ข้ามไปเนื้อหา

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ/ฉบับที่ 2

จาก วิกิซอร์ซ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....
(นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
กับคณะ เป็นผู้เสนอ)


(ยกเลิกมาตรา ๒๗๐ และมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....

หลักการ

ยกเลิกมมาตรา ๒๗๐ และมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เหตุผล

การที่มาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้วุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งในวาระเริ่มแรกตามมาตรา ๒๖๙ มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ การจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาตินั้น เป็นการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของวุฒิสภาที่ไม่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และไม่สอดคล้องกับการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เนื่องจากวุฒิสภาดังกล่าวมิได้มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำนาจดังกล่าวถึงควรเป็นอำนาจตามปกติของสภาผู้แทนราษฎรที่จะดำเนินการได้ โดยไม่จำต้องบัญญัติให้อำนาจแก่วุฒิสภาไว้เป็นการเฉพาะดังกล่าว ส่วนมาตรา ๒๗๑ ที่บัญญัติให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้ตามมาตรา ๑๓๗ (๒) หรือ (๓) ให้กระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา หากร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นไปตาม (๑) หรือ (๒) ของมาตรา ๒๗๑ นั้น เป็นการบัญญัติขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มิได้เป็นไปตามมาตรา ๑๓๗ และไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้วุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งในวาระเริ่มแรกมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างจากวุฒิสภาที่จะได้มาในวาระต่อ ๆ ไป ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญได้บัญญัืติถึงขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้แล้ว บทบัญญัติมาตรา ๒๗๑ จึงไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้อีกเช่นกัน จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... นี้

ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....


  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

มาตรารัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...."

มาตรารัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกมาตรา ๒๗๐ และมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • นายกรัฐมนตรี

บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ
ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....

๑.กำหนดชื่อเรียกของรัฐธรรมนูญว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...." (มาตรา ๑)

๒.กำหนดวันมีผลใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ ให้นับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)

๓.ให้ยกเลิกมาตรา ๒๗๐ และมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (มาตรา ๓)