ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Konsilio/ทดลองเขียน

จาก วิกิซอร์ซ


บันทึก
พระยาทรงสุรเดช

เมื่อวันปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

นรนิติ เศรษฐบุตร
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

บันทึก
พระยาทรงสุรเดช
เมื่อวันปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕


นรนิติ เศรษฐบุตร
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย
เลขที่ 2 ซอยสุขา 2 ถนนเฟื่องนคร พระนคร โทร. 218405
นายณัฐ ปวิณวิวัฒน์ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา 2514

บันทึกพระยาทรงสุรเดช[1]
การปฏิวัติ ๒๔ มิย. ๗๕

ผู้ที่ทราบความจริงแห่งรายละเอียดของการปฏิวัติครั้งนี้มีอยู่เพียงไม่มากนัก และในจำนวนนี้ยังไม่พูดความจริงเสียอีกส่วนหนึ่งด้วย ฉะนั้น จึงเป็นการยากสำหรับผู้ที่มีเจตนาจะรู้ความจริงในการค้นคว้าหาหลักฐานอันแน่นอนที่เชื่อถือได้ เหตุสำคัญที่ทำให้ความจริงเลอะเลือนไป ก็เนื่องจากการเกิดเป็นศัตรูกันขึ้นในพวกปฏิวัติด้วยกัน เมื่อเป็นศัตรูกันขึ้นแล้ว ก็ใส่ร้ายกัน ยกเอาความดีขึ้นมาเป็นของตัว ปั้นความชั่วใส่ผู้อื่น สำหรับราษฎรที่มิได้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง ก็ย่อมเชื่อไปตามที่ได้ยินได้ฟังมาโดยไม่มีหลักฐานอันใด ส่วนผู้ที่มีการศึกษาเพียงพอก็ย่อมใช้สติปัญญาพิจารณาประกอบ มีส่วนที่ใกล้ความจริงบ้าง แต่ก็คงไม่รู้จริงโดยตลอดอยู่นั่นเอง

พวกที่คิดปฏิวัติและสาเหตุของการปฏิวัติ

พวกที่จะคิดปฏิวัติมีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า พวกพลเรือนซึ่งมีหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นหัวหน้าได้เริ่มคิดการนี้ตั้งแต่ปีไหน แต่ทราบว่า ทางการฝ่ายทหารมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา, นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช, นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ กับนายพันเอก พระประศาสน์พิทยายุทธ[2] ได้สนทนากันถึงเรื่องเช่นนี้ก่อนเวลาปฏิวัติในราว ๒–๓ ปี โดยไม่รู้ว่ามีพวกพลเรือนคิดอยู่เหมือนกัน ทางฝ่ายพลเรือนถึงแม้จะได้ทหารเป็นพวกไว้บ้างแล้ว ก็เป็นแต่เพียงพวกมียศน้อยและไม่มีตำแหน่งสำคัญในกองทัพ ด้วยเหตุที่ต้องการได้ทหารตัวสำคัญ ๆ เข้ามาเป็นพวกด้วยนั่นเอง จึงได้ติดต่อรู้ถึงกันขึ้น เป็นอันว่าเกิดมีพวกขึ้น ๔ พวก

๑.พวกพลเรือน มีหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นหัวหน้า[3]

๒.พวกทหารเรือ มีนายนาวาตรี หลวงสินธุ์สงครามชัย[4]

๓.พวกทหารบกชั้นยศน้อย มีนายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นหัวหน้า

๔.พวกนายทหารชั้นสูง มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ

สาเหตุที่ทำให้เกิดมีพวกปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ใช่สาเหตุอันเดียวกันเป็นแน่ทีเดียว มันเป็นการยากที่จะรู้ความตั้งใจจริงของแต่ละคน เพราะใครเลยจะเปิดเผยความตั้งใจของตัวซึ่งไม่เป็นมงคล ความคิดที่จะกู้ชาติโดยสุจริตใจจะมีอยู่ในตัวบุคคลใดบ้างในจำนวนนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ แต่เท่าที่ได้ยินพูดและแสดงความประสงค์ออกมา และเท่าที่ได้สังเกตเห็นความเป็นไป อากัปกิริยา ของเขาแล้ว ก็รู้ได้ทีเดียวว่า ส่วนหนึ่งต้องการบริหารงานตำแหน่งสำคัญ ๆ ทั้งที่ตัวไม่มีความรู้และไม่เคยผ่านงานต่ำ ๆ มาเลย! มันเป็นคราวเคราะห์ดีของเขาที่ความคิดอัปมงคลเช่นนี้มิได้เข้าหูหัวหน้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร สิ่งที่เข้าหูมีเพียงว่า ทำเพื่อชาติ ไม่เห็นแก่ตัว ทำเสร็จแล้วต่างก็จะปลีกตัวออกไปทำมาหากินกันตามลำพัง! เป็นอันว่าสาเหตุที่แสดงออกนอกหน้ามาล้วนแต่กู้ชาติ

เป็นความจริงที่ในหลวงรัชกาลที่ ๗ มิได้แสดงความสามารถที่จะแก้ไขงานของชาติให้รุ่งเรืองขึ้นได้ มุ่งแต่จะฟื้นฐานะของเจ้าที่ตกต่ำมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๖ ให้รุ่งโรจน์ขึ้น โดยจะเห็นได้ถนัดว่า มีการแต่งตั้งเจ้ากันหนักมือ จนในสุดท้ายตำแหน่งใหญ่ ๆ และสำคัญทั้งหมดต้องอยู่ในมือของเจ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการระวังรักษาเก้าอี้พระเจ้าแผ่นดินในตัว ความจริงไม่เป็นการเสียหายอะไรถ้าตั้งเจ้าที่เฉียบแหลมสามารถขึ้นทำหน้าที่สำคัญ แต่การณ์มิได้เป็นเช่นนั้น ดูสักแต่ว่าเป็นเจ้าละก็ตั้งได้โดยไม่จำกัดเสียเลย[5]

ตามที่มีคนเข้าใจว่า ที่เกิดปฏิวัติเนื่องมาจากการเพิ่มภาษีอากรและความยากจนค่นแค้นของราษฎรนั้น ไม่มีมูลแห่งความจริงเลย ราษฎรไทยกลัวเจ้า และกลัวนายของเขาทั้งหมด ยังกับหนูและแมว ลำพังราษฎรจะไม่มีปัญญาคิดปลดแอกได้เลย และจะไม่มีใครกล้าชักชวนกันควบคุมเป็นพวกขึ้นได้ แม้จะต้องอดตายเพราะความยากจน ก็ทนอดตาย กับที่กล่าวกันว่า การปฏิบัติครั้งนี้ย่อมจะต้องราบรื่นอยู่เอง เพราะราษฎรมีความต้องการอยู่พร้อมแล้วนั้น ก็ไม่ถูกต้องอีกเหมือนกัน แม้ทุกวันนี้ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ราษฎรก็ไม่กระจ่างแจ้งในเรื่องระเบียบการปกครองเอง ทั้งที่โฆษณาและมีคนไปชี้แจงให้ฟังเสมอ ๆ อย่าว่าแต่ราษฎรชาวนาเลย แม้พวกข้าราชการเองก็ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจวิธีปกครอง เพราะฉะนั้น จึงเกือบกล่าวได้ว่า เมื่อก่อนปฏิวัติ คนไทยเรารู้จัดการปกครองวิธีเดียวเท่านั้น ยกเว้นส่วนน้อยเหลือเกิน สำหรับราษฎร เมื่อหนักหนาเข้า ก็ได้แต่บ่นอุบอิบว่าแย่แล้วเจ้าพระคุณ ส่วนข้าราชการไม่มีความรู้สึกอะไร นอกจากว่าถูกแต่งตั้งให้มาเป็นนายของราษฎรแล้ว และคอยหาโอกาสฝากเนื้อฝากตัวเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จะได้กรุณาเขาให้ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นและเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ส่วนงานของชาติรอไว้ก่อนได้ ผลเสียแห่งงานของชาติดูไม่ทำให้เกิดความรู้สึกละอาย ส่วนพวกที่เกลียดเจ้าก็มีอยู่เป็นธรรมดา แต่พวกนี้ก็ดีใจเมื่อทราบว่ามีการปฏิวัติ แต่ก็เพียงเท่านั้น ไม่มีส่วนทำให้การปฏิวัติสำเร็จง่ายขึ้นเลย ความไม่เข้าใจและความไม่เอาใจใส่ของราษฎรเราเห็นได้ถนัดเมื่อวันประกาศรัฐธรรมนูญที่พระที่นั่งอนันต์ฯ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ต้องต้อนราษฎรให้เข้าไปฟังในพระที่นั่งกันเสียแทบแย่ และก็ได้จำนวนราษฎรสักหยิบมือเดียวไปยืนฟังโดยไม่รู้เรื่องอะไร หากจะมีละครให้ดู และมีเจ๊กก๋วยเตี๋ยวด้วยแล้ว คนจะไปมากกว่านั้นมาก ในปีต้น ๆ ที่มีราษฎรไปงานรัฐธรรมนูญกันมาก นั่นไม่หมายความว่าเพราะเข้าใจและเลื่อมใสการเปลี่ยนแปลง ต้องการเที่ยวสนุกเท่านั้น ไม่ต้องการรู้อะไรมากไปกว่ามีการมหรสพอะไรที่ไหนวันใดเท่านั้น

เป็นอันว่าการปฏิวัติครั้งนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะนายทหารบกผู้เป็นหัวหน้าตกลงใจเด็ดขาดให้ลงมือทำ เพราะฉะนั้น เหตุผลผู้เป็นหัวหน้าจึงน่าจะต้องถือเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้นโดยแท้

เหตุผลข้อที่ ๑ ก็คือ เป็นที่ประจักษ์แน่แล้วว่าพระเจ้าแผ่นดินแสดงความไม่สามารถในการที่จะบงการโดยอำนาจอับโซลู้ดให้งานของชาติเจริญรุ่งเรืองได้

เหตุผลข้อที่ ๒ พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมดมุ่งแต่เพียงทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ว่าด้วยวิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย

ทั้งสองข้อนี้ประกอบกันย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ชาติไทยทรงกับทรุดเท่านั้น ควรเปลี่ยนวิธีให้ราษฎรได้มีโอกาสรู้จักวิธีปกครองตัวเอง และรับผิดชอบกันเองในความเจริญหรือความเสื่อมของชาติ แทนที่ให้พระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวรับผิดชอบ ซึ่งไม่มีท่าทางจะดีขึ้นได้ เป็นที่ประจักษ์แก่หัวหน้าฝ่ายทหารอยู่เหมือนกันว่า เมื่อเปลี่ยนแล้ว ยังจะมีความขลุกขลักยุ่งยากเป็นธรรมดา เพราะเป็นของใหม่ ไม่มีใครเลย การหาตัวบุคคลสำหรับบริหารงานในตำแหน่งสำคัญ ๆ แสนยาก ราษฎรก็ยังไม่มีการศึกษาถึงขีดที่จะปกครองตัวเองให้เป็นผลดีจริง ๆ ได้ แต่เมื่อไรเล่าถึงจะมีคนที่ดี ๆ ไว้สำหรับบริหารงาน และเมื่อไรเล่าราษฎรจึงจะถึงขีดที่ว่านี้ ในเมื่อพระเจ้าแผ่นดินไม่เปิดโอกาส ตายแล้วเกิดใหม่ก็คงยังจะเป็นอยู่เช่นนั้น ตกลงจะต้องเริ่มต้นเสียในเมื่อไม่อยากจะปล่อยไปตามบุญตามกรรม อาศัยการเลือกเฟ้นอย่างตรงไปตรงมาคงจะได้ตัวบุคคลซึ่งแม้จะไม่ดีเลิศแต่ก็พอทำได้ เพราะเราสามารถจะช่วยกันได้หลายแรง ไม่เหมือนระบอบอับโซลู้ดซึ่งไม่มีการช่วยกัน ต่างคนต่างทำ เอาหน้าต่อพระเจ้าแผ่นดินตัว และพระเจ้าแผ่นดินบงการแต่ผู้เดียว ผิดถูกไม่มีใครกล้าคัดค้าน ส่วนราษฎรซึ่งเป็นผู้อ่อนการศึกษา ก็ต้องอาศัยความเจตนาดีของผู้บริหารที่จะช่วยเหลือให้ได้มีโอกาสรู้จักการปกครองตัวเองดีขึ้นตามลำดับจนกว่าจะถึงขีด

นอกจากเหตุผลสำคัญ ๒ ประการนี้ รายละเอียดปลีกย่อยแห่งความเลอะเทอะของงานแห่งชาติย่อมเป็นที่ประจักษ์อยู่ ไม่มีความจำเป็นต้องยกมากล่าวให้ยืดยาว เพราะรายปลีกย่อยย่อมเกิดจากส่วนสำคัญ ๒ ประการนี้

หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/36หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/37หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/38หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/39หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/40หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/41หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/42หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/43หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/44หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/45หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/46หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/47หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/48หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/49หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/50หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/51หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/52หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/53หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/54หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/55หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/56หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/57หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/58หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/59หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/60หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/61หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/62หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/63หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/64หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/65หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/66หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/67หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/68หน้า:Banthuek Phraya Songsuradet 2514.djvu/69

เชิงอรรถ





    พระยาเสนาฯ คือ พลตรี พระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว. อี๋ นพวงศ์) ผู้บัญชาการกองพลหนึ่งรักษาพระองค์ ดู “ไทยน้อย” อ้างแล้ว, หน้า ๖๐๗–๖๒๗

    เจ้าพระยา และมักจะประทับแรมคืนอยู่บนเรือพระที่นั่ง และไม่เสด็จกลับวังจนกว่าจะถึงวันจันทร์ เพราะฉะนั้น ถ้าจะลงมือทำการในวันอาทิตย์แล้ว ก็อาจจะไม่ได้พระองค์กรมพระนครสวรรค์มาเป็นตัวประกัน บรรดาหัวหน้าก่อการจึงติดต่อปรึกษากันให้เลื่อนการลงมือทำการเป็นวันอังคารที่ ๒๑ มิถุนายน” กุหลาบ สายประดิษฐ์ หน้า ๒๑๑, อย่างไรก็ดี จากการประชุมอีกครั้งในวันที่ ๒๑ มิถุนายน “ได้ตกลงให้เลื่อนวันลงมือทำการไปวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ซึ่งเป็นวันตัวของท่านหัวหน้าคณะราษฎร ทั้งนี้เพราะเหตุว่าที่ประชุมได้รับรายงานว่า ในวันอังคาร เรือยามฝั่งยังไม่กลับ ถ้าลงมือในวันอังคาร ก็จะขาดกำลังความร่วมมือของคณะทหารเรือไปมาก ถ้ารอไปจนถึงวันพฤหัสบดีแล้ว ก็จะได้กำลังทหารเรือมาเพิ่มกำลังอย่างเป็นที่น่าอุ่นใจทีเดียว” กุหลาบ สายประดิษฐ์ หน้า ๒๑๓–๒๑๔ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เล่าต่อไปอีกว่า วันปฏิวัติถูกเลื่อนเป็นครั้งที่สาม และได้กำหนดเป็นครั้งสุดท้ายว่าเป็นวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน เนื่องจาก “ทางพวกหัว

    ที่ถูกคือขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร ๒๔๔๕–)

    นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ เสนาธิการทหารบก ภายหลังทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิสรอุดมศักดิ์ (๒๔๒๓–๒๔๙๕) แต่ “ไทยน้อย” อ้างแล้ว กล่าวว่า เจ้าพระองค์อลงกฏดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกลาโหม

    อธิบดีกรมตำรวจในเวลานั้นคือพลโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ ได้ทราบเรื่องปฏิวัติทันทีเมื่อมีการยึดกรมไปรษณีย์ในตอนนั้น ดู นายหนหวย ทหารเรือวันปฏิวัติใหญ่ หน้า ๑๖๐–๑๖๕ กับ จำรัส สุขุมวัฒนะ แผนปฏิวัติฯ หน้า ๑๑๒–๑๑๔

    ที่ถูกควรเป็นหลวงวีระโยธา ดังเชิงอรรถหมายเลข ๑๓ ข้างต้น

    ยาสีหราชเดโชชัยนี้ ถ้าหากหลุดมือไปได้ ก็คงจะไปสั่งทหารทั้งปวงให้มารบเราอย่างแน่นอน เพราะตัวบุคคลคนนี้เป็นคนจริงเสียเหลือเกิน เป็นที่ครั่นคร้ามอย่างที่สุดในบรรดาทหารในเวลานั้น” อ้างแล้ว หน้า ๑๑๗

    พระยาสีหราชเดโชชัย มียศเป็นนายพลโท ดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพบก จำรัส สุขุมวัฒนะ เขียนไว้ว่า “พระยาสีหราชเดโชชัย (เป็น) นายทหารเสือมือขวาของสมเด็จกรมพระนครสวรรค์ พระ-

    หลวงวีระโยธา มียศเป็นนายพันตรี ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันราบรักษาพระองค์ ดู จำรัส สุขุมวัฒนะ อ้างแล้ว, หน้า ๑๒๑–๑๒๓

    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

    พระเหี้ยมใจหาญ ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย มียศเป็นนายพันโท ดู จำรัส สุขุมวัฒนะ แผนการปฏิวัติ เล่าโดย พล.ต. พระประศาสน์พิทยายุทธ, กรุงเทพฯ, ๒๔๙๑, หน้า ๗๕–๗๖

    หน้าก็ได้รับรายงานว่า พรรคพวกทั้งฝ่ายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้นทั้งหมดรวม ๑๑๕ คนนั้น มีหลายคนยังไม่พร้อมที่จะลงมือทำการ” หน้า ๒๑๖ เพิ่งอ้าง

    กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนไว้ยืดยาวเกี่ยวกับการกำหนดวันปฏิวัติ คือ ในการประชุมครั้งที่ ๔ ที่ประชุมได้กำหนดเอาวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายนเป็นวันลงมือ อย่างไรก็ดี คณะปฏิวัติได้สืบทราบว่า โดยปรกติกรมพระนครสวรรค์มักจะทรงเลือกเอาวันเสาร์เป็นวันเสด็จประพาสสำราญพระอิริยาบถตามลำน้ำ

    สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (๒๔๒๔–๒๔๘๗) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

    นายนาวาตรี หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ประจำกรมเสนาธิการทหารเรือ โปรดดูบันทึกคำสัมภาษณ์ของหลวงศุภชลาศัย โดย “ไทยน้อย” ๕๐ บุคคลสำคัญ (ชุดที่ ๒), แพร่พิทยา กรุงเทพฯ, ๒๕๐๔ หน้า ๗๒๐–๘๕๒

    พระยาทรงฯ เพราะแผนการข้างต้นนี้พระยาทรงฯ ว่าเป็นเรื่องที่ประชุมกันที่ราชบุรี

    กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเกี่ยวกับการประชุมครั้งนี้ว่า "พระยาทรงฯ ได้เสนอแผนการซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ว่า จะใช้กำลังคนเป็นจำนวนมากจู่โจมเข้ายึดพระราชวังที่ประทับพระเจ้าอยู่หัวในเพลาดึก ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จโดยฉับพลัน แล้วจะบังคับให้พระเจ้าอยู่หัวลงนามในรัฐธรรมนูญ แผนการนี้เมื่อที่ประชุมได้อภิปรายกันแล้ว ส่วนมากมีความเห็นว่า อาจก่อให้เกิดความตื่นเต้นหวาดเสียวแก่ประชาราษฎรมากเกินไป ที่ประชุมจึงได้ตกลงกันให้พระยาทรงฯ ร่างแผนการเสนอใหม่ให้มีความละมุนละม่อมกว่าแผนการอันแรก"
    กุหลาบ สายประดิษฐ์ เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕, กรุงเทพฯ, ๒๔๙๐ หน้า ๒๐๒–๒๐๓, จากหนังสือกุหลาบ สายประดิษฐ์ ดูจะขัดกับบันทึกของ

    นายประยูร ภมรมนตรี รับราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข

    ดูเชิงอรรถที่ ๙ ประกอบ

    พระสิทธิเรืองเดชพล

  1. คุณหญิงทรงสุรเดชได้ให้สัมภาษณ์กับผู้รวบรวมว่า บันทึกนี้ เจ้าคุณทรงสุรเดชเป็นผู้เขียนเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่สถานที่พักห้องแถวเลขที่ ๓๖ ถนนรีโซ ตำบลดาเกา ไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม
  2. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งรองจเรทหารปืนใหญ่
    นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน ๒๔๓๕–๒๔๘๗) ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร กรมยุทธศึกษาทหารบก
    นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ ๒๔๓๒–๒๕๐๙) ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ ๑
    นายพันเอก พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  3. หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์ ๒๔๔๓–) เลขานุการกรมร่างกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
  4. นายนาวาตรี หลวงสินธุ์สงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน ๒๔๔๕–) ผู้อำนวยการโรงเรียนนายทหารเรือ ดูประกอบ นายหนหวย "ทหารเรือวันปฏิวัติใหญ่" (กรุงเทพฯ, ๒๔๙๒)
  5. ดูประกอบ หลวงโหมรอญราญ "เมื่อข้าพเจ้าก่อกบฏ" เล่ม ๑ กรุงเทพฯ, ๒๔๙๒, หน้า ๒–๖
    ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะนึกจริง ๆ หรือแกล้งกล่าวหาก็ตามที ถือได้ว่าเป็นจุดความคิดที่นำไปสู่การปฏิวัติ