ข้ามไปเนื้อหา

พงศาวดารเหนือ (2474)/ผู้วายชนม์

จาก วิกิซอร์ซ
ประวัติพระยาธนรัตนบดี

มหาเสวกโท พระยาธนรัตนบดี (เสงี่ยม สิงหลกะ) เป็นบุตรขุนสิงหฬสาคร (แดง สิงหลกะ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๑๙ ตรงกับวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๓๘ (พ.ศ. ๒๔๑๙) เป็นปีที่ ๙ ในรัชชกาลที่ ๕ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ได้เข้าศึกษาวิชชาหนังสือไทยณโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จนมีอายุได้ ๑๖ ปี สอบไล่ได้แล้ว ออกจากโรงเรียน ถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๑๔๓๕ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษอยู่เวรศักดิ์ รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่ ๘ บาทถึง ๖๐ บาท

วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายรองสนองราชบรรหาร ได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่ ๗๐ บาทถึง ๘๐ บาท

ถึง พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายพิจิตสรรพการหุ้มแพร เงินเดือนตั้งแต่ ๑๐๐ บาทถึง ๑๖๐ บาท

ถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นนายจ่ายงเวรศักดิ์ เพิ่มเงินเดือนขึ้นเป็นเดือนละ ๒๐๐ บาทจนถึง ๓๐๐ บาท

ถึง พ.ศ. ๒๔๕๔ ในรัชชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระดรุณรักษา มียศเป็นหัวหมื่นมหาดเล็ก เงินเดือนตั้งแต่ ๔๐๐ บาทถึง ๗๐๐ บาท

วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาธนรัตนบดี มียศเป็นจางวางตรี ได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่ ๗๕๐ บาทถึง ๑๑๐๐ บาท

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔ โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศขึ้นเป็นจางวางโท พระราชทานเงินเดือนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ ๑๒๐๐ บาทถึง ๑๖๐๐ บาท

ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงและยุบเลิกตำแหน่งหน้าที่ราชการในกรมมหาดเล็กหลวง ออกรับพระราชทานเบี้ยบำนาญเดือนละ ๖๖๖ บาท ๖๖ / สตางค์ หรือปีละ ๘๐๐๐ บาท

ถึงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการกำกับการในหน้าที่ปลัดบัญชีกระทรวงวัง แล้วเปลี่ยนเป็นผู้กำกับการกรมบัญชีพระราชสำนัก กระทรวงวัง ได้รับพระราชทานเงินเดือนเดือนละ ๖๐๐ บาท และคงรับเบี้ยบำนาญด้วย

ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐ โปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นอธิบดีกรมบัญชีพระราชสำนัก กระทรวงวัง ได้รับพระราชทานเงินเดือนเดือนละ ๑๓๐๐ บาท (งดเบี้ยบำนาญ)

วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ป่วยอาเจียนเป็นโลหิตได้ ๓ วันถึงอนิจกรรม อายุได้ ๕๕ ปี

เครื่องราชอิสสริยาภรณ์และสิ่งของซึ่งมหาเสวกโท พระยาธนรัตนบดี ได้รับพระราชทาน คือ

พ.ศ. ๒๔๓๗ เหรียญรัชดาภิเศก

พ.ศ. ๒๔๔๐ เหรียญประภาสมาลา

พ.ศ. ๒๔๔๒ เหรียญราชรุจิทอง รัชชกาลที่ ๕ และได้รับพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญนกอินทรีแดง (เยรมันนี)

พ.ศ. ๒๔๔๖ เบ็ญจมาภรณ์มงกุฎสยาม และเหรียญทวิธาภิเศกเงิน

พ.ศ. ๒๔๔๙ เบ็ญจมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๔๕๐ เหรียญรัชมงคลเงิน

พ.ศ. ๒๔๕๑ เหรียญรัชมงคลาภิเศกเงิน และเหรียญรันตนาภรณ์ ชั้น ๔ จ.ป.ร.

พ.ศ. ๒๔๕๒ เข็มพระชนมายุ ชั้น ๓ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราไม้กางเขนเงิน (บรันชวิก)

พ.ศ. ๒๔๕๓ เหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร. ชั้น ๔

พ.ศ. ๒๔๕๔ เหรียญทองคำ จ.ป.ร. ที่ระลึกงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหรียญทองคำราชาภิเศก ครั้งที่ ๑ รัชชกาลที่ ๖ ว.ป.ร. ตราวชิรมาลา รัชชกาลที่ ๖ เหรียญราชรุจิ รัชชกาลที่ ๖ จัตุรถาภรณ์มงกุฎสยาม และเหรียญบรมราชาภิเศกเงิน รัชชกาลที่ ๖

พ.ศ. ๒๔๕๕ เข็ม ว.ป.ร. ชั้น ๒ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๔๕๖ ดุมอก ว.ป.ร. และตริตาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๔๕๗ แหนบ ว.ป.ร. ชั้น ๒ เสมาทองคำ ว.ป.ร. ชั้น ๒ เข็มข้าหลวงเดิม รัชชกาลที่ ๖ เข็ม ว.ป.ร. ชั้น ๑

พ.ศ. ๒๔๕๙ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และทวิติยาภรณ์มงกุฎสยาม

พ.ศ. ๒๔๖๐ ทุติยจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๔๖๓ ตราวัลภาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎสยาม และเหรียญจักรพัติมาลาทอง

พ.ศ. ๒๔๖๔ เหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร. ชั้น ๓ และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเศก รัชชกาลปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๔๖๙ เหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ปร. ชั้น ๔

พ.ศ. ๒๔๗๓ เหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร. ชั้น ๓

พระยาธนรัตนบดีได้รับราชการในตำแหน่งสำคัญ หน้าที่การบัญชีเงิน ตั้งแต่ชั้นผู้น้อยจนถึงเป็นอธิบดี โดยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีการเสียหายทั้ง ๓ รัชชกาล ซึ่งมีหลักฐานที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์และสิ่งที่ระลึกแสดงความดีความชอบแทบทุกปีมาจนตลอดถึงอนิจกรรม

พระยาธนรัตนบดีมีภริยาแต่คุณหญิงเชื้อ ธนรัตนบดี ซึ่งเป็นธิดาคนใหญ่ของพระยาสากลกิจประมวญผู้เดียว มีบุตรธิดาที่ยังมีตัวอยู่ในเวลานี้ ๓ คน คือ

นางสาวฉลอง สิงหลกะ ๑

นายระเบียบ สิงหลกะ ๑

นางสาวสำรวย สิงหลกะ ๑

พ.ศ. ๒๔๑๙ – พ.ศ.๒๔๔๙

พ.ศ. ๒๔๕๐ – พ.ศ.๒๔๕๖

พ.ศ. ๒๔๕๗ – พ.ศ.๒๔๖๔