ข้ามไปเนื้อหา

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ/ฉบับที่ 5

จาก วิกิซอร์ซ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....
(นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
กับคณะ เป็นผู้เสนอ)


(แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง)

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....

หลักการ

แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยระบบการเลือกตั้ง และการพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๑ มาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๔ และยกเลิกมาตรา ๙๓ มาตรา ๑๐๓ (๔) และมาตรา ๑๐๕ วรรคสาม)

เหตุผล

โดยที่ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวมีปัญหาหลายด้าน ก่อให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ เกิดความไม่เป็นธรรมแก่พรรคการเมือง ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกตั้ง การคิดคำนวณคะแนนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไม่มีความแน่นอนชัดเจน สมควรที่จะนำระบบการเลือกตั้งตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า ทั้งฉบับปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ ซึ่งใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ มาใช้สำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อซึ่งเคยใช้ในการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้ง ประชาชนมีความเข้าใจ และไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ รวมทั้งยังเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกพรรคการเมือง จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....

ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....


  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

มาตรารัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...."

มาตรารัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๑ และมาตรา ๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๙๑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีรายชื่อเดียว และให้ถือเอาเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

มาตรา ๙๒ บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละห้าของคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ ให้ถือว่า ไม่มีผู้ใดในบัญชีรายชื่อนั้นได้รับเลือกตั้ง และมิให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวรรคสอง

วิธีคำนวณสัดส่วนคะแนนเสียงบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ อันจะถือว่า บุคคลซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งตามสัดส่วนที่คำนวณได้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ให้ถือว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับจากหมายเลขต้นบัญชีรายชื่อนั้น"

มาตราให้ยกเลิกมาตรา ๙๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๙๔ เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการให้มีการรับสมัครผู้สมัครับเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิมทุกรายไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่นั้น"

มาตราให้ยกเลิก (๔) ของมาตรา ๑๐๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตราให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา ๑๐๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • นายกรัฐมนตรี

บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ
ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....

๑.บันทึกหลักการและเหตุผล

ให้ยกเลิกระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และนำระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาใช้สำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ

๒.สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม
๒.๑ กำหนดชื่อเรียกของรัฐธรรมนูญว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...." (ตามร่างมาตรา ๑)
๒.๒ กำหนดวันมีผลใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ตามร่างมาตรา ๒)
๒.๓ ยกเลิกวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในกรณีการเลือกตั้งทั่วไป และการเลือกตั้งใหม่ในกรณีเขตเลือกใดที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งใด (ตามร่างมาตรา ๓)
๒.๔ ยกเลิกวิธีการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคพึงมี และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคพึงได้รับ สำหรับการเลือกตั้งในบางเขตเลือกตั้งหรือบางหน่วยเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือกรณีการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่มีการประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้ง (ตามร่างมาตรา ๔ และมาตรา ๖)
๒.๕ ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณสมาชอกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคพึงมี และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะพึงได้รับ กรณีมีการเลือกตั้งใหม่ภายในหนึ่งปีเพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดสาระสำคัญใหม่กรณีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งใด (ตามร่างมาตรา ๕)
๒.๖ ให้ยกเลิกวิธีการคำนวณสัดส่วนคะแนนของพรรคการเมืองสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เมื่อมีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง (ตามร่างมาตรา ๖)