พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยงาช้าง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ช้าง” หมายความว่า ช้างที่เป็นสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ
“งาช้าง” หมายความว่า งา ขนาย หรือผลิตภัณฑ์ที่ทํามาจากงาหรือขนายของช้าง ทั้งที่ยังมีชีวิตหรือที่ตายแล้ว
“ค้า” หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จําหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้โดยทําเป็นปกติและเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อการค้าด้วย
“นําเข้า” หมายความว่า นําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
“ส่งออก” หมายความว่า นําหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึงนําหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งงาช้างที่เคยนําเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
“นําผ่าน” หมายความว่า นําหรือส่งผ่านราชอาณาจักร
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏบิัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ผู้ใดประสงค์จะค้างาช้าง ให้ยื่นคําขออนุญาตต่ออธิบดี
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การค้า และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๖ และบทกําหนดโทษในการฝ่าฝืนมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือวรรคห้ามาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับอนุญาตให้ค้างาช้างด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งงาช้าง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งงาช้างโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า ให้มาแจ้งการครอบครองพร้อมเอกสารการได้มาซึ่งงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ภายหลังจากได้รับแจ้งการครอบครอง ให้อธิบดีออกเอกสารการครอบครองงาช้างให้แก่ผู้แจ้งการครอบครองไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ในกรณีที่ตรวจพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยในภายหลังจากที่ได้รับแจ้งการครอบครองว่า งาช้างใดมิใช่งาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ อธิบดีอาจมีคําสั่งให้ผู้ครอบครองนําเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ได้
เหตุอันควรสงสัยและการนําเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่างาช้างในความครอบครองเป็นงาช้างที่ได้มาจากช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ ให้งาช้างนั้นตกเป็นของแผ่นดิน และให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองส่งมอบงาช้างให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งคําสั่งจากอธิบดี
ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามวรรคสามไม่เห็นด้วยกับคําสั่งของอธิบดีตามวรรคห้าให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง
คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา ๗ ในกรณีผู้ซึ่งครอบครองงาช้างตามมาตรา ๖ หรือมาตรา ๑๙ ประสงค์จะโอนการครอบครอง เปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครอง แปรสภาพ หรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้างที่อยู่ในความครอบครองต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีก่อนวันที่จะมีการโอนการครอบครอง เปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครอง แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้าง
ในกรณีที่เป็นการโอนการครอบครอง ให้อธิบดีระบุชื่อผู้รับโอนไว้ในเอกสารการครอบครองที่ออกให้ไว้ตามมาตรา ๖ หรือมาตรา ๑๙
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา ๘ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๖ และมาตรา ๗ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ครอบครองงาช้างตามลักษณะหรือขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา ๙ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้ค้างาช้างในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบการดําเนินการ เอกสาร หรือหลักฐานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการกระทําใด ๆ ที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ประกาศ หรือตามที่กําหนดในใบอนุญาต
(๒) ค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งมีอํานาจยึดหรืออายัดงาช้าง เอกสารหรือหลักฐานหรือวัตถุใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดําเนินคดี
(๓) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องไม่กระทําการอันมีลักษณะเป็นการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
เพื่อประโยชน์ในการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕ วรรคหนึ่งหรือประกาศที่ออกตามความในมาตรา ๑๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๗ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามล้านบาท
มาตรา ๑๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๖ ความผิดตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบมีอํานาจเปรียบเทียบได้
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ใดกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งและผู้น้ันยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี ส่งเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ดําเนินคดีต่อไป
มาตรา ๑๗ คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา ๑๖ ให้ประกอบด้วยผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุดเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นกรรมการและผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้มีทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและในส่วนภูมิภาคได้ตามที่รัฐมนตรีกําหนดตามความเหมาะสม
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๑๘ ผู้ใดค้างาช้างอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ยื่นคําขออนุญาตต่ออธิบดีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ โดยต้องจัดทําบัญชีการได้มาการแปรรูป และการค้างาช้างด้วย และเมื่อยื่นคําขออนุญาตแล้วให้ค้างาช้างต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคําส่งไมั ่อนุญาตจากอธิบดี
การยื่นคําขออนุญาตและการจัดทําบัญชีการได้มา การแปรรูป และการค้างาช้าง และการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๙ ผู้ใดได้มาหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งงาช้างก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้แจ้งการครอบครองโดยระบุจํานวน ขนาด พร้อมทั้งส่งภาพถ่ายของงาช้างต่ออธิบดีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และให้อธิบดีออกเอกสารการครอบครองงาช้างให้แก่ผู้แจ้งการครอบครองไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ในกรณีที่ตรวจพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยในภายหลังจากที่ได้รับแจ้งการครอบครองว่า งาช้างใดมิใช่งาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ อธิบดีอาจมีคําสั่งให้ผู้ครอบครองนําเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ได้ และให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๖ วรรคห้า วรรคหก และวรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งการครอบครองตามวรรคหนึ่งเหตุอันควรสงสัยและการนําเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกําหนดกิจการอื่นหรือออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- นายกรัฐมนตรี
๑. ใบอนุญาตให้ค้างาช้าง | ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท |
๒. ใบอนุญาตให้นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งงาช้าง |
ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท |
๓. ใบแทนอนุญาต | ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท |
หมายเหตุ
[แก้ไข]เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมการค้า การครอบครอง การนําเข้า การส่งออก และการนําผ่านซึ่งงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ทําจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมการค้า การครอบครอง การนําเข้าการส่งออก และการนําผ่านซึ่งงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ทําจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ จึงมีการนําช้างป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามาสวมสิทธิและจดทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะเพื่อตัดงาช้างรวมถึงการลักลอบนําเข้างาช้างแอฟริกาเพื่อนํามาค้าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทําจากงาช้าง ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES)) จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กําหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการควบคุมการค้าการครอบครอง การนําเข้า การส่งออก และการนําผ่านซึ่งงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้างภายในประเทศมิให้ปะปนกับงาช้างที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๓ ก/หน้า ๑ - ๖/๒๑ มกราคม ๒๕๕๘
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"