พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493/ฮ

จาก วิกิซอร์ซ

 พยัญชนะตัวที่สี่สิบสี่ เป็นตัวที่สุดของพยัญชนะไทย, เป็นพวกอักษรต่ำ.

ฮด (ถิ่น) ก. รด, รดน้ำให้; พิธีรดน้ำเนื่องในการแต่งตั้ง.

ฮวน น. คำที่จีนใช้เรียกคนต่างชาติ. (จ.).

ฮ่อ น. ชาวแคว้นยูนนาน; มาจากแค้วนยูนนาน เช่น มันฮ่อ จีนฮ่อ หมาฮ่อ; ลายเส้นขมวดไปมาที่หัวโขน และลายเป็นอย่างแถบผ้าสะบัดไปมาหรือพัดไปมาอย่างโบ ซึ่งเป็นลักษณะของภาพจิตรกรรมจีน เรียกว่า ลายฮ่อ.

ฮ้อ ว. ดี. (จ.).

ฮอด (ถิ่น) ก. รอด, พ้น, ถึง.

ฮะ ว. เสียงเปล่งออกมาให้ชะงัก. ฮะไฮ้, ฮะฮ้าย ว. เป็นคำออกเสียงแสดงความเยาะเย้ย.

ฮัก ๆ ว. อาการที่หอบถี่ ๆ เรียกว่า หอบฮัก ๆ .

ฮั่น น. เรัยกชนชาติโบราณกลุ่มใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตอนกลางของทวีปอาเซีย. (อ.; ส. หูน).

ฮา ว. เสียงหัวเราะแห่งคนมาก ๆ เมื่อขบขันหรือแสดงความยินดี; เป็นเสียงบอกให้รู้ตัว ดังใช้ในโคลงว่า พ่อฮา พี่ฮา เป็นต้น. ฮาป่า ก. แกล้งหัวเราะในที่ไม่ควรหัวเราะแห่งคนหมู่มากเพื่อเยาะเย้ย.

ฮ้า ว. เสียงร้องห้าม. ฮ้าไฮ้ ว. เสียงลูกคู่ร้องรับ.

ฮาม ว. รุ่ง, สว่าง.

ฮินดู น. ชาวอินเดียในมัธยมประเทศที่นับถือลัทธิฮินดู; เนื่องด้วยชาวนั้น.

ฮึ ว. เสียงแสดงความไม่พอใจหรือแปลกใจ

ฮึก ว. คึก, คะนอง. ฮึกหาญ ว. กล้าด้วยความคะนอง. ฮึกห้าว ว. คะนองอย่างเกี้ยวกราด, คะนองอย่างดุร้าย. ฮึกเหิม ว. คึกคะนอง. ฮึกโหม ก. ระดมเข้าไปด้วยความคะนอง. ฮึกฮัก ว. อาการไม่พอใจ, อาการขัดใจ.

ฮึดฮัด ว. โกรธงุ่นง่าน. ว. เสียงแสดงความอึดอัดใจ.

ฮึม ว. เสียงดังเช่นนั้น.

ฮือ ว. เสียงดังเช่นนั้น. ก. กลุ้มรุมกันเข้าไป, ลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟลุกฮือ.

ฮื่อ ว. เสียงเช่นสุนัขคำราม.

ฮืดฮาด ว. เสียงเช่นเสียงถอนใจใหญ่ยาว ๆ.

ฮุบ ก. งับเอาเข้าไว้ในปาก.

ฮู้ (ถิ่น) ก. รู้.

ฮูก น. นกชนิดหนึ่งในจำพวกนกเค้าแมว หากินกลางคืน.

ฮูม ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่นเสียงฟ้าร้องหรือช้างร้อง.

เฮ ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่นคนหมู่มากออกเสียงอื้ออึงไปเป็นหมู่กัน. เฮฮา ว. เสียงแสดงความสนุกสนานด้วยกันมาก ๆ. เฮโล ว. เสียงเช่นเสียงร้องพร้อม ๆ กันเมื่อลากหรือฉุดของหนัก.

เฮกโตกรัม น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับร้อยกรัม อักษรย่อว่า ฮก.

เฮกโตเมตร น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับร้อยเมตร อักษรย่อว่า ฮม.

เฮกโตลิตร น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับร้อยลิตร อักษรย่อว่า ฮล.

เฮย น. เป็นคำลงท้ายในบทกลอน เช่น โคลง เตือนให้มุ่งในข้อความที่กล่าว, เป็นคำสำหรับต่อท้ายคำอื่นซึ่งไม่รู้จักชื่อเมื่อกล่าวเป็นกลาง ๆ หรือสุภาพ เช่น พ่อเฮย, แม่เฮย.

เฮ้ย ว. เป็นเสียงเรียกให้รู้ตัว. (ไม่สุภาพ).

เฮ้ว ว. เสียงแสดงความเย้ยเยาะ.

เฮอ ว. เสียงถอนใจใหญ่.

เฮือก ว. อาการไหวกระเทือน. ว. เสียงเช่นเสียงของใหญ่ ๆ ทรุดหรือไหวตัว.

เฮือน (ถิ่น) น. เรือน.

แฮ น. เฮย.

แฮ่ ว. เสียงเช่นเสียงสุนัขคำราม.

แฮม น. ขาหมูเค็ม. (อ.).

โฮ ว. เสียงเช่นเสียงร้องไห้ดัง.

โฮก ก. กิริยาที่สัตว์ร้อง เช่นสุนัขหรือเสีอ ทำเสียงคำรามและกระโจนมาเพื่อทำร้าย. ว. เสียงเช่นเสียงสุนัขเห่ากระโชก, เสียงซดอาหารที่เป็นน้ำดัง ๆ. โฮกฮือ น. ชื่อแกงชนิดหนึ่งมีรสเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ. โฮกฮาก ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่งไม่น่าฟัง.

ไฮ้ ว. เสียงแสดงห้ามปรามหรือขัดขวาง.