ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:จมห ประพาสต้น - ๒๔๗๗.pdf/112

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๘๘

๒ ตัว ชิ้นกลางเป็นวิหาร ๕ ห้อง กันไว้ข้างหน้า ๒ ห้องข้างหลัง ๒ ห้อง เหมือนวิหารพระศาสดาวัดบวรนิเวศแลวิหารพระสัฐารถวัดสระเกศแต่ใหญ่มาก เสาใช้แลงท่อนเดียวเป็นเสา ๔ เหลี่ยมสูงใหญ่ ห้องข้างหน้ามีพระนอน ห้องข้างหลังมีพระนั่ง ๒ องค์ ชิ้นหลังเป็นพระเจดีย์ฐาน ๘ เหลี่ยม ระฆังกลมรูปแจ้งามมาก เกือบจะสู้พระเจดีย์กลางถนนเมืองย่างกุ้งได้ ยังดีไม่ซวดเซอันใด เหตุด้วยพื้นเป็นแลงแขงไม่ต้องทำราก ชั่วแต่ยอดหัก ​แต่ที่เหลืออยู่บัดนี้สูงกว่า ๑๕ วา ที่หน้าพระเจดีย์นี้มีที่บูชา เป็นศาลาหลังคา ๒ ตอน ลักษณเดียวกับที่ทูลกระหม่อมไปสร้างไว้ในที่ต่าง ๆ ต่อไปข้างหลังมีฐานโพธิ์แลมีวิหารอะไรอีกหลังหนึ่งชำรุดมากดูไม่ออก เป็นวัดใหญ่มากแต่จะเรียกว่าวัดพระนอนก็ควร เพราะมีพระนอนเป็นสำคัญ

ตั้งแต่วัดนี้ไปมีกำแพงวัดอีกหลายวัดอยู่ชิด ๆ กันอย่างวัดกรุงเก่า แต่ไม่มีเวลาจะแวะดู ทางที่ไปเป็นป่าไม้พลวงเป็นพื้นโปร่ง ๆ เมื่อพ้นวัดกำแพงงามจึงถึงวัดเขาตั้งชื่อไว้ว่าวัดพระยืน มีสะพานข้ามคู เสาล้วนแต่ศิลาแลงทั้งนั้น วิหารใหญ่ด้านหน้าจะโตกว่าวัดสุทัศน์ แต่ไม่มีอะไรหลงเหลือเลยนอกจากพระเศียรพระเล็ก ๆ น้อย ๆ ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุข แต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิร มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับ​หลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืน