หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/35

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
– ๗ –

๑. เนื่องจากการกำหนดให้หญิงเป็นผู้กระทำผิดแต่เพียงฝ่ายเดียวทั้ง ๆ ที่เหตุเกิดจากผู้ชายด้วย เป็นความไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค ขัดรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้หญิงมีโอกาสเลือกจะ ยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมเป็นธรรมและปลอดภัยไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือจาก แพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกรอบธรรมาภิบาล

๒. การยุติการตั้งครรภ์โดยแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องถือว่าเป็นการรักษา (medical treatment) ตามเงื่อนไขที่แพทยสภากำหนดมิใช่การกระทำความผิดที่แพทย์มีอำนาจกระทำได้ แต่ควรกำหนดให้เป็นความผิดเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น ควรกำหนดการยุติการตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากสุขภาพทั้งกายและจิตใจของหญิงและของ

๓. ทารกในครรภ์มารดาด้วย เพื่อให้ทารกที่คลอดและอยู่รอดมีอนามัยสุขภาพกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง มีความสุขในการใช้ชีวิต (enjoy life)

การยุติการตั้งครรภ์เป็นปัญหาความไม่เป็นธรรมในตัวของมันเองเพราะหญิงเป็นเพศเดียวที่ต้อง รับภาระและเป็นผู้กระทำผิดเพราะเพศสภาพ อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่ควรกำหนดให้มีการยุติ การตั้งครรภ์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ แต่ต้องกำหนดเงื่อนไข ระยะเวลาให้เหมาะสมเป็นธรรมเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยแก่หญิงและต้องกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองทารกที่เจริญเติบโตในครรภ์ให้พร้อมที่จะคลอด ออกมาอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งกายและจิตใจด้วย

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีความเห็นว่า

ประเด็นที่หนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ ประกอบกับมาตรา ๗๑

ประเด็นที่สอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗

เมื่อได้เห็นว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘

ประเด็นที่สาม อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๔ จึงกำหนดคำบังคับให้มีผลเมือพ้น ๓๖๐ วัน หลังจากศาลมี คำวินิจฉัยเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมายตามที่พิจารณามาแล้วข้างต้น

(นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ)

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ