หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๓๙.pdf/27

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
22
ศก ๑๑๕
 

รักษาตรางนั้นใหนำมายื่นต่อศาลแทนตัวก็ได้

๒๖ ถ้าผู้อุทธรณ์ติดตรางอยู่ จะยื่นฟ้องให้ผู้คุมไปยื่นต่อศาลก็ได้
มาตรา๒๗ภายใน ๕ วันนับแต่วันได้รับฟ้องอุทธรณ์ไว้เปนต้นไปนั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลซึ่งได้พิพากษาตัดสินคดีเรื่องที่ต้องอุทธรณ์นั้น ส่งฟ้อง กับคำตัดสิน แลเทียบถ้อยคำสำนวนทั้งปวงในคดีเรื่องนั้น มายังศาลอุทธรณ์ ๒๗ ให้ศาลอันต้องอุทธรณ์ยื่นสำนวนแลคำฟ้องต่อศาลอุทธรณ์ใน ๕ วัน
มาตรา๒๘เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนมาหมดแล้ว ก็ให้ศาลอุทธรณ์ออกหมายนัดกำหนดวันแลเวลาที่จะพิจารณาความอุทธรณ์นั้นไปให้คู่ความทราบล่วงน่าก่อน แลถ้าฝ่ายผู้มิได้อุทธรณ์ร้องขอสำเนาฟ้องอุทธรณ์เมื่อใด ศาลอุทธรณ์ก็ต้องอนุญาตให้สำเนาฟ้องอุทธรณ์ตามความประสงค์ ๒๘ ให้ศาลอุทธรณ์กำหนดวันชำระใน ๑๕ วัน เว้นแต่มีเหตุขัดข้อง แต่อย่าให้ช้าเกินกว่า ๒ เดือน
กำหนดนัดวันแลเวลาที่จะพิจารณาความอุทธรณ์นั้น อย่าให้ช้าเกินไปกว่า ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนมา เว้นไว้แต่มีเหตุพิเศษเกิดขึ้น จึ่งให้กำหนดนัดเกินกว่านี้ขึ้นไปได้ แลต้องให้จดหมายบันทึกเหตุพิเศษนั้นลงไว้ด้วยจงทุกคราว แต่อย่างใดก็ดี ห้ามไม่ให้กำหนดนัดเกินกว่า