ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:กม ร ๕ (๖) - ๒๔๔๑.pdf/43

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว
1938
เล่ม ๖
ลักษณพิจารณาความอาญามีโทษหลวง

มาตราเมื่อได้ตัวคนผู้ต้องหามาแล้ว ต้องให้ผู้พิพากษาไต่สวนถามให้ได้ความแน่ว่า ผู้ต้องหาจะให้การแก้คำฟ้องหรือคำหาว่ากระไร แลให้เอาตัวคนทั้งหลายผู้รู้เหตุการในคำฟ้องคำหานั้นมาสาบาลตัวถามเปนพยานเอาถ้อยคำเปนหลักถานไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วให้ผู้พิพากษาไต่สวนพิเคราะห์ดูถ้อยคำของพยานเหล่านั้นจงถ่องแท้ว่า พอควรจะฟังเอาว่าคนผู้ต้องหาหรือผู้ต้องกล่าวโทษนั้นมีพิรุธหรือไม่


มาตราคู่ความจะซักไซ้ถามพยานคนหนึ่งคนใดตามพระราชบัญญัติลักษณพยานได้ทั้งพยานฝ่ายโจทย์ฝ่ายจำเลย แลคำตอบของพยานต่อคำถามเช่นนี้ต้องให้ฟังเอาเปนคำพยานด้วย


มาตราถ้าผู้พิพากษาพิเคราะห์ดูเหตุผลแลถ้อยคำของพยานทั้งปวงโดยถ่องแท้แล้วเหนว่า ถ้อยคำของพยานเหล่านั้นไม่ควรฟังได้ว่าคนผู้ต้องหามีพิรุธประการใด หรือถ้อยคำของพยานเหล่านั้นไม่มีมูลพอที่จะสั่งให้เอาตัวคนผู้ต้องหาไว้พิจารณาต่อไป เมื่อวินิจฉัยเหนว่าดังนี้แล้ว ก็ให้ผู้พิพากษามีคำสั่งให้ปล่อยคนผู้ต้องหานั้นหลุดพ้นไปทีเดียว