ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "{{header <!-- ข้อมูลหลัก --> | title = พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป | y..."
 
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
| previous =
| previous =
| next =
| next =
| notes = ''พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป'' นี้เป็นฉบับเดียวกับ ''พระราชพงศาวดารย่อในหอพระราชพงศานุสร'' ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394–2411) และจารึกอยู่ที่บานหน้าต่างหอพระราชพงศานุสรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ ''พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป'' มีเนื้อหาเฉพาะตอนกรุงธนบุรี 20 ข้อ ส่วน ''พระราชพงศาวดารย่อในหอพระราชพงศานุสร'' มีเนื้อหาตอนกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมาอีก 30 ข้อ เป็นทั้งหมด 50 ข้อ โปรดดู ศานติ ภักดีคำ. (2558). "พระราชพงศาวดารย่อในหอพระราชกรมานุสรและหอพระราชพงศานุสร". ใน สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน, ''พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน'' (น. 507–535). กรุงเทพฯ: มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์. {{isbn|9786169235101}}.
| notes =
<!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) -->
<!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) -->
| categories =
| categories =
บรรทัดที่ 31: บรรทัดที่ 31:
| meta =
| meta =
}}
}}
__NOTOC__
{{auxtoc|comment=|title=โครงสร้างเนื้อหา|
* {{พลป|k4|ปก}}
* {{พลป|k4|รองปก}}
* {{พลป|k4|ก|คำนำ}}
* {{พลป|k4|ข|คำปรารภ}}
* {{พลป|k4|๑|พงศาวดาร}}
* {{พลป|k4|เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ|เชิงอรรถ}}
* {{พลป|k4|บรรณานุกรม}}
}}
----
<br>
<br>
<pages index="พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป.pdf" include="2"/>
<pages index="พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป.pdf" include="2"/>
บรรทัดที่ 57: บรรทัดที่ 48:
<br>
<br>
<pages index="พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป.pdf" from="20" to="26"/>
<pages index="พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป.pdf" from="20" to="26"/>
<br>
==เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ==

{{reflist|group=วซ|1}}

==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:22, 5 กรกฎาคม 2563


ตราของกรมศิลปากร
ตราของกรมศิลปากร
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป
พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ
นายวิรุฬห์ บุณยรัตพันธุ์
ณ เมรุวัดระฆังโฆสิตาราม ถนนอรุณอมรินทร์
กรุงเทพฯ
๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖



  • พิมพ์ที่ อมรการพิมพ์ 900/15–16 ถนนเจริญรัถ คลองสาน กรุงเทพฯ
  • นายอมร เจียระสุพัฒน์ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา 2516 โทร. 660089



คำนำ

เนื่องในงานฌาปนกิจศพนายวิรุฬห์ บุณยรัตพันธุ์ กำหนดวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖ ณ เมรุวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร เจ้าภาพได้แสดงความประสงค์จะพิมพ์หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับสังเขป ซึ่งมีต้นฉบับเป็นตัวเขียนอยู่ ณ แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ แจกเป็นอนุสรณ์แก่ผู้มาร่วมการบำเพ็ญกุศล

กรมศิลปากรมีความยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ดังประสงค์ หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีเรื่องนนี้เป็นของอยู่ในหอสมุดแห่งชาติมาแต่เดิม ไม่ปรากฏผู้รวบรวมและเรียบเรียง แต่เข้าใจว่า จะเป็นการบรรยายภาพเขียนซึ่งอาจจะเขียนไว้ที่ใดที่หนึ่ง เพราะในนั้นมีข้อความอยู่หลายแห่งว่า "เรื่องนี้อยู่ข้างขวามือ" "เรื่องนี้อยู่ห้องข้างขวามือ" "เรื่องนี้อยู่ข้างบน" และลงสุดท้ายข้อ ๒๐ ว่า "ลบเสียแล้ว" อายุฝีมือการเขียนทั้งตัวสะกดการันต์คงจะอยู่ในราว ร. ๔ หรือ ร. ๕ เป็นอย่างสูง พระราชพงศาวดารฉบับนี้แม้จะเป็นฉบับย่อก็จริง แต่ก็ให้ความละเอียดในรัชกาลนั้นได้พอสมควร

กรมศิลปากรขออนุโมทนาในกุศลราศีทักษิณานุปทานซึ่งท่านเจ้าภาพได้บำเพ็ญอุทิศกุศลแด่ผู้ล่วงลับพร้อมทั้งให้พิมพ์หนังสือนี้แจกเป็นวิทยาทาน ขออำนาจกุศลทั้งนี้จงเป็นพลวปัจจัยดลบันดาลให้ผู้ล่วงลับได้ประสบอิฐคุณมนุญผลตามควรแก่วิสัยในสัมปรายภพตามปณิธานของท่านเจ้าภาพจงทุกประการเทอญ.

  • กรมศิลปากร
  • ตุลาคม ๒๕๑๖


คำปรารภ

ในงานฌาปนกิจศพ คุณวิรุฬห์ บุณยรัตพันธุ์ เจ้าภาพมีความประสงค์พิมพ์หนังสือเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านผู้วายชนม์สักเรื่องหนึ่ง แต่หนังสือมีมากมายหลายรสหลายเรื่อง ยากแก่การพิจารณาคัดเลือกให้ต้องกับรสนิยมได้ แต่โดยที่คำนึงว่า เรื่องราวอันต่อเนื่องระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงรัตนโกสินทร์เป็นหลักฐานที่หาดูกันมิได้ง่ายนัก จึงได้เลือกพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีมาจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ ขณะเดียวกัน ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุเอ็จ คชเสนี และแพทยสมาคมแห่งประเทศ และนายแพทย์อร่าม ธรมธัช ได้กรุณามอบบทความเกี่ยวกับโรคหัวใจให้ด้วย จึงได้รวมพิมพ์ต่อท้าย เพื่อท่านที่สนใจเรื่องโรคหัวใจจะได้พิจารณาใคร่ครวญทบทวนศึกษาดูว่า ท่านอยู่ในข่ายแห่งโรคนี้เยี่ยงบุคคลอื่นด้วยหรือไม่ อนึ่ง เพื่อมิให้ท่านนักธัมมะธัมโมทั้งหลายเสียประโยชน์ ก็ได้นำข้อความอันเกี่ยวด้วยพุทธธรรมมาพิมพ์รวมเป็นอีกส่วนด้วยแล้ว

สุดท้ายนี้ ขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ดำรง เพชรพลาย และศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุเอ็จ คชเสนี ที่ได้กรุณาเอื้ออำนวยด้วยดีตลอดมา.

เจ้าภาพ


พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป
เริ่มเหตุการณ์ จ.ศ. ๑๑๒๘–๑๑๔๔

๑. พระราชพงษาวดารกรุงธนบุรีมีความว่า ปีจอ อัฐศก ลุศักราช ๑๑๒๘ ปี ณ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่ำ ขณะนั้น กรุงเทพพระมหานครยังมิได้เสียนั้น พระยากำแพงเพชร์ ผู้มีอภินิหาร ทราบด้วยญาณว่า กรุงศรีอยุทธยาจะเปนอันตราย แต่เหตุที่อธิบดีเมืองแลราษฎรมิเปนธรรม จึ่งอุสาหด้วยกำลังกรุณาแก่สมณพราหมณาจาริยแลบวรพุทธสาศนาจะเสื่อมสูญ จึ่งชุมนุมพักพวกพลทหารจีนไทยประมาณพันหนึ่งสรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุทธ ประกอบไปด้วยทหารผู้ใหญ่นั้น คือ พระเชียงเงิน หลวงพิไชยอาษา หลวงราชเสน่หา พรหมเสนา ขุนอภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา ฯ ๑ ฯ

๒. ยกออกไปตั้ง ณ วัดพิไชยอันเปนมงคลมหาสฐาน ด้วยเดชานุภาพบารมี เทพเจ้าอภิบาลพระบวรพุทธสาสนาก็สร้องสาธุการ บันดาลให้ห่าฝนตกลงมาเปนมหาพิไชยฤกษ์ จำเดิมแต่นั้นมา จึ่งให้ยกพลพยุหกองทัพออกจากวัดพิไชยฝ่ากองทัพพม่าออกมาเปนเวลาย่ำฆ้องค่ำ ยามเสาร์ ได้รบกันกับพม่า ๆ มิอาจต่อต้านได้ ก็ถอยไป จึ่งดำเนินพลทหารโดยสวัสดิภาพไปทางบ้านเข้าเม่า ก็บันลุถึงบ้านสามบัณฑิตย์ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันอาทิตย เดือนยี่ ขึ้นห้าค่ำ ลุศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก ให้ยกกองทัพไปถึงบ้านโพสาวหาร

๓. กองทัพพม่ายกติดตามไป ได้รบพุ่งพม่าเปนสามารถ พม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไป เกบได้เครื่องสาตราวุทธเปนอันมาก จึ่งอยุดประทับแรมอยู่ที่บ้านพรานนก ฝ่ายทหารออกไปลาดเที่ยวหาอาหาร จึ่งภบกองทัพพม่ายกมาแต่เมืองปราจินบุรี พม่าไล่ติดตามถึงที่ประทับ กองทัพพม่าสามสิบม้าแตกถอยลงมา พลเดินท้าว ๒๐๐๐ ก็แตกพ่ายไป ทหารทั้งปวงเหนกำลังบุญฤทธิเปนอัศจรรย์ดังนั้นก็ยำเกรงยกย่องว่า เปนจอมกระษัตริยสมมุติวงษ แล้วนำพลทหารมาเข้าตีบ้านกง ไล่ตลุมบอนฟันแทงทหารชาวบ้านกง ฯ ๓ ฯ

 ๔. ก็แตกกระจายหนีไป ได้ช้างพลายช้างพังเจดช้าง ได้เงินทองสเบียงอาหารเปนอันมาก จึ่งให้ยกพลนิกายประทับตามลำดับ บ้านหัวทองหลาง ตนานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ ยกพลนิกายไปโดยลำดับ ประทับอยู่เมืองรยอง 
วัน ได้พวกพลเปนอันมาก

ลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาสามยาม เปนยามเสาร ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทัพน่าต่อทิศอิสารเข้าตีเมืองจันทบุรีได้ ตั้งต่อเรือรบ ณ เมืองจันทบุรีประมาณสามเดือน ได้เรือร้อยลำเสศ ในขณะนั้น ฝ่ายเจ้าตากสินซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ต่อเรือรบสำเรทธแล้ว ฯ ๔ ฯ

๕. ได้ทราบข่าวว่า กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาเสียแก่พม่าแล้ว สมณพราหมณาจาริยแลราชตระกูลสุริยวงษเสนาอำมาตยประชาราษฎรถึงความพินาศ พม่ากวาดไปเปนอันมาก

ครั้น ณ เดือนสิบเบด ในปีกุน นพศกนั้น จึงเสดจ์ยาตราทัพเรือร้อยลำเสศ พลทหารประมาณห้าพัน ยกจากเมืองจันทบุรีมาทางทเล จึ่งให้อยุดประทับ ณ เมืองชลบุรี แล้วให้หาพระยาอนุราชลงมาเฝ้า ณ เรือพระที่นั่ง ตรัสถามโทษที่ตัวทำผิดนั้น พระยาอนุราชก็รับเปนสัตย จึ่งสั่งให้ขุนนางนายทหารไทยจีนจับพระยาอนุราชประหารชีวิตรถ่วงน้ำเสีย ก็เสดจ์ยกทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเมืองสมุทปราการ ฯ ๕ ฯ

๖. ถึงเมืองธนบุรี ได้รบพุ่งกันกับผู้รักษาเมืองธนบุรี ตีได้เมืองธนบุรีแล้วขึ้นไปตีค่ายโพสามต้น พม่าซึ่งรักษาอยู่นั้นล้มตายแตกหนีไป พระยากำแพงเพชรก็กลับลงมาตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี ให้ไปเที่ยวสืบหาพวกพระญาติวงษของพระองค์ซึ่งพลัดพรากกันไปครั้งพม่า ไปได้มาแต่เมืองลพบุรี รับลงมา ณ เมืองธนบุรี แล้วให้ปลูกสร้างพระราชวังแลพระตำหนักข้างน่าข้างในใหญ่น้อยทั้งปวงสำเรทธบริบูรณ ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สำฤทธิศก จึ่งท้าวพระยาข้าราชการจีนไทยผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงปฤกษาพร้อมกัน "เมืองธนบุรีอยู่ข้างซ้ายมือ" ฯ ๖ ฯ

๗. อัญเชิญพระยากำแพงเพชรให้เสดจ์ถวลยราชสมบัติเปนบรมกระษัตริยผ่านพิภพสิมา ณ กรุงธนบุรีตั้งขึ้นเปนราชธานีสืบไป ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหารแก่ราษฎรทั้งหลายซึ่งอดโซรอนาถาทั่วสิมามณฑลกรุงธนบุรี ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลู เอกศก มีพระบรมราชโองการให้เกนกองทัพเรือ ครั้นได้พระฤกษแล้ว เสดจ์ด้วยข้าทูลอองธุลีพระบาทจีนไทยตำเนินทัพไปทางทเล ตีเมืองนครศริธรรมราชได้ ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีขาน โทศก ให้เกนกองทัพเสดจ์ขึ้นไปตีเมืองฝางได้ ขณนั้น ช้างพังช้างหนึ่งอยู่ในเมืองตกลูกเปนเผือกพังสมพงษ์ ฯ ๗ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ข้างขวามือ"

๘. เมื่อเสดจ์กรีธาทัพหลวงกลับ ให้รับนางพระยาเสวตรกิริณีลงแพล่องมายังกรุงธนบุรี ให้ปลูกโรงรับ ณ สวนมังคุด แล้วให้มีงานมหรรสพสมโภชสามวัน ลุศักราช ๑๑๓๗ ปีมแม สัปตศก พม่ายกมาทางกาญจนบุรี พระเจ้าอยู่หัวได้ทราบ จึงจัดกองทัพแล้วเสดจ์ยกพลโยธาทหารรบพม่าเปนสามารถ พม่ามิอาจต่อต้านได้ ก็แตกไปยังเมืองมะตะหมะ ขณนั้น อแซวุ่นกี้ให้แมงแยยางู ผู้น้อง ยกกองทัพใหญ่ลงมาตั้งค่ายโอบหลังค่ายหลวง ณ ปากน้ำพิง ฯ ๘ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ข้างขวามือ"

๙. ฟากตวันออกเปนหลายค่าย ได้ต่อรบกันเปนสามารถ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเหนศึกเหลือกำลัง ถึงวันพฤหัศบดี เดือนสี่ แรบสิบค่ำ จึ่งให้ล่าทัพหลวงถอยมาตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ บางเข้าตอก ฝ่ายอแซวุ่นกี้เร่งให้ตแคงมรหน่อง บัญีแยของจอ แลเจ้าเมืองตองอู นายทัพนายกองทั้งปวง ทำการติดเมืองพระพิศณุโลกย์กวดขันขึ้น ฝ่ายข้างในเมืองก็ขาดเสบียงอาหาร ตวงเข้าแจกทหารแต่มื้อลฝาเขนง ไพร่พลอิดโรยนัก ถอยกำลังลง เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีหพิศณวาธิราช ฯ ๙ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ห้องข้างขวามือ"

๑๐. เหนเหลือกำลังที่จตั้งมั่นรักษาเมืองไว้มิได้ ด้วยขัดสะเบียงอาหารนัก จึ่งบอกลงมากราบทูลพระกรุณา ณ ค่ายหลวงแต่ยังเสดจ์อยู่ ณ ปากน้ำพิงว่า ในเมืองสิ้นสะเบียง จขอพระราชทารล่าทัพออกจากเมือง ก็โปรดอนุญาต เจ้าพระยาจักกรี เจ้าพระยาสุรสีหพิศณวาธิราช จึ่งสั่งให้นายทัพนายกองซึ่งออกไปตั้งค่ายประชิรับพม่าอยู่นอกเมืองทั้งสองฟากนั้นเลิกถอยเข้าในเมืองสิ้น พม่าเข้าตั้งอยู่ในค่ายไทยประชิใกล้เมือง ให้ทำบันใดจพาดกำแพงเตรียมการจปีนปล้นเอาเมือง พลทหารซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทิญ ฯ ๑๐ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ห้องข้างขวามือ"

๑๑. รดมยิงปืนใหญ่น้อยออกไปดั่งห่าฝน พม่าจเข้าปีนปล้นเอาเมืองมิได้ ต่างยิงปืนโต้ตอบกันอยู่ทั้งสองฝ่าย ครั้นถึง ณ วันสุกร เดือนสี่ แรมสิบเบดค่ำ เจ้าพระยาทั้งสองจึ่งให้เจ้าหน้าที่รดมยิงปืนใหญ่น้อยหนาขึ้นกว่าทุกวัน เสียงปืนลั่นสนั่นไปมิได้ขาดตั้งแต่เช้าจนค่ำ แล้วให้เอาปี่พาทย์ขึ้นตีบนเชิงเทิญรอบเมือง ครั้นเวลาประมาณยามเสศ เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดทหารเปนสามกอง กองน่ากองหนึ่ง กองกลางให้คุมครอบครัวกองหนึ่ง กองหลังรั้งท้ายกองหนึ่ง แล้วยกทัพแลครอบครัวทั้งปวง ฯ ๑๑ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ห้องข้างขวามือ"

๑๒. เปิดประตูเมืองข้างด้านฟากตวันออก ให้พลทหารกองน่ารบฝ่าออกไปเข้าหักค่ายพม่าซึ่งตั้งล้อม พม่าในค่ายต่อรบยิงปืนใหญ่น้อยออกมา พลทหารไทยก็หนุนเนื่องกันเข้าไปแหกค่ายพม่าเข้าไปได้ ๆ รบกันถึงอาวุธสั้น ฟันแทงกันเปนตลุมบอน พม่าแตกเปิดทางให้ เจ้าพระยาทั้งสองก็รีบเดินทัพไปทางบ้านลมุง ดอนชมพู แลครอบครัวทั้งปวงนั้นก็แตกกระจัดพรัดพราย ตามกองทัพไปได้บ้าง พม่ากวาดไปได้บ้าง ที่หนีลงมาหาทัพหลวง ณ บางเข้าตอกได้บ้าง ฯ ๑๒ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ห้องข้างขวามือ"

๑๓. พม่าก็ติดตามกองทัพไป แลกองซึ่งรั้งหลังก็รอสกัดรปต้านทานที่กลางทางเปนสามารถ พม่าก็ถอยกลับไปเมือง เจ้าพระยาทั้งสองก็เร่งเดินทัพไปถึงเมืองเพรชบูรณ อยุดทัพอยู่ที่นั้น ฝ่ายกองทัพเจ้าพระจักกรี เจ้าพระยาสุรสีห์ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองเพชรบูรณ์ ได้สเบียงอาหารเลี้ยงไพร่พลบริบูรณแล้ว ก็บอกลงมากราบทูลว่า จขอยกติดตามตีทัพพม่าซึ่งเลิกถอยไป แล้วยกกองทัพกลับมาทางเมืองสรบุรี ขึ้นทางฝั่งพระพุทธบาท ยกติดตามทัพพม่าไปทางเมืองศุไขไทย ฯ ๑๓ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ห้องข้างขวามือ"

๑๔. แลกองทัพไทยทั้งปวงไล่รบทัพพม่าแตกไปทุกหัวเมือง ครั้น ณ วันเสาร เดือนเจด ขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีวอก อัฐศก จึ่งเสดจ์ยาตรานาวาทัพหลวงมาโดยทางชลมารคกลับยังกรุงธนบุรีมหานคร แล้วมีพระราชโองการให้มีท้องตราให้กองทัพทั้งปวงกลับยังพระนครธนบุรี

ในเดือนหก ปีรกา นพศพ ศักราช ๑๑๓๙ ปี จึ่งทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเนจ์เจ้าพระยาจักกรี ตั้งให้เปนสมเดจ์เจ้าพระยามหากระษัตริยศึก พิฤกมหิมา ทุกนครารอาเดช นเรศวรราชสุริยวงษ องคอัคบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก ณ กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุทธยา ฯ ๑๔ ฯ

๑๕. แล้วพระราชทารภานทองเครื่องยศเหมือนอย่างเจ้าต่างกรม ใหญ่กว่าท้าวพระยาข้าทูลอองธุลีพระบาททั้งปวง

ครั้นถึง ณ เดือนอ้าย ปีจอ สมฤทธิศก จึ่งมีพระราชตำรัสให้สมเดจ์เจ้าพระยามหากระษัตริยศึกเปนแม่ทัพ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ พลทหารสองหมื่น สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสรจ์ ให้ยกกองทัพไปตีกรึงศรีสัตตนาคนหุต ครั้นได้ฤกษ ยกขึ้นไปตีศรีสัตตนาคนหุตได้ จึ่งให้เชิญพระปฏิมากรแก้วมรกฎกับพระบางลงมาถวาย โปรดให้ช่างปลูกโรงอันวิจิตร ณ เบื้องหลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามภายในพระราชวังแล้วบริบูรณ จึ่งให้อัญเชิญพระแก้วมรกฎขึ้นประดิษฐานไว้ในโรงอันนั้น ฯ ๑๕ ฯ

๑๖. ครั้นลุศักราช ๑๑๔๒ ปีวอก โทศก ฝ่ายข้างกัมพุชประเทศนั้น แผ่นดินเปนจลาจล สมเดจ์พระเจ้ามหากระษัตริยศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์พิศณวาทิราชยกกองทัพรีบออกไปถึงกรุงกัมพุชประเทศเพื่อจปราบปรามแผ่นดินเมืองเขมรให้เรียบราบ ฝ่ายการแผ่นดินกรุงธนบุรีนั้นก็ผันแปรไปต่าง ๆ เพราะพระเจ้าแผ่นดินผเอิญบันดานเสียสติไปประพฤติวิปริตต่าง ๆ เปนเหตุให้ราษฎรทิ้งเยาเรือนลมภูมลำเนาหนีเข้าป่าไปเปนหลายตำบล ฯ ๑๖ ฯ

๑๗. แผ่นดินกรุงธนบุรีได้ความเดือดร้อนทั่วทั้งเมือง พระเจ้าแผ่นดินเสียสติอารมณไปนั้ นก็ชรอยจเปนวิบัติเหตุ เพราะที่มิได้ควรเปนเจ้าของผู้ได้ครอบครองประฏิบัติบูชาพระพุทธมหารัตนปฏิมากรพระองค์นี้ บารมีเจ้าตากสินทรงกำลังศิริของพระพุทธรัตนปฏิมากรมิได้ จึ่งเผอิญให้คลั่งไคล้เสียสติสัญญาผิดวิปลาศไปดั่งนี้ เมื่อแผ่นดินเปนทรยุค จนถึงขุนนางหัวเมืองยกไพร่พลเข้าล้อมกรุงธนบุรีไว้ แล้วจับพระเจ้าแผ่นดินเสียให้ออกนอกอำนาถในจุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลู ตรีศก ปลายปี จึ่งบอกหนังสือออกไปเชิญเสดจ์สมเดจ์พระเจ้ามหากระษัตริยศึก ฯ ๑๗ ฯ

๑๘. กลับเจ้าเมืองธนบุรี เชิญเสดจ์ให้ทรงชำระเสี้ยนศัตรูแผ่นดินราบคาบเปนปรกติแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ในราชสมบัติได้ ๑๕ ปี เมื่อถึงแก่พีราไล ชนมายุได้ ๔๘ ปี จึ่งมุขมนตรีปฤกษาพร้อมกันอัญเชิญสมเดจ์พระเจ้ามหากระษัตริย์ศึกขึ้นเสวยศิริราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพระราชพิธีปราบดาพิเศกเสรจ์แล้ว พระบาทสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริหว่า พระพุทธรัตนปฏิมากรเปนแก้วอย่างดีวิเสศ ไม่สมควรที่จประดิษฐานอยู่ที่เมืองธนบุรีซึ่งเปนเมืองน้อย ฯ ๑๘ ฯ

"เรื่องนี้อยู่ข้างบน"

๑๙. เพราะเมืองธนบุรีนี้แต่ก่อนนั้นขึ้นแก่กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหานคร จึ่งทรงพระราชดำริหว่า ฝั่งฟากตวันออกเมืองธนบุรีเปนที่ไชยภูมมงคลอันประเสริฐ สมควรจตั้งเปนพระนครอันใหญ่ได้ จึ่งให้สถาปนาเปนพระบรมมหาราชวังตรงฝั่งปลายแหลมในคุ้งน้ำนี้ แลก่อกำแพงปอมประตูหอรบขุดคูรอบพระนครสำเรจ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระ (ว่าง ปราศข้อความ) ได้ปราบดาภิเศกเสวยราชสมบัติในพระนครใหม่ พระชนมายุได้ ๔๖ พระพรรษา ลุศักราชได้ ๑๑๔๔ ปีขาน จัตวาศก แลโปรดให้สมเดจ์พระอนุชาธิราชอุปราชาภิเศกในพระบวรราชวัง ฯ ๑๙ ฯ

๒๐. ลบเสียแล้ว.—

"เรื่องนี้อยู่ข้างบน"

บรรณานุกรม

  • พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป. (2516). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์. (พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนายวิรุฬห์ บุณยรัตพันธุ์ ณ เมรุวัดระฆังโฆสิตาราม ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516).

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก