พูดคุย:คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗
เพิ่มหัวข้อข้อมูลเกี่ยวกับงานชิ้นนี้ | |
---|---|
ที่มา | ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). คำพิพากษาศาลฎีกาคดีสวรรคต. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕. |
ผู้สร้างสรรค์ | Aristitleism |
ผู้สอบทาน | Aristitleism |
คุณภาพเนื้อหา | 75%: เสร็จสมบูรณ์ดี ได้มาตรฐานแล้ว แต่เนื้อหานั้นสอบทานโดยผู้ใช้เพียงไม่กี่คน |
หมายเหตุ | ใช้อักขรวิธีปัจจุบัน |
ใช้กฏนี้
[แก้ไข]ลักษณะอาญา มาตรา ๙๗ ว่า "ผู้ใดทะนงองอาจกระทำกาประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหสีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่า โทษของมันถึงต้องประหารชีวิต
"ผู้ใดพยายามจะกระทำการประทุษร้ายเช่นว่ามาแล้ว แม้เพียงตระเตรียมการก็ดี สมคบกันเพื่อการประทุษร้ายนั้นก็ดี หรือสมรู้เป็นใจด้วยผู้ประทุษร้าย ผู้พยายามจะประทุษร้ายก็ดี มันรู้ว่าผู้ใดคิดประทุษร้ายเช่นว่ามานี้ มันช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นก็ดี ท่านว่า โทษมันถึงตายดุจกัน"
↑ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๑๕๔ ว่า "ผู้ใดเจตนาจะช่วยผู้อื่นให้พ้นอาญาอันควรรับตามกฎหมาย แลมันกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งกล่าวต่อไปในมาตรานี้ คือว่า
"(๑) มันกระทำข้อความหรือสิ่งซึ่งเป็นสักขีพยานในการกระทำผิดให้สูญหายไปเสีย ก็ดี
"(๒) มันเพทุบายเอาเนื้อความที่มันรู้อยู่ว่าเป็นเท็จมาบอกเล่าในเรื่องความผิดใด ๆ เพื่อจะให้หลงเชื่อไปในทางที่เป็นเท็จ ก็ดี
"(๓) มันให้สำนักหรือซ่อนเร้นผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาในความผิดไว้ ก็ดี
"(๔) มันช่วยด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ที่กระทำผิด หรือผู้ต้องหาว่าได้กระทำผิดนั้น หลบหลีกไม่ให้ถูกจับกุม ก็ดี
"ท่านว่า มันผู้กระทำการเช่นว่ามานี้ มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เดือนหนึ่งขึ้นไปจนถึงสามปี แลให้ปรับตั้งแต่ยี่สิบบาทขึ้นไปจนถึงสองร้อยบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
"ถ้าแลผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาที่มันช่วยนั้น เป็นผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาในความผิดอุกฤษฏโทษถึงประหารชีวิต หรือเป็นมหันตโทษ คือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ท่านว่า มันผู้ช่วยนั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี แลให้ปรับตั้งแต่ห้าสิบบาทขึ้นไปจนถึงห้าร้อยบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
"แต่ถ้าการที่ช่วยผู้กระทำผิดดั่งที่ว่ามาในข้อ ๓ แลข้อ ๔ ในมาตรานี้นั้น เป็นการที่สามีช่วยภรรยา หรือภรรยาช่วยสามีไซร้ ท่านว่า อย่าให้ลงอาญาแก่มันที่ช่วยนั้นเลย เพราะมันเป็นผัวเมีย เสียกันมิได้"
↑ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๖๓ ว่า "ในคดีที่บุคคลตั้งแต่สองขึ้นไปกระทำความผิดอย่างเดียวกัน ท่านให้ถือว่า บรรดาผู้ที่ได้ลงมือกระทำความผิดนั้นเป็นตัวการ แลอาจลงอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่มันทุกคน เหมือนอย่างมันได้กระทำความผิดแต่ผู้เดียวฉะนั้น"
↑ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๖๔ ว่า "ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยอุบายอย่างใด ๆ เช่น ว่าจ้าง วาน หรือบังคับ ขู่เข็ญ ข่มขืน ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นต้น ท่านว่า มันผู้ใช้นั้นต้องระวางโทษฐานเป็นตัวการ"
↑ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๗๐ ว่า "ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง แลการที่กระทำนั้นเป็นการละเมิดกฎหมายหลายบทด้วยกัน ท่านให้ใช้บทกฎหมายที่อาญาหนักลงโทษแก่มัน"
↑ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๗๑ ว่า "เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่า ผู้ใดมีความผิดหลายกระทง ในคำพิพากษาอันเดียวกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษตามกระทงความผิดทุกกระทงก็ได้ แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงเข้าด้วยกัน ถ้าจะต้องจำคุก อย่าให้เกินยี่สิบปีขึ้นไป เว้นแต่โทษของมันถึงจำคุกตลอดชีวิต เช่นนั้นต้องเป็นไปตามโทษ ถ้าแลรวมโทษทุกกระทงในฐานที่จะต้องจำคุกแทนปรับ ท่านว่า อย่าให้จำมันเกินกว่าสองปีขึ้นไป" Pond1991 (พูดคุย) 20:08, 5 ตุลาคม 2560 (ICT)