พระธรรมนูญศาลยุติธรรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุตติธรรม
จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๖"
มาตรา๒ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ให้ยกเลิกมาตรา ๓๒ แห่งพระธรรมนูญศาลยุตติธรรม ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) มาตรา ๒ แห่งประกาศแก้พระธรรมนูญข้าหลวงพิเศษและตั้งศาลมณฑลพายัพและศาลมณฑลมหาราษฎร์ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ และประกาศตั้งตำแหน่งข้าหลวงพิเศษศาลยุตติธรรม ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒
มาตรา๔ให้เลิกศาลมณฑล และให้ศาลมณฑลแต่เดิมมีฐานะเป็นศาลจังหวัด กับให้ยุบตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑล
มาตรา๕ให้มีข้าหลวงยุตติธรรมซึ่งจะได้ประกาศตั้งตามจำเป็นแก่ราชการ มีอำนาจเหมือนกับอธิบดีผู้พิพากษาตามเขตต์ซึ่งจะได้ระบุไว้ในประกาศนั้น
มาตรา๖คดีซึ่งเกี่ยวกับบุคคลในบังคับต่างประเทศที่ต้องพิจารณาตามสัญญาทางพระราชไมตรี ให้พิจารณาในศาลซึ่งมีอำนาจตามสัญญาทางพระราชไมตรีตามเดิม
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "พระธรรมนูญศาลยุติธรรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476". (2476, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 50, ตอน 0 ก. หน้า 1033–1035.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"