ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/30

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
18
เล่ม ๑
ลักษณตรวจคลอง

มา ถ้าเรือเดินแจวพายถ่อลากแล่นตามกันไปลำคลองแห่งหนึ่งแหงใด ถ้าเรือลำข้างหลังเร็วไปโดนเรือข้างน่าแตกหักล่มไปก็ดี ฤๅไปโดนเรือที่จอดอยู่ตามปรกติแตกล่มไปก็ดี ให้ใช้ของแก่เรือที่ล่มจงเต็ม ถ้าจะหลีกขึ้นไปข้างน่าเรือลำที่เดินก่อน ก็ให้หลีกไปข้างซ้ายมือเรือข้างน่า อนึ่ง เรือลำไปมาสวนทางกันแห่งหนึ่งแห่งใด ก็ให้เรือเบาหลีกเรือหนัก เรือเล็กหลีกเรือใหญ่ แต่ถ้าเรือหนักนั้นเล็กกว่าเรือเบาตั้งแต่ห้าท่าขึ้นไป ก็ให้ต่างคนต่างหลีกกัน เพราะเรือหนักนั้นเล็ก ก็ยังหันเรือได้เร็วกว่าเรือเบา ที่ลำใหญ่ ๆ เหมือนเช่นเรียกว่าเรือเหนือ เรือบันทุกอิฐ บันทุกเกลือ บันทุกเข้า บันทุกปลา อย่างนี้ ยาวตั้งแต่ ๖ วา ๗ วาขึ้นไป เรียกว่าเรือใหญ่ในลำคลอง แลห้ามมิให้เรือไปมาสวนทางกันหลีกกัน ๓ ลำ ๔ ลำ ในที่แห่งเดียวกัน ถ้าคลองเล็กคัดเรือจะเลี้ยวแหลมเลี้ยงคุ้งลับลำ ไม่แลเหนกันทั้งสองฝ่ายนั้น ก็ให้รอเรือเลี้ยวแต่ช้า ๆ อนึ่ง เรือลำหนึ่งจะออกจากท่าไป ฤๅออกจากปากคลองก็ดี เรือลำหนึ่งจะเข้าออกก็ดี ฤๅแจวพายถ่อสวนมาตามทางก็ดี หลีกกันมิทันโดนกันเข้าล่มไปด้วยมิได้แกล้ง ให้เจ้าของเรือซึ่งมิได้ล่มอยู่ช่วยกู้เรือเก็บของ ถ้ามิได้อยู่ช่วย ก็ให้ใช้ของที่ล่มเสียไปนั้นกึ่งหนึ่ง เพราะหาความเมดตากรุณามิได้ ถ้าแลผู้หนึ่งผู้ใดไม่เข้าใจในธรรมเนียมข้อ ๖ นี้ให้แน่ใจ ก็