ข้ามไปเนื้อหา

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)



Seal of the Royal Command of Thailand
Seal of the Royal Command of Thailand

พระราชกฤษฎีกา

เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดบึงกาฬ

พ.ศ. ๒๕๕๔

_______________


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.


ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดบึงกาฬ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้


มาตรา ๑

พระราชกฤษฎีกานี้ เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔”


มาตรา ๒

พระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป[1]


มาตรา ๓

ให้ศาลจังหวัดบึงกาฬมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดบึงกาฬ


มาตรา ๔

ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้



ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กำหนดให้ศาลจังหวัดบึงกาฬมีเขตตลอดท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย แต่ปัจจุบัน พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้กำหนดให้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ ดังนั้น เพื่อให้ศาลจังหวัดบึงกาฬมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดบึงกาฬตามเขตการปกครอง และโดยที่มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติว่า ศาลชั้นต้นมีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้



เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๔/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔




งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"