พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๐
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
พระราชบัญญัติ
จัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. ๒๔๙๐[1]
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พระยามานวราชเสวี
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงท้องที่จังหวัดมหาสารคามเสียใหม่ โดยจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์[2] ขึ้น
พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๐”
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้แยกอำเภอกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย์ อำเภอยางตลาด อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอกุฉินารายณ์ ออกจากการปกครองของจังหวัดมหาสารคาม จัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้น เรียกว่า จังหวัดกาฬสินธุ์
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- พลเรือตรี ถ. ธำรงนาวาสวัสดิ์
- นายกรัฐมนตรี
เชิงอรรถ[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะมีลักษณะตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"
