พระราชกฤษฎีกาให้ใช้ฯ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่/เอกสารแนบท้าย/บรรพ 2/ลักษณ 1

จาก วิกิซอร์ซ
บรรพ 2 หนี้
ลักษณ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (มาตรา 194–353)
สารบัญ
หมวด
  1. วัดถุแห่งหนี้ (มาตรา 194–202)
  2. ผลแห่งหนี้
ส่วนที่
  1. การไม่ชำระหนี้ (มาตรา 203–225)
  2. รับช่วงสิทธิ (มาตรา 226–232)
  3. การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (มาตรา 233–236)
  4. เพิกถอนการฉ้อฉล (มาตรา 237–240)
  5. สิทธิยึดหน่วง (มาตรา 241–250)
  6. บุริมะสิทธิ
บทเบื้องต้น (มาตรา 251–252)
1. บุริมะสิทธิสามัญ (มาตรา 253–258)
2. บุริมะสิทธิพิเศษ (มาตรา 259–276)
3. ลำดับแห่งบุริมะสิทธิ (มาตรา 277–280)
4. ผลแห่งบุริมะสิทธิ (มาตรา 281–289)
ส่วนที่
  1. การชำระหนี้ (มาตรา 314–339)
  2. การปลดหนี้ (มาตรา 340)
  3. หักกลบลบหนี้ (มาตรา 341–348)
  4. แปลงหนี้ใหม่ (มาตรา 349–352)
  5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน (มาตรา 353)





มาตรา๑๙๔ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้

มาตรา๑๙๕เมื่อทรัพย์ซึ่งเปนวัดถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเปนประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรมฤๅตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเปนชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง

ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี ฤๅถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่า ทรัพย์นั้นจึงเปนวัดถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป

มาตรา๑๙๖ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เปนเงินต่างประเทศ ท่านว่า จะส่งใช้เปนเงินสยามก็ได้

การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินณสถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน

มาตรา๑๙๗ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเปนชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงิน ท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่า มิได้ระบุไว้ให้ใช้เปนเงินตราชนิดนั้น

มาตรา๑๙๘ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่า สิทธิที่จะเลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เปนอย่างอื่น

มาตรา๑๙๙การเลือกนั้น ท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

การชำระหนี้ได้เลือกทำเปนอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่า อย่างนั้นอย่างเดียวเปนการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา

มาตรา๒๐๐ถ้าจะต้องเลือกภายในระยะเวลาอันมีกำหนด และฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกมิได้เลือกภายในระยะเวลานั้นไซร้ ท่านว่า สิทธิที่จะเลือกนั้นย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง

ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาให้เลือกไซร้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกอาจกำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น

มาตรา๒๐๑ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเปนผู้เลือก ท่านให้กระทำด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้

ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี ฤๅไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่า สิทธิที่จะเลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้

มาตรา๒๐๒ถ้าการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง และอย่างใดอย่างหนึ่งตกเปนอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้นก็ดี ฤๅกลายเปนพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่ง การจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเปนพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ





มาตรา๒๐๓ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ ฤๅจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่า เจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน

ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเปนที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้

มาตรา๒๐๔ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งประดิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้ตกเปนผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงน่าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยประดิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

มาตรา๒๐๕ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่

มาตรา๒๐๖ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลลเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำลเมิด

มาตรา๒๐๗ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ไซร้ ท่านว่า เจ้าหนี้ตกเปนผู้ผิดนัด

มาตรา๒๐๘การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเปนอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เปนอย่างนั้นโดยตรง

แต่ถ้าเจ้าหนี้ได้แสดงแก่ลูกหนี้ว่า จะไม่รับชำระหนี้ก็ดี ฤๅเพื่อที่จะชำระหนี้ จำเปนที่เจ้าหนี้จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ดี ลูกหนี้จะบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ว่า ได้เตรียมการที่จะชำระหนี้ไว้พร้อมเสร็จแล้ว ให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้นั้น เท่านี้ก็นับว่าเปนการเพียงพอแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่า คำบอกกล่าวของลูกหนี้นั้นก็เสมอกับคำขอปฏิบัติการชำระหนี้

มาตรา๒๐๙ถ้าได้กำหนดเวลาไว้เปนแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระทำการอันใด ท่านว่า ที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้น จะต้องทำก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำการอันนั้นภายในเวลากำหนด

มาตรา๒๑๐ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ส่วนของตนต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัตินั้นแล้วก็ดี หากไม่เสนอที่จะทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำ เจ้าหนี้ก็เปนอันได้ชื่อว่าผิดนัด

มาตรา๒๑๑ในเวลาที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นก็ดี ฤๅในเวลาที่กำหนดไว้ให้เจ้าหนี้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๙ นั้นก็ดี ถ้าลูกหนี้มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านว่า เจ้าหนี้ยังหาผิดนัดไม่

มาตรา๒๑๒ถ้ามิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ก็ดี ฤๅถ้าลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ได้ก่อนเวลากำหนดก็ดี การที่เจ้าหนี้มีเหตุขัดข้องชั่วคราวไม่อาจรับชำระหนี้ที่เขาขอปฏิบัติแก่ตนได้นั้น หาทำให้เจ้าหนี้ตกเปนผู้ผิดนัดไม่ เว้นแต่ลูกหนี้จะได้บอกกล่าวการชำระหนี้ไว้ล่วงน่าโดยเวลาอันสมควร

มาตรา๒๑๓ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัดถุแห่งหนี้เปนอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัดถุแห่งหนี้เปนอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัดถุเปนอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายน่าด้วยก็ได้

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

มาตรา๒๑๔เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย

มาตรา๒๑๕เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้

มาตรา๒๑๖ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเปนอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้

มาตรา๒๑๗ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบันดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระวางเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเปนพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระวางเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนด ก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง

มาตรา๒๑๘ถ้าการชำระหนี้กลายเปนพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น

ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเปนพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าส่วนที่ยังเปนวิสัยจะทำได้นั้นจะเปนอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเปนวิสัยจะทำได้นั้นแล้ว และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้

มาตรา๒๑๙ถ้าการชำระหนี้กลายเปนพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้เปนอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น

ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเปนคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่า เปนพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเปนอันพ้นวิสัยฉะนั้น

มาตรา๒๒๐ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตนกับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ในการชำระหนี้นั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเปนความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติหน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/65หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/66หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/67หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/68หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/69หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/70หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/71หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/72หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/73หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/74หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/75หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/76หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/77หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/78หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/79หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/80หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/81หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/82หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/83หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/84หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/85หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/86หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/87หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/88หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/89หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/90หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/91หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/92หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/93หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/94หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/95หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/96หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/97หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/98หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/99หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/100หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/101หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/102หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/103หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/104หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/105หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/106หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/107หน้า:พรฎ ใช้ ปพพ (๒๔๖๘-๑๑-๐๑).pdf/108เช่นว่านี้ ถ้าบุคคลภายนอกเปนผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่า จำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกนั้นด้วย จึงโอนได้



มาตรา๓๕๓ถ้าสิทธิและความรับผิดชอบในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่า หนี้รายนั้นเปนอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก ฤๅเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา ๙๑๗ วรรค ๓