หนังสือจดหมายเหตุ/เล่มที่ 1 (แรก)/ใบที่ 1
พวกครูอะเมริกาซึ่งอาไศรยอยู่หน้าวัดเจ้าคุณพระคลัง, ได้ปฤกษาพร้อมใจกันว่า, จะแต่งหนังสือข่าวตีภิมเปนภาษาไท, ตีภิมเดือนละแผ่น ขนาดกว้างยาวเท่ากับแผ่นนี้, คือ ปีหนึ่ง สิบสองแผ่น. ในหนังสือข่าวนั้น จะมีข่าวใหม่มาแต่เมืองซิงกะโประ, เมืองจีน เมืองพม่า เมืองกลาป่า เมืองกาลกัดตา เมืองลังกา เมืองบัมเบ เมืองซุรัต เมืองอิงลันดา เมืองฝรั่งเศศ เมืองอเมริกา แลอีกหลายเมือง. จะบอกไว้ว่า มีข่าวมาแต่ทุกเมือง. อนึ่ง ในหนังสือนี้ จะให้รู้ราคาของ, ซึ่งเอาไปจากเมืองนี้ไปฃายในเมืองนอก, แลของในเมืองนอก, เอามาฃายในเมืองนี้. อนึ่ง ลางทีจะว่าดว้ยพงษาวะดานแลทำเนียมแห่งเมืองนอก. อนึ่ง ลางทีจะว่าดว้ยตำรารักษาโรคต่าง ๆ, แลบอกซึ่งสิ่งที่จะกระทำมิให้มีโรคดว้ย. อนึ่ง ลางทีจะแต่งคำสอนสำหรับคนซึ่งปราถนาจะเรียนคำอังกฤษ. ผู้แต่งหนังสือนี้ปราถนาจะแต่งให้เปนประโยชน์แลเปนที่จำเริญใจแก่ผู้อ่าน. ราคาหนังสือข่าวนี้ปีละบาท คิดเปนหนังสือสิบสองแผ่น. ถ้าฅนจะซื้อทั้งปีแล้ว ก็เอาเงินบาทหนึ่ง, จะให้เงินเมื่อได้แผ่นที่หนึ่งก็ได้, จะให้เงินเมื่อถึงแผ่นที่หกก็ได้, ตามแต่ใจผู้ซื้อ. อย่างหนึ่ง ถ้าไม่ปราถนาจะซื้อให้ครบปี, จะซื้อแผ่นหนึ่งสองแผ่นตามใจปราถนาของตนนั้น, ก็ตีราคาไว้แผ่นละเฟื้อง.
อันว่าไฟฟ้านั้น อยู่ในดินทุกแห่ง, แต่ทว่า อยู่แห่งละนอ้ย ๆ ทั่วทั้งแผ่นดิน. แลไฟฟ้านั้น ออกจากดินทีละนอ้ย ๆ ทุกวัน, ขึ้นพร้อมกับอายดินแลอายน้ำ, ขึ้นไปประชุมพร้อมกันอยู่ในเมฆ. อันธรรมดาไฟฟ้านั้น ถ้าประชุมอยู่ในเมฆกอ้นหนึ่งมาก, ในเมฆกอ้นหนึ่งนอ้ย, ถ้าแลเมฆสองกอ้นนั้นใก้ลกันเข้าแล้ว, ไฟฟ้าที่มากนั้นก็จะแลบแล่นไปหาที่นอ้ยให้อยู่เท่ากัน. เพราะเหตุดังนั้น เราจึ่งได้เหน, เมื่อฟ้าร้องแลแลบแล่นไปจากเมฆหนึ่งไปถึงเมฆอื่น. อีกประการหนึ่ง, เมฆซึ่งเต๊มดว้ยไฟฟ้านั้น ลอยลงมาใก้ลแผ่นดินแล้ว, ไฟฟ้าที่มีมากอยู่ในเมฆนั้น, ก็แล่บแล่นออกไปหาไฟฟ้าที่นอ้ยที่อยู่ในดินไห้เสมอเท่ากัน. อันธรรมดาไฟฟ้าแลบลงมาจากเมฆนั้น, ก็ยอ่มลงมาตามของอันตั้งอยู่สูง, คือ เสากระโดง, แลต้นไม้, แลเรือน, เปนทางที่สายฟ้าจะลงมาถึงแผ่นดิน.
แต่ทว่า มีของหลายสิ่งที่ไม่ชอบกับไฟฟ้า, คือ แก้ว, แลยางไม้, แลกำมะถัน, แลไหม, แลขนสัตวทั้งปวง, แลไม้ที่หย้างไฟภอแห้ง, สิ่งทั้งปวงนี้ไม่ชอบกับไฟฟ้า, ไม่เปนหนทางแห่งไฟฟ้า. แลสิ่งที่ไฟฟ้าชอบมักตามไปนั้น, คือ เงิน เปนต้น, แลทองแดง เปนที่สอง, ทองคำ เปนที่สาม, สังกะสี เปนที่สี่, เหลก เปนที่ห้า, ตะกัวเกรียบ เปนที่หก, ตะกัวดำ เปนที่เจด. เมื่อไฟฟ้ามาใก้ลจะถึงสิ่งทั้งปวงนี้, สิ่งนี้ก็ยอ่มชักให้ไฟฟ้าลงไปตามสิ่งนี้. นักปราชทั้งปวงได้เหนดังนั้น จึ่งคิดดูว่า, เงิน แลเหล๊ก แลทองแดง ชักไฟฟ้ามากเท่าไร, แล้วจึ่งคิดทำเปนตำราห้ามไฟฟ้า, มิให้ตกถูก เปนต้นว่า เรือน, แลกำปั่น, แลสิ่งของทั้งปวง. ถ้าแลมีที่เปนวงกลมเลกใหญ่เท่าใดมืได้กำหนฎ, ถ้าจะมิให้ไฟฟ้าถูก, จึ่งเอาเงินก็ได้, แลเหลกออ่นก็ได้, แลทองแดงก็ได้, เอาแต่อย่างเดียว ทำให้เปนสี่เหลี่ยมสามกระเบียด, ปักไว้ในดินให้สูงส่วนหนึ่ง, ให้วัดดูที่วงนั้นโดยตรงเปนสี่ส่วน เอาส่วนหนึ่ง, จึ่งเอาแท่งเงินก็ดี, แลแท่งเหลกออ่นก็ดี, แลแท่งทองแดงก็ดี, ตามแต่จะเอาอย่างหนึ่ง, ทำให้เปนสี่เหลี่ยมสามกระเบียด ปักตั้งแต่ดินขึ้นไป, ให้สูงเท่าส่วนหนึ่งนั้น. เมื่อไฟฟ้าลงมา ก็จะลงมาตามแท่งเงิน, แลแท่งเหลกออ่น แลแท่งทองแดง, ที่ปักไว้ มิได้ถูกตอ้งของอื่น ๆ ในวงนั้นเลย. ถ้าวงนั้นกว้างแปดวา, ก็จะตอ้งปักแท่งเงิน แลแท่งเหลกออ่น แลแท่งทองแดง ให้สูงสองวา. ในเมืองนักนั้น, เขาได้ใช้แต่เหลกออ่นอย่างเดียว, เพราะราคาถูกกว่าเงินแลทองแดง. ถ้าเรือนยาวแปดวา จะไม่ให้ไฟฟ้าถูกเรือนนั้น, ก็ให้ปักแท่งเหลกสี่เหลี่ยมสามกระเบียดตรงหน้าจั่วข้างนอก. ถ้าปักข้างเดียว, ตั้งแต่ดินขึ้นมา ให้สูงพ้นอกไก่ขึ้นไปสี่วา, ถ้าปักข้างนอกจั่วทั้งสองข้าง, ให้สูงพ้นอกไก่ข้างละสองวา, ก็จะกันไฟฟ้าได้. อีกอย่างหนึ่ง, ให้ปักนอกจั่วข้างเดียว, ให้สูงกว่าอกไก่นอ่ยหนึ่ง, แล้วให้ต่อเหล๊กทอดไปตามอกไก่ให้ถึงท่ำกลางอกไก่, แล้วให้ติดกันเหมือนทอขึ้นไปตรงกลางอกไก่ ให้สูงสองวา, ก็จะกันไฟฟ้าได้. ถ้าเรือนยาวกว่าห้าวา, ให้ปักแท่งเหลกทั้งสองข้างหน้าจั่ว, ให้สูงกว่าส่วนที่ว่ามาแล้วนั้นนอ่ยหนึ่ง, ก็จะดีกว่าปักข้างเดียว. แลที่ปลายแท่งเหลกนั้น ข้างบนให้แหลมเปนสามง่ามสี่ง่าม, ยาวง่ามละหกนิ้ว, แลปลายง่ามข้างบน, ใส่เงินก็ได้, ใส่ทองแดงก็ได้, อย่าให้เปนสนิม, แลข้างต้นเหล๊กที่ปักลงในดินนั้น, ให้ทำเปนสามง่ามสี่ง่าม, ให้ปักไกลออกจากเรือนลงในดินประมาณสองศอกสามศอก, ภอถึงดินเปียก. ในเมืองอังกฤษ, แลเมืองอะเมริกา, แลเมืองอาละมานนั้น, เขาได้กระทำกันเรือนห้ามไฟฟ้าอย่างนี้เปนอันมาก. ไฟฟ้ามิได้ผ่าถูกเรือน แลมิได้ถูกตอ้งคนซึ่งอยู่ในเรือนนั้นเลย. ถ้ากลัวว่า สนิมจะกินต้นเหล๊กที่อยู่ในดินนั้น, ให้ใส่ถ่านไฟนอ่ยหนึ่งให้รอบหล๊กนั้น. ประการหนึ่ง, เมื่อจะปักแท่งเหล๊กนั้น, ให้มีสายยูเหล๊ก, แลหว่งเหลกติดไว้, แล้วให้เอาผ้าชุบครั่ง, แลชัน พันสายยูแลหว่งนั้นเสีย, เพื่อจะมิให้ไฟฟ้าตามเหลกนั้นเข้าไปในเรือน, เพราะไฟฟ้ามิได้ชอบกันกับครั่งแลชัน. จึ่งเอาแท่งเหล๊กสี่เหลี่ยมสามกระเบียดปักลงในสายยูแลในหว่งนั้นเหมือนที่ว่ามาแล้ว. อีกประการหนึ่ง, ถ้าจะมิให้ไฟฟ้าถูกกำปั่นก็ดี, สำเภาก็ดี, ให้ปักเหลกสี่เหลี่ยมสามกระเบียดบนปลายเสากระโดง, ให้สูงภอประมาณ ก็จะกันไฟฟ้าได้. ถ้ากำปั่นมีสามเสา, จะตอ้งปักเสาหวัว, แลเสาท้าย ทั้งสองเสา. แล้วจึ่งเอาโซ่รพันให้ติดกับเหลกนั้น, ให้ล่ามโซ่รนั้นลงมาให้ติดกับทองแดงที่ทอ้งกำปั่นนั้น, ไฟฟ้าก็จะตามโซ่รลงไปถึงทองแดง, แล้วจะตามทองแดงลงไปในน้ำ. ถ้าไม่มีทองแดง ก็ให้โซ่รนั้นลงไปในน้ำศักศอกสองศอกก็ได้. อีกประการหนึ่ง, ตีกที่สำหรับไว้ดินปืนจะมิให้ไฟฟ้าถูกไหม้, ให้ปักเสาทั้งสี่มุม, ให้ห่างตึกศอกหนึ่ง, สองศอก ก็ได้, ให้ปักเหลกสี่เหลี่ยมสามกระเบิยดลงในดินให้เข้าในสายยูทุกเสา, ให้สูงกว่าอกไก่ตึกนั้นตามตำราที่ว่ามาแล้ว, ไฟฟ้าจะมิได้ถูกตอ้งตึกนั้นเลย. มาทว่าไฟฟ้าจะลงมาเหลกนั้น ก็จะชักให้ลงไปในดินสิ้น. อีกประการหนึ่ง, ถ้าคนกลัวไฟฟ้าจะตกถูกตัว, ให้ทำเก้าอี้แลเตียงนอน, ให้ทำตีนเตียงแลตีนเก้าอี้นั้น, ดว้ยแก้วก็ได้, ครั่งก็ได้, ชันก็ได้, สูงศอกหนึ่งสองศอกก็ได้, ถ้าคนนั่งนอนยู่บนเตียงแลเก้าอี้นั้น, อย่าได้ถูกตอ้งของสิ่งอื่น, อย่าให้ท้าวแลมือหอ้ยลงไปใก้ลพื้นเรือน, ให้อยู่แต่บนเตียงแลบนเก้าอี้นั้น. ถึงไฟฟ้าจะตกลงบนศีศะคนนั้น, ๆ ก็มิได้เปนอันตราย, เพราะไฟฟ้ามิได้แล่นออกจากตัวเรว. ถ้าคนจะเอาผ้าแพรทำดว้ยไหม, คลุมศีศะกับทั้งตัวไว้, ก็มิได้เปนอันตราย, เพราะไฟฟ้ามิได้ชอบกับไหมนั้น.
อันตำราไฟฟ้านี้, นักปราช, ชื่อ ฟรังกลิน, อยู่ในเมืองอะเมริกา, ได้คิดทำไว้เปนต้น.
ข่าวว่า เมืองใหม่นั้นมีเสือชุมนัก, กัดคนตายเปนมาก. เจ้าเมืองก็ประกาษว่า, ถ้าใครฆ่าเสือตายตัวหนึ่ง, เราจะให้แก่ผู้ฆ่าห้าสิบเหรียน. ยังมีพวกที่ทำนาใก้ลป่านั้นก็สัญาอีกว่า จะให้รอ้ยเหรียน. ครั้นถึงเดือนญี่ ปีเถาะ เบญศก, มีเจ๊กฉลาดคนหนึ่งขุดซึ่งบ่อให้ฦกในทางเสือเดิน, แล้วเอาไม้ปิดปากบ่อไว้ให้หมิ่น, กระทำให้ดี มิให้เสือเหนว่าเปนบ่อ. แลมีเสือตัวหนึ่งเดินมาที่ไม้พาษบ่อนั้น, ทั้งไม้ทั้งเสือก็พลัดตกลงไปในบ่อ ขึ้นมิได้. เจ๊กนั้นเหนแล้วก็ดีใจ, ไปบอกแก่พวกอังกฤษ, ๆ ก็ยิงเสือนั้นตาย. เจ๊กก็ได้เงินรอ้ยห้าสิบเหรียน, แล้วเจ๊กเอาเสือนั้นไปฃาย ได้เงินอิกสิบเหรียน, เข้ากันเปนได้เงินรอ้ยหกสิบเหรียน.
เดือนแปด ปีเถาะ เบญศก, วันคืนขึ้นแรมมิได้กำหนด, ในข่าวว่า มีคนอเมริกาพวกหนึ่ง, มีธุระ ขุดซึ่งแผ่นดินลงไป, ตื้นแลฦกมิได้กำหนด, แต่ว่า ขุดลงไปก็ภบซึ่งงาสัตวหักอยู่อันหนึ่ง, แลกรามสัตวสองอัน. จะเปนงาแลกรามสัตวสิ่งใดมิได้รู้, แต่งานั้นโดยยาววัดได้สามศอก, โดยกว้างข้างโตนั้นวัดได้ศอกหนึ่ง. กรามนั้นโดยกว้างวัดได้สิบนิ้วอันหนึ่ง, วัดได้เจดนิ้วกระเบียดอันหนึ่ง, แต่ยาวนั้นมิได้ว่ามาในหนังสือ.
ปีเถาะ เบญศก, วันเดือนขึ้นแรมมิได้กำหนด, ในข่าวว่า มีพวกจีนอยู่ที่ภูเขาเมืองเซซานกับเมืองธีเบ๊ดต่อกัน, คิดกระบทแก่กระษัตรจีน. ๆ ครั้นทราบเหตุแล้ว ก็ใช้ให้ทหารยกทับไปจับซึ่งพวกกระบท, แต่ทำสงครามต่อสู้กันอยู่ช้านานจนผู้คนล้มตายเปนอันมาก. ภายหลัง ทหารก็ได้ไชยชำนะ ปราบสัตรูหมดสิ้น.
เดือนสิบ ปีเถาะ เบญศก, ในข่าวว่า น้ำทว่มซึ่งเมืองโคนาน แหว้นแค้วนจีน, หน้ากลัวนัก. บ้านแลเมืองนั้นก็จมอยู่ในน้ำสิ้น, ทั้งคนก็ตายเปนอันมาก. บ้านเมืองนั้นอยู่ริมแม่น้ำเหลือง. ทำนบที่เขาทำกั้นมิให้น้ำทว่มเมืองนั้นมันพังไป, น้ำจึ่งทว่มเข้ามาได้, เพราะเจ้าเมืองมิได้ดูแลเอาใจไส่. กระษัตรจีน ครั้นทราบเหตุ ก็ตรัสสั่งให้ทำโทษแก่เจ้าเมืองนั้น.
ปีเถาะ เดือนญี่ ขึ้นสี่ค่ำ, มีกำปั่นลำหนึ่งชื่อ เปโลรัศ แตกในชเลจีน. นายกำปั่นนั้นชื่อ ตริฆช์, แต่กอ่นเปนนายกำปั่นหลวงในเมืองนี้. กำปั่นนั้นบันทุกฝิ่น, แล่นออกไปจากเมืองใหม่ จะไปเมืองจีน, ก็เกยหินแตก แต่ว่าของนั้นยังไม่เสีย. นายกำปั่นกับลูกเรือสี่ห้าคนก็ลงลองโบดกลับไปเมืองใหม่, เก้าวันก็ถึง. แล้วเขาเช่ากำปั่นไฟกลับไปรับลูกเรือแลเข้าของที่อยู่ในกำปั่นที่เกยหินแตกนั้นได้ส่วนหนึ่ง, แล้วก็กลับไปเมืองใหม่.
ที่เกาะหมากนั้น เดี๋ยวนี้ เขาทำน้ำตานทรายมากขึ้นกว่าแต่กอ่น, มีโรงหีบอยู่หลายแห่ง, แต่เดี๋ยวนี้ มีสองแห่งที่เขาหีบดว้ยเครื่องไฟ. เครื่องไฟแห่งหนึงนั้นคิดเปนกำลังม้าได้สิบสี่ม้า.
ปีเถาะ เบญศก เดือนสิบ ขึ้นสิบค่ำ, มีพ่อค้าจีนคนหนึ่งชื่อ เฮาควา ตายในเมืองกวางตุ้ง, เปนคนมีเงินมากประมาณสองโกฏิห้าล้านเหรียน, คิดเปนเงินไทได้กว่าหมื่นสี่รอ้ยหาบ⟨.⟩ เมื่อตายนั้น อายศุม์ได้ ๗๕ ปี.
ในภาษาอังกฤษมีคำสุภาสิตว่าดังนี้, ว่า ผลไม้แต่เซ้าเปนทองคำ, เที่ยงเปนเงิน, เอย็นเปนตะกั่ว. แปลว่า, กินผลไม้แต่เซ้ามีประโยชน์มาก, กินเที่ยงก็มีประโยชน์มากแต่ว่าไม่เหมือนกินแต่เซ้า, กินเอย็นก็มีประโยชน์นอ้ยนัก.
มีคำสุภาสิตอีกว่า, ไม่เปลืองไม่อด. แปลว่า, ให้รักษาของไว้อย่าให้เสียได้, แลอย่าให้กระจัดกระจายไปได้, ของนั้นก็จะภอเลี้ยงชีวิตรไป, ไม่ตอ้งอด.
นี้ข้าพเจ้าเขียนไว้ให้เปนทานแก่คนยากจนขัดสนเงินที่จะซื้อสรรพคุณที่หายาก. ยาขี้ผึ้งนี้ เราคัดแปลออกให้ผู้เขนใจทั้งปวง, แต่ลว้นของหาได้ง่าย, เบาราคาทั้งนั้นแล.
ขนานหนึ่ง, สำหรับปิดแผลสด. เอาขี้ผึ้งแขงหนัก ๒ ส่วน, เอายางสนจีนหนัก ๕ ส่วน, เอาน้ำมันมะพร้าว ๘ ส่วน, ใส่ชามลงหุงละลายเข้ากัน, แล้วรินน้ำมันที่ไส ๆ ออกเสีย, ให้ขี้มันตรองลงไปอยู่ต่างหาก. ครั้นแห้งภอดีแล้ว, จึ่งเอายานี้ทาลงที่ผ้าขาวแต่บาง ๆ, ให้เสมอกัน; แล้วเอาปิดแผลสด, ทั้งเรียกเนื้อ, ทั้งสมานแผล, หายเรวโดยมากแล.
ขนานหนึ่ง, เอายางสนจีนหนัก ๘ ส่วน, เอาน้ำมันมะพร้าวส่วนหนึ่ง, หุงให้ละลายเข้ากัน, แล้วเอายานี้ทาลงที่ผ้าขาว, เอาไม้ปากเป๊ดเกลี่ยให้ทั่ว, ให้เสมอกัน, แล้วเอาปิดแผลลงที่บาดเจ๊บทั้งปวงนั้น. ถ้าแผลนั้นกว้างอยู่, ก็ให้เอาขี้ผึ้งทาผ้าลง, ให้หนาภอเหนียวเหนี่ยวแผลให้ปิดกัน, แล้วหมั่นฌะหมั่นล้าง แผลสดทั้งปวงหายโดยมากแล.
ขนานหนึ่ง, เอาน้ำมันดินหนัก ๓ ส่วน, ขี้ผึ้งแฃงส่วนครึ่ง, น้ำมันมะพร้าวส่วนครึ่ง, หุงให้ละลายเข้ากัน แฃงดีแล้ว, เอาทากระดาดก็ได้, ทาผ้าขาวก็ได้, ปิดแผลเมรงเก่า, เรียกเนื้อดีนักแล. ทั้งปิดฝีปะคำรอ้ยที่แตกหนองแล้วก็ได้, ที่ยังไม่แตกก็ได้, ปิดไปเถิด หายโดยมากแล. ปิดแก้ลมที่เข้าข้อให้เมื่อยขบ ก็คงเหนคุณโดยมากแล.
ขนานหนึ่ง, เอาน้ำมันดินหนัก ๒ ส่วน, ขี้ผึ้งแขงครึ่งส่วน, หุงละลายเข้ากันดี, แล้วยกวางลงไว้ภอเอย็นตะลุ่น ๆ, แล้วเอากำมะถันเหลืองหนัก ๒ ส่วน, บดให้เปนจุลเข้าลายมือแล้ว, เอาใส่ลงกวนให้เข้ากันกับขี้ผี้งนั้น, สำหรับรักษาขี้กลากแลลงพื้นหมดทั้งมือแลท้าว. ทาเข้าแล้วเหนว่า จะหาย. ถ้าไม่หาย จะคอ่ยยังชั่ว, ดีกว่าไม่รักษา. ทั้งรักษาหิตเปื่อยก็ได้แล.
ขนานหนึ่ง, เอาขี้ผึ้งหนัก ๖ ส่วน, น้ำมันมะพร้าวหนัก ๑๖ ส่วน, หุงให้ละลาย, แล้วปลงลงไว้แต่ภอเอย็นน่อยหนึ่ง, แล้วเอากำมะถันเหลืองมา หนัก ๕ ส่วน, บดให้เปนจุล, ใส่ลงกวนให้เข้ากับน้ำมันที่ปลงลงไว้แล้ว, เกบไว้สำหรับทาหิตที่เปื่อยตามง่ามมือ, แลท้าว, แลในร่มผ้านั้น, ให้ทาเพลาเมื่อจะนอน ศักเจดแปดวันก็หาย. แต่ว่าตอ้งกินกำมะถันหนักสลึงหนึ่ง, เปนยาภายใน. กินเพลาเอย็นทุกวัน, หายเรว, แลดว้ยตัวมันตาย.
ขนานหนึ่ง, เอาเนยปลาวานหนัก ๔ ส่วน, น้ำมันมะพร้าวหนักส่วนหนึ่ง, ปรอดหนัก ๘ ส่วน, กวนไปให้ปรอดหาย, เข้าอยู่ในขี้ผึ้งแลน้ำมันนั้นจงได้, อย่าให้เหนเม๊ดปรอดเลย. นี้เรียกว่า ขี้ผึ้งเข้าปรอดอย่างก้ลา. ขี้ผึ้งนี้สำหรับรักษาโรคสำหรับบุรุษ. ให้เอาขี้ผึ้งนี้ทาเข้าที่หว่างฃาทั้งสองข้าง, แลทาที่รักแร้ทั้งสองข้าง, ให้ปรอดเข้าในตัวได้แล้วดีนักแล. ให้ทายานี้วันละสองหนเช้าเอย๊น. เมื่อจะทานั้น เอามือถู ๆ ลงให้หนัก ๆ, จึ่งจะดี ดว้ยปราถนาจะให้ปรอดเข้าไปในเนื้อ, จึ่งให้ถูลงให้หนัก จึ่งจะเหนคุณ. ถ้าเงือกเจบเมื่อไรแล้ว, นั้นแล ปรอดเข้าตัว. อนึ่ง ถ้าเปนไข้พิศม์มาแต่ป่า, แพทยาทั้งหลายสิ้นมือแล้ว, จึ่งเอายาขี้ผึ้งนี้, ทาให้ทั่วตัวคนไข้, ให้ปรอดเข้าตัวได้จนเจบเงือก ก็คงเหนคุณแล. อีกอย่างหนึ่ง, ถ้าเปนฝีที่ตับ เอาขี้ผึ้งนี้ทาที่ตรงตับ, แลหว่างฃา แลรักแร้ทั้งสอง, ทายานี้ถูลงให้หนักจนปรอดเข้าตัว, แจบเงือก, หายมามากแล.
ขนานหนึ่ง, เอาขี้ผึ้งเข้าปรอดอย่างก้ลาที่ว่ามาแล้วนั้นหนัก ๒ ส่วน, เอาขี้ผึ้งแฃงหนักส่วนหนึ่ง, เอาน้ำมันมะพร้าวหนัก ๓ ส่วน, หุงน้ำมันกับขี้ผึ้งให้เข้ากันแล้ว, จึ่งปลงลงไว้ให้ขี้ผึ้งม้านเข้าแล้ว, จึ่งเอาขี้ผึ้งเข้าปรอดก้ลานั้น, มาประสมกันเข้า. นี่แลเรียกว่า ขี้ผึ้งเข้าปรอดอย่างออ่น. ขี้ผึ้งนี้ปิดแผลได้หลายอย่าง, คือ แผลคชราดก็ได้, แลปิดแผลเมรงที่เรื้อรังนั้นก็ได้, ปิดฝีมะคำรอ้ยที่ยังไม่แตกก็ได้, ที่แตกแล้วก็ได้, แลปิดแผลโรคสำหรับบุรุษก็ได้. ถ้าจะปิดขี้ผึ้งขนานนี้แล้ว, ก็ให้ล้างชำระแผลเสียดว้ยน้ำซ่าหบู่กอ่น, แล้วฌะแผลดว้ยน้ำท่า, เอาจุลศีรแกว่ง ๆ ลงภอฝาด ๆ, แล้วฌะปากแผลให้สิ้นโทษแล้ว, จึ่งปิดยาขี้ผึ้งนี้เถิด, ให้ฌะแผลทุกวันแล.
Price Current. | บาด | เฟื้อง | บาด | เฟื้อง | |
โซ่รสายเสมอ | หาบละ | ๑๐ | ๑ | ๑๑ | ๐ |
แผ่นทองแดงแลตะปูทองแดง | หาบละ | ๕๐ | ๒ | ||
ผ้าใบ | พับละ | ๑๐ | ๕ | ๑๓ | ๖ |
ขี้ผึ้ง | หาบละ | ๕๐ | ๒ | ๕๓ | ๔ |
กำญานอย่างกลาง | หาบละ | ๕๘ | ๕ | ๖๑ | ๗ |
หมากแห้ง | หาบละ | ๓ | ๖ | ||
การะบูนจีน | หาบละ | ๓๐ | ๑ | ||
เข้าแฟมาแต่ยะกะตรา | หาบละ | ๙ | ๒ | ||
ฝ้ายดีห่อหนักสองหาบยี่สิบสี่ชั่ง | ห่อละ | ๒๕ | ๑ | ๒๖ | ๖ |
ฝ้ายอื่นมาแต่บำเบ | ห่อละ | ๑๓ | ๓ | ๒๖ | ๖ |
งาช้างใหญ่ | หาบละ | ๑๖๗ | ๔ | ๑๘๓ | ๗ |
งาช้างเลก | หาบละ | ๑๐๐ | ๔ | ๑๓๓ | ๖ |
หนังควายดี | หาบละ | ๖ | ๒ | ๖ | ๕ |
ความไท | หาบละ | ๕ | ๐ | ๖ | ๕ |
น้ำมันมะพร้าวไท | หาบละ | ๑๒ | ๔ | ๑๕ | ๐ |
พริกไท | หาบละ | ๖ | ๕ | ๗ | ๐ |
พริกลอ่น | หาบละ | ๑๒ | ๗ | ||
พริกเทด | หาบละ | ๖ | ๒ | ๕ | ๕ |
เข้าสารดีเกียนหนึ่งหนัก ๔๐ หาบ | เกียนละ | ๙๗ | ๑ | ||
เข้าอย่างกลาง | เกียนละ | ๙๒ | ๑ | ||
เข้าอย่างต่ำ | เกียนละ | ๖๖ | ๗ | ๗๖ | ๗ |
น้ำตานซายเมืองไท | หาบละ | ๘ | ๓ | ๙ | ๒ |
เกลือเมืองไท | เกียนละ | ๓๖ | ๖ | ||
ฝางเมืองไท | หาบละ | ๒ | ๐ | ๒ | ๑ |
ครั่งเมืองไท | หาบละ | ๘ | ๓ | ๑๑ | ๕ |
ตะกั่วเกรียบ | หาบละ | ๒๒ | ๕ | ๒๕ | ๑ |
กระ | หาบละ | ๖๖๙ | ๗ | ๗๕๓ | ๖ |
หวาย | หาบละ | ๓ | ๐ | ๕ | ๐ |
เชือกอังกฤษสำหรับกำปั่น | หาบละ | ๑๓ | ๖ | ๒๐ | ๑ |
ปืนคาบสีลากับเหลกแซ่ | ลำละ | ๓ | ๖ | ๔ | ๕ |
สมอเหล๊ก | หาบละ | ๑๐ | ๐ | ๑๑ | ๑ |