ข้ามไปเนื้อหา

ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 4/แผ่นที่ 1

จาก วิกิซอร์ซ

เล่ม ๑ แผ่นที่ ๑

คือ หนังสือหมายประกาศการเลกน้อยต่าง ๆ แต่ผู้ครองแผ่นดินสยามมาในวันจันทร เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะเมีย ยังเปนนพ เปนปีที่ ๘ ในราชกาลประจุบันนี้ ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในกรุงนอกกรุงแลราษฎรทั้งปวงทราบทั่วกัน แลทำตาม ประพฤติตาม แลรู้ความตามโดยสมควร เพื่อจะมิให้ทำแลประกาศผิดพระราชดำริหพระราชประสงค์ แลเล่าฦๅถือการแลเข้าใจความผิด ๆ ไป ๚ะ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงษ์ วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพัติราชสังกาษ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงพระราชดำริหตริตรองในการจะทนุบำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อยสำเรทธประโยชน์ทั่วถึงแลแน่นอนให้ดีขึ้นไปกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระราชวิตกว่า ราชการต่าง ๆ ซึ่งสั่งด้วยบาทหมายแต่กรมวังให้สัสดีแลทลวงฟันเดินบอกตามหมู่ตามกรมต่าง ๆ นั้นก็ดี การที่บังคับให้นายอำเพอที่หมายเป่าประกาษแก่ราษฎรในกรุงก็ดี การที่มีท้องตราไปให้เจ้าเมืองกรมการหัวเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือมีหมายให้กำนันรั้วแขวงอำเพอประกาษแก่ราษฎรในแขวงนั้น ๆ ก็ดี พระราชบัญญัติใหม่ ๆ ตั้งขึ้นเพื่อจะห้ามการที่ควรแลบังคับการที่มิควรก็ดี การเตือนสติในระฦกและถือพระราชกำหนดกฎหมายเก่าก็ดี ตั้งขึ้นแลเลิกทิ้งอากรภาษีต่าง ๆ แลพิกัดภาษีนั้น ๆ แลลดหย่อนลงฤๅเพิ่มขึ้นพิกัดของในภาษีนั้น ๆ ก็ดี การกะเกนแลขอแรงแลบอกบุญก็ดี ว่าโดยสั้นโดยย่อ เหตุใด ๆ การใด ๆ ที่ควรข้าราชการทั้งปวงฤๅราษฎรทั้งปวงจะพึงรู้ทั่วกันนั้น แต่ก่อนเปนแต่บาทหมายแลทำคำประกาษเขียนเส้นดินสอดำลงกระดาษส่งกันไปส่งกันมาแลให้ลอกต่อกันไปผิด ๆ ถูก ๆ แลก็เพราะฉบับหนังสือนั้นน้อย ผู้ที่จะได้อ่านก็น้อย ไม่รู้ทั่วถึงกันว่า การพระราชประสงค์แลประสงค์ของผู้ใหญ่ในแผ่นดินจะบังคับมาแลตกลงประการใด ข้าราชการทั้งปวงแลราษฎรทั้งปวงก็ไม่ทราบทั่วกัน ได้ยินแต่ว่า มีหมายเกนว่า ประกาษว่า บังคับมา เมื่อการนั้นเกี่ยวข้องกับตัวใคร ก็เปนแต่ถามกันต่อไป ผู้ที่จะได้อ่านต้นหมายต้นท้องตรานั้นน้อยตัว ถึงจะได้อ่านก็ไม่เข้าใจ เพราะราษฎรเมืองไทยผู้ที่รู้หนังสือนั้นน้อยกว่าผู้ที่ไม่รู้ คนไพร่ ๆ ในประเทศบ้านนอก หนังสือก็อ่านไม่ออก ดวงตราของขุนนางในตำแหน่งซึ่งจะบังคับราชการเรื่องไรจะเปนอย่างไรก็ไม่รู้จักดู สักแต่ว่า เหนดวงตราที่ตีมาด้วยชาดแลเสนแดง ๆ แล้วก็กลัว ผู้ที่ถือมาว่ากะไรก็เชื่อหมด เพราะฉนั้น จึ่งมีคนโกง ๆ คด ๆ แต่งหนังสือเปนดังท้องตราแลบาทหมายอ้างรับสั่งวังหลวง แลวังน่า แลเจ้านาย แลเสนาบดี ที่เปนที่ราษฎรนับถือยำเยง แล้วก็ว่าการบังคับไปต่าง ๆ ตามใจตัวปราถนาด้วยการที่มิได้เปนธรรม แลทำให้ราษฎรเดือดร้อน แลเสียพระเกรียติยศของพระเจ้าแผ่นดิน แลพระนามเจ้านาย แลชื่อของขุนนางไป เพราะฉนั้น บัดนี้ทรงพระราชดำริห์จะบำบัดโทษต่าง ๆ ดังว่ามาแล้วนั้นทุกประการ จึงโปรดให้ตั้งการตีพิมพ์หนังสืออย่างหนึ่ง มีชื่อโดยภาษาสังษกฤษว่า หนังสือราชกิจจานุเบกษา แปลว่า หนังสือเปนที่เพ่งดูราชกิจ มีตรารูปพระมหามงกุฎแลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ตีในเส้นดำ กับตัวหนังสือนำน่าเปนอักษรตัวใหญ่ว่า ราชกิจจานุเบกษา อยู่เบื้องบนบันทัดทุกฉบับเปนสำคัญ แจกมาแก่คนต่าง ๆ ที่ควรจะรู้ทุกเดือนทุกปักษตั้งแต่เดือนห้า ปีมเมิย เปนปีที่แปดในราชกาลอันเปนประจุบันนี้ไป หนังสือในราชกิจจาบุเบกษานี้ คือ การใด ๆ ซึ่งได้มีในท้องบัฎใบตราแลบาทหมายแลประกาศด้วยหนังสือเขียนเส้นดินสอดำประทับตราตามตำแหน่งตามธรรมเนียมเก่านั้น ซึ่งได้แล้วไปในปักษนั้น ฤๅปักษที่ล่วงแล้วในเดือนนั้น ฤๅเดือนที่ล่วงแล้ว ก็จะเกบเอามาว่าแต่ย่อ ๆ ในสิ่งซึ่งเปนสำคัญ เพื่อจะให้เปนพยานแก่ท้องบัฎใบตราแลบาทหมายคำประกาศซึ่งมีไปแล้วก่อนนั้น เพื่อจะให้คนที่ได้อ่านหนังสือก่อนเชื่อแท้แน่ใจไม่สงไสย ที่ไม่เข้าใจความจะได้เข้าใจ ผู้ใดไม่รู้ความในหนังสือท้องบัฎใบตราบาทหมายก่อนก็จะได้รู้ถนัด อนึ่ง ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใด ๆ เกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่าความนั้นใส่มาในหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะให้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าฦๅผิด ๆ ไปต่าง ๆ ขาด ๆ เกิน ๆ เปนเหตุให้เสียราชการแลเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้ หนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ เมื่อตกไปอยู่กับผู้ใด ขอให้เกบไว้ อย่าให้ฉีกทำลายล้างเสีย เมื่อได้ฉบับอื่นต่อไป ก็ให้เยบต่อ ๆ เข้าเปนสมุดเหมือนสมุดจีนสมุดฝรั่งตามลำดับตัวเลขที่หมายหนึ่งสองสามสี่ต่อ ๆ ไปซึ่งมีอยู่ทุกน่ากระดาษนั้นเถิด ขอให้มีหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้เกบไว้สำหรับจะได้ค้นดูข้อราชการต่าง ๆ ทุกหมู่ทุกกรมข้าราชการแลทุกหัวเมืองโดยประกาศนี้เทอญ ประกาศมาณวันจันทร เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมเมีย ยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๔๙๖ ในราชกาลประจุบันนี้ ขุนปฏิภานพิจิตร ขุนมหาสิทธิโวหาร กรมพระอาลักษณ์ เปนผู้รับสั่ง ๚ะ

มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่คนทั้งปวงบันดาคนที่ถือพระพุทธสาศนาแลธรรมเนียมปีเดือนคืนวันอย่างเช่นใช้ในเมืองไทยรู้ทั่วกันว่า ในปีมเมียนี้ วันอาทิตย เดือนห้า แรมสิบสามค่ำ เปนวันมหาสงกรานต์ วันจันทร เดือนห้า แรมสิบสี่ค่ำ แลวันอังคาร เดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง เปนวันเนา วันพุทธ เดือนหก ขึ้นสองค่ำ เปนวันเถลิงศกขึ้นศักราชใหม่เปน ๑๒๒๐ ในปีนี้การทำบุญแลเล่นนักขัตฤกษสงกรานต์เปน ๔ วันด้วยกัน คือ เดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ แลเดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง แลสองค่ำเปนแน่แล้ว คนฟั่น ๆ เฟือน ๆ เลือน ๆ ไหล ๆ จำการหลังไม่ได้ อย่าตื่นถามว่าทำไมสงกรานต์จึ่งเปนสี่วัน ก็สงกรานต์สี่วันนี้โดยบังคับตามคัมภีรโหราสาตร ลางปีก็เคยมีมาแต่ก่อนดอก ตั้งแต่วันจันทร เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ไปจนวันอังคาร เดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง จดหมายชื่อปีในที่ทั้งปวงให้ว่า ปีมเมีย ยังเปนนพ ถ้าจดจุลศักราช ให้คงเปน ๑๒๑๙ อยู่ ตั้งแต่วันพุทธ เดือนหก ขึ้นสองค่ำ ไปจนสิ้นปี จนถึงวันเสาร เดือนสี่ แรมสิบห้าค่ำ วันตรุศสุดปีนี้นั้น ให้จดชื่อปีว่า ปีมเมีย สำเรทธิ ลงเลขจุลศักราชว่า ๑๒๒๐ แตเลข ๗ ตามปีแผ่นดินซึ่งเขียนไว้บนศกนั้น เมื่อเปลี่ยนสำเรทธิศกแล้ว ให้เขียนเปนเลข ๘ ไปกว่าจะเปลี่ยนศกใหม่เถิด ในปีเมีย สำเรทธิศกนี้ มีอธิกะมาศ เดือนแปดเปน ๒ หน เปนเดือนถ้วนทั้ง ๒ เดือน เมื่อเขียนเลขครุเดือน ๘ ต้น เขียนเลข ๘ ตัวเดียว แล้วกาหมายไปข้างล่างดังอย่างนี้— / ให้รู้ว่าเดือนแปดหลังจะมี ในเดือน ๘ หลังนั้นเขียนเลข ๘ เปนสองซ้อนกันไว้ท้ายครุดังอย่างนี้— / เถิด วันพุทธ เดือนห้า ขึ้นสามค่ำ ปีมเมีย ยังเปนนพ วันหนึ่งสองวันนี้เปนวันกำหนดถือน้ำพระพิพัทสัจจา ประกาศมาวันจันทร เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมเมีย ยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๔๙๖ ในราชกาลประจุบันนี้ พระยาโหราธิบดี จางวางกรมโหร แลพระยาประสิทธิสุภการ ว่าที่พระครูพิราม เปนผู้รับสั่ง ๚

ประกาศมาด้วยท่านเสนาบดีผู้ใหญ่พร้อมกันให้ประกาศแก่ราษฎรไทยจีนทั้งปวงให้ทราบทั่วกันว่า ปีนี้เปนปีกำหนดที่จะได้ผูกปี้จีนเกนช่วยการแผ่นดินตามเคยอย่างแต่ก่อน บันดาจีนทั้งปวงที่ไม่ได้ศัก ไม่มีจำนวนในทเบียนหางว่าวกรมพระสัศดีนั้น เกนให้ทำการพระนครคนละเดือน ถ้าจะไม่ทำ ให้เสียเงินคนละตำลึงกับค่าฎีกาสลึง ๑ ทุกคน ถ้าจีนคนใดจะไม่ให้ผูกปี้ที่ค่อมือ จะขอแต่ฎีกาเปล่า ให้เสียเงินค่าจ่ายราชการตำลึงกึ่ง ค่าฎีกาสองสลึง ถ้าจีนผู้ใดผูกปี้ปลอมรับปี้คนผูกฉ้อ จับได้ ปรับ ๑๐ ต่อเปนเงิน ๑๐ ตำลึง แต่ผู้ทำตราไปฉ้อจีนตีปี้ให้ฤๅผู้แกะตราปลอม ชำระได้เปนสัตย จะต้องรับพระราชอายา ๕๐ ปี แล้วส่งตัวเปนตพุ่นย่าช้าง ๚ ไทยมิใช่จีนสูบยาฝิ่นไว้ผมเปนจีนเพื่อจะให้พ้นจับนั้น แต่ก่อนได้ประกาศไว้ว่า ถ้ายังไม่ได้ศัก ให้เสียเงินผูกปี้ปีละ ๕ ตำลึง สามปีเปนเงิน ๑๕ ตำลึง ค่าฎีกาสามสลึง แต่ที่ศักแล้วนั้น ให้เสียแต่คนละตำลึงกึ่ง ค่าฎีกาสลึงเฟื้อง แลในปีเถาะ สับตนั้น พวกไทยสูบยาฝิ่นไว้เปียเปนจีนนั้นคิดเกะกะเกียจโกงไปเปนอันมาก ผู้ที่ยอมเสียเงินให้ ๑๕ ตำลึงแลตำลึงกึ่งตามประกาษนั้นน้อยตัว เพราะฉะนั้น ในคราวผูกปี้ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า คนไทยสูบยาฝิ่นพวกนั้นซื่อตรงต่อพระราชบัญญัติแลความที่เสนาบดีพร้อมใจกันบังคับไปนั้น แล้วทำตามโดยง่ายไม่คิดออด ๆ แอด ๆ คิดล่วงน่าถือตัวว่ารู้เท่ารู้ทัน แลไม่ถือัตวว่าตัวเปนพวกชาวสวรรค์กินทิพยหาความศุขหารัดหาเปรียบดังคนสูบฝิ่นอื่น ๆ เปนอันมากนั้น ทรงยินดีแก่พวกนั้นที่ได้สารภาพตัวยอมไว้เปียเปนจีนแล้วเสียเงินคราวผูกปี้ตามบังคับไปเต็มตามคำประกาษในคราวผูกปี้จีนปีเถาะ สับตนั้น แลครั้งนี้โปรดเกล้าฯ สั่งว่า พวกคนไทยที่ไว้เปียเปนจีนเพราะสูบฝิ่น ที่ได้เสียเงินเตมสิบห้าตำลึงโดยดีในครั้งก่อนแล้วนั้น ให้เสียแต่ห้าตำลึงเทานั้น อีกสิบตำลึงยกพระราชทานให้เปนรางวัลเพราะความซื่อตรงในครั้งก่อน แลคนสูบฝิ่นไว้เปียเปนจีนที่ได้ศักแล้วครั้งก่อน ได้เสียเงินตำลึงกึ่งตามบังคับไปโดยง่ายในครั้งก่อนนั้น ครั้งนี้ให้เสียแต่กึ่งตำลึงเท่านั้น ตำลึงหนึ่งยกพระราชทานให้เปนรางวัลดังว่าแล้ว ถ้าคนที่โปรดในครั้งนี้เสียแต่ห้าตำลึงนั้น ถ้าไม่ยอมเสียเงิน ก็ให้ทำเองฤๅจ้างคนแทนตัว จ่ายใช้ราชการ ๑๐๐ วัน คนที่สักแล้วจะต้องเสียกึ่งตำลึงให้ครั้งนี้นั้น ถ้าไม่ยอมเสียเงิน ก็ให้รับจ่ายใช้ราชการแต่สิบวัน แลคนไทยสูบยาฝิ่นไว้เปียเปนคนจีน ครั้งก่อนยังไม่ได้ศัก จึงต้องเสียแต่สิบห้าตำลึงไปแล้วนั้น ถ้าในครั้งนี้เปนคนศักแล้ว ก็ให้เสียแต่กึ่งตำลึง ฤๅทำการแต่ ๑๐ วัน ดังคนที่ศักแล้วได้เสียแต่ตำลึงกึ่งในครั้งก่อนนั้น แลซึ่งโปรดให้ลดสองส่วนเรียกแต่ส่วนหนึง ทรงพระมหากรุณาโปรดพระราชทนเฉภาะแต่พวกคนไทยลูบยาฝิ่นไว้เปียเปจีนซึ่งได้ยอมเสียเงินถ้วนตามพระราชกฤติกาในครั้งปีเถาะ สัปต จำพวกเดียว คนอื่นที่หลบหลีกลี้หนีแลผัดเพี้ยนออดแอดไปตามความตรึกตรองของคนที่ถือตัวว่า ไม่เสียชาติที่เกิดมาได้เปนเทวดากินอาหารทิพยมีสติปัญญามาก คิดเกียจโกงไปต่าง ๆ นั้น ไม่โปรดให้ลดแก่ผู้ใดเลย อย่ามาพาโลทุ่งเถียงเอาเลย ไม่โปรดให้ ให้เรียกพวกนั้นเต็มตามพระราชกฤติกาเดิมจงทุกคน แต่ค่าฎีกานั้นก็ให้เสียเหมือนกับจีนทั้งปวงเสียเถิด คือ ผูกปี้ให้เสียคนละสลึง ขอแต่ฎีกาให้เสียคนละสองสลึง ถ้าต้องจำจองเร่งรัด ก็ให้เสียค่าทิมค่าผู้คุมตามธรรมเนียมเดิม ให้ผู้คุมเรียกตามเคยมาแต่ก่อน ครั้งนี้การผูกปี้จีนจะได้ลงมือผูกที่พระคลังสินค้าน่าพระบรมมหาราชวังด้านตวันตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่วันสุกร เดือนห้า ขึ้นห้าค่ำ ปีมเมีย ยังเปนนพ ไป จีนที่เปนลูกจ้างคนมาค้าขายแต่ต่างประเทศก็คงต้องผูกปี้ จะเอาเหตุนั้นมาเถียงไม่ได้ ด้วยผู้ครองค่างไทยได้ว่ากันกับทูตนอกประเทศซึ่งมาทำสัญญาแต่แรกแล้ว เพราะฉนั้น ห้ามอย่าให้จีนที่ไม่รู้ข้อสัญญาสำคัญผิดเอาเหตุที่ตัวเปนลูกจ้างคนนอกประเทศซึ่งมาอยู่ณกรุงเทพมหานครนั้นมาทุ่มเถียงให้ต้องต่อว่าต่อขาน จีนทั้งปวงจงมารับผูกปี้โดยดีตามปรกติ อย่าหลบลี้หนีเข้าไปในบ้านเรือนคนนอกประเทศให้ต้องติดตามตัวว่ากล่าวกันวุ่นวายไป ถ้าจีนผู้ใดก่อเหตุให้มีความ ก็จะต้องรับอาญาเจ้าพนักงานโดยโทษานุโทษ ด้วยประกาษมาตามบังคับท่านเสนาบดี ณวันจันทร เดือนห้า ค่ำหนึ่ง ปีมเมีย ยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๔๙๖ ในราชกาลประจุบันนี้ พระยาศรีพิพัฒน์ แลพระรัตนโกษา เปนผู้รับบัญชาสั่งให้ขุนประสิทธิอักษรสาตรมาลงพิมพ์ ๚

วัน ๒ เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ ปีมเสง นพ มีใบบอกมาแต่เมืองจันทบุรีแลเมืองตราดว่า มีขุนนางยวนเปนนายมาคนหนึ่ง ไพร่ ๔๓ คน มากับเรือ ๓ ลำ มาแจ้งความว่า ผู้ครองข้างเมืองยวนใช้ให้เข้ามาเจรจาความเมืองขอเปนไมตรีกับกรุงเทพฯ จึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับความคิดท่านเสนาบดีโปรดให้มีท้องตราบังคับออกไปให้เมืองจันทบุรีพาเรือ ๓ ลำกับยวน ๔๔ คนนั้นมาส่งยังเมืองสมุทปราการด้วยดีโดยปรกติ มิได้ให้จับกุมจำจอง บัดนี้เรือยวนยังไม่มาถึง ถ้ามาถึงเมื่อใด ก็จะรับรองคล้ายกับอย่างรับทูตยวนแต่ก่อน เมื่อมาเจรจาโดยทางไมตรีอ่อนน้อมเรียบร้อย ก็จะชักชวนยวนให้ทำสัญญาทางไมตรีแลการค้าขายโดยปรกติ เพื่อจะให้เปนประโยชน์แก่ลูกค้าวานิชไพร่บ้านพลเมืองทั้ง ๒ ฝ่าย แลถ้ายวนว่ากล่าวข่มขี่เย่อหยิ่งยกตัวขึ้นสูงไป ก็จะไม่ยอมรับเปนไมตรี จะขับยวนที่มานั้นให้ไปเสียให้พ้นเฃตรแดน ถ้าด้วยเหตุนั้นผู้ครองฝ่ายยวนจะโกรธจะแต่งกองทัพมารบกวนปลายเขตรแดนฝ่ายใดทางใด ๆ ผู้ครองฝ่ายไทยก็ไม่กลัว จะรบสู้ทุกทางให้แซงแรง ถ้าหากว่าไม่ได้เปนไมตรีก็ดี แลจะเกิดทัพศึกต่อไปด้วยเหตุนี้ก็ดี ผู้ใด ๆ จะภอใจจะให้กรุงเปนไมตรีกับยวนด้วยอยากจะใคร่ไปมาค้าขายกับเมืองยวนฤๅกลัวจะต้องไปทัพ พวกนั้นทั้งปวงจงทราบว่า การซึ่งจะไม่ได้เปนไมตรีก็ดี แลจะเกิดรบก็ดี จะเปนเพราะยวนซึ่งมาในครั้งนี้นั้นกระด้างกระเดื่องไม่อ่อนน้อมเรียบร้อยฝ่ายเดียว จะเปนด้วยผู้ครองฝ่ายไทยถือโทษโกรธยวนไม่รู้หายนั้นหามิได้ ผู้ครองฝ่ายไทยก็อยากจะใคร่เปนไมตรีกับยวนเสีย ลูกค้าวานิชจะได้ค้าขายโดยสดวก แต่ถ้ายวนพูดจายกตัวขึ้นสูงแล้ว จะอ่อนน้อมยอมตามนั้นไม่ได้ ๚