หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๕๓.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ศก ๑๒๙
13
 

ซึ่งจะได้เกิดขึ้นในอำเภอนั้น ๆ เว้นไว้แต่หัวน่าโรงพักมีราชการอย่างอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ไปสืบสวนเหตุโจรผู้ร้ายในท้องที่ เปนต้น จะให้นายกองตระเวนตำแหน่งรองลงมาไปนั่งแทนก็ได้

(๔)การคุมขังตัวจำเลยผู้กระทำผิดในคดีอาญาไว้ในระหว่างไต่สวน เมื่อไม่มีประกันก็ดี หรือเมื่อคดีนั้นนายอำเภอเห็นว่ายังไม่ควรให้ประกันก็ดี ให้กองตระเวนจัดการคุมขังไว้ยังโรงพักที่ใกล้อำเภอตามเวลาที่จำเปนในคดีนั้น ๆ

(๕)ระเบียบการไต่สวนในน่าที่อำเภอที่จะต้องทำอย่างไรนั้น ให้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งได้มีอยู่แล้วนั้นทุกประการ

(๖)ให้ยกผู้ฟังคดีแลเสมียนผู้ฟังคดีของกองตระเวนไปเปนผู้ช่วยรวมทำการกับพนักงานรักษาพระอัยการ แลให้พนักงานรักษาพระอัยการเปนผู้ฟ้องคดีอาญาตามกฎหมาย

(๗)ให้กองตระเวนซึ่งประจำท้องที่ฟังบังคับบัญชานายอำเภอประจำท้องที่นั้น ๆ แลฟังบังคับบัญชาผู้ว่าราชการเมืองที่ชอบด้วยราชการ

(๘)ถ้าหัวน่าโรงพักประจำท้องที่อำเภอมีกิจธุระอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะต้องไปค้างคืนวัน ก็ให้แจ้งความให้นายอำเภอทราบทุกคราวที่ไป ถ้าเปนหัวน่าโรงพักกองเมือง ก็ให้ลาต่อผู้ว่าราชการเมือง เว้นไว้แต่เปนการประจุบันทันด่วนจะแจ้งให้ทราบไม่ทัน โดยโรง