พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๕๘/หมวด ๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
หมวด ๗
บทกําหนดโทษ


มาตรา ๗๖ ผู้ใดใช้คําว่า “หอพัก” ในสถานที่ของตนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๗๗ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดรับผู้พักไม่เป็นไปตามประเภทของหอพักตามมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๘ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๗๙ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าหรือเงินประกันเกินอัตราที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ หรือไม่นําเงินค่าเช่าล่วงหน้าหักเป็นค่าเช่าตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๘๐ ผู้ใดไม่คืนค่าเช่าล่วงหน้าหรือเงินประกันให้แก่ผู้พักตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๖๙ แล้วแต่กรณีต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๘๑ สถานศึกษาใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๘๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๘๓ ผู้ประกอบกิจการหอพักเอกชนผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๘๔ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๘๕ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๖ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินสองพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๘๗ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดไม่แจ้งต่อนายทะเบียนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน มาตรา ๔๘ วรรคสาม มาตรา ๔๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๘๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๙ ผู้จัดการหอพักของหอพักเอกชนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๙๐ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท

มาตรา ๙๑ ผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ หรือมาตรา ๖๓ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๙๒ ผู้จัดการหอพักหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการหอพักผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๖๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๙๓ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๐ หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๙๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการหอพักซึ่งกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซ่งรึ ับผิดชอบในการดําเนินงานของห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

มาตรา ๙๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบมีอํานาจเปรียบเทียบได้

เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๙๖ คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา ๙๕ ให้ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้

(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุดเป็นประธานกรรมการผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นกรรมการ และผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นกรรมการและเลขานุการ

(๒) ในเขตจังหวัดอื่น ประกอบด้วยอัยการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ


ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"