ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๔

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๔ เรื่อง กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเสด็จไปจัดราชการ

ณ หัวเมืองลาวพวนพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมนวม ทองใหญ่ ท.จ. ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๐๒ คำนำ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมนวม ทองใหญ่ ท.จ. ในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมกำหนดงานในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๐๒ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ม.จ. ทองประทาศรี ทองใหญ่ ผู้เป็นเจ้าภาพได้ทรงแจ้งความประสงค์แก่เจ้าหน้าที่แผนกค้นคว้า กอง วรรณคดีและปรัวิตศาสตร์กรมศิลปากร ว่ามีพระประสงค์จะจัด พิมพ์หนังสือแจกเป็นอนุสรณ์ในงานนี้ ขอให้เป็นเรื่องความรู้ที่เกี่ยว ข้องกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เจ้าหน้าที่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ต้นฉบับเอกสารเกี่ยวกับการที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เมื่อยังเป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมได้รับพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงไปจัดราชการ ที่หัวเมืองลาวพวน ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๓๔ นั้น ยังไม่เคยจัดพิมพ์เลยเอกสารเหล่านี้เก็บรักษาไว้ ณ กองจดหมายเหตุแห่งชาติสมควรจะ จัดพิมพ์เผยแพร่ เพราะเป็นเอกสารซึ่งจะเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้สนใจ ในเรื่องของประเทศไทยเกี่ยวกับวิวัฒนาการในการปกครองและเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ของหัวเมืองในภาคนั้น นอกจากนั้นเอกสารเหล่านี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองเมื่อก่อน ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งเป็นเหตุให้ไทยเราต้องเสียดินแดนบางส่วนไปด้วย เจ้าหน้าที่จึงได้ ถวายคำแนะนำให้จัดพิมพ์เรื่องนี้ ซึ่งหม่อมเจ้าทองประทาศรีก็ทรงเห็นชอบด้วย เอกสารนี้นับว่าเป็นเรื่องที่เนื่องด้วยพงศาวดารของไทย


ข เราส่วนหนึ่ง ฉะนั้นจึงเห็นควรรวมไว้ในชุดประชุมพงศาวดารซึ่งได้ เคยจัดพิมพ์มาแล้วรวม ๗๓ ภาคภาคนี้จึงจัดเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๔ กรมศิลปากรขออนุโมทนาในพระกุศลราศีทักษิณานุปทาน ซึ่ง ม.จ. ทองประทาศรี ทองใหญ่และบรรดาพระญาติได้บำเพ็ญอุทิศ แด่ หม่อมนวม ทองใหญ่ ผู้เป็นมารดา และได้ทรงจัดพิมพ์หนังสืออันมีสารประโยชน์นี้แจกเป็นวิทยาทาน ขออำนาจกุศลปณิธาน ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ หม่อมนวม ทองใหญ่ผู้ล่วงลับได้ประสบอิฐคุณมนุญผลตามควรแก่คติวิสัยในสัมปรายภพ เทอญ.

กรมศิลปากร. ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๐๒







ชาตะ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๑๔ มตะ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๒

ประวัติ หม่อมนวม ทองใหญ่ ท.จ. ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม


ต้นสกุลของหม่อมนวม ทองใหญ่ สืบเนื่องมาแต่ พระยามณเฑียรบาล (เมือง) ในรัชกาลที่ ๒ ท่านบิดาของหม่อมนวม ทองใหญ่ คือ หลวงประจักษ์ศิลปาคม (เปลี่ยน) เป็นบุตรของ หลวงปรานีประชาชน (แมลงทับ) ซึ่งเป็นหลานของพระยามณเฑียรบาล (เมือง) หลวงประจักษ์ศิลปาคมได้สมรสกับท่านหนูเสน บุตรี ขุนทิพภักดี (จีน) และเกิดบุตรี คือ หม่อมนวม ทองใหญ่ เมื่อ อยู่ในวัยเด็กก็เป็นที่รักของบิดามารดามาก ครั้นเมื่อมีอายุโตขึ้นบิดามารดาจึงถวายเป็นหม่อมห้ามในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในขณะนั้นเป็นสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคมเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก เมื่อใดที่เสด็จในกรม เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท หม่อมนวม ทองใหญ่ ก็ได้ตามเสด็จ เข้าเฝ้าด้วย และก็ที่เป็นที่ทรงโปรดปราน ต่อมา เมื่อได้ทรงสร้าง เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในขึ้น จึงได้ทรงพระกรุณา


- ๒ - พระาชทานแก่หม่อมนวม ทองใหญ่ คือ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๓๙ และต่อมาได้โปรดเกล้าพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ และเข็มครุฑ นอกจากนี้ยังได้พระราชทาน พระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินประพาสทรงพระสำราญพระราชอิริยาบถที่บ้านหม่อมนวม ณ สวนตำบลบางจากบนถึงสามครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่หม่อมนวม และบรรดาญาติพี่น้องเป็นอันมาก ในปี ร.ศ. ๑๑๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการในมณฑลอุดร หม่อมนวม ทองใหญ่ ก็ได้ตามเสด็จ และได้ช่วยกิจการงานตามสติกำลัง หม่อมนวม ทองใหญ่ เป็นผู้ที่กอร์ปไปด้วยศีลธรรม มีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อโอรส ธิดา ของเสด็จในกรมทุกองค์ แม้ว่าจะเป็นโอรสธิดาของหม่อมอื่น ๆ ก็ตามด้วยความเป็นผู้มีน้ำใจเผื่อแผ่เช่นนี้ จึงเป็นที่รักใคร่ของโอรสธิดาของเสด็จในกรมไม่เสื่อมคลาย ประจักษ์พยานอันนี้จะเห็นได้จากลาย พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานไว้ในพระบรมฉายาลักษณ์ว่า "รูปถ่าย ประจำปีรัตนโกสินทรศก๔๑ ๑๒๗ ให้หม่อมนวมในกรมหลวงประจักษ์ทายิกา จุฬาลงกรณ์ ปร." ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีน้ำใจดีไม่มี รังเกียจเดียดฉันท์ใด ๆ น้ำใจเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญกุศล



-๓- หม่อมนวม ทองใหญ่ มีโอรสและธิดา ๙ องค์ ด้วยกัน คือ ๑.ม.จ. หญิงพันธุ์สิหิงค์ ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้า ทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม (สิ้นชีพตักษัย) ๒.ม.จ. หญิงนารถนพคุณ ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้า พันธุคำนพคุณ ทองแถม (สิ้นชีพตักษัย) ๓. ม.จ. ไสลทอง ทองใหญ่ ๔. ม.จ. หญิงลำทองแร่ ทองใหญ่ ๕. ม.จ. หญิงแพร่ทองทราบ ทองใหญ่ (สิ้นชีพตักษัย) ๖. ม.จ. หญิงสลักทองนูน คเณจร ทรงเสกสมรสกับ ร.อ. หลวงคัคณจรเสนีย์ ๗. ม.จ. ทองทูลถวาย ทองใหญ่ ๘. ม.จ. ทองประทาศรี ทองใหญ่ ๙. ม.จ. ทองคำเปลว ทองใหญ่ ตลอดชนมายุของหม่อมนวม ทองใหญ่ ได้ประกอบแต่การบุญกุศล และไม่ค่อยจะเจ็บไข้มากมายแต่ประการใด มีอายุยืนมาได้ถึง ๘๔ ปี ก็ยังแข็งแรงเป็นปกติ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๐๒.๒๘ น. ก็ได้ถึงแก่กรรมโดยสงบ.




(รับวันที่ ๑๒ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่ ห้องเวรชาววัง วันที่ ๒๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยได้รับลายพระราชหัตถเลขา ร. ที่ ๖๗/๑๑๐ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ว่าด้วยราชการ เมืองพวกนั้น ได้ทราบเกล้า ฯ ทุกประการแล้ว ซึ่งจะโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองลาวฝ่ายเหนือนั้น ข้าพระ-พุทธเจ้ามีความยินดีที่จะฉลองพระเดชพระคุณเป็นอย่างยิ่ง แต่การที่จะขึ้นไปครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน ที่จะไปเร็วตามกระแสพระราชดำริ นั้นเป็นการขัดข้องอยู่หลายประการ เพราะครั้งก่อนเมื่อจะขึ้นไปได้มีกำหนดกลับ ครั้งนี้เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า ที่จะขึ้นไปนั้นห้าปีได้กลับเป็นอย่างเร็ว ความประสงค์ของข้าพระพุทธเจ้าถ้าได้ขึ้นไปแล้วจะกลับด้วยทางรถไปให้ได้ เว้นไว้แต่จะต้องหามหีบศพลงมาฤๅเผาเสียก่อนที่หนองคายจะเอากระดูกลงมา นั่นแลจึงจะเป็นการได้กลับก่อนรถไฟ สต๊าป(๑) ที่จะไปด้วยก็ได้พร้อมใจกันลงเนื้อเห็นอย่างนี้หมดแล้ว ถ้าจะโปรดเกล้า ฯ ให้ไปเร็วเพียงปีหนึ่งสองปีก็ไม่มีประโยชน์แก่ราชการ อันใด เพราะการที่จะไปช้านี้เป็นเหตุที่จะต้องขอรับพระราชทานเวลาให้ไปได้โดยสะดวก ตั้งแต่ตัวข้าพระพุทธเจ้าลงไปจนตลอดสต๊าปและ (๑) Staff คณะที่ทำงานร่วมกัน



๒ ไพร่พล การที่กำหนดอย่างช้าเวลาที่จะออกจากกรุงเทพ ฯ ในปลายเดือนกรกฎาคม ฤๅต้นเดือนสิงหาคม จึงจะกราบถวายบังคมลาจากกรุงเทพ ฯ ได้ ถ้าจะไปในเวลานี้ไพร่พลก็คงจะบอบช้ำด้วยไข้เจ็บ เป็นอันมาก ด้วยไข้เจ็บข้างบนนั้นมีในฤดูแรกฝนลง ฤๅปลายฝนเมื่อเวลาจะหยุด เพราะฉะนั้นจึงต้องไปในเวลาฝนลงมากแล้วจึงจะดีและการครั้งนี้ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าได้สนทนากับกรมหลวงเทวะวงษ์ เข้า ใจว่าเป็นการสำคัญกว่าแต่ก่อน เพราะต้องมีความรับผิดรับชอบในตัวมาก สติปัญญาความคิดของข้าพระพุทธเจ้าเพียงไรได้ฉลองพระเดชพระคุณมาตั้งแต่อายุข้าพระพุทธเจ้าได้ ๑๐ ปี ๑๑ ปี มาจนบัดนี้ก็ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอยู่แล้ว ขึ้นไปครั้งนี้ตั้งใจจะฉลองพระเดชพระคุณให้เต็มสติปัญญาและความคิดชีวิตร่างกายก็ไม่เสียดายอันหนึ่งอันใดเลย แต่ขอรับพระราชทานความคล่องใจซึ่งเป็นรากเง่าของการที่จะให้สำเร็จไปได้ อย่าให้มีผู้หนึ่งผู้ใดมาอินตเฟีย (๑) ในการที่ข้าพระพุทธเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณในครั้งนี้ เมื่อราชการที่ข้าพระ พุทธเจ้าแบ่งหน้าที่ไปครั้งนี้เสียลงด้วยประการหนึ่งประการใด ก็สุดแล้วแต่พระราชอาญามีริบราชบาทประหารชีวิตเป็นที่สุด ถ้าได้ราชการขอรับพระราชทานพอเสมอตัวเท่านั้น ไม่ได้มักใหญ่ใฝ่สูงอันใด แต่ในเวลานี้กรมหลวงเทวะวงษ์ ฯ ก็ไม่ได้ อยู่ในกรุงเทพ ฯ ยังไม่ได้ ปรึกษาหารือกันตามกระแสพระราชดำริ เมื่อได้พบกรมหลวงเทวะ- วงษ์ฯ ได้ปรึกษาหารือกันตกลงแล้ว จึงจะกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทครั้งหลัง (๑) interfere ขัดขวาง ๓ อนึ่ง เงินที่จะใช้สอยในราชการจะต้องมีไปบ้าง เพราะเมืองหนองคายไม่มีภาษีอากรสิ่งใดเหมือนเมืองนครราชสีมา มีแต่เงินส่วย อยู่ปีละ ๒๕ ชั่งเศษ และสารพัดจะกันดารต่าง ๆ จนกระทั่งน้ำมัน ปิตโตรเลียมก็ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเงินสำหรับจ่ายราชการบ้าง แต่คิดดูอย่างหยาบ ๆ ไม่เกินปีละ ๓๐๐ ชั่ง จึงจะให้ราษฎรมีความสุข คือไม่ต้องกะเกณฑ์เป็นต้น เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้พบกับกรมหลวง เทวะวงษ์ ฯ เมื่อใดจะได้ชี้แจงปรึกษากันให้ตกลง ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม x x x (รับวันที่ ๑๒ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่ ห้องเวรชาววัง วันที่ ๒๙ พฤษภาคม๒๔ ร.ศ. ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท กำหนดที่ข้าพระพุทธเจ้าจะได้กราบถวายบังคมลาไปรักษารรชการหัวเมือลาวฝ่ายเหนือวันที่ ๑๓ สิงหา- คม รัตนโกสินทรศก๒๔๑๑๐ ขอรับพระราชทานให้มหาดไทยมีท้องตราไปถึงหัวเมืองรายทางให้ซ่อมแซมที่พักตามระยะทาง อนึ่ง เมื่อข้า พระพุทธเจ้าขึ้นไปราชการทัพครั้งก่อนและกลับลงมาข้าพระพุทธเจ้า ได้สั่งกรมการไว้ว่าที่พักเหล่านี้ขอให้กรมการอยู่ฤๅซ่อมแซมให้คนไป มาอาศัยเขาก็รับเออรับคะแล้ว แต่การจะเป็นไปได้ฤๅไม่เป็นเป็นไปได้นั้น ๔ เหลือนิสัยที่ข้าพระพุทธเจ้าจะทราบเกล้า ฯ ได้ กับข้าพระพุทธเจ้าอยากจะขอรับพระราชทานให้จมื่นเสนีนิเวศรักษ์ที่กะไว้ว่าเป็นผู้ช่วย ข้าหลวงให้ล่วงหน้าขึ้นไปก่อนจะได้ไปจัดที่พัก ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า (ลงพระนาม) ประจักษ์ x x x

(สำเนา) ร,ที่ ๑๓๖/๑๑๐ ว ๕ เกาะสีชัง ประพาศ ที่ ๑๒๐/๑๑๐ วันที่ ๑๒ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยมีหนังสือ ตอบ ร. ที่ เรื่องจะขึ้นไปราชการเมืองหนองคาย ที่ ขอให้สั่งกรมมหาดไทยจัดที่พักตามระยะทางนั้นได้ทราบแล้ว การที่ข้าหลวงไปทอดเดียวถึง ๕ ปี เห็นว่าสู้ ๒ ปี ๓ ปี ให้กลับมาทีหนึ่งไม่ได้ เพราะห่างเหินงุ่มง่ามไป ควรคิดให้มีเวลากลับมาเรียน โปลิซีในราชการเป็นคราว ๆ ได้ดีกว่า สำคัญที่ต้องวางการให้ลง แบบลงทางเสียแล้วก็พอหาเวลาว่างได้ ซึ่งขอให้สั่งกรมมหาดไทยให้ จัดที่พักนั้นได้สั่งแล้ว (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์


๕ (สำเนา) ร. ที่ บ.ท. ๑๙ เกาะสีชัง ประพาศ ที่ วันที่ ๑๒ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ถึงเจ้าพระยารัตนบดินทร ด้วยครั้งนี้คิดจะให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ขึ้นไปราชการเมืองหนองคาย กำหนดจะได้ออกจาก กรุงเทพ ฯ ในวันที่ ๑๓ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ แต่ที่พักนั้นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแจ้งว่า เมื่อกลับลงมาคราวก่อน ได้สั่งให้กรมการอยู่ซ่อมแซม แต่บัดนี้จะเป็นอย่างไรไม่ทราบ ให้ท่านมีตรา ถึงผู้ว่าราชการเมืองรายทางให้จัดที่พักให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ไปตามระยะทาง (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์ x x x (รับวันที่ ๒๖ มิถุนายน รัตนโกสินทร ๒๔ ๑๑๐ ) ที่ ห้องเวรชาววัง วันที่ ๒๔ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ ๒๔ ๑๑๐ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ งบประมาณที่จะไปจัดการเมืองลาวพวน ข้าพระพุทธเจ้าได้นำขึ้นหาฤๅพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ ตามกระแสพระบรมราชโองการแล้ว กรมหลวงเทวะวงษ์ ฯ ทรงเห็นชอบ



๖ ด้วยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ส่งมาขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวายแต่เงินเดือนที่จะโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแก่ข้าพระพุทธเจ้านั้นยังหาได้ลงมาไม่ จะโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเพียงเท่าใด แล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม




















๑๐



๑๑



๑๒






๑๓



๑๓



๑๔







๑๕



๑๖




๑๗




๑๘








๑๙ (สำเนา) ร. ที่ ต.ป. ๘๒ เกาะสีชัง ประพาศ ร. ที่ วันที่ ๒๖ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ถึงกรมหลวงเมวะวงษ์วโรประการ ด้วยกรมหมื่นประจักษ์ ศิลปาคมมีหนังสือส่งงบประมาณข้าหลวงเมืองลาวพวน ฉันได้ ตรวจดูในงบประมาณ มีความสงสัยว่าข้าหลวงใหม่ ข้าหลวงเก่าจะ แยกกันเช่นนี้เป็นนิรันดร์ฤาจะรวมกันเป็นกองหนึ่ง ถ้ารวมกันพระยา สุริยเดชจะเป็นข้าหลวงที่อะไรฤาจะไปไว้แห่งใด ในรายงานที่ประชุม ก็หาได้มีคำปรึกษาการละเอียดลงไปจนเช่นนี้ไม่ กรมประจักษ์อ้างว่า ได้ให้เธอดูเห็นชอบด้วยแล้วนั้น ความเข้าใจกันประการใดยังไม่ทราบเพราะการที่ตกลงนี้จะเป็นแบบข้าหลวงเมืองอื่นต่อไป ขอให้เธอชี้แจง ให้เข้าใจแล้วจะได้สั่งอนุญาตไป. (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์ x x x (รับวันที่ ๓ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่ ๘๑/๔๕๗๒ ศาลาว่าการต่างประเทศ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ร.ศ. ๒๔๑๑๐ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ เมื่อคืนวานนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชหัตถ เลขา ป.ร. ที่ ลงวันที่ ๒๖ มีพระกระแสให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบ

๒๐ บังคมทูลชี้แจงเรื่องงบประมาณการเงินใช้ในข้าหลวงเมืองลาวพวน นั้น พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ฯ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า ข้าหลวงเก่าใหม่ในแขวง นี้จะต้องรวมกัน แต่ที่ยกไว้ในงบประมาณเงินนั้น เพื่อจะให้ทราบ ชัดว่าเป็นเงินที่ได้มีในงบประมาณปีนี้แล้วเท่าไร แลที่จะต้องเติมใหม่อีก เท่าไร รวมทั้งเก่าใหม่จึงเป็นเงินใช้แขวงนี้เท่านั้น พระยาสุริยเดชนั้น กรมประจักษ์คิดจะให้ลงมาตั้งรับบาดหลวงอยู่นครพนม ฤาสกลนคร ก็เป็นการดีมาก และเงินเดือนกรมประจักษ์นั้นเห็นด้วยเกล้าฯว่าควรจะได้อย่างสูงมากๆ เพราะไปลำบากกว่ากรุงเทพฯยิ่งนัก. ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ ขอเดชะ. x x x (สำเนา) ร. ที่ ม.ท. ๓๕ เกาะสีชัง ประพาศ ร.ที่ วันที่ ๓๐ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ถึงเจ้าพระยารัตนบดินทรด้วยการที่จะให้กรมหมื่นประจักษ์ ศิลปาคมไปเป็นข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวพวนครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้ เงินเดือนเบี้ยงเลี้ยงค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จมากขึ้นอีกตามสมควร บัดนี้ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทำงบประมาณจำนวนปี ๑๑๐ รวมทั้งรายข้าหลวงใหม่แลข้าหลวงรายเก่าซึ่งกะไว้แล้วแต่เดิมนั้น ได้ตรวจดูแล้วว่าจะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นอีก ๔๖๐ ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐส่วนข้าหลวง เก่าซึ่งตั้งงบประมาณไว้แล้ว เป็นเงิน ๒๒๕ ชั่ง ๒๓ บาท ๔๘ อัฐ รวม ๒๑ ด้วยกันเป็นเงิน ๖๘๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๑๖ อัฐแลเงินเดือนกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเองเธอยังไม่ได้ตั้งมาในงบประมาณที่เธอส่งมานั้น เห็นสมควรจะให้ปีละ ๒๔๐ ชั่ง เพราะฉะนั้นรวมเป็นเงินที่เพิ่มใหม่ ๗๐๐ ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐ ให้กรมมหาดไทยตั้งเบิกตามที่ตกลงนี้เถิด. (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์ x x x (สำเนา) ร. ที่ ก.บ. ๓๓ เกาะสีชัง ประพาศ ร. ที่ วันที่ ๓๐ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ถึงเจ้าพนักงานกรมพระคลังมหาสมบัติ ด้วยการที่กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมจะไปเป็นข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวพวนครั้งนี้ ต้อง ใช้เงินเดือนเบี้ยเลี้ยงค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จเพิ่มขึ้นอีกโดยธรรมดา บัดนี้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทำงบประมาณจำนวนปี ๑๑๐ รวม เงินเดือนเบี้ยเลี้ยงค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จ ทั้งข้าหลวงรายใหม่แลข้าหลวงรายเก่า ซึ่งได้ตั้งงบประมาณไว้แต่เดิมแล้วนั้นมาได้ตรวจดูแล้ว ว่า จะใช้เงินรวมด้วยกันทั้งสิ้นเป็นเงิน ๖๘๖ ชั่ง ๒๓ บาท ๔๘ อัฐ เงินรายข้าหลวงเก่า ๒๒๕ ชั่ง ๒๓ บาท ๔๘ อัฐ เงินรายข้าหลวงใหม่ ๔๖๐ ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐ แลเงินเดือนกรมหมื่นประจักษ์เองเธอยังไม่ได้ ตั้งมาในงบประมาณที่เธอทำมานั้น เห็นสมควรให้ปีละ ๒๔๐ ชั่ง เพราะฉะนั้นรวมเงินที่เพิ่มใหม่เป็น ๗๐๐ ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐ รวม กับเก่าด้วยทั้งสิ้นเป็น ๙๒๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๑๖ อัฐ เพื่อกรมมหาดไทย ทำใบประมาณเบิกเงินตามที่ตกลงนี้แล้ว อนุญาตให้จ่าย. (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์ ๒๒ (รับวันที่ ๗ กันยายน รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่ ๔๖ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วันที่ ๓ กันยายน รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าพระยารัตนบดินทร์ ฯ ที่สมุหนายก ขอ พระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขา ร. ที่ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๐ ว่าโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่เมือง ลาวพวนครั้งนี้ พระราชทานเงินเดือนเงินเบี้ยเลี้ยงค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จเป็นเงิน ๗๐๐ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐ ส่วนข้าหลวงเก่าเงิน ๒๒๕ ชั่ง ๒๓ บาท ๔๘ อัฐ รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๙๒๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๑๖ อัฐ ให้กรม มหาดไทยตั้งฎีกาเบิกเงินนั้น พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ หาที่สุด มิได้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้เจ้าพนักงานกรมมหาดไทยขอบาญชีจำนวนข้าราชการแลเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จต่อเจ้าพนักงานกรมวัง จะได้ตั้งฎีกาเบิกเงินถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น ประจักษศิลปาคม ครั้น ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม เจ้าพนักงานกรมวัง มีหนังสือส่งบาญชีข้าราชการแลจำนวนเงินรายละเอียดมายังกรม มหาดไทย เป็นเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงแลค่าสิ่งของใช้สอยในส่วนข้าหลวงเก่าใหม่ปีหนึ่งเงิน ๙๒๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๑๖ อัฐ ให้ตั้งฏีกาเบิกเงิน ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือน มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ เป็นเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าหลวงเก่าข้าหลวงใหม่ ๗ เดือน เงิน ๔๓๘ ชั่ง ๒๐ บาท ๒๔ อัฐ ค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จครบปีหนึ่งเงิน ๑๗๑ ชั่ง ๓๒ อัฐ รวม

๒๓ ๖๐๙ ชั่ง ๒๐บาท ๕๖อัฐข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวายสมุดบาญชีจำนวนข้าราชการเก่า ข้าราชการใหม่ ในกอง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ๒๙๒ นาย แลจำนวนเงินเดือน เงินเบี้ยเลี้ยง เงินค่าใช้สอย ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเบิกเงินพระคลัง ๖๐๙ ชั่ง ๒๐ บาท ๕๖ อัฐ เป็นเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จถวาย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม. ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เจ้าพระยารัตนบดินทร x x x จำนวนเจ้า จำนวนข้าราชการ ตามเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ขึ้นไปจัดราชการเมืองหนองคาย พระ ๑ หลวง ๒ ๔ ในกรุง มหาดเล็ก ๑ ๘๖ ขุนหมื่น ๓๒ ๘๒ ข้าหลวงเก่า ทหาร ๕๐ ๒๑๔ หัวเมือง พระยา ๑ พระ ๑ ๒ ขุนหมื่น ๑๖ ๑๒๖ ๑๒๘ ไพร่ ๑๑๐


๒๔ เงินเดือน ๑๙๐ ชั่ง ๕๒ บาท เงินเบี้ยเลี้ยง ๓๐ ชั่ง ๑๘ บาท ๘ อัฐ เงินใช้สอยเบ็ดเสร็จ ๔ ชั่ง ๓๓ บาท ๔๐ อัฐ ๒๑๔ คน เป็นเงิน ๒๒๕ ชั่ง๒๓ บาท ๔๘ อัฐ พระเจ้าน้องยาเธอ ๑ รวมทั้งสิ้น หม่อมเจ้า ๑ ๓ ๔ หม่อมราชวงศ์ ๒ หลวง ๑ ๒๕ จมื่น ๑ จ่า ๑ ข้าหลวงใหม่ นายเวร ๑ ๒๑ ตำรวจ ๑๔ หมอ ๑ โหร ๑

ขุนหมื่น เสมียน ๕๓ ผู้คุม รวม ๗๘ คน


๒๕ เงินเดือน ๕๑๐ ชั่ง ๔๘ บาท เงินเบี้ยเลี้ยง ๑๙ ชั่ง ๑๙ บาท เงินใช้สอยเบ็ดเสร็จ ๒๗ชั่ง ๑๐ บาท ๓๒ อัฐ เงินยอมให้ใช้ ๑๒๐ ชั่ง เงินค่าเดินทาง ๒๓ ชั่ง ๗๐ บาท ๗๘ คน เป็นเงิน ๗๐๐ ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐ ข้าหลวงเก่า ๒๑๔ คน ข้าหลวงใหม่ ๗๘ คน เงินเดือน เงินเบี้ยเลี้ยง เงินใช้สอยเบ็ดเสร็จ เก่า ๒๒๕ ชั่ง ๒๓ บาท ๔๖ อัฐ เงินเดือน เงินเบี้ยเลี้ยง เงินใช้สอยเบ็ดเสร็จ เก่า ๗๐๐ ชั่ง ๖๗ บาท ๓๒ อัฐ รวมข้าหลวงเก่า และข้าหลวงใหม่ ๒๙๒ คน เป็นเงิน ๙๒๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๘ อัฐ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ๑ องค์ ๒๐ ชั่ง ข้าหลวงที่ ๒ พันเอก หม่อมเจ้าวัฒนา ๑ องค์ ๔ ชั่ง เสมียนเอก ๑ คน ๓๐ บาท เสมียนโท คนละ ๑๒ บาท ๒ คน ๒๔ บาท ๑๒ นาย ขุนหมื่น คนละ ๘ บาท ๘ คน ๖๔บาท รวม ๑๒ นาย เดือนละ เงิน ๕ ชั่ง ๓๘ บาท


๒๖ ข้าหลวงที่ ๓ หลวงวิชิตสรสาตร ๑ คน ๓ ชั่ง เสมียนเอก ๑ คน ๓๐ บาท เสมียนโท ๑ คน ๑๒ บาท ๙ นาย ขุนหมื่น คนละ ๘ บาท ๖คน ๔๘ บาท รวม ๙ นาย เดือนละ เงิน ๔ ชั่ง ๑๐ บาท ข้าหลวงผู้ช่วย นายพันตรี จมื่นเสนีนิเวศรักษ์ ๑ คน ๑ ชั่ง ๔๐ บาท เสมียนโท คนละ ๑๒ บาท๒ คน ๒๔ บาท ๗ นาย ขุนหมื่น คนละ ๘ บาท ๔ คน ๓๒ บาท รวม ๗ นาย เดือนละ เงิน ๒ ชั่ง ๑๖ บาท ตระลาการผู้ช่วย นายร้อยเอก จ่าช่วงไฟประทีปังซ้าย ๑ ชั่ง ๒๐ บาท ๑ นาย กรมวังนอกผู้ช่วย นายกิจการี ๑ คน ๔๐ บาท ๓ นาย ขุนหมื่น คนละ ๘ บาท ๒ คน ๑๖ บาท รวม ๓ นาย เดือนละ เงิน ๕๖ บาท นายทหารกรมทหารบกผู้ช่วย นายร้อยเอก หม่อมราชวงศ์สิทธิ เงินตำแหน่ง ๔๘ บาท เงินตามอัตราทหาร ๒๔ บาท ๗๒ บาท


๒๗ นายร้อย นายแพทย์ ขุนสิทธิพรหมา เงินตำแหน่ง ๔๘ บาท เงินตามอัตราทหาร ๒๔ บาท ๗๒ บาท รวม ๒ นาย เดือนละ เงิน ๑ ชั่ง ๖๔ บาท เสมียนกองกลางสำหรับจ่ายต่าง ๆ เสมียนเอก คนละ ๓๐ บาท ๖ คน ๒ ชั่ง ๒๐ บาท เสมียนโท คนละ ๑๒ บาท ๑๕ คน ๒ ชั่ง ๒๐ บาท หม่อมราชวงศ์เชื้อ ล่าม ๑ คน ๑ ชั่ง ๒๖นาย ผู้คุมที่ ๒ คนละ ๒๐ บาท ๒ คน ๔๐ บาท ผู้คุมที่ ๓ คนละ ๑๒ บาท ๒ คน ๒๔ บาท รวม ๒๖ นาย เดือนละ เงิน ๖ ชั่ง ๒๔ บาท กรมวัง นายเวรชาววัง ๑ คน ๒๔ บาท ตำรวจวัง คนละ ๘ บาท ๔ คน ๓๒ บาท ๕ นาย รวม ๕ นาย เดือนละ เงิน ๕๖ บาท เงินเบี้ยเลี้ยง นายทหาร นายร้อยเอกหม่อมราชวงศ์สิทธิ เดือนหนึ่ง๑๑ บาท ๔๐อัฐ ๒คน นายร้อยเอก แพทย์ ขุนสิทธิพรหมา เดือนหนึ่ง ๑๑ บาท ๔๐ อัฐ กรมโหร ขุนโลกากร เดือนหนึ่ง ๗ บาท ๓๒ อัฐ ๑ คน


๒๘ กรมวัง นายเวร ๑ คน เดือนหนึ่ง ๗ บาท ๓๒ อัฐ ตำรวจวัง ๔ คน เดือนหนึ่ง ๗ บาท ๓๒ อัฐ ๕ คน กรมตำรวจ กรมตำรวจนอกซ้าย ๔ คน เดือนหนึ่ง ๓๐ บาท กรมตำรวจนอกขวา ๔ คน เดือนหนึ่ง ๓๐ บาท ๘ คน กรมช้าง ตำรวจกำกับกูบ ๒ คน เดือน ๑ ๑๕ บาท นายช้าง ๑ คน เดือน ๑ ๗ บาท ๓๒ อัฐ ๓ คน รวม ๑๙ คน เดือนละ เงิน ๑ ชั่ง ๔๘ บาท ๑๖ อัฐ ข้าหลวงเมืองภูวดลเมืองวางคำ หลวงมณโยธานุโยค ข้าหลวงที่ ๑ ๑ คน ๑ ชั่ง ๔๐ บาท หลวงพิทักษยุทธภัณฑ์ ข้าหลวงที่ ๒ ๑ คน ๓๓ บาท ๒ นาย รวม ๒ นาย เดือนละ เงิน ๑ ชั่ง ๗๓ บาท ข้าหลวงเมืองเชียงขวาง พระนิเวศน์วิสุทธิ ๑ คน ๒ ชั่ง นายจำรัส มหาดเล็ก ๑ คน ๓๐ บาท ๓ นาย เสมียน ๑ คน ๒๐ บาท รวม ๓ นาย เดือนละ เงิน ๒ ชั่ง ๕๐ บาท



๒๙ ข้าหลวงเมืองคำเกิดคำมวน พระยอดเมืองขวาง ปลัดเมือง นครสวรรค์ ๑ คน ๑ ชั่ง ๔๐ บาท ขุนหมื่น คนละ ๒๐ บาท ๒ คน ๔๐ บาท เสมียนแลคนใช้คนละ ๘ บาท ๑๒ คน ๑ ชั่ง ๑๖ บาท ๕ นาย ทหารคนละ ๖ บาท ๕๐ คน ๑ ชั่ง ๖๐ บาท รวม ๖๕ นาย เดือนละ เงิน ๖ ชั่ง ๗๖ บาท ข้าหลวงลาวฝ่ายเหนือ พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ ปลัด เมืองนครราชสีมา ๑ คน ๓ ชั่ง ขุนหมื่นคนละ ๑๒ บาท ๔ คน ๔๘ บาท ๑๓ นาย เสมียนคนใช้คนละ ๘ บาท ๘ คน ๖๔ บาท รวม ๑๓ นาย เดือนละ เงิน ๔ ชั่ง ๓๒ บาท เงินเบี้ยเลี้ยง ข้าหลวงเมืองอุบลเมืองวังคำ ขุนหมื่นทนายเลือกไปราชการกับหลวงมณโยธานุโยค หลวงพิทักษ์ ยุทธภัณฑ์ กินวันละ ๔ อัฐ ๒๐ คน เดือน ๑ ๓๗ บาท ๓๒ อัฐ ข้าหลวงเมืองเชียงขวาง ขุนหมื่นคนใช้ไปกับพระนิเวศวิสุทธิ คนหนึ่งกินคนละ ๔ อัฐ ๑๑ คน เดือน ๑ ๒๐ บาท ๔๐ อัฐ



๓๐ ข้าหลวงเมืองลาวฝ่ายเหนือ ไพร่ไปราชการกับพระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ ปลัดเมืองนครราชสีมา ๑๑๐ คน ๆ หนึ่ง กินวันละ ๓ อัฐ เดือน ๑ ชั่ง ๖๐ บาท ๔๐ อัฐ รวม ๑๔๑ คน เครื่องยาไทย-ฝรั่งสำหรับรักษาโรคต่าง ๆ เงิน ๒๒ บาท ๒ อัฐ ข้าหลวงเก่า หมึก ดินสอ ปากา สมุด เขียนหนังสือราชการ เงิน ๗ บาท ๒๘ อัฐ รวม ๑๒ เดือนหนึ่ง เงิน ๔ ชั่ง ๓๓ บาท ๔๐ อัฐ กระดาษใหญ่อย่างดี ๑๒ ริม ๆ ละ ๘ บาท ๑ ชั่ง ๑๖ บาท ซองใหญ่ ๖๐๐๐ ซอง ๑๐๐ ซองละ ๒ บาท ๑ ชั่ง ๒๐ บาท ซองเล็ก ๒๔๐๐ ซอง ๑๐๐ ละบาท ๓๒ อัฐ ๒๔ บาท กระดาษเล็ก ๕ ริม ๆ ละ ๒ บาท ๓๒ อัฐ ๑๒ บาท สุมดบาญชีอย่างกลาง ๑๐ เล่ม ๆ ละ ๕ บาท ๕๐ บาท สมุดบาญชีอย่างกลาง ๕ เล่ม ๆ ละ ๑ บาท ๓๒ อัฐ ๗ บาท ๓๒ อัฐ หมึกกอบี้ ๑๒ ขวด ๆ ละ บาท ๑๒ บาท หมึกดำ ๑๒ ขวด ๆ ละ บาท ๑๒ บาท ปากกาปากเบี้ยว ๓ หีบ ๆ ละ ๑ บาท ๓๒ อัฐ ๔ บาท ๓๒ อัฐ ปากกาปากตรง ๒ หีบ ๆ ละ บาท ๒ บาท ด้ามปากกา ๒๔ อัน ๆ ละ ๔ อัฐ ๑ บาท ๓๒ อัฐ ครั่งติดหนังสือ ๒ หีบ ๆ ละบาท ๑๐ บาท (๑) (๑) พิมพ์ตามต้นฉบับ แต่สงสัยว่าจะเป็น ๒ บาท


๓๑ แปรงทางน้ำอัดกอบี้ ๒ อัน ๆ ละ บาท ๓๒ อัฐ ๓ บาท กระดาษน้ำมัน ๑๒ แผ่น ๔ บาท สมุดติดหนังสือ ๖ เล่ม ๆ ละ ๔ บาท ๒๔ บาท หมุดกอบบี้ ๖ เล่ม ๆ ละ ๕ บาท ๓๐ บาท หมุดเย็บหนังสือ ๒ หีบ ๆ ละบาท ๒ บาท ข้าหลวงใหม่ ดินสอฝรั่งมียางลบ ๔๘ แท่ง ๆ ละ ๔ อัฐ ๑๒ บาท (๑) กระดาษซับอย่างดี ๒๔ แผ่น ๆ ละ ๑๖ อัฐ ๓ บาท (๒) ยางลบ ๑๒ แท่ง ๆ ละ ๑๖ อัฐ ๓ บาท เชือกผูกหนังสือ ๓ กลุ่ม ๆ ละ บาท ๓ บาท สมุดดำอย่างเล็ก ๔๐๐ เล่ม ๆ ละ ๘ อัฐ ๕๐ บาท สมุดดำอย่างกลาง ๑๐๐ เล่ม ๆ ละ ๑ บาท ๒๔ อัฐ ๓๗ บาท ดินสอเหลือง ๒๐๐ แท่ง ๑๐๐ ละ ๑ บาท ๓๒ อัฐ ๓ บาท หีบเครื่องพิมพ์หนังสือ ๑ หีบ ๕๐ บาท ที่อัดกอบี้ ๑ อัน ๔๐ บาท น้ำมันปิตโตรเลียมนายหนึ่งใช้ ๑๖ ปีบ ๆ ละ เดือนละ .... ปีบหนึ่ง ๑๕ ปีบ ๔ บาท ปีหนึ่ง ๙ ชั่ง ๔๘ บาท เสาธงเดือนละ ๑ ปีบ ค่าเครื่องไม้ต่าง ๆ ๕ ชั่ง เครื่องยาไทย-ฝรั่ง ๕ ชั่ง เงินยอมให้ใช้เผื่อขาด-เหลือ ๑๒๐ ชั่ง (๑)- (๒) พิมพ์ตามต้นฉบับ แต่สงสัยว่าจะผิด

๓๒ ถึงเจ้าพระยารัตนบดินทร ด้วยมีหนังสือที่ ๔๖ มาว่าด้วยจะขอเงินเดือน เงินเบี้ยเลี้ยง ข้าหลวงเมืองพวนเก่าพวนใหม่ ล่วงหน้า ๗ เดือน คือ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนมีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ เป็นเงิน ๔๓๘ ชั่ง ๒๐ บาท ๒๔ อัฐ กับเงินค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จปีหนึ่ง เป็นเงิน ๑๗๑ ชั่ง ๓๒ อัฐ รวมเป็นเงิน ๖๐๙ ชั่ง ๒๐ บาท ๕๖ อัฐ นั้น อนุญาตแล้ว ให้ตั้งฎีกาเบิกตามจำนวนนี้เถิด.

ถึงเจ้าพนักงานพระคลังหมาสมบัติด้วยกรมมหาดไทยมีหนังสือขออนุญาตเบิกเงินเดือนเงินเบี้ยเลี้ยง ข้าหลวงเมืองพวนเก่า ใหม่ ล่วงหน้า ๗ เดือน คือตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนมีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔๑๑๐ เป็นเงิน ๔๓๘ ชั่ง ๒๐ บาท ๒๔ อัฐ กับเงินค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จปีหนึ่ง เป็นเงิน ๑๗๑ ชั่ง ๓๒ อัฐ รวมเป็นเงิน ๖๐๙ ชั่ง ๒๐ บาท ๕๖ อัฐ นั้น ได้อนุญาตแล้ว ให้จ่ายตามจำนวนนี้เถิด . x x x (สำเนา) ที่ ๖๙/๕๑๑ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วัน ๑ ที่ ๑๖ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ พระยาศรีสิงหเทพ ทูลมายังหม่อมเจ้าเพิ่มว่าที่ราชปลัดทูลฉลอง ด้วย ฯ พณ ฯ ที่สมุหนายกมีบัญชสั่งว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชหัตถเลขาร. ที่ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๐ ว่า โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ ๓๓ ศิลปาคมเป็น้าหลวงใหญ่เมืองลาวพวน เสด็จไปจัดราชการเมืองหนองคาย พระราชทานเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าหลวงเก่า ข้าหลวงใหม่ เงินค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จรวมทั้งสิ้นปีหนึ่งเป็นเงิน ๙๒๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๑๖ อัฐ ให้กรมมหาดไทยตั้งฎีกาเบิกเงินตามที่ตกลงนี้ ได้คัดสำเนาพระราช หัตถเลขาสอดซองมานี้ความแจ้งอยู่แล้ว ควรจะได้ให้เจ้าพนักงาน กรมมหาดไทยตั้งฎีกามาเลิกเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงเงินค่าใช้สอยถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมตามทางราชการประการ ใด ขอท่านได้นำขึ้นกราบทูลพระเดชพระคุณ รองเสนาบดีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติทราบฝ่าพระบาท แล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ x x x ที่ ๘๘/ ๖๓๓ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วัน ๖ ที่ ๑๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ พระยาศรีสิงหเทพฯทูลมายังหม่อมเจ้าเพิ่มว่าที่ราชปลัดทูลฉลอง ด้วยท่านจ้าพระยารัตนบดินทร ฯ ที่สมุหนายกมีบัญชาสั่งว่าการซึ่งจะเบิกเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าหลวงเมืองลาวพวนเก่าใหม่ล่วง หน้า ๗ เดือน ตั้งแต่เดอนกันยายนถึงเดือนมีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ เป็นเงิน ๔๓๘ ชั่ง ๒๐ บาท ๑๔ อัฐ กับเงินใช้สอยปีหนึ่ง เงิน ๑๗๑ ชั่ง ๓๒ อัฐ รวมเงิน ๖๐๙ ชั่ง ๒๐ บาท ๕๖ อัฐ นั้น โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่ลงวันที่ ๗ กันยายน ร.ศ. ๑๑๐ให้กรมมหาดไทยตั้งฎีกาเบิกตามจำนวน ได้คัดสำเนาพระราชหัตถเลขา กับบาญชีเงิน

๓๔ ใช้สอยรายละเอียดตามที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมส่งมา สอดซองมานี้ความแจ้งอยู่แล้ว จะได้ให้เจ้าพนักงานกรมมหาดไทยตั้งฎีกาเบิกเงินตามพระบรมราชานุญาต ขอท่านได้นำขึ้นกราบทูลพระเดชพระคุณรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทราบฝ่าละอองพระบาทแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ x x x ที่๙๖/ ๖๙๙ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วัน ๓ ที่ ๒๒ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ พระยาศรีสิงหเทพฯทูลมายังหม่อมเจ้าเพิ่มว่าที่ราชปลัดทูลฉลอง ด้วย ฯ พณ ฯ ที่สมุหนายกมีบัญชาสั่งว่า ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่เมืองลาวพวน เสด็จไปจัดราชการอยู่ ณ เมืองหนองคาย พระราชทานเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าหลวงเก่าใหม่ แลเงินค่าใช้สอยเบ็ดเสร็จปีหนึ่งเป็นเงิน ๙๒๖ ชั่ง ๑๑ บาท ๑๖ อัฐ ให้กรมมหาดไทยตั้งฎีกาเบิกเงินตามที่ตกลงนี้ ข้าพเจ้าได้มีหนังสือที่ ๖๙/ ๕๑๑ ลงวัน ๑ ที่ ๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๐ ส่งสำเนาพระราชหัตถเลขา ร. ที่ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๐ มายังท่านครั้งหนึ่งแล้วยังหาได้รับตอบไม่ ภายหลังได้มีหนังสือ ร. ที่ ๘๘/๑๑๐ ลงวันที่ ๗ กันยายน กับบาญชีรายละเอียดตามที่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ส่งมาให้ตั้งฎีกาเบิก


๓๕ เงินมายังท่านว่า โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ กรมมหาดไทยตั้งฎีกาเบิกเงินล่วงหน้า ๗ เดือน รวมเป็นเงิน ๖๐๙ ชั่ง ๒๐ บาท ๕๖ อัฐ จะได้ให้เจ้าพนักงานกรมมหาดไทยตั้งฎีกาเงบิกเงินตมพระบรมราชานุญาตความแจ้งอยู่แล้ว ท่านก็ยังไม่ได้ตอบประการใดไม่ ฯ พณ ฯ ที่สมุหนายกจึงมีบัญชาสั่งให้เจ้าพนักงานนำฎีกามาเบิกเงินต่อเจ้าพนักงาน นายสนองราชบรรหารสักฎีกาคืนไปว่าไมม่มีเงินให้ เพราะในเอสติเมตไม่มี แลการที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม จะเสด็จไปราชการเมืองหนองคายนั้น กำหนดจะ ได้กราบถวายบังคมลาวันที่ ๒๔ กันยายน ร.ศ. ๑๑๐ เป็นการจวนเวลาอยู่แล้ว จะควรประการใด ราชการที่เบิกเงินจะสำเร็จตลอดไปได้ ขอท่านำได้นำขึ้นกราบทูลพระเดชพระคุณ รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทราบฝ่าพระบาท แล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ x x x ที่ ๒๕ / ๗๐๐ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วัน ๓ ที่ ๒๒ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ พระยาศรีสิงหเทพฯ แจ้งความมายังจมื่นจงรักษ์องค์ซ้าย ด้วย ฯ พณ ฯ ที่สมุหนายกมีบัญชาสั่งว่า การที่จะเบิกเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าหลวงเมืองลาวพวนเก่าใหม่ ล่วงหน้า ๗ เดือน กับเงิน ค่าใช้สอยปี ๑ รวมเป็นเงิน ๖๐๙ ชั่ง ๒๐ บาท ๕๖ อัฐนั้นได้มี หนังสือไปยังเจ้าพนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์ถึง ๒ ครั้งแล้วก็ยังไม่ ตอบมาประการใด จึงให้เจ้าพนักงานกรมมหาดไทยนำฎีกาไปเบิกเงิน ๓๖ ต่อกระทรวงพระคลัง นายสนองราชบรรหารสักฎีกาคืนมาว่าไม่มี เงินให้ เพราะในเอศติเมตไม่มี ข้าพเจ้าได้มีหนังสือไปยังเจ้าพนักงาน หอรัษฎาให้นำกราบทูลเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีก เป็นการขัดจ้องอยู่ดังนี้ ได้คัดสำเนาหนังสือที่มีแจ้งความไปยังหอรัษฎา ๓ ฉบับ สอดซองมาให้ทราบด้วยแล้ว จะควรประการใด ขอ ท่านได้นำขึ้นกราบทูลพระเดชพระคุณเสนาบดีว่าการกรมวังทราบฝ่าพระบาท แล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ x x x สำเนา ที่ ห้องเวรชาววัง วันที่ ๒๓ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ จมื่นจงรักษาองค์เจ้ากรมตำรวจวังซ้าย เรียนมายังท่านพระยา ศรีสิงหาเทพ ฯ ทราบ ด้วยได้รับหนังสือของท่านฉบับหนึ่ง ที่ ๒๕/ ๗๐๐ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ทราบความทุกประการแล้ว ข้าพเจ้าได้นำขึ้นกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดีว่าการกรมวังทรงทราบฝ่าพระบาทแล้ว มีรับสั่ง ให้แจ้งความมาให้ทราบ ว่าการเงินนั้นเป็นหน้าที่ของกรมมหาดไทยแล้วแต่กรมมหาดไทย แต่วันกำหนดจะได้กราบถวายบังคมลาไปราช-การนั้น วันที่ ๒๔ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ เป็นแน่ ขอให้เจ้าพนักงานกรมมหาดไทยนำขึ้นกราบถวายบังคมลาตามกำหนดเป็นแล้วกัน ถ้าทราบแล้วขอใฝห้นำขึ้นกราบเรียน ฯ พณ ฯ สมุหนายกให้ทราบตามรับสั่ง ฯ

๓๗ (รับวันที่ ๔ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐) ที่ ๖๐ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วันที่ ๒๔ กันายายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าพระยารัตนบดินทร์ ฯ ที่สมุหนายก ขอ พระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขาร.ที่ ลงวันที่ ๗ กันยายน ศก๒๔ ๑๑๐ พระราชทานพระบรมราชานุยาต ให้ กรมมหาดไทยตั้งฎีกาเบิกล่วงหน้าถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่นประจักษ์ศิลปาคม ๗ เดือนเป็นเงินหกร้อยเก้าชั่งยี่สิบบาทห้าสิบ หกอัฐ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้เจ้าพนักงานกรมมหาดไทยมีหนังสือส่งสำเนา พระราชหัตถเลขาไปยังเจ้าพนักงานหารัษฎากรพิพัฒน์ และ ให้ตั้งฎีกาไปเบิกเงินต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามธรรมเนียมแล้ว นายสนองราชบัญหารสักท้ายฎีกาคืนมาว่า ไม่มีเงินให้เพราะ ในเอศติเมต (๑) ไม่มี ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้พนักงานมีหนังสือชี้แจงราชการ ไปยังเจ้าพนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์และมีหนังสือชี้แจงการขัดข้องไปยัง เจ้าพนักงานกรมวัง เจ้าพนักงานหอรัษฎาก็ยังไม่ตอบมาประการใด แต่เจ้าพนักงานกรมวังตอบมาว่า กาเงินนั้นสุดแล้วแต่กรมมหาดไทย ขอแต่ให้นำขึ้นกราบถวายบังคมลาตมกำหนด และการเบิกเงินล่วง หน้าถวายพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม กรมมหาด (๑) estimate งบประมาณ

๓๘ ไทยก็ได้ตั้งฎีกาเบิกเงินตามพระบรมราชานุญาตแล้ว การยังไม่สำเร็จตลอดไปได้ เป็นที่ขัดข้องอยู่ดังนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้คัดสำเนา หนังสือเจ้าพนักงานกรมมหาดไทย แจ้งความไปยังเจ้าพนักงานหอ รัษฎา ฯ ๓ กรมวัง ๑ หนังสือกรมวังตอบมา ๑ รวม ๕ ฉบับ สอดซองมาขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย จะควรประการใดสุด แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เจ้าพระยารัตนบดินทร x x x (รับวันที่ ๒๙ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ) ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าข้าหลวงผู้ใหญ่ผู้น้อย ขึ้นไปรักษา ราชการพร้อมด้วยข้าหลวงเก่าในหัวเมืองลาวพวนนั้น พระเดชพระ- คุณเป็นล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ พระราชทรัพย์ที่ต้องจำหน่ายพระ- ราชทานข้าหลวงทั้งปวงปีหนึ่งนับด้วยร้อยชั่งเป็นอันมาก ถ้าจะต้อง ขนเงินกรุงเทพ ฯ ขึ้นไปทุ่มเทในเมืองลาวอยู่ดังนี้แล้ว ราชการก็คง จะต้องเดินช้าไม่ทันการเวลาที่สมควรจะเป็นไปได้ จำเป็นต้องหา เงินในเมืองลาวให้พอที่จะเลี้ยงข้าหลวงและทะนุบำรุงบ้านเมือง ไม่ต้อง เอาเงินกรุงเทพ ฯ ขึ้นไปใช้จึงจะได้เงินที่จะจัดให้มีขึ้นนั้นในเมืองลาวทั้งปวงเดี๋ยวนี้ไม่มีภาษีอากร สิ่งใดมีแต่เงินส่วยอย่างเดียว เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า จะต้องจัดภาษีอากรตามสมควรแก่สิ่งที่จะได้ สิ่งที่จะเก็บภาษีอากรได้ในเร็ว ๆ นี้เห็นแต่สุราอย่างเดียว ที่เชื่อแน่ว่าจะได้เงิน

๓๙ แผ่นดินเป็นอันมาก การที่จะจัดในขั้นต้นนี้ จะห้ามราษฎรไม่ให้ต้มกลั่นน้ำสุราอย่างแต่ก่อน จะให้ผู้ว่าราชการเมืองในเมืองนั้นต้มกลั่น สุราจำหน่ายแก่ราษฎร ที่ให้ผู้ว่าราชการเมืองต้มกลั่นจำหน่ายเอง ดังนี้เพราะประสงค์ว่าจะกันไม่ให้ผู้ว่าราชการกรมการให้ท้ายให้หาง แก่ราษฎรให้เดือดร้อน เพราะเป็นปีแรกเมื่อต่อไปจะมีผู้ประมูล ว่าเงินแผ่นดินให้สูงขึ้น จึ่งจะใช้ต่อไปในปีสองที่สาม พอราษฎรรู้สึก ความเคยเสียแล้ว จึ่งไม่มีเหตุผลอันใด และการที่จะให้ผู้ว่าราช- การเมืองทำนี้ในปีต้น จำเป็นจะต้องให้มีข้าหลวงกำกับด้วย จึงจะ ได้รู้บาญชีจริงในปีที่สอง การที่จะเก็บเงินในปีที่แรกจัดนี้ จะต้อง เกณฑ์เอาแต่เมืองละน้อยขนาดเมืองหนองคาย เมืองนครพนม เมืองสกลนครที่เป็นเมืองใหญ่เหล่านี้ เพียงเมืองละสามสิบชั่ง เมืองที่อย่างกลางอย่างเมืองชนบท เมืองขอนแก่นเมืองละยี่สิบชั่ง เมืองที่เล็กเป็น-ต้นว่าเมืองกุมภวาปี เมืองกมุทาไศรยเมืองละสิบชั่ง ที่กะดังนี้เพราะประสงค์จะให้ได้เงินแน่นอนถึงโดยว่าจะเกิดเหตุขัดขวางที่จำเป็นจะต้องเลิกไม่เก็บต่อไป ก็คงได้เงินตามนี้เป็นแน่นอน เพราะอาศัยเหตุที่เคยสังเกตดูว่าถ้าจะมีเหตุอันใด ต้องเกิดขึ้นที่หลังเหตุที่ทำนั้นสามเดือนเป็นอย่างเร็ว หกเดือนเป็นอย่างช้า อีกประการหนึ่งเงินที่กะเพียงนี้ถ้าได้ทำจริง ๆ ในหกเดือนคงจะได้ประมาณเท่านี้โดยไม่สงสัย ประการหนึ่งที่กะไว้แต่น้อยเพียงนี้ถึงโดยว่าจะมีเหตุข้าวแพงไม่มีพอจะกลั่นเหล้าก็ไม่ต้องถึงเอาผู้ว่าราชการเมืองมาเร่งเงินหลวง ก็คงจะได้เงิน เต็มตามกำหนดเป็นแน่แท้เพราะจำนวนเงินที่กะนี้เป็นอย่างน้อยอยู่แล้ว ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้นอกจากเงินหลวงที่กะออกไปนี้ หักทุนแล้วให้

๔๐ แบ่งส่วนกำไรให้เจ้าเมืองกึ่งหนึ่ง ให้ข้าหลวงผู้กำกับกึ่งหนึ่ง เมื่อผู้ว่า ราชการเมืองรู้สึกว่าเงินที่เหลือนอกจากของหลวงที่กำหนดแล้ว จะได้เปนประโยชน์ของตนก็คงจะตั้งหน้าคิดและจัดการนี้ให้สำเร็จโดยความเรียบร้อยอย่างเดียว ส่วนข้าหลวงนั้นมีเงินเดือนประจำตัวอยู่แล้ว แลเหตุใดจึงจะให้รับประโยชน์อย่างนี้อีก เพราะเหตุว่าข้าหลวงที่ขึ้นไป นั้นน้อยตัว ผู้ที่จะไว้ใจได้ก็มีอยู่น้อยเพียงสามคนเท่านั้น นอกจากนั้นถึงยังมิได้เห็นความชั่วของเขาก็ดี แต่ที่ได้ใช้กันมาแล้ว คือเป็นคนที่อยู่ ใต้อำนาจโดยแท้อย่างหนึ่ง อย่างหนึ่งเคยใช้กันอยู่แต่ใกล้ ๆ เหตุทั้ง สองอย่างนี้ ไม่เป็นเครื่องทำให้เชื่อได้คือได้เห็นผู้ที่อยู่ในอำนาจและอยู่ใกล้เป็นคนดี แต่ไปไกลกลับเสียมาก็มี ข้าหลวงที่จะให้ออกกำกับ จัดการเหล่านี้ ถ้าจะเลือกเอาแต่คนที่ไว้ใจได้ เมืองก็หลายหัวเมือง หนหาทางก็ไกล แล้วต้องนั่งอยู่เมืองละปี ๆ สิบปีการนี้ก็ยังไม่สำเร็จตลอดได้ จำเป็นที่ต้องแต่งข้าหลวงมากจึงจะสำเร็จได้โดยเร็ว ข้า หลวงเมื่อจะต้องแต่งมากแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเงินเดือนเพียง สิบห้าบาทก็มี ถ้าใช้ห่างออกไปแล้วที่ไหนจะเว้นได้ คงจะต้องหาประโยชน์ในทางที่ทุจริต ถ้าหาประโยชน์ในทางทุจริตเข้าแล้ว โทษที่ สุดเพียงประหารชีวิต ถึงคนคนนั้นจะตาย แต่การที่จะรู้บาญชีจริง ก็ตายด้วยเหมือนกัน คงนับว่าเสียชีวิตและเสียการด้วย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็ต้องแก้ไขที่จะให้ได้แต่การอย่างเดียว คือให้ข้าหลวงได้รับประโยชน์ในผลที่ทำดีด้วย คนก็ไม่เสียการก็ได้สำเร็จประโยชน์ เพราะอาศัยข้าหลวงได้ประโยชน์พอแก่การอยู่แล้วก็จะตั้งหน้ารักษาการให้เรียบร้อยและรักษาประโยชน์ตนด้วย เมื่อข้าหลวงผู้ใดอยากจะหา

๔๑ ความชอบให้พิเศษขึ้น เงินผลประโยชน์ที่ตนได้ส่วนแบ่งจะนำมาส่ง เป็นเงินแผ่นดินก็คงได้รับความชอบความดีกว่าผู้อื่นที่ไม่ได้ทำอย่างนั้นแล้วก็จะได้รับบาญชีจริงด้วย เมื่อรู้บาญชีจริงแล้วปีที่สองคงจะได้เงินเต็มภูมิ การที่จัดอย่างนี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่เป็นที่ถูกใจอยู่ แต่หาทาง อื่นไม่พบ จึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ถ้าจะให้แต่ผู้ว่าราชการเมืองทำฝ่ายเดียวไม่มีข้าหลวงกำกับแล้ว บางเมืองที่ไม่มีความอายเกือบจะถึงร้องขาดแต่เงินส่วยที่บังไว้เล็ก ๆ น้อย ๆ มีตัวอย่างคือท้าวพั่วเมืองกาฬสินธุ์เก็บส่วยเมืองคำเกิดคำมวน ปีละสิบเอ็ดตำลึงเสมอมา ที่กรุงเทพฯ ก็ไม่รู้ จนพระราช- วรินทรกับจมื่นเสนีออกไปจึงได้ทราบความ แต่เงินเพียงสิบเอ็ดตำลึงเท่านี้ยังปิดบังไว้ได้ช้านาน ถ้าเงินสุราได้ประโยชน์มากแล้วคงจะปิด บังที่ไหนจะบอกจริง ในเรื่องนี้มีทางอยู่สามอย่าง อย่างที่หนึ่งข้าหลวงกำหนดเงินลงไปเมืองละเท่านั้น แล้วให้ผู้ว่าราชการเมืองกรมการทำ ไปให้ได้เงินตามกะดีกว่าไม่ได้เลยอย่างเดี๋ยวนี้อย่างหนึ่งอย่างที่สอง ให้ข้าหลวงกับผู้ว่าราชการเมืองกำกับบ้าง ผลประโยชน์นอกจากเงินหลวงแบ่งกันคนละครึ่งในระวางข้าหลวงกับผู้ว่าราชการเมือง รุ่งขึ้น อีกปีหนึ่งจึงกะเงินให้สูงขึ้นตามที่ได้บาญชีแน่ฤๅ ยอมให้มีผู้ว่าประมูลผูกขาดอย่างหนึ่งอย่างที่สามให้ผู้ว่าราชการเมืองทำและใหมีข้าหลวงกำกับ แต่ข้าหลวงนั้นไม่ให้รับประโยชน์นอกจากเงินเดือนเมื่อใครหาประโยชน์ก็ทำโทษ อย่างนี้ดี แต่จะต้องเลือกข้าหลวงที่ได้รับพระราช-ทานเงินเดือนสูงและแต่งออกไปปีละน้อย ๆ เมอง การก็คงจะสำเร็จ ได้เหมือนกันแต่ช้า ข้อความทั้งสมอย่างนี้จะควรสถานใด ขอพระ- ๔๒ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย จะได้จัดราชการให้ถูกต้องตามพระบรมราชประสงค์ทุกประการ ควรมิครสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ (ลงพระนาม) ประจักษ์ศิลปาคม. x x x (พระราชหัตถเลขา) ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยเธอยื่นความเห็นจัดการตั้งภาษีสุราในหัวเมืองลาวพวนนั้น ได้ตรวจดูตลอดแล้ว การที่คิกเรื่องสุรานี้เป็นถูกทางแล้ว แต่มันคงร้องเดือดร้อนกันไม่ฟัง เห็นว่าที่จะได้น้อยกว่าเงินส่วยนั้นไม่มีเป็นแท้ ควรจะเลิกส่วย ให้ จะเป็นที่ยินดีรื่นรมย์อย่างยิ่ง สำคัญแต่ที่อย่าให้บาญชีคนเลื่อนไปเพราะไม่ได้เก็บส่วยเท่านั้น ต้องเตรียมทางเป็นทหาร แต่การที่จะ ควรจัดการทำภาษีสุราอย่างใดต้องแล้วแต่ข้าหลวงใหญ่จะเห็นการจะสำเร็จตลอดไปได้ดังประสงค์ อย่าให้ต้องบังคับออกไปจะดี เพราะ ผู้อยู่ใกล้เห็นการดีกว่าผู้อยู่ไกล ไว้แก้ไขภายหลังดีกว่า x x x (รับวันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐) กำหนดที่ข้าพเจ้าจะขึ้นไปราชการนั้น วันที่ ๑ ตุลาคม ครั้งหนึ่งวันที่ ๘ ตุลาคม ครั้งหนึ่งแต่รอรับเงินที่กรมมหาดไทย และกรม ยุทธนาธิการสองกรมนี้ ผัดว่าจะได้วันพรุ่งนี้บ้างมะรืนนี้บ้างเนือง ๆ จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้ เงินหลวงที่ต้องจ่ายอยู่เปล่า ๆ วันหนึ่ง ๆ เกือบ ๓ ชั่งที่กรมมหาดไทยและกรมยุทธนาธิการ เพิกเฉยให้เงินหลวงเสียอยู่ดังนี้

๔๓ มีความร้อนใจอย่างที่สุด เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ เงินแผ่นดินเป็นผู้เสียประการหนึ่งกำหนดวันจะไปวันที่ ๘ นั้น เป็นอันต้องเลื่อนไปอีกตามเวลาอันสมควร จะไปเร็วไม่มีเวลาที่จะจ่ายเงินให้ทั่วถึงได้ ขอ พระบารมีเป็นที่พึ่งให้ช่วยเร่งท่านเจ้าพนักงานทั้งสองกรมให้กำหนดให้แน่ลงว่าจะจ่ายวันไร จะได้กำหนดออกจากกรุงเทพ ฯ แต่ขอร้อง อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าต้องออกจากกรุงเทพ ฯ เดือนพฤศจิกาย แล้ว เป็นจัดการ ในปี ๑๑๑ ไม่ทันเป็นแน่ ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรด (ลงพระนาม) ประจักษ์. x x x (รับวันที่ ๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐) ห้องเวรชาววัง วันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไป ราชการครั้งนี้ พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ ข้าราชการที่ขึ้นไปด้วยนั้นที่ควรจะได้รับตำแหน่งขุนนางมิอยู่ คือหม่อมราชวงศ์สิทธิในหม่อมเจ้าปรีดาเป็นนายร้อยเอกทหารล้อมวัง ได่รับราชการ มา ๑๐ ปีแล้ว ได้ไปราชการเมืองพิไชยกับกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ครั้งหนึ่ง และจะไปครั้งนี้ด้วย ๑ นายร้อยเอก นายพินรับราชการมา


๔๔ ๑๔ ปีมาแล้ว เป็นคนรักษาราชการเสมออยู่ ได้ไปราชการกับข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งและจะไปครั้งนี้อีก ๑ นายร้อยเอกขุนสิทธิพรหมารับราชการในกรมทหารมาแปดปี ได้ไปราชการกับ ข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตยครั้งหนึ่ง จะไปคราวนี้อีก ๑ นาย ร้อยโทนายหรัดรับราชการมา ๑๐ ปี ได้ไปราชการกับข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง มีความหมั่นในราชการมากและทำการในกรมวังด้วย ๑ หม่อมราชวงศ์เชื้อในหม่อมเจ้าปรีดารับราชการมาในมหาดเล็กและกรมวังมาแต่ก่อน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปเรียนวิชาในประเทศ ยุโรป ๑ คนเหล่านี้สมควรที่จะได้รับตำแหน่งยศเป็นขุนนางรับราชการฉลองพระเดฃพระคุณได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทานหม่อมราชวงศ์สิทธิเป็นหลวงสิทธิสราวุธ นายร้อยเอกนายพินเป็นหลวง สรรพยุทธพิไชยขุนสิทธิพรหมาเลื่อนเป็นหลวงสิทธิพรหมา นาย ร้อยโทนายหรัดเป็นขุนสุรชาติโยธี หม่อมราชวงศ์เชื้อเป็นหม่อม ดำรงรามฤทธิ ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม. x x x (รับวันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) วันที่ ๓ ตุลาคม ๑๑๐ ในส่วนกรมยุทธนาธิการนั้น ได้สั่งกรมทหารบกให้จัดการและทำแซงชั่น(๑) มาหลายเดือนแจ้งอยู่ในคำสั่งนั้นแล้ว เห็นจะเป็นด้วยการ (๑) Sanction อนุมัติ

๔๕ มากและยังยุ่งกันอยู่หลายประการ กรมทหารบกจึงพึ่งยื่นแซงชั่นมา ได้ในเร็ว ๆ นี้ ครั้นแซงชั่นได้มาก็ไม่มีชื่อนายทหารที่จะไป เพราะตามคำสั่งพระคลังว่าสรรพแซงชั่นและเอศติเมตถ้าเป็นเงินเดือนคนสูงกว่า ๔๐ บาท ให้มีชื่อด้วย กรมยุทธนาธิการจึงต้องให้กรมทหารบก กะกรอกชื่อ พึ่งได้แซงชั่นมา ก็ได้รับนำทูลเกล้าฯ ถวายทั้งแซงชั่นราย จมื่นเสนีค้างเก่าควรอีกฉบับ รวม ๒ ฉบับเงินประมาณ ๔๐๐ ชั่งเศษ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานอนุญาตแล้วโดยเร็วได้รับเมื่อวานนี้บ่ายและวันนี้ได้เซ็นฎีกาเบิกเสร็จทั้ง ๒ ฉบับไปแล้ว หวังใจว่าได้ยื่นพระคลังแล้วฤาจะเป็นพรุ่งนี้ และไหนว่าพระคลังก็ทราบว่าเป็นการร้อนคง จะจ่ายเงินให้โดยเร็ว เห็นว่าเงินในส่วนกรมยุทธนาคงได้ทันก่อน วันที่ ๘ นี้เป็นแน่ ภาณุรังษี x x x (พระราชหัตถเลขา) เรื่องกรมมหาดไทยเบิกเงินคลังนี้ที่จะไม่มีขลุกขลักอย่างไรเป็นไม่เคยมีเหมือน"กากับนกเค้า ข้าวกับหม้อ ฯลฯ " ครั้งนี้ก็ดูยาก ยิ่งกว่าให้คิดปริศนา ถามกรมนราดู. x x x (สำเนา) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ส. ที่ ค.ม. ๓๐ วันที่ ๔ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ดำรัสว่า เจ้าพระยารัตน์ ๔๖ บดินทร์มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขัดข้องด้วยเรื่องเบิกเงิน ล่วงหน้าให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ไปราช- การหัวเมืองลาวพวน ว่านายสนองราชบรรหารสักท้ายฎีกาคืนมาว่า ไม่มีเงินให้เพราะในเอศติเมตไม่มี เจ้าพระยารัตนบดินทร์ได้ให้เจ้าพนักงานมีหนังสือชี้เแจงราชการไปยังเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ ก็ยังหาได้ตอบมาประการใดไม่ ทรงพระราชดำริว่าเรื่องกรมมหาดไทยเบิกเงินคลังนี้ที่จะไม่มีขลุกขลักอย่างไรเป็นไม่เคยมี เหมือน "กากับนกเค้า ข้าวกับหม้อ ฯลฯ " ครั้งนี้ก็ดูยากยิ่งกว่าให้ทรงคิดปรึกษา จึ่งทรงโปรดเกล้า ให้เกล้ากระหม่อมกราบทูลถามฝ่าพระบาทว่า การที่ขัดข้องดังนี้จะเป็นเพราะเหตุใดให้ฝ่าพระบาทกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระ-บาท ฯ (ลงพระนาม) โสณบัณฑิย์ x x x (สำเนา) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ส. ที่ ว. ๑๔ วันที่ ๙ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยฝ่าพระบาทมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอรับพระราชทานหม่อมราชวงศ์สิทธิ เป็นหลวงสิทธิสราวุธ นายร้อยเอกนายพิน เป็น


๔๗ หลวงสรรพยุทธพิไชย ขุนสิทธิพรหมาเป็นหลวงสิทธิพรหมา นาย ร้อยโทนายหรัด เป็นขุนสุรชาติโยธี ขุนบันเลงบันฦๅศัพท์ เป็นขุน สกลมณเฑียร หม่อมราชวงศ์เชื้อ เป็นหม่อมดำรงรามฤทธินั้นโปรด เกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานสัญญาบัตรตามที่ฝ่าพระบาทกราบทูลขอแล้ว เกล้ากระหม่อมได้ส่งสัญญาบัตรตามมีชื่อในหนังสือฉบับนี้มาถวายฝ่าพระบาทให้พระราชทานด้วยแล้ว (ลงพระนาม) โสณบัณฑิตย์ ป.ล. ภายหลังได้ทราบว่าตัวขุนบันเลงอยู่กรุงเทพ ฯ หาได้ ตามเสด็จฝ่าพระบาทมาด้วยไม่ จึ่งได้งดไว้พระราชทานที่กรุงเทพ ฯ นอกจากนี้ได้ส่งมาแล้ว (เซ็นพระนาม) โสณ์ x x x (รับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่ ๖๕ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วันที่ ๒๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าพระยารัตนบดินทร ที่สมุหนายก กราบ ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ทราบ ด้วยมีหนังสือส่งมาทางเมืองนครราชสีมาสักหลังซองว่าให้เจ้าพนักงานกรมมหาด-ไทยนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายฉบับ ๑ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานนำต้นหนังสือสอดซองมาทูลเกล้าถวาย แล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ เจ้าพระยารัตนบดินทร

๔๘ (ลายพระหัตถ์ พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์) เรียนท่านเจ้าพระยารัตนบดินทร์ ด้วยเจ้าคุณมีหนังสือ ที่ ๖๕ว่าด้วยมีหนังสือส่งมาทางเมืองนครราชสีมาเป็นหนังสือทูลเกล้าถวายเจ้าคุณส่งมาให้ทูลเกล้าถวายนั้น ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายทราบฝ่าละ-อองธุลีพระบาทแล้ว หนังสือที่เจ้าคุณส่งมานั้นคือหนังสือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม โปรดเกล้าให้ข้าพเจ้าเรียนมา ให้เจ้าคุณทราบ x x x (รับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่พลับพลาเมืองนครราชสีมา วันที่ ๒๒ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เรื่องท้าวคำโง่นนั้นเดิมเอาตัวท้างขัติยลงมากรุงเทพฯ ท้าวขัติยนี้ เป็นคนยังไม่ได้เคยเข้าหาญวน ฤๅ ไทยมา แต่ก่อน พึ่งจะเข้ามาสวามิภักดิ์ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะให้กลับขึ้นไปก็พอถึงแก่กรรมเสียจึงได้รับเอาท้าวทองคำกับท้าวคำเพงมาเลี้ยงไว้ ท้าวทองคำกับท้าวคำเพงก็ยังอยู่จนทุกวันนี้ ส่วนท้าวคำโง่นนั้นอยู่กับพระศรีเสนา ครั้นเมื่อพระศรีเสนาไปราชการเชียงใหม่เสีย ภายหลังมา ว่าไม่มีที่จะรับพระราชทาน มารับจ้างส่งหนังสือกับตีตั๋วหนูอยู่ในกองบาญชี เมื่อเวลาจะส่งตัวไปคุกพระศรีเสนาจะบอก ฤๅ ยังไรมันจึงได้หนีไปพระยาจ่าแสนได้มาถามก็ได้ชี้แจงไปแล้ว หมายว่าเจ้าพระยา รัตนบดินทร์ จะกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้วแต่เมื่อข้าพระพุทธเจ้า ๔๙ ได้ทราบบอกพระยาสุริยเดช ฯ ปลัดแล้วก็ได้มีหนังสือกำชับขึ้นไปว่า ถ้าเข้ามาก็ให้จับตัวให้ได้ แต่นายล่านายหำนั้นว่าอยู่หลวงพระบาง เมื่อไปถึงแล้วจะติดตามเอาตัวให้จงได้ ถ้าได้นายล่านายหำแล้วอ้ายท้าวสองคนคงจะไม่พ้นมือไปได้ กับฝากกล้องเขี้ยวเสือซึ่งเป็นฤดู อย่างยิ่งในเมืองลาว มาทูลเกล้า ฯ ถวายหนึ่งคัน ลักษณะที่เล่นสูบ ๆ ไปมีลายดำผุดขึ้นมา ดูกันเป็นลายต่าง ๆ จีนลูกที่ใช้ดูเหมือนถือเป็นโชคเป็นไชยไปต่าง ๆ ลายที่ขึ้นนั้นแปลอย่างเก้าประโยคกันไปทุก อย่าง การที่ส่งลงมาทูลเกล้าฯ ถวายนี้เป็นเหมือนคำว่า "เป้" "ทู้" ติดปากผู้ที่ไปเมืองลาวตะวันออก "ประการนี้" ของผู้ที่ไปลาวเฉียง ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม x x x ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยได้รับหนังสือขอเธอเขียน ที่เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๑๑๐ ว่าด้วยเรื่องท้าวคำโง่นนั้นได้ทราบแล้ว เรื่องอ้ายบางเบียนที่เราจับมานั้น เจ้าลอยูมาพูดกับกรมหลวงเทวะวงษ์อีกก็รวม ๆ ไม่เป็นหลักฐาน จะเป็นเพราะตัวระวัง ร่าอาการเองอย่างหนึ่ง เพราะปอดเสียเรื่องมองซิเออปาวีเป็นกงซุล เยเนอราลและชาเยเดแฟ เจ้าคนนี้มาคงจะกวนเรื่องเมืองลาวมาก แต่ยังนึกว่าดีกว่าจะได้ดิลองเดอมามาก อนึ่งกล้องเขี้ยวเสือของเธอที่ส่งมาให้ฉันนั้นได้รับแล้วขอบใจพระยาราชเสนาพระยามหาอำมาตย์ เอามา "เป้" มา "ทู้" ไว้มี แต่ไม่รู้อุปเท เห็นเสียว่าจะสูบก็ไม่เป็นรั้วงานราชการเหมือนเมียซัม

๕๐ จึ่งไม่ได้สูบ ครั้งนี้จะทนลองดู แต่ขนาดปากกล้องอยู่ข้างโคมเกือบ ต้องใช้บุหรี่ไทย ฉันเดี๋ยวนี้โรคเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามคำหมอเขาว่าเกิดเถาขึ้นอีกข้างหนึ่ง เมื่อยจัดเต็มทีแล้วมีจุกเกิดขึ้น เรื่อง "จุก"นี้ ได้เคยเห็นน่าเป็นมารยา กลับมาเป๋นกับตัวเองเป็นใหญ่ครั้งหนึ่งแล้ว รู้สึกตัวระวังจะเป็นอีกร่ำไป ออกรำคาญใจจะเป็นคนขี้โรคมากไป เสียแล้ว เสมหะล้นคอมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากเกินกระเชียงจะกลายเป็นจักรเรือไฟไปเสียแล้ว ลูกชายอัษฎางค์นั้นพอนับว่าเป็นหายได้ อ้วนขึ้นเกือบเหมือนเก่า แต่ยังไม่สนิทแท้ แต่ชายอิศริยาภรณ์นั้นบอกได้ว่าหายแล้ว คือไม่มี เจ็บไข้อันใด แต่ร่างกายไม่เจริญขึ้นกลับทรุดโซมไป กระดูกหลังยุบ ต่ำไปข้างหนึ่ง หัวก็เบี้ยวไป แต่ก็เฉย ๆ ไม่เห็นเป็นอะไร หมออิลิศ ว่าเป็นด้วยปูนในกระดูกน้อย แกเคยเห็นมารอดได้แต่เป็นพิการ กลัวแต่เรื่องไข้เท่านั้น เพราะกำลังน้อยนัก ไม่รู้ข่าวคราว่า เด็กลูกเธอเป็นอย่างไรบ้าง ให้มีความรำคาญด้วยเดินทางไกลนัก มีความระลึกถึงมาก ใคร ๆ เป็นนายกไม่ถึงใจ เลย หมู่นี้งานถี่นักด้วย ฯ. x x x (รับวันที่ ๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐) หนองคาย วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ ด้วยอัฐซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้แลกเอาขึ้นไปจำหน่ายในเมืองลาวนั้น ๕๑ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไปถึงเมืองใดก็จำหน่ายให้ไว้ทุกเมืองและได้ทำประกาศอย่างอะลุ้มอล่วยไว้ว่า ให้ราษฎรใช้อัฐตามราคา อัฐ และลาดเดิมนั้นก็ให้ใช้ไปด้วย แต่จะส่งเป็นเงินส่วยและใช้ใน โรงศาลไม่ได้ เพราะจะไม่ให้เป็นการเดือดร้อน บัดนี้ราษฎรพากัน เลิกลาดเสียเองจะซื้ออะไรก็ไม่รับฐที่มีขึ้นไปเพียงสี่ร้อยยี่สิบห้าชั่ง ไม่พอจำหน่าย เมืองหนึ่งสังเกตดูที่จำหน่ายไว้ แบ่งเป็นสามส่วน ๆ หนึ่งเป็นเครื่องแต่งตัวเด็ก ส่วนหนึ่งอยู่ในท้องตลาด ส่วนหนึ่งอยู่ในพวกจีน ที่ค้าขายรวมไว้ให้ลาวแลก เมื่อแลกนั้นคิดเอาค่าแลกบาทละเฟื้อง อย่างสูงสี่อัฐเป็นอย่างต่ำ ได้ความเดือดร้อนทั่วหน้ากันทั้งผู้ซื้อผู้ขาย เป็นเพราะข้าพระพุทธเจ้าคาดการผิดเอง เข้าใจว่าจะเลิกลาดได้ ด้วยยาก เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องกราบบังคมทูลพระกรุณากวนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทขอรับพระราชทานอัฐขึ้นไปจำหน่าย อัฐที่จะขึ้นไปจำหน่ายนั้น คือจะพระราชทานเป็นเงินเดือนข้าหลวง และทหาร ล่วงหน้าในปีร้อยสิบเอ็ดก็ได้ ฤๅจะโปรดให้ข้าหลวงคลังเอาขึ้นไปจำหน่ายก็ได้ ถ้าจะโปรดพระราชทานเงินเดือนล่วงหน้าข้าหลวงกับทหารแล้วขอรับพระราชทานให้นายพันตรีจมื่นนิเวศโยธีกับทหารพอ สมควร คุมขึ้นไปส่งที่เมืองชนบทข้าเดินทางที่จะบรรทุกอัฐ ถ้าจะ ต้องขึ้นไปพร้อมกับข้าหลวงกองใดกองหนึ่ง ต้องคิดค่าจ้างบรรทุก


๕๒ บาทละอัฐ เพราะแย่งกันจ้างโค ถ้าไปแต่ลำพังกองที่บรรทุกอัฐ คิดราคาเพียง ๓ บาทต่อ ๒ อัฐ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม x x x ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ทูลว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีหนังสือมากราบบังคมทูลพระกรุณา ว่าด้วยอัฐที่เอาขึ้นไปไม่พอจำหน่าย เพราะราษฎรพากันเลิกลาดหมดเมื่อเวลาแตกอัฐต้องเสียค่าลดบาทละเฟื้องอย่างสูง บาทละ ๔ อัฐเป็นอย่างต่ำ เป็นความเดือดร้อนยแก่ราษฎรอยู่ จะขอพระราชทานอัฐ ขึ้นไปจำหน่ายอีก และว่าอัฐที่จะเอาขึ้นไปจำหน่ายครั้งนี้นั้น จะ พระราชทานเป็นเงินเดือนข้าหลวงและทหารล่วงหน้าในปี ๑๑๑ ก็ได้ ฤๅ จะให้ข้าหลวงกรมพระคลังเอาไปจำหน่ายก็ได้ ถ้าจะพระราชทาน เงินเดือนล่วงหน้าข้าหลวงกับทหารแล้ว ขอให้จมื่นนิเวศน์โยธีคุมขึ้น ไปส่งที่เมืองชนบท ถ้าจะให้ไปพร้อมกับข้าหลวงกองใดกองหนึ่งแล้ว ต้องเสียค่าจ้างบรรทุกบาทละอัฐ เพราะแย่งกันจ้างโค ถ้าไปแต่ลำพังกองที่บรรทุกอัฐต้องเสียค่าจ้างบรรทุกเพียง ๓ บาท ๒ อัฐ ทรงพระราช-ดำริเห็นว่าควรจะส่งอัฐขึ้นไปจำหน่ายอีก โปรดเกล้า ฯ ให้ทูลหารือ ท่านในการที่ส่งอัฐขึ้นไปนี้ว่าจะควรส่งอย่างไรดีให้ท่านทรงพระดำริดูเห็นควรประการใดให้ท่านกราบบังคมทูลพระกรุณาจะได้มีพระราช-หัตถ์ตอบไปยังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม.

๕๓ (รับวันที่ ๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) ที่ ๙๘ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วันที่ ๕ มีนาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าพระยารัตนบดินทร ฯ ที่สมุหนายก ขอ พระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีคำ โทรเลขมายังข้าพระพุทธเจ้าฉบับหนึ่งว่า โทรศัพท์เมืองหนองคายถึงเมืองนครราชสีมาได้เปิดใช้วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ แล้วข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งต้นโทรเลขสอดซองมาขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เจ้าพระยารัตนบดินทร.







๕๔







๕๕ เรียนท่านเจ้าพระยารัตนบดินทร ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียนว่าเจ้าคุณทูลเกล้า ฯ ถวายหนังสือที่ ๙๘ ส่ง โทรเลขกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มาว่าด้วยได้เปิดโทรศัพท์เมืองหนองคายถึงเมืองนครราชสีมานั้น โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณมีตอบไป ว่า "กราบทูลกรมหมื่นประจักษ์ ได้นำคำโทรศัพท์กราบบังคมทูล แล้ว มีพระราชดำรัสว่าซึ่งทรงทำการแล้วโดยเร็วดังนี้ เป็นการ มีคุณในราชการมาก ควรสรรเสริญ". x x x (รับวันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐) เมืองหนองคาย วันที่ ๑๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขา ร. ที่ จ. ๔๔ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐กับรายงานกองแผนที่ยื่นกล่าวโทษพระยอดเมืองขวางและพระพลสงครามนั้นได้ทราบเกล้าฯ แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าไต่สวนสอบถามพระยาปลัดดู ได้ ความว่า ส่วนพระยอดเมืองขวางกับพระพลก็กล่าวโทษกองแผนที่มา ที่พระยาปลัดเหมือนกัน แต่พระยาปลัดเกรงพระราชอาญา กลัวจะ เป็นบอกกล่าวโทษข้าหลวง จึงไม่ได้บอกลงมายังกรุงเทพ ฯ แต่การ ที่พระพลพูดจาและทำการซุ่มซ่ามนั้นก็เห็นจะเป็นจริง เพราะพระพลเป็นคนบ้านนอก และเป็นคนอย่างเก่า ๆไม่รู้การรู้เวลาก็ซุ่ม ๆ ซ่าม ๆ ๕๖ 1ไป ในเวลานี้พระยอดเมืองขวางก็เข้ามาถึงท่าอุเทนแล้ว เมื่อพระยอดเมืองขวางไปหาข้าพระพุทธเจ้าเมื่อใด ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะได้ชี้แจง ราชการให้เข้าใจตลอด ประการหนึ่ง การที่จะเลิกเก็บเงินส่วยจะเก็บเป็นภาษีอากรแทนนั้น ดูเป็นที่ชื่นชมยินดีทั่วหน้ากัน แต่มีมีความลำบากอยู่อย่างหนึ่ง ด้วยเจ้าเมืองกรมการเซาะ(๑) เป็นกำลังฤๅจะไม่เต็มใจในการเลิกส่วย ก็ยังไม่ทราบเกล้าฯ ในน้ำใจแน่ ในเมืองหนองคายนี้ แต่ก่อนมีภาษี อากรมาช้านานแต่ที่กรุงเทพฯไม่ทราบเท่านั้น จะทราบบ้างก็แต่กรมมหาดไทยบางนายเท่านั้น ภาษีที่มีอยู่แล้วคือเกลือเก็บ ๑๐ ชักหนึ่ง ยาสูบเก็บ ๑๐ ชักหนึ่ง ปลาบึก ๒๔ บาท ชัก ๘ บาท ปีใดได้ปลาน้อย ๑๔ บาท ชัก ๑๖ บาท แต่ผลประโยชน์ทั้งปวงนี้เป็นของพระยาวุฒา- ธิคุณผู้เดียว ในเวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าได้ตั้งภาษีอากรขึ้นในเมือง หนองคายคือ อากรสุรา ๑ ภาษียาสูบ ๑ ภาษีเกลือ ๑ ภาษีสุกร ๑ แต่ผลประโยชน์เดิมของพระยาวุฒาที่ลักเก็บมาแต่ก่อนนั้น ยาสูบได้ ถามตัวดูแจ้งความว่าได้เก็บได้รับพระราชทานอยู่ปีละ ๔๐ กระทอ คิดราคากระทอละ ๔ บาท เป็นเงิน ๒ ชั่ง เกลือเคยได้รับพระราชทาน อยู่ปีละ ๕๐๐ กระทอ คิดราคากระทอละ ๒ อัฐ เป็นเงิน ๓ ชั่ง ๑๐ บาท ข้าพระพุทธเจ้ารับว่าจะให้เงินเท่านี้ทุกปีตามที่เคยได้ ก็เป็นที่ชื่นชม ยินดีและได้สืบสวนดูถึงผลประโยชน์ในของเหล่านี้ ก็ว่าได้เท่านี้จริง ๆ ตามที่กล่าว เพราะผู้ที่ไปเก็บยักเอาไว้เสียบ้างแต่ก็ไม่รู้เท่า ยังฝันว่า ได้อยู่เท่านั้นเอง ภาษีเหล่านี้ จะเก็บเอาเป็นหลวงเสียให้สิ้นเชิงทีเดียว ก็ได้เพาะแต่ก่อนเป็นการลักเก็บจะถือเอาว่าเป็นผลประโยชน์โดย ตรงไม่ได้ แต่ถ้าว่าพระยาวุฒาคนนี้เป็นที่ราษฎรนับถือเชื่อฟังอยู่ แต่ (๑) พิมพ์ตามต้นฉบับ

๕๗ เกลียดก็เกลียด ถ้าจะเปรียบความตามน้ำใจราษฎรที่นับถือและเกลียดเหมือนกับพระยาฉัททันต์ ถ้าเข้าไปเหยียบไร่เหยียบนาฤๅหักเรือนหักสวนก็เก่า ถ้าใครไปเลื่อยงาก็โกรธ การเป็นดังนี้ จึงต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ตามที่เคยได้ แต่ต่อไปท่านผู้นี้ไม่มีตัวแล้ว เจ้าเมืองกรมการจะให้เงินเดือนเพียงเจ้าเมืองปีละ ๓๖ ชั่ง อุปฮาด ๒๔ ชั่ง ราชวงศ์ ๑๘ ชั่ง ราชบุตร ๑๒ ชั่ง รวมเป็นเงิน ๙๐ ชั่ง กรมการผู้ น้อยอีกประมาณ ๒๔ ชั่ง บ้านเมืองก็จะเรียบร้อยตลอด เพราะกรม การเหล่านี้ทุกวันนี้ไม่ได้อะไรเลยจนเฟื้องหนึ่ง จนเงินลดในเงินส่วยก็เป็นของพระยาวุฒาผู้เดียว การที่จะจัดต่อไปนั้น ถ้าเลิกเงินส่วยแล้ว ภาษีอากรอันใดมีขึ้นยังเท่าเงินส่วยอยู่จะต้องแบ่งเป็นของหลวง ๒ ส่วนเป็นของเจ้าเมืองกรมการส่วนหนึ่ง ถ้าเงินนั้นได้เกินเงินส่วยขึ้นไปจึง ยกเอาเป็นหลวง ไม่มีส่วนแบ่ง อนึ่ง ทหารนั้นได้ทดลองชิมดูไม่เป็นที่เดือดร้อนอันใด เพราะ ได้จัดการตามที่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาไว้และในเวลานี้ได้ราช- บุตรเมืองหนองคายเป็นผู้สำหรับชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจแล้ว ตัวเข้า หัดกับแถวทหารด้วย ราษฎรและท้าวเพี้ยกรมการพากันเอาบุตรมาส่ง ที่เรียนทหารตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมีนาคมนี้ รวม ๕๕ คน ได้คัดรายชื่อและถ่ายรูปส่งมาทูลเกล้า ฯ ถวายด้วยแล้ว และหัวเมืองทั้งปวงซึ่งมาหาข้าพระพุทธเจ้า ๆ ก็ได้ชี้แจงไปทุก ๆ หัวเมืองต่างคนก็ต่างไปเรียกบุตรหลานมาส่งฝึกหัดเพราะกลัวว่าเมื่อออกประกาศ ทหารแล้วกลัวคนหนองคายจะไปเป็นนายทหารในเมืองของตัวตามที่

๕๘ ข้าพระพุทธเจ้าได้ชี้แจงว่าการทหารนั้นที่จะถือตระกูลฤๅถือ อย่างใดไม่ได้ ต้องแล้วแต่วิชาและได้ราชการเป็นประมาณ เมื่อใคร มีวิชาดีและได้ราชการก็ต้องยกย่องตามคุณวิชานั้น ๆ กับการฝึกหัดได้หัดตามพระราชบัญญัติออกที่กรมทหารบกเหมือนหนึ่งท่าดาบและ อื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้มีพระราชบัญญัตินั้น ก็ได้ให้หม่อมดำรงรามฤทธิ ซึ่งเป็นนักเรียนทหารอังกฤษหัดต่อไป การทำแผนที่ของทหารให้หม่อมราชวงศ์มุ้ยหัด และในการทหารนี้ราชบุตรเป็นผู้ช่วยราชการแข็งแรงมากเป็นความชอบอยู่ถ้าโปรดพระราชทานรางวัลเพียงเครื่องอิสริยา ภรณ์ ว.ม. ขึ้นไปพระราชทานให้ได้ในเร็ว ๆ นี้ จะเป็นคุณแก่ราชการหลายอย่าง อย่างหนึ่ง คือตัวได้เป็นผู้ชี้แจงแก่คนทั้งปวงให้เข้ามาฝึกหัดทหารถึงได้คนเข้ามาน้อยเพียง ๕๕ คนเท่านั้น ก็ยังได้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลโดยเร็ว ประการหนึ่ง หัวเมืองทั้งปวงได้ทราบเกล้า ฯ ว่ามีตัวอย่างผู้ที่ได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลดังนี้ ก็จะพากันทะเยอทะยานหาบำเหน็จความชอบไม่ให้น้อยหน้ากัน ประการหนึ่งข้าหลวงไทย ๆ จะไปพูดจาชี้แจงกับลาวเท่าไรไม่เหมือนกับเขาพูดกันเอง เพราะนิสัยลาวเป็นคนเปรี้ยว ถ้าได้ ฟังเสียงพวกกันแล้วเป็นอันง่ายทุกอย่าง ประการหนึ่งทหารซึ่งจะโปรดเกล้าฯ ให้มีอาวุธสำหรับตัวใน หัวเมือง ซึ่งอยู่ในบังคับข้าหลวงเมืองลาวพวนมากน้อยเท่าใด ก็ ขอรับพระราชทานปืนและปัศตันชีพหมวกดุมขึ้นไป ดุมนั้นใช้คนละ ๙ ดุมตามเสื้อที่ติดขึ้นใหม่


๕๙ ประการหนึ่งคนซึ่งเกิดในเขตแขวงข้าหลวงเมืองลาวพวนต้องรับราชการทหาร ๓ ปี ถ้าผู้ใดซื้ออาวุธและเครื่องแต่งตัวเองจะให้รับ ราชการ ๒ ปีถ้าซื้อม้าและอานม้าและเครื่องอาวุธเสื้อผ้าพร้อมสำหรับรับราชการทหารที่อังกฤษเขาเรียกว่า มาวนเตตอินเฟนตรี(๑) จะให้รับราชการแต่ปีหนึ่ง ความข้อนี้ขอรับพระราชทานทราบเกล้า ฯ ราคา ปืนและราคาของต่าง ๆ เป็นอย่าง ๆ ยกแต่ราคาม้าและเสื้อกางเกงเพราะหาได้ในประเทศนั้น ถ้าได้รับพระราชทานทราบเกล้าฯ ราคาของ เหล่านี้ แล้วจะได้กะเป็นเงินลงประกาศให้ทราบทั่วกัน กับอนึ่งทหารซึ่งไปราชการกับนายร้อยเอกนายบุงนั้น ๕๐ คน กลับลงมากรุงเทพฯ แล้ว ๙ คน ที่จะส่งลงมาอีก ๔๑ คนนั้นปืนที่ถือเป็นปืนมาตินีเฮนรี ทหารลาวที่หัดนั้นจะให้หัดด้วยปืนมาตินีเฮนรี ข้าพระ-พุทธเจ้าขอรับพระราชทานปืน ๔๑ บอกไว้สำหรับฝึกหัดต่อไป ได้เอาปืนสไนยเดอร์ในกองพระยาปลัดซึ่งยังค้างอยู่ให้ถือกลับลงมาจะได้ส่งคืนเข้าคลัง อนึ่ง จีนซึ่งออกมาตั้งค้าขายอยู่ในเขตแขวงหัวเมืองลาวตะวันออกมีเป็นอันมาก การหาเลี้ยงชีวิตก็รวดเร็วคล่องแคล่วกว่าลาวมีแต่เอารัดเอาเปรียบคนในพื้นเมือง จะพรรณนาไปก็ยืดยาวนัก เห็น ด้วยเกล้า ฯ ว่าควรจะให้ผูกบี้ ถ้าทรงพระราชดำริเห็นชอบตามที่กราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว ขอรับพระราชทานให้มีตราขึ้นไปให้ผูกบี้ จะได้จัดการฉลองพระเดชพระคุณให้เป็นการเรียบร้อย ควรมิควร แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม. (๑) Mounted Infantry ทหารราบขี่ม้า ๖๐ ค่ายเมืองหนองคาย วันที่ ๑๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก๒๔ ๑๑๐ รายชื่อผู้ที่มาฝึกหัดทหาร ในจำนวนเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ มีจำนวนรายชื่อและตำบลบ้านแจ้งอยู่ในนี้ ราชบุตร เกิดปีเถาะ อายุ ๒๕ ปี บิดา อุปฮาด มารดา อำแดงสุพัน บ้านในเมือง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ท้าวแพ เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา พระยาวุฒา มารดา อำแดงพัน บ้านวัดนาก เมืองหนองคาย มาหัดวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ร.ซ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาว คิดเลขได้ ท้าวไชย เกิดปีจอ อายุ ๑๘ ปี บิดา พระยาวุฒา มารดา อำแดงบุศดี บ้านวัดนาก เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ท้าวขรุ่ย เกิดปีชวด อายุ ๑๖ ปี บิดา พระยาวุฒา มารดา อำแดงศุก บ้านวัดนาก เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ท้าวแรต เกิดปีกุน อายุ ๑๗ ปี บิดา ท้าวสุวันสาร มารดา อำแดงทางแชง บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ท้าวเกด เกิดปีชวด อายุ ๑๖ ปี บิดา ท้าวขัตติยะ มารดา อำแดงจัน บ้านวัดยอดแก้วเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ๖๑ ท้าวไชยใหญ่ เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา ท้าวฝ้าย มารดา อำแดงโอแก้ว บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายกา เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา นายพิมภา มารดา อำแดงปล้อง บ้านวัดหอก่อง เมืองหนองคาย วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายสาลี เกิดปีมะเมีย อายุ ๒๒ ปี บิดา เพี้ยชาปากดี มารดา อำแดงแก้วบ้านวัดสีชมชื่น เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ ท้าวคง เกิดปีมะเส็ง อายุ ๒๓ ปี บิดา ราชวงษ์เก่า มารดา อำแดงคำ บ้านวัดศรีษะเกษ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายสุวันดี เกิดปีมะเมีย อายุ ๒๒ ปี บิดา หลวงสี ตาย มารดา อำแดงเป้า บ้านวัดธาตุ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายทิดฝอย เกิดปีมะโรง อายุ ๒๔ ปี บิดา เพี้ยเมืองปาก มารดา อำแดงล่า บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายมั่น เกิดปีจอ อายุ ๑๘ ปี บิดา ท้าวบุดตะ มารดา อำแดงไท บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้


๖๒ นายอึ่ง เกิดปีเถาะ อายุ ๒๕ ปี บิดา ท้าววรสาร มารดา อำแดงแกล้ว บ้านวัดสีชมชื่น เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายคำ เกิดปีมะแม อายุ ๒๑ ปี บิดา ท้าวโพธิจักร มารดา อำแดงมี บ้านวัดศีษะเกษ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายแก่น เกิดปีเถาะ อายุ ๒๕ ปี บิดา เพี้ยเมืองฮาม มารดา อำแดงแดง บ้านวัดหอก่อง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายจานล่า เกิดปีเถาะ อายุ ๒๕ ปี บิดา ท้าวจันชมพู มารดา อำแดงทุม บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายโสมสี เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา เพี้ยจิตตะมาต มารดา อำแดงพภ บ้านวัดลำดวน เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายบง เกิดปีมะแม อายุ ๒๑ ปี บิดา เพี้ยมูยจำมาต มารดา อำแดงจูม บ้านวัดบ้านหอก่อง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายทิดทุย เกิดปีมะโรง อายุ ๒๔ ปี บิดา เพี้ยอินทวงศ์ มารดา อำแดงล่า บ้านวัดบ้านหอก่อง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายไล เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา ท้าววุสา ตาย มารดา อำแดงทุมดีบ้านวัดบ้านยอดแก้วเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้

๖๓ นายเมก เกิดปีขาล อายุ ๑๔ ปี บิดา มหาดไทย มารดา อำแดงผา บ้านวัดหอก่องเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายจัน เกิดปีมะเส็ง อายุ ๒๓ ปี บิดา จานครูศรีคุน มารดา อำแดงศุก บ้านวัดศีสะเกษเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายหนูพัน เกิดปีมะเมีย อายุ ๒๒ ปี บิดา พระจำเริญ มารดา อำแดงคำดี บ้านปากนาเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาว คิด เลขได้ นายอ่วม เกิดปีจอ อายุ ๑๘ ปี บิดา พระอัคฮาตแสนเมือง มารดา อำแดงเหมน บ้านวัดป่าหลวง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาว คิด เลขได้ นายสีดา เกิดปีมะเมีย อายุ ๒๒ ปี บิดา เพี้ยมามมะวงศ์ มารดา อำแดงมั่น บ้านวัดหอก่อง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายกองสี เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา เพี้ยจันทราช มารดา อำแดงมี บ้านวัดหอก่องเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายเพ็ด เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา เพี้ยชาดินแทน มารดา อำแดงพุด บ้านวัดยอดแก้วเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ ๖๔ นายเนต เกิดปีกุน อายุ ๑๗ ปี บิดา ท้าวฝ้าย มารดา อำแดงโม้ บ้านวัดสีชมชื่น เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายปาน เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา เพี้ยจิตวงปา มารดา อำแดงมี บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายทิตลุน เกิดปีมะโรง อายุ ๒๔ ปี บิดา นายบุตกา มารดา อำแดงปานบ้านวัดหอก่องเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายจันทุมมา เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา ท้าวไชยสาร มารดา อำแดงแก้ว บ้านวัดหอก่อง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายทิม เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา ท้าวพรมจักร มารดา อำแดงพรา บ้านวัดหอก่องเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย อ่านหนังสือลาวได้ นายจันมา เกิดปีระกา อายุ ๑๙ ปี บิดา นายร้อยจานจูง มารดา อำแดงอ้วน บ้านคุ้มเมืองหนอง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายพูน เกิดปีระกา อายุ ๑๙ ปี บิดา ท้าวสุริวงษ์ มารดา อำแดงสี บ้านวัดโพสี เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้


๖๕ นายที เกิดปีกุน อายุ ๑๗ ปี บิดา จุลมณี มารดา อำแดงล่า บ้านวัดยอดแก้ว เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายบุน เกิดปีมะแม อายุ ๒๑ ปี บิดา หลวงพนม มารดา อำแดงบัวสี บ้านปากนาเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายทอง เกิดปีระกา อายุ ๑๙ ปี บิดา ปลัดซ้าย มารดา อำแดงมา บ้านปากโคก เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายมั่ง เกิดปีมะเส็ง อายุ ๒๓ ปี บิดา จันลคร มารดา อำแดงศุก บ้านวัดปากนา เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายทิบ เกิดปีระกา อายุ ๑๙ ปี บิดา เพี้ยติ่วสร้อย มารดา อำแดงทุม บ้านวัดธาตุ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายชุ่ม เกิดปีจอ อายุ ๑๘ ปี บิดา สิทธิเสนา มารดา อำแดงล่า บ้านวัดธาตุเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้



๖๖ นายหมา เกิดปีฉลู อายุ ๑๕ ปี บิดา เพี้ยราชวงษ์ มารดา อำแดงทา บ้านวัดธาตุ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายขันตี เกิดปีจอ อายุ ๑๘ ปี บิดา จันบุนทัน มารดา อำแดงมาดี บ้านวัดธาตุ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายโม้ เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา เพี้ยเมืองฮาม มารดา อำแดงแก้ว บ้านวัดธาตุ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไม่ได้ นายทิดไชย เกิดปีเถาะ อายุ ๒๕ ปี บิดา นายปะถา มารดา อำแดงโม้ บ้านสาแก้วเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายข้าง เกิดปีมะโรง อายุ ๒๔ ปี บิดา ผู้ช่วย มารดา อำแดงเฟื่อย บ้านในเมือง เมืองสกลนคร มาหัด วันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ ทรานน เกิดปีเถาะ อายุ ๒๕ ปี บิดา เมืองจันท์ มารดา อำแดงจัน บ้านในเมือง เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายราชวัด เกิดปีมะโรง อายุ ๒๔ ปี บิดา ขุนเมือง มารดา อำแดงจัน บ้านในเมือง เมืองสกลนคร มาหัด วันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้


๖๗ นายเทบ เกิดปีวอก อายุ ๒๐ ปี บิดา พระสรีวรวงษ์ มารดา อำแดงเกียง บ้านในเมืองเมืองสกลนคร มาหัด วันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายจันเสนา เกิดปีระกา อายุ ๓๑ ปี บิดา เพี้ยหันมนตรี มารดา อำแดงพัน บ้านในเมืองเมืองสกลนคร มาหัด วันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวได้ นายคำมี เกิดปีระกา อายุ ๑๙ ปี บิดา เพี้ยสุวันละปัก มารดา อำแดงแพงสี บ้านวัดธาตุ เมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๑๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือลาวไม่ได้ ท้าวไชยกุมาร เกิดปีฉลู อายุ ๒๗ ปี บิดา เมืองแสน มารดา อำแดงชาดี บ้านในเมืองเมืองชนบท มาหัด วันที่ ๑๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ นายสน เกิดปีระกา อายุ ๑๙ ปี บิดา เพี้ยวงหาจักษ์ มารดา อำแดงแก้ว บ้านปากนาเมืองหนองคาย มาหัด วันที่ ๑๗ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ท้าวกำปุ้น เกิดปีกุน อายุ ๑๗ ปี บิดา พระพิทักษ์เขตขัน มารดา อำแดงสิ้ว ตาย บ้าน ในเมือง เมืองหนองหาร มาหัด วันที่ ๑๗ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ ท้าวกุแก้ว เกิดปีมะแม อายุ ๒๑ ปี บิดา พระพิทักษ์เขตขัน มารดา อำแดงสิ้ว ตาย บ้าน ในเมือง เมืองหนองหาร มาหัด วันที่ ๑๗ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ วิชาเดิม อ่านหนังสือไทย หนังสือลาวได้ รวม ๕๕ คน (๑) (๑) ในต้นฉบับ มีภาพส่งมาด้วย ๖๘ (รับวันที่ ๓๑ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ) ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย ที่ ๑๕๓/๑๕๘๐ วัน ๔ ที่ ๓๐ มีนาคม มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๔๒ ๑๑๑ ข้าพระพุทธเจ้า พระยาศรีสิงหเทพ ขอประทานกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ทราบฝ่าพระบาทด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีลายพระหัตถ์ ลงมา ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวายฉบับหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้สอดซองมาทูลเกล้า ฯ ถวาย แต่อกที่กรมมหาดไทยไม่มี ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ ข้าพระพุทธเจ้า พระยาศรีสิงหเทพ x x x เมืองหนองคาย วันที่ ๑๐ เมษายน มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยพระยอดเมืองขวางปลัด ได้เข้ามา หาข้าพระพุทธเจ้า ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ ได้ถามถึงการที่คำเกิดคำมวน แจ้งความว่า มองซิเออ ยี.เวอยัว G. Vergeo เข้ามากำกับรักษาคนญวนอยู่ที่ค่ายขะนองม้า เมื่อ ณ วันที่ ๑ กุมภา พันธ์ รัตนโกสินทร์ ศก๒๔ ๑๑๐ มองซิเออร์ที่เรียกว่าเขเนกลับออกไปจาก


๖๙ ค่ายขะนองม้า เมื่อ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๑๐ และได้ข่าวว่า มองซิเออเขเนฆ่าทหารญวนตาย มองซิเออ ยี. เวอยัว จึงเข้ามารักษาค่ายขะนองม้าแทน สังเกตดูอาการผิดกับคนก่อน ๆ คือไม่สู้จะเกะกะอะไรนัก และได้ไล่เลียงถึงทหารญวนว่าขี้ขลาดอย่างเจ๊ก ๆ เรานี่เอง คือคนเมืองนครสวรรค์ไปเที่ยวพบพวกญวน ไปพูดจาเล่นหัว แล้วเกิดวิวาทกันขึ้น ชกกันแพ้ไทยทุกครั้ง ข่าวราช การข้างโน้นสืบได้ว่าญวนยังไม่เรียบร้อยตลอด ที่เข้ามาเป็นทหารฝรั่งเศส ครั้นได้อาวุธได้ปัศตันแล้วพากันหนีฝรั่งเศสคราวละมาก ๆ แล้วกลับมาสู้ฝรั่งเศสเองเนือง ๆ และให้คนไปมาถึงคนพวกเราขอ ให้ช่วยอยู่เนือง ๆ แต่พระยอดเมืองขวางอยู่ข้างจะกวดขันในทาง พระราชไมตรีที่เข้าใจผิด ๆ จึงได้ห้ามไม่ให้เอาเสบียงอาหารสิ่งหนึ่ง สิ่งใดออกไป ยอมให้แต่พวกที่เรียบร้อยกับฝรั่งเศสพวกเดียว ข้า พระพุทธเจ้าได้ชี้แจงการให้เข้าใจตลอดแล้ว ประการหนึ่งพระยอด เมืองขวางว่าเมืองคำเกิดคำมวนนั้น ถ้าจะถอนทหารและข้าหลวงแล้วเป็นอันรักษาลำน้ำโขงยากโดยแท้ เพราะทางจากคำเกิดคำมวนมาท่าอุเทนโดยทางบก ๒ คืน ทางเรือ ๓ คืนเท่านั้น เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า ถ้า ปาวีเข้ามาคงจะเร่งรัดเอาในเรื่องนี้ ถ้าทรงพระราชดำริอย่าให้เป็น การตกลงได้จะดีกว่า ถ้าจะว่าอย่างไรให้เขายอมถอนไปจากที่นั้นได้ ช้ายิ่งดีนัก ด้วยเมืองคำเกิดคำมวนนี้ สืบพงศาวดารได้ในเล่ม ๒ หน้า ๖๓๔ แต่ธรรมเนียมเก่า ที่ตีเมืองใดได้แล้วก็กวาดคนเมืองนั้นมาไว้ที่ อื่น เมืองจึงได้ร้างอยู่ คนเมืองคำเกิดคำมวนนั้น กวาดเข้ามาไว้ที่ เมืองท่าขรยาง ครั้นภายหลังคนเหล่านั้นหนีออกไปอยู่ตามภูมิลำเนาเดิมบ้าง ญวนเข้ามาอาศัยอยู่บ้างมากขึ้นทุกที ญวนพวกนั้นจึงได้สม ๗๐ มุติกันเป็นนายขึ้น จึงได้เก็บส่วยตามพวกญวนไปให้กับเมืองญวน ถ้าฝรั่งเศสจะถือว่าเมืองเหล่านี้เป็นเมืองของญวนแล้ว ถ้าอังกฤษจะถือ เอาว่าเมืองเราเป็นเมืองของอังกฤษก็ได้ เพราะเหตุว่าตั้งกงสุลไว้เก็บส่วยกับพวกสัพเยก ปีละ ๒ บาท ก็เหมือนกัน ถ้าจะยอมถอนคำเกิด นอกเขาเกื้อซึ่งเป็นเขาบรรทัดของเชียงขวาง ในบรรทัดใหญ่ของ คำมวนแล้ว ค่อยห่างลำน้ำของออกไปดีกว่า ข้าพระพุทธเจ้าเห็น ด้วยเกล้า ฯ ดังนี้ ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม x x x ตอบหนังสือกรมประจักษ์วัน ๑๐/๑/๑๑ เรื่องฝรั่งเศสกับญวนและเรื่องเขตแดน การที่ว่าญวนยังไม่เรียบร้อยกับฝรั่งเศสนั้นเป็นการดีที่จะทำให้ก้าวช้าลงสักน้อย แต่ ข้อที่ว่าญวนขลาดเหมือนเจ๊กนั้น ฉันยังเห็นดีอยู่ที่ตามคำเล่ามาว่านั้นยังคิดต่อสู้ฝรั่งเศสอยู่เสมอ ถ้าข้าราชการและคนของเราได้อย่างนั้น ก็เป็นดี มักจะเป็นแต่จวนตัว ก็คิดหาลู่ทางหลีกเลี่ยงเอาตัวรอด แล้วเอาความขัดข้องต่าง ๆ มาแก้ตัวเสียโดยมาก ขอให้ร้องตรวจตรา คนที่จะใช้ไปราชการปลายเขตแดนให้มาก ที่กรุงเทพอยู่ห่างไกล การอันใดก็ต้องอาศัยเธอเป็นหูเป็นตา



๗๑ ซึ่งว่ามาด้วยเรื่องเมืองคำเกิดคำมวนนั้น จะได้ส่งไปให้กรม-หลวงเทวะวงษ์วโรประการทราบไว้ มองซิเออปาวีที่เป็นทูตนั้นยังไม่ มาถึง แต่เห็นจะจวนมาอยู่แล้ว หนังสือที่ลงวัน ๑๗/๑๒/๑๐ นั้นได้รับแล้ว แต่จะขอปรึกษาหารือกันก่อนจึงจะตอบ

จดหมายส่งหนังสือรับสำเนาตอบถึงกรมหลวงฉบับ ๑ กรม-ดำรงฉบับ ๑ จดหมายส่งสำเนาหนังสือกรมหมื่นประจักษ์ให้ท่านเล็กฉบับ๑กรมหมื่นนราธิปฉบับ ๑ กรมดำรงฉบับ ๑ ฉบับแรกว่าด้วยการทหารที่กรมประจักษ์คิดจะจัดในเขตข้าหลวงเมืองพวน การจะเป็นหลักฐานแบบอย่างไปภายหน้า และจัดการใน เขตแขสงข้าหลวงฝ่ายหนึ่งอย่างใด ถ้าจะจัดในแขวงข้าหลวงอื่นก็จะต้องเป็นแบบเดียวกัน เพราะฉันขอให้เธอพิเคราะห์ดู ควรจะให้จัดไปตามกรมประจักษ์คิด ฤๅจะแก้ไขประการใดจะเป็นการสมควร แล้วให้นำความคิดนั้นปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดีให้ ฉบับกลางนั้นว่าด้วยบรรดาการคลัง ให้ปรึกษาในที่ประชุมเหมือนกัน แต่ฉบับหลังเป็นแต่ส่งสำเนาให้รู้และถ้าง่าตกลงประการใดจึงจะสั่ง.


๗๒ (รับวันที่ ๒๖ พฤษภาคม มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑) เมืองหนองคาย วันที่ ๑๐ เมษายน มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยนายเพิ่มมหาดเล็กเวรศักดิ์ เป็นบุตรพระพรหมบริรักษ์ (เหม) ได้ไปรับราชการอยู่กับพระยาสุริยเดช ฯ ปลัด ตั้งแต่ปีจออัฐศก ๑๒๔๘ จนถึงบัดนี้ ก็ได้ราชการดีอยู่ และเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า จะให้ลงไปรับราชการเป็นที่ ๒ พระยาสุริยเดช ฯ ปลัด ในสามหัวเมืองด้วย ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทานนายเพิ่มเป็นที่พระเหมสาหาร มีราชการอยู่ในกรมส่วยทอง ที่ตำแหน่งพระเหมสมาหารนี้เดิมพระพรหมบริรักษ์ (เหม) เป็นมหาดเล็กและเป็นบุตรเขย พระภักดีสุวรรณ จางวางส่วยทองเมืองนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะโปรดพระราชทานให้เป็นกรมการในเมืองนครราชสีมาก็ไม่มีตำแหน่งว่าง จึงได้โปรดให้เป็นที่พระเหมสมาหารจางว่างส่วยทอง ทำราชการคู่กันกับพระภักดีสุวรรณลอย ๆ อยู่อย่างนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่เก็บส่วนคุมไพร่ เป็นแต่อำนาจในหมู่ เลขในตัวมีสมมีทนายข้าราชการตามธรรมเนียมเท่านั้น เมื่อพระ เหมสมาหารลงมารับที่เป็นพระ กับพระยาวุฒาธิคุณจางวางเมืองหนองคาย ได้รับราชการรบทัพเมื่อคราวพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ขึ้นไปเป็นแม่ทัพได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภูสนาภรณ์เป็นความชอบ มาภายหลังเมื่อ

๗๓ พระยาราชวรานุกูลยกกองทัพขึ้นไป ๒ ครั้ง ได้ส่งเสบียงอาหาร เรียบร้อยตลอด เมื่อข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไปรับราชการฉลองพระเดช พระคุณเมื่อปีกุนนพศก๒๐ ก็ได้าส่งเสบียงอาหารเป็นกำลังแก่ราชการมาก ประการหนึ่งบรรดาผู้ที่ว่าราชการในเมืองตะวันออกที่ได้พบ ๆ มาไม่เห็นผู้ใดเป็นหลักฐานมั่นคงยั่งยืนเหมือนสักคนหนึ่งไม่มี ประการ หนึ่งสิ่งไรที่เป็นราชการแล้ว ตั้งหน้าทำโดยความอุตส่าห์ภักดีต่อราช การมิได้เห็นแก่ประโยชน์ตน รู้ว่าการสิ่งไรจะเป็นประโยชน์แก่ราชการแล้ว ก็พูดจาแนะนำสิ่งนั้นขึ้น ไม่เหมือนกับผู้ว่าราชการเมืองอื่น ผู้ว่าราชการเมืองอื่น ๆ มักจะคิดเสียว่า ถ้าจะแนะนำการสิ่งไรขึ้น ก็จะต้องใช้ให้ตัวไปทำ เหมือนหนึ่งผู้ที่มาบอกกับนายว่า หญ้าม้าที่ตรงนั้นงามแล้วนายก็ใช้ให้ผู้นั้นไปตัดหญ้าม้าให้ พระยาวุฒานี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ถ้ารู้ว่าสิ่งไรว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการแล้ว ก็พูดจาแนะนำตามความเห็น อนึ่งในเร็ว ๆ นี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปตรวจดูถนนที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเห็นแคบไป ก็พูดกับกรมการและผู้อื่น ๆ บ้างว่าจะคิดทำถนนให้กว้าง แต่ยังติดอยู่ด้วนบ้านราษฎรและกรมการที่กีดขวางอยู่มาก จึงให้ลงมือทำแผนที่ ถ้าควรจะผ่อนผันซื้อให้น้อยที่สุดเพียงไรก็จะได้คิดให้ทำลง มาภายหลังพระยาวุฒาทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าคิดจะทำ ถนน ก็ให้รื้อบ้านตัวเองเข้าไปก่อน ไม่ทันที่จะได้บอกกล่าวว่ากระไร ได้ทราบข่าวจากผู้มาบอกเล่าว่า พระยาวุฒาว่า ถ้าจะไม่รื้อของตัว เองเสียก่อน ภายหลังเวลาจะทำจะว่ากล่าวผู้อื่นไม่ได้ เป็นตัวอย่าง ดังนี้ ราชการอื่น ๆ ที่แกลงเนื้อเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์แก่ราช การแล้วเป็นทำไปโดยแข็งแรงไปอย่างนี้ทุกอย่าง ๗๔ อนึ่ง การสิ่งไรที่ไม่เห็นด้วยที่สงสัย ก็มีความกล้าหาญเข้ามา โต้ทานไต่ถามไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ เป็นคนดีมาก สมควรที่จะได้ รับพระราชทานเลื่อนยศความชอบอยู่แล้วจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานความชอบชั้นใด ก็สุดแล้วแต่จะทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ อนึ่ง หลวงณรงค์โยธากรมการเมืองนครราชสีมา ก็ได้ไป รับราชการอยู่กับพระยาสุริยเดช ฯ ปลัด ตั้งแต่ปีระกาสัปตศก และได้ คุมช้างคุมโคต่างเมืองนครราชสีมา เข้ากองทัพยกขึ้นไปทุ่งเชียงคำ กับพระยาสุริยเดช ฯ ปลัด ครั้น ณ ปีชวดสัมฤทธิศก ได้ขึ้นไปรักษา พระราชอาณาเขต ณ เมืองภูวดลสอาง แล้วก็ได้ไปรักษาราชการ เมืองทุ่งเชียงคำอยู่จนทุกวันนี้ ก็ได้รักษาราชการเรียบร้อยตลอดมา ควรจะได้รับพระราชทานความชอบอยู่แล้ว ถ้าทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพียงบุษปมาลาก็จะมี ความยินดีเป็นอันมาก แต่คนเหล่านี้ก็กำลังรับราชการอยู่ทั้งนั้น จะ ควรประการใดขอพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง ควรมิควรสุดแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม. x x x (พระราชหัตถเลขา) ตอบหนังสือกรมประจักษ์ ลงวันที่ ๑๐/๑/๑๐ เรื่องขอตราตำแหน่ง ที่ขอนั้นเห็นเป็นการสมควรแล้ว ได้ให้กรมมหาดไทยมีท้อง ตราส่งสัญญา - ให้ - เป็น แลส่งตรา - จ.ม. ขึ้นไปให้พระยาวุฒา ตอบบุษปมาลาให้หลวงแล้ว. สั่งกรมมหาดไทย. ๗๕ (สำเนา) ร. ที่ ๓๖ / ๑๑๑ จ. ๗ เกาะสีชัง วันที่ ๑๗ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ถึงกรมหม่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยในปีใหม่นี้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหลายตำแหน่ง ด้วยเรื่องงบประมาณเป็นต้นเหตุ เพราะเงินประมาณรับน้อยกว่า เงินประมาณจ่าย มากเหลือเกินนัก จึ่งต้องตัดรอนไปแทบจะทั่วทุกกรม แต่กระนั้นก็ยังไม่ลงกันได้จนบัดนี้ ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นการจำเป็นจะมีก็ต้องตัดรอนลงเสียหลายตำแหน่ง ส่วนกรมซึ่งต้องตดเงินลง ร้องว่ารับทำการไป เท่าเงินที่จะ ตัดลงไม่ได้ ถึงลาออกกันก็มี ตำแหน่งเสนาบดีจึงต้องยักย้ายเปลี่ยนแปลง แจ้งอยู่ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเธอจะได้รับทราบความแล้ว แต่กรมมหาดไทย ซึ่งจะเป็นหน้าที่เกี่ยวข้องแก่เธอนั้น ฉันและเธอได้ความลำบากเดือดร้อนแต่ก่อนประการใด ย่อมเข้าใจชัดเจนกันอยู่แล้ว การที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเจ้าพระยารัตนบดินทร์ ไม่สามารถที่จะทำการตามตำแหน่งได้ กรมมหาดไทยคงมีแต่พระยาศรีสิงหเทพคนเดียว ถึงเป็นคนมีอุตสาหะและมีความรู้ราชการเก่าในกรมมหาดไทย ก็ยังทนราชการใหม่ไม่ไหว จึงไม่เป็นที่เบาใจที่จะรับคำสั่งในราชการจากฉันไปทำให้ถึงอกถึงใจได้ ต้องไปเกิดขัดข้องทวนทบเข้ามาเรื่อง ละหลาย ๆ ครั้ง เป็นการเสียเวลา จึ่งได้ปรากฎลงเป็นตำราเสียว่า ราชการในกรมมหาดไทยช้ากว่ากรมอื่นซึ่งเป็นดังนี้ ก็เพราะขาด ผู้ที่จะรับคำสั่งโดยย่อสั้น ๆ ไปทำให้พิศดารได้ จำเป็นต้องให้พิสดารออกไปจากตัวฉันทุกเรื่องทุกราย ซึ่งเป็นการเหลือกำลังและไม่มีเวลา

๗๖ ที่จะทำได้ จึ่งได้คิดแก้ไขในข้อนี้ ตกลงให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ เป็นสมุหนายกอยู่ตามเดิม แต่ยกขึ้นเป็นขุนนางผู้เฒ่า ตั้งกรมหมื่นดำรงเป็นเสนาบดีกรมมหาดไทย แต่ไม่เป็นอรรคมหาเสนาธิบดี ด้วยเห็นว่าเป็นผู้สามารุที่จะทำการหน้าที่ให้สม่ำเสมอได้ การซึ่งให้กรมหมื่นดำรงเป็นเสนาบดีกรมมหาดไทย ซึ่งเป็นหน้าที่จะบังคับบัญชาข้าหลวงในหัวเมืองมหาดไทย ซึ่งเธอไปเป็น อยู่ว่าตามอย่างเก่า ๆ ดูก็เป็นบังคับที่ผู้น้อยบังคับผู้ใหญ่ ตามความ คิดเห็นอย่างไทย ๆ ผู้ที่จะบังคับออกไปก็จะมีน้ำใจกระดากผู้ที่จะรับ บังคับก็จะรำคาญในใจอย่างไร ๆ อยู่ ฉันจึงขอเป็นผู้ชักนำ ด้วย หนังสือฉบับนี้ ถึงแม้ว่าเชื่อใจอยู่แล้วว่าเธอคงจะมีความคิดพอที่จะ หยั่งรู้ความจำเป็นต้องการอย่างไร จะไม่คิดเหมือนคนทั้งปวงอย่าง เก่า ๆ ก็ยังเป็นการดีกว่าที่จะไม่บอกกล่าวอันใด ให้มีตราตรงออก ไปถึงก่อนทีเดียว ขอให้เข้าใจว่าตำแหน่งเสนาบดี ซึ่งจะต้องการใน ทุกวันนี้ จะให้เป็นสีเกรตารีออฟเตด มิใช่เป็นเจ้าแผ่นดินที่ ๔ ที่ ๕ ตามตำราแต่ก่อน ย่อมโยกถอนผลัดเปลี่ยนไปมากันได้ ตามแต่ผู้ใด จะสามารถ ไม่มีขาดไม่มีป่วย ชราพิการ เพราะฉะนั้นควรถือว่า เป็นเสมียนของเจ้าแผ่นดินซึ่งมอบการให้ไปทำ ส่วนหนึ่งส่วนหนึ่ง เมื่อการเป็นไปเช่นนี้แล้ว ก็ไม่เป็นการสำคัญอันใด ที่ผู้ใหญ่จะเป็นผู้รับ คำสั่งจากผู้น้อยฤๅประการใด ก็เหมือนดังกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ฤๅกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา รับคำสั่งมีหนังสือไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าผู้ใหญ่ผู้น้อยได้เท่านั้น ฉันหวังใจว่าด้วยความอุตสาหะของ กรมหมื่นดำรง คงจะทำให้ความลำบากขัดข้อง ซึ่งเป็นอธิบายของ กรมมหาดไทย ที่เธอมีความเบื่อหน่ายมาแต่ก่อน นั้น เบาบางไปได้

๗๗ และการที่จะพูดจาชี้แจงอันใด ในระหว่างหน้าที่ของเธอกับกรม มหาดไทย คงจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน ราชการก็จะค่อย สะดวกขึ้นได้ ตั้งแต่ฉันออกมาอยู่ที่เกาะสีชังนี้ ดูเหมือนจะค่อยสบายดีขึ้นกว่าเมื่อที่อยู่กรุงเทพ ฯ สักหน่อยหนึ่ง แต่ลมทะเลยังไม่ลงร่องรอยว่าจะ เป็นทิศใดทางใด ร้อนเย็นไม่ใคร่สม่ำเสมอ แต่ลูกชายอัษฎางค์ ซึ่ง จับไม่สบายขึ้นใหม่ ในเวลาพอถึงฤดูร้อนนี้ เมื่อได้ออกมาที่นี่ก็กลับสบาย เดี๋ยวนี้อ้วนพีขึ้นมาก ดูเหมือนจะกล่าวได้ว่าคราวนี้จะหาย ฯ x x x (สำเนา) ร. ที่ ท.บ. ๑๒ เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ถึงท่านเล็ก ด้วยกรมหม่นประจักษ์ศิลปาคม จดหมายมาว่าด้วยการทหาร ซึ่งฉันได้ส่งสำเนาหนังสือนั้นไปให้เธอดูด้วยแล้ว การทหารที่กรมหมื่นประจักษ์คิดจะจัดในเขตข้าหลวงเมืองพวน การจะ เป็นหลักฐานแบบอย่างไปภายหน้า และจัดการในเขตแขวงข้าหลวงฝ่ายหนึ่งอย่างใด ถ้าจะจัดในแขวงข้าหลวงอื่น ก็จะต้องเป็นแบบ เดียวกัน เพราะฉะนั้นขอให้เธอพิเคราะห์ดู ควรจะให้จัดไปตามกรมประจักษ์คิดฤๅจะให้แก้ไขประการสมควร และให้นำ ความคิดนี้ปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี อนึ่งเรื่องที่ขอและที่ถามเรื่องเครื่องสาสตราวุธยุทธภัณฑ์ ต่างๆนั้นขอให้ชี้แจงให้ตลอดด้วย (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์

๗๘ (สำเนา) ร. ที่ค.ม. ๑๗ เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ถึงกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ด้วยกรมหมื่นประจักษ์- ศิลปาคม จดหมายมาว่าได้ตั้งภาษีอากรขึ้น และจะขอผูกบี้จีนในเมืองหนองคาย ซึ่งได้ส่งสำเนาไปให้ดูด้วยแล้ว การที่กรมหมื่นประจักษ์ คิดนี้จะเป็นหลักฐานแบบอย่างไปภายหน้า และจัดการในเขตแขวงข้าหลวงฝ่ายหนึ่งอย่างใด ถ้าจะจัดในแขวงข้าหลวงอื่น ก็จะต้องเป็นแบบเดียวกัน เพราะฉะนั้นขอให้เธอพิเคราะห์ดู ควรจะให้จัดไปตามกรมประจักษ์คิด ถ้าจะให้แก้ไขประการใด จะเป็นการสมควร แล้ว ให้นำความคิดนี้ปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี. (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์ x x x (สำเนา) ร. ที่ ม.ท. ๑๗ เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ถึงกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ด้วยกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม จดหมายมาว่า ด้วยคิดจัดการทหาร และตั้งภาษีอากรขึ้นในเมือง หนองคาย ซึ่งได้ส่งสำเนามาให้ทราบด้วย การเรื่องนี้ฉันได้สั่งกรม ยุทธนาธิการและกรมพระคลังมหาสมบัติ ให้ทำความเห็นหารือใน ที่ประชุมเสนาบดีแล้ว เมื่อตกลงประการใดจึงจะส่งไป. (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์

๗๙ (สำเนา) ร. ที่ ๑๑๖ / ๑๑๑ จ. ๒๒ เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยเธอจดหมายลงวันที่ ๑๗ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ เรื่องฝรั่งเศสกับญวน และเรื่อง เขตแดนมานั้นได้ทราบแล้ว การที่ว่าญวนยังไม่เรียบร้อยกับฝรั่งเศส นั้นเป็นการดี ที่จะทำให้ก้าวช้าลงสักหน่อย แต่ที่ว่าญวนขลาดเหมือนเจ๊กนั้น ฉันยังเห็นดีอยู่ที่ตามคำเล่ามาว่า มันยังคิดต่อสู้ฝรั่งเศส อยู่เสมอ ถ้าข้าราชการและคนของเราได้อย่างนั้นก็เป็นดี มักจะเป็น แต่จวนตัวก็คิดหาสู้ทางหลีกเลี่ยงเอาตัวรอด แล้วเอาความขัดข้อง ต่าง ๆ มาแก้ตัวเสียโดยมาก ขอให้ระวังตรวจตราคนที่จะใช้ไป ราชการปลายเจตแดนให้มากที่กรุงเทพฯ อยู่ห่างไกล การอันใดก็ ต้องอาศัยเธอเป็นหูเป็นตา ซึ่งว่ามาด้วยเรื่องเมืองคำเกิดคำมวนนั้น จะได้ส่งไปให้กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการทราไว้ มองซิเออปาวีที่เป็นทูตนั้นยังไม่ มาถึง แต่เห็นจะจวนมาอยู่แล้ว หนังสือที่ลงวัน ๑๗, ๑๒, ๑๐ นั้น ได้รับแล้ว แต่ขอปรึกษาหารือกันก่อนจึงจะตอบ. (พระราชหหัตถเลขา) สยามินทร์


๘๐ (สำเนา) ส. ที่ มท. ๑๐ เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีหนังสือกราบบังคมพระกรุณาเรื่องฝรั่งเศสกับญวนและเรื่องเขตแดน มีพระ- บรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ส่งหนังสือนั้นไปถวายท่านเพื่อทราบการไว้ ข้าพเจ้าได้ส่งสำเนาหนังือกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมและสำเนาพระราชหัตถเลขาตอบไปถวายด้วยแล้ว. (เซ็นพระนาม) สมมตอมรพันธุ์ x x x (สำเนา) ส.ที่ ต.ป. เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาเรื่องฝรั่งเศสกับญวนและเรื่องเขตแดน มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ส่งหนังสือนั้นไปถวายฝ่าพระบาทเพื่อทราบการไว้ เกล้าฯ กระหม่อมได้ส่งสำเนาหนังสือกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม และสำเนาพระราชหัตถเลขาตอบไปถวายด้วยแล้ว.. (เซ็นพระนาม) สมมตอมรพันธุ์

๘๑ (สำเนา) ร. ที่ ๑๒๔ / ๑๑๑ จ. ๒๔ เกาะสีชัง วันที่ ๒๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยเธอจดหมายลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๑๑๑มาขอตั้งตำแหน่งและขอตรามานั้นได้ทราบแล้ว ที่เธอขอให้นายเพิ่มมหาดเล็กเป็นที่พระเหมสมาหาร และขอตราให้พระยาวุฒาธิคุณ เหรียญบุษปมาลาให้หลวงณรงค์โยธานั้นเป็นการสมควรแล้ว ได้ให้กรมมหาดไทยมีท้องตราส่งสัญญาบัตรนายเพิ่มมหาดเล็กเป็นพระเหมสมาหาร และส่งตรามงกุฏสยามชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ให้พระยาวุฒาธิคุณ เหรียญบุษปะมาลาให้หลวงณรงค์โยธาแล้ว. (พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์ x x x ที่ ๑๘๒ / ๒๕๕๖๗ ศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้าย วันที่ ๒๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ทราบฝ่าพระบาท ด้วยเกล้าฯ ได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๓ เดือนนี้ ว่าเจ้าพนักงานกระทรวงมุรธาธรค้นได้เรื่องเมืองสุวรรณอ่างทองขึ้นเมืองมุกดาหารประทานไปนั้น เกล้า ฯ ได้รับไว้มีความขอบพระทัยเป็นอันมาก

๘๒ เกล้าฯได้มีตราส่งคำชี้แจงเรื่องนี้ขึ้นไปถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมให้ทรงทราบด้วยแล้ว ควรมิควรแล้วแต่ จะโปรดเกล้า ฯ. ดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย x x x เมืองหนองคาย วันที่ ๗ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๑ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาททราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยโปรดเกล้า ฯ ขอพระราชทานหัตถเลขา ร. ที่ จ.๕๒ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๒๕ ๑๑๐ นั้น ข้าพระพุทธ- เจ้าได้ทราบเกล้า แต่ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ ทุกประการ แล้ว เขี้ยวเสือนั้นใช้ดีอยู่อีกอย่างหนึ่งคืออำพันกล้องหักเอาเขี้ยวเสือ ใช้แทนดี เมื่อสูบไปสัก ๙ วัน ๑๐ วันมีลายขึ้นเหมือนกับอำพัน ขุ่น ๆ ที่นับถือว่าดี กับที่ได้ทราบเกล้า ฯ ว่า ไม่ทรงสบายพระองค์ มากขึ้นแต่ก่อนนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเสียใจเป็นล้นเกล้า ฯ ได้สืบ เสาะดูตามยาป่า ๆ ตามที่ได้เคยเห็นมาแต่ก่อน มารดาข้าพระพุทธเจ้าเป็นโรคจุกอย่างี้ หาหมอหลายหมอแก้ไม่หาย มีหมอโคราชคนหนึ่ง ลงไปกับพระยานครราชสีมา (เมฆ) หมอนั้นเป็นบ่าวของป้าข้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นภรรยาพระยาปลัด ให้รับพระราชทานยาเป็นเม็ด

๘๓ ย่อม ๆ สีเหลือง ๆ ว่าเป็นว่านเม็ดเดียวก็ไม่เห็นเป็นมาอีกตนทุกวันนี้ แต่จะเอาเป็นแน่ว่าหายเพราะยานี้ก็ไม่ได้ เพราะเกตุว่า รับพระราชทาน ยาหมอบ้าง ยาอื่นบ้าง สำส่อนอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ถามป้าดู ก็ว่าสาบสูญไปเสียแล้ว จนถึงนายเพิ่มบุตรพระพุรหมบริรักษ์ (เหม) เป็น โรคนี้มาสัก ๒ ปี ๓ ปี ก็ไม่มีหมอรักษาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไป ถึงได้พูดกันถึงเรื่องนี้ แกกลับมาขอยาไปรักษาอีก ยานั้นได้ให้ยา โซดาใบการะบอนเนตสี่ส่วน เกลือธรรมดา ๑ ส่วน คลุกปนกันเข้า รับพระราชทานช้อนกาแฟหนึ่งตามที่หมอเขาสังเกต แต่ตัวยาเดิมนั้นเขาใช้เกลือธรรมดามาประจุลงในเบ้า แล้วเอากระเบื้องปิดปาก แล้วเอาลงในเตาสูบ ๆ จนเกลือนั้นไหม้แดงแล้วเอาขึ้นล้างน้ำกรองให้ใสแล้วสะตุเป็นเกลืออีก แล้วเอาเกลือที่สะตุแล้วนั้นเอาลงในเบ้าอีก แล้วทำอย่างก่อนให้ครบ ๓ ครั้ง จึงเอามาปนกับเกลือธรรมดาส่วน ๑ เกลือที่เผาแล้ว๔ ส่วน รับพระราชทานมื้อหนึ่งหนักสลึงเฟื้อง ยานี้ยังไม่ได้ลองเพราะขี้เกียจทำ โซดาหาง่ายกว่า และเห็นว่าใช้แทนกันได้จึงได้ ใช้มา ถ้าจะทรงทดลองดูก็ไม่เห็นมีแสลงอันใดเผื่อจะดีบ้าง อนึ่ง อาการนายเพิ่มที่ได้สังเกตดู ๆ คล้ายคลึงกับพระอาการมาก หมอเขาก็ว่าเป็นเถาเป็นดานอะไรเหมือนกัน ดูรับพระราชทาน ยานี้ก็หายเร็วทีเดียว อนึ่ง ยาอันใดที่เจือสุราและเมรัยแล้วเป็นใช้ไม่ ได้กับโรคนี้เป็นแท้ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้กราบบังคมทูลพระกรุณาลงมาช้าไปนี้ ก็เพราะรอฟังอาการที่นายเพิ่มที่ข้าพระพุทธเจ้าให้รับ พระราชทานและลูกก็ยังไม่สู่สบายอยู่ด้วย กับอนึ่ง ทูลกระหม่อมชายอัษฎางค์นั้น ถ้าถึงเวลาหน้าร้อน ในขวบที่เคยประชวรแล้วให้ได้เสด็จ ไปเที่ยวตามทะเลเสียบ้างจะดี ๘๔ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอิศริยาภรนั้นถ้าหมอเขาสังเกตว่าปูนในพระอัฐิน้อยไป ควรจะให้เสวยยาจีนลองดู คือได้เห็นนายเวศนายแย้ม ผู้ช่วยโคราชนอกราชการคนหนึ่ง เมื่อเกิดมาก็บริบูรณ์ดีอยู่ แล้ว ป่วยเป็นโรคแต่จะเป็นโรคอย่างไรหาได้สังเกตไม่ เห็นผอมจนเหลือกำลัง จนผมบนศีรษะร่วงไปเห็นพื้นศีรษะเป็นสีเขียวเส้นแดงเกะกะ ไปทั้งนั้น เดินไม่ได้จนถึงเมื่อเจ็บมาก ๆ จนถึงพลิกไม่ไหว หมอจีนมาต้มยาให้รับพระราชทาน คือเอากระดูกสุกรกระดูกไก่ต้มคล้าย ๆ น้ำเกาเหลาจีน แล้วมีลูกไม้ยาวอย่างหนึ่ง รูปร่างคล้าย ๆ เมล็ดไม้พุทรา จีน เมื่อต้มเข้าแล้วนั้นสีคล้ายๆ น้ำปลาญี่ปุ่นอย่างจาง ๆ ให้รับ พระราชทานกับข้าว เมื่ออิ่มแล้วให้รับพระราชทานน้ำชาดีถ้วยหนึ่ง ห้าขวบจึงได้เดินได้ แต่ยานั้นจะชื่อใดจำหาได้ไม่ ถ้าเอาหมอจีนมา ไล่เลียงดูจะได้ความ กับเด็กบุตรข้าพระพุทธเจ้านั้นเมื่อเดินขึ้นไป ก็สบายดี ครั้นเมื่อไปถึงหนองคายแล้วสัก ๒ เดือนหญิงเล็กผอมไป ทุกวันแต่รับพระราชทานอาหารฤๅปรกติ ครั้นมาเมื่อข้างปลาย เดือนมีนาคม ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณามีอุจจาระออกมาหยาบมากขึ้นทุกวัน ๆ ประมาณ ๕ วัน ๖ วัน หมอประกบยาให้ รับพระราชทานก็ไม่คลาย ต่อนั้นมามีเสมหะกับโลหิตดำ ๆ ออกมา เวลาเช้าครั้งแรกต่อไปภายหลังเป็นเสมหะกับโลหิตแดง ๆ ออกมาประมาณ ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง จนเวลากลางคืนไปก็อุจจาระ แต่ไม่มีอาการปวดเหมือนคนที่เป็นบิดฤๅเป็นมูกเลือดอย่างที่เคยเป็นแบะเคยเห็นมาอาหารและนอนเป็นปรกติเหมือนคนธรรมดา มาในข้างต้นเดือนเมษา

๘๕ ท่านใหญ่แกมาพบเข้า ได้เห็นอาการอย่างนั้น จึงได้บอกว่าลูกแก ได้เป็นมาถึง ๓ เดือน ๔ เดือน ได้หาหมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์รักษาไม่เห็นหาย ครั้นได้ยาต้มซึ่งเป็นยากลางบ้านขนานหนึ่งให้รับพระราชทาน ๒ วัน ๓ วันก็หาย แกจึงต้มยามาให้รับพระราชทาน ๓ วันก็หายเป็นปรกติ เดี๋ยวนี้ก็อ้วนเกือบจะถึงเก่าอยู่แล้ว ได้ถ่ายรูปเด็ก ๒ คนมาทูลเกล้า ฯ ถวายด้วยแล้ว กับเรื่องกินนั้นไม่ใคร่จะมีอะไร มีที่โคราชหลายชิ้นแต่ทว่าไปเกี่ยวข้องกับพระยาภาศเป็นอันมาก ชังแกเต็มทน จึงไม่ได้ขวานขวายที่จะเอาส่งลงมา เพราะเรื่องกระถางโพรงกระรอก กระถางนี้เดิมแกก็ให้มาเอง แล้วก็ผูกผ้าแดงทุกครั้ง พอขึ้นไปข้าง โน้นอยู่ข้างนี้แกบอกว่ามีไม่ผูกเป็นการนุ่งแม้ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะทำเรื่องราวร้องลงมาก็กลัวว่าทนายจะทนแกไม่ไหวเลยต้องรวม กับได้กระบอกญี่ปุ่นกระบอกหนึ่งแต่ดูเหมือนจะมีอยู่ได้ส่งลงมาทูลเกล้า ฯ ถวายในคราวนี้ด้วยแล้ว กับน้ำมันหมีแท้ขวดหนึ่ง วิธีทำนั้น เอาเปลวในตัวหมีมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน แล้วเอาน้ำมันนั้นล้างน้ำให้สะอาดแล้วมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำมันหมีตลับไม่ได้อบอันใดเลย แต่ดูกลิ่นยังน้อยอยู่กับเขาสักหน่อย เห็นหมอกาวันน้ำมันหมีแท้อย่างนี้แพงมากและได้ลองใส่ผมดูเย็นดีจริง ๆ กับอนึ่ง ได้ส่งรูปพระยอดเมืองขวางลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย รูปหนึ่งด้วยแล้ว และได้ถามถึงกิมตึ๋งว่ามีอยู่บ้างค่อนข้างจะเป็นถ้วย ๆ ชาม ๆ ได้สั่งไปให้ค้นดู ถ้าได้แล้วจะส่งลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม

๘๖ (สำเนา) ที ๑๑ /๓๘๖๓๕ วันที่ ๒๗ มกราคม ร.ศ. ๑๑๔ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม บ้านหมากแข้ง โทรศัพท์ที่ ๒๘ ลงวันที่๔ เดือนนี้รับแล้วเรื่องแขนหักนั้นเข้าใจว่าไม่ใช่พระกรฝ่าพระบาท ถ้าจะมีบ้างเล็กน้อยหวังว่าไม่มาก ขอ ให้ตอบชี้แจงร้อนใจอยู่ ถ้าเกล้า ฯ ได้มานครราชสีมา คงจะเข้าเฝ้าให้ได้ แม้ไม่เสด็จลงมานครราชสีมาก็จะตามขึ้นไปเฝ้า. (เซ็นพระนาม) ดำรง x x x ที่ ๓๙/๙๗๓ ศาลาว่าการมหาดไทย วันที่ ๘ เดือน เมษายน ร.ศ. ๑๑๕ กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ราช-เลขานุการทรงทราบ ด้วยแต่ก่อนเกล้า ฯ ได้รับโทรศัพท์พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ฉบับ ๑ ลงวันที่ ๔ มกราคม ร.ศ. ๑๑๔ ว่าด้วย ราชการทางเมืองแก่นท้าว ในท้าวศัพท์ฉบับนั้นมีคำว่าเวลานี้ แขนข้างขวาหัก เมื่อเกล้า ฯ สังเกตเห็นก็ไม่สู้จะเข้าใจจึ่งได้มีโทรศัพท์ ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ร.ศ. ๑๑๔ กราบทูลถามไปว่า เรื่องแขนหักนั้นเข้าใจว่าไม่ใช่พระกรหัก ถ้าจะมีบ้างเล็กน้อยหวังว่าไม่มาก ขอให้ ทรงตอบชี้แจงมา ด้วยร้อนใจอยู่ บัดนี้เกล้า ฯ ได้รับลายพระหัตถ์ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ฉบับ ๑ ว่า พระกรหักจริง คือเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๔ เสด็จ ๘๗ ไปช่วยเขาทำบุญ ขากลับเกวียนที่ทรงหักกระทบพระกรขวาหักด้วย แล้วมารักษาพยาบาลสัก ๑๓ วันก็หาย แต่ยังทรงฉลองพระองค์เอง ไม่ได้จนบัดนี้ ถ้าจะใช้พระกรขวาตีหรือเคาะอะไรยังเจ็บอยู่ เกล้า ฯ ได้ ส่งสำเนาลายพระหัตถ์ลงวันที่๑มีนาคม ร.ศ. ๑๑๔ ถวายมาด้วยแล้ว ขอฝ่าพระบาทได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาบฝ่าละ- อองธุลีพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ. ดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย x x x สำเนาที่ ๑๒๕ รับวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๕ บ้านหมากแข้ง ขอนแก่น วันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๔ ทูล กรมหมื่นดำรง ทรงทราบ แขนที่หักนั้นคือเดมิวันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๔ ขุนสีซึ่งเป็นลูกพี่ของป้าช้อยแม่พระองค์จรูญแก ทำบุญมาแกนิมนต์ไป ฉันกำลังบ้าเกวียนอยู่ด้วย ก็ขึ้นเกวียนไปกับนวม ลูกหญิงอุไรวรรณพันธุสิงหงค์ ชายไศลทอง เวลาช่วยงานเขาแล้ว บ่าย ๕ โมงกลับพอพ้นบ้านออกมาสัก ๑๒ เส้น ทางที่มานี้เป็นทางใหม่ควงที่แอกคลายและโคอยู่ข้างจะวิ่งจัดด้วย จึ่งเหลียวหลังมาเรียก คุณตั้ว พันเอิญคุณตั้ว เอาม้าไตีอังกฤษเสียที่ให้ไม่ทราบ ล้อเกวียน ก็ขึ้นไปบนตอ นวมร้องบอกก่อนว่าตอ แต่หูโก๋ไป ได้ยินเป็นเขา ช่วยร้องเรียกคุณตั้ว พอล้อลงจากตอหน้าเกวียนก็สะบัดก็หล่นลงมาแขนขวาก็หัก ลูกหล่นลงมาด้วย เห็นล้อจะทับจึ่งได้เอามือซ้ายลาก

๘๘ ออกมาได้ นายพร้อมสิ่งมาเอากระดูกต่อกัน แล้วมัดโยนแน่นดีแล้ว ก็เอามือซ้ายขับเกวียนกลับมาบ้าน พอมาถึงท่านใหญ่กับหลวงวิชิต จ่าช่วงมาเก่าเจ้าพวกที่ตามไปว่า ไม่ดูแลอยู่จนดึก พอท่านกาหล เหล่านั้นไปแล้วจึ่งได้ทายาแล้วมาสัก ๑๓ วันก็หาย แต่ยังใส่เสื้อ ถอดเสื้อเองไม่ได้จนบัดนี้ ถ้าทำอะไรที่ตีฤๅเคาะก็เจ็บมาก ส่วนความที่อยากมาพบท่านั้นเป็นอเนกประการ ทั้งการที่จะทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองและความคิดราชการบ้าง เขียนหนังสือสู้พูดกันไม่ได้ ถ้าได้ภาว ๆ กันบ้างแล้ว มันหมดกังขา ไม่ใช่อยาก จะหนีราชการทางโน้นเลย ครอบครัวก็อยู่พร้อมมูลกันแล้วจะห่วง อะไรกับ"สมุทน้ำเงิน" อังกฤษออกอีกแล้วขอสักเล่ม ๑ กับ อ้ายยักขมิ้นดินสอพองกลับเข้ามาแล้วมีอะไรบ้าง พอรู้การที่ควรรู้บ้าง จะได้พลิกทัน. ลงพระนาม ประจักษ์ x x x ที่ ๑/๓๖ ไม่ได้มีหนังสือไปถึงเธอนานแล้ว แต่ตั้งท่าจะมีไปหลายหนเรื่องที่จะพูดมันประดังกันมากๆเห็นว่าจะไม่สำเร็จงดไว้ มีธุระอื่นก็ ทำไปเสียติดต่อกันไปนาน ๆ การที่สะสมเรื้อรังเป็นเพราะดังนี้ แต่ได้ มีใจคิดถึงพูดถึงอยู่เนือง ๆ เมื่อได้ทราบข่าวโทรเลขว่าแขนหัก ไม่เชื่อเข้าใจว่าโทรเลขจะบอกโก๋ไปฤๅขาดอย่างใด ต่อได้เห็นหนังสือที่ มีมาถึงกรมดำรง จึงเอาเป็นแน่ มีความสงสารอยู่แต่เสียงที่พูดดูจะ ไม่เป็นความลำบากยืดยาวนัก หวังใจว่าหนังสือนี้จะขึ้นไปถึง คง จะหายแล้ว ๘๙ ขอบอกข่าวลูกชายเล็กจะได้ออกไปเรียนหนังสือที่ยุโรปพร้อมกับชายเพ็ญ แต่ชายน้อยและชายยุคลนั้น หมอฝรั่งมันไม่ให้ไป คนแรก ว่า หารตทรับเบอล (๑) คนหลังยังผอมไม่แข็งแรง กลัวจะทนเดินทาง และทนอยู่ในยุโรปไม่ได้ ขอให้รอไปอีก ๒ ปี ๓ ปี มีท่าทางที่จะ ปรกติได้ ตัวฉันนับว่าเป็นหาย อ้วนกว่าเมื่อเธอขึ้นไป แต่โรคจุบจิบ คือเมื่อยไอขากเสมหะ ดูเหมือนจะแรงขึ้นกว่าแต่ก่อน เรื่องเหล่านี้ ดูเป็นอาจินไตย ก็คงจะแก่ขึ้นตามอายุนั้นเอง และการที่เป็นต่าง ๆ อย่างเก่าเดี๋ยวนี้ มักจะให้ผลเจือไปถึงเรื่องกษัย ซึ่งกว้างเหลือ ประมาณมีอานิสงส์ไปได้หลาย ๆ วัน ถ้าข้ามฤดูร้อนฤดูฝนนี้ไปได้ ไม่เจ็บไข้อันใด ถึงล้มหมอนนอนเสื่อ ฤดูหนาวหน้าเห็นจะเป็นปรกติ เรื่องฝรั่งเศสก็เป็นการหยุมหยิมตามเคย แต่ตามเคยอย่าง แรง ๆ เหมือนเธอเคยเป็นโรคลงรากจนไม่กลัวโรคลงราก ก็มีเสมอ ๆ อยู่ ทูตฝรั่งเศสไปไซ่ง่อนพึ่งกลับเข้ามาถึง จะพกอะไรเข้ามาบ้าง ไม่รู้ แต่คะเนกันว่าไม่มีอย่างร้ายแรง ถ้าไม่ต้องกินยาถ่าย คิดว่าจะ ไปส่งลูกชายเล็กถึงสิงคโปร์ แต่ต้องขังมาถึง ๓ ปีแล้ว ถ้าได้ไปเสีย สักเหนื่อยหนึ่งเช่นนั้น เผื่อจะฟื้นกลับอ้วนพีบริบูรณ์ขึ้นได้ ก็จะทำให้วันยาว ข้างตะวันออกก็ไปไม่ได้เกรงจะมีถ้อยความหนามเสี้ยน ซึ่งมันส่ายหาอยู่ยังไม่ใคร่พบ ถ้าเป็นปรกติดีจะเลยไปชวาอีกสักครั้งหนึ่ง เพื่อจะขึ้นไปอยู่บนยอดเขา ซึ่งเรียกว่า สินันทลยอันเป็นเมืองสวรรค์ อย่างโก้ ซึ่งจับไข้ขึ้นไปห็หาย คงจะไปอยู่ในประมาณ ๒ เดือนเป็น อย่างช้า ถ้ามีเวลาว่างฤๅฤกษ์งามยามดี ที่หลุดขื่อหลุดคา ให้พูด อะไร ๆ ลงมาบ้างไม่ได้ฟังนานแล้ว นึกคิดถึง. (๑) Heart Trouble โรคหัวใจ ๙๐ ที่ ๑/๘ บ้านหมากแข้ง วันที่ ๑๙ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๕ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานพระราชหัตถเลขาหมายเลขที่ ๑/๓๖ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๑๑๕ ได้ทราบเกล้า ฯ ทุกประการแล้ว ซึ่งทรงพระบาทปรารภถึงข้าพระพุทธเจ้าในการที่ตกเกวียนลงแขน ข้างขวาหักนั้น พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ แต่เมื่อเวลาที่ตกลงนั้น เป็นเดชะพระบารมีปกเกล้า ฯ ด้วยนายแพทย์ได้ขึ้น ม้าตามติดมา เมื่อขณะพลัดตกลงหมอก็ลงจากม้าเมื่อเห็นกระดูก แขนหักก็จับต่อผูกรัดดามตามวิธีแพทย์ ในขณะไม่ช้าเวลายังไม่ ทันบวมจึงได้หายได้ในสิบวัน แล้วหมอก็ให้ไปสกล ครั้นไปถึงสกล แล้วไปซื้อม้าใหม่ม้าหนึ่งสำหรับจะขี่เดินทางม้านั้นยังไม่สู้จะเป็นดี ในเย็นวันนั้นจะออกไปดูทะเลสาบด้วย พอผูกเครื่องม้าแล้ว ม้านั้นอยู่ ม้ากระทบแขนข้างขวาเจ้าตรงที่หัก บวมไปได้อีกห้าหกวัน ครั้น หายบวมแล้วมาเสียดอยู่ในเนื้อที่ราวนมข้างขวา จนทุกวันนี้เสมอยัง ไม่หาย แต่หลังด้วยเกล้า ฯ ว่ายังคงจะไม่ตายด้วยโรคนี้ อนึ่ง ที่ทูลกระหม่อมเล็กและพระองค์เพ็ญเสด็จไปยุโรปนั้น ข้าพระพุทธเจ้ามีความยินดีมากเมื่อได้ทรงเล่าเรียนวิชาได้ดีแล้ว คงจะเป็นประโยชน์แก่ราชการอย่างยิ่ง และทูลกระหม่อมน้อยและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ายุคลมิฆัมพรที่เสด็จไม่ได้นั้น โปรดให้


๙๑ งดเสียตามหมอฝรั่งว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีความวิตกอยู่ เพราะว่าท่าน ทั้งสองพระองค์นี้อยู่ข้างจะบอบบางมาแต่เดิมแล้ว ที่ได้ทราบข่าวว่า ถึงกับเสด็จไม่ได้นั้น ก็เป็นที่วิตกว่าจะทรงชำรุดทรุดโทรมมากลงไปอีก ส่วนความที่โปรดเกล้า ฯ เล่าถึงพระอาการในพระองค์นั้น ก็ จำเป็นที่ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องกราบบังคมทูลโดบความยินดีอย่างยิ่ง แต่เรื่องที่ทรงพระประชวรนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ข่าวตามปากตลาด หลายสิบปาก ก็ว่ายังไม่ทรงสบายทั้งนั้น ต่อได้ทราบเกล้า ฯ ตามลาย พระราชหัตถ์นี้ จึงได้เป็นอันเปลื้องความทุกข์จากข่าวอื่น ๆ ประการหนึ่งพระราชธุระก็มากขึ้น และความร้อนรนต่าง ๆ ที่พวกอื่นได้รับ ก็คงต้องแบ่งหุ้นทูลเกล้า ฯ ถวายเสมอ จึงเป็นที่ทำให้รำคาญอยู่เสมอ จึงได้ทำให้พระโรคต่าง ๆ กำเริบ เมื่อไม่ทรงสบายแล้ว คนที่มุ่ง หมายยึดหน่วงพระบารมีก็มีความทุกข์ทั่วหน้ากัน ก็เมื่อได้ทราบว่า ทรงสำราญพระราชหฤทัย และสำราญพระกายขึ้นแล้ว ผู้ที่เป็นข้า ฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็เป็นที่ชื่นชมยินดีทั่วหน้ากัน ส่วนข้าพระพุทธ-เจ้านั้นมีความยินดีเป็นล้นเกล้า ฯ นับว่าปราศจากห่วงหลังจะได้ตั้งใจระวังแต่ข้างหน้าแต่อย่างเดียว เรื่องฝรั่งเศสที่หยกหยิกนั้น บัดนี้ได้รับข่าวจากท้าวขัติยะผู้ว่าราชการเมืองแก่นท้าว และเป็นผู้รักษาราชการเมืองเลยด้วย ว่าเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๕ ฝรั่งเศสกับพระยานาใต้หลวงวิเศษ สุนทร กับกำลังร้อยคนเศษเข้ามาที่บ้านท้าวขัติยะ ในขณะนั้นท้าว ขัติยะเข้ามาตรวจราชการที่เมืองเลย หาได้อยู่ที่เมืองไม่ เมืองจันเป็น ผู้รักษาราชการเมืองอยู่ และข้าหลวงก็มาด้วยราชการเขตแดนเมืองแก่นท้าวและเมืองเชียงคานวิวาทกัน พวกฝรั่งเศสขึ้นไปบนเรือนท้าว ๙๒ ขัติยะเก็บทรัพย์สมบัติและริบช้างม้าโคกระบือไป และประกาศตั้งให้ หลวงวิเศษสุนทรเป็นผู้ว่าราชการเมือง และประกาศยกเมืองแก่นท้าว เป็นเมืองเอก และคุมกำลังทหารที่เที่ยวจับตาแสนนายบ้านให้มาทำ บาญชียื่นสำมะโนครัว พวกที่ไม่ยอมก็พากันหนีเข้ามาที่เมืองเลย แต่ความเรื่องนี้ยังหาได้รับข่าวจากข้าหลวงเราไม่ เพราะข้าหลวงเรายัง อยู่ที่เขตแดนเชียงคาน ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้มีคำสั่งให้ท้าวขัติยะรอรักษาราชการอยู่ที่เมืองเลยก่อน จะได้บอกความลงมายังกรุงเทพ ฯ การเรื่องนี้ข้าพระพุทธเจ้าสิ้นปัญญาความคิดจริง ๆ มีอยู่อย่างเดียว ที่จะให้กำลังแก่าวขัติยะ คือแต่งคนให้ท้าวขัติยะเป็นโปลิศออกไป ปราบปรามจับพวกเหล่านี้ก็ได้ตัวเท่านั้น แต่การข้างหน้าจะเป็นอย่าง ไรก็ไม่ทราบเกล้า ฯ เห็นจะได้ไม่เท่าเสีย จึงจำเป็นต้องบอกหารือ ลงมายังกระทรวง อนึ่ง ทางฝรั่งเศสเดินอยู่ทุกวันนี้ ก็จะใช้วิธีนี้ทุกแห่ง ตามที่ มาพูดกับพระยาวุฒาและที่อื่น ๆ ว่าเมืองหนองคายเป็นเขตของเมืองเวียงจันทน์จะเอา ปากลายเป็นเขตของหลวงพระบางก็ให้แล้ว เมืองเหล้านั้นก็เป็นเขตของเมืองนั้น ๆ ทุกแห่งแล้วเหมือนเรื่องเมืองแก่น ท้าวนี้แต่เดิมก็ว่า ที่ฝรั่งเศสมายึดเอาแผ่นดินฟากน้ำต่ำฝั่งซ้ายของน้ำ ต่ำ ก็เพราะว่าเราได้ป้ายสีในแผนที่ให้ แต่เมื่อหลวงพระบางยังอยู่ใน อำนาจเขา ครั้งนี้เลยสีเข้ามาแล้ว ก็ถ้าเลยเข้ามาได้ก็คงหมด เพราะฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้ามีความสงสัยอยู่ ดังจะกราบบังคม- ทูลพระกรุณาต่อไปนี้ ๑. ในเมืองเหล่านี้คือเมืองริมน้ำอยู่ใน ๒๕ กิโลเมตรนี้ ฝ่ายเรากำลังหรือก็ไม่มี โดยจะบังคับพูดให้สู่หรือให้หนีก็พูดไม่เต็มปาก ส่วน ๙๓ ฝรั่งเศสก็ตั้งการที่จะให้เกิดรบพุ่งขึ้นให้จงได้ คิดพากเพียรพยายาม ที่จะส่งอ้ายตัวแมงอะไรต่างๆ ที่จะเข้ามาเซ่นอาวุธเราอยู่เสมอ ๆ ถ้า เราไม่โกรธก็พอใจ โกรธก็พอใจเช่นนี้ จะควรทำอย่างไร ๒. เมืองเหล่านี้ ถ้าเราจะเอาไว้แล้วเราจะคิดส่งคนของเราให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ถ้าเอะอะอะไรให้เป็นราษฎร เขาพร้อมใจกันต่อสู้เช่นนี้ ภายหลังมันจะถึงเราได้หรือไม่ ๓. ถ้าเราจะรักษาไว้ไม่ได้ร้างเสียดีกว่า เพราะเห็นด้วยเกล้า ฯ ชัดแล้วว่า ถ้าจะคิดร้างที่เหล่านี้คนคงจะเข้ามาอยู่กับเราทั้งนั้น โดย จะไปทางโน้นก็น้อย เพราะการเก็บเงินและใช้สอยเรี่ยวแรงมาก ๔. ถ้าจะเอาเมืองเหล่านี้ไว้ ต้องต่อว่าเรื่องเมืองแก่นท้าว ให้แข็งแรงจึงจะไม่ลามปามต่อไปได้ เห็นด้วยเหล้า ฯ ดังนี้ อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทุกวันนี้ก็สิ้นกำลังวังชาลงมากแล้ว เพราะ จ่าช่วงไฟประทีปวังซ้ายซึ่งให้ไปพิจารณาคดีที่ราษฎรและกรรมการ กล่าวโทษศนายสุดจำลองข้าหลวงเมืองหล่มสักด้วยเรื่องประพฤติ อนาจารต่าง ๆ ได้พร้อมกันเป็นไข้ป่าลงหมดด้วยกัน จ่าช่วงจึงได้ เขียนหนังสือขอให้ส่งหมอไปพยาบาล ได้รีบจัดหมอให้ขึ้นม้าไป ๔ ม้า ในวันที่ ๑ กรกฎาคม บัดนี้ได้รับข่าวว่าจ่าช่วงได้กราบถวายบังคมลา ถึงแก่กรรมเสียเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม เวลา ๓ ยามแล้ว จ่าช่วงผู้นี้ ได้รับราชการมาด้วยกัน ๑๒ ปีแล้ว เป็นคนมั่นคงจงรักภักดีต่อราชการอย่างยิ่ง และไม่ประพฤติการชั่วร้าย และเป็นคนเที่ยงธรรม ไม่เห็นแก่บุคคลผู้ใด และอดทนต่อราชการอย่างยิ่ง ตั้งแต่ปี ๑๑๒ มา จ่าช่วงได้มีเวลาพักอยู่ที่บ้านหมากแข้ง ๙๗ วันเท่านั้น นอกนั้นต้อง เที่ยววิ่งไปทั้งมณฑล และมีอัธยาศัยเรียบร้อยเป็นที่รักและนับถือ ๙๔ เชื่อถือของเจ้าเมืองกรมการทุก ๆ เมือง การสิ่งไรที่ให้ไปทำย่อม สำเร็จทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นต้นว่าสุราเมืองสกล พระยากำแหงทำอยู่สามปีขาดทุนเงินแผ่นดินเก้าชั่ง จ่าช่วงไปทำสี่เดือนได้เงินแผ่นดิน ๑๗๑๙บาท และเมื่อไปอุบลคราวนี้ได้เดินทางไปทางเมืองสกลได้ไปช่วยนายปรีดาราชข้าหลวงจัดการในเรื่องภาษีสุราได้เงินอีก ๘๐๐ บาทจากที่นายปรีดาราชจัด รั้นกลับจากอุบลมาพักอยู่ที่บ้านหมากแข้ง เจ็ดแปดวัน พอถือน้ำแล้วก็ไปหล่มสัก ก็ไปถึงแก่กรรมเสีย เมื่อ คนที่เป็นกำลังแก่ราชการมาถึงแก่กรรมเสียเช่นนี้ เป็นนับว่าข้าพระ-พุทธเจ้าสิ้นกำลังลงเกือบกึ่งหนึ่ง อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามาตริตรองดูในราชการทุกวันนี้ ก็ให้เป็นที่ฉงนใจวนเวียนไปทุกสิ่งทุกอย่าง อยากจะขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตกลับลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสักสามเดือน เพื่อจะได้เล่าเรียนทางปฏิบัติราชการบ้าง ถ้าโปรดพระราชทานพระบรม ราชานุญาตแล้ว เดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายนจะได้ลงมา และเดือนมีนาคมที่ ๑จะกราบถวายบังคมลาขึ้นไปให้จงได้ แต่ถ้ากรุงเทพ ฯ ยังมีอหิวาตกโรคชุมอยู่ก็ยังไม่กลับ ปีใดสมควรจึงจะกลับ ถ้าไม่ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กลับมาเรียนทางราชการบ้างแล้ว จะปฏิบัติไปตามทางโง่ ๆ ก็เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า ข้าพระพุทธเจ้ามี ความผิดในราชการลงพระราชอาญามีสถานใด ประหารชีวิตเป็น อย่างหนัก ภาคทัณฑ์เป็นอย่างเบา แต่การที่เสียไปแล้วจะไม่คุ้ม กับชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง การที่ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้กราบบังคมทูล พระกรุณาลงมา เมื่อเวลาได้รับพระราชหัตถเลขานั้น เพราะถูกจำ

๙๕ ห้าประการไม่มีเวลาทุเลาเลย ผู้คุมพึ่งผ่อนออกมาชำระจึงได้มีช่องกราบบังคมทูลพระกรุณาได้ พระราชอาญาเป็นล้นเกล้า ฯ ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรกกระหม่อม ขอเดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ประจักษ์ศิลปาคม x x x ที่ ๓ / ๑๔๕ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๒๒ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก๒๙ ๑๑๕ ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ด้วยเธอจดหมายที่ ๑/๘ ลง วันที่ ๑๙ กรกฎาคมตอบจดหมายฉันที่ ๑/๑๖ ลงวันที่ ๙ เมษายน นั้น ได้รับแล้ว ข้อราชการที่ถามปัญหามาเป็นข้อ ๆ ด้วยเรื่องเมือง ในที่ ๒๕ กิโลเมตรนั้น ในข้อ ๑ ข้อ ๒ เราก็เห็นอยู่เช่นนั้นจะแก้ยาก ข้อที่คิดร้างเมืองนั้นเราได้คิดจัดทางเมืองเชียงแสนเช่นนั้น แต่เมืองที่จะร้างจำจะต้องเป็นเมืองที่ไม่บริบูรณ์ ให้คนเข้ามาเองอย่าต้อง กวาดต้อนครัว การเรื่องเมืองแก่นท้าวได้คิดกับกรมดำรงอยู่แล้ว หลวงวิเศษสุนทรนั้นพยานความบางเบี่ยน เดี๋ยวนี้จะลงมือชำระ เห็นจะต้องเรียกมา ให้ฟังตราทางมหาดไทย จ่าช่วงตายเป็นที่เสียดายนัก จำจะต้องส่งคนขึ้นไปให้ใช้อีก แต่การที่คิดจะลงมาฟังราชการที่กรุง ฯ นั้นดีนัก เวลานี้ราชการข้างประเทศยุโรปก็ตึงอยู่ ที่จะมีเหตุโครมครามเห็นจะยังไม่มี การที่


๙๖ จะชี้แจงกันด้วยหนังสือให้แจ่มแจ้งเป็นอันยาก กลับลงมาฟังด้วยหู เร็วกว่า และจะได้หาคนเพิ่มเติมขึ้นไป ว่าแต่การรักษาภายหลังนั้น ถ้าไม่มอบให้ใครบังคับการเป็นตัวรวมการได้ เป็นแต่ทำตามพนักงานกลัวว่าจะไม่เป็นที่เรียบร้อยกันได้ ให้คิดวางการไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงกลับมา ลูกชายน้อยและชายยุคลแข็งแรงขึ้นกว่าแต่ก่อน การที่หมอห้ามนั้นห้ามตามพื้นโรคเดิม การที่ไปครั้งนี้จะเล่าให้ฟังก็จะยาวนัก ได้คัดหนังสือที่มีมาถึงกรมหลวงและลูกชายเล็กมาให้ดูแต่เป็นคอเรศปอนเดนกระท่อนกระแท่น ได้ทำไดอารีอยู่แต่ยังค้างอีกถึง ๒๐ วัน มาถึงบางกอกพอเสด็จยายประชวรและสิ้นพระชนม์ ไม่มีเวลา ที่จะทำ แต่ยังได้อุตส่าห์เขี่ยเล็กเขี่ยน้อยอยู่เสมอ ถ้าไม่มีราชการ ตูมตามมามากก็เห็นจะสำเร็จได้ การที่ไปครั้งนี้นับเป็นรื้อตั้งต้นใหม่สบายกระเตื้องขึ้นมากตัวมีน้ำหนักบริบูรณ์ แต่กำลังและโรคร้าย ไม่คงและไม่หายไปได้ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะอายุมากขึ้นเท่านั้น. x x x ที่ ๔/๒๔๗ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๒๒ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก๒๙ ๑๑๕ ถึงพระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์ ด้วยคิดจะให้มีธรรมเนียมกอน-โตรเลอขึ้นในหัวเมือง จะให้มีมณฑลละ ๔ คน จะหามหาดเล็กได้ พอเป็นฤๅไม่ ให้คิดเลือกคัดดู ถ้าได้ครบแล้วจะต้องให้ไปเรียนให้รู้ ราชการต้นขั้วมหาดไทยหน่อยหนึ่ง แล้วจึงจะส่งออกไปหัวเมือง.


๙๗ ไปรเวตที่ ๑๙๑/๓๓๔๓๓ ศาลาว่าการมหาดไทย วันที่ ๓๐ เดือน ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๕ ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับใบบอกพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน ฉบับที่ ๑ ที่ ๑๗๑ / ๑๑๕ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๕ ตอบท้องตราพระราชสีห์เรื่องฝรั่งเศส ห้ามคนฝั่งซ้ายขายนางโคกระบือ เรื่องนี้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมคิดอ่านหาประกาศและหลักฐานอยู่แล้ว และชี้แจงเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศศได้จัดทำอยู่ในเวลานี้ ในท้ายใบบอกมีพระประสงค์จะกลับเข้ามากรุงเทพฯ ชี้แจงราชการต่าง ๆ สักคราว หนึ่ง มีความพิสดารแจ้งอยู่ในสำเนาใบบอก ซึ่งได้คัดทูลเกล้า ฯ ถวายมาพร้อมด้วจดหมายนี้แล้ว ตราเรียกพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมก็ได้มีไปแล้ว. ควรมิควรแล้วแต่ตะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ดำรงราชานุภาพ ขอเดชะ




๙๘ (สำเนา)ที่ ๑๗๓ / ๑๑๕ ตอบเรื่องฝรั่งเศสห้ามคนฝั่งซ้าย ขายนางโคกระบือ บ้านหมากแข้ง แขวงกุมภวาปี วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก๒๙ ๑๑๕ ทูลมายัง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงทราบ ด้วยมีตราพระราชสีห์น้อยที่ ๑๐๐ / ๒๔๑๗๔ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕ ตอบบอกของหม่อมฉันในเรื่องฝรั่งเศสจัดการห้ามปราม ไม่ให้ราษฎรฝั่งซ้ายขายนางโคกระบือออกนอกอาณาเขต พระยาประทุมเทวาธิบาลจะขอให้จัดการห้ามปรามบ้างว่า ถ้าได้ประกาศของฝรั่งเศสในเรื่องนี้ส่งมายังท่านจะเป็นการดีนั้น ได้ทราบความทุกประ-การแล้ว การเรื่องนี้หม่อมฉันได้สั่งพระยาประทุมเทวาธิบาลให้คิดอ่านหาประกาศและหลักฐานแล้วแต่ประกาซนั้นเห็นว่าคงจะมีเป็นแน่แต่ คงจะเอายาก ด้วยพวกฝรั่งเศสเวลานี้อยู่ข้างจะกวดขันห้ามปรามกันแข็งแรงมาก แต่อย่างไรก็ดีพนะบาประทุมเทวาธิบาลคงจะคิดล่อลวงเอาให้ได้จนสุดกำลัง แต่ก็หวังใจว่า บางทีจะไม่สำเร็จ เพราะว่า ฝรั่งเศสเขาเดินทางได้คล่องกว่าเรา คือพวกลาวชอบน้ำร้อน ฝรั่งเศสใช้ลวกเล่นโดยไม่มีกรุณา ฝ่ายเราจะลวกเข้าบ้างก็ตรงกับศัพท์ว่า ตาดำ ๆ เพราะฉะนั้นการอะไรที่เราจะทำมันรวดเร็วสู้เขาไม่ได้ หรือ มิฉะนั้นถ้าเราจะทำการโดยเคร่งครัดดีดสายเอกสายก็จะขาด หรือ

๙๙ มิฉะนั้นเหมือนกับต้อนฝูงสัตว์เข้าไปหาพรานเท่านั้น ก็แต่ในทุกวันนี้รอดตัวที่เจ้าเมืองกรมการ ตามริมแม่น้ำเขาเชื่อโอวาทอยู่บ้าง จึง ค่อยรอดตัว เพราะว่าฝรั่งเศสทำแก่เราอย่างไร ให้กรมการเก็บสลัก สำคัญไว้ เมื่อมีเหตุขึ้นไม่ต้องประพฤติตามกฏหมายหรือธรรมเนียมประการใด ให้เอาที่เขาทำแก่เราเป็นกฏหมายดังเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้ร้าย ข้างฝั่งซ้ายมาลักกระบือเราไป ครั้นเราจับได้ฟ้องเขา ๆ เอากระบือ คืนให้ เอาผู้ร้ายจำคุกหนึ่งเดือน ครั้นคนของเราไปลักกระบือของเขา มา เขาจับได้เขาฟ้องร้องเรา ๆ ก็คืนกระบือให้ จำคุกเดือน ๑ เขาต่อว่า ว่าเอากฏหมายที่ไหนมาทำเช่นนี้ กรมการเราก็ถามว่า เรื่องนั้นเอา กฏหมายที่ไหนมาทำเช่นนั้น เขาตอบว่าเขาทำโดยความยุติธรรม เราก็ตอบว่าทำโดยความยุติธรรม ตกลงเป็นเงียบไปเรื่องหนึ่ง ส่วนผู้ร้าย ที่ขโมยในฝั่งโน้น จนแม้ว่าด้ายเส้นเข็มเล่มดูจำคุกไม่มีเวลาออก เห็นได้ว่าฝรั่งเศสบำรุงความไม่ชอบธรรมให้เกิดขึ้นในฝ่ายเราข้างเดียว เพราะฉะนั้นในเวลานี้ไปจนเดือนแปดข้างขึ้น ที่เขาสมมติกันว่า เป็นฤดูน้ำ ฝรั่งเศสเคยกำหนดเรียบร้อย ขออนุญาตลาจากราชการ สักสามเดือน คือเดินทางหนึ่งเดือน อยู่กรุงเทพ ฯ สักเดือนหนึ่งหรือ ว่าถ้าเวลาไม่พอใจจะรีบกลับ และเดินทางกลับขึ้นไปอีกเดือนหนึ่ง เพื่อจะหาความรู้ทำการฉลองพระเดชพระคุณบ้าง เพราะทุกวันนี้ไม่มีความรู้พอเสียแล้ว ดังเช่นความเรื่องเมืองแก่นท้าวที่เป็นการเห็นว่าใหญ่โต กลับได้รับไปรษณียบัตรลงชื่อเจ้าคุณปลัดทูลฉลองว่า ไม่ จำเป็นจะต้องตอบเช่นนี้คอมมอนเซนต์ เห็นกันว่าที่กระทรวงจะสั่ง ไม่ได้อยู่เอง เพราะว่าสั่งไปข้าหลวงก็จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ กระทรวง เป็นผู้จะรับผิดชอบ ก็นึกเห็นด้วยกับเขาบ้าง ถ้าความเป็นจริง ๑๐๐ เช่นี้ ควรจะเขียนหนังสือไม่เซ็นชื่อประทับตราไปเฉย ๆ ถ้าความเห็น อันนั้นดีเป็นอุบายที่จะทำได้ตลอดคงจะทำทุกอย่าง ไม่มีใครกลัวอันใดเลย ประการหนึ่งการเขียนหนังสือโต้ตอบเข้าใจยาก ไม่เหมือนพูด ด้วยปาก ประการหนึ่งโรคภัยก็แปลก ๆ ขึ้น คือให้ยอกตามหน้าอก ชักให้ไอนอนไม่ใคร่จะหลับ และแขนข้างที่หักก็ยังเสียด ๆ เสียว ๆ อยู่เพื่อจะหาหมอที่รู้ดีดูอาการบ้าง ประการหนึ่งมารดาก็แก่ชรามาก พอจะได้เยี่ยมเยือน ถึงแม้ว่าเวลาที่กลับก็ยังรับผิดรับชอบอยู่ ไม่ต้องวุ่นวายที่จะต้องหาตัวเปลี่ยนผลัด หรือการที่จะพักราชการของหม่อม ฉันจะมีการขัดขวาง ก็ขอให้ทราบว่าความเป็นจริงอย่างไร ที่ทูลมานี้ จะตกลงประการใด ขอตอบทางโทรเลขให้ทราบ ถ้าไม่ตกลงแล้ว ขอทูลบอกกล่าวว่า ทำไม่ได้แน่ ถ้าจะเอาผิดก็ยอมให้เถือเท่านั้น ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรด (เซ็นพระนาม) ประจักษ์ศิลปาคม x x x ไปรเวต ที่ ๑๘๔ / ๖๔๓ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๑ มกราคม รัตนโกสินทรศก๒๙ ๑๑๕ ทูลพระเจ้าน้องบยาเธอ กรมหม่นดำรงราชานุภาพ ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ว่าหนังสือของท่านที่ทูลเกล้า ฯ ถวาย ไปรเวตที่ ๑๙๑/๓๓๔๓๓ ลงวันที่ เดือนก่อน ส่งสำเนาบอกพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เรื่องฝรั่งเศสห้ามคนฝั่งซ้ายขายนางโคกระบือออกนอกพระราชอาณาเขต และมีพระประสงค์จะใคร่เสด็จกลับกรุงเทพฯ สักคราวหนึ่ง ท่านได้มีตราเชิญเสด็จกลับ ตามประสงค์แล้วนั้น ได้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว. ๑๐๑ ไปรเวตที่ ๑๒๓๐๑/๓๔๒๖๐ ศาลาว่าการมหาดไทย วันที่ ๖ เดือน มกราคม ร.ศ. ๑๑๕ กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการ ทรงทราบ ด้วยเกล้า ฯ ได้ทราบจากโทรเลขขอพระเจ้าน้องยาเธอ กรม-หมื่นประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งมีทูลมายังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ว่าจะเสด็จกลับลงมาถึงกรุงเทพ ฯ วันที่ ๒๔ เดือนนี้แต่เกล้า ฯ ยังหาได้ทราบข่าวตามทางราชการไม่ ขอฝ่าพระบาทได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก