ที่เรียบร้อยดีแล้ว จึงนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย[1] นอกจากการร่างประมวลกฎหมายแล้ว กรมร่างกฎหมาย (เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา) นี้ยังมีหน้าที่ตรวจพิจารณาบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ซึ่งจะได้ออกไปภายหน้าด้วย ตามกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ มีใจความว่า เพื่อให้ถูกต้องด้วยวิธีเรียบเรียง บันดาพระราชบัยญัติหรือกฎกระทรวงซึ่งเจ้ากระทรวงทะบวงการจะเรียบเรียงขึ้นนั้นให้ส่งยังกรมร่างกฎหมายเพื่อตรวจแก้หรือยกร่างขึ้นใหม่ให้เป็นการแน่นอนว่าถูกต้องด้วยหลักทางการและเป็นการสม่ำเสมอแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ได้มีกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ความว่า ถ้ากระทรวงทะบวงการใดประสงค์จะคิดการใหม่หรือเป็นการเปลี่ยนรัฐประศาสโนบายเดิมแล้ว ให้ทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นเสียก่อนชั้นหนึ่งเพื่อปรึกษาในเสนาบดีสภาหรืออภิรัฐมนตรีสภา เมื่อความเห็นนั้นได้รับอนุมัติแล้ว จึงคิดร่างกฎหมายโดยละเอียดต่อไป ฯลฯ[2] กรมร่างกฎหมายนี้มีเสนาบดีกระทรวงยุตติธรรมเป็นนายกกรรมการโดยตำแหน่ง กับมีกรรมการทั้งไทยและชาวต่างประเทศอีกหลายท่าน[3]
เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗) กรุงสยามได้เข้าร่วมในงานมหายุทธสงคราม เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตรทำสงครามกับประเทศเยอรมันนี ครั้นเมื่อเลิกสงครามแล้วตามสัญญาสันติภาพที่แวรซาย ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๓๙ ระวางสัมพันธมิตรแลสหิตประเทศทั้งหลายในเยอรมันนี ในหมวด ๓ มาตรา ๑๓๕ มีความว่า เยอรมันนียอมรับแลนับถือว่า สัญญา อนุสัญญา แลข้อ
- ↑ ดูหนังสือว่าด้วยการตรวจชำระและร่างประมวลกฎหมายในกรุงสยาม หน้า๒๔–๒๕ ซึ่งแจกเมื่อคราวมหาอำมาตย์ตรี พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม เป็นพระยายืนชิงช้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
- ↑ ดูหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า ๒๑–๒๒
- ↑ ดูหนังสือว่าด้วยการตรวจชำระและร่างประมวลกฎหมายในกรุงสยาม หน้า ๒๑–๒๒