หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

อนึ่ง ในกฏหมายไทย เล่ม ๑ และเล่ม ๒ ลักษณะพระธรรมนูญ ลักษณวิวาท ลักษณรับฟ้อง กรมศักดิ์ ส่วนว่าด้วยศักดินาพลเรือนและทหาร ลักษณกู้หนี้ ลักษณผัวเมีย ลักษณโจร ลักษณลักภา ลักษณทาษ ลักษณเบ็ดเสร็จ ลักษณพยาน ลักษณมรฎก ลักษณตระลาการ ลักษณอุธรณ์ ลักษณโจรห้าเส้น กฎสามสิบหกข้อ พระราชบัญญัติ ลักษณพิสูทธิ์ดำน้ำลุยเพลิง กฎมณเฑียรบาล กฎหมายพระสงฆ์ ลักษณอาญาหลวง ลักษณอาญาราษฎร ลักษณขบถศึก พระราชกำหนดเก่า แลพระราชกำหนดไหม่ เหล่านี้ ได้มีพระราชบัญญัติและหมายประกาศในรัชการที่ ๔ และในรัชการปัตยุบันนี้ให้เลีกถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขยเสียโดยมากแล้ว เหตุฉนี้ ถ้าไม่รู้พระราชบัญญัติและหมายประกาศใหม่ซึ่งได้ตั้งไว้ในรัชการที่ ๔ และในรัชการปัตยุบันนี้ให้ถ่องแท้แน่แก่ใจแล้ว ก็จะมัวหลงเชื่ออยู่ว่า กฎหมายลักษณต่าง ๆ ซึ่งสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่โบราณะกาลได้ทรงบัญญัติตั้งไว้ ดังมีอยู่ในกฎหมายไทย เล่ม ๑ และเล่ม ๒ นั้น ยังคงใช้ได้อยู่หมด เหตุฉนี้ จึงเปนการจำเปนที่ควรจะต้องรู้พระราชบัญญัติและหมายประกาศในรัชการที่ ๔ และในรัชการปัตยุบันนี้เสียให้ชัดเจนดี จะได้ประพฤติการให้ถูกต้องตามกฎหมายบังคับไว้ และเว้นเสียจากการซึ่งกฎหมายห้ามปรามไว้นั้น อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ วิชาความรู้กฎหมายไทยก็รุ่งเรืองเจริญขึ้น