พุทธประวัติ เล่ม๒ ตอน มัชฌิมโพธิกาล
หน้านี้ขาดแหล่งที่มาของเนื้อหา ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นเอกสารต้นฉบับที่สแกนมาอัปโหลดไว้ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์แล้วจัดทำแบบพิสูจน์อักษร หรือถ้าไม่สามารถอัปโหลดต้นฉบับเช่นนั้นได้ อย่างน้อยก็ควรระบุแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหาได้ |
คำนำ
พุทธประวัติตอนมัชฌิมโพธิกาลนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงรจนาไว้. ต้นฉบับรวมอยู่กับ ต้นฉบับหนังสืออื่นหลายเรื่องที่พระตำหนักจันทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร อันเป็นที่เก็บรวบรวมหนังสือและต้นฉบับพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ. เดิม เข้าใจกันว่า พุทธประวัติตอนนี้ยังไม่ได้เริ่มรจนา เพียงแต่ปรารภ จะทรงรจนา ดังที่ทรงแสดงไว้ในคำนำในหนังสือพุทธประวัติเล่ม ๑. เจ้าหน้าที่ของวัดพึ่งมาพบเรื่องนี้เข้า ในเมื่อเลือกต้นฉบับพระนิพนธ์ เพื่อพิมพ์แจกในงานบำเพ็ญกุศลถวาย ในสุรทินตรงกับวันสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ทรงปรารภจะทรงรจนาพุทธ- ประวัติจนจบเรื่อง ตลอดถึงสังคีติกถา ปันเป็น ๔ วิภาค ดังแจ้งอยู่ใน พระนิพนธ์คำนำในพุทธประวัติเล่ม ๑. แต่เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ทรงรจนาแล้วเพียงเล่ม ๑ ตอนปฐมโพธิกาล ไม่ทันความต้องการใช้ในการเรียนพุทธประวัติ จึงทรงดัดแปลงแก้ไขหนังสือปฐมสมโพธิตอนนิพพาน ที่สมเด็จพระ- สังฆราช (ปุสฺสเทว) ทรงจรนาไว้เป็นพุทธประวัติเล่ม ๓ ตอนปัจฉิม โพธิกาล, ด้วยทรงมุ่งให้ใช้เป็นหนังสือเรียนไปพลาง กว่าฉบับใหม่ จะทรงรจนาเสร็จ, เพราะตอนมัชฌิมโพธิกาลเป็นเรื่องไม่มีอนุสนธิ คือจบในตอน ๆ เพียงเล่ม ๑ กับเล่ม ๓ ก็พอเข้าเรื่องกันได้ เช่นได้ เคยทรงใช้พุทธานุพุทธประวัติกับนิพพานสูตรควบกันเป็นหลักสูตรแห่ง การเรียนพุทธประวัติมาแล้ว. (ความข้อนี้มีแจ้งอยู่ในพระนิพนธ์คำนำ ในพุทธประวัติเล่ม ๓). พุทธประวัติที่ใช้เป็นหลักสูตรการเรียน จึง มีเพียงเล่ม ๑ และเล่ม ๓. พุทธประวัติตอนมัชฌิมโพธิกาลนี้ ทรงรจนาไว้ได้เพียง ๓ ปริเฉท คือ ปริเฉทที่ ๙ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ต่อจากปริเฉทที่ ๘ ในพุทธประวัติ เล่ม ๑ จึงนับเป็นพุทธประวัติเล่ม ๒. เพียงที่ทรงรจนาไว้นี้ ก็ให้สำเร็จประโยชน์ในการศึกษาพุทธ- ประวัติส่วนมัชฌิมโพธกาลสืบต่อจากปฐมโพธิกาล ถือเป็นแบบเรียน พุทธประวัติเล่มหนึ่ง. ผู้อ่านหรือผู้ศึกษาย่อมอ่านหรือศึกษาไว้จบ เฉพาะตอบ ๆ เพราะเป็นเรื่องจบในตอน ๆ ไม่มีอนุสนธิ และอาจ ถือเป็นแบบเพื่อรจนาต่อไปได้โดยสะดวก. น่าเสียดายที่ทรงรจนาไว้ ไม่ได้มาก เพราะเวลาแห่งพระชนมชีพของพระองค์ไม่อำนวย แต่ก็ได้ ทรงฝากได้ (ในคำนำพุทธประวัติเล่ม ๑) แก่ผู้สนใจในเรื่องนี้ ให้ เสาะหาสอบสวนให้คงแก่เหตุผลรจนาขึ้นไว้ เพื่อความรู้ในเรื่องนี้ เจริญขึ้นโดยลำดับ. มหามกุฏราชวิทยาลัย ได้พิมพ์พุทธประวัติมัชฌิมโพธิกาลนี้ แจกถวายกุศลในสุรทินตรงกับวันสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระมหา- สมณเจ้า ฯ ในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งเป็นปีครบที่ ๓๐ เป็น ปฐม, และได้จัดพิมพ์เป็นพุทธประวัติเล่ม ๒ เพื่อให้เรื่องพุทธประวัติ มีบริบูรณ์ ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์ ผู้ทรงรจนาขึ้นไว้. ในการพิมพ์ครั้งนี้ คณะกรรมการแผนกตำราได้ตรวจชำระอักษร จัดวรรคตอน และบอกที่มา กับชี้แจงความบางประการไว้ที่เชิงหน้า นั้น ๆ. ขออุทิศกุศลจริยาทุกประการ บูชาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้น ผู้ประทานแสงสว่างคือวิทยาแก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ทางพระพุทธศาสนาทั่วไป. แผนกตำรา มหามกุฏราวิทยาลัย
พุทธประวัติ มัชฌิมโพธิกาล ปริเฉทที่ ๙ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในมคธชนบท พรรณนาถิ่น
มคธชนบทนั้น อยู่ในเขตมัธยมชนบท ตั้งอยู่ในภาคแห่งชมพู- ทวีปตอนใต้ รวมอังคชนบทอันอยู่จดด้านเหนือ เข้าเป็นมหาอาณาจักร เดียวกัน มีกรุงราชคฤห์เป็นพระนครหลวง มีมหากษัตริย์ทรงอำนาจ สิทธิ์ขาดเป็นผู้ปกครอง มีราชอิสริยยศเป็นมหาราชหรือราชาธิราช ในสมัยที่พระศาสดาเสด็จมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก พระเจ้าพิมพิสารทรงปกครอง, เช่นเดียวกับประเทศเอาสเตรียกับ ประเทศหุงการี ในมัธยมยุโรป รวมเป็นมหาอาณาจักรเดียวกัน อยู่ใต้ ปกครองแห่งมหาราชเดียวกัน เมื่อก่อนเกิดมหาสงครามใน พ.ศ. ๒๔๕๗. มคธชนบทนั้น โดยอนุมานตามระยะทางเสด็จพุทธจาริก จด กาสีชนบท อันสมทบกับโกศลชนบทในด้านเหนือ, จดวัชชีชนบทใน ด้านตะวันออก, จดมหาสมุทรหรือจดกลิงคชนบทที่ปรากฏเมื่อภายหลัง ในด้านใต้, จดชนบทอะไร ในด้านตะวันตกยังไม่พบทางอนุมาน, มีแม่น้ำคงคาไหลผ่านอาณาเขต หรือเป็นพรมแดนตะวันออก. กรุง ราชคฤห์ ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำตโปทา ห่างจากแม่น้ำคงคา ตามอรรถกถา ธรรมบท ๕ โยชน์ มีแม่น้ำมหีไหลผ่านอาณาเขตอังคชนบททางเหนือ เมืองใดเป็นนครหลวง เมืองนั้นย่อมมีชื่อเสียง เพราะเป็นเมืองรุ่งเรือง บริบูรณ์กว่า มีอำนาจบังคับบัญชาเมืองอื่น และเป็นที่มาแห่งคนต่างเมือง ต่างด้าว, ในปกรณ์จึงกล่าวการเสด็จมคธชนบทว่า เสด็จกรุงราชคฤห์. ต่อกล่าวถึงเรื่องอันเกิดในระหว่างเสด็จเดินทาง จึงออกชื่อมคธชนบท ตามความสนใจ. โดยนัยนี้ จักนับชนบทที่เสด็จพระพุทธดำเนินกำหนด ด้วยเสร็จประทับที่นครหลวงเป็นที่ตั้ง เริ่มแต่มคธชนบทเป็นต้นไป.
ประทานอุปสัมปทาแก่พระมหากัสสปะ
คราวหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจาริกโปรดประชาชนในมคธชนบท ประทับอยู่ที่ใต้ร่มไทร เรียกว่า พหุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราช- คฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน. ในเวลานั้น ปิปผลิมาณพกัสสปโคตร มี ความเบื่อหน่ายในการครองเรือน ละฆราวาสเสียถือเพศเป็นบรรพชิต ออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก จาริกมาถึงที่นั้น เห็นพระศาสดาเข้า มีความเลื่อมใสเข้าไปเฝ้า รับเอาพระองค์เป็นพระศาสดาของตน, ทรง รับเป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ด้วยประทานพระโอวาท ๓ ข้อว่า กัสสปะ๑ ท่านพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรง ไว้ในภิกษุ ทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นปานกลาง เป็น อย่างแรงกล้า ดังนี้ข้อ ๑, เราจะฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง
. ๑๖๒๖๐. สมนฺต. ๑๒๘๒. ประกอบด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น พิจารณาเนื้อความ ดังนี้ข้อ ๑, เราจกไม่ละสติที่ไปในกาย คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ดังนี้ข้อ ๑, ครั้นทรงสั่งสอนอย่างนี้แล้ว เสด็จหลีกไป. ในพระโอวาทนี้ พระศาสดาตรัสเรียกท่านปิปผลิว่ากัสสปะตาม โคตรของท่าน, เมื่อเข้ามาอยู่ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ภิกษุสหธรรมิก เรียกท่านว่า พระมหากัสสปะ เพื่อหมายรู้ต่างจากพระกัสสปะรูปอื่น เช่นพระกุมารกัสสปะ ดังจะหมายว่า กัสสปะใหญ่ กัสสปะน้อย. การ บวชอุทิศพระอรหันต์ในโลกของท่านนั้น เป็นธรรมเนียมกล่าวในบาลี ไม่เฉพาะแต่ของพระมหากัสสปะ ของท่านผู้อื่นเช่นของท่านปุกกุสาต ก็มี, ดูเป็นทีว่า ท่านเหล่านั้นยังไม่ปลงในว่าจักรับใครเป็นศาสดา พระศาสดาของเรา แรกทรงผนวชดูท่วงทีก็อย่างนี้ แต่เพราะจะได้เป็น พระศาสดาประกาศพระศาสนาเองกระมัง ท่านจึงไม่กล่าวว่า ทรง อุทิศพระอรหันต์ในโลก. การบวชอย่างนี้คล้ายธรรมเนียมบวชเป็น สันยาสีของพวกพราหมณ์. ผู้ปรารถนาจะบวชเป็นสันยาสี ต้องเป็นผู้ ครองเรือนที่เรียกว่าคฤหัสถ์มาก่อน จนถึงบุตรสืบสกุลตามนิยมของ พวกพราหมณ์ว่า จักไม่ตกขุมนรกชื่อปุตตะแล้วเป็นบวชได้ ไม่จำเป็น จะต้องออกไปอยู่จำศีลในป่า เป็นวนปรัตถะอีกชั้นหนึ่งก่อน หรือบวช จากชั้นนั้นก็ได้. การบวชก็คือละการครองเรือน ปลงผมจุกที่พวก พราหมณ์ไว้นั้นเสีย โกนโล้นทั้งศีรษะ นุ่งห่มผ้าสีเหลืองหม่น ได้แก่ ผ้ากาสายะของเรา นุ่งผืนห่มผืน เที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต เข้าอยู่ใน
ป่า มีมรรยาทอันจะพึงรักษา มีภาวนาอันจะพึงบำเพ็ญตามวิธี ไม่ ปรากฏว่าตั้งอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ. การบวชอย่างนี้ทำต่อหน้าปุโรหิต คือผู้อำนวยการพิธีและแขกผู้มาประชุมเป็นการเด็ดเดี่ยว. การบรรพชา ของพระศาสดา โดยโวหารของพระมัชฌิมภาณกาณกาจารย์ที่ว่า ปลง พระเกศและพระมัสสุ ทรงผ้ากาสายะถือเพศผนวชต่อหน้าพระชนก พระชนนี ผู้กำลังทรงกันแสงอยู่ แม้นด้วยการบวชเป็นสันยาสีของพวก พราหมณ์. อาการทรงรับพระมหากัสสปะเข้าในพระธรรมวินัยและโปรดให้ รับพระพุทโธวาท ๓ ข้อนี้ พระอรรถกถาจารย์แยกเป็นวิธีอุปสัมปทา อย่างหนึ่ง ดุจประทานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ด้วยโปรดให้รับ ครุธรรม ๘ ประการ, แต่วิธีหลังแลเห็นชัด เพราะเป็นครั้งแรกที่ ประทานอุปสัมปทาแก่สตรีให้เป็นภิกษุณี และไม่ได้ประทานเอหิ- ภิกขุนีอุปสัมปทาเลย. ส่วนวิธีต้น เห็นไม่พ้นไปจากประทานเอหิภิกขุ- อุปสัมปทา. พระมหากัสสปะได้ฟังพุทธโอวาททรงสั่งสอนแล้วบำเพ็ญเพียรไม่ ช้านัก ในวันที่แปดแต่อุปสมบท ได้สำเร็จพระอรหัต. ท่านทรง คุณธรรมอย่างไร ได้เอาภารธุระพระศาสนาอย่างไร จักกล่าวใน ประวัติของท่านในอนุพุทธประวัติ. พระมหากิจจายนะ ก็ว่าได้รับอุปสมบทเป็นเอหิภิกขุ จากพระ- ศาสดาที่กรุงราชคฤห์ แต่เป็นเรื่องเล่าในอรรถกถา จักเอาไว้กล่าวใน ประวัติของท่านในอนุพุทธประวัติ. พุทธกิจที่ได้บำเพ็ญในมคธชนบท ในคราวแรก ๆ เนื่องด้วย การประทานอุปสมบทเป็นพื้น จนมีพวกคนผู้ไม่เลื่อมใสกล่าวติเตียนว่า พระสมณโคดมชักนำเพื่อความเป็นผู้ไม่มีบุตร เพื่อความเป็นหม้าย เพื่อความขาดแห่งสกุล. พวกพราหมณ์ย่อมถือตามโอวาทของพระ พรหมเป็นเจ้าว่า ให้แผ่พืชพันธุ์ให้แพร่หลาย ย่อมนิยมในความเป็น ผู้มีบุตรสืบสกุล มีได้มากเพียงใดยิ่งดีเพียงนั้น แลถือกันว่า คนผู้ไม่มี บุตรผู้จะทำทักษิณาเมื่อตายแล้วย่อมตากขุมนรกชื่อปุตตะ ต่อมีบุตรจึง ปิดขุมนรกนั้นได้. ชาวมคธครั้งนั้น ถือเหมือนอย่างพวกพราหมณ์ กระมัง จึงได้ติเตียนในกาชักนำคนให้บวช, แต่การครหานั้นมีอยู่ไม่ช้า พอคนทั้งหลายทราบว่า เจ้าตัวสมัครเอง เหมือนผู้บวชเป็นสันยาสี ไม่ใช่ถูกล่อลวงหรือถูกบังคับขืนใจ ก็สงบไปเอง.
มหาสันนิบาตแห่งพระสาวก
ครั้งพระศาสดา เสด็จประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์พระนครหลวง แห่งมคธชนบท ได้มีการประชุมใหญ่แห่งพระสาวกคราวหนึ่ง เรียกว่า จาตุรังคสันนิบาต แปลว่าการประชุมมีองค์ ๔ คือพระสาวกผู้เข้าประชุม นั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว นับเป็นองค์ ๑, พระ สาวกเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ สาวกครั้งแรกผู้ได้รับอุปสมบทที่พระ ศาสดาประทานเอง นับเป็นองค์ ๑, พระสาวกเหล่านั้นไม่ได้นัดหมาย ต่างมาพร้อมกันเข้าเอง นับเป็นองค์ ๑, พระศาสดาประทานพระบรม- พุทโธวาท ซึ่งเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ย่อหัวใจพระพุทธศาสนาแสดง นับเป็นองค์ ๑, มหาสันนิบาตนี้ได้มีแล้ว ณ เวฬุวนาราม ในวันมาฆ- ปุรณมีดิถีเพ็ญแห่งมาฆมาสคือเดือนสาม ที่เป็นวันทำพิธีศิวราตรีของ พวกพราหมณ์ เวลาบ่าย. การประชุมนี้มีชื่อเล่าลือมาในพระศาสนา จนถึงยกขึ้นกล่าวเป็นพระเกียรติของพระศาสดาในมหาปทานสูตร๑ และ เป็นอภิลักขิตสมัยที่ทำบูชาของวัดทั้งหลาย เรียกว่ามาฆบูชา. พิจารณาองค์สี่และความยกย่องประกอบกัน น่าจะสันนิษฐาน เห็นว่า พระสาวกผู้มาประชุมนั้น คือพระสาวกผู้อันพระศาสดาทรง ส่งไปประกาศพระศาสนาในชนบททั้งหลาย ต่างมาเพื่อเฝ้าเยือนพระ ศาสดา แต่เผอิญมามากด้วยกัน จนถึงให้เกิดความรู้สึกประหลาด และชื่นบาน ของพระศาสดาและพระสาวกผู้ได้พบกันและกัน, เมื่อ สาวกมาอยู่พร้อมกันมากเช่นนี้เป็นโอกาสที่สมควรดี, พระศาสดาจึงได้ ตรัสให้มีประชุมและทรงแสดงหัวใจพระศาสนา เพื่อพระสาวกจะได้ ถือเอาเป็นหลักสำหรับสอนพระศาสนา. พิจารณาน้ำพระหฤทัยของ พระศาสดา เมื่อได้เห็นสาวกผู้ร่วมอัธยาศัยในการแผ่ประโยชน์ให้แก่ โลก มาออพร้อมกันอยู่มาก จะทรงพระโสมนัสสักปานไร, แม้พวก พระสาวกได้เฝ้าพระศาสดาพร้อมกันมาก และได้พบกันเองผู้มีธุระร่วม กันเป็นหมู่ใหญ่ คงมีใจเบิกบานเหมือนกัน, การประชุมครั้งนั้นจึงติด อยู่ในใจของพวกพระสาวกไม่รู้ลืม จึงยกย่องเป็นสำคัญสืบกันมา.
๑๐๑.
ฝ่ายพระคันถรจนาจารย์กล่าวจำนวนแห่งพระสาวกผู้มาประชุมว่า ๑,๒๕๐ องค์ และชี้เอาพระชฎิลเก่าพวกพระอุรุเวลกัสสป ๑,๐๐๐ รูป และพระปริพาชกเก่าพวกพระอัครสาวก ๒๕๐ รูป และกล่าวถึงกาละ ว่าได้มีในวันพระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัต. ถ้าเป็นพระสองพวก นั้น ไม่สมกับองค์ว่า ต่างมา หาได้รับนัดหมายกันไม่. พระสองพวก นั้นอยู่ในสำนักพระศาสดา นับองค์นั้นทำอะไร, ถ้าไม่มีองค์นั้น การ ประชุมก็ไม่อัศจรรย์อะไร. ข้อว่าได้มีในวันพระสารีบุตรได้สำเร็จพระ อรหัตเล่าก็ไม่สม, เมื่อคราวนั้น เสด็จอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ, คราว ประชุมนี้ เสด็จอยู่ ณ เวฬุวัน. อนึ่ง ถ้าได้มีในวันนั้น ต้องไม่ใช่วัน มาฆปรุณมี เพราะวันนั้นยังเป็นเวลาเสด็จอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา กำลังทรง ทรมานพระอุรุเวลากัสสปอยู่. มีเรื่องเล่าในคัมภีร์มหาวรรคพระวินัยว่า๑ ถึงฤดูหนาว ๘ วันในรวางเดือนมาฆะกับเดือนผัคคุณะ คือเดือนสามกับ เดือนสี่ พวกชฎิลลงอาบน้ำในแม่น้ำเนรัญชราพากันหนาวสั่น, พระ ผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตเตาเพลิงไว้ให้ผิง, พวกชฎิลได้เห็นพระ
๔๕๘. ฤดูหนาว ๘ วันในรวาง ในบาลีใช้ศัพท์ว่า อนฺตรฏฺ€กาสุ (มโน. ปู. ๒๑๔๘) ว่า อนฺตรฏฺ€โกติ มาฆผคฺคุณานํ อนฺตเร
ณ กโล. มาฆสฺส หิ อวสาเน จตฺตาโร ทิวสา ผคฺคุณสฺส อาทิมฺหิ ตรฏฺ€โกติ วุจฺจติ. ถือเอาความว่า ๘ วันในรวางเดือนมาฆะและเดือน
วันในที่สุดเดือนมาฆะ และอีก ๔ วันในต้นเดือนผัคคุณะ เรียกว่า
นครั้งก่อน นับวันพระจันทร์เพ็ญเป็นวันเต็มเดือน นับวันแรมค่ำหนึ่ง
คือเริ่มเดือนใหม่ วันเพ็ญมาฆะจึงอยู่ใน ๘ วันนั้น.
พุทธานุภาพ, กว่าจะโปรดพวกชฎิลได้หมด จนถึงพระสารีบุตรได้สำเร็จ พระอรหัต วันยังอีกยาว, บางทีวันที่พวกชฎิลลงอาบน้ำนั้นเองเป็น วันที่ทำพิธีศิวราตรีของพวกพราหมณ์. ตามเหตุอันกล่าวมา การ ประชุมสาวกครั้งนั้น น่าจะเป็นคราวอื่นจากวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระ อรหัต ทั้งในคัมภีร์มหาวรรคพระวินัยก็เล่าแต่เรื่องอัครสาวกบรรพชา หาได้เล่าถึงสาวกสันนิบาตนี้ไม่. โอวาทปาฏิโมกข์นั้น เป็นคำประพันธ์ ๓ คาถากึ่ง คาถาที่ ๑ แสดงว่า ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด, ท่านผู้รู้กล่าว นิพพานว่าเป็นยอด, บรรพชิตผู้ฆ่าผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะ. ข้อที่ทรงยกขันติขึ้นตรัสนั้น แสดงว่าศาสนธรรมคำสอนของ พระองค์ เป็นไปเพื่อให้อดทนต่อเย็นร้อนหิวระหาย ถ้อยคำให้ร้าย ใส่ความด่าว่า และทุกขเวทนาอันแรงกล้าเกิดแต่อาพาธ, ข้อที่ทรง สรรเสริญนิพพานว่าเป็นยอดนั้น แสดงว่าผลแห่งการปฏิบัติพุทธศาสนา เป็นอย่างสูงนั้น คือทำใจไม่ให้ตัณหาคือความอยากรัดรึงไว้ได้, ข้อที่ ตรัสบรรพชิตผู้ฆ่าผู้เบียดเบียนสัตว์ว่าไม่เป็นสมณะนั้น แสดงว่า ศาสนธรรมของพระองค์เป็นไปเพื่อมีเมตตากรุณาในสัตว์ทั้งปวง. คาถา ที่ ๒ แสดงว่า ไม่ทำบาปทั้งปวง ยังกุศลให้บริบูรณ์ ยังจิตของตน ให้ผ่องใส เป็นศาสนธรรมคำสอนของท่านผู้รู้. ข้อที่ห้ามการทำบาป และให้บำเพ็ญกุศลนั้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาไม่เป็นแต่เพียงสอนให้ เว้นจากความชั่วเท่านั้น ยังสอนให้ทำดีด้วย ไม่ใช่เพียงเว้นจากฆ่ากัน
เบียดเบียนกันแล้วเป็นได้บุญ ยังการช่วยอุปถัมภ์บำรุงชีวิตและความสุข
ของกันและกันด้วย, ข้อที่ทรงยกการทำจิตให้ผ่องใสขึ้นตรัสนั้น
แสดงว่าความบริสุทธิ์เป็นคุณที่นิยมในพระพุทธศาสนา. คาถาที่ ๓
กับอีกกึ่งว่า ความไม่พูดข้อนขอดกัน ความไม่ประหัตประหารกัน
ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ความรู้จักประมาณในอาหาร ความเสพ
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ความประกอบในทางจิตอย่างสูง เป็นคำสอนของ
ท่านผู้รู้. ข้อที่ทรงยกหกข้อนี้ขึ้นตรัสนั้น แสดงว่าการพูดข้อนขอด
กันก็ดี พูดเสียดแทงกันก็ดี ทะเลาะกันก็ดี การชกกันตีกันก็ดี ไม่เป็น
การดีสำหรับหมู่สมณะ, อันสมณมณฑล สมควรมีขนบธรรมเนียม
เป็นเครื่องนำความประพฤติอันดีสงบเรียบร้อย ไม่เป็นผู้เห็นแก่กิน
ยินดีในที่เงียบ บำเพ็ญภาวนารักษาจิตให้เป็นสมาธิ โอวาทปาฏิโมกข์
มีความสังเขปดังกล่าวมาฉะนี้.
สาวกผู้เที่ยวสอนพระพุทธศาสนา คงจะยกเอาธรรมในโอวาท-
ปาฏิโมกข์นี้ บทหนึ่งหรือหลายบทขึ้นแสดงโดยอนุรูปแก่บริษัท. ได้ยิน
ว่า พระศาสนาเองก็ทรงยกขึ้นตรัสประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ใน
วันอุโบสถทุกกึ่งเดือน มางดเสียเมื่อได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์เอา
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ มาสวดในที่ประชุมแทน เรียกว่าสวด
ปาฏิโมกข์แล้ว.
ทรงอนุญาตเสนาสนะ
ในคราวเสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งแรก พระเจ้าพิมพิสารทรงถวาย เวฬุวนาราม๑เป็นที่ประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์, เวฬุวนารามนั้น เข้าใจ ว่าเป็นสวนหลวงคงมีเรือนโรง เช่นตำหนักเป็นที่ประทับ ศาลาเป็นที่พัก ้ข้าราชการ เรือนสำหรับคนอยู่เฝ้า. การที่ทรงถวายนั้น ดูเหมือนกับ ทรงยกไว้ให้เป็นที่พักของพระสงฆ์. ในเวลาที่พระสงฆ์จาริกไปอื่นการ ูดูแลรักษาเป็นธุระของเจ้าหน้าที่ไม่ใช่เป็นสังฆารามาอันพระสงฆ์จะต้อง อยู่เฝ้าประจำเหมือนในทุกวันนี้, สิทธิในฐานที่น่าจะตกอยู่แก่เจ้าของ, ในที่อื่นกล่าวความชัดว่า ชาวบ้านไล่ภิกษุเจ้าอาวาสผู้ก้าวร้าวเสียก็มี. พระศาสดาและพระสาวกเข้าไปอยู่ ดูนาจะอยู่ในเรือนโรงเหล่านั้น, แต่ในเสนาสนขันธกะ๒กล่าวว่า ครั้งพระศาสดายังไม่ได้ทรงอนุญาต เสนาสนะ, ภิกษุทั้งหลายย่อมอยู่ ณ ที่นั้น ๆ ในป่าบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่แจ้งบ้าง ลอมฟางบ้าง. วันหนึ่งราชคหกเศรษฐีไปอุทยานแต่เช้า ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังออกมาจากสถานนั้น ๆ มีอาการก้าวหน้า ถอยหลังแลเหลียว คู้แขนเหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอด ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ,เศรษฐีได้เห็นแล้วเสื่อมใส ถามภิกษุเหล่านั้น
๗๑. ในบาลีนี้ แสดงวิธีถวายว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับพระภิงคาร
(ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก) มอบถวายแด่พระผู้มีพระภาค (ด้วยพระ "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระเจ้าถวายอุทายานเวฬุวันนั้นแด่พระภิกษุ
เจ้าเป็นประมุข. ๒. วิ. จุลฺล. ๗๘๕. ่ว่า ถ้าเขาทำวิหารคือกุฎีขึ้น ภิกษุเหล่านั้นจะพึงอยู่ในวิหารของเขา หรือ, ภิกษุเหล่านั้นตอบว่าพระศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตวิหาร, เขา ขอให้กราบทูลถามแล้วบอกแก่เขา, ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วไปเฝ้า พระศาสดา กราบทูลเรียนปฏิบัติ. เพราะเรื่องนี้เป็นเหตุ พระศาสดา ตรัสธรรมีกถาแล้วทรงอนุญาตเสนาสนะ คือที่นอนที่นั่ง ๕ ชนิด โดย ชื่อว่าวิหาร ๑ อัฑฒโยค ๑ ปราสาท ๑ หัมมิยะ ๑ คุหา ๑. วิหาร นั้นคงเป็นกุฎีมีหลังคา มีปีกสองข้างอย่างปกติ. อัฑฒโยคนั้น แปล โดยพยัญชนะว่า ประกอบกึ่งหนึ่ง ได้แก่โรงหรือร้านที่มุงแต่ซีกเดียว เพื่อเปิดอีกด้านหนึ่งให้โปร่าง เช่นโรงโชนของเก่า หรือร้านขายของ เล็กน้อย, ในภายหลังมีผู้คิดทำเป็นเรือนตึกก็มี. ปราสาทนั้น เรา เข้าใจกันมาว่าเรือนยอด แต่ยังไม่พบแก้ในภาษามคธเลย, เรือนยอด ก็มีเหมือนกัน แต่เรียกว่ากูฏาคาร, คำกล่าวถึงปราสาท มีแต่กล่าว ถึงชั้นว่าปราสาท ๗ ชั้น ไม่ได้กล่าวถึงหลังคา ชื่อนี้จึงแปลกันมาว่า เรือนชั้น พิจารณาตามพยัญชนะก็ไม่ได้ความ แปลว่าเรือนนำมาซึ่ง ความสดใสแห่งจิต คือน่ารื่นรมย์หรือน่าสนุก เพ่งความงามแห่ง เรือนนั้น. หัมมิยะ เป็นชนิดที่มัว ได้พบแก้แห่งหนึ่งว่า หลังคาที่มี ลานพระจันทร์ส่องถึง ได้แก่หลังคาตัด. คุหานั้นได้แก่ถ้ำแห่งภูเขา. ภิกษุเหล่านั้นแจ้งข่าวแก่ราชคหกเศรษฐีให้ทราบ. เศรษฐีไว้ ทราบว่าทรงอนุญาตเสนาสนะแล้วให้ปลูกวิหารขึ้น ๖๐ หลังในวันเดียว กุฎีที่ปลูกแล้วเสร็จในวันเดียว ๖๐ หลังนั้น ถ้าทำได้จริงก็คงเป็นเพียง กระท่อมน้อย ๆ. ปลูกที่ไหนไม่ได้กล่าวไว้ น่าจะเห็นว่าปลูกขึ้นในที่ ของตนเอง สำหรับให้พระเข้าอยู่อาศัย ครั้นทำวิหารเสร็จแล้ว เศรษฐีไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลอาราธนา เพื่อทรงรับภัตตาหาร ในวันพรุ่งพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ในวันรุ่งขึ้นตระเตรียมเสร็จแล้วให้ไป กราบทูลภัตตกาลตามธรรมเนียม. พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปสู่เรือนราชคหกเศรษฐี เขาอังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ด้วยของเคียวของกินอันประณีตอิ่มหนำแล้วกราบทูลถาม พระศาสดาว่า จะพึงปฏิบัติในวิหารนั้นอย่างไร. ทรงแนะให้ตั้งไว้ คือ อุทิศไว้เพื่อจาตุททิสงฆ์ คือพวกภิกษุอันจะพึงมาจากสี่ทิศทั้งที่มาแล้ว และยังมิมา. เศรษฐีอุทิศวิหาร ๖๐ หลังนั้นไว้ เพื่อจาตุททิสสงฆ์. พระศาสดาทรงอนุโมทนวิหารทานนั้น โดยใจความว่าวิหารนั้น ย่อม กำจัดเย็นร้อน กันสัตว์ร้าย สัตว์เสือกคลายและยุง คุ้มฝนลมแดด, การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อเป็นที่เร้น เพื่อความสำราญ เพื่อบำเพ็ญ สมถวิปัสสนา พระพุทธะทั้งหลายสรรเสริญว่าเลิศ, เหตุนั้นบัณฑิต แลเห็นเป็นประโยชน์ตน พึงให้ทำวิหารอันน่าสำราญแล้วเชิญท่าน ผู้พหุสูตให้อยู่ และพึงให้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม เสนาสนะคือที่นอนที่นั่ง แก่ท่าน ด้วยใจเลื่อมใสในท่านว่าเป็นผู้ตรง, ท่านพหุสูตเหล่านั้นย่อม แสดงธรรมอันเป็นเครื่องบำบัดทุกข์แก่เขา ที่เขารู้ธรรมแล้ว จักเป็น ผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้. พระศาสดาทรงอนุโมทนาวิหาร- ทานของราชคหกเศรษฐีแล้วเสด็จกลับ.
ทรงแสดงวิธีทำปุพพเปตพลี
พวกพราหมณ์เขามีธรรมเนียมเซ่น และทำทักษิณาอุทิศบุรพบิดร ของเขา เรียกว่าศราทธะ เป็นการจรเนื่องจากการเผาศพบ้าง เป็น การประจำปีที่บรรจบรอบวันตายของบุรพบิดร หรือต้นเดือนต้นปีบ้าง. บุรพบิดรเพียงสามชั้น คือ บิดา ๑ ปู่ ๑ ทวด ๑ เป็นผู้อันจะพึงเซ่น ด้วยก้อนข้าง เรียก "สปิณฑ" แปลว่า ผู้ร่วมก้อนข้าว บุรพบิดร พ้นจากทวดขึ้นไปก็ดี ญาติผู้ไม่ได้สืบวายตรงก็ดี เป็นผู้จะพึงได้รับ น้ำกรวด เรียก "สาโนทก" แปลว่า ผู้ร่วมน้ำ. บุรพบิดรสามชั้นนั้น กรวดน้ำให้ด้วยก็ได้. การกรวดน้ำของเขา ลงไปในแม่น้ำ เอามือ กอบน้ำขึ้นปล่อยให้ค่อย ๆ รั่วลง นึกอุทิศถึงผู้ตายไปพลางว่า ขอให้ น้ำนี้ระงับความระหายของท่านผู้นั้น ๆ. ธรรมเนียมนี้เนื่องมาถึงพวก ไทยเรา. การทำข้าวบิณฑ์ คือเอาข้าวกรอกในกรวยใบตองคว่ำลงบน ภาชนะมีพานเป็นต้น มีกับข้าวของกินเรียงรายบ้างเล็กน้อย ประดับ ด้วยดอกไม้สด หรือด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น มีธูปเทียนติด ตั้งเป็น เครื่องสักการะ ในวันเทศกาล คือ ในวันสารท ในวันตรุษ ในวัน สงกรานต์ นี้ตรงกับข้าวบิณฑ์ของพราหมณ์. เดิมชะรอยจะทำเซ่น บุรพบิดา แต่ภายหลังเราเข้าใจว่า ทำบูชาพระพุทธรูป. การกรวดน้ำ เรายังทำอยู่จนบัดนี้ ในเวลาพระสงฆ์อนุโมทนา แต่ใช่ภาชนะ เช่น เต้า ขวด หรือจอก มีภาชนะอกใบหนึ่งเช่นขันหรือถาด รับน้ำกรวด แล้วเอาไปเทที่ดิน หรือกรวดลงดินทีเดียว, ขณะกรวดเปลี่ยนความนึก เป็นให้ส่วนบุญ ตามวิธีข้างพระพุทธศาสนา แม้จืดจางลงก็ยังไม่เลิก ทีเดียว. ข้าวบิณฑ์ของพราหมณ์นั้น เขาทำพิธีเซ่นแล้วโยนให้ทาน สัตว์ กาบ้าง ปศุบ้าง. กานั้นเขาถือว่าเป็นนกผี ได้อาหารกินแล้วจะ ได้ไม่รังควานบุรพบิดรของเขา. ปศุนั้น เช่นโคกระบือ พวกพราหมณ์ เขาใช้แต่โค, โคจักกันข้าวบิณฑ์นั้นหรือไม่ น่าสงสัยอยู่. แต่ได้ยิน ว่า โคในเมืองเราที่เจ้าของหัดมาแต่เล็ก กินข้าวและขนมได้, โค ของเขาจักเป็นเช่นนั้นกระมัง. การทำทิกษิณาที่เรียกว่าศราทธะของเขา คือเชิญพวกพราหมณ์มาเลี้ยง เสร็จแล้วแจกไทยธรรม ผ้าเป็นของที่ เว้นไม่ได้พวกพราหมณ์เอาธุระนักเพื่อไม่ให้บุรพบิดรของเขาหิวระหาย และเปลือยกาย, การให้ผ้าในทักษิณานุประทานของเราก็มีเหมือนกัน แต่เราเข้าใจว่า เนื่องมาจากภิกษุถือบังสุกุล ไม่รับผ้าจากมือของผู้ให้ จึงวางให้เพื่อหยิบเอาเอง โดยสังเขปว่าผ้าบังสุกุล. การเซ่นและทำ ศราทธะอุทิศบุรพบิดร พวกวรรณะอื่นมีกษัตริย์เป็นต้นก็เหมือนกัน ในการทำศราทธะ คงเอาพวกพราหมณ์เป็นปฏิคาหก ไม่กล่าวถึงการ เลี้ยง ชะรอยพวกพราหมณ์ไม่ฉันของที่วรรณะอื่นทำ. พระเจ้าพิมพิสารทรงทำปุพพเปตพลี ภายหลังแต่ทรงนับถือ พระพุทธศาสนาแล้ว ชะรอยจะอนุโลมตามธรรมเนียมของพราหมณ์ ยักเป็นเลี้ยงและถวายไทยธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ แทนทำแก่พราหมณ์ บางทีจะได้กราบทูลเรียนพระปฏิบัติแด่พระศาสดาแล้วก็ได้. ในวันทรงทำปุพพเปตพลี พระเจ้าพิมพิสารเชิญเสด็จพระศาสดา
พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ไปทรงอังคาสที่พระราชนิเวศน์ พระสงฆ์ฉัน เสร็จแล้ว ทรงบริจาคไทยธรรมต่าง ๆ รวมทั้งผ้าด้วยแก่พระภิกษุสงฆ์ แล้วทรงอุทิศบุรพบิดร. พระศาสดาทรงอนุโมทนาด้วยคาถามีคำว่า "อทาสิ เม อกาสิ เม๑" เป็นต้น แปลความว่า "ญาติก็ดี มิตรก็ดี ระลึกถึงอุปการะอันท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า ท่านได้ให้ แล้วแก่เรา ท่านได้ทำแล้วแก่เรา ท่านเป็นญาติ เป็นมิตร เป็นสขา ของเรา พึงให้ทักษิณา เพื่อเปตชน, ไม่พึงทำการร้องไห้เศร้าโศก รำพันถึง, เพราะการอย่างนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เปตชน, ยาติ ทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้นเอง. ส่วนทักษิณานี้ที่ท่านทั้งหลายบริจาค ทำให้ตั้งไว้ดีในสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เปตชนนั้น โดยฐานะ ิสิ้นกาลนาน. ท่านทั้งหลายได้แสดงญาติธรรมนี้ด้วย ได้ทำบูชาเปตชน ให้ยิ่งด้วย ได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย เป็นอันได้บุญ ไม่น้อยเลย." พึงเห็นความแห่งอนุโมทนาคาถานี้ว่า ทรงอนุมัติการทำทักษิณา ที่เรียกว่า ศราทธะอุทิศบุรพบิดรของพวกพราหมณ์ ไม่ทรงอำนวย ตามการเซ่น แต่ขยายให้กว้างจากบุรพบิดรสามชั้น โดยที่สุดเป็นเพียง มิตรเป็นสขา ทำอุทิศให้ก็ควร. ทักษิณาอุทิศคนตายทั่วไปอย่างนี้ เรียก ทักษิณานุประทาน แปลว่าการตามเพิ่มให้ทักษิณาบ้าง เรียกว่า มตกทาน แปลว่าการให้อุทิศผู้ตายบ้าง. ทักษิณาอุทิศเฉพาะบุรพบิดร
๕๙. เรียกว่าปุพพเปตพลี ดังมีแจ้งในอาทิยสูตร ปัญจกังคุตตร๑ โดยความ เป็นกิจอันอริยสาวกผู้ครองเรือน จะพึงทำประการหนึ่ง. เปตศัพท์ที่ข้าพเจ้าแปลทับว่า เปตชนนั้น หมายความสองนัย หมายเอาคนตายแล้วอย่างหนึ่ง ได้ในคำว่า "เปโต กาลกโต" แปลว่าผู้ละไปแล้ว มีกาละอันทำแล้ว, หมายเอาบุรพบิดรอย่างหนึ่ง ได้ในบทว่าปุพพเปตพลี. ผู้ใคร่จะรู้อธิบายแห่งเปตศัพท์สองนัยนี้ จงดูในธรรมวิจารณ์ส่วนสังสารวัฏ อธิการแห่งคติตอนแก้ปิตติวิสยะ. ๒ ในคาถาอนุโมทนานี้ ไม่จำกัดการทำทักษิณาเฉพาะบุรพบิดร ควร เข้าใจเปตศัพท์ในคาถานี้ว่า หมายเอาผู้ตายแล้วทั่วไป, มีธรรมเนียม ของพวกพราหมณ์ว่า ผู้ใหญ่ในครอบครัวตาย จำจะต้องแสดงอาการ ร้องไห้ตีอกบ่อรำพันเป็นนักหนา เกินกว่าที่เป็นจริง พวกพ้องผู้มาเป็น สหายในการศพ ก็ต้องทำเช่นนั้นเหมือนกัน กล่าวจนถึงว่ามีพวกผู้หญิง คอยรับจ้างทำ ไม่แสดงอาการอย่างนั้นเป็นทำกระด้างต่อผู้ตาย, ใน บางสูตร๓กล่าวถึงกิริยาอย่างนี้ว่า "กนฺทติ ปริเทวติ อุรตฺตาฬึ กโรติ" แปลว่า ' ย่อมร้องไห้ ย่อมรำพัน ย่อมทำตีอก,' หมายเอา ธรรมเนียมอย่างนี้. ทรงห้ามมิให้ทำการร้องไห้เศร้าโศกรำพันในคาถา นี้ ชื่อว่าทรงแนะนำให้เลิกธรรมเนียมนั้นเสีย เพราะหาประโยชน์แก่ ผู้ตายมิได้. ข้อว่า ทักษิณาอันบริจาคในสงฆ์ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตาย โดยฐานะนั้น เป็นกลเม็ดอยู่. แต่พระคันถรจนาจารย์ ดูเหมือนจะรู้สึก
ก. ๒๒๔๘. ๒. ธรรมวิจารณ์ หน้า ๙๒. ๓. องฺ. ปญฺจก. ๒๒๖๑. ตะขิดตะขวงในข้อนี้ จึงได้แก้ไว้โดยนัย, ในบางสูตร๑กล่าวว่า เปตชน ผู้ไปเกิดในกำเนิดอื่น ทั้งที่เป็นทุคติ ทั้งที่เป็นสุคติ ย่อมเป็นอยู่ด้วย อาหารในคติที่เขาเกิด. หาได้รับผลแห่งทานที่ทายกอุทิศถึงไม่ ต่อไป เกิดในปิตติวิสยะ ถึงได้รับผลแห่งทานที่อุทิศถึงนั้น, นี้พอเห็นได้ว่า เนื่องมาจากการทำศราทธะอุทิศถึงบุรพบิดร. เปตชนชนิดนี้จำพวกเดียว ที่เขาทำทานแล้วอุทิศถึง, จำพวกอื่นอย่างเลวสัตว์นรก อย่างดีเทวดา เขาก็หาอุทิศถึงไม่, เทวดาได้รับแต่เครื่องสังเวย พึงมามีในพระพุทธ- ศาสนา ที่แนะให้ทำทักษิณาแล้วอุทิศแก่เทวดา. ในอรรถกถาแก้แถมว่า๒ แม้เปตชนผู้เกิดในปิตติวิสยะจะได้รับผลทานนั้น ต้องพร้อมด้วยสมบัติ ๓ ประการ คือ การบริจาคไทยธรรมแล้วอุทิศถึงของทายก ๑ ปฏิ- คาหกผู้รับไทยธรรมนั้น เป็นทักขิเณยยะ แปลว่าผู้ควรรับทักษิณาที่ว่า ได้แก่พระอริยะ ๑ เปตชนนั้นได้อนุโมทนา ๑, ในที่สุดก็กล่าวว่า ทายก ย่อมไม่ไร้ผล. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทักษิณานั้นชื่อว่าสำเร็จแก่ผู้ตาย โดยฐานะด้วยอาการอย่างไร ได้ทรงแสดงไว้แล้วในคาถาสุดท้าย. ความแห่งคาถานั้นว่า ท่านทั้งหลายทำทักษิณานุประทาน ได้แสดง ญาติธรรมแล้ว ๑ ได้บูชา คือ ยกย่องเปตชนแล้ว ๑ ได้เพิ่ม กำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ๑ เป็นอันได้บุญไม่น้อยเลย. ทายกผู้ แสดงญาติธรรมและทำบูชาแก่เปตชนอย่างเต็มใจ ด้วยความรัก ความนับถือเป็นส่วนกตเวทิตา, ในทางที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่
๒๔๒๙๐. ๒. ป. โช. ขุ. ขุ. ๒๓๒.
ปฏิคาหก ย่อมได้ความอิ่มใจ รู้สึกเหมือนท่านได้รับส่วนกุศลที่อุทิศ ึถึง โดยที่สุดได้โภชนะที่ท่านชอบบริโภค นึกถึงท่านส่งไปถวายพระฉัน ย่อมรู้สึกเหมือนท่านได้บริโภค. ส่วนปฏิคาหกผู้ได้รับทักษิณา ย่อม รู้สึกเหมือนได้รับของอันท่านให้ คนอื่นผู้อนุโมทนาย่อมรู้สึกว่าเป็น เกียรติแก่ท่านเพียงไร. ความสำเร็จแห่งผลแก่ท่านโดยฐานะอย่างนี้เอง ย่อมชักนำให้คนยังทำทักษิณานุประทานอยู่จนบัดนี้ ในเมื่อความเชื่อ ว่าไทยธรรมที่บริจาคได้ถึงท่าน ดุจฝากของจากประเทศนี้ไปให้ญาติ ผู้ไปอยู่ในประเทศอื่น เสื่อมไปแล้ว. แต่อย่างไรพวกพุทธศาสนิกจึงเข้าใจเปตศัพท์นี้ว่าผีเปรต. ศัพท์ว่า ปฺรตะ นี้เป็นภาษาสันสกฤตตรงกับศัพท์เปตในมคธภาษานั้นเอง แต่ หมายเอาเฉพาะผู้ตาย ไม่ได้หมายถึงบุรพบิดร เขามีศัพท์ที่เรียกบุรพ- บิดรต่างหากว่า "ปิตฺฤ" พหุวจนะเป็น "ปิตระ." พวกพราหมณ์ ย่อมเชื่อว่า คนตายแล้วย่อมไปเกิดในคตินั้น ๆ แต่ด้วยความรักและ ความนับถือบุรพบิดรของตน จึงสำคัญเห็นอีกส่วนหนึ่งว่า ยังทรงอยู่ ด้วยเป็นอทิสสมานกาย คือแลไม่เห็นตัว มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกปิตฺฤโลกะ ความรู้สึกอย่างนี้ พวกเราก็ได้มาจากเขา แต่เราเข้าใจว่าอยู่บ้านเรือน เดิม ได้แก่ฝีเรือน เข้าใจเป็นจำพวกฝีเรือนอยู่ข้างใกล้, แต่เราเข้าใจ ว่าผีพวกนี้อดโซ รูปร่างไม่สมประกอบ เป็นสัตว์ทั้งน่ากลัวทั้งน่าสงสาร. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า จงใจเหยียดบุรพบิดรของพวกพราหมณ์ให้เป็น ผีชนิดนี้ โดยอาการเย้ยหยันอย่างเดียวดับพวกเขาเหยียดพวกเราก็มี. พวกพราหมณ์กลัวเป็นอย่างยิ่งว่า บุรพบิดรของเขาจักอดหิว จัก ระหายน้ำ จักเปลือกกาย จึงทำกายเซ่นด้วยของเหล่านี้บ้าง ให้ของ เหล่านี้เป็นทานบ้าง. เราก็เหยียดบุรพบิดรพวกนี้ว่า เป็นผีอดหิว ระหายน้ำ เปลือยกาย เสริมต่อในข้อที่อดหิวและระหายว่า มีท้องใหญ่ แต่มีปากเท่ารูเข็ม ได้ข้าวได้น้ำกินเข้าไปไม่ได้เท่าไร ไม่รู้จักหายอยาก กระวนกระวายด้วยความอยาก ดุจถูกไฟเผา เสริมความเปลือยกาย เข้าว่า มีรูปไม่สมประกอบต่าง ๆ ทั้งทรวดทรงทั้งผิวพรรณ สุดแต่จะ น่าเกลียดน่ากลัวได้เพียงไร. คาถาอนุโมทนา๑ทักษิณานุประทานของ พระเจ้าพิมพิสาร ก็มีคาถานำกล่าวถึงผีพวกนี้ ความชัดพอจะรู้ว่า หมายเอาผีบุรพบิดรว่ามาสู่เรือนของตน ด้วยหมายจะได้รับทานที่ ญาติอุทิศให้, แม้ข้าวน้ำมีมาก แต่ไม่มีใครระลึกถึงก็เป็นกรรมของ สัตว์, ต่อมีผู้บริจาคแล้วอุทิศให้ จึงจะได้รับและอำนวยพรให้ผู้อุทิศ แต่นี้แสดงความเป็นไปแห่งพวกผีนี้ว่า ไม่ได้ทำไร่ไถนาเลี้ยงโค ไม่ได้ ค้าขายย่อมเป็นอยู่ด้วยทาน อันญาติให้แล้วจากมนุษย์โลกนี้, ทานนั้น ย่อมสำเร็จแก่พวกผีนั้น ดุจน้ำฝนอันตกในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม หรือดุจห้วงน้ำเต็มล้นลงมาโดยลำดับจนยังสาครให้เต็ม. การทำปุพพเปตพลี ย่อมบำรุงความรักความนับถือในบุรพบิดร ของตน ให้เจริญกุศลส่วนกตัญญุตากตเวทิตา เป็นทางมาแห่งความ รุ่งเรืองแห่งสกุลวงศ์ พระศาสดาจึงได้ทรงอนุมัติ ด้วยประการอย่างนี้.
๕๙.
ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจ
วันหนึ่ง พระศาสดาทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารทอดพระเนตร เห็นราธพราหมณ์มีร่างกายอันผอม มีผิวเศร้าหมองไม่สดใส ตรัสถาม ได้ความว่า ราธพราหมณ์ปรารถนาจะบวช แต่ไม่มีใครบวชให้ เมื่อ ไม่ได้บวชสมประสงค์ จึงได้เป็นเช่นนั้น จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ใครระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์ผู้นั้นได้บ้าง, พระสารีบุตรกราบทูล ว่า ข้าพระเจ้านึกได้อยู่ วันหนึ่ง ข้าพระเจ้าเที่ยงไปบิณฑบาตในกรุง ราชคฤห์, พราหมณ์นั้นได้ให้อาหารแก่ข้าพระเจ้าทัพพีหนึ่ง, พระ ศาสดาตรัสว่าดีละ ๆ สารีบุตร สัตบุรุษเป็นคนกตัญญูกตเวที, ถ้า อย่างนั้นสารีบุตรให้พราหมณ์นั้นบวชเถิด. ครั้นตรัสสั่งพระสารีบุตร ที่ทรงพระอนุญาตไว้แล้วแต่เดิม ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป ทรงอนุญาต ให้สงฆ์อุปสมบทกุลบุตรด้วยวิธีประชุมภิกษุในมัธยมชนบท ๑๐ รูปใน ปัจจันตชนบทที่หาภิกษุยากเพียง ๕ รูป, ภิกษุรูปหนึ่งประกาศสงฆ์ ให้รู้เรื่องครั้งหนึ่งก่อน แล้วประกาศความรับอุปสมบท คือสมมติคนนั้น ให้เป็นภิกษุของสงฆ์อีกสามคราว, ถ้าไม่มีภิกษุคัดค้าน, ผู้นั้นชื่อว่า เป็นภิกษุ, ถ้าถูกคัดค้านจนเสียเดียวเป็นอันไม่ยอมรับ. อุปสมบท ชนิดนี้เรียกว่าญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา แปลว่าอุปสมบทด้วยการ สงฆ์มีวาจาประกาศเป็นที่สี่. ผู้จะอุปสมบทต้องมีภิกษุผู้รับรอง เรียกว่า อุปัชฌายะ.๑
๑๐๑. ข้อที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์อุปสมบทกุลบุตรนี้ เป็นอันยกสงฆ์ให้เป็น ใหญ่ในกิจที่สำคัญ อันเนื่องด้วยการปกครองบรรพชิตมณฑล ไม่ ทรงมอบอำนาจแก่เอกชน. ดูเหมือนพระองค์เอา ตั้งแต่ทรงมอบอำนาจ แก่สงฆ์แล้ว ก็ไม่ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ผู้ใดผู้หนึ่งเลย. แม้ใน กรรมอื่น ๆ สงฆ์ก็เป็นผู้ทำเหมือนกัน แต่ปันเป็น ๔ ประเภท: ประเภท ที่ ๑ จำนวนภิกษุผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์เพียง ๔ รูปก็ใช้ได้ เรียกว่า จตุวรรค แปลว่ามีพวก ๔ สำหรับกรรมทั่วไป เว้นไว้แต่บางอย่าง, ประเภทที่ ๒ ภิกษุ ๕ รูปจัดเป็นองค์ เรียกว่าปัญจวรรค สำหรับให้ อุปสมบทในปัจจันตชนบทและปวารณา, ประเภทที่ ๓ ภิกษุ ๑๐ รูป จัดเป็นองค์ เรียกว่าทสวรรค สำหรับให้อุปสมบทให้มัธยมชนบท ประเภทที่ ๔ ภิกษุถึง ๒๐ รูป จึงจัดเป็นองค์ เรียกว่าวีสติวรรค สำหรับสวดระงับอาบัติสังฆาทิเสส เรียกว่าอัพภาน, ภิกษุมากกว่า จำนวนใช้ได้ ขาดจำนวนใช้ไม่ได้. การให้อุปสมบทก็ดี กรรมอื่นก็ดี จะต้องทำโดยความพร้อมเพรียงกัน, ภิกษุทุกรูป ผู้ไม่ถูกสงฆ์ยกเสีย จากสมาคม มีสิทธิในที่จะเข้าประชุมสงฆ์, เพราะเหตุนั้น การประชุม สงฆ์จึงต้องทำในเขตที่กำหนดไว้ เรียกว่าสีมา ถ้าจะทำสังฆกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้จะได้ภิกษุครบองค์แล้ว จะเว้นภิกษุอื่นไว้ใน เขตด้วยไม่เชิญมาประชุม หรือไม่ได้อนุมัติของเธอ เรียกว่าฉันทะ และทำกรรมนั้น จัดว่าทำเป็นวรรคไม่พรักพร้อม ใช้ไม่ได้. แม้พรัก พร้อมกันแล้ว ต้องทำให้ถูกระเบียบที่ทรงวางไว้ เช่นการประกาศ สำหรับกรรมบางอย่าง หนเดียวก็มี ๒ หนก็มี ๔ หนก็มี ถ้าทำให้ บกพร่องเช่นกรรมที่จะต้องประกาศ ๔ หน ประกาศแต่เพียง ๒ หน ดังนี้ใช้ไม่ได้, แม้ทำถูกระเบียบแล้ว ภิกษุผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์อนุมัติ ร่วมกัน จึงเป็นอันใช้ได้ ถ้ามีผู้แย้งแม้รูปเดียวก็ใช้ไม่ได้, กิริยา อนุมัติใช้นิ่งอยู่ ถ้าจะแย้ง ต้องพูดออกมา, มีถือเอาข้างมากเป็น ใช้ได้ แต่เฉพาะในอธิกรณ์บางเรื่อง เนื่องด้วยการระงับวิวาทอย่าง ใหญ่ ที่ไม่สามารถจะคุมความเห็นให้ร่วมกันเข้าได้. พระศาสดาทรงแสวงหาประโยชน์แก่บริษัทของพระองค์ สู้ทรง พร่าอำนาจส่วนพระองค์เอง มอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการอันเนื่อง ด้วยการปกครองฉะนี้. พระพุทธดำรินี้ ได้มีมาแต่ครั้งแรกตรัสรู้แล้ว แต่บริษัทยังไม่รู้ทั่งถึงธรรมแพร่หลาย พระองค์จึงทรงปกครองมา ด้วยพระองค์เองก่อน, เมื่อมีสาวกผู้สามารถขึ้นบ้าง ก็ทรงผ่อนให้ ช่วยทำ ดังเช่นทรงอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตร ด้วยให้ถึงสรณะสาม, คราวนี้ ทรงเห็นบริษัทเจริญขึ้นด้วยความรู้ความสามารถ จึงประทาน พระพุทธานุญาตให้สงฆ์เป็นเจ้าการในกิจพระศาสนา ด้วยประการฉะนี้.
ทรงสอนพระศาสนาผ่อนลงมาถึงคดีโลก
ครั้งเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จ เข้าไปสู่พระนคร เพื่อทรงรับบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นมาณพ ผู้หนึ่งชื่อสิงคาละ๑ มีผ้านุ่งผ้าห่มเปียกชุ่มด้วยน้ำ มีผมเปียก ยกมือ
๑๑๑๙๔.
ประคองนมัสการทิศทั้งหกอยู่ คือทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัศจิม ทิศอุดร ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ตรัสถามว่า เหตุไฉนเจ้าจึงไหว้ ทิศอย่างนี้. สิงคาลมาณพกราบทูลว่า บิดาของข้าพระเจ้า เมื่อจะ ตาย ได้สั่งไว้ให้ไหว้ทิศ, ข้าพระเจ้าเคารพในคำของบิดา ปรารถนา จะทำตามจึงไหว้ทิศอยู่อย่างนี้. พระองค์ตรัสว่า ในศาสนาของพระ อริยเจ้า เขาหาไหว้ทิศทั้งหกด้วยอาการอย่างนี้ไม่. สิงคาละทูลถามว่า เขานมัสการกันอย่างไร, ขอพระองค์โปรดตรัสแก่ข้าพระเจ้าให้ทราบ บ้าง. พระองค์ทรงแสดงทิศหาในพระศาสนานี้ ดังนี้ :- ทิศบูรพา อันเป็นทิศเบื้องหน้า ได้แก่มารดาบิดา, ทิศทักษิณ อันเป็นทิศเบื้องขวา ได้แก่อาจารย์, ทิศปัศจิม อันเป็นทิศเบื้องหลัง ได้แก่บุตรภรรยา, ทิศอุดร อันเป็นทิศเบื้องซ้าย ได้แก่มิตรอมาตย์, ทิศเบื้องล่าง ได้แก่บ่างและลูกจ้าง, ทิศเบื้องบน ได้แก่สมณ- พราหมณ์. ทรงแสดงบุพพกิจแห่งการไหว้ทิศดังนี้ :- ผู้ไหว้ทิศ ควรเว้นจากกรรมกิเลส คือการงานอันเศร้าหมอง ๔ อย่าง จากอคติ คือกิริยาอันไม่ควรถึง ได้แก่ความลำเอียง ๔ อย่าง และจากอบายมุข คือทางฉิบหาย ๖ อย่างก่อน. กรรมกิเลส ๔ นั้น คือการล้างผลาชีวิต ๑ การเป็นขโมย ๑ การประพฤติผิดในทาง กาม ๑ การพูดปด ๑. อคติ ๔ นั้น คือลำเอียงเพราะรัก ๑ ลำเอียง เพราะชัง ๑ ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ลำเอียงเพราะเขลา ๑. อบายมุข ๖ นั้น คือดื่มสุรา ๑ เที่ยวกลางคืน ๑ เพลินในดูการเล่น ๑ เล่น
การพนัน ๑ เกียจคร้านไม่เอาการ ๑ คบมิตรชั่ว ๑. อันผู้จะไหว้ทิศ ควรทำบุพพกิจอย่างนี้ก่อน จะได้เป็นสวัสดี. แล้วทรงแสดงวิธีไหวทิศ ดังนี้ :- ทิศบูรพา คือมารดาบิดา อันบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ เลี้ยงท่าน ทำกิจของท่าน ดำรงสกุล ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับ ทรัพย์มรดก เมื่อท่านละโลกแล้ว บริจาคทานอุทิศถึง. มารดาบิดา ได้รับบำรุงอย่างนี้แล้ว ก็ควรอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหมือนกัน คือคอยห้ามจาการเสีย นำในความงามความดี ขวนขวายให้ได้รับ การศึกษา ปลูกฝังด้วยภรรยาอันสมควร มอบทรัพย์ให้ตามคราว. ทิศทักษิณ คืออาจารย์ อันศิษย์ควรบำรุงด้วยสถาน ๕ คือด้วย อ่อนน้อมมีลุกรับเป็นต้น ด้วยรับใช้ ด้วยเชื่อฟัง ด้วยบำรุงบำเรอ ด้วยเรียนศิลปะโดยเคารพ. อาจารย์ได้รับบำรุงอย่างนี้แล้ว ก็ควร อนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ บ้าง คือแนะนำดี ให้เรียนดี บอกศิลปะ ให้สิ้นเชิงไม่อำพราง ยกย่องในมิตรสหาย ทำที่พึ่งในทิศ. ทิศปัศจิม คือบุตรภรรยานั้น สถานสำหรับบำรุงบุตรตรัสแล้วในวิธีไหว้ทิศ- บูรพา, ในที่นี้ จึงตรัสเฉพาะสถานสำหรับบำรุงภรรยาว่า ทิศปัศจิม คือภรรยาอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือยกย่องนับถือว่าเป็น ภรรยา ๑ ไม่ดูหมิ่น ๑ ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ มอบความเป็นใหญ่ ในเหย้าเรือนให้ ๑ หาเครื่องประดับให้ ๑. ภรรยาได้รับบำรุงอย่างนี้ แล้ว ก็ควรบำรุงสามีตอบด้วยสถาน ๕ บ้าง คือจัดการงานดี ๑ สงเคราะห์บริวารดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ เก็บทรัพย์ที่สามีหามา ได้ ๑ ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง ๑. ทิศอุดร คือมิตรอำมาตย์ อันกุลบุตรควรสงเคราะห์ด้วยสถาน ๕ คือด้วยการให้ ๑ ด้วยเจรจา เอาใจ ๑ ด้วยช่วยธุระ ๑ ด้วยวางตนเสมอ ๑ ด้วยซื่อตรง ๑. มิตรอำมาตย์ได้รับสงเคราะห์อย่างนี้แล้ว ก็ควรสงเคราะห์กุลบุตรนั้น ตอบด้วยสถาน ๕ บ้าง คือรักษามิตรผู้เผลอตัว ๑ รักษาสมบัติของ เขาผู้เช่นนั้น ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งได้ ๑ ไม่ละทิ้งในอันตราย ๑ นับถือ ตลอดวงศ์วารของมิตร ๑. ทิศเบื้องล่าง คือบ่าวและลูกจ้าง อันนาย ควรอนุเคราะห์ด้วยสถาน ๕ คือจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑ ให้อาหารและค่าจ้าง ๑ ให้ได้รับรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้ ๑ แบ่ง ของมีรสแปลกให้กิน ๑ ปล่อยในสมัย ๑. บ่าวและลูกจ้างได้รับ อนุเคราะห์อย่างนี้แล้ว ก็ควรภักดีต่อนายด้วยสถาน ๕ บ้าง คือทำ การก่อนกำหนด เลิกต่อทีหลัง ถือเอาแต่ของที่ให้ (ไม่ลักขโมย) ตั้งใจทำการงานดี นำคุณของนายไปสรรเสริญ. ทิศเบื้องบน คือ สมณพราหมณ์ อันกุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยทำ ด้วย พูด ด้วยคิด ประกอบด้วยเมตตา ด้วยไม่ปิดประตูคือห้ามไม่ให้ เข้าบ้าน ด้วยปรนปรือด้วยอามิส. สมณพราหมณ์ได้รับบำรุงอย่างนี้ แล้ว ก็ควรอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นบ้างด้วยสถาน ๖ คือห้ามจากบาป ๑ ให้ตั้งอยู่ในกุศล ๑ อนุเคราะห์ด้วยใจอันงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่ เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม ๑ บอกทางสวรรค์ ๑. กุลบุตร มานมัสการทิศทั้ง ๖. ด้วยวิธีอย่างนี้ ย่อมสามารถสะกัดกั้นอันตราย อันจะมีมาแต่ทิศนั้น ๆ. นี้เป็นพระธรรมเทศนา ที่พระศาสดาประทาน แก่สิงคาลมาณพ เปลี่ยนการไหว้ทิศตามลัทธิเดิม เป็นการทำกรณียะ แก่บุคคลนั้น ๆ อันมีรอบด้าน. สิงคาลมาณพได้ฟังพระธรรมเทศนา ได้ศรัทธาและเสื่อมใส กล่าวคำสรรเสริญพระธรรมเทศนาแล้วแสดง ตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอด ชีวิต จำเดิมแต่วันนั้น.
ทรงแสดงวิธีทำเทวตาพลี
การสังเวยเทวดา เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของพวกอริยกะ ในครั้งพุทธกาล พวกนั้นยังนับถือเทวดาเป็นองค์ ๆ ทั้งที่ให้ดีทั้งที่ให้ ร้ายหรือเป็นที่สองอย่าง. สังเวยเทวดาที่ให้ดี เพื่อให้มีเอ็นดูยิ่งขึ้น สังเวยเทวดาที่ให้ร้าย เพื่อไม่ให้คิดร้าย สังเวยเทวดาผู้เป็นทั้งสอง อย่าง เพื่อมีกัลยาณจิต. เครื่องสังเวยย่อมเป็นชนิดอนุโลมตาม เทวดาผู้รับ. เทวดาใจดี เครื่องสังเวยย่อมเป็นเป็นขนมนมเนยและ ผลไม้, เทวดาใจร้าย เครื่องสังเวยย่อมเป็นมังสะโลหิตแห่งสัตว์. การสังเวยในปูนแรก คงทำแก่ธาตุนั้น ๆ เช่นสังเวยนางพระธรณี คงวางเครื่องสังเวยไว้ตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้ ที่กลายมาเป็นสังเวย รุกขเทวดา. สังเวยนางพระคงคา คงทิ้งหรือลอยเครื่องสังเวยใน แม้น้ำ กลายมาเป็นลอยกะบาน. สังเวยพระเพลิง ได้ยินว่าเอาเครื่อง สังเวยทิ้งเข้าในกองเพลิง เป็นวิธีบูชายัญ. สังเวยพระอินทร์ คงตั้ง เครื่องสังเวยบนศาลเพียงตา. สังเวยพระยม คงจัดเครื่องสังเวยเป็น กะบานตั้งไว้ตามป่าช้า. สังเวยเทวดาอื่น คงทำตามท่วงที. เมื่อมี เทวรูปขึ้นแล้ว วิธีสังเวยย่อมเปลี่ยนแปลงไป ตั้งเครื่องสังเวยไว้ที่ หน้าเทวรูป. วรรณะผู้ทำการสังเวย ย่อมทำตามฐานะของตน : ที่ เป็นพราหมณ์เว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่มีสังเวยด้วยมังสะโลหิต สัตว์, ที่ไม่เว้นปาณาติบาต ย่อมสังเวยด้วยของไม่เลือกชนิด. ครั้งหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจาริกไปถึงบ้านปาฏลิคามในแคว้นมคธ ในคราวนั้น สุนิธพราหมณ์และวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ มาอยู่ที่นั่น กำลังสร้างนครเพื่อป้องกันพราหมณ์ มหาอำมาตย์นั้น มาเฝ้า เชิญเสด็จรับภัตตาหารที่เมืองใหม่นั้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรับนิมนต์แล้วเสด็จไปสู่โรงเลี้ยงของสองมหาอำมาตย์นั้น, เขา อังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอันประณีต ด้วยมือของตนเอง. พระสงฆ์ฉันเสด็จแล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ด้วยคาถา มีคำว่า "ยสฺมึ ปเทเส กปฺเปติ วาสํ ปณิฑิตชาติโย๑" เป็นต้น มีความว่า "กุลบุตรผู้มีชาติแห่งบัณฑิต สำเร็จการอยู่ใน ประเทศที่ใด พึงนิมนต์พรหมจารีผู้มีศีลสำรวมดีให้ฉัน ณ ที่นั้นแล้ว อุทิศทักษิณาเพื่อเทวดาผู้สิงสถิต ณ ที่นั้น, เทวดาทั้งหลายนั้น อัน ุกุลบุตรนั้นบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ, อันกุลบุตรนั้นนับถือแล้ว ย่อม นับถือตอบ, แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยเมตตา ดุจมารดา
๑๐๑๐๕. วิ. มหา. ๕๙๒.
กับบุตร, กุลบุตรอันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นผลอันเจริญ ทุกเมื่อ." ด้วยคาถานี้ ทรงแนะวิธีทำเทวตาพลีด้วยบริจาคทานแล้วอุทิศ ส่วนกุศลไปถึง เป็นอันว่าไม่ทรงอำนวยการสังเวย. ในคาถานี้ กล่าว ถึงเฉพาะเทวดาผู้สิงสถิต ณ ที่อยู่ เรียกว่าวัตถุเทวดา, แต่พึงเข้าใจ ว่า ทรงวางไว้เป็นแบบสำหรับทำเทวตาพลีทั่วไป. จริงอย่างนั้น ใน บางสูตร๑ตรัสถึงการทำสักการะแก่เทวดาผู้รับพลี เรียกว่า "พลิปฏิคฺ- คาหกาเทวตา" ไม่นิยมโดยความเป็นกิจอันอริยสาวกผู้ครองเรือน จะพึงทำประการหนึ่ง, โดยนัยนี้ ทำอุทิศเทวดาที่เขาเคยสังเวยได้ ทั้งนั้น. ในกาลก่อน ได้ยินคนแก่กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงพระยายม ก็มี. พระศาสดาทรงอนุโมทนาแล้ว เสด็จจากที่นั้น, สองมหาอำมาตย์ ตามส่งเสด็จ. เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาจาริกต่อไป. สองมหาอำมาตย์ นั้นตั้งชื่อประตูที่เสด็จออกไปว่า โคตมทวาร ตั้งชื่อท่าที่เสด็จข้ามว่า โคตมติฏฐะ. เมืองใหม่นี้คือเมืองปาฏลิบุตร ภายหลังตั้งเป็นพระนคร หลวงในรัชกาลแห่งพระวงศ์โมริยะออกชื่อมาก ครั้งอโศกรัชกาล. พระศาสดาตรัสชมถิ่นฐานที่ปลูกสร้างอันได้จังหวะ ได้ระเบียบ เรียบร้อย ทรงพยากรณ์ไว้ว่าจักเป็นยอดนคร เป็นที่ประชุมสินค้า
ก. ๒๒๘๘. ตลอดกาลเป็นที่อยู่แห่งหมู่อริยะ และตลอดกาลที่เป็นทำเลแห่ง พาณิชยกรรม, อันตรายอันจะพึงมีแก่เมืองปาฏลิบุตรนั้น สามประการ โดยเพลิงไหม้บ้าง โดยน้ำท่วมบ้าง โดยแตกกันเองบ้าง. ด้วยการทรงแสดงวิธีทำเทวตาพลีอย่างนี้ พึงเห็นว่า มิได้ทรง เปลี่ยนความเห็นเนื่องด้วยเทวดาของเดิม เป็นแต่ทรงเปลี่ยนวิธีทำให้ สำเร็จประโยชน์ดีขึ้นกว่า โดยสมควรแก่เวลาแรกประกาศพระศาสนา ที่ต้องค่อย ๆ ดัดอัธยาศัยของคน, คัดค้านตะบันไปเช่นสมณพราหมณ์ เจ้าลัทธิโดยมาก ยากที่จะทำสำเร็จ. พระศาสดาทรงแสดงวิธีทำ เทตาพลี ทรงผ่อนผันอนุโลมตามกาลเทสะด้วยประการอย่างนี้.
ตำบลที่เสด็จจาริกและประทับ
ในเวลาทรงบำเพ็ญพุทธกิจในมคธชนบทนั้น เสด็จประทับ ณ กรุงราชคฤห์มากกว่าตำบลอื่น, มิใช่แต่เท่านั้น กรุงราชคฤห์ดูเหมือน เป็นใจกลายแห่งจังหวัด ที่ประดิษฐานพระศาสนา ครั้งประถมโพธิกาล พะอัสสชิ ที่พระสารีบุตรครั้งยังเป็นปริพาชกได้พบเที่ยวบิณฑบาต อยู่ และพระสาวกผู้เข้ามหาสันนิบาต ที่พระศาสนาก็มากรงราชคฤห์ คือ พระอัสสชิ ที่พระสารีบัตรครั้งยังเป็นปริพาชกได้พบเที่ยวบิณฑบาต ปาฏิโมกข์นั้น, แม้พระศาสดาเอง เสด็จจาริกไปข้างไหน ๆ แล้วก็ เสด็จกลับกรุงราชคฤห์เหมือนกัน, ดังมีระยะทางในคัมภีร์ขันธกะ คือ มหาวรรคและจุลวรรคพระวินัยอันชักมาแสดงไว้ข้างหน้า. พุทธา- ธิวาสคือที่เสด็จอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ปรากฏชื่อในนิทานแห่งพระสูตร ทั้งหลายนั้น คือเวฬุวนาราม สวนไม้ไผ่ทีพระเจ้าพิมพิสารถวายเป็น สังฆารามเมื่อครั้งเสด็จถึงคราวแรก เสด็จประทับมากกว่าแห่งอื่น, ชีวกัมพวัน ไพรมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์, เขาคิชฌกูฏ มี ระบุสถานเป็นพิเศษไว้ในบางสูตรว่า ถ้ำสูกรขาตา, เขาอิสิคิลิ ตำบล กาฬสิลา, เขาอินทกูฏ, ตโปทาราม, เงื้อมชื่อสัปปิโสณฑิกา ณ ป่า- สีตวัน, มิคทายวัน คือป่าเนื้อ ณ ตำบลมัททกุจฉิ, ๘ แห่ง. ระบุไว้ ในมหาปรินินพพานสูตร ต่างจากชื่อข้างต้น คือ โคตมนิโครธ, โจร- ปปาตะ คือเหวที่ทิ้งโจร, ถ้ำสัตตบรรณคูหาแห่งเขาเวภาระ, ๓ แห่ง สิริเป็น ๑๒ ตำบล ทั้งลัฏฐิวัน ดงตาลรุ่นที่ประทับเมื่อคราวแรก. ตำบลอื่นจากกรุงราชคฤห์ ได้เสด็จเมืองอันธกวินทะ, เมืองมาตุลา, ขานุมัตตคาม ประทับ ณ อัมพลัฏฐิกา, อัมพสัณฑคาม ประทับ ณ ถ้ำอินทศาล เขาเวทิยกะ, พราหมณคาม ชื่อปัญจศาลา, เมือง ทักขิณาคิรี ประทับ ณ พราหมณคาม ชื่อเอกนาลา, รวม ๖ ตำบล ในเวลาเสด็จจาริกในอังคชนบท เสด็จจัมปานคร ประทับ ณ ฝั่งสระ โบกขรณีชื่อคัคครา และเสด็จอัสสปุรนิคม ชื่อปัญจศาลา , เมือง อังคะตอนเหนือแม่น้ำมหีขึ้นไป ได้เสด็จแต่อาปณนิคม. รวมตำบล ที่ได้เสด็จในอังคะเพียง ๓ แห่งเท่านี้, ในเวลาเสด็จตำบลเหล่านี้ ได้ ประทานพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุสงฆ์บ้าง แก่คฤหัสถ์บ้าง ตาม สมควรแก่อัตถุปปัตติ คือเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องความ และทรงบัญญัติ สิกขาบทบ้าง ประทานพระพุทธานุญาตเป็นธรรมเนียมบ้าง แก่ภิกษุ สงฆ์ตามสมควรแก่นิทานและปกรณ์ คือเหตุให้ผลและเป็นเครื่องทรง พระปรารภทำพุทธกิจส่วนนี้.
ระยะทางเสด็จ
ในที่นี้ เห็นควรกล่าวถึงระยะทางเสด็จมาเสด็จไปไว้ด้วย บางที จักเป็นประโยชน์ในการเรียงลำดับแห่งพุทธประวัติมัชฌิมภาคนี้ นี้ ในคราวนี้ยังทำไม่ตลอด. จักจับกรงราชคฤห์เป็นท่ามกลาง. ลำดับที่ ชักมาจากคัมภีร์ขันธกะพระวินัย จักเรียงไปตามนั้น, แต่พึงรู้ว่า จักเอาระยะทางตอนหนึ่ง ๆ ร้อยเข้าลำดับกันตามกล่าวก่อนกล่าวหลัง คงไม่ได้ จำจะสอดส่องดูให้รู้ตระหนักก่อน.
ระยะทางเสด็จมา
จากคยาในคราวประถม, จากสาวัตถี ๒ เที่ยว, จากอาฬวี, จากโกสัมพี.
ระยะทางเสด็จไป
จากราชคฤห์ สู่ทักขิณาคิรี ๒ เที่ยว ; สู่กบิลพัสดุ์; สู่โจทนา- วัตถุแล้วกลับ; สู่สาวัตถี ๓ เที่ยว กลับ ๑ เที่ยว; สู่พาราณสี ๒ เที่ยว: เที่ยวแรกต่อภัททิยะ สาวสัตถี แล้วกลับ, เที่ยวหลังต่ออันธก- วินทะ สาวัตถี ; สู่ปาฏลิคาม, โกฏิคาม, เวสาลี, ภัททิยะ, อังคุตตราประ, กุสินารา, อาตุมา, สาวัตถี; สู่เวสาลี ๓ เที่ยว : เที่ยวแรกต่อพาราณสี สาวัตถี, เที่ยวที่ ๒ ต่อภัคคะ สาวัตถี, เที่ยวที่ ๓ ต่อสาวัตถี กิฏาคิริ อาฬวี แล้วกลับ.
ปริเฉทที่ ๑๐ เสด็จสักกชนบท พรรณนาถิ่น
สักกชนบทนั้น มีบาลีบางสูตรระบุไว้ชัดว่า รวมอยู่ในโกศล- ชนบท ดังชักมากล่าวแล้วในพุทธประวัติตอนต้น แต่รู้กันมาตาม อรรถกถาว่า เป็นอาณาจักรตั้งเป็นอิสระ จักกล่าวฝืนไปก็ไม่ตลอด เพราะได้เรื่องจากบาลีเหล่านั้น ไม่พอจะเรียงเป็นเรื่องต่างออกไป และในบาลีบางแห่งเรียกศากยะบางองค์ว่า ศากยราชา,๑ บางทีอยู่ ใต้อำนาจโกศล บางครั้งตั้งเป็นอิสระบางคราวก็ได้, อย่างไรก็คงมี เจ้าครองเป็นประเทศราช ทั้งมีเรื่องเฉพาะในชนบทนี้เป็นส่วนหนึ่ง จึงแยกกล่าวต่างหาก. สักกชนบทนั้น สันนิษฐานตามชื่อคณะศากยะที่พบในบาลีแห่ง เป็น ๓ นคร คือคนรกลิบพัสดุ์ ๑ คณะศากยะชาวนครนี้เรียกว่า "กาปิลวตฺถวา สกฺกา๒" แปลว่าพวกศากยะชาวบิลพัสดุ์, นคร วิธัญญา ๑ คณะศากยะชาวนครนี้เรียกว่า "เวธญฺา สกฺกา๓" แปลว่าพวกศากยะชาววิธัญญา, นครโคธาฬี ๑ คณะศากยะศากยะชาว นครนี้เรียกว่า "โคธาฬิยา สกฺกา" แปลว่าพวกศากยะชาวโคธาฬี
วิ. จุลฺล. ๗๑๕๗. ๒. ที. มหา. ๑๐๑๙๑. ๓. เวธฺา นาม สกฺยา.
๘. แต่ในสตรีเรียกโคธา๑ทั้งนครทั้งพวกชาวนคร, นับนครโกฬิยะเข้าด้วย เป็น ๔ นคร ในมหาปรินิพพานสูตรเรียกชาวนครนี้ ผู้ขอส่วนแบ่ง พระสารีริกธาตุว่า "รามคามกา สกฺกา๒" แปลว่าพวกศากยะชาว รามคาม ได้ความว่า พวกโกฬิยะ ก็นับเนื่องในพวกศากยะนั้นเอง, โดยนับ รามคามคงเป็นเมืองหลวงของพวกนี้ และในบางสูตรเรียก เทวทหะเป็นแต่นิคม มาสมเข้ากับนัยมาในมหาปรินิพพานสูตร. ขอ ช่วยแก้ว่า ระยะกาลในระหว่างประสูติและปรินิพพานห่างกันถึง ๘๐ ปี และในตอนหลัง สักกชนบทถูกวิฑูฑภะผู้ครองโกศลยกทัพมาย่ำยี ระส่ำระสาย. เมืองหลวงของพวกโกฬิยะย้ายมาตั้งมีรามคามในคราว นั้นก็ได้ เช่นย้ายราชธานีแห่งมคธมาตั้งที่เมืองปาฏลิบุตรในภายหลัง. การปกครองเป็นอย่างไร ได้กล่าวแล้วในตอนต้น, ในปริเฉทนี้ กล่าวเฉพาะที่พบต่างออกไปเป็นส่วนเพิ่มเติม. ชนบทนี้มีแม่น้ำโรหิณี ไหลผ่าน มีแดนจดกับโกศลและวัชชี ตามเรื่องอันกล่าวในปริเฉทนี้ จดกับมคธด้วย. ข่าวเสด็จสักกชนบทนี้ มีเป็นเรื่องราวก็เฉพาะที่นครกบิลพัสดุ์ ในที่อื่นก็มีเพียงสักว่าเป็นนิทานแห่งสูตรอันตรัสเทศนา เรื่องอันจะพึง กล่าวต่อไป จึงเป็นเรื่องที่นครกบิลพัสดุ์ทั้งนั้น.
. สํ. มหา. ๑๙๔๖๖. ๒. รามคามาก โกฬิยา. ที. มหา. ๑๐๑๙๒. สูตร แสดงคณะศากยะ อีกหนึ่งชื่อว่า จาตุมฺเมยฺยกา สกฺยา แปลว่า ุมา (ม.ม. ๑๓๑๙๕).
เสด็จนครกบิลพัสดุ์ชาติภูมิในครั้งพระพุทธบิดา
เสด็จนครพัสดุ์นั้น ในครั้งพระเจ้าสุทโรทนะพระพุทธบิดา ยังทรงพระชนม์อยู่บ้าง ในครั้งพระเจ้ามหานามศากยะ ผู้โอรส อมิโตทนศากยะเป็นผู้ครองนครบ้าง. พระอรรถกถาจารย์กล่าวการ เสด็จครั้งแรกในประถมโพธิกาล ต่อจากเสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งประถม บ้างก็กล่าวนิยมลงไปว่า ในฤดูแล้งแห่งปีตรัสรู้นั้นเอง ดูน่าเสด็จ ประกาศพระศาสนาในแขวงมคธชนบทนั้นเองมากกว่า, พระอรรถ- กถาจารย์คงนึกตะขิดตะขวงในการที่ยังมิได้โปรดพระพุทธบิดา จึงรีบ จัดให้เสด็จเพื่อเสร็จพุทธธุระ, แต่มีหลักฐานว่า ไม่ได้รีบเสด็จ คือ ในคราวเสด็จนั้น ได้ทรงอนุญาตสามเณรบรรพชาเป็นครั้งแรก ด้วย โปรดให้พระสารีบุตรบรรพชาราหุลกุมารเป็นสามเณร, พระพุทธา- นุญาตนั้น ได้มีเรื่องทรงเลิกติสรณคมนุปสัมปทาแล้ว ครั้งทรงเปลี่ยน วิธีอุปสมบทให้สงฆ์ทำ ด้วยญัตติจตุตถกรรม, และผู้ควรรับบรรพชา ในคราวแรก ๆ ต้องมีอายุครบ ๑๕ ปี, ในคราวที่ว่าเสด็จนั้น ราหุล- กุมารมีชนมายุเพียง ๗ ปีเท่านั้น พระอรรถกถาจารย์ไม่ได้เฉลียวถึง ข้อเหล่านี้. อย่างไรก็ดี เสด็จนครกบิลพัสดุ์จากกรุงราชคฤห์ ได้มี คราวหนึ่ง, เล่าเรื่องเสด็จคราวแรกโดยอรรถกาถานัยดังนี้ :- พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่า พระศาสดาทรงบรรลุพระสัมมา สัมโพธิญาณแล้ว เสด็จจาริกแสดงธรรมสั่งสอนบรรพชิตและคฤหัสถ์ มาโดยลำดับ บัดนั้นเสด็จประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. มีพระราชา- ประสงค์จะทรงได้เห็น ตรัสเห็นกาฬุทายิอมาตย์ให้ไปเชิญเสด็จ. กาฬุ- ทายิผู้นี้ ท่านว่าเป็นสหชาตเกิดในวันเดียวกันกับพระศาสดา เป็นผู้ คุ้นเคยกันมาแต่ยังเยาว์. กาฬุทายิกราบถวายบังคมลาบวชด้วย ทรง อนุญาตตามใจ แต่อย่างไรก็จงเชิญเสด็จพระศาสดามาให้ได้. มีเรื่อง เสริมว่า ก่อนแต่ทรงใช้กาฬุทายิ ได้ทรงใช้อมาตย์อื่นไปเชิญเสด็จ ถึง ๙ นาย โดยลำดับกัน ทุกนายไปถึง ยังไม่ทันได้กราบทูลอาราธนา ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วสำเร็จพระอรหัตเป็นเอหิภิกษุแล้ว เลย เพิกเฉยเสีย, พระราชาเห็นหายไป ในวาระที่สิบได้ทรงใช้กาฬุทายิ. เรื่องเช่นนี้เป็นตามเคยของพระอรรถกถาจารย์ ท่านมุ่งจะยกย่อง ข้างหนึ่ง กดอีกข้างหนึ่งลงไป เช่นในเรื่องนี้ มุ่งจะยกย่องกาฬุทายิ ว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที สำเร็จพระอรหันต์แล้วยังไม่เฉยเสีย ได้กราบ ทูลเชิญเสด็จพระศาสดาไปกรุงกบิลพัสดุ์ ให้สมพระราชประสงค์ของ พระเจ้าสุทโธทนะเจ้าของตน ยังกิจแห่งทูตให้เสด็จ กล่าวเท่าท้อง เรื่อง เกรงผู้อ่านผู้ฟังจะรู้ไม่ถึง จึงเสริมเรื่องเข้า กลายเป็นให้ร้าย มากกว่าหมายให้เป็นดี. ข้าราชาการในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นผู้ไม่จงรัก ภักดีในเจ้าของตน เห็นแต่ประโยชน์ตนถึง ๙ ใน ๑๐ นครจักตั้งอยู่ ได้อย่างไร. พระอรหันต์มีใจเฉยเรื่อยไม่นำพาถึงใคร ๆ แม้เคยทำ อุปการะด้วยเมตตากรุณา มีจำนวนถึงเท่านั้น พระศาสดาจักทรง ประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นได้อย่างไร. กลับเข้าหาท้องเรื่องต่อไป อีก กาฬุทายิไปถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ไปสู่เวฬุวนาราม, เวลานั้น
พระศาสดากำลังทรงแสดงธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัท ฟังธรรมแล้ว บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยบริวาร ขอประทานและได้รับพระพุทธา- นุญาตเป็นเอหิภิกขุ. พระกาฬุทายิรออยู่สัก ๗-๘ วัน พอสิ้นฤดู เหมันต์ เป็นวสันตสมัย๑ ข้าวเกี่ยวเสร็จแล้ว มีพื้นดินเดินได้ หญ้า อ่อน ๆ คลุม ป่าไม้กำลังผลิใบเผล็ดดอกออกผลร่มรื่น, ท่านกราบทูล เชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อยังมโนรถแห่งพระพุทธบิดาให้สำเร็จ, พระศาสดาก็ทรงรับอาราธนา. พระอรรถกถาจารย์คำนวณกาลตั้งแต่ตรัสรู้ จนพระกาฬุทายิ มากราบทูลเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ว่า ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เสด็จอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะตลอดพรรษาแรก ออกพรรษาแล้ว เสด็จ อุรุเวลา ทรงทรมานชฎิลสามคมพี่น้องเพื่อให้ละทิฏฐิมานะอยู่ ๓ เดือน เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ในดิถีเพ็ญแห่งปุสสมาส เสด็จอยู่ ณ ที่นั้น ๒ เดือน ตั้งแต่ออกจากพาราณสี สิริเป็น ๕ เดือน. ระยะทางในระหว่าง กรุงราชคฤห์ในดิถีเพ็ญแห่งปุสสมาส เสด็จอยู่ ณ ที่นั้น ๒ เดือน ตั้งแต่ออกจากพาราณสี สิริเป็น ๕ เดือน. ระยะทางในระหว่าง กรุงราชคฤห์และนครกบิลพัสดุ์ ในเรื่องนี้ว่า ๖๐ โยชน์. เดินอย่าง ปกติวันละ ๑ โยชน์ ๒ เดือนถึง, เดินวันละเท่านี้มีในปกรณ์ ในเรื่อง นี้เองก็มี, เดินอย่างรีบวันละ ๒ ประโยชน์ ๑ เดือนถึง. ข่าวตรัสรู่ พระเจ้า สุทโธทนะคงได้ทรงทราบจากพวกพาณิชนำไปลือ. คนพวกนี้มีสินค้า ไปด้วย คงเดินตามสบาย ๒ เดือนถึง. กาฬุทายิไปด้วยราชการคง เดินอย่างรีบ ๑ เดือนถึง. รวมระยะทางไปมา ๓ เดือน. และพวก พาณิชคงออกจากกรุงราชคฤห์ เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงหลายวันแล้ว
ิ ต่อจากฤดูหนาวไม่ใช่ฤดูฝน (ตามสุริยคติ) ไปถึงแล้วบอกเล่า กว่าข่าวจักเข้าพระโสตพระเจ้าสุทโธทนะ วันก็ คงเปลืองเข้าไป, กาฬุทายิไปถึงแล้วบวชแล้ว รออยู่อีก ๗-๘ วัน รวมวันเหล่านี้เข้าบวกกับวันเดินทาง จักมาออกไปอีก. ถ้าบวก ระยะกาลเดินทางของอมาตย์อีก ๙ นาย และระยะกาลที่พระเจ้า สุทโธทนะทรงรอคอยฟังเห็นหายไป แล้วตรัสใช้คนใหม่ไปอีกใน ระหว่าง ๆ น่าจะต้องเติมอีกไม่น้อยกว่า ๑๘ เดือน เป็นอันไม่ได้ เสด็จในแล้วนั้นแน่. พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จออกจากรุงราชคฤห์ ทรงพระดำเนินวันละ ๑ โยชน์ มีกำหนดว่าสองเดือนจักเสด็จถึง พวกศากยะทราบข่าวล่วงหน้าแล้ว เลือกได้นิโครธารามจัดไว้เป็นที่ ประทับในวันเสด็จถึง จัดขบวนคนออกไปรับเสด็จ เชิญเสด็จเข้า นคร. ครั้นถึงแล้ว พวกศากยะผู้เจริญชนมายุกว่า ถือมานะไม่ถวาย อภิวาทน์, พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระศาสดาทรงแสดงอิทธิ- ปาฏิหาริย์ในอากาศ ดุจว่าโปรยละอองพระบาทลงเหนือศีรษะ, พระ เจ้าสุทโธทนะทรงเสื่อมใสถวายอภิวาทน์ก่อนแล้ว พวกศากยะเหล่านั้น ย่อมพลอยทำตาม ถ้าถือเอาความเพียงว่า พระศาสดาทรงแสดง อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือตรัสเทศนาเป็นมหัศจรรย์ แสดงให้เห็นให้ สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริง ทำพวกศากยะเหล่านั้นให้สิ้นมานะ ยอมนับถือความเป็นใหญ่ของพระองค์เหนือตน ดุจว่าทรงแสดงอิทธิ- ปาฏิหาริย์ในอากาศ จักพอฟังได้. ในบาลีได้กล่าวถึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาถอนทิฏฐิมานะของ พวกพาราหมณ์ผู้เฒ่าจนยอมนับถือ มีหลายแห่ง ในเรื่องนี้ก็น่าเป็น เช่นกัน. การประชุมศากยวงศ์รับเสด็จในวันนั้น เป็นมหาสันนิบาต เรียกญาติสมาคม ทุกองค์จากพระศาสดามาเป็นช้านาน ได้เห็นแล้ว เกิดปีติชื่นบาน ท่านแสดงโดยนัยว่าฝนโบกขรพรรษตกลงมาให้ชุ่ม ชื่นทั่วกัน. ฝนโบกขรพรรษานั้น ว่าสีแดง เมื่อตกลงมา ผู้ใดปรารถนา ย่อมเปียก ผู้ใดไม่ปรากรถนา ย่อมไม่เปียก เม็ดฝนกลิ้งหล่นจาก กายดุจหยาดน้ำจากใบบัว. พรรณนาอย่างนี้ ชะรอยจะออกจากศัพท์ โปกขร คือบัวน้ำเอง. พระศาสดาตรัสเวสสันตรชาดก ชักเรื่องเก่า มาเล่าเปรียบ. ในวันเบื้องหน้าแต่วันเสด็จถึง ท่านนับเป็นวันที่ ๑ เวลาเช้า พระศาสดาเสด็จภิกขาจารตามถนน เกิดอลหม่านกันขึ้น เพราะเห็น ขัตติยะลงเที่ยวขอภิกขา. ความข้อนี้น่าเป็นได้. อันพวกขัตติยะ ย่อมอาศัยศัสตราวุธเป็นอยู่, พวกพราหมณ์ออกเที่ยวภิกขาจารเป็น อยู่. พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว เสด็จตามไปเชิญเสด็จกลับ พระศาสดาทรงแสดงการเที่ยวภิกขาจารว่า เป็นกิจวัตต์ของสมณะ ทรงชักคาถาเป็นเครื่องเตือนใจสมณะมาตรัสมีความว่า ไม่พึงประมาท ในบิณฑบาต พึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อม อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกอื่น. ท่านว่าพระราชาได้ทรงบรรลุ พระโสดาปัตติผล ด้วยทรงสดับคาถานี้, ช่างง่ายดายจริง ๆ การ บรรลุอริยธรรมที่นี่ ไม่ต้องฟังอนุปุพพีกถาฟอกจิตมาก่อนเหมือน เรื่องมาในบาลี.
ปริเฉทที่ ๑๑ เสด็จโกศลชนบท พรรณนาถิ่น
โกศลชนบทนั้น อยู่ในเขตมัธยมชนบท ตั้งอยู่ในภาคแห่ง ชมพูทวีปตอนเหนือ รวมกาสีชนบทอันอยู่จดด้านใต้เข้าเป็นมหา- อาณาจักรเดียวกัน, ในบางสูตรว่าสักกชนบทก็รวมอยู่ในโกศลชนบท ดังชักมากล่าวแล้วในพุทธประวัติตอนต้น อันกล่าวถึงชนบทนั้น. โกศลชนบท มีกรุงสาวัตถีเป็นพระนครหลวง, กาสีชนบาลีนคร- พาราณสีเป็นเมืองหลวง รวมอยู่ใต้ปกครองแห่งกษัตริย์ ทรงอำนาจ สิทธิ์ขาดองค์เดียวกัน มีราชอิสริยยศเป็นมหาราชหรือราชาธิราช ในสมัยที่พระศาสดาเสด็จถึงคราวประถม พระเจ้าปเสนทิทรงปกครอง โกศลชนบทนั้น โดยอนุมานตามระยะทางเสด็จพุทธจาริกบ้าง โดย ประการอื่นบ้าง จดกุรุชนบท หรือแดนเขาหิมพานต์ในด้านเหนือ จด วัชชีชนบทในด้านตะวันออกหรือเฉียงใต้ จดอังคชนบทอันสมบทกับ มคธชนบทในด้านใต้ ยังจดกับภัคคะชนบทด้วย แต่ไม่มีเงื่อนจะ กำหนดว่าในด้านด้านไหน ในระยะทางเสด็จไม่ได้กล่าวว่าจดกับสักก- ชนบทเลย มีแต่ว่า "เอกํ สมยํ ภควา โกสเลสุ จาริกํ จรมาโน เยน กปิลวตฺถุ ตทวสริ" แปลว่า "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกในโกศลชนบท เสด็จถึงนครกบิลพัสดุ์" ดังนี้ (ติกงฺคุตฺตร
หน้า ๓๖๒๑). ชะรอยพระธรรมสังคาหกาจารย์ ผู้กล่าวพระวินัยและผู้ กล่าวอังคุตตรนิกาย ลงความว่า สักกชนบทนั้นรวมเข้าอยู่ในโกศล- ชนบท. ขอช่วยแก้สักหน่อยว่า เหมือนประเทศเดนมาร์ค สวีเด็น นอเวย์ ต่างเป็นเอกราชย์ เรียกร่วมกัน แสฺคนดินาเวียน. กรุง สาวัตถีตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำอจิรวตี, พาราณสีตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเนรัญชรา เข้าใจว่าแม่น้ำโคธาวารีย่อมไหลผ่านอาณาจักรนี้.
อนาถปิณฑิกะสร้างเชตวัน
ในกรุงสาวัตถีมีคฤหบดีผู้หนึ่ง ชื่อสุทัตตะ ได้เนมิตตกนามว่า อนาถปิณฑิกะ แปลว่าก้อนข้างสำหรับคนอนาถา. ได้ยินว่า เขา เป็นคฤหบดีมหาศาล คือเป็นเศรษฐีมั่งมีมาก มีใจบุญตั้งโรงบริจาค ทานแก่มหาชน พวกคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้ ได้อาศัยอาหารในโรงทาน ของเขาเลี้ยงชีวิต เขาจึงได้เนรมิตตกนามอย่างนั้น เรียกกันมาจนไม่มี ใครเรียกชื่อตัว. อนาถปิณฑิกะเป็นที่ผู้เกี่ยวดองกับราชคหกเศรษฐี ด้วยได้ภคินีเป็นภรรยา. ในคราวที่พระศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ กรุง ราชคฤห์ อนาถปิณฑิกะมาสู่พระนครนั้นด้วยธุระบางอย่าง พักอยู่ ในสำนักราชคหกเศรษฐี. วันนั้นราชคหกเศรษฐีนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่ง สาละวนสั่งทาสกรรมกร ให้ตระเตรียมทำอาหารมีประการต่าง ๆ. อนาถปิณฑิกะนึกว่า เมื่อ เรามาถึงในคราวก่อน ๆ. ท่านคฤหบดีผู้นี้ พักการงานทั้งปวงไว้
๒๐๓๕๖. ๒. วิ. จุล. ๗๑๐๒.
ต้อนรับปราศรัยกับเราอย่างเบิกบาน แต่ในครั้งนี้ ท่านเฉยเสีย มัว สั่งบ่าวให้หุงข้าวทำกับข้าวของกินอย่างชุลมุน ชะรอยจะมีการสมรส หรือบูชามหายัญ หรือเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารกับพลนิกายมาเลี้ยง ในวันพรุ่ง. ฝ่ายราชคหกเศรษฐีสั่งการเสร็จแล้ว มาต้องรับอนาถ- ปิณฑิกะตายเคย. อนาถปิณฑิกะจึงยกเอาการที่คาดคะเณนั้นขึ้นถาม. ราชคหกเศรษฐีบอกว่า มิได้ปรารภจะทำการสมรสหรือเชิญเสด็จ พระเจ้าพิมพิสารมาเลี้ยง แต่เรียกว่าทำมหายัญได้อยู่ คือได้นิมนต์ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่ง. อนาถ- ปิณฑิกะ ได้ยินเสียงออกพระนามพระพุทธเจ้าตกตลึง ย้อนถามให้ ราชคหกเศรษฐีปฏิญญาว่า ได้กล่าวออกพระนามพระพุทธเจ้าถึงสาม ครั้ง แล้วพูดออกมาว่า แม้เพียงเสียงว่าพระพุทธเจ้าเท่านี้ ก็ยังยาก ที่จะได้ฟังในโลก แต่นั้นใคร่จะได้เฝ้าพระศาสดา แต่ราชคหกเศรษฐี ห้ามว่า ไม่เป็นเวลาที่สมควรจะเฝ้า. พอรุ่งขึ้น ก่อนภัตตกาล อนาถ- ปิณฑิกะรีบไปเฝ้าพระศาสดา ณ สีตวัน ได้ฟังอนุปุพพีกถาและจตุรา- ริยสัจแล้วได้ธรรมจักษุ ที่ท่านว่าบรรลุพระโสดาปัตติผล กราบทูล ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ตลอดชีวิต.
(ทรงไว้ที่ค้นได้เพียงเท่านี้.)