ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/17

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๑
5
ลักษณกู้จำนำขายตัวดอกเบี้ยชั่งละบาท

มาร้องฎีกากล่าวโทษเจ้าหนี้นายเงินต่อสู้ต้นเงินดอกเบี้ยเปนความกันอยู่ที่โรงศาลโดยมาก เหนว่า แต่ก่อนผู้ให้ทาษลูกหนี้กู้ขายจำนำผูกดอกเบี้ยชั่งละสิบสลึงบ้าง กึ่งตำลึงบ้าง เปนธรรมเนียมแต่เดิมต่อ ๆ มา ครั้นผู้ที่ขัดสนร้อนใจอยากได้เงินมาใช้ ก็ทำสารกรมธรรมกู้ขายจำนำสัญญาให้ดอกเบี้ยชั่งละห้าบาทบ้าง ตำลึงบ้าง สามบาทบ้าง ที่ทาษลูกหนี้ไม่สู้ร้อนใจ ก็ทำสารกรมธรรมสัญญาให้ดอกเบี้ยชั่งละกึ่งตำลึงบ้าง หกสลึงบ้าง บาทหนึ่งบ้าง สัญญากันมาก ๆ น้อย ๆ เพราะเจ้าหนี้นายเงินให้กู้ขายจำนำเงินไม่สู้มากเหมือนอย่างเงินให้กู้ขายจำนำในกาลประจุบันนี้

ประการหนึ่ง ลูกค้าพานิชในประเทศนอกประเทศเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเปนอันมาก ตั้งห้างแลบ้านเรือนตึกแพค้าขายทำมาหากินมีทรัพยสิ่งสินก็บริบูรณ์มากกว่าแต่ก่อน อาณาประชาราษฎรก็เปนปรกติมีความศุขสบาย ผู้ที่มีทรัพยให้กู้ขายแลรับจำนำ ถ้าเงินมาก ก็เอาดอกเบี้ยแต่เพียงชั่งละบาทบ้าง สองสลึงบ้าง ถึงมีผู้มากู้เงินหลวงไปทำทุนค้าขายใช้สอย ก็ลดหย่อนดอกเบี้ยเอาแต่ชั่งละบาทบ้าง สองสลึงบ้าง เจ้าหนี้ที่ให้กู้ขายจำนำเอาดอกเบี้ยแต่น้อยนั้นเหมือนมีส่วนหุ้นเข้าทุนกันค้าขายมีกำไรได้ดอกเบี้ยเปนประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ทาษลูกหนี้ที่เสียดอกเบี้ยแพง ชั่งละห้าบาท ตำลึงหนึ่งสามบาทสิบสลึงกึ่งตำลึงนั้น ไม่มีเงินจะเสีย คิดฉ้อต่อสู้