หนังสือราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 1/แผ่นที่ 1
- ประกาศที่ 1 (ว่าด้วยออกราชกิจจานุเบกษา)
- ประกาศที่ 2 (ว่าด้วยสงกรานต์)
- พระราชพิธีจรดพระนังคัล
- วิสาขบูชา
- ประกาศที่ 3 ว่าด้วยตั้งเกาน์ซิลแลพระราชบัญญัติ
- เสด็จประพาสพระนคร
- เสด็จพระราชดำเนินหอพระนาค
- ทอดพระเนตรช้าง
- ประกาศแผ่นดิน เรื่องราชกิจจานุเบกษา
- ทรงรดน้ำ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)
- ตั้งกรม (กรมพระบำราบปรปักษ์)
- พิธีจรดพระนังคัล
- วิสาขบูชา
- จันทรุปราคา
- บอกราคาหนังสือนี้
- ข่าวต่างประเทศ (ว่าด้วยการประชุมรัฐสภาอังกฤษ)
๏พระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษ วรุต์มพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาษ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงพระราชดำริหในการที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อยสำเรจประโยชนทั่วถึงแน่นอนให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน จึ่งทรงพระราชดำริหว่า หนังสือราชกิจจานุเบกษาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเปนสมเด็จพระบรมชนถนารถ ได้ทรงเปนธรรมเนียมไว้แล้วแต่ก่อนนั้น ทรงเหนว่าเปนของดีมีคุณเปนประโยชน์ในแผ่นดินสยาม ไม่ควรจะทิ้งละให้เสื่อมสูญพระราชประเพณี จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งให้พระยาศรีสนทรโวหาร พระสารสาศนพลขันธ์ หลวงสารประเสริฐ เรียบเรียงเหตุในราชกิจต่าง ๆ ถวายพระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ลงพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ตอไป โดยพระราชประสงค์จะให้สืบธรรมเนียมดำรงพระราชประเพณีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลเพื่อจะให้เปนประโยชนแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยแลราษฎรทั้งปวงที่มีความประสงค์อยากจะทราบเหตุต่าง ๆ ที่เกิตขึ้นในประเทศสยามนี้แลประเทศอื่น ๆ อนึ่ง การตีพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาครั้งนี้จะไม่แจกเหมือนเมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งนั้นเจ้าพนักงานตีพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็จำแนกแจกจ่ายให้ปันแก่ผู้ที่ต้องประสงค์คนละฉบับบ้าง สองฉบับบ้าง สามฉบับบ้าง บางทีผู้มีอำนารถมาขอคนละเก้าฉบับบ้าง สิบฉบับบ้าง อย่างน้อยเพียงสี่ฉบับห้าฉบับบ้าง เจ้าพนักงานก็ยอมให้ไป ผู้ที่ได้รับหนังสือราชกิจจานุเบกษาไปนั้น บางทีอ่านครั้งหนึ่งทิ้งเสียบ้าง บางทีเกบไว้ แต่ไม่ธุระ ทิ้งให้ฉีกขาดไปเสียบ้าง เพราะเหนว่าหนังสือนั้นเปนของได้โดยง่าย แต่คราวนี้ซึ่งเจ้าพนักงานจะลงพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาต่อไปเปนครั้งที่สองในแผ่นดินปัตยุบันนี้ จะให้ออกเดือนละสี่ครั้ง ขึ้นค่ำหนึ่ง แรมค่ำหนึ่ง ขึ้นเก้าค่ำ แรมเก้าค่ำ ทุกเดือนไป รวมหนังสือปีหนึ่งเปนสี่สิบแปดฉบับ แต่จะฃอเกบเงินแต่ผู้ที่ได้รับหนังสือราชกิจจานุเบกษาปีหนึ่งเปนเงินคนละแปดบาท เงินซึ่งได้เกบมานั้นจะเอามาใช้จ่ายซื้อกระดาษแลฃองอื่น ๆ ซึ่งจะใช้สอยในการตีพิมพ์ ก็ที่เรียกราคาปีละแปดบาทนั้นก็ยังไม่ภอใช้สอยในการตีพิมพ์ แต่จะกันผู้ที่มาฃอไม่ให้ราคา แลจะให้เปนประโยชนใหญ่ในภายน่านั้นด้วย ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยแลราษฎรทั้งปวงที่มีปัญญาแสวงหาความชอบ แลความฉลาด แลความรอบรู้ในราชการแผ่นดิน ควรจะออกเงินปีละแปดบาทรับซื้อหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ไว้อ่านตรวจดูการต่าง ๆ เหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสยามบ้าง ในต่างประเทศบ้าง ก็จะได้ทราบความชัตในเหตุการต่าง ๆ ทั้งใกล้ทั้งไกลได้สมประสงค์ ผู้ที่ได้รับหนังสือราชกิจจานุเบกษาไปแล้วจงถนอมรักษาไว้ เยบให้เปนเล่มสมุดเหมือนอย่างสมุดจีนสมุดฝรั่ง เวลาเมื่อประสงค์จะทราบเหตุการฤๅราชกิจสิ่งไรที่มีอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็จะได้ตรวจดูให้ทราบชัตในราชกิจแลเหตุการนั้นโดยง่าย ถ้าผู้ใดประสงค์จะซื้อหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ฃอเชิญมาที่โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง ลงชื่อแลบอกบ้านไว้เปนที่สังเกต ถ้าประสงค์ให้ไปส่งถึงบ้าน ต้องเสียเงินอิกกึ่งตำลึง รวมเปนสองตำลึงกึ่ง ๚ะ
๏มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่คนทั้งปวงบันดาที่ได้นับถือพระพุทธสาศนาแลธรรมเนียมปีเดือนวันคืนอย่างเช่นใช้ในเมืองไทยให้รู้ทั่วกันว่า ในปีจอฉศกนี้ พระอาทิตย์ขึ้นราสีเมศณวันเสาร เดือนห้า แรมสิบค่ำ เวลาสามยามกับสิบสองนาที รุ่นขึ้นวันอาทิตย์ เดือนห้า แรมสิบเอจค่ำ เปนวันมหาสงกรานต์ วันจันทร เดือนห้า แรมสิบสองค่ำ เปนวันเนา วันอังคาร เดือนห้า แรมสิบสามค่ำ เปนวันเถลิงศกขึ้นศักราชใหม่เปนพันสองร้อยสามสิบหก ในเวลารุ่งแล้วสี่สิบห้านาที ในปีนี้การทำบุญแลเล่นนักขัตฤกษสงกรานตเปนสามวันตามอย่างเคย คือ เดือนห้า แรมสิบเอจค่ำ สิบสองค่ำ สิบสามค่ำ เปนแน่แล้ว ตั้งแต่วันพุฒ เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จนถึงวันจันทร แรมสิบสองค่ำ จดหมายลงชื่อปีในที่ทั้ังปวงให้ว่า ปีจอยังเปนเบญจศก ถ้าจดจุลศักราชให้คงเปนพันสองร้อยสามสิบห้าอยู่ ตั้งแต่วันอังคาร เดือนห้า แรมสิบสามค่ำ ไปจนถึงวันจันทร เดือนสี่ แรมสิบห้าค่ำ วันตรุศสุดปีนั้น ให้จดชื่อว่าปีจอฉศก ลงเลขศักราชว่าพันสองร้อยสามสิบหก เลข ๕ ตามปีแผ่นดินซึ่งเขียนไว้บนศกนั้น เมื่อเปลี่ยนเบญจศกแล้ว จึ่งเขียนเปนเลข ๖ ไว้อย่าง (ศก) ไปกว่าจะเปลี่ยนศกใหม่ ในปีจอฉศกนี้มีอธิกมาศ เดือนแปดเปนสองหน เปนเดือนถ้วนทั้งสองเดือน เมื่อเขียนเลขครุ เดือนแปดก่อน ให้เขียนเลขแปดตัวเดียวแล้วกาหมายไว้ข้างล่าง ดังอย่าง ๘ นี้ ให้รู้ว่าเดือนแปดหลังจะมี ในเดือนแปดหลังนั้นให้เฃียนเลขแปดเปนสองซ้อนกันไว้ท้ายครุ ดังอย่าง ๘๘ นี้ วันศุกร เดือนห้า ขึ้นสามค่ำ ปีจอยังเปนเบญจศกวันหนึ่ง วันพฤหัศบดี เดือนสิบ แรมสิบสามค่ำ ปีจอฉศก วันหนึ่ง สองวันนี้เปนวันกำหน⟨ด⟩ถือน้ำพระพิพัฒสัตยา
๏วันจันทร เดือนวิสาข คือ เดือนหก ขึ้นสิบสองค่ำ ⟨กำห⟩น⟨ดจะ⟩ได้กระทำพระราชพิธีจรดพระนังคัล ห้ามอย่าให้ราษฎรลงมือทำนาก่อนวันนั้น คือ ตั้งแต่วันพฤหัศบดี เดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่งไป ฤๅในวันจันทร ขึ้นสิบสองค่ำนั้น ให้ลงมือทำนาภายหลังแต่วันพระราชพิธีไปตลอดพระราชอาณาเขตร ๚ะ
๏อนึ่ง วันวิสาขบูชาซึ่งเปนที่นับถือตามกำหนดในพระคำภีรอรรฐกถาว่าเปนวันประสูตร แลตรัสรู้ แลปรินิพาน ของสมเดจพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ในปีจอฉศกนี้วันวิสาขปุรณีตกในวันสุกร เดือนหก แรมค่ำหนึ่ง ๚ะ
๏พระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในรัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชวงษซึ่งได้ประดิษฐานแลดำรงรัตนราไชมหัยสวรรยาธิปัตณกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมอุดมราชนิเวศน์มหาสฐาน เสดจออกพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยมหัยสวริยพิมานโดยสฐานอุตราภิมุข พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษแลอัคมหาเสนาธิบดีมุขมนตรีกระวีชาติราชปโรหิตาจาริย์ฝ่ายทหารพลเรือนถวายคำนับโดยอันดับเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศพร้อมกัน จึ่งมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทให้ประกาศแก่พระบรมวงษานุวงษข้าทูลอองธุลีพระบาทให้ทราบทั่วกันว่า ตั้งแต่เสดจบรมราชาภิเศกเถลิงถวัลยราชสมบัติ ตั้งพะะราชหฤไทยจะดำรงค์รักษาพระนครขอบขันธสีมาทั้งพระบรมวงษานุวงษข้าราชการแลราษฎรให้ถาวรวัฒนายิ่งขึ้นไป จึ่งได้ทรงพระราชอุสาหเสดจพระราชดำเนินทางทเลฝ่าคลื่นฝืนลมไปประพาศเมืองต่างประเทศ เพราะจะได้ทรงทอตพระเนตรบ้านเมืองแลการธรรมเนียมต่าง ๆ สิ่งใดดีจะได้เปนแบบอย่างแก่บ้านเมืองสยามต่อไป ก็เพราะทรงหวังตั้งพระราชหฤไทยประสงค์จะทรงจัตการทำนุบำรุงพระนคร จึ่งได้เสดจพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบ้านเมืองซึ่งได้มีความเจริญแล้วนั้น ก็ได้ทรงเหนการดีหลายอย่างที่จะเปนคุณเปนประโยชนแก่แผ่นดิน เปนต้นว่ากดขี่แก่กัน ถ้าเมืองใดประเทศใดยังถือตามที่เปนการกดขี่แก่กันนั้นอยู่แล้ว ก็เหนว่าประเทศนั้นเมืองนั้นยังไม่มีความเจริญเปนแน่ จึงได้ทรงลดหย่อนผ่อนพระราชอิศริยศลงหลายอย่าง โปรดให้ขุนนางยืนเฝ้าแลนั่งเก้าอี่ที่เสมอกัน ก็มิได้ทรงถือพระองค์ เพราะจะให้ท่านทั้งหลายเหนเปนแน่ว่าจะทรงปลดเปลื้องการกดขี่ที่มีอยู่ในบ้านเมืองนั้นให้ลดน้อยถอยไปทุกครั้งทุกคราว ครั้งนี้ทรงพระราชดำริห์เหนว่า ราชการผลประโยชนบ้านเมืองสิ่งใดที่จะเกิดขึ้นแลการที่ยังรกร้างมาแต่เดิมมากนั้น ถ้าจะทรงจัดการแต่พระองค์เดียวก็จะไม่ใคร่สำเร็จไปได้ ถ้ามีผู้ที่ช่วยกันคิดหลายปัญญาแล้ว การซึ่งรกร้างมาแต่เดิมก็จะได้ปลดเปลื้องไปได้ทีละน้อย ๆ ความดีความเจริญก็คงจะบังเกิดแก่บ้านเมือง จึ่งได้ทรงจัดสันข้าทูลอองธุลีพระบาทซึ่งมีสติปัญญาโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้เปนที่ปฤกษาแห่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมีราชการวันใดกำหนตให้มาประชุมพร้อมกัน จะเสดจออกในพระที่นั่งแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น ให้ผู้เปนที่ปฤกษาใหญ่มาประชุมเฝ้าในที่นั้นให้พร้อมกันในวันตามที่กำหนด เมื่อยังไม่แล้วการ จะประชุมติดกันไปสองวันสามวันก็ได้ เมื่อทรงพระราชดำริห์การสิ่งใดซึ่งเปนข้อราชการที่สำคัญ แลจะตั้งเปนกฎหมาย แลเปนแบบฉบับเปนธรรมเนียมในแผ่นดิน จะพระราชทานคำซึ่งทรงพระราชดำริห์นั้นให้ที่ปฤกษาทั้งปวงดำริห์ตริตรองดู การจะเปนคุณฤๅเปนโทษก็ให้กราบทูลขึ้นตามความที่เหน ถ้าเหนว่าสิ่งไระจเปนคุณฤๅคิดการซึ่งจะให้เปนคุณดีกว่าที่ทรงพระราชดำรีห์นั้น ก็ให้กราบทูลขึ้น ถ้าเหนว่าจะเปนการไม่มีคุณเปนโทษอย่างไร ก็ให้กราบทูลได้ ไม่เปนคนล้นคนทลึ่งไป ถ้าหากว่าคำที่ว่าขึ้นมานั้นดี ควรจะเอาเปนแบบฉบับได้ ก็จะเอาคำนั้นใช้ ถ้าเหนว่าไม่มีประโยชน ก็จะให้ยกเสีย แต่ผู้ซึ่งพูดขึ้นนั้นไม่มีโทษไม่มีความผิดสิ่งไรในตัว อนึ่ง ที่ปฤกษาทั้งปวงจะคิดการสิ่งไรขึ้นได้ ลงเนื้อเหนกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ก็ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฤๅทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายเปนไปรเวตก่อน จะได้ไม่เปนที่ขัดขวางแก่ผู้ใด เมื่อทรงเหนชอบ จะได้ทรงปฤกษาที่ปฤกษาทั้งปวง เมื่อเหนว่าชอบดีพร้อมกันปล้ว คำนั้นก็จะเปนใช้ได้ ถ้าการสิ่งไรซึ่งปฤกษากันในวันประชุมนั้นจะยังไม่ตกลงแล้วกันได้ ก็จะพระราชทานพระราชดำริห์แลคำผู้ซึ่งกล่าวขึ้นนั้นให้ไปตริตรองดูกอน เมื่อถึงคราวประชุมน่า ให้ที่ปฤกษาทั้งปวงทำจดหมายรายความคิดฃองตัวที่เหนนั้นมาถวายในที่ประชุมจงทุกคน จะได้ทรงเทียบเคียงดูเหนว่าคำของผู้ใดดี จะได้เอาคำของผู้นั้นเปนใช้ได้ ถ้าฝ่ายหนึ่งเหนความว่าไมดี ฝ่ายหนึ่งเหนความว่าดี เปนคำเถียงแก่งแย่งกันอยู่ดังนี้ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตัดสินเปนกลาง ไม่ทรงเหนว่าเปนผู้ใหญ่ผู้น้อย สุดแล้วแต่ความยุติธรรมเปนประมาณ แล้วจะทรงเลือกคำที่ที่ปฤกษาว่ามาเหนว่าจะใช้ได้นั้นเรียงลงให้เปนเรื่องจนตลอดการ ฤๅจะทรงพระราชดำริห์พิเสศกว่าคำของขุนนางเหล่านั้นขึ้นไปอิก ก็จะเพิ่มเติมลงด้วย แล้วปฤกษาที่ปฤกษาทั้งปวงต่อไป เมื่อเหนว่าดีพร้อมกันแล้ว จะเอาคำนั้นเปนใช้ได้ เมื่อที่ปฤกษายังจะเหนการดีจะมีคุณต่อไปอีก ก็จะโปรดให้ไปเรียงถ้อยคำตามความคิดของตัวมาว่าได้อีกกว่าจะเหนชอบพร้อมกันลงชื่อพร้อมกันแล้ว จึ่งจะมอบให้ผู้ใดผู้หนึ่งรับเอาความนั้นไปเรียงเปนพระราชบัญญัติ แล้วให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อถึงวันประชุมน่า จึ่งจะให้เอาคำพระราชบัญญัตินั้นออกอ่านให้ที่ปฤกษาทั้งปวงฟัง เมื่อเหนว่าถูกต้องพร้อมกันแล้ว ถ้าเปนการใหญ่ต้องปฤกษาท่านเสนาบดีเหนชอบพร้อมกันแล้ว จึ่งจะลงพระนามประทับพระราชลัญจกรในพระราชบัญญัตินั้นเปนใช้ได้ อนึ่ง จะทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการอีกพวกนึ่งให้เปนที่ปฤกษาในพระองค์ เพราะไม่ได้ทอดพระเนตรการสิ่งไร ไม่ได้ทรงฟังการสิ่งไรทั่วไป ไม่มีสิ่งไรที่จะเปนทางปัญญาซึ่งจะทรงพระราชดำริห์การบ้านเมืองแลจะทรงตัดสินคำของที่ปฤกษาทั้งปวงให้เด็จขาดไปได้ เพราะฉนั้น จึ่งจะต้องตั้งไว้สำรับทรงไต่ถามการงานให้กราบทูลได้ทุกอย่างไม่มีการขัดขวาง แลปฤกษาการซึ่งทรงพระราชดำริห์ขึ้นบางสิ่งก่อนที่ปฤกษาใหญ่ผู้ที่ได้มาเปนที่ปฤกษาในพระองค์ จึ่งจะเอาใจใส่ในราชการอุสาหสืบเสาะแลคิดการที่ดี เหมือนหนึ่งฝึกหัดคนขึ้นไว้ จะได้หนุนที่ปฤกษาใหญ่ต่อไป แต่ที่ปฤกษาในพระองค์นี้ไม่มีกำหนดว่าเท่าไร แล้วแต่จะทรงเหนว่าผู้ใดควรจะใช้ได้ ก็จะตั้งขึ้นไว้มาก ๆ เมื่อมีการสิ่งไรที่จะทรงปฤกษา จะให้หาแต่สองคนสามคนฤๅมากเท่าไรก็ได้ เมื่อทรงถามการงานสิ่งไร ก็ให้กราบทูลได้โดยการที่จริง ไมระแวงกลัวความผิดร้ายสิ่งใด ฤๅถ้าจะคิดการสิ่งไรขึ้น ก็ให้กราบทูลได้โดยความที่ตัวคิดเหน จะทรงปฤกษาการสิ่งไร ก็ให้กราบทูลได้ทุกอย่างเหมือนที่ปฤกษาใหญ่ แต่การนั้นยังไม่สำเร็จ ต้องทรงปฤกษาที่ปฤกษาใหญ่ก่อน ต่อเหนชอบพร้อมกันแล้ว การนั้นจึ่งจะเปนสำเรจได้ ให้ที่ปฤกษาใหญ่แลที่ปฤกษาในพระองค์จงมีความสวามิภักดิ์ต่อสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ให้มีความอุสาหหมั่นฟังหมั่นคิดตรึกตรองในกิจราชการแผ่นดินโดยสุจริตธรรมทุกประการ ประกาศมาณวันศุกร แรมแปดค่ำ เดือนหก ปีจอฉศก จุลศักราชพันสองร้อยสามสิบหก เปนปีที่หกในรัชกาลปัตยุบันนี้ ๚ะ
๏ที่ปฤกษาซึ่งโปรดเกล้าตั้งขึ้นในครั้งนี้นั้น
พระยาราชสุภาวดี | จ.ม., ท.จ.ว. | ๑ | ||
พระยาศรีพิพัฒ | ท.จ.ว. | ๑ | ||
พระยาราชวรานุกูล | ท.จ.ว., น.ช., ภ.ม. | ๑ | ||
พระยากระสาปน์กิจโกศล | ท.จ.ว.⟨,⟩ ม.ม. | ๑ | ||
พระยาภาษกรวงษ | ท.จ.ว., ภ.ช., ภ.ม. | ๑ | ||
พระยามหาอำมาตย | ท.จ. | ๑ | ||
พระยาอภัยรณฤทธิ์ | ท.จ. | ๑ | ||
พระยาราไชย | ท.จ. | ๑ | ||
พระยาเจริญราชไมตรี | ช.น. | ๑ | ||
พระยาพิพิธโภไคย | ม.ม. | ๑ | ||
พระยากระลาโหมราชเสนา | ๑ | |||
พระยาราชโยธา | ๑ |
รวม ๑๒ นายก่อน ถ้าต่อไปทรงเหนว่าผู้ใดควรจะยกมาเปนที่ปฤกษาได้ ก็จะทรงตั้งเพิ่มเติมแลจะผลัดเปลี่ยนได้ตามแต่จะทรงเหนสมควร ให้ท่านทั้งปวงซึ่งมีชื่อมาในที่ปฤกษานี้จงตั้งใจรับราชการของตนตามพระราชบัญญัติประกาศนี้ทุกประการเทอญ ๚ะ
๏ณวันศุกร เดือนหก ขึ้นเก้าค่ำ ปีจอฉศก เวลาบ่ายห้าโมงเสศ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระที่นั่งราชรถพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจโดยทางสถลมารคออกประตูวิเสศไชยศรี เลี้ยวป้อมเผดจดัษกร ไปตามถนนท้องสนามไชย เลี้ยวถนนเจริญ ตรงไปถึงถนนริมกำแพง เลี้ยวขึ้นมาตามถนนริมกำแพง ขึ้นถนนบำรุงเมือง ตรงขึ้นตภานช้างโรงสี เลี้ยวลงถนนริมคลองน่าวัดราชประดิษฐ ไปถึงถนนเจริญกรุง แล้วกลับยังพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
๏ณวันอังคาร เดือนห้า แรมสิบสามค่ำ ปีจอยังเปนเบญจศก เวลาบ่าย ๕ โมงเสศ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำเนิรประทับที่เกยณพระที่นั่งมูลสฐานบรมอาศน์ ทรงพระที่นั่งราชยานพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจออกประตูพิมานไชยศรี ประทับเกยวัดพระศรีรัตนสาศดาราม ทรงพระดำเนินประทับหอพระนาค ทรงพระราชทานสดัปกรณ์แล้ว เวลายามเสศ เสดจพระราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง๚ะ
๏ณวันอาทิตย เดือนห้า แรมสี่ค่ำ ปีจอยังเปนเบญจศก เวลาเช้า ๓ โมงเสศพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระที่นั่งราชยานพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจออกประตูศรีสุนทรไปประทับณพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย แล้วเสดจลงเรือพระที่นั่งปิกนิกเรือกลไฟจูงโดยทางชลมารค เวลาบ่าย ๒ โมงเสศถึงเกาะบางปาอิน เสดจขึ้นประทับประมาณกึ่งชั่วโมง แล้วเสดจกลับประทับเรือพระที่นั่งปิกนิกเรือกลไฟจูงโดยทางชลมารค เวลาบ่าย ๕ โมงเสศถึงท่าวังจันทรเกษม ประทับเรือพระที่นั่ง เสดจจากเรือพระที่นั่งปิกนิก ทรงเรือพระที่นั่งเก๋ง เวลาบ่าย ๕ โมงเสศเสดจประทับณเพนียด ทรงทอดพระเนตรช้างแล้ว เวลา ๒ ทุ่มเสศเสดจกลับประทับณวังจันทรเกษม รุ่งขึ้นณวันจันทร เดือนห้า แรมห้าค่ำ ณ อังคาร เดือนห้า แรมหกค่ำ ณวันพุทธ เดือนห้า แรมเจดค่ำ เวลาเช้าโมงเสศเสดจทรงเรือพระที่นั่งปิกนิกเรือกลไฟจูงไปประทับณเพนียด ทรงทอดพระเนตรคล้องช้างแล้วเสดจกลับณวังจันทรเกษม เสดจประทับแรมอยู่ที่วังจันทรเกษาสามราตรี รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดี เดือนห้า แรมแปดค่ำ เวลาเช้า ๒ โมงเสศเสดจจากวังจันทรเกษม เวลาเช้า ๓ โมงเสศถึงบ่อโพง เสดจประทับณพลับพลา ทรงประเคนแล้ว ทอดพระเนตรนางช้างสำคัญทั้ง ๒ แล้ว เสดจกลับทางชลมารค เวลาบ่าย ๕ โมงเสศเสดจถึงพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
ประกาศแผ่นดิน | เรื่องราชกิจจานุเบกษา |
๏พระบาทสมเดจพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงษ วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาษ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงพระราชดำริหตริตรองในการจะทนุบำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อยสำเรจประโยชน์ทั่วถึงแลแน่นอนให้ดีขึ้นไปกว่าแต่ก่อน จึ่งทรงพระราชวิตกว่า ราชการต่าง ๆ ซึ่งสั่งด้วยบาดหมายแต่กรมวังให้สัศดีแลทลวงฟันเดินบอกตามหมู่ตามกรมต่าง ๆ นั้นก็ดี การที่บังคับให้นายอำเภอมีหมายป่าวประกาศแก่ราษฎรในกรุงก็ดี การที่มีท้องตราไปให้เจ้าเมืองกรมการหัวเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือมีหมายให้กำนันรั้วแขวงอำเภอประกาศแก่ราษฎรในแขวงนั้น ๆ ก็ดี พระราชบัญญัติใหม่ ๆ ตั้งขึ้นเพื่อจะห้ามการที่ควรแลบังคับการที่มิควรก็ดี การเตือนสติให้รฦกแลถือพระราชกำหนดกฎหมายเก่าก็ดี การกะเกณฑ์แลฃอแรงแลบอกบุญก็ดี ว่าโดยสั้นโดยย่อ เหตุใด ๆ การใด ๆ ที่ควรข้าราชการทั้งปวงฤๅราษฎรทั้งปวงจะพึงรู้ทั่วกันนั้น แต่ก่อนเปนแต่บาดหมายแลทำคำประกาศเขียนเส้นดินสอดำลงกระดาษส่งกันไปส่งกันมาแลให้ลอกต่อกันไปผิด ๆ ถูก ๆ แลก็เพราะฉบับหนังสือนั้นน้อย ผู้ที่จะได้อ่านก็น้อย ไม่รู้ทั่วถึงกันว่า การพระราชประสงค์แลประสงค์ของผู้ใหญ่ในแผ่นดินจะบังคับมาแลตกลงประการใด ข้าราชการทั้งปวงแลราษฎรทั้งปวงก็ไม่ทราบทั่วกัน ได้ยินแต่ว่า มีหมายว่า เกณฑ์ว่า ประกาศว่า บังคับมา เมื่อการนั้นเกี่ยวข้องกับตัวใคร ก็เปนแต่ถามกันต่อไป ผู้ที่จะได้อ่านต้นหมายต้นท้องตรานั้นก็น้อยตัว ถึงจะได้อ่านก็ไม่เข้าใจ เพราะราษฎรเมืองไทยผู้ที่รู้หนังสือนั้นน้อยกว่าผู้ที่ไม่รู้ คนไพร่ ๆ ในประเทศบ้านนอก หนังสือก็อ่านไม่ออก ดวงตราของขุนนางในตำแหน่งซึ่งจะบังคับราชการเรื่องไรจะเปนยังไรก็ไม่รู้จักดู สักแต่ว่าเหนดวงตราที่ตีมาด้วยชาดแลเสนแดง ๆ แล้วก็กลัว ผู้ที่ถือมาว่ากะไรก็เชื่อหมด เพราะฉนั้น จึ่งมีคนโกง ๆ คด ๆ แต่งหนังสือเปนดังท้องตราแลบาทหมายอ้างรับสั่งวังหลวง แลวังน่า แลเจ้านาย แลเสนาบดี ที่เปนที่ราษฎรนับถือยำเยง แล้วก็ว่าการบังคับไปต่าง ๆ ตามใจตัวปราถนาด้วยการที่มิได้เปนธรรม แลทำให้ราษฎรเดือดร้อน แลเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน แลพระนามเจ้านาย แลชื่อของขุนนางไป เพราะฉนั้น บัดนี้ทรงพระราชดำริหจะบำบัดโทษต่าง ๆ ดังว่ามาแล้วนั้นทุกประการ จึ่งโปรดให้ตั้งการตีพิมพ์หนังสืออย่างหนึ่ง มีชื่อโดยภาษาสังษกฤษฎว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษา แปลว่าหนังสือเปนที่เพ่งดูราชกิจ มีตรารูปพระมหามงกุฎแลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ตีในเส้นดำ กับตัวหนังสือนำน่าเปนอักษรตัวใหญ่ว่าราชกิจจานุเบกษาอยู่เบื้องบนบันทัดทุกฉบับเปนสำคัญ แจกมาแก่คนต่าง ๆ ที่ควรจะรู้ทุกเดือนทุกปักษตั้งแต่เดือนห้า ปีมเมีย เปนปีที่แปดในราชกาลอันเปนประจุบันนี้ไป หนังสือในราชกิจจานุเบกษานี้คือการใด ๆ ซึ่งไม่มีท้องบัฎใบตราแลบาดหมายแลประกาศด้วยหนังสือเขียนเส้นดินสอดำประทับตราตามตำแหน่งตามธรรมเนียมเก่านั้น ซึ่งได้มีแล้วไปในปักษนั้น ฤๅปักษที่ล่วงแล้วในเดือนนั้น ฤๅเดือนที่ล่วงแล้ว ก็จะเกบเอามาว่าแต่ย่อ ๆ ในสิ่งซึ่งเปนสำคัญ เพื่อจะให้เปนพยานแก่ท้องบัฏใบตราแลบาดหมายคำประกาศซึ่งมีไปแล้วก่อนนั้น เพื่อจะให้คนที่ได้อ่านหนังสือก่อนเชื่อแท้แน่ใจไม่สงไสย ที่ไม่เข้าใจความจะได้เข้าใจ ผู้ใดไม่รู้ความในหนังสือท้องบัฎใบตราบาดหมายก่อนก็จะได้รู้ถนัด อนึ่ง ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใด ๆ เกิดขึ้น พระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่าความนั้นใส่มาในหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะให้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าฦๅผิด ๆ ไปต่าง ๆ ขาด ๆ เกิน ๆ เปนเหตุให้เสียราชการแลเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้ หนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ เมื่อตกไปอยู่กับผู้ใด ฃอให้เกบไว้ อย่าให้ฉีกทำลายล้างเสีย เมื่อได้ฉบับอื่นต่อไป ก็ให้เยบต่อ ๆ เข้าเปนสมุดเหมือนสมุดจีนสมุดฝรั่งตามลำดับตัวเลขที่หมายหนึ่งสองสามสี่ต่อ ๆ ไปซึ่งมีอยู่ทุกน่ากระดาษนั้นเถิด ฃอให้มีหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้เกบไว้สำหรับจะได้ค้นดูข้อราชการต่าง ๆ ทุกหมู่ทุกกรมข้าราชการแลทุกหัวเมืองโดยประกาศนี้เทอญ ๚ะ
๏ประกาศมาณวันจันทร เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมเมียยังเปนนพศก เปนวันที่ ๒๔๙๖ ในราชกาลแผ่นดินที่สี่ ขุนปฏิภานพิจิตร ขุนมหาสิทธิโวหาร กรมพระอาลักษ เปนผู้รับสั่ง ๚ะ
๏วันพฤหัศบดี เดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีจอฉศก เวลาบ่ายสี่โมงเสศ พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระที่นั่งราชยานพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจออกจากพระบรมมหาราชวังถึงพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย เสดจลงทรงเรือพระที่นั่งเก๋งพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจข้ามฟากในประทับณพระราชวังเดิม แล้วเสดจทรงพระที่นั่งราชรถแต่เกยน่าพระราชวังเดิมไปโดยทางสถลมารคข้ามตพานคลองบางกอกใหญ่ไปประทับณสวนเจ้าพระยาภาณุวงษมหาโกษาธิบดี ทอดพระเนตรตามภูมลำเนาสวนแล้ว เสดจมาประทับจวนสมเดจเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ ทรงรดน้ำสมเดจเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษเสรจแล้ว เวลายามเสศ เสดจโดยทางชลมารคแต่จวนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษกลับยังพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
๏พระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษปริพัต วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรารภเริมการทีจะเลื่อนกรมสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งพระยาศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ให้จาฤกพระนามลงในพระสุพรรณบัตว่า สมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงษ บรมพงษปริพัต วิวัฒนยโสดม สรรพสิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมสาตร โหรกลานุวาทกาพยประฏิภาณ สฤษดีสรรพศุภการ สกลรัษฎาธิกิจปรีชาวตโยฬาร ยุติธรรมาชวาทยาไศรยไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพบพิตร นาคนาม ทรงศักดินา ๕๐๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างเจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง จงทรงเจริญพระชนมายุพรรณศุขพลประฏิภาณคุณสารสมบัติ สรรพศิริศวัศดิ์พิพัฒมงคล ทุกประการ ๚ ครั้นถึงณวันอาทิตย เดือนหก ขึ้นสี่ค่ำ เปนวันตั้งสวดพระพุทธมนต์เฉลิมพระนาม เวลา ๔ ทุ่มเสศพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำเนินประทับเกยน่าพระที่นั่⟨ง⟩มูลสฐ⟨า⟩นบรมอาศน ทรงพระที่นั่งราชรถพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจออกประตูพิมานไชยศรีตรงไปออกประตูวิเสศไชยศรีไปประทับณวังพระเจ้าบรมวงษเธอ สมเดจเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ ประทับอยู่ถึงเวลา ๗ ทุ่ม เสดจกลับยังพระบรมมหาราชวัง ณวันจันทร เดือนหก ขึ้นห้าค่ำ ปีจอฉศก เวลาเช้า ๓ โมงเสศ เปนวันกำหนดพระฤกษที่จะเลื่อนกรมใหม่ จึ่งพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระที่นั่งราชยานลงยาราชาวดีพร้อมกระบวนน่าหลังแต่งตัวเตมยศเสดจไปประทับณวังสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัตกับเครื่องอิศริยยศชื่อมหาสุราภรณ์ตรามงกุฎสยามชั้นที่ ๑ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเครื่องยศลงยาราชาวดี เวลาบ่ายโมงเสศเสดจกลับพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
๏วันอาทิตย เดือนหก ขึ้นสิบเอจค่ำ ปีจอฉศก เวลาบ่ายสี่โมงเสศเจ้าพนักงานจัดกระบวนแห่พระพุทธปฏิมากรคันธารราษฐออกจากวัดพระศรีรัตนสาศดารามออกประตูวิเสศไชยศรีเชิญแห่ไปตั้งในโรงพระราชพิธีที่ท้องสนามหลวง เวลาทุ่มเสศพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจพระราชดำเนินประทับที่เกยณพระที่นั่งมูลสฐานบรมอาศน ทรงพระที่นั่งราชยานเสดจโดยทางสถลมารคออกประตูวิเสศไชยศรี ประทับพลับพลาพระราชพิธีท้องสนามหลวง เมื่อเสดจประทับอยู่ณพระราชพิธีนั้น เกิดเพลิงไหมขึ้นที่ริมตพานข้างคลองหลอด สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงรถพระที่นั่งเสดจจากท้องสนามหลวงไปประทับเชิงตพานเขี่ยวทอดพระเนตรไฟไหม้ เวลา ๔ ทุ่มเสศเสดจกลับพระบรมมหาราชวัง ทราบความว่า ในที่ไฟไหมนั้น อำเภอได้ไปตรวจดูโรงเรือนที่ไฟไหม้นั้น ได้ความว่า เวลา ๓ ทุ่มเสศ เพลิงไหม้ขึ้นที่โรงช้างริมตะพานข้างฟากคลองหลอดก่อน โรงช้างนั้นยาว ๑๖ ห้อง แบ่งเปนคลังราชการ ๓ ห้อง นายยิ้มเปนที่ขุนรัตนสมบัต หนึ่ง นายแก่นเปนที่ขุนวิเสศสมบัต หนึ่ง เปนนายคลัง แต่หลังคาโรงช้างนั้นรั่ว ขุนรัตนสมบัต ขุนวิเสศสมบัต ปลูกเปนโรงมุงจากอยู่ในโรงช้างคนละโรง ในคลังนั้นมีแต่ไต้หวายเสื้อ ได้ตัวขุนรัตนสมบัตมาถาม ให้การว่า เพลิงเกิดขึ้นที่โรงขุนวิเสศสมบัติก่อน แล้วเพลิงจึ่งได้ติดไหม้ลามถึงคลังราชการโรงช้างแลเรือนราษฎรต่อไปถึงฉางเข้า ขุนรัตนสมบัตให้การว่า เมื่อเวลาค่ำเหนขุนวิสเสศสมบัตเอาถ้วยตามตะเกียงไว้ในโรง แล้วปิดประตูโรงไว้ แต่ตัวขุนวิเสศสมบัตหาอยู่ไม่ ครั้นเวลาค่ำยามเสศเพลิงจึ่งไหม้ลามไปถึงโรงช้าง คลังราชการ ฉางเข้า เรือนฝากระดานมุงกระเบื้อง ๗ หลัง เครื่องสับ ๑๐ หลัง เรือนเครื่องผูก ๑๓ หลัง โรงเครื่องผูก ๑๒ หลัง รวมเรือนโรงที่ไหม้นั้น ๓๔ หลัง แต่ตัวขุนวิเสศสมบัตนั้นยังหาได้ตัวไม่ ครั้นณวันจันทร เดือนหก ขึ้นสิบสองค่ำ ปีจอฉศก เวลาเช้า ๔ โมงเสศตั้งกระบวนแห่เจ้าพระยาภูธราภัยแต่สาลาภักริมคลองผดุงออกไปณทุ่งที่แรกนาขวัญพร้อมกระบวนแห่น่าหลังแลนางเทพีหาบเข้า ครั้นเวลาเช้า ๕ โมงท่านเจ้าพระยาภูธราภัยก็ลงมือแ⟨ร⟩กนาขวัน โคที่เทียมไถนั้นกินเข้าโพดดื่มสุรา เวลาบ่ายโมงหนึ่งเสรจการพระราชพิธีจรดพระนังคัล ๚ะ ครั้นเวลาบ่ายเจ้าพนักงานแห่พระพุทธปฏิมากรคันธาระราษฎเชิญกลับจากโรงพระราชพิธีณท้องสนามหลวงมาประดิศฐานยังวัดพระศรีรัตนสาศดารามตามเดิม ๚ะ
๏วันพฤหัศบดี เดือนหก ขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีจอฉศก เวลายามเสศ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจพระราชดำเนินมาประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงพระที่นั่งยานุมาศพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจประทับเกยน่าวัดพระศรีรัตนสาศดาราม เสดจพระราชดำเนินประทับในพระอุโบสถพร้อมด้วยข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยเฝ้าทูลอองธุลีพระบาทโดยลำดับ เปนการวิสาขบูชา มิแตรสังขเครื่องประโคมพร้อมตามอย่างราชประเพณี ข้าราชการทุกหมู่ทุกกรมตั้งโคมมีดวงตราตามตำแหน่งจุตประทีบรายรอบพระอุโบสถ เวลา ๕ ทุ่มเสศเสดจกลับพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
๏ครั้นณวันศุก เดือนหก ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีจอฉศก เวลาสองทุ่มเสศเสดจพระราชดำเนินประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงพระที่นั่งราชยานพร้อมกระบวนน่าหลังเสดจประทับเกยน่าวัดพระศรีรัตนสาศดาราม เสดจพระราชดพเนินประทับน่าพระอุโบสถ ทอดพระเนตรข้าราชการฝ่ายน่าฝ่ายในเวียนเทียนประทักษิณอุโบสถสามรอบแล้ว เสดจประทับในอุโบสถ ทรงธรรมจบแล้ว เวลา ๔ ทุ่มเสดจกลับพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
๏ณวันเสาร เดือนหก แรมค่ำหนึ่ง เวลายามหนึ่งกับบาทหนึ่งมีจันทรุปราคาจับข้างทิศอุดร สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจขึ้นที่สรงมุรธาภิเศก มีเครื่องประโคม พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนเฝ้าทูลอองธุลีพระบาทโดยลำดับ ครั้นสงเสรจแล้ว เสดจประทับณพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินตราแก่พระบรมวงษานุวงษแลข้าทูลอองธุลีพระบาทเสรจแล้ว จึ่งมีพระบรมราชโองการสั่งสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ กับสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ แจกเงินแก่ผู้ที่เปนพนักงานประจำรักษาพระบรมมหาราชวังเสจแล้ว สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจพระราชดำเนินประทับที่เกยพระทวารเทเวศรักษา ทรงพระที่นั่งราชยานพร้อมกระบวนน่าหลัง เสดจโดยทางสถลมารคออกประตูพิมายไชยศรีมาประทับณเกยวัดพระศรีรัตนสาศดาราม เสดจพระราชดำเนินประทับน่าพระอุโบสถ ทรงฟังข้าราชการกรมพระอาลักษณแลกรมราชบัณฑิตย์สวดสรภัญญะจบแล้ว ทรงทอดพระเนตรข้าราชการฝ่ายน่าฝ่ายในเวียนเทียนประทักษิณสามรอบเสรจ เสดจประทับในอุโบสถ ทรงธรรมจบแล้ว เวลาสองยามเสศเสดจกลับพระบรมมหาราชวัง ๚ะ
ท่านทั้งหลายซึ่งรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาไปนี้ เมื่อรับไปเองตลอดปี คิดเปนราคาแปดบาท เมื่อรับไปเองเอาแต่กึ่งปี คิดเปนราคาห้าบาท เมื่อรับไปเองเอาแต่สามเดือน คิดเปนราคาสามบาท ฤๅจะรับแต่ใบหนึ่งสองใบ คิดเปนราคาใบละสลึงเฟื้อง ถ้าต้องไปส่งถึงบ้าน ปีหนึ่งต้องคิดค่าจ้างคนไปส่งกึ่งตำลึง ถ้ากึ่งปีค่าจ้างคนไปส่งหกสลึง ถ้าสามเดือนค่าจ้างคนไปส่งบาทหนึ่ง ๚ะ
ไม่เกี่ยวข้องในราชการ เปนแต่ผู้เรียบเรียงไว้เพื่อจะให้รู้ข่าวต่างประเทศ ๚ะ
๏ณวันพุฒ เดือนหก ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีจอฉศก เวลาบ่าย ๕ โมงเรือกลไฟเจ้าพระยาเข้ามาถึง ได้ส่งหนังสือเมล์ที่ได้บอกจากเมืองลอนดอนณวันที่ ๒๐ เดือนมาช คฤษตศักราช ๑๘๗๔ คิดตั้งแต่เมืองลอนดอนมาถึงกรุงสยามได้ ๔๑ วัน ได้ข่าวว่า ณวันที่ ๑๙ เดือนมาช ปารลิเมนต์ได้ประชุมใหญ่จะปฤกษาในการแผ่นดิน เมื่อประชุมแล้ว พวกลอร์ด (ขุนนาง) ชุนนุมในที่สำรับลอร์ด พวกกอมมอนส์ (ราษฎร) ประชุมในที่สำรับกอมมอนส์ แลท่านลอร์ดชานเซลลอร์ดได้เรียกพวกกอมมอนส์เข้ามาในที่ประชุมพวกลอร์ด (ขุนนาง) ฟังท่านอ่านพระราชหัถเลขาของสมเดจพระนางเจ้ากวิน ในพระราชหัถเลขานั้นมีความว่า เราถึงท่านลอร์ดแลเยนตลิเมนต์ท่านผู้ดี ด้วยมินิศเตอร์เสนาบดีของเราได้ทูลลาออกจากราชการ เราต้องจัดตั้งผู้อื่นขึ้นแทน เราจึ่งต้องรออยู่ ยังเรียกท่านมาประชุมไม่ได้ บัดนี้เราได้จัดแจงการตั้งมินิศเตอร์เสนาบดีใหม่แล้ว เราจึ่งได้ให้เรียกท่านมาประชุมเวลานี้ ๚ อนึ่ง เรากับเมืองต่างประเทศใหญ่ ๆ ซึ่งมีทางพระราชไมตรีติดต่อกันนั้นมีแต่ความรักใคร่กัน ไม่มีความรังเกียจซึ่งกันแลกัน เราจึ่งจะอุสาหเอาใจใส่ให้เปนดังคนกลางชักนำให้เมืองต่างประเทศรักใคร่กัน ประเทศต่อประเทศตลอดเมืองยุโรป แลจะได้รักษาการยุติธรรมเมืองต่อเมืองด้วย ๚ะ ประการหนึ่ง ซึ่งพระราชโอรศของเราดูกออฟเอดินเบร์คได้ทำการวิวาหมงคลกับครานต์ดูเชชมารีอาเลกซานโดรนาซึ่งเปนพระราชธิดาของสมเดจพระเจ้าเอมเปเรอร์กรุงรุศเสีย เปนที่ชื่นชมโสมนัศในพระไทยของเรา ด้วยจะได้เปนสิ่งสำคัญที่จะเปนประกันที่กรุงรุศเสียแลกรุงอังกฤษซึ่งเปนพระมหานครใหญ่ทั้งสองพระนครจะได้อยู่ในทางพระราชไมตรีด้วยกันให้มั่นคง ๚ ซึ่งเราได้ให้กองทับออกไปรบเมืองอาสานตี กองทับนั้นได้ตีเมืองอาสานตีแตกแล้ว ให้ทำลายเมืองหลวงจนหมดสิ้น พวกอาสานตีจึงได้มาปฤกษาคิดทำหนังสือสัญญาตกลงกัน เราก็ไว้ใจอยู่ว่า ต่อไปข้างน่าการจะเรียบร้อยกว่าแต่ก่อนที่ในทวีบอาฟริกาข้างทิศตวันตก ๚ ทหารซึ่งยกออกไปตีนั้น ทั้งทหารบกทหารเรือ ได้สำแดงความกล้าความเพียร แลได้อยู่เรียบร้อยในบังคับของนายแลกฎหมายธรรมเนียมทหาร แลฝ่ายออฟฟิเซอร์นายทหารที่ได้สำแดงปัญญาแลได้ทำการแขงแรงไม่ได้หยุดหย่อน เมื่อเกิดความยากความลำบากเปนที่สุด เฃาได้ทำการรุ่งเรืองไม่ให้ชื่อเสียงทหารอังกฤษตกต่ำได้ ๚ อนึ่ง เมื่อปีกลายนั้นไม่มีฝนตามรดูในแฃวงประเทศอินเดียของเราที่คนอยู่มากกว่ามาก จึ่งเกิดขาดเสบียงอาหารทุกอย่าง ลางแห่ง(ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก) ลางแห่งไม่มีกิ⟨น⟩เลย แลคนซึ่งเปนที่ขัดสนนั้นเปนหลายล้าน เราจึ่งได้สั่งถึงไวสรอยคอวเวอรเนอเชนเนอราลของเราว่า แม้นว่าจะต้องเสียเงินมากน้อยเท่าใร อย่าเสียดายเลย ต้องคิดแต่จะผ่อนความลำบากนั้นให้น้อยลง ๚ เราถึงเยนตลิเมนท่านผู้ดีซึ่งอยู่ในที่ว่าการเฮาส์ออฟกอมมอนส ในเรว ๆ นี้มินิสเตอร์เสนาบดีของเราจะจัดเอสติเมตส์คือบาญชีรายเงินที่คิดจะได้จะเสียในปีน่าจะมาให้ท่านตรวจแลปฤกษาสุดแต่ท่านจะเหนควร๚ เราถึงท่านลอร์ดแลเยนตลิเมนท่านผู้ดี ด้วยหลายปีมาแล้วมีผู้ติเตียนกฎหมายอังกฤษซึ่งว่าด้วยการซื้อการขายที่ดิน ในปารลีเมนต์คราวก่อนได้ปฤกษาในข้อนั้นบ้างแล้ว แต่เดี๋ยวนี้มินิสเตอร์เสนาบดีของเราได้ร่างแต่งกฎหมายเพื่อจะแก้ความซึ่งติเตียนนั้น แลจะมาปฤกษากับท่านด้วย ๚ เมื่อปีที่ล่วงแล้วได้ทำกฎหมายใหม่เปลี่ยนธรรมเนียมซึ่งว่าด้วยธรรมเนียมโรงศาลแลธรรมเนียมตั้งชัตยผู้ชำระตัดสินความในเมืองอิงแลนด์ แต่ก่อนได้แบ่งความเปนสองจำพวก เรียกว่าลอว์[1]