลมหาเถรเจ้าจึงพิจารณาดูบ้านเมืองทั้งมวลแล้ว จึงทำนวยไว้แก่คนทั้งหลายให้แจ้งแล้ว จึงว่าเมืองเชียงใหม่จักเป็นอนตายเมื่อศักราชได้ ๙๔๒ ปีกดยีนั้น เจ้าหน่อเมืองจักได้มาเสวยราชในเมืองลานช้าง ปางนั้นจักมีอานุภาพมากนักแล อยู่บ่นานท่อใดชาวหงษาจักมาอยู่เมืองเชียงใหม่จิงซ้ำตกประเทศอื่นแล้วแตกมาเมืองลานช้างแล เมื่อเสวยราชย์ได้ ๑๒ ปีจุติตายไปหั้นแล เมื่อศักราชได้ ๙๕๔ ตัวปีฮวยสัน ยังมีผู้หนึ่งชื่อว่าขุนหลวงจักได้เสวยชาวลาวลานช้างอยู่เมืองเชียงใหม่ จักแตกมาเมืองลานช้างปางนั้น เมืองเชียงใหม่จักเป็นอันตรายมากนักหั้นแลชาวเชียงใหม่จักแตกมาเมืองลานช้างปางนั้นแล คนผู้บาปจิงเอาคำธาตุน้ำพูนหนีมาตกเมืองลานช้างปางนั้นแล ศักราชได้ ๙๖๐ ตัวปีกัดใค้พระยาคนหนึ่งเสวยราชย์คั้งนั้นยังมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่ามะละอักตัญญูจิ ๒๐๑ กำจัดพ่อ ชื่อว่าขุนหลวงละหนีมาเมืองเชียงใหม่ แดนแต่ชาวเมืองลานช้าง จักฆ่ากันเพื่อเหตุคำธาตุน้ำพุนไปตกเมืองลานช้าง พระยากตัญญูจักเสวยราชได้ ๙ เดือนจักตายไปตามกรรมหั้นแล ศักราชได้ ๙๘๔ ตัวปีเต่าสัน ยังมีพระยาตนหนึ่งเข้าสู่อำนาจพระยาธรรมจักเกิดท่งย่างเมืองขวางหั้นแล หลักหนึ่งแม่นหงษาหลักหนึ่งแม่นลานช้างหลักหนึ่งเมืองศรียุธยา ในสามเมืองนี้เป็นเมืองเดียวกัน พระยาจึงใส่ชื่อว่าเมืองลานช้างตามราชภูบาลแล พระยาลายตีนเป็นกงจักรรักษาเมืองอินทปัถนคร พระยาไตพระยาลิ้นก่านรักษาเมืองอังวะ พระยาป่าลิไลยรักษาเมืองสาวดี พระยาสบฮุ้ง (รุ้ง) เอิกออง (อกนูน) รักษาเมืองศรียุธยา สี่พระยานี้เป็นใหญ่กับพระยาธรรมเจ้าแล พระยาธรรมทรงเมือง (ครอง) ท่งย่างเมืองฝางหั้น (นั้น) แล บ่อนอยู่คนทั้งหลายได้ซื้อคำสุกฮ้อยหนึ่งแล แต่ผาสาทแก้วฮุ่งได้ ๑๐๐ วาแล เมือหน้าหากแม่นพ่อพระเจ้าเมตไตแล พระยาธรรมนี้แม่นพระยาปัดเสนลอกดาบมาลงเลิกศาสนาอยู่ยามซิขึ้นเมือสู่คาบตนแล้ว จึงปลุกนางฟ้าทั้งหลายจิงว่าพอให้ผู้ขาทั้งหลายฮู้เมื่อไปดอม (ด้วย) แม่นางฟ้าทั้งหลายว่าดังนั้นแล้ว ศาสนาพระกุกกุสนให้พระยาปัดเลีกศาสนาไว้ ถ้าพระโกนาตะ-มะนะ พระโกนาคะมะนะนิพพานไปแล้ว พระยาธรรมผู้ตามเลิกศาสนาไว้ถ้าพระเจ้ากัสปะ พระกัสปะนิพพานไปแล้ว พระยาสะราสเลิกศาสนาไว้ถ้าพระโคตะมะ พระโคตะมะนิพพานไปแล้ว พระยาธรรมแต่งเลิกศาสนาไว้ถ้าพระเมไตรเจ้าหั้นแล พระยาตนมีบุญสมภารมาก
๒๐๒ กว่าพระยาธรรม ตนสี่องค์นั้นบมิตาทั่วทิศะแล พระยาธรรมตนนี้จักมิตาทั่วทิศะแล ในร้อยเอ็ดเมืองนี้จะมาเป็นบริวารพระยาเจ้าเสี้ยง(หมด) แล หมดเช่นพระเจ้าเมตไตรแล้วศาสนาบมีแล หมดพระยาจักรแลพระปัจเจก เทวทัดเกิดมาเป็นพระปัจเจกวันนี้แล้วนิพพาน ไปไหว้ธาตุพระปัจเจก เสด็จเข้าพระเจ้า ๕ พระองค์อยู่กับพระปัจเจกเทศนาตั้งอยู่ ๗ วัน ๗ คืน อนึ่งแล้วจึงขึ้นเมือยอดฟ้านิพพานก้ำตะวันออก แลศาสนาชื่อว่าปัจเจกพัดแล คำสุขในเมืองลานช้างเท่าเม็ดข้าวเปลือกหนึ่งแล คำสุขในเมืองศรีอยุธยาเท้าเม็ดข้าวสารหักท่อง(ครึ่ง) หนึ่งแล คำสุขในเมืองอังวะเท่าเม็ดพันธุ์ผักกาดหนึ่งแล คำสุขในเมืองฮ่อหลวงท่อในหมากหลอดหนึ่งแล คำสุขในเมืองแกวปะกันเท่ากับเม็ดงาหนึ่งแล คำสุขในเมืองลังกาทวีปเท่าใยบัวหนึ่งแล คำสุขในเมืองโกสัมภีท่อเส้นผมตัดมนหนึ่งแล คำสุขในเมืองละแวกท่อเข้าปลายเบียนหนึ่งแล เจ็ดวันหนึ่งปลาอยู่น้ำออกมาแห้งอิถีอยู่ก้ำตะวันออกมาเป็นพระยาได้ ๕ ปี ๆ ถ้วน ๖ นั้นอนิจเสียหั้นแล เมื่อศักราชได้ ๙๘๙ ตัวปีเมิ่งเม้า ยังมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าสุรมิตศักจักมาเสวยราชย์ ๙ ปีตายแล ศักราชทุก ๑๐๐๐ ปียังมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าสุริยกุมารจักมาเสวยราชย์บ้านเมือง ตั้งอยู่ทศราชตามธรรม ๑๐ ประการตามฮีดพระกษัตริย์ ๕๔ คน คือว่าพระยาสามแสนและพระยาพระธิสารแลพระยาไชยเชษฐาธิราชอายุ ๖๙ จักได้เมืองใหญ่ ๑๓ เมืองจักมาส่วยจักได้เสวยราชย์เป็นพระยาใหญ่กว่าท้าวพระยาฟากน้ำสมุทรนี้ทั้งมวล อายุได้ ๘๖ เมืองลานช้างจักอิ่มเต็มปางนั้นแล ศักราชได้ ๙ ตัวเมือง
๒๐๓ ล้านช้างจักฆ่าฟันกันมากนัก เพื่อว่าคำธาตุน้ำพูนมาเมืองล้านช้างเฮานี้ เป็นคำสองแสนสามหมื่นหกพันปาย ศักราชได้ ๕๗ ตัวปีฮับได้ ยังมีเสนาผู้หนึ่งชื่อว่าพระมละจักโลภเอาเมือง เสวยราชได้ ๖ เดือนตายไปตามกรรมหั้นแล ศักราช ๕๘ ตัวปีฮวยใจ้ ยังมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าโสมนัศราชจักมาเสวยราช คือว่าตั้งอยู่ในธรรม ๑๐ ประการแท้ ดังนั้น เทวดาทั้งหลายจักเอาเข้ามาใส่ให้เต็มฉางแล้วดังนั้น เสวยราชได้ ๕๘ ปีตายหั้นแล เมื่อศักราชได้ ๘๔ ตัวปีกาเม่า ยังมีพระยาตนหนึ่งอยู่หนอิสาณ ชื่อว่ากบิละพัฒน์จักผากดแล้วอยู่เสวยราชจักมีลูกผู้หนึ่งแล ลูกท้าวกบิละพัฒน์จักได้ไปสร้างทรายฟองหั้นแล เมืองลานช้างจักอิ่มเต็มปางนั้นมากนักแลตั้งแรกแต่นั้นสืบไปบางพ่อง ๓ปีตาย บางพ่อง ๔ ปีตายก็มีแล แต่เช่นพระยา ๖ ตนนั้นสืบมาทั้งมวลได้พระยาแล ศักราชได้ ๘ ตัวปีสะง่า ยังจักมีพระยาตนหนึ่งมีบุรมสมภารอันมาก จักได้เสวยราชคนทั้งหลายจักมีสุขดอมพระยาเจ้าตนนั้นแล แต่นั้นศักราชได้ร้อยปายสองตัวเดือน ๘ เพ็งวันพุธ พระเจ้าแก่นจันทน์แดงอยู่เมืองฮ่อหลวงมาหาพระบางพระแก้วพระแซกคำเจ้ามาโฮมเมืองลานช้างได้ ๑๖ ปีแล้ว กล่าวศักราชได้สองร้อยปายแปดตัวพระเจ้าแก่นจันทน์แดง พระแก้ว พระบางพระแซกคำเจ้าจิงหนีไปเมืองลังกาทวีปพุ้นแล ในพระพุทธฮูปเจ้า ๔ องค์นี้ หนีจากเมืองลานช้าง เมื่อใดหาสังฆเจ้าพอเป็นบริวาสกรรมได้แล ศักราชล่วงไปได้ ๔๘๖ ตัวนั้นหาสังฆ เจ้าพอสั่งสอนบ่ได้แลเมืองลานช้างจักเป็น ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๖ หมู่ไปแล คาเนนติ คนทั้งหลายจักฆ่าฟันกันมากนัก มนุสสา-
๒๐๔ ชาเนนติยักขา อันว่ายักษ์ทั้งหลายออกมากินคนบาปปางนั้นเสียแล้ว พระยาธรรมเจ้าจักเกิดมาสังฮอม คนบุญทั้งหลายให้รักษาศิลภาวนา ผู้เว้นจากบาปจักเห็นหน้าพระยาธรรมเจ้า เมื่อศักราชได้ ๒๕๐ ตัวนั้นแล สูบ่เชื่อคำระษี ๓ ตน ๔ กับทั้งมหาสมุณรุทธเถร เจ้าตนอรหันตาแท้ดังนั้นจักเถิงมันผู้นั้นแล ตายไปได้ตกอบายทั้ง ๔ พุ้นแล บุคละไผ่เชื่อใสยังจักได้เมื่อเกิดในชั้นฟ้าสวรรค์เทวโลกพุ้นแล ตำนานเมืองหมดเท่านี้แล
เรื่องสร้างวัดพระแก้วศรีเชียงใหม่
จุลศักราช ๑๑๗๒ ปีซะง้าเดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ ๔ ยามดูดตั้ง เมื่อเช้า ๒ นิ้วบาทติถีนอก ๑๘ ดิถิใน ๑๖ ดิถี ๔๓ เลิกลูกนิละมิต ๕ ลูก ๖๓๑๘๖ หอละคูณตัวนี้ ๑. หมู่คณะสัตว์พระราชาอาจยาลาด จอมสมเด็จบอรมมะบอพิศ พระยามหาธรรมมิกะสีหา บุตร์ตาราชาที่ลามะหาจักพัศ พรมมินทะลา ปะตนสะกนใตยะพูวนาดชะตะยูกะโพที่สัทธา ตัสากาลาพิปูละตูละยาโพธิสัทธา ขัตติยพุทธัง โลยะตะละนาคะลา มหาโสพัศสันโตทันยะลัทาราชา ปุริธรรมทิราชบอรมมะนาด บรมมะบอพิศตน ประกอบด้วยโทศาทิศราชสาธรรม สาชนา ประถำพบ ใน
๒๐๖ วะระพุทธสาสนาเป็นอันยิ่ง จริงปงประสิทธิพระพอน ลายจูมดวงนี้ไว้กับวัดหาพระแก้วที่นี้ แต่พระพุทธศักราชสาสนา แห่งพระบรมสัพพัญญูเจ้าล่วงไปแล้ว ๒๓๕๓ ตัวปีชะง้า เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ วัน ๔ ประกอบด้วยนัขขัตะลึก ถึกนวยชื่อว่าสวัสดี ยอวัดหอพระแก้วที่นี้พระพุทธรูปเจ้า ในพระทานนั้น สมเด็จพระเป็นเจ้าให้ช่างผู้ที่คิดริดจะนา ปัจติสังคะละณะ ฝาผนังอาลามนั้น สมเด็จพระเป็นเจ้า เหล่าจ้างช่างในเขียนพระพุทธรูปพันพระองค์ บอเท่าแต่นั้นสมเด็จพระเป็นเจ้า เหล่าจ้างช่างทั้งปวง ช่างแปงพระพุทธรูปเจ้าร้อยปลายสิบสามพระองค์ ตั้งไว้ในพระระเบียงจมกมทั้ง ๔ ด้าน ฝาผนังจมกมละเบียงทั้ง ๔ ด้านนั้น สมเด็จพระเป็นเจ้าเหล่าส้างพระพิมใส่ไว้มีสองพันหกร้อยปายสองพระองค์ เพื่อให้เป็นที่นมัศการไหว้สักการะบูชา หิตะหีตาปราโยชะนา แก่สัปปูรูด มนุษย์กุทพัน คันทะพระนาคา คุลุดธา เทวา คะณะยาสาปันจาวัสสาหัสสานิ ตาบเท้า ๕ พันพระวัดสา คะละณา แต่สมเด็จพระเป็นเจ้าสาละสางวางไป ยังปัจจัยชาติ ราชสม บัติ ส้างแปง โชติตะณา วอระพระพุทธสาสนาที่นี้ แต่คำปิวหนักสามแสนสองหมื่นสองพันปายสองร้อยสามสิบเก้ากีบ เงินปิวหมื่นสี่พันปายเจ็ดร้อยเก้าสิบหกกีบ คิดเป็นดา (เงินตรา) สี่สิบเก้าชั่งสิบตำลึงปายบาทสองสลึงเฟื้อง น้ำหนักหกร้อยปายสามสิบเจ็ดคนาน คิดเป็นเงินตาหกชั่งเจ็ดตำลึงปายบาทสองสลึง แก้วประดับหนักห้าหมื่นเก้าพันปายห้าร้อยชั่ง คิดเป็นเงินตาชั่งเก้าตำลึงปายสามบาท (เหล็ก) เก้าแสนปายสามหมื่นห้าพันหัว เป็นเงินตาสามชั่งปายสิบตำลึง ปูน
๒๐๗ หมื่นเจ็ดพันปายแปดร้อยแปดสิบเจ็ดถัง คิดเป็นเงินตาสามสิบเจ็ดชั่งปายห้าตำลึงปายบาทหนึ่ง ปูนจีนสองร้อยสามสิบห้านวย เป็นเงินตาห้าตำลึงปายสามบาท น้ำมันปา ตำจีนสองร้อยแปดสิบสองคนาน เป็นเงินเจ็ดตำลึง น้ำอ้อยเจ็ดแสนเก้าหมื่นปายสี่พัน เป็นเงินตาหกตำลึงปายสองบาทเฟื้อง น้ำมันยางเจ็ดร้อยห้าสิบห้าคนาน ขี้ซีแสนปายสามพัน เป็นเงินตาหกตำลึงปายบาทสองสลึงเฟื้อง ชาดหนักห้าพันปายห้าบาท เป็นเงินตาสิบเจ็ดตำลึงปายสองบาทสลึง เส็นหนักห้าพันปายเจ็ดร้อยห้าบาท เป็นเงินตาชั่งสามตำลึงปายสามบาท รงหนักสามพัน เป็นเงินตาห้าตำลึง เมิกหนักสามพันปายเจ็ดร้อยห้าบาท เป็นเงินตาเจ็ดตำลึงปายสามบาทสลึง ฝุ่นขาวหนักหมื่นปายสองร้อยเป็นเงินตาสองตำลึงปายสองบาท ฝุ่นเขียวชีทองหนักสามพันปายห้าร้อยเจ็ดบาท เป็นเงินตาสองชั่งสองตำลึงปายบาทสลึง คาบเพ็ชร์หนักห้าพันปายเก้าบาท เป็นเงินตาสิบตำลึงสองบาทปายสองสลึงเฟื้องกาวหนักสองหมื่นปายสามพันชั่ง เป็นเงินตาชั่งสามตำลึงปายสามบาทสามสลึง เบี้ยจ่ายเบี้ยจ้าง หมดแสนปายหมื่นหนึ่งปายแปด แหวนยี่สิบสามหน่วย เป็นเงินตาชั่งสองตำลึงปายบาทสองสลึงเฟื้อง กระ เบื้องห้าแสน ๔ หมื่นแปดพันปายสี่ร้อย เป็นเงินยี่สิบสองชั่งปายสิบเอ็ดตำลึง สมเด็จพระเป็นเจ้าเล่าส้าง คะอุปปะถากไว้กับพระสาสนาที่นี้ มีชายแฮง ๕ ยิงแฮง ๓ หญิงเด็ก หญิงเท้าหนึ่ง คิดเป็นเงินตาหกชั่งปายสี่ตำลึง คะละณารวมกันเป็นเงินตาร้อยสี่สิบชั่งปายห้าตำลึงสามบาทปายสองสลึง คิดเป็นเงินน้ำหก สามแสนสองหมื่นปายห้าร้อย
๒๐๘ น้ำหกปายสองบาทเงินตา สมเด็จพระเป็นเจ้าไว้รักษาอาณาเขตต์ แทกแต่ก้ำตวันออก ยี่สิบเอ็ดด้ามสองศอก ก้ำใต้ยี่สิบสองด้ามกับสองศอกก้ำตวันตก ยี่สิบสามด้ามกับสามศอก ๖ นิ้ว ก้ำเหนือยี่สิบสี่ด้ามกับสองศอก ๓ นิ้ว พระหลาพิศชะทั้งปวงเกิดมีในอาลามมะเขตต์ที่นี้ สมเด็จพระเป็นเจ้าก็ชะละส้างวางไว้ให้เป็น อุปการแก่แก้วทั้งสามในที่นี้ทั้งมวล สมเด็จพระเป็นเจ้าอุปถัมภ์ พระกะปัศติสังคละณาสำเร็จเสร็จการแล้วปีเตาสัน หน้าที่ ๒ ๑. จุลศักราช พันร้อยเจ็ดสิบสี่ ปีเตาสัน เดือน ๓ เพ็ง วัน ๒ สมเด็จพระเป็นเจ้า ทรงพระราชา สัทธาสมโภชน์เบิกฉลอง ทำบุญเป็นมหาทานอันประเสริฐ เพื่อให้บังเกิดสัทธา กิจในพระสาสนา จึงมีพระราชองค์การตรัสสั่งเสนาอามาตย์สาวกให้ตกแต่งยังปัจจัยสร้าง ทั้งสี่วัน มีกี่ระวะปัจจัยเป็นต้น แล้วให้มีศาลาทาน ๓ หลัง และปาวเตินประชาณาลาถา และยาจกคนทุกใฮ่ ทั้งปวงให้เข้ามารับเอายังมหาทานบ่อเท่าแต่นั้น สมเด็จพระแป็นเจ้าเหล่าให้สั่งสร้างตะพานข้ามแม่น้ำของ ปิดปองบ่อให้ลำบากแก่สมณชีพราหมณ์มะณะสัปปารุส มนุษย์ทั้งปวง ฝูงปราศนาเอายังคองนิพพาน ได้ข้ามไปมาไหว้นพคมรพบูชาตามคำปราศณา คะณะณาปัจจัยทานสมเด็จพระเป็นเจ้าครั้งนั้น ผ้าไตรแฮทั้งสอง มีหกไตร เป็นเงินตาสองชั่งปายแปดตำลึง ผ้าไตรแฮ ๑ เทศ หนึ่งมีสิบหกไตร เป็นเงินตาห้าชั่งปายสี่ตำลึง เฮ๊ดทั้ง ๒ สิบไตร เป็นเงินตาสองชั่งปาย ๑๐ ตำลึง ผ้าไตรเทศ ๑ ไตร ไตร
๒๐๙ ลาวหนึ่ง มีห้าสิบเอ็ดไตร เป็นเงินตาแปดชั่งปายสิบแปดตำลึงปายสองบาท ไตรขาวทั้งสอง ๑๘ ไตร เป็นเงินตาสิบสองชั่งปายห้าตำลึงไตรแพรญวนเจ็ดไตร เป็นเงินตา ๑๔ ตำลึง ไตรแบ่งแพรลาวสองร้อยสี่สิบเจ็ดไตร เป็นเงินตา ๑๕ ชั่งปายแปดตำลึง ผ้าคุมหนึ่งผ้าสะบงหนึ่ง ร้อยสิบแปดชุม เป็นเงินตราสามชั่งปายสิบสามตำลึงปายสามบาท คุมยาน ๖ ผืน เป็นเงินตาหกตำลึงคุมลาวเปียวสี่ร้อยยี่สิบหกผืน เป็นเงินตราสิบชั่งปายสิบสามตำลึงผ้าชะบงเปียวเก้าร้อยหกสิบสามผืนเป็นเงินตราหกชั่งปายบาทสองสลึง บาตรทั้งสิบบาตร เก้าสิบห้าใบ เป็นเงินตราสิบห้าชั่งปายแปดตำลึงสามบาทผ้ากำมะลอหกสิบสี่ใบ เป็นเงินตราแปดชั่ง เลียนท้าว ฮ้อยท้าว เป็นเงินตราชั่งปายสิบเจ็ดตำลึงสองบาท ถ้วยจานกะลา เก้าสิบเก้าใบ เป็นเงินตราสองตำลึงปายสลึง ถ้วยน้ำปลาเก้าสิบเก้าใบ เป็นเงินตรา ตำลึงปายสามบาท ถ้วยกะลาหนึ่งฮ้อยสี่สิบเอ็ดใบ เป็นเงินตาตำลึงปายบาทสลึงเฟื้อง ถ้วยซอมยี่สิบเก้าสิบเก้าใบ เป็นเงินตราตำลึงปายสองบาท กาน้ำถามปัดใบหนึ่ง เงี้ยงถมปัจใหญ่ใบหนึ่งเข้ากันสองใบ เป็นเงินตาสองตำลึงปายสองบาท กาน้ำทอง ๒๐ ใบ เป็นเงินตราสิบเจ็ดตำ ลึงปายสองบาท เงี้ยงทองยี่สิบใบ เป็นเงินตราห้าตำลึง กาน้ำกินฮ้อยยี่ สิบแปดใบ เป็นเงินตราตำลึงเฟื้อง เงี้ยงดินหกสิบเก้าใบ เป็นเงินตราสามบาทปายสลึงเฟื้อง เกิบหัวแดงฮ้อยยี่สิบคู่ เป็นเงินตราสิบตำลึงเครื่องเล็กระร้อยสำรับ เป็นเงินตราสามชั่วสิบห้าตำลึง ศาดหมอนร้อยสำรับ เป็นเงินตราชั่งปายห้าตำลึง มีดแถร้อยดวง เป็นเงินตราหกตำลึงปายบาท ตาดร้อยดวง เป็นเงินตราสองตำลึงปายสามสลึง ๒๑๐ ยูสามสิบแปดคัน เป็นเงินตราสามบาทเฟื้อง บวยห้าสิบบวย เป็นเงินตราบาทปายสลึงเฟื้อง ตองน้ำห้าสิบคัน เป็นเงินตราสามสลึงเก้าผ้าห้าสิบเล็น เป็นเงินตราสามสลึง คุห้าสิบหาบ เป็นเงินตราสองตำลึงปายสลึง อุห้าสิบหน่วย เป็นเงินตราสองบาทปายสลึง คะณะนาแต่ปัจจัยทานอันได้ถวายแก่พระสงฆ์คะเจ้าทั้งปวง คิดเป็นเงินตราร้อยปายแปดชั่งปายตำลึงปายบาทสองสลึงเฟื้อง ผ้ากายยาพึก พันปายหกผื่น เป็นเงินตรา ๕ ชั่งปายสี่ตำลึงปายสามบาทสามเฟื้อง สิ้นกายาพึก พันผืนเป็นเงินตราสี่ชั่งปายสามตำลึงปายบาทสลึงเฟื้อง เงินเฟื้องกาละพึกห้าพันปายเจ็ดร้อยปายห้าสิบเฟื้อง เป็นเงินตราแปดชั่งปายสิบเก้าตำลึงปาย ๒ บาท ๓ สลึง เงินขาวกาละพึกสามร้อยบปายสิบสามตอนเป็นเงินตราเก้าตำลึงสามบาทเฟื้อง เบี้ยกะละพึกเจ็ดหมื่น เป็นเงินสิบสี่ตำลึงปายสองบาทปายสลึงเฟื้อง รางวัลเงินตราเจ็ดตำลึง เงินเฟื้องเก้าร้อยปายห้าสิบเฟื้อง เป็นเงินตราชั่งปายเก้าตำลึงปายสองบาทสามสลึง กับเบี้ยสองหมื่นปายพันหนึ่ง เป็นเงินตราสี่ตำลึงปายบาทสองสลึง กายะพึก รางวัลเข้ากันเป็นเงินตรายี่สิบเอ็ดชั่งปายสิบสามตำลึงหกสลึงเฟื้อง คะณะนา คิละณะ ปัจจัยยะเพสัชชะ ปัจจัยยะในสาละทานสามหลัง ถวายจังหันบิณฑบาตแก่สมณะชีพราหมณ์ และให้ทานแก่ยายกคนทุกใฮ ฝูงเข้ามารับเอายังมหาทานตามเพิงใจ ใน ๗ วัน ๗ คืนนั้น หมดเงินหลังละห้าชั่ง ๗ ตำลึงปายสามสลึงเฟื้อง เท่ากันทั้งสามหลัง เป็นเงินตรา ๑๖ ชั่งปายตำลึงปายสองบาทสองสลึงเฟื้อง โฮมปัจตากีวะลาปัจจัย และเพสัชชะปาริชาลาปัจจัย อัน
๒๑๑ สมเด็จพระเป็นเจ้าทรงพระราชศรัทธา ถวายแก่พระสังฆะเจ้าทั้งปวงกับทั้งพระราชะทานให้แก่ยาจกทุกคนไฮ เข้ากันทั้งมวลเป็นเงินตราร้อยยี่สิบห้าชั่งปายสิบสี่ตำลึง ปายสองบาทสองสลึง จักคณะณาปัจ-จัยยะทานสมเด็จพระเป็นเจ้า ได้โชตะณาสร้างแปง วรพระพุทธศาสนาอัตถานี้ กับทั่งสมโภช เบิกฉลองทำบุญให้ทานทั้งมวล ประ-มวลเข้ากันคิดเป็นเงินตราสองร้อยปายแปดสิบสองชั่งปายสองตำลึง ปายสองสลึงเฟื้อง คิดเป็นเงินน้ำหกได้หกแสนปายสี่หมื่นปายสี่พันปายแปดร้อยปายบาท นิพพานะปัจจโยโหตุ เอวังก็มีในกาลฉะนี้ ก่อนแล ฯ
ประวัติท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย
เดิมท้าวสุวอ เป็นบุตรอัครฮาดเมืองยโสธร เป็นหลานเจ้าปาศักดิ์คนเก่าอยู่เมืองยโสธร ครั้งเจ้าอนุเป็นกบฎ เจ้าคุณพระยาบดินทรเดชา ฯ ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เอาท้าวสุวอไปด้วย แล้วตั้งท้าวสุวอเป็นที่พระปทุมเทวาเจ้าเมืองหนองคาย แล้วเอาราชบุตรเมืองยโสธรไปเป็นอุปฮาดเมืองหนองคาย ท้าวพิมพ์น้องชายพระปทุมเป็นที่ราชวงศ์ ท้าวบิตา หลานพระปทุมเป็นราชบุตร พระปทุมเทวา มีบุตร ท้าวก่ำ เป็นท้าวขัตยะ อายุ ๓๖ ปี ท้าวเซม เป็นท้าวไชยกุมาร อายุ ๒๐ เด็ก ๕ อุปฮาด มีบุตร ท้าวเสม เป็นท้าวสุราชวงศ์ อายุ ๒๐ ปี ราชวงศ์ มีบุตร ท้าวสุริยวงศ์ อายุ ๓๐ ปี ๑ ท้าวไชยเสน อายุ ๒๗ ปี ๑ , ท้าวศรีสุราช อายุ ๒๕ ปี ท้าวเชษฐา อายุ ๒๗ ปี ท้าวทิตย์กุ อายุ ๒๓ ปี เด็ก ๔ เดิมเพี้ยเมือง เป็นพระลครเจ้าเมือง ท้าวจันทโสภา หลานพระลครเป็นราชวงศ์ เอาท้าวคำยวงบุตรพระลครเมืองแพน เป็นราชบุตรรักษาบ้านเมืองมาได้ ๑๑ ปี พระลครเมืองแพนถึงแก่กรรมจึงตั้ง ท้าวคำบุง บุตรพระลครเมืองแพน เป็นพระลคร แต่ราชวงศ์ราชบุตรนั้นคงที่ตามเดิม ท้าวบุงรักษาบ้านเมืองมาได้ ๒๑ ปี พระ ลครราชวงศ์ถึงแก่กรรม จึงตั้งราชบุตร เป็นท้าวคำยวงบุตร พระ
๒๑๓ ลครเมืองแพน เป็นที่พระลคร ๑ เอาท้าวสุวรรณบุตร์พระลครคำบุงเป็นอุปฮาด ๑ เอาท้าวบุญจันทร์ บุตรพระลครคำยวงเป็นราชวงศ์ ๑ เอาท้าวคำพาง บุตรพระลครคำยวงเป็นราชบุตร ๑ ๔ คน พระลครเมืองแพนมีบุตร คือ ท้าวคำยวงเป็นราชบุตร ๑ ท้าวคำบุง เป็นพระ ลครตาย ๑ ๒ คน พระลครคำบุงมีบุตร คือ ท้าวสุวรรณ เป็นที่อุปฮาดคนหนึ่ง พระลครคำยวงมีบุตร คือ ท้าวคำฟาง เป็นราชบุตร อายุ ๕๖ ปี ท้าวบุญจันทร์ เป็นราชวงศ์ อายุ ๔๓ ปี ท้าวคำบุง เป็นขัติย อายุ ๔๙ ปี รวม ๓ คน อุปฮาด ท้าวสุวรรณ มีบุตร เดิมท้าวบุญมา ตั้งให้เป็นท้าว จันทรชมภู อายุ ๒๘ ปี ท้าวอิง อายุ ๑๖ ปี
คำให้การพระยาเมืองฮาม
หลวงเสนีพิทักษ ขุนพิศณุแสน ข้าหลวง วัน ๒ ๑๒ ค่ำ ปีจออัฏฐศกศักราช ๑๒๔๘ นายทองมหาดเล็ก เจ้าราชสัมพันธวงษ์ เจ้า หมุน เมือ ณ จำปาศักดิ์ ราชวงศ์ผู้ว่าราชการเมืองเชียงแตง นั่งพร้อมกัน ณ ทำเนียบที่พักเมืองเชียงแตง ได้หาตัวพระยาเมืองฮามมาถามด้วยรายเขตต์แดนเมืองเชียงแตง กับเมืองพนมเปญติดต่อกัน พระยาเมืองฮาม อายุ ๕๖ ปีให้การว่า เดิมพระยาเมืองฮาม ชื่อนายอยู่ บุตรพระยานาเหนือ มารดาชื่อแพง ตั้งบ้านเรือนอยู่จำปาศักดิ์ ครั้นอายุพระยาเมืองฮามได้ยี่สิบเก้าปี มาได้บุตรสาวของเพี้ยนันทา เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นภรรยาพระยาเมืองฮาม ก็ได้รับราชการอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์คำ ๆ ตั้งให้เป็นที่เพี้ยสุขรนันทา รับราชการมาช้านาน เจ้านครจำปาศักดิ์ถึงแก่พิราลัยแล้ว เจ้าคำศุขลงไปรับสัญญาบัตรเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ พระยาเมืองฮามได้เข้ารับราชการมาช้านาน เจ้านครจำปาศักดิ์จึงตั้งให้เป็นที่พระยาเมืองฮาม ข้าพเจ้าได้ทราบความเมื่อครั้งปีวอกฉศก ศักราช ๑๒๔๖ ปี มีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ
๒๑๕ ให้พระยาราชเสนาแต่ยังเป็นที่หลวงภักดีณรงค์ ขึ้นมาจัดการอยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ พระยาราชเสนาได้หาตัวอุปฮาดราชวงศ์ เมืองเชียงแตงแลกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อย เมืองธราบริวัฒ เมืองศรีทันดร เมืองแสนปางขึ้นมาพร้อมกันที่เมืองนครจำปาศักดื พระยาราชเสนา กับเจ้านครจำปาศักดิ์ ได้ถามอุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง ว่าอาณาเขตต์เมืองพนมเปญมาติดต่อกับเมืองเชียงแตงที่ตำบลใดได้ปักปันสิ่งใดไว้เป็นสำคัญ อุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง แจ้งความต่อพระยาราชเสนาข้าหลวง แลเจ้านครจำปาศักดิ์ว่า เขตต์แดนเมืองเชียงแตงต่อติดกับเมืองพนมเปญนั้นมีต้นมะขามที่บุ่งขลาท้ายเกาะแพ ด่านจะลับนั้นต่อติดกันที่ต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังต้นหนึ่งหว่างเขาตาปมแต่เดิมมา ภายหลังเจ้าพระยาบดินทรเดชา ฯ ก็ได้แต่งข้าหลวงออกมาปักปันเขตต์แดนที่ตำบลบุ่งขลาแห่งหนึ่ง ด่านจะลับแห่งหนึ่ง ครั้นปีฉลูสัปตศก ศักราช ๑๒๒๗ ปี เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์แต่ยังเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ลงไปวัดเส้นตรวจทางไปถึงบุ่งขลา ได้เอาหลักเสาไม้แก่นปักซ้ำรอยหลักเดิมหลักหนึ่ง ไปปักด่านจะลับตามรอยหลักเดิมหลักหนึ่ง แล้วพระยาราชเสนากับเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่งให้ข้าพเจ้ากับอำมาตย์เสนาเพี้ยเมืองซองเมืองนครจำปาศักดิ์ กับราชบุตรแสนปานท้าวสีโสราชเมืองศรีทันดร ไปปักหลักเขตต์แดนพร้อมด้วยอุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง ข้าพเจ้าพร้อมกันได้ออกไปถึงด่านบุ่งขลาได้ตรวจตราเห็นว่ามีต้นมะขามสามต้น แต่หลักเก่านั้นชำรุดผุโค่นเสียหมด ข้าพเจ้าจึงตัดไม้แก่นปักลงไว้ที่ตำบลบุ่งขลาหลักหนึ่ง
๒๑๖ แต่ที่ด่านจะลับนั้นได้ตรวจตราเห็นว่ามีต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังต้นหนึ่งอยู่หว่างช่องเขาตาปม แต่ต้นกะโดนต้นรังห่างพ้นเขาตาปมประมาณสิบเส้น ข้าพเจ้าก็พร้อมกันตัดเสาไม้แก่นปักไว้ห่างต้นรังเข้ามาสองวา ซ้ำรอยหลักเดิม แล้วข้าพเจ้าก็กลับมาแจ้งความต่อพระยาราชเสนาเจ้านครจำปาศักดิ์ ข้าพเจ้าให้การตามรู้ตามเห็น สิ้นคำให้การข้าพเจ้าแต่เท่านี้ ข้าพเจ้าได้ประทับตรารูปองคตถือพระขรรค์ไว้เป็นสำคัญ
คำให้การพระกำแหงพลศักดิ์
วัน ๑ ๒ ค่ำ ปีจออัฏฐศกศักราช ๑๒๔๗ หลวงเสนีพิทักษ์ ขุนเพ็ชรลูแสน ข้าหลวง นายทองมหาดเล็ก
เจ้าราชสำพันธวงศ์ นั่งพร้อม เจ้า หมุน เมืองนครจำปาศักดิ์ ราชวงศ์ผู้ว่าราชการเมือง ราชบุตร กรมการ เมืองเชียงแตง ณ ทำเนียบที่พัก ได้หาพระคำแหงพลศักดิ์เจ้าเมืองสุตนครมาถามด้วยราชการเขตต์แดน เมืองกำภูชา ฯ กับเมืองเชียงแตงซึ่งติดต่อกัน เอาความจริง พระกำแหงพลศักดิ์อายุ ๗๙ ปี ให้การว่าเดิมข้าพเจ้าชื่อท้าวเชียงบุญราชเป็นบุตรราชบุตรมารดาชื่ออำแดงดา ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านแก่นท้าวแขวงเมืองหล่มศักดิ์ ครั้นอายุข้าพเจ้าได้ ๒๔ ปีบิดามารดาข้าพเจ้าไปขอนางสุขุมา บุตรสาวเพี้ยไชยราชบ้านแก่นท้าว อยู่กินเป็นสามีภิริยาจนเกิดบุตรหญิง ๑ ชาย ๑ รวม ๒ คน อยู่มาช้านานข้าพเจ้าจึงได้มาค้าขาย ณ บ้านข่าแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วข้าพเจ้าได้ช่วยไถ่ข่ามาเป็นภรรยาคนหนึ่ง ครั้นณปีมะโรงฉศกศักราช ๑๒๐๖ อายุข้าพเจ้าได้ ๓๐ ปี ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา
๒๑๘ ยกกองทัพกรุงเทพ ฯ ออกมาสู้รบญวนปราบปรามเมืองเขมรเรียบ ร้อยแล้วจึงยกองค์ด้วงเขมร ขึ้นเป็นพระหริรักษ์รามาธิบดี ราชการเมืองพนมเป็ญก็ราบคาบได้ครั้งนั้น แล้วท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงให้ข้าหลวงแลพระยาพระเขมรออกไปปักปันเขตต์แดน ซึ่งเป็นเมืองติดต่อกันใกล้เคียงกันกับเมืองพนมเป็ญ ขณะนั้นข้าพเจ้าได้ลงไปรับราชการอยู่กับท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา ข้าพระเจ้าได้รับตราตั้งเป็นที่ขุนโยธาภักดีนายกองควบคุมเลขจรจัดท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ใช้ข้าพเจ้ากับหลวงอนุรักษ์ภูเบศ ฯ ขุนสิทธิณรงค์ข้าหลวง พระยา วรจุลกับพระยาพระเขมรหลายนาย ขึ้นมาปักปันเขตต์แดนเมืองพนมเป็ญซึ่งติดต่อกันกับเมืองเชียงแตง ได้ปักไว้ที่บุ่งขลามีต้นมะขามเล็กโตกำกึ่งอยู่ ๔ ต้น แล้วข้าพเจ้ากับข้าหลวงแลพระยาเขมรจึงพากันขนก้อนหินศิลามากองไว้ที่ต้นมะขามแลต้นเสา แล้วเอาไม้พยอมโตประมาณ ๓ กำกึ่งสูง ๓ ศอก มาทำหลักฝังไว้ที่ริมต้นมะขามเป็นเขตต์แดนครั้นปักหลักที่บุ่งขลาเสร็จแล้ว ข้าหลวงกับข้าพเจ้าแลพระยาเขมร ก็พากันขึ้นไปปักที่ด่านจะลับอีกแห่งหนึ่ง มีต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังสองต้นเป็นสำคัญแล้วได้เอาไม้รังโต ๓ กำกึ่งสูง ๓ ศอก ฝังไว้ที่เป็นเขตต์แดนเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากับท่านข้าหลวงแลพระยาเขมรก็กลับมาถึงเมืองเชียงแตง ข้าพเจ้าจึงลาหลวงอนุรักษ์ภูเบศ ฯ ขุนสุทธิณรงค์กลับขึ้นไปบ้านเรือนข้าพเจ้าที่บ้านข่าตะแบง ฝ่ายหลวงอนุรักษ์ภูเบศ ฯ ขุนสิทธิณรงค์ก็เลยขึ้นไปเมืองนครจำปาศักดิ์ พระยา วรจุลเขมรกับพระยาเขมรพักคอยอยู่ที่เมืองเชียงแตง ข้าพเจ้าไปถึง
๒๑๙ บ้านเรือนข้าพเจ้าแล้วได้ทราบข่าวว่า หลวงอนุรักษ์ภูเบศ ฯ ขุนสิทธิ-ณรงค์พาเจ้าโพสาราชเมืองนครจำปาศักดิ์ แลพระยาเขมรลงไปปักเขตต์แดนที่เสียมโบกอีกแห่งหนึ่ง แล้วกลับลงไปกราบเรียนชี้แจงรายเขตต์แดนต่อท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองพนมเป็ญ ครั้นณปีมะเมียอัฏฐศก ข้าพเจ้าจึงกลับลงไปที่เมืองพนมเป็ญได้นองาลงมาไปเป็นของน้ำใจท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา แลกราบเรียนชี้แจงการเขตต์แดนซึ่งข้าพเจ้ามาปักที่บุ่งขลาที่ด่านจะลับ ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชามีบัญชาว่าชอบด้วยราชการอยู่แล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับราชการอยู่ประ-มาณหลายเดือน ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาจวนจะลงไปกรุงเทพ ฯ ข้าพเจ้ากราบลามาบ้านข้าพเจ้า ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา ได้ให้ตราสำหรับตัวฉบับหนึ่ง ใจความว่ามิให้เจ้าเมืองกรมการกดขี่คุมเหงให้ได้ความเดือดร้อน ครั้น ณ ปีมะเมียนพศก อายุข้าพเจ้าได้ ๖๓ ปี ข้าพเจ้าได้รับราชการอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ ภายหลังโปรดมีศุภ-อักษรออกมาถึงเจ้านครจำปาศักดิ์ ว่าเมืองได้ว่างเปล่าอยู่ไม่มีเจ้าเมืองก็ให้ตั้งข้าพเจ้าเป็นเจ้าเมือง ควบคุมเลขทำราชการขึ้นกับเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์คำสุขคนนี้ จึงได้ยกบ้านตะแบงขึ้นเป็นเมืองสุตนครตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นพระกำแหงพลศักดิ์ เจ้าเมืองทำราชการขึ้นกับเมืองนครจำปาศักดิ์ ต่อมาจนทุกวันนี้ เป็นความสัตย์จริงที่ได้รู้เห็นการเขตต์แดน สิ้นคำให้การแต่เท่านี้ ได้เขียนชื่อประทับตรารูปมนุษยไว้เป็นสำคัญ
คำให้การเรื่องเมืองอัตปือ
วันที่ ๙ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ พระพิศณุเทพ หลวงสากลกิจประมวล หลวงเทเพนทร หลวงทรงวิไชย ขุนมหาวิไชย ขุนวิชิตรชลหาร ในพระบรมมหาราชวัง จหมื่นมนเทียรพิทักษ์ หลวงเทพนเรนทร์ หลวงโจมพินาศฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้ายุติธรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ เจ้าอุปราช เจ้าธรรมโนเรศ เมืองนครจำปาศักดิ์ นั่งพร้อมกันณศาลากลางหน้าทำเนียบพัก รับบัญชามาตามพระสุวรรณวงศา ว่าที่อุปฮาดเมืองอัตปือว่า เขตร์แดนบ้านเมือง ๆ อัตปือเพียงใด ข่าขัดตั้งอยู่เพียงใดจะนำกองแผนที่เซอละเวแนวพระราชอาณาเขตต์ไปได้เพียงใด ต่อไปที่ติดขัดด้วยเหตุการสิ่งใด ให้พระสุวรรณวงศาว่าที่อุปฮาดชี้แจงไปให้ชัดแจ้งโดยละเอียด ข้าพเจ้าท้าวลองผู้เป็นที่พระสุวรรณวงศา ว่าที่อุปฮาดให้ถ้อยคำว่า ข้าพเจ้าเป็นบุตรพระราชวงศาพิลา เจ้าเมืองอัตปือคนเก่าที่ถึงแก่กรรม อายุข้าพเจ้าได้ ๓๔ ปี มีภรรยาชื่อเมียง มีบุตรชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง รวม ๒ คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองอัตปือ ข้าพเจ้าได้ทราบความเดิมว่า จะเป็นปีใดศักราชเท่าใดจำไม่ได้ พระไชยคนลาวแต่จะเป็นคนลาวเมืองไหนไม่ปรากฏ ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านอิต-
๒๒๑ กระบือ ปลายเขตต์แดนเมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วพระไชยเที่ยวเกลี้ยกล่อมข่าขัดชาติข่านาที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านอิดกระบือ เข้ามาตามชายภูหลวงข้างทิศตะวันตกบ้านอิดกระบือ ได้ข่าขัดชาติข่านาบ้านกระบือหนึ่ง บ้านดองฮังหนึ่ง บ้านละยาวหนึ่ง บ้านจำปาวหนึ่ง บ้านเคมซังหนึ่ง บ้านตะหมอเลยหนึ่ง บ้านฮมหนึ่ง บ้านคงหนึ่ง บ้านชุมโพยหนึ่ง บ้านอินทรีหนึ่ง บ้านเจิดหนึ่ง บ้านเฮาะหนึ่ง บ้านตะบากหนึ่ง บ้านแพหนึ่ง รวม ๑๔ ตำบลบ้าน แต่บ้านอิดกระบือมาถึงบ้านแพระยะทางวันหนึ่ง พระไชยเที่ยวเกลี้ยกล่อมข่าขัดที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ พวกบ้านอิดกระบือไปข้างทิศตะวันออกได้ข่าชาติสะลัง บ้านปะดา ๑ บ้านตาแสง ๑ บ้านเมืองตง ๑ บ้านเสม็ดตง ๑ บ้านเอก ๑ บ้านออกยา ๑ รวม ๖ ตำบลบ้าน แต่บ้านอิตกระบือไปถึงบ้านข่าบ้านออกยา ระยะทาง ๖ วัน รวมข่าขัดพระไชยเกลี้ยกล่อมได้ ๒๐ ตำบลบ้านพระไชยตั้งเกลี้ยกล่อมข่าอยู่ที่บ้านอิดกระบือมาได้ประมาณ ๖ ปี ๗ ปี พระไชยก็ป่วยถึงแก่กรรม ครั้นณปีระกานพศกศักราช ๑๑๓๙ พระพุทธเจ้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์ ยกบ้านอิดกระบือขึ้นเป็นเมืองอัตปือ ตั้งให้เจ้าโอเป็นเจ้าเมือง ตั้งให้เจ้าอินทร์เป็นอุปฮาดคอยคุมไพร่ลาวข่า แต่บันดาพระไชยเกลี้ยกล่อมได้ ทำส่วยทองขึ้นแก่เมืองนครจำปาศักดิ์ ปีละ ๓ ชั่งทอง ครั้นอยู่มามีผู้มาร้องต่อพระพุทธเจ้าหลวงว่า เจ้าโอเจ้าอินทร์กระทำการกดขี่ข่มเหงท้าวเพี้ยราษฏรไพร่ลาวข่า ให้ได้ความเดือดร้อน พระพุทธเจ้าหลวงสืบได้ความจริง พระพุทธเจ้าหลวง
๒๒๒ จึงแต่งให้เจ้าเชฐเจ้านูคุมกำลังออกไปจับเจ้าโอเจ้าอินทร์ สำเร็จโทษเสียที่เมืองอัตปือ เจ้าโอเจ้าอินทร์รักษาราชการเมืองมาได้ ๔ ปีตาย ครั้นเจ้าเชฐเจ้านูสำเร็จโทษเจ้าอินทร์เจ้าโอแล้ว ท้าวเง่าท้าวจันทรังบุตรพระพรหมกรมการเมืองอัตปือพากันหลบหนีลงไป ณ กรุงเทพ ฯ ครั้นณปีฉลูตรีศกศักราช ๑๑๔๓ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวเง่าเป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมือง ตั้งให้ท้าวจันทรังเป็นที่อุปฮาด, ออกมารักษาราชการเมืองอัตปือ คอยคุมไพร่ลาวข่าทำส่วยทองของหลวงขึ้นแก่กรุงเทพ ฯ ปีละ ๖ ชั่งทอง ต่อมาพระราชวงศาเง่าเจ้าเมืองจึงแต่ง ให้ท้าวเพี้ยกรมการออกไปเที่ยวเกลี้ยกล่อม ข่าขัดซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่นอกบ้านข่าสะลังไพร่ ออกไปได้ ชาติข่าแพ บ้านแพน้อยหนึ่งบ้านแพใหญ่หนึ่ง บ้านพัดวันหนึ่ง บ้านจามหนึ่ง รวม ๔ ตำบลบ้านแต่บ้านออกยาไปถึงบ้านพัดวังระยะทางสองวัน ครั้นณปีมะเส็งนพศกศักราช ๑๑๕๙ พระราชวงศาเง่าเจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรม พระราชวงศาเง่าเจ้าเมืองรักษาราชการมาได้ ๑๗ ปี ณ ปีมะแมสำฤทธิศกศักราช ๑๑๖๐ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้อุปฮาดจันทรังเป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมือง ๆ ได้แต่งให้ท้าวเพี้ยกรมการออกไปเกลี้ยกล่อมข่าขัดที่ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกบ้านจาระข่าไพร่ ออกไปได้ข่ากะเสง บ้านดวงมาหนึ่ง บ้านทักเดอหนึ่ง บ้านทักขะมาดหนึ่ง บ้านทักลอมหนึ่ง บ้านน้ำโซะหนึ่ง บ้านทักยัดหนึ่ง บ้านซวนหนึ่ง บ้านพัดแยะหนึ่ง บ้านพัดเลี่ยงหนึ่ง รวม ๙ ตำบลบ้าน แต่บ้านทักวังไปถึงบ้านทักเวียงระยะทาง ๙ วัน พระราชวงศาจันทรังรักษาราชการได้
๒๒๓ ๑๖ ปี ครั้นณปีระกาเบญจศกศักราช ๑๑๗๕ พระราชวงศาจันทรังป่วยถึงแก่กรรม ณ ปีจอฉศกศักราช ๑๑๗๖ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวพรหมบุตรพระราชวงศาเง่าเจ้าเมืองคนก่อน เป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมือง พระราชวงศาเจ้าเมือง ได้แต่งให้ท้าวเพี้ยกรมการออกไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมข่าขัดที่ยังมิได้ขึ้นแก่เมืองใดเมืองหนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่หมวดข่าไพร่บ้านพัดเลียง ได้ข่าชาติละแวบ้าน ๑ ละมวงใหญ่ ๑ ละมวงน้อย ๑ บ้านตุลาด ๑ รวม ๔ ตำบลบ้าน แต่เมืองอัตปือไปถึงบ้านจอมระยะทาง ๔ วัน พระราชวงศาท้าวพรหมเจ้าเมือง รักษาราชการเมืองมาได้ ๑๗ ปี ถึงปีขานโทศกศักราช ๑๑๙๒ พระราชวงศาท้าวพรหมเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ณ ปีเถาะตรีศกศักราช ๑๑๙๓ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวก่ำบุตรพระราชวงศาจันทรังเจ้าเมืองคนก่อน เป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมืองรักษาราชการบ้านเมืองมาได้ ๑๖ ปี พระราชวงศาก่ำเจ้าเมืองมีความผิดในราชการ ถึงปีมะเมียอัฐศกศักราช ๑๒๐๘ เจ้าพระยาบดินทรเดชาแม่ทัพ ถอดพระราชวงศาก่ำเจ้าเมืองออกเสียจากที่ ณปีมะแมนพศกศักราช ๑๒๐๙ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวฮุยบุตรท้าวกะออก กรมการเมืองอัตปือ เป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมือง ทำส่วยทองคำของหลวงทูลเกล้า ฯ ถวายปีละ ๘ ชั่งทองต่อมา และมีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ชี้แจงเจตต์แดนเมืองอัตปือ ข้างทิศตะวันออกถึงฟ้าหนองฟ้าหนองยศ แต่เมืองอัตปือไปถึงหนองฟ้าหนอง
๒๒๔ ยศระยะทาง ๘ วัน ข้างทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดพรมแดนเมืองสาละวันที่ตำบลพิมตั้งฝั่งน้ำเซกอง แต่เมืองอัตปือไปถึงพิมตั้งฝั่งน้ำเซกองระยะทาง ๔ วัน ข้างทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปจดพรมแดนเมืองแสนปางที่ปากน้ำสะทัย แต่เมืองอัตปือไปถึงปากน้ำสะทัยระยะทาง ๘ วัน ข้างทิศตะวันตกมาต่อพรมแดนเมืองนครจำปาศักดิ์ ที่ตำบลคำพอ แต่เมืองอัตปือมาถึงคำพอระยะทาง ๓ วัน ข้างทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปจดพรมแดนเมืองสาละวันเมืองคำทอง ที่ตำบลหนองปงทุ่งหลวง แต่เมืองอัตปือไปถึงหนองปงทุ่งหลวงระยะทาง ๕ วัน ข้างทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปชนพรมแดนเมืองแสนปาง ที่ตำบลแก้งสักแอดลำน้ำเซกองระยะทาง ๓ วัน แล้วพระราชวงศาฮุยเจ้าเมือง แต่งให้ท้าวเพี้ยกรมการออกไปเกลี้ยกล่อมข่าขัดที่ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกหนองฟ้าหนองยศ ได้ข่าชาติสะลังบ้านพัดดูก ๑ บ้านพัดลัง ๑ บ้านกองเบาะ ๑ บ้านเป็งลาม ๑ รวม ๔ ตำบลบ้าน แต่หนองฟ้าหนองยศออกไปถึงบ้านเบนลามระยะทาง ๒ วัน พระราชวงศาฮุยเจ้าเมืองรักษาราชการได้ ๑๗ ปี ถึง ณ ปีกุนเบญจศกศักราช ๑๒๒๕ พระราชวงศาฮุยเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ณ ปีชวดฉศกศักราช ๑๒๒๖ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวพิลาบุตรอุปฮาดลี เป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมือง ๆ รักษาราชการมาได้ ๓ ปี ถึงปีเถาะนพศกศักราช ๑๒๒๙ พระราชวงศาถึงแก่กรรม ณ ปีมะโรงสำฤทธิศกศักราช ๑๒๓๐ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวกึงบุตรท้าวสุตร์กรมการ เป็นที่พระราชวงศาเจ้าเมือง ข่าไพร่บ้านแพบ้าน ๑ ข่าละแวบ้าน ๑ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เชิงเขาหลวง ตะวันตก
๒๒๕ เมืองอัตปือโจทย์สมัครมาขึ้นแก่เมืองนครจำปาศักดิ์ รวมสองตำบลข่าไพร่ที่เจ้าเมืองคนเก่าแต่ก่อน ๆ เกลี้ยกล่อมไว้ได้ ยังคงขึ้นแก่เมืองอัตปืออยู่แต่ ๔๒ ตำบลบ้าน ครั้นถึงเทศกาลระดูปีพระราชวงศากิ่งเจ้าเมือง แต่งให้ท้าวเพี้ยกรมการขึ้นไปเก็บส่วยของหลวงแต่บันดาข่าไพร่ ๆ ก็เอาคนข่า เอาขี้ผึ้งตีแทนเอาเงินทองของส่วยมอบให้ท้าวเพี้ยกรม การ ๆ ก็คุมมาให้พระราชวงศากิ่งเจ้าเมือง ๆ ก็เอาคนข่าและขี้ผึ้งจำหน่ายให้แก่ท้าวเพี้ยกรมการ ๆ เอาเงินซื้อทองคำส่วยลงไปทูลเกล้า ฯ ถวายเนือง ๆ ทุกปีมิได้ขาด แต่ข่าระแดข่าขัดที่ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกบ้านพัดดูก บ้านพัดลัง บ้านดองเบาะ บ้านเปงลา ตรงไปทิศตะวันออกถึงเชิงเขาบันทัดต่อแดนญวนระยะทาง ๑๕ วันนั้น พระราชวงศากิ่งเจ้าเมืองท้าวเพี้ยกรมการยังหาได้เกลี้ยกล่อมได้ไม่ ครั้น ณ ปีวอกฉศกศักราช ๑๒๔๖ มีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ มาถึงพระราชวงศากิ่งเจ้าเมืองและหัวเมืองลาวปลายพระราชอาณาเขตต์ เมืองละฉะบับความต้องกันว่า ห้ามมิให้ผู้ว่าราชการเมืองท้าวเพี้ยกรมการราษฎรไปตีข่าจับข่ามาซื้อขายซึ่งกันและกันแจ้ง อยู่ในท้องตรา ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ออกมานั้นแล้ว ๆ พระราชวงศากิ่งเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการเมืองบันดาได้รับท้องตรา ก็ได้ออกหมายประกาศป่าวร้องแก่ท้าวเพี้ยราษฎรในเขตต์แขวงบ้านเมืองทราบทั่วกันว่า ห้ามมิให้ผู้ใดผู้หนึ่งไปตีข่าจับข่ามาซื้อขายและแลกเปลี่ยน เหมือนอย่างแต่ก่อนเป็นอันขาด ตั้งแต่นั้นมาท้าวเพี้ยกรมการราษฎร ก็มิได้ออกไปตีข่าจับข่ามาซื้อขายซึ่งกันและกัน ต่อมาครั้นถึงระดูปีเก็บส่วย พระ
๒๒๖ ราชวงศากิ่งเจ้าเมืองก็แต่งให้ท้าวเพี้ย กรมการคุมสิ่งของออกไปแจกจ่ายให้พวกข่าไพร่ และขอเก็บเงินทองของส่วยแก่บันดาข่าไพร่ ๆ ก็เอาคนข่ามาตีแทนส่วยให้แก่ท้าวเพี้ยกรมการผู้เก็บส่วย ๆ ก็มิอาจรับเอาคนข่าตีแทนส่วย แต่ข่ามาได้ไม่เกรงความผิด ฝ่ายข่าไพร่ร้องว่าถ้าไม่รับเอาคนข่าไปแทนส่วย บรรดาข่าไพร่ก็มิรู้ที่จะเอาสิ่งใดเสียแทนส่วยไม่ ๆ ยอมให้ส่วยของหลวง ข่าไพร่ข่าขัดได้ทราบความชัดว่าทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ห้ามมิให้คนไทยคนลาวไปตีข่าจับข่ามาซื้อขาย พวกข่าไพร่และข่าขัดก็พากันมีใจกำเริบเสิบสานขึ้น ท้าวเพี้ยกรมการราษฎรจะไปมากิจราชการหรือค้าขายในตำบลบ้านไพร่และข่าขัด ข่าไพร่และข่าขัดมักจะตีปล้นจับกุมเอาท้าวเพี้ยราษฎร ข้าขอบขันธเสมาไปเที่ยวเร่ขายในเขตต์แดนนา ๆ ประเทศชุกชุมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยมาก แต่ข่าไพร่บ้านพัดดูก บ้านพัดลัง บ้านดวงเยาะ บ้านเปลงลามที่พระราชวงศาฮุยเจ้าเมืองเกลี้ยกล่อมไว้ ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามลำน้ำกะเตือกลำน้ำกระจานั้น กลับใจไม่ยอมขึ้นเป็นข่าไพร่เมืองอัตปือ แต่ปีอัฐศกศักราช ๑๒๔๘ ครั้นพระราชวงศากิ่งเจ้าเมืองจะคุมไพร่ไปปราบปรามข่าไพร่ซึ่งกลับใจ ก็เกรงความผิดจึงได้ทิ้งละไว้ ครั้น ณ ปีจออัฐศกศักราช ๑๒๔๙ พณฯ ข้าหลวงใหญ่มีท้องตราจุลราชสีห์บังคับไปถึงผู้ว่าราชการเมืองกรมการว่า ให้ออกไปยกประตูข้ามเรือนด่านไว้ตามหน้าที่เขตต์แดน ผู้ว่าราชการเมืองกรมการก็ได้ตุมไพร่ไปยกประตูข้ามเรือนด่านไว้ที่ท่ารองฟ้ารองยศตำบลหนึ่งตาม...........แต่ท้องตราปักปันเขตต์แดนนั้นต้องเพียงไม่สูญไป เมื่อ
๒๒๗ เกิดเพลิงในบ้านเรือน พระราชวงศาเจ้าเมืองรักษาราชการได้ ๒๒ ปีถึงณปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ นั้นแล้ว พระราชวาศากิ่งเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ครั้น ณ ปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๙ พณฯ ข้าหลวงใหญ่โปรดเกล้าฯ ตั้งให้อุปฮาดโมบุตรอุปฮาดเปาคนเก่า ว่าที่พระราชวงศาเจ้าเมืองต่อมา แล้วพณฯ ข้าหลวงใหญ่มีท้องตราจุลบังคับไปยังอุปฮาดโมผู้ ว่าที่พระราชวงศาเจ้าเมืองท้าวเพี้ยกรมการ ออกไปเกลี้ยกล่อมข่าบ้านพัดตูก บ้านพัดลัง บ้านดองเยาะ บ้านเปงลาม ที่พระราชวงศาฮุยเจ้าเมืองคนก่อนเกลี้ยกล่อมได้แล้วแข็งขัดกลับใจ ให้กลับคงมาขึ้นเมืองอัตปือไปตามเดิมจะได้นำข้าหลวงกองแผนที่เซอละเวโอบเอา ข่า บ้านพัดตูก บ้านพัดลัง บ้านดองเยาะ บ้านเปงลามเข้าไว้ในพระราชอาณาเขตต์ มีข้อความหลายประการแจ้งอยู่ในท้องตราซึ่งโปรดเกล้าฯ ขึ้นไปแล้ว อุปฮาดโมผู้ว่าที่พระราชวงศาเจ้าเมืองได้ยกออกไปพูดเกลี้ยกล่อมข่า บ้านพัดตูก บ้านพัดลัง บ้านดองเยาะ บ้านแปงลาม แต่ ณ วัน ๑๘ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ฝ่ายข้าเจ้าก็ยกออกจากเมืองอัตปือ ลงมาฟังข้อราชการที่เมืองนครจำปาศักดิ์ แต่อุปฮาดผู้ว่าที่พระราชวงศาเจ้าเมืองออกไปเกลี้ยกล่อมข่าที่กลับใจจะได้หรือมิได้นั้น ข้าพเจ้ายังไม่ทราบ การที่จะนำข้าหลวงกองแผนที่เซอละเว แนวพระราชอาณาเขตต์ก็ยังไม่เป็นที่มั่นใจว่าจะทำได้แต่เพียงไร เพราะด้วยในเวลานี้ข่าไพร่และข่าขัดยังกำเริบเสิบสานอยู่ ถ้าจะโปรดเกล้าฯ ให้นำข้าหลวงกองแผนที่เซอละเวแนวพระราชอาณาเขตต์
๒๒๘ ไปถึงตำบลใดในบริเวณข่าขัด ต้องจัดนายทัพนายกองคุมพลทหารประมาณ ๘๐๐๐ - ๙๐๐๐ คน ปั้นกระสุนดินดำเครื่องศาสตราวุธครบมือพร้อมด้วยเสบียงอาหารยกไปปราบปรามพวกข่าขัดเสียให้ราบคาบก่อนจึงจะนำข้าหลวงกองแผนที่เซอละเวแนวพระราชอาณาเขตต์ไปถึงตำบลนั้นได้ตามพระราชประสงค์ ครั้นข้าพเจ้าจะนำข้าหลวงกองแผนที่เซอ-ละเวแนวพระราชอาณาเขตต์ไปถึงเชิงเขาบันทัดต่อแดนญวน แต่ลำ พังเกลือกว่าพวกข่าขัดจะออกกั้นกางสะกัดรบพุ่ง ข้าหลวงกองแผนที่มีเหตุการณ์เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศพระราชอาญาก็จะไม่พ้น เกล้า ฯ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเป็นความสัตย์จริงสิ้นคำให้การข้าพเจ้าแต่เท่านี้ ข้าพเจ้าเขียนลายมือลงชื่อให้ไว้แก่ท่านที่ท้ายคำให้การเป็นสำคัญ (พระสุวรรณวงศาว่าที่อุปฮาด)
คำให้การเรื่องเมืองสพังภูผา
วัน ๑ ๑๒ ค่ำ ปีจอ อัฏฐศกศักราช ๑๒๔๘ เจ้าราชสมพันธวงษา เมืองนครจำ เจ้าหมุน ปาศักดิ์ ๓ พระยาเมืองฮาม พระเจริญรัตนสมบัติ นั่ง หลวงสุพรมมาตรา เมืองขุขัน ๒ ราชวงศ์ผู้ว่าราชการ อุปฮาด เมืองเชียงแตง ๓ ราชวงศ์ พร้อมกัน ณ ทำเนียบเมืองเชียงแตง ข้าพเจ้าพระราชวิตบริรักษ์เจ้าเมืองอายุหกสิบสี่ปี ราชวงศ์กรมการเมืองสพังภูผาอายุ ๕๑ ปี ให้การต้องคำกันว่า เดิมพระราชฤทธิ์บริรักษ์เมื่อยังเป็นที่ท้าวอินธิสารราชวงศ์เมื่อยังเป็นที่ท้าวชามาต ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลข ๒๕๐ คนอยู่เมืองศรีทันดร สมัครไปทำราชการขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์บอกขอหักโอนลงไปณกรุงเทพ ฯ โปรดมีท้องตราพระ ราชสีห์ มาถึงเมืองศรีทันดรฉะบับหนึ่ง พระกระแสโปรดว่าให้อยู่ตามสมัครทราบในท้องตรานั้น พวกข้าพเจ้าพาท้าวเพี้ยตัวเลขยกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ณห้วยหินเป็นบ้านหนึ่งแขวงเมืองเซลำเภา ที่เปลี่ยนชื่อ
๒๓๐ เป็นเมืองธราบริวัฒขึ้น กับเมืองนครจำปาศักดิ์ ณปีขานสำฤทธิศกศักราช ๑๒๔๐ เจ้านครจำปาศักดิ์มีใบบอกลงไปณกรุงเทพ ฯ ขอยกบ้านห้วยหินเปนเมืองหนึ่งโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวอินธิสารเป็นพระราช ฤทธิบริรักษ์เจ้าเมือง ตั้งท้าวศรีวรราชเป็นอุปฮาด ตั้งท้าวชามาตเป็นราชวงศ์ ตั้งท้าวอาทิตสาราชเป็นราชบุตร ยกบ้านห้วยหินเป็นเมือง สพังภูผา ขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์ แล้วมีศุภอักษรฉะบับ ๑ ท้องตราพระราชสีห์ฉะบับหนึ่ง มาถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ พระกระแสโปรดว่าให้เจ้านครจำปาศักดิ์แบ่งปันเขตต์แดนให้กับเมืองสพังภูผา พอสมควรแก่การบ้านเมืองทราบในศุภอักษรท้องตราพระราชสีห์นั้นแล้ว เจ้านครจำปาศักดิ์ยังหาได้แบ่งปันเขตต์แดน ให้เมืองสพังภูผาไม่ พระราช ฤทธิบริรักษ์เจ้าเมืองกับราชวงศ์ ที่ได้รับตราตั้งออกมาคนนี้ ได้รับราชการอยู่เท่าทุกวันนี้ พระราชฤทธิบริรักษ์เจ้าเมืองประทับตรารูปเทวดาราชวงศ์ประทับตรารูปเทวดาไว้เป็นสำคัญ ฯ
คำให้การเรื่องเมืองเซลำเภา
วัน ๔ ๑๒ ค่ำปีจอ อัฏฐศกศักราช ๑๒๔๘ มี
พระยาโพษาราช ๑ พระยาเมืองปาก ๑ นี้เมืองนคร ๓ ไชยอำมาตย์ ๑ จำปาศักดิ์ พระยาภักดีศรีสิทธิสงครามเจ้าเมือง ๑ หลวงรักษ์ ๑ รวม ๙ คนนี้ หลวงพล ๑ นี้เมือง หลวงกำแหง ๑ ธราบริ ๖ ขุนชำนานอักษร ๑ วัฒ ขุนราชโยธา ๑ นั่งพร้อมกันณศาลากลางเมืองธราบริวัฒ ได้ถามหลวงเทียม อายุ ๖๒ ปี นายอ้วน อายุ ๗๐ ปี นายแก้ว อายุ ๖๖ ปีให้การต้องคำกันว่า เดิมเขตต์แดนเมืองนครจำปาศักดิ์ยังตั้งอยู่คลองฉลองแต่เซลำเภายังไม่ได้เป็นเมือง มีแต่เขมรป่าดงครอบครัวอยู่ในเขมรแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ อยู่มาหลายปีพระยาเดโชเม่งเจ้าเมืองกะปงสวายกับองค์จันเจ้าเมืองอุดงมีไชยมีความอริวิวาทกันสิ่งหนึ่ง พระยาเดโชจึงพานักปังผู้น้อยสนองอี่ผู้บุตรนำอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งโพธิสมภารอยู่ในพระราชอาณาเขตต์ ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาเดโชเม่งมาตั้งอยู่บ้านลงปลา นักปัง
๒๓๒ อยู่บ้านเวินฆ้อง สนองอี่อยู่บ้านท่าแสงแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วนักปังลงไปเฝ้าณกรุงเทพ ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้นักปังเป็นพระวิเสศขึ้นมารักษาครอบครัวอยู่บ้านเวินฆ้อง ท้าวบุญสารที่เป็นเจ้าเมืองเชียงแตงให้หม่อมเตียงบุตรจีนฮุยเป็นภรรยาเกิดบุตรคนหนึ่งชื่อนักอินท้าวบุญสารถึงแก่กรรมแล้ว พระวิเสศปังจึงได้หม่อมเตียงมาเป็นภรรยาเกิดบุตรชื่อนัก ดม เมือง เตก ๓ คน พระวิเสศปังได้ลาวฟุ้งดำมาเป็นภรรยาอีกคนหนึ่งเกิดบุตรชื่อนักแย้ม ๑ พระวิเสศปังได้ลาวเมืองนครราชสีมามาเป็นภรรยาคน ๑ มีบุตรชื่อนักบัว พระวิเสศปังถึงแก่กรรมแล้ว นักดมลงไปเฝ้าณกรุงเทพ ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งนักดมเป็นพระวิเสศสัจจาแทนบิดา ตั้งอยู่บ้านเวินฆ้อง แล้วเขมรเมืองสมบูรณ์พากันคิดกระบถ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาบำเรอภักดีพระราชมะนูออกมาพร้อมเจ้าจำปาศักดิ์ฮุยยกกองทัพลงไปตีเมืองสม บูรณ์ แล้วพระวิเสศสัจจาคิดเอาใจไปเผื่อแผ่แก่เขมรเมืองสมบูรณ์ พระยาภักดีบอกกล่าวโทษพระวิเสศสัจจาไปกราบเรียนเจ้าพระยาบดิน-ทรเดชา ซึ่งขึ้นมาขัดทัพอยู่ที่เมืองพระตะบองเห็นว่าพระวิเสศสัจจามีความผิด เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงถอดพระวิเสศสัจจาออกจากที่จะกวาดเอาครอบครัวพระวิเสศลงไปกรุงเทพ ฯ แล้วเจ้าเมืองขุขันจึงกราบเรียนขอเอาพระวิเสศกับครอบครัวลงไปไว้เมืองขุขัน หลวงภักดีจำนงเมืองสังฆจึงมาให้นางหมด บุตรพระยาเดโชเป็นภรรยา แล้วหลวงภักดีจำนงบุตรเขยพระยาเดโช จึงบอกกล่าวโทษพระยาเดโชพ่อตาเข้าไปยังกรุงเทพ ฯ เห็นว่าเป็นการกระบถ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระแก้ว
๒๓๓ ยกกระบัตร พระพุทธโยธีข้าหลวงกับเจ้าเมืองสังฆ ขึ้นมากวาดเอาครอบครัวพระยาเดโชลงไป ณ กรุงเทพฯ เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงโปรดให้นักเมืองบุตรพระวิเสศปัง กับหลวงภักดีจำนงบุตรเขยพระยาเดโชเกลี้ยกล่อมเอาครอบครัวบ่าวไพร่ที่แตกหนีเข้าป่าดงออกมาไว้ แล้วเจ้าพระยา บดินทรเดชาจึงบอกให้นักเมืองกับหลวงภักดีจำนงเข้าไปณกรุงเทพ ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งนักเมืองเป็นพระณรงค์ภักดีเจ้าเมือง นักอินบุตรท้าวขุนสารเป็นหลวงอภัยภูธรปลัด นักเตกเป็นหลวงแก้วมนตรียกกระ บัตร ยกบ้านท่าแสนขึ้นเป็นเมืองเซลำเภาที่ ๑ แล้วโปรดให้สนองอี่บุตรพระยาเดโช ที่ตั้งอยู่เมืองท่าแสงนั้นกลับคืนไปเมืองกะปงสวาย เจ้าปาศักดิ์ฮุยจึงขอเอาตัวพระวิเศษ ณ เมืองขุขันมาไว้เมืองนครจำปาศักดิ์แล้วจึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งหลวงภักดีจำนงเป็นพระมโนจำนงเจ้าเมืองมโนไพร โปรดให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศข้าหลวงเจ้าโง่นเพี้ยอุปราชเมืองนครจำปาศักดิ์ กับปลัดกรมการเมืองขุขัน พาตัวพระมโนจำนงไปตั้งเมืองมโนไพรและปันหลักเขตต์แดน เมืองเซลำเภาทิศอุดรถึงคลองตะเคียน ทิศบูรพาตามฝั่งน้ำโขงลงไปปากคลองเสียมโบก ทิศทักสิณตามดง กาวี ฉลองไปถึงเขาจะลอมหนอง เขาดองกำเบ็ดกะปงทมไปถึงคลอง ปอาว น้ำเสน ทิศปราจีณขึ้นมาตามคลองสำปลุกมาถึงหนองฉแงหินโคนเขาหินเหล็กเขาโกนจะแก ถึงหนองกังสวายมาถึงหนองตำหนักถมหนองจอกบรรจบครบปากคลองเกดียนเป็นเขตต์แดนเมืองเซลำเภา ณ ปีจอสำฤทธิศกศักราช ๑๒๐๐ เจ้าปาศักดิ์ฮุยถึงแก่พิราลัยแล้ว ถึงณปีขานจัตวา ๒๓๔ ศกศักราช ๑๒๐๔ จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าอุปราชนากเจ้าจำปาศักดิ์พระวิเศษสัจจาลงไปเมืองเซลำภา ตั้งอยู่บ้านลงปลา แล้วพระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งนักอินปลัดเป็นพระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๒ ตั้งอยู่บ้านกะโปงปาง ยกกระบัตรเต็กเป็นหลวงอภัยภูธรปลัด นักบัวเป็นหลวงแก้วมนตรียกกระบัตร นักแย้มเป็นผู้ช่วย ณ ปีจอโทศกศักราช ๑๒๑๒ เจ้าปาศักดิ์นากถึงแก่พิราลัยถึง ณ ปีมะโรงอัฏฐศกศักราช ๑๒๑๘ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าคำเป็นเจ้าปา-ศักดิ์ แล้วพระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งปลัดเต็กเป็นพระณรงค์ภักดี เจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๓ ตั้งอยู่บ้านท่าไฮ ผู้ช่วยแย้มเป็นหลวงปลัดเป็นหลวงอภัยภูธรปลัด ท้าวบัวบุตรนักเมืองเป็นหลวงแก้วมนตรียกกระบัตร แล้วพระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองถึงแก่อนิจจกรรม ถึงปีมะเมียสัมฤทธิศกศักราช ๑๒๒๐ เจ้าปาศักดิ์ถึงแก่พิราลัย ครั้นถึงปีกุนเบญจศกศักราช ๑๒๒๕ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าคำสุขเป็นเจ้าปาศักดิ์ ๆ บอกขอเอานักดมผู้เป็นพระวิเศษสัจจาเป็นพระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๔ ตั้งอยู่บ้านลงปลา ท้าวเหมาบุตรเจ้าเมืองตมเป็นหลวงแก้วมนตรียกกระบัตร ปลัดแย้มออกเป็นกองนอกแล้วพระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองถึงแก่อนิจจกรรมถึง ณ วันที่ ๓ ๙ ๕ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศกศักราช ๑๒๔๔ เจ้าคุณพระยามหาอำมาตย์ แต่ยัง ลาว เป็นที่เจ้าคุณพระยาศรีสิงห์เทพขึ้นมาว่าราชการศีรษะเมือง ฝ่าย เขมร ตะวันออกตั้งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ถึงณเดือน ๗ ปีมะแมเบ็ญจศก
๒๓๕ ศักราช ๑๒๔๕ ปลัดแย้มกองนอกขึ้นมาเฝ้าพณ ฯ ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้ปลัดแย้ม เป็นที่พระณรงค์ภักดีเจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๕ ยก กระบัตรเหมาว่าที่หลวงอภัยภูธรปลัด ปลัดแย้มว่าที่เจ้าเมืองได้ ๓ เดือนถึงแก่อนิจจกรรม ครั้น ณ เดือน ๙ ปีระกาสัปตศกศักราช ๑๒๔๗ จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งท้าวคำผุยผู้เป็นหลวงนราผู้ช่วย บุตรเจ้าเมืองอินเป็นพระยาภักดีศรีสิทธิสงครามเจ้าเมือง ยกบ้านเวินฆ้องขึ้นเป็นเมืองธราบริวัฒ แล้วพณ ฯ จึงโปรดตั้งท้าวบุญจันเป็นหลวงภักดีบุตรเจ้าเมืองเต็กเป็นพระภักดีพรมเรศปลัดเหมาเป็นพระวิเศษรักษาอยู่ในเมืองธราบริวัฒทุกวันนี้ นักเมง ๑ เป็นพระยาเดโชเจ้าเมืองกะปงสวาย ๑ มีบุตรชื่อสนองอี่ ๑ คน ท้าวเหมาเป็น พระวิเศษรักษา นักดมเป็นเจ้าเมืองมีบุตรชื่อ ท้าวนวนเป็น ผู้ช่วย ๓ ท้าวเอี่ยมเป็น หลวงณรินทร เดิมบิดามารดา ท้าวบัวเป็นหลวง ๑ ตาย มีบุตร ชื่อ วิไชยยกกระบัตร ท้าวทองเป็น นักเมืองเป็น ยกกระบัตร เจ้าเมืองมีบุตร ท้าวแสนเป็น ชื่อ หลวงนริน ๒๓๖ นักปังเป็น พระวิเศษ ๕ บุตร ๕ คน ชื่อ ท้าวคำพันเป็นผู้ช่วย ๑ ท้าวบุญจันเป็นพระภักดี พรมเรศ ๑ ๔ นักเต็กเป็นเจ้าเมืองมีบุตรชื่อท้าวจูเป็นหลวงภักดี ๑ ท้าวพิมเป็นหลวงนริน ๑ ตาย นักแย้มเป็นปลัดแล้วว่าที่เจ้าเมืองได้ ๓ เดือน ถึงแก่กรรมมีบุตรชื่อนางแก ๑ นักบัวเป็นหลวงแก้วมนตรียกกระบัตรมีบุตร ชื่อหลวงจินดา ๑ บุตรท้าวบุญสารชื่อนักอิน ๑ นักอินเป็นเจ้าเมืองมีบุตรชื่อ ท้าวคำผุย พระยาภักดีศรีสิทธิสงครามเจ้าธราบริวัฒ
พงศาวดารเมืองนครพนม สังเขป ฉะบับพระยาจันทร์โงนคำ เรียบเรียง ณ วัน ๗ ๑ ค่ำ ปีขาล ฉศก ๑๒๗๖
ณ วัน ๓ ๘ ค่ำ ปีกุนนพศก ศักราช ๑๒๔๙ ปี ฯ พณ ฯ หัวเจ้าท่านที่สมุห์มหาดไทยฝ่ายเหนือ ปริวีเคาน์ซิลอ ข้าหลวงใหญ่ ซึ่งตั้งจัดราชการหัวเมืองลาว เมืองเขมรฝ่ายตะวันออก อยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ มีบัญชาโปรดเล้า ฯ ให้เจ้าเมืองกรมการเมืองสกลนครเรียบเรียงพงศาวดารแต่ตั้งเมืองนครพนม ที่แยกออกเป็นเมืองมหาไชย เมืองสกลนครต่อ ๆ มานั้น พระเดชพระคุณเป็นที่สุด เดิมเมืองนครพนมพระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม มีบุตรชายชื่อว่าท้าวกู่แก้ว บุตรหญิงชื่อว่านางสุวรรณทอง นายคำสิงห์บุตรเพี้ยรามแขกได้กับนางสุวรรณทองเป็นภรรยาสามีกัน ท้าวกู่แก้วอายุได้ ๑๕ ปี พระบรมราชาผู้เป็นบิดา เอาท้าวกู่แก้วผู้บุตรไปถวายเป็นมหาดเล็กเจ้าจำปาศักดิ์ได้ ๒ ปี พระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนมก็เถิงแก่กรรมเจ้าเวียงจันทน์จึงตั้งนายคำสิงห์ บุตรเขยพระบรมราชาผู้เป็นผัวนางสุวรรณทอง เป็นพระลคอนเจ้าเมืองนครพนม ครั้นทราบข่าวถึงท้าวกู่แก้วว่าบิดาถึงแก่กรรม พี่เขยได้เป็นเจ้าเมือง ท้าวกู่แก้วจึงลาเจ้าจำปาศักดิ์ขึ้นมาเข้าในลำเซบั้งไฟ เกลี้ยกล่อมเอาท้าวเพี้ยพวกลำน้ำเซ กะตากกะปอง เมืองวังเชียงรม ผาบัง คำเกิด คำมวน จึงพา
๒๓๘ ไปขัดพระละคอนคำสิงห์ เจ้าเมืองนครพนม จึงแต่งกรมการเอาช้างพลาย ๒ นอ ๒ ยอด เงิน ๔๐ แน่นไปขอกำลังจากเจ้าพาพูชุนยวน เจ้าพาพูชุนยวนให้กำลังมา ๖๐๐๐ มารบกับพวกลำน้ำเซ นายไชยเมืองนครพนมจึงลาเจ้าพาพูซุนมาก่อนกำลัง แต่เดือน ๑๒ ถึงเดือนอ้ายกำลังเจ้าพาพูซุนยวนมาถึงเมืองคำเกิดรู้ข่าวถึงท้าวกู่แก้ว จึงแต่งกรมการ เอาช้างพลาย ๑ นอยอด ๑ ไพร่ ๑๐๐ ไปรับกำลังเจ้าฟ้าญวนที่เมืองคำเกิดว่า เป็นนายไชยเมืองนครพนม กำลังญวนก็เชื่อฟังจึงยกมาตีเมืองนครพนม ท้าวกู่แก้วจึงเกณฑ์ไพร่พลที่ฉกรรจ์พรรคพวกได้ ๓๐๐๐ รวมทั้งกำลังญวนรวม ๙๐๐๐ ยกรบเมืองนครพนมแตกข้ามน้ำของมาอยู่ดงเซกาข้างตะวันตก พระละคอนเจ้าเมืองนคร พนมจึงแต่งกรมการไปเฝ้าเจ้าเวียงจันทน์ ญวนจึงทำสะพานข้ามน้ำของมาตั้งค่ายอยู่หาดทรายข้างตะวันตก เจ้าเวียงจันทน์จึงแต่งพระยาเชียงสาคุมไพร่ ๑๐๐๐๐ ยกรบญวนที่ค่ายชะนะญวน ฆ่าญวนตายมากจึงได้เรียกว่าหาดแกวกอง พระยาเชียงสาแม่ทัพจึงได้เอาครอบครัวพระละคอนคำสิงห์เจ้าเมืองนครพนมขึ้นไปอยู่เวียงจันทน์ ให้ตั้งอยู่บ้านเวินทาย รวมสำมะโนครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๓๕๐๐ คน พระยาเชียงสาแม่ทัพ จึงเกลี้ยกล่อมท้าวกู่แก้วมาเป็นพระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม ขึ้นกับเจ้าเวียงจันทน์ตามเดิม พระบรมราชากู่แก้วมีบุตรชายชื่อว่าท้าววุทธัง, ท้าวพรหมมา, ท้าวศรีวิไช, ท้าวอุ่นเมือง ท้าวเลาคำ, ท้าวราช, ท้าวแก้วมณีโชติ, ท้าวพรหมบุตร์ รวม ๘ ชาย บุตรหญิงชื่อว่า นางแท่งคำ, นางแท่งแก้ว, นางคำเภา , นางมิ่ง,
๒๓๙ นางด่อม, นางคำพั่ว, นางเยา, นางแมะ รวมบุตรหญิง ๙ คน พระบรมราชากู่แก้วอยู่ในราชการ ๑๒ ปี จุลศักราช ๑๒๔๐ ปีจอฉอศกเจ้าพระวอเอากำลังกรุงเทพ ฯ ขึ้นมาตีเวียงจันทน์แตก พระบรมราชากู่แก้วจึงพาครอบครัวไปตั้งค่ายกวนหมูได้ ๕ เดือนก็ถึงแก่กรรมที่นั้น ท้าวพรหมมาผู้บุตรจึงพาครอบครัวบ่าวไพร่ออกมาอยู่เมืองนครพนม ท้าวพรหมมาได้เป็นที่พระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม ท้าวอุธทังได้เป็นที่อุปฮาด ท้าวศรีวิไชยได้เป็นที่ราชวงศ์ ได้ออกไปถวายดอกไม้ทองเงิน แต่จุลศักราช ๑๑๔๒ ปีชวดโทศก พระบรมราชาพรหมา มีบุตรชายชื่อว่าท้าวหมาแพง ท้าวหล้า, ท้าวคำสาย, ท้าวพูเพ, ท้าวจันทน์, ท้าววัง, ท้าวปุย, ท้าวขวาง, ท้าวโท, ท้าวขัดตะวัน, ท้าวแสง, ท้าวโก รวม ๑๕ คน บุตรหญิงชื่อ นางเกด, นางสุรคันที, นางจิก, นางจอม, นางแก้วปัดทำ, นางสุรีรวงคำ, นางคิม, นางชม รวมบุตรหญิง ๑๐ คน อุปฮาดอุธทังมีบุตรชายชื่อว่าท้าวจุลณี ๑ บุตรหญิงชื่อว่า นางยอด, นางอินสะ รวม ๒ คนก็ถึงแก่กรรม ราชวงศ์ศรีวิไชยได้เป็นอุปฮาด พระบรมราชาพรหมมาอยู่ในราชการ ๑๔ ปีคิดกบฎเข้ากับเจ้าเวียงจันทน์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลูเอกศก เจ้านันเวียงจันทน์จึงมีหนังสือไปขอกำลังจากเจ้าฟ้าญวนไม่ให้ จึงส่งใบบอกลงไปกรุงเทพมหานคร จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กองทัพขึ้นมาจับเจ้าเวียงจันทน์ พระบรมราชาพรหมมาลงไปกรุงเทพ ฯ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๖ ปีขาลโทศก พระบรมราชาต้องโทษลงพระอาชญา ๑๐๐ ที หนานมาล้อมเมืองเชียงใหม่
๒๔๐ ให้ชะนะ จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้านันไปรบหนานที่เมืองเชียงใหม่ให้มีไชยชะนะ พระบรมราชาพรหมมาขึ้นไปถึงเมืองเถิน จึงเบื่อผักหวานเลยถึงแก่กรรม นายสุดตาเป็นที่พระศรีเชียงใหม่ เดิมเป็นพี่เมียตน พระบรมราชาพรหมาอยู่รักษาเมือง ไปเฝ้าที่กรุงเทพ ฯ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นพระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม ท้าวอุ่นเมืองเป็นอุปฮาด ท้าวเลาคำเป็นที่ราชวงศ์ ๒ คนนี้เป็นบุตรพระบรมราชากู่แก้ว อุปฮาดศรีวิไชยไม่ยอม จึงอพยพครอบครัวลงไปกรุงเทพ ฯ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นเมืองอยู่ปากน้ำ ท้าวอินทิสาร, ท้าวจุลณี, บุตรอุปฮาด, ท้าวกิ่งหงสา, ท้าวคำสาย, ท้าววัง, ท้าวปุย, ท้าวหมาหล้า, บุตรพระบรมราชาพรหมมาไม่ยอมว่าเชื้อไพร่ได้เป็นเจ้าเมือง จึงอพยพครอบครัวบ่าวไพร่ข้ามน้ำโขงไปอยู่ซอกน้ำเซบั้งไฟ เมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๕๗ ปีเถาะสัปตศก ท้าวจุลณี, ท้าวกึ่งหงสา พาบ่าวไพร่ขัดว่า เชื่อไพร่ได้เป็นเจ้าเมืองนครพนมไม่ยอมขึ้นพระบรมราชาสุดตา จึงแต่งกรมการขึ้นไปขอกำลังจากเจ้าอินทร์ เจ้าเวียงจันทน์จึงแต่งเจ้าสีถานกับพระยาสุโพเป็นแม่ทัพมาช่วยแต่งเพียขันขวาไปขอกำลังจากเจ้านคจำปาศักดิ์ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองร้อยเอ็จ แลท้าวสมพมิด เมืองกาฬสินธุ์ มาพร้อมกันที่เมืองนคร ทางกรุงเทพ ฯ โปรดให้พระยาอำมาตย์ขึ้นมาตั้งอยู่ที่โพคำ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๘ ปีมะโรงจัตวาศก พระยาอำมาตย์จึงแต่งคนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมท้าวจุลณี ท้าวกึ่งหงษาไม่ยอมลงมา ครั้นถึงเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๙ ปีมะเส็งนพศก กองทัพเวียงจันทน์กับกองทัพเมืองนคร
๒๔๑ จำปาศักดิ์ และหัวเมืองทั้งปวงยกข้ามน้ำโขงไปรบพวกท้าวจุลณี ท้าวกิ่งหงสาที่กวนกู่กวนงั่วแตก จึงได้ท้าวหมาหล้า นางคำพั่วผัวเมียกับนางยอดภรรยาท้าวศรีกิ่งหงสานั้น ราชวังหน้าเมืองไชยบุรีเอาเป็นภรรยา ครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแม เอกศก ท้าวกิ่งหงสา ท้าวคำสาย จึงยกทัพ ๖๐๐๐ คน มาตั้งอยู่เบื้องช้างราช ริมน้ำโขง ว่าจะรบเมืองนครพนม พระยาสุโพเวียงจันทน์ กับอุปฮาดอุ่นเมือง จึงพร้อมปรึกษาเห็นว่า ท้าวเกษเป็นพี่หญิงท้าวกิ่ง นางสุรคันทีเป็นน้องสาว ท้าวกิ่งหงสากับบุตรหลานหญิง ๑๐๐ มีขันธูปเทียนดอกไม้ไปเอาปฏิสัณถาร ท้าวกิ่งท้าวคำสายก็ดีใจ เห็นพี่สาวกับน้องสาวกิ่งท้าวคำสาย ก็ว่าไม่ขึ้นกับเมืองนครพนม จะขึ้นกับเจ้าเวียงจันทน์ พระยาสุโพกับอุปฮาดอุ่นเมืองจึงข้ามน้ำโขงไปอยู่วัดธาตุเมืองนครเก่า จึงเอาท้าวกิ่งหงสา ท้าวคำสายมารับน้ำสาบานตัว แล้วก็พร้อมกันเลิกทัพกลับ เมื่อจุลศักราช ๑๑๖๒ ปีวอก โทศก ท้าวจุลณี ท้าวกิ่งหงษา ท้าวคำสาย ท้าวน้อย พร้อมกันขึ้นไปเฝ้าเจ้าเวียงจันทน์ จึงตั้งให้ท้าวจุลณีเป็นที่พระพรหม เจ้าเมืองมหาไชยกองแก้ว ท้าวกิ่งหงสา เป็นอุปฮาด พระนาคี ท้าวคำผายเป็นราชวงศ์ ท้าวน้อยเป็นบุตร์พระพรหมเป็นราชบุตร์ ขึ้นกับเจ้าเวียงจันทน์กึ่ง ๑ ขึ้นกับญวนกึ่ง ๑ พระพรหมเจ้าเมืองมหาไชยกองแก้ว มีบุตร์ชายชื่อว่าท้าวโก่ง ท้าวคำ ท้าวเหม็น ท้าวเง้า ท้าวเสือ ท้าวเม้า ท้าวแก้ว ท้าวสีแก้ว ท้าวละ ท้าวนาก ท้าวหล้า รวม ๑๑ คน, บุตร์หญิง นางไผ่ นางสิง นางสุย นางปิก,
๒๔๒ นางตุก นางลุน, รวม ๖ คน พระนาคีอุปฮาดกึ่งมีบุตร์ชาย ท้าวคำ ท้าวอินทร์ ท้าวเกษ ท้าวสิง ท้าวเมืองแก้ว ท้าวสวน ท้าวเขียว ท้าวจัน, รวม ๘ คน บุตร์หญิง นางตุ้ย นางพอง นางลุน นางหมา นางน้อย นางกอง นางดอกแก้ว รวม ๗ คน, พระนาดีอุปฮาดอยู่ในราชการ ๑๐ ปีก็ถึงแก่กรรม เจ้าเวียงจันทน์ ตั้งราชวงศ์คำสายเป็นที่อุปฮาดตี เจ้าท้าวคำบุตร์อุปฮาดพระนาดี-เป็นราชวงศ์ อุปฮาดตีมีบุตร์ชายชื่อว่า ท้าวโก ท้าวเอก ท้าวปิด ท้าวเกษ ท้าวตุง ท้าวคำ ท้าวสอน ท้าวหนู ท้าว อุ่นหล้า รวม ๙ คน บุตรหญิงนางนาง นางจวง นางนุด นางหมา นางสั้น นางผิว นางเขียว นางหลาว นางน้อย รวม ๙ คน, พระพรหมอาสาเจ้าเมืองมหาไชยกองแก้วอยู่ในราชการ ๒๙ ปี เจ้าอนุเวียงจันทน์กบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อจุลศักราช ๑๑๘๗๑ ปีกุนนพศกกองทัพกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นมาตีเวียงจันทน์ ต่อถึงปีชวดสัมฤทธิศกศักราช ๑๑๙๐ ปี เจ้าอนุเวียงจันทน์แตกขึ้นไปเมืองมหาไชยกองแก้วเลยขึ้นไปเมืองญวน กลับลงมาทางเมืองพวน เจ้าน้อยเมืองพวนจึงจับเจ้าอนุเวียงจันทน์ส่งให้แม่ทัพกรุงเทพ ฯ เมื่อปีมะเมียฉอศกศักราช ๑๑๙๖ กองทัพกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปตั้งเกลี้ยกล่อมเอาเมืองมหาไชย ๑. ในพระราชพงศาวดาร ร.๓ เป็นปีจอ ๑๑๘๘ ถ้าเป็นปีกุนตามต้น ฉะบับต้องเป็น ๑๑๘๙
๒๔๓ กองแก้ว พระพรหมเจ้าเมืองมหาไชยกองแก้วแตกหนีขึ้นไปถึงเมืองญวน ก็เลยถึงแก่กรรมเสีย ครั้น ณ ปีมะแมสัปตศกศักราช ๑๑๙๗ ปี อุปฮาดตีเจ้าคำสายราชวงศ์คำ เอาครอบครัวบ่าวไพร่มาสู่พระบรมโพธิสมภาร พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม ตั้งอยู่เมืองสกลนครเดี๋ยวนี้ ถึงปีระกานพศกศักราช ๑๑๙๙ ปี อุปฮาดตีเจ้าคำสายก็ถึงแก่กรรม เมื่อปีจอสัมฤทธิศกศักราช ๑๒๐๐ ปี ราชวงศ์คำลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุง-เทพมหานคร จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ราชวงศ์คำเป็นที่พระยาประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร โปรดให้ท้าวอิน บุตรอุปฮาดพระนาดีเมืองมหาไชยกองแก้วคนเก่าเป็นราชวงศ์ โปรดให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาเป็นอุปฮาด โปรดให้ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์มาเป็นอุปฮาดราชบุตรเมืองสกลนคร พระยาประเทศธานี มีบุตรชายชื่อว่าท้าวไชย ท้าวหมาพอง ท้าวหมาพรหม ท้าวสีนวล ท้าวไค ท้าวทับ ท้าวแค้ รวม ๗ คน มีบุตรหญิงชื่อว่า นางแพง นางหนู นางสิง นางพิมพา นางบัวคำ นางก่ำ รวม ๖ คน, อุปฮาดมีบุตรชายชื่อว่าท้าวโคก ท้าวชิน ท้าวพิมพา ท้าวแสง ท้าวคาน ท้าวพู ท้าวโชติ ท้าวโส รวม ๗ คน บุตรหญิงชื่อว่า นางผิว นางตื้อ นางแพง นางทองแดง นางกัณหา รวม ๕ คน, ราชวงศ์อินทร์มีบุตรชายชื่อว่า ท้าวเหม้น ท้าวขี ท้าวเมก ท้าวคำสงกา ท้าวตูบ ท้าวเฮ้า ท้าวเม้า ท้าวคำจัน ท้าวซ้าย รวม ๙ คน, บุตรหญิงชื่อว่า นางอุ่น นางบัวละพัน นางหมี นางพู นางหนู นางเขียด นางแก้ว นางป้อง
๒๔๔ นางสุพา นางเพือง นางเหลือง นางจันทน์แดง รวม ๑๒ คน ราช บุตรรับราชการได้ ก็ถึงแก่กรรมเมื่อปีชวดโทศก ศักราช ๑๒๐๒ ปี ท้าวขัติยะรับเป็นราชบุตรได้ ๕ ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อปีมะโรงฉศกศักราช ๑๒๐๖ ปี ท้าวอินทิสารได้เป็นราชบุตรอุปฮาดรับราชการได้ ๑๓ ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อปีจอโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ ท้าวโก่งได้เป็นที่พระอุปฮาด ท้าวเหม็นเป็นที่ราชบุตร ๒ คนนี้เป็นบุตรพระพรหมเจ้าเมืองมหาไชยกองแก้ว แต่ราชบุตรอินทิสารนั้นกลับคืนไปอยู่เมืองกาฬิสนธุ์ พระอุปฮาดโก่งนั้นมีลูกชายชื่อว่า ท้าวราช ท้าวมุม ท้าวจุม ท้าวจี ท้าวอินทร์ ท้าวคำ ท้าวพรหม ท้าวเสน ท้าวสา ท้าวหำ ท้าวไชย ท้าววันนี รวม ๑๒ คน, บุตรหญิง นางจวง นางจัน นางวัน นางป้อง นางหนู นางยัน นางมาด นางมิ่ง นางตุ้ม นางแอก นางอ้วน นางสั้น รวม ๑๓ คน ราชวงศ์อินทร์รับราชการได้ ๒๑ ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อจุลศักราช ๑๒๒๐ ปีมะเมีย สัมฤทธิศกเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๕ ปีกุนเบญจศก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราชบุตรเหม้นเป็นที่พระภูวดลบริรักษ์ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บ้านภูวาเป็นเมืองภูวดลสอาง ท้าวเกษ บุตรอุปฮาดดี เจ้าเป็นอุปฮาดท้าวไชย บุตรพระยาประเทศธานี เป็นราชวงศ์ ท้าวเมก บุตรพระภูวดล บริรักษ์ ว่าที่ราชบุตร ถึงเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ ปีเถาะนพศก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ท้าวปิดบุตรอุปฮาดตี เป็นราชวงศ์ท้าวราชบุตรอุปฮาดโถง เป็นราชบุตรเมืองสกลนคร ถึงเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๔ ปีวอก จัตวาศก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งท้าวเหม้น บุตรราชวงศ์
๒๔๕ อินทร์ เป็นพระศรีสกุลวงศ์ ผู้ช่วยพระยาประเทศธานี เจ้าเมืองสกล นคร รับราชการได้ ๓๙ ปี อายุได้ ๘๖ ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อจุลศักราช ๑๒๓๘ ปีชวด อัฏฐศก อุปฮาดราชบุตรก็ถึงแก่กรรมในปีนั้น พระยามหาอำมาตย์ขึ้นมาเป็นแม่ทัพอยู่เมืองหนองคายโปรดว่าที่ราชวงศ์ปิด ว่าที่พระอุปฮาดพระศรีสกุนวงศ์ผู้ช่วย เหม้นว่าที่ราชวงศ์ท้าวจูมบุตรอุปฮาดโถง ว่าที่ราชบุตร ท้าวพองบุตรพระยาประเทศธานี ว่าที่พระศรีสกุนวงศ์ผู้ช่วย ท้าวนากบุตรพระยาพรหมเจ้าเมืองมหาไชยกองแก้วว่าที่พระพิพิธมนตรีผู้ช่วย ครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ ปีฉลูนพศกโปรดเกล้า โปรดณหม่อมตั้งพระศรีสกุนวงศ์เหม้นผู้ช่วยว่าที่ราชวงศ์ลงมากรุงเทพ ฯ โปรดเป็นที่พระอุปฮาด ท้าวพองผู้ว่าที่พระศรีสกุนวงศ์ผู้ช่วย เหม้นว่าที่ราชวงศ์เป็นพระอุปฮาด ท้าวพองผู้ว่าที่พระศรีสกุนวงศ์ผู้ช่วยเป็นราชวงศ์ ครั้นถึงเมื่อจุลศักราช ๑๒๔๐ ปีขานสัมฤทธิศกโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งราชวงศ์ปิดผู้ว่าที่พระอุปฮาดเป็นพระยาประจันตประเทศธานี ท้าวจูมเป็นราชบุตร ท้าวหอมบุตรท้าวกะแสเป็นพระศรีสกุนวงศ์ผู้ช่วย. พระยาประจันตประเทศธานีปิด มีบุตรชายชื่อว่าท้าวแสง ท้าวคำเพา ท้าวฮก ท้าวจูม ท้าวเกษ ท้าวสิน ท้าวนาก รวม ๗ คน, บุตรหญิงนางเหม้น นางคำผิว นางทองคำ นางน้อย นางเข็ม นางสอน รวม ๖ คน, พระอุปฮาดเหม้นมีบุตรชาย ท้าวพังคี ท้าวอรดี ท้าวนรกา ท้าวจรกา ท้าวสิง ท้าวสัง ท้าวเส ท้าวโห ท้าวบัวคำ รวม ๙ คน,
๒๔๖ บุตรหญิงนางหน่อแก้ว นางสุบันศรีสมยศ นางจันทโครบ บิดารบห้อวัดจันเกิดทีหลัง นางทองคาย นางคำอ้วน นางโม นางจันทน์ นางพิสหลู นางแขวงคำค้านชะกุน นางแคว้นคำตุ้ย รวม ๑๐ คน, ราชวงศ์พองมีบุตรชายชื่อว่าท้าวสุวรรณดี ท้าวอินที ท้าวแตงอ่อน รวม ๓ คน, บุตรหญิง นางคำหยด นางคำตัน นางแพง รวม ๓ คน, ราชบุตรจูมมีบุตรชาย ชื่อว่าท้าวขี ท้าวอีนทอง ท้าวชาลี ท้าวคำมี ท้าวโคด รวม ๕ คน, บุตรหญิงนางกดชา ๑ พระยาประจันตประเทศธานี รับราชการได้ ๗ ปีก็ถึงแก่กรรมเมื่อจุลศักราช ๑๒๔๗ ปีวอกฉอศกอายุได้ ๖๙ ปี ถึงเมื่อจุลศักราช ๑๒๔๘ พณ ฯ หัวเจ้าท่านสมุหมหาดไทยฝ่ายเหนือปรีวีเคาน์ซินลอ ข้าหลวงใหญ่ซึ่งตั้งจัดราชการอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์โปรดว่า พระอุปฮาดเหม้นว่าที่พระยาประเทศธานี ราชวงศ์พองว่าที่พระอุปฮาด ราชบุตรจุมว่าที่ราชวงศ์ ท้าวเมกว่าที่ราชบุตร.
ตำนานเมืองวังมล
วัน ๗ ๗ ค่ำ ปีฉลูเอกศก ๑๒๕๑ ข้าพเจ้าหลวงณรงค์โยธา ข้าหลวง ได้หาตัว ท้าวลม อายุ ๑๗ ปี ว่าที่อุปฮาด ๑ ท้าวโพธิราชอายุ ๔๕ ปี ว่าที่ราชวงษ์ ๑ ท้าวไชยวงษ์อายุ ๔๒ ปี ว่าที่ราชบุตร ๑ ท้าวพรหมจักรอายุ ๔๐ ปี ว่าที่พระศรีวรวงษ์ผู้ช่วย ๑ เมืองแสนอายุ ๓๙ ปี ๑ เมืองจันอายุ ๕๘ ปี ๑ เมืองกลางอายุ ๖๓ ปี ๑ กรมการ เมืองวังมลมา ปฤกษาราชการที่พัก เมืองวัง คำ ท้าวลมว่าที่อุปฮาด ๑ ท้าวโพธิราชว่าที่ราชวงศ์ ๑ ท้าวไชยวงศ์ว่าที่ราชบุตร ๑ ท้าวพรหมจักรว่าที่พระศรีวรวงศ์ผู้ช่วย ๑ เมืองแสน ๑ เมืองจันทน์ ๑ เมืองกลาง ๑ ให้ถ้อยคำต่อหน้า ท้าวไชยสารกรมการเมืองมุขดาหาร ๑ ท้าวมหาพันขวา ๑ ท้าวอุปปละ ๑ (รวม) เมืองนครพนม ๒ ชาเนตรกรมการเมืองสกลนคร ๑ ท้าวสุทธิสารเมืองภูวดลสอาง ๑ พระสุวรรณภักดีเจ้าเมืองวังคำ ๑ ว่าครั้งท่านพระยามหาสงครามขึ้นมาตีเมืองตะโปนเมืองวังมล เจ้าคำ เจ้าเมืองวังมลจึงพาครอบครัวบิดามารดาขึ้นไปอาศัยอยู่ ณ เมืองญวน ครั้นบ้านเมืองชุ่มเย็นเป็นปกติแล้ว พระนาคีรัตนเจ้าเมืองพาครอบครัวบิดามารดาพวกข้าพเจ้ากลับลงมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม พระจันทร์สุริยวงศ์เจ้าเมืองมุกดาหารคนเก่า จัดให้ท้าวเพี้ยกรมการขึ้นมาเกลี้ยกล่อม
๒๔๘ พระนาคีรัตน ๆ ก็อ่อนน้อมยอมขึ้นกับเมืองมุกดาหารพระนาคีรัตนแบ่งเงินส่วยเสียไปทางเมืองมุกดาหารเสมอปีละ ๔ ๒ เสียไปทางเมืองญวนปีละ ๔ ๒ เท่ากัน ต่อมาช้านานหลายปีแล้วครั้นพระจันทร์สุริยวงศ์เจ้าเมืองมุกดาหาร พระนาคีรัตนเจ้าเมืองวังมลถึงแก่กรรม เจ้าหนูมาเป็นเจ้าเมืองมุกดาหาร จึงแต่งให้กรมการเมืองมุกดาหารนำเอาตราตั้งมามอบให้ท้าวยะบุตรพระนาคีรัตนเป็นที่พระนาคีรัตนวงศาเจ้าเมืองวังมล แล้วเจ้าเมืองวังมล แล้วเจ้าเมืองลาดคำโล่ แต่งให้กรมการญวนมาหาตัวพระนาคีรัตนวงศาขึ้นไปเมืองลาดคำโล่ เจ้าเมืองลาดคำโล่ตั้งให้พระนาคีรัตนวงศาเป็นโถติเจาเจ้าเมืองวังมล แล้วเขียนเอาเงินส่วยกับพระนาคีรัตนวงศาเสมอปีละ ๔ ๒ ตามเดิมเท่ากับเมืองมุกดาหารต่อ ๆ มาคงท้าวบัดนี้ท้าวยักษ์ว่าที่พระนาดีรัตนวงศาเจ้าเมืองวัลมลแต่ณปีชวดฉศกได้แบ่งส่วยไปทางเมืองญวนเมืองมุกดาหารเสมอมาได้ ๒๕ ปี แต่ส่วยเมืองมุกดาหารนั้น พระจันทร์สุริยวงศ์คนเก่าคนใหม่จะส่งลงไปทูลเกล้า ฯ ถวายเข้าท้องพระคลังฦาจะเอาไปจับจ่ายใช้สอยประการใด ข้าพระพุทธเจ้าหาทราบไม่ บัดนี้ พระนาคีรัตนวงศาเจ้าเมืองก็หนีหายเสีย หารู้ว่าไปแห่งใดไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงณรงค์โยธาข้าหลวงขึ้นมาจัดราชการฝังหลักด่านแบ่งภูมิแดนพระราชอาณาเขตต์กรุงเทพ ฯ ต่อแดนกับญวนตั้งรักษาราชการคุ้มครองป้องกันพวกข้าพเจ้าไว้ ไม่ให้ญวนมาทำอันตรายกับพวกข้าพเจ้าได้แล้ว ข้าพเจ้ากรมการจะพร้อมกันตั้งใจสวามิภักดิ์ต่อใต้ฝ่าละออง ฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพ ฯ ผู้ทรงพระคุณธรรมอัน
๒๔๙ มหาประเสริฐ กราบถวายบังคมรับพระราชทานน้ำพิพัฒสัตยาปีละ ๒ ครั้งตามอย่างธรรมเนียม รับราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยสัจสุจริตทำส่วยทูลเกล้า ฯ ถวายสืบไปชั่วบุตรแลหลานจนกราบท้าวสิ้นอายุ เป็นคำสัตย์คำจริงข้าพเจ้าดังนี้ ข้าพเจ้าพร้อมเอาตรารูปราชสีห์ประจำเมืองประทับไว้เป็นสำคัญ
ตำนานเมืองมูลปาโมข
วัน ๓ ๑๒ ค่ำ ปีจออัฏฐศกศักราช ๑๒๔๘ ข้าพเจ้าพระวงษา สุระเดชเจ้าเมือง อุปฮาดราชวงศ์ราชบุตรเมืองมูลปาโมช ขอทำพงศาวดารเดิมบ้านจานมายื่นต่อท่านหลวงเสนีพิทักษ์ นายทองมหาด เล็กข้าหลวงฉะบับหนึ่ง แต่แรกจะเป็นบ้านเมืองต่อมา มีอาจารย์คนหนึ่งนุ่งผ้าขาวรักษาศีลห้าเป็นนิจสิน ประกอบไปด้วยความเมตตาภาวนา คนทั้งปวงพร้อมกันสักการบูชานับถืออาจารย์ อาจารย์จึงเกลี้ยกล่อมชักชวนเอาคนทั้งปวงที่แตกหนีกองทัพไทย เที่ยวซุ่มซ่อน ชาย อยู่ตามป่าดง ได้ผู้คน ประมาณ ๔๐ คนเศษ อาจารย์ผ้าขาว หญิง จึงพาครอบครัวผู้คนลงมาตั้งบ้านปลูกเรือนอยู่ริมน้ำโขง จึงเรียกชื่อบ้านจานขึ้นกับเมืองโขงเท่าทุกวันนี้ เจ้าเมืองโขงจึงตั้งให้ฑิตยกัณหาอำแดงจันทร์ เป็นเพี้ยบุตรวงศ์กำนันบ้านต่อ ๆ มา ครั้นเพี้ยบุต วงศ์ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองโขงตั้งให้จานรุนบุตรเพี้ยบุตรวงศ์เป็นเพี้ยชิณบุตรกำกัน ครั้นเพี้ยชิณบุตรถึงแก่กรรม เจ้าเมืองโขงตั้งให้ฑิตยลีเป็นเพี้ยไชยสงครามกำนัน ครั้นเพี้ยไชยสงครามถึงแก่กรรม พระศรีเชียงใหม่เจ้าเมืองโขงออกจากเมืองนครจำปาศักดิ์ ทำราชการขึ้นกับกรุงเทพ ฯ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา ตั้งให้พระศรีเชียงใหม่เป็นที่พระอภัยราชวงษาเจ้าเมือง ขนานนามเมืองโขงเป็นเมืองศรี
๒๕๑ ทันดร เจ้าเมืองศรีทันดรจึงตั้งให้นายฑิตยทุมเป็นเพี้ยเมืองคุกกำนัน ครั้นเพี้ยเมืองคุกถึงแก่กรรม ราชวงศ์เมืองศรีทันดรไปตั้งเรือนอยู่ที่บ้านจาน ราชวงศ์ถึงแก่กรรมเจ้าเมืองศรีทันดร ตั้งให้เชียงจันทาเป็นเพี้ยเมืองแสนอยู่บ้านจาน ครั้นเพี้ยเมืองแสนถึงแก่กรรม เจ้าเมืองศรีทันดรตั้งให้ทิตยหาเป็นที่เพี้ยพันนารักษาบ้านจานต่อมา ถึงณ วัน ๑ ๗ ค่ำปีมเส็งตรีศกศักราช ๑๒๔๓ พระอภัยราชวงษา เจ้า ศรีมหาราช เมืองศรีทันดรที่ ๓ แต่งให้ท้าวสุริยวงศ์ ท้าวสุริย ท้าว จันทเสน ถือบอกคุมเงินส่วยลงไปทูลเกล้า ฯ ถวาย จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวสุริยวงศ์บุตรท้าวศรีวรราชเป็นที่พระวงษาสุรเดชเจ้าเมือง ตั้งให้ท้าวสุริยบุตพระอภัยราชวงษา เจ้าเมืองศรีทันดรที่ ๒ เป็นที่อุปฮาดให้ท้าวศรีราชบุตร ท้าวจิตตราชว่าที่ราชวงศ์ ให้ท้าวจันทเสน บุตรท้าววรบุตรว่าที่ราชบุตร ขนานนามบ้านจานเป็นเมืองมูลปาโมข ขึ้นกับเมืองศรีทันดร มีจำนวนวัดเรือนเจ้านายราษฎร แจ้งในนี้
๒๕๒ พระ ๖ วัดโพไชยหัวเมือง รวม ๑๖ เณร ๑๐ พระ ๑๑ วัดศรีบุญเรืองท้ายเมือง รวม ๒๕ เณร ๑๔ เจ้าเมือง ๑ อุปฮาด ๑ ราชวงศ์ ๑ รวม ๔ ทำการอยู่ ราชบุตร ๑ ในเมือง กรมการ ๑๘ ไพร่ ๑๔ รวมทั้งสิ้นเป็น เขยสู่ ๑๔ ๑๒๐ เรือน จีนสู่ ๒ รวม ๑๖ กรมการ ๔ ทำราชการขึ้นกับ เมืองศรีทันดร ไพร่ ๑๓ รวม ๒๑ เขยสู่ ๔ กรมการ ๑ ทำการขึ้นกับ เมืองสพังภูผา ไพร่ ๒ รวม ๖ เขยสู่ ๒