ผู้ใช้:Thastp/ทุน เล่ม 1/1/3

จาก วิกิซอร์ซ

{{หัวเรื่องงานแปล <!-- ข้อมูลหลัก --> | ชื่อ = ทุน เล่ม 1 | ศักราช = ค.ศ.| ปี = 1890 | ภาษา = de | ต้นฉบับ = Das Kapital. Band I | ผู้สร้างสรรค์ = คาร์ล มาคส์| บรรณาธิการ = ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ | ส่วน = บทที่ 1: โภคภัณฑ์| ผู้มีส่วนร่วม = ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ | ก่อนหน้า = [[งานแปล:ทุน_เล่ม_1/v|สารบัญ]]| ถัดไป = [[งานแปล:ทุน_เล่ม_1/2|บทที่ 2: กระบวนการแลกเปลี่ยน]] | หมายเหตุ = <!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) --> | หมวดหมู่ = | แก้กำกวม = | รุ่น = | สถานีย่อย = | ผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง = | วิกิพีเดีย = | คอมมอนส์ = | หมวดหมู่คอมมอนส์ = | วิกิคำคม = | วิกิข่าว = | วิกิพจนานุกรม = | วิกิตำรา = | วิกิห้องสมุด = | วิกิสนเทศ = | วิกิท่องเที่ยว = | วิกิวิทยาลัย = | วิกิสปีชีส์ = | เมทา = }}

สารบัญของวิกิซอร์ซ

3) รูปมูลค่าหรือมูลค่าแลกเปลี่ยน

สินค้าอุบัติบนโลกในรูปของมูลค่าใช้สอยหรือกายสินค้า เช่นเหล็ก ผ้าลินิน ข้าวสาลี ฯลฯ เหล่านี้คือรูปธรรมชาติแบบพื้นบ้าน แต่ที่เป็นสินค้าได้ก็เพียงเพราะว่าเป็นอยู่สองอย่างพร้อมกัน คือเป็นวัตถุใช้สอยและเป็นพาหะของมูลค่า ดังนั้น จะปรากฏเป็นสินค้าหรือมีรูปเป็นสินค้า ก็ต่อเมื่อมีทวิรูป คือรูปธรรมชาติกับรูปมูลค่า

วัตถุภาวะมูลค่าของสินค้าต่างจากมิสเตรสส์ควิกลีตรงที่ไม่มีใครทราบว่ากินได้ตรงไหน[a] ตรงข้ามโดยสิ้นเชิงจากวัตถุภาวะของกายสินค้าที่หยาบและสัมผัสได้ ไม่มีสสารธรรมชาติอยู่ในวัตถุภาวะมูลค่าแม้อะตอมเดียว จะหมุนหรือพลิกสินค้าชิ้นหนึ่งอย่างไร ก็ยังคงจับต้องไม่ได้ในฐานะสิ่งของมูลค่า แต่หากเราจำได้ว่าสินค้ามีวัตถุภาวะมูลค่าตราบเมื่อเป็นการแสดงออกของหน่วยทางสังคมเดียวกันเท่านั้น คือแรงงานมนุษย์ และว่าวัตถุภาวะมูลค่าเป็นเพียงสิ่งทางสังคม เราย่อมเข้าใจทันทีว่ามันสามารถปรากฏอยู่ในความสัมพันธ์ทางสังคมจากสินค้าสู่สินค้าเท่านั้น อันที่จริง เราออกเดินทางจากมูลค่าแลกเปลี่ยนหรือความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าเพื่อตามรอยหามูลค่าซึ่งแอบซ่อนอยู่ข้างในนั้น ถึงคราวที่เราต้องกลับไปยังรูปปรากฏรูปนี้ของมูลค่า

ทุกคนรู้ แม้อาจไม่รู้สิ่งอื่นเลย ว่าสินค้ามีรูปมูลค่าร่วมกันอยู่รูปหนึ่ง ดูขัดกับรูปธรรมชาติแสนฉูดฉาดของมูลค่าใช้สอยอย่างสะดุดตา —— รูปเงินตรา ถึงกระนั้น จำเป็นที่เราจะต้องกระทำสิ่งที่เศรษฐศาสตร์กระฎุมพีไม่เคยคิดลองเลยแม้สักครั้ง คือการพิสูจน์หากำเนิดของรูปเงินตรา การสะกดรอยตามพัฒนาการของการแสดงออกมูลค่าภายในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้า จากรูปซึ่งไม่เตะตาและเรียบง่ายที่สุด ไปยังรูปเงินตราซึ่งเจิดจ้าแยงตา แล้วคลี่ปมปริศนาเงินตราไปพร้อมกันด้วยการนั้น

เห็นได้ชัดว่าความสัมพันธ์มูลค่าแบบเรียบง่ายที่สุดคือความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้าชิ้นหนึ่งกับสินค้าต่างชนิดอีกชิ้นหนึ่ง ชนิดใดก็ได้ ความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้าสองอย่างจึงได้ผลเป็นการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายที่สุดสำหรับสินค้าอย่างหนึ่ง

A) รูปมูลค่าแบบเรียบง่าย เอกเทศ หรือบังเอิญ
สินค้า หน่วย สินค้า หน่วย หรือว่า สินค้า หน่วยมีค่าเป็นสินค้า หน่วย
(ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือว่า ผ้าลินิน 20 หลามีค่าเป็นเสื้อคลุม 1 ตัว)

1) สองขั้วของการแสดงออกมูลค่า: รูปมูลค่าสัมพัทธ์และรูปสมมูล

ความลับของรูปมูลค่าทั้งปวงอยู่ในรูปมูลค่าแบบเรียบง่าย จึงวิเคราะห์ด้วยความยุ่งยากอย่างแท้จริง

สินค้าแตกต่างกันสองชนิด กับ ในตัวอย่างของเราคือผ้าลินินกับเสื้อคลุม มีบทบาทแตกต่างกันอย่างชัดเจนสองบทบาท ผ้าลินินแสดงออกมูลค่าตัวเองเป็นเสื้อคลุม เสื้อคลุมทำตัวเป็นวัตถุที่มูลค่าแสดงออกมาเป็น สินค้าอย่างแรกแสดงบทผู้กระทำ สินค้าอย่างที่สองแสดงบทผู้ถูกกระทำ มูลค่าของสินค้าอย่างแรกแสดงเป็นมูลค่าสัมพัทธ์ หรือตัวสินค้าเองอยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์ สินค้าอย่างที่สองทำหน้าที่เป็นสิ่งที่เสมอกัน หรืออยู่ในรูปสมมูล

รูปมูลค่าสัมพัทธ์กับรูปสมมูลเป็นคู่ควบของกันและกัน วางเงื่อนไขซึ่งกันและกัน และแยกจากกันไม่ได้ ขณะเดียวกันก็เป็นสุดโต่งที่อยู่ตรงข้ามกันและไม่เกิดซ้อนกัน เป็นสองขั้วของการแสดงออกมูลค่าที่แจกแจงบนสินค้าที่แตกต่างกันและสัมพันธ์กันผ่านการแสดงออกมูลค่าแบบนี้ ผมไม่สามารถแสดงออกมูลค่าของผ้าลินินเป็นผ้าลินินได้เป็นต้น ผ้าลินิน 20 หลา ผ้าลินิน 20 หลาไม่ใช่การแสดงออกมูลค่า ในทางตรงกันข้าม สมการนี้บอกว่า: ผ้าลินิน 20 หลาไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากผ้าลินิน 20 หลา เป็นวัตถุใช้สอยนามว่าผ้าลินินในปริมาณที่แน่นอน มูลค่าของผ้าลินินจึงแสดงออกเชิงสัมพัทธ์ได้เท่านั้น กล่าวคือแสดงออกเป็นสินค้าชนิดอื่น ดังนั้น รูปมูลค่าสัมพัทธ์ของผ้าลินินบ่งชี้ว่ามีสินค้าบางชนิดอีกชนิดอยู่ในรูปสมมูลกับมัน แต่อีกด้านหนึ่ง สินค้าอีกชนิดซึ่งอยู่ในรูปสมมูลไม่สามารถอยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์ไปพร้อมกันได้ ไม่ได้แสดงออกมูลค่าของตัวเอง เพียงแต่จัดเตรียมวัตถุให้มูลค่าของสินค้าอีกชนิดหนึ่งแสดงออกมาเป็น

แน่นอนว่าการแสดงออก: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัวหรือผ้าลินิน 20 หลามีค่าเป็นเสื้อคลุม 1 ตัว รวมความสัมพันธ์ด้านกลับด้วย: เสื้อคลุม 1 ตัว ผ้าลินิน 20 หลาหรือเสื้อคลุม 1 ตัวมีค่าเป็นผ้าลินิน 20 หลา ทว่าผมจะต้องกลับด้านสมการเพื่อแสดงออกมูลค่าของเสื้อคลุมในเชิงสัมพัทธ์ และเมื่อผมกระทำเช่นนั้น ผ้าลินินจะกลายเป็นสิ่งที่สมมูลแทนที่เสื้อคลุม สินค้าเดียวกันจึงไม่สามารถปรากฏอยู่ในทั้งสองรูปพร้อมกันได้ในการแสดงออกมูลค่าเดียวกัน รูปเหล่านี้กีดกันกันเองเหมือนขั้วตรงข้าม

สินค้าอย่างหนึ่งจะอยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์หรือตรงข้ามในรูปสมมูล ขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงออกมูลค่าแต่ละครั้งเท่านั้น กล่าวคือขึ้นกับว่ามูลค่าที่แสดงออกมาเป็นของสินค้า หรือว่าเป็นสินค้าที่ใช้แสดงมูลค่าออกมา

2) รูปมูลค่าสัมพัทธ์

a) เนื้อหาของรูปมูลค่าสัมพัทธ์

เพื่อสืบค้นว่าการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้าทั้งสองอย่างไร ก่อนอื่นต้องพิจารณาอย่างหลังแยกจากแง่มุมเชิงปริมาณโดยสิ้นเชิง ในความสัมพันธ์มูลค่า เรามักทำตรงข้ามและมองที่อัตราส่วนของปริมาณที่แน่นอนของสินค้าสองชนิดที่นับว่าเสมอกัน เรามองข้ามว่าเราจะสามารถเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งที่แตกต่างกันได้เฉพาะหลังจากลดทอนเป็นหน่วยเดียวกันแล้ว ต้องแสดงออกในหน่วยเดียวกันถึงมีตัวหารเดียวกัน แล้วจึงจะเทียบขนาดกันได้[1][b]

ไม่ว่าผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือ 20 ตัวหรือ ตัว ไม่ว่าผ้าลินินปริมาณหนึ่งจะมีค่าเป็นเสื้อคลุมมากน้อยเท่าใดก็ตาม อัตราส่วนเหล่านี้ล้วนบ่งบอกว่า ในฐานะขนาดของมูลค่า ผ้าลินินกับเสื้อคลุมเป็นการแสดงออกของหน่วยเดียวกัน เป็นสิ่งของที่มีธรรมชาติเหมือนกัน ผ้าลินิน เสื้อคลุม คือฐานของสมการ

แต่สินค้าที่เสมอกันเชิงคุณภาพทั้งสองไม่ได้แสดงบทบาทเดียวกัน มูลค่าของผ้าลินินเท่านั้นที่ได้แสดงออกมา แล้วอย่างไร? ผ่านความสัมพันธ์กับเสื้อคลุมซึ่งเป็น "สิ่งสมมูล" หรือเป็น "สิ่งที่แลกเปลี่ยนได้" กับผ้าลินิน ในความสัมพันธ์นี้ เสื้อคลุมเป็นรูปดำรงอยู่ของมูลค่า ในฐานะสิ่งของมูลค่า เพราะดังเช่นนี้เท่านั้นจึงจะเป็นสิ่งเดียวกับผ้าลินิน ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นมูลค่าของผ้าลินินเผยตัวหรือแสดงออกมาโดยลำพัง เพราะเสื้อคลุมในฐานะมูลค่าเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นสิ่งที่สมมูลหรือแลกเปลี่ยนกับผ้าลินินได้ เหมือนที่กรดบิวทิริกเป็นสารที่แตกต่างจากโพรพิลฟอร์เมต แม้ทั้งสองจะประกอบจากสารเคมีที่เหมือนกัน —— คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) และอันที่จริงมีส่วนประกอบร้อยละเดียวกัน คือ C4H8O2 หากเราจับโพรพิลฟอร์เมตเสมอกับกรดบิวทิริก ประการแรก ในความสัมพันธ์นี้ โพรพิลฟอร์เมตนับเป็นเพียงรูปดำรงอยู่ของ C4H8O2 ประการที่สอง กล่าวได้ว่ากรดบิวทิริกประกอบจาก C4H8O2 เหมือนกัน การจับโพรพิลฟอร์เมตเสมอกับกรดบิวทิริกจึงเป็นเพียงการแสดงออกส่วนประกอบทางเคมี มากกว่าจะเป็นการแสดงออกรูปทางกาย[c]

หากเรากล่าวว่า: สินค้า ในฐานะมูลค่า เป็นเพียงวุ้นของแรงงานมนุษย์ เราวิเคราะห์ลดทอนมันเป็นนามธรรมว่ามูลค่า แต่มันไม่ได้รูปมูลค่าที่แตกต่างจากจากรูปธรรมชาติมา แต่ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่งกับสินค้าอีกอย่าง ลักษณะมูลค่าของอย่างแรกโผล่ออกมาผ่านความสัมพันธ์ที่มีกับอย่างหลัง

การจับเสื้อคลุมในฐานะสิ่งของมูลค่าเสมอกับผ้าลินินเป็นต้น จึงเป็นการจับแรงงานข้างในอย่างแรกเสมอกับแรงงานข้างในอย่างหลัง จริงที่การตัดเย็บ ซึ่งผลิตเสื้อคลุม กับการถักทอ ซึ่งผลิตผ้าลินิน เป็นแรงงานรูปธรรมคนละชนิด แต่ในความเป็นจริง การจับมาเสมอกับการถักทอลดทอนการตัดเย็บเป็นสิ่งที่เสมอกันจริง ๆ ในแรงงานทั้งสอง คือลักษณะร่วมของการเป็นแรงงานมนุษย์ กล่าวอ้อมต่อได้ว่า การถักทอ ตราบที่ถักทอมูลค่า ก็ปราศจากรอยตำหนิให้แยกแยะจากการตัดเย็บได้ จึงเป็นแรงงานมนุษย์นามธรรม การแสดงออกว่าสินค้าต่างชนิดเสมอกันเท่านั้นที่เปิดเผยลักษณะเฉพาะของแรงงานที่ก่อสร้างมูลค่า ด้วยการลดทอนแรงงานต่างชนิดในสินค้าต่างชนิดเป็นสิ่งที่มีร่วมกันในความเป็นจริง ว่าเป็นแรงงานมนุษย์โดยทั่วไป[2]

แต่การแสดงออกลักษณะเฉพาะของแรงงานซึ่งประกอบมูลค่าของผ้าลินินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ สภาวะของไหลของพลังแรงงานมนุษย์ หรือแรงงานมนุษย์ สร้างมูลค่าแต่ไม่ใช่มูลค่า จะเป็นมูลค่าเมื่ออยู่ในสภาวะของแข็งหรือรูปเชิงวัตถุ เพื่อแสดงออกมูลค่าของผ้าลินินในฐานะวุ้นของแรงงานมนุษย์ ต้องแสดงออกเป็น „วัตถุภาวะ“ ที่แตกต่างจากผ้าลินินเองในทางวัตถุ และในขณะเดียวกันมีเหมือนกับสินค้าอื่น ๆ ภารกิจนี้ลุล่วงแล้ว

ในความสัมพันธ์มูลค่าของผ้าลินิน เสื้อคลุมนับเป็นสิ่งที่เสมอกันในเชิงคุณภาพ หรือสิ่งที่มีธรรมชาติเหมือนกัน เพราะเป็นมูลค่า จึงนับว่าเสื้อคลุมเป็นสิ่งที่มูลค่าปรากฎอยู่ข้างใน หรือสิ่งที่แสดงถึงมูลค่าในรูปธรรมชาติที่จับต้องได้ ทว่าเสื้อคลุม กายของสินค้านามว่าเสื้อคลุม แท้จริงแล้วเป็นเพียงมูลค่าใช้สอย เสื้อคลุมแสดงออกมูลค่าไม่มากไปกว่าผ้าลินินผืนแรกที่เจอ นี่พิสูจน์ได้แค่ว่าเสื้อคลุมในความสัมพันธ์มูลค่ากับผ้าลินินมีความหมายกว่าเสื้อคลุมที่อยู่ข้างนอก อย่างที่มนุษย์หลายคนในเสื้อคลุมปักทองแล่งมีความหมายกว่ามนุษย์ที่อยู่ข้างนอก[d]

ในการผลิตเสื้อคลุม มีการใช้จ่ายพลังแรงงานมนุษย์ไปจริงในรูปของการตัดเย็บ แรงงานมนุษย์จึงจับตัวกันอยู่ภายใน จากมุมนี้ เสื้อคลุมเป็น „พาหะของมูลค่า“ แต่สมบัตินี้ไม่โผล่มาให้เห็นแม้จะขาดรุ่งริ่งหมดแล้ว และในความสัมพันธ์มูลค่าของผ้าลินิน นับเสื้อคลุมจากมุมนี้เท่านั้น จึงนับเป็นอวตารของมูลค่า ในฐานะกายของมูลค่า ถึงแม้ผ้าลินินจะดูเงียบขรึม แต่เขามองเห็นจิตวิญญาณมูลค่าอันงดงามจากกำพืดเดียวกันในเสื้อคลุม ถึงกระนั้น เสื้อคลุมไม่สามารถแสดงถึงมูลค่าต่อเขาได้ ถ้าต่อเขามูลค่าไม่ได้มีรูปเป็นเสื้อคลุมไปด้วยพร้อมกัน เช่นที่บุคคล ไม่สามารถวางตัวต่อบุคคล ในฐานะพระเจ้าอยู่หัวได้ ถ้าสำหรับ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้มีรูปกายเป็น ด้วย และจึงมีหน้าตา ผมเผ้า และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งเปลี่ยนไปทุกครั้งที่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่

ในความสัมพันธ์มูลค่าที่เสื้อคลุมเป็นสิ่งสมมูลของผ้าลินิน จึงนับว่ารูปเสื้อคลุมเป็นรูปมูลค่า มูลค่าของสินค้านามว่าผ้าลินินจึงแสดงออกเป็นกายของสินค้านามว่าเสื้อคลุม มูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่งแสดงออกเป็นมูลค่าใช้สอยของสินค้าอีกอย่าง ในฐานะมูลค่าใช้สอย ผ้าลินินเป็นของที่แตกต่างจากเสื้อคลุมทางเนื้อหนัง ในฐานะมูลค่า ผ้าลินินเป็น „สิ่งที่เสมอกับเสื้อคลุม“ และจึงดูเหมือนเสื้อคลุม ผ้าลินินจึงได้รูปมูลค่าที่แตกต่างจากรูปธรรมชาติของตัวเองมา ความเป็นมูลค่าของผ้าลินินปรากฏตัวในความเสมอภาคกับเสื้อคลุม เหมือนที่ธรรมชาติความเป็นแกะของคริสตชนปรากฏตัวในความเสมอภาคกับพระเมษโปดกของพระผู้เป็นเจ้า

เห็นว่าทั้งหมดซึ่งบทวิเคราะห์มูลค่าสินค้าที่ผ่านมาบอกกับเรา ผ้าลินินเองก็บอกมาทันทีที่มีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าอีกอย่างเช่นเสื้อคลุม แต่เผยความคิดของตนออกมาเฉพาะในภาษาที่มันเข้าใจอยู่คนเดียว คือภาษาของสินค้า เพื่อบอกว่าแรงงานสร้างมูลค่าของตนด้วยสมบัตินามธรรมที่เป็นแรงงานมนุษย์ ผ้าลินินจะบอกว่าเสื้อคลุม เท่าที่เสมอกับตนและจึงเป็นมูลค่า ประกอบจากแรงงานเดียวกัน เพื่อบอกว่าวัตถุภาวะมูลค่าอันเลิศล้ำของตนแตกต่างจากกายที่แข็งกระด้าง ผ้าลินินจะบอกว่ามูลค่าหน้าตาเหมือนเสื้อคลุม แล้วในฐานะสิ่งของมูลค่า จึงเหมือนกับเสื้อคลุมอย่างกับแกะ อนึ่ง สังเกตว่านอกจากภาษาฮีบรูแล้ว ภาษาของสินค้ายังมีสำเนียงท้องถิ่นอื่น ๆ มากมายที่ถูกต้องไม่มากก็น้อย คำว่า „แวร์ทไซน์“ ในภาษาเยอรมันเป็นต้นถ่ายทอดนัยว่าการจับสินค้า เสมอกับสินค้า เป็นการแสดงออกมูลค่าของสินค้า เองได้ชัดเจนน้อยกว่าคำกริยาอย่าง วาเลเร บาเลร์ กับวาลัวร์ในภาษาตระกูลโรมานซ์ ปารี โว เบียง อูน แม็ส![e]

ผ่านความสัมพันธ์มูลค่า รูปธรรมชาติของสินค้า จึงกลายเป็นรูปมูลค่าของสินค้า หรือกายของสินค้า กลายเป็นกระจกสะท้อนมูลค่าของสินค้า [3] ในความสัมพันธ์ของสินค้า ต่อสินค้า ดุจกายของมูลค่า หรือแรงงานมนุษย์ซึ่งกลายเป็นวัตถุ สินค้าอย่างแรกทำให้มูลค่าใช้สอย กลายเป็นวัตถุที่แสดงออกมูลค่าของตน มูลค่าของสินค้า ดังที่แสดงออกเป็นมูลค่าใช้สอยของสินค้า มีรูปเป็นมูลค่าสัมพัทธ์

b) ความแน่นอนเชิงปริมาณของรูปมูลค่าสัมพัทธ์

สินค้าที่จะแสดงออกมูลค่า ล้วนเป็นวัตถุใช้สอยปริมาณหนึ่ง ข้าวสาลี 15 เช็ฟเฟิล กาแฟ 100 ปอนด์ ฯลฯ สินค้าปริมาณหนึ่งประกอบด้วยแรงงานมนุษย์ในปริมาณที่แน่นอน รูปมูลค่าจึงต้องไม่แสดงออกเพียงมูลค่า แต่ต้องแสดงออกมูลค่าในปริมาณที่แน่นอน หรือขนาดของมูลค่า ดังนั้น ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้า ต่อสินค้า หรือผ้าลินินต่อเสื้อคลุม สินค้าชนิดเสื้อคลุมไม่ได้เสมอกับผ้าลินินแค่ในเชิงคุณภาพ ในฐานะกายของมูลค่าเท่านั้น แต่ยังเสมอกับผ้าลินินในปริมาณที่แน่นอน อาทิผ้าลินิน 20 หลา ในฐานะกายของมูลค่าหรือสิ่งสมมูลในปริมาณที่แน่นอน อาทิเสื้อคลุม 1 ตัว

สมการ: „ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือว่า ผ้าลินิน 20 หลามีค่าเป็นเสื้อคลุม 1 ตัว“ สันนิษฐานว่ามีแก่นสารของมูลค่าอยู่ในเสื้อคลุม 1 ตัวมากเท่ากับในผ้าลินิน 20 หลาพอดี และว่าปริมาณของสินค้าทั้งสองจึงใช้แรงงานมากเท่ากันหรือเวลาแรงงานปริมาณเดียวกัน ทว่าเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินิน 20 หลากับเสื้อคลุม 1 ตัวเปลี่ยนไปทุกครั้งที่พลังการผลิตของการถักทอกับการตัดเย็บเปลี่ยนไป เราควรสอบสวนโดยละเอียดถึงอิทธิพลที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีต่อการแสดงออกขนาดของมูลค่าในเชิงสัมพัทธ์

I. ให้มูลค่าของผ้าลินินเปลี่ยน[4] ขณะที่มูลค่าของเสื้อคลุมคงที่ หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินทวีคูณ อาจเนื่องจากการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ในดินเพาะปลูกป่านลินิน มูลค่าของผ้าลินินก็จะทวีคูณ เราจะได้ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว แทนที่ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว เพราะตอนนี้เสื้อคลุม 1 ตัวประกอบด้วยเวลาแรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของผ้าลินิน 20 หลา ในทางตรงข้าม หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินหดตัวเหลือครึ่งหนึ่ง อาจเนื่องจากการพัฒนากี่ทอผ้า มูลค่าของผ้าลินินก็จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ดังนั้นคราวนี้: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 12 ตัว มูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้า หรือมูลค่าที่แสดงออกเป็นสินค้า จึงเพิ่มขึ้นและลดลงโดยตรงตามมูลค่าของสินค้า เมื่อมูลค่าของสินค้า คงเดิม

II. ให้มูลค่าของผ้าลินินคงที่ ขณะที่มูลค่าของเสื้อคลุมเปลี่ยน ด้วยเงื่อนไขนี้ หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตเสื้อคลุมทวีคูณ อาจเนื่องจากผลผลิตขนแกะไม่เป็นใจ เราจะได้ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 12 ตัว แทนที่ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว ในทางตรงข้าม หากมูลค่าของเสื้อคลุมลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ก็จะได้ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว เมื่อมูลค่าของสินค้า คงเดิม มูลค่าสัมพัทธ์ที่แสดงออกเป็นสินค้า จึงเพิ่มขึ้นและลดลงผกผันกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของ

หากเราเปรียบเทียบแต่ละกรณีในข้อ I และ II ปรากฏว่าขนาดของมูลค่าสัมพัทธ์สามารถเปลี่ยนไปในทางเดียวกันจากเหตุตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัวจึงกลายเป็น: 1) ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว เพราะมูลค่าของผ้าลินินทวีคูณหรือเพราะมูลค่าของเสื้อคลุมลดลงครึ่งหนึ่ง และ 2) ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 12 ตัว เพราะมูลค่าของผ้าลินินลดลงครึ่งหนึ่งหรือเพราะมูลค่าของเสื้อคลุมเพิ่มขึ้นสองเท่า

III. ให้ปริมาณแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินกับเสื้อคลุมเปลี่ยนไปพร้อมกันในทิศทางและอัตราส่วนเดียวกัน ในกรณีนี้ ไม่ว่ามูลค่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ดังก่อน เราจะตรวจเจอว่ามูลค่าเปลี่ยนไปก็ต่อเมื่อเอามาเปรียบเทียบกับสินค้าอย่างที่สามซึ่งมูลค่าคงที่ หากมูลค่าของสินค้าทั้งปวงขึ้นลงพร้อมกันในอัตราส่วนเดียวกัน มูลค่าสัมพัทธ์ก็จะไม่เปลี่ยนและคงเดิม เราจะทราบการเปลี่ยนแปลงจริงของมูลค่าจากการขึ้นลงของปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ภายในเวลาแรงงานเดียวกันเมื่อเทียบกับแต่ก่อน

IV. ให้เวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินกับเสื้อคลุมตามลำดับ ฉะนั้นมูลค่าเหล่านี้ เปลี่ยนไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน แต่ในระดับที่ไม่เท่ากัน หรือในทิศทางตรงข้าม ฯลฯ อิทธิพลของส่วนผสมที่เป็นไปได้ทั้งหมดสามารถพลิกแพลงหาจากกรณีต่าง ๆ ในข้อ I. II. และ III. ได้โดยง่าย

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงจริงในขนาดของมูลค่าจึงไม่สะท้อนออกมาอย่างแจ่มแจ้งหรือถี่ถ้วนในการแสดงออกเชิงสัมพัทธ์หรือขนาดของมูลค่าสัมพัทธ์ มูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้าอาจเปลี่ยนไปแม้มูลค่าคงที่ มูลค่าสัมพัทธ์อาจคงที่แม้มูลค่าเปลี่ยนไป และสุดท้าย ขนาดของมูลค่าและการแสดงออกขนาดของมูลค่าในเชิงสัมพัทธ์อาจเปลี่ยนไปพร้อมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกันแต่อย่างใด[5]

3) รูปสมมูล

เห็นแล้วว่า: ในการแสดงออกมูลค่าของสินค้า (ผ้าลินิน) เป็นมูลค่าใช้สอยของสินค้า อีกชนิด (เสื้อคลุม) สินค้าอย่างแรกประทับรูปมูลค่าอันแปลกประหลาดลงบนสินค้าอย่างหลัง คือรูปของสิ่งที่สมมูล สินค้านามว่าผ้าลินินเผยความเป็นมูลค่าของตนออกมาผ่านการนับว่าเสื้อคลุมเสมอกับตนโดยไม่ต้องแปลงเป็นรูปมูลค่าที่ต่างไปจากรูปกาย ในความเป็นจริง ผ้าลินินจึงแสดงความเป็นมูลค่าของตนออกมาผ่านการที่เสื้อคลุมแลกเปลี่ยนกับตนได้โดยตรง รูปสมมูลของสินค้าจึงเป็นรูปที่แลกเปลี่ยนได้โดยตรงกับสินค้าอีกอย่าง

เมื่อสินค้าชนิดหนึ่ง เช่นเสื้อคลุม ทำหน้าที่เป็นสิ่งสมมูลของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง เช่นผ้าลินิน เสื้อคลุมก็จะได้สมบัติลักษณะเฉพาะมาในรูปของการแลกเปลี่ยนได้โดยตรงกับผ้าลินิน ด้วยการนี้ไม่ได้กำหนดแต่อย่างใดว่าเสื้อคลุมกับผ้าลินินนั้นแลกเปลี่ยนกันในอัตราส่วนใด แต่ขึ้นกับขนาดของมูลค่าของเสื้อคลุม เพราะขนาดของมูลค่าของผ้าลินินถูกกำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าจะแสดงออกเสื้อคลุมเป็นสิ่งสมมูลและผ้าลินินเป็นมูลค่าสัมพัทธ์ หรือกลับกัน ผ้าลินินเป็นสิ่งสมมูลและเสื้อคลุมเป็นมูลค่าสัมพัทธ์ก็ตาม ขนาดของมูลค่าของเสื้อคลุมยังคงกำหนดผ่านเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตดังก่อน ฉะนั้นไม่ขึ้นกับรูปมูลค่าที่เป็น แต่ในการแสดงออกมูลค่า ทันทีที่สินค้าชนิดเสื้อคลุมดำรงตำแหน่งเป็นสิ่งสมมูล ขนาดของมูลค่าของเสื้อคลุมไม่มีเหลือที่แสดงออกเป็นขนาดของมูลค่าแล้ว แต่มีรูปร่างเป็นเพียงปริมาณที่แน่นอนของสิ่งของอย่างหนึ่งในสมการมูลค่า

ตัวอย่างเช่น: ผ้าลินิน 40 หลามี „ค่า“ —— เป็นอะไร? เสื้อคลุม 2 ตัว เพราะในนี้ สินค้าชนิดเสื้อคลุมแสดงบทบาทเป็นสิ่งสมมูล ต่อผ้าลินิน มูลค่าใช้สอยของเสื้อคลุมนับเป็นกายของมูลค่า เสื้อคลุมปริมาณแน่นอนเท่าหนึ่งก็เพียงพอที่จะแสดงออกปริมาณของมูลค่าที่แน่นอนเท่าหนึ่งของผ้าลินิน เสื้อคลุมสองตัวจึงสามารถแสดงออกขนาดของมูลค่าของผ้าลินิน 40 หลาได้ แต่ไม่มีทางแสดงออกขนาดของมูลค่าของตัวเอง ก็คือของเสื้อคลุม การรับรู้อย่างผิวเผินถึงข้อเท็จจริงว่า ในสมการมูลค่า สิ่งสมมูลอยู่ในรูปของปริมาณที่เรียบง่ายของสิ่งของอย่างหนึ่งหรือมูลค่าใช้สอยอย่างหนึ่งเสมอ ทำให้เบย์ลีย์ เหมือนผู้มาก่อนและหลังเขาหลายคน หลงผิดมองแค่ความสัมพันธ์เชิงปริมาณในการแสดงออกมูลค่า รูปสมมูลของสินค้าทว่าไม่ครอบคลุมการกำหนดมูลค่าเชิงปริมาณเลย

ความแปลกประหลาดขั้นแรกที่ประจักษ์เมื่อพิจารณารูปสมมูลคือ: มูลค่าใช้สอยกลายเป็นรูปปรากฏของสิ่งตรงข้ามมัน ของมูลค่า

รูปธรรมชาติของสินค้ากลายเป็นรูปมูลค่า แต่สังเกตว่าเกิดการสับสนปนกันแบบนี้กับสินค้า (เสื้อคลุม ข้าวสาลี เหล็ก ฯลฯ) ข้างในความสัมพันธ์มูลค่าที่มีกับสินค้า อย่างอื่นอย่างใดเท่านั้น (ผ้าลินิน ฯลฯ) ในความสัมพันธ์นี้เท่านั้น และเพราะไม่มีสินค้าใดมีความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สมมูลกับตัวเองได้ จึงไม่สามารถใช้เนื้อหนังธรรมชาติตัวเองแสดงออกมูลค่าตัวเอง ต้องมีความสัมพันธ์กับสินค้าอื่นที่เป็นสิ่งสมมูล หรือทำเนื้อหนังธรรมชาติของสินค้าอื่นให้เป็นรูปมูลค่าของตัวเอง

เราจะอธิบายด้วยตัวอย่างของหน่วยวัดของกายสินค้าที่เป็นกายสินค้า คือเป็นมูลค่าใช้สอย ก้อนน้ำตาลหนัก เพราะเป็นกาย ฉะนั้นมีน้ำหนัก แต่เราไม่เห็นและไม่สามารถสัมผัสน้ำหนักของก้อนน้ำตาลได้ เราเอาเหล็กมาหลาย ๆ ก้อน แต่ละก้อนเรากำหนดน้ำหนักไว้แล้ว เมื่อพิจารณารูปกายของเหล็กโดยตัวเอง ก็เป็นรูปปรากฏของสิ่งที่หนักไม่น้อยไปกว่ารูปกายของก้อนน้ำตาล แต่ถึงอย่างนั้น เพื่อแสดงออกน้ำตาลในฐานะสิ่งที่หนัก เราวางมันในความสัมพันธ์น้ำหนักกับเหล็ก ในความสัมพันธ์นี้ เหล็กนับเป็นกายซึ่งไม่ได้แทนอะไรนอกจากสิ่งที่หนัก ปริมาณของเหล็กจึงทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดน้ำหนักของน้ำตาล และแสดงต่อกายของน้ำตาลเป็นเพียงร่างที่หนัก หรือรูปปรากฏของสิ่งที่หนัก เหล็กแสดงบทบาทนี้ในความสัมพันธ์นี้เท่านั้น ในความสัมพันธ์กับน้ำตาล หรือกับกายอื่นใดที่จะหาน้ำหนัก หากสองสิ่งนี้ไม่หนัก ก็มีความสัมพันธ์นี้ไม่ได้ และอย่างหนึ่งจึงไม่สามารถทำหน้าที่แสดงออกสิ่งที่หนักของอีกอย่างได้ ถ้าเราโยนทั้งสองลงบนตาชั่ง เราจะเห็นว่าความจริงแล้วเป็นสิ่งที่หนักเหมือนกัน และจึงมีน้ำหนักเท่ากันในอัตราส่วนจำเพาะ กายของเหล็กในฐานะหน่วยวัดน้ำหนัก ต่อก้อนน้ำตาล แทนเพียงสิ่งที่หนัก เช่นเดียวกัน กายของเสื้อคลุมในการแสดงออกมูลค่าของเรา ต่อผ้าลินิน แทนเพียงมูลค่า

ทว่าแนวเทียบนั้นจบลงตรงนี้ ในการแสดงออกน้ำหนักของก้อนน้ำตาล เหล็กมาแทนสมบัติธรรมชาติที่กายทั้งสองมี คือสิ่งที่หนัก —— ขณะที่ในการแสดงออกมูลค่าของผ้าลินิน เสื้อคลุมมาแทนสมบัติเหนือธรรมชาติของทั้งสอง คือมูลค่า ซึ่งเป็นสิ่งทางสังคมล้วน ๆ

การที่รูปมูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้า อาทิผ้าลินิน แสดงความเป็นมูลค่าออกมาเป็นสิ่งที่แตกต่างจากกายและสมบัติของมันโดยสิ้นเชิง อาทิเป็นสิ่งที่เสมอกับเสื้อคลุม บ่งชี้ว่ามีความสัมพันธ์ทางสังคมแฝงเร้นอยู่ ตรงกันข้ามกับรูปสมมูล อันประกอบด้วยการที่กายสินค้าเช่นเสื้อคลุมเองนั้น ดังที่ดำเนินไปและตั้งอยู่ แสดงออกมูลค่า จึงมีรูปมูลค่าโดยธรรมชาติ จริงว่านี่ถูกเฉพาะในความสัมพันธ์มูลค่าที่ผ้าลินินมีความสัมพันธ์กับเสื้อคลุมในฐานะสิ่งสมมูลเท่านั้น[6] แต่เพราะสมบัติของสิ่งหนึ่งไม่ได้เกิดจากความสัมพันธ์ที่มีกับอีกสิ่ง เพียงแต่มีฤทธิ์ในความสัมพันธ์นั้น จึงดูเหมือนว่าเสื้อคลุมมีรูปสมมูลหรือสมบัติการแลกเปลี่ยนได้โดยตรงมาโดยธรรมชาติ ไม่น้อยไปกว่าสมบัติความหนักหรือการรักษาความอบอุ่น ดังนั้นเองคือปริศนาของรูปสมมูล ซึ่งเพิ่งจะเตะตาหยาบ ๆ แบบกระฎุมพีของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อเขาเผชิญในรูปแบบสำเร็จเป็นเงินตราเท่านั้น เขาจึงพยายามอธิบายแก้ปมลักษณะเร้นลับของทองกับเงินด้วยการยัดสินค้าที่ระยิบระยับน้อยกว่ามาแทนที่ แล้วร่ายบัญชีรายชื่อสินค้าชั้นต่ำซึ่งเคยแสดงบทบาทเป็นสินค้าสมมูลในยุคของมันด้วยความยินดีปรีดาสดใหม่เสมอ หารู้ไม่ว่าการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายที่สุด เช่นผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว ได้แสดงปมปริศนาของรูปสมมูลให้เราแก้แล้ว

กายของสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งสมมูลนับเป็นการปรากฏกายของแรงงานมนุษย์นามธรรมเสมอ และเป็นผลผลิตของแรงงานรูปธรรมอันมีประโยชน์ที่จำเพาะเสมอ แรงงานรูปธรรมนี้จึงกลายเป็นการแสดงออกของแรงงานมนุษย์นามธรรม เสื้อคลุมเป็นต้น หากนับเป็นเพียงแรงงานมนุษย์นามธรรมที่กลายเป็นจริง การตัดเย็บ ซึ่งตามจริงกลายเป็นจริงในเสื้อคลุม ก็จะนับเป็นเพียงรูปที่แรงงานมนุษย์นามธรรมกลายเป็นจริง ในการแสดงออกมูลค่าของผ้าลินิน ประโยชน์ของการตัดเย็บไม่ได้ประกอบด้วยการผลิตเสื้อผ้า ฉะนั้นผู้คน แต่ด้วยการผลิตกายหนึ่งที่เราเห็นเป็นมูลค่า ฉะนั้นเป็นวุ้นของแรงงานซึ่งแยกไม่ออกโดยสิ้นเชิงจากแรงงานที่กลายเป็นวัตถุในมูลค่าผ้าลินิน เพื่อที่จะผลิตกระจกสะท้อนมูลค่าเยี่ยงนั้น การตัดเย็บเองต้องไม่สะท้อนสิ่งใดเลยนอกจากสมบัตินามธรรมของตน คือการเป็นแรงงานมนุษย์

มีการใช้จ่ายพลังแรงงานมนุษย์ไป ทั้งในรูปของการตัดเย็บและในรูปของการถักทอ ทั้งสองจึงมีสมบัติร่วมกันว่าเป็นแรงงานมนุษย์ และในบางกรณี อาทิในการผลิตมูลค่า จึงอาจต้องพิจารณาจากมุมมองนี้เท่านั้น ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรเร้นลับ ทว่าในการแสดงออกมูลค่าของสินค้า สิ่งนี้จะบิดเบี้ยว เพื่อแสดงออกว่ามูลค่าของผ้าลินินเป็นต้นไม่ได้สร้างขึ้นผ่านการถักทอในรูปเชิงรูปธรรมของการถักทอ แต่ผ่านสมบัติร่วมกันของการเป็นแรงงานมนุษย์ การตัดเย็บ แรงงานรูปธรรมซึ่งผลิตสิ่งสมมูลของผ้าลินิน จะประจันหน้ากับการถักทอในฐานะแรงงานมนุษย์นามธรรมที่กลายเป็นจริงซึ่งจับต้องได้

ดังนั้น ความแปลกประหลาดขั้นที่สองของรูปสมมูลคือ แรงงานรูปธรรมกลายเป็นรูปปรากฏของสิ่งตรงข้ามมัน ของแรงงานมนุษย์นามธรรม

แต่เพราะแรงงานรูปธรรมนี้ คือการตัดเย็บ นับเป็นเพียงการแสดงออกของแรงงานมนุษย์ที่ไม่แตกต่างกัน จึงอยู่ในรูปที่เสมอกับแรงงานอื่น เช่นแรงงานข้างในผ้าลินิน เพราะฉะนั้น ถึงจะเป็นแรงงานเอกชนเหมือนแรงงานอื่นทั้งหมดที่ผลิตสินค้า แต่ก็เป็นแรงงานในรูปทางสังคมโดยตรง ด้วยเหตุนี้เอง จึงแสดงตัวอยู่ในผลผลิต ซึ่งแลกเปลี่ยนได้โดยตรงกับสินค้าอื่น ดังนั้น ความแปลกประหลาดขั้นที่สามของรูปสมมูลคือ แรงงานเอกชนกลายเป็นรูปของสิ่งตรงข้ามมัน ของแรงงานในรูปทางสังคมโดยตรง

เราจะเข้าใจความแปลกประหลาดทั้งสองที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาได้ง่ายขึ้น หากวกกลับไปหานักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่ ผู้วิเคราะห์รูปมูลค่าเป็นคนแรก อีกทั้งรูปความคิด รูปสังคม และรูปธรรมชาติอีกมากมาย นามว่าอาริสโตเติล

ในขั้นแรก อาริสโตเติลกล่าวไว้อย่างชัดเจน ว่ารูปเงินตราของสินค้าเป็นเพียงร่างที่พัฒนาขั้นไปอีกขั้นของรูปมูลค่าแบบเรียบง่าย กล่าวคือการแสดงออกมูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่งเป็นสินค้าอย่างอื่นอย่างใดตามอำเภอใจ เขากล่าวว่า:
„เตียง 5 ตัว บ้าน 1 หลัง“ („Κλίναι πέντε ἀντὶ οἰκίας“)
„ไม่แตกต่าง“ จาก:
„เตียง 5 ตัว เงินตราเท่าใดเท่าหนึ่ง“
(„Κλίναι πέντε ἀντὶ … ὅσου αἱ πέντε κλίναι“)

เขาพิเคราะห์ต่อว่า ความสัมพันธ์มูลค่าซึ่งมีการแสดงออกมูลค่าดังนี้จะตั้งเงื่อนไขกับตัวเอง ว่าบ้านเสมอกับเตียงในเชิงคุณภาพ และสิ่งของที่แตกต่างกันทางโลกเหล่านี้ไม่สามารถสัมพันธ์กันในฐานะขนาดที่ตวงวัดเทียบกันได้หากไร้ซึ่งความเสมอภาคในเชิงสารัตถะเยี่ยงนั้น „การแลกเปลี่ยน“ เขากล่าว „เป็นไปไม่ได้หากไร้ซึ่งความเสมอภาค ทว่าความเสมอภาคเป็นไปไม่ได้ หากไร้ซึ่งความสามารถตวงวัดเทียบกันได้“ („οὔτ’ ἰσοτης μὴ οὔσης συμμετρίας“) แต่ถึงนี่แล้ว เขากลับตัดจบ และเลิกวิเคราะห์รูปมูลค่าต่อ „ทว่าแท้จริงแล้วไม่น่าเป็นไปได้ („τῇ μὲν οὖν ἀληθείᾳ ἀδύνατον“) ที่สิ่งของต่างชนิดจะสามารถตวงวัดเทียบกันได้“ คือมีคุณภาพเหมือนกัน ความเสมอกันนี้พิลึกเกินจะเป็นธรรมชาติแท้จริงของมัน จึงเป็นแค่ „การแก้ขัดตามจำเป็นในทางปฏิบัติ“

ดังนั้น อาริสโตเติลเองบอกเราว่าเขาล้มเหลวที่จะเดินหน้าวิเคราะห์ต่อเพราะขาดมโนทัศน์ของมูลค่า อะไรหรือที่เท่ากัน อะไรหรือเป็นแก่นสารที่มีร่วมกัน บ้านแสดงเป็นอะไรให้กับเตียงหรือ ในการแสดงออกมูลค่าของเตียง? อาริสโตเติลบอกว่าสิ่งนี้ „แท้จริงไม่มีอยู่“ ทำไมเล่า? บ้านแสดงเป็นสิ่งที่เสมอกันให้กับเตียง ตราบที่แสดงเป็นสิ่งที่เสมอกันจริง ๆ ในทั้งสองอย่าง ทั้งในเตียงและบ้าน สิ่งนี้คือ —— แรงงานมนุษย์

แต่อาริสโตเติลอ่านจากรูปมูลค่าไม่ออก ว่าในรูปมูลค่าสินค้า แรงงานทั้งปวงแสดงออกเป็นแรงงานมนุษย์ที่เท่ากัน และจึงนับว่าเสมอกัน เพราะสังคมกรีกตั้งอยู่บนแรงงานทาส จึงมีรากฐานธรรมชาติบนความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ และฉะนั้นของพลังแรงงานมนุษย์

ความลับของการแสดงออกมูลค่า กล่าวคือความเสมอภาคและความชอบเท่ากันของแรงงานทั้งปวง เพราะและตราบที่เป็นแรงงานมนุษย์โดยทั่วไป จึงสามารถไขออกมาได้ต่อเมื่อมโนทัศน์ความเท่าเทียมกันของมนุษย์คงอยู่มั่นคงสถาพรแล้วไม่แพ้อคติเดียดฉันท์ที่ยังมีอยู่แพร่หลาย แต่จะเป็นเช่นนั้นได้เฉพาะในสังคมที่รูปสินค้าเป็นสากลรูปของผลผลิตแรงงาน และฉะนั้นเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในฐานะผู้ครอบครองสินค้าเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ครอบงำอยู่เท่านั้น อัจฉริยภาพของอาริสโตเติลเฉิดฉายจากการค้นพบความสัมพันธ์เสมอภาคในการแสดงออกมูลค่าของสินค้านั่นเอง เพียงสันดอนทางประวัติศาสตร์ของสังคมที่เขาอาศัยอยู่ขวางกั้นการเสาะหาว่า „แท้จริง“ ความสัมพันธ์เสมอภาคนี้ประกอบด้วยอะไร

4. องค์รวมของรูปมูลค่าแบบเรียบง่าย

รูปมูลค่าแบบเรียบง่ายของสินค้าอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่าที่มีกับสินค้าอีกชนิด หรือในความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับสินค้าอีกชนิด มูลค่าของสินค้า แสดงออกเชิงคุณภาพผ่านความสามารถแลกเปลี่ยนสินค้า กับสินค้า ได้โดยตรง และแสดงออกเชิงปริมาณผ่านความสามารถแลกเปลี่ยนสินค้า ในปริมาณที่แน่นอนกับสินค้า ได้ปริมาณหนึ่ง กล่าวได้ว่า: มูลค่าของสินค้าแสดงออกโดยอิสระผ่านการแสดงตัวเองเป็น „มูลค่าแลกเปลี่ยน“ เมื่อตอนต้นบท เราพูดในภาษาชาวบ้านว่า: สินค้าเป็นมูลค่าใช้สอยกับมูลค่าแลกเปลี่ยน แต่ถ้าพูดให้เที่ยง ตอนนั้นเราผิด สินค้าเป็นมูลค่าใช้สอยหรือวัตถุใช้สอย กับ „มูลค่า“ สินค้าแสดงตัวเองเป็นทั้งคู่ที่เป็น ทันทีที่มูลค่าของมันมีรูปปรากฏแตกต่างไปจากรูปธรรมชาติของตน นั่นคือมูลค่าแลกเปลี่ยน และไม่มีทางมีรูปนี้หากพิจารณาโดยลำพัง แต่เฉพาะในความสัมพันธ์มูลค่าหรือความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับสินค้าที่สองอีกชนิดเท่านั้น อย่างไรก็ดีเมื่อทราบแล้ว พูดแบบนั้นก็ไม่เสียหาย ถือว่าเพื่อให้รวบรัด

บทวิเคราะห์ของเราพิสูจน์ว่า รูปมูลค่าหรือการแสดงออกมูลค่าของสินค้าเกิดจากธรรมชาติของมูลค่าสินค้า ไม่ใช่ว่ามูลค่าและขนาดของมูลค่าเกิดจากวิถีการแสดงออกเป็นมูลค่าแลกเปลี่ยน อย่างหลังทว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อที่ลัทธิพาณิชยนิยมและพวกที่เอามันมาอุ่นซ้ำอย่างแฟรีเย กานีล ฯลฯ[7] กับพวกพ่อค้าเร่ขายการค้าเสรีสมัยใหม่ฝ่ายตรงข้ามอย่างบัสตียาและผองเพื่อนเชื่อ[f] พวกพาณิชยนิยมให้น้ำหนักกับแง่มุมเชิงปริมาณของการแสดงออกมูลค่าเป็นหลัก ฉะนั้นกับรูปสมมูลของสินค้า สำเร็จรูปเป็นเงินตรา —— ในส่วนของพวกหาบเร่แผงลอยการค้าเสรีสมัยใหม่ พวกนี้ต้องเทขายสินค้าที่ราคาใดก็ได้ จึงให้น้ำหนักกับแง่มุมเชิงปริมาณของรูปมูลค่าสัมพัทธ์ สำหรับพวกเขาเหล่านี้ ไม่สินค้าไม่มีมูลค่า ก็ไม่มีขนาดของมูลค่าอยู่ภายนอกการแสดงออกผ่านความสัมพันธ์แลกเปลี่ยน ฉะนั้นมีอยู่บนใบรายการกระแสราคารายวันเท่านั้น แมคลาวด์ ชาวสกอตผู้ได้ประดิดประดอยมโนทัศน์ไขว้เขวของถนนลอมบาร์ดให้เป็นวิชาการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้[g] ในการนั้นเขาเป็นส่วนผสมที่ครบสูตรระหว่างพวกพาณิชยนิยมงมงายกับพวกเร่ขายการค้าเสรีผู้ตรัสรู้

การใคร่ครวญอย่างละเอียดถึงการแสดงออกมูลค่าของสินค้า ซึ่งอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่าที่มีกับสินค้า บ่งชี้ว่าภายในความสัมพันธ์นั้น รูปธรรมชาติของสินค้า นับเป็นร่างของมูลค่าใช้สอยเท่านั้น ส่วนรูปธรรมชาติของสินค้า นับเป็นรูปมูลค่าหรือร่างของมูลค่าเท่านั้น ความขัดแย้งระหว่างมูลค่าใช้สอยกับมูลค่าที่ห่อหุ้มอยู่ในสินค้าจึงแสดงตัวเองผ่านความขัดแย้งภายนอก คือผ่านความสัมพันธ์ของสินค้าสองอย่าง โดยสินค้าที่จะแสดงออกมูลค่าของตนนับเป็นเพียงมูลค่าใช้สอยโดยตรง ในขณะที่สินค้าอีกอย่างที่มูลค่านั้นจะแสดงออกเป็นมันนับเป็นเพียงมูลค่าแลกเปลี่ยนโดยตรง ดังนั้น รูปมูลค่าแบบเรียบง่ายจึงเป็นรูปปรากฏแบบเรียบง่ายของความขัดแย้งระหว่างมูลค่าใช้สอยกับมูลค่าที่มีอยู่ในสินค้า

ในทุกสภาวะของสังคม ผลผลิตแรงงานเป็นวัตถุใช้สอย แต่เฉพาะบางยุคสมัยการพัฒนาทางประวัติศาสตร์เท่านั้นที่แสดงแรงงานซึ่งใช้จ่ายไปในการผลิตสิ่งของใช้สอยเป็นสมบัติ „เชิงวัตถุ“ ของสิ่งนั้น กล่าวคือมูลค่า แล้วแปลงร่างผลผลิตแรงงานเป็นสินค้า ด้วยเหตุนี้ แปลว่ารูปมูลค่าแบบเรียบง่ายของสินค้าในขณะเดียวกันคือรูปสินค้าแบบเรียบง่ายของผลผลิตแรงงาน และจึงแปลว่าพัฒนาการของรูปสินค้าก็เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการของรูปมูลค่าเช่นกัน

เพียงชำเลืองมองก็จะเห็นความบกพร่องของรูปมูลค่าแบบเรียบง่าย ของคัพภรูปซึ่งต้องเจริญวัยเป็นรูปราคาเสียก่อน ผ่านการเปลี่ยนสัณฐานเป็นลำดับ

การแสดงออกเป็นสินค้า อย่างใดอย่างหนึ่ง แยกมูลค่าออกจากมูลค่าใช้สอยของของสินค้า เพียงเท่านั้น และจึงวางมันในความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างชนิดอีกเพียงชนิดเดียว แทนที่จะแสดงถึงความเสมอภาคเชิงคุณภาพและอัตราส่วนเชิงปริมาณที่มีกับสินค้าอื่น ๆ ทั้งปวง รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบเรียบง่ายของสินค้าอย่างหนึ่งสอดคล้องเป็นเอกเทศกับรูปสมมูลของสินค้าอีกเพียงหนึ่งอย่าง ในการแสดงออกมูลค่าเชิงสัมพัทธ์ของผ้าลินิน เสื้อคลุมจึงอยู่ในรูปสมมูลหรือรูปที่แลกเปลี่ยนได้โดยตรงเป็นเอกเทศกับสินค้าชนิดผ้าลินินเท่านั้น

ขณะเดียวกัน รูปมูลค่าแบบเอกเทศเปลี่ยนผ่านไปยังรูปที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยตัวเอง จริงที่มูลค่าของสินค้า ในรูปนี้แสดงออกเป็นสินค้าอีกเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ทว่าสินค้าอย่างที่สองจะเป็นชนิดใด ไม่ว่าเสื้อคลุม เหล็ก ข้าวสาลี ฯลฯ ก็ใช้ได้เหมือนกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่ากับสินค้าชนิดนี้หรือชนิดนั้น ก็ปรากฏเป็นการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายในแบบต่าง ๆ ของสินค้าอย่างเดียวกัน[8][h] จำนวนของการแสดงออกมูลค่าที่เป็นไปได้จำกัดที่จำนวนของชนิดของสินค้าที่แตกต่างกันเท่านั้น การแสดงออกมูลค่าที่ปลีกย่อยจึงแปรสภาพเป็นลำดับของการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายในแบบต่าง ๆ ซึ่งเพิ่มขยายได้เสมอ

B. รูปมูลค่าแบบรวมหรือขยาย
สินค้า หน่วย สินค้า หน่วย หรือ สินค้า หน่วย หรือ สินค้า หน่วย หรือ สินค้า หน่วย หรือ ฯลฯ
(ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือ ชา 10 ปอนด์ หรือ กาแฟ 40 ปอนด์ หรือ ข้าวสาลี 1 ควาร์เทอร์ หรือ ทองคำ 2 ออนซ์ หรือ เหล็ก 12 ตัน หรือ ฯลฯ)

1. รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบขยาย

มูลค่าของสินค้า เช่นผ้าลินิน ตอนนี้แสดงออกเป็นสมาชิกของโลกแห่งสินค้าเหลือคณานับ กายสินค้าอื่นทั้งปวงกลายเป็นกระจกของมูลค่าผ้าลินิน[9] มูลค่าเองจึงปรากฏอย่างแท้จริงเป็นวุ้นของแรงงานมนุษย์ที่ไม่แตกต่างกันเท่านั้น เพราะแรงงานซึ่งสร้างมันขึ้นมาตอนนี้แสดงแจ่มแจ้งเป็นแรงงานที่เสมอกับแรงงานมนุษย์อื่น ๆ ทั้งปวง ไม่ว่ามีรูปธรรมชาติเป็นอย่างไร ไม่ว่ากลายเป็นวัตถุในเสื้อคลุมหรือข้าวสาลีหรือเหล็กหรือทองคำ ฯลฯ ตอนนี้ ด้วยรูปมูลค่า ผ้าลินินไม่ได้อยู่แต่ในความสัมพันธ์ทางสังคมกับสินค้าอื่นเพียงหนึ่งชนิดอีกต่อไปแล้ว แต่กับทั้งโลกแห่งสินค้า และเป็นพลเมืองของโลกใบนั้นในฐานะสินค้า ขณะเดียวกัน ในลำดับของการแสดงออกอันยาวเหยียดนั้น มูลค่าของสินค้าไม่สนว่าตัวจะปรากฏในรูปจำเพาะของมูลค่าใช้สอยใด

ในรูปแรก: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว อาจจะจริงว่าสินค้าทั้งสองบังเอิญแลกเปลี่ยนกันได้ในอัตราส่วนเชิงปริมาณที่แน่นอน ทว่าในรูปที่สอง พื้นหลังซึ่งแตกต่างเชิงสารัตถะจากการปรากฏแบบบังเอิญ แต่ก็เป็นตัวกำหนดของมัน กลับสาดส่องออกมาในทันที มูลค่าของผ้าลินินมีขนาดเท่าเดิม ไม่ว่าแสดงเป็นเสื้อคลุมหรือกาแฟหรือเหล็ก ฯลฯ หรือสินค้าที่แตกต่างกันนับไม่ถ้วนของผู้ครอบครองสุดหลากหลาย ความสัมพันธ์โดยบังเอิญระหว่างผู้ครอบครองสินค้าสองคนตกไป ชัดเจนว่าการแลกเปลี่ยนไม่ได้กำหนดขนาดของมูลค่าของสินค้า แต่เป็นขนาดของมูลค่าของสินค้าที่กำหนดอัตราส่วนแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

2. รูปสมมูลจำเพาะ

สินค้าทั้งปวง เสื้อคลุม ชา ข้าวสาลี เหล็ก ฯลฯ นับเป็นสิ่งสมมูลในการแสดงออกมูลค่าของผ้าลินิน และฉะนั้นนับเป็นกายของมูลค่า รูปธรรมชาติที่จำเพาะของสินค้าแต่ละอย่าง ตอนนี้เป็นรูปสมมูลที่จำเพาะ พร้อมกันกับสินค้าอื่นทั้งปวง เช่นเดียวกัน แรงงานนานาชนิดที่มีประโยชน์ รูปธรรม และจำเพาะซึ่งมีอยู่ในกายของสินค้าอันหลากหลาย ตอนนี้นับเป็นรูปของการกลายเป็นจริง- หรือรูปปรากฏที่จำเพาะของแรงงานมนุษย์เอง ซึ่งหลากหลายไม่แพ้กัน

3. ความบกพร่องของรูปมูลค่าแบบรวมหรือขยาย

ประการแรก การแสดงออกมูลค่าเชิงสัมพัทธ์ของสินค้าไม่สมบูรณ์ เพราะลำดับการแสดงไม่มีวันจบ ต่อโซ่สมการมูลค่าได้เรื่อย ๆ ด้วยสินค้าชนิดใหม่ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นวัสดุสำหรับการแสดงออกมูลค่าแบบใหม่ ประการที่สอง เป็นโมเสกหลากสีของการแสดงออกมูลค่าหลายชนิดอย่างสะเปะสะปะ ประการสุดท้าย ถ้ามูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้าแต่ละอย่างแสดงออกในรูปขยาย รูปมูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้าแต่ละอย่างก็จะเป็นลำดับการแสดงออกมูลค่าไม่รู้จบ ซึ่งล้วนแตกต่างจากรูปมูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้าอื่น ๆ ด้วยกัน และจำต้องเป็นเช่นนั้น —— ความบกพร่องของรูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบขยายสะท้อนในรูปสมมูลที่สอดคล้อง เพราะรูปธรรมชาติของสินค้าแต่ละชนิดเป็นรูปสมมูลจำเพาะ พร้อมกันกับรูปสมมูลจำเพาะของสินค้าอื่น ๆ นับไม่ถ้วน โดยทั่วไปจึงมีเพียงรูปสมมูลที่จำกัดซึ่งล้วนมีความเฉพาะตัวจากกัน เช่นเดียวกัน แรงงานชนิดที่มีประโยชน์ รูปธรรม และจำเพาะซึ่งมีอยู่ในสินค้าสมมูลจำเพาะ เป็นเพียงแรงงานที่จำเพาะ และจึงไม่ใช่รูปปรากฏของแรงงานมนุษย์ที่ครบถ้วน จริงอยู่ที่การตีวงรวบรวมรูปปรากฏที่จำเพาะเป็นรูปปรากฏของแรงงานมนุษย์ที่เบ็ดเสร็จและสมบูรณ์ แต่เช่นนั้นแรงงานมนุษย์จะไม่มีรูปปรากฏเป็นเอกรูป

อย่างไรก็ดี รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบขยายประกอบจากผลรวมของการแสดงออกมูลค่าสัมพัทธ์แบบเรียบง่าย หรือสมการในรูปแบบแรกเท่านั้น เช่น:
ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว
ผ้าลินิน 20 หลา ชา 10 ปอนด์ ฯลฯ

แต่ สมการทั้งหมดนี้ยังบ่งถีงสมการเดียวกันสะท้อนกลับ:
เสื้อคลุม 1 ตัว ผ้าลินิน 20 หลา
ชา 10 ปอนด์ ผ้าลินิน 20 หลา ฯลฯ

ในความเป็นจริง: เวลาใครแลกเปลี่ยนผ้าลินินของตนกับสินค้าอื่น ๆ อีกมาก และฉะนั้นแสดงออกมูลค่าของผ้าลินินเป็นลำดับของสินค้าอื่น ๆ จำเป็นที่ผู้ครอบครองสินค้าคนอื่น ๆ อีกมากจะต้องแลกเปลี่ยนสินค้าของตนกับผ้าลินิน และฉะนั้นแสดงออกมูลค่าของสินค้าที่หลากหลายเป็นสินค้าอย่างที่สามอย่างเดียวกัน คือผ้าลินิน —— แล้วหากเราสลับด้านลำดับ: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือ ชา 10 ปอนด์ หรือ ฯลฯ กล่าวคือ หากเราแสดงออกความสัมพันธ์สะท้อนซึ่งมีอยู่แล้วโดยปริยายในลำดับดังกล่าว เราจะได้:

C. รูปมูลค่าทั่วไป
เสื้อคลุม 1 ตัว ผ้าลินิน 20 หลา
ชา 10 ปอนด์
กาแฟ 40 ปอนด์
ข้าวสาลี 1 ควาร์เทอร์
ทองคำ 2 ออนซ์
เหล็ก ½ ตัน
สินค้า หน่วย
สินค้า ฯลฯ
1. ลักษณะที่เปลี่ยนไปของรูปมูลค่า

ตอนนี้สินค้าแสดงมูลค่าเป็น 1) แบบเรียบง่าย เพราะแสดงเป็นสินค้าอีกหนึ่งอย่าง และ 2) เป็นเอกรูป เพราะแสดงเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน รูปมูลค่าของสินค้าเป็นแบบเรียบง่ายและมีร่วมกัน จึงเป็นแบบทั่วไป

ทั้งรูป I และรูป II สุดแค่แสดงออกมูลค่าของสินค้าเป็นสิ่งที่แตกต่างจากมูลค่าใช้สอยหรือกายสินค้าของตน

รูปแรกให้สมการมูลค่าดังนี้: เสื้อคลุม 1 ตัว ผ้าลินิน 20 หลา ชา 10 ปอนด์ เหล็ก 12 ตัน ฯลฯ มูลค่าเสื้อคลุมแสดงออกเป็นสิ่งที่เสมอกับผ้าลินิน มูลค่าชาแสดงออกเป็นสิ่งที่เสมอกับเหล็ก การแสดงออกมูลค่าของเสื้อคลุมกับชาแตกต่างกันเหมือนผ้าลินินกับเหล็ก เห็นได้ชัดว่ารูปนี้ปรากฏในทางปฏิบัติเฉพาะในตอนต้น ที่ผลผลิตแรงงานแปลงเป็นสินค้าผ่านการแลกเปลี่ยนที่บังเอิญและเป็นครั้งคราว

รูปที่สองแยกมูลค่าออกจากมูลค่าใช้สอยของสินค้าได้สมบูรณ์กว่ารูปแรก เพราะมูลค่าของเสื้อคลุมเป็นต้น ตอนนี้เผชิญหน้ากับรูปธรรมชาติของตัวเองในรูปที่เป็นไปได้ทั้งหมด ในรูปของสิ่งที่เสมอกับผ้าลินิน สิ่งที่เสมอกับเหล็ก สิ่งที่เสมอกับชา ฯลฯ เป็นสิ่งอื่นทั้งหมดเว้นแต่สิ่งที่เสมอกับเสื้อคลุม ในอีกด้านหนึ่ง นี่จะกีดกันไม่ให้สินค้าทั้งปวงมีการแสดงออกมูลค่าร่วมกันโดยตรง เพราะในการแสดงออกมูลค่าของสินค้าแต่ละอย่าง สินค้าอื่นทั้งหมดจะปรากฏตัวแต่ในรูปของสิ่งสมมูล รูปมูลค่าแบบขยายปรากฏขึ้นจริงครั้งแรกครั้นผลผลิตแรงงานอย่างหนึ่ง อาทิโคกระบือ หยุดแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นตามโอกาส แต่แลกเปลี่ยนกันเป็นกิจวัตรแล้ว

รูปที่ได้มาใหม่แสดงออกมูลค่าของโลกแห่งสินค้าเป็นสินค้าชนิดหนึ่งชนิดเดียวกันอย่างสันโดษ เช่นผ้าลินิน และจึงแสดงมูลค่าของสินค้าทั้งปวงผ่านความเสมอกับผ้าลินิน มูลค่าของสินค้าทั้งปวงในฐานะที่เสมอกับผ้าลินินใช่แตกต่างจากมูลค่าใช้สอยของตนเท่านั้น แต่ยังแตกต่างจากมูลค่าใช้สอยของสินค้าทั้งหมด และด้วยการนี้แสดงออกเป็นสิ่งที่สินค้าทั้งปวงมีร่วมกัน จึงมีรูปนี้เท่านั้นที่เทียบสัมพันธ์สินค้าด้วยกันในฐานะมูลค่าจริง ๆ หรือให้สินค้าปรากฎต่อกันในฐานะมูลค่าแลกเปลี่ยน

ทั้งสองรูปก่อนหน้าแสดงออกมูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่ง ไม่ว่าเป็นสินค้าต่างชนิดเพียงหนึ่งชนิด หรือเป็นลำดับของสินค้าที่แตกต่างกันจำนวนมาก ทั้งสองกรณีเป็นธุระส่วนตัวของสินค้าปัจเจกที่จะหารูปมูลค่ามาให้ตัวเองก็ว่าได้ และทำได้โดยไม่ต้องพึ่งสินค้าอื่นซึ่งเล่นแค่บทบาทฝ่ายรับเป็นสิ่งสมมูล ในทางกลับกัน รูปมูลค่าทั่วไปเป็นการร่วมกันทำงานของโลกแห่งสินค้า สินค้าอย่างหนึ่งมีการแสดงออกมูลค่าแบบทั่วไปเพียงเพราะในขณะเดียวกันนั้นเอง สินค้าอื่นทั้งหมดแสดงออกมูลค่าเป็นสิ่งสมมูลอย่างเดียวกัน และสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่ทุกชนิดจำต้องทำตาม ด้วยการนั้นเป็นที่ประจักษ์ว่าวัตถุภาวะมูลค่าของสินค้า เพราะเป็นเพียง „การมีอยู่ทางสังคม“ ของสิ่งนั้น สามารถแสดงออกผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมทั่วสารทิศเท่านั้น รูปมูลค่าจึงต้องเป็นรูปที่ใช้ได้ทางสังคม

สินค้าทั้งปวงในรูปที่เสมอกับผ้าลินิน ตอนนี้ใช่แค่ปรากฏเสมอกันเชิงคุณภาพ คือเป็นมูลค่าโดยทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันยังปรากฏเป็นขนาดของมูลค่าที่เปรียบเทียบกันเชิงปริมาณได้ เพราะสินค้าสะท้อนขนาดของมูลค่าในวัสดุอันหนึ่งอันเดียวกัน คือผ้าลินิน ขนาดของมูลค่าจึงสะท้อนซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ชา 10 ปอนด์ ผ้าลินิน 20 หลา และ กาแฟ 40 ปอนด์ ผ้าลินิน 20 หลา ดังนั้น ชา 10 ปอนด์ กาแฟ 40 ปอนด์ หรือว่ามีแก่นสารของมูลค่า คือแรงงาน อยู่ในกาแฟ 1 ปอนด์เพียง 14 เท่าของที่มีอยู่ในชา 1 ปอนด์

รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบทั่วไปของโลกแห่งสินค้าประทับลักษณะของสิ่งสมมูลแบบทั่วไปให้สินค้าสมมูลเฉพาะอย่าง คือผ้าลินิน ซึ่งรูปธรรมชาติเป็นร่างของมูลค่าที่โลกใบนั้นมีร่วมกัน ผ้าลินินจึงแลกเปลี่ยนได้โดยตรงกับสินค้าอื่นทั้งหมด รูปกายของผ้าลินินนับเป็นอวตารที่มองเห็นได้ เป็นระยะดักแด้ทางสังคมของแรงงานมนุษย์ทั้งปวงโดยทั่วกัน ในขณะเดียวกัน แรงงานเอกชนที่ผลิตผ้าลินินหรือว่าการถักทออยู่ในรูปทางสังคมทั่วไป คือรูปที่เสมอกับแรงงานอื่นทั้งหมด สมการจำนวนนับไม่ถ้วนที่ประกอบรูปมูลค่าทั่วไปจับแรงงานที่กลายเป็นจริงในผ้าลินินเสมอกับแรงงานที่มีอยู่ในสินค้าอื่นทั้งหมด และทำให้การถักทอกลายเป็นรูปปรากฏทั่วไปของแรงงานมนุษย์โดยทั่วไปด้วยการนั้น ในทางเดียวกัน แรงงานซึ่งกลายเป็นวัตถุในมูลค่าสินค้าใช่เพียงแต่แสดงเป็นแรงงานเชิงลบ ซึ่งเพิกจากรูปเชิงรูปธรรมและสมบัติอันมีประโยชน์ของแรงงานจริง ธรรมชาติเชิงบวกของแรงงานก้าวออกมาอย่างโจ่งแจ้ง ว่าเป็นการลดทอนแรงงานจริงทั้งปวงเป็นลักษณะที่มีร่วมกันของแรงงานมนุษย์ คือเป็นการใช้จ่ายพลังแรงงานมนุษย์

รูปมูลค่าทั่วไป ซึ่งแสดงผลผลิตแรงงานเป็นเพียงวุ้นของแรงงานมนุษย์ที่ไม่แตกต่างกัน ด้วยขอบข่ายของตน ชี้ว่าตนเป็นการแสดงออกทางสังคมของโลกแห่งสินค้า และจึงเปิดเผยว่าข้างในโลกใบนั้น ลักษณะความเป็นมนุษย์ทั่วไปของแรงงานประกอบสร้างลักษณะทางสังคมที่จำเพาะของมัน

2. ความสัมพันธ์ทางพัฒนาการระหว่างรูปมูลค่าสัมพัทธ์กับรูปสมมูล

ระดับความพัฒนาของรูปมูลค่าสัมพัทธ์สอดคล้องกับระดับความพัฒนาของรูปสมมูล แต่น่าสังเกตว่าพัฒนาการของรูปสมมูลเป็นเพียงการแสดงออกและผลลัพธ์ของพัฒนาการของรูปมูลค่าสัมพัทธ์

รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบเรียบง่ายหรือแบบเอกเทศของสินค้าทำให้สินค้าอีกอย่างกลายเป็นสิ่งสมมูลเป็นเอกเทศ รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบขยาย หรือการแสดงออกมูลค่าของสินค้าเป็นสินค้าอื่นทั้งหมด ประทับรูปสมมูลจำเพาะที่หลากหลายลงบนสินค้าเหล่านั้น ท้ายที่สุด สินค้าชนิดจำเพาะชนิดหนึ่งอยู่ในรูปสมมูลทั่วไป เพราะสินค้าอื่นทั้งหมดทำให้สินค้าชนิดนั้นกลายเป็นวัสดุสำหรับรูปมูลค่าที่เป็นเอกรูปและทั่วไป

ทว่าในระดับเดียวกันที่รูปมูลค่าเองพัฒนา ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองขั้วของรูปมูลค่าก็พัฒนาขึ้นไป คือรูปมูลค่าสัมพัทธ์กับรูปสมมูล

ในรูปแรก —— ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว —— ก็มีความขัดแย้งอยู่แล้วแต่ยังไม่ตายตัว สินค้าทั้งสองขั้ว คือผ้าลินินกับเสื้อคลุม สามารถอยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์และรูปสมมูลอย่างเท่า ๆ กัน ขึ้นอยู่กับว่าอ่านสมการด้านเดิมหรือกลับด้าน แต่ในที่นี้ยังยากที่จะกุมความขัดแย้งเชิงขั้วได้

ในรูป II สินค้าขยายรูปมูลค่าสัมพัทธ์ให้ครบถ้วนได้ทีละชนิดเท่านั้นเสมอ หรือมันเองเท่านั้นที่อยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบขยาย เพราะและตราบที่สินค้าอื่นทั้งหมดอยู่ในรูปสมมูลต่อสินค้าดังกล่าว ในที่นี้ เราไม่สามารถสับเปลี่ยนด้านสมการมูลค่าได้อีกต่อไป —— เช่นผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือ ชา 10 ปอนด์ หรือ ข้าวสาลี 1 ควาร์เทอร์ ฯลฯ —— โดยไม่เปลี่ยนลักษณะโดยรวม แล้วแปรสภาพจากรูปมูลค่าแบบรวมกลายเป็นรูปมูลค่าแบบทั่วไป

รูปสุดท้าย รูป III ท้ายที่สุดได้มอบรูปมูลค่าสัมพัทธ์ทั่วไปทางสังคมให้โลกแห่งสินค้า เพราะและตราบที่สินค้าทั้งหมดที่ขึ้นกับมัน โดยมีข้อยกเว้นหนึ่งข้อ ถูกกีดกันจากรูปสมมูลทั่วไป สินค้าเช่นผ้าลินินจึงอยู่ในรูปที่แลกเปลี่ยนได้โดยตรงกับสินค้าอื่นทั้งหมด หรืออยู่ในรูปทางสังคมโดยตรง เพราะและตราบที่สินค้าอื่นทั้งหมดไม่อยู่ในรูปเดียวกัน[10][i]

ในทางกลับกัน สินค้าซึ่งแสดงเป็นสิ่งสมมูลทั่วไปถูกกีดกันจากรูปมูลค่าสัมพัทธ์ที่เป็นเอกรูปและทั่วไปของโลกแห่งสินค้า หากผ้าลินิน หรือสินค้าที่อยู่ในรูปสมมูลทั่วไป มีส่วนในรูปมูลค่าสัมพัทธ์ทั่วไปด้วยพร้อมกัน ก็ต้องทำหน้าที่เป็นสิ่งสมมูลให้ตัวเอง เราจะได้: ผ้าลินิน 20 หลา ผ้าลินิน 20 หลา เป็นสัจนิรันดร์ซึ่งไม่แสดงออกแม้มูลค่าหรือขนาดของมูลค่า หากจะแสดงออกมูลค่าเชิงสัมพัทธ์ของสิ่งสมมูลทั่วไป ก็ต้องทำกลับรูป III แทน สิ่งสมมูลทั่วไปไม่มีรูปมูลค่าสัมพัทธ์ร่วมกับสินค้าอื่น แต่แสดงออกมูลค่าของตนในเชิงสัมพัทธ์เป็นลำดับไม่รู้จบของกายสินค้าอื่นทั้งหมด รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบขยายหรือรูป II ตอนนี้จึงปรากฏเป็นรูปมูลค่าสัมพัทธ์จำเพาะของสินค้าสมมูล

3. การเปลี่ยนผ่านจากรูปมูลค่าทั่วไปไปรูปเงินตรา

รูปสมมูลทั่วไปเป็นรูปของมูลค่ารูปหนึ่ง สินค้าใดก็มาเป็นได้ แต่สินค้าดังกล่าวอยู่ในรูปสมมูลทั่วไปได้เพียงเท่านั้น (รูป III) เพราะและตราบที่สินค้าอื่นทั้งหมดกีดกันให้เป็นสิ่งสมมูล และเมื่อกีดกันจนในที่สุดเล็มเหลือสินค้าชนิดจำเพาะชนิดหนึ่งเท่านั้น รูปมูลค่าสัมพัทธ์ที่เป็นเอกรูปของโลกแห่งสินค้าจึงจะตายตัวเชิงวัตถุและใช้ได้ทางสังคมโดยทั่วไป

สินค้าชนิดจำเพาะชนิดนั้น เมื่อรูปธรรมชาติเชื่อมติดทางสังคมกับรูปสมมูล กลายเป็นสินค้าเงินตรา หรือทำงานเป็นเงินตรา การเล่นบทบาทเป็นสิ่งสมมูลทั่วไปในโลกแห่งสินค้า กลายเป็นหน้าที่ทางสังคมเฉพาะของมัน และจึงผูกขาดทางสังคม เก้าอี้พิเศษตัวนี้ท่ามกลางสินค้าทั้งหลาย ที่ในรูป II มีรูปร่างเป็นสิ่งสมมูลจำเพาะต่าง ๆ ของผ้าลินิน และที่รูปมูลค่าสัมพัทธ์ต่าง ๆ ในรูป III แสดงออกด้วยกันเป็นผ้าลินิน สินค้าชนิดหนึ่งนั่งครองตำแหน่งนี้มาตลอดทั้งประวัติศาสตร์ คือทองคำ ดังนั้น หากเราแทนที่สินค้านามว่าผ้าลินินด้วยสินค้านามว่าทองคำในรูป III เราจะได้:

D. รูปเงินตรา
เสื้อคลุม 1 ตัว ทองคำ 2 ออนซ์
ชา 10 ปอนด์
กาแฟ 40 ปอนด์
ข้าวสาลี 1 ควาร์เทอร์
ทองคำ 2 ออนซ์
เหล็ก ½ ตัน
สินค้า หน่วย
สินค้า ฯลฯ

ในการเปลี่ยนผ่านจากรูป I ไปรูป II จากรูป II ไปรูป III เกิดการเปลี่ยนผันขั้นพื้นฐาน แต่ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างรูป IV กับรูป III เสียแต่ทองคำอยู่ในรูปสมมูลทั่วไปแทนผ้าลินิน ทองคำในรูป IV เหมือนผ้าลินินในรูป III —— คือสิ่งสมมูลทั่วไป ความก้าวหน้าเพียงกอปรด้วยการที่ตอนนี้ รูปธรรมชาติจำเพาะของสินค้านามว่าทองคำ ผ่านกิจวัตรทางสังคม เชื่อมติดอย่างเสร็จเด็ดขาดกับรูปที่แลกเปลี่ยนได้โดยตรงโดยทั่วไป หรือรูปสมมูลทั่วไป

ทองคำเผชิญหน้าสินค้าอื่นในฐานะเงินตราเพียงเพราะเคยเผชิญหน้าในฐานะสินค้ามาก่อน ทองคำเคยทำหน้าที่เป็นสิ่งสมมูลเหมือนสินค้าอื่นทั้งนั้น จะเป็นสิ่งสมมูลเอกเทศในการแลกเปลี่ยนเป็นเอกเทศก็ดี หรือเป็นสิ่งสมมูลจำเพาะพร้อมกันกับสินค้าสมมูลอื่น ๆ ก็ดี ทีละเล็กละน้อย ทำหน้าที่เป็นสิ่งสมมูลทั่วไปในวงที่แคบและกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ทันทีที่สามารถผูกขาดตำแหน่งในการแสดงออกมูลค่าของโลกแห่งสินค้าได้ ก็กลายเป็นสินค้าเงินตรา และทันทีที่กลายเป็นสินค้าเงินตราแล้วเท่านั้น รูป IV ถึงจะแตกต่างจากรูป III และแปรสภาพจากรูปมูลค่าทั่วไปกลายเป็นรูปเงินตรา

การแสดงออกมูลค่าสัมพัทธ์แบบเรียบง่ายของสินค้าอย่างหนึ่ง เช่นผ้าลินิน เป็นสินค้าซึ่งทำหน้าที่สินค้าเงินตราแล้ว เช่นทองคำ คือรูปราคา ดังนั้น „รูปราคา“ ของผ้าลินินคือ:
ผ้าลินิน 20 หลา ทองคำ 2 ออนซ์
หรือหากตีตราทองคำ 2 ออนซ์เป็นเหรียญสเตอร์ลิง 2 ปอนด์
ผ้าลินิน 20 หลา 2 ปอนด์สเตอร์ลิง

การทำความเข้าใจรูปเงินตรายากที่การทำความเข้าใจรูปสมมูลทั่วไป หรือรูปมูลค่าทั่วไปโดยรวม คือรูป III รูป III คลายตัวย้อนกลับเป็นรูป II หรือรูปมูลค่าแบบขยาย ซึ่งประกอบขึ้นจากรูป I: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือ สินค้า หน่วย สินค้า หน่วย รูปมูลค่าแบบเรียบง่ายจึงเป็นคัพภะของรูปเงินตรา


  1. มีนักเศรษฐศาสตร์ไม่กี่คน เช่นซามูเอล เบย์ลีย์ ที่ใส่ใจวิเคราะห์รูปมูลค่า แต่ไม่สำเร็จ ประการแรกเพราะสับสนรูปมูลค่ากับมูลค่า ประการที่สอง เพราะใต้อิทธิพลหยาบ ๆ ของกระฎุมพีภาคปฏิบัติ จึงจับตามองความจำเพาะเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ต้น „ความสามารถของปริมาณ …. ประกอบเป็นมูลค่า“. („Money and its Vicissitudes“. ลอนดอน 1837, หน้า 11). ผู้เขียน ซามูเอล เบย์ลีย์.
  2. หมายเหตุในฉบับที่ 2 หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์คนแรก ๆ หลังวิลเลียม เพตตี ที่มองทะลุธรรมชาติของมูลค่า คือแฟรงคลินผู้เรืองนาม เขากล่าวว่า: „เพราะการค้าโดยทั่วไปใช่สิ่งใดแต่เพียงการแลกเปลี่ยนแรงงานอย่างหนึ่งกับแรงงานอีกอย่าง มูลค่าของสรรพสิ่งวัดได้เที่ยงที่สุดด้วยแรงงาน“ („The Works of B. Franklin etc., edited by Sparks“) บอสตัน 1836, เล่ม II, หน้า 267.) แฟรงคลินเองไม่ตระหนักว่าในการวัดมูลค่าของสรรพสิ่ง „ด้วยแรงงาน“ เขากำลังเพิกจากความแตกต่างของแรงงานที่แลกเปลี่ยนกัน —— และจึงกำลังลดทอนมันเป็นแรงงานมนุษย์ที่เท่ากัน แม้ไม่ทราบแต่เขาก็ได้กล่าวออกมา เขาพูดถึง „ของแรงงานอย่างหนึ่ง“ ก่อน แล้วจากนั้น „ของแรงงานอีกอย่าง“ และลงท้ายด้วย „แรงงาน“ โดยไม่มีคำขยายเสริม ในฐานะแก่นสารของมูลค่าสรรพสิ่ง
  3. ในแง่หนึ่ง มนุษย์เหมือนสินค้า ไม่ว่าเพราะอุบัติบนโลกโดยไม่มีกระจก หรือพูดแบบนักปรัชญาแนวฟิชเทอ: ฉันคือฉัน เพราะมนุษย์สะท้อนตัวเองในมนุษย์คนอื่นเป็นสิ่งแรก มนุษย์เพเทอร์มีความสัมพันธ์กับตนเองในฐานะมนุษย์ผ่านความสัมพันธ์ที่มีกับมนุษย์เพาล์ในฐานะผู้ซึ่งเสมอกับเขาเท่านั้น แต่กระนั้น สำหรับเพเทอร์ เพาล์ พร้อมผิวหนังและเส้นผม เพาล์ ในรูปกายแบบเพาล์ นับเป็นรูปปรากฏของสปีชีส์มนุษย์เช่นกัน
  4. คำว่า „มูลค่า“ ตรงนี้ ดังที่ปรากฏผ่านมาอย่างประปรายก่อนหน้านี้ หมายถึงมูลค่าที่แน่นอนเชิงปริมาณ ฉะนั้นหมายถึงขนาดของมูลค่า
  5. หมายเหตุในฉบับที่ 2 เศรษฐศาสตร์แบบหยาบฉวยประโยชน์จากความไม่สอดคล้องกันระหว่างขนาดของมูลค่ากับการแสดงออกเชิงสัมพัทธ์ด้วยไหวพริบที่คุ้นเคย เช่น: „เมื่อยอมรับว่า A ตกเพราะ B ซึ่งแลกเปลี่ยนกับมัน ขึ้น แม้ในขณะเดียวกัน A ไม่ได้ใช้แรงงานน้อยลง แล้วหลักการมูลค่าทั่วไปของคุณก็จะพังครืน … หากยอมรับว่าเมื่อมูลค่าของ A เพิ่มขึ้นสัมพัทธ์กับ B แล้วมูลค่าของ B ลดลงสัมพัทธ์กับ A รากฐานตั้งมั่นของประพจน์อันยิ่งใหญ่ของริคาร์โด ว่ามูลค่าของสินค้ากำหนดโดยปริมาณของแรงงานที่ใส่ไว้ข้างในเสมอ จะขาดสะบั้น เพราะเมื่อการเปลี่ยนแปลงในต้นทุนของ A ไม่เพียงแต่เปลี่ยนมูลค่าของตัวเองในความสัมพันธ์กับ B ซึ่งแลกเปลี่ยนกับมัน แต่ยังเปลี่ยนมูลค่าของ B สัมพัทธ์กับ A แม้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปริมาณแรงงานซึ่งต้องใช้ในการผลิต B แล้วใช่แต่หลักนั้น ซึ่งยืนยันว่าปริมาณของแรงงานที่ใช้ในสิ่งหนึ่งกำกับมูลค่าของมัน ที่พังครืน แต่หลักว่าต้นทุนการผลิตของสิ่งหนึ่งกำกับมูลค่าของมันเช่นเดียวกัน“ (จอห์น บรอดเฮิสต์: „Political Economy“, ลอนดอน 1842, หน้า 11, 14.)
    นายบรอดเฮิสต์สามารถกล่าวได้ไม่ต่างกันว่า: หากเราพิจารณาอัตราส่วนของตัวเลข 1020, 1050, 10100 ฯลฯ เลข 10 คงที่ไม่เปลี่ยน แต่ถึงอย่างนั้น ขนาดตามสัดส่วน หรือขนาดเชิงสัมพัทธ์กับตัวหาร 20, 50, 100 กลับลดลงอย่างสม่ำเสมอ หลักการอันยิ่งใหญ่ว่าขนาดของจำนวนเต็ม อาทิ 10 „กำกับ“ โดยจำนวนของเลขหนึ่งซึ่งมีอยู่ข้างใน จึงพังครืน
  6. การกำหนดโดยการสะท้อนแบบนี้เป็นสิ่งที่เฉพาะตัวอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น มนุษย์คนหนึ่งเป็นกษัตริย์เพราะมนุษย์คนอื่นทำตัวเป็นไพร่ของเขาเท่านั้น กลับกัน มนุษย์พวกนี้คิดว่าตนเป็นไพร่เพราะเขาคนนั้นเป็นกษัตริย์
  7. หมายเหตุในฉบับที่สอง ฟร็องซัว-หลุยส์-โอกุสต์ แฟรีเย (ผู้ช่วยเจ้าพนักงานศุลกากร): „Du Gouvernement considéré dans ses rapports avec le commerce. Paris 1805“ และชาร์ล กานีล: „Des systèmes de l'Économie Politique. 2ème éd. Paris 1821.“
  8. หมายเหตุในฉบับที่ 2 ตัวอย่างเช่นในโฮเมอร์ มูลค่าของสิ่งหนึ่งแสดงออกเป็นสิ่งที่แตกต่างกันเป็นแถว
  9. เพราะฉะนั้น เราเอ่ยถึงมูลค่า-เสื้อคลุมของผ้าลินินเมื่อเราแสดงมูลค่าของผ้าลินินเป็นเสื้อคลุม หรือมูลค่า-ธัญพืชเมื่อเราแสดงมูลค่านั้นเป็นธัญพืช ฯลฯ การแสดงออกเหล่านี้ล้วนบอกว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นมูลค่าใช้สอยเช่นเสื้อคลุม ธัญพืช ฯลฯ คือมูลค่าของผ้าลินิน „มูลค่าของสินค้าใด ๆ ที่ระบุความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนของตน เราเรียกมันได้ว่า . . . . . . . มูลค่า-ธัญพืช มูลค่า-ผ้า ตามสินค้าที่เอามาเปรียบเทียบ จึงมีมูลค่าแตกต่างกันเป็นพันชนิด มีมากเท่าสินค้าที่มีอยู่ และทั้งหมดเป็นทั้งมูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าที่ตราไว้พอ ๆ กัน“ („A Critical Dissertation on the Nature, Measure and Causes of Value: chiefly in reference to the writings of Mr. Ricardo and his followers. By the Author of Essays on the Formation etc. of Opinions. London 1825“, หน้า 39.) ซามูเอล เบย์ลีย์ ผู้เขียนงานนิรนามชิ้นนี้ ซึ่งสร้างความปั่นป่วนไปไม่น้อยที่อังกฤษในสมัยนั้น หลงเชื่อว่าเขาได้บดขยี้การกำหนดมโนทัศน์มูลค่าทั้งหมด ด้วยการชี้ถึงความละลานตาของการแสดงออกเชิงสัมพัทธ์ของมูลค่าสินค้าเดียวกัน แต่กระนั้น ความคับแคบของเขาก็ดี หยั่งถึงตำหนิร้ายแรงของทฤษฎีแบบริคาร์โด ดังพิสูจน์ได้จากความฉุนเฉียวที่สำนักริคาร์โดใช้โจมตีกลับ อาทิในเวสต์มินสเตอร์รีวิว
  10. ในความเป็นจริง จากรูปที่แลกเปลี่ยนได้โดยตรงโดยทั่วไป เรามองไม่ออกเลยว่าเป็นรูปมูลค่าที่ขัดแย้งกัน ซึ่งแยกไม่ออกจากรูปที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้โดยตรง ไม่ต่างจากขั้วบวกกับขั้วลบของแม่เหล็กที่แยกจากกันไม่ได้ เราจึงอาจเพ้อฝันว่าเราสามารถประทับตราให้สินค้าทั้งปวงแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรงในเวลาเดียวกันได้ เช่นเดียวกับที่เราอาจเพ้อฝันว่าเราสามารถอภิเษกคาทอลิกทุกคนขึ้นเป็นพระสันตปาปาได้ แน่นอนว่าสำหรับกระฎุมพีน้อย ผู้มองเห็นจุดสุดยอดของเสรีภาพมนุษย์และอิสรภาพของปัจเจกในการผลิตสินค้า ย่อมพึงปรารถนาให้ปลดเปลื้องปมด้อยที่พัวพันกับรูปนี้ออก คือการที่สินค้าไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรง จิตรกรรมภาพยูโทเปียไร้ปัญญาเช่นนี้คือสังคมนิยมของพรูดง ผมชี้ให้เห็นในที่อื่นแล้วว่าไม่มีแม้อานิสงส์ของความเป็นต้นฉบับ แต่เกรย์ เบรย์ กับคนอื่น ๆ พัฒนาไว้ก่อนเขานานแล้วอย่างดีกว่าโข แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางไม่ให้เรียกความรู้แบบนี้ว่า „วิทยาศาสตร์“ อย่างแพร่หลายเช่นทุกวันนี้ในบางวงการ ไม่เคยมีสำนักคิดไหนใช้คำว่า „วิทยาศาสตร์“ ได้ทิ้งขว้างไปกว่าของพรูดง เพราะ
    „เมื่อปราศจากมโนทัศน์
    คำศัพท์จะปรับตัวได้ทันการ“


  1. ประโยคนี้พาดพิงบทละครเชคสเปียร์ พระเจ้าเฮนรีที่ 4 จากตอนที่ 1 องก์ที่ 3 ฉาก 3 ตัวละครสองตัว คือมิสเตรสส์ควิกลีหรือ Host. กับเซอร์ จอห์น ฟอลสตาฟ หรือ Fal. กำลังด่าทอกัน คำแปลต่อไปนี้แปลตามความหมาย ไม่รักษาฉันทลักษณ์ และเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละคร คำว่า have หรือที่ในที่นี้แปลว่า "กิน" สื่อความหมายสองแง่สองง่าม:

    Fal. Setting thy womanhood aside, thou art
    a beast to say otherwise."
    (ถ้าไม่นับว่าเป็นหญิง เจ้าก็เป็นแค่สัตว์เดรัจฉาน)
    Host. Say, what beast, thou knave thou?
    (บอกมา สัตว์อะไรรึ? อ้ายขี้โกง)
    Fal. What beast! why, an otter.
    (สัตว์อะไรรึ! ตัวนากน่ะสิ)
    Prince. An otter, Sir John! why, an otter?
    (ตัวนาก เซอร์ จอห์น! เหตุใดจึงเป็นตัวนาก?)
    Fal. Why? she's neither fish nor flesh; a
    man knows not where to have her.
    (เหตุอันใด? มันไม่ใช่ทั้งปลาทั้งเนื้อ ชายใดก็ไม่รู้ว่ากินได้ตรงไหน)
    Host. Thou art an unjust man in saying so:
    thou or any man knows where to have me, thou
    knave thou!
    (พูดเช่นนี้เลวดีแท้ อ้ายหรือชายใดย่อมรู้ว่ากินอีฉันได้ตรงไหน อ้ายขี้โกง!)

    (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. ในหมายเหตุนี้ ประโยคเต็มกล่าวว่า ด้วยความสามารถของปริมาณคือการเป็นสิ่งที่ประกอบมูลค่า จะต้องใช้ปริมาณที่แน่นอนของสินค้าเอกรูปอย่างหนึ่งเป็นหน่วยวัดมูลค่า Bailey, Samuel (1837). Money and Its Vicissitudes in Value. น. 11. The command of quantity being that which constitutes value, a definite quantity of some uniform commodity must be used as a unit to measure value;  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. กรดบิวทิริกกับโพรพิลฟอร์เมตมีสูตรโมเลกุลเดียวกัน (C4H8O2) แต่มีโครงสร้างโมเลกุลต่างกัน (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  4. เสื้อคลุมขลิบลูกไม้สื่อถึงเครื่องแบบทหารและราชวงศ์ (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  5. แปลว่า "ปารีสมีค่าพอให้ร่วมมิสซา" เป็นข้อความที่อ้างว่ากล่าวโดยพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส หมายถึงการยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอลิกแลกกับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ที่ปารีส (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  6. หมายถึง François-Louis-Auguste Ferrier, Charles Ganilh และ Frédéric Bastiat (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  7. หมายถึง Henry Dunning Macleod กับ Lombard Street ที่ลอนดอน เป็นถนนที่โด่งดังเกี่ยวกับธุรกิจการค้า ธนาคาร และประกันภัย คล้ายวอลสตรีตของนครนิวยอร์ก (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  8. ในหมายเหตุนี้ มาคส์กล่าวถึงข้อความใน อีเลียด เล่ม 7 บรรทัดที่ 472 ถึง 475 อ้างอิง Lundquist, Jacob (2019). Reading Marx Reading Homer. น. 49.  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  9. หมายถึง Pierre-Joseph Proudhon, John Gray และ John Francis Bray (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)

{{สัญญาอนุญาตงานแปล | {{สาธารณสมบัติ-เก่า}} | {{CC-BY-SA-4.0}} }}