สุวรรณกัจฉปชาดก

จาก วิกิซอร์ซ

พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมังสทานของพระองค์ จึงตรัสเทสนาชาดกนี้ว่า อภิญฺเญยฺยํ อภญฺญาตํ ดังนี้ ความมีอยู่ว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย นั่งประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย โอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา มิได้มีความเบื่อหน่ายในทานบารมี ในอุปทานบารมีและในทานปรมัตถบารมี ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำด้วยทิพพโสต เสด็จมายังโรงธรรม ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ครั้นภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้มีความเบื่อหน่ายในทานบารมีเป็นต้น แต่ในกาลนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็มิได้เบื่อหน่ายในทานบารมีเป็นต้นเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ก็ทรงดุษณีภาพ เมื่อพระภิกษุทั้งหลายใคร่จะทราบ ได้พากันกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี ในกาลนั้น พระโพธิสัตวเสวยพระชาติเป็นเต่า อยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร เต่าโพธิสัตว์นั้น มีวรรณดังสีทองธรรมชาติ มีตัวกว้างและยาวประมาณ ๒๐ วา เท่ากัน และมีนามว่า สุวรรณกัจฉปะ เพราะมีวรรณเสมอด้วยทอง เที่ยวหาอาหารอยู่ในมหาสมุทร อาศัยเชิงบรรพตอันมีอยู่ทีเกาะใหญ่เป็นนิวาสถาน ครั้นนั้น พ่อค้าประมาณ ๕๐๐ คน ออกจากเมืองพาราณสี สำเภาแล่นไปได้ ๗ วัน ถูกคลื่นใหญ่ลมจัด จมลงในท่ามกลางมหาสมุทร พ่อค้าทั้งปวง พากันร้องไห้ปริเวทนาการ ส่งเสียงดังและกราบไหว้บนบานเทวดาอารักษ์ต่างๆ ฝ่ายเต่าทองโพธิสัตว์ โผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทร แลไปเห็นพวกพ่อค้าร้องไห้ปริเทวนาการอยู่ บังเกิดความกรุณาเป็นกำลัง ไปสู่สำนักพ่อค้าทั้งหลายแล้ว ให้พ่อค้าทั้งหลายขึ้นบนหลังตน พาข้ามสมุทรไปโดยลำดับจนถึงเกาะใหญ่ พ่อค้าทั้งหลายลงจากหลังเต่าทองพระโพธิสัตว์ มิได้บริโภคอาหารเลยถึง ๗ วัน พากันนอนอ่อนเพลียอยู่บนหาดทราย เต่าทองโพธิสัตว์นั้น คิดว่า เราจักให้เนื้อของเราเป็นทานแก่พวกพ่อค้าเหล่านี้ ดังนี้ ลำดับนั้น พวกพ่อค้าทั้งหลาย ยกมือขึ้นไหว้เต่าทองโพธิสัตว์แล้วพูดว่า ข้าแต่เต่าทองผู้เป็นใหญ่ อุปการคุณเป็นอันมากที่ท่านได้กระทำแล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลาย จักฆ่าท่านได้อย่างไร เต่าทองโพธิสัตว์นั้น จึงคลานขึ้นไปบนบรรพต ครั้นถึงยอดภูเขาแล้วหยุดพักอยู่ แล้วตั้งความปรารถนาเป็นพระสัพพัญญุพุทธเจ้าภายในแห่งจิตของตนว่า หมู่เทพยดาทั้งหลายผู้เจริญ อันสิงสถิตอยู่ในที่นี้ ขอจงมาอนุโมทนามังสทานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักให้ชีวิตของข้าพเจ้าเป็นทาน ข้าพเจ้าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ดังนี้แล้ว ทำการอธิษฐานว่า ถ้าว่าข้าพเจ้าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ขอกระดูกอกของข้าพเจ้าจงแตกทำลาย เลือดและเนื้อของข้าพเจ้าจงเป็นก้อนน้อยก้อนใหญ่เป็นส่วนๆ กัน แต่กระดองของข้าพเจ้า อย่าเพิ่งแตกทำลาย กระดูกหลังนั้น จงเป็นนาวา พาพ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน ให้พ้นจากความตาย ดังนี้แล้ว ทำตนให้ตกจากบรรพต ลงไปกระทบเชิงภูเขาเสียงดังสนั่น กระดูกอกก็แตกทำลาย เลือดเนื้อก็บังเกิดเป็นก้อนน้อยใหญ่ แต่กระดองมิได้แตกทำลาย เต่าทองโพธิสัตว์นั้น เมื่อสิ้นชีวิตแลวก็ไปบังเกิดในดุสิตเทวพิภพ ทีนี้ พวกพ่อค้าได้ฟังเสียงกึกก้องดังสนั่นหวั่นไหว ดูไปเห็น ต่างคนก็ประหารอกของตนร่ำร้องไห้ปริเทวนาการ พากันกราบทูลถึงคุณของเต่าทองโพธิสัตว์นั้น ลำดับนั้น พ่อค้าซึ่งเป็นหัวหน้า กล่าวกะมหาชนทั้งหลายว่า ดูกรท่านทั้งหลายผู้เจริญ เต่าทองตัวนี้ ได้ให้เนื้อของตนเป็นทานแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน เราทั้งหลายจงพากันจัดแจงสีไฟให้ติดขึ้น ปิ้งเนื้อเต่านั้นเคี้ยวกินเป็นอาหาร แล้วเก็บเอาเนื้อที่เหลืออยู่สำหรับเป็นเสบียงเลี้ยงตนไปบริโภคไปจนกว่าจะถึงเมืองพาราณสี พ่อค้าเหล่านั้นพร้อมกันกระทำการตามถ้อยคำของพ่อค้าผู้ใหญ่ ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น เอากระดองเต่ากระทำเป็นเรือ แล้วกระทำกิจการทั้งปวงด้วยกระดูกอก พากันขึ้นเรือกระดองเต่านั้นแล้วก็บ่ายหน้าเรือไปเฉพาะเมืองพาราณสี เมื่อถึงที่ใด ก็จอดที่นั้นตามปรารถนา ได้บริโภคเนื้อเต่าเป็นเสบียงมาเดือนหนึ่งก็ถึงเมืองพาราณสีแล้ว ทั้งหมดกล่าวสรรเสริฐคุณของเต่าโพธิสัตว์แก่ชาวพระนครทั้งหลาย มหาชนทั้งปาง ได้ฟังดังนั้นก็พากันสรรเสริญชมเชยคุณของเต่าทองโพธิสัตว์นั้น ตลอดไปทั่วพระนครราชอาณาเขต ในกาลนั้น พระเจ้าพรหมทัตได้ทอดพระเนตรเห็นกระดูกหลังเต่าทองอันมีวรรณเสมอด้วยทองคำ ทรงพระปรีดาโสมนัส ได้ทรงฟังคุณของเต่าทองนั้น ทองดำริว่า สัตว์ผู้นี้มิใช่สัตว์อื่น คงจักเป็นหน่อพุทธางกูร ดังนี้แล้ว มีรับสั่งให้ประดิษฐานกระดองเต่าทองนั้นไว้ที่อันสมควรแก่พระนครด้านทักษิณ กระดองเต่าทองโพธิสัตว์นั้นประดิษฐานอยู่ ดุจสุวรรณบรรพตตลอดกาลนาน

งานนี้ประกอบด้วยงานย่อยหลายส่วนซึ่งอยู่ในบังคับแห่งลิขสิทธิ์หลายเรื่องต่างกัน เช่น งานอันลิขสิทธิ์หมดอายุ และงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี งานนี้ทุกส่วนล้วนเป็นสาธารณสมบัติแล้ว
ส่วนบทประพันธ์:

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก
ส่วนอื่น ๆ:

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"