พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป/พงศาวดาร
๑.พระราชพงษาวดารกรุงธนบุรีมีความว่า ปีจอ อัฐศก ลุศักราช ๑๑๒๘ ปี ณ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่ำ ขณะนั้น กรุงเทพพระมหานครยังมิได้เสียนั้น พระยากำแพงเพชร์ ผู้มีอภินิหาร ทราบด้วยญาณว่า กรุงศรีอยุทธยาจะเปนอันตราย แต่เหตุที่อธิบดีเมืองแลราษฎรมิเปนธรรม จึ่งอุสาหด้วยกำลังกรุณาแก่สมณพราหมณาจาริยแลบวรพุทธสาศนาจะเสื่อมสูญ จึ่งชุมนุมพักพวกพลทหารจีนไทยประมาณพันหนึ่งสรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุทธ ประกอบไปด้วยทหารผู้ใหญ่นั้น คือ พระเชียงเงิน หลวงพิไชยอาษา หลวงราชเสน่หา พรหมเสนา ขุนอภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา ฯ ๑ ฯ
๒.ยกออกไปตั้ง ณ วัดพิไชยอันเปนมงคลมหาสฐาน ด้วยเดชานุภาพบารมี เทพเจ้าอภิบาลพระบวรพุทธสาสนาก็สร้องสาธุการ บันดาลให้ห่าฝนตกลงมาเปนมหาพิไชยฤกษ์ จำเดิมแต่นั้นมา จึ่งให้ยกพลพยุหกองทัพออกจากวัดพิไชยฝ่ากองทัพพม่าออกมาเปนเวลาย่ำฆ้องค่ำ ยามเสาร์ ได้รบกันกับพม่า ๆ มิอาจต่อต้านได้ ก็ถอยไป จึ่งดำเนินพลทหารโดยสวัสดิภาพไปทางบ้านเข้าเม่า ก็บันลุถึงบ้านสามบัณฑิตย์ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันอาทิตย เดือนยี่ ขึ้นห้าค่ำ ลุศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก ให้ยกกองทัพไปถึงบ้านโพสาวหาร
๓.กองทัพพม่ายกติดตามไป ได้รบพุ่งพม่าเปนสามารถ พม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไป เกบได้เครื่องสาตราวุทธเปนอันมาก จึ่งอยุดประทับแรมอยู่ที่บ้านพรานนก ฝ่ายทหารออกไปลาดเที่ยวหาอาหาร จึ่งภบกองทัพพม่ายกมาแต่เมืองปราจินบุรี พม่าไล่ติดตามถึงที่ประทับ กองทัพพม่าสามสิบม้าแตกถอยลงมา พลเดินท้าว ๒๐๐๐ ก็แตกพ่ายไป ทหารทั้งปวงเหนกำลังบุญฤทธิเปนอัศจรรย์ดังนั้นก็ยำเกรงยกย่องว่า เปนจอมกระษัตริยสมมุติวงษ แล้วนำพลทหารมาเข้าตีบ้านกง ไล่ตลุมบอนฟันแทงทหารชาวบ้านกง ฯ ๓ ฯ
๗ วัน ได้พวกพลเปนอันมาก
ลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาสามยาม เปนยามเสาร ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทัพน่าต่อทิศอิสารเข้าตีเมืองจันทบุรีได้ ตั้งต่อเรือรบ ณ เมืองจันทบุรีประมาณสามเดือน ได้เรือร้อยลำเสศ ในขณะนั้น ฝ่ายเจ้าตากสินซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ต่อเรือรบสำเรทธแล้ว ฯ ๔ ฯ
๕.ได้ทราบข่าวว่า กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาเสียแก่พม่าแล้ว สมณพราหมณาจาริยแลราชตระกูลสุริยวงษเสนาอำมาตยประชาราษฎรถึงความพินาศ พม่ากวาดไปเปนอันมาก
ครั้น ณ เดือนสิบเบด ในปีกุน นพศกนั้น จึงเสดจ์ยาตราทัพเรือร้อยลำเสศ พลทหารประมาณห้าพัน ยกจากเมืองจันทบุรีมาทางทเล จึ่งให้อยุดประทับ ณ เมืองชลบุรี แล้วให้หาพระยาอนุราชลงมาเฝ้า ณ เรือพระที่นั่ง ตรัสถามโทษที่ตัวทำผิดนั้น พระยาอนุราชก็รับเปนสัตย จึ่งสั่งให้ขุนนางนายทหารไทยจีนจับพระยาอนุราชประหารชีวิตรถ่วงน้ำเสีย ก็เสดจ์ยกทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเมืองสมุทปราการ ฯ ๕ ฯ
๖.ถึงเมืองธนบุรี ได้รบพุ่งกันกับผู้รักษาเมืองธนบุรี ตีได้เมืองธนบุรีแล้วขึ้นไปตีค่ายโพสามต้น พม่าซึ่งรักษาอยู่นั้นล้มตายแตกหนีไป พระยากำแพงเพชรก็กลับลงมาตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี ให้ไปเที่ยวสืบหาพวกพระญาติวงษของพระองค์ซึ่งพลัดพรากกันไปครั้งพม่า ไปได้มาแต่เมืองลพบุรี รับลงมา ณ เมืองธนบุรี แล้วให้ปลูกสร้างพระราชวังแลพระตำหนักข้างน่าข้างในใหญ่น้อยทั้งปวงสำเรทธบริบูรณ ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สำฤทธิศก จึ่งท้าวพระยาข้าราชการจีนไทยผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงปฤกษาพร้อมกัน "เมืองธนบุรีอยู่ข้างซ้ายมือ" ฯ ๖ ฯ
๗.อัญเชิญพระยากำแพงเพชรให้เสดจ์ถวลยราชสมบัติเปนบรมกระษัตริยผ่านพิภพสิมา ณ กรุงธนบุรีตั้งขึ้นเปนราชธานีสืบไป ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหารแก่ราษฎรทั้งหลายซึ่งอดโซรอนาถาทั่วสิมามณฑลกรุงธนบุรี ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลู เอกศก มีพระบรมราชโองการให้เกนกองทัพเรือ ครั้นได้พระฤกษแล้ว เสดจ์ด้วยข้าทูลอองธุลีพระบาทจีนไทยตำเนินทัพไปทางทเล ตีเมืองนครศริธรรมราชได้ ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีขาน โทศก ให้เกนกองทัพเสดจ์ขึ้นไปตีเมืองฝางได้ ขณนั้น ช้างพังช้างหนึ่งอยู่ในเมืองตกลูกเปนเผือกพังสมพงษ์ ฯ ๗ ฯ
๘.เมื่อเสดจ์กรีธาทัพหลวงกลับ ให้รับนางพระยาเสวตรกิริณีลงแพล่องมายังกรุงธนบุรี ให้ปลูกโรงรับ ณ สวนมังคุด แล้วให้มีงานมหรรสพสมโภชสามวัน ลุศักราช ๑๑๓๗ ปีมแม สัปตศก พม่ายกมาทางกาญจนบุรี พระเจ้าอยู่หัวได้ทราบ จึงจัดกองทัพแล้วเสดจ์ยกพลโยธาทหารรบพม่าเปนสามารถ พม่ามิอาจต่อต้านได้ ก็แตกไปยังเมืองมะตะหมะ ขณนั้น อแซวุ่นกี้ให้แมงแยยางู ผู้น้อง ยกกองทัพใหญ่ลงมาตั้งค่ายโอบหลังค่ายหลวง ณ ปากน้ำพิง ฯ ๘ ฯ
๙.ฟากตวันออกเปนหลายค่าย ได้ต่อรบกันเปนสามารถ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเหนศึกเหลือกำลัง ถึงวันพฤหัศบดี เดือนสี่ แรบสิบค่ำ จึ่งให้ล่าทัพหลวงถอยมาตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ บางเข้าตอก ฝ่ายอแซวุ่นกี้เร่งให้ตแคงมรหน่อง บัญีแยของจอ แลเจ้าเมืองตองอู นายทัพนายกองทั้งปวง ทำการติดเมืองพระพิศณุโลกย์กวดขันขึ้น ฝ่ายข้างในเมืองก็ขาดเสบียงอาหาร ตวงเข้าแจกทหารแต่มื้อลฝาเขนง ไพร่พลอิดโรยนัก ถอยกำลังลง เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีหพิศณวาธิราช ฯ ๙ ฯ
๑๐.เหนเหลือกำลังที่จตั้งมั่นรักษาเมืองไว้มิได้ ด้วยขัดสะเบียงอาหารนัก จึ่งบอกลงมากราบทูลพระกรุณา ณ ค่ายหลวงแต่ยังเสดจ์อยู่ ณ ปากน้ำพิงว่า ในเมืองสิ้นสะเบียง จขอพระราชทารล่าทัพออกจากเมือง ก็โปรดอนุญาต เจ้าพระยาจักกรี เจ้าพระยาสุรสีหพิศณวาธิราช จึ่งสั่งให้นายทัพนายกองซึ่งออกไปตั้งค่ายประชิรับพม่าอยู่นอกเมืองทั้งสองฟากนั้นเลิกถอยเข้าในเมืองสิ้น พม่าเข้าตั้งอยู่ในค่ายไทยประชิใกล้เมือง ให้ทำบันใดจพาดกำแพงเตรียมการจปีนปล้นเอาเมือง พลทหารซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทิญ ฯ ๑๐ ฯ
๑๑.รดมยิงปืนใหญ่น้อยออกไปดั่งห่าฝน พม่าจเข้าปีนปล้นเอาเมืองมิได้ ต่างยิงปืนโต้ตอบกันอยู่ทั้งสองฝ่าย ครั้นถึง ณ วันสุกร เดือนสี่ แรมสิบเบดค่ำ เจ้าพระยาทั้งสองจึ่งให้เจ้าหน้าที่รดมยิงปืนใหญ่น้อยหนาขึ้นกว่าทุกวัน เสียงปืนลั่นสนั่นไปมิได้ขาดตั้งแต่เช้าจนค่ำ แล้วให้เอาปี่พาทย์ขึ้นตีบนเชิงเทิญรอบเมือง ครั้นเวลาประมาณยามเสศ เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดทหารเปนสามกอง กองน่ากองหนึ่ง กองกลางให้คุมครอบครัวกองหนึ่ง กองหลังรั้งท้ายกองหนึ่ง แล้วยกทัพแลครอบครัวทั้งปวง ฯ ๑๑ ฯ
๑๒.เปิดประตูเมืองข้างด้านฟากตวันออก ให้พลทหารกองน่ารบฝ่าออกไปเข้าหักค่ายพม่าซึ่งตั้งล้อม พม่าในค่ายต่อรบยิงปืนใหญ่น้อยออกมา พลทหารไทยก็หนุนเนื่องกันเข้าไปแหกค่ายพม่าเข้าไปได้ ๆ รบกันถึงอาวุธสั้น ฟันแทงกันเปนตลุมบอน พม่าแตกเปิดทางให้ เจ้าพระยาทั้งสองก็รีบเดินทัพไปทางบ้านลมุง ดอนชมพู แลครอบครัวทั้งปวงนั้นก็แตกกระจัดพรัดพราย ตามกองทัพไปได้บ้าง พม่ากวาดไปได้บ้าง ที่หนีลงมาหาทัพหลวง ณ บางเข้าตอกได้บ้าง ฯ ๑๒ ฯ
๑๓.พม่าก็ติดตามกองทัพไป แลกองซึ่งรั้งหลังก็รอสกัดรปต้านทานที่กลางทางเปนสามารถ พม่าก็ถอยกลับไปเมือง เจ้าพระยาทั้งสองก็เร่งเดินทัพไปถึงเมืองเพรชบูรณ อยุดทัพอยู่ที่นั้น ฝ่ายกองทัพเจ้าพระจักกรี เจ้าพระยาสุรสีห์ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองเพชรบูรณ์ ได้สเบียงอาหารเลี้ยงไพร่พลบริบูรณแล้ว ก็บอกลงมากราบทูลว่า จขอยกติดตามตีทัพพม่าซึ่งเลิกถอยไป แล้วยกกองทัพกลับมาทางเมืองสรบุรี ขึ้นทางฝั่งพระพุทธบาท ยกติดตามทัพพม่าไปทางเมืองศุไขไทย ฯ ๑๓ ฯ
๑๔.แลกองทัพไทยทั้งปวงไล่รบทัพพม่าแตกไปทุกหัวเมือง ครั้น ณ วันเสาร เดือนเจด ขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีวอก อัฐศก จึ่งเสดจ์ยาตรานาวาทัพหลวงมาโดยทางชลมารคกลับยังกรุงธนบุรีมหานคร แล้วมีพระราชโองการให้มีท้องตราให้กองทัพทั้งปวงกลับยังพระนครธนบุรี
ในเดือนหก ปีรกา นพศพ ศักราช ๑๑๓๙ ปี จึ่งทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเนจ์เจ้าพระยาจักกรี ตั้งให้เปนสมเดจ์เจ้าพระยามหากระษัตริยศึก พิฤกมหิมา ทุกนครารอาเดช นเรศวรราชสุริยวงษ องคอัคบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก ณ กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุทธยา ฯ ๑๔ ฯ
๑๕.แล้วพระราชทารภานทองเครื่องยศเหมือนอย่างเจ้าต่างกรม ใหญ่กว่าท้าวพระยาข้าทูลอองธุลีพระบาททั้งปวง
ครั้นถึง ณ เดือนอ้าย ปีจอ สมฤทธิศก จึ่งมีพระราชตำรัสให้สมเดจ์เจ้าพระยามหากระษัตริยศึกเปนแม่ทัพ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ พลทหารสองหมื่น สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสรจ์ ให้ยกกองทัพไปตีกรึงศรีสัตตนาคนหุต ครั้นได้ฤกษ ยกขึ้นไปตีศรีสัตตนาคนหุตได้ จึ่งให้เชิญพระปฏิมากรแก้วมรกฎกับพระบางลงมาถวาย โปรดให้ช่างปลูกโรงอันวิจิตร ณ เบื้องหลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามภายในพระราชวังแล้วบริบูรณ จึ่งให้อัญเชิญพระแก้วมรกฎขึ้นประดิษฐานไว้ในโรงอันนั้น ฯ ๑๕ ฯ
๑๖.ครั้นลุศักราช ๑๑๔๒ ปีวอก โทศก ฝ่ายข้างกัมพุชประเทศนั้น แผ่นดินเปนจลาจล สมเดจ์พระเจ้ามหากระษัตริยศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์พิศณวาทิราชยกกองทัพรีบออกไปถึงกรุงกัมพุชประเทศเพื่อจปราบปรามแผ่นดินเมืองเขมรให้เรียบราบ ฝ่ายการแผ่นดินกรุงธนบุรีนั้นก็ผันแปรไปต่าง ๆ เพราะพระเจ้าแผ่นดินผเอิญบันดานเสียสติไปประพฤติวิปริตต่าง ๆ เปนเหตุให้ราษฎรทิ้งเยาเรือนลมภูมลำเนาหนีเข้าป่าไปเปนหลายตำบล ฯ ๑๖ ฯ
๑๗.แผ่นดินกรุงธนบุรีได้ความเดือดร้อนทั่วทั้งเมือง พระเจ้าแผ่นดินเสียสติอารมณไปนั้ นก็ชรอยจเปนวิบัติเหตุ เพราะที่มิได้ควรเปนเจ้าของผู้ได้ครอบครองประฏิบัติบูชาพระพุทธมหารัตนปฏิมากรพระองค์นี้ บารมีเจ้าตากสินทรงกำลังศิริของพระพุทธรัตนปฏิมากรมิได้ จึ่งเผอิญให้คลั่งไคล้เสียสติสัญญาผิดวิปลาศไปดั่งนี้ เมื่อแผ่นดินเปนทรยุค จนถึงขุนนางหัวเมืองยกไพร่พลเข้าล้อมกรุงธนบุรีไว้ แล้วจับพระเจ้าแผ่นดินเสียให้ออกนอกอำนาถในจุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลู ตรีศก ปลายปี จึ่งบอกหนังสือออกไปเชิญเสดจ์สมเดจ์พระเจ้ามหากระษัตริยศึก ฯ ๑๗ ฯ
๑๘.กลับเจ้าเมืองธนบุรี เชิญเสดจ์ให้ทรงชำระเสี้ยนศัตรูแผ่นดินราบคาบเปนปรกติแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ในราชสมบัติได้ ๑๕ ปี เมื่อถึงแก่พีราไล ชนมายุได้ ๔๘ ปี จึ่งมุขมนตรีปฤกษาพร้อมกันอัญเชิญสมเดจ์พระเจ้ามหากระษัตริย์ศึกขึ้นเสวยศิริราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพระราชพิธีปราบดาพิเศกเสรจ์แล้ว พระบาทสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริหว่า พระพุทธรัตนปฏิมากรเปนแก้วอย่างดีวิเสศ ไม่สมควรที่จประดิษฐานอยู่ที่เมืองธนบุรีซึ่งเปนเมืองน้อย ฯ ๑๘ ฯ
๑๙.เพราะเมืองธนบุรีนี้แต่ก่อนนั้นขึ้นแก่กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหานคร จึ่งทรงพระราชดำริหว่า ฝั่งฟากตวันออกเมืองธนบุรีเปนที่ไชยภูมมงคลอันประเสริฐ สมควรจตั้งเปนพระนครอันใหญ่ได้ จึ่งให้สถาปนาเปนพระบรมมหาราชวังตรงฝั่งปลายแหลมในคุ้งน้ำนี้ แลก่อกำแพงปอมประตูหอรบขุดคูรอบพระนครสำเรจ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระ (ว่าง ปราศข้อความ) ได้ปราบดาภิเศกเสวยราชสมบัติในพระนครใหม่ พระชนมายุได้ ๔๖ พระพรรษา ลุศักราชได้ ๑๑๔๔ ปีขาน จัตวาศก แลโปรดให้สมเดจ์พระอนุชาธิราชอุปราชาภิเศกในพระบวรราชวัง ฯ ๑๙ ฯ
๒๐.ลบเสียแล้ว.—