ข้ามไปเนื้อหา

พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520

จาก วิกิซอร์ซ
ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
ตั้งจังหวัดพะเยา
พ.ศ. ๒๕๒๐

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐
เป็นปีที่ ๓๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐"

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้แยกอำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา

มาตราให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ และสิทธิของจังหวัดเชียงรายในส่วนที่เกี่ยวกับอำเภอตามมาตรา ๓ ไปเป็นของจังหวัดพะเยา

มาตราให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ในส่วนที่เกี่ยวกับอำเภอตามมาตรา ๓ ไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

มาตราให้โอนข้าราชการและลูกจ้างของอำเภอตามมาตรา ๓ ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

มาตราให้บรรดาข้อบัญญัติจังหวัด ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในอำเภอตามมาตรา ๓ คงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

มาตรา การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการภาษีอากร การทะเบียน และการอื่น ๆ ซึ่งปฏิบัติอยู่ในอำเภอตามมาตรา ๓ ให้ดำเนินไปเช่นเดิมจนกว่าจะมีการสั่งเปลี่ยนแปลง ส่วนรายได้ที่เก็บได้จากอำเภอตามมาตรา ๓ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้จัดส่งทางจังหวัดพะเยา

มาตรา ให้สมาชิกสภาจังหวัดเชียงรายในเขตเลือกตั้งของอำเภอตามมาตรา ๓ เป็นสมาชิกสภาจังหวัดพะเยา และให้อยู่ในตำแหน่งตามระยะเวลาของสมาชิกภาพแห่งสภาจังหวัดเชียงรายจะสิ้นสุดลงตามวาระ

มาตรา๑๐ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอพะเยาเป็นอำเภอเมืองพะเยา

มาตรา๑๑ในระหว่างที่คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๒๑ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ ยังคงใช้บังคับอยู่ ไม่ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดเชียงรายหรือสมาชิกสภาจังหวัดพะเยาให้ครบตามจำนวนที่พึงมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดในระหว่างที่ระยะเวลาของสมาชิกภาพยังไม่สิ้นสุดลงตามวาระตามมาตรา ๙ และให้ถือว่า จำนวนสมาชิกสภาจังหวัดเท่าที่มีอยู่เป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาจังหวัดเชียงรายหรือสภาจังหวัดพะเยา แล้วแต่กรณี

มาตรา๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • ธานินทร์ กรัยวิเชียร
  • นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ท้องที่จังหวัดเชียงรายมีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก เพื่อประโยชน์แก่การปกครองและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน สมควรแยกอำเภอพะเยา อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"