หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๕๕-๒๘-๒๙.pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๒๒ ก

๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
หน้า ๗
ราชกิจจานุเบกษา

ตราครุฑ
ตราครุฑ
คำวินิจฉัยที่ ๒๘ - ๒๙/๒๕๕๕
เรื่องพิจารณาที่ ๑๖/๒๕๕๕
เรื่องพิจารณาที่ ๔๔/๒๕๕๕

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญ
วันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
 
เรื่อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรคสอง มาตรา ๒๙ และมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง หรือไม่

ศาลอาญาส่งคำโต้แย้งของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๒๙๖๒/๒๕๕๔ และที่ อ. ๒๐๗๒/๒๕๕๔ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ รวม ๒ คำร้อง ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้

คำร้องที่หนึ่ง (เรื่องพิจารณาที่ ๑๖/๒๕๕๕) พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นจำเลยต่อศาลอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๘ มาตรา ๙๑ และมาตรา ๑๑๒

ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอาญาโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ที่บัญญัติให้ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีนั้น เป็นกฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำความผิดคล้ายกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดสามารถพิสูจน์เหตุยกเว้นความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๙ แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ไม่มีการบัญญัติเหตุยกเว้นความผิดไว้ และการที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ กำหนดโทษขั้นต่ำ