พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
พระราชบัญญัติ
การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓)
พ.ศ. ๒๕๕๗[1]

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๙ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งหน่วยงานของรัฐ วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ”

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กําหนดในกฎกระทรวง วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี”

มาตรา ๕ บรรดาภาษีประจําปีของรถของหน่วยงานตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ที่ค้างชําระไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันระงับไป

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ[แก้ไข]

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการ ทําให้มีหน่วยงานของรัฐรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากหน่วยงานทางราชการที่มีอยู่เดิม อีกทั้งหน่วยงานทางราชการเดิมบางหน่วยก็ได้มีการปรับเปลี่ยนฐานะหรือรูปแบบการดําเนินการใหม่ อันมีผลทําให้หน่วยงานนั้น ๆ มิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกําหนดให้ได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและยกเว้นภาษีรถประจําปี อย่างไรก็ดีเนื่องจากหน่วยงานที่เกิดขึ้นหรือปรับเปลี่ยนใหม่นั้นมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีรถประจําปี จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๓๑ - ๓๓/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗.

ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"