บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวแสดงว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือไม่เท่านั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องโดยไม่ต้องส่งไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๖๖/๒๕๐๕ ระหว่างหม่อมราชวงศ์พันธทิพย์ บริพัตร โจทก์ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กับพวก จำเลย คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๒/๒๕๐๖ ระหว่างนายสกล สามเสน โจทก์ นายชั้ว พุดทองศิริ กับพวก จำเลย และคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๕/๒๕๐๖ ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ โจทก์ นายถนอม โชติมณี กับพวก จำเลย
มีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่า ประกาศ รสช. ฉบับที่ ๒๖ ข้อ ๒