พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่นายกรัฐมนตรีได้นําความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่รัฐบาลได้เข้ารับหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้เกิดวิกฤติการณ์ภายในประเทศหลายประการ ทั้งในด้านผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกตกตํ่า เป็นผลทําให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจถดถอยลง มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และการลงทุนของประเทศชะงักงัน ประกอบกับได้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของชนในชาติ มีการใช้กําลังและความรุนแรงในการชุมนุมประท้วงนั้น บัดนี้ รัฐบาลได้คลี่คลายปัญหาดังกล่าว จนสามารถฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้พ้นจากภาวะวิกฤตและกลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นลําดับอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมก็ได้รับการแก้ไขโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจนผ่อนคลายความรุนแรงลงแล้ว ประกอบกับรัฐสภาได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเห็นสมควรยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อคืนอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชน และให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา๑พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔"
มาตรา๒พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
มาตรา๔ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา๕ให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554". (2554, 10 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128, ตอน 33 ก. หน้า 19–20.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"