สามก๊ก/เชิงอรรถ

จาก วิกิซอร์ซ

ในคำนำเรื่องสามก๊กภาษาอังกฤษของมิสเตอร์บริเวตเตเลอว่า หนังสือสามก๊กแต่งครั้งสมัยราชวงศ์หงวน แต่พระเจนจีนอักษรได้สอบว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่

พังโพยนั้นเป็นทำนองฟุตโน้ต มักเรียกในภาษาไทยว่า "คำกลาง" แปลไว้ในหนังสือสามก๊กภาษาไทยหลายแห่ง แต่ว่าไม่หมดที่เม่าจงกังได้แต่งไว้

เชื่อว่า จะได้แปลเป็นภาษาอื่นซึ่งยังสืบไม่ได้ความมีอยู่อีก เช่น ภาษามงโกเล เป็นต้น

พวกเกาหลีกับพวกญวนใช้หนังสือจีนเป็นหนังสือสำหรับบ้านเมืองอยู่แล้ว บางทีจะใช้หนังสือสามก๊กที่จีนพิมพ์อยู่ก่อนพิมพ์เองต่อชั้นหลัง ที่แปลเป็นภาษาเขมรนั้นเข้าใจว่า แปลจากฉบับพิมพ์ภาษาไทยที่ได้ไป

หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาลาตินนั้น บาทหลวงโรมันคาทอลิกคนหนึ่งซึ่งได้มียศเป็นบิชอปอยู่ในเมืองจีนเป็นผู้แปล ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษนั้นเคยแปลช้านานแล้ว แต่ว่าแปลเพียงบางตอน มิสเตอร์บริเวตเตเลอพึ่งแปลตลอดทั้งเรื่องแล้วพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จไปได้มาจากเมืองสิงคโปร์ ประทานแก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร

ในฉบับพิมพ์นี้แปลลัดไว้เพียงว่า "ธรรมดาเกิดมา ทุกวันย่อมจะรักษาตัวไว้มิให้ผู้อื่นคิดทำร้ายได้"

เดิมให้อำมาตย์โท พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เปรียญ เลขานุการราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้ตรวจฉบับพิมพ์ แต่พระพินิจฯ ทำงานเหลือกำลังจนมีอาการป่วย จึงผ่อนงานนี้ให้ทำเพียงแต่งสารบัญ