ศีล 227
หน้าตา
วิกิพีเดีย มีบทความเรื่อง:
ศีลรวมทั้งหมดแล้ว 227 ข้อ ได้แก่
ปาราชิก มี 4 ข้อ
[แก้ไข]- เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
- ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
- พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์ หรือ พรรณนาคุณความตาย หรือ ชักชวนเพื่อความตาย
- กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ
[แก้ไข]- ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
- กำหนัด(มีใจกระหายอยาก ต้องการกามคุณสตรี)แล้วเคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
- กำหนัด(มีใจกระหายอยาก ต้องการกามคุณสตรี)แล้วพูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุน
- กำหนัด(มีใจกระหายอยาก ต้องการกามคุณสตรี)แล้วกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกามแก่สตรี พาดพิงเมถุน เช่นพูดว่า หญิงใดบำเรอคนมีศีลเช่นเรา นั่นเป็นยอดการบำเรอ นะจ๊ะน้องหญิง
- ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
- สร้างกุฏิด้วยการขอ
- สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
- แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
- แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
- ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
- เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
- เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
- ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
อนิยตกัณฑ์ มี 2 ข้อ
[แก้ไข]- การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 3 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
- ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ
[แก้ไข]คืออาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ 10ข้อ
- เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
- อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
- เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
- ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
- รับจีวรจากมือของภิกษุณี
- ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
- รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
- พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
- พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
- ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
- หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
- หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
- ใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
- หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง 6 ปี
- เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
- นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
- ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
- รับเงินทอง
- ซื้อขายด้วยเงินทอง
- ซื้อขายโดยใช้ของแลก
- เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
- ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
- เก็บเภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน 7 วัน
- แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
- ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
- ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
- กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
- เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
- อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
- น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
ปาจิตตีย์ มี 92 ข้อ
[แก้ไข]- ห้ามพูดปด
- ห้ามด่า
- ห้ามพูดส่อเสียด
- ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
- ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้ไม่ใช้ภิกษุ) เกิน 3 คืน
- ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
- ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
- ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
- ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
- ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
- ห้ามทำลายต้นไม้
- ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
- ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
- ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
- ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
- ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
- ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
- ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
- ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน 3 ชั้น
- ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
- ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
- ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
- ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
- ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
- ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
- ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
- ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
- ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
- ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
- ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
- ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน 3 มื้อ
- ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
- ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
- ห้ามรับบิณฑบาตเกิน 4 บาตร
- ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
- ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
- ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
- ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
- ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
- ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
- ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
- ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
- ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน 2 คน
- ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
- ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
- ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
- ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
- ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
- ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน 3 คืน
- ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
- ห้ามดื่มสุราเมรัย
- ห้ามจี้ภิกษุ
- ห้ามว่ายน้ำเล่น
- ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
- ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
- ห้ามติดไฟเพื่อผิง
- ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ
- ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
- วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
- ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
- ห้ามฆ่าสัตว์
- ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
- ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
- ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
- ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง 20 ปี
- ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
- ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
- ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน 3 ครั้ง)
- ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
- ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
- ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
- ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
- ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
- ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
- ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
- ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
- ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
- ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
- ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
- ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
- ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
- ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
- ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
- ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
- เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
- ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
- ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
- ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
- ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
- ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
- ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
- ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
ปาฏิเทสนียะ มี 4 ข้อ
[แก้ไข]- ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
- ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
- ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
- ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
เสขิยวัตร 75
[แก้ไข]เสขิยะ สารูป มี 26 ข้อ
[แก้ไข]- นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
- ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
- ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
- ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
- สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
- สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
- มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
- มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
- ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
- ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
- ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
- ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
- ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
- ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
- ไม่โคลงกายไปในบ้าน
- ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
- ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
- ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
- ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
- ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
- ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
- ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
- ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
- ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
- ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
- ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตต์ มี 30 ข้อ
[แก้ไข]คือหลักในการฉันอาหารได้แก่
- รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
- ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
- รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
- รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
- ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
- ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
- ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
- ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
- ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
- ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
- ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
- ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
- ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
- ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
- ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
- ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
- ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
- ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
- ไม่ฉันกัดคำข้าว
- ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
- ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
- ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
- ไม่ฉันแลบลิ้น
- ไม่ฉันดังจับๆ
- ไม่ฉันดังซูด ๆ
- ไม่ฉันเลียมือ
- ไม่ฉันเลียบาตร
- ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
- ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
- ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี 16 ข้อ
[แก้ไข]- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
- ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
- ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
- ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
ปกิณสถะ มี 3 ข้อ
[แก้ไข]- ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
- ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
- ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ
[แก้ไข]- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
- ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป