ผู้ใช้:Khwantrakun/กระบะทราย

จาก วิกิซอร์ซ

บาลี : ภาษาหรือคำสอน ?ข้อความตัวเอน บทนำ โดยทั่วไปในสังคมไทยเมื่อได้ยิน ได้ฟังคำว่า “บาลี” มักเข้าใจโดยมากว่า หมายถึง ภาษา ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่เก่าแก่มาก จนกระทั่งว่า ปัจจุบันหาคนที่มีความรู้ให้ได้ครบทักษะด้านภาษาทั้ง ๔ ประการ คือ ฟัง, อ่าน, พูด และเขียน นั้นยากมาก แต่อย่างไรก็ตามภาษาบาลีนี้นับว่ามีอิทธิพลมาต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทซึ่งแพร่หลายอยู่ในภูมิภาคแถบเอเซียอาคเนย์ คือ เขตพื้นที่ประเทศไทย, ลาว, พม่า, ศรีลังกา, กัมพูชา พร้อมกับพื้นที่บางส่วนของจีนและเวียตนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทย ภาคคณะสงฆ์มีการศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีซึ่งถือว่าเป็นธุระสำคัญประการหนึ่งในขั้นของการพัฒนาตนเองของคณะสงฆ์ไทย โดยได้กำหนดการศึกษาภาษาบาลี เป็นลำดับกำหนดเรียกว่า “เปรียญธรรม” เริ่มตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึง เปรียญธรรม ๙ ประโยค ประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบ บาลี เป็นภาษาหรือคำสอน หากคำตอบจะพึงตอบว่า เป็นภาษา ย่อมจะมีคำถามต่อไปว่า เป็นภาษาของชนกลุ่มใด ชาติใด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไหน แต่หากจะพึงตอบว่า เป็นคำสอน ก็จะพึงมีคำถามเช่นเดียวกันว่า คำสอนของใคร สอนเรื่องอะไร คำตอบนี้ก็น่าจะมีคำตอบอยู่บ้างแล้ว คือ เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ทรงสอนเรื่องที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันได้แก่ เรื่องความทุกข์ และหนทางที่ทำให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ ผู้เขียนเองได้มีโอกาศศึกษาเล่าเรียนบาลีในฐานะที่เป็นภาษา ตามระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยจนสามารถสอบไล่ได้ชั้นสูงสุด คือ เปรียญธรรม ๙ ประโยค ตลอดระยะเวลาที่เรียนไม่เคยได้คิดเลยว่า บาลี คือ อะไร ด้วยมั่นใจแน่นอนว่า บาลี คือ ภาษา แน่ๆ เพราะถูกสอนมาแบบนั้น แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไประยะหนึ่งก็เกิดคำถามกับตัวเองว่า บาลี คือ อะไร เป็นภาษาอย่างที่เข้าใจมาที่เดียวหรือ สามารถเป็นอย่างอื่นได้อีก อีกทั้งบางคราวก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่สนใจในพระพุทธศาสนาแต่ยังขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบาลีเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา (เถรวาท) ซึ่งมีภาษาบาลีเป็นที่รองรับพระธรรมคำสอนไว้ในชั้นต้นเมื่อต้องเจอกับบาลีบ่อยๆ แต่ขาดความรู้ จึงทำให้เกิดความสับสนในความหมายของคำว่า “บาลี” อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้พยายามค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบาลีเพื่อให้ได้คำตอบใน ๒ ประเด็นคำถาม คือ บาลี เป็นคำสอนหรือภาษา ? เพื่อนำไปสู่การตอบคำถามเกี่ยวกับบาลีในประเด็นคำถามดังกล่าวได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือต่อไป ความหมาย (บาลีหมายถึงอะไรกันแน่) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของคำว่า “บาลี” ไว้ ๒ ประเด็น ดังนี้ ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพระพุทธพจน์ แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก; ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี” ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลี หรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี รองศาสตราจารย์ สิริวัฒน์ คำวันสา ได้กล่าวสรุปความหมายของบาลีไว้ว่า บาลี คือพุทธวจนะ (คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพระไตรปิฎก) เดิมทีบาลีมิใช่ภาษา และภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้ก็มีหลายภาษา แท้จริงพระองค์มิใช่คนชาวมคธ เป็นชาวสักกะ (เวลานี้อยู่ในประเทศเนปาล) แต่เมื่อเสด็จมาศึกษาและบำเพ็ญสมณธรรมที่มคธพระองค์ก็ต้องใช้ภาษามคธ แม้พระสาวกรูปอื่นๆ ที่มาสู่มคธ ก็พยายามเรียนและพูดภาษามคธ... ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว สกาย นิรุตฺติยา พุทฺธวจนํ ปริยาปุณิตุ ก็บอกชัดอยู่แล้วว่า อนุญาตให้สวดพุทธพจน์เป็นภาษาของตนตามที่ตนถนัด เมื่อออกจากมคธไปสู่บ้านเมืองของตน... ในอรุณวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระองค์ได้ตรัสถึงเรื่องภาษาไว้ในตอนท้ายสูตรนั้นว่า ...ผู้มีปัญญา สังเกตว่าภาชนะนั้น ใช้ในชนบทนั้น เขาเรียกชื่ออย่างไร ก็ร้องเรียกไปตามเขา ไม่ถือมั่น โดยรู้เท่าว่า ชื่อนั้นเขาก่าวหมายถึงภาชนะนั้นดังนี้ชื่อว่า ไม่ถือมั่นในภาษาชนบท ไม่ถือเอาแต่เพียงสักว่าชื่อเป็นประมาณ... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร ได้ศึกษาและรวบรวมความหมายของบาลีไว้สามารถสรุปได้ดังนี้ ๑. หมายถึง พระไตรปิฎก ๒. หมายถึง ธรรม ๓. หมายถึง ชื่อภาษา ๔. หมายถึง คำนาม จากความหมายดังกล่าวมานี้ สรุปได้ว่า ความสำคัญ (บาลีสำคัญอย่างไร)

กำเนิดและพัฒนาการ ในอินเดีย ในศรีลังกา ในไทย สรุปได้ว่า คำว่า “บาลี” ปัจจุบันยังไม่มีใครลงความเห็นและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า มีที่มาอย่างไร บาลี : ในทรรศนะที่เป็นคำสอน คำว่า “บาลี” ในทัศนะที่เป็นคำสอนมีความสอดคล้อง ใกล้เคียงกับคำที่ปรากฎในพระไตรปิฎกที่นักปราชญ์หลายท่านได้ค้นคว้า คือคำว่า ปริยาย หมายถึง พระพุทธวจนะหรือพระไตรปิฎก มีปรากฎในพรหมชาลสูตร ตอนหนึ่งว่า โก นาม อยํ ภนฺเต ธมฺมปริยาโย... แปลว่า ท่านผู้เจริญคำสอนว่าด้วยธรรมข้อนี้มีชื่อว่าอย่างไร... และในสามัญญสูตร ตอนหนึ่งว่า ...ภวคตา อเนกปริยาเยน ธมฺโม ปกาสิโต แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมด้วยคำสอนหลายประการ จากข้อความดังกล่าวนี้เป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า ในที่นี้ คำว่า บริยาย หมายเอา คำสอนของพระพุทธองค์ นั่นเอง แต่ยังมีคำถามในประเด็นรูปศัพท์อีกว่า คำว่า บาลี กับ ปริยาย เกี่ยวข้องสอดคล้องกันอย่างไร ? ในประเด็นนี้มีนักปราชญ์ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ด้วยกาลเวลาล่วงไป คำว่า ปริยาย ได้กลายเป็น ปลิยาย โดย ร เปลี่ยนไป เป็น ล ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวิวัฒนาการทางเสียงของภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง คำเช่นนี้มีปรากฎหลายแห่ง เช่น ในจารึกของพระเจ้าอโศก เป็นต้น มีข้อความบางตอนว่า ...อิมานิ ภนฺเต ธมฺมปลิยายานิ... ธมฺมปลิยายานิ คจฺฉามิ กึติ... เป็นต้น ต่อมานานเข้า ปลิยาย หดหายไปเหลือเป็น ปลิ และเป็น ปาลิ ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะคนรุ่นหลังอยากพูดสั้น แต่ก็ให้มีความหมายอย่างเดิม พุทธวจนะ จึงเหลือแต่คำว่า ปาลิ และเพื่อจะให้ปาลิเป็นภาษาอย่างชัดเจน อาจารย์ผู้เก่งด้านภาษาได้มองเห็นว่า ภาษาทุกภาษาต้องมีกฎ มีเกณฑ์ เพื่อสะดวกในการเล่าเรียนและความถูกต้องในการใช้ ดังนั้นท่านจึงได้สร้างกฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์ของภาษาบาลีขึ้น ตำราต่างๆที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ที่สร้างขึ้นก็มีมูลกัจจายนะ มหาไวยากรณ์ สัททนีติ เป็นต้น

บาลี : ในทรรศนะที่เป็นภาษา ตามที่ปรากฏในสังคมไทยโดยทั่วไป เช่น การกำหนดให้มีการศึกษาภาษาบาลี แม่กองบาลี ตามที่มีการจัดการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยในหลายๆ แห่ง

สรุป “บาลี : ภาษาหรือคำสอน ?” บาลี คือ อะไร, ภาษาหรือคำสอน, หรือเป็นทั้งสองอย่าง, หรือเป็นอย่างอื่น ไม่ว่าบาลีจะหมายถึงภาษาหรือคำสอน หรือหมายความถึงทั้งภาษาและคำสอน ย่อมมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพุทธศาสนเถรวาทที่เลือกเอาภาษาที่เรียกว่า บาลี เป็นภาษารองรับพระธรรมคำสอน ในอีกแง่หนึ่ง มักมีคำกล่าวเสมอว่า “คำหนึ่งคำมีอรรถเป็นร้อย...”