พระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศนายทหารบก

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


พระราชบัญญัติ


สำหรับลำดับยศนายทหารบก[1]


_______________



ณ วัน ๑ เดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช น.ร.ภ. จ.ก. ผู้แทนผู้บัญชาการกรมทั่วไป รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศตำแหน่งนายทหารบกต่อไปดังนี้



มาตรา ๑

นายทหาร เมื่อเข้าในที่ จะต้องเรียงกันตามลำดับยศ ให้เรียกกันตามชั้นศักดินายศทหาร แจ้งอยู่ในพระราชบัญญัติ ณ วัน ๑ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๕๐ นั้น ถ้านายทหารที่ยศเสมอกัน ให้นายทหารผู้ได้เปนยศนั้นก่อนเปนใหญ่กว่า ถ้าเปนยศนั้นในวันเดียวกัน ให้ผู้ที่ได้เปนทหารก่อนเปนใหญ่กว่า


มาตรา ๒

นายทหารกองทหารมหาดเล็กเปนใหญ่กว่านายทหารยศอย่างเดียวกัน ในกองอื่น ๆ ไม่ต้องนับเปนก่อนแลหลัง ถัดนายทหารกองทหารมหาดเล็กมา ถึงนายทหารกองทหารม้า แล้วนายทหารกองทหารปืนใหญ่ แล้วจึ่งถึงทหารเดินเท้า


มาตรา ๓

นายทหารมีตำแหน่งเปนทหารผู้ช่วย (คือ สตาฟ) ได้เปนใหญ่กว่านายทหารยศเสมอกันที่มิได้เปนนายทหารผู้ช่วย แต่ไม่ก้าวก่ายที่ว่าไว้ในมาตรา ๒ นั้น


มาตรา ๔

กองทหารหลายกองไปในที่ใด เมื่อยู่ในบริเวณอันเดียวกัน นายทหารผู้มียศใหญ่กว่าบรรดานายทหารที่อยู่ในที่นั้นได้บังคับบัญชาคน ๑ เว้นแต่นายทหารที่เปนตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายมิใช่พลรบ คือ ยกกระบัตรกอง (ควอตเตอมาศเตอ) เกียกกายกอง (เปมาศเตอ) แลนายแพทย เปนต้น จะเปนผู้บังคับเช่นว่านั้นไม่ได้


มาตรา ๕

มีการฉุกเฉินฤๅการจำเปนจะต้องแทนที่กันในเวลาไม่ทันมีคำสั่งไปถึง ก็ให้นายทหารผู้มียศถัดลงมาเปนผู้แทนผู้ใหญ่ได้โดยปรกติ



เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕/แผ่นที่ ๒๒/หน้า ๑๗๗/วันพุธ เดือนเก้า ขึ้นสิบห้าค่ำ จ.ศ. ๑๒๕๐




ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"