ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย/เล่ม 3

จาก วิกิซอร์ซ
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
คำสอนชั้นปริญญาโท
พุทธศักราช ๒๔๘๓
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
(กฎหมายเอกชน)
กฎหมายที่ดิน
โดย
ร. แลงกาต์
ดอกเตอร์กฎหมายฝรั่งเศส

คำนำ

ในการบรรยายประวัติกฎหมายระบอบที่ดิน มีบางตอนซึ่งข้าพเจ้าจำเป็นจะต้องบุกรุกเข้าไปในเขตต์คำสอนของท่านอาจารย์ผู้สอนกฎหมายปัจจุบัน โดยข้าพเจ้าไม่มีช่องที่จะเว้นได้ เพราะเรื่องที่ดินนี้ กฎหมายเก่ามีอายุยืดเวลานานจนถึงสมัยปัจจุบัน แต่วัตถุประสงค์ของนักประวัติศาสตร์ไม่เหมือนวัตถุประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนกฎหมายปัจจุบัน และวิธีสอนก็ผิดกัน เพราะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายปัจจุบันมุ่งจะให้อธิบายกฎหมายในทางที่เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติ จึงพยายามที่จะแปลบทกฎหมายออกให้มีผลทันสมัยและเหมาะสมแก่ความต้องการของบุคคลในสมัยปัจจุบัน แต่ส่วนนักประวัติศาสตร์ตรงกันข้าม พยายามนำเอาข้อความเดิมของบทกฎหมายมาให้ปรากฎ เพื่อแสดงให้นักศึกษาเห็นถึงการผันแปรของกฎหมายแต่สมัยเก่าจนสมัยเรานี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ผู้สอนกฎหมายปัจจุบันดำเนินคำสอนในทางที่จะทำให้นักศึกษาผู้ฟังสามารถไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าได้ แต่นักประวัติศาสตร์ดำเนินคำสอนในทางที่จะทำให้นักศึกษารู้ถึงวิธีต่าง ๆ ที่เคยใช้มาแต่ก่อน เพื่อตัดปัญหาและระงับข้อขัดข้องในอดีตกาล ซึ่งวิชาทั้งสองนี้ประกอบกัน ทำให้นักศึกษามีความรู้กว้างขวาง แต่โดยเหตุที่คำสอนดำเนินไปคนละแง่คนละทางดั่งนี้ การตีความในกฎหมายบทเดียวกันจึงอาจผิดแผกไปได้เป็นธรรมดา เช่น เมื่ออาจารย์ผู้สอนกฎหมายหรือผู้พิพากษาในสมัยของเรายกบทกฎหมายที่ตราขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยามาอธิบายในคำสอนหรือใช้ปรับคดีความ ท่านเหล่านี้ย่อมไม่อ่านดูบทกฎหมายเช่นอย่างคนในสมัยโน้น เพราะความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเปลี่ยนไปหมด ทั้งบทกฎหมายที่ยกมานั้น ในสมัยที่ตราขึ้น รวมเข้าอยู่กับบทกฎหมายอื่น ๆ ที่ประกอบเป็นระบอบอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เมื่อยกมาใช้ต่างหาก โดยบทกฎหมายอื่น ๆ นั้นเลิกไม่ใช้เสียนานแล้ว ความเดิมก็ย่อมไม่ปรากฎติดพันธ์อยู่ต่อไป แต่ฝ่ายนักประวัติศาสตร์พากเพียรที่จะรื้อฟื้นกฎหมายเก่าพร้อมด้วยระบอบเดิม โดยอาศัยความคิดเห็น ลัทธิธรรมเนียม และบรรดาบทกฎหมายที่ใช้ในเวลานั้น ฉะนั้น หากการตีความของข้าพเจ้าผิดกับคำวินิจฉัยของศาลหรือคำอธิบายของอาจารย์ผู้สอน ขออย่าพึงถือว่าเป็นการติเตียนหรือคัดค้าน เพราะความผิดกันนั้นอาจเนื่องมาจากการใช้วิธีอันต่างกัน

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอตักเตือนนักศึกษาตามที่ได้กล่าวไว้ในคำสอนปี พ.ศ. ๒๔๗๘ และคำนำคำสอนปี ๒๔๘๐ ว่า "ความเห็นที่ข้าพเจ้ากล่าวในคำสอนนี้ โดยมากก็เป็นแต่ข้อสันนิษฐานซึ่งข้าพเจ้าพร้อมอยู่ที่จะสละทิ้งเสียหรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติมในเมื่อมีผู้ชี้ให้เห็นข้อสันนิษฐานอื่นที่ดีและมีน้ำหนักกว่า ฉะนั้น นักศึกษาผู้ฝักใฝ่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทยอย่าได้เอาคำสอนนี้ไปโดยมิได้ไตร่ตรองให้เห็นชอบแท้แน่แก่ใจเสียก่อน ตรงกันข้าม ข้าพเจ้าใคร่ให้นักศึกษาพึงพิจารณาและออกความเห็นโต้แย้งซึ่งกันและกัน เพื่อพิศูจน์ความถูกต้องในความเห็นที่ข้าพเจ้าแสดงไว้ ถ้าหากผู้ใดมีความเห็นแย้งความเห็นของข้าพเจ้าส่วนใดแล้ว ก็ขอได้ชี้แจงให้ข้าพเจ้ทราบด้วย" ฉะเพาะประวัติศาสตร์รอบที่ดิน คำกล่าวนี้เหมาะยมอย่างนี้ เพราะรอบที่ดินหาเกี่ยวกับกฎหมายเอกชนอย่างเดียวไม่ แต่เกี่ยวกับวิธีปกครองบ้านเมือง วิธีเก็บเงินภาษีอากร กับระบอบทางเศรษฐกิจด้วย การศึกษาจึงต้องพึงอาศัยการค้นคว้าในวิชาต่าง ๆ ย่อมเป็นธรรมดาที่จะหาความจริงจังได้ยาก ฉะนั้น ควรถือเอาความเห็นของข้าพเจ้านี้เป็นแต่ข้อสันนิษฐานไว้ก่อน เมื่อมีการค้นคว้าในภายหน้าแล้วได้หลักฐานใหม่ จึงจะรู่ได้ว่าควรถือเป็นความจริงต่อไปเพียงไร.

ร. แลงกาต์
ศาลอุทธรณ์ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๓

สารบาญ
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
๑. กรรมสิทธิ์ที่ดิน
๒. ระบอบที่ดินของชนเชื้อชาติไทยนอกประเทศไทย
หมวด ๒
ลักษณะสำคัญแห่งระบอบที่ดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๒๐
๑. พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินแต่ผู้เดียว ๒๐
๒. ห้ามการซื้อขายที่ดิน ๓๓
๓. เจ้าของขาดสิทธิได้ง่าย ๓๘
หมวด ๓
หนังสือสำคัญ
๕๐
๑. สมัยกรุงศรีอยุธยา ๕๐
๒. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนการออกโฉนดแผนที่ ๕๗
๓. การเปลี่ยนแปลงระบอบในรัชชการที่ ๕ ๖๔
หมวด ๔
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
๗๗
๑. การจอง ๗๗
๒. การรับพระราชทาน ๘๘
๓. การซื้อขาย ๙๐
๔. การให้และการแลกเปลี่ยน ๙๔
๕. การจำนำ การขายฝาก และการจำนอง ๙๗
๖. การได้มาทางมฤดก ๑๑๑
หมวด ๕
การสิ้นสุดกรรมสิทธิ์
๑๑๕
๑. การเวนคืน ๑๑๕
๒. การบังคับซื้อ ๑๑๗
๓. การละทิ้ง ๑๒๗
๔. อายุความ ๑๓๔

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
นายประสิทธิ์ ลุลิตานนท์ ผู้พิมพ์โฆษณา
๑๒/๕/๘๓.

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก