หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/64

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๖๙
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา

ปรับไม่เกินกว่าพันบาท สฐานหนึ่ง ให้ลงโทษทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามาแล้วด้วยกัน

มาตรา ๒๘๑

การฟ้องเอาโทษแก่ผู้กระทำผิดกฎหมายหมวดนี้นั้น ท่านให้ถือว่า ต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายมาร้องทุกข์ จึงให้เจ้าพนักงานเอาคดีนั้นขึ้นว่ากล่าว


มาตรา ๒๘๒

ผู้ใดใส่ความเอาผู้อื่นซึ่งอาจจะให้เขาเสียชื่อเสียงหรืออาจจะให้คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียดชังเขานั้น ถ้ามันกล่าวต่อหน้าคนแต่สองคนขึ้นไปก็ดี หรือกล่าวแก่บุคคลนับแต่สองขึ้นไปก็ดี ท่านว่า มันมีความผิดฐานหมิ่นประมาทเขา มันต้องรวางโทษานุโทษเปนสามสฐาน คือ สฐานหนึ่ง ให้จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือสฐานหนึ่ง ให้ปรับไม่เกินพันบาท หรือสฐานหนึ่ง ทั้งปรับทั้งจำด้วยโดยกำหนดที่ว่ามาแล้ว

ถ้าแลมันใส่ความเขาด้วยมันโฆษนาในสมุด หรือในหนังสือที่มีกำหนดคราวโฆษนา หรือในหนังสือพิมพ์บอกข่าว หรือโฆษนาในแบบอย่างแลในจดหมายอย่างใด ๆ โทษของมันผู้กระทำผิดหนักขึ้นทั้งสามสฐาน คือ สฐานหนึ่ง ให้จำคุกไม่เกินปีหนึ่ง หรือสฐานหนึ่ง ให้ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือสฐานหนึ่ง ทั้งจำคุกแลปรับด้วยโดยกำหนดที่ว่ามานี้

มาตรา ๒๘๓

ผู้ใดแสดงความคิดเห็นของตนซึ่งคิดเห็นโดยสุจริตในลักษณการที่กล่าวต่อไปในมาตรานี้ คือว่า

(๑)ในการที่จะแสดงความชอบธรรมของตน หรือในการที่จะต้องต่อสู้ป้องกันตน หรือในการป้องกันประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายก็ดี

(๒)เจ้าพนักงานกล่าวความในรายงานตามตำแหน่งหน้าที่ของตนก็ดี

(๓)การที่กล่าวสรรเสริญแลติเตียนบุคคลหรือสิ่งใดใดโดยสุภาพอันเปนวิไสยธรรมดาสาธารณชนย่อมกล่าวกันก็ดี

(๔)การที่โฆษนาหรือกล่าวถึงการที่ดำเนิรอยู่ในโรงศาลใดใดหรือในที่ประชุมชนใดใดแลกล่าวแต่โดยสุภาพก็ดี

ลักษณที่แสดงความคิดความเห็นใน ๔ ประการนี้ ท่านว่า ไม่มีโทษฐานหมิ่นประมาท

มาตรา ๒๘๔

ท่านห้ามมิให้ศาลยอมให้ผู้ต้องหาว่าหมิ่นประมาทสืบพยานในข้อว่า ความจริงดังมันกล่าวหรือไม่ เว้นไว้แต่ในคดีมีรูปความดังว่าต่อไปนี้ คือ

(๑)เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่า ที่มันกล่าวนั้น มันมีเจตนาจะให้เปนสาธารณประโยชน์ ประการหนึ่ง