ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Newton sa/กระบะทราย

จาก วิกิซอร์ซ

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม

คำนำ พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จัดเป็นองค์ ๙ คือ สุตตะ ได้แก่อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่างๆ มีมงคลสูตรเป็นต้น เคยยะ คือพระสูตรที่ประกอบไปด้วยคาถาทั้งหมด เวยยากรณะ คือพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้าใน องค์ ๘ ได้ชื่อว่าเวยยากรณะทั้งหมด คาถา คือพระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต อุทาน คือพระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ อิติวุตตกะ คือพระสูตร 100 สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอปัณณกชาดกเป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐ อัพภูตธรรม คือพระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด เวทัลละ คือระเบียบคำที่ผู้ถามได้ความรู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อๆ ขึ้นไป ดังจูฬเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และสักกปัญหสูตร เป็นต้น พระพุทธวจนะเหล่านี้ โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรงแสดงว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบประณีต ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยการตรึก ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าว จึงจำต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าใจทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะ เพื่อให้สามารถหยั่งรู้ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากพื้นเพอัธยาศัยของคนแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งทรงอุปมาไว้เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า พระพุทธเจ้าจึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรม ตามอาการสอนธรรมของพระองค์ ๓ ประการ คือ ๑. ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ ๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การประพฤติ ปฏิบัติ แต่เพราะพระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ทรงฉลาดในโวหารเพราะทรงเป็นเจ้าแห่งธรรม ก่อนจะทรงแสดงธรรมแก่ใคร ทรงตรวจสอบภูมิหลังด้านต่างๆ ของคนเหล่านั้นด้วยพระญาณแล้ว ผลจาก การฟังในพุทธสำนึกจึงไม่มีปัญหาว่า คนฟังจะไม่เข้าใจ ผลจากการฟังธรรมสมัยพุทธกาลจึงมีความอัศจรรย์ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ธรรมที่ทรงแสดงไว้ยังเป็นเช่นเดิม แต่ระดับสติปัญญา บารมี ความสนใจในธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การตีความพระธรรมวินัยตามความเข้าใจของตนเองเกิดขึ้น จนทำให้สูญเสียความเสมอกันในด้านศีล และทิฐิครั้งแล้วครั้งเล่า บางสมัยเกิดแตกแยกกันเป็นนิกายต่างๆ ถึง ๑๘ นิกาย พระอรรถกถาจารย์ผู้ทราบพุทธาธิบาย ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะแห่งพระพุทธวจนะ เพราะ การศึกษาจำต้องสืบต่อกันมาตามลำดับ มีฉันทะอุตสาหะอย่างสูงมาก ได้อรรถาธิบายพระพุทธวจนะ ใน พระไตรปิฎก ส่วนที่ยากแก่การเข้าใจ ให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติ ความสำคัญแห่ง คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาจึงมีลดหลั่นกันลงมา คือ ๑. พระสูตร คือพระพุทธวจนะที่เรียกว่า พระไตรปิฎกทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก ๒. สุตตานุโลม คือพระคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์รจนาขึ้น อธิบายข้อความที่ยากในพระไตรปิฎก ๓. อาจริยวาท วาทะของอาจารย์ต่างๆ ตั้งแต่ชั้นฎีกาอนุฎีกา และบุรพาจารย์ในรุ่นหลัง ๔. อัตโนมติ ความคิดเห็นของผู้พูด ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา ในกาลต่อมา มีการอธิบายธรรมประเภทอาจริยวาท คือ ถือตามที่อาจารย์ของตนสอนไว้ กับอัตโน มติ ว่าไปตามมติของตนกันมากขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะพระคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เป็นหลักสำคัญ คือ พระไตรปิฎก และอรรถกถามีไม่แพร่หลาย อรรถกถาส่วนมากยังเป็นภาษาบาลี คนมีฉันทะในภาษาบาลี น้อยลง สำนวนภาษาบาลีที่แปลออกมาแล้วยากต่อการทำความเข้าใจของคนที่ไม่ได้ศึกษามาก่อน ขาด กัลยาณมิตรที่เป็นสัตบุรุษในพระพุทธศาสนาเป็นต้น การอธิบายธรรมที่เป็นผลจากการตรัสรู้ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นอันตรายมาก เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย พระไตรปิฎกเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ กฎหมายทั่วไป จะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ฉันใด การอธิบายธรรมขัดแย้งกับพระไตรปิฎกพุทธศาสนิกชนที่ดี ย่อมถือว่าทำไม่ได้เช่นเดียวกันฉันนั้น เพื่อให้พระพุทธวจนะอันปรากฏในพระไตรปิฎก แพร่หลายออกมาในรูปภาษาไทย และให้เกิด ความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา ตรงตามหลักที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และที่พระอรรถกถาจารย์อธิบาย ไว้ จะได้เกิดทิฏฐิสามัญญตา ความเสมอกันในด้านทิฐิ และ สีลสามัญญตา ความเสมอกันในด้านศีล ของ ชาวพุทธทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ มหามกุฏราชวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีการแปลพระไตรปิฎกและอรรถ กถาขึ้น โดยมีหลักการในการดำเนินงานดังต่อไปนี้ คือ ๑. นำเอาพระสูตรและอรรถกถาแห่งพระสูตรนั้นๆ มาพิมพ์เชื่อมต่อกันไป เพื่อช่วยให้ท่านที่ไม่ เข้าใจข้อความในพระสูตร สามารถหาคำตอบได้จากอรรถกถาในเล่มเดียวกัน ๒. เนื่องจากพระวินัยปิฎกเป็นเรื่องของพระภิกษุสามเณรโดยเฉพาะ อรรถกถาพระวินัยได้แปลกัน มากแล้ว พระอภิธรรมปิฎกก็ได้แปลแพร่หลายแล้วพร้อมทั้งอรรถกถา แต่มีการศึกษากันในวงจำกัด การ ทำงานในคราวแรก จึงเริ่มที่พระสุตตันตปิฎกก่อน โดยเรียงตามลำดับนิกาย ๓. ในการแปลนั้นกำหนดให้ข้อความเป็นภาษาไทยมากที่สุด ในขณะเดียวกันต้องมองเห็นศัพท์ ภาษาบาลีด้วย เพื่อช่วยให้คนที่ไม่ศึกษาภาษาบาลีอ่านเข้าใจ และนักศึกษาภาษาบาลีได้หลักในการสอบทาน เทียบเคียง ๔. คณะกรรมการผู้ทำงานได้คัดเลือกท่านที่มีความชำนิชำนาญในภาษาบาลี มีความรักงาน มีความ เสียสละ พร้อมที่จะทำงานเพื่อเป็นพุทธบูชา ๕. ผลงานที่จะพิมพ์ขึ้นมาตามลำดับนั้น พยายามหาผู้ใจบุญช่วยเสียสละรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพใน การพิมพ์แต่ละเล่ม เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วจัดจำหน่ายด้วยราคาเกินทุนที่ใช้พิมพ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้ผู้มี ความสนใจทั่วๆ ไป สามารถซื้อหาไปอ่านได้ งานเหล่านี้จะดำเนินไปโดยลำดับ ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาของท่านที่เห็นผลประโยชน์ จากงานนี้จะให้การสนับสนุน มหามกุฎราชวิทยาลัยหวังว่า งานแปลพระไตรปิฎก อรรถกถา และปริวรรตอรรถกถาแต่ละเล่ม คงอำนวยประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร ท่านพุทธศาสนิกชนผู้สนใจในหลักธรรม และคงเป็นถาวรกรรมอันอำนวยประโยชน์ได้นานแสนนาน งานในคราวแรกนี้ อาจจะมีความผิดพลาดบกพร่องอยู่บ้าง ซึ่งหวังว่าคงได้รับความเมตตากรุณา ชี้แนะจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป มหามกุฎราชวิทยาลัย ต้องการให้พระคัมภีร์เล่มนี้ เป็นอนุสรณ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรีกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัย ได้ดลบันดาลให้ท่านผู้สนับสนุนในการแปล ปริวรรต ให้ทุน พิมพ์และจัดซื้อพระคัมภีร์แปลเล่มนี้ และเล่มอื่นๆ จงประสบความเจริญในธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศไว้ดีแล้วโดยทั่วกัน. มหามกุฎราชวิทยาลัย ๒๕๒๗


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เวรัญชภัณฑ์ เรื่องเวรัญชพราหมณ์ [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณ ต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้ เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแม้เพราะเหตุนี้ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ แม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดา ของเทพและมนุษย์ ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2 เทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ให้รู้ ทรง แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็น พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า [๒] หลักจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่ บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่าน พระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวก พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงการผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญ ด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดม ไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา โดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่าตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ ศีรษะของบุคคลนั้นก็พึงขาดตกไป. ว. ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3 ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม มีปกติไม่ไยดี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช้เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วย ทำไม่ให้มีภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทำ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว ว. ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4 ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว ว. ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว ว. ท่านพระโคดมช่างกำจัด ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่ เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างจำกัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่ เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่ เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญพราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป- พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5 อกุศล ซึ่งควรเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตักรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว ว. ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ไม่ผุดเกิดดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดใน ภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วแล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคน ไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไปการเกิดในภพใหม่ ตถาคต ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มีใน ภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ทรงอุปมาด้วยลูกไก่ [๓] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น อันแม่ไก่พึงกกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดา ลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกระเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วย จะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง. ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6 ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ใน อวิชชาเกิดในฟอง อันกระเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลาย กระเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับ- กระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ปฐมฌาน เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุ ปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่. ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ฯ ภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิด แต่สมาธิอยู่. ตติยฌาน เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ ปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้. จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7 บุพเพนิวาสานุสติญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต ไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า ในภพนั้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่าง นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน ภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยาม แห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่การแล้ว ความมืด เรา กำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่ง ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. จุตูปปาตญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8 ไปเพื่อญาณ เครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็น หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอย่างเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบ ด้วยการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตาม กรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน มัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของ เรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. อาสวักขยญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต ไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัด พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9 ตามเป็นเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้ อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต หลุดพ้นแล้วได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน ปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สาม ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก [๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูล คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย อย่างนี้ เปรียบเหมือบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่เปิดบอกทางแก่คน หลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ พระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10 เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นเวรัญช- พราหมณ์ทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไป. เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย [๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวรัญชา มีภิกษาหารน้อย ประชาชน หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีฉลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น พวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะมีม้าประมาณ ๕๐๐ ตัว ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝน ในเมืองเวรัชญา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุรูปละแล่งไว้ที่คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน เมืองเวรัญชา เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงเที่ยวไปบิณฑบาตที่คอกม้า รับข้าวแดง รูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนท่านพระอานนท์บดข้าวแดง แล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ เสวยพระกระ- ยาหารที่บดถวายนั้นอยู่ได้ทรงสดับเสียงครกแล้ว. พระพุทธประเพณี พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทั้งหลายทรงจำกัดสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11 ประโยชน์ด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยอาการสองอย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ- สิขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง. ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงครกหรือหนอ จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญว่า ดีละ ดีละ อานนท์ พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะวิเศษแล้ว พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลังจักดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุกอัน ระคนด้วยเนื้อ. พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท [๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ- ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชน หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหารภิกษุสงฆ์ จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พระพุทธเจ้าข้า พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่ ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิก แผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัย แผ่นดินเล่า เธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น. ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้าหนึ่งให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยัง สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีก ข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12 ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้รับผลตรงกันข้าม. ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตใน อุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น ม. ข้าพระพุทธเจ้าเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึง อุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย. เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน [๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความ ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิต เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ ไหน ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร พระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรง อยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ พระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13 ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระ- ภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่ สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย สิขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาฏิโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธาน แห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม พระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากอบไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ร้อย ด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัดซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจาก ตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลันฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงกำหนด จิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก. ดูก่อนสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระนามเวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรง สั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณพันรูป ในไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวแห่ง พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14 หนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแล จิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรงสั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้น แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่า พึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยองจึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจาก ราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน. ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรง อยู่นาน. ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระ- ภาคเจ้า พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรง อยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนาม โกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสาม พระองค์นั้นมีมาก สิขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่ง สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด ระยะกาลยืนนาน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15 ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้ เหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะ อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด ระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนาม กัสสปะ ดำรงอยู่นาน. ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท [๘] ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติ สิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่ แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏ ในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์ แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16 บางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็น หมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวช นานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้น พระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐา- นิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดง ปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรม บางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ไม่ถึงความเป็น หมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดา จึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม เหล่านั้นแหละ ดูก่อนสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ ปราศจาก มัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุ ที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ [๙] ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระ อานนท์มารับสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท ข้อนี้เป็นประเพณีของ พระตถาคตทั้งหลาย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจะบอกลาเวรัญชพราหมณ์ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17 ท่านพระอานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสว่าเป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรมีท่าน พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญช- พราหมณ์ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ทันใดนั้น เวรัญชพราหมณ์ดำเนินเข้าไปสู่ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพระองค์รับสั่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็นผู้อันท่านนิมนต์ อยู่จำพรรษาแล้ว เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท. เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า เป็นความจริง ท่านพระโคดม ข้าพเจ้า นิมนต์พระองค์อยู่จำพรรษา ก็แต่ว่าไทยธรรมอันใดที่จะพึงถวาย ไทยธรรม อันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้ถวาย และไทยธรรมนั้นมิใช่ว่าจะไม่มี ทั้งประสงค์จะ ไม่ถวายก็หาไม่ ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทยธรรมนั้นจากไหน เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยพระสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณีภาพ และแล้วทรงชี้แจง ให้เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรง ลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ. หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ในนิเวศน์ของตน โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ขณะนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้วถือ บาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้ว พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18 ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเวรัญช- พราหมณ์อังคาส ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร อันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่พระผู้มี- พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และ ถวายผ้าคู่ให้ภิกษุครอง รูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมือง สังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธะ ดำเนินถึงพระนครพาราณสี ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสี ตาม พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เมื่อ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับ อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น. เวรัญชภาณวาร จบ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19 อรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล มหาวิภังควรรณนา ภาค ๑ อารัมภกถา

  • ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็น

ที่พึ่ง ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากยิ่ง ตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก. ข้าพเจ้าขอ ถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ อัน ขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลส มีอวิชชาเป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตว- โลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย และภพใหญ่. ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วย เศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้ประกอบ

  • องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘-๒๕๐๖

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20 ด้วยคุณ มีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสนะเป็นเค้ามูล เป็นเนื้อนาบุญ ของเหล่าชนผู้มีความต้องการด้วยกุศล. ข้าพ เจ้านมัสการอยู่ ซึ่งพระรัตนตรัยอันควร นมัสการโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าว มานี้ ได้แล้วซึ่งกุศลผลบุญที่ไพบูล หลั่งไหล ไม่ขาดสายอันใด ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผล บุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปลอดอันตราย. ข้าพเจ้าจักอาศัยอานุภาพของท่านบูรพาจารย์ พรรณนาพระวินัยให้ไม่ปะปนกัน ซึ่งเมื่อ ทรงอยู่แล้ว ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มิได้ ทรงตั้งมั่นอยู่ ( ในส่วนสุดทั้งสอง ) แต่ทรง ดำรงชอบด้วยดี ( ในมัชฌิมาปฏิปทา ) เป็น อันประดิษฐานอยู่ได้. แท้ที่จริง พระวินัยนี้ ถึงท่านบูรพาจารย์ผู้องอาจ ซึ่งขจัดมลทิน และอาสวะออกหมดแล้วด้วยน้ำคือญาณ มี วิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการ สังวรรณนาพระสัทธรรม หาผู้เปรียบปาน ในความเป็นผู้ขัดเกลาได้ไม่ง่าย เปรียบดัง ธงชัยของวัดมหาวิหาร ได้สังวรรณนาไว้โดย นัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐ. กระนั้น เพราะสังวรรณนานี้ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21 มิได้อำนวยประโยชน์ไร ๆ แก่ชาวภิกษุใน เกาะอื่น เพราะท่านเรียบเรียงไว้ด้วยภาษา ชาวเกาะสิงหล ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รำลึกอยู่ ด้วยดีโดยชอบ ถึงคำเชิญของพระเถระนาม ว่า พุทธสิริ จึงจักเริ่มด้วยดี ซึ่งการสังวรรณ- นานี้ อันควรแก่นัยพระบาลี ณ บัดนี้. และ เมื่อจะเริ่มด้วยดี ซึ่งสังวรรณนานั้น จักเอา มหาอรรถกถาเป็นโครงของสังวรรณนานั้นไม่ ละข้อความอันควร แม้จากวินิจฉัย ซึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาปัจจรี และ อรรถกถาอันปรากฏด้วยดี โดยชื่อว่ากุรุนที เป็นต้น กระทำเถรวาทไว้ในภายในแล้ว จึง จักเริ่มต้นด้วยดีโดยชอบซึ่งสังวรรณนา ขอภิกษุ ทั้งหลายปูนเถระ ปูนใหม่ และปานกลาง ผู้มีจิตเลื่อมใสเคารพนับถือพระธรรมของ พระตถาคตเจ้า ผู้มีดวงประทีปคือพระธรรม จงตั้งใจฟังสังวรรณนานั้นของข้าพเจ้า โดย เคารพเถิด. พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหล มิได้ ละมติ (อธิบาย) ของท่านพุทธบุตรทั้งหลาย ผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ ได้แต่อรรถกถาในปางก่อน. เพราะ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22 เหตุนั้นแล คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา ทั้งหมดยกเว้นคำที่เขียนด้วยความพลั้งพลาด เสีย ย่อมเป็นประมาณแห่งบัณฑิตทั้งหลาย ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนานี้. ก็ เพราะแม้วรรณนานี้ จะแสดงข้อความแห่ง คำทั้งหลายที่มาในพระสุตตันตะให้เหมาะสม แก่พระสูตร ละทิ้งภาษาอื่นจากอรรถกถานั้น เสียทีเดียว และย่นพลความพิสดาร ( คำ ประพันธ์ที่พิสดาร ) ให้รัดกุมเข้า ก็จักไม่ให้ เหลือไว้ ซึ่งข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับ พระบาลีที่เป็นแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรตามศึกษาวรรณนา นี้โดยเอื้อเฟื้อแล.* เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคาถาเหล่านั้นว่า จักพรรณนาพระวินัย ดังนี้ ผู้ศึกษาควรกำหนดพระวินัยก่อนว่า วินัยนั้น คืออะไร? เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ที่ชื่อว่า วินัย ในที่นี้ประสงค์เอาวินัยปิฎกทั้งสิ้น. ก็เพื่อจะสังวรรณนาพระวินัยนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมาติกาดังต่อไปว่า พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว ในกาลใด กล่าวไว้เพราะเหตุใด ผู้ใดทรงไว้

  • นย. สารตฺถทีปนี ๑/๔๓-๔๗ ว่า เพราะแม้วรรณนานี้ ซึ่งจะแสดงข้อความแห่งถ้อยคำอันมา

ในพระสุตตันตะให้เหมาะสมกับพระสูตร ข้าพเจ้าก็จักละภาษาอื่นจากอรรถกถานั้นเสียเลย และ ย่นพลความที่พิสดารให้รัดกุมเข้า ไม่ละทิ้งข้อวินิจทั้งปวงให้เหลือไว้ ไม่ข้ามลำดับพระ บาลี ที่เป็นแบบแผนอะไร ๆ แล้วจักรจนา, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรตั้งใจสำเหนียกวรรณนานี้ แล. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23 ผู้ใดนำสืบมา และตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด ข้าพเจ้ากล่าววิธีนี้แล้ว ภายหลังจักแสดง เนื้อความแห่งปาฐะว่า " เตน " เป็นต้นโดย ประการต่าง ๆ ทำการพรรณนาอรรถแห่ง พระวินัย. บรรดามาติกาเหล่านั้น คำว่า วุตฺตํ เยน ยทา ยสฺมา นี้ ท่านอาจารย์กล่าวหมายเอาคำมีอาทิอย่างนี้ก่อนว่า โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาค- เจ้าประทับอยู่ ( ณ โคนต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงสถิต ) ใกล้เมืองเวรัญชา๑. เพราะคำนี้มิใช่เป็นคำที่กล่าวให้ประจักษ์กับพระองค์เองแห่งพระผู้มีพระภาค- เจ้า๒. เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรกล่าวตั้งปัญหานั่นดังนี้ว่า คำนี้ใครกล่าวไว้ กล่าวไว้ในกาลไหน และเพราะเหตุไร จึงกล่าวไว้. ( แก้ว่า ) คำนี้ท่านพระ- อุบาลีเถระกล่าวไว้ ก็แลคำนั้น ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ในคราวทำปฐม- มหาสังคีติ (ในคราวทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก). อันชื่อว่า ปฐมมหาสังคีตินี้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้กล่าวแล้วในปัญจสติกสังคีติขันธกะแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ๓ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทานบัณฑิตควรทราบตามนัยนี้ แม้ใน อรรถกถานี้. ๑. วิ.มหา. ๑/๑. ๒. นย. สารตฺถทิปนี ๑/๓๙ ว่า คือมิใช่เป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ หรือเป็นคำที่ท่านกล่าวไว้ในเวลาที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ๒. วิ. จลฺ . ๗/๓๗๙. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24 พาหิรนิทานวรรณนา [ปรารภมูลเหตุทำปฐมสังคายนา] ๑ความพิสดารว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกทรง บำเพ็ญพุทธกิจ ตั้งแต่ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไปเป็นต้น จนถึงโปรด สุภัททปริพาชกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลา ใกล้รุ่ง ในวันวิสาขปุณณมี ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในสาลวัน อันเป็นที่เสด็จ ประพาสของเจ้ามัลละทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปผู้เป็น พระสังฆเถระแห่งภิกษุประมาณ ๗ แสนรูป ซึ่งประชุมกันในสถานที่ปรินิพพาน แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ระลึกถึงคำที่สุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าว เมื่อพระผู้มี พระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๗ วันว่า อย่าเลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย ท่านทั้งหลายอย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้น ดีแล้วจากพระมหาสมณะพระองค์นั้น ด้วยว่าพวกเราถูกพระมหาสมณะ พระองค์นั้น คอยรบกวนห้ามปรามว่า นี้สมควรแก่เธอทั้งหลาย นี้ไม่สมควร แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ ก็บัดนี้พวกเราจักปรารถนากระทำกรรมใด ก็จักทำ กรรมนั้น พวกเราจักไม่ปรารถนากระทำกรรมใด จักไม่ทำกรรมนั่น๒ ดังนี้ ดำริอยู่ว่า ข้อที่พวกปาปภิกษุ จะพึงเป็นผู้สำคัญเสียว่า ปาพจน์มีพระศาสดา ล่วงไปแล้ว ดังนี้ ได้พรรคพวกแล้วพึงยังพระสัทธรรมให้อันตรธานได้ไม่นาน เลย เรื่องนี้เป็นฐานะที่มีได้แน่. ความจริง พระวินัยยังตั้งอยู่ตราบใด ปาพจน์ยังมีพระศาสดาไม่ล่วงไปแล้วตราบนั้น ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี- ๑. องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๐ ๒. วิ. จลฺ. ๗ / ๓๘๐ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25 พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วง ไปแห่งเรา๑ ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ซึ่งจะเป็นวิธีที่พระศาสนานี้จะพึงดำรงมั่นตั้งอยู่สิ้นกาลนาน. อนึ่ง โดยเหตุที่ เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กัสสป ! เธอจักทรงผ้าบังสุกุลอันทำ ด้วยป่านของเรา ซึ่งเราใช้นุ่งห่มแล้วหรือ ดังนี้ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วย สาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการทรงยกย่องไว้เทียบเทียมพระองค์ในอุตริ- มนุสธรรม มีอนุปุพพวิหารเก้า และอภิญญาหกเป็นประเภท โดยนัยมีอาทิ อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราจำนงอยู่เพียงใด เราสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย เทียว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อมซึ่งปฐมฌาน อยู่ได้เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! แม้กัสสปจำนงอยู่เพียงใด เธอสงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อม ซึ่งปฐมฌานอยู่ได้เพียงนั้นเหมือนกัน๒ ดังนี้ ความเป็นผู้ไม่มีหนี้อย่างอื่นอะไร จักมีแก่เรานั้นได้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเราว่า กัสสปนี้จักเป็นผู้ดำรง วงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้แล้ว ทรงอนุเคราะห์ด้วยอสาธารณานุเคราะห์นี้ ดุจพระราชาทรงทราบพระราชโอรสผู้จะดำรงวงศ์สกุลของพระองค์แล้ว ทรง อนุเคราะห์ด้วยการทรงมอบเกราะของพระองค์และพระอิสริยยศฉะนั้น มิใช่หรือ ดังนี้ จึงยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย๓ เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้นนั้นแล ท่านพระมหา - กัสสป ได้เตือนภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย! สมัยหนึ่งเราพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวา มาสู่ เมืองกุสินารา๔ ดังนี้เป็นต้น. สุภัททกัณฑ์ทั้งปวง ผู้ศึกษาพึงทราบโดยพิสดาร. ๑. ที. มหา. ๑๐ / ๑๗๘. ๒. นิทาน. ๑๖ / ๒๐๖ ๓. วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๐. ๒. วิ. จุลฺ. ๗ /๓๗๙ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26 [พระมหากัสสปชักชวนทำสังคายนา] เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! เอาเถิด เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน เพราะว่า ในกาล เบื้องหน้า อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกขัดขวาง อวินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะ ถูกขัดขวาง ในกาลภายหน้า พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะ หย่อนกำลัง พวกอวินัยวาทีจะมีกำลัง พวกวินัยวาทีจะหย่อนกำลัง๑ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ โปรดคัดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด.๒ [พระมหากัสสปคัดเลือกภิกษุ ๔๙๙ รูป] พระเถระเว้นภิกษุผู้เป็นปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ- อนาคามี และพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือนวังคสัตถุศาสน์ ทั้งสิ้นเสียจำนวนหลายร้อยและหลายพัน เลือกเอาเฉพาะพระภิกษุขีณาสพ เท่านั้น มีจำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ทรงไว้ซึ่งประเภทแห่งสรรพปริยัติ คือ พระไตรปิฎก ได้บรรลุปฏิสัมภิทามีอานุภาพมาก แตกฉานในไตรวิชชาเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่เอตทัคคะโดยมาก ผู้ซึ่งพระธรรมสังคาห- กาจารย์หมายถึงจึงกล่าวคำนี้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้คัดเลือก พระอรหันต์ ๔๙๙ รูป๓ ดังนี้เป็นต้น. [ทำสังคายนาจะเว้นพระอานนท์ไม่ได้] ถามว่า ก็พระเถระทำให้หย่อนอยู่ ๑ รูป เพื่อใคร ? แก้ว่า เพื่อให้ โอกาสแก่ท่านพระอานนทเถระ. จริงอยู่ การสังคายนาธรรมไม่อาจทำทั้งร่วม ๑-๒ วิ. จุลฺ. ๔ / ๓๘๐. ๓. วิ. จุล. ๗ / ๓๗๕-๓๘๐ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27 ทั้งแยกจากท่านพระอานนท์นั้นได้ เพราะท่านพระอานนท์นั้นยังเป็นพระเสขะ มีกิจจำต้องทำอยู่, ฉะนั้นจึงไม่อาจทำร่วมกับท่านได้, แต่เพราะวังคสัตถุศาสน์ มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น อะไร ๆ ที่พระทศพลแสดงแล้ว ชื่อว่าท่านมิได้รับ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี, เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจจะเว้น ท่านได้, ถามว่า ถ้าเมื่อไม่อาจทำอย่างนั้นได้ ถึงแม้ท่านยังเป็นพระเสขะอยู่ พระเถระควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่การสังคายนาพระธรรม เมื่อมีความจำเป็นต้องเลือกอย่างนั้น เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกท่าน. แก้ว่า เพราะจะเว้นคำค่อนขอดของผู้อื่น. ความจริง พระเถระเป็นผู้คุ้นเคย ในท่านพระอานนท์อย่างยิ่งยวด. จริงอย่างนั้น แม้เมื่อศีรษะหงอกแล้ว ท่าน พระมหากัสสป ก็ยังเรียนท่านพระอานนท์นั้นโดยใช้กุมารกวาทะว่า เด็กคนนี้ ไม่รู้จักประมาณเสียเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้ประสูติในศากยสกุล เป็นพระภาดาของพระตถาคต เป็นโอรสของพระเจ้าอาว์, จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย จะสำคัญในพระมหากัสสปเถระนั้นเหมือนถึงฉันทาคติ จะพึงกล่าวค่อนขอดว่า พระเถระเว้นภิกษุทั้งหลายผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นอเสขะเสียเป็นอันมาก ได้ เลือกเอาพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นเสขะ. พระเถระเมื่อจะเว้นคำ ค่อนขอดของผู้อื่นนั้นเสีย, คิดว่า การสังคายนาไม่อาจทำโดยเว้นพระอานนท์ เสีย เราจักรับเอาพระอานนท์เข้าด้วย ตามอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น จึงมิได้เลือกพระอานนท์นั้นเข้าด้วย. [ภิกษุทั้งหลายขอให้เลือกพระอานนท์] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพากันวิงวอนพระเถระ เพื่อต้องการให้เลือก พระอานนท์เสียเองทีเดียว เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า พวก ภิกษุได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหากัสสปว่า ท่านผู้เจริญ ! ถึงท่านอานนท์นี้ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28 จะยังเป็นเสขะ เป็นผู้ไม่ควรถึงความลำเอียงเพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัวก็จริง, ถึงกระนั้นธรรมและวินัย ที่ท่านได้เล่าเรียนในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีมาก, ท่านผู้เจริญ ! ถ้ากระนั้น ขอพระเถระโปรดเลือก พระอานนท์เข้าด้วยเถิด๑ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป จึงได้เลือกท่าน อานนท์เข้าด้วย ๒ รวมกับท่านนั้นที่ท่านพระมหากัสสปเลือกตามอนุมัติของ ภิกษุทั้งหลาย ๓ จึงเป็นพระเถระ ๕๐๐ รูป ด้วยประการฉะนี้. [เลือกกรุงราชคฤห์เป็นที่ทำปฐมสังคายนา] ครั้งนั้นแล ภิกษุเถระทั้งหลายได้มีความปริวิตกอย่างนี้ ว่า พวกเรา จะพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ณ สถานที่ไหนหนอแล ครั้งนั้นแล ภิกษุเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า กรุงราชคฤห์แล มีที่โคจรกว้างขวาง มีเสนาสนะมากมาย, อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ทำสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด, ภิกษุเหล่าอื่นไม่ควรเข้าจำพรรษาใน กรุงราชคฤห์. ๔ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงปรึกษาตกลงกันดังนั้น. แก้ว่า เพราะจะมีวิสภาคบุคคลบางคนเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงคัดค้าน ถาวรกรรมของพวกเรานี้เสีย. ครั้นนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงสวดประกาศ ด้วยญัตติทุติยกรรม. ญัตติทุติยธรรม ๕ นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าว ไว้ในสังคีติขันธกะนั้นแล. [พระมหาเถระแยกกันเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์] ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ ทราบว่า นับแต่วันที่พระตถาคต ปรินิพพานมา เมื่อวันสาธุกีฬาและวันบูชาพระธาตุล่วงไปได้อย่างละ ๗ วัน เป็นอันล่วงไปแล้วกึ่งเดือน, บัดนี้ฤดูคิมหันต์ยังเหลืออยู่เดือนครึ่ง ดิถีที่จะเข้า ๑-๒-๓. วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๐-๓๘๑. ๔. สํ. นิทาน.๑๖/๒๕๘. ๕.วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๑. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29 จำพรรษาก็ใกล้เข้ามาแล้ว จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราไปยังกรุง- ราชคฤห์กันเถิด แล้วได้พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปทางหนึ่ง. พระอนุรุทธเถระ ก็พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปอีกทางหนึ่ง. ท่านพระอานนทเถระถือเอาบาตร และจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม มีความประสงค์จะเดิน ทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี. [พระอานนท์ไปถึงที่ไหนมีเสียงร้องไห้ในที่นั้น] ในสถานที่ที่พระอานนท์ไปแล้ว ๆ ได้มีการร้องไห้ร่ำไรมากมายว่า ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! ท่านพักพระศาสดาไว้ที่ไหน จึงมาแล้ว ก็เมื่อพระเถระ ไปถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ได้มีการร้องไห้ร่ำไรมากมาย เหมือนในวันที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานฉะนั้น. [ พระอานนท์ปัดกวาดเสนาสนะที่เคยประทับ ] ได้ทราบว่า ในกรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปลอบโยนมหาชน นั้นให้เบาใจด้วยธรรมกาอันปฏิสังยุตด้วยไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วเข้าไปยังพระเชตวัน เปิดประตูพระคันธกุฎีที่พระทศพลเคยประทับ แล้ว นำเตียงและตั่งออกมาเคาะตีปัดกวาดพระคันธกุฎี เก็บหยากเยื่อดอกไม้ที่ เหี่ยวแห้งทิ้งเสีย แล้วนำเอาเตียงและตั่งกลับเข้าไปตั้งไว้ในที่เดิมอีก ได้ทำวัตร ทุกอย่างที่ควรทำ เหมือนในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงอยู่ฉะนั้น. [พระอานนท์ฉันยาระบาย] ในกาลนั้น พระเถระ เพราะเป็นผู้มากไปด้วยการยืนและการนั่ง จำเดิมแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานมา เพื่อชำระกายที่มีธาตุหนาแน่น ให้สบาย ในวันที่สอง จึงนั่งฉันยาระบายที่เจือด้วยน้ำนมอยู่ในวิหารนั่นเอง พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30 ซึ่งท่านหมายถึง จึงได้กล่าวคำนี้กะมานพที่สุภมานพส่งไปว่า มิใช่กาลเสียแล้ว มานพ ! เผอิญวันนี้เราดื่มยาระบายเสียแล้ว, ถ้ากระไรเอาไว้พรุ่งนี้เถิด เรา จึงจะเข้าไป* ดังนี้. ในวันรุ่งขึ้นพระเถระ มีพระเจตกเถระเป็นปัจฉาสมณะ ได้ไป (ยังนิเวศน์ของสุภมานพ) ถูกสุมานพถาม จึงได้แสดงพระสูตรที่ ๑๐ ชื่อสุภสูตร ในทีฆนิกาย. ในกาลนั้นพระเถระสั่งให้นายช่างทำการปฏิสังขรณ์ สถานที่ปรักหักพังในพระเชตวันวิหารแล้ว เมื่อวันวัสสูปนายิกาใกล้เข้ามาได้ ไปยังกรุงราชคฤห์. ถึงพระมหากัสสปเถระและพระอนุรุทธเถระก็พาเอาภิกษุ สงฆ์ทั้งปวงไปสู่กรุงราชคฤห์เหมือนกัน. [พระเถระทั้งหลายคิดซ่อมวิหาร ๑๘ แห่ง] ก็โดยสมัยนั้นแล ในกรุงราชคฤห์มีมหาวิหารอยู่ ๑๘ ตำบล มหาวิหาร เหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้รกรุงรังด้วยของที่ถูกทิ้งและตกเกลื่อน. จริงอยู่ พวกภิกษุ ทั้งหมดพากันถือเอาบาตรและจีวรของตน ๆ ได้ทอดทิ้งวิหารและบริเวณไปใน สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน. พระเถระทั้งหลายในวิหารเหล่านั้น เพื่อที่จะบูชาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าและเพื่อจะเปลื้องวาทะของพวก เดียรถีย์เสีย จึงคิดกันว่า ตลอดเดือนแรก พวกเราจะทำการปฏิสังขรณ์ที่ชำรุด ทรุดโทรม. ก็พวกเดียรถีย์พึงกล่าวว่า เหล่าสาวกของพระสมณโคดม เมื่อ พระศาสดายังดำรงอยู่เท่านั้น จึงปฏิบัติวิหาร เมื่อปรินิพพานแล้ว ก็พากัน ทอดทิ้งเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็เพื่อจะเปลื้องวาทะของพวกเดียรถีย์ เหล่านั้น พระเถระทั้งหลายจึงได้คิดกันอย่างนั้น. ข้อนี้สมจริงดังพระธรรม-

  • วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๒.



พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31 สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล พระภิกษุเถระทั้งหลายได้มีความปริวิตก ดังนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระผู้พระภาคเจ้าแลทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์ ที่ชำรุดทรุดโทรม เอาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะทำการปฏิสังขรณ์ที่ ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนแรก จักประชุมกันทำสังคายนาพระธรรมและพระ- วินัยตลอดเดือนอันมีในท่ามกลาง* ดังนี้. [พระเถระไปทูลขอหัตถกรรมจากพระเจ้าอชาติศัตรู] ในวันที่ ๒ พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมาไหว้แล้ว รับสั่งถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระคุณเจ้าทั้งหลาย พากันมาเพราะเหตุไร ดังนี้ แล้วจึงทรงรับสั่งย้อนถาม ถึงกิจที่พระองค์เองควรทำ. พระเถระทั้งหลายได้ทูลบอกหัตถกรรมเพื่อประ- โยชน์แก่การปฏิสังขรณ์มหาวิหารทั้ง ๑๘ ตำบล. [พระราชาทรงอุปถัมภ์กิจสงฆ์ทุกอย่าง] พระราชาทรงรับว่า ดีละ เจ้าข้า แล้วได้พระราชทานพวกมนุษย์ ผู้ทำหัตถกรรม. พระเถระทั้งหลายสั่งให้ปฏิสังขรณ์วิหารทั้งหมดเสร็จสิ้นเดือน แรก แล้วได้ทูลให้พระราชาทรงทราบว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! การปฏิสังขรณ์วิหารเสร็จสิ้นแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะทำการสังคายนา พระธรรมและพระวินัย ราชา. ดีละ เจ้าข้า ! ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงหมดความคิดระแวง สงสัยกระทำเถิด อาณาจักรจงไว้เป็นภาระของข้าพเจ้า ธรรมจักรจงเป็นภาระ ของพระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าโปรดใช้ข้าพเจ้าเถิด เจ้าข้า ! จะให้ ข้าพเจ้าทำอะไร.

  • วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๒.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32 พระเถระ. ขอถวายพระพรมหาบพิตร ! ขอพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสถานที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา. ราชา. จะให้ข้าพเจ้าสร้าง ณ ที่ไหน เจ้าข้า ? เถระ. ควรสร้างที่ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต ขอถวาย พระพร. [พระราชารับสั่งให้ประดับถ้ำดุจวิมานพรหม] พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งว่า ได้ เจ้าข้า ! ดังนี้ แล้วรับสั่งให้สร้าง มณฑปที่มีเครื่องประดับอันเป็นสาระซึ่งควรทัศนา เช่นกับสถานที่อันวิสสุกรรม เทพบุตรนิรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดอันนายช่างจำแนกไว้ดี วิจิตรด้วยมาลา- กรรมและลดากรรมนานาชนิด ราวกะว่าจะครอบงำเสียซึ่งสมบัติแห่งราชมณ- เฑียรของพระมหากษัตริย์ ดุจประหนึ่งว่าจะเยาะเย้ยสิริแห่งเทพวิมาน ปาน ประหนึ่งว่าเป็นสถานที่อาศัยอยู่แห่งสิริ ดุจท่าเป็นที่ประชุมชั้นเอกของเหล่าวิหค คือนัยนาแห่งเทพดาและมนุษย์ และประดุจสถานที่รื่นรมย์ในโลกอันเขา ประมวลจัดสรรไว้ ตกแต่งมณฑปนั้นให้เป็นเช่นกับวิมานพรหมมีเพดานงดงาม รุ่งเรืองดุจสลัดอยู่ซึ่งพวงดอกกุสุมที่ห้อยย้อยนานาชนิด วิจิตรด้วยเครื่องบูชา ดอกไม้ต่าง ๆ มีการงานอันควรทำที่พื้นทำสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ประหนึ่งว่ามี พื้นที่บุด้วยแก้วมณีอันวิจิตรด้วยรัตนะฉะนั้น ภายในมหามณฑปนั้นทรงรับสั่ง ให้ปูเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ซึ่งคำนวณค่ามิได้ สำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป แล้วให้ปูเถรอาสน์พิงข้างด้านทิศทักษิณ ผินหน้าไปทางทิศอุดร ในท่ามกลาง มณฑปให้ตั้งธรรมาสน์อันควรเป็นที่ประทับนั่ง ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผินหน้าไปทางทิศบูรพาและทรงวางพัดวีชนีอันวิจิตรด้วยงาไว้บนธรรมาสน์นั่น พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33 แล้วรับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! กิจของข้าพเจ้าสำเร็จแล้ว ดังนี้. [พวกภิกษุเตือนพระอานนท์มิให้ประมาท] พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส ! การประชุมจะมีใน วันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านไม่ควรไปสู่ ที่ประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้ ก็ข้อที่เรายังเป็นเสขะอยู่ จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้นไม่สมควรแก่เราแล แล้วได้ ยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ในเวลาราตรีใกล้รุ่ง ลงจากที่จงกรมแล้ว เข้าไปยังวิหาร คิดว่า จักพักนอน ได้เอนกายลง. เท้า ทั้งสองพ้นจากพื้น แต่ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะ ทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ยับยั้งอยู่แล้วใน ภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า พระผู้มีพระเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่เรามิใช่หรือว่า อานนท์ ! เธอเป็นผู้ได้ทำบุญ ไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หาอาสวะมิได้โดยฉับพลัน* อันธรรมดาว่าโทษแห่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เราปรารภ ความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน เอาเถิด ! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้ จึงลงจากที่จงกรม ยืนล้างเท้าในที่ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่วิหารนั่งบนเตียง ดำริว่า จักพักผ่อนสัก หน่อยหนึ่ง ได้เอนกายลงบนเตียง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความเป็น

  • ที. มหา. ๑๐ / ๑๖๗.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34 พระอรหันต์ของพระเถระเว้นจากอิริยาบถ ๔. เพราะฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า ในพระศาสนานี้ ภิกษุรูปไหน ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่จงกรม ได้บรรลุ พระอรหัต จะตอบว่า พระอานนทเถระ ก็ควร. [พระอานนท์ดำดินไปเข้าประชุมสงฆ์] ครั้งนั้นในวันที่ ๒ ภิกษุเถระทั้งหลายทำภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรและ จีวรแล้ว ไปประชุมกันที่ธรรมสภา. ส่วนพระอานนทเถระมีความประสงค์จะ ให้ผู้อื่นรู้การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ของตน มิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อจะนั่งบนอาสนะของตน ๆ ตามลำดับผู้แก่ ได้นั่งเว้นอาสนะ ไว้สำหรับพระอานนท์เถระ. เมื่อภิกษุบางพวกในธรรมสภานั้นถามว่า นั่นอาสนะ ใคร ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ของพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่าน พระอานนท์ไปไหนเล่า ? ในสมัยนั้น พระเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราจะไป เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ในลำดับนั้น จึงดำลงในแผ่นดินแล้วแสดงตน บนอาสนะของตนนั้นเอง. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มาทางอากาศแล้วนั่ง ก็มี. [พรเถระเริ่มปรึกษาและสมมติตนเป็นผู้ปุจฉาวิสัชนา] เมื่อพระอานนท์นั้นนั่งแล้วอย่างนั้น พระมหากัสสปเถระ จึงปรึกษา ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรม หรือพระวินัย ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสป ! ชื่อว่าพระวินัย เป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังตั้งอยู่ พระพุทธศาสนาจัดว่ายัง ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น พวกเราจะสังคายนาพระวินัยก่อน . พระมหากัสสป. จะให้ใครเป็นธุระ ? พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35 ภิกษุทั้งหลาย. ให้ท่านพระอุบาลี. ถามว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ ? แก้ว่า ไม่สามารถหามิได้. ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง ทรงอาศัยวินัยปริยัติ จึงตั้งท่านพระอุบาลีไว้ใน เอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราผู้ทรงวินัย อุบาลีเป็นเลิศดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า พวกเราจะถาม พระอุบาลีเถระสังคายนาพระวินัย ดังนี้ ลำดับนั้นพระเถระก็ได้สมมติตนเอง เพื่อต้องการถามพระวินัย. ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็ได้สมมติตนเพื่อประโยชน์ แก่การวิสัชนา. [คำสมมติตนปุจฉาวิสัชนาพระวินัย] ในการสมมตินั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้ : - ครั้นนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี.๑ ฝ่ายพระอุบาลีก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าผู้อันท่านพระมหา- กัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา ๒ พระวินัย. [ปุจฉาและวิสัชนาพระวินัย] ท่านพระอุบาลีครั้นสมมติตนอย่างนั้นแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวร เฉวียงบ่า ไหว้ภิกษุเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดวีชนี อันวิจิตร ๑-๒ วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๐. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36 ด้วยงา. คราวนั้นพระมหากัสสปนั่งบนเถรอาสน์ แล้วถามพระวินัยกะท่าน พระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน ? พระอุบาลี. ที่เมืองเวสาลี ขอรับ. พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ? พระอุบาลี. ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร. พระมหากัสสป. ทรงปรารภในเพราะเรื่องอะไร ? พระอุบาลี. ในเพราะเรื่องเมถุนธรรม. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอุบาลีถึงวัตถุบ้าง นิทานบ้าง บุคคลบ้าง บัญญัติบ้าง อนุบัญญัติบ้าง อาบัติบ้าง อนาบัติบ้าง แห่งปฐมปาราชิก.* เหมือนอย่างว่าท่านพระมหากัสสป ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ ถามถึงอนาบัติบ้าง แห่งปฐมปาราชิกฉันใด ก็ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ อนาบัติ บ้าง แห่งทุติยปาราชิกฉันนั้น. . . แห่งตติยปาราชิกฉันนั้น. . . ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ อนาบัติบ้าง แห่งจตุตถปาราชิกก็ฉันนั้น. พระอุบาลีเถระอันพระมหา- กัสสปถามแล้ว ๆ ก็ได้วิสัชนาแล้ว. [รวมรวมพระวินัยของภิกษุไว้เป็นหมวด ๆ] ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย ยกปาราชิก ๔ เหล่านี้ขึ้นสู่สังคหะ (การสังคายนา) ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ แล้วได้ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกัณฑ์ ตั้ง ๒ สิกขาบทไว้ว่า อนิยต ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิย - ปาจิตตีย์ ตั้ง ๙๒ สิกขาบทไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๔ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ ( และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณ- สมถะ ดังนี้.

  • วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๒-๓๘๓.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37 [รวบรวมวินัยของภิกษุณีเป็นหมวด ๆ] พระเถระทั้งหลายครั้นยกมหาวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้ว จึงตั้ง ๘ สิกขาบท ในภิกษุณีวิภังค์ไว้ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ ตั้ง ๑๗ สิกขาบทไว้ว่า สัตตรสกัณฑ์ ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ตั้ง ๑๖๖ สิกขาบท ไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๘ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ (และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้. พระเถระทั้งหลาย ครั้นยกภิกษุวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้วจึงได้ ยกแม้ขันธกะและบริวารขึ้น (สู่สังคายนา) โดยอุบายนั้นนั่นแล. พระวินัยปิฎก พร้อมทั้งอุภโตวิภังค์ขันธกะและบริวาร พระเถระทั้งหลายยกขึ้นสู่สังคหะแล้ว ด้วยประการฉะนี้. พระมหากัสสปเถระ ได้ถามวินัยปิฎกทั้งหมด. พระอุบาลีเถระก็ได้ วิสัชนาแล้ว. ในที่สุดแห่งการปุจฉาและวิสัชนา พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้ ทำการสาธยายเป็นคณะ โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคหะนั้นแล. ในอวสานแห่งการ สังคายนาพระวินัย พระอุบาลีเถระวาพัดวีชนีอันขจิตด้วยงาแล้ว ลงจาก ธรรมาสน์ไหว้พวกภิกษุผู้แก่แล้วนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน. [เริ่มสังคายนาพระสูตร] ท่านพระมหากัสสป ครั้นสังคายนาพระวินัยแล้ว ประสงค์จะสังคายนา พระธรรม จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อพวกเราจะสังคายนาพระธรรม ควรจะ ทำใครให้เห็นธุระ สังคายนาพระธรรม ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ให้ท่านพระอานนทเถระ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38 [คำสวดสมมติปุจฉาวิสัชนาพระสูตร] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าเจ้าพึงถามพระธรรมกะท่านพระอานนท์.๑ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าอันพระมหากัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา ๒ พระธรรม [ปุจฉาและวิสัชนาพระสูตร] ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมสาสน์จับพัดวีชนีอันขจิตด้วยงา. พระมหา- กัสสปะเถระ ถามพระธรรมกะพระอานนทเถระว่า อานนท์ผู้มีอายุ ! พรหมชาล- สูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ? พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตรัสที่พระตำหนักหลวงในพระราช อุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ? พระอานนท์. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมานพ. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง บุคคลบ้าง แห่งพรหมชาลสูตร. พระมหากัสสป. ท่านอานนท์ผู้มีอายุ ! ก็สามัญญผลสูตร พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ๑-๒. วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๔ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39 พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ตรัส ณ ที่สวนอัมพวันของหมอชีวก ใกล้กรุงราชคฤห์. พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ? พระอานนท์. ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง บุคคลบ้าง แห่งสามัญญผลสูตร. ถามนิกายทั้ง ๕ โดยอุบายนี้นั่น* แล [นิกาย ๕] ที่ชื่อว่านิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตร- นิกาย ขุททกนิกาย. บรรดานิกายเหล่านั้น พระพุทธพจน์ที่เหลือยกเว้น ๔ นิกายเสีย ชื่อว่าขุททกนิกาย. ในขุททกนิกายนั้น พระวินัย ท่านอุบาลีเถระ ได้วิสัชนาแล้ว. ขุททกนิกายที่เหลือ และอีก ๔ นิกาย พระอานนทเถระวิสัชนา. [พระพุทธพจน์มีจำนวนต่าง ๆ กัน] พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้นั้น พึงทราบว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ ปัจฉิมะ อนึ่ง มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปิฎก มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจนิกาย มี ๙ อย่าง ด้วยอำนาจองค์ มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจพระธรรมขันธ์. [พระพุทธพจน์มีอย่างเดียว] พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรสอย่างไร ? คือ ตาม ความเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจนถึง

  • วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๔ - ๓๘๕.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40 ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ทรงพร่ำสอนเทวดา มนุษย์ นาค และยักษ์ หรือทรงพิจารณาตลอดเวลา ๔๕ ปี ได้ตรัสพระพุทธพจน์ ใดไว้ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดมีรสอย่างเดียว คือมีวิมุตติเป็นรสเท่านั้น. พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส ด้วยประการฉะนี้. [ พระพุทธพจน์มี ๒ อย่าง ] พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัยอย่างไร ? คือ อันพระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้นั่นแล ย่อมถึงการนับว่า พระธรรมและวินัย. บรรดาธรรมและวินัยนั้น วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย. พระพุทธพจน์ที่เหลือชื่อว่า ธรรม. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระมหากัสสปได้กล่าวไว้แล้วว่า ผู้มีอายุ! อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงสังคายนาธรรมและวินัย และว่า เราพึงถามพระวินัย กะท่านอุบาลี พึงถามพระธรรมกะท่านอานนท์ ดังนี้. พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย ด้วยประการฉะนี้ [พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง] พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ อย่างไร ? คืออันที่จริง พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดนั่นแล แบ่งประเภทเป็น ๓ คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ (และ) ปัจฉิมพุทธพจน์ บรรดาพระพุทธพจน์ ๓ อย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า เราแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีความ เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แนะ นายช่างผู้ทำเรือน เราพบเจ้าแล้ว เจ้าจัก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41 สร้างเรือน (คืออัตภาพของเรา ไม่ได้อีก ต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือน (คืออวิชชา) เรารื้อเสียแล้ว จิต ของเราได้ถึงพระนิพพานมีสังขารไปปราศ แล้ว เราได้บรรลุความสิ้นไปแห่งตัณหา ทั้งหลาย๑ แล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงอุทานคาถาในขันธกะ ว่า เมื่อใดแลธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ๒ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์. ก็คาถานั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ทรง พิจารณาปัจจยาการ ในพระญาณอันสำเร็จด้วยโสมนัส ในวันปาฏิบท บัณฑิต พึงทราบว่า อุทานคาถา. อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระดำรัสใด ในคราว ปรินิพพานว่า ภิกษุทั้งหลายเอาเถิด บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขาร ทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาทเถิด ๓ นี้ชื่อว่าปัจฉิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในระหว่างแห่งกาลทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่ามัชฌิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็น ปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ ด้วยประการฉะนี้. [ปิฎก ๓] พระพุทธพจน์ทั้งปวงเป็น ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกอย่างไร ? ก็พระพุทธพจน์แม้ทั้งปวงมีอยู่ ๓ ประการเท่านั้น คือพระวินัยปิฎก พระ- สุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก. ใน ๓ ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้คือ ๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. ๒. วิ. มหา ๔/๔. ๓. ที. วิ. มหา.๑๐/๑๘๐ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42 ประมวลพระพุทธวจนะแม้ทั้งหมด ทั้งที่ร้อยกรองในปฐมสังคายนา ทั้งที่ ร้อยกรองในภายหลัง เป็นปาฏิโมกข์ ๒ ฝ่าย วิภังค์ ๒ ขันธกะ ๒๒ บริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก. พระพุทธวจนะนี้คือ ทีฆนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกาย เป็นที่รวบรวม พระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกาย ๑๕ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมาน- วัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ชื่อสุตตันตปิฎก. พระพุทธพจน์นี้คือธัมมสังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน ชื่ออภิธรรมปิฎก. [อรรถาธิบายคำว่าวินัย] ในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมนั้น พระวินัย อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย และวาจา. จริงอยู่ ในพระวินัยนี้ มีนัยต่าง ๆ คือ มีปาฏิโมกขุทเทศ ๕ ประการ กองอาบัติ ๗ มีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและนัยมีวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท และนัยคืออนุบัญญัติเป็นพิเศษ คือมีนัยอันกระทำให้มั่นและกระทำให้หย่อน เป็นประโยชน์. อนึ่ง พระวินัยนี้ย่อมฝึกกายและวาจา เพราะห้ามซึ่งอัชฌาจาร พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43 ทางกายและทางวาจา. เพราะฉะนั้น พระวินัยนี้ ท่านจังกล่าวว่า วินัย เพราะ มีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจา. ด้วยเหตุนั้น เพื่อ ความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์ นี้ไว้ว่า พระวินัยนี้ อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย และวาจา ดังนี้. [อรรถาธิบายคำว่าสูตร] ส่วนพระสูตรนอกนี้ ท่านกล่าวว่า สูตร เพราะบ่งถึง ประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มีพระ- ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันด้วยดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย. จริงอยู่ พระสูตรนั้น ย่อมบ่งถึงประโยชน์ต่างด้วยประโยชน์มีประโยชน์ ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว ในพระสูตรนี้ เพราะตรัสโดยอนุโลมแก่อัธยาศัยแห่งเวไนย. อนึ่ง พระสูตรนี้ ย่อมเผล็ดประโยชน์ ท่านอธิบายว่า ย่อมเผล็ดผลดุจข้าวกล้าฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์เหล่านั้น ท่านอธิบายว่า ย่อมรินดุจแม่โค พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44 นมหลั่งน้ำนมฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมป้องกัน ท่านอธิบายว่า ย่อมรักษา ด้วยดี ซึ่งประโยชน์เหล่านั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย. เหมือนอย่างว่าเส้นบรรทัด ย่อมเป็นประมาณของช่างไม้ฉันใด แม้พระสูตรนี้ ก็ย่อมเป็นประมาณแห่งวิญญูชนฉันนั้น. อนึ่ง เหมือนดอกไม้ที่เขาคุมไว้ด้วย เส้นด้ายอันลมให้เรี่ยรายกระจัดกระจายไม่ได้ฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่ทรง ประมวลไว้ด้วยพระสูตรนี้ย่อมไม่เรี่ยราย ไม่กระจัดกระจายฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งพระสูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถา ประพันธ์นี้ไว้ว่า พระสูตรท่านกล่าวว่า สูตร เพราะ บ่งถึงประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประ- โยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกัน ด้วยดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยด้าย ดังนี้. [อรรถาธิบายคำว่าอภิธรรม] ส่วนพระอภิธรรมนอกนี้ ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ที่มีความ เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา แล้ว ที่บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อันพระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอธิธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม. ก็อภิศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าเจริญ ว่ามีความกำหนดหมาย ว่าอันบุคคลบูชาแล้ว ว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว และว่ายิ่ง. จริงอย่างนั้น พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45 อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ แก่เรา๑ ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว ๒ ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว เป็นจอมมนุษย์๓ เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย๔ ท่าน อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง๕ ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ ๖ ภิกษุมีจิตประกอบ ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ๗ อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์ เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี ๘ อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม๙. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี เวทนา๑๐มี. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนับเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม อัปปมาณธรรม ๑๑ อนุตตรธรรม๑๒ ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า ๑. ส. มหา. ๑๙/๑๑๔. ๒. ม. มู. ๑๒/๓๖. ๓. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔ ๔. วิ. มหา. ๔/๑๔๒. ๕. ขุ, วิมาน. ๒๖/๑๓. ๖, อภิ. สํ. ๓๔/๔๔. ๗. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๘. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๙. อภิ. สํ. ๓๔/๓ ๑๐. อภิ. สํ. ๓๔/๙. ๑๑. อภิ. สํ. ๓๔/๑ ๑๒. อภิ. สํ. ๓๔/๗ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46 ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลายที่มีความ เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา แล้ว บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอภิ- ธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม. ส่วนปิฎกศัพท์ใด เป็นศัพท์ที่ไม่พิเศษในพระวินัย พระสูตรและ พระอภิธรรรมนี้ ปิฎกศัพท์นั้น อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎก กล่าวว่า ปิฏก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ ศัพท์ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น บัณฑิตพึงให้ ประชุมลงด้วยปิฎกศัพท์นั้น แล้วพึงทราบ. [ ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า] จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า อย่าเชื่อ โดยการอ้างตำรา๑. แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำ เป็นต้นว่าลำดับนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา๒. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต ทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎกกล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ. บัดนี้ พึงทราบอรรถแห่งบาทคาถาว่า เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ วินยาทโย เญยฺยา โดยนัยอย่างนี้ ศัพท์แม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงย่อเข้าเป็นสมาสกับด้วยปิฎกศัพท์ซึ่งมีอรรถเป็น ๒ อย่าง นี้นั้น แล้ว พึงทราบอย่างนี้ว่า วินัยนั้นด้วยชื่อว่าปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และ เพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วินัยปิฎก, สูตรนั้นด้วย ๑. องฺ จตุกฺก. ๒๑/๒๕๗ ๒. สํ. นิทาน. ๑๖/๑๐๖. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47 ชื่อว่าปิฎกด้วยโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล เหตุนั้นจึงชื่อว่า สุตตปิฎก, อภิธรรมนั้นด้วย ชื่อว่าปิฎกด้วย โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นเอง เหตุนั้นจึง ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก. ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดโดย ประการต่าง ๆ ในปิฎกเหล่านั้นนั่นแลแม้อีก บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ในปิฎกเหล่านั้น ตามสมควร ภิกษุย่อมถึง ซึ่งความต่างแห่งปริยัติก็ดี สมบัติและวิบัติ ก็ดี อันใด ในปิฎกใด มีวินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึงประกาศความ ต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้นทั้งหมด โดย ประการนั้น. วาจาเครื่องแสดงและวาจาเครื่องประกาศ ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น ดังต่อ ไปนี้ : - แท้จริง ปิฎกทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา และยถาปราธศาสน์ ยถานุโลมศาสน์ ยถาธรรมศาสน์ และ ว่าสังวราสังวรรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา และนามรูปปริเฉทกถา ตามลำดับ. ความจริง บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ วินัยปิฎกท่านให้ชื่อว่า อาณาเทศนา เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่อาณา ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎกมาด้วยอาณา, สุตตันตปิฎก ท่านให้ชื่อว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดใน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48 โวหาร ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎกมากด้วยโวหาร, อภิธรรมปิฎก ท่านให้ชื่อว่า ปรมัตถเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงไว้โดย เป็นปิฎกมากด้วยปรมัตถ์. อนึ่ง ปิฎกแรกท่านให้ชื่อว่า ยถาปราธศาสน์ เพราะ สัตว์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความผิดมากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตาม ความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่สองท่านให้ชื่อว่า ยถานุโลมศาสน์ เพราะสัตว์ ทั้งหลาย ผู้มีอัธยาศัย อนุสัย จริยา และอธิมุตติไม่ใช่อย่างเดียวกัน พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามสมควรในปิฎกนี้, ปิฎกที่สามท่านให้ชื่อว่า ยถา- ธรรมศาสน์ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสิ่งสักว่ากองธรรมว่า เรา ว่า ของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามธรรมในปิฎกนี้, อนึ่ง ปิฎก แรกท่านให้ชื่อว่า สังวราสังวรกถา เพราะความสำรวมน้อยและใหญ่ อันเป็น ปฏิปักษ์ต่อความละเมิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ปิฎกที่สองท่าน ให้ชื่อว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา เพราะการคลี่คลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ปิฎกที่สามท่านให้ชื่อว่า นามรูปปริเฉท- กถา เพราะการกำหนดนามรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีราคะเป็นต้น พระ- ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ก็แลให้ปิฎกทั้งสามนี้ บัณฑิตพึงทราบ สิกขา ๓ ปานะ ๓ คัมภีรภาพ ๔ ประการ. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษในพระวินัยปิฎก, อธิจิตตสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษ ในพระสุตตปิฎก, อธิปัญญาสิขาท่านกล่าวไว้โดยพิเศษในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง ความละวีติกมกิเลสท่านกล่าวไว้ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นข้าศึกต่อ ความละเมิดแห่งกิเลสทั้งหลาย, ความละปริยุฏฐานกิเลส ท่านกล่าวไว้ใน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49 พระสุตตปิฎก เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส, ความละอนุสัยกิเลส ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส, อนึ่ง การละกิเลสทั้งหลายด้วยองค์นั้น ๆ ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละด้วย การข่มไว้และตัดขาด ท่านกล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอนกนี้, หนึ่ง การละสังกิเลส คือทุจริต ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ท่าน กล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอกนี้, ก็บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธพจน์เป็นคุณลึกซึ้ง โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎก ทั้ง ๓ นี้ แต่ละอย่าง ๆ. [อธิบายคัมภีรภาพ ๔ อย่าง] บรรดาคัมภีรภาพทั้ง ๔ นั้น พระบาลี ชื่อว่าธรรม. เนื้อความแห่ง พระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่าอรรถ. การแสดงพระบาลีนั้นที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น ชื่อว่าเทศนา. การหยั่งรู้พระบาลีและอรรณแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่า ปฏิเวธ. ก็เพราะในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายหยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัยที่พวกเขาไม่พึง ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นหยั่งลงได้ยากฉะนั้น, เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง. ก็แลบัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพทั้ง ๔ ในปิฏกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้. [อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง] อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่าธรรม, สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มี- พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50 พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา.๑ ผลแห่งเหตุ ชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ว่า ความรู้ในผล แห่งเหตุ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๒. บัญญัติ อธิบายว่า การเทศนาธรรมตาม ธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและ โลกุตระ คือความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควร แก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัยและโดยความไม่ งมงาย๓. บัดนี้ ควรทราบคัมภีร์ทั้ง ๔ ประการ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละ ปิฎก เพราะเหตุที่ธรรมชาตหรืออรรถชาตใด ๆ ก็ดี อรรถที่พระผู้มีพระ- ภาคเจ้าพึงให้ทราบย่อมเป็นอรรถมีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย ด้วยประการใด ๆ เทศนาอันส่องอรรถนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ นี้ใด ก็ดี ปฏิเวธคือความหยั่งรู้ไม่วิปริตในธรรม อรรถและเทศนานี้ใดก็ดี ใน ปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มี ปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยากและ ที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งถึงได้ยาก ฉะนั้น. ก็พระคาถานี้ว่า บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร ดังนี้ ๑-๒ อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙. ๓. สารตฺถทีปนี. ๑/๑๒๒. อธิบายว่า ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ และโลกุตระนั้น ความหยั่งรู้เป็นโลกิยะ มีธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีสังขารมีอรรถ เป็นต้นเป็นอารมณ์ มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้นเป็นอารมณ์ ชื่อว่าความรู้รวมลง ใน ธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยวิสัย. ส่วนความตรัสรู้เป็นโลกุตระนั้นมี นิพพาน เป็นอารมณ์ สัมปยุตด้วยมรรคมีการกำจัดความงมงายในธรรม อรรถและบัญญัติตามที่กล่าว แล้ว ชื่อว่าความรู้รวมลงในธรรมเป็นต้นตามสมควรแก่อรรถเป็นต้น โดยความไม่งมงาย.