หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๓๙.pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ศก ๑๑๕
5
 

เดือนแปดอุตราสาธ วันที่ ๑๖ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีสิงห์ อยู่จนวันอังคารที่ ๑๕ กันยายน เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๓๖ นาที เดือนเก้า วันที่ ๑๘ สิงหาคม วันที่ ๒ กันยายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกันย์ อยู่จนวันพฤหัศบดีที่ ๑๕ ตุลาคม เวลาค่ำ ๒ ทุ่มกับ ๒๔ นาที เดือนสิบ วันที่ ๓๐ กันยายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีตุล อยู่จนวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน เวลาย่ำค่ำแล้ว ๔๘ นาที เดือนสิบเอ็ด วันที่ ๑๔ วันที่ ๑๘ ตุลาคม วันที่ ๓ พฤศจิกายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีพิจิก อยู่จนวันจันทร์ที่ ๑๔ ธันวาคม เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๒๔ นาที เดือนสิบสอง วันที่ ๑๔ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีธนู อยู่จนวันอังคารที่ ๑๒ มกราคม เวลาบ่าย ๒ โมง เดือนอ้าย วันที่ ๒๒ ธันวาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีมังกร อยู่จนวันพุฒที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ เวลาเที่ยงคืนแล้ว ๒๔ นาที เดือนยี่ วันที่ ๕ วันที่ ๑๕ วันที่ ๒๙ มกราคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกุมภ์ อยู่จนวันศุกรที่ ๑๒ มีนาคม เวลาย่ำค่ำ เดือนสาม วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีมิน อยู่จนวันจันทร์ที่ ๑๒ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ เดือนสี่ วันที่ ๗ วันที่ ๒๐ มีนาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ

อนึ่ง วันธรมสะวะนะนิยมตามวิธีปักขคณนาเปนวันที่รักษาอุโบสถแลประชุมฟังธรรมซึ่งยักเยื้องกันกับวันพระตามเคยมีที่รู้ทั่วกันในชาวสยามประเทศทั้งปวงนั้น ในปีวอกนี้ นับตั้งแต่วันที่ ๗ ขึ้นค่ำ ๑ เดือน ๕ เปนต้นไป จนถึงวัน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา เปน ๑๓ วัน คือ