ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๑

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑


พิมพ์ที่โรงพิมพ์ กรุงเทพบรรณาการ สี่กั๊กพระยาศรี พระนคร


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ๒๔๑๗ - ๒๔๘๑

คำนำ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชชกาลที่ ๗ โปรดเกล้า ฯ ให้กรมศิลปากรเลือกหาเรื่องหนังสือถวาย สำหรับที่จะ โปรดให้ตีพิมพ์เป็นของพระราชทานแจกในการพระราชกุศล เป็นพระ ราชูทิศทักษิณานุปทาน ในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระราชชนนี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส กรมศิลปากรเห็นว่า การศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์ ย่อมถือว่าเป็นสาขาในการศึกษาอย่างหนึ่ง จึ่งคิดเห็นว่า ถ้าตีพิมพ์หนังสือ อันนับเนื่องในเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น เป็นของพระราชทาน ก็จะเป็นการสมควร กรมศิลปากรจึงได้จัดรวมเรื่อง คือ ๑. พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ ๒. เรื่องเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ๓. พงศาวดาร เขมรอย่างย่อ และ ๔. ราชพงศาวดารญวน จัดรวมกันเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑ ทูลเกล้า ฯ ถวาย หนังสือพงศาวดารละแวกฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ ต้นฉะบับเป็นสมุดไทยตัวเขียน หอสมุดแห่งชาติมีฉะบับรักษาอยู่แต่เดิมเพียงเล่ม ๑ กับเล่ม ๓ ส่วนเล่ม ๒ ขาดไป มาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ กรมศิลปากร ได้รับโอนหนังสือสมุดไทยบางส่วนมาเก็บรักษาไว้ยังหอสมุดแห่งชาติ จึง ไปได้พงศาวดารเขมรฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ เล่ม ๒ ความต่อกันกับเล่ม ๑ และเล่ม ๓ ที่มีอยู่แล้วได้พอดี นับว่าได้ต้นฉะบับพระราช



ข พงศาวดารของเก่า ซึ่งยังไม่เคยได้ตีพิมพ์อีกเรื่องหนึ่ง ควรเป็นที่ยินดีของ นักศึกษาทางประวัติศาสตรไม่น้อย พระราชพงศาวดารเขมรฉะบับนี้ แปล จากต้นฉะบับภาษาเขมรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ เป็นปีที่ ๒๗ ในรัชชกาลที่ ๑ กล่าวความตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๑๘ ถึง พ.ศ. ๒๑๖๑ สังเกตข้อความที่มี กล่าวไว้ในนั้น เป็นเรื่องว่าด้วยพระราชพิธีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศเขมรสมัยนั้นทำนองจะเป็นพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะใคร่ทรงทราบระบอบแบบบุราณราชประเพณีของเขมรเพื่อมาสอบกับของสยาม เพราะประเทศสยามยุคก่อนหน้านั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา สรรพตำหรับตำราที่เป็นแบบแผน คงเป็นอันตรายถูกข้าศึกเผาผลาญสูญหายไปเป็นอันมาก ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แปลพระราชพงศาวดารเขมรฉะบับนี้ขึ้น ก็คงมีพระราชประสงค์ดังกล่าวมาข้างต้น เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์และพงศาวดารเขมรอย่างย่อ นำมารวมไว้ในเล่มนี้ เพื่อให้แพร่หลายสะดวกแก่การสอบสวนง่ายขึ้น ส่วนราชพงศาวดารญวนต้นฉะบับเป็นสมุดไทยเส้นรงค์ลายมือเก่าองค์เชียงลือ (พระเจ้าเวียดนามยาลอง ) ครั้งยังอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ได้ให้เปดตรึงและองเปดจัด ร้อยกรองเป็นเรื่องสังเขป ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาได้มีผู้แก้ไขถ้อยคำสำนวนบ้าง ตกเติมเรื่องให้พิสดารอีกบ้าง ดังพิมพ์อยู่ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๘ และที่เก็บความไปลงในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทรรัชชกาลที่ ๑ ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค ) เรียบเรียง (ยัง

ค ไม่ได้พิมพ์) ข้อความบางตอนแตกต่างผิดเพี้ยนจากฉะบับเดิมก็มี กรมศิลปากรเห็นว่า เรื่องที่พิมพ์ในเล่มเป็นฉะบับเดิม สมควรรักษา ไว้เป็นหลัก อนึ่ง เพื่อผู้ศึกษาทางประวัติศาสตร์จะได้ทราบว่า เรื่องราวประ เทศเขมรที่มีฉะบับเป็นภาษาไทย มีเรื่องอะไรบ้าง กรมศิลปากรได้ให้นายปรีดา ศรีชลาลัย เจ้าหน้าที่ในหอสมุดแห่งชาติ รวบรวมเรื่องที่เกี่ยวกับเขมร บรรดาที่มีต้นฉะบับอยู่ และทำเป็นบันทึกขึ้น แล้วตีพิมพ์ไว้ในหน้าต้นของหนังสือเล่มนี้ กรมศิลปกรขอถวายอนุโมทนาในพระราชกุศลบุญราศี ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้โปรดให้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ พระราชทานความรู้เป็นสาธารณะประโยชน์ อันจะมีผลถาวรวัฒนาการสืบไปตลอดกาลนาน เป็นพระราชกุศลนับเนื่องในทักษิณานุปทาน มีกตัญญุตาธรรม เป็นปัจจัย สำเร็จเป็นปัตติทานมัยที่ตั้งแห่งบุญกิริยา เนื่องในมาตาปิตุ ปัฏฐานวิธี ขออำนาจพระราชกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญในวาระนี้ จงบันดาล อิฏฐคุณมนุญผล ให้สัมฤทธิ์แด่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระราชชนนี สมดังพระราชปณิธานทุกประการเทอญ

กรมศิลปากร อ, ร, วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑




พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ๒๔๑๗ - ๒๔๘๑

บันทึกพงศาวดารเขมร

(๑) ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉะบับหอสมุดวชิรญาณแปลใหม่ กล่าวความเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ ว่าด้วยตำนานครั้งดึกดำบรรพ์ไม่ปรากฏศักราช เป็นเรื่องสร้างนครธมและนครวัด ตอนที่ ๒ เป็นพงศาวดารมีศักราช เริ่มแต่พ.ศ.๑๑๘๙ รัชชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมนิพันธบท จนถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ครั้งเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน ) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเขมร (ซึ่งยังไม่มีกษัตริย์ ปกครอง ) ตอนที่ ๓ ตั้งแต่นักองเองได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ราชาภิเษก เป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๗ เป็นที่ ๑๓ ในรัชชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาจนถึงรัชชสมัยสมเด็จพระนโรดม (นักองราชาวดี ) พ.ศ. ๒๔๐๘ ต้นฉะบับเป็นอักษรและภาษาเขมร กระดาษฝรั่ง เส้นหมึกดำศาสตรจารย์ยอช เซเดส ได้มาจากกรุงกัมพูชา มอบให้แก่หอพระสมุด วชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ กรรมการหอพระสมุด ฯ ขอให้นายพัน ตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์) แปล พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๐ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร



(ข) (๒) เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ กล่าวความตั้งแต่พระอินทรา ธิราชทรงพระสุบินว่า แก้วมณีโชติหลุดจากพระโอษฐ์ ตกลงในเปือกตมเมืองมนุษย์ ครั้นทรงหยั่งทราบเหตุการณ์ภายหน้าคลอดแล้ว จึ่งมีเทวโองการให้เกตุเทวบุตรจุติลงมา ถือปฏิสนธิในครรโภทรแห่งพระนางเทพวดีท้าวโกเมราชพระเจ้านครเขมราช ต่อมาจนถึงกษัตริย์องค์หนึ่งสืบวงศ์มาแต่พระเจ้าปักษีจำกรง ลอบเสด็จเข้าไปในไร่บุรุษแตงหวาน ๆ สำคัญว่าเป็นโจร จึ่งปลงพระชนม์เสียด้วยหอกคู่มือ แล้วมุขมนตรี ทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลเชิญบุรุษแตงหวานนั้นให้ขึ้นทรงราชย์ ทรงพระนามพระเจ้าสุริโยพันธุ์ ครองอินทปัตถมหานคร (เรื่องพระเจ้าแตงหวานของเขมรนี้ คล้ายกับเรื่องพระเจ้าแตงกวา ของพะม่า ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองกรุงภุกาม เมื่อประมาณ ๑๕๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว เป็นเรื่องแสดงให้เห็นพระราชสิทธิและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ดึกดำบรรพ์ ดังมีตรงกับเรื่องเตลปัตตชาดก คัมภีร์ชาตกัฏฐกถา ภาคสอง หน้า ๒๔๓ เป็นต้น ) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๗ รวมอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ย่อ เป็นเวลา ๖๔ ปี ล่วงแล้ว พิมพ์ครั้งที่ ๒ ในเล่มนี้ (๓) เรื่องราวของเมืองเขมร กล่าวความตั้งแต่เขมรยังแผ่อำนาจเข้ายึดการปกครองไทยตลอดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาจนถึงราชวงศ์แตงหวาน สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์ ) เอาใจออกหากจากไทยไปฝักใฝ่ข้างญวน ถึงกับเกิดวิวาทกันในหมู่พี่น้อง ในระหว่างรัชชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

(ค) เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์รวมอยู่ในหนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย หลังวัดเทพศิรินทร์ (๔) พงศาวดารเมืองละแวก เริ่มความตั้งแต่สมเด็จพระมหานิพพานทรงราชย์ที่นครศรียโสธรราธานี เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๙ จนถึงสมเด็จพระศรีโสไทย วิวาทกับพระธรรมราชาแล้วหนีเข้ามาพึ่งกรุงศรีอยุธยา ต้นฉะบับเป็นภาษาเขมร สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองเอง ) เจ้ากรุงกัมพูชา นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน ๗ ขึ้น ๗ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๓๙ แล้วโปรดให้หลวงพจนาพิจิตร ขุนสารประเสริฐ ขุนมหาสิทธิ นายชำนิโวหารแปลออกเป็นภาษาไทย พิมพ์อยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๕๘ โรงพิมพ์โสภณพิรรฒธนากร (๕) พงศาดารเขมร กล่าวความตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าบรม นิพันธบททรงราชย์อยู่ในนครธม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๙ สืบต่อมาจนถึงสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์ ) ทรงบำเพ็ญกุศลทำพิธีสังคายนาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองด้วง)เจ้ากรุงกัมพูชา ถวายต้นฉะบับเป็นภาษาเขมร แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วโปรดให้ขุนสุนทรโวหาร ในกรมพระอาลักษณ์ พระยาธรรมาธิบดี พระเสนาพิจิตร หมื่นมหาสมุท แปล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘


(ฆ) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๒ โรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวังพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๔๕ โรงพิมพ์วัชรินทรบริษัท พิมพ์ครั้งที่ ๓ รวม อยู่ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ โรงพิมพ์ไทย สะพานยศเส (๖) พงศาวดารละแวกฉะบับแปล จ.ศ.๑๑๗๐ กล่าวความในระหว่าง ๔๔ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๑๘ จนถึง พ.ศ. ๒๑๖๑ ตรงกับรัชช กาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา ตลอดถึงรัชชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ สังเกตได้ว่าผู้แต่งเรื่องนี้ ตั้งใจจะทำบันทึกราชพิธีต่าง ๆ สมัยโบราณไว้ให้ปรากฏเป็นแบบแผน เช่นการตั้งตำแหน่งข้าราชการ พิธีประจำเดือนตลอดปี ที่แยกเป็นฝ่ายพุทธศาสตรและไสยศาสตรนั้น ทำอย่างไรบ้าง ก็กล่าวให้เห็นเป็นอย่าง ๆ ไป พระราชพิธี ๑๒ เดือน ของกรุงกัมพูชา ที่ปรากฏในพงศาวดารฉะบับนี้เป็นอย่างเก่าแต่คงจะเลือนไป ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ สมเด็จ พระหริรักษรามาธิบดี (นักองด้วง) ได้ทรงพื้นขึ้นทำเป็นราชประเพณีอีกบางข้อผิดเพี้ยนไปจากพิธีเดิมบ้าง ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงกัมพูชา ที่กล่าวมาแล้วในหมายเลข (๑) ต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้ พิธีบางอย่างต่างจากครั้งสมเด็จพระหริรักษรามาธิบดีอีกเหมือนกัน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในเรื่องนิราศนครวัด ซึ่งพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ต้นฉะบับพงศาวดารละแวกฉะบับแปล จ.ศ.๑๑๗๐ นี้ เป็นภาษาเขมร พระองค์แก้วนำมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

(ง) เมื่อวันอังคารเดือน ๖ แรมค่ำหนึ่ง พ.ศ. ๒๓๕๑ ปีที่ ๒๗ ในรัชชกาลที่ ๑ จึงโปรดให้ขุนสาราบรรจง ปลัดกรมพระอาลักษณ์พระราชวังบวรแปลพิมพ์ครั้งแรกในเล่มนี้ (๗) พงศาวดารเขมรอย่างย่อ กล่าวความตั้งแต่พวกแขกจามก่อการกำเริบขึ้นในเมืองเขมร เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖ )เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาจนถึงสมัยเขมรเป็นจลาจลระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๔ ถึงพ.ศ. ๒๔๐๕ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชชกาลที่ ๔ ไทยช่วยปราบปรามทำความสงบให้แก่บ้านเมืองเขมร ได้อยู่เย็นเป็นสุขสมบูรณ์สืบมา เรื่องนี้ไม่บอกว่าผู้ใดแต่ง แต่สำนวนใกล้กับพระราชนิพนธ์รัชชกาลที่ ๔ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๗ รวมอยู่ในหนังสือพระราชพวศาดารย่อพิมพ์ครั้งที่ ๒ รวมอยู่ในเล่มนี้ (๘ ) เรื่องที่เรียบเรียงใหม่ยังมีอีกหลายตอน แซกอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับดังนี้ (ก) พระราชพงศาวดารรัชชกาลที่ ๑ กล่าวความตั้งแต่นักองตนได้ทรงราชย์ เป็นพระนารายณ์ราชาธิราช เจ้ากรุงกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑ ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สืบต่อมาจนถึงสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์) เข้ามาเฝ้าทูลละออง ณ กรุงเทพ ฯ แล้วกราบถวายบังคมลากลับไป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรียบเรียง สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงชำระพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๗๘ โรงพิมพ์พระจันทร์

(จ) (ข) พระราชพงศาวดารรัชชกาลที่ ๒ เริ่มความตั้งแต่เขมรโบราณเสื่อมอำนาจ ไทยฟื้นอิสสระภาพในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเกิดมีประเทศจำปาขึ้นที่ปากน้ำโขง สืบต่อมาจนถึงสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์ ) เจ้ากรุงกัมพูชา คิดประทุษร้ายไทย แต่งกองทัพมารุกล้ำดินแดนเมืองพัตบอง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียบเรียง พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ โรงพิมพ์ไทย สะพานยศเส (ค) พระราชพงศาวดารรัชชกาลที่ ๓ กล่าวความตั้งแต่สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์ ) เจ้ากรุงกัมพูชา ถูกญวนกดขี่จนได้สำนึก แล้วแต่งให้พระยาพระเขมรคุมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ต่อมาจนถึงนักองด้วงได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระหริรักษรามาธิบดี ใน พ.ศ. ๒๓๙๐ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียบเรียง พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงพิมพ์ศรีหงส์ (ฆ) พระราชพงศาวดารรัชชกาลที่ ๔ กล่าวความตั้งแต่สมเด็จพระหริรักษรามาธิบดี ขอพระราชทานเปลี่ยนนามาภิไธยใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ต่อมาจนถึงองค์พระนโรดม (นักองราชาวดี) แต่งข้า หลวงให้มาประชุมปักเเขตต์แดนระหว่างเขมรกับไทย ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียบเรียง พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงพิมพ์พระจันทร์ (๙) พงศาวดารเมืองพระตะบอง ของเจ้าพระยา คทาธร ธรณินทร์ (เยียบ อภัยวงศ์ ) พิมพ์เป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๔๖๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

(ฉ) (๑๐) เหตุการณ์เมืองเขมรตอนเสร็จสงครามไทยกับญวน ในรัชชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ พิมพ์เป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๖ พ.ศ. ๒๔๗๕ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร (๑๑) จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชชกาลที่ ๓ ตอนที่ว่าด้วยเหตุการณ์ตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๗๕ จนถึงปีกุน พ.ศ. ๒๓๘๒พิมพ์เป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๗ พ.ศ. ๒๔๘๑ โรงพิมพ์พระจันทร์ (๑๒) จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชชกาลที่ ๓ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยเหตุการณ์ส่วนหนึ่งในปีชวด พ.ศ. ๒๓๘๓ พิมพ์เป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๘ พ.ศ. ๒๔๘๑ โรงพิมพ์บำรุงกูลกิจ (๑๓ ) ส่วนที่เป็นแต่ทำเนียบบ้าง ธรรมเนียมบ้าง ตลอดถึงกฎหมายเก่าบางเรื่อง คือ ตำราทำเนียบบรรดาศักดิ์กรุงกัมพูชา ว่าด้วยทำเนียบเจ้านายขุนนางเมืองส่วย พระราขาคณะ และหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ต้นฉะบับอยู่กระทรวงมหาดไทย ได้มาในรัชชกาลที่ ๑ และรัชชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ พิมพ์อยู่ในทำเนียบนามภาคที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ราชกำหนดกรุงกัมพูชา ว่าด้วยพระราชประวัติและกำหนดการพระศพสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งมีใน พ.ศ. ๒๔๗๐ พิมพ์อยู่ในลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ ๒๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ราชาภิเษกสมเด็จพระมณีวงศ์ ว่าด้วยพระราชประวัติและพระ

(ช) ราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระมณีวงศ์ ซึ่งกระทำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงแปลถอดจากภาษาเขมรพิมพ์อยู่ในลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ ๒๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร กฎหมายเก่ากรุงกัมพุชา ที่พิมพ์แล้ว คือ (ก) ลักษณะโจร ตั้งครั้งสมเด็จพระไชยเจษฎา พ.ศ. ๑๙๘๓ และครั้งสมเด็จพระนโรดม (นักองราชวดี ) พ.ศ. ๒๔๐๓ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร (ข) ลักษณะทาษกรรมกร ตั้งครั้งสมเด็จพระไชยเจษฎา พ.ศ. ๒๒๓๖ พิมพ์ ๒๔๖๒ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย หลังวัดเทพ ศิรินทราวาส (ค) กฎมนเทียรบาล ตั้งครั้งสมเด็จพระนโรดม พ.ศ. ๒๔๑๘ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร (๑๔)นอกจากนี้มีข้อความบางตอนแซกอยู่ในพงศาวดารเหนือ,ประชุมศิลาจารึกสยาม , ชินกาลมาลินี, จามเทวีวงศ์ ,ตำนานสิงหนวัติ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี, คำให้การขุนหลวงหาวัด หรือ คำให้การชาวกรุงเก่า ตลอดถึงกฎหมายเก่าบางเรื่อง เป็นต้น



พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐

ณวันอังคารเดือน ๖ แรมค่ำหนึ่ง จุลศักราช (๑) ๑๑๗๐ ปีมะโรงนักษัตรสัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๓๕๑ ) ข้าพระพุทธ(๒) เจ้าพระองค์แก้ว นำเอาพระราชพงศาวดารกฎหมายเหตุ ลำดับสำหรับกษัตริย์เมืองละแวก(๓) เป็นหนังสือภาษากัมพุชพากย์ มาทูลเกล้า ฯ ถวาย ข้าพระพุทธเจ้า ขุนสารา (๔) บรรจง ปลัดกรมอาลักษณ์ กรมพระราชวังบวร ฯ แปล คัดออกจำลองลอกเป็นสยามภาษา ได้ใจความว่า เมื่อมหาศักราชได้ ๑๔๙๗ ปีชวดนักกษัตรสับตศก(๕) (พ.ศ. ๒๑๑๘) ยังมีกษัตริย์ ๒ พระองค์ ๆ หนึ่งได้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองละแวก ทรงพระนามชื่อว่า สมเด็จ (๖) พระราชโองการ พระบรมราชารามาธิราชธิบดี พระองค์มีสมเด็จพระอนุชาธิราชพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่า สมเด็จพระศรี สุริโยพรรณ ตั้งอยู่เป็นที่อุปรราช(๗) ฝ่ายหลัง มีข้าราชการสำหรับที่พร้อม กษัตริย์ ๒ พระองค์เสวยราชสมบัติสืบสนองแทนพระราชวงศานุวงศ์ต่อเนื่องกันมา แต่ครั้งพระอัยกาและ (๘ ) พระอัยกี จนถึงพระบิดามารดาของพระองค์ ๆ ได้ราชสมบัติสืบต่อมา

(๑) ปีที่ ๒๗ ในรัชชกาลที่ ๑ (๒) เดิมเขียน พุทธิ (๓) เดิมเขียนแลวก (๔) เดิมเขียน ษารา (๕) ตรงกับรัชชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา (๖) เดิมเขียน สมเดจ์ (๗) บางทีจะเขียนผิดแต่เดิม ตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในมหาศักราช ๑๕๒๐ มีคำว่าอุประยุรราชแห่งหนึ่ง และในหน้าสุดท้ายมีคำว่าอุปยูรราชอีกแห่งหนึ่ง บางที ๒ คำหลังนี้จะใกล้กับภาษาเขมรในต้นฉะบับ (๘) เดิมเขียนแลเป็นดังนี้ทุกแห่ง ๒ สมเด็จพระอัครมเหษีพระองค์ทรงพระนามชื่อ ว่าสมเด็จพระภัควดีศรีจักรพรรดิราช มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชบุตรา ๒ พระองค์มีพระราชบุตรีพระองค์หนึ่ง พระราชโอรสผู้พี่นั้นทรงพระนามชื่อว่าสมเด็จพระไชยเชษฐา พระองค์ถัดมานั้นชื่อ สมเด็จพระบรมราชา พระราชขนิษฐาบุตรีสุดนั้นชื่อ สมเด็จพระมหากษัตรี แล้วพระองค์ทรงพระอนุเคราะห์ พระราชวงศ์พระองค์หนึ่งนั้นชื่อว่า สมเด็จพระบรมกษัตริย์ มาตั้งเป็นพระอัครราชเทวีเบื้องขวา มีพระราชบุตรีองค์หนึ่งชื่อ สมเด็จพระวิสุทธกษัตริย์ แล้วพระองค์ทรงพระอนุเคราะห์พระราชวงศ์พระองค์หนึ่งนั้นชื่อว่าสมเด็จพระเทพกษัตรี มาตั้งเป็นพระอัครราชเทวีเบื้องซ้าย มีพระราช บุตรีองค์หนึ่งชื่อว่า พระวิสุทธกษัตรี แล้วพระองค์มีพระสนมคนหนึ่งนั้นชื่อ นักนางไท มีพระราชบุตราด้วยนักนางไทนั้นองค์หนึ่งชื่อ เจ้าพระยา (๑) ณู แล้วพระองค์มีพระราชโอรสด้วยพระสนมชื่อ นักนางจันท์นั้น ๒ พระองค์ ๆ หนึ่งชื่อ เจ้าพระยานอน พระราชบุตรีนั้นชื่อ นักญา แล้วพระองค์มีพระราชบุตรีด้วยพระสนมชื่อนักนางมลนั้นพระองค์ หนึ่งชื่อ นักอี แล้วพระองค์มีพระราชบุตรา ด้วยลาวนางนักกำนัลชื่อ นักนางแพงพระองค์หนึ่งชื่อว่าเจ้าพระยาโยมๆ นั้นเชี่ยวชาญชำนาญรู้ตำราข้างไสยสาตร เป็นครูเถ้าถือบวช (๒) เป็นหมอช้าง

(๑) คำว่า พระยา ทุกแห่งในฉะบับเดิมเขียน พญา (๒) เดิมเขียน บวด ๓ และที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องสมเด็จพระอนุชาธิราช ที่ทรงพระนามชื่อว่าสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณนั้น พระองค์มีพระอัครมเหษีพระองค์หนึ่งชื่อ สมเด็จพระชาติกษัตรี มีพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชบุตรี ๒ พระองค์ ๆ หนึ่งนั้นชื่อ สมเด็จพระเอกกษัตรี พระองค์หนึ่งนั้นชื่อ สมเด็จพระวิสุทธกษัตรี พระราชบุตรา ๒ พระองค์ ๆ หนึ่งชื่อ สมเด็จพระไชยเชษฐา ถัดลงมานั้นชื่อ สมเด็จพระอุทัยราชา สมเด็จพระไชยเชษฐาลูกน้องข้องชื่อกันกับลูกพี่ สมเด็จพระชาติกษัตรีผู้เป็นพระอัครมเหษีนั้นมีน้องชายคนหนึ่งชื่อ สมเด็จพระศรีไชยเชษฐ์ กล่าวพระวงศานุวงศ์ ลำดับกษัตริย์ ก็หยุดไว้แต่เพียงนี้ก่อน ทีนี้จะกล่าวด้วยพระอุโบสถวิหารจัตุรมุขมหาปราสาท หน้าพระลานมีพระพุทธรูป ๔ พระองค์ ยืนประดิษฐานอยู่ทุกมุข เรียกชื่อว่า พระ (๑) อัฏฐารส สูง ๑๘ ศอกเสมอกันทุกพระองค์ พระบาทนั้นเป็นศิลา พระองค์นั้นทำด้วยไม้ตะเคียนทั้ง ๔ พระองค์ จะว่าด้วยพระราชมณเทียร ณ เมืองละแวกนั้น มีมุขหน้าหลังเป็นครุฑ (๒) อัดสิงห์อัด เป็นหลั่นอันดับกัน ประดับกะจกลงรักปิดทอง และเรือนพระสนมกำนัลในลดหลั่นเป็นอันมาก และมีหน้าพระลานทั้งนอกทั้งใน พระที่นั่ง (๓) ร้อนที่นั่งเย็น มีทั้งนอกทั้งใน และมีโรงช้างโรงม้า โรงรถ เป็นหลั่นลดฉลุฉลักลงรักปิดทอง และมี ๑๒ พระคลังมั่งคั่งไปด้วยลูกค้าวาณิชสมณชีพราหมณ์ปโรหิต บัณฑิตยชาติราชครู หมู่นิกรทวยหาญ และเสนาข้าราชการหลานหลวง เหล่าราชนิกูลขุนหมื่น

(๑) เดิมเขียน อัฐรัศ (๒) เดิมเขียน ครุทธอรรถสิงอรรถ (๓) เดิมเขียน ธินั่ง ๔ พระวงศานุวงศ์เฝ้าเป็นลดหลั่นอันดับกัน แล้วเป็นคำสงสัยเข้ามาในที่นี่ว่า สมเด็จพระมหากษัตริย์พระองค์ เดียวมีพระราชบุตรและพระราชธิดาเป็นอันมาก เหตุไฉนจึงเป็นเจ้าบ้างเป็นพระยาบ้าง จึงวิสัชนาแก้ตามพระราชกำหนดกฎหมายเหตุ เป็นโบราณราชประเพณีลำดับสำหรับกษัตริย์ในเมืองละแวกแต่ก่อนมานั้น ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้ผ่านพิภพจะปราบดาภิเษก และราชา ภิเษก และอุปราชาภิเษกก็ดี มีสมเด็จพระอัครมเหษีมีพระอิศริยศ ปรากฏเสมอกัน ครั้นมีพระราชบุตรและพระราชธิดาประสูติออกมานั้นจึงเรียกว่าเป็นเจ้าลูกหลวงเอกได้ ถ้ากษัตริย์พระองค์ใด ยกเอาซึ่ง พระวงศานุวงศมาอุปราชาภิเษก เป็นเอกพระอัครมเหษี ครั้นมีพระราชโอรสออกมา จึ่งให้เรียกว่าเป็นลูกหลวงโท ถ้าและกษัตริย์พระองค์ใดสงเคราะห์ซึ่งบุตรมหาอำมาตย์ราชเสนาบดี มาตั้งเป็นห้ามซ้ายขวา ครั้น มีพระราชบุตรออกมานั้นจึ่งให้เรียกว่าลูกหลวงตรี ให้เรียกตามสกุลมารดาอย่าเสียเดิม ถ้าและสิ้นเชื้อกษัตริย์แล้ว และจะเอาผู้ใด ๆ ที่เป็นเชื้อสายศักดิ์ศรีมีสกุลมาอุปราชาภิเษกเป็นพระมเหษี ครั้นมีพระราชบุตรก็เรียกว่าลูกหลวงเอกได้ จึ่งมีเป็นพระราชกำหนดกฎหมายเหตุ สืบ ต่อกันมาจนเท้าบัดนี้แล เมื่อสมเด็จพระราชโองการพระบรมราชารามาธิราชธิบดี พระองค์ยังไม่ถึงกำหนดกาล และพระองค์ก็ยังตั้งอยู่ในพระอิศริยยศ ปรากฏด้วยพระราชสมบัติ เป็นกษัตริย์ทรงยุตติธรรมประเพณีแต่ก่อนมา ครั้นเมื่อถึงกำหนดแก่กาลก็ให้บันดาลดลเป็นอุปัติบังเกิดอุปัติเหตุมาถึง

๕ พระองค์ จะให้วินาศอันตรายต่างๆ ดุจอย่างกล่าวไปเบื้องหน้านี้แล. ทีนี้จะกล่าวถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลก ทรง พระนามชื่อว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าพระนเรศร พระองค์ทรงพระวิตกคิดจะปรารถนาสมบัติในเมืองละแวก ทรงพระดำริ (๑) ดั่งนี้แล้วจึ่งเรียกราชบุรุษ ๒ คน ซึ่งรู้ศิลปศาสตรเวทางคปกรณ์กฤษดิยาคม เชี่ยวชาญชำนาญกล้า มาสนทนาเป็นลำดับ ให้คิดเป็นกลอุบายแก้ไขเอาเมืองละแวกให้จงได้ ถ้าสมคะเนแล้วเมื่อใด จึ่งให้มีหนังสือลับลอบบอกมาให้ถึงพระนเรศรเป็นเจ้า ๆ จะยกพลไปให้สมคะเนทีเดียว สองราชบุรุษนี้จะได้ปรากฏชื่อในกฎหมายเหตุนี้หามิได้ ราชบุรุษ ๒ คนรับเทวราชโองการแล้ว ก็ไปคิดเป็นกลอุบายบวชตัวเป็นสมณกระทำเป็นโคจรเทียวไปในเมืองลาว แล้วย้อนกลับลงไปณ เมืองละแวก ไปอาศัย อยู่ด้วยพระสังฆราชชื่อพระสังฆราชา ๆ จะได้รู้ซึ่งกลอุบายสมณ ๒ องค์นั้นหามิได้ จึ่งให้อาศัยอยู่ แล้วสมณ ๒ องค์คิดจะให้คนทั้งปวงปรกฎชื่อออก จึ่งตั้งชื่อตัวเองให้คนทั้งปวงเรียก องค์หนึ่งชื่อสุรปัญโญ องค์หนึ่งชื่อว่าติกปัญโญ ดั่งนี้ ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำจะเข้าเป็นวันมหาสงกรานต์ ณ วันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอังคารเดือน ๕ แรมค่ำหนึ่งเป็นวันเนาว์ ๒ วัน ณ วันพุธเดือน ๕ แรม ๒ ค่ำเป็นวันเถลิงศก บวกศักราช ๑๕๑๓ ปีเถาะ นักษัตรตรีศก (๒)( พ.ศ. ๒๑๓๔ )จึ่งสุรปัญโญ ติกปัญโญ ได้ซึ่งศุภวารดิถีแล้ว จึ่งวางกฤษดิยาคมกระทำสมเด็จพระราชโองการ

(๑) เดิมเป็น ดำริะ (๒) เดิมเป็นตรีนิศก ๖ พระบรมราชารามาธิราชธิบดี พระองค์ก็ให้เสียยุติธรรม ให้คลั่งไคล้เป็นบ้าเสียพระสติอารมณ์ไป พระองค์ตั้งพระทัยแต่จะเสพสุราบานให้มัวเมาไปทั้งกลางวันและกลางคืน และจะได้เอาพระทัยใส่กิจราชการบ้านเมืองนั้นหามิได้ แล้วสุรปัญโญ ติกปัญโญ ซ้ำวางกฤษดิยาคมกระทำสมเด็จพระอัครมเหษี ให้มีเวทนาเป็นสาหัส มิได้มีความสุข ให้จุกให้เสียด ให้จับไข้ ให้เมื่อยขบเจ็บทั่วสารพางค์ต่าง ๆ และแพทย์หมอทั้งปวงจะเยียวยารักษาพระโรคพระอัครมเหษีสักเท่าใด ๆ จะได้ถูกต้องคลายหายหามิได้ เผอิญได้นิยม จึ่งมีพระราชเสาวนีบัญชาการรับสั่งให้ไปหา สุรปัญโญ ติกปัญโญ มาพิเคราะห์ดูพระโรคซึ่งทรงพระประชวนนั้น สุรปัญโญ ติกปัญโญ มาดูก็รู้แจ้งประจักษ์ใจ แล้วจึ่งคิดพูดเป็นกลอุบายว่า อันพระโรคสมเด็จพระอัครมเหษีทรงพระประชวรครั้งนี้ เห็นจะเจ็บยืดยาวไปช้านานอยู่ จะได้หายคลายเร็วนั้นหามิได้ เปรียบดุจหนึ่งพระพุทธรูป ซึ่งสถิตประดิษฐานอยู่ณพระวิหารจัตุรมุขนั้น ถ้าพระพุทธรูปทั้ง๔พระองค์นั้นยังรุ่งเรืองงามปรากฏอยู่ตราบใด พระโรคพระอัครมเหษีนี้ก็จะยัง ปรากฏอยู่ตราบนั้น จะได้ถอยคลายหายง่ายหามิได้ ครั้นณวันเสาร์เดือน ๘ แรมค่ำหนึ่ง เป็นวันเข้าพระวษา จึ่งสมเด็จพระราชโองการ พระองค์ทรงพระดำริด้วยกำลังพระสติเป็นอุมัตกจริตคิดเห็นว่า ถ้าเราเผาพระพุทธรูปสูญหายเสียแล้ว ดีร้ายพระโรคพระมเหษีนั้น ก็จะอันตรธานสูญหายไปตราบนั้นมั่นคง จึ่งมีรับสั่งให้ข้าราชการเอาสูบยืนกับถ่านเพลิงไปสูบเผาพระพุทธรูป ซึ่งมีนามปรากฏชื่อพระอัฎฐารสประจำทิศทั้ง๔จัตุรมุขนั้นไหม้เสียสิ้นแล้ว และยังเหลืออยู่แต่พระ

๗ บาทที่เป็นศิลานั้นและถ่านเพลิงพระพุทธรูปที่ไหม้นั้น ก็ให้บรรจุ(๑) ไว้ในท่ามกลางพระวิหารจัตุรมุขนั้น ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ ศักราช ๑๕๑๔ ปีมะโรงนักษัตรจัตวาศก (พ.ศ.๒๑๓๕) มหาสุรปัญโญ ติกปัญโญ เห็นว่า พระเจ้ากรุงกัมพูชาเป็นบ้าเสียพระอารมณ์แล้ว ได้ทีสมดุจหนึ่งพระทัยพระ เจ้าอยู่หัวกรุงศรีอยุธยาปรารถนา จึ่งให้มีหนังสือลักลอบเข้ามากราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้า ให้พระองค์ยกพยุหโยธาคลาไคลไปเมืองละแวกเถิด ครั้นอยู่ภายหลังเมืองละแวกให้อุปัติบังเกิดอัศจรรย์ ให้ประจักษ์แก่หญิงชายชาวพระนครทั้งปวงด้วยอ่างน้ำ และจะว่าด้วยอ่างน้ำซึ่งเป็นที่เสี่ยงทายสำหรับกษัตริย์ ก็ให้วิบัติแห้งไปมิได้มีน้ำตามฤดู แล้วอ่างนั้นก็เอียงไปข้างปัจฉิมทิศ อ่างนี้มีอยู่ ณ เขาพระบานนต์แขวงเมืองพัตบอง(๒) และอ่างนี้มีเทพเจ้าสิงสู่รักษาอยู่สำหรับกษัตริย์จะราชาภิเษกจะได้สรงและเสวยเป็นคู่กันกับพระแสงขรรค์ พระแสงปืน พระแสงธนู พระแสงหอกง่ามนั้น สำหรับกันมาแต่ปางก่อน สิ่งของสำหรับเสี่ยงทายนี้ ถ้าและกษัตริย์พระองค์ใดจะวิบัติด้วยสมบัติ จะเป็นอันตรายประการใด ๆ ก็ดี สรรพสิ่งของทั้งปวงนี้ก็ให้วิบัติเป็นไปประจักษ์แก่ตา โลกต่าง ๆ ดุจอย่างพรรณนามานี้เป็นมั่นคงแล พระชนมายุศม์สมเด็จพระราชโองการพระบรมราชารามาธิราชธิบดี เมื่อได้ราชสมบัตินั้น พระชนมายุศม์พระองได้ ๒๓ ปี คงได้ราชสมบัติอยู่ เป็นปกติธรรม์นั้น ๑๕ ปี เป็นบ้าเสียพระอารมณ์ไปนั้น ๓ ปี เป็น ๔๑ ปี

(๑) เดิมเป็นบันจุะ (๒) เดิมเป็นบัตบอง ๘ ด้วยกันเท่านั้นแล ครั้นณศุกร์เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ศักราช (๑) ปีมะเส็ง (๒) นักษัตร เบญจศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบพระทัยแล้ว ตระเตรียมรี้พลสกลโยธาม้าช้าง และเครื่องสรรพอาวุธสำหรับศึก ชุมพลได้ ๓ แสน แล้วพระองค์ยกไปกรุงกัม พูชาธิบดีในปีมะเส็ง เบญจศกนั้น ครั้นพระนเรศรเป็นเจ้ายกกองทัพ (๓) ไปถึงปลายด่านเมืองพัตบอง พระองค์ตั้งทัพยับยั้งอยู่ที่นั่นหลายราตรี เจ้าเมืองพัตบองรู้ จึ่งมีหนังสือไปถึงเจ้าพระยาจักรี ให้เจ้าพระยาจักรีกราบทูลพระเจ้ากัมพูชาธิบดี ให้ทราบว่าพวกข้าศึกไทยยกมาตั้งอยู่ปลายด่านเมืองพัตบองนั้น โปรดมาจะให้แต่งกองทัพออกรับข้าศึกหรือประการ ใด มีรับสั่งมาให้แจ้งแล้วจะได้กระทำตามรับสั่ง เจ้าพระยาจักรีรู้หนังสือพระยาพัตบองบอกมา จึ่งเอาบอกขึ้นกราบทูล ฯ พระเจ้ากัมพูชาธิบดี ตามมีเหตุ พระเจ้ากัมพูชาธิบดีแจ้งเหตุแล้ว จึ่งมีราชโองการสั่งเจ้าพระยาจักรี ให้มีหนังสือไปถึงพระยาพัตบองและหัวเมืองทั้งปวงให้ทั่วว่า ถ้าข้าศึกยกมาอย่าให้หัวเมืองใด ๆ ป้องกันรบพุ่งขัดขวางไว้ ให้ไปมาจงสะดวก ให้ยักแต่ครอบครัวหัวเมืองตามรายทางที่ข้าศึกยกมานั้นออก . (๑) ศักราชตรงกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ( ดูประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ หน้า ๑๓๗ ) มีว่า ณวันศุกร์เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหยาตราไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัยตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้น ได้ตัวพญาศรีสุพรรณในวันอาทิตย์เดือน ๔ แรมค่ำหนึ่งนั้น (ในที่นี้ไม่กล่าวถึงพิธี ปฐมกรรม เหมือนกับพงศาวดารกรุงละแวกเป็นข้อน่าสังเกตอยู่มาก) (๒) เดิมเขียน มเสง (๓) เดิมเขียนทับ

๙ ไปอยู่ให้ไกลทาง อย่าให้ข้าศึกทำอันตรายแก่ครอบครัวได้เป็นอันขาด ทีเดียว ปล่อยให้ข้าศึกยกมาจนถึงกำแพงเมืองละแวกนี้เถิด เจ้าพระยาจักรีรับสั่งแล้ว ก็มีหนังสือปิดตราให้ไปถึงเจ้าเมืองพัตบองและหัวเมืองทั้งปวง ตามรับสั่ง อยู่มาภายหลังจึ่งสมเด็จพระเจ้ากัมพูชาธิบดี มีพระราชโองการสั่งให้หาข้าราชการ ทหาร พลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อย มาปฤกษาราชการบ้านเมืองเกิดศึกมีเหตุ ทรงพระดำริตรัสว่า พวกข้าศึกไทยยกมาครั้งนี้ควรที่จะกะเกณฑ์ (๑) กองทัพออกรับสู้รบก็พอ(๒) จะได้อยู่ เห็นว่าผู้คนจะล้มตายเป็นอันมาก ก็ควรเราจะชนช้างด้วยพระนเรศรให้เป็นศึก คชพยุหสำหรับกษัตริย์ ถึงมาทว่าจะแพ้และชะนะ จะให้เป็นเดชะพระเกียรติยศ ปรากฏไปภายหน้า ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยก็เห็นพร้อมด้วยพระองค์ ๆ จึ่งสั่งให้หาช้างรบสำหรับศึก ที่มีฝีงากล้าหาญ(๓) ราญณรงค์ทรงกำลังมากนั้นมาไว้ให้พร้อม คอยเตรียมตามกำหนดฤกษ์ ๆ ได้เมื่อใด เราจะออกชิงชัยเมื่อนั้น ฝ่ายเจ้าพนักงานกลางช่างเลือกคัดจัดหาช้างต้นได้ดีแล้วพร้อมเสร็จ คอยเสด็จตามรับสั่ง ฝ่ายพระนเรศร เป็นเจ้าตั้งทัพยับยั้งอยู่ปลายด่านแขวงเมืองพัตบองฟังรหัสรเหียร เหตุผล จับคนได้ไล่เลียงไถ่ถาม ได้ความแจ้งเหตุแล้ว จึ่งเลื่อนเดินทัพขยับยกเข้าไปทางในเมือง โพธิสัตว์ และเมืองตะคร้อต่อ เมืองบริบูรณ์จนถึงทุ่งบุเรน ๆ กับกำแพงเมืองละแวกนั้นไกลประมาณ ๑๐๐ เส้น พระองค์ตั้งทัพยับยั้งอยู่ที่นั่น ฝ่ายสมเด็จพระราชโองการพระบรมราชารามาธิราชธิบดี แจ้งคดี (๑) เดิมเป็นเกน (๒) เดิมเป็นภอ (๓) เดิมเป็นหาน

๑๐ เหตุว่า พระนเรศรยกพลมาถึงเมืองของพระองค์ๆ ก็รีบทรงช้างพระที่นั่งออกไปชิงชัยชนช้างด้วยพระนเรศรเป็นเจ้า พร้อมด้วยหมู่มุขมาตยาคชาธารแกล้วหาญเป็นอันมาก เสด็จออกพระราชวังตั้งไปเป็นกระบวน คชพยุห เสียฤกษ์ช้างพระที่นั่งของพระองค์ที่ทรงออกชิงชัยนั้น แลเห็นช้างพระนเรศรก็ให้ปัติเหตุตกใจกลัวทลวงขอแตกตื่นเสียกระบวน ไล่แทงช้างม้าไพร่พลของพระองค์เอง แตกกระจัดกระจายหนีพ่ายเสียกระบวน พระองค์หวนกลับไปในพระราชวังสั่งเรือพระที่นั่ง แล้วชวนพระอัครมเหษี ทั้งพระราชบุตรพระราชธิดา ลงเรือพระที่นั่งหนีไปอาศัยอยู่ณเมืองศรีสุนทรแล้วตลวดเลยไปเมืองลาวล้านช้างทีเดียว ฝ่ายพระนเรศรเป็นเจ้าเห็นพระเจ้ากัมพูชาหนีไปแล้ว พระองค์ก็ได้เมืองละแวกด้วยบุญฤทธิ์ของพระองค์โดยง่าย แล้วจึ่งสมเด็จพระศรี สุริโยพรรณผู้เป็นพระอนุชาธิราชพระเจ้ากัมพูชานั้น ชวนพระมเหษีและพระราชบุตรพระราชธิดา พระวงศานุวงศ์ กับพระศรีไชยเชฐผู้เป็นน้องพระมเหษีนั้น มาบังคมเฝ้าถวายพระราชสมบัติแก่พระนเรศรเป็นเจ้าและพระแสงขรรค์, ปืน, ธนู, หอกง่าม สำหรับกษัตริย์นั้น ชีพ่อ พราหมณ์เจ้าพนักงานพาหนีได้ ครั้น ณ ปีมะเมียฉศก (พ. ศ. ๒๑๓๗) สมเด็จพระนเรศรเป็นเจ้า พระองค์ได้สมบัติในเมืองละแวกสมดุจหนึ่งพระทัยปรารถนาแล้ว พระองค์ ก็เลิกกองทัพมากรุงศรีอยุธยา แล้วพระองค์ให้นำมาซึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณกับพระมเหษี พระราชบุตรพระราชธิดาและพระศรีไชยเชฐ พรรคพวกพระศรีสุริโยพรรณเข้ามาอยู่เมืองกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ตั้งบ้าน

๑๑ อยู่นอกกำแพงกรุงและเมื่อพระนเรศรเป็นเจ้านำเอาซึ่งพระศรีสุริโยพรรณนั้นมา พระชันษาพระศรีสุริโยพรรณนั้นได้ ๓๘ ปี แล้วจึ่งสมเด็จพระนเรศรเป็นเจ้า นำเอาพระราชธิดาพระศรีสุริโยพรรณพระองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อว่า พระเอกกษัตรี เป็นพระมเหษีพระนเรศรเป็นเจ้าในปีมะแมสับตศก (พ. ศ. ๒๓๑๘) และเมื่อพระนเรศรเป็นเจ้ายกทัพกลับมากรุงศรีอยูธยานั้น มีพระราชโองการสั่งให้พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพ คุมไพร่มีนายกองอยู่ประมาณ ๑๐๐๐๐ เศษ ให้ตั้งทัพรักษาเมืองกัมพูชาอยู่ที่สระแก้ว ครั้นถึง ณ วันจันทร์เดือน ๖ ขึ้น ค่ำหนึ่ง ศักราช ๑๕๑๗ ปีมะแมสับตศก (พ. ศ. ๒๑๓๘ ) สมเด็จพระรามาธิบดีเป็นพระวงศานุวงศ์กับพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี กินเมืองอยู่ ณ เมืองเชิงไพร พระชนมายุศม์พระองค์ได้ ๕๑ ปี ตั้งพระทัยคิดอ่านเกลี้ยกล่อมไพร่ฟ้าข้าราชการ ซึ่งตกค้างอยู่ที่ใด ๆ พระองค์ก็เอามาเลี้ยงไว้ได้เป็นอันมาก สมเด็จพระราชาธิบดีคุมพลได้มากแล้ว ยกกองทัพมาตีทัพพระมหามนตรีซึ่งตั้งอยู่ณที่สระแก้ว พระมหามนตรีอิดโรยด้วยกำลังสะเบียงอาหาร ต้านทานทัพพระรามาธิบดีมิได้ พระมหามนตรีเลิกทัพ (กลับ) กรุงศรีอยุธยา แล้วสมเด็จพระรามาธิบดีตั้งตัวเป็นเจ้าอยู่ในเมืองศรีสุนทร ณ ปีมะเเม ปีวอกต่อกัน พระชนมายุศม์พระองค์ได้ ๕๒ ปี ครั้น ณ วันเข้าพระวษาทุติยาษาฒศักราชได้ ๑๕๑๘ ปีวอกอัฐศก (พ.ศ. ๒๑๓๙) มีฝรั่ง (๑) พี่น้อง ๒ คน ผู้พี่ชื่อลวิศปรัด ผู้น้อง (๑) เดิมเขียนฝารั่ง

๑๒ ชื่อวินัศอรุ่ม แต่ก่อนนั้นพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีนับถือฝรั่ง ๒ คนว่าเป็น ลูกเลี้ยง เป็นนายกำปั่นบรรทุกสิ่งของมาค้าขายณเมืองกัมพูชา มิได้รู้ว่าพระเจ้ากัมพูชาเป็นอันตรายหามิได้ สมเด็จพระรามาธิบดีรู้ว่าฝรั่ง ๒ พี่น้องเป็นลูกเลี้ยงพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี มีจิตต์คิดอิจฉาเป็นโมหจริต คิดจะฆ่าฝรั่ง ๒ คนพี่น้องเสีย ฝรั่ง ๒ คนพี่น้องรู้ตัวกับคิดฆ่าพระรามา ธิบดีเสียในปีวอกอัฐศกนั้น และเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีถึงแก่กาลกิริยาแล้ว มีพระราชบุตรา ๒ พระองค์ ๆ หนึ่งชื่อ นักนอน พระองค์หนึ่งชื่อ นักณู แต่นักนอนผู้พี่นั้น พระราชบิดาถึงปัจจุบันกาลไปตั้งตัวอยู่หัวเมืองทมอคูน ภาษาไทยว่า เมืองเสาประโคนสิลา แขวงเมืองประโคนสวาย ตั้งตัวเป็นเจ้ามีนามชื่อว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แต่นักณูน้องชายนั้น มีกตัญญูรู้คุณ คิดพนมศพพระราชบิดาฌาปนกิจสำเร็จแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นเจ้าอยู่เมืองศรีสุนทร สมมติตัวขึ้นเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีในปีวอก อัฐศกนั้น และลวิศปรัด วินัศอรุ่ม ฝรั่งพี่น้อง ๒ คนคิดปฤกษากันว่า เราฆ่าพระรามาธิบดีตายเสียแล้ว บัดนี้ลูกมาเป็นเจ้าขึ้นอีกเล่า พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีหนีไปอยู่เมืองลาวนั้น ยังมีพระชนม์อยู่หรือประการใด ถ้าพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ เราจะขอเชิญพระองค์มาครองราชสมบัติดุจดัง เก่า ฝรั่งคิดดั่งนั้นแล้วจึ่งจ้างพระยาพระเขมรคนหนึ่ง คุมไพร่ ๓๐ นำทาง ฝรั่ง ๒ คนพี่น้อง ไปเชิญพระเจ้ากรุงกัมพูชา ณ เมืองลาวล้านช้างนั้น ครั้นไปถึง ณเมืองลาว พอพระเจ้ากัมพูชาสวรรคต ยังแต่พระราชโอรส ปรากฏพระนามชื่อว่า สมเด็จพระบรมราชา ฝรั่งจึ่งเชิญเสด็จมากับพระวงศานุวงศ์ มาครองราชสมบัติดั่งเก่า และเมื่อฝรั่งสองคนพี่น้อง

๑๓ ไปถึงเมืองลาวแล้วนั้น อยู่ภายหลังยังมีเขมรชองคนหนึ่งตั้งตัวเป็นเจ้าชื่อว่าแก้วพระเพลิง อยู่ข้างปัจฉิมทิศตะวันตก คุมพวกเขมรชอง, ละว้า,(๑) กะเหรี่ยงชาวป่า ได้มากแล้ว ยกข้ามเมืองกัมพูชาธิบดีมาถึงเมืองศรีสุนทร แก้วพระเพลิงฆ่านักณูที่เป็นที่แทนบิดานั้นตายในปีวอก แล้วแก้วพระเพลิงยกพลพวกกวย, แกว, ชอง, ชาวป่า ข้ามกลับไปบ้านป่าดั่งเก่า ครั้น ณ วันจะเข้าเป็นวันมหาสงกรานต์ ณ วันจันทร์เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ณ วันอังคารเดือน ๕ แรม ๗ ค่ำวันบอด ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ เป็นวันเถลิงศกศักราช ๑๕๑๙ ปีระกานพศก(พ. ศ. ๒๑๔๐) ลวิศปรัด วินัศอรุ่ม เชิญสมเด็จพระบรมราชา ผู้เป็นพระราชโอรสพระเจ้ากรุงกัมพูชา มาครองราชสมบัติณเมืองศรีสุนทรในปีระกานั้น พระเลี้ยงฝรั่ง ๒ คนนั้นให้เป็นใหญ่กว่าคน ครั้นศักราช ๑๕๒๐ ปีจอสัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๑๔๑ ) บรรดาหัวเมืองขึ้นทั้งปวงตั้งตัวเป็นเจ้ามิได้เข้าด้วยพระองค์ พระองค์ยกทัพไปจับ สู้หัวเมืองทั้งปวงไม่ได้แล้วกลับมา สมเด็จพระราชเทวีกษัตริย์ ผู้เป็นสมเด็จพระมาตุจฉาพระเจ้ากัมพูชา ให้ราชาภิเษกกับด้วยพระบรมกษัตรี ๆ ผู้เป็นพระราชบุตรพระ อุประยุรราชและพระวงศานุวงศ์ซึ่งอยู่ณเมืองศรีสุนทรแต่ก่อนมานั้น เหล่าพระวงศ์ใหญ่ สมเด็จพระบรมราชากับพระบรมกษัตรี ได้ราชสมบัติอยู่ในเมืองศรีสุนทรนั้น ๒ ปี ครั้นศักราชได้ ๑๕๒๑ ปีกุนเอกศก (พ. ศ. ๒๑๔๒) ลักษมานา(๒) (๑) เดิมเป็น ลหวา (๒) ภาษามะลายูแปลว่า ทหารเรือ

๑๔ แขกโปปรัศจาม ตั้งบ้านอยู่แขวงเมืองตบูงขมุม คุมพรรคพวกได้มาก คิดกบฎ(๑) ประทุษ(๒)ร้ายต่อสมเด็จพระบรมราชา ๆ พระองค์รู้ ยกคน ไปจับลักษมานาแขกโปปรัศจาม ๆ ต่อสู้พระองค์ประมาทไป ลักษมานาโปปรัศจามกลับจับพระองค์ได้ ฆ่าเสียสิ้นพระชนม์ในปีกุนนั้น แล้ว จึ่งสมเด็จพระราชเทวีกษัตริย์ กระทำการศพถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว พระองค์จึ่งเอาพระยานอนมาราชาภิเษกด้วยพระบรมกษัตรีครองราชสมบัติต่อไป ทรงพระนามเรียกว่าสมเด็จพระบรมราชา ได้ราชสมบัติอยู่ ๒ ปี ฝ่ายพระยาประเทศราชทั้งปวงที่เคยขึ้นแก่พระองค์แต่ก่อน บอห่อนจะมาขึ้นหามิได้ ชวนกันคบคิดกันกับแก้วพระเพลิง ที่เป็นเจ้าแก่ชองและกวยกระเหรี่ยงนั้น ยกพลข้ามมาจับพระยานอนฆ่าเสียแก้วพระเพลิง ก็ยกพลข้ามกลับไป แล้วจึ่งสมเด็จพระราชเทวีกษัตริย์ พระองค์กระทำสักการบูชาพระเพลิงสำเร็จแล้ว จึ่งเชิญเจ้าพระยาโยมมาราชาภิเษก ด้วยพระบรมกษัตรีย์เป็นพระมเหษีเสวยราชสมบัติต่อไป มีนามชื่อว่าสมเด็จพระแก้วฟ้า ๆ มิได้นำพาคดีของอาณาประชาราษฎรหามิได้ ตั้งใจแต่เที่ยวประพาสป่าล่าเนื้อเป็นนิจ ครั้งนั้นชาวเมืองประเทศราช และชนบทน้อยใหญ่ มิได้เข้าด้วยพระแก้วฟ้าหามิได้ ต่างคนต่างตั้งตัวเป็นเจ้าทุกบ้านทุกเมือง จับกันฆ่าฟันทิ่มแทงซื้อขายกัน มิได้กลัวเกรงผู้ใดหามิได้ แล้วจึ่งสมเด็จพระราชเทวีกษัตริย์ผู้เป็นสมเด็จพระอัยกานั้น พระองค์ทรงวิตกว่า สกุลวงศ์เมืองกัมพูชานานไปจะเสื่อมสูญสิ้น (๑) เดิมเขียนกระบถ (๒) เดิมเขียน ประทศ เพราะนิยมลบสระอุ เช่นเดียวกับ อุตส่าห์ เป็นอตส่าห์ ทุก เป็น ทก ซึ่งใช้อยู่ในคำประพันธ์

๑๕ กษัตริย์ แล้วก็ยังอยู่แต่พระศรีสุริโยพรรณ ยังเป็นเชื้อสายกษัตริย์ พระนเรศรเป็นเจ้าเอาไปเลี้ยงไว้ณเมืองไทย ถ้ากลับมาได้ เห็นว่าจะได้เป็นกษัตริย์สืบต่อไป พระองค์ทรงพระดำริดังนั้นแล้ว จึ่งทรงแต่ง เป็นพระราชสาร ให้คนถือไปทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศร เป็นเจ้าไทยทราบ ใจความในพระราชสารนั้นว่า เมืองละแวกนี้จะได้มีเจ้านายเป็นยุติธรรม และจะได้มีผู้บัญชาการ กระด้างกระเดื่องเคืองขุ่นขึ้นทุกแห่ง ขอสมเด็จพระพุทธเจ้าเมืองไทยมีพระราชโองการตรัสใช้ ให้ผู้ใดผู้หนึ่ง มาปราบหมู่อริราชศัตรูแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนามราบ คาบหมดมลทินแล้ว และมีเจ้านายตั้งอยู่ให้เป็นปกติธรรมเหมืออย่างแต่ก่อน จะได้พึ่งพระบารมี เพราะพระเดชพระคุณจะได้เป็นสุขสืบไป ครั้งนั้นจึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบแล้ว จึ่งมีพระราชโองการดำรัสสั่ง ให้ตั้งพระศรีสุโยพรรณให้เป็น พระเจ้ากรุงกัมพูชา และบรรดาผู้คนข้าไทพระศรีสุโยพรรณนั้น พระราชทานให้ไปสิ้น แต่สมเด็จพระไชยเชษฐา ผู้เป็นพระราชโอรสพระเจ้ารามาธิบดีนั้นทูลขอตัวอยู่ ไม่ไปด้วยพระศรีสุริโยพรรณนั้นหามิได้ พระนเรศรเป็นเจ้าพระองค์จึ่งสั่งข้าราชการของพระองค์ ที่เป็นพนักงานชำนาญการเคยข้างทางทะเล(๑) ให้จัดเรือสำเภาใหญ่ไปส่งพระศรี สุโยพรรณทางชลมารค ครั้งนั้นศักราชได้ ๑๕๒๓ ปีฉลูตรีศก (พ.ศ.๒๑๔๔) ครั้นพระศรีสุริโยพรรรณพระองค์ไปถึงเมืองไพรกระบาศ แปลว่าเมืองป่าฝ้าย แขวง (๑) เดิมเขียน ชเล


๑๖ เมืองกัมพูชา ผู้รักษาเมืองไพรกระบาศ มาเฝ้าพระองค์ ๆ ก็ให้ผู้รักษา เมืองไพรกระบาศเป็นพระไชยโยธา รักษาเมืองไพรกระบาศ แล้ว พระองค์เลยไปเกาะสระเกษ (๒) สมเด็จพระราชเทวีกษัตริย์รู้แจ้งว่า พระศรีสุริโยพรรณมาตั้งอยู่ ณ เกาะสระเกษ พระองค์ก็ดีพระทัยนัก พระองค์ตกแต่งเครื่องราชบรรณาการ ชวนพระวงศานุวงศ์เสนาอำมาตย์ราชครูข้าเฝ้าพระแก้วฟ้า และโหราราชปุโรหิตนำเอาพระแสงขรรค์และพระแสงทั้งปวง(๓) ที่เป็นสำหรับกษัตริย์แต่ก่อนมาทูลเกล้า ฯ ถวาย พระศรีสุริโยพรรณเกาะสระเกษในปีฉลูนั้น ครั้นณวันอังคารเดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ ศักราช ๑๕๒๔ ปีขาลจัตวาศก (พ.ศ.๒๑๔๕) ครั้งนั้นพระแก้วฟ้ารู้ว่า สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ เสด็จกลับมาได้ เข้าใจว่าพระศรีสุริโยพรรณจะได้เป็นเจ้า แล้วพระ แก้วฟ้าก็ถอยตัวออกจาดราชสมบัติอยู่นอกราชการ ครั้นเห็นคนทั้งปวงเข้าไปถวายบังคมพระศรีสุโยพรรณสิ้น พระยาโยมที่เป็นพระแก้วฟ้านั้น ก็คิดละอายใจ ก็ไปถวายบังคมพระศรีสุริโยพรรณๆก็ดีพระทัยด้วยพระยาโยม จึ่งพระศรีสุริโยพรรณพระองค์จึ่งสั่งให้ตั้งพระราชวังแล้ว จึ่งตั้งพระสงฆ์ที่เป็นถานากรมได้ไปต้อนรับเมื่อพระองค์เสด็จมาถึงเกาะสระเกษ ได้ถวายพระพรก่อนคนทั้งปวงนั้น พระสงฆ์ ๗ รูปเป็นพระราชาคณะพระองค์หนึ่งเป็นสมเด็จพระสุคนธมหาสังฆราช พระองค์หนึ่งเป็นพระมหาสังฆราชา องค์หนึ่งเป็นธรรมเขต องค์หนึ่งเป็นพระพุทธวงศ์ องค์ (๒) เดิมเขียน เสกษ บ้าง สเกษ บ้าง (๓) คำว่า ทั้ง เดิมเขียน เป็น ทัง ทุกแห่ง

๑๗ หนึ่งเป็นพระวันรัตน์ องค์หนึ่งเป็นพระมหาพรหม องค์หนึ่งเป็นพระมหา ธาตุ แล้วพระองค์จึ่งยกพระศรีไชยเชษฐาผู้เป็นน้องสมเด็จพระมเหษีพระศรีสุโยพรรณนั้น ตั้งให้เป็นมหาอุปราช บรรดาพระวงศษนุวงศ์ เจ้าหญิงและเจ้าชายก็ดีที่ได้มาเฝ้าพระองค์ก่อนนั้น เจ้าหญิงตั้งเป็นเจ้ากรม ฝ่ายในมิได้ปรากฏพระนาม แต่เจ้าชาย ๔ พระองค์วงศ์ใหญ่นั้นปปรากฏพระนาม ออกกรมชื่อพระอุปยูรราช กรมฝ่ายหลังพระองค์หนึ่ง พระ สุคนธบทนั้นกรมหนึ่ง พระธรรมโศกราชนั้นกรมหนึ่ง สมเด็จพระ อภัยทศนั้นกรมหนึ่ง พระวงค์น้อย ๔ พระองค์นั้น เป็นสมเด็จเจ้าพระยานั้นคนหนึ่ง เจ้ากลาหะนั้นคนหนึ่ง ออกญาเจ้าพระยาเชฐนั้นคนหนึ่ง ออก ญาเจ้าพระยาโพอิศาลราชนั้นคนหนึ่ง สกุลวงศ์ราชินิกุลเท่านี้ สกุลพราหมณ์ปโรหิตที่ได้มารับเสด็จถวายบังคมก่อนพราหมณ์ทั้งปวงนั้น พระองค์ตั้งปโรหิตคนหนึ่งนั้นให้เป็นใหญ่กว่าปโรหิตทั้งนั้นชื่อพระมหาราชครูอุศุภัก คนหนึ่งชื่อพระพรหม คนหนึ่งชื่อพระธรรมราช คนหนึ่ง ชื่อพระมินทร ปโรหิตผู้น้อยนั้น ๓ คน คนหนึ่งนั้นชื่อพระอินทคุรุปการ คนหนึ่งชื่อพระบรมนาจารย์ คนหนึ่งชื่อพระเทพนาจารย์ ราชปโรหิตทั้งนี้ตั้งอยู่ในที่อัครฐานยศถาศักดินามาก ได้รับพระราชทานส่วย บ้านตามตำแหน่งทุกตำบลบ้านตามอย่างแต่ก่อนมา พระองค์จึ่งตั้งจตุสดมภ์ทั้งสี่ คือพระยายมราชหนึ่ง พระยาวังหนึ่ง พระยากลาโหมหนึ่งพระยาจักรีหนึ่ง ทั้งสี่คนนี้พระราชทานถือศักดินาคนละสิบพัน มีส่วยสาอากรและพนักงานขึ้นตามตำแหน่ง แล้วพระองค์จึ่งตั้งพระมหาเทพหนึ่งพระมหามนตรีหนึ่ง พระราชทานถือศักดินาคนละเก้าพัน เป็นพนักงาน

๑๘ สำหรับที่ข้างแคร่ต้นเชือกรักษาพระราชโรงหลวงที่เสด็จออกข้างหน้า และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยที่ตามเสด็จมาด้วยพระองค์ก็ดี ที่มาคอย รับเสด็จกลางทางก็ดี ที่อยู่ประจำรักษาเมืองก็ดี ที่เป็นพระยาก็ให้เป็นพระ ที่เป็นหลวงก็ให้เป็นหลวง ที่เป็นพระยาก็ให้เป็นพระยา ให้คงศักดินาอยู่ตามตำแหน่งที่ แปดพัน เจ็ดพัน หกพัน ห้าพัน สี่พัน สามพัน สองพัน พระองค์ตั้งเมืองอยู่ณตรงเกาะสระเกษนั้น พระองค์ตั้งข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อย อำมาตย์ราชครูปโรหิต ตั้งตามตำแหน่งเต็มที่ตาม อย่างแต่ก่อนมาบริบูรณ์แล้ว พระองค์จึ่งมีพระราชบัญญัติตามกฎหมาย เหตุไว้สำหรับกษัตริย์แต่ก่อน สั่งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย พระวงศา นุวงศ์พระราชนิกุล ขุนหมื่น ทุกหมู่ทุกกรม กรมฝ่ายหน้าฝ่ายในหัวเมืองใหญ่น้อย ทหาร พลเรือน ให้แต่งตัวนุ่งสมปัก ใส่เสื้อครุยเข้า เฝ้า เรียบโรงตามพระราชพิธีทวาทสมาศ แห่ราชสาร นั่งแขกเมืองตามพนักงาน จงทุกหมู่ทุกกรมให้เป็นลำดับตามผู้ใหญ่ผู้น้อยจงสิ้นแล้ว พระองค์จึ่งให้หามาซึ่งข้าหลวงที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้าให้มาส่งพระองค์นั้น พระราชทานเงินทองผ้าพรรณนุ่งห่มเลี้ยงดูวันละ ๓ เวลา บำเรอเชอภักษ์มิได้ขาดเเล้ว พระองค์จึ่งให้มาส่งข้าหลวงกลับ ไปยังกรุงศรีอยุธยา อยู่ภายหลังผู้รักษาเมืองตบูงขมุมนำเอาเครื่อง ราชบรรณาการเข้ามาถวายพระศรีสุริโยพรรณ ๆ จึ่งมีพระบันทูลสั่งพระวงศานุวงค์องค์หนึ่งนั้นมิได้ปรากฏพระนามว่าชื่อใดหามิได้ ให้เป็นเจ้าเมืองตบูงขมุม ชื่อว่าออกญาเจ้าพระยาอรชุน และหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเป็นแว่นแคว้นแดนกรุงกัมพูชานั้น จะได้มาขึ้นแก่พระองค์เหมือนอย่างพระราช

๑๙ โองการแต่ก่อนหามิได้ ยังกระด้างกระเดื่องขัดเคืองเป็นหลายเมืองอยู่ สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณทรงพระดำริวิตก ถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้า โปรดเกล้า ฯ ให้ออกมาปราบดาภิเษกกรุงกัมพูชา ธิบดี ถึงขวบปีช้านานอยู่แล้ว พระองค์จะได้รู้ว่าออกมานั้นดีร้ายประการ ใดหามิได้ แล้วพระองค์จึ่งทรงแต่งเป็นพระราชสารบอกเหตุการณ์ไปให้กราบทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้า ทราบตามดำเนินความที่มีเหตุว่า พระศรีสุโยพรรณได้มาปราบอริราชศัตรูหมู่ทมิฬเมืองกัมพูชายังกระด้างกระเดื่องเคืองเข็ญอยู่ได้เมืองขึ้นแต่สองเมือง นอกกว่านั้นยังเคืองแข็งอยู่ แล้วขอพระพุทธเจ้าอยู่หัวจงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานขอพระไชยเชษฐาที่เป็นพระราชโอรสาพระเจ้ารามธิบดีพระองค์เก่านั้น มาช่วยกันชำระดับยุคเข็ญเมืองละแวกให้สิ้นเสี้ยนหนามแล้ว พระองค์ให้ หาโหราจารย์มาบวงสรวงเทพารักษ์ และให้จับฉลากเสี่ยงทายหมายว่าจะได้เป็นเจ้า และจะได้พระไชยเชษฐามาทำนุบำรุงช่วยกันกับไพร่เมืองละแวกให้เย็น เป็นประการใดๆนั้นก็ให้ประจักษ์ ครั้นบวงสวงเสี่งทายได้เหตุแล้ว พระองค์จึ่งสั่งมหาอุปราชว่า ให้เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ถือตราทองสัมฤทธิ์เชื้อวงศ์ ให้ตระเตรียมรี้พลสกลทวยหาญชำนาญศึกยกไปเที่ยว ตีบ้านน้อยเมืองใหญ่ที่มิได้มาถวายบังคมแก่พระบรมศรีสุริโยพรรณนั้นพระมหาอุปราชสั่งให้เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์เลิกทัพไปตีเมืองไพรแวงกับ เมืองศรีสุนทรได้ก่อนแล้ว เจ้าพระยาเดโชก็ยกพลกลับมาเฝ้าพระศรีสุริโย พรรณๆสั่งให้ผู้รักษาเมืองไพรแวง เมืองศรีสุนทร คงเมืองดั่งเก่า ครั้น ณวันอังคารเดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ วันพุธ เดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำวันบอด ณวัน

๒๐ พฤหัสบดีเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันเถลิงศก ศักราช ๑๕๒๕ ปีเถาะนักษัตรเบญจศก (พ.ศ.๒๑๕๖ ) พระมหาอุปราชสั่งให้เจ้าพระยา เดโชนุวงศ์ยกพลไปตีเมืองบาพนม พระยาธรรมาเดโชเจ้าเมืองบาพนม ไม่รับทัพเจ้าพระยาโชนุวงศ์หามิได้ ยกพรรคพวกครอบครัวหนีข้ามบึงมหากันดารไปอาศัยอยู่ณเมืองไซ่ง่อน เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์รู้ว่าพระยาธรรมาเดโชยกครอบครัวหนีไป เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ได้เมืองบาพนมแล้ว และเกลี้ยกล่อมครอบครัวซึ่งค้างเหลืออยู่ที่เมืองบาพนมนั้น ก็มาขึ้นแก่เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สิ้น แล้วเจ้าพระยาเดโชแม่ทัพอยู่ณเมืองบาพนมสั่งให้นายทัพนายกองทำค่ายคูประตูหอรบอยู่ให้มั่นคง แล้วให้ตั้งทำนาให้ได้เสบียงอาหารให้จงมาก ครั้นณเดือน ๑๑ ออกพระวษา ได้สะเบียงอาหารเป็นกำลังมากแล้ว เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกทัพข้ามบึงมหากันดารไปตีเมืองไซ่ง่อนได้ จับตัวพระยาธรรมาเดโชฆ่าเสียกับทั้งบุตรภรรยาสิ้น ยังเหลืออยู่แต่ครอบครัวเมืองบาพนมนั้น ให้ต้อนกลับมาอยู่ณเมืองบาพนมดั่งแต่ก่อน แล้วเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ก็ยกพลกลับมาเฝ้าพระศรีสุริโยพรรณ ๆ จึ่งตั้งพระวงศานุวงศ์พระองค์หนึ่งนั้นมิได้ปรากฏชื่อ ให้ไปเป็นผู้รักษาเมืองบาพนม แล้วพระองค์จึ่งสั่งให้มหาอุปราชให้เกณฑ์ เอาไพร่ที่เมืองตีได้นั้นมาทำพระราชวังขยายออกให้กว้าง มีโรงช้าง โรงม้าโรงรถเป็นต้น และโรงพระแสงขรรค์ พระแสงธนู พระแสงหอกง้าว พระแสงปืนนั้น ไว้ทิศอาคเนย์ตามอย่างแต่ก่อน ให้นิมนต์พระราชาคณะ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นต้นมาสวดพระพุทธมนต์ฉัน ๓ วัน ถวายชัยถวายพรแก่พระองค์ทุกวันในปีเถาะนั้น

๒๑ ครั้นณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ เถลิงศก ศักราช ๑๕๒๖ ปีมะโรง นักษัตรฉศก (พ.ศ.๒๑๔๗) จึ่งมหาอุปราชสั่งให้พระยาเดโชนุวงศ์ ยกทัพไปตีเมืองพนมเพ็ญและเมืองที่ได้ และยกต่อไปตีเมืองเตลิง และด้วยกะเหรี่ยง ชอง ละว้า สำบกสำบูรณ์ ได้ ชาวป่าอดข้าวปลาอาหารนัก เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์จึ่งมีหนังสือบอกไปถึงพระมหาอุปราช ตามเหตุที่ได้เมืองทั้งสามหัวเมืองนั้นได้สิ้นแล้ว แต่อิดโรยด้วยสะเบียงอาหารกันดารนัก สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณแจ้งว่าชาวป่าอดอาหาร จึ่งพระราชทานลำเลียงอาหารส่งให้เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์แม่ทัพ แจกจ่ายให้แก่ ไพร่พลเมืองจงทุกเมืองให้ทั่ว อย่าให้ล้มตายได้เป็นอันขาดทีเดียว แล้วเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์แม่ทัพบังคับนายทัพนายกองทั้งปวง ให้ตั้งค่ายขุดคูประตูหอรบให้มั่นกันอันตราย แรมทัพอยู่ตั้งทำนาอยู่ ณ เมืองเตลิงนั้น แล้วเกลี้ยกล่อมชาวป่า ละว้า กะเหรี่ยง ชองซึ่งหนีซุ่มอยู่ดอนป่า ที่บรรดาขัดแข็งนั้นก็ให้ยกทัพไปจับเอาครอบคครัวมาได้สิ้นทั้งจังหวัดฝั่งตะวันออกสิ้นเสี้ยนหนามแล้ว เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกทัพกลับเข้ามาเฝ้าพระศรีสุโยพรรณ ๆ พระองค์ตั้งรักษาหัวเมืองเตลิงทั้งสามหัวเมือง ให้ คงเมืองเหมือนแต่ก่อน ครั้นณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำเถลิงศก ศักราช ๑๕๒๗ ปีมะเส็งสับตศก (พ. ศ. ๒๑๔๘) จึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ พระองค์ทรง พระดำริว่าหัวเมืองใด ๆ เราตีได้สิ้น ยังแข็งอยู่แต่เมืองทะรังนี้เมืองใหญ่ พระรามธิบดีเป็นพระวงศานุวงศ์ กับพระองค์ไปอาศัยอยู่ณเมืองนั้น และ นะแกตะแขกเป็นพระยาพิษณุโลกเป็นเจ้าเมืองทะรัง ๆ นี้เข้มแข็งกล้าหาญ


๒๒ ชาญศึกสันทัดอยู่ มิได้รู้ว่าเราจะเป็นเจ้ากัมพูชา จึ่งสั่งให้เจ้าพระยาเดโช นุวงศ์กะเกณฑ์กองทัพยกไปตีจับเอาตัวพระยาพิษณุโลกมาให้จงได้ เจ้า พระยาเดโชนุวงศ์รับสั่งแล้วเกณฑ์กองทัพยกไปตีเมืองทะรัง พระยาเดโช นุวงศ์กับพระยาพิษณุโลกทำศึกสู้รบกันประมาณได้ขวบปี ต่างคนต่างมีฝีมือไม่แพ้ไม่ชะนะกัน ราทัพตั้งมั่นรออยู่ เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ฟันแทงไม่เข้าแคล้วคลาด และพระยาพิษณุโลกนั้นบังเหลื่อม ล่องหน อึดใจหายตัวได้ ต่างคนต่างให้ทำค่ายขุดคูประตูท่าเชิงเทินรักษาไพร่พลเป็นกลกระบวนศึก ฝ่ายเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์คิดเป็นกลอุบาย แล้วสั่งแม่ทัพแม่กองทั้งปวงได้ทำนาได้ข้าวปลามีกำลังแล้ว จึ่งจะได้คิดทำศึกกับพระยาพิษณุโลกต่อไป นัยหนึ่งว่าณวันจันทร์เดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ หม่อมสุกเป็นห้ามพระศรีไชยเชษฐาซึ่งค้างอยู่ณกรุงศรีอยุธยานั้น มีพระราชบุตราองค์หนึ่งชื่อว่า นักกู นัยหนึ่งว่าหม่อมสุกเป็นมเหษีมหาอุปราช เป็นพระญาติพระวงศ์สนิทติดพันกันข้างพระแก้วฟ้า สบพบคบคิดกันกับ พระแก้วฟ้า จะใคร่ให้พระแก้วฟ้าเป็นเจ้ากัมพูชา จึ่งเกลี้ยกล่อมคบหา ซึ่งพวกแขกและเขมรได้กำลังมากแล้ว สมเด็จพระแก้วฟ้ายกรี้พลแขก เขมรมาล้อมพระราชวังสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ ๆ พระองค์จึ่งแต่งเสนามุขมนตรีออกรับทัพพระแก้วฟ้า ๆ สู้ทัพมนตรีพระศรีสุริโยพรรณมิได้ พระแก้วฟ้ายกพลหนีแตกกระจัดกระจายล้มตายเป็นอันมาก สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณจับพระแก้วฟ้าเทวอคตฆ่าเสียกับสมัคพรรคพวกจนสิ้นแล้ว คนร้ายที่เหลือตายนั้นพระองค์ส่งให้ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างหญ้าม้าบ้าง เป็นคนน้ำร้อนน้ำเย็นบ้าง หามวอเสลี่ยงบ้าง ครั้น ณ เดือน ๑๑

๒๓ ออกพระวษาแล้ว จึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณพระองค์ทรงพระดำริวิตก ว่า เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์กับพระยาพิษนุโลกสู้กันมีฝีมือทัดกันอยู่ ทำไมจึ่งจะรู้ว่าแพ้ว่าชะนะ จะคิดให้เป็นกลอุบายแก้ไขให้จงได้ พระองค์ จึ่งแต่งคนดีให้ไปประโลมล่วงเข้าข้างหลังเมือง จับเอาบุตรภรรยาพระยาพิษณุโลกมาได้สิ้น และพระยาพิษณุโลกเสียกลอุบายแก่พระศรีสุริโยพรรณ และเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ เสียใจนัก พระยาพิษณุโลก ชวนกรมการมาเข้าหาเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สิ้น สมเด็จพระรามธิบดีเห็นว่า พระยาพิษณุโลกเข้าหาเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์แล้ว พระองค์ก็ชวนพรรคพวกมาเข้าหาเจ้าพระยาเดโชด้วยแล้ว จึ่งเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์เลิกทัพจับพระยาพิษณุโลกและพระราม ธิบดี นำมาถวายพระศรีสุริโยพรรณ ๆ จึ่งจัดแจงแต่งให้พระญาติพระ วงศ์องค์หนึ่งนั้น เป็นผู้รักษาเมืองทะรัง เป็นเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่พระยาพิษณุโลกแขกนั้น สั่งให้พันธนาการจำครบใส่ตรุไว้กว่าจะตาย ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ ศักราช ๑๕๒๘ ปีมะเมีย นักษัตรอัฐศก (พ.ศ.๒๑๔๙ ) จึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ พระองค์ ทรงดำริวิตกว่า หัวเมืองข้างฝ่ายทักษิณทิศนั้นก็ราบคาบสิ้นเสี้ยนหนามแล้ว ยังแต่หัวเมืองอุตรทิศฝ่ายเหนือนั้น อริราชศัตรูหมู่ปัจจา มิตรข้าศึก ยังโหมฮึกกล้าหาญอหังการ์ ถืออาตมาว่าตัวมีบุญเป็นเจ้านายอยู่ทุกหัวเมือง ได้ระคายเคืองพระทัยนัก จึ่งสั่งให้เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์จัดทัพสำหรับตีที่เคยมีชัยมาทุกครั้ง เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์รับสั่ง แต่งทัพเสร็จสำเร็จ ยกไปตีเมืองพระตะพังและเมืองเชิงไพร ผู้รักษาเมือง

๒๔ พระตะพังและเมืองเชิงไพร รู้ว่ากองทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกมาตี แล้วต้อนรับกับเครื่องราชบรรณาการมาคำนับเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ เข้าด้วยเป็นสามิภักดิ์ ยังแต่เมืองบาชัย บาอานัน ผู้รักษาเมืองบาชัย บาอานัน ถือศีลกินบวชอาเพสเป็นดาบศวิทยาอาคมเชี่ยวชาญปรากฏ ระบือลือยศ ทุกสถาน ห้าวหาญนัก พูดจาเป็นคำสิงหลเป็นภาษาบาลี เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สั่งให้กองทัพยกเข้าตีเมืองบาชัยบาวา ฝ่ายเจ้าเมืองบาชัยบาวารู้ ว่ากองทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกมาติดเมือง เข้ารองราชพิธีน้ำมาสิง ได้พรหมจารี ปลุกเสกทำเป็นมงคลใส่ศีรษะสวมคอ รอได้ฤกษ์ เลิกพลให้คนหามแคร่แห่แม่ทัพ ออกมารบทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ บรรดาได้มงคลทนคงทนงใจโหมฮึก พวกข้าศึกฟันแทงไม่ถูกเลย กับเจ้าเมืองบาชัยบาวากับทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ สู้กัน ๓ วัน ๓ คืน กำลังศึกทั้ง ๒ ฝ่ายก็ก้ำกึ่งกัน ทัพเจ้าเมืองนั้นก็ยกมาล่าเลิกเข้าเมือง ทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์นั้น ก็สั่งกันให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ แล้วเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สั่งนายทัพนายกอง ให้กำชับว่ากล่าวไพร่พลสกลโยธา ให้ตั้งทำนา ข้าวปลาอาหาร ให้บริบูรณ์พร้อมมูลแล้วจะได้คิดการศึกต่อไป ครั้นณวันศุกรเดือน ๘ ทุติยาษาฒ แรมค่ำหนึ่ง เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ จึ่งเรียกราชบุรุษผู้หนึ่งมีปัญญาเฉลียวฉลาดแหลมหลักเป็นนักปราชญ์ รู้ทั้งพุทธศาสตรและไสยศาสตร โวหารฉลาดทุกประการ มาสนทนาว่าขานเป็นความลับว่า ท่านจงรับอาษาเราไปคิดกลอุบายแก้ไขเอาเมืองบาชัยให้จงได้ ถ้าคิดการสำเร็จจะกราบทูลพูนบำเหน็จความชอบให้ท่านเป็นใหญ่ในที่อัครฐาน ท่านจงทรมานกายสู่ความละอายจะได้สุข ๒๕ จะทนทุกข์อย่าโทมนัสใจ เราจะสั่งให้เขากระทำโพยพันธนาการท่านแล้ว ท่านจงหนีเข้าไปในเมืองบาชัยบาวานั้นเถิด แล้วเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ สั่งให้ราชบุรุษผู้นั้นมากระทำโทษแต่พอเป็นที จำคาใส่โซ่ไว้ ครั้นเพลาพลบค่ำ ราชบุรุษก่อนเข้าไปเมืองบาชัยบาวานั้น ฝ่ายเจ้าเมืองบาชัย บาวารู้ว่า นักโทษข้าศึกหนีเข้ามาในเมือง เอาตัวมาถามได้ความ แล้ว ให้ถอดโซ่ตรวนขื่อคาที่พันธนาการนั้นออกแล้ว ราชบุรุษนั้นจึ่งว่าแก่เจ้าเมืองบาชัยบาวามันว่า ข้าพเจ้าอยู่ด้วยเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ เป็นคนสำหรับหัวปากพ่อครัวไว้ใจข้าพเจ้าสิ้น ไส้พุงเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์กับพระศรีสุริโยพรรณบรมกษัตริย์นั้น มีอยู่สักกี่ขด ๆ คนดีมีฝีมือมีอยู่สัก กี่คนๆ ชั่วดีมีอยู่เท่าใด ท่านเเจ้งใจอยู่สิ้นทุกประการ แต่ข้าพเจ้าทรมานกายมาหลายทับแล้ว มาอยู่ว่าจะได้ดี บัดนี้เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์มาครุทำโทษข้าพเจ้าถึงสาหัสสากันนั้น ข้าพเจ้ามิได้มีความผิด จึ่งคิดหนีมาอยู่ด้วยท่านกว่าจะสิ้นชีวิต มิได้คิดประทุษร้ายสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ท่านหามิได้ ฝ่ายเจ้าเมืองบาชัยบาวามันเห็นว่า ราชบุรุษนั้นสวามิภักดิซื่อตรง ต่อ มิได้มีข้อสงสัยในราชบุรุษนั้นหามิได้ และชุบเลี้ยงให้เป็นใหญ่ในหัวปากพ่อครัว ราชบุรุษนั้นหุงข้าวต้มแกงจัดแจงดูแลให้เจ้าเมืองบาชัยบาวานั้นบริโภคทุกเวลามิได้ขาด ราชบุรุษนั้นจึงรู้ในกลอุบายเจ้าเมือง บาชัยบาวานั้นมีศีลาจารวัตร หมั่นมิได้ประมาท คิดทำลายศีลให้ขาด จากสันดานแล้วจึ่งวางยากลอุบายปรุงลงกับของบริโภค เจ้าเมืองบาชัยบาวาบริโภคอาหารเข้าไป ก็ให้เจ็บท้องจุกเสียดเสียวทั่วสรรพางค์ตัวและให้มึนเมื่อยเมามัว ราชบุรุษซ้ำวางสุราให้กิน ยิ่งมัวเมาไปทั้งกลางวัน

๒๖ กลางคืน จะได้ฟื้นตัวรู้สึกสมประดีนั้นหามิได้ ราชบุรุษวางกลอุบาย วิทยาอาคมสมดุจหนึ่งใจนึก แล้วก็หนีมาแจ้งเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ ๆ รู้ว่าเจ้าเมืองบาชัยบาวาเสียพิธีกิริยาแล้ว ก็สั่งโยธาตระเตรียมไว้ให้พร้อมครั้นณวันอังคารเดือน ๑๑ ออกพรรษา จึ่งเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สั่งให้ แม่ทัพแม่กองยกเข้าตีเมืองบาชัยบาวาได้ เจ้าเมืองบาชัยบาวาถูกปืนตาย ไพร่บ้านพลเมืองแตกกระจัดกระจายล้มตายเป็นอันมาก และเมืองสตง ฉทึงตรอง และเมืองสมบุกสมบูรณ์กลัว แล้วยกครอบครัวมาขึ้นเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สิ้น เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์มีชัยยกทัพกลับเข้ามาเฝ้าพระเจ้าศรีสุริโยพรรณ สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณพระองค์จัดแจง ผู้รักษาเมืองบาชัยบาวาและเมืองสตงฉทึงตรอง และเมืองสมบุกสมบูรณ์ให้ตั้งเมืองเหมือนแต่ก่อน ครั้น ณ วันเสาร์เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ เถลิงศกศักราช ๑๕๒๙ ปีมะแมนักษัตรนพศก (พ.ศ.๒๑๕๐) จึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ สั่งให้เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองโคแสะและเมืองสันทุก เจ้าเมือง โคแสะ และเจ้าเมืองสันทุก รู้ว่ากองทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกมา แต่งราชบรรณาการมาขึ้นแก่พระยาเดโชนุวงศ์สิ้น แล้วเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกกองทัพไปตีเมืองทมอกูน สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเมืองทมอกูนรู้ว่า กองทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ยกมาตีเมืองพระองค์ๆจึ่งจัดแจงแต่งแม่ทัพนายกอง ประลวงล่อต่อทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ ๆ เห็นว่ากำลังทัพสมเด็จพระรามาธิบดีกล้าแข็งหนัก ก็หยุดพักพลทหารตั้งทัพอยู่ทำค่ายขุดประตูพื้นเชิงเทิน ให้นายทัพนายกองตั้งทำนาเอาข้าวปลาอาหาร

๒๗ สะบียงให้เป็นกำลังศึกสืบไป ครั้นณเดือน ๑๑ ออกพระวษา จึ่งสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบพระทัยว่า พระศรีสุริโยพรรณมีหนังสือเข้ามาขอพระศรีไชยเชษฐา และว่าบรรดาหัวเมืองปากใต้ พระศรีสุริโยพรรณปราบสิ้นเสี้ยนหนามแล้วยังแต่เมืองฝ่ายเหนือยังกระด้างกระเดื่องเคืองขัดแข็ง เรี่ยวแรงมีกำลังอยู่เป็นหลายเมืองนั้น จึ่งมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ จัดนายทัพนาย กองไทย ให้พระศรีไชยเชษฐาเป็นแม่ทัพ คุมออกไปช่วยกันตีเป็น ๒ ทัพ เป็นทัพกระหนาบกับทัพเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ พระศรีไชยเชษฐาเป็นแม่ทัพไทย ออกไปตีเมืองพระนครสวรรค์ เจ้าเมืองพระนครสวรรค์รู้ว่า ทัพพระศรีไชยเชษฐายกมาแต่เมืองไทย ตกใจแล้วแต่งราชบรรณาการมาถวายตัวเข้าด้วยพระไชยเชษฐาๆพระองค์ตั้งผู้รักษาเมืองให้คงเมืองแล้ว พระองค์ยกกองทัพไปตีเมืองโพธิสัตว์ ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ เมืองโพธิสัตว์มาสามิภักดิด้วยพระศรีไชยเชษฐา ๆ พระองค์ยกกองทัพ ไปตีเมืองบริบูรณ์ เมืองละแวก ผู้รักษาเมืองบริบูรณ์เมืองละแวก ก็เข้าสามิภักดิด้วยทัพพระศรีไชยเชษฐาสิ้น แล้วพระองค์ก็ข้ามไปเฝ้าพระ ศรีสุริโยพรรณณเกาะสระเกษในปีมะแมนั้น พระชนมายุศม์พระศรีไชยเชษฐานั้นได้ ๒๓ ปี และจะว่าด้วยเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ ตั้งล้อมเมืองทมอกูน รบกันกับสมเด็จพระรามธิบดีนั้นช้านาน จะได้แพ้ชะนะกันหามิได้ เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ จึ่งมีหนังสือบอกมาให้กราบทูลสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ ๆ แจ้งว่า เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์รู้ทัพกันกับพระรามธิบดีก็แข็งกัน

๒๘ อยู่ มีพระโองการให้ไปนิมนต์พระพุทธวงศ์ อยู่ณวัดเมืองไทรหัดมาปรึกษาการศึกเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์รบกับศึกสมเด็จพระรามธิบดี พระพุทธวงศ์แจ้งเหตุแล้วรับอาษาไปเจรจาด้วยสมเด็จพระรามธิบดี ๆ รู้แจ้งว่า พระพุทธวงศ์มาเกลี้ยกล่อมพูดจาว่า พระศรีสุริโยพรรณพระองค์ จะเลี้ยง พระองค์อย่าทรงพระดำริว่า พระพุทธวงศ์บ่เป็นสมณะ หาไหนจะมาล่อลวงพระองค์นั้นหามิได้ สมเด็จพระรามาธิบดีก็เข้าหาเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ ๆ ก็เลิกกองทัพกลับมาเฝ้าพระศรีสุริโยพรรณ ๆ พระองค์ให้สมเด็จพระรามธิบดีถือน้ำพระพิพัฒสัจจาดีแล้ว พระองค์ตั้งสมเด็จพระ รามธิบดีให้ไปเป็นเจ้าเมืองโคแสะ ชื่อสมเด็จพระรามธิบดีศรีสุริยวงศ์ ดังเก่า และเลี้ยงเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ให้ไปเป็นเจ้าเมืองสันทุก ชื่อออกญา เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ ภรรยาเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์นั้น พระองค์เลี้ยง ให้เป็นแม่อยู่หัวเจ้าและตำแหน่งเฝ้าเจ้าพระยากลาโหม เจ้าพระยาจักรีเจ้าพระยาเดโชนุวงศ์สบเสมอกัน ครั้นณวันพุธเดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ เถลิงศก ศักราช ๑๕๓๐ ปีวอกนักษัตร สัมฤทธิศก (พ. ศ. ๒๑๕๑ ) สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณพระ องค์ทรงพระดำริว่า เมืองกัมพูชาธิบดีนี้สิ้นเสี้ยนหนามแล้ว พระองค์ จึ่งทรงแต่งพระราชสาร ไปกราบทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระนเรศรเป็นเจ้าให้ทราบฝ่าละออง ฯ อุปทูตราชทูตใช้ให้ไปมาทุกปีมิได้ขาด แล้วพระองค์จึ่งสั่งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยให้ไปสร้างเมือง ตั้งพระราชวังอยู่ณเมืองละวาเอม ๆ นั้น เหนือเกาะสระเกษ ไปทางประมาณ ๒๐๐ เส้น ตั้งตำหนักพระมหาอุปราช และพระตำหนักพระราชโอรสทั้ง ๒ พระองค์

๒๙ ครั้นณวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ออกพระวษา สมเด็จ พระ ศรีสุริโยพรรณ เสด็จมาอยู่พระราชวังใหม่ แต่โรงพระแสงขรรค์ พระแสงปืน พระแสงธนู พระแสงหอกง่าม นั้นตั้งอยู่นอกพระราชวังอยู่ข้างทิศอาคเนย์ และมีปี่กลองประโคมยาม และแตรงอนและแตร ฝรั่ง และประโคมยามที่ศาลลูกขุนนั้น กลองแขกปี่พาทย์ประโคมยาม และมีทั้งกลองชัย บัณเฑาะว์สำหรับแห่พระราชพิธี และแห่ราชสาร และราชาภิเษก แห่พระขรรค์ และพระองค์จัดแจงพระราชวัง ปลูกพระตำหนักแต่ปีวอกถึงปีระกาศักราช ๑๕๓๑ นักษัตรเอกศก มีพระราชมนเทียรหลังหนึ่ง และปลูกพระตำหนักหน้าพระราชมนเทียรนั้น ๓ หลังๆ ละ ๑๕ ห้อง และพระตำหนักสะกัดเบื้องหลังพระราชมนเทียรนั้น ๓ ห้อง และมีตำหนักพระสนมถัดมานั้น วังพระมหาอุปราชตั้งเหมือน กันมีพร้อม ถัดมานั้นพระตำหนักพระศรีไชยเชษฐานั้น ก็มีเหมือนกัน มีโรงช้าง โรงม้า โรงรถ ลงรักปิดทองทาชาดเขียนลายรดน้ำทุกโรง เป็นอนุกรมลำดับเหมือนกันทั้ง ๓ พระราชวัง แต่ปลูกพระราชวังตั้ง ตำหนักอยู่นั้น ศักราชได้ ๑๕๓๒ ปีจอโทศก (พ. ศ.๒๑๕๓ ) ครั้นปลูกพระตำหนักเสร็จแล้ว จะเสด็จขึ้นสู่พระราชมนเทียรกษัตริย์สืบมาแต่ ก่อน และมีพระราชโองการสั่งให้มีหมายไปทุกหมู่ทุกกรม ๆ ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ทหารพลเรือนให้นุ่งสมปัก ใส่เสื้อครุยลำพอก ตามผู้น้อย ผู้ใหญ่ หัวหมื่นลายทองดาบเชลยต้นเชือกปลายเชือกข้างแคร่ จะแห่พระขรรค์มาสู่พระราชมนเทียร ครั้นได้ฤกษ์ พนักงานเตรียม ชีพ่อ พรามหณ์ทั้ง ๔ พนักงานเชิญพระแสงขรรค์ พระแสงปืน พระแสงธนู พระ

๓๐ แสงหอกง่าม ขึ้นสู่พระราชยานเครื่องสูงพร้อมแตรสังข์ แตรงอน แตร ฝรั่ง กลองโยน แล้วจึ่งพระศรีสุริโยพรรณ และมหาอุปราชทั้ง ๒ พระองค์ทรงพระราชยานมาศขึ้นสู่พระราชมนเทียร เสนาข้าเฝ้าเจ้าราช นิกุลพระวงศานุวงศ์กรมฝ่ายหน้าฝ่ายในเฝ้าพร้อมแล้ว พระองค์จึ่งมีพระราชโองการสั่งสังฆการีธรรมการ นิมนต์พระสม พระเครื่อง พระราชาคณะ อาราธนามานั่งณพระราชมนเทียรพร้อมแล้ว และสังฆการีอาราธนาศีลแล้ว พระราชาคณะสวดพระพุทธมนต์ ถวายชัยถวายพร ณเพลา ๕ โมงเย็น ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าฉัน ๓ วัน ถวายชัยถวายทาน เสร็จแล้ว สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ พระองค์มีพระราชโองการให้หาอาลักษณ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตพรามหณ์ปโรหิต มาชุมนุมปรึกษา ให้นามพระที่นั่งพระตำหนัก และพระราชเรือนหลวง และเรือนสนมและพระราชมนเทียรเดิมเรียกว่า มังคลาภิเษกกลาพระบรรทม ๑ กลาสมเด็จ ๑ อติเรกวิสุทธ์ กลาพระที่นั่ง ๑ มงกุฏพิมาน กลากำนัล ๑ พิมานอากาศ กลาศฤงคาร ๑ อุภาษนารี กลาสำอาง ๑ ศรีวิสุทธ์ สไลชาลา ๑ บุษบกพิมาน และพระที่นั่งข้างพระราชมนเทียรนั้นชื่อ จันทไฉยา จึ่งอาลักษณ์เสนอพระนามพระตำหนักถวายสำเร็จแล้ว พระราชคณะสวดสัพพี ชยันโต, ภวตุ, ถวายชัยถวายพรลาไป แตรสังข์ ดุริยดนตรีประโคม แล้วพรามหณ์อ่านมนต์ถวายชัยถวายพรไสยศาสตรและนำเอาน้ำสังข์สรงพระที่นั่งทุกตำหนัก ราชบัณฑิตสังฆการีนำเอาน้ำพุทธมนต์สรงดุจเดียวกัน เครื่องพระสุคนธ์นั้น ท้าวนาง เถ้าแก่ แม่เจ้า ชาววัง นำสรงพระตำหนักดุจเดียวกัน แล้วจึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ

๓๑ มีพระราชโองการ เป็นพระราชปรยับ สั่งข้าราชการเสนาข้าเฝ้า เจ้าราชนิกุลขุนหมื่นพันทนาย ฝ่ายทหารพลเรือนทั้งปวงจนทั่ว ให้ข้าราชการรับสั่งเฉลยพระโองการว่า พระศรีสรรเพ็ชญ์ สมเด็จนรนาถไพร่บ้าน พลเมืองรับสั่งดุจเดียวกัน ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ วันเถลิงศก ศักราช ๑๕๓๓ ปีกุนนักษัตรตรีศก (พ.ศ. ๒๑๕๔ ) สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ พระองค์สั่งให้ปลูกตำหนักพระภัคคินิโย พระราชบุตรี ๆ หลังยืนหลังหนึ่งสะกัด พระราชวงศานุวงศ์นักปราชญ์ราชบัณฑิต พรามหณ์ปโรหิตเสนาบดี ผู้ใหญ่ผู้น้อย หอรี ๓ หลัง ขวาง ๑ ตามศักดินาผู้ใหญ่ให้ใหญ่ ผู้น้อย ให้น้อย ตามกฎหมาย ครั้นณวันเข้าพระวษา พระราชทานเครื่องยศให้พระมหาอุปราช และพระศรีไชยเชษฐา พระอุทัยราชา พานพระศรีทอง โตกท้าวช้างทอง รองพระกระยาหารพระภัคคินิโยพระราชบุตรี พาน พระศรีทอง โตกเงิน ๓ เท้ารองพระกระยาหาร แต่เหล่าราชนิกุลพระวงศานุวงศ์ที่มีกรมนั้น พานพระศรีทองโตกนาก ๓ เท้ารองพระกระยาหาร ที่หากรมมิได้นั้น พานพระศรีกะไดทองรองพานเงินโตกตลุ่มประดับมุกต์ มีผ้ารองพระกระยาหาร ขันทองมีพานรองน้ำเสวยทุก ๆ องค์ แต่ที่เป็นกรมนั้น มีเต้าทองพานรองน้ำเสวย พระมเหษีซ้ายพระมเหษีขวา ถือศักดินาสิบพันนั้น มีพานหมากทอง ขันน้ำทองรองพานเงินโตกนาก ๓ เท้ารองเครื่องบริโภค พระสนมทั้งนั้นถือศักดินา ๘๐๐๐ พานหมากเงิน ขันนาก พานรองเงิน ของหวานโตกตลุ่มประดับมุกต์ นางกำนัลทั้งนั้นถือศักดินา ๖๐๐๐ พานนากประดับมุกต์ ขันเงินพานรองทองขาว

๓๒ ของคาวตลุ่มเขียนลายรดน้ำทองโตกทองขาว ๓ เท้ากะไดทอง นางพนักงานถือศักดินา ๔๐๐๐ มีหีบลงรัก เขียนลายรดน้ำทอง มีผ้าเช็ด หน้าปักหักทองขวางห่อหีบ พนักงานสาวใช้ถือศักดินา ๒๐๐๐ มีหีบหมากแดงน้ำมันชาด มีผ้าเช็ดหน้าสีชมพูห่อหีบ พระท้าวพี่เป็นพระวงศา เป็นภรรยาขุนนางนั้น ถือศักดินาสิบพัน พานหมากกะไดทอง ขันน้ำทองพานรองทอง เครื่องของคาวโตกตลุ่มประดับมุกต์มีฝา นางท้าวถือศักดินา ๘๐๐๐ พานหมากนาก ขันน้ำนาก พานรองนาก โตกตลุ่มประดับมุกต์ นางท้าวถือเช็ดหน้า ๖๐๐๐ นั้น หีบหมากประดับมุกต์ มีพานรองประดับมุกต์ ขันน้ำเงิน พานรองเงิน โตกทองขาว ๓ เท้าของคาว จัตุสดมภ์ทั้งสี่และมหาเทพมหามนตรี พานหมากทอง ขันน้ำทองพานรองทอง โตกเงินท้าวช้างเป็นภาชนะบริโภค ข้าราชการที่ถือ ศักดินา ๘๐๐๐ หีบหมากนากเลี่ยมทอง ขันน้ำนากเลี่ยมทอง พานรองเงิน โตกทองขาวท้าวช้างเป็นภาชนะ ข้าราชการถือศักดินา ๖๐๐๐ พาน หมากเงินเลี่ยมทอง ขันเงิน พานเงินรองโตกของคาวทองขาว ๓ เท้า เป็นภาชนะ ผู้ถือศักดินา ๕๐๐๐ เจ้ากรม ปลัดกรม นายมหาดไทย ถาดหมากเงิน ขันเงินเลี่ยมทองตะ ตะทอง ผู้ถือศักดินา ๔๐๐๐, ๓๐๐๐, ๒๐๐๐, ๑๐๐๐ เจ้ากรม ปลัดกรม ถาดหมากเงิน ขันเงิน โตกทองขาว ๓ เท้า ข้าราชการผู้ใหญ่โปรดให้กินเมืองนั้น เจ้าเมืองทรัง เจ้าพระยาพิษณุโลก ๑ เมืองโพธิสัตว์ เจ้าพระยาสวรรคโลก ๑ เมืองสันทุก เจ้าพระยาเดโชนุวงศ์ ๑ เมืองบาพนม พระยาธรรมาเดโช ๑ เมือง ตบูงขมุม พระยาอรชุน ๑ ผู้รักษาเมือง ๕ คนนี้ ถือศักดินา ๑๐ พัน

๓๓ เป็นเจ้ามีฆ้องยาม มีช้างม้าผูกโรงเครื่องภาชนะล้วนทอง ผู้รักษาเมืองนอกนี้ ถือศักดินา ๘๐๐๐, ๖๐๐๐ นั้น เครื่องอุปโภคบริโภคนั้น ถือเหมือนข้าราชการในข้างในพระนคร เป็นพระราชวงศานุวงศ์นั้น ถือพระกรดแพรเขียวมีระบาย ผู้รักษาเมือง ๕ เมืองนั้นถือทัญญูกระแอ แปลว่าร่มด้ามคันยาวมีระบาย จัตุสดมภ์ทั้งสี่นั้น ถือร่มเหมือนกันกับ ๕ เมือง ว่าด้วยศักดินาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้างหน้าข้างใน และเครื่องยศอุปโภคบริโภคก็หยุดไว้แค่เพียงนี้ ครั้นณเดือน ๑๑ เป็นวันออกพระวษา จึ่งสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณมีพระราชโองการสั่งพระมหาเทพพระมหามนตรี ชาวพนักงานพระราชโรงหลวง ให้มีกฎหมายแจกไปทุกหมู่ทุกกรม ทุกหมวดทุกกอง ชาวพนักงานข้างหน้าข้างในจงทั่ว ให้เจ้าพนักงานเตรียมการให้พร้อม จะราชาภิเษกนั้น พระมหาเทพพระมหามนตรีรับพระราชโองการ และมีหมายแจกไปทุกเมือง ข้างในเมืองนอกเมือง และสังฆการีธรรมการ เจ้าพระยาพระเสด็จ เจ้าพระยา อาลักษณ์นักปราชญ์ ราชปโรหิต ชีพ่อพรามหณ์ทั้งสี่ทั้งแปด หมายรู้ทั่วทุกหมู่ทุกกรมเสร็จแล้ว ครั้นณวันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เถลิงศก ศักราช ๑๕๓๔ปีชวด นักษัตรจัตวาศก (พ. ศ.๒๑๕๕ ) จึ่งเจ้าพระยาจักรีจางวางกรมช้าง ให้หามา เจ้ากรมปลัดกรมจางวางขุนหมื่นครูหมอกรมช้างกองนอกกองใน ระวางต้นระวางเพรียว จัดหาช้างสิงมีกำลังและมีศอกมีนิ้วกลางาเป็นช้างศึกสำหรับทัพ ให้ฝึกสอนให้ชำนิชำนาญอยู่กับปืนยืนกะหอกให้ตน รู้ดีตามตำราไสยศาสตรตัวหนึ่ง คือ ๓ คนนี้เป็นช้างคชาธารนั้น ให้ผูก

๓๔ เป็นคชาธารมีช้างดั้งช้างเขน มีเสโลโตมร คนตีนั้นให้ใส่เกราะเหล็ก หมวกเหล็ก หมอขี่คอนั้นถือขอและของ้าวด้วย คนกลางนั้นถือปืน ควานท้ายนั้นถือหอกขอ ครั้นณเดือน ๘ แรมค่ำหนึ่ง เข้าพระวษา กรมม้าฝึกม้า ให้ทนงองอาจสู้ศึก สำหรับศึก ให้รู้เดินเพลงทวนและเพลงทั้งปวง และมีเครื่องประดับให้ทุกทวน ตามกระบวนใหญ่น้อย คนขึ้น ขี่ม้านั้น ใส่เกราะเหล็ก หมวกเหล็ก มีแซ่ ทนูและทวนถือ และให้ ผู้รักษาเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือ ให้ตระเตรียมรี้พล สกลโยธาหัดยิงปืนไฟ ธนูหน้าไม้รำดาบรำดั้งกระบี่มวยปล้ำเพลงตะบองและทั้งเรือทั้งบก ให้ชำนาญการศึกรู้ให้สิ้น ถ้ามีการศึกจะได้เกณฑ์ไปศึก ถ้าไม่มีศึกเป็น พระราชพิธีการแห่ จะได้เกณฑ์ไปแห่และสมโภช เจ้าพนักงานทั้งปวง กระทำตามพระราชโองการรับสั่ง ไพร่พลสกลทวยหาญชำนิชำนาญการพร้อมได้ทุกสิ่งสิ้นแล้ว ครั้น ณวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ เถลิงศก ศักราช ๑๕๓๕ ปีฉลูนักษัตรเบญจศก (พ.ศ.๒๑๕๖) จะวิวาหมังคลาราชาภิเษก ณเดือน ๘ เข้าพระวษา สั่งเจ้าพนักงานเครื่องสูง ให้จัดแจงพระกลด อภิรุม กัน ภิรุม ราชยาน พัดโบกจ่ามร ทอนตะวัน ให้พร้อมณเดือน ๑๐ สั่งเจ้าพนักงานเครื่องเล่นเป็นต้นว่า โขนละคร มอญรำ หกคะเมน ไต่ลวด ไม้สูงไม้ต่ำรำแพน สารพัดเครื่องเล่นสมโภช ให้มีสิ้นจนครบ๑๒ ภาษา เจ้าพนักงานเตรียมพร้อมเสร็จแล้ว ณเดือน ๑๑ ออกพระวษา สั่งเจ้าพนักงานปลูกกุฏิพระราชาคณะ ๕ กุฏิ อาราธนาพระพุทธรูปมาไว้ณกุฏิ ทุกกุฏิ แล้วแห่เบญจเกษตรมาจากกุฏิพรามหณ์ มาไว้โรงราชพิธี

๓๕ พราหมณ์ทุกโรง ปลูกโรงราชพิธีพราหมณ์ ๕ โรง ให้ปลูกไว้ในพระราชวังริมพระราชมนเทียร ณเดือนอ้ายพราหมณ์ปโรหิตนำเอาพระสุธารศสรง พระสุธารศเสวย มาแต่หว่างเขาพระบานนสำหรับกษัตริย์ นั้น มาทูลเกล้าถวายไว้พระตำหนัอติเรกวิสุทธ์ แล้วพราหมณ์ปโรหิต จึ่งสั่งเจ้าพนักงานแห่ตามเคย พราหมณ์ทั้งสี่เชิญพระแสงขรรค์ พระแสงธนู พระแสงปืน พระแสงหอกง่าม ออกมาจากโรงแสงอยู่ทิศอาเนย์นั้น แห่มาสู่โรงพระราชพิธี แล้วชำระด้วยน้ำกษัตริย์ขัดสีสิ้นมลทินทุกพระองค์แล้ว เชิญไปไว้ในพระราชมนฑล แล้วให้เตรียมแห่เป็นกระบวนศึก ช้าง ศึกม้า ศึกรถ บทจรนิกรเดินเท้า ยกมาตั้งนอกพระนครริมกำแพงวางตั้งอยู่ทั้งแปดทิศแปดช่อง มีโรงวิเศษสำหรับเลี้ยงโรงละทิศ เป็นช้างระวางนอก ชั้นกลางระวางใน เครื่องทรงช้างต้น ผูกกูบกระโจมทอง ม้าต้นผูกเครื่องประดับพร้อมพิชัยราชรถ และราชยานและเครื่องสูง สำหรับกษัตริย์ เครื่องเล่นข้างใน ระบำเบญจมงครุ่ม เครื่องเล่นทั้ง ปวงนั้น มีในพระราชวังบ้าง นอกพระราชวังบ้าง ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำ สังฆการีอาราธนาศีล มีสมเด็จพระสังฆการีเป็นต้น สวดพระพุทธมนต์ณโรงราชพิธี แล้วพราหมณ์ปโรหิตนุ่งขาวห่มขาวใส่หมวกกลอมพลีกรรมบวงสรวง อ่านมนต์ตามไสยศาสตร์แล้ว เป่าเรไรเเละรำนารายน์ครั้งหนึ่ง แล้วข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยนุงสมปักลายใส่เสื้อครุยใส่ลำพอกตามบรรดาศักดิ เหล่าพระวงศานุวงศ์แต่งพระองค์ จงโอ่โถงด้วย พร้อมอยู่ณโรงราชพิธีแล้วเข้าในพระราชมนเทียรท้อง พระโรงหลวง ขุนนางเข้าในพระโรงหลวงเสร็จแล้ว ให้เป่าสังข์ตีระฆัง

๓๖ กระทั่งแตร ประโคมดุริยดนตรีปี่พาทย์ฆ้องชัยพร้อมสิ้น บรรดานักเลงระบำทั้งปวงในพระราชวัง นอกพระราชวัง เล่นสมโภชไปทั้ง ๗ วัน ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เจ้าพนักงานเตียงทองร้องพระราชศิริทั้งปวงนั้น นำไปวางข้างที่พระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์นอกพระสันนยา มีประชุมวิธีสวม มีพระสุขไสยาศน์ปิดกำบัง และพราหมณ์ปโรหิต นำมาซึ่งพระแสงขรรค์ พระแสงปืน พระแสงธนู พระแสงหอกง่าม และพระสุพรรณบัตร มีพานทองรอง ๓ ชั้น มาทอดที่พระเตียงทองแล้ว เจ้าพนักงานนำเอาบุษบกมาทอดที่พระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์นอกพระสันนยา และฉลองพระบาทใส่พานทองรองพานทองตั้งหน้าริมเชิงบุษบกมีพระสนมนางห้ามพนักงานกรองพวงมาลาตั้งทั้งสองข้างริมบุษบก และมีรูปเต่า รูปปลา รูปงู มาวางริมเชิงบุษบก และนายทหารใหญ่ทั้งสี่ นายกำนัลทั้งสี่ นายองครักษ์ทั้งสี่ นายกลางช้างทั้งสี่ แต่งตัวตามธรรมเนียมมานั่งซ้ายขวาข้างละ ๘ คน ผู้จัดแจงแต่งเรียบพระราชโรงหลวง ให้นั่งเป็น ดุลกระบวนถ้วนถี่ รำนารายณ์แล้วคอยห้ามปรามดูแลเป่าเรไรขึ้นเป็น ๒ ครั้ง เป็นสำคัญให้ขุนนางใส่ลำพอก ให้มีข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน มีดอกบัวหลวงเป็นต้น พร้อมกันณโรงราชพิธีสำหรับถวายบังคมและ พระราชาคณะขึ้นสู่พระราชโรงหลวงด้วยข้าราชการ สำหรับสวดพระพุทธมนต์ถวายชัยถวายพรด้วย เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมา ครั้นเรียบพระราชโรงหลวงเสร็จแล้ว จึ่งกษัตริย์ทั้งสองพระองค์เสด็จมาพระที่นั่ง เจ้าพนักงานข้างในกำนัลตามเสด็จมาพร้อม รำนารายณ์เป่าเรไรขึ้น ๓ ครั้งเป็นกำหนด แล้วเป่าสังข์ระฆังกระทั่งแตร ได้พระฤกษ์แล้ว

๓๗ เสด็จขึ้นสู่พระที่นั่งบุษบก แล้วให้หยุดประโคมทั้งปวงไว้ก่อน ครั้นได้ พระฤกษ์ชั้นฉายดีแล้ว พราหมณ์ปโรหิตเป่าสังข์ตีระฆัง แตรปี่ กลองฆ้องชัยดุริยดนตรีประโคมขึ้นทุกพนักงานแล้ว สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะเจ้าเอาน้ำพระพุทธมนต์รดพระเกษาแล้ว พระมหาราชครู ปโรหิตโย่งพระเกษาให้ทรงพระมหามงกุฎให้ตรงดีแล้ว พราหมณ์ ปโรหิตนำเอาน้ำพระเบญจครรภถวายให้ทรงเสวย แล้วพระองค์ ทรงเครื่องกกุธภัณฑ์ทั้งห้าอย่างใหญ่ เจ้าพนักงานฉลองพระบาท นำเอาฉลองพระบาทมาถวายแล้ว พระองค์เสด็จลงจากพระที่นั่งบุษบกสอดทรงฉลองพระบาทเสด็จมาสู่พระที่นั่งดังเก่าแล้ว ปโรหิตถวายเศวตฉัตร แล้วให้หยุดประโคมดุริยดนตรีไว้ ครั้นได้พระฤกษ์ พราหมณ์ ปโรหิตอังเชิญมาซึ่งพระนารายณ์ถวายพระองค์ทรงอุ้มไว้แล้ว ให้เป่า สังข์ลั่นระฆังกระทั่งแตรประโคมดุริยดนตรีทั้งปวงขึ้นให้พร้อมทุกพนักงานแล้วพราหมณ์ปโรหิตราชครูทั้งสี่ นำมาซึ่งพระแสงขรรค์ถวายพระองค์ให้ทรงถือแล้ว ให้หยุดซึ่งประโคมทั้งปวงไว้ก่อนแล้ว ออกญาเจ้า พระยาพระเสด็จถวายบังคม ๓ หนแล้ว ถือเอาซึ่งพระสุพรรณบัตรขึ้นเหนือเศียรเกล้าแล้ว อ่านประกาศถวาย พระมหาอุปราชและพระ วงศานุวงศ์ ราชนิกุล ขุนหมื่น ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยให้แจ้งประจักษ์ในลักษณะนามกรพระศรีสุริโยพรรณนั้น ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชโองการพระบรมราชารามาธิราชธิบดีศรีสุริโยพรรณธรรมิกราชา จบแล้ว ให้ลั่นฆ้องชัยเป่าสังข์ตีระฆังกระทั่งแตร ประโคมดุริยดนตรีให้พร้อม ขึ้นด้วยกันแล้ว ออกญาเจ้าพระยาพระเสด็จ ส่งพระสุพรรณบัตรให้

๓๘ พระมหาราชครูปโรหิต ๆ นำมาถวายพระราชโองการ ๆ ยื่นพระสุพรรณบัตรส่งให้สมเด็จพระอัครมเหษี สมเด็จพระอัครมเหษีรับแล้ว ทรงวางลงในพานพระศรี แล้วให้หยุดประโคมไว้ก่อน แล้วสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ สวดพระพุทธมนต์ถวายพระพรถวายชัยแล้ว ข้างในนางพระกำนัลพระสนมถวายบังคม ๓ หนแล้ว ออกญาเจ้าพระยาพระ เสด็จเชิญซึ่งพระสุพรรณบัตรพระนามพระชาติกษัตรีย์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหษี กราบถวายบังคม ๓ หนแล้ว อ่านประกาศแก่สมเด็จพระสังหราชราชครูเสนาบดีข้าราชการใหญ่น้อยข้างหน้าข้างใน ให้ประจักษ์ดุจเดียว ทรงนามกรชื่อว่า สมเด็จพระภักคนีศรีสุชาดา เสร็จแล้วเป่าสังข์แตรประโคมดนตรีขึ้นให้พร้อมแล้ว ออกญาเจ้าพระยาพระเสด็จ ส่งพระสุพรรณบัตรให้พระมหาราชครูปโรหิต ๆ ถวายพระองค์ ๆ ส่งยื่นให้สมเด็จพระอัครมเหษี ๆ รับพระสุพรรณบัตรวางลงในพานพระศรีแล้ว ถวายบังคมสมเด็จพระราชโองการ ๓ หน ให้หยุดประโคมดุริยดนตรี ไว้ แล้วสมเด็จพระสังฆราชและราชาคณะสวดพระพุทธมนต์ถวายชัยถวายพระพร แล้วพระมหาอุปราชราชนิกุลลูกหลวงหลานหลวง พระ วงศานุวงค์มาเอาเครื่องสักการบูชากราบถวายบังคม ๓ หนก่อน แล้วจึ่งข้าราชการข้างหน้าข้างในชายหญิงพร้อมกัน เสนาดีพราหมณ์ปโรหิตผู้ใหญ่ผู้น้อยกราบถวายบังคมทีหลัง ๓ หน แล้วเจ้าพนักงานถวาย เภสัชอังคาสแก่พระสงฆ์ฉันแล้ว พราหมณ์ปโรหิตอ่านมนพิธีชัยศาสตร ถวายชัย แล้วสมเด็จพระสังฆราชราชาคณะสวดสัพพีติโย ฯ ภวตุ ฯ แล้วเจ้าพนักงานชาวที่ชักพระสันนยากั้นเสด็จเสร็จแล้วเป่าเรไร แล้ว

๓๙ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย พระสังฆราช ราชครู ก็ไปตามอนุกรมลำดับ ที่ควร ครั้นรุ่งขึ้นพระมหาอุปราชสั่งเจ้าพนักงานให้เบิกใบศรี ๗ ชั้น ให้ข้าราชการนุ่งสมปัก ใส่เสื้อครุย ใส่ลำพอก ใส่หมวกกลอมไปเรียบพระราชโรงหลวง และพนักงานข้างนอกข้างในได้ฤกษ์ ชาวเวียนเทียน ทำขวัญ และการเล่นสมโภช เล่นไปทั้งกลางวันและกลางคืน ๓ วัน และเลี้ยงไพร่พลสกลนิกรทุกวันทั้งสามวัน แล้วจึ่งสมเด็จพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จมาสู่พระราชเรือนหลวงพระตำหนักอติเรกวิสุทธ์เจ้าพนักงานชาวที่รูดพระสันนยาแล้ว และพระมหาราชครูพราหมณ์ ปโรหิตทั้งแปดทั้งสี่พร้อมแล้ว รำนารายณ์และเป่าเรไรประโคมดุริยดนตรีพร้อมขึ้นแล้ว ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ถวายบังคมพร้อมกัน ทั้งข้างหน้าข้างใน แล้วพราหมณ์ปโรหิตอ่านมนต์ไสยศาสตรถวายชัยถวายพรพระมหากษัตริย์สองพระองค์แล้ว เสด็จเข้าในพระราชวังเบิกพระสันนยา แล้วข้าราชการก็ไป เลิกการพระราชพิธี ๗ วัน ทำขวัญ ๓ วันแล้วและพราหมณ์ปโรหิตทั้งสี่เชิญพระแสงขรรค์พระแสงปืนพระแสง ธนูพระแสงหอกง่าม กับพระสุธารศสำหรับกันมาไว้ณพระที่นั่งพระราชมนเทียรเหนือพระเจ้ากลาพระบันทม ชื่อว่ามังคลาภิเษก และเมื่อวันเวียนเทียน ๓ วัน และวันสุดท้ายจะเป็นคำรบ ๓ วันนั้น ให้ทำขวัญเวียนเทียนเวลาเช้าแล้ว เพลาบ่ายเสด็จออกเลียบพระนครโปรยเงินทอง รอบพระนคร เกณฑ์แห่ตั้งเป็นขะบวนพยุหพิชัยสงคราม ตามฤกษ์ เป็นจัตุรงคฤกษ์ ๔ แถว เครื่องสูงอยู่ท่ามกลางช้างม้ารถคชพลเป็นอัน ดับ ๆ กัน กระโจมทองประเทียบข้างในสมเด็จพระอัครมเหษี โปรยเงิน

๔๐ โปรยทองตามเสด็จอยู่เบื้องหลังรอบพระนครแล้ว กษัตริย์สองพระองค์กลับเข้าพระราชวัง สั่งให้เลี้ยงทะแกล้วทหารข้าราชการตามบรรดาศักดิ์ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เสร็จการราชาภิเษกแล้ว จึ่งสมเด็จพระราชโองการพระบรมราชารามาธิราชธิบดีศรีสุริโยพรรณธรรมิกราชาธิราช พระองค์จะ อภิเษกพระศรีไชยเชษฐา ให้เป็นพระมหาอุปราชฝ่ายหน้า มีพระราชโองการสั่งเจ้าพนักงานพระราชโรงหลวง และข้าราชการทหารพลเรือนกรมฝ่ายหน้าฝ่ายในผู้ใหญ่ผู้น้อย พระวงศานุวงศ์เจ้าราชนิกุลขุนหมื่น ให้เรียบพระราชโรงหลวงแล้ว นุ่งสมปักใส่เสื้อครุย ใส่ลำพอกใส่หมวกลอมตามบรรดาศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย เล่นการสมโภช ๓ วัน มีแต่การเล่น ข้างในพระราชวัง และแตรสังข์ระฆังฆ้องชัย เตรียมไว้ให้พร้อมจงทุกพนักงาน แล้วให้ปลูกโรงราชพิธี ๒ หลัง ๆ หนึ่งพิธีพราหมณ์ หลังหนึ่งพระราชพิธีพุทธศาสตร ให้สังฆการีนิมนต์พระราชาคณะมาตั้งสวด ๓ วัน มีพระพุทธรูปเป็นต้นแล้ว ฉัน ๓ วัน ให้พราหมณ์ปโรหิตมาประจำโรงตั้งเป็นมณฑลมีพระนารายณ์พระอิศวรเป็นต้นแล้ว พระองค์จึ่งแต่งพระยานมาศสำหรับแห่หน้ามหาอุปราช มีข้าวตอกดอกไม้เทียนเงิน ๑๐ เทียนทอง ๑๐ เล่มปักบนพานทองรอง แต่ข้าวตอกดอกไม้และเทียนเลวนั้น ใส่ในสำเภาทองคำ และดอกไม้นั้น ผ้าเช็ดหน้ายกผ้าเช็ดหน้าทอง รองพานทอง ดอกไม้นั้นใส่ในตลับทองรองพานทองแล้ว มีดอกไม้กรองล้อมพานทอง มีดอกบัวหลวงเป็นต้นครบสิ่งแล้ว ยกไปตั้งบน พระยานมาศแห่หน้า จึ่งพระศรีไชยเชษฐาแต่งพระองค์ทรงพระภูษาลาย ขะบวนอย่างเทศ พระภูษาห่มบังเฉียงนั้นริ้วลายทอง ครั้นได้พระฤกษ์

๔๑ พระศรีไชยเชษฐาเสด็จสู่พระยานมาศ แห่มาถึงโรงพระราชพิธี เสด็จลงจาก พระยานมาศ เข้าในมณฑลพระราชพิธี นมัสการพระเจ้าก่อนแล้ว นมัสการพระนารายณ์ แล้วเสด็จขึ้นสู่พระราชโรงหลวงพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ และเมื่อพระศรีไชยเชษฐาเสด็จมาถึงโรงราชพิธีนั้น พราหมณ์ปโรหิต เจ้าพนักงานเป่าสังข์และเรไรรับเสด็จแล้ว รำนารายณ์ ๓ ท่า แล้วประโคมขึ้นครั้งหนึ่ง เล่นก็เล่น แล้วพระมหาราชครูปโรหิตนำเอาพานพระสุพรรณบัตรพระนาม และพานฉลองพระบาท และน้ำสำหรับกษัตริย์ และพระแสงปืน พระแสงธนู พระแสงหอกทรง พระแสงดาบทรง ตามเสด็จขึ้นไปสู่พระราชโรงหลวง ตั้งเหนือเตียงทองริมพระที่นั่ง และ บรรดาเครื่องที่แห่มาด้วยพระศรีไชยเชษฐานั้น วางข้างพระที่นั่งเตียง ทองเป็นซ้ายขวา มีเตียงทองแคร่พระที่นั่งญี่ปุ่น ที่พระสันนยาพระชุม วิที และพระสุขไสยาศน์ปิดกำบังเป็นอันเดียวสำหรับรดน้ำ ตั้งหน้าพระ ที่นั่งสมเด็จพระราชโองการ พระอัครมเหษี ๒ พระองค์ และพระยาพระอาลักษณ์หมอบเฝ้าพระสุพรรณบัตรริมเตียงทองตั้งเครื่องนั้น เมื่อพระศรีไชยเชษฐาแห่มาถึงโรงราชพิธี นักกำนัลข้างในคอยฟังเสียงประโคมสัญญา แล้วทูลเชิญสมเด็จพระราชโองการกับพระมเหษี เสด็จออกพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์คอยท่า เป่าเรไรบำเรอพระองค์ด้วยเพลงมโหรี ขุนนางข้างหน้าข้างในถวายบังคม ๓ ทีแล้ว ชักพระสันนยากำบังแล้ว หยุดมโหรีไว้ ครั้นพระศรีไชยเชษฐาแห่มาสู่พระราชโรงหลวงอติเรกวิสุทธ์ เสด็จเหนือพระที่นั่ง ชักพระสันนยาแต่จำเพาะสมเด็จพระราชโองการ เสด็จมารูดพระที่นั่งพระองค์กับพระมเหษีแล้ว จึ่งสมเด็จ ๖ ๔๒ พระศรีไชยเชษฐา ถวายบังคมพระบรมราชโองการ ๓ หนตามลำดับ แล้ว เป่าเรไรเป่าสังข์ตีระฆังกะทั่งแตรประโคมแล้ว พระสังฆราชราชาคณะสวดมนต์ถวายชัยถวายพร จบแล้วเชิญพระศรีไชยเชษฐาขึ้น สู่เตียงทองพระที่นั่งรดน้ำ สมเด็จพระสังฆราชและราชาคณะ ๗ องค์ เอาน้ำพระพุทธมนต์รดแล้ว พราหมณ์ปโรหิตราชครูรดด้วยน้ำสังข์แล้ว และสมเด็จพระราชโองการกับสมเด็จพระอัครมเหษี ทรงซึ่งพระเต้า เบญจครรภ สำหรับใส่น้ำกษัตริย์มาให้พระศรีไชยเชษฐาเสวย และรดพระเจ้าลงแล้ว ประโคมขึ้นพร้อมกัน แล้วหยุดไว้ ทรงพระภูษาต้น แล้วทรงเครื่องกกุธภัณฑ์อย่างน้อยเสร็จแล้ว มาถวายบังคมพระบรมราชโองการ ๓ หน และพระโหราถวายฤกษ์ลั่นฆ้องชัย ๓ หน แล้วเจ้าพระยาพระอาลักษณ์ถวายบังคม ๓ หน แล้วเจ้า...พระสุพรรณบัตรอ่านเสนอพระนามถวาย ตั้งพระศรีไชยเชษฐาเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชฝ่ายหน้า แล้วเจ้าพระยาพระอาลักษณ์ถวายพระสุพรรณบัตร ให้ พระมหาอุปราช ๆ รับแล้ว ทรงวางในพานพระศรีแล้ว ถวายบังคม ๓ หน แล้วมหาอุปราชนำเอาดอกไม้พานหมากทอง ตลับทอง ใส่ดอกไม้ไปถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเสร็จแล้ว กลับออกมาถวายบังคมพระราชโองการ ๓ หน แล้วพระราชโองการเสด็จเข้าชักพระสันนยา กำบัง แล้วประโคมขึ้นพร้อมกัน แล้วสมเด็จพระมหาอุปราชเสด็จขึ้น สู่พระยานมาศ ชาวพนักงานพระคลังมหาสมบัตินำเอาพานเงินใส่เงินพานทองใส่ทอง มาถวายพระมหาอุปราช พอแห่ไปสู่พระราชมนเทียรพระองค์โปรยเงินโปรยทองไปตามสถลมารค จนถึงพระราชมนเทียร

๔๓ แล้ว เป็นอันคำรบ ๓ เสร็จ ข้าราชการข้างหน้าข้างใน ต่างคนต่างไปแล้ว เลี้ยงไพร่พลสกลโยธาตามธรรมเนียมกฏหมายแต่ก่อน เพลาเย็นเจ้าพนักงานพระมหาอุปราชมาสู่พระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ ทำขวัญเวียนเทียนแล้ว แห่กลับไปพระราชมนเทียรดังเก่า การวิวาหมงคลทำดุจเดียวกันกับราชาภิเษก มีแต่การข้างในพระราชวังยกเสียที่การใหญ่ และสมเด็จพระมหาอุปราช มีข้าราชการเจ้าพนักงานฆ้องยามตามเพลิงครบทุกสิ่งมีพร้อมทุกพนักงานแล้ว จึ่งสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชโองการบรมราชารามาธิราชธิบดีศรีสุริโยพรรณธรรมิกราชา พระองค์ทรง พระดำริว่า สมเด็จพระสังฆราชราชาคณะทั้ง ๗ พระองค์นั้น ที่ทรงตั้งไว้เป็นพระราชาคณะแต่แรกพระองค์มาปราบดาภิเษกนั้น ยังมิได้ประกอบ ยศศักดิ์ถวายหามิได้ จึ่งสั่งเจ้าพนักงานพระราชโรงหลวง ให้จัดแจงแต่งที่ ๆ พระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยแต่งตัวดุจกันอย่างพระราชพิธี แล้วให้สังฆการีประเดียงนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะทั้ง ๗ องค์ มาสวดพระพุทธมนต์แล้ว จะถวายพระสุพรรณบัตร ฉันเช้า พระสุพรรณบัตรทั้ง ๕ พระองค์นั้น ใส่เหมทองพานทองรองพานแว่นฟ้า ตั้งหน้าสุพรรณบัตร สุพรรณบัตรองค์นั้นจารึกอักษรตัวดำ ใส่พานเงิน พานรองนั้นประดับมุกต์ตั้งดุจเดียวกันเจ้าพระยาพระอาลักษณ์พนักงานเฝ้าพระสุพรรณบัตร หมอบเฝ้าอยู่ที่นั้นครั้นได้ฤกษ์จึ่งสมเด็จพะราชโองการ เสด็จออกพระที่นั่งมงกุฎพิมาน รูดพระสันนยาออก เจ้าพระยาพระอาลักษณ์ถวายบังคมบรมราชโองการ ๓ หน แล้วประโคมดุริยดนตรีแตรสังข์ระฆังกังสดาลขึ้นพร้อมกันแล้ว

๔๔ ให้หยุดไว้ และเจ้าพระยาอาลักษณ์อ่านพระสุพรรณบัตรเสนอถวาย จบแล้ว ถวายพระสุพรรณบัตรทั้ง ๕ ทั้ง ๒ แก่พระราชาคณะทั้ง ๗ องค์แล้ว สมเด็จพระสังฆราชสวดมนต์ถวายชัยถวายพรจบแล้ว จึ่ง ให้เจ้ากรมสังฆการีเชิญหม้อทองรองน้ำพระพุทธมนต์ ด้ายจับเป็นมงคลกับไม้เท้ายอดทองคำ ถวายพระสังฆราชราชาคณะทั้ง ๗ องค์ แต่น้ำ พุทธมนต์และด้ายมงคลนั้น สังฆการีถ่ายส่งไปถวายข้างในพระราชวังถ้าถึง ๗ วัน อัฐมีปัณณรสี ให้เข้ามาถวายพระพร ให้สังฆการีนำ เอาหม้อทองซึ่งใส่น้ำพระพุทธมนต์กับด้ายมงคลนั้นถ่ายไว้จงทุกครั้งตามกฎหมาย ครั้นตั้งสมเด็จพระสังฆราชและพระราชคณะเสร็จแล้ว พระสังฆราชาคณะสวดสัพพีติโย ฯ ชยันโต ฯ ภวตุ ฯ จบแล้ว ชักพระ สันนยากำบังแล้ว ประโคมพร้อมขึ้นแล้ว ก็ต่างคนต่างไปตามลำดับ แล้วจึ่งสมเด็จพระบรมราชโองการ พระองค์จึ่งสั่งเจ้าพนักงานพระราชโรงหลวง ให้เรียบพระราชโรงเป็นพระราชพิธี ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย แต่งตัวจงโอ่โถง ประชุมกันที่พระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ให้พร้อม ให้มีหมายบอกชาววัง ชาววังสั่งเจ้าราชนิกุลขุนหมื่น พระวงศานุวงศ์ จะตั้งให้เป็นกรม ให้พระวงศานุวงศ์แต่งพระองค์ ทรงพระภูษาลาย ขะบวนอย่างเทศ ทรงฉลองพระองค์ครุยขลิบทองใหญ่ ๓ นิ้ว ๔ นิ้ว และมีวงพระศอและข้อพระกร ตามวงศ์ทุก ๆ พระองค์แล้ว ให้แต่งเครื่องดอกไม้ธูปเทียน และเทียนเงินเทียนทอง กรองดอกไม้ใส่พานทอง รอง ๒ ชั้น มีดอกบัวหลวงเป็นต้น ให้ทรงเสลี่ยงงาไปพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ครั้นเลียบพระราชโรงแล้ว พระยาพระอาลักษณ์นำเอาพระสุพรรณบัตร

๔๕ จารึกอักษรดำใส่แผ่นทองรองพานทองรองพานแว่นฟ้า ไปตั้งณเตียงทองตรงพระที่นั่งมงกุฏพิมาน มีพระแสงดาบรองทรง พระแสงหอกรอง ทรง พระกลดและพานพระศรีทองเครื่องในพร้อมตามบันดาศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย ไปทอดไว้ณเตียงทองกับพระสุพรรณบัตรด้วยกัน มีพานข้าวตอกดอกไม้ตั้งบูชาอยู่ด้วย ครั้นได้ฤกษ์สมเด็จพระราชโองการ เสด็จออกพระที่นั่งมงกุฎพิมาน เจ้าพนักงานเบิกพระสันนยา แล้วพระยาพระอาลักษณ์ถวายบังคม ๓ หน จึ่งพระวงศานุวงศ์ถวายบังคมพร้อมกัน ๓ หน แล้วประโคมแตรสังข์ดุริยางคดนตรีปี่พาทย์ฆ้องชัยทุกพนักงานแล้วให้หยุดประโคมไว้ จึ่งพระยาอาลักษณ์อ่านเสนอพระนามถวาย จึ่งพระวงศานุวงศ์ทั้งปวงถวายบังคมอีก ๓ หน พระยาพระอาลักษณ์ อ่านเสนอพระนามเสร็จแล้ว ถวายพระสุพรรณบัตรไปแก่พระวงศานุวงศ์ตามอนุกรมลำดับทุก ๆ พระองค์ แล้วกราบถวายบังคมอีก ๓ หนเสร็จสมเด็จพระราชโองการเสด็จเข้าพระราชวังใน พนักงานรังพระสันนยาแล้ว พระวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็ต่างคนต่างไปตามลำดับ แล้วมีพระราชโองการสั่งพระวงศานุวงศ์ เจ้าต่างกรม ให้สั่งออกญาเจ้าพระยาสำหรับพระราชโรง ๒ คนนั้น ให้มีหมายบอกไปทุกหมู่ทุกกรม ทหารพลเรือนเจ้าต่างกรม หากรมมิได้ และข้าราชการผู้ ใหญ่ผู้น้อย นายพล นายมหาด นายดาบ นักปราชญ์ราชครูปโรหิต เสนาข้าเฝ้าข้างหน้าข้างใน ที่มีบันดาศักดิ์ ตั้งแต่เจ้าพระยา และพระยาพระหลวงนั้น ให้รู้จงทั่ว ให้แต่งตัวนุ่งผ้าจงโอ่โถง นุ่งสมปักลาย ใส่ เสื้อครุยตามบันดาศักดิ์ และให้แต่งเครื่องบูชาดอกไม้ธูปเทียน ใส่พาน

๔๖ ไปรับชื่อตั้ง และรับราชการตามตำแหน่ง และพระวงศานุวงศ์ ราชครู ปโรหิตนั้น พานใส่ดอกไม้ธูปเทียนนั้น พานเขียนลายรดน้ำกำมะลอ ผ้ากราบเช็ดหน้ายกผืนหนึ่งเทียนใหญ่ ๘ เล่มนั้น ใส่พานทองรองพานแว่นฟ้า มนตรีทั้ง ๖ คนนั้น ใส่พานเหมือนกัน แต่เทียนใหญ่ ๘ เล่มนั้นใส่พานเงิน ปโรหิตผู้น้อย ๓ คน นั้น กับขุนนางที่ถือศักดินา ๘๐๐๐ นั้นดอกไม้ธูปเทียนใส่พานนาก พานรองกำมะลอ ผ้ากราบเช็ดหน้ายก ผืนหนึ่ง เทียน ๖ เล่มนั้นใส่พานแว่นฟ้า ขุนนางศักดินา ๖๐๐๐ ธูป เทียนดอกไม้ใส่พานเขียนลายรดน้ำกำมะลอน้ำเงิน ผ้าเช็ดหน้ายกผืนหนึ่งเทียนใหญ่ ๔ เล่มนั้นใส่พานประดับมุกต์ โตกตะลุ่มรองประดับมุกต์ขุนนางถือศักดินา ๕๐๐๐ นั้น ดอกไม้ธูปเทียนใส่พานเขียนลายรดน้ำกำมะลอน้ำเงิน ผ้ากราบเช็ดหน้ายกผืนหนึ่ง เทียนใหญ่ ๒ เล่มนั้นใส่พานมุกต์ พานรองกลอกชาดน้ำมันแดงในนอก ขุนนางถือศักดินา ๔๐๐๐นั้น ดอกไม้ธูปเทียนนั้นใส่เหมนาก เทียนใหญ่ ๒ เล่มใส่พานแดงกลอกชาดน้ำมันทั้งข้างนอกข้างใน ขุนนางถือศักดินา ๓๐๐๐ นั้น ดอกไม้ธูปเทียนใส่เหมเงิน เทียนใหญ่ ๒ เล่มนั้นใส่พานแดงทั้งนอกทั้งในขุนนางถือศักดินา ๒๐๐๐ นั้น ดอกไม้ธูปเทียนนั้นใส่เหมเงิน เทียนใหญ่เล่มหนึ่งใส่พานแดง พานรองดำ เจ้าพนักงานเลียบพระราชโรงณพระที่นั่งพระราชมนเทียรพิมานอากาศเสร็จแล้ว ครั้นได้ฤกษ์ จึ่งสมเด็จพระราชโองการเสด็จออกพระที่นั่งมงกุฎพิมานเพลาเช้าโมงหนึ่ง เจ้าพนักงานรูดพระสันนยาออกแล้ว ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยกราบถวายบังคม ๓ หนพร้อมกันแล้ว เจ้ากรมชาวที่อ่านหมายตั้งข้าราชการ

๔๗ ราชนิกุล ขุนหมื่น ผู้ใหญ่ผู้น้อย เสนอถวายแล้ว ข้าราชการถวาย บังคม ๓ หน แล้วเอาพานรับหมายตั้ง ทุกคนตามตำแหน่งที่เฝ้าเสร็จแล้ว เสด็จเข้าในพระราชวัง ๕ โมงเที่ยง ชาวพนักงานรูดพระสันนยาแล้ว พระวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ต่างคนต่างก็ไปตามกันเป็นลำดับ สมเด็จพระราชโองการ มีพระราชบัญญัติไว้ให้ข้าราชการเฝ้าเป็นเพลา ถ้าเสด็จออกเพลาเช้าโมงหนึ่ง เสด็จขึ้น ๕ โมงเที่ยง ถ้าเสด็จออกเพลาบ่ายโมงหนึ่ง เสด็จขึ้น ๕ โมงเย็น เป็นธรรมดาดังนี้ มิได้ขาด แล้วพระองค์จึ่งสั่งเจ้าพนักงานเลียบพระราชโรงพระมนเทียรพระตำหนักพิมานอากาศเสร็จแล้ว จะตั้งปลัดกรมตั้งแต่ขุน หมื่น พันและสมุห์บัญชี แต่งตัวนุ่งสมปักใส่เสื้อครุย และพานข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน ให้กระทำตามบันดาศักดิ์ของตัวทุกกรม แล้วเข้าไปในพระที่นั่งพิมานอากาศพร้อมกัน ครั้นได้ฤกษ์เพลาเช้าโมงหนึ่ง เสด็จออกเหนือพระที่นั่งเปิดพระสันนยาแล้ว ข้าราชการถวายบังคม ๓ หน พานบูชา ตั้งข้าง แล้วชาวที่อ่านหมายตั้งปลัดกรม ขุนหมื่น พันทนาย ๆ พล นายดาบถูกชื่อผู้ใด เอาพานรับหมายตั้งทุก ๆ คน เป็นอนุกรมลำดับเสร็จแล้ว เสด็จขึ้นรังพระสันนยาแล้ว ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ถวายบังคม ๓ หน แล้วก็ไปตามกันโดยอนุกรมลำดับ แล้วพระองค์จึ่งสั่งออกญาเจ้าพระยาวังให้สั่งราชการขุนนางข้างใน ให้เลียบพระราชโรง ณพระตำหนักที่นั่งอุภาศนารี ให้มีดอกไม้ธูปเทียนดุจอย่างข้างหน้า จะตั้งพระวงศ์ศานุวงศ์ บุตรีและธิดา และข้าราชการข้างใน ให้แต่งตัวจงโอ่โถง นุ่งลายห่มสะใบยาว ๘ ศอก ผูกผมดุจดอกฟักทองตามภาษา ให้

๔๘ รับชื่อและรับพนักงานตามตำแหน่งดุจอย่างพระวงศานุวงศ์ข้างหน้า ท้าว นาง ผู้ใหญ่ข้างในดุจอย่างขุนนางผู้ใหญ่ข้างหน้านั้น ให้นั่งคอยถวายบังห้องข้างประจิมทิศ และนางพนักงานพระสนมกำนัลให้นั่งคอยถวายบังคมอยู่ท่ามกลางพระตำหนักอุภาศนารี ครั้นได้ฤกษ์ จึ่งสมเด็จพระราชโองการกับสมเด็จพระอัครมเหษี เสด็จออกพระที่นั่งมงกุฏพิมานเจ้าพนักงานพระสนมกำนัลท้าวนางราชวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ถวายบังคม ๓ หนแล้ว ก็ต่างคนต่างไปตามลำดับกัน ว่าด้วยตั้งตำแหน่งข้าราชการ พระสังฆราช ราชครูปโรหิต และพระวงศนุวงศ์และเสนาข้าเฝ้าผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้างหน้าข้างใน รับพระราชทานชื่อและยศศักดิ์ตามตำแหน่งกฎหมายแต่ก่อนเท่านี้ นัยหนึ่งหม่อมทองเป็นห้ามพระไชยเชษฐา เดือน ๓ ข้างขึ้น นักนางทอง ประสูติพระโอรสเป็นชายองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อ นักนุ นัยหนึ่ง ครูเถ้าสำหรับโขลงบอกหนังสือมาถึงเจ้าพระยาจักรีให้กราบทูลว่า ฝูงโขลงใหญ่เข้ามา มีช้างสำคัญตัวหนึ่งสูง ๘ ศอก เจ้า พระยาจักรีกราบทูลสมเด็จพระราชโองการตามบอกครูเถ้า มีพระราชโองการสั่งให้เจ้าพระยาจักรีไปทำพะเนียดจับช้างสำคัญให้ได้ เจ้าพระยาจักรีรับสั่งแล้วเกณฑ์คนทำพะเนียด จับช้างข้างทิศอาคเนย์เมือง จับช้างสำคัญสูง ๘ ศอกได้ ให้หมอเถ้าฝึกสอนชำนิชำนาญดีแล้ว เจ้าพระยาจักรีนำเอาช้างนั้นมาทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชโองการ ๆ พระองค์สั่งให้ทำ โรงช้างในพระราชวังริมพระที่นั่งเสด็จออกข้าหน้า ช้างต้นนั้นชื่อออกญาเจ้าพระยามหาไชย มีส่วยบ้านขึ้นแก่พนักงานตามตำแหน่งมาแต่ก่อน

๔๙ จะว่าด้วยพระราชพิธีทวาทศมาศ ๑๒ เดือน ตามโบราณราชประ เพณีกษัตรย์สืบมาแต่ก่อน เป็นฤดูพระราชพิธีทุกเดือน มีทั้งพุทธศาสตรไสยศาสตร ครั้นณเดือน ๕ ข้างขึ้น จึ่งสมเด็จพระราชโองการพระองค์สั่งเจ้าพนักงานให้บุพระพุทธรูปด้วยทองคำ ๕ พระองค์ เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ สมเด็จพระราชโองการกับสมเด็จพระอัครมเหษีเสด็จไปก่อพระทราย ณ วัดริมพระราชวัง สั่งให้มีมหรศพสมโภช ครั้นแรม ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ จึ่ง ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยไปก่อพระทรายตามบันดาศักดิ์ จึ่งให้อาราธนาพระพุทธรูปทองคำทั้ง ๕ พระองค์นั้นไปไว้ณศาลาริมพระทรายแล้ว จึ่งนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะทั้ง ๗ องค์นั้น ไปสวดมนต์ ณ ศาลานั้น ครั้นพลบค่ำมีผะชันแล้วจุดดอกไม้เพลิงและระธา ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๖ ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวันเถลิงศก ศักราช ๑๕๓๖ ปีขาล นักษัตรฉศก (พ.ศ. ๒๑๕๗ ) สมเด็จพระราชโองการ กับพระมเหษี เสด็จไปณศาลาพระราชพิธีนั้น พระองค์เสด็จประทักษิณพระทรายแล้ว เสด็จมาถวายสำรับพระสงฆ์ฉันฉลองแล้ว เสด็จออกพลับพลาเรียก มวย หุ่น โขน ก็เล่นสมโภช แล้วทิ้งกัลปพฤกษ์ แล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวัง แล้วสั่งเจ้าพนักงานข้าราชการตั้งกระบวนแห่ จะเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระธาตุเจดีย์ ครั้นได้ฤกษ์สมเด็จพระราชโองการเสด็จทรงช้างพระที่นั่งผูกกระโจมทอง เสด็จไปนมัสการพระธาตุเจดีย์ มีละคร มอญรำสมโภชเสร็จแล้วเสด็จกลับมาสู่พระราชวัง ข้างไสยศาสตรนั้น พราหมณ์ปโรหิตตั้งพระราชพิธีพระตำรำตันคำ

๕๐ พระกระยาเสวยเสร็จแล้ว ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยนุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยใส่หมวกลอม แต่งตัวโอ่โถงณโรงราชพิธีพระตำรำให้พร้อมครั้นได้ฤกษ์ จึ่งสมเด็จพระราชโองการกับสมเด็จพระอัครมเหษี กำนัลข้างใน นุ่งลายห่มสีต่าง ๆ แห่ไปสู่โรงพระราชพิธี ขุนนางถวายบังคม ๓ หน เจ้าพนักงานยกกระยาพระตำรำมาถวาย ครั้นเสวยเสร็จแล้วให้มีเพลงรำ ระบำเทพทอง แล้วเสด็จกลับมาสู่พระราชวัง แล้วจึ่งสมเด็จพระมหาอุปราชและพระวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย แต่งตัวนุ่งสมปักตามบันดาศักดิ์ แต่งดอกไม้ธูปเทียนมีดอกบัวหลวงเป็นต้น มาถวายพระองค์ณพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ เป็นพระราชพิธีประจำเดือน ๕ ครั้นณ เดือน ๖ ข้างขึ้น จึ่งพราหมณ์ปโรหิตเจ้าพนักงานทำราชวัฏิฉัตรธงเสร็จแล้ว ไปตั้งโรงราชพิธีณท้องนา เอาไม้แก่งปักเป็นเสา ประโคนไว้เป็นเขตต์เป็นหลัก แล้วพราหมณ์ปโรหิตเจ้าพนักงานจึ่งพลีกรรมบวงสรวงตามคัมภีร์ไสยศาสตรแล้ว ให้ข้าราชการตั้งกระบวนแห่นุ่งห่มดุจอย่างพระราชพิธีทั้งปวง ครั้นได้ฤกษ์ จึ่งสมเด็จพระราชโองการกับพระมเหษี เจ้าพนักงานขุนนางข้างใน พระสนมกำนัลแต่งตัวดุจอย่างพระราชพิธีทุกครั้ง ทรงช้างกระโจมจำลองประเทียบแห่ไปณโรงราชพิธีท้องนา ขุนนางถวายบังคมพร้อมแล้ว เสด็จทรงจรดพระนังคัลเสร็จแล้ว เสด็จมาประทับณพลับพลา ให้มีการเล่น แล้วเอาผลไม้แจกข้าราชการเลี้ยงดูเสร็จแล้วเสด็จกลับมาพระราชวัง พุทธศาสตรนั้น ครั้น ณ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระองค์ให้นิมนต์พระสงฆ์มาฉันณพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ มีพระพุทธเจ้าทองคำ ๕ พระองค์

๕๑ เป็นประธาน กษัตริย์ ๒ พระองค์ทรงขาวแล้วทรงศีล พระสงฆ์ฉัน ๘ วัน ครั้นณเดือน ๖ แรม ๘ ค่ำ ฉันเช้าแล้ว วิเสทจัดขนมกล้วยอ้อยหมาก พลูเป็นเครื่องกระจาดใหญ่ ๗ กระจาดอันดับตามสมควร ให้สังฆการีนำเจ้าพนักงานมีปี่ห้องกลองจีนแห่ไปสู่พระอารามถวายพระสงฆ์ ตามลำดับพระราชพิธีประจำเดือน ๖ เท่านี้ ครั้นณเดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นพระราชพิธีพุทธศาสตร บวชนาคหลวง สั่งเจ้าพนักงานให้ทำเรือขนาน ๕ ลำ มีราชวัฏิฉัตรธงพร้อมไปทอดที่ไว้ณท่า นิมนต์พระราชคณะและพระสงฆ์ไปนั่งหัตถบาสบวชคณเรือขนาน พระพุทธรูปทองคำ ๕ พระองค์นั้นอาราธนาไปนั่นด้วย แห่นาคหลวงมาถึงเรือขนานพร้อมแล้ว ครั้นได้ฤกษ์ จึ่งแห่สมเด็จพระราชโองการลงไปสู่เรือขนาน แล้วพระองค์ทรงถวายเรือขนานแก่สมเด็จพระสังฆราชและสงฆ์ทั้งปวงเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับมาสู่พระราชวัง ข้างแรม พระราชพิธีไสยศาสตรนั้น พราหมณ์ปโรหิตเจ้าพนักงานทำราชวัฏิฉัตรธงตามเคย แล้วเชิญพระพราหมณ์ออกจากกุฏิ ตั้งโรงราชพิธีริมวัดนั้น กระทำพลีกรรมบวงสรวงบูชาเทวดา แล้วแห่พระพราหมณ์มาสู่พระราชวังพระที่นั่งมังคลาภิเษกเป็นมงคลแล้ว แห่พระกลับมาสู่วัดพราหมณ์ เสร็จการพระราชพิธีพราหมณ์ประจำเดือน ๗ เท่านี้ ครั้นณเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพลาเช้าอาราธนาพระพุทธรูป ๕ พระองค์มาตั้งณพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ นิมนต์สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะพระสงฆ์ มาสวดมนต์รับพระวษาสวดถวายพรพระฉัน กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ทรงขาวทรงศีลเลี้ยงพระสงฆ์ ๆ ฉันแล้วถวายพระพระลาไป ครั้น

๕๒ เพลาบ่ายพระราชาคณะและพระสงฆ์ทั้งปวง มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นต้นมาถวายพระพรพระที่นังอติเรกวิสุทธ์ จึ่งสมเด็จพระราชโองการอา-ราธนานิมนต์พระสงฆ์ทั้งปวง ให้เข้าพระวษาแรมค่ำหนึ่งตามอย่างกฎ- หมายพุทธศาสตรราชศาสตร พระสงฆ์ทั้งปวงถวายพระพรลาไปเข้าพระ วษายังพระอาราม แล้วพระองค์จึ่งสั่งเจ้าพนักงานทำเตียงนอน กับหมากพลูข้าวตอกดอกไม้ ไม้สีพระทนต์ ไม้ชำระตามธรรมเนียม ถวายพระราชาคณะ ๕ องค์ ทำเสร็จแล้วเจ้าพนักงานเตรียมแห่ ให้สังฆการีนำไปถวายพระสงฆ์ณพระอารามตามรับสั่ง ข้างแรมพระราชพิธีพราหมณ์ มาตั้งโรงราชพิธีริมพระราชมนเทียรในพระราชวัง พราหมณ์ปโรหิตเชิญซึ่งพระแสงขรรค์ พระแสงปืน พระแสงธนู พระแสงหอก พระแสงดาบทั้งปวงมาชำระณโรงราชพิธี แล้วพลีกรรมบวงสรวงณพระที่นั่งมังคลาภิเษก เสร็จแล้วเชิญไปทอดไว้ดั่งเก่าพระราชพิธีประจำเดือน ๘ เท่านี้ ครั้นณเดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ให้ข้าราชการไปปลูกร้านรับดอกบัวมีเตียงใส่ดอกบัวนั้น ๕ เตียง ครั้นได้ฤกษ์ตั้งพยุหยาตราเสด็จพระราชดำเนินไปรับดอกบัวมาส่งให้เจ้าพนักงาน ให้เจ้าพนักงานจัดแจงแต่งให้ดี ให้สังฆการีนำไปถวายพระพุทธรูปและพระสงฆ์ทั้ง ๕ วัน ข้างแรมพระราชพิธีไสยศาสตร พราหมณ์ปโรหิตเชิญพระพราหมณ์มาตั้งณโรงราชพิธีริมพระตำหนักในพระราชวัง กระทำพลีกรรมบวงสรวงบูชาฆ้องสำหรับขานประจำยามให้เป็นมงคล พระราชพิธีประจำเดือน ๙ เท่านี้

๕๓ นัยหนึ่งมหาอุปราชฝ่ายหน้าเมืองไทย แต่งให้คนถือราชสารมาถึงสมเด็จพระราชโองการ ในพระราชสารนั้นว่า สมเด็จพระพุทธเจ้านเรศรพระองค์สวรรคตแล้ว จึ่งสมเด็จพระราชโองการสั่งให้เจ้าพนักงานเรียบพระราชโรงรับแขกเมืองแห่พระราชสารมาสู่พระราชโรง แล้วเลี้ยงดูพระราชทานรางวัล ๆ ละ ๓ เพลา ผ้าพรรณนุ่งห่มเป็นบรมสุขทุกวันกว่าข้าหลวงจะกลับไปกรุงศรีอยุธยา แล้วพระองค์จึ่งสั่งสมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เป็นพระราชโอรสพระเจ้าหลวงพี่เธอให้ไปถวายพระเพลิง แล้วสั่งเจ้าพนักงานพระคลังให้ตระเตรียมจัดแจงสรรพสิ่งของทั้งปวงไว้ให้พร้อม จะได้ไปเป็นราชบรรณาการและสดับพระกรถวายพระเพลิงพระนเรศรเป็นเจ้า ไปให้ทันในวสันตฤดูเดือน ๑๑ เป็นกำหนด ที่นี้จะว่าด้วยพระราชพิธีพุทธศาสตรเดือน ๑๐ มีพระราชโองการสั่งให้เจ้าพนักงานเบิกทองคำกระทำพระพุทธรูป ๑๕ พระองค์ แล้วให้จัดแจงตกแต่งพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ มีพระสันนยาและพระศุขไสยาสน์ดาษเป็นอันดีแล้ว อาราธนาพระพุทธรูปที่กระทำนั้นมาไว้ในพระที่นั่ง แล้วให้สังฆการีนิมนต์พระราชคณะมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นต้น มาสวดพระพุทธมนต์เพลาบ่าย ครั้นณเดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ ครั้นรุ่งขึ้นณวัน ๑๔ ค่ำฉันเช้า กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกทรงบาตรถวายภาชนะพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เสด็จขึ้นรูดพระสันนยา พระสงฆ์ถวายพระพรลาไป ครั้น เพลาบ่ายให้เจ้าพนักงานตกแต่งเครื่องบูชาคุณสมเด็จพระราชบิดานั้น จำ เพาะพระพักตรพระพุทธเจ้า แล้วให้พราหมณ์ปโรหิตเชิญมาซึ่งพระเบญกระเสตร มาไว้ในพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์นอกอุปจาร และมีแคร่ทองตั้ง

๕๔ แล้วพราหมณ์ปโรหิตนำมาซึ่งพระแสงขรรค์ พระแสงปืน พระแสงหอก พระแสงธนูศร มาตั้งบนแคร่ทองนั้น แล้วเอาลูกธนูศรมาวางข้างแคร่ทองกำหนึ่ง แล้วพราหมณ์ปโรหิตเจ้าพนักงานตีกลองชัยเภรีบัณเฑาะว์ เป็นสัญญาพระฤกษ์ ครั้นเพลา ๕ โมงเย็นแล้ว จึงกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จด้วยนางพระสนมกำนัลมาในพระที่นั่ง กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ถวายบังคมสมเด็จพระราชบิดร แล้วพระราชโองการเสด็จออกแต่พระองค์เดียว ถวายบังคมพระเบญกระเสตร แล้วสั่งให้จุดดอกไม้เพลิงเป็นต้นว่า พลุ พะเนียง ระธา รุ่ง พลุจีน ไฟม้า ไฟกะถาง เสร็จแล้วเสด็จมา สู่พระที่นั่ง แล้วจึ่งให้สังฆการีนิมนต์พระสังฆราชมาเทศนาพระบาทวิชาธรบอกอานิสงส์ ทรงธรรมเสร็จแล้วเสด็จขึ้น ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันแรม ๑๕ ค่ำ สาตร เพลาเช้าสังฆการีนิมนต์พระสงฆ์มาณพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์นั้นพร้อมแล้ว กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกมาทรงบาตรเลี้ยง พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็ถวายพระพรลาไป แล้วกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จขึ้นชักพระสันนยาแล้ว ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ออกจากพระที่นั่งสิ้น พระราชพิธีไสยศาสตร ณเดือน ๑๑ ให้เตรียมการข้างขึ้น สั่งให้เจ้าพนักงานเอาเรือขนาน ๓ ลำไปทอดท่าทำเป็นพระที่นั่ง เรือขนาน ลำหนึ่งนั้นทอดท้ายเป็นพาไล เรือขนานแถวหนึ่งทอดเหนือพระที่นั่งเรียงหลายลำสำหรับโรงโขน โรงหุ่น โรงรำ โรงระธาดอกไม้ โรงหนัง ข้าง ทักษิณทิศท้ายน้ำใต้เรือพระที่นั่งนั้น มีเรือขนานทอดประจำท่าทำเป็นโรงราชพิธีสำหรับพระเบญกระเสตรอยู่ มหาราชครูปโรหิตกระทำพลีกรรมบวงสรวงตามพิธีไสยศาสตร แล้วให้เจ้าพนักงานประเทียบเรือพระที่นั่ง

๕๕ ตั้งกระบวนแห่เป็นพยุหบาทชลมารควิถีทางเรือเป็นการใหญ่ เตรียมไว้ให้พร้อมจงทุกพนักงาน ครั้นได้ศุภวารเวลา จึ่งพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จทรงพระที่นั่งกิ่ง ยิ่งด้วยพระที่นั่งบัลลังก์จัตุรมุขมหาปรา สาท โอภาศพวกพลภายพรักพร้อมแล้ว ถวายบังคมบรมกษัตรย์แตรสังข์สำหงัดประโคมโหมฮึกแห่ แออัดเกลื่อนกล่นชลธาร เสด็จถึงเรือขนานให้ตั้งเป็นกระบวน ส่วนเรือพระที่นั่งกิ่งนั้นให้พายประทักษิณเวียนพระเบญกระเสตร ๓ รอบแล้ว พระองค์เสด็จจากพระที่นั่งไปถวายบังคมพระเบญกระเสตร แล้วเสด็จลงพระที่นั่งกิ่งเสด็จมาขึ้นพระที่นั่งขนาน ข้าราชการนุ่งสมปักลายใส่เสื้อครุยสีต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายบังคมพร้อมใส่ลำพอกพักลอมตามบันดาศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อยแล้วเสด็จขึ้น เจ้าพนักงานชักพระสันนยา และข้าสาวกำนัลข้างในยกเครื่องผลไม้สำหรับมาเลี้ยงข้าราชการ และทวยทหารทั้งปวงตามเกณฑ์ทุกหมู่ทุกกรม แล้วจึ่งเล่นการมหรศพสมโภชพระราชพิธี และวางเรือประนั่งเล่นพะนันแข่งกันลงมาหน้าพระที่นั่ง พราหมณ์ปโรหิตกัดพรรณเป็นเจ้าของสูญสำเร็จ ครั้น เพลาพลบค่ำสั่งให้จุดดอกไม้เพลิงครบสิ่ง แล้วให้เบิกโรงเล่นหนังกลางน้ำ ประทับแรมพระที่นั่งขนานอยู่คืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นณวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำสองกษัตริย์เสด็จกลับเข้าพระราชวังเหนือพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน สังฆการีนิมนต์พระสงฆ์พร้อม เพลาเช้ากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกทรงบาตร อังคาสเลี้ยงพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วพระสงฆ์ถวายพระพรลาไปออกพระวษา แล้วพระองค์เสด็จเข้าในพระราชมนเทียร แล้วสั่งเจ้าพนักงานให้เตรียมการแห่เป็นการใหญ่ให้พร้อม

๕๖ พระที่นั่งหน้าหลังตามกระบวน ครั้นเพลาบ่ายโมงหนึ่ง จึ่งสมเด็จกษัตริย์ ๒ พระองค์เสด้จทรงพระที่นั่งหลังคาทองแห่เสด็จมาสู่พระที่นั่งขนาน ข้าราชการถวายบังคมพร้อมกัน แล้วทอดพระเนตรดูเครื่องเล่นให้เลื่อน มาเล่นหน้าพระที่นั่ง และเรือหมู่เรือคอน ก็ประนังแข่งกันมาหน้าพระที่นั่งครั้นเพลาพลบค่ำเจ้าพนักงานจุดดอกไม้เพลิง และเจ้าพนักงานเล่นหนังก็เล่น ทรงทอดพระเนตรดูดอกไม้และมีเพลงเรือและมีเพลงประภาศ ประ ทับแรมณพระที่นั่งขนานนั้นคืนหนึ่ง ครั้งรุ่งขึ้นเพลาเช้าเสด็จกลับสู่พระ ราชมนเทียร โดยตำหรับไสยศาสตรเท่านี้ ข้างพุทธศาสตรนี้ ครั้นเดือน๑๑ ข้างแรม สั่งให้เจ้าพนักงานแต่งขนมสรรพผลไม้ใส่กระจาดใหญ่ ๕ กระจาด ๆ นั้นมีกระโจมหลังคาใส่เรือขนานใหญ่ไปทอดไว้ประจำท่า นัยหนึ่งจึ่งให้นำมาซึ่งฝ้ายดอกทำพุ่มปักเป็นดอกไม้ ๕ พุ่ม แล้วใส่เรือขนานทอดเคียงกันกับเรือขนานกระจาด นั้น มีกระโจมประดับพุ่มเป็นอันดี กับทั้งเครื่องสักการบูชาข้าวตอก ดอกไม้สำหรับจบพระหัตถ์นมัสการพระพุทธบาทพระเจ้ากลางมหาสมุทรและนาคพิภพ ครั้นจบพระหัตถ์แล้วเพลาพลบค่ำเจ้าพนักงานจุดบูชา และให้นางพระคงคาลอยไปถวายพระพุทธบาทพระเจ้าณกลางพระมหาสมุทร และนาคพิภพ แล้วให้เจ้าพนักงานตามรักษากว่าจะรุ่ง แล้วเก็บไว้ ครั้น ณวันแรม ๗ ค่ำเพลาเช้า กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ลงเรือพระที่นั่งแห่ไป ถึงเรือขนานกระจาด และเรือฝ้ายนั้น แล้วให้หยุดกระบวนไว้ แล้วให้ถอยเรือขนานกระจาดและเรือฝ้ายเลื่อนเข้ามาหน้าพระที่นั่ง แล้วทรงจบพระหัตถ์ แล้วสั่งให้เจ้าพนักงานแห่นำไปถวายพระสังฆราชทั้ง ๕ วัด

๕๗ เมื่อขณะเสด็จทรงถวายพระกฐินนั้น แต่เรือฝ้ายนั้น เพลาค่ำให้บูชาแล้วลอยไป แล้วเสด็จกลับสู่พระราชวัง สั่งเจ้าพนักงานให้ตกแต่ง เครื่องอัฐบริกขารกับผ้า ๕ ไตรไว้เป็นพระมหากฐิน จะเสด็จพระราชดำเนินไปทางสถลมารค ตั้งพระยูหบาตรกระบวน แห่เป็นการใหญ่ไว้ให้พร้อมทุกพนักงาน ครั้นได้ศุภวารฤกษ์แรม ๘ ค่ำเพลาเช้า สมเด็จพระราชโองการเสด็จทรงช้างพระที่นั่งกระโจมทองจำลองล้ำอลงกฎกำหนดถึงพระอาราม ทรงถวายพระมหากฐิน ทั้ง ๕ วัด แล้วเสด็จ กลับมาสู่พระมนเทียรมหาปราสาทนั้น สมเด็จพระไชยเชษฐาถวายบังคมลาสมเด็จพระราชโองการลงสำเภากับพวกไทยไปกรุงศรีอยุธยาในเดือน ๑๑ นั้น ครั้นณเดือน ๑๒ ณวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำนั้น ถวายข้าวสงฆ์ในพระราชวังพระที่นั่งมังคลาภิเษก ครั้นเพลาบ่ายเป็นพระราชพิธีไสยศาสตร สั่งให้เจ้าพนักงานปลูกร้านหน้าพระตำหนักจันทไฉยา ใส่เครื่องสักการบูชากระยาบวด มีข้าวเม่าและกล้วยอ้อย มะพร้าวอ่อน ขนมนมเนยเป็นต้นครั้นณวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึ่งพราหมณ์ปโรหิตเชิญพระเบญกระเสตรมาสู่ พระที่นั่งจันทไฉยา แล้วกระทำสักการบูชาพลีกรรมบวงสรวง แล้ว สวด ตามไสยศาสตร ครั้นเพลาเย็นตองสันทบาทคาดไชยเพรีกำหนดฤกษ์ แล้วจึ่งกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ทรงขาว กับข้าสาวพระสนมกำนัลในเสด็จออกมายังพระที่นั่งจันทไฉยาเป็นเพลาพลบค่ำ เสด็จมาถวายบังคมพระเบญกระเสตร แล้วทรงจุดโคมไชยและเทียนพนักได้ ๒ แถว แล้วพระองค์ผินพระพักตร์ไปต่อทิศบูรพาทอดพระเนตรดูพระจันทร์ แล้ว


๕๘ ถวายบังคมพระจันทร์ ๓ หน แล้วให้ประโคมแตรสังข์กังสดาลดุริยดนตรีมโหรีปี่พาทย์ขึ้นพร้อมกัน แล้วให้หยุดไว้ ให้ปโรหิตตีกลองชัยและ รำนารายณ์ ๓ ท่า แล้วยกเครื่องกระยาบวดสิ่งของทั้งปวงมาแจกเลี้ยงกันกิน แล้วให้เบิกโรงหนังประชันกันเล่นไป จึ่งจุดดอกไม้ ระธา พลุจีน ไฟพะเนียง ไฟกะถาง ดอกไม้พ้อม ดอกไม้พุ่ม ดอกไม้รุ่ง วิ่งไฟม้า เสร็จแล้วเสด็จไปลอยประทีปกะทงบูชาพระภูษารองทรงเล็กน้อยก็ลอยไปด้วยแล้วเสด็จกลับมาพระราชวัง ครั้นณเดือนอ้ายข้างขึ้นเป็นพระราชพิธีไสยศาสตร ครั้นเพลาบ่ายได้ฤกษ์พราหมณ์ปโรหิตแห่พระเบญกระเสตรมาสู่พระที่นั่งจันทไฉยา และให้เจ้าพนักงานแห่พระแกลงมาไว้ณพระที่นั่งด้วย ให้พราหมณ์ ปโรหิตกระทำพลีกรรมบวงสรวงบูชาในพระที่นั่งนั้นคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าสมเด็จพระราชโองการเสด็จออกพระที่นั่งจันทไฉยา พระองค์ถวายบังคมพระเบญกระเสตรเสร็จแล้ว พราหมณ์ปโรหิตถวายพระแกลงให้ทรงบังเหินขึ้น แล้วส่งให้เจ้าพนักงาน แล้วพระองค์เสด็จกลับมาสู่พระราชมนเทียร พราหมณ์เชิญพระไปกุฏิแล ครั้นณวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำนั้นถวายข้าวสงฆ์ในพระราชวัง พระที่นั่งมังคลาภิเษกเป็นพระราชพิธี พุทธศาสตร ครั้นณ เดือนยี่พระราชพิธีพุทธศาสตรนั้น ณวันขึ้น ๕ ค่ำสั่งให้เจ้าพนักงานปลูกกุฏิรายรอบพระวิหาร สำหรับบริวาสกรรม จึ่งให้สังฆการีเผดียงพระราชาคณะ และพระสงฆ์ทั้งปวง มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นต้นให้อยู่บริวาสกรรม แล้วพระองค์เสด็จไปทรงถวายบิณฑบาตรทุกวัน

๕๙ ครั้นพระสงฆ์อยู่บริวาสกรรมจวนจะใกล้ออกอาการ จึ่งสมเด็จพระราชโองการทรงช้างพระที่นั่งกับทั้งอำมาตย์ราชเสนาข้าหลวงไปเก็บฟืนมากองไว้ ครั้นรุ่งขึ้นณ วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเพลาเช้า กษัตริย์ทั้งสองพระองค์เสด็จมาประทับอยู่ณที่พลับพลาเครื่องโภชนาหารพร้อมแล้ว จึ่งสมเด็จพระราชโองการเสด็จไปทรงกองฟืนเผาถวายพระพุทธรูปก่อน แล้วจึ่งทรงเผาถวายพระสงฆ์ให้ผิงทุก ๆ กุฏิ แล้วจึ่งทรงถวายเข้าสงฆ์แก่พระสงฆ์ทั้งปวงฉันสำเร็จ แล้วทรงพระเต้าสิโนทุกหลั่งลงแล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวัง ข้างพระราชพิธีไสยศาสตรนั้น ชีพ่อพราหมณ์ปโรหิตนำเอาน้ำสำหรับกษัตรย์มาถึง จึ่งสมเด็จพระสังฆราชราชครูมาถวายพระพรบอก มีคำสั่งพระราชโองการสั่งเจ้าพนักงานให้จัดแจงแต่งเครื่องสูงไปแห่นำเอาพระสุธารศมาไว้ณ พระที่นั่งมังคลาภิเษก ให้พราหมณ์ปโรหิตนั่งเรียงเป็นลำดับ รับพระสุธารศไปไว้ ณที่สูงเหนือพระเจ้า ครั้น ณ เดือนยี่ข้างแรม มีพระราชโองการสั่งเจ้าพนักงานให้เรียบพระราชโรงหลวง เจ้าพนักงานทั้งปวงเตรียมการตามตำแหน่งให้พร้อมจงทุกพนักงาน และมีพระสันนยาและพระศุขไสยาสน์ดาษเพดานกรานอาศนาจะบุศยาภิเศก แล้วให้พระราชวงศานุวงศ์และข้าราชการทหารพลเรือน นักปราชญ์ปโรหิต เสนาข้าเฝ้าผู้ใหญ่น้อยทั้งปวง ให้แต่งตัวจงโอ่โถงตามบันดาศักดิ์ ตามเคยดุจอย่างพระราชพิธีราชภิเษก ครั้นถึงเพลาบ่ายให้มาประชุมพร้อมกัน ณ โรงราชพิธีพราหมณ์ ๆ ตีกลองชัยแล้วเป่าเรไร แล้วรำนารายณ์ ๓ หน แล้วให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยให้เรียบโรงสู่พระราชโรงหลวงอติเรกวิสุทธ์พร้อมแล้ว จึ่งให้สังฆการี

๖๐ นิมนต์พระราชาคณะและพระสงฆ์ทั้งปวง มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นต้นไปนั่งหัตถบาศณ พระที่นั่งมังคลาภิเษก แล้วจึ่งให้นายทหารทั้ง ๔ กำนัน ทั้ง ๔ องครักษ์ทั้ง ๔ กลางช้างทั้ง ๔ ให้เรียบแห่ ๒ ข้าง บำเรอ ดุริยดนตรีปี่อ้อมโหรีแตรเงินกล่อม เมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกมาสู่พระ ที่นั่ง แล้วจึ่งสมเด็จพระราชโองการเสด็จเข้าที่สรง ทรงเครื่องพระภูษาต้นนั้นยกทองก้านแย่งธงเข้าบินกุกกุพันอย่างน้อย แล้วทรงพระมาลาสอดทรงฉลองพระบาทแล้ว ตีฆ้องชัย ๓ หน รำนารายณ์ ๓ ท่า แล้ว เป่าเรไร เป่าสังข์ กระทั่งแตรเงินประโคมมโหรี แล้วเสด็จพระราชดำเนินมาสู่พระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ พระนพและพระธำมะรงค์ ทรงตามเสด็จมาด้วย ชักพระสันนยาข้าราชการถวายบังคมพร้อมกัน แล้วประโคมปี่พาทย์ฆ้องชัย ให้เจ้าพนักงานโขนละครเต้นรำเล่นข้างใน พระราชวังนอกพระราชวัง ดุจเดียวกันแล้วจึ่งให้หยุดประโคมไว้ สังฆการีอาธนาศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบแล้วถวายพระพร ลาไป ประโคมแตรสังข์แล้วเสด็จกลับมาสู่พระราชมนเทียรรังพระสัน นยา แล้วข้าราชการซึ่งเรียบพระราชโรงนั้น ต่างคนต่างไป พระสงฆ์สวดพระพุทธต์ ๒ วันนั้นข้างเพลาบ่าย ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบ ๓ พระสงฆ์สวดมนต์เพลาเช้า ครั้นเพลาบ่ายเจ้าพนักงานพราหมณ์ปโรหิตเชิญพระเบญกระเสตรมาบูชาณพระที่นั่งมังคลาภิเษก เจ้าพนักงานเรียบพระราชโรง ข้าราชการมาสู่พระราชโรง เครื่องเล่นทั้งปวงจะเล่นก็ดีและจะเรียบพระราชโรงก็ดีก็ให้เรียบแต่เพลาบ่าย ครั้นได้ฤกษ์แล้ว ตีกลองชัย ๓ หน รำนารายณ์ ๓ ท่า เรียกข้าราชการสู่ราชโรงหลวงพร้อมแล้ว

๖๑ เสด็จออกพระที่นั่งมังคลาภิเษก ถวายบังคมพระเบญกระเสตรแล้ว เจ้าพนักงานรำข้างหน้าข้างใน ก็รำทำเพลงไปทุกพร้อมงาน แล้วเสด็จสู่พระราชมนเทียรให้เชิญพระเบญกระเสตร แห่ไป ณ กุฏิวัดพราหมณ์ครั้นเพลาพลบค่ำ เจ้าพนักงานการสมโพชทั้งปวงมีหนังเป็นต้นก็เล่นไปดอกไม้เพลิงก็จุดบูชาสมโพชคำรบ ๓ วัน ครั้นรุ่งขึ้นเป็นคำรบ ๔ จึ่งให้เจ้าพนักงานนำมาซึ่งพระที่นั่งบุษบกลอย มาตั้งข้างบุรพทิศพระที่นั่งเสด็จออก แล้วให้ปโรหิตเชิญพระสุธารศสำหรับกษัตริย์ใส่กระออมทองคำพานทองรอง ๒ ชั้น ตั้งข้างพระที่นั่งบุษบกบนเตียงทองกับทั้งพระเต้าเบญคับมีรูปสัตว์ปั้นด้วยแป้งรายรอบบุษบก แล้วมีเครื่องกระยาโภชาหารหวานเปรี้ยวมีขนมจีนเป็นต้น วางข้างพระที่นั่งบุษบกเป็นพระราชมณฑล พราหมณ์ตีกลองชัยสัญญา ๓ หน รำนารายณ์ ๓ ท่า ข้าราชการผู้ใหญ่ใส่ลำพอกเสื้อครุยตามบันดาศักดิ์ ไปถวายบังคมพระสุธารศ ๓ หนแล้ว กลับมาสู่พระราชโรงดุจก่อน แล้วจึ่งสมเด็จพระราชโองการทรงเครื่องกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ มีพระมหามงกุฎเป็นต้น แล้วเสด็จออก พระที่นั่งข้างใน พระกำนันเฝ้าพร้อม นางพนักงานบำเรอมโหรีปี่เสพเจ้าพนักงานข้างหน้าตีกลองชัยสัญญา ๓ หน ประโคมขึ้นครั้งหนึ่งแล้วหยุดไว้ ครั้นได้ฤกษ์เป่าเรไรและแตรสำงัด ชักพระสันนยาแล้วเสด็จออกข้างหน้า ข้าราชการถวายบังคมแล้ว เสด็จเลยไปเหนือพระที่นั่งบุษบกทรงถอดพระมหามงกุฎทรงส่งให้พราหมณ์ เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ประนังขึ้นพร้อมกันแล้วหยุดไว้ แล้วจึ่งพระมหาราชครูปโรหิตถวายบังคม ๓ หน แล้วถือซึ่งกระออมทองซึ่งใส่พระสุธารศนั้นรดพระเจ้าลง

๖๒ แล้วถวายซึ่งพระเต้าเบญคับให้เสวย แล้วให้พระองค์ทรงพระมหามงกุฎ แล้วเสด็จจากบุษบกทรงฉลองพระบาทเสด็จมาสู่พระที่นั่ง แล้วประโคมแตรสังข์ขึ้นครั้งหนึ่งแล้วให้หยุดไว้ แล้วให้เจ้าพนักงานยกบุษบกและเครื่องโภชาหารหวานคาวทั้งปวง พระราชทานให้เลี้ยงข้าราชการทะแกล้วทหารให้บริโภค แล้วเสด็จกลับสู่พระราชมนเทียร แล้วเจ้าพนัก งานเล่นสมโพช ไปจนเพลาพลบค่ำ เล่นไปจนรุ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวัน คำรบ ๕ วัน จึ่งสมเด็จพระราชโองการ ประดับด้วยพระสนมกำนัลใน เสด็จออกพระที่นั่งมงกุฎพิมาน แล้วพราหมณ์มหาราชครูปโรหิตเจ้าพนักงานเชิญซึ่งกระออมใส่พระสุธารศสำหรับกษัตริย์ มีบูชาอยู่มากน้อยเท่าใดมาถวายแล้วสรงพระเจ้า แล้วสรงทั่วสรรพางค์องค์พระองค์ให้สิ้นพระสุธารศ แล้วพราหมณ์ถวายพระพรว่า ไชยตุ ๆ สำเร็จแล้วพราหมณ์ถวายบังคม ๓ หนแล้วก็ไปตามอนุกรมลำดับกัน กระทำอย่างนี้ เรียกชื่อว่า บุษยาภิเษก จำเพาะณ เดือนยี่เท่านี้ ครั้นณเดือน ๓ เป็นพระราชพิธีไสยศาสตรนั้น สั่งให้เจ้าพนักงานเอาข้าวไปกองไว้ในพระราชวัง ๕ กอง แล้วให้เอาฟางข้าวผูกเป็นรูปหุ่น ๔ คนปักไว้กับกองข้าว แล้วให้พระยาพลเทพแต่งเครื่องสักการบูชาสำหรับถวายบังคม และขุนนางในกรมนานั้นขี่เกวียนระแทะเทียมโค ๔ เล่มนั้นแต่งตัวนุ่งลาย ใส่เสื้อครุย ใส่ลำพอก คนขี่ม้าคนละตัว นุ่งลายใส่เสื้อครุยใส่หมวกลอม พระยาพลเทพนั้นสัปคับใส่ชฎา นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยขลิบทอง ๒ นิ้ว บริวารยศอุปโภคบริโภคตามหลังมีพร้อม มีสิงห์โต จีนตัวหนึ่งเดินหน้า ถัดลงมาม้า ๔ ตัวเดินเป็นคู่ ถัดลงมาเกวียนระแทะ

๖๓ ขับเคียงกันทั้ง ๔ เล่ม ถัดมาถึงช้างพระยาพลเทพ ภรรยาพระยาพลเทพ ๔ คนขี่ช้างกูบคนละตัว นุ่งลายห่มสีต่าง ๆ ครั้นได้ฤกษ์แล้งพระยาพลเทพแห่เข้าในพระราชวัง เรียบพลยืนช้างอยู่ณ ที่กองข้าว แล้วให้เจ้าพนักงานเรียบพระราชโรงที่พระที่นั่งจันทไฉยา ข้าราชการแต่งตัวดุจอย่างพระราชพิธีตามบรรดาศักดิ์สู่พระราชโรงหลวงพร้อมแล้ว จึ่งสมเด็จพระราชโองการกับสมเด็จพระอัครมเหษีเสด็จออกพระที่นั่งจันทไฉยา ข้าราชการถวายบังคมพร้อมแล้ว จึ่งมีรับสั่งให้หาพระยาพลเทพมาเฝ้า ณ พระที่นั่ง จันทไฉยา แล้วพญาพลเทพนำซึ่งเครื่องดอกไม้ธูปเทียนมาถวายบังคม ๓ หนแล้วหมอบเฝ้า เจ้าพนักงานอ่านหนังสือคำเสนอให้พระยาพลเทพและพระวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฟัง มอบราชสมบัติให้เจ้า พระยาพลเทพจบแล้วตวงสันทบาท๓หน แล้วพระยาพลเทพและข้าราชการถวายบังคมพร้อมกัน แล้วพระยาพลเทพออกมาขึ้นช้าง และบรรดาเครื่องเล่นทั้งปวงมีหุ่นโขนมวยปล้ำรำกระบี่กระบองดาบดั่งเป็นต้น ต่างคนก็ต่างเล่นไปทุกพนักงาน พระยาพลเทพยืนช้างดูซึ่งการเล่นทั้งปวงสัก ครู่หนึ่ง แล้วก็แห่พระยาพลเทพกับทั้งกระบวนนั้นประทักษิณเวียนกอง ข้าว ๓ รอบแล้ว แห่ออกไปสู่ประตูเจ้าจันทร์ เจ้าพนักงานพราหมณ์ปโร หิตกระทำพลีกรรมบวงสรวงบูชากองข้าว แล้วก็เผากองข้าวนั้นเสีย นัยหนึ่งพระราชพิธีข้างพุทธศาสตรนั้น ให้เจ้าพนักงานเรียบพระราชโรง ณพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์พร้อมแล้ว ให้สังฆการีเผดียงสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะทั้งปวง และมีพระพุทธรูปเป็นประทานมาฉัน ณพระที่นั่งอดิเกวิสุทธ์ ครั้นณ วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ กษัตริย์ทั้งสอง

๖๔ พระองค์เสด็จออกมาทรงบาตร แล้วถวายสำรับพระสงฆ์ฉัน ๆ เสร็จแล้ว หลั่งซึ่งน้ำสิโนทก แล้วเสด็จสู่พระราชวัง ครั้นเดือน ๔ เป็นพระราชพิธีไสยศาสตร จึงเจ้าพนักงานพราหมณ์ ปโรหิต เอาผลมะกรูดผลส้มป่อย ใส่ในเหมสัมฤทธิ์พานทองรอง ๒ ชั้น แห่ไปสู่พระราชวังเข้าในพระที่นั่งอติเรกวิสุทธิ์ มีเตียงทองรองปิดด้วยพระชุนวิที มีพระศุขไสยาสน์กำบังเป็นอันดี แล้วชักพระสันนยาปิด ๔ ทิศพราหมณ์ปโรหิตอยู่ในชั้นพระสันนยา กระทำพลีกรรมบวงสรวงบูชา ณกลางห้องพระตำหนัก แล้วให้นำมาซึ่งแม่มด ๘ คน มารำโรงที่ดิน ข้างเหนือพระตำหนักพิมานอากาศ แล้วให้คนแต่งตัวนุ่งผ้าอย่างโขนใส่หัวโขนยักษ์ศีรษะพริก ๔ คน รำด้วยแม่มด แล้วให้เอาหญ้าคามาทำเป็นม้าให้ได้ ๑๐๐ ตัว ๒๐๐ ตัว ให้คนขี่ม้าหุ่นคา มือหนึ่งถือไม้ท้าวสากมือหนึ่งถือตะขาบชัก ถือปืนบ้าง ถือธนูบ้าง จุดประทัดบ้าง เอาใบตาลมาทำเป็นพระขรรค์บ้าง เป็นหอกบ้าง ให้ยกพลมาแต่นอกพระราชวังแล้วให้ตั้งล้อมโรงรำแม่มดไว้ ครั้นได้ฤกษ์ตวงสันทบาท ๓ หน แล้วให้พลม้าเข้าตีแม่มด จุดปืนยิงประทัด ชักตะขาบไล่แม่มดให้วิ่งหนีกระจัดกระจายแตกพ่ายหนีออกนอกพระราชวัง แล้วจึ่งทูลเชิญกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ให้เสด็จมาทรงนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อันสมควร แล้วพราหมณ์ ปโรหิตเชิญน้ำมะกรูดน้ำส้มป่อยไปสะพระเกษา ชำระอุปัทวันตราย ทั้งปวงสิ้นมลทินแล้วเสด็จเข้าพระราชวัง พระราชพิธีพุทธศาสตรนั้น จึ่งให้สังฆการีนิมนต์พระราชคณะมีพระพุทธรูปเป็นประธาน มาณพระที่นั่งอติเรกวิสุทธ์ ฉันณวันเพ็ญ

๖๕ ๑๕ ค่ำเพลาเช้า กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกมาทรงศีลเลี้ยงพระสงฆ์ดุจอย่างทุกครั้ง ฉันแล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวัง กษัตริย์พระองค์ใดกระทำได้ดุจอย่างพระราชพิธีทวาทศมาศนี้ ก็จะมีอิสสริยยศบริวารยศเป็นศิริสวัสดีฆายุศม์ยืนนาน ทั้งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็จะเป็นสุขทุกประเทศ ในขอบเขตต์ของพระองค์ก็จะบริบูรณ์พูนสวัสดิ์ ฝนฟ้าก็อุบัติบังเกิดตกตามฤดูกาล เป็นปรกติ ด้วยอำนาจพระราชพิธีทวาทศมาศเป็นบุราณราชกษัตริย์นับถือสืบ ๆ มาสิ้นเท่านี้ ครั้นถึงณวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เป็นวันมหาสงกรานต์ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เป็นวันบวก ณวันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำเป็นวันเถลิงศกบวกศักราช ๑๕๓๗ ปีเถาะนักษัตรสับตศก (พ.ศ. ๒๑๕๘) สมเด็จพระไชยเชษฐา นำเครื่องราชบรรณาการไปถึง ณกรุงศรีอยุธยาพระบรมศพพระนเรศรเป็นเจ้านั้น ตกแต่งประดับสัพเสร็จสำเร็จแล้ว แต่ ยังหากำหนดถวายพระเพลิงไม่ อยู่ภายหลัง ณวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ พระเทพกษัตรีย์กับพระอุไทยราชาอยู่ณเมืองละแวกนั้น สมรรค์อันทุกร ปรากฏแล้ว จึ่งสมเด็จพระราชโองการจับได้ให้จำใส่ตรุไว้ทั้ง ๒ องค์ ครั้นณ เดือน ๑๑ ออกพระวษาบูชาพระศพสมเด็จพระนเรศรเสร็จแล้ว พระไชยเชษฐาถวายบังคมลา พระมหาอุปราชให้พระไชยเชษฐาเสด็จไปทางสถลมารค ยกออกจากกรุงศรีอยุธยาณเดือนยี่ในปีเถาะนั้น ถึงเมืองละแวกถวายบังคมสมเด็จพระราชโองการพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสุริโยพรรณธรรมิกราชาแล้ว จึ่งสมเด็จพระอุไทย ราชากับ สมเด็จพระเทพกษัตรีย์ที่ต้องพันธนาการทรมานพระองค์นักแล้ว

๖๖ จึ่งให้ไปกราบทูลสมเด็จพระภัควดีศรีสุชฎาขอขมาโทษ จึ่งสมเด็จ พระภัควดีศรีสุชฎามีพระราชบัญชาพระเสาวนีให้ไปหาพระไชยเชษฐา ให้กราบทูลสมเด็จพระราชโองการ สมเด็จพระไชยเชษฐากราบทูลสมเด็จพระราชโองการขอโทษ โปรดให้พระอุไทยราชาและพระเทพกษัตรีย์ พ้นโทษ แล้วให้ทั้ง ๒ ครองเป็นผัวเมียกันไป ครั้นณวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำเป็นวันบวก ณวันเสาร์เดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ เป็นวันเถลิงศก บวกศักราช ๑๕๓๘ ปีมะโรงนักษัตรอัฐศก (พ.ศ. ๒๑๕๙ ) จึ่งสมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้าเมืองอินทปัตถมหาบุรีศรีมหานครนั้นเมืองหนึ่ง สมเด็จพระมหากษัตริย์กรุงทวาราวดีศรีอยุธยานั้นเมืองหนึ่ง พระมหากษัตริย์กรุงศรีสัตรัตนาหุตนั้นเมืองหนึ่ง พระมหากษัตริย์เวียดนามก๋กตังเกี๋ยนั้นเมืองหนึ่ง ๔ เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่เป็นพระราชไมตรีมีพระราชสารไปมาทุกปีมิได้ขาด เป็นกฎหมายข้าง ที่มีมาแต่ก่อน ถ้ามีพระราชสารมาถึง ให้เจ้าพนักงานเอาพานทองคำรับพระราชสาร พานเงินรอง ๒ ชั้น แล้วแห่มาสู่พระราชโรงหลวง แล้วให้พระมหากษัตริย์แต่งพระองค์ทรงพระมหามงกุฎ ให้พระวงศานุวงศ์ใส่ชฎา ให้ข้าราชการใส่ลำพอกใส่หมวกลอม ตามบันดาศักดิ์ผู้ใหญ่ ผู้น้อย ออกรับแขกเมือง ถ้าราชสารมาแต่เมืองแขกเป็นฝรั่งอังกฤษก็ดีให้เจ้าพนักงานเอาพานเงินรับราชสาร พานเงินรองชั้นหนึ่ง แห่มาสู่พระราชโรงหลวง แล้วให้พระมหากษัตริย์แต่งพระองค์ทรงพระมาลา ข้าราชการทั้งปวงใส่ลำพอกลอมพร้อมตามบันดาศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้เจ้าพนักงานพิเคราะห์ดูตามเมือง เอก โท ตรี จัตวา ให้ดีตามสมควร และ

๖๗ เมื่อเสด็จออกแขกเมืองนั้น ให้เจ้าพนักงานมโหรีปี่พาทย์ประโคมแตรสังข์กังสดาน พนักงานแต่งตัวบำเรอรำเมื่อเสด็จออกมานั้น นัยหนึ่งขุนนางญวนเป็นหัวเมืองเอก เคยนำเอาราชบรรณาการไปถวายเจ้าญวน ณเมืองตังเกี๋ยทุกปีมิได้ขาด ครั้นณเดือน ๑๑ ขุนนางญวนผู้ใหญ่คิดกบฎต่อเมืองตังเกี๋ย ตั้งตัวเป็นเจ้า มีลูกสาว ๒ คน ๆ ไปถวายเจ้าเมืองล้านช้างนั้นคนหนึ่งแต่มิได้ปรากฏชื่อ คนหนึ่งนั้นมาถวายสมเด็จพระราชโองการนั้นคนหนึ่งชื่อนักนางจู พระราชโองการพระองค์ทรงพระชราอยู่แล้ว ไม่สมควรด้วยนักนางจูหามิได้ พระองค์ก็ยก นักนางจูให้พระไชยเชษฐาผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ ๆ ก็สั่งให้ กระทำวิวาหอวิวาหสยมพรมงคล จะอุปยูรราชาภิเษก ให้นักนางจูเป็นพระมเหษี สมเด็จพระไชยเชษฐาให้เป็นที่อุปยูรราชฝ่ายหลัง แล้วสั่งเจ้าพนักงานให้เรียบพระราชโรงหลวง ดุจพระราชพิธีอุปราชาภิเษกนั้นกระทำเหมือนกัน และกระทำวิวาหอวิวาหสยมพรมงคลพระไชยเชษฐากับนักนางจูนั้นในปีมะโรงนั้นเสร็จแล้ว บิดานักนางจูอยู่ณหัวเมืองญวนนั้นมีพระราชสาร กับเครื่องราชบรรณาการพระแสงง้าว พระแสงหอกอานม้าอย่างเทศ กับทองคำเป็นลิ่ม ๕๐ ลิ่ม มาถวายสมเด็จพระราชโองการ เจ้าญวนต้องการช้างและน้ำรักจะขอจัดซื้อด้วย สมเด็จพระราชโองการพระองค์ทรงตกแต่งตอบแทนให้เจ้าญวนตามปรารถนา แต่เจ้าญวนกระทำไปมาอย่างนี้ทุกปีมิได้ขาด ครั้นณวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๓ ค่ำวันบวก ณวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ วันเถลิงศก บวกศักราช ๑๕๓๙ ปีมะเส็ง นักษัตรนพศก

๖๘ (พ.ศ. ๒๑๖๐) จึ่งสมเด็จพระมหาอุปราชทรงพระประชวรสวรรคต แล้ว จึ่งสมเด็จพระราชโองการกระทำพระเมรุประดับ มีการมหรศพสมโภช ๗ วัน แล้วพระราชทานเพลิงศพพระมหาอุปราชเสร็จแล้วใน ปีมะเส็ง นั้น ครั้นณวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำเป็นวันบวก ณวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเถลิงศกบวกศักราช ๑๕๔๐ ปีมะเมียนักษัตรสัมฤทธิศก จึ่งสมเด็จพระราชโองการพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสุริโยพรรณธรรมิกมหาราช พระองค์ทรงทศพิธราชธรรมเป็นมหันตคุณา ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุขทุกประเทศ ในขอบเขตต์ของพระองค์ ๆ ทรงสร้างกุศลปรนนบัติกระทำตามทวาทศมาศ ข้างพุทธศาสตรนั้นพระองค์ทรงปรนนิบัติได้ทุกเดือนแต่ข้างไสยศาสตรพระองค์ทรงจรดพระอังคัลนั้นแต่ ๓ ปี ต่อมา นั้นจึ่งให้พระยาพลเทพกระทำพระราชพิธีกักพรรฒนั้นพระองค์ทรงแต่ง ๓ ปี ต่อมานั้นพระองค์ส่งให้กรมเมือง พราหมณ์ปโรหิตเป็นเจ้าของ พระองค์ทรงปรนนิบัติกระทำดุจอย่างพระราชกำหนดกฎหมายเหตุดั่งนี้ อาณาประชาราษฎรอยู่เย็นเป็นบรมสุข ข้าวเหลือเกลืออิ่ม น้ำท่าฟ้าฝนบริบูรณ์ สมเด็จพระราชโองการได้ราชสมบัติณปีฉลู มถึงปีมะเมียนี้ ได้ ๑๘ ปี ประสมกับพระชนมายุศม์เดิม ๖๗ ปี แล้วพระองค์ทรงปลงซึ่งพระไตรลักษณญาณ เห็นภัยใน อดีต อนาคต ปัจจุบันแท้แล้ว พระ องค์จึงเวรราชสมบัติให้สมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เป็นพระมหาอุปยุร (๑) ราช (๑) น่าสงสัยว่า บางทีจะเป็นคำนี้ที่เลือนมาเป็น ประยูร ในภาษาไทย เช่น ประยูรฉัตร ประยูรญาติ ประยูรวงศ์

๖๙ จะอุปภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชโองการ แล้วพระองค์จึงมีพระราช บันทูลสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งเจ้าพนักงานให้เรียบพระราชโองการหลวง และข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อย และเจ้าต่างกรม ๆ ฝ่ายหน้าฝ่ายใน ให้เจ้าพนักงานตระเตรียมการทั้งปวงให้พร้อมตามเคยแต่ก่อนจงทุกพนักงานอย่าให้ขาดได้ ตามพระราชกำหนดกฎหมายอย่าง ธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน.

(สิ้นฉะบับแต่เท่านี้)








เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ในกาลปางก่อนนั้น อันพระนครวัดนครธมทั้งสองนี้ มีอยู่ในแว่นแคว้นแดนเขมร สร้างเมื่อครั้งพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๔๐๐ พรรษา พระอินทราธิราชทรงพระสุบินว่า แก้วมณีโชติหลุดจากพระโอฐตกลงไปในเปือกตมในมนุษยโลก พระอินทร์มีความเสียดายนัก จะลงมาเก็บเอาดวงแก้วกลับคืนขึ้นไปก็เกลียดนัก ครั้นตื่นจากพระบรรทมจึงส่องทิพยจักษุพิจารณาดูรู้ว่า แต่บรรดาเทวบุตรทั้ง ๗ องค์ซึ่งเป็นบุตรของพระองค์ จะจุติลงไปในมนุษยโลกแล้ว จะได้บำรุงพระพุทธศาสนาสักองค์หนึ่ง จึงตรัสสั่งให้หาเทวบุตรทั้ง ๗ องค์มาเฝ้า ตรัสเล่าเรื่องความในพระสุบินให้ฟังทุกประการ แล้วจึงตรัสว่า เทวบุตรทั้ง ๗ นี้ผู้ใดจะจุติลงไปเกิดในมนุษยโลกบำรุงพระพุทธศาสนาได้บ้าง เทวบุตรทั้ง ๖ องค์ไม่ยอมจะจุติลงมา แต่เกตุเทวบุตรองค์หนึ่งนั้น รับว่าถ้า เป็นการบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว จะขอรับอาษาจุติลงมาเกิดในมนุษย โลก พระอินทร์ก็มีความยินดีในพระหฤทัย จึ่งพระราชทานให้เกตุเทวบุตรลงมาเกิดในครรภ์นางเทพวดีผู้เป็นอัครมเหษีท้าวโกเมราช อันเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครเขมราชธานี ด้วยอานุภาพบุญญาธิการของพระราชกุมารซึ่งอยู่ในพระครรภ์นั้น แต่บรรดานกทั้งหลายบินข้ามมาบนปราสาทที่พระอัครมเหษีอยู่ครั้งใด ก็ตกลงมาตายเห็นเป็นมหัศ จรรย์นัก พวกอำมาตย์ราชมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยเห็นดังนั้น จึ่งกราบทูล



๗๑ พระเจ้าโกเมราชว่า ราษฎรชาวพระนครนี้ เป็นคนอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ ประการ มีแต่ความเมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง ถึงว่ามีโทษทัณฑ์กรรมกรณ์ ก็ผันผ่อนหย่อนแก่กัน เอาแต่ความสุข เหตุไฉนพระราชกุมารองค์นี้ ตั้งแต่ปฏิสนธิในพระครรภ์จึ่งให้โทษแก่นกทั้งปวงฉะนี้ พระเจ้าโกเมราชก็พลอยทรงเห็นด้วยกับเสนามนตรีทั้งปวงว่า พระราชกุมารซึ่งอยู่ในพระครรภ์เป็นกาลกินี จึงตรัสสั่งให้เอาพระอัครมเหษีซึ่งทรงครรภ์นั้นไปใส่แพลอยเสีย เสนามาตย์ราชปโรหิตจึ่งทูลทัดทานไว้ว่า ซึ่งจะทำโทษแก่พระอัครมเหษีซึ่งทรงพระครรภ์อยู่นั้นไม่ควร ต่อเมื่อใดประสูติพระราชบุตรแล้ว จึ่งขับเสียจากพระนคร ท้าวโกเมราชจึ่ง ให้งดไว้ ครั้นพระอัครมเหษีประสูติพระราชบุตรแล้ว พระเจ้าโกเมราชก็ขับเสียจากพระนคร พระอัครมเหษีก็พาพระราชบุตรเดินไปได้ความลำบากเวทนา ด้วยเป็นนางกษัตริย์มีแต่ความสุขไม่เคยตกยาก ด้วย เดชบุญญานุภาพของพระราชกุมาร ซึ่งจะได้ครองราชสมบัติในแว่นแคว้นแดนเขมร จึ่งร้อนขึ้นไปถึงพระอินทร์ ๆ ส่องทิพยจักษุดูรู้เหตุแล้ว ก็นฤมิตรเพศเป็นมนุษย์นุ่งห่มผ้าขาวลงมา เดินตามทางพลางย่นมรรคา พาพระราชเทวีกับพระราชกุมารไปได้ ๗ วันถึงดงพระยาไฟ จึ่งนฤมิตรปราสาทให้หยุดพักอาศัยอยู่ แล้วให้เสวยอาหารทิพย์ ลำดับนั้นพระอินทร์จึ่งพาพระราชเทวีกับพระราชกุมาร มาถึงแดนโคกทลอก ไปพักอยู่ที่ภูเขาแห่งหนึ่งข้างทิศใต้ จึ่งให้นางกับพระราชกุมาร อยูในถ้ำแห่งหนึ่งใกล้เมืองพระบาทชันชุม ครั้นพระราชกุมารมีพระชนมายุได้ ๓ ปี มีรูปโฉมอันงามตามวงศ์เทวราช มนุษย์ผู้ใดในมนุษย์โลก

๗๒ นี้ จะมีรูปอันงามเปรียบเหมือนพระราชกุมารนั้นไม่มี พระอินทร์มีความรักใคร่ยิ่งนัก จึ่งนฤมิตรเพศเป็นบุรุษ แกล้งมาเยี่ยมเยือนพระราชเทวีกับพระราชกุมาร พระราชเทวีเห็นก็พูดจาไต่ถามว่า ท่านไปข้างไหนหายไปไม่เห็นมาช้านานแล้ว พระอินทร์จึ่งบอกว่า ข้ากลับไปบ้าน ๆ ข้าอยู่ไกลนัก ข้ารำลึกถึงจึ่งมาหากุมารนี้ข้าจะขอไปเลี้ยงไว้ นางจึ่งว่าท่านมาแล้วหายไป ๒ ปี ๓ ปี ข้าไม่ยอมให้ลูกของข้าไป บุรุษแก่จึ่งว่าครั้งนี้ ข้าจะขอเอาไปชมเล่นสักวันเดียว นางขัดมิได้จึ่งยอมให้แก่บุรุษแก่ ๆ ก็อุ้มพระราชกุมารไป พอลับพระเนตรนางหน่อยหนึ่งก็กลับมาเป็นพระอินทร์ ๆ ก็พาราชกุมารเหาะขึ้นไปดาวดึงส์สวรรค์ พระราชกุมารเห็นเทวสถานพิมานสวรรค์ก็มีความยินดียิ่งนัก เมื่อพระราชกุมารขึ้นไปสู่เทวนครนั้น เทพยดามาเฝ้าพระอินทร์เหม็นกลิ่นมนุษย์ พระอินทร์ก็คิดขวยเขินสะเทินพระหฤทัย จึ่งชวนพระราชกุมารลงมา พระราชกุมารไม่ปรารถนาจะลงมา ร้องไห้รักทิพยพิมานในสวรรค์ พระอินทร์จึ่งว่า ดูกรกุมารเจ้าจงกลับลงไปเมืองมนุษย์เถิด เราจะสร้างเมืองให้อยู่ให้งามดุจเมืองสวรรค์นี้ พระอินทร์ก็พาพระราชกุมารมายังสำนักพระนางซึ่งเป็นพระมารดาในวันนั้นแล้วพระอินทร์จึ่งเหยียบศิลาแห่งหนึ่งเป็นรอยพระบาทไว้บนยอดเขา เห็นเป็นรอยปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ เมืองซึ่งอยู่ในริมเขานั้นจึ่งได้ปรากฏนามชื่อว่า เมืองพระบาทชันชุม แล้วพระอินทร์จึ่งส่องทิพยจักษุพิจารณาดูรู้ว่า ในแว่นแคว้นแดนโคกทลอกนี้ เป็นที่ชัยภูมิ สมควรจะสร้างพระนครให้พระราชกุมารอยู่ได้ จึงตรัสใช้ให้พระพิศณุกรรมลงมา สร้างพระนครโคกทลอก เมื่อพระพิศณุกรรมลงมาสร้างพระนครถวาย

๗๓ ให้พระราชกุมารกับพระมารดาอยู่ ฝ่ายราษฎรที่อยู่ในป่าก็มาอยู่ด้วย พระราชกุมารบ้างแต่ยังน้อยนัก พระอินทร์เห็นว่าราษฎรยังน้อยนัก จะให้ชนชาวเมืองเขมราชธานีมาอยู่อีกให้มาก จึ่งเหาะมานฤมิตรกายเป็นช้างเผือกใหญ่อยู่ณป่าแดนเมืองเขมราชให้พรานป่าเห็นแล้ว ช้างนั้น ก็เดินลัดมาถึงที่ใกล้พระนครโคกทลอก พรานป่าตามมาถึงที่ใกล้พระนครนั้น ช้างเผือกก็หายไป เห็นแต่รอยเท้าปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พรานป่าได้เห็นพระนครงามนัก จึงเข้าไปพิจารณาดูรู้ว่า พระราชกุมารกับพระอัครมเหษีพระเจ้าโกเมราชที่เป็นเจ้าของตน มาครองสมบัติอยู่ในเมืองนั้น ก็มีความยินดียิ่งนัก พรานป่าก็เร่งรีบกลับมากราบทูลพระเจ้าโกเมราชตามที่ตนได้เห็นทุกประการ พระเจ้าโกเมราชจึ่งให้เสนามนตรี คุมไพร่พล ๕๐๐๐ มาเชิญพระราชกุมารกับพระอัครมเหษี จะให้กลับไปเมืองเขมราช พระราชกุมารกับพระมารดาไม่กลับไป เสนามนตรีกับไพร่พล ๕๐๐๐ ก็อยู่ด้วยกับพระราชกุมารทั้งสิ้น พระเจ้าโกเมราชเห็นหายไปไม่กลับมา จึ่งใช้เสนามนตรีคุมไพร่พลไปอีกหมื่นหนึ่ง เสนามนตรีกับไพร่พลหมื่นหนึ่งนั้น ก็ชวนกันอยู่กับพระราชกุมารไม่กลับไป แต่พระเจ้าโกเมราชให้เสนามนตรีมา จะรับพระราชกุมารไปถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง พระราชกุมารก็ไม่กลับไป ไพร่พลทั้งหลายก็ยอมอยู่กับพระราชกุมารสิ้น พระเจ้าดกเมราชจึงยกพวกพลโยธามาตามเสด็จ มาถึงพระนครโคก ทลอก ได้เห็นพระราชกุมารกับพระอัครมเหษี ก็มีพระหฤทัยยินดียิ่งนัก จะชักชวนพระราชกุมารสักเท่าใด ๆ พระราชกุมารก็ไม่กลับไป พระเจ้าโกเมราชจึ่งราชาภิเษกพระราชกุมาร ให้เสวยราชสมบัติอยู่พระนครโคก

๗๔ ทลอก ตั้งพระนามชื่อว่า พระเจ้าเกตุมาลามหากษัตริย์ พระอินทร์ ได้ทรงทราบเหตุนั้น จึงบันดาลพระขรรค์ทิพย์สำหรับกษัตริย์ให้ตก ลงมาตามที่ประชุมเสนาอำมาตยราชบรรษัททั้งปวง ในราชาภิเษก พระเจ้าเกตุมาลา เห็นเป็นมหัศจรรย์นัก พระขรรค์นั้นยังอยู่จนทุก วันนี้ แว่นแคว้นแดนเมืองโคกทลอกนั้นจึ่งได้นามปรากฏชื่อว่า เมือง อินทปัตถมหานคร ฝ่ายเจ้าโกเมราชที่เป็นพระราชบิดา ก็พา พระอัครมเหษีผู้เป็นมารดาพระเจ้าเกตุมาลาเสด็จกลับไปเมืองเขมราช พระเจ้าเกตุมาลาเสวยราชสมบัติสืบมา บรรดาอาณาประชาราษฎรก็อยู่เย็นเป็นสุข กิติศัพท์นั้นก็เลื่องลือไปทุกประเทศ กษัตริย์ทุพระนครนำเอาดอกไม้ทองเงินมาถวาย พระเจ้าเกตุมาลาเสวยราชสมบัติมาช้านานได้หลายปี แต่ไม่มีพระราชบุตรพระราชธิดาที่จะสืบวงศ์กษัตริย์ต่อไป จึ่งทรงพระอุตส่าห์รักษาศีลจำเริญภาวนา ปรารถนาพระราชโอรส ได้ ๗ วัน จึ่งร้อนไปถึงทิพยอาสน์แห่งพระอินทร์ ๆ ส่องทิพยจักษุ ลงมาเห็นว่า พระเจ้าเกตุมาลาทรงพระอุส่าห์รักษาศีล ตั้งพระทัยปรารถนาพระราชบุตร ที่จะสืบตระกูลวงศ์กษัตริย์ต่อไป พระอินทร์ จึ่งเชิญเทวบุตรองค์หนึ่ง ให้จุติลงมาเกิดในดอกประทุมชาติในสระแห่งหนึ่ง แล้วบันดาลให้พระเกตุมาลา พาบริวารเสด็จไปประพาสป่า พบพระกุมารอยู่ในดอกประทุมชาติ เอาเลี้ยงไว้เป็นพระราชบุตรบุญธรรม ครั้นพระราชกุมารเจริญขึ้น พระเจ้าเกตุมาลาตั้งพระนามว่า พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ เวลาวันหนึ่งพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เสด็จไปเที่ยว ประพาสป่าจึ่งไปถึงโคกทลอก เหตุมีไม้ทลอกต้นหนึ่งใหญ่นัก ลำต้น

๗๕ เอนไปข้างทิศอาคเนย์ นอนราบถึงพื้นปฐพี ๆ ลึกลงไปเป็นรอยปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ แผ่นดินงอกขึ้นสูงประมาณ ๒ วา ถึงค่าคบ แตกกิ่งใบ ตั้งขึ้นเป็นที่ร่มเย็น และไม้ทลอกต้นนี้คำโบราณเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งปฐมกัลป์ ประเทศที่นี้ยังเป็นมหาสมุทรอยู่ พระยานาคชื่อว่าท้าวชมภูปาปะกาศ ไปรับอาษาพระอิศวร เอาขนดตัวพันเข้ากับพระเมรุ์ มิให้เอนเอียงได้ ฝ่ายพระพายขัดใจจึ่งพัดให้เขาพระเมรุ์เอนเอียงไปได้ พระพายเอาพระขรรค์ตัดศีรษะพระยานาคขว้างมาตกลงที่นั้น พระอิศวรทรงพระเมตตานัก จึ่งเอายาทิ้งลงมาสาปสรรว่า ถ้าศีรษะท้าวชมภู ปาปะกาศตกลงมาที่ใด ก็ให้เกิดเป็นโคกและต้นไม้อยู่ในที่นั้น จึงเกิด เป็นโคกมีต้นทลอกใหญ่ต้นหนึ่ง จึ่งได้เรียกว่าโคกทลอก ฝ่ายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เห็นต้นทลอกเอนอยู่ดังนั้น ก็ให้มหาดเล็กเอาพระยี่ภู่ไปลาดบนต้นทลอกนั้น แล้วเสด็จขึ้นไปบรรทม พอเวลาเย็นต้นทลอกนั้นก็ค่อยตรงขึ้นทีละน้อยๆ พระเจ้าสุริยวงศ์บรรทมหลับ ต้นทลอก ก็ตั้งตรงขึ้นดุจมีผู้ยกขึ้น พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งตื่นจากพระบรรทม ให้หวาดหวั่นพระหฤทัย จึ่งเหนี่ยวกิ่งทลอกไว้ จะเลื่อนพระองค์ลงมา ก็ไม่ได้ เสด็จนั่งอยู่บนค่าคบจนต้นทลอกตรงขึ้นสูงสุด เป็นอัสจรรย์ในพระหฤทัยนัก จะเรียกมหาดเล็กข้าเฝ้าทั้งปวงก็ไม่ได้ยิน ฝ่ายบรรดาไพร่พลเสนาข้าเฝ้าทั้งปวงก็ตกใจ คอยอยู่ใต้ต้นทลอกทั้งสิ้น พอเพลาพระอาทิตย์อุทัย ต้นทลอกนั้นจึ่งเอนลงราบถึงพระธรณีดังเก่า พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งลงจากต้นทลอกมายังบรรดาข้าเฝ้า ๆ ก็มีความยินดีนัก ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้านางนาคผู้เป็นธิดาพระยานาค ชวนบริวารขึ้นมาเล่น

๗๖ น้ำในทะเลสาบ แล้วว่ายเข้ามาตามลำคลองจนถึงที่ใกล้ต้นทลอก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เห็นนางนาค ก็พาพวกอำมาตย์ราชเสนาทั้งปวงเข้าล้อมจับ ๆ นางนาคได้แล้ว พามาไว้ที่ต้นทลอก ได้สมัครสังวาสแล้ว ตั้งเป็นพระอัครมเหษี ขณะเมื่อพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จับนางนาคได้นั้น ฝ่ายบริวารนางนาค ก็พากันหนีกลับไปเเจ้งความแก่พระยานาคผู้บิดา ๆ จึ่งให้หาพระราชบุตรซึ่งเป็นน้องนางนาค ให้เกณฑ์พวกพลนาคขึ้น มาตามพบกับพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ได้รบกัน แพ้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ๆ จับได้จะฆ่าเสีย นางนาคผู้เป็นอัครมเหษีจึ่งทูลขอชีวิตไว้แล้ว พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ปล่อยให้กลับคืนไปเมืองนาค นาคกุมารจึ่งแจ้งความแก่พระยานาคผู้เป็นพระบิดาทุกประการ พระยานาคก็คิดว่า บุตรหญิงเราเขาก็จับได้ไปเลี้ยงเป็นภรรยา ครั้นให้บุตรชายไปติดตามได้ รบกันแพ้เขาๆ จับได้ก็ไม่ได้ฆ่าแล้วปล่อยมา คุณของเขามีแก่เรา เป็นอันมาก จึ่งจัดเครื่องราชบรรณาการ ให้บริวารนำขึ้นมาถวาย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ให้เชิญพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับพระราชธิดาลงไปเมืองนาค พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับนางนาคผู้เป็นพระอัคร มเหษี ก็ลงไปอยู่เมืองนาคประมาณกึ่งเดือน พระยานาคจึ่งตรัสแก่พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ว่า ท่านเป็นมนุษย์จะมาอยู่ในเมืองนาคไม่สมควร จงกลับขึ้นไปเมืองมนุษย์ เห็นภูมิถานที่ใดควรจะสร้างพระนครได้ก็ให้ลงมาบอกข้าพเจ้า ๆ จะขึ้นไปช่วยสร้างให้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ลาพระยานาคพานางนาคขึ้นมาอยู่ที่ต้นทลอก แล้วพานางนาคไปเฝ้าพระเจ้าเกตุมาลา ผู้เป็นพระบิดาเลี้ยง ทูลเล่าเรื่องความถวายทุกประการ พระเจ้าเกตุ

๗๗ มาลามีพระหฤทัยยินดีนัก จึ่งให้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับอำมาตย์ราชเสนาไปเที่ยวดูที่ภูมิสถานสมควรจะสร้างพระนครได้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ก็เห็นว่า โคกที่ต้นทลอกตั้งอยู่นั้น ควรจะสร้างพระนครอันใหญ่ได้ แล้วพากันกราบทูลพระเจ้าเกตุมาลา ๆ จึงให้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับ นางนาคลงไปทูลแก่พระยานาค ๆ ก็พาพวกพลนาคขึ้นมาสร้างพระนครอันใหญ่ถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์อยู่ให้ชื่อว่านครธม พระเจ้าเกตุมาลา ก็ราชาภิเษก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ขึ้นทรงราชย์อยู่ในนครธมอันใหญ่ ครั้นนานมาพระเจ้าเกตุมาลาก็ถึงแก่พิราลัย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ถวายพระนครที่พระเจ้าเกตุมาลาผู้เป็นพระบิดาเลี้ยงเสด็จอยู่นั้นเป็นพระอาราม นิมนต์ให้พระพุทธโฆษาจารย์อยู่ เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์กลับเข้ามาแต่ลังกาทวีป เพราะเหตุที่พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงพระราชอุทิศถวายเมืองโคกทลอกเป็นวัด จึ่งได้นามชื่อว่าพระนครวัดตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่พระยานาคเป็นพระเจ้าพ่อตาทุกปี ครั้งนั้นแต่บรรดากษัตริย์ทุกพระนคร ต้องไปขึ้น แก่พระนครธมอันใหญ่ ด้วยบารมีของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ เมือง สุโขทัยไปส่งส่วยน้ำ เมืองตลุงส่งส่วยไหม เมืองละโว้ส่งส่วยปลาแห้ง ส่วนพระยานาคผู้เป็นพระเจ้าพ่อตาถึงแก่พิราลัยแล้ว พระราชบุตรพระยานาคซึ่งเป็นน้องนางนาคนั้น ก็ได้ผ่านพิภพนาคแทนพระบิดา พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ได้ทรงราชย์มาช้านานแล้ว พุทธศักราชล่วงได้ ๑๕๐๑ ปี จึ่งพระร่วงบังเกิดขึ้นในเมืองสุโขทัย ได้เป็นนายกองส่วยน้ำ จึ่งให้สานชะลอมใส่น้ำไปส่งพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ๆ ได้เห็นชะลอมใส่น้ำมาได้ไม่รั่ว

๗๘ จึ่งตรัสถามว่าผู้ใดเป็นผู้จัดให้เอาชะลอมใส่น้ำมาส่งไม่รั่วได้ดังนี้ พวกไทยซึ่งคุมชะลอมน้ำไปนั้นจึ่งกราบทูลว่า นายร่วงผู้เป็นนายกองว่ากล่าวสิ่งใดศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ ให้สานชะลอมใส่น้ำมาถวาย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งตรัสว่า เมืองไทยเกิดผู้มีบุญขึ้นแล้ว ตั้งแต่นี้ไปเมืองไทยจะไม่ได้ขึ้นแก่เมืองเขมรแล้ว พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งว่าแก่ไทยซึ่งเป็นนายคุมน้ำไปถวายว่า อย่ามาส่งน้ำอีกเลย พวกไทยก็พากันกลับมาบอกแก่นายร่วง ขณะนั้นพระยาเดโชดำดินเจ้าเมืองขอมเข้ามาเฝ้า จึ่งตรัสบอกว่าเดี๋ยวนี้มีผู้มีบุญเกิดขึ้นที่เมืองไทย ได้เอาชะลอมใส่น้ำมาส่งแก่เมืองเราเห็นเขาจะไม่ขึ้นแก่เมืองเราแล้ว พระยาเดโชดำดินจึ่งกราบทูลว่า กระ หม่อมฉันจะขอรับอาษาไปจับนายร่วงให้จงได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ห้าม ว่า อย่าไปจับเขาเลย พระยาเดโชดำดินไม่ฟัง แล้วก็กราบถวายบังคมลามาจัดกองทัพ เร่งรีบยกมา ตัวพระยาเดโชดำดินนั้นดำมาโผล่แผ่นดินนายร่วงรู้ข่าวว่า เมืองเขมรยกทัพมาจับตัว ก็หนีไปถึงแดนเมือง พิจิตร ไปอาศัยอยู่ริมวัด จึ่งขอข้าวปลาอาหารชาวบ้านนั้นกิน ชาวบ้านก็ให้อาหารกับปลาหมอกิน ครั้นนายร่วงกินเนื้อเสียแล้วยังแต่ก้างจึ่ง ทิ้งลงในน้ำ ก้างปลานั้นก็กลับเป็นขึ้นว่ายน้ำอยู่ พระยาเดโชดำดิน ครั้นดำดินไปถึงบ้านที่นายร่วงอยู่ก็ผุดขึ้นถามชาวบ้าน ๆ บอกว่านายร่วงหนีไปอยู่บ้านอื่นแล้ว พระยาเดโชดำดินก็ดำดินติตามไป ครั้นนายร่วงรู้ก็หนีไปอาศัยอยู่ณวัดเมืองสุโขทัย ให้เจ้าอธิการบวชให้เป็นภิกษุ ครั้นเพลาวันหนึ่ง พระร่วงลงมากวาดลานวัด พระยาเดโชดำดินก็ผุดขึ้น


๗๙ ที่ใกล้พระร่วงซึ่งยืนอยู่นั้น แต่ไม่รู้จักตัวพระร่วง จึ่งถามว่า พระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงจึ่งว่า อยู่ที่นี่ก่อนเทอญ เราจะไปบอกพระร่วงให้ พระยาเดโชดำดินก็ผุดขึ้นมาได้ครึ่งกายติดอยู่ไปไม่ได้ ครั้นนานมา รูปกายพระยาเดโชดำดิน ก็กลายเป็นศิลาไป จึ่งเรียกว่าขอมดำดิน ตั้งแต่ครั้งนั้นมา พระพุทธศักราชได้ ๑๕๐๒ พระเจ้าสุโขทัยถึงแก่พิราลัย ไม่มีพระราชวงศานุวงศ์ที่จะครองราชสมบัติสืบไป เสนาบดีจึงไปอัญเชิญพระร่วง มาครองเมืองสุโขทัย พระร่วงจึ่งทรงพระดำริว่า พระเจ้าปทุม สุริยวงศ์ตรัสว่าไม่ให้เอาน้ำไปส่งแล้ว เหตุใดจึ่งให้พระยาเดโชดำดินมาจับเราเล่า เราจะยกกองทัพไปจับพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์บ้าง จึ่งตรัส สั่งให้เกณฑ์พวกพลโยธาเป็นอันมาก ยกจากเมืองสุโขทัยไปถึงเมืองเสียมราบจนถึงพระนครธม พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงทราบจึ่งตรัสสั่งว่า ให้พระร่วงมาเปิดประตูพระนครเทอญ พระเจ้าร่วงจึ่งยกพลไปเปิดประตูเมืองไม่ได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เห็นว่า พระเจ้าร่วงเปิดประตูเมืองไม่ได้ แล้วจึ่งตรัสว่า เราจะให้ประตูเปิดเอง ให้พระเจ้าร่วงเข้ามาเฝ้าเราให้จงได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ตรัสดังนั้นแล้วจึ่งตรัสว่า ประตูเปิดเสีย ให้พระยาร่วงเข้ามาเฝ้าเรา ประตูก็เปิดออกในทันใดนั้น พระเจ้าร่วงกับพวกพลไทยทั้งปวง กลัวพระเดชานุภาพกราบถวายบังคมชมพระบารมีพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ตั้งแต่พระนครธมนครวัดจนถึงเมืองเสียมราบ จึ่งได้ชื่อว่า เสียมราบแต่นั้นมา เมื่อพระเจ้าร่วงได้เฝ้า แล้วทรงนับถือเป็นอันมาก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็พระราชทานทรัพย์


๘๐ สิ่งของทองเงินโภชนาหารให้พระเจ้าร่วง และไพร่พลทั้งปวงกินอยู่ ผาสุกยิ่งนัก เมื่อพระยาร่วงทูลลากลับมา พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ให้ เอาทรัพย์สิ่งของทองเงินในท้องพระคลังออกมาพระราชทานให้พระเจ้าร่วง และขุนนางกับไพร่ทั้งปวง เอามาตามปรารถนาทุกคน ทรัพย์ในท้องพระคลังก็ไม่พร่อง พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์มีบุญญาธิการยิ่งนัก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์มีพระราชบุตรด้วยพระสนมองค์หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่าพระเจ้ากรุงพาล พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงราชย์มาช้านาน ท้าวพระยายอมถวายดอกไม้ทองเงินอยู่เนืองนิจ พระชนมายุได้ ๑๐๐ ปี เศษ ทรงพระชราถึงแก่พิราลัย กรุงไทยก็มิได้ ส่วยน้ำ ส่วยปลาแต่นั้นมา พระเจ้ากรุงพาลที่เป็นพระราชบุตร ก็ได้ทรงราชย์สืบกษัตริย์สุริยวงศ์ ต่อลงมา แต่พระเจ้ากรุงพาลองค์นี้ ไม่ได้เอาส่วยไปส่งแก่พระยานาค ๆ ไม่เห็นชาวเมืองเขมรเอาส่วยมาส่งช้านานแล้ว จึ่งให้นาคที่เป็นเสนามนตรีมาตักเตือน ให้เอาส่วยไปส่ง พระเจ้ากรุงพาลก็มิยอมเอาส่วยไปส่ง ว่าแต่ก่อนนั้น บิดาของพระยานาคองค์นี้ เป็นพระเจ้าพ่อตาของพระราชบิดาเรา ได้มีคุณแก่กันเป็นอันมาก กรุงเขมรจึ่งได้เอาส่วยไปส่งแก่เมืองนาค เดี๋ยวนี้เรากับพระยานาคก็มิได้มีคุณสิ่งใดแก่กัน เราจะให้เอาส่วยไปส่งต้องการอะไร นาคซึ่งเป็นเสนามนตรีก็กลับลงไปทูลความแก่ พระยานาค ๆ ได้ฟังก็โกรธ จึ่งยกพวกพลโยธาขึ้นมาถึงอินทปัตถมหานคร จึ่งให้นาคกุมารเข้าไปต่อว่า ว่าเหตุใดไม่เอาส่วยไปส่ง พระเจ้ากรุงพาลจึ่งว่าแก่นาคกุมารเหมือนอย่างว่าแก่นาคเสนา เมื่อพระยานาคให้มาต่อว่าครั้งก่อนนั้น นาคกุมารจึ่งกลับไปทูล

๘๑ ความแก่พระยานาค ๆ โกรธ จึ่งยกพลเข้ารบเอาพระนคร พระเจ้ากรุงพาลจึ่งออกต่อรบด้วยพระยานาค ๆ ปราชัย พระเจ้ากรุงพาลจับได้ ตัดศีรษะพระยานาค โลหิตพระยานาคก็กระเด็นไปต้องพระองค์พระเจ้ากรุงพาล ฝ่ายบริวารพระยานาคก็พากันกลับไปยังเมืองนาค ครั้นอยู่มาพระเจ้ากรุงพาลเกิดโรคเรื้อนทั่วทั้งพระกาย เพราะโลหิตของพระยานาคต้องพระองค์ พระเจ้ากรุงพาลให้แพทย์รักษาก็ ไม่หาย ยังมีพระฤษีองค์หนึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ บอกฤษีผู้บริวารของตนว่า ข้าจะไปเที่ยวเล่นที่เมืองอินทปัตถสัก ๓ เดือนจะกลับมา พระฤษี องค์นั้นก็เหาะมา บัดเดี๋ยวหนึ่งก็ถึงเมืองอินทปัตถมหานคร เห็นบุรุษชรานุ่งผ้าขาวจึ่งถามว่า เมืองนี้เรียกเมืองอะไร บุรุษชรานุ่งผ้าขาว จึ่งบอกว่า เมืองอินทปัตถมหานคร พระฤษีจึ่งว่า เมืองนี้สนุกนักหนา แต่กษัตริย์ซึ่งครองราชสมบัตินั้นเป็นโรคเรื้อน พระชนมายุนั้นน้อยไม่ สมควรที่จะครองพระนครอยู่ได้ เราจะชุบให้กษัตริย์องค์นี้มีชนมายุยืนยาวไปนาน ให้ได้เสวยราชสมบัติสมควรแก่พระนคร บุรุษชรานุ่งผ้าขาว ไปกราบทูลต่อพระเจ้ากรุงพาลว่า มีฤษีองค์หนึ่งมาว่าจะชุบชีวิตพระองค์ ให้หายโรคมีพระชนมายุยืน พระเจ้ากรุงพาลจึ่งตรัสสั่งให้นิมนต์พระ ฤษีเข้าไปในพระราชวัง ตรัสสั่งให้ไปเอากะทะเหล็กใหญ่มาตั้งขึ้นบนเตา ติดไฟใส่น้ำเคี่ยวให้เดือด แล้วพระฤษีจึ่งว่า เชิญมหาบพิตรพระราชสมภารลงไปอยู่ในกะทะเทอญ พระเจ้ากรุงพาลจึ่งตรัสว่า จะทำประการใดจึ่งจะให้เห็นปรากฏแก่จักษุทั้งปวง อำมาตย์ผู้หนึ่งจึ่งจับสุนัขใส่ลงในกะทะ สุนัขนั้นก็ตาย พระฤษีจึ่งเอายาโรยลงไปในกะทะ สุนัขก็เป็น

๘๒ ขึ้น มีรูปกายงามกว่าแต่ก่อน พระเจ้ากรุงพาลก็ยังไม่เชื่อลงเป็นแท้ จึ่งตรัสสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งลงไปในกะทะนั้น พระฤษีจึ่งเอายาโรยลงอำมาตย์นั้นก็เป็นขึ้น รูปงามดุจเทวดา พระเจ้ากรุงพาลก็ยังไม่เชื่อ พระเจ้ากรุงพาลจึ่งตรัสว่า นิมนต์พระมหาฤษีลงในกะทะก่อนเทอญ ข้าพเจ้าจึ่งจะเชื่อ พระมหาฤษีก็เปลื้องเครื่องบริขารออกจากกาย จึ่งสั่งไว้ว่า ถ้าอาตมาภาพลงไปในกะทะแล้ว จงเอายี้โรยลงไปในกะทะ พระมหาฤษีสั่งเสร็จแล้วก็ส่งห่อยาให้แก่พระเจ้ากรุงพาล แล้วก็ลงไปในกะทะ กายพระฤษีนั้นก็ละลายเป็นน้ำ พระเจ้ากรุงพาลก็เอายาโรยลงในกะทะครึ่งหนึ่ง จึ่งบังเกิดเป็นมือเป็นเท้าขึ้น พระเจ้ากรุงพาลก็ไม่เอายาโรยลงไปอีกให้สิ้น พระเจ้ากรุงพาลจึ่งสั่งให้อำมาตย์หามเอากะทะไปเทเสียที่ริมเชิงเขาอยู่ทิศใต้พระนครช้านานได้ ๓ เดือน พระมหาฤษีผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ไม่เห็นพระฤษีที่มาชุบพระเจ้ากรุงพาลนั้น จึ่งถามฤษีที่เป็นบริวารทั้ง ๕๐๐ ว่า พระผู้เป็นเจ้าของท่านทั้งปวงนี้ไปข้างไหน พระฤษี ที่เป็นบริวารจึ่งแจ้งความว่า พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าไปเมืองอินทปัตถ มหานคร จึ่งพระมหาฤษีเป็นครูผู้ใหญ่เหาะมาถึงเมืองอินทปัตถมหานคร จึ่งถามชาวเมืองทั้งหลายว่า ท่านได้เห็นฤษีองค์หนึ่งมาเมืองนี้บ้างหรือไม่ชาวเมืองจึงบอกว่า ได้เห็นอยู่แต่ฤษีองค์นั้นมาว่าจะชุบพระมหากษัตริย์ขึ้นให้หายโรคให้รูปงามให้พระชนมายุยืนยาวไปนาน พระมหากษัตริย์ไม่เชื่อ จึ่งให้พระฤษีนั้นลงไปในกะทะก่อน ฤษีนั้นจึ่งสั่งว่า เมื่ออาตมาภาพลงไปในกะทะแล้ว จงเอายาโรยลงไปในกะทะ พระมหากษัตริย์เอา ยาโรยลงไปก็ไม่เป็นขึ้น พระมหากษัตริย์จึ่งให้อำมาตย์เอากะทะ

๘๓ นั้นไปเทเสียที่ภูเขาข้างทิศใต้พระนคร พระฤษีที่เป็นอาจารย์รู้ดั่งนั้นแล้ว จึ่งไปตามที่ภูเขานั้น ได้เห็นศพฤษีผู้ตายนั้น พระฤษีผู้เป็นอาจารย์จึ่งชุบขึ้น แล้วถามว่าเหตุใดท่านจึ่งมาตายอยู่ที่นี้ พระฤษีนั้นจึ่งบอกว่า ข้าพเจ้ามาหวังจะชุบให้กษัตริย์นั้นมีรูปงามและอายุยืน กษัตริย์ก็ไม่เชื่อ จึ่งให้จับเอาสุนัขมาใส่ลงในกะทะแล้ว ข้าพเจ้าก็เอายาโรยลงไปก็เป็นขึ้น แล้วกษัตริย์นั้นก็ยังไม่เชื่อ แล้วตรัสบังคับให้อำมาตย์คนหนึ่งลงไปใน กะทะอีก ข้าพเจ้าก็เอายาโรยลงไปก็เป็นขึ้น รูปก็งามยิ่งกว่าแต่ก่อน แต่กษัตริย์นั้นยังไม่เชื่อ จึ่งให้ข้าพเจ้าลงไปในกะทะ เมื่อข้าพเจ้าจะลง ไปในกะทะจึ่งสั่งไว้ว่า ให้เอายาโรยลงไป กษัตริย์นั้นก็ไม่ได้โรยยาตามข้าพเจ้าสั่งไว้ ข้าพเจ้าจึ่งได้ถึงความตายฉะนี้ ฤษีทั้งสองมีความโกรธนัก จึ่งพากันมาเมืองอินทปัตถมหานครที่พระเจ้ากรุงพาลอยู่นั้น ฤษีทั้งสองจึ่งแช่งว่า เรามีจิตต์เมตตาจะชุบท่านขึ้นให้รูปงามให้อายุยืนให้หายโรคท่านกลับมาประทุษร้ายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไปอย่าให้ท่านหายโรคอย่าให้ ท่านครองสมบัติอยู่ช้านานได้ และเมืองอินทปัตถนี้ กษัตริย์องค์ใด ได้ครองราชสมบัติแล้ว อย่าได้อยู่นานได้ ให้เสื่อมสูญเป็นบ้าไป แล้วพระฤษีทั้งสองก็พากันไปป่าหิมพานต์ พระเจ้ากรุงพาลก็เป็นโรคเรื้อนไม่หาย จึ่งพานักสนมบริวารไปรักษาพระองค์ที่ภูเขา ๘ เหลี่ยมแต่ทุกวันนี้เรียกว่า เขากุเลน คำไทยว่า เขาลิ้นจี่ พระเจ้ากรุงพาลรักษาโรคเรื้อนไม่หายก็ถึงแก่พิราลัย รูปกายพระเจ้ากรุงพาลและนางนักสนม ก็กลายเป็นสิลาไปยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ตั้งแต่นั้นมา กษัตริย์ในแว่นแคว้นแดนเขมร ที่เสวยราชสมบัติในพระนครธมนั้นไม่อยู่

๘๔ นานได้ โดยลำดับมาหลายพระองค์จนถึงกษัตริย์องค์หนึ่ง เดิมชื่อนายพรมเป็นพ่อค้าโค ได้เสวยราชสมบัติตั้งพระนครอยู่ข้างฟากแม่น้ำในทิศตะวันออกแห่งพระนครธม ก่อกำแพงด้วยศิลาแลงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ นายพรมได้เสวยราชสมบัติได้ ๒๐ ปีก็ถึงแก่พิราลัย มีพระราชบุตรองค์หนึ่ง ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อมา พระมหากษัตรีย์นั้นไม่มี พระราชบุตร ครั้นนานมาก็ทรงพระชราทรงพระประชวร จึ่งให้โหรทำนาย ๆ ว่าผู้มีบุญมาบังเกิดในครรภ์หญิงเข็ญใจในพระนครนี้ พระมหา กษัตริย์จึ่งสั่งให้อำมาตย์ไปจับหญิงเข็ญใจที่มีครรภ์มาฆ่าเสีย โหรจึ่ง ทูลห้ามว่า ที่จะจับหญิงมีครรภ์มาฆ่าเสียให้สิ้นนั้นก็จะเป็นกรรมเวร ไป แต่อาการที่ผู้มีบุญมาบังเกิดในครรภ์หญิงนั้น เป็นคนเข็ญใจเที่ยว เก็บฟืน ถ้าเก็บฟืนได้ เอามัดฟืนขึ้นทูลบนศีรษะเดินมา เมื่อจะหยุดพัก นั้น ก็เอามัดฟืนวางไว้ แล้วเอาผ้าที่รองบนศีรษะนั้นวางบนมัดฟืนรองนั่ง เหตุว่าบุตรที่ในครรภ์นั้นแลเป็นผู้มีบุญ ถ้าเห็นดั่งนั้นแล้วจึ่งฆ่าหญิง เข็ญใจที่มีครรภ์คนนั้นเสียเทอญ พระมหากษัตริย์ได้ทรงฟังโหรกราบทูลดังนั้น จึ่งให้อำมาตย์ไปเที่ยวสอดแนมดู ครั้งนั้นหญิงเข็ญใจพวกหนึ่ง ทูลมัดฟืนมา แต่หญิง ๖ คนนั้นปลงมัดฟืนลงจากศีรษะแล้ว ก็พากันไปเที่ยวนั่งตามร่มไม้ แต่หญิงเข็ญใจมีครรภ์คนหนึ่งนั้น ปลงมัดฟืนแล้วเอาผ้าลาดบนมัดฟืนรองนั่ง พวกอำมาตย์เห็นดังนั้นแล้ว จึ่งจับหญิงนั้นไปถวายพระมหากษัตริย์ ๆ จึ่งตรัสให้เพ็ชฌฆาตเอาไปฆ่าเสียที่ดอนแห่งหนึ่งใกล้วัดพระมหาสังฆราช บัดนี้เรียกว่าดอนพระศรี ส่วนกุมาร อยู่ในครรภ์นั้นก็ประสูติออกมา มีแร้งมากางปีกปิดป้องรักษากุมาร

๘๕ นั้นไว้จะไม่ให้ถูกแดดและลม ส่วนตาเคเหซึ่งเป็นผู้เลี้ยงโคของพระมหาสังฆราชนั้น ไล่ฝูงโคไปเลี้ยงที่ใกล้ศพมารดากุมารนั้น เห็นฝูงแร้งพากันกางปีกป้องปิดอยู่ ก็มีความสงสัย จึ่งเข้าไปดู เห็นกุมารมีรูปอันงาม ก็อุ้มเอามาถวายแก่พระสังฆราช ๆ ก็รู้ว่า กุมารคนนี้จะมีบุญมาก แต่พระมหากษัตริย์ให้เอามาฆ่าแล้วยังไม่ตาย จึ่งมอบให้ตาเคเหเอาไปเลี้ยงไว้ จนอายุกุมารนั้นได้ ๖ ขวบ ๗ ขวบ ครั้นอยู่มาพระมหากษัตริย์ ก็ทรงพระประชวรอีก จึ่งให้โหรทำนาย ๆ ว่าผู้มีบุญนั้นยังไม่ตาย มี ผู้เอาไปเลี้ยงไว้ อยู่ข้างทิศตะวันออกแห่งเมืองพนมเพ็ญ พระมหากษัตริย์จึ่งให้อำมาตย์ไปจับตัว ส่วนพระมหาสังฆราชกับตาเคเหรู้ความนั้นแล้ว พระมหาสังฆราชจึ่งให้ตาเคเหพากุมารนั้นหนีไป ฝ่ายอำมาตย์ก็ติดตามไป ตาเคเหจวนตัวจึ่งพากุมารเข้าซ่อนอยู่ในบึงแห่งหนึ่ง เดี๋ยวนี้เรียกว่า โคกบันชัน เมื่อจะเข้าไปนั้น ตาเคเหทำเป็นทีเดินถอยหลังเข้าไป หวังจะให้คนทั้งปวงเห็นว่าหนีจากโคกนั้นแล้ว ฝ่ายอำมาตย์ก็ติดตามไปถึงโคกนั้นแล้วก็ไม่เห็น จึ่งขับช้างเข้าบุกตามหญ้า รกนั้น แต่ที่กุมารอยู่นั้นมีช้างพังช้างหนึ่ง ไปยืนค่อมพระกุมารอยู่ ทำอาการเหยียบย่ำดุจช้างทั้งปวง ไม่ให้คนทั้งปวงสงสัย อำมาตย์ ราชเสนาเที่ยวหาไม่เห็นแล้ว ก็พาไพร่พลกลับมาทูลพระมหากษัตริย์ ฝ่ายตาเคเหครั้นเห็นคนทั้งปวงกลับไปแล้ว จึ่งพาพระกุมารออกจากบึง ไปพักอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ชื่อไพรทับ ฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้โหรทำนาย ๆ ว่า บัดนี้ผู้มีบุญหนีไปอยู่ในป่าแห่งหนึ่งข้างทิศใต้ พระมหากษัตริย์สั่งให้เสนาอำมาตย์ยกทัพไปติดตาม ตาเคเหเห็นจึ่งพาพระกุมารหนีไปพักอยู่ที่

๘๖ ป่าไพรปวน ออกจากป่าไพรปวนไปพักอยู่ที่เขาประสิทธิ์ข้างทิศหรดีเมื่อจะเข้าไปในถ้ำนั้น ตาเคเหอุ้มพระกุมารเดินถอยหลังเข้าไปในถ้ำนั้น แล้วแมลงมุมก็ชักใยปิดปากถ้ำเสียหวังจะไม่ให้คนสงสัยว่า ตาคาเหพากุมารเข้าไปในถ้ำนั้น ฝ่ายอำมาตย์ก็พาไพร่พลกลับมาทูลพระมหากษัตริย์ ๆ ก็นิ่งอยู่ ตาเคเหก็พาพระกุมารข้ามแม่น้ำพนมเพ็ญ ไปที่ ดอนแห่งหนึ่งข้างทิศตะวันออก พระกุมารจึ่งหักเอากิ่งไทรปักไว้แล้ว จึ่งอธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าจะมีบุญต่อไปภายหน้า ก็ขอให้กิ่งไทรนี้เป็นขึ้น จำเริญโตใหญ่ไปในเบื้องหน้า ต้นไทรนั้นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ครั้น อนิษฐานแล้วพระกุมารก็บรรทมหลับอยู่บนตักตาเคเหหน่อยหนึ่ง ตา เคเหเห็นนกกระทุงกินปลาอยู่ในหนองเป็นอันมาก ตาเคเหสำคัญว่า กอง ทัพยกมาตามจับ ตาเคเหจึ่งปลุกพระกุมารขึ้นบอกว่า กองทัพยกตามมา ก็พากันหนีไปถึงต้นมะม่วงต้นหนึ่ง ตาเคเหจึ่งขึ้นไปบนต้นมะม่วงสวายสอแลดูไม่เป็นกองทัพ เห็นแต่ฝูงนกกะทุงลงกินปลาอยู่ในหนอง ก็ดีใจ จึ่งเก็บผลมะม่วงมาให้แก่พระกุมาร จึ่งบอกพระกุมารว่าไม่ใช่กองทัพ พระกุมารก็คิดแต่ในใจว่า ตาเคเหลวงเราให้ตกใจ ถ้าเรามีบุญได้เป็นกษัตริย์จะต้องว่ากล่าวสั่งสอนเสียบ้าง แล้วพระกุมารก็กินมะม่วงตาเคเห ได้รับพระราชทานมีโอชารศยิ่งนัก ตาเคเหก็เก็บเมล็ดมะม่วงสวายสอนั้นมาด้วย ก็พากันมาถึงที่บ้านตำบลหนึ่ง กุมารอดอาหารหิวโหยนัก ได้เห็นหญิงขาวผู้หนึ่งไปยืนอยู่ที่หน้าบ้าน กุมารจึ่งว่า ตาไปขอข้าวหญิงขาวที่ยืนอยู่นั้นมากินสักหน่อยเทอญ ตาเคเหก็ไปขอข้าวแก่หญิงที่ยืนอยู่นั้น ๆ จึ่งถามว่าตามาแต่ข้างไหน ตาเคเหจึ่งบอก

๘๗ ความตามเหตุที่ตนมากับพระกุมาร หญิงขาวก็ให้ไปรับพระกุมารเข้า มาแต่งโภชนาหารให้กินแล้ว ให้พระกุมารกับตาเคเหอยู่ในบ้านได้ประมาณ ๗ วัน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ทรงพระประชวรหนักถึงแก่พิราลัย เสนา พฤกฒามาตราชปโรหิตก็ประชุมพร้อมกัน ให้หาโหรทำนายดูก็รู้ว่าผู้ มีบุญนั้นยังอยู่ จึ่งปรึกษากันเสี่ยงราชรถไป ราชรถก็ตรงไปถึงฝั่ง แม่น้ำก็หยุดอยู่ ฝ่ายอำมาตราชปโรหิตซึ่งตามราชรถไปนั้น ก็ชวนกัน เอาราชรถนั้นข้ามแม่น้ำไปถึงฝั่งฟากข้างโน้น ราชรถตรงไปถึงที่ใกล้พระกุมาร เสนาอำมาตยราชปโรหิตเห็นพระราชกุมารต้องด้วยลักษณะควรจะเป็นพระมหากษัตริย์ครอบครองราชสมบัติ บำรุงอาณาประชาราษฎรให้อยู่เย็นเป็นศุขได้ ก็ให้ประโคมดุริยางคดนตรีขึ้นพร้อมกัน เชิญเสด็จพระกุมารขึ้นทรงราชรถแห่แหนไปสู่ยังพระนครจัตุรมุขพนมเพ็ญเป็นสมมติกษัตริย์ทรงพระนาม พระเจ้าปักษีจำกรง เพราะเหตุเมื่อนายเพ็ชฌฆาตฆ่าพระมารดา มีนกแร้งมากางปีกปกปิดเฝ้ารักษา พระองค์ไว้นั้น พระเจ้าปักษีจำกรงจึ่งทรงตั้งตาเคเหนั้นเป็นที่เจ้าฟ้า ทลหะเอกอุมนตรี และบ้านที่พระองค์ไปอาศัยหญิงขาวยืนอยู่นั้นให้ตั้งขึ้นไปเมือง เรียกว่าเมืองสีสอเมอ แล้วพระราชทานส่วยสาอากร ในเมืองสีสอเมอ ให้ขึ้นแก่หญิงขาวที่ให้ข้าวแก่พระองค์เสวยนั้น ที่ที่นายเพ็ชฌฆาตฆ่าพระมารดานั้นให้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดดอนพระศรี ที่พระองค์ปักต้นไทรไว้นั้น ให้สร้างพระวิหารไว้ให้ชื่อว่า วัดวิหารสวรรค์เมื่อตาเคเหได้เป็นเจ้าฟ้าทละหะนั้น ได้เมล็ดมะม่วงมาแต่ครั้งพาพระกุมารหนีมานั้น เอามาปลูกไว้ในบ้านจนโตใหญ่ได้ ๗ ปีจนมีผล จึ่งเก็บ

๘๘ มาถวายพระเจ้าปักษีจำกรง ๆ เสวยมีโอชารส จึ่งตรัสถามเจ้าฟ้าทลหะ ว่าได้ผลมะม่วงมาแต่ไหน เจ้าฟ้าทลหะจึ่งทูลว่า ได้มาแต่ครั้งหนีนก กระทุงนั้น พระเจ้าปักษีจำกรงจึงตรัสว่า เมื่อขณะนั้นข้ามีความโกรธนักด้วยตาลวงข้าให้ตกใจ โทษตาก็มีอยู่ ให้ตาพิเคราะห์ดูโทษจะมีประการใด เจ้าฟ้าทละหะจึ่งทูลว่า โทษข้าพเจ้าก็ถึงที่ตาย ขอพระองค์จงฆ่าข้าพเจ้าเสียอย่าเอาไว้จะเป็นตัวอย่างต่อไป พระเจ้าปักษีจำกรงจึ่งตอบว่าโทษผิดแต่เพียงนี้ ถึงจะผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย เราก็ไม่ฆ่าท่านได้ เจ้าฟ้าทละหะก็ทูลวิงวอนไปจะให้ฆ่าตนให้ได้หลายครั้งว่ากระหม่อมฉันมีความชอบ พระองค์ก็ได้ทรงชุบเลี้ยงยกย่องตั้งแต่งขึ้นให้เป็นขุนนางผู้ใหญ่แล้ว โทษถึงตายก็ให้ฆ่าเสียเทอญ พระเจ้าปักษีจำกรงจึ่งตรัสว่า ถ้าดังนั้นเราจะทำตามถ้อยคำท่าน แล้วก็ตรัสสั่ง เจ้าพนักงานจัดเอาเสื่อไปปูลาดลง แล้วให้เจ้าฟ้าทลหะนอนลงแล้วเอาผ้าคลุมไว้หลายชั้น หวังพระหฤทัยจะให้เป็นเคล็ดไม่ให้ถึงคอเจ้าฟ้าทละหะ ครั้นให้เอาผ้าคลุมแล้ว ก็ทรงเงื้อพระขรรค์ขึ้นแล้วก็ค่อยวางลงตรงคอ เจ้าฟ้าทละหะแต่เบาๆ ขณะเมื่อวางพระขรรค์ลงไปนั้นผ้าก็มิได้ขาด ครั้นเลิกผ้าขึ้นแล้วคอเจ้าฟ้าทละหะนั้นก็ขาดไปถึงแก่ความตาย ควรจะเป็นอัศจรรย์หนักหนา พระเจ้าปักษีทรงมีความอาลัยนัก จึ่งสั่งให้แต่ง การศพเจ้าฟ้าทละหะตามตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ ปลงศพเสร็จแล้ว จึ่ง ตรัสสั่งให้เอาอัฏฐิไปฝังไว้ที่บ้านมุบกำพูล พระมหากษัตริย์ทรงพระ อาลัยในเจ้าฟ้าทลหะนัก จึ่งทรงเลี้ยงบุตรภรรยาเจ้าฟ้าทละหะนั้นเป็นขุนนางสืบไป พระเจ้าปักษีจำกรงเสวยราชสมบัตินานจนถึงพิราลัย

๘๙ พระราชบุตรทรงราชย์สืบวงศ์ต่อมาหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์องค์หนึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าปักษีจำกรง ได้เสวยราชสมบัติ พระนามนั้นไม่ปรากฏแต่กษัตริย์องค์นั้นประพฤติการทุจจริตไม่ตั้งอยู่ในความยุตติธรรม พาอำมาตย์ไปเที่ยวลักทรัพย์ของราษฏรอยู่เป็นนิจ ยังมีพระฤษีองค์หนึ่งรักษาศีลอยู่ในป่าใกล้พระนครธม แต่ฤษีองค์นั้นถ่ายปัสสาวะลงในกระพังศิลาอยู่เนืองนิจ บุรุษชาวป่าคนหนึ่งเป็นชาติกวยพรรณ เวลาวันหนึ่งพาภรรยากับบุตรหญิงไปเที่ยวขุดเผือกมันในป่าหลงทางไป จะกลับ มาบ้านมิได้ บิดามารดาจึ่งเที่ยวหาน้ำให้บุตรหญิงนั้นกิน จึ่งไปพบ น้ำในกระพังศิลา เป็นน้ำของพระฤษีถ่ายลงไว้แล้วก็กลับไปพา บุตรหญิงให้กินน้ำในกระพังศิลา แล้วพบหนทางพากลับบ้าน บุตรหญิงนั้นก็มีครรภ์ขึ้น บิดามารดามีความสงสัยจึ่งถามบุตรหญิงว่ารักใคร่กับผู้ใดจึ่งมีครรภ์ บุตรหญิงนั้นก็ปฎิเสธว่า ไม่ได้รักใคร่กับผู้ใด ด้วยมิได้เที่ยวไปจากเรือนเลย แต่เมื่อไปเที่ยวป่านั้นได้กินน้ำในกระพังศิลา แต่กลิ่นนั้นเหมือนกลิ่นปัสสาวะ บิดามารดาจึ่งมีความสงสัยว่าเกลือกจะเป็นน้ำปัสสาวะของบุรุษผู้ใดมาถ่ายไว้ บุตรของเราได้กินจึ่ง มีครรภ์ บิดามารดาก็มีความสงสารแก่บุตรหญิง จึ่งปฏิบัติรักษาครรภ์ไว้จนถ้วนทศมาศ ก็คลอดบุตรเป็นชายประกอบด้วยลักษณะอันงาม บิดามารดาก็ช่วยกันเลี้ยงรักษาจนเจริญใหญ่ขึ้นได้ ๗ ปี ก็ไปเที่ยวเล่นกับทารกเพื่อนบ้าน ทารกชาวบ้านจึ่งว่าแก่กุมารนั้นว่าลูกไม่มีบิดา กุมารนั้นมีความน้อยใจนัก จึ่งถามมารดาว่า เขาพากันติเตียนว่าข้านี้ไม่มีบิดา ๆ ข้าอยู่ที่ไหน มารดาจงบอกให้ข้าแจ้งบ้าง มารดาได้ฟังบุตรว่า

๙๐ ดังนั้นจึ่งเล่าความให้บุตรฟังตั้งแต่ครั้งไปเที่ยวป่า ไปกินน้ำในกระพังศิลา จนมีครรภ์ขึ้นมานั้นทุกประการ กุมารได้ฟังดังนั้นจึ่งว่า ถ้าจะอยู่ไปก็จะมีความอายแก่คนทั้งปวง ข้าจะลามารดาไปเที่ยวหาบิดาให้พบแล้วจึ่งจะกลับมา มารดากับตายายห้ามสักเท่าใดกุมารนั้นก็ไม่ฟัง จึ่งลามารดากับตายายเข้าไปในป่าพบพระฤษี ๆ จึ่งถามว่า กุมารนี้จะไป ข้างไหน กุมารจึ่งบอกว่า ข้าพเจ้าเที่ยวมาตามหาบิดาของข้าพเจ้า ฤษีจึ่งถามว่า บิดาของท่านนั้นชื่อไร รูปพรรณสัณฐานเป็นประการใด เจ้าจึ่งมาตามหาในป่าดังนี้ กุมารจึ่งบอกว่า มารดาข้าพเจ้าบอกว่าออกมาเที่ยวป่าได้กินน้ำในกระพังศิลาจึ่งมีครรภ์ ข้าพเจ้าไม่รู้จักรูปพรรณและนามบิดาข้าพเจ้า จึ่งมาตามหา ฤษีจึ่งว่าแก่กุมารว่า เจ้าจงอยู่ที่นี่เทอญ เจ้านี้คือบุตรของเราแล้ว เราจะได้สั่งสอนให้เจ้าเรียนศิลปศาสตรสำหรับรักษากายไปภายหน้า กุมารนั้นได้ทราบความว่าพระฤษี องค์นั้นเป็นบิดาของตนดังนั้น ก็มีความยินดีนัก กุมารนั้นจึ่งอยู่กับพระฤษีผู้เป็นบิดา ๆ ก็สั่งสอนให้กุมารเรียนศิลปศาสตร กุมารก็อุตสาหะเรียนศิลปศาสตรอยู่ในสำนักพระฤษีได้ ๗ ปี พระฤษีจึ่งเอาเหล็กดีก้อนหนึ่งมาประสิทธิ์เป็นเหล็กกายสิทธิ์ ให้แก่กุมารผู้บุตรรักษาไว้สำหรับป้องกันตัว มิให้มีไพรีทั้งปวงมากระทำร้ายได้ และเหล็กกายสิทธิ์ ก้อนนั้นอาจแก้ซึ่งพิษยาเบื่อเมาให้กลายเป็นดี มีโอชารสหวานดีบริโภคได้แล้วพระฤษีจึงให้กุมารเอาเหล็กกายสิทธ์นั้น กลับมายังสำนักมารดาตายาย ๆ จึ่งให้กุมารนั้นกลับไปหาฤษี ๆ ว่าเราจะไปอยู่ป่าหิมพานต์ แล้ว กุมารก็กราบนมัสการลาพระฤษีกลีบมายังสำนักมารดาตายายแห่ง

๙๑ ตน เล่าความให้มารดาตายายฟังทุกประการ มารดาตายายก็มีความยินดีเป็นอันมาก ครั้นอยู่นานมามารดาตายายถึงแก่กรรมแล้ว กุมาร ก็เที่ยวไปอยู่ในป่าแห่งหนึ่งใกล้พระนครธม บุรุษผู้นั้นทำไร่ข้าวโภช ข้าวฟ่างเลี้ยงชีวิต เวลาวันหนึ่งบุรุษนั้นเอาเหล็กกายสิทธิ์หนุนศีรษะ นอนอยู่ แล้วบุรุษนั้นลุกจากที่นอกออกไปดูแลผลไม้ในไร่ของตนซึ่ง ปลูกไว้ ภายหลังมีกาตัวหนึ่งบินไปกินแตงที่อื่นแล้วบินเข้าไปในที่นอนขึ้นจับอยู่บนก้อนเหล็กกายสิทธิ์ แล้วถ่ายอุจจาระเป็นเมล็ดแตงติดอยู่กับก้อนเหล็กกายสิทธิ์นั้นแล้วก็บินไป ฝ่ายบุรุษนั้นกลับมาเห็นเมล็ดแตงติดอยู่กับก้อนเหล็ก ก็เอาไปปลูกไว้ แตงนั้นก็งอกขึ้นจนมีผล บุรุษนั้น เก็บเอามากินมีโอชารสยิ่งนัก เพราะเหตุนั้นจึ่งได้นามชื่อว่า บุรุษ แตงหวาน ฝ่ายพระมหากษัตริย์พาบริวารไปเที่ยวประพาสเล่นในป่า ไปพบบุรุษแตงหวาน ก็พาบริวารเข้าไปเก็บผลแตงของบุรุษนั้น เสวยมี โอชารสหวานนัก จึ่งตรัสสั่งว่า บุรุษแตงหวานนี้จงอุตสาหะรักษาผลแตงหวานไว้ให้เรา อย่าได้ซื้อขายให้ผู้ใด ถ้าและซื้อขายให้ผู้ใดแล้ว เราจะได้ลงโทษท่านถึงสาหัส แล้วพระมหากษัตริย์องค์นั้นก็พาบริวารกลับไปพระนคร ภายหลังมีบุรุษลี้ยงโคคนหนึ่ง ไปเลี้ยงโคริมไร่ บุรุษแตงหวาน โคนั้นเข้าไปในไร่บุรุษแต่งหวาน ๆ ก็ขับไล่โค โคไม่หนีไป บุรุษแตงหวานมีความโกรธ จึ่งเอาก้อนเหล็กขว้างไปถูกท้องโคทะลุ โคนั้นก็ตาย บุรุษเลี้ยงโคจึ่งต่อว่าแก่บุรุษแตงหวานว่า เหตุใดท่านจึ่ง ฆ่าโคของข้าพเจ้าเสีย บุรุษเลี้ยงโคก็เอาความนั้นมาร้องแก่ตระลาการ ๆ

๙๒ จึ่งให้นายนักการมาจะเอาบุรุษแตงหวานนั้นไป บุรุษแตงหวานก็ว่า ไร่แตงนี้พระมหากษัตริย์สั่งไว้ให้ข้าพเจ้าเฝ้าอยู่มิให้เป็นอันตรายได้ เมื่อจะมาเอาตัวข้าพเจ้าไปแล้ว ก็ให้กราบทูลเสียก่อนข้าพเจ้าจึ่งจะไป เสนามนตรีจึงกลับไปกราบทูลต่อพระมหากษัตริย์ ๆ จึ่งตรัสสั่งขุนนางออกไปเอาตัวบุรุษแตงหวาน ๆ เมื่อมานั้น ก็เอาเหล็กก้อนนั้นไปด้วย ครั้นเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ๆ จึ่งตรัสถามว่า เหตุไรจึ่งฆ่าโคของเขาเสีย บุรุษ แตงหวานจึ่งกราบทูลว่า บุรุษผู้เป็นเจ้าของโคปล่อยโคให้เข้าไปในไร่ทั้งฝูงไปเหยียบแตงซึ่งโปรดให้พิทักษ์รักษาไว้ถวาย กระหม่อมฉันกลัวความ ผิดเหลือสติกำลัง ไล่ไม่ฟังจึ่งเอาก้อนเหล็กทิ้งไปถูกโคตัวหนึ่งตาย แล้วแต่จะโปรด พระมหากษัตริย์จึ่งเรียกเอาก้อนเหล็กของบุรุษแตงหวานนั้นไป สั่งให้ช่างเหล็กตีเป็นหอกมอบให้แก่บุรุษแตงหวาน เอากลับคืนไปยังไร่ สำหรับจะได้เป็นเครื่องสาตราวุธป้องกันโจรผู้ร้ายลักแตง แล้วบุรุษแตงหวานกราบถวายบังคมลากลับมาพิทักษ์รักษาแตงอยู่ที่ไร่ในเพลาวันหนึ่งพระมหากษัตริย์นึกคะนองพระหฤทัย จะใคร่ไปลักแตงของบุรุษนั้นลองดู จึ่งพาอำมาตย์ผู้ร่วมพระหฤทัยไปในเพลาราตรี ไปถึงไร่แตงบุรุษแตงหวานเข้า พระมหาษัตริย์ลอดรั้วไร่ของบุรุษ แตงหวานเข้าไปลักแตงของบุรุษแตงหวาน ๆ ตื่นขึ้นสำคัญว่าโจรลอดรั้ว เขเไปลักของ จึ่งจับได้หอกนั้นพุ่งเข้าไปถูกพระมหากษัตริย์ถึงแก่พิราลัย แล้วชักเอาหอกมาเก็บไว้ไม่ทราบว่าพระมหากษัตริย์ ฝ่ายอำมาตย์คนสนิทซึ่งติดตามเสด็จมา รู้ว่าพระมหากษัตริย์ถึงแก่พิราลัยแล้วก็หนีกลับ


๙๓ ไปถึงพระนครไม่บอกเล่าแก่ผู้ใด ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้า เสนาบดีมนตรี ผู้ใหญ่ผู้น้อยพากันขึ้นเฝ้าก็ไม่เห็นพระมหากษัตริย์เสด็จออก ขุนนางทั้งปวงจึ่งได้ไต่ถามนักสนมชาวใน ๆ ต่างคนต่างว่าไม่รู้ไม่เห็นทั้งสิ้น เสนามนตรีทั้งปวงจึ่งพากันไปเที่ยวหาพระมหากษัตริย์ ถึงไร่บุรุษแตงหวาน จึ่งเห็นพระมหากษัตริย์สิ้นพระชนม์อยู่ในรั้วไร่บุรุษแตงหวานนั้น เสนามน ตรีทั้งปวงจึ่งไปซักถามบุรุษแตงหวาน ๆ ว่าไม่รู้ว่าพระมหากษัตริย์ สำคัญ ว่าโจรจึ่งแทง เสนามนตรีทั้งปวงจึ่งปรึกษากันว่า บุรุษแตงหวานไม่มีโทษ จึ่งอัญเชิญพระศพพระมหากษัตริย์ไปสู่พระนคร ครั้นปลงพระศพเสร็จแล้วจึ่งประชุมเสนาอำมาตย์ราชปโรหิตโหราพฤฒาจารย์ว่า พระมหา กษัตริย์พระองค์นี้ไม่พระราชวงศานุวงศ์ที่จะครองราชสมบัติสืบกษัตริย์ ต่อไปแล้ว พวกเราจงจัดแจงเสี่ยงราชรถไป ถ้าผู้ใดมีบุญญาธิการควร จะครองราชสมบัติ เป็นสมมุติกษัตริย์ปกป้องให้อาณาประชาราษฎร อยู่เย็นเป็นสุขได้ ให้ราชรถตรงไปเกยอยู่ที่ใกล้ผู้นั้นเทอญ ครั้นปรึกษาพร้อมกันแล้วก็ให้ปล่อยราชรถไป ราชรถก็ตรงไปที่บุรุษแตงหวาน อยู่นั้น ฝ่ายเสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิต เห็นบุรุษแตงหวานต้องด้วยลักษณะควรที่จะครองราชสมบัติ เป็นสมมุติกษัตริย์บำรุงราษฏรให้ อยู่เย็นเป็นสุขได้ จึ่งให้ประโคมดุริยางค์ขึ้นพร้อมกัน อัญเชิญบุรุษ แตงหวานขึ้นทรงราชรถกลับเข้าสู่พระนคร ราชาภิเษกเป็นเอกอัครมหากษัตริย์ทรงพระนามพระเจ้าสุริโยพันธุ์ ครอบครองอินทปัตถมหานครและหอกกายสิทธิ์ซึ่งเป็นของพระเจ้าแตงหวานแต่เดิมนั้น ก็ยังปรากฏ


๙๔ อยู่จนทุกวันนี้ กษัตริย์ซึ่งครองราชสมบัติสืบวงศ์พระเจ้าแตงหวาน มาหลายพระองค์ จนถึงพระเจ้าบรมนิพันธบท สิ้นเรื่องราวที่เล่ามา แต่เท่านี้.

จบพงศาวดารเขมร สร้างพระนครวัดพระนครธม









พงศาวดารเขมรอย่างย่อ แต่เดิม เมืองเขมรมีเจ้านายสืบวงศ์มาแต่โบราณ แต่ก่อนเมื่อมีอำนาจก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ เมื่ออำนาจเสื่อมลงเพราะเกิดขบถในเมืองเขมร เองบ้าง เจ้านายวิวาทรบพุ่งกันเองบ้าง เสียทีแก่ไทยบ้าง แก่ญวนบ้างก็น้อยอำนาจลงทุกที ภายหลังก็พึ่งข้างญวนแข็งต่อไทยบ้าง พึ่งข้างไทยแข็งต่อญวนบ้าง อ่อนน้อมทั้งสองฝ่ายบ้าง การยืดยาวยกไว้ จะว่าแต่การที่เป็นไปในพระบรมราชวงศ์กรุงเทพมหานครบัดนี้ ซึ่งตั้งมาแต่ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ (พ.ศ. ๒๓๒๕) มีคฤศตศักราช ๑๗๘๒ ครั้นปีเถาะเบญจศก จุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖)มีคฤศตศักราช ๑๗๘๓ พวกเเขกชะวามะลายูในเมืองเขมร ร่วมคิดกันกับญวนลุกลามขึ้นชิงเอาบ้านเมือง เจ้านายฝ่ายเขมรกับขุนนางต่อสู้มิได้ หนีเข้ามาพึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครนี้ ขอให้พระเจ้าแผ่นดินสยามช่วย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์นี้ ได้แต่งกองทัพออกไปช่วยปราบปรามพวกแขกให้สงบ และพวกญวนให้หนี ไป แล้วให้ขุนนางเขมรผู้ใหญ่ออกไปรักษา และทำนุบำรุงบ้านเมือง อยู่ถึง๑๒ ปี รับการเกณฑ์และเก็บส่วยส่งเหมือนของไทย ไม่ได้ เกี่ยวข้องอันใดกับญวนเลย เพราะครั้งนั้นเมืองญวนก็กำลังเป็นศึกกันอยู่หาอำนาจมิได้ และซึ่งให้แก่ขุนนางไปรักษาอยู่นั้น เพราะเจ้านายฝ่ายเขมรซึ่งหนีเข้ามาพึ่งกรุงเทพมหานครนั้น เป็นแต่เจ้าหญิง ๓ องค์ เจ้าชายองค์หนึ่งชื่อนักพระองค์เอง ชนมายุก็เพียง ๙ ขวบ ๑๐ ขวบ


๙๖ ยังไม่มีอำนาจที่จะรู้รักษาตัว สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงพระกรุณา ทำนุบำรุงไว้จนถึงปีเถาะสับตศก จุลศักราช ๑๑๕๗ ( พ.ศ. ๒๓๓๘ ) มีคฤศตศักราช ๑๗๙๕ นักพระองค์เองพระเจ้าเขมรนั้นมีวัยจำเริญสมควรแล้ว สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงพระกรุณาแต่งตั้งออกไปให้เป็น เจ้าเป็นใหญ่ในเมืองเขมรทั้งสิ้นตามเดิม มีนามสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ยกไว้เป็นของไทยแต่แขวงปัตบองและแขวงเสียมราบ นักพระองค์เองพระนารายณ์รามาธิบดีนั้น ไปเป็นเจ้าเมืองเขมรอยู่ ก็ได้ ถวายบรรณาการแก่กรุงเทพมหานครทุกปี ล่วงมา ๓ ปีก็ถึงแก่พิราลัย ในปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ (พ.ศ. ๒๓๔๐) มีคฤศตศักราช ๑๗๙๗ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามจึงโปรดให้พระยาพระเขมรผู้ใหญ่รักษาเมืองต่อมาอย่างครั้งก่อน ยังหาได้จัดตั้งเจ้าองค์อื่นให้เป็นเจ้าเมืองเขมรไม่ เพราะบุตรเจ้าเมืองเขมรถึงแก่พิราลัยนั้นยังเยาว์อยู่ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามให้ทำนุบำรุงรักษาไว้ในเมืองเขมรนั้นมิให้เป็นอันตราย และให้รักษาบ้านเมืองมิให้วุ่นวาย มาอีก ๙ ปีถึงปีขาล อัฐศกจุลศักราช ๑๑๖๘ ( พ.ศ. ๒๓๔๙ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๐๖ บุตรใหญ่ของเจ้าเมืองเขมรที่ถึงแก่พิราลัยชื่อนักพระองค์จันทร์ มีชนมายุได้ ๑๖ ปีสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามจึ่งได้ทรงตั้งแต่งให้เป็นเจ้าเมืองเขมรสืบต่อมามีนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช นักพระองค์จันทร์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชเจ้าเมืองเขมรองค์ใหม่ก็ได้ถวายบรรณาการแก่กรุงเทพ มหานครมิได้ขาด ครั้นเมื่อสิ้นรัชชกาลที่ ๑ ในกรุงเทพมหานคร และครั้นเมื่อญวนมีอำนาจขึ้น นักพระองค์จันทร์สมเด็จพระอุทัยราชา

๙๗ ธิราชนั้นคิดไปพึ่งอำนาจญวน แต่เจ้าเขมรน้องชาย ๓ องค์คือนักพระองค์สงวน นักพระองค์อิ่ม นักพระองค์ด้วง ไม่เห็นด้วย เกิดวิวาทกันขึ้น ในปีมะแม ตรีศก จุลศัราช ๑๑๗๓ (พ.ศ. ๒๓๕๔ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๑๑ ปี นักพระองค์จันทร์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชเจ้าเมืองเขมรทิ้งเมืองเสียหนีไปหาญวน เจ้าเขมรผู้น้อง ๓ องค์ หนีเข้ามาพึ่งกรุงเทพ มหานคร ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามเป็นที่ ๒ ในพระบรมราชวงศ์นี้ ให้ได้กองทัพออกไปรักษาเมืองเขมร แล้วจะจัดนักพระองค์สงวน เจ้าเขมรผู้น้องนักองค์อิ่มรักษาเมืองต่อไป ครั้งนั้นเจ้าเวียดนาม ถาลวงเจ้าแผ่นดินเมืองญวน แต่งทูตให้มาหาแม่ทัพไทยที่เมืองเขมร และแต่งทูตให้เชิญพระราชสารเข้ามากรุงเทพมหานคร ขอโทษนัก พระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรเก่า และว่านักพระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรหาได้มีความผิดคิดประทุษร้ายแก่กรุงเทพมหานครไม่ เป็นแต่พี่น้องวิวาทกัน ฝ่ายน้องมาฟ้อง ณ กรุงเทพมหานคร มีความตกใจจึ่งหนีไป ขอให้ญวนเป็นที่พึ่ง ญวนจะขอเมืองคืนให้นักพระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรองค์เก่าตามเดิม บรรณาการที่เคยส่งแก่กรุงเทพมหานครอยู่ทุกปี ก็จะให้ส่งอยู่ตามเคย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามก็โปรดตามการที่ญวนขอ เจ้าเขมรผู้น้อง ๓ องค์ก็ตกอยู่ในกรุงเทพมหานคร นัก พระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมร เพราะได้ไปพึ่งญวนได้คืนที่เป็นปกติแล้วแต่นั้นมาก็รับยอมส่งบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ ที่สุด ๓ ปี แต่ส่งกรุงเทพ มหานครนี้เสมอทุกปีตามเดิม ตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ ครั้นปีมะเส็ง เบญจศก จุลศักราช ๑๑๙๕ ( พ.ศ. ๒๓๗๖ )มีคฤศต

๙๘ ศักราช ๑๘๓๓ นักพระองค์จันท์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชเจ้าเมืองเขมร นั้นถึงแก่พิราลัย ไม่มีบุตรชาย มีแต่บุตรหญิง ญวนมาตั้งให้เป็น เจ้าเมืองเขมร แล้วยึดเอาเมืองเขมรเป็นของญวนไปเสียฝ่ายเดียว ญวนแต่งคนไปรักษาเมืองเขมรทุกบ้านทุกเมือง เก็บเอาส่วยสาอากรเป็นของญวนหมดตั้งแต่นั้นมาบรรณาการเมืองเขมรที่เคยส่งแก่กรุงเทพ มหานครทุกปีก็ไม่มีเลย ฝ่ายเจ้าเขมรผู้น้องชาย ๓ องค์ของนักพระองค์จันท์เจ้าเมืองเขมรที่ถึงพิราลัยนั้น นักพระองค์สงวนถึงพิราลัยเสียแต่ก่อน ในกรุงเทพมหานครนี้องค์หนึ่ง ยังเหลืออยู่ ๒ องค์ คือนักพระองค์อิ่ม นักพระองค์ด้วง แต่นักพระองค์อิ่มหนีออกไปเมืองเขมร เมื่อปีจอ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๐๐ ( พ.ศ. ๒๓๘๑ ) ปลายปี มีคฤศตศักราช ๑๘๓๙ ญวนก็โกรธ จับตัวนักพระองค์อิ่มส่งไปเมืองเว้ แล้วก็กวาดครอบครัวอพยพเจ้านายฝ่ายเขมรส่งไปเมืองเว้เสียสิ้น ญวนเข้ารักษาเมืองเอาเอง พวกเขมรโกรธแก่ญวนจึ่งคิดพร้อมกันกำเริบขึ้นจับญวนฆ่าเสียทุกเมือง แล้วก็รบต่อสู้ญวนซึ่งจะมาแก้ไขคืนเอาเมือง แล้วจึงมาขอยอมอยู่ในอำนาจกรุงเทพมหานคร ขอกองทัพกรุงเทพมหานครให้ออกไปช่วยรบญวน แล้วขอนักพระองค์ด้วงน้องนักพระองค์อิ่มซึ่งยังอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น ออกไปเป็นเจ้าเมืองเขมรสืบวงศ์ต่อไป ครั้นปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ ปลายปี(พ. ศ. ๒๓๘๒ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๔๐ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเป็นที่ ๓ ในพระบรมราชวงศ์นี้ จึ่งให้ทรงจัดกองทัพไทยอุดหนุนอุปถัมภ์นักพระองค์ด้วงผู้น้องนักพระองค์ อิ่ม ซึ่งพวกเขมรขอเข้ามานั้น ออกไปพร้อมเขมรทั้งปวงรบกับญวน

๙๙ เป็นสามารถ ครั้งนั้นญวนรู้สึกตัวว่าคิดผิด จึ่งพานักพระองค์อิ่ม ซึ่งคุมตัวไว้เมืองเว้นั้นลงมาตั้งอยู่เมืองโจดก เกลี้ยกล่อมเขมรให้คืน กลับใจไปเข้ากับญวนก็หาสมประสงค์ไม่ นักพระองค์อิ่มอยู่กับญวน ถึงพิราลัยลงเสีย ยังอยู่แต่เจ้าผู้หญิงและเจ้าผู้ชายเล็กน้อย ซึ่งเป็นบุตรหลานเจ้าเขมรที่ถึงพิราลัยนั้น นักพระองค์ด้วงเจ้าเขมรที่ไปกับกองทัพไทยมีอำนาจมากขึ้นเพราะไทยอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามได้จำหน่ายพระราชทรัพย์เกื้อหนุนในการรบนั้นเป็นอันมาก รบกันอยู่ถึง ๕ ปีจนญวนระอาใจในการที่จะรบต่อไป ครั้นปีมะเส็งสับตศก จุลศักราช ๑๒๐๗ (พ.ศ.๒๓๘๘ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๔๕ ญวนจึ่งให้ผู้รับใช้มาหาแม่ทัพไทยและนักพระองค์ด้วงเจ้าเขมรที่อยู่แม่ทัพไทย สัญญาขอเลิกการรบ ญวนกับเขมรจะไป มาค้าขายถึงกัน เจ้านายฝ่ายเขมรและพระยาพระเขมรซึ่งญวนพาตัวไปคุมไว้แต่ก่อนนั้น จะพามาคืนให้ทั้งสิ้น และญวนจะไม่มายึดเอาเมืองเขมรอย่างแต่ก่อน เป็นแต่ขอให้เจ้าเมืองเขมรแต่งทูตคุมเครื่องบรรณาการไปถวายเจ้าเวียดนามในปีที่ ๓ ทุกๆ ๓ปี อย่างครั้งนักพระองค์จันท์ เจ้าเมืองเขมรที่เป็นพี่นักพระองค์ด้วง เจ้าเขมรกับพระยาพระเขมรพร้อมใจกันจะใคร่ยอมตาม จึ่งบอกเข้ามากราบทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ๆ ก็โปรดให้ตามใจนักพระองค์ด้วง พระยาพระเขมร ฝ่ายญวนก็พา พวกเขมรที่ไปคุมไว้นั้นมาส่งคืนให้ผู้ครองเมือง ฝ่ายเขมรก็ส่งเครื่อง บรรณาการไปถวายเจ้าเวียดนาม ในที่สุด ๓ ปีทุกๆ ๓ ปีดังสัญญา แต่ฝ่ายกรุงเทพมหานครนี้ ตั้งแต่นักพระองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมรออกไปในปีกุน

๑๐๐ เอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ ปลายปี (พ.ศ. ๒๓๘๒) มีคฤศตศักราช ๑๘๔๐ ก็ได้แต่งเครื่อบรรณาการเข้ามาส่งแก่กรุงเทพมหานคร อย่างครั้งบิดาและพี่ชายเคยส่งมาแต่ก่อนนั้นทุกปีมิได้ขาด ครั้นปีมะแม นพศก จุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๔๗ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งพระองค์ด้วง เจ้าเขมรองค์นั้น เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในเมืองเขมรมีนามว่า สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี และทรงทำนุบำรุงให้ตั้งบ้านเมืองลงใหม่ คือเมืองอุดงมีชัย นักพระองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร คิดถึงพระเดชพระคุณ จึ่งเพิ่มบรรณาการคือกระวานส่วยให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามก็พระราชทานสิ่งของตอบบรรณาการ และรางวัลผู้คุมบรรณาการเข้ามาณกรุงเทพ ฯ มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แล้วนักพระองค์ด้วง สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี ให้บุตรชายผู้ใหญ่ชื่อนักพระองค์ราชาวดี เข้ามาทำราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อมีเหตุอันใด ๆ หรือจะแต่งทูตไปเมืองญวนเมื่อใด ก็มีใบบอกเข้ามากราบทูลฉลอง ต่อโปรดยอมให้ทำจึ่งทำได้ การเป็นไปดังนี้จนสิ้นรัชชการที่ ๓ ครั้นมาถึงรัชชกาลที่ ๔ การเมืองเขมรกับไทยก็เป็นไปโดยปกติดังก่อน นักพระองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมรองค์นั้น แต่ก่อนอยู่ในกรุงเทพ มหานครถึง ๒๙ ปี ให้คุ้นเคยมากกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามที่ ๔ แต่เดิมมา จึ่งได้บุตรชายที่ ๒ ที่ ๓ ชื่อนักพระองค์ศรีสวัสดิ์ นักพระองค์ วรรถา เข้าทำราชการในกรุงเทพมหานครกับบุตรชายใหญ่ ครั้นปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ (พ.ศ. ๒๔๐๐) มีคฤศต

๑๐๑ ศักราช ๑๘๕๗ นักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี เจ้าเมืองเขมร มีใบบอกเข้ามาว่า ตนมีชนมายุเจริญล่วงมากไปแล้ว ขอพระราชทานให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งนักพระองค์ราชาวดี บุตรผู้ใหญ่เป็นมหาอุปราช นักพระองค์ศรีสวัสดิ์บุตรที่ ๒ เป็นพระ แก้วฟ้า ออกไปช่วยรักษาเมืองเขมร สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามก็ทรงตั้งออกไป ตามซึ่งนักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศรา ธิบดีเจ้าเมืองเขมรขอ ครั้นปีมะเมีย สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๒๐ (พ.ศ.๒๔๐๑)มีคฤศตศักราช ๑๘๕๗ พวกแขกจามและมะลายูเป็นอันมากอยู่ในเมืองเขมร มีความขัดเคืองแก่พระยาพระเขมรผู้ใหญ่ ซึ่งบังคับราชการไม่เป็นที่ชอบใจกำเริบขึ้นต่อสู้เจ้าเมืองเขมร แล้วยกอพยพครอบครัวหนีเข้าไปพึ่งเขตต์แดนญวน นักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีเจ้าเมืองเขมรให้ไปต่อว่าญวน จะเอาครอบครัวคืน ญวนหาให้ไม่ นักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหริรักษรามมหาดิศราธิบดีเจ้าเมืองเขมรขัดเคือง รวบ รวมกองทัพแล้วบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานคร ว่าไมตรีกับยวนขาด เสียแล้ว จะขอเป็นศึกกับญวนต่อไป การที่เขมรว่าจะรบกับญวนนั้น ก็เป็นกำลังเมื่อญวนเป็นศึกอยู่กับฝรั่งเศส เขมรกับญวนได้รบกันบ้างเล็กน้อย กองทัพไทยก็ไม่ได้ช่วยเขมร เพราะในรัชชกาลที่ ๔ นั้น องค์ญวนเจ้าเมืองฮ่าตินก็แต่งคนให้เข้ามาเยี่ยมเยือนกรุงเทพมหานคร เมื่อเรือรบเรือตระเวนฝ่ายไทยออกไปถึงเมืองฮ่าติน ญวนก็ต้อนรับ ก็เมื่อ ไทยได้ฟังเรื่องแขกหนีที่เมืองเขมร ก็ได้ช่วยต่อว่าไปแก่ญวนที่เข้ามา

๑๐๒ ญวนก็รับว่าจะไปว่าแก่องค์ญวนผู้ใหญ่ในเมืองญวน ให้ว่ากล่าวเกลี่ยไกล่ให้ความแล้วแก่กัน การเรื่องนั้นยังหาทันสำเร็จไม่ นักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีเจ้าเมืองเขมรป่วยลง ถึงแก่พิราลัยเมื่อปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๒๒๒ (พ.ศ.๒๔๐๓) มีคฤศตศักราช ๑๘๖๐ สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามมีท้องตราบังคับให้เจ้ามหาอุปราช กับเจ้าพระแก้วฟ้า รักษาทำนุบำรุงแผ่นดินเขมรไปก่อน ต่อการศพนักพระองค์ด้วง สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีเจ้าเมืองเขมรเก่าเสร็จแล้ว จึ่งจะแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเขมรผู้ใหญ่ แล้วมีรับสั่งให้นักพระองค์วรรถา เจ้าเขมรผู้ชายซึ่งเป็นบุตรที่ ๓ ของนักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหิริรักษรามมหาอิศราธิบดี ออกไปช่วยกับพี่ชายทำการศพบิดา นักพระองค์ วรรถาเจ้าเขมรผู้ชายที่ ๓ นั้น ออกไปปรองดีกับเจ้าพี่ชายอยู่ได้ ๕ เดือน พระยาเขมรและราษฏรในเมืองใหญ่ และหัวเมืองไม่ปรองดองกัน ยุเจ้ามหาอุปราชกับเจ้าที่ ๓ ที่ ๔ คือนักพระองค์วรรถา นักพระองค์ ศิริวงศ์ ให้วิวาทรบกันขึ้น นักพระองค์วรรถาและนักพระองค์ศิริวงศ์ หนีมาจากเมืองอุดงมีไชย เข้ามาขอพึ่งในกรุงเทพ ฯ และอยู่ในกรุงเทพ มหานครตามเดิม เจ้ามหาอุปราชก็มีใบบอกฟ้องเข้ามา ความยัง หาทันได้ชำระกันไม่ พวกเขมรหัวเมืองก็กำเริบขึ้น ขัดแข็งต่อเจ้ามหาอุปราช ก่อการกิดเป็นโจรผู้ร้ายรบพุ่งกัน แล้วก็พากันเข้ามาล้อม เมืองอุดงมีไชย เจ้ามหาอุปราชกับพระยาพระเขมรผู้ใหญ่ที่เป็นพวกพ้องทนมิได้ ยกอพยพครอบหนีเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ขอกองทัพไทยให้ออกไปปราบปรามบ้านเมืองให้ราบคาบ เมืองเขมรเป็นจราจลวุ่นวายใน

๑๐๓ ปีระกา ตรีศก ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๓ (พ.ศ. ๒๔๐๔ ) และ ศักราช ๑๒๒๔ ( พ.ศ. ๒๔๐๕ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๖๑ และ ๑๘๖๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามจึ่งได้ทรงแต่งให้กองทัพไทยออกไปปราบปรามและประกาศห้ามราษฏรมิให้ลุกลามต่อไป เมื่อมีช่องแล้วจึ่งโปรดให้ข้าราชการมีชื่อ มีกำลังพาเจ้ามหาอุปราชกลับออกไปส่งที่เมืองอุดง มีชัย และให้อยู่ช่วยปราบปรามผู้ร้ายผู้ผิด ให้สงบเงียบเรียบร้อยลง ได้แล้ว จึ่งได้ทำการศพนักพระองค์ด้วงสมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศรา ธิบดี เจ้าเขมรที่ถึงพิราลัยแล้วนั้น เป็นอันเสร็จในเดือน ๗ ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ (พ. ศ. ๒๔๐๖ ) มีคฤศตศักราช ๑๘๖๓ ครั้นแผ่นดินเมืองเขมรเรียบร้อยราบคาบแล้ว แม่ทัพไทยก็กลับคืนกรุงเทพมหานคร.


จบพงศาวดารเขมรย่อแต่เพียงนี้






ราชพงศาวดารญวน บานแผนก วันศุกร์เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก ( จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ ) พระราชมนตรี ขุนศรีเสนา ขุนราชาวดี แปลเรื่องเมืองตังเกี๋ย อน้ำกก ออกเป็นคำไทยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ

พงศาวดาร ข้าพระพุทธเจ้า องเปดตรึง องเปดจัด ขอพระราชทานให้กราบทูลพระกรุณา ด้วยเรื่องเมืองตังเกี๋ยอน้ำกกนั้น เดิมเจ้ากิมเป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย ครั้นสิ้นบุญเจ้าเมืองกิมแล้ว สืบกษัตริย์ ต่อมาถึงสี่ชั่วพระองค์แล้ว หุงเมืองได้เป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย เข้ากันเป็น ๖ พระองค์ลงมาแล้ว พระเจ้ากรุงจีนให้เลียวทางเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองตังเกี๋ยได้ ฆ่าหุงเมืองพรรคพวกหุงเมืองเสียแล้ว เลียวทางจึ่งเป็น เจ้าเมืองตังกี๋เย และอยู่มาเลเลยญวนอยู่ณบ้านลามเชิญ นิมิตรฝันว่าเลเลยจะได้เป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย เวียนกรายจะได้เป็นมหาอุปราช เทวดาบอกว่า ดวงตรากับพระขรรค์อยู่ที่ห้วยน้ำ ครั้นเพลาเช้า เลเลยออก ไปห้วย ได้ดวงตราพระขรรค์เข้ามา เลเลยกับเวียนกรายหารู้จักกันไม่และฝ่ายเวียนกรายเดินทางจร เพลาค่ำอาศัยนอนศาลเทพารักษ์ จึ่งนิรมิตร



๑๐๕ ฝันว่า เลเลยจะได้เป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย เวียนกรายจะได้เป็นมหาอุปราช ถ้าเวียนกรายจะใคร่พบเลเลย ให้ไปณบ้านลำเซิน ถ้าไม่รู้จักเรือนเพลากลางคืนให้ดู ถ้าเรือนใดมีรัศมีสว่างอยู่เรือนนั้นเป็นเรือนเลเลย ครั้นตื่นขึ้นเพลาเช้า เวียนกรายก็มาจากศาลเทพารักษ์ ถึงบ้านลำเซินพอเพลาค่ำจึ่งเที่ยวดู เห็นเรือนหนึ่งนั้นมีรัศมีสว่างอยู่ เวียนกรายจึ่ง รู้ว่าเป็นเรือนเลเลย เวียนกรายจึ่งเข้าไปหาเลเลย ๆ กับเวียนกราย พบกัน แล้วจึ่งสนทนากันด้วยนิมิตรฝันทั้งสองฝ่าย แล้วเวียนกรายเห็นพระขรรค์ดวงตราที่เรือนเลเลยเป็นแน่อยู่แล้ว เวียนกรายจึ่งว่าแก่เลเลยเราทั้งสองจะได้เป็นเจ้าครองเมืองตังเกี๋ยแล้ว ให้เลเลยอยู่ณบ้านลำเซินนี้เถิด เวียนกรายจะไปเกลี้ยกล่อมผู้คนแว่นแคว้นเมืองตังเกี๋ย ครั้นได้ผู้คนมากแล้ว เวียนกรายกลับมาตั้งให้เลเลยเป็นเจ้า เลเลยกับเวียนกราย จึ่งคุมผู้คนเข้าไปตีเมืองตังเกี๋ย จับเลียวทางได้ฆ่าเสียแล้ว องเลเลย ได้เป็นเจ้าเมือง เวียนกรายเป็นมหาอุปราช ฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนรู้ว่าองเลเลยกับเวียนกรายฆ่าเลียวทางเจ้าเมืองตังเกี๋ยเสีย จึ่งให้กองทัพมาตีเมืองตังเกี๋ย ฝ่ายแม่ทัพจึ่งมีหนังสือเข้าไปถึงเลเลยเวียนกราย ว่าเหตุใดจึ่งฆ่าเลียวทางเสีย และเลเลยเวียนกรายกลัวกองทัพพระเจ้ากรุงจีน เลเลยเวียนกรายจึ่งเอาทองคำทำรูปเลียวทางกับเครื่องบรรณาการ ให้ทูตคุมไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ขอโทษเป็นเมืองขึ้น ๓ ปี จะถวายรูปครั้งหนึ่งสืบไป พระเจ้ากรุงจีนจึ่งมีหนังสือมาถึงแม่ทัพให้ตั้งองเลเลยเป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย แล้วกองทัพกรุงจีนก็กลับไป องเลเลยจึ่งตั้งเวียนกรายเป็นมหาอุปราช ให้ว่าราชการบ้านเมือง

๑๐๖ สิทธิ์ขาดอยู่แก่มหาอุปราช ๆ มีบุตรหญิงชื่อกงจัว ๑ ชายชื่อเจียวหุน ๑ รวม ๒ คน บุตรหญิงนั้นใหญ่แล้วจึ่งยกให้เป็นเมียกลิงเกลียม ซึ่งเป็นเสนาบดีในเมืองตังเกี๋ย มหาอุปราชจึ่งทูลแก่เจ้าเมืองตังเกี๋ยว่าตัวแก่ชราแล้ว ขอให้องกลิงเกลียมบุตรเขยว่าราชการที่อุปราชแทน กว่าเจียนหุนบุตรชายจะใหญ่ขึ้น ถ้าบุตรชายใหญ่กล้าแล้ว ขอให้บุตรชายเป็นมหาอุปราชสืบไป ครั้นองเวียนกรายมหาอุปราชตายแล้ว องกลิง เกลียมบุตรเขยจึ่งได้ว่าราชการมหาอุปราชแทน ครั้นองเจียวหุนใหญ่ขึ้น องกลิงเกลียมคิดจะฆ่าองเจียวหุนเสีย พี่สาวองเจียวหุนรู้ บอกแก่น้องชาย ให้น้องชายทำเป็นบ้าเสีย แล้วพี่สาวองเจียวหุนบอกแก่ผัวว่า น้องชายของเรานี้ดูกิริยาหาเป็นคนดีไม่ เป็นคนบ้า เลี้ยงไว้จะอายหน้า ขับเสียให้ไปตายในป่าอย่าให้เห็นหน้าเลย องกลิงเกลียมคิดว่าจริง จึ่งทูลแก่เจ้าเมืองตังเกี๋ย ให้ขับองเจียวหุนเสียจากบ้านเมือง องกลิมเกลียมจึ่งแต่งเรือแต่งคนให้ คุมเอาตัวองเจียวหุนเข้ามาส่งขึ้น ณ ป่าสูงสิ้นแดนเมืองตังเกี๋ยทาง ๑๕ วัน และคนซึ่งมาส่งองเจียวหุนนั้นก็อยู่ด้วยองเจียวหุนหากลับออกไปไม่ และผู้คนเมืองตังเกี๋ยหนีไปอยู่ด้วยองเจียวหุนเป็น อันมาก จึ่งสร้างป่าสูงขึ้นเป็นเมืองให้ชื่อเมืองเว้ ตั้งให้องเจียวหุนเป็นเจ้าเมืองเว้ ครั้นองกลิงเกลียมพี่เขยรู้ จึ่งแต่งให้องลับเบาคุมกองทัพยกเข้ามาตีเมืองเว้ๆจึ่งยกกองทัพออกรบฆ่าองลับเบาตาย กองทัพทั้งนั้นแตกกลับไป แล้วองเจียวหุนเจ้าเมืองเว้คิดกลัวขึ้น แต่งเครื่องบรรณา การให้คุมออกไปถึงองกลิงเกลียมพี่เขย ขอถวายเมืองเว้ขึ้นแก่เมืองตังเกี๋ยสืบไป และองกลิงเกลียมคิดถึงพี่สาวองเจียนหุนจึ่งงดโทษเสีย

๑๐๗ แล้วองเจียวหุนได้ครองเมืองเว้สืบ ๆ กันมาได้ ๖ ชั่วเจ้าเมืองมาแล้ว อยู่มาองเหียวหูเบื่องขึ้นเป็นเจ้าเมืองเว้แล้ว แข็งเมืองขึ้น มิเอาเครื่องบรร- ณาการไปถวาย องกลิงเกลียมเป็นมหาอุปราชเมืองตังเกี๋ยโกรธ จึ่งให้ยกกองทัพไปตีเมืองเว้เป็นหลายครั้ง ไม่ได้เมืองเว้ มหาอุปราชให้ปันแดนเสีย ทางบกให้ตั้งด่านตำบลโบจัน ทางแม่น้ำให้เอาโซ่ขึงข้ามแม่น้ำส่งยันไม่ให้ไพร่พลเมืองตังเกี๋ยข้ามด่านไปเมืองเว้ได้ ไพล่พลเมืองเว้มิให้ข้ามด่านไปเมืองตังเกี๋ยหลายปีมา องเหียวหูเบืองมีบุตรชื่อ องติกมู ๑องคางเบือง ๑ องเทิงกวาง ๑ องเชียงชุน ๑ องทอง ๑ (รวม ) ๕ คน แล้ว องติกมูมีบุตรชายชื่อ องหวางตน ๑ องคางเบืองมีบุตรชายชื่อ องยาบา ๑ องเชียงสือ ๑ องมัน ๑ (รวม ) ๓ คน แล้วองติกมู องคาง เบืองตายก่อนองเหียวหูเบือง ครั้นองเหียวหูเบืองตาย องกวักภอขุนนางผู้ใหญ่ เป็นพ่อเลี้ยงองเทิงกวางเป็นเจ้าเมืองเว้ เสนาบดีไพร่พลเมืองไม่เต็มใจ ครั้นอยู่มาอ้ายหยากเป็นโจรป่าอยู่แดนเมืองกุยเยิน ตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนจะตีเมืองเว้ให้ได้ จะฆ่าองเทิงกวาง องกัวกเลา เสีย จะยกเมืองเว้ให้หองหวางตนบุตรองติกมูเป็นเจ้าเมืองเว้ อาณาประชาราษฏรเชื่อฟังจึ่งเข้าด้วยอ้ายหยากเป็นอันมาก และอ้ายหยากมีพี่น้องด้วยกัน ชื่ออ้ายหยาก ๑ อ้ายบาย ๑ อ้ายตาม ๑ (รวม ) ๓ คน จึ่งคุมผู้คน ยกไปตีเมืองเว้ อุปราชเมืองตังเกี๋ยรู้ข่าวว่าอ้ายหยากจะยกทัพไปตี เมืองเว้ จึ่งแต่งให้องกวักเลาตีด้านหนึ่ง และองเทิงกวางจึ่งแต่งออกไปรบครั้งหนึ่งแตกเข้ามา และองเทิงกวาง องเชียงชุน องยาบา องเชียง สือ องหมัน (รวม ) ๕ คน ลงเรือหนีมาอยู่เมืองไซ่ง่อน และองหวาง

๑๐๘ ตนบุตรองติกมู อ้ายหยากจับได้เอาไปไว้เมืองกุยเยิน แล้วองหวางตนไม่ไว้ใจจึ่งหนีเข้ามาอยู่เมืองไซ่ง่อน และองทางตกอยู่เมืองเว้ และอง กวักเหลาแม่ทัพตังเกี๋ยจับได้องกวักเหลาจำจอง แล้วกวาดเอาเข้าของไปเมืองตังเกี๋ย แล้วองเทิงกวางคิดอ่านกันจะให้องหวางตนเป็นเจ้าแทนองเทิงกวาง จัดแจงกองทัพจะยกไปตีอ้ายหยาก ยังไม่ทันยกทัพไป อ้าย หยากรู้ จึ่งยกกองทัพมาตีเมืองไซ่ง่อนจับได้องเทิงกวาง องหวางตน ฆ่าเสีย และองเชียงชุนหนีเข้ามาณกรุง มีบุตรชาย องกลัก บุตรหญิง หมูเส แต่องยาบา องมัน หนีอยู่ป่า อ้ายหยากจับได้ฆ่าเสีย และองเชียงสือหนีได้ เกลี้ยกล่อมผู้คนเข้าตีอ้ายหยากคืนเอาเมืองไซ่ง่อนได้ จึ่งเสนาบดียกองเชียงสือเป็นเจ้าเมืองไซ่ง่อน แล้วอ้ายหยากจึ่งยกกองทัพมาตีเมืองไซ่ง่อนแตก องเชียงสือหนีเข้ามาอยู่ณกรุง แล้วอ้ายหยาก เป็นเจ้าเมืองกุยเยิน อ้ายบายน้องกลางชื่อองดิ่งเวืองเจ้าเมืองไซ่ง่อน อ้ายดามน้องสุดท้องชื่ออ้ายลองเยืองเจ้าเมืองเว้ แล้วอ้ายลองเยืองคิดอ่านจะไปตีเอาเมืองตังเกี๋ย จึ่งเขียนชื่อองเชียงสือลงในธง ว่าองเชียง สือจะยกกองทัพไปตีมหาอุปราชณเมืองตังเกี๋ย ขุนนางและอาณาประชาราษฎรยินดีว่าเป็นกองทัพองเชียงสือจึ่งเปิดประตูเมืองรับ อ้ายลองเยืองเข้าเมืองตังเกี๋ยได้ อุปราชหนีมิได้ก็เชือดคอตาย แต่บรรดาพี่น้องลูกหลานมหาอุปราช อ้ายลองเยืองฆ่าเสียแล้ว อ้ายลองเยืองไปเฝ้าเจ้าเมือง ตังเกี๋ย ๆ ยกกงจัวหารบุตรหญิงให้แก่อ้ายลองเยืองหลายวันแล้ว เจ้าเมืองตังเกี๋ยรู้ว่า อ้ายลองเยืองเป็นพวกไก่เซิน ลวงว่าเป็นองเชียงสือ คิดน้อยใจก็รากเลือดตาย และเจียวทง บุตรองกว้างกรี หลาน

๑๐๙ เจ้าเมืองตังเกี๋ย ลองเยืองตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย แล้วลองเยืองจึ่งเก็บเอาสิ่งของปืนใหญ่น้อยมาเมืองเว้ เจียวทงจึ่งไปขอกองทัพเมืองจีน ๆ ยกกองทัพมาช่วย ลองเยืองจึ่งยกกองทัพไปตีกองทัพเมืองจีน แตกไป เจียวทงก็ไปอยู่เมืองจีน แต่บรรดาพรรคพวกพี่น้องเจียวทงหนีออกอยู่ป่า ลองเยืองจึ่งตั้งให้ทวิบุตรหัวปีเป็นเจ้าเมืองตังเกี๋ย ลองเยืองจึ่งกลับมาอยู่เมืองเว้ ลองเยืองป่วยตาย เสนาบดีจึ่งยกอ้ายเกริดบุตรลองเยืองเป็นเจ้าเมืองเว้มาทุกวันนี้.








สารบาญค้นเรื่อง ( ก ) กงจัว ๑๐๖ กะเหรี่ยง ๑๓, ๒๑ กระยาบวด ๕๗ การเล่น ๓๔ กรุงพาล พระเจ้า ๘๐ กิม เจ้า ๑๐๔ กฤษดิยาคม ๕ กิ่ง เรือพระที่นั่ง ๕๕ กลัก อง ๑๐๘ กู นัก ๒๒ กลาหะ เจ้า ๑๗ เกตุเทวบุตร ๗๐ กลาโหม พระยา ๑๗ เกตุมาลา พระเจ้า ๗๔ กลิงเลียม อง ๑๐๖ เกริด อง ๑๐๙ กวย ชาติ ๑๓, ๘๙ แกว ๑๓ กวักเลา อง ๑๐๗ แก้ว พระองค์ ๑ กว้างกรี อง ๑๐๘ แก้วพระเพลิง ๑๓ กุยเยิน เมือง ๑๐๗, แก้วฟ้า สมเด็จพระ ๑๔, ๑๐๘ ๑๖, ๒๒, ๑๐๑ กุเลน เขา ๘๓ โกเมราช ท้าว ๗๐ กะพงสวาย เมือง ๑๒ ไก่เซิน ๑๐๘




๑๑๒ (ข) ขรรค์ทิพย์ พระ ๗๔ เขมรชอง ๑๓ ขอม เมือง ๗๘ เขมร เมือง ๗๘ ขอมดำดิน ๗๙ เขมราชธานี นคร ๗๐, ๗๓

(ค) ครุฑ อัด ๓ เคเห ตา ๘๕ ครุย เสื้อ ๑๘ โคกทลอก ๗๑, ๗๒ คางเบือง อง ๑๐๗ โคแสะ เมือง ๒๖

(ฆ) ฆ้อง ๕๒

(จ) จักรี พระยา ๑๗, จีน ๑๐๔, ๑๐๙ เจ้าพระยา ๘,๓๓ จู นาง ๖๗ จัตุรมุข บัลลังก์ ๕๕ เจ้าพระยา ๒ จันทไฉยา พระตำหนัก ๓๐,๕๗ เจียวทง อง ๑๐๘ จันท์ นักนาง ๒, เจียวหุน ๑๐๖ นักพระองค์ ๙๖ โจดก เมือง ๙ จันทร์ พระ ๕๗


๑๑๓ (ช) ชมพูปาปะกาศ พญานาค ๗๕ เชียงชุน อง ๑๐๗ ชอง ๑๓, ๒๑ เชียงสือ อง ๑๐๗, ๑๐๘ ชะลอม ๗๗ ไชยเชษฐา สมเด็จพระ ๒,๓,ช้างสำคัญ ๔๘ ๑๔, ๑๙, ๔๘ ชาติกษัตรี สมเด็จพระ ๓ ๕๓, ๕๗, ๖๕ เชฐ เจ้าพระยา ๑๗ ๖๗ เชิงไพร เมือง ๑๑, ๒๓ ไชยโยธา พระ ๑๖

(ซ) ไซ่ง่อน เมือง ๒๐,๑๐๗,๑๐๘

(ญ) ญวน ๖๗, ๙๗ ญา นัก ๒


(ณ) ณู เจ้าพระยา ๒, นัก ๑๒,๑๓

(ด) ด้วง นักพระองค์ ๙๗,๙๘ ดอนพระศรี ๘๔,วัด๘๗


๑๑๔ ดำดิน ๗๘ เดโชนุวงศ์ เจ้าพระยา ๑๙ ดิ่งเวือก อง ๑๐๘

(ต) ตบูงขมุม เมือง ๑๔, ๑๘ ตาม อง ๑๐๗ ตราทองสัมฤทธิ์ ๑๙ ตังเกี๋ย เมือง ๖๗,๑๐๔ ตรุ ๖๕ ติกปัญโญ ภิกษุ ๕ ตลวด ๑๐ ติกมู อง ๑๐๗ ตลุง เมือง ๗๗ เตลิง เมือง ๒๓ ตะคร้อ เมือง ๙ (ถ) เถลิงศก ๔๙

(ท) ทมอคูน เมือง ๑๒,๒๖ อง ๑๐๗ ทลอก ต้น ๗๗ ทะรัง เมือง ๒๑ ทวาทศมาศ พระราชพิธี๔๗,๖๕ เทพกษัตรีย์ พระ ๖๕ ทวาย พระ ๔๙ เทพกษัตรี สมเด็จพระ ๒ ทอง หม่อม ๔๘, เทพนาจารย์ พระ ๑๗


๑๑๕ เทพวดี นาง ๗๐ ไทย ๕๓, ๗๘, ๘๐ เทิงกวาง อง ๑๐๗ ไท นักนาง ๒

(ธ) ธรรมเขต พระ ๑๖ ธรรมโศกราช พระ ๑๗ ธรรมราช พระมหาราชครู ๑๗ ธรรมเดโช พระยา ๒๐

(น) นครธม ๗๗,๗๙,๘๓,๙๑ พระยา ๑๔, นครวัด ๗๗ นัก ๑๒นครสวรรค์ เมือง ๒๗ นะแกตะ แขก ๒๑ นเรศรเป็นเจ้า สมเด็จพระ ๕, นาค ๗๕, ๘๐ ๕๓,๖๕ นารายณ์รามาธิบดี สมเด็จพระ ๙๖นอน เจ้าพระยา ๒, นู นัก ๔๘

(บ) บรมกษัตรี สมเด็จพระ ๒ บรมราชา สมเด็จพระ ๒, บรมกษัตรี พระ ๑๓ ๑๒, ๑๔ บรมนาจารย์ พระ ๑๗ บริบูรณ์ เมือง ๙, ๒๗บรมนิพันธบท พระเจ้า ๙๔ บริวาสกรรม ๕๘


๑๑๖ บวชนาค ๕๑ บาย อง ๑๐๗ บาชัยบาวา เมือง ๒๔ บุรุษแตงหวาน ๙๑ บานนต์ เขาพระ ๗ บุศยาภิเษก ๕๙ บาพนม เมือง ๒๐ โบจัน ตำบล ๑๐๗

(ป) ปทุมสุริยวงศ์ พระเจ้า ๗๔ ปัตบอง แขวง ๙๖ ประสิทธิ์ เขา ๘๖ เปดจัด อง ๑๐๔ ปโรหิต ๑๗ เปดตรึง อง ๑๐๔ ปักษีจำกรง พระเจ้า ๘๗

(ผ) เผือก ช้าง ๗๓

(ฝ) ฝรั่ง ๑๑

(พ) พนมเพ็ญ นคร ๒๑, ๘๗, พรหม นาย ๘๔ แม่น้ำ ๘๖ พระตะพัง เมือง ๒๓



๑๑๗ พระบาทชันชุม เมือง ๗๑ พุทธรูป ๔๗, ๕๓ พระเสด็จ เจ้าพระยา ๓๓ พุทธวงศ์ พระ ๑๖, ๒๘พระยา ๔ แพง นักนาง ๒ พลเทพ พระยา ๖๗ โพธิศาลราช เจ้าพระยา ๑๗ พัตบอง เมือง ๗ โพธิสัตว์ เมือง ๙ , ๒๗ พิจิตร เมือง ๗๘ ไพรกระบาศ เมือง ๑๕พิมานอากาศ กลาศฤงคาร ๓๐,๖๔ ไพรปวน ป่า ๘๖ พิษณุโลก พระยา ๒๑ ไพรแวง เมือง ๑๙พุทธโฆษาจารย์ พระ ๗๗

(ฟ) ฟ้าทะละหะ ๘๗

(ภ) ภัควดี สมเด็จพระ ๒, ๖๖

(ม) มงกุฎพิมาน กลากำนัล ๓๐,๔๕ มหากันดาร บึง ๒๐ มล นักนาง ๒ มหาไชย เจ้าพระยา ๔๗ มหรศพ ๓๔ มหาเทพ พระ ๓๓ มหากษัตรี สมเด็จพระ ๒ มหาธาตุ พระ ๑๗

๑๑๘ มหาพรหม พระ ๑๗ มัน อง ๑๐๘ มหามนตรี พระ ๑๑,๑๗, ๓๓ มินทร พระมหาราชครู ๑๗ มหาอุปราช พระ ๕๓, ๖๕ มุบกำพูล บ้าน ๘๘ มะกรูด ๖๔ แม่มด ๖๔ มังคลาภิเษก กลาพระบรรทม ๓๐, ๕๑

(ย) ยมราช พระยา ๑๗ โยม เจ้าพระยา ๒ ยาบา อง ๑๐๗ ๑๔, พระยา ๑๖

(ร) ร่วง พระ ๗๗, ๗๙ ราชาวดี ขุน ๑๐๔ราชนิกุล ๑๗ ราชาวดี นักพระองค์ ๑๐๐ ราชสาร พระ ๖๖ ราชาภิเษก ๓๔, ๕๙ ราชโองการ สมเด็จพระ ๑ รามธิบดี พระเจ้า ๑๙,๒๓,๒๖ ราชมนตรี พระ ๑๐๔ รามาธิบดี พระ ๑๑



๑๑๙ (ล) ลวิศปรัด ฝรั่ง ๑๑ ลามเชิญ บ้าน ๑๐๔ ลองเยือง อง ๑๐๘ ลักษมานา ๑๓ ลอยกะทง ๕๖, ๕๘ ลับเบา อง ๑๐๖ ละว้า ๑๓, ๒๑ ลิ้นจี่ เขา ๘๓ ละแวก เมือง ๑,๙,๒๗ ลูกหลวงเอก เจ้า ๔ ละโว้ เมือง ๗๗ เลเลย ๑๐๔ ล้านช้าง เมือง ๑๑ เลียวทาง ๑๐๔

(ว) วรรถา นักพระองค์ ๑๐๒ เว้ เมือง ๑๐๖,๑๐๙ วิวาหมังคลา ๓๔ เวียดนาม เจ้า ๙๗ วินัศอรุ่ม ฝรั่ง ๑๒ เวียดนามก๋ก วิสุทธกษัตรี พระ ๒ ตังเกี๋ย ๖๖ วิหารสวรรค์ วัด ๘๗ เวียนกราย ๑๐๔

(ศ) ศรีไชยเชษฐ์ สมเด็จพระ ๓ ศรีสัตรัตนาคนาหุต กรุง ๖๖ ศรีไชยเชษฐา พระ ๒๒ ศรีสวัสดิ์ นักพระองค์ ๑๐๑ ศรีสรรเพชญ์ พระ ๓๑ ศรีสุนทร เมือง ๑๐,


๑๒๐ ๑๑, ๑๒, ๑๙ ศรีเสนา ขุน ๑๐๔ ศรีสุริโยพรรณ สมเด็จพระ ๑, ศรีอยุธยา กรุง ๖๖ ๑๐,๑๕ ศิริวงศ์ นักพระองค์ ๑๐๒

(ส) ส่งยัน ๑๐๗ สำบกสำบูรณ์ ๒๑ สงวน นักพระองค์ ๙๗ สิงห์อัด ๓ สตงฉทึงตรอง เมือง ๒๖ สีสอเมอ เมือง ๘๗ ส้มป่อย ๖๔ สุก หม่อม ๒๒ สยามภาษา ๑ สุโขทัย พระเจ้า ๗๙, สระเกษ ๑๘, เกาะ ๑๖, เมือง ๗๗ ๒๗ สุคนธบาท พระ ๑๗ สระแก้ว ๑๑ สุคนธ์ สมเด็จพระ ๑๖ สระพระเกษา ๖๔ สุพรรณบัตร ๔๓ สังฆราช ๑๖ สุรปัญโญ ภิกษุ ๕ สันทุก เมือง ๒๖ สุริโยพันธุ์ พระเจ้า ๙๓ สาบ ทะเล ๗๖ เสาประโคนสิลา เมือง ๑๒ สาราบรรจง ขุน ๑ เสียบราบ เมือง ๗๙, ๙๖ สำคัญ ช้าง ๔๘


๑๒๑ (ห) หมูเส ๑๐๘ หวางตน อง ๑๐๗ หยาก อง ๑๐๗ หุงเมือง ๑๐๔ หริรักษ์ สมเด็จพระ ๑๐๐ เหียวหูเบื่อง อง ๑๐๗

(อ) อติเรกวิสุทธ์ กลาพระที่นั่ง ๓๐, อี นัก ๙ ๓๕, ๕๑ อิ่ม นักพระองค์ ๗๒ อรชุน เจ้าพระยา ๑๘ อุดงมีชัย เมือง๑๐๑,๑๐๒ อภัยทศ สมเด็จพระ ๑๗ อุทัยราชา สมเด็จพระ ๓, อยุธยา กรุง ๖๕ ๖๕, ๙๖ อ่างน้ำ ๗ อุปยูรราช ๑๗ อาลักษณ์ เจ้าพระยา ๓๓ อุปยูรราชาภิเษก ๖๗ อัฏฐารส พระ ๓ อุประยุรราช ๑ อินทคุรุปการ พระ ๑๗ อุประยูรราช ๑๓ อินทปัตถ เมือง ๖๖, ๗๔, อุภาษนารี กลาสำอาง ๓๐ ๘๐, ๙๓ เอกกษัตรี สมเด็จพระ ๕ เอง นักพระองค์ ๙๓

(ฮ) ฮ่าติน เมือง ๑๐๑


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก