ผู้ใช้:Chawapbebe/ทดลองเขียน

จาก วิกิซอร์ซ

พระราชบัญญัติ

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร

พุทธศักราช ๒๔๘๒



ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร

ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)

อาทิตย์ทิพอาภา

พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน

ตราไว้ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒

เป็นปีที่ ๖ ในรัชกาลปัจจุบัน


                  โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร


                  จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม

ของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้


                  มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล

รัษฎากร พุทธศักราช ๒๔๘๒”


                  มาตรา ๒* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เป็นต้นไป

                  *[รก. ๒๔๘๒/-/๑๔๔๖/๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒]


                  มาตรา ๓  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เข้าเป็นมาตรา ๑๑ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
                  “มาตรา ๑๑ ทวิ  ถ้าผู้เสียภาษีอากรต้องการขอใบแทนใบเสร็จที่เจ้าพนักงานได้

ออกให้ไปแล้ว ให้ขอรับได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๕๐ สตางค์”


                  มาตรา ๔  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งประมวลรัษฎากรและใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๒๓  ผู้ใดไม่ยื่นรายการ ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินผู้ทำการ

ประเมินแล้วแต่กรณี มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้

ผู้ที่ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้อง

ให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๕ วัน นับแต่วันส่งหมาย”


                  มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งประมวลรัษฎากรและใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๒๔  เมื่อได้จัดการตามมาตรา ๒๓ และทราบข้อความแล้ว อำเภอหรือ

เจ้าพนักงานประเมินแล้วแต่กรณี มีอำนาจประเมินเงินภาษีอากร และแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ต้อง

ชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้”


                  มาตรา ๖  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๒๕  ถ้าผู้ได้รับหมายหรือคำสั่งของอำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแล้ว

แต่กรณี ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของอำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๒๓ หรือไม่

ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้

เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การ

ประเมิน

                  แต่ในกรณีส่งหมายโดยวิธีหนึ่งวิธีใดดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๘ วรรค ๒ และ ๓

นั้น ถ้าภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันส่งหมาย ผู้อุทธรณ์แสดงให้เป็นที่พอใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับ

อุทธรณ์ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยกระทำให้ไม่ทราบการส่งหมาย ก็ให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้”


                  มาตรา ๗  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๒๗  เงินภาษีอากรที่บุคคลใดจะต้องเสียหรือนำส่งตามบทบัญญัติใน

หมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ต้องเสียหรือนำส่งภายในเวลาตามแต่จะมี

บทบัญญัติในหมวดนั้นๆ กำหนดไว้ ส่วนเงินภาษีอากรที่อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้เสีย

ถ้าไม่มีบทบัญญัติในหมวดต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วกำหนดเวลาไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องเสียภายในเวลา ๓๐

วันนับแต่วันได้รับแจ้งจำนวน ถ้าไม่เสียหรือนำส่งภายในกำหนดที่ว่ามานี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ

๒๐ แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เงินเพิ่มนี้ให้ถือเป็นค่าภาษีอากร”


                  มาตรา ๘  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๖ แห่งประมวลรัษฎากรและใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๓๖  ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของ

อำเภอ เจ้าพนักงานประเมิน ข้าหลวงประจำจังหวัด หรืออธิบดี ที่ออกตามมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๓

หรือมาตรา ๓๒ หรือไม่ยอมตอบคำถาม เมื่อซักถามผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

๕๐๐ บาท”


                  มาตรา ๙  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๔๔  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๖) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการ

เหมาสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของวิชาชีพอิสระนั้น ๆ ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด

ไว้”


                  มาตรา ๑๐  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เข้าเป็นวรรค ๒ ของมาตรา ๕๖ แห่งประมวล

รัษฎากร

                  “ในกรณีที่คณะบุคคลซึ่งมิใช่นิติบุคคลประกอบกิจการเป็นหุ้นส่วนได้รับเงินได้

พึงประเมิน นอกจากบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนต้องยื่นรายการดังกล่าวแล้ว ให้คณะบุคคลนั้นยื่นรายการ

ตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการเกี่ยวกับหุ้นส่วนและข้อความอื่นอันควรแก่เรื่องต่อ

เจ้าพนักงาน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งภายในเดือนพฤษภาคมทุก ๆ ปีด้วย”


                  มาตรา ๑๑  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เข้าเป็นวรรค ๒ ของมาตรา ๖๔ แห่งประมวล

รัษฎากร

                  “ถ้าเงินงวดที่ ๑ ไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิที่

จะชำระเงินภาษีเป็น ๒ งวด และให้ใช้มาตรา ๒๗ บังคับ”


                  มาตรา ๑๒  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร และใช้

ความต่อไปนี้แทน

                  “(๑) ดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยพันธบัตร หรือดอกเบี้ยเงินกู้อันมี

ลักษณะเป็นเงินทุน”


                  มาตรา ๑๓  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๗ (๑) แห่งประมวลรัษฎากรและใช้

ความต่อไปนี้แทน

                  “(๑) ถ้าบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นธนาคารรับฝากเงินหรือรับฝากและแลก

เงินให้ใช้เทียบยอดเงินฝากในบัญชีกระแสรายวัน และเงินฝากประจำในประเทศไทยกับยอดเงิน

ฝากทั้งสิ้นในประเภทดังกล่าวแล้วของธนาคารในวันเปิดบัญชีของระยะบัญชี ๑๒ เดือน ที่สิ้นสุดใน

ครั้งหลังที่สุดก่อนจ่ายเงินได้ต้องเสียภาษี แต่อย่างน้อยจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียต้องไม่ต่ำกว่า

๓,๐๐๐ บาท

                  ถ้าบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นธนาคารแลกเงินโดยเฉพาะให้ใช้เทียบยอด

เงินของกิจการแลกเงิน”


                  มาตรา ๑๔  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๘ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๖๘  การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ ให้เสียตามอัตราภาษีปกติใน

บัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวดนี้ ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่

อนุมัติบัญชีและงบดุล ส่วนในกรณีที่ไม่มีการประชุมใหญ่ให้เสียภาษีภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พึง

จ่ายเงินได้ตามมาตรา ๖๕”


                  มาตรา ๑๕  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๙ แห่งประมวลรัษฎากรและใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๖๙  ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่อนุมัติบัญชีและงบดุลทุก

ปี หรือในกรณีที่ไม่มีการประชุมใหญ่ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่พึงจ่ายเงินตามมาตรา ๖๕ ให้บริษัท

หรือหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการ

เกี่ยวกับเงินได้ต้องเสียภาษีตามมาตรา ๖๕ และยอดเงินต่าง ๆ ตามมาตรา ๖๗”


                  มาตรา ๑๖  ให้เพิ่มความในต่อไปนี้เข้าเป็นวรรค ๒ ของมาตรา ๘๓ แห่ง

ประมวลรัษฎากร

                  “ถ้าเงินงวดที่ ๑ ไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิที่

จะชำระเงินภาษีเป็น ๒ งวด และให้ใช้มาตรา ๒๗ บังคับ”


                  มาตรา ๑๗  ให้เพิ่มความต่อไปนี้ ต่อท้ายมาตรา ๑๐๓ แห่งประมวลรัษฎากร
                  ““นายตรวจ” หมายความว่า  เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง”


                  มาตรา ๑๘  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๕ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๑๐๕  ในกรณีต่อไปนี้ ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคา

ต้องออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงิน หรือผู้ชำระราคาทุกคราว จะได้มีการเรียกร้องให้ออก

ใบรับหรือไม่ก็ตาม

                  (๑) การให้เช่าซื้อทรัพย์สินทุกชนิด ซึ่งมีราคาเช่าซื้อเกิน ๕ บาท
                  (๒) การขายซึ่งรวมราคาที่ต้องชำระครั้งหนึ่งเกิน ๕ บาทจากโรงค้า ถ้าโรงค้านั้น

ต้องเสียภาษีโรงค้าตามมาตรา ๗๙ (๒)

                  (๓) การขายซึ่งรวมราคาที่ต้องชำระครั้งหนึ่งเกิน ๑๐๐ บาท
                  (๔) การรับเงินเนื่องในการโพยก๊วนทุกรายไม่จำกัดว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด
                  ถ้าการเช่าซื้อหรือการขายที่กล่าวข้างต้นมีเงื่อนไข ให้ชำระราคา

ภายหลังงวดเดียวหรือหลายงวด ให้ออกใบรับทุกคราวที่ได้รับชำระราคา

                  มาตรานี้ ไม่ใช้บังคับในกรณีขายสินค้าซึ่งทำในราชอาณาจักรส่งออกไป

จำหน่ายนอกราชอาณาจักร”


                  มาตรา ๑๙  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๓ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๑๒๓  เมื่อมีเหตุผลสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจมีอำนาจ

เข้าไปในสถานที่ทำการค้าหรือสำนักงานใด ๆ ในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและ

พระอาทิตย์ตก และทำการตรวจสอบตราสารว่าได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วหรือไม่ กับมีอำนาจออก

หมายเรียกตัวผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ทรงตราสาร หรือผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสาร และพยานหลัก

ฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาไต่สวนได้”


                  มาตรา ๒๐  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๕ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๑๒๕  ผู้ใดออกใบรับไม่เกิน ๕ บาทสำหรับมูลค่าเกิน ๕ บาท หรือแบ่ง

หรือแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรก็ดี จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิด

ความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ก็ดี ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับ

ไม่เกิน ๒๐๐ บาท”


                  มาตรา ๒๑  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เข้าเป็นวรรค ๒ ของมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวล

รัษฎากร

                  “ถ้าความผิดตามความในวรรคก่อน ปรากฏขึ้นด้วยการกล่าวหาแจ้งความของ

บุคคลที่มิใช่เจ้าพนักงานของรัฐบาลทำการในหน้าที่นอกจากเงินค่าปรับแล้ว ให้ผู้มีความผิดเสียเงิน

เป็นค่าสินบนจ่ายให้แก่บุคคลดังกล่าวอีกด้วย เป็นจำนวนเงินไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินค่าปรับ แต่อย่าง

น้อยไม่ต่ำกว่า ๓ บาท”


                  มาตรา ๒๒  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๘ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๑๒๘  ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้ว ไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่

หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงาน

เจ้าหน้าที่ หรือนายตรวจ ซึ่งออกตามมาตรา ๑๒๓ หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ผู้นั้นมีความ

ผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท”


                  มาตรา ๒๓  ให้ยกเลิกความในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด ๖ แห่ง

ประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๑๑ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๓ ข้อ ๒๘ ข้อ ๒๙ และใช้ความใน

บัญชีแก้ไขอัตราอากรแสตมป์ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน


                  มาตรา ๒๔  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓๔ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร และใช้

ความต่อไปนี้แทน

                  “(๑) มหรสพที่เก็บเงินเพื่อบำรุงสาธารณประโยชน์โดยเฉพาะและโดยไม่หักราย

จ่ายจากเงินที่เก็บได้ ซึ่งได้เป็นไปตามลักษณะที่รัฐมนตรีกำหนดระเบียบการไว้”


                  มาตรา ๒๕  ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อท้ายมาตรา ๑๕๐ แห่งประมวลรัษฎากร
                  “การพิจารณาหักพื้นที่ดินออกดังกล่าวข้างต้น ในกรณีที่บุคคลคนเดียวมีที่ดิน

หลายแปลง ให้หักให้เฉพาะที่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งได้อยู่อาศัยนานที่สุดในปีสำรวจปีหนึ่ง ๆ แต่แปลง

เดียว

                  ในกรณีที่บุคคลหลายคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หรือครอบครองร่วมกันในที่ดิน

แปลงเดียวกัน การที่จะหักให้สำหรับตัวผู้ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่และภริยาหรือสามีที่อยู่ร่วมกัน

นั้นให้หักโดยส่วนเฉลี่ย แต่มิให้เกินอัตราที่กำหนดไว้เว้นแต่บุตรที่อยู่ร่วมด้วยให้หักให้ทุกคนๆ ละ

๒๐๐ ตารางเมตร

                  ถ้าเหตุสำหรับการหักพื้นที่เกิดขึ้นภายหลังวันสำรวจปีใด ก็ไม่ต้องหักให้สำหรับ

ปีนั้น

                  ในกรณีที่บุคคลหลายคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันหรือครอบครองร่วมกันในที่ดิน

หลายแปลงให้นำบทบัญญัติในวรรคก่อน ๆ มาใช้บังคับโดยอนุโลม”


                  มาตรา ๒๖  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕๑ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความ

ต่อไปนี้แทน

                  “มาตรา ๑๕๑  ที่ดินซึ่งมีราคาปานกลางสูงกว่าไร่ละ ๑๐,๐๐๐ บาท ให้ถือว่าไม่

ใช่ที่ดินสำหรับอยู่อาศัย และไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๕๐”


                  มาตรา ๒๗  ให้ยกเลิกความในวรรค ๒ ของมาตรา ๑๖๑ แห่งประมวลรัษฎากร

และใช้ความต่อไปนี้แทน

                  “ที่ดินซึ่งใช้ในการเพาะปลูกพืชดังกล่าวในวรรคก่อน จะต้องเป็นที่ดินนอกเขต

เทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร หรือนอกเขตที่ดินประเภท ๓ ตามบัญชีประเภทและชั้นของที่ดิน

ท้ายลักษณะนี้”


                  มาตรา ๒๘  ให้ยกเลิกความในบัญชีประเภทและชั้นของที่ดิน ประเภท ๓ ท้าย

ลักษณะ ๓ แห่งประมวลรัษฎากร และใช้ความต่อไปนี้แทน


“ประเภท ๓



                  ที่ดินตั้งอยู่รอบเขตที่ตั้งสถานีรถไฟ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้งโรงทหาร หรือที่ตั้ง

โรงงานอุตสาหกรรมของรัฐบาลหรือสถานที่อื่นตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ ซึ่งคณะ

กรรมการตีราคาปานกลางของที่ดินเห็นว่าเจริญแล้ว ให้แบ่งเป็นชั้นแล้วเรียกเก็บเงินช่วยบำรุงท้องที่

เท่ากับที่ดินในเขตเทศบาล


                  หมายเหตุ  ๑. ที่ดินต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ เศษของไร่ให้คิดในอัตราลดลง

ตามส่วน

                               ๒. เศษของ ๑ ตารางวาให้ปัดขึ้นเป็น ๑ ตารางวา
                               ๓. เศษของ ๕ สตางค์ให้ปัดขึ้นเป็น ๕ สตางค์


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

         พิบูลสงคราม
        นายกรัฐมนตรี



























บัญชีแก้ไขอัตราอากรแสตมป์



[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]




                                                                  อัมพิกา/แก้ไข
                                                                  ๑๙/๓/๔๕

ที่มา [1]

  1. http://law.longdo.com/law/719/rev758